-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-แก้สชีวภาพในครัวเรือน..ของเหลือเป็นปุ๋ย...
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - แก้สชีวภาพในครัวเรือน..ของเหลือเป็นปุ๋ย...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

แก้สชีวภาพในครัวเรือน..ของเหลือเป็นปุ๋ย...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 26/07/2010 3:13 pm    ชื่อกระทู้: แก้สชีวภาพในครัวเรือน..ของเหลือเป็นปุ๋ย... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


นอกจากเรื่อง แหนแดงแล้ว ศ.ดร นันทกร ยังทำโครงการ แก้สชีวภาพในครัวเรือนอีกด้วย
เปลวไฟจาก หัวเตาที่ต่อมาจาก ถังแก้ส ข้างๆ




ซึ่งกระบอกสีฟ้าๆทั้ง 2ตัว จะเป็น ตัวดัก ซัลเฟอร์และ ไดออกไซด์


หากปริมาณแก้ส มีปริมาณมาก ก็เก็บสำรองไว้ใช้ด้วยเครื่องมือ อัดแก้สเข้าสู่ถัง







แก้สที่ได้มาจากบริเวณใต้ คอกหมู นี่เอง โดยการฝังถังขนาดใหญ่ลงไป



เมื่อล้างสิ่งปฏิกูลต่างๆลงไปยังถังหมัก ก็จะเกิดการหมักโดยจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจนจะได้แก๊สออกมา



ส่วนที่เหลือสามารถนำใช้เป็นปุ๋ยได้ ในส่วนนี้จะไม่มีกลิ่นเหม็น เพราะ...?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
piglatte
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/08/2009
ตอบ: 17

ตอบตอบ: 03/08/2010 2:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"ส่วนที่เหลือสามารถนำใช้เป็นปุ๋ยได้ ในส่วนนี้จะไม่มีกลิ่นเหม็น เพราะ...?"

ช่วยวิจารณ์
องค์ประกอบในขี้หมูที่ผ่านระบบแก๊สชีวภาพแล้วจะคงเหลือส่วนที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นอยู่น้อย ถึงน้อยมาก เนื่องจากองค์ประกอบส่วนหนึ่งจะถูกจุลินทรีย์กลุ่มไม่ใช้ออกซิเจน ย่อยสลายไปเป็นแก๊สชีวภาพ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสารอาหารพวกโปรตีนที่สัตว์ย่อยสลายไม่หมดและโปรตีนพวกนี้แหละเป็นอาหารหลักของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดแก๊ส ทำให้ได้แก๊สมีเทนเป็นส่วนประกอบ รองลงมาก็เป็น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า และ ก๊าซแอมโมเนีย ยิ่งเราสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเกิดแก๊สได้มากเท่าไหร่ เช่นการทำบ่อแก๊สชีวภาพ จะช่วยส่งเสริมกลุ่มจุลินทรีย์ดังกล่าวให้มีปริมาณมากพอที่จะย่อยสลายโปรตีนและให้ผลผลิตเป็นแก๊สออกมาจากมูลได้มาก ก็จะทำให้ส่วนที่เหลือ หรือกากแก๊สชีวภาพที่ออกมานั้นมีกลิ่นน้อยลง (ยังมีกลิ่นแต่ไม่มาก จรรโลงใจมากกว่าต่างจากกลิ่นขี้หมูสดหลายเท่านัก)

ก๊าซไข่เน่า (H2S)
H2S จากการย่อยสลายโปรตีนตกค้างในอาหารเหลือ , ในมูลสัตว์ ซึ่งโปรตีนมีกรดอะมิโนบางชนิดมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบด้วย เช่น ซิสทีน , เมทไธโอนีน เกิดการปลดปล่อยออกมาเป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า หรือกลิ่นตด ถ้าจำเป็นต้องสูดดมมากเพราะไม่มีที่จะไปหลบที่อื่น จะทำให้สัตว์มึนงงเนื่องจากเลือดสัตว์รับออกซิเจนได้ไม่เต็มที่ ทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอลง เป็นโรคง่าย ตายง่าย

ก๊าซแอมโมเนีย (NH3)
NH3 เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนตกค้างในมูลไก่ เมื่อชื้น (จากมูลไก่เอง , จากพื้นเปียก , จากดินชื้น) ตัวที่ย่อยมูลไก่ก็คือบักเตรี และจุลินทรีย์อื่น ๆ ในมูลไก่ , จากดิน , น้ำ , อากาศ , ถ้าดินชื้น , วัตถุรองพื้นเปียก , น้ำรั่วซึม , ฝนสาด , ฝนตกมาก จะยิ่งเกิดการปล่อยแอมโมเนียออกมามาก หากขาดการจัดการพื้นคอกและอาหารอย่างถูกต้องจะเกิดแอมโมเนียมากจนไก่เป็น หวัด หน้าบวม คันหน้าตา น้ำตาไหล ตาบอด ไอ จาม อ่อนแอ เจ็บป่วย เป็นโรคง่าย ตายง่าย
(ที่มา ; http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=960)

ในปัจจุบันแก๊สชีวภาพที่ผลิตจากฟาร์มสุกรยังคงมีปัญหาที่เกิดจาก แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ เนื่องจากมีสภาพกรดจัดและทำปฏิกิริยากับโลหะทำให้การนำไปใช้กับเครื่องยนต์ หรือตัวเตาแก๊สที่เป็นเหล็กจะสังเกตุได้ว่าเมื่อใช้ไปสักพักจะเกิดเป็นตะกรันสีขาวขึ้น หรือภายในเครื่องยนต์มีการกัดกร่อนเสียหายทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

หากเราสามารถเจือจางแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ให้มีความเข้มข้นต่ำ จะทำให้สามารถนำแก๊สไปใช้เป็นพลังงานทดแทนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาการกัดกร่อน

อยากทราบรายละเอียดของตัวกรองแก๊สชีวภาพ ที่เห็นเป็นท่อ PVC เค้าทำอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้างครับ ?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©