-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แนวทางการผลิตลำไยนอกฤดู
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แนวทางการผลิตลำไยนอกฤดู

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/09/2010 10:06 pm    ชื่อกระทู้: แนวทางการผลิตลำไยนอกฤดู ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนวทางการผลิตลำไยนอกฤดู โดยใช้สารเคมีกลุ่มคลอเรต

โพแทสเซียมคลอเรต มีคุณสมบัติเป็นของแข็งถ้าอยู่ในรูปผลึกใสจะไม่มีสี เมื่อนำมาบดเป็นผงจะมีสีขาว คล้ายแป้งแต่ไม่ได้มีความมันวาว มีจุดหลอมเหลว 356 องศาเซลเซียล และโมเลกุลของโพแทสเซียมคลอเรต จะแตกตัวให้ก๊าซออกซิเจนที่อุณหภูมิสูงกว่า 400 องศาเซลเซียส โดยละลายได้ 73 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส (ธนะชัย, ไม่ระบุปีที่พิมพ์) และละลายหมดในน้ำเดือดปริมาตรเพียง 1.8 มิลลิเมตร สารนี้มีคุณสมบัติเป็นสารออกซิไดส์อย่างแรงเช่นกัน คือ เป็นสารที่ให้ออกซิเจนในปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จึงมีการนำมาให้ทำพลุ ไม้ขีดไฟ ชนวนจุดระเบิด ด สีย้อม การฟอกหนัง ตลอดจนสารฆ่าเชื้อโรค (Haelwy, 1981 อ้างโดย พาวินและคณะ 2542) สำหรับประเทศเยอรมันได้จัดโพแทสเซียมคลอเรตไว้เป็นสารที่สามารถทำให้เกิดมลภาวะของน้ำได้เล็กน้อย สำหรับความเป็นพิษของโพแทสเซียม คลอเรตต่อสัตว์ทอลองเมื่อรับประทานเข้าไป พบว่าในหนูมีการตายครึ่งหนึ่ง เมื่อได้รับสาร 1,870 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และในกระต่ายมีการตายครึ่งหนึ่ง เมื่อได้รับสารนี้ 2,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ธนะชัย, ไม่ระบุปีที่พิมพ์)

โซเดียมไฮโปคลอไรด์ มีลักษณะเป็นน้ำมีกลิ่นฉุน เป็นองค์ประกอบของน้ำยาซักผ้าขาวมีการใช้ในการฟอกฆ่าเชื้อโรคเนื้อเยื่อพืชต่าง ๆ และเป็นสารออกซิไดซ์เช่นกัน

โซเดียมคลอเรตมีลักษณะเป็นผงสีขาวใสคล้ายเม็ดน้ำตาลทราย มีรสเค็ม มีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นในอากาศได้ดี ในอดีตมีการใช้เป็นสารกำจัดวัชพืช ปัจจุบันประเทศไทยห้ามการใช้สารนี้อยู่

การใช้โพแทสเซียมคลอเรตเพื่อชักนำการออกดอกของลำไย
ในปัจจุบันมีการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกันมากขึ้นถึงแม้ว่างานวิจัยด้านนี้ยังไม่เด่นชัดมากนัก โดยไม่เกรงกลัวต่อผลกระทบในภายหลังทั้งต้นลำไย หรือต่อสภาพแวดล้อมแม้กระทั่งต่อผู้บริโภค ซึ่งชาวสวนลำไยจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ต้นลำไยตาย ดีกว่าคนตาย” ซึ่งหมายความว่า ถ้าใส่สารแล้วออกดอกติดผลขายได้กำไรแล้วต้นลำไยตายก็ยังปลูกใหม่ได้ แต่ถ้าลำไยไม่ออกดอกติดผล ชาวสวนเองก็จะต้องจำนำ จำนองที่ดินหรือบางรายอาจจะกู้หนี้ยืมสินธนาคารมาทำให้ไม่มีเงินไปใช้หนี้ก็อยู่ไม่ได้ เช่นกัน ที่กล่าวมานี้เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เหล่านักวิชาการไม่สามารถจะยับยั้งหรือชะลอการใช้สารได้ในฐานะผู้เขียนเป็นนักวิชาการคนหนึ่งที่สนในเรื่องลำไย และทำงานวิจัยเรื่องสารในกลุ่มคลอเรตอยู่จึงให้ความสำคัญตรงจุดนี้มาก ซึ่งผลกระทบต่อต้นลำไยและต่อสภาพแวดล้อมขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและมีเหตุผลสอดคล้องกับ พาวิน (2543 ว่า “ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะชักชวนหรือส่งเสริมใช้เกษตรกรให้สารเคมี” แต่ในปัจจุบันได้มีกระแสการตื่นตัวของการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับลำไยได้เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ข้อมูลทางวิชาการก็มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เกษตรกรลองผิดลองถูกซึ่งอาจจะเกิดผลเสียในระยะยาวได้ สำหรับงานวิจัยและข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับสารโพแทสเซียมคลอเรต ที่เกษตรกรชาวสวนลำไยควรรู้ดังนี้

วิธีการใช้สารกับลำไย
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับลำไยทำได้หลายวิธี เช่น
1. การให้สารทางดิน โดยวิธีการผสมน้ำราด
2. การให้สารโดยการฉีดเข้าทางกิ่ง-ลำต้น
3. การให้สารโดยการฉีดพ่นทางใบ

1. การให้สารทางดิน
โดยทั่วไปเกษตรกรให้สารทางดินโดยการผสมน้ำราดและหว่านโดยตรง บริเวณทรงพุ่มซึ่งได้ผลเหมือนกันแล้วแต่จะสะดวกของแต่ละคน แต่จากการสังเกตพบว่าการผสมน้ำราดในช่วงที่มีฝนตกหนักมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ในเรื่องการออกดอกเท่าใดนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าน้ำฝนชะล้างสารคลอเรตออกไปนอกทรงพุ่มหรือลงสู่ข้างล่างเกินกว่าที่รากจะหยั่งลึกลงไปถึง แต่ขณะที่การกหว่านแล้วรดน้ำตามประสบความสำเร็จได้ดีว่าในช่วงฤดูฝนอาจเป็นเพราะว่าสารค่อย ๆ ละลายหรือปลดปล่อยออกมาเรื่อย ๆ (พาวิน, 2543) เท่าที่สังเกตดูพบว่าหลังฝนตกหนักประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะสังเกตเห็นสารยังอยู่เป็นก้อนเล็ก ๆ บางจุด

วิธีการเตรียมต้นเพื่อราดสารทำได้ดังนี้คือ
1. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วควรมีการตัดแต่งกิ่งต้นลำไยให้ปุ๋ย และพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ช่วงแตกใบอ่อน โดยให้ต้นลำไยมีการแตกใบใหม่อย่างน้อย 1-2 ชุดขึ้นไป (นิรนาม, 2542)

2. ก่อนการราดสารควรทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่ม โดยการกวาดเศษใบลำไยหรือหญ้าออกให้หมด แล้วปล่อยให้ดินแห้ง ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นลำไยดูดสารได้ดี (พาวิน, 2543)

3. อัตราของสารที่ใช้โดยวัดจากทรงพุ่ม จากงานทดลองของพาวิน และคณะ(2542 ก.) พบว่า การให้สารอัตรา 8 กรัมต่อตารางเมตร สามารถทำให้ลำไยพันธุ์ดอออกดอกได้ 100% ส่วนพันธุ์สีชมพูให้สารอัตรา 1 กรัมต่อตารางเมตร ก็ให้การออกดอกได้ 100% เช่นเดียวกัน

4. ระยะใบที่ควรราดสารควรอยู่ในระยะใบแก่หรืออย่างต่ำต้องอยู่ในระยะใบเพสลาดขึ้นไป (พาวิน และคณะ, 2542ข.)

5. หลังจากราดสารวันแรกจนถึงการออกดอกจะใช้เวลาประมาณ 21-45 วัน (ขึ้นอยู่กับพันธ์และสภาพแวดล้อม) ต้องมีการให้น้ำพอชื้นอย่าให้แฉะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลำไยดูดสารขึ้นได้เป็นอย่างดี ในช่างที่ยังไม่ออกดอกไม่ควรใส่ปุ๋ยคอกเด็ดขาด ซึ่งมีเกษตรกรบางรายเอาปุ๋ยคอกและฟางคลุมในต้นทันทีพบว่าลำไยไม่ค่อยออกดอก อาจเป็นเพาะว่าอินทรียวัตถุใหม่ ๆ ที่กำลังมีการย่อยสลายจะไปลดความเป็นพิษและประสิทธิภาพของคลอเรตลง อันมีผลให้ลำไยไม่ออกดอกได้ (สมชาย องค์ประเสริฐ, สนทนาทางวิชาการ)

6. ควรใช้สารด้วยความระมัดระวังและตามอัตราที่กำหนด หากให้มากเกินไปอาจมีผลเสียหรือผลกระทบต่อต้นได้

ตารางการใช้สารเมื่อเทียบกับทรงพุ่มต่างๆ ..... (รายละเอียดตามอ้างอิง)

2. การฉีดสารโพแทสเซียมคลอเรตเข้าทางกิ่ง-ลำต้น
วิธีนี้ได้นำเอาวิธีการฉีดสีเคมีเข้าต้นทุเรียนและมะม่วง เพื่อป้องกันและรักษาโรคโคนเน่า-รากเน่า และเพื่อผลิตทุเรียน, มะม่วงนอกฤดู การฉีดสารเข้าทางกิ่ง-ลำต้นสามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ เช่นเดียวกับการราดลงดินหรือพ่นสารทางใบ โดยเลือกกิ่งที่จะให้ออกดอกได้เช่นกันซึ่งกิ่งที่ได้รับสารมีการออกดอกได้เร็วและดีกว่ากิ่งที่ไม่ให้สาร ภายในต้นเดียวกันจากงานทอลองกับพันธุ์สีชมพู โดยฉีดสารเข้ากิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 10-15 เซนติเมตร พบว่าการใช้สาร 0.25 กรัมต่อเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 1 เซนติเมตร ทำให้ลำไยพันธุ์สีชมพูออกดอกได้มากกว่า 80 % (วินัย และคณะ, 2542) ขณะที่พันธุ์แห้วใช้สารอัตราเดียวกันกับพันธุ์สีชมพู พบว่ามีการออกดอกได้ถึง 80 % เช่นเดียวกัน (วินัย และคณะ, ข้อมูลยังไม่ได้ตีพิมพ์) การฉีดสารเข้าทางกิ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรชาวสวนลำไยซึ่งให้สารน้อยมากที่สุด แต่จะต้องมีเทคนิคและวีเฉพาะตัวในการปฏิบัติ สารละลายไม่สูญหายออกนอกกิ่งจึงจะได้ผลดี ทั้งนี้ข้อจำกัดของการฉีดสารเข้าทางกิ่งมีอยู่หลายประการ คือ

1. อุปกรณ์ที่ใช้ปัจจุบันทางภาคเหนือยังมีอยู่อย่างจำกัด เช่น ปลอกพลาสติก

2. จำเป็นที่จะต้องใช้สว่านในการเจาะรู ซึ่งเกษตรกรบางรายไม่มี

3. จะต้องใช้สารบริสุทธิ์ (ประมาณ 99.5-99.7%) ถ้าเป็นสารผสมการละลายตัวของสารจะเหลือตะกอนทำให้เกิดการอุดตัน สารซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อพืชได้ยาก

4. จะต้องมีการวัดเส้นผ่าศูนย์กลางกิ่ง ทุกกิ่ง หรือทุกต้น เพื่อคำนวณหาปริมาณสารที่ใช้ให้ถูกต้องมิฉะนั้นอาจเกิดผลเสียกับกิ่งนั้น ๆ ได้ ถ้าได้รับสารมากเกินไป

เทคนิคและวิธีการฉีดสารเข้าทางกิ่ง-ลำต้น
1. เลือกต้นลำไยที่มีใบแก่เต็มที่ที่มีกิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 10-15 ซม. ให้งดน้ำประมาณ 1 สัปดาห์

2. ใช้สว่านเจาะกิ่งลึก 2.5-3.5 ซม. (ดอกสว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม.)

3. นำปลอกพลาสติกที่นิยมใช้กับต้นทุเรียน หรือมะม่วงตอกลงไปในรูให้แน่น

4. ละลายสารโพแทสเซียมคลอเรตที่เตรียมไว้โดยใช้น้ำน้อยที่สุดในการละลาย พอให้สารละลายหมด

5. ใช้หลอดฉีดยาขนาด 50-60 ซีซี. ดูดสารละลายที่เตรียมไว้จนหมด (ถ้าสารละลายมีมากจนดูดขึ้นมาครั้งเดียวไม่หมดก็ให้ทำการฉีดสารเข้าไปส่วนหนึ่งก่อนแล้วดูดสารละลายต่อเรื่อย ๆ) แล้วดูดอากาศเข้าไปอีกประมาณ 5-10 ซีซี.เพื่อเป็นตัวดันสารละลายอีกทางหนึ่ง

6. จากนั้นอัดหลอดฉีดยากับปลอกพลาสติกให้แน่นแล้วอัดก้านหลอดฉีดยาเข้าไปผ่านรูของปลอกพลาสติกให้พอแน่นและรู้สึกว่าอัดก้านไม่เข้าแล้ว ให้ใช้ลวดหรือตะปู สอดตามรูก้านหลอดฉีดยาที่เตรียมไว้ระยะห่าง 1 ซม. เพื่อป้องกันแรงอัดดีดก้านฉีดยาออกมา รอจนกว่าสารละลายหมด นำปลอกพลาสติกไปใช้งานกิ่งต่อไปได้

สำหรับการปฏิบัติหลังการฉีดสารเข้ากิ่ง-ลำต้นแล้ว ควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอเพื่อให้รากพืชดูดน้ำเข้าไปแล้วพาตัวสารขึ้นไปสู่

การฉีดพ่นทางใบถือเป็นวิธีที่ใช้สารในปริมาณน้อยมาก และทำให้ลำไยออกดอกได้ เช่นเดียวกับการให้สารทางดิน ซึ่งชิติ และคณะ (2542) ได้ศึกษาไว้ว่า ให้สารทางใบอัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร (คิดจากสารบริสุทธิ์ 99.7%) สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ใบลำไยไหม้และร่วงเป็นบางส่วน ขณะที่ พาวิน(ข้อมูลยังไม่ได้ตีพิมพ์) ได้ศึกษาการฉีดพ่นทางใบเช่นกันพบว่าให้สารเพียง 100 กรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร ในระยะใบแก่สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ถึง 97% แต่พบว่ามีใบร่วงและไหม้เช่นเดียวกัน และยังพบอีกว่าถ้าพ่นสารในช่วงที่ลำไยขาดน้ำมาก ๆ และในสภาพที่แดดร้อนจัดจะทำให้ลำไยใบไหม้และร่วงมากขึ้น ซึ่งจะต้องมีการศึกษาทดลองกันต่อไป

การปฏิบัติและข้อควรระวังในการฉีดพ่นสารทางใบ
1. ต้นลำไยต้องสมบูรณ์
2. ควรพ่นในช่วงที่มีใบแก่เท่านั้น(ระยะใบ 4-8 สัปดาห์หลังการแตกใบอ่อนหรือ 45-60 วัน)
3. ควรพ่นในช่วงอากาศไม่ร้อน
4. จะต้องมีการให้น้ำบ้างอย่าปล่อยให้ดินแห้งมากเกินไป
5. ทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่มทุกครั้งหลังพ่นสารโพแทสเซียมคลอเรต
6. ไม่ควรสูบบุหรี่ขณะพ่นสาร
7. ไม่ควรผสมสารใด ๆ ลงไปในขณะพ่นสารโพแทสเซียมคลอเรต
8. ไม่ควรผสมสารเกินอัตราที่กำหนดหรือที่แนะนำ
9. ขณะพ่นสารควรอยู่เหนือลม หลีกเลี่ยงการโดนละอองของสารโพแทสเซียมคลอเรตให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การปฏิบัติดูแลรักษาลำไยหลังการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต
1. การให้น้ำ
ในช่วงที่ให้สารใน 2-4 สัปดาห์ ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่อย่าให้แฉะหรือไหลนอง และให้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อลำไยออกดอกติดผลแล้ว ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ควรลดประมาณน้ำลงจนถึงงดน้ำถ้าในสภาพร่องสวนควรระบายน้ำออกจากส่วนให้มากที่สุด

2. การให้ปุ๋ยแบ่งการให้ออกเป็น 4 ระยะดังนี้คือ
2.1 เริ่มแทงช่อดอก ช่วงนี้ลำไยต้องการธาตุไนโตรเจนมาก ฉะนั้นควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ๆ เช่น สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 ประมาณ 0.5-1 กก./ต้น

2.2 ระยะเริ่มติดผลเท่าหัวไม้ขีด ช่วงนี้ควรมีการให้ปุ๋ยสูตร 15-0-0 ประมาณ 0.5-1 กก./ต้น โดยการแบ่งใส่ 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน และควรให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรองและอาหารเสริม

2.3 ระยะสร้างเนื้อถึงเมล็ดเริ่มดำ การให้ปุ๋ยในช่วงนี้จะเน้นให้ธาตุโพแทสเซียมสูงซึ่งธาตุนี้จะช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายอาหารจากใบส่งไปยังผลได้ดี และยังเป็นธาตุที่สะสมในเนื้อผลมากที่สุดปุ๋ยที่ใช้ในช่วงนี้ คือ สูตร 0-0-60 โดยการแบ่งใส่ 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 15-20 วัน (พาวิน, 2542) หรืออาจพิจารณาสูตรใกล้เคียงที่ใช้ได้ผลดี เช่นกัน คือ 0-0-50

2.4 ระยะหลังการเก็บเกี่ยวช่วงนี้ลำไยใช้ธาตุอาหารไปจากดิน-ลำต้นจำนวนมาก ถ้ามีการติดผลมากลำไยก็จะฟื้นต้นได้ช้ากว่า ต้นที่ติดผลน้อย จึงควรให้ปุ๋ยต้นที่ติดผลมาก ๆ มากกว่าต้นที่ติดผลน้อย เช่น ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 อัตราต้นละ 1-2 กก./ต้น และให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรอง (สูตรเร่งการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบ)

3. การฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค-แมลง
ปัจจุบันลำไยมีการออกดอกติดผลตลอดทั้งปีทำให้การเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตหรือนิสัยการกินของแมลงศัตรูพืชเริ่มเปลี่ยนไปรวมทั้งเกิดโรคระบาดกับลำไยเกิดขึ้นใหม่ ๆ มากมายเกษตรกรควรหมั่นดูแลสวนลำไยตั้งแต่โคนต้นจนถึงผลอยู่เสมอ เมื่อพบความผิดปกติเกิดขึ้นควรหาทางป้องกันโดยเร่งด่วน เช่น ถ้ามีแมลงเข้าทำลายในช่วงที่สำคัญ ๆ เช่น ช่วงออกดอก-ติดผล จะมีแมลงพวกเพลี้ยแป้ง-หอย, ไร, เพลี้ยไก่ฟ้า, หนอนชักใยกินดอกลำไยและหนอนคืบต่างๆ ควรฉีดพ่นสารเคมีพวก เอ็นโดซัลแฟน, ไซเปอร์เมทธิน, เฮ็กวีไธอะซ๊อค หรือ คลอไพริฟอส เป็นต้น ในส่วนของโรคที่เกิดขึ้น เช่น โรคแอนแทรคโนส, โรคราดำ, โรคยอดไหม้-ใบไหม้, โรคผลเน่า ควรฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา พวกคอบเปอร์ออกซิคลอไรด์, ไดเทนเอ็ม45, เมทาแลค.ซิล เป็นต้น ส่วนโรคที่ผู้เขียนคิดควรหาทางป้องกันโดยเร่งด่วนคือโรคระบบรากเน่า ซึ่งจากการนำดินและรากต้นที่เป็นโรคมาเลี้ยงเชื้อดูพบว่ามีเชื้อ phytophthora sp. อยู่เป็นจำนวนมาก(วรวรรณ ชาลีพรหม, สนทนาทางวิชาการ) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจะคล้าย ๆ กับทุเรียน โดยลำไยใบร่างเล็กน้อยและยืนต้นตายในที่สุด ทั้งนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่รุนแรงแต่เพียงอย่างเดียวควรใช้ในยามที่จำเป็นเท่านั้น




เอกสารอ้างอิง
ชิติ ศรีตนทิพย์ ยุทธนา เขาสุเมรุ และสันติ ช่างเจรจา. 2542 ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรตต่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอ. หน้า 30-37. ใน รายงานสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดู. จัดโดยคณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาสารเคมีเกษตร. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ธนะชัย พันธ์เกษมสุข. ไม่ระบุปีที่พิมพ์. ลำไยกับสารประกอบคลอเรต. ภาควิชาพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 51 หน้า.

นิรนาม. 2542. คำแนะนำการใช้สารกลุ่มคลอเรตเร่งการออกดอกลำไยอย่างปลอดภัย.กรมวิชาการเกษตร. พิมพ์ที่โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ . 22 หน้า.

พาวิน มะโนชัย วรินทร์ สุทนต์ วินัย วิริยะอลงกรณ์ นภดล จรัสสัมฤทธิ์ และเสกสันต์ อุสสหตานนท์. 2542(ข). ระยะการพัฒนาของใบกับการกระตุ้นการออกดอกของลำไยโดยการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต หน้า 9-14. ใน รายงานการสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดู. จัดโดยคณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาสารเคมีเกษตร สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พาวิน มะโนชัย. 2543. ลำไย. สิรินาฏการพิมพ์ จ.เชียงใหม่. 115 หน้า.

วินัย วิริรยะอลงกรณ์ พาวิทน มะโนชัย วรินทร์ สุทนต์ นภดล จรัสสัมฤทธิ์ และเสกสันต์ อุสสหตานนท์. 2542. การศึกษาเบื้องต้นของวิธีการฉีดสารโพแทสเซียมคลอเรตเข้าทางกิ่งต่อการออกดอกของลำไยพันธุ์สีชมพู. หน้า 15-20. ใน รายงานสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดู. จัดโดยคณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาสารเคมีเกษตร สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Hawley,J.Q. 1981. The condensed chemical dictionary. Tenth edition. Liton Education Publishing Inc.

ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ. เชียงใหม่ 50290
โทร. 0-53873938 , 0-53873939


http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit044.htm
www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/.../book.../fruit044.htm -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©