-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ข้าวหาย กลายเป็นเหล้า-เบียร์
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าวหาย กลายเป็นเหล้า-เบียร์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าวหาย กลายเป็นเหล้า-เบียร์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/07/2010 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ข้าวหาย กลายเป็นเหล้า-เบียร์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวหาย กลายเป็นเหล้า
ชนชั้นกลางเกิดใหม่ในจีนบริโภคข้าวสาลี เพื่อแสดงฐานะความเป็นอยู่นั้น เป็นเหตุผลที่สามารถรับรู้ได้ แต่จีนดูดซับข้าวจำนวนมหาศาลไว้ใช้ทำอะไร

เมื่อคนได้รับการตอบสนองด้านปัจจัยสี่ครบถ้วนแล้ว สิ่งต่อไปที่เขาแสวงหา คือ ความเพลิดเพลิน และเครื่องดื่มเพื่อความเพลิดเพลิน คือ สุราและเบียร์

ข้าวที่ผลิตได้ในสหรัฐนั้น ครึ่งหนึ่งส่งออกไปยังญี่ปุ่น ซาอุดิอารเบีย อินโดเนเซีย และ ประชาคมยุโรป (ที่มา Unctad Secretariat from COMTRADE) ส่วนที่บริโภคในประเทศนั้น 30% ใช้ทำวิสกี้และเบียร์ (ที่มา : States Department of Agriculture August 2006, Release No. 0306.06, U.S. RICE STATISTICS)

สุรากลั่น (วิสกี้) นั้นใช้ ข้าว โมลาส และ มอลต์ เป็นวัตถุดิบ (ที่มา : บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ)
สุราหมัก (ที่มิใช่ผลไม้หมักหรือฟรุตไวน์) ใช้ข้าวเหนียวและโมลาสเป็นวัตถุดิบ (ที่มา: บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ)

เบียร์ ใช้ข้าว ฮอพส์ และ มอลต์ เป็นวัตถุดิบ

มอลต์มิใช่พันธุ์ข้าว มอลต์ คือ การนำข้าวมาทำให้งอก (คล้ายถั่วงอก) ในสภาพที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น หลังจากนั้นก็ทำให้แห้งโดยเร็ว เพื่อยับยั้งการงอกเป็นต้นกล้า เพื่อให้เกิดเอนไซม์มอลเตส ที่จะเปลี่ยนแปลงแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโตส และเอนไซม์โปรเตส (proteases) ที่มีคุณสมบัติย่อยโมเลกุลของโปรตีนให้เล็กลง เหมาะที่จะเป็นอาหารของยีสต์

มอลต์ โดยมากมักจะทำจากข้าวบาร์เลย์ แต่เมื่อพิจารณาตารางที่ 2 ปริมาณการปลูกและการบริโภคข้าวบาร์เลย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับปริมาณการผลิตเหล้าและเบียร์ที่เพิ่มขึ้น

ประเทศจีนครองตำแหน่ง ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของโลก มาตั้งแต่ปี 2002 โดยมีปริมาณการผลิตเบียร์ทั้งสิ้นราว 24 ล้านตัน เทียบกับอดีตแชมป์ 9 สมัยสหรัฐอเมริกาที่ผลิตได้ประมาณ 22 ล้านตัน มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี นับเป็นอัตราสูงสุดในโลก

ประชาชนจีนบริโภคเบียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก 22 ล้านตัน/ปี เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน (ที่มา : วารสารมองเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัย กสิกรไทย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1296 วันที่ 4 กรกฎาคม 2546)

ระหว่างมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่จะถึงนี้ ข้าวส่วนใหญ่ จึงกลายเป็นเหล้าและเบียร์ รอบรรดานักท่องเที่ยว และผู้ชมกีฬาจำนวนมหาศาล ใช้ในการเฉลิมฉลองและสังสรรค์

โดยเหตุนี้ข้าวจึงมีราคาแพง เพราะถูกนำไปแปรสภาพ กลายเป็นเครื่องดื่ม เพื่อความเพลิดเพลิน
ต่อต้านการดื่มเหล้า เอาข้าวคืนให้ปวงชน

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลปี 2005 สุราที่ผลิตในประเทศมีปริมาณ 600.22 ล้านลิตร เบียร์มีปริมาณ 1,695 ล้านลิตร

เหล้าเบียร์หนึ่งลิตร ต้องช่วงชิงข้าวไปจากประชาชนกี่กิโล ต้องใช้ข้าวจำนวนเท่าไหร่ จึงผลิตเหล้าและเบียร์ได้ 2,295.22 ล้านลิตร


www.pakxe.com/home/modules.php?name...pa...7



ข้าวก็หาย กลายเป็นเบียร์
เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดแรกของโลก และเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณ (6,000 ปีก่อนศริสตกาล) วัตถุดิบที่ใช้ผลิตเบียร์ได้แก่ข้าว ซึ่งจะเป็นข้าวอะไรก็ได้ เช่น ญี่ปุ่นใช้ข้าวเจ้า รัสเซียใช้ข้าวไร เยอรมนีและไทยใช้ข้าวบาร์เลย์ นอกจากนี้ข้าวโพดก็ใช้ทำเบียร์ได้ ในแม็กซิโกบางท้องถิ่นก็ใช้ต้นแคกตัส

กลิ่นและรสเบียร์มาจากดอกฮอป (hop) ซึ่งเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ถ้าใส่ดอกฮอปจะได้รสขมอย่างอ่อนๆ ของเบียร์ แต่ถ้าหากไม่ใส่ดอกฮอปก็จะได้ไวน์แทน ฮอปที่ปลูกในแต่ละที่ให้รสชาติต่างกันเล็กน้อย ถ้าจะให้ดีต้องมาจากสาธารณรัฐเช็ก ผู้ผลิตเบียร์แต่ละคนจะมีสูตรผสมดอกฮอปต่างกัน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเบียร์แต่ละอย่าง

ประเภทของเบียร์สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. เอลเบียร์ (ale beer) มีสีดำอ่อนแต่ขมมาก เพราะใช้ยีสต์ประเภททอปยีสต์ในการหมัก มีกลิ่นของมอลต์หมักด้วยอุณหภูมิที่สูงมากพอสมควร

2. ลาเกอร์เบียร์ (lager beer) ผลิตจากมอลต์ บางครั้งอาจใช้เมล็ดข้าวโพดแทนได้ สีของเบียร์จะไม่เข้ม แอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง เมืองไทยมีเบียร์ประเภทนี้มากที่สุดเนื่องจากรสชาติถูกคอคนไทย ผลิตมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ถ้าหากลดดีกรีแอลกอฮอล์ลงจะกลายเป็นไลต์เบียร์

3. สเตาต์เบียร์ (stout beer) เป็นเบียร์ที่มีสีดำเข้มข้นจัดเป็นเอลเบียร์ประเภทหนึ่ง แต่สเตาต์เบียร์มีรสชาติหวานกว่ามีกลิ่นฉุนของดอกฮอปและมอลต์ชัดเจนกว่า เป็นที่นิยมมากในแถบสหราชอาณาจักร ในเมืองไทยราคาค่อนข้างแพง แต่คอเบียร์ที่มีอายุจะชอบ เพราะเชื่อว่าสเตาต์เบียร์บำรุงสุขภาพมากกว่าเบียร์ประเภทอื่นๆ

4. พอร์ตเตอร์เบียร์ (porter beer) จัดเป็นเบียร์เอลเบียร์ประเภทหนึ่งแต่กลิ่นของดอกฮอปน้อยกว่า รสชาติคล้ายสเตาต์เบียร์ แต่มีรสหวานและมีฟองมากกว่า

5. บ็อกเบียร์ (bock beer) มีรสชาติเช้มข้น หวานนำนิดๆ ในเยอรมนีจะผลิตเบียร์พวกนี้มาก
บันทึกการเข้า

board.upmaxclub.com/index.php?topic=23009.0 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 26/07/2010 10:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)







กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©