-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย (Fertilizer and Its Use)
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย (Fertilizer and Its Use)
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย (Fertilizer and Its Use)

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 7:09 pm    ชื่อกระทู้: ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย (Fertilizer and Its Use) ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://agronomy.agri.cmu.ac.th/meteo/361212/lecture_10.ppt

ปฐพีศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Soil Science)

โดย : ดร. นิวัติ อนงค์รักษ์

ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย

ปุ๋ย คือ วัสดุหรือสารที่ใช้เติมลงไปในดินเพื่อให้พืชมีธาตุอาหารใช้อย่าง
พอเพียงกับความต้องการในการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต

ธาตุปุ๋ย คือ ธาตุทางเคมีที่เป็นธาตุอาหารพืชและมีการนำมาใช้เป็นปุ๋ย เช่น
N , P , K , Ca , Mg , S ฯลฯ

แม่ปุ๋ย คือ สารประกอบที่มีธาตุปุ๋ยอยู่ในองค์ประกอบตั้งแต่ 1 ธาตุขึ้นไป
เช่น
(NH4)2SO4 เป็นแม่ปุ๋ย N
CaHPO4 เป็นแม่ปุ๋ย P
KCl / K2SO4 เป็นแม่ปุ๋ย K

ปริมาณธาตุอาหารรับรอง
ปริมาณต่ำสุดของธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น โดยกำหนดเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสุทธิของปุ๋ยนั้น
% N (Total – N)
% P2O5 (Available P2O5)
% K2O (Water Soluble Potash)


เกรดปุ๋ย
ตัวเลขแสดงปริมาณธาตุอาหารรับรองที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น โดยเขียนเป็นเลข 3 จำนวนติดต่อกันไป เช่น
ปุ๋ยเกรด 12 – 24 – 12 แสดงถึง

สูตรปุ๋ย
เกรดปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้ในไร่นา โดยบอกให้ทราบถึงปริมาณการใช้อย่างชัดเจน เช่น
ใช้ปุ๋ยสูตร 16 -20-0 อัตรา 30 กก./ไร่ แสดงให้ทราบว่าพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใส่ปุ๋ยเกรด 16-20-0 จำนวน 30 กก. ซึ่งมีเนื้อปุ๋ยที่แท้จริง ดังนี้

N = (16X30)/100 = 4.8 กก.

P2O5 = (20X30)/100 = 6.0 กก.

K2O = O (ไม่มี)

ปุ๋ยผสม
ปุ๋ยที่เกิดจากการผสมปุ๋ยชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อไห้ได้ธาตุอาหารตามชนิด และปริมาณที่ต้องการ โดยจะมีการปั้นเม็ดหรือไม่ก็ตาม เช่น
ปุ๋ยผสมเกรด : 15-15-15
16-20-0
12-24-12
การผสม : เชิงเคมี
เชิงกล
ปุ๋ยผสมสมบูรณ์ : 15-15-15
13-13-21

ปุ๋ยผสมไม่สมบูรณ์ : 16-20-0
0-52-34

อัตราส่วนปุ๋ย
เป็นสัดส่วนอย่างต่ำที่เป็นเลขลงตัวน้อย ๆ ของ N : P2O5 : K2O ในปุ๋ยนั้น เช่น
ปุ๋ย 1:1:1 ได้แก่ 15-15-15 , 20-20-20
ปุ๋ย 1:1:2 ได้แก่ 8-8-16 , 10-10-20
ปุ๋ย 1:2:2 ได้แก่ 5-10-10 , 8-16-16
ปุ๋ย 2:2:1 ได้แก่ 10-10-5 , 30-30-15

ประโยชน์
- ช่วยในการพิจารณาเลือกซื้อปุ๋ย
- ช่วยในการแนะนำปุ๋ยแก่เกษตรกร

สารตัวเติม (Filler)
วัสดุที่ใช้เติมลงไปในปุ๋ยผสม เพื่อให้ปุ๋ยนั้นมีน้ำหนักครบ 100 หน่วยพอดี โดยสารตัวเติมต้องไม่ทำปฏิกิริยาหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับธาตุปุ๋ยในเนื้อปุ๋ยนั้น
สารตัวเติมปกติจะเป็นสารเฉื่อย :
- ทราย
- ดินขาว
- Diatomaceous earth
- ปูนโดโลไมต์
- Tale
- Chalk
สารตัวเติม มีหน้าที่ :
- เป็น Conditioner ลดการจับตัวของปุ๋ย
- แก้ฤทธิ์ความเป็นกรดตกค้างของปุ๋ย
- เป็นแหล่งธาตุอาหารอื่น


ความชื้นสัมพันธ์วิกฤตของปุ๋ย (Critical Relative Humidity : CRH)

เป็นค่าความชื้นในอากาศรอบ ๆ เม็ดปุ๋ย ซึ่งเมื่อเพิ่มให้สูงขึ้นแล้ว ปุ๋ยจะเริ่มดูดความชื้นเข้ามาละลายตัวมันเอง แต่ถ้าลดให้ต่ำลงกว่าค่าดังกล่าว ปุ๋ยจะไม่ดูดความชื้นเลย

ปุ๋ยที่มีค่าความชื้นสัมพันธ์วิกฤตต่ำ
- แคลเซียมไนเตรต 46.7 %
- แอมโมเนียมไนเตรต 59.4 %

ปุ๋ยที่มีค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤตปานกลาง
- ยูเรีย 72.5 %
- แอมโมเนีย,ซัลเฟต 79.2 %
- โพแทสเซียมคลอไรด์ 84.0 %

ปุ๋ยทีมีค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤตสูง
- โพแทสเซียมไนเตรต 90.3 %
- ซุปเปอร์ฟอสเฟต 93.6 %
- โพแทสเซียมซัลเฟต 96.3 %

เมื่อนำปุ๋ยมาผสมกัน ค่าความชื้นสัมพัทธ์วิกฤตจะเปลี่ยนไป ทำให้ :

1. ไม่ควรนำมาผสมกัน
......................% CRH........%CRHใหม่ -แคลเซียมไนเตรต.......46.7...........220
-โพแทสเซียมคลอไรด์...84.0

2. ผสมได้ แต่ไม่ควรเก็บไว้นาน
- ยูเรีย ................... 75.5.........60.3
-โพแทสเซียมคลอไรด์... 84.0

3. ผสมกันได้ เก็บรักษาไว้ได้
- แอมโมเนียมซัลเฟต.....79.2.........87.7
- ซุปเปอร์ฟอสเฟต........93.6

ผลตกค้างของปุ๋ยเคมี
- ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นกรด (ปุ๋ยกรด)
- ปุ๋ยที่มีผลตกค้างเป็นด่าง (ปุ๋ยด่าง)
- ปุ๋ยที่ไม่มีผลต่อ pH ดิน (ปุ๋ยเป็นกลาง)

ความเป็นกรดของปุ๋ย
เป็นตัวเลขแสดงถึงน้ำหนักของ CaCO3 บริสุทธิ์ที่ใช้ทำปฏิกิริยากับกรดที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยหนัก 100 หน่วย เพื่อให้เกิดการสะเทินกรดนั้น
- ปุ๋ยกรด มักได้แก่ ปุ๋ยที่มีแอมโมเนียม (NH4+) หรือให้แอมโมเนียม
ออกมา

- เกลือที่มีอนุมูลคลอไรด์ จะมีค่าความเป็นกรด > ซัลเฟต >
ไนเตรต > ฟอสเฟต
แอมโมเนียมคลอไรด์..................128
แอมโมเนียมซัลเฟต................... 110
แอมโมเนียมไนเตรต.................. 60
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต........... 55
- ปุ๋ยอินทรีย์มีค่าความเป็นกรดต่ำ
กากเมล็ดฝ้าย........................ 10
มูลค้างคาว............................ 13


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 16/08/2010 7:25 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 7:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความเป็นด่างของปุ๋ย
เป็นตัวเลขแสดงถึงน้ำหนักของ CaCO3 ซึ่งสมมูลย์กับฤทธิ์ด่างที่เกิดขึ้นในดิน เมื่อใช้ปุ๋ย 100 หน่วยน้ำหนัก
- ปุ๋ยด่าง มักได้แก่ ปุ๋ยที่มีแคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) หรือ
โซเดียม (Na) ในองค์ประกอบ
- แคลเซียมไซยานาไมด์......63
- แคลเซียมไนเตรต...........21
- โซเดียมไนเตรต.............29
- ไดแคลเซียมฟอสเฟต.......25
- โพแทสเซียมไนเตรต........25

- ปุ๋ยที่เป็นกลาง (ไม่มีผลต่อ pH ดิน)
- ซุปเปอร์ฟอสเฟต
- โพแทสเซียมคลอไรด์
- โพแทสเซียมซัลเฟต

ดัชนีความเค็มของปุ๋ย (Salt Index)
เป็นอัตราส่วนระหว่างค่า Osmotic potential ของสารละลายดินที่ลดลง เนื่องจากการใช้ปุ๋ยนั้น เปรียบเทียบกับค่าที่ลดลง เนื่องจากการใช้ปุ๋ย NaNO3 น้ำหนักเท่ากัน โดยกำหนดให้ดัชนีความเค็มของ NaNO3 มีค่า = 100

ดัชนีความเค็มของปุ๋ย (Salt Index)
- ปุ๋ยไนโตรเจน
- แอมโมเนียไนเตรต.................104.7
- ยูเรีย...............................75.4
- แอมโมเนียซัลเฟต.................69.0

- ปุ๋ยฟอสฟอรัส
- ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต...........34.2
- โมโนแอมโมเนียฟอสเฟต..........29.9
- ซุปเปอร์ฟอสเฟต...................7.8

- ปุ๋ยโพแทสเซียม
- โพแทสเซียมคลอไรด์..............116.3
- โพแทสเซียมไนเตรต.............. 73.6
- โพแทสเซียมซัลเฟต.............. 46.1

ปุ๋ยไนโตรเจน

ธรรมชาติ - อินทรีย์ N
เศษเนื้อ เศษปลา มูลสัตว์
- อนินทรีย์ N
สังเคราะห์ - อินทรีย์ N
ยูเรีย , CaCN2
- อนินทรีย์ N
(NH4)2 SO4 , NH4NO3



ปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้า (Slow release nitrogen carriers)

แบ่งเป็น 2 ประเภท :
ปุ๋ยละลายช้าแบบเคลือบ
วัสดุที่ใช้เคลือบ ได้แก่ Waxes, Paraffin , Acrylic resins ,ธาตุกำมะถัน , Peat และ ดินเหนียว


การเคลือบมี 3 แบบ
-Semipermeable membrane
-Impermeable membrane(เจาะรูโดยรอบ)
-Impermeable membrane(ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์)

ตัวอย่างปุ๋ย เช่น Sulfur Coated Urea (SCU)

ปุ๋ยละลายช้าแบบไม่เคลือบ
สังเคราะห์ขึ้นมาโดยตรง :
- Urea formaldehyde
- IBDU
- Magnesium ammonium phosphate
- Oxamide
- Fleranid (CDU)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Nitrification Inhibitors (สารยับยั้งขบวนการ Nitrification)

เช่น - N–Serve
- Potassium azide (KN3)
- AM.

หน้าที่
- ยับยั้งการทำงานของ Nitrosomonas
- ลดการสูญหายของ NO3-



ปุ๋ยฟอสฟอรัส
เตรียมจากการ Treat Rock Phosphate ด้วยกรดต่าง ๆ


วิธีการเตรียม
Ca3 (PO4 )2 + 2H2SO4 Ca(H2PO4)2 + 2CaSO4 + Impurity


Bacterial Phosphate Fertilization

- ใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายสารประกอบฟอสเฟตในดิน
- จุลินทรีย์ที่ใช้คือ
Bacillus megatherium var. phosphaticum
(phospho bacterins)
- ใช้มากในรัสเซียและยุโรปตะวันออก
- เพิ่มความเป็นประโยชน์ของ P โดยการย่อยสารประกอบอินทรีย์ฟอสฟอรัส
และ Hydroxyapatite
- มีประสิทธิภาพในดินที่มี pH เป็นกลางถึงด่าง ที่มีอินทรียวัตถุสูง
- พืชที่ตอบสนองได้แก่ Sugar beet , มันฝรั่ง, ธัญพืช, พืชผัก, หญ้า และ ถั่ว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 8:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปุ๋ยโพแทสเซียม

- ได้จากแร่ธาตุในธรรมชาติ
- ละลายน้ำได้ดี
- ไม่มีผลต่อ pH ดิน
- รูป KCl เป็นพิษกับพืชบางชนิด เช่น ส้ม ถั่ว ยาสูบ
- ชนิดแร่ K ที่สำคัญ
- KCl 60% K2O
- K2SO4 50% K2O
- KNO3 43% K2O
- Manure salts (KCl) 20-30% K2O
- Kainit (KCl.MgSO4.3H2O) 12-16% K2O
- Sulfate of potash magnesia (K2SO4. MgSO4.3H2O)
25-30% K2O


ปุ๋ยธาตุอาหารรอง (Ca, Mg และ S)

ปกติมีการเตรียมลงไปในดินในรูป
-สิ่งเจือปนในปุ๋ย N P K ที่ใช้
-ปูนที่ใช้ปรับ pH ดิน
-เกลือของปุ๋ยเหล่านี้โดยตรง

แหล่งปุ๋ยธาตุอาหารรอง
-ยิบซัม........................22% Ca , 15-18% S
-ซุปเปอร์ฟอสเฟต.............14-20% Ca, 12-14% S
-แมกนีเซียมซัลเฟต.......... 11% Mg, 18%S
-แคลไซท์.................... 36% Ca
-แคลเซียมไนเตรต........... 20% Ca
-แมกนีเซียมออกไซด์........ 45% Mg
-แอมโมเนียมซัลเฟต......... 24% S

ปุ๋ยจุลธาตุ
มี 3 รูปแบบ
1. เกลือของธาตุต่าง ๆ
- Borax (Na2B4O7.10H2O)............11% B
- Copper sulfate (CuSO4.5H2O).....25%Cu
- Ferrous sulfate (FeSO4.7H2O).....20%Fe
- Manganese oxide (MnO).............48%Mn
- Zinc sulfate (ZnSO4.7H2O).........35%Zn

2. คีเลตของจุลธาตุต่าง ๆ เช่น
Fe, Mn, Zn, Cu-EDTA

3. ปุ๋ยเกล็ดแก้ว (Frits)
- เป็นผลึกแก้วสีน้ำตาล
- มีจุลธาตุหลายชนิดในองค์ประกอบ เช่น B , Cu , Fe , Mn , Mo และ Zn
- เป็นปุ๋ยละลายช้า
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักการใช้ปุ๋ยเคมี

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ควรปฏิบัติ

1. เลือกใช้ปุ๋ยให้ถูกต้องตรงกับชนิดพืชที่ปลูกและตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
- ปุ๋ยสำหรับพืชทั่วไป 1:1:1
- ปุ๋ยเร่งใบ เร่งการเจริญเติบโต 2:1:1 , 3:1:1
- ปุ๋ยเร่งดอก เร่งผล ปรับปรุงคุณภาพของพืช 1:2:1 , 1:1.5:1
- ปุ๋ยเร่งหัว เร่งความหวาน 1:1:1.5 , 1:1:2

2. ใส่ในปริมาณที่พอเหมาะและในรูปที่เหมาะสม

3. ใส่ในปริมาณที่พืชดูดใช้ได้ง่าย

4. ใส่ในเวลาที่พืชต้องการ


รูปแบบการใส่ปุ๋ย
1. ใส่ให้ทางดิน (Soil Application)
- ในรูปของแข็ง (เป็นเมล็ด, เป็นผง)
- การหว่าน
- การหยอดเป็นจุด
- การโรยเป็นแถบ
- การใส่ในระดับลึก
- ในรูปสารละลายหรือแก๊ส
- ใส่ไปพร้อมกับการให้น้ำ (Fertigation)
- อัดปุ๋ยในรูปแก๊สลงไปในดินลึก

2. ใส่ให้ทางใบโดยการฉีดพ่น (Foliar application)
- ข้อดี
- พืชดูดใช้ได้เร็ว
- เป็นการเสริมธาตุอาหารนอกเหนือจากทางราก
- ปุ๋ยกระจายตัวได้ดี
- ข้อเสีย
- ใบไหม้ หากเข้มข้นเกินไป
- ต้องฉีดพ่นหลายครั้ง เพราะต้องใช้อัตราเจือจาง
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 8:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อัตราการดูดใช้ธาตุอาหารทางใบ

1. ดูดได้เร็ว หมายถึง 1/2 หรือ 2/3 ของธาตุอาหารทั้งหมดถูกดูดไป
ใช้ ภายในเวลา 4-6 ชั่วโมง ได้แก่ ธาตุ N, K, Zn

2. ดูดได้ปานกลาง หมายถึง การดูดใช้ปุ๋ยที่ต้องใช้ระยะเวลาตั้งแต่
หลาย ๆ ชั่วโมง จนถึงเป็นวัน ได้แก่ธาตุ P, S, B, Mn

3. ดูดได้ช้า หมายถึง การดูดใช้ปุ๋ยที่ต้องใช้เวลายาวนานขึ้น ตั้งแต่ 4-6
วันหรือมากกว่า ได้แก่ ธาตุ Mg, Cu, Fe , Mo



การคำนวณปุ๋ย
สมมุติท่านเป็นเจ้าของสวนลำใย เนื้อที่ 20 ไร่ ต้องการใส่ปุ๋ยสูตร 30 – 20 – 25 อัตรา 60 กก./ไร่ โดยท่านจะต้องผสมปุ๋ยนี้ขึ้นมาใช้เองจากปุ๋ยเกรดต่าง ๆ ที่ท่านมีอยู่คือ 4-2-4 , 5-5-5 และ 10-6-6 อยากทราบว่าท่านจะต้องใช้ปุ๋ยทั้ง 3 ชนิด ในปริมาณอย่างละเท่าไรในการผสมปุ๋ยครั้งนี้

ปุ๋ยสูตร 30-20-25 อัตรา 60 กก./ไร่
ดังนั้น เนื้อที่ 20 ไร่ ต้องใช้ปุ๋ย = 60 X 20 = 1,200 กก.
และในปุ๋ยจำนวนดังกล่าวจะมีเนื้อธาตุปุ๋ย ดังนี้
N (30 X 1200)/100 = 360 กก.
P2O5 (20 X 1200)/100 = 240 กก.
K2O (25 X 1200)/100 = 300 กก.

สมมุติให้ใช้ปุ๋ยแต่ละเกรดในการผสมปุ๋ย ดังนี้
4-2-4 = x กก.
5-5-5 = y กก.
10-6-6 = z กก.
ในส่วนของ N (4x/100) + (5y/100) + (10z/100) = 360
หรือ 4x+ 5y + 10z = 36000 … (1)
ในส่วนของ P (2x/100) + (5y/100) + (6z/100) = 240
หรือ 2x + 5y + 6z = 24000 … (2)
ในส่วนของ K (4x/100) + (5y/100) + (6z/100) = 300
หรือ 4x + 5y + 6z = 30000 … (3)

(3) – (2) 2x = 6000
x = 3000
(1) – (3) 4z = 6000
z = 1500
แทนค่า x, z ใน (2)
2(3000) + 5y + 6(1500) = 24000
y = (24000 - 15000) / 5 = 9000 / 5
= 1800
4-2-4 = 3000 กก.
นั่นคือ ต้องใช้ปุ๋ยดังนี้ 5-5-5 = 1800 กก. ผสมกัน
10-6-6 = 1500 กก.[/b]


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 16/08/2010 9:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/08/2010 8:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสิทธิภาพของปุ๋ย(Fertilizer Use Efficiency)

ปริมาณปุ๋ยที่พืชสามารถนำเอาไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตได้มากน้อยแตกต่างกัน

ปัจจัยควบคุมประสิทธิภาพของปุ๋ย
- การเคลื่อนย้ายของธาตุอาหารไปยังรากพืช
- Interception
- Mass Flow
- Diffusion
- เข้มข้นของธาตุอาหารในสารละลายดิน
- การสูญเสียอาหารโดยกระบวนการต่าง ๆ
- ประเภทและชนิดของดิน

วิธีวัดประสิทธิภาพของปุ๋ย
วัดจากชีวภาพ (Biomass)
ประสิทธิภาพของปุ๋ย = ผลผลิตเพิ่มจากการใช้ปุ๋ย/น้ำหนักปุ๋ยที่ใช้


วัดเป็น % recovery

% recovery = (ธาตุอาหารที่พืชดูดจากปุ๋ย/น้ำหนักปุ๋ยที่ใช้)x100


การวัดประสิทธิภาพของปุ๋ยโดยวิธีทางไอโซโทปและรังสีเทคนิค
- ให้ผลถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ
- เป็นเทคนิคใหม่ ได้รับความสนใจทั่วโลก
- สามารถแยกส่วนของธาตุที่มาจากปุ๋ยออกจากดินได้
- ติดตามการเคลื่อนย้ายได้
การวัดประสิทธิภาพของปุ๋ยโดยวิธีทางไอโซโทปและรังสีเทคนิค
- ให้ผลถูกต้อง เที่ยงตรง แม่นยำ
- เป็นเทคนิคใหม่ ได้รับความสนใจทั่วโลก
- สามารถแยกส่วนของธาตุที่มาจากปุ๋ยออกจากดินได้
- ติดตามการเคลื่อนย้ายได้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 16/08/2010 10:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณมาก

ไปค้น lacture มาให้ สมัยนี้ดีจัง load เอามาได้เลย ตอนผมเรียนต้องจดเอา ไม่ทันก็ซีร็อก XEROX ทีเห็นนี่แค่จิบๆๆนะ ถ้าเจอ plantphysiology ที่ต้องมาประกอบกับความรู้ด้านธาตุอาหารพืช มันกว่านี้เยอะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 17/08/2010 1:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

mongkol บันทึก:
ขอบคุณมาก ไปค้น lacture มาให้สมัยนี้ดีจัง load เอามาได้เลย ตอนผมเรียนต้องจดเอาไม่ทันก็ซีร็อก XEROX ทีเห็นนี่แค่จิบๆๆนะ ถ้าเจอ plantphysiology ที่ต้องมาประกอบกับความรู้ด้านธาตุอาหารพืช มันกว่านี้เยอะ


พวกเรารออ่านข้อมูลดีๆ จากคุณมงคลอยู่ค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 17/08/2010 1:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Aorrayong บันทึก:
mongkol บันทึก:
ขอบคุณมาก ไปค้น lacture มาให้สมัยนี้ดีจัง load เอามาได้เลย ตอนผมเรียนต้องจดเอาไม่ทันก็ซีร็อก XEROX ทีเห็นนี่แค่จิบๆๆนะ ถ้าเจอ plantphysiology ที่ต้องมาประกอบกับความรู้ด้านธาตุอาหารพืช มันกว่านี้เยอะ


พวกเรารออ่านข้อมูลดีๆ จากคุณมงคลอยู่ค่ะ


วิธีช่วยตัวเองของพวกเรา คือ ท่องไปในโลกเน็ต จึงได้พบกับสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เห็นอะไรๆ มันน่าสนใจ น่าเรียนรู้ไปหมด ก็พยายามอ่าน อ่าน อ่าน นี่คือการ "เรียนด้วยตัวเอง" ประมาณนั้น

ในฐานะที่คุณเคยเรียนมาก่อน ย่อมรู้ว่าในหลักสูตรที่เคยเรียน มีบทเรียนเรื่องอะไรน่าสนใจมากๆ บ้าง เชื่อว่าเรื่องนั้นๆ คงมีในเน็ต ก็น่าจะ COPY มาให้พวกเราได้อ่าน ได้รู้กันนะ

คงไม่ได้หมายถึงคุณมงคล เพียงคนเดียวหรอก สมาชิกเว้บเราที่มีคุณวุฒิ วุฒิภาวะ และประสบการณ์สูงๆ มีจำนวนไม่น้อย ก็พอจะรู้อยู่ว่ามีท่านใดบ้าง อย่าปล่อยให้พวกเราหลายๆคนเป็น "ตาบอดคลำช้าง" อยู่เลย...... ถ้ามีใจให้กับพวกเรา ซึ่งมันจะต่อไปถึงคนไทยทั้งประเทศด้วย

ณ วันนี้ จากการทื่ได้ท่องไปในโลกเน็ต ทั้งเพื่อหาข้อมูลสำหรับตัวเอง และเพื่อเป็นคำตอบสำหรับกระทู้ถามมา ข้อมูลที่ COPY มาวางให้นั้น ไม่กังวลเลยว่าใครเคยรู้มาก่อนแล้วหรือยังไม่เคยรู้มาก่อน ไม่กังวลว่าจะเป็นเหมือนการเอามะพร้าวมาขายสวน หรือสอนหนังสือสังฆราช เพราะที่แน่ๆ ได้อ่าน ได้รู้ ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

พวกเรา อ่านเยอะๆ อ่านมากๆ อ่านบ่อยๆ อ่านยหลายๆ รอบ แล้วความคิดใหม่ๆ จะเกิด
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©