-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-การใช้"แหนแดง"ในนาข้าว
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - สัมมนา “มะรุม” พืชมหัศจรรย์...จริงหรือ ?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

สัมมนา “มะรุม” พืชมหัศจรรย์...จริงหรือ ?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
mailongmairu
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/08/2010
ตอบ: 1

ตอบตอบ: 07/08/2010 3:16 pm    ชื่อกระทู้: สัมมนา “มะรุม” พืชมหัศจรรย์...จริงหรือ ? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“สื่อเกษตรฯ จับมือ ม.เกษตร จัดงานสัมมนาครั้งใหญ่ เรื่อง “มะรุม” พืชมหัศจรรย์... จริงหรือ ? ระดมวิทยากรระดับกูรูไขข้อข้องใจทุกประเด็น ณ ม.เกษตร ศุกร์ 20 ส.ค. นี้ ติดตามด้วยการดูงานนอกสถานที่แหล่งผลิตและแปรรูปอย่างครบวงจร”

ด้วยเหตุนี้ทางสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนิตยสาร”ไม่ลองไม่รู้” ระดมคลังปัญญาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ จัดสัมมนาทางวิชาการเชิงปฎิบัติการ เรื่อง “มะรุม” พืชมหัศจรรย์..จริงหรือ ? ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2553 ณ ห้องสุธรรมอารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตั้งแต่เวลา 08.00 น.-16.00 น.

งานนี้นอกจากจะได้รับความรู้เรื่องมะรุมอย่างจุใจแล้ว ยังมีการแจกเมล็ดพันธุ์มะรุมสายพันธุ์ดีโตเร็วให้ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการสูงจากประเทศอินเดีย แถมด้วยการแจกหนังสือนาฬิกาชีวิตตอน 2 มะรุมต้นไม้เพื่อชีวิต ,หนังสือเรื่อง รู้ลึกเรื่องมะรุม และหนังสือไม่ลองไม่รู้ ตอนมะรุมฟีเวอร์ พืชมหัศจรรย์หรือโอกาสทางธุรกิจ ด้านนอกห้องสัมมนาเชิญชมนิทรรศการและการแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการทำผลิตภัณฑ์มะรุมอย่างมากมาย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งเพื่อเข้าร่วมการสัมมนาได้ที่ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย และ นิตยสารไม่ลองไม่รู้ โทรศัพท์ 0-2809-4211-3 โทรสาร 0-2809-4213 หรือ 08-6319-6638 , 08-1497-7680
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 07/08/2010 3:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณ ครับ Very Happy นำข่าวดีๆมาให้ทราบกัน แบบนี้ต้องลองใชไหมครับ ถึงจะรู้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/08/2010 5:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มะรุม

มะรุม จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์เอนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20-40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1-3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20-50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.

มะรุมเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น และยังมีในเขตเอเชียไมเนอร์และแอฟริกา เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง งอกเร็ว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ต้นกล้าสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร

เนื้อหา
1 สรรพคุณ
2 คุณค่าทางอาหาร
3 ประโยชน์อื่นๆ
4 อ้างอิง
5 แหล่งข้อมูลอื่น

สรรพคุณ
มะรุมในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย [1]

ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้

ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง

ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง

ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)

เปลือกลำต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร

ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma

คุณค่าทางอาหาร
ใบ ใบสดใช้กินเป็นอาหาร ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามิน เอ สูงกว่าแครอท มีแคลเซียมสูงกว่านม มีเหล็กสูงกว่าผักขม มีวิตามี ซี สูงกว่าส้มและมีโปแตสเซียมสูงกว่ากล้วย

ดอกฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัดHelminths ป้องกันมะเร็ง

ฝัก ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้น

ใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม

เมล็ด น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสดใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร
การปรุงอาหาร ในประเทศไทย ฤดูหนาวจะมีมะรุมจำหน่ายทั่วไป ทั้งตลาดในเมืองและในท้องถิ่น คนไทยทุกภาครับประทานมะรุมเป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมนักมะรุมอ่อนไปปรุงเป็นแกงส้ม และนำดอกมะรุมลวกให้สุกหรือดองรับประทานกับน้ำพริก สำหรับชาวอีสาน ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอ่อนนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักร่วมกับป่นแจ่ว ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงอ่อม ส่วนฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่แก่เต็มที่นำมาปอกเปลือก หั่นเป็นท่อนและนำไปปรุงเป็นแกงส้ม หรือแกงลาวได้ นอกจากนี้ ที่จังหวัดชัยภูมิ ยังรับประทานฝักมะรุมอ่อนสด เป็นผักแกล้มร่วมกับส้มตำโดยรับประทานคล้ายกับรับประทานถั่วฝักยาว และชาวบ้านเล่าว่าฝักมะรุมอ่อนนำไปแกงส้มได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก ชาวเหนือนำดอกอ่อน ฝักอ่อนไปแกงกับปลา ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย มีการทำผงใบมะรุมไว้เป็นอาหาร น้ำใบมะรุมอัดกระป๋อง

ประโยชน์อื่นๆ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ

ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี
ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้
รักษาโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้งยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะ ควบคุมได้[ต้องการอ้างอิง]
ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน
หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง ท้องเสีย ท้องผูก โรคพยาธิในลำไส้
รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
เป็นยาปฏิชีวนะ


อ้างอิง
^ http://www.thaiherbbiz.com
^ [1]
http://www.samunpri.com
http://thaiherbclinic.com/node/141

thaiherbclinic.com/node/141 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/08/2010 5:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

“มะรุม” พืชสมุนไพร แต่ไม่ใช่ “ยาวิเศษ”

ชี้ทานเป็นอาหารได้...ปลอดภัยไม่อันตราย

กระแสรักสุขภาพยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก ประชากรไม่น้อยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น และยังคงมีวี่แววว่าจะสนใจไปอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงไหน “ฮิต” อะไร แต่ที่แน่ๆ และยังคงยืนพื้นในความนิยมของคนส่วนใหญ่ ยังคงเป็น “สมุนไพร” โดยในขณะนี้ “เทรนด์” ได้มาหยุดอยู่ที่ผักพื้นบ้าน เจ้าของนาม “มะรุม”

“มะรุม” เป็นพืชพื้นบ้านที่มีทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทำให้มีการเรียกชื่อมะรุมแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น คำว่ามะรุมนี้ เป็นคำเรียกขานของคนภาคกลาง ในขณะที่ฝั่งอีสานบ้านเฮาเอิ้นว่า “ผักอีฮุม หรือ บักฮุ้ม” ส่วนหมู่เฮาจาวเหนืออู้ว่า “บะค้อนก้อม” ส่วนชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ด้านชายขอบจังหวัดแม่ฮ่องสอนกลับให้ชื่อแก่มันอย่างชวนให้ลิ้มรสว่า “ผักเนื้อไก่”

ครัวไทยแต่โบราณนำมะรุมมาปรุงเป็นอาหารหลากรสหลายตำรับ ในขณะที่ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยก็นำแทบทุกส่วนของมะรุม ไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ฝัก เมล็ด เปลือก ราก ฝัก ฯลฯ โดยสรรพคุณทางสมุนไพรในแต่ละส่วนก็มีต่างๆ กันไป

ปัจจุบันขณะนี้ ได้มีการโฆษณาสรรพคุณของมะรุมอย่างแพร่หลาย บ้างก็ว่าช่วยต้านมะเร็ง ช่วยรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสุขภาพ และสรรพคุณอื่นๆ อีกร้อยแปดพันประการ ทำให้แวดวงผู้รักสุขภาพทั้งหลายตื่นตัวและตื่นเต้นอีกครั้งกับสมุนไพรที่ดูเหมือนว่าจะ “มหัศจรรย์” ชนิดนี้ ไม่ต่างกับปรากฏการณ์กระชายดำและยอ ที่บูมเปรี้ยงปร้างช่วงก่อนหน้านี้ และก็เลือนหายไปกับสายลมแล้ว

และล่าสุด “กระแสมะรุมฟีเวอร์” ได้แพร่ระบาดจนกระทั่งบริษัทเอกชนหลายแห่งได้ผลิต “แคปซูลมะรุม” ออกมาขายกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ด้านสมุนไพร รวมถึงผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาบำรุงสุขภาพ แต่อยากได้อาหารเสริมเพื่อเป็นการบำรุงทางลัด

ภญ.สุภาพร ปิติพร แห่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่ใช้แนวการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยเป็นหลัก กล่าวถึงคุณสมบัติของมะรุมว่า มะรุมเป็นผักที่มีสารอาหารเกือบครบ วิตามินเอสูง มีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นอาหารที่เหมาะกับเยาวชนที่ขาดอาหารในพื้นที่กันดาร โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ปี เช่น เยาวชนในประเทศเอธิโอเปีย รวมถึงในพื้นที่ที่เกิดวิกฤติขาดแคลนอาหารอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม การบริโภคมะรุม ประชาชนต้องเข้าใจก่อนว่ามะรุมไม่ได้รักษาโรคได้สารพัดโรค ไม่ใช่ยามหัศจรรย์ หากคือผักพื้นบ้านที่คนไทยใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารมาหลายรุ่นแล้ว ไม่ใช่ยาวิเศษอย่างที่กระแสสังคมเข้าใจ

“มะรุมมีฤทธิ์ร้อน ก็พอจะช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต แล้วก็มีความเชื่อว่ามันช่วยเรื่องเบาหวานกับความดันโลหิตสูง ในส่วนตรงนี้ต้องพิสูจน์วิจัยกันต่อไป แต่ที่ห่วงก็คือ หากคนเข้าใจว่ามันเป็นยา ไม่ใช่พืชผัก และรับประทานมันในฐานะยารักษาโรค คนจะไม่รับประทานยาแผนปัจจุบันที่ผลิตออกมาเพื่อรักษาโรคนั้นๆ โดยตรง”

ภญ.สุภาพร กล่าวต่อไปอีกว่า การบริโภคมะรุมนั้น อยากให้ประชาชนเข้าใจว่ามันคือผักพื้นบ้าน อยากให้บริโภคอย่างเข้าใจ เพราะจริงๆ แล้วมะรุมก็ไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทั้งหมด เพราะในตัวมันก็เป็นพิษด้วยเหมือนกัน

“อย่างที่บอกมะรุมเป็นพืชร้อน หากสตรีมีครรภ์รับประทานอาจจะทำให้แท้งได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย รวมถึงคนเป็นโรคเกาต์ ก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากมะรุมมีโปรตีนสูง”

อย่างไรก็ตาม เภสัชกรแห่งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรย้ำว่า ไม่ใช่การบริโภคมะรุมเป็นของไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยแต่โบร่ำโบราณก็นำมะรุมมาประกอบอาหารในฐานะพืชผักท้องถิ่น แต่สำหรับผู้ที่คิดเสริมสุขภาพทางลัดด้วยการไปซื้อมะรุมสกัดเป็นเม็ดแคปซูลมารับประทานนั้น อยากให้ระมัดระวังสักนิด เพราะมะรุมสกัดยังไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

“มะรุมรับประทานได้ในบริบทของอาหารปลอดภัย ไม่อันตราย และมีประโยชน์ตามสมควรในฤทธิ์ของสมุนไพร ที่ไม่อันตรายเพราะเราไม่ได้รับประทานทุกวัน และรับประทานในปริมาณไม่มากนัก แต่อยากจะฝากเตือนไปยังผู้ที่รักสุขภาพว่า สำหรับมะรุมสกัดที่มีอยู่มากในตลาดขณะนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง และหากจะเลือกรับประทานคงจะต้องดูกันดีๆ เพราะเราไม่รู้ว่าเขาสกัดจากส่วนไหน แต่ละส่วนมีฤทธิ์และออกฤทธิ์ต่อกลไกอวัยวะในระบบต่างๆ กัน และไม่รู้ด้วยว่าที่สกัดมาจะมีสารอะไรบ้าง และมีมากน้อยแค่ไหน และใส่อะไรลงไปเพิ่มอีกบ้าง ที่สำคัญคือตอนนี้ อย. ยังไม่รับรองผลิตภัณฑ์สกัดจากมะรุม และก่อนหน้านี้ก็เคยปรากฏเช่นกันในกรณีของขี้เหล็ก ที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชรักษาโรคได้ผล จึงมีการผลิตเป็นขี้เหล็กสกัดบรรจุแคปซูล ซึ่งพอคนไข้รับประทานเข้าไปปรากฏว่ามีหลายรายมีอาการผิดปกติที่ตับ”

เภสัชกรแห่งโรงพยาบาลใหญ่ในจังหวัดปราจีนบุรี ยังให้รายละเอียดถึงประสบการณ์ด้านเภสัชรักษาของมะรุมจากที่เธอได้ทำงานกับหมอพื้นบ้านต่อไปอีกด้วยว่า เนื่องจากมะรุมมีฤทธิ์ร้อน จึงมีการนำมาใช้เพื่อแก้อาการปวดเมื่อย เหน็บชา ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ในบริบทของหมอพื้นบ้านก็ใช้มะรุมในการควบคุมอาการความดันโลหิตสูง โดยนำยอดมะรุมสด นำมาโขลกคั้นน้ำผสมน้ำผึ้ง ดื่มวันละครั้ง แก้ความดันขึ้น ซึ่งหมอพื้นบ้านทางแถบไทยใหญ่ก็ใช้มะรุมคุมความดันเช่นเดียวกัน

“ส่วนคนที่มีอาการเหน็บชา กินมะรุมก็ช่วยแก้ได้เหมือนกัน เพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี แต่คุณสมบัติก็ไม่ได้โดดเด่นมากนัก นอกจากนี้ ดอกอ่อนของมะรุมยังช่วยป้องกันหวัด และมีวิตามินซีสูงอีกด้วย ดีที่สุดคือมองมะรุมเป็นอาหาร ต้องรับประทานอย่างเข้าใจ คนเราต้องรับประทานหลากหลาย รับประทานให้ครบทุกรส เพราะอาหารที่หลากหลายจะเข้าไปบำรุงหลายกลไกในร่างกายในทุกๆ ระบบ เราต้องการอาหารหลายอย่าง ไม่ใช่จากมะรุมอย่างเดียว ขออย่าให้เข้าใจผิด อย่ามองมะรุมเป็นยาวิเศษ”

ในขณะที่ รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งในประเทศไทย คาดคะเนที่มาของกระแสนิยมมะรุมว่า น่าจะมาจากต่างประเทศ ที่มีคนไข้ทดลองรับประทานแล้วปรากฏว่าร่างกายดีขึ้น จากนั้นก็มีคนนำมาทำเป็นฟอร์เวิร์ดเมลบ้าง เป็นข้อมูลลงในอินเทอร์เน็ตบ้าง ทำให้กระแสสุขภาพของมะรุมแพร่ไปในวงกว้าง จนกระทั่งเข้ามาสู่ประเทศไทยในที่สุด

“จริงๆ แล้วข้อมูลมันยังไม่คอนเฟิร์มนะ เป็นกระแสนิยมแบบไฟไหม้ฟาง พอฝรั่งในอเมริกากินแล้วดี ก็มีการส่งเมล์บอกต่อๆ กัน จนเข้ามาประเทศไทย น่าจะเข้ามาทางชุมชนอโศกซึ่งนิยมบริโภคผักและอาหารออร์แกนิกอยู่แล้ว"

รศ.ดร.นพมาศ กล่าวต่อไปว่า เท่าที่ทราบงานวิจัยด้านมะรุมทางวิทยาศาสตร์มีค่อนข้างน้อย หากเทียบกับสมุนไพรที่อยู่ในกระแสนิยมตัวก่อนๆ นี้ และแม้ว่าจะมีบ้าง ก็อยู่ในระดับของการทดลองกับหนู และมีข้อมูลด้านลบแจ้งไว้เช่นกัน เช่น มะรุมมีโปรตีนสูง และเป็นโปรตีนที่เกาะกันเป็นก้อน จะไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางโรค รวมถึงต่อผู้ป่วยด้วยโรคเลือดบางชนิด ก็ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากในมะรุมมีสารบางชนิดที่เป็นพิษต่อผู้ป่วยโรคดังกล่าว

“อย่างไรก็ตาม ในมะรุมก็มีวิตามินสูง มีสรรพคุณบำรุงสายตา มีวิตามินเอ มีเบตาแคโรทีน และอาจจะมีฤทธิ์ทางเภสัชที่ช่วยด้านลดน้ำตาลได้บ้าง การเลือกใช้ต้องระมัดระวัง แต่การนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารนั้น ถือเป็นปริมาณที่ปลอดภัย แต่ในส่วนของการเลือกจะดูแลสุขภาพแบบรวดเร็วโดยการไปซื้อมะรุมที่สกัดเป็นเม็ดเหมือนยาหรืออาหารเสริมนั้น ต้องดูให้ดีว่าส่วนใหญ่ออกฤทธิ์อย่างไร ทางที่ดีรับประทานสดเป็นอาหารจะปลอดภัยที่สุด” ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรรายนี้ทิ้งท้าย


ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ

www.thaihealth.or.th/node/9239 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/08/2010 6:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

น้ำมันมะรุม

ผลิตในประเทศจากเม็ดมะรุมไทย 100% ด้วยกรรมวิธีบีบเย็น สรรพคุณ..ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัสรักษาโรคเริม งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น

ชะลอความแก่
กล่าว กันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้
คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin)
สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ
ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสาร
ต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

ฆ่าจุลินทรีย์
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์
ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิด
โรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถ
ต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจาก การกระตุ้นน้อยกว่า
กลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับ
ยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ทั้งนี้ กลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณ
คอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ
หัวใจ และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) โดยกลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้
ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่า
การกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม
การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่าง
มีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลอง เกิดความเสียหายโดย
ไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโน
ทรานสเฟอเรส อะลานีน ทรานมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด
และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ
สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการ
ถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้


เอกสารอ้างอิง:
Nature’s Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz. WWW.PUBMED.GOV.
(Search for Moringa) (Antiviral Research Volume 60, Issue 3, Nov. 2003,
Pages 175-180: Depts. of Microbiology, Pharmaceutical Botany,
Pharmacology, Faculty of Pharmaceutical Science,
Chulalongkorn University, Bangkok.

นิตยสารหมอชาวบ้านปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550

www.organicthailand.com › ... ›
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/08/2010 6:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูกมะรุม

1.พันธุ์ เข้าใจว่าพันธุ์ดั้งเดิม หรือมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย นำมาปลูกขยายต่อๆ กันมาในประเทศไทย

2. การเตรียมดิน ไถดินตาก พรวนดิน ขุดหลุมขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน หรือจะปลูกตามแนวรั้วบ้าน ตามที่ๆ ปล่อยว่างเปล่าหรือ ตามหัวไร่ปลายนา ขุดหลุมปลูกและเตรียมดินตามที่กล่าวมา

3. การปลูก มะรุม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือกิ่งตอน ส่วนมากจะนิยมเพาะเมล็ดในถุงดำก่อน ก่อนปลูกแกะถุงดำออก นำต้นกล้ามะรุมลงปลูกกลางหลุมกลบดิน รดน้ำ ใช้ไม้ปักมัดด้วยเชือก

4. การให้น้ำ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชทนแล้งได้ดี และออกดอกออกฝักตามฤดูกาล การให้น้ำ ถ้าเป็นระยะแรกของการปลูก หรือปลูกในฤดูฝนจะไม่มีปัญหาเรื่องการให้น้ำ ส่วนฤดูแล้งให้น้ำตามความเหมาะสม

5. การใส่ปุ๋ย เน้นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ใส่รอบๆ โคนต้น พรวนดินกลบ หรือใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัมต่อต้น ร่วมด้วยก่อนพรวนดินกลบ

6. การเก็บเกี่ยว มะรุมเป็นพืชที่โตเร็วหากได้นํ้าและปุ๋ยสมํ่าเสมอมะรุมอายุประมาณ 2-3 ปีก็ให้ผลผลิตแล้ว สามารถเก็บขายได้ตั้งแต่ ยอด ดอก ฝักอ่อนและฝักแก่ ปัจจุบันมีการนำส่วนต่างๆของมะรุม

มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น นํ้ามันมะรุม ครีม สบู่ ชาชง ยาลูกอม และลูกประคบเป็นต้น

7. โรคและแมลง ปัญหาเรื่องโรคและแมลงไม่ค่อยมีปัญหา จะมีบ้าง คือหนอนเจาะลำต้นและกิ่งทำให้อายุต้นมะรุมไม่ยืนยาวต้องหมั่นตรวจและทำลายหนอนอยู่เสมอ

as.doa.go.th/hort/database/framehom_files/vegetable/marum.htm -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/08/2010 6:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปลูก มะรุม แปรรูปครบวงจร งานทำเงิน

ดลมนัส กาเจ

จากประสบการณ์ในระหว่างที่เดินทางไปหาต้นมะรุมเพื่อตัดเอาใบส่งขายให้พ่อค้าที่รับซื้อถึงกิโลกรัมละ 300 บาท ทำให้ สงัด พรหมเมศ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ตัดสินใจศึกษาถึงสรรพคุณของมะรุมอย่างจริงจัง ก่อนหันมาปลูกมะรุม เพื่อนำมาแปรรูปครบวงจร จนปัจจุบันเป็นที่รู้จักของทั่วไป และสามารถสร้างรายได้เข้ากลุ่มเดือนละไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท

สงัด บอกว่า เดิมที่เป็นเกษตรกร ยึดอาชีพทำนา ปลูกผัก แต่ในช่วงว่างจากการทำนาได้รวบรวมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมาแปรรูปสมุนไพรไทย ทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน และการบำบัดรักษา อาทิ แชมพูสมุนไพร สบู่ ยาหม่อง ลูกประคบ และอื่นๆ อีกหลายการตั้งแต่ปี 2544 กระทั่งล่าสุด เน้นสมุนไพรจากมะรุม เนื่องทราบมาว่า มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางอาหาร และสมุนไพรที่สามารถบำบัดรักษาโรคหลายอย่าง

"ที่จริงฉันก็ไม่ได้สนใจมะรุมมากนัก เพียงแต่ชอบเอาฝักอ่อนมาแกงส้มตามประสาคนไทย มีอยู่วันหนึ่งในระหว่างที่ตามไปฟังท่านจันทร์ หรือ สมณะเพาะพุทธ จันทเสฏโฐ แห่งสันติอโศก ซึ่งเป็นน้องชายแท้ๆ ไปเทศน์ย่านฝั่งธนฯ พูดคุยกับ อ.สุทธิวัฒน์ คำพา ถึงสรรพคุณของมะรุมหลายอย่าง แต่ตอนนั้นก็ยังไม่สนใจ กระทั่ง 4 ปีถัดมามีพ่อค้ารายหนึ่งไปหาที่บ้าน เพราะทราบว่าที่บ้านมีสมุนไพรหลายอย่าง เพื่อขอซื้อใบมะรุมไม่จำกัดปริมาณ ในราคากิโลกรัมละ 300 บาท ฉันจึงออกจากบ้านตระเวนหาต้นมะรุมในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคกลาง สร้างรายได้ดีพอสมควร" สงัดย้อนอดีตก่อนจะเป็นผู้ปลูกมะรุมรายใหญ่ใน จ.อ่างทอง

ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ต.รำมะสัก บอกอีกว่า ระหว่างที่ไปหาใบมะรุมในพื้นที่ จ.สระบุรี หยุดพักเที่ยงนำยอดมะรุมมารับประทานกับขนมจีน พบว่ามีอาการถ่ายท้อง ตอนหลังลองมาจิ้มน้ำพริกอีก พบว่ามีอาการเช่นเดิม จึงตั้งข้อสังเกตว่ามะรุมมีสรรพเป็นยาระบายชั้นดี ประกอบกับที่สงสัยพ่อค้ามารับไม่อั้น จึงเริ่มศึกษาเกี่ยวกับมะรุม จึงทราบว่ามีสรรพคุณหลายอย่าง ในที่สุดตัดสินใจใช้พื้นที่ 4 ไร่ 3 งาน ปลูกเองเมื่อ 2 ปีก่อน จำนวน 8,000 ต้น ปลูกได้ 3 เดือนเก็บใบกิ่งได้แล้ว กระทั่งต้นมะรุมอายุได้ 8 เดือน สร้างรายถึง 3 แสนบาท จึงขยายพื้นที่ปลูกอีกกว่า 20 ไร่ รวมแล้ว 25 ไร่

"เราดูจากตำราต่างๆ ระบุว่า มะรุมมีสรรพคุมากมายกว่าที่คิด อาทิ ราก แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือก ช่วยขับลม ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ลดน้ำตาลในเม็ดเลือด ลดน้ำไขมัน ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ คนจึงนิยมใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้เกาต์ สร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย บางคนรักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด หากรับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งด้วย นอกจากนี้ยังรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคกระดูกอักเสบ ลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ และโรคปอดอักเสบ" สงัดกล่าว

สงัดบอกด้วยว่า ในฐานะที่มีอาชีพแปรรูปสมุนไพรอยู่แล้ว และทราบว่ามะรุมมีสรรพคุณหลายอย่าง จึงมาเน้นแปรรูปสมุนไพรจากมะรุมเป็นหลัก อาทิ ใบ ทำเป็นมะรุมแคปซูล บรรจุกระปุกขนาด 122 แคปซูล ขายกระปุกละ 100 บาท น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมขวดละ 300 บาท สบู่จากถ่านไม่มะรุม ก้อนละ 25 บาท ขี้ผึ้งตลับละ 25 บาท แชมพู 60 บาท ทำให้แต่ละเดือนรายได้จากการแปรรูปจากมะรุมตกเดือนละ 5 หมื่นบาท

นับเป็นพืชสมุนไพรที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง หากสนใจเกี่ยวมะรุม สงัด พรหมเมศ จะไปเป็นวิทยากรในการสัมมนาหัว “มะรุม” พืชมหัศจรรย์...จริงหรือ? ณ ห้องสุธรรมอารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2553 จัดโดยสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย โทร.0-2940-5426-7 หรือ 0-2809-4211-3


www.pandinthong.com/ViewContent.php?ContentID=6129 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©