-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ฮอร์โมน นาโนเทคโนโลยี
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ฮอร์โมน นาโนเทคโนโลยี
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ฮอร์โมน นาโนเทคโนโลยี

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kurtco
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 16/03/2010
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 20/07/2010 9:35 am    ชื่อกระทู้: ฮอร์โมน นาโนเทคโนโลยี ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พอดีลุงที่ทำลำไยเขาแนะนำให้รู้จักฮอร์โมน คล้าย (บราสซิน)เป็นงานวิจัยของอาจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ มช. ซึ่งแก (ท่าน) แนะนำว่าใช้ได้กับพืชทุกชนิด สามารถเพิ่มผลผลิตได้มาก แต่ผมไม่เคยได้ยินเลย จึงอยากนำมา เป็นกระทู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น แต่ลองค้นหาในเว็ปเจอตัวนี้

นาโนฮอร์โมน อาหารเสริมพืช เร่งดอก เร่งผลผลิต น้ำหนักดี
50 มิลลิลิตร (ซีซี)
ฟอสเฟต เอสเตอร์ 0.36%
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 20/07/2010 9:42 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โพสต์กระทู้นี้ เพื่อวัตถุประสงค์ใด ? ...... (โฆษณา หรือ เล่าสู่กันฟัง หรือ วิภาควิจารย์ หรือ ฯลฯ)

ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kurtco
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 16/03/2010
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 20/07/2010 3:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เพื่อหาความรู้ครับลุงคิม...... ที่บอกมาไม่ใช่ชื่อทางการค้าครับ พอดีพึ่งได้ยินเทคโนโลยีนาโนมาเกี่ยวข้องกับเกษตร ซึ่งผมกำลังหาวิธีเพิ่มผลผลิตครับ เพราะราคาลำไยปีนี้ได้ทุนคืนและมีกำไรสำหรับเกษตรกรเจ้าของสวนลำไย ที่ลำพูน พอดีเห็นว่าเขาบอกส่วนประกอบหลัก และคุณสมบัติ จึงอยากหาความรู้จาก การวิพากย์ของผู้รู้คร้บ

ขอโทษด้วยนะครับสำหรับกระทู้ที่กำกวมครับ
สูมาเต๊อะคับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
somchai
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 21/07/2009
ตอบ: 1290

ตอบตอบ: 20/07/2010 6:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำใยปีนี้น่าจะราคาดีนะครับ ผมเห็นขายตามตลาดนัด กิโลกรัมละ 60-70 บาท หรือว่าอาจจะเป็นช่วงลำใย ต้นฤดู
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kurtco
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 16/03/2010
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 21/07/2010 2:28 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไม่น่าจะไกลลำไยนะครับ .....

ลำไยจัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ทำการเพาะปลูกแล้วทั่วประเทศ เนื่องจากสามารถ บังคับให้ออกดอกติดผลได้ด้วยสารโปแตสเซียมคลอเรต แต่ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ คุณภาพของผลลำไยยังไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะลำไยที่ทำการผลิตนอกฤดู หรือผลิตในพื้นที่ที่ภูมิอากาศไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผลลำไย

ขนาดของผลลำไยเป็นปัจจัยทางคุณภาพประการหนึ่งที่ใช้ในการกำหนดราคาของลำไย ลำไยที่มีขนาดใหญ่ (AA หรือ A) จะมีราคาสูงกว่าลำไยที่มีขนาดเล็ก (B และ C) ประมาณ 10–15 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ค้นคว้าหาวิธีการในการเพิ่มขนาดผลของลำไย เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตลำไยให้แก่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนลำไย

บราสซิน. เป็นกลุ่มฮอร์โมนพืชที่มีผลในการกระตุ้นการทำงานของ "ฮอร์โมนออกซิน" (สารกระตุ้นการแบ่งเซลล์พืช) "ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน" (สารกระตุ้นในการยืดตัวของเซลล์พืช) และ "ฮอร์โมนไซโตไคนิน" (สารกระตุ้นในการพัฒนาของเซลล์พืช) นอกจากนั้นยังมีผลในการยับยั้งการทำงานของ "ฮอร์โมนเอทธิลีน" (สารกระตุ้นการเสื่อมชราของเซลล์พืช)

ปัจจุบันได้มีการนำเอา "บราสซิน" มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตในพืชหลายชนิด เช่น แตงโม (Wang et al., 1993) องุ่น (Xu et al., 1994) ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฝ้ายและพืชน้ำมัน (Chengdu Newsun Biochemistry Co., Ltd., 2003)

จากการทดลองของชรัสนันท์และธนะชัย (2548) พบว่า "บราสซิน" น่าจะมีผลในการเพิ่มขนาดผลของลำไยได้ ต่อมาโครงการพัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายนาโนเทคโนโลยีทางการเกษตรจึงได้พัฒนาสารคล้าย "บราสซิน" ขึ้นมา เพื่อเพิ่มขนาดผลของลำไยเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2549

วิธีการเพิ่มขนาดผล (การทำผลลำไยจัมโบ้) ทำได้โดยการฉีดพ่นสารคล้าย "บราสซิน" ความเข้มข้น 10 นาโนกรัมต่อลิตร จำนวน 2 ครั้ง การฉีดพ่นครั้งที่ 1 ทำโดยการฉีดพ่นสารคล้าย "บราสซิน" ให้ทั่วทั้งต้น ในระยะที่เมล็ดเริ่มเปลี่ยนสี จากนั้นให้ฉีดพ่นครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับครั้งที่ 1 โดยฉีดพ่นหลังจากการฉีดพ่นครั้งที่ 1 แล้ว 7–10 วัน

สำหรับการดูแลรักษาผลลำไยให้ดูแลตามปกติที่เคยปฏิบัติ และควรดูแลเรื่องการให้น้ำแก่ต้นลำไยเป็นพิเศษ เนื่องจากผลลำไยต้องการน้ำในปริมาณมากเพื่อขยายขนาดของผล หากผลมีอาการเปลือกแดงแสดงว่าต้นลำไยได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของผล


เกษตรกรมือใหม่ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 21/07/2010 3:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
บราสซิน เป็นกลุ่มฮอร์โมนพืชที่มีผลในการกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนออกซิน (สารกระตุ้นการแบ่งเซลล์พืช) ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน (สารกระตุ้นในการยืดตัวของเซลล์พืช) และฮอร์โมนไซโตไคนิน (สารกระตุ้นในการพัฒนาของเซลล์พืช) นอกจากนั้นยังมีผลในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเอทธิลีน (สารกระตุ้นการเสื่อมชราของเซลล์พืช) ปัจจุบันได้มีการนำเอาบราสซินมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตในพืชหลายชนิด เช่น แตงโม (Wang et al., 1993) องุ่น (Xu et al., 1994) ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฝ้ายและพืชน้ำมัน (Chengdu Newsun Biochemistry Co., Ltd., 2003)


ผมคิดว่ามันก็คือการใช้ฮอร์โมนกลุ่ม "ออกซิน+ไซโตคินนิน+จิบเบออรลลิน" ธรรมดาๆ นั่นแหละ ส่วนคำว่า "นาโน" น่าจะเป็นการอิงกระแสมากกว่าครับ เพราะนาโนเป็นหน่วยที่เล็กๆ ๆๆ ๆๆมาก อย่างที่ลุงคิมบอก และมีความจำเป็นอะไรที่จะทำฮอร์โมนพืชมีโมเลกุลเล็กขนาดนั้น ซึ่งการลงทุนอะไรที่เกี่ยวกับนาโนไม่ใช่เรื่องถูกๆ เลยนะครับ

อย่างสมมุติน้ำปลา 1 ขวด 20 บาท กับน้ำปลานาโนขวดนึงก็น่าจะถึง 2,000 บาท แบบนี้จะกินไปทำแพะอะไรน้ำปลานาโน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 21/07/2010 9:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจากhttp://whaleunltd.blogspot.com/2009/02/iworks.html

Tuesday, February 3, 2009
iWorks
การทำลำไยจัมโบ้



ลำไยจัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ทำการเพาะปลูกแล้วทั่วประเทศ เนื่องจากสามารถบังคับให้ออกดอกติดผลได้ด้วยสารโปแตสเซียมคลอเรต แต่ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ คุณภาพของผลลำไยยังไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะลำไยที่ทำการผลิตนอกฤดู หรือผลิตในพื้นที่ที่ภูมิอากาศไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผลลำไย
ขนาด ของผลลำไยเป็นปัจจัยทางคุณภาพประการหนึ่งที่ใช้ในการกำหนดราคาของลำไย ลำไยที่มีขนาดใหญ่ (AA หรือ A) จะมีราคาสูงกว่าลำไยที่มีขนาดเล็ก (B และ C) ประมาณ 10 – 15 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ค้นคว้าหาวิธีการในการเพิ่มขนาดผลของลำไย เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตลำไยให้แก่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนลำไย
บราสซิน เป็นกลุ่มฮอร์โมนพืชที่มีผลในการ กระตุ้น การทำงานของฮอร์โมนออกซิน (สารกระตุ้นการแบ่งเซลล์พืช) ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน (สารกระตุ้นในการยืดตัวของเซลล์พืช) และฮอร์โมนไซโตไคนิน (สารกระตุ้นในการพัฒนาของเซลล์พืช) นอกจากนั้นยังมีผลในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเอทธิลีน (สารกระตุ้นการเสื่อมชราของเซลล์พืช) ปัจจุบันได้มีการนำเอาบราสซินมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตในพืชหลายชนิด เช่น แตงโม (Wang et al., 1993) องุ่น (Xu et al., 1994) ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฝ้ายและพืชน้ำมัน (Chengdu Newsun Biochemistry Co., Ltd., 2003)

จากการทดลองของชรัสนันท์และธนะชัย (2548) พบว่าบราสซินน่าจะมีผลในการเพิ่มขนาดผลของลำไยได้ ต่อมาโครงการพัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่าย นาโนเทคโนโลยี ทางการเกษตรจึงได้ พัฒนาสารคล้ายบราสซินขึ้นมา เพื่อเพิ่มขนาดผลของลำไยเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2549 วิธีการเพิ่มขนาดผล (การทำผลลำไยจัมโบ้) ทำได้โดยการฉีดพ่นสารคล้ายบราสซินความเข้มข้น 10 นาโนกรัมต่อลิตร จำนวน 2 ครั้ง การฉีดพ่นครั้งที่ 1 ทำโดยการฉีดพ่นสารคล้ายบราสซินให้ทั่วทั้งต้น ในระยะที่เมล็ดเริ่มเปลี่ยนสี จากนั้นให้ฉีดพ่นครั้งที่ 2 เช่นเดียวกับครั้งที่ 1 โดยฉีดพ่นหลังจากการฉีดพ่นครั้งที่ 1 แล้ว 7 – 10 วัน สำหรับการดูแลรักษาผลลำไยให้ดูแลตามปกติที่เคยปฏิบัติ และควรดูแลเรื่องการให้น้ำแก่ต้นลำไยเป็นพิเศษ เนื่องจากผลลำไยต้องการน้ำในปริมาณมากเพื่อขยายขนาดของผล หากผลมีอาการเปลือกแดงแสดงว่าต้นลำไยได้รับน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ของผล



ทั้งนี้สารคล้ายบราสซินยังใช้ได้กับ มะม่วง มะนาว แก้วมังกร ได้ดีอีกด้วยในอัตตราส่วนผสมที่เหมาะกับพืชนั้นๆ


สารคล้ายบราสซิน ปริมาณ 50ซีซี 1,000 บาท

โปรโมชั่นพิเศษ ฮอโมนจัมโบ้ 50 ซีซี 1,000 บาท ซื้อ5ขวด ในราคา 4,500 บาท



สนใจสั่ง ซื้อ สารคล้ายบราสซินได้ที่ ioff36@gmail.com

หรือ โทร 083-1567-987
Posted by whaleunlimited at 11:33 PM
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 21/07/2010 10:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจากhttp://www3.interscience.wiley.com/journal/119601807/abstract?CRETRY=1&SRETRY=0

Effects of Brassin-Complex on Auxin and Gibberellin Mediated Events in the Morphogenesis of the Etiolated Bean Hypocotyl

JOHN H. YOPP 1 , G. CRAIG COLCLASURE 1 NAGABHUSHANAM MANDAVA 1
1 Department of Botany. Southern Illinois University, Carbondale, Illinois 62901 and (N.M.) Agricultural Research, Science and Education Administration, U.S. Department of Agriculture, Beltsville Agricultural Research Center, Beltsville, Mayland 20705
Copyright Physiologia Plantarum 1979

ABSTRACT
Abstract References

The excised, hooked bean hypocotyl was the system used to determine wheiher the 'auxin- and gibberellin like' effect of the lipoidal pollen extract, Brass in-complex (Br), were mediated through, or independent of, auxin and gibberellin. The morphogenetic events of hook opening and hypocotyl elongation in this system are regulated by auxin and gibberellin, respectively.

Brassin complex, like IAA, elicited a hook closure in (he dark and retarded its opening in red light. This effect was synergized by T1BA, IAA and the presence of the auxin-producing organs, the epicotyl and cotyledons. Br-elicited hook closure was inhibited by the antiauxin. PCIB.

Both GA3 and Br totally reversed the light inhibition of hypocotyl elongation. The GA3-effect, but nol the Br elicited elongation, was overcome by Ancymidol. Hypocotyl elongation was partially inhibited by TIBA and PCIB. suggesting a possible auxin involvement also in this effect of Br.

Br may elicit its growth responses through an effect on endogenous auxin levels, In this way it is different from other lipoidat growth regulators, such as the oleanimins which require the presence of exogenous growth regulators for activity.

(Received 25 July, 1978; revised 5 February, 1979)


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 21/07/2010 10:44 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 21/07/2010 10:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://encyclopedia2.thefreedictionary.com/Plant+hormones

Plant hormones

Organic compounds other than nutrients that regulate plant development and growth. Plant hormones, which are active in very low concentrations, are produced in certain parts of the plants and are usually transported to other parts where they elicit specific biochemical, physiological, or morphological responses. They are also active in tissues where they are produced. Each plant hormone evokes many different responses. Also, the effects of different hormones overlap and may be stimulatory or inhibitory. The commonly recognized classes of plant hormones are the auxins, gibberellins, cytokinins, abscisic acid, and ethylene. Circumstantial evidence suggests that flower initiation is controlled by hypothetical hormones called florigens, but these substances remain to be identified. A number of natural or synthetic substances such as brassin, morphactin, and other growth regulators not considered to be hormones nevertheless influence plant growth and development. Each hormone performs its specific functions; however, nearly all of the measurable responses of plants to heredity or environment are controlled by interaction between two or more hormones. Such interactions may occur at various levels, including the synthesis of hormones, hormone receptors, and second messengers, as well as at the level of ultimate hormone action. Furthermore, hormonal interactions may be cooperative, antagonistic, or in balance.

The term plant growth regulator is usually used to denote a synthetic plant hormone, but most of the synthetic compounds with structures similar to those of the natural hormones have also been called hormones. For instance, the synthetic cytokinin kinetin is considered a hormone. See Abscission

There are a number of applications of plant hormones in agriculture, horticulture, and biotechnology. Synthetic auxins are used as weed killers. Auxins are also used to counteract the effects of hormones that promote the dropping of fruit from trees. Gibberellins are used extensively to increase the size of seedless grapes: when applied at the appropriate time and with the proper concentration, gibberellins cause fruits to elongate so that they are less tightly packed and less susceptible to fungal infections. Gibberellins are also used by some breweries to increase the rate of malting because they enhance starch digestion. They have also been sprayed on fruits and leaves of navel orange trees to prevent several rind disorders that appear during storage. They are used commercially to increase sugarcane growth and sugar yields. Cytokinins and auxins are used in plant cell culture, particularly in cultivating genetically engineered plants. The ability of cytokinins to retard senescence also applies to certain cut flowers and fresh vegetables. Ethylene has been used widely in promoting pineapple flowering; flowering occurs more rapidly and mature fruits appear uniformly, so that a one-harvest mechanical operation is possible. Because carbon dioxide in high concentrations inhibits ethylene production, it is often used to prevent overripening of picked fruits. Ethylene is also used for accelerating fruit ripening. See Hormone, Plant growth, Plant physiology

McGraw-Hill Concise Encyclopedia of Bioscience. © 2002 by The McGraw-Hill Companies, Inc.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/07/2010 6:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สารคล้ายบราสซิน ปริมาณ 50ซีซี 1,000 บาท
โปรโมชั่นพิเศษ ฮอโมนจัมโบ้ 50 ซีซี 1,000 บาท ซื้อ5ขวด ในราคา 4,500 บาท


สนใจสั่ง ซื้อ สารคล้ายบราสซินได้ที่ ioff36@gmail.com
หรือ โทร 083-1567-987
Posted by whaleunlimited at 11:33 PM[/quote]
*************************************************************



ลุงคิมตอบ :

ในเมื่อ 50 ซีซี. ราคา 1,000 บาท แล้ว 1,000 ซีซี. (1 ล.) ก็ต้อง 20 x 1,000 เป็นเงินเท่าไหร่น่ะ ?

แม้แต่โปรโมชั่น 5 ขวด ราคา 4,500 .... ขนาดขวดกี่ซีซี. ถ้าขนาด 50 ซีซี. ก็เท่ากับ 250 ซีซี. ราคา 4,500.... บรื๊อออออ

แล้วที่ว่า "ความเข้มข้น 10 นาโนมิลกรัมต่อลิตร" น่ะมันเท่าไหร่กันแน่....ทำยังกะอยู่ในห้อง LAB แน่ะ.....ว่ามั้ย

อืมมมม์ ..... เรื่องคิดเลขนี่ ลุงคิม คิดในใจช้าแต่คิดนอกใจเร็ว เพราะฉนั้น ใครคิดในใจเร็ว ช่วยคิดทีเหอะ

ที่เจอะเจอมา ลิตรละ 7,000 ว่าสาหัสสากรรจ์แล้วนะ แล้วตัวนี้ไม่หนักกว่าเหรอ ?

ก็ไม่ได้ว่าอะไรหรอกนะ ขายได้ก็ขายไปเถอะ รวยแล้วจะกุศลาธรรมา อกุศลาธรรมา...ไปให้
เป็นห่วงก็แต่ เกรงจะเป็นการฉวยโอกาสเข้ามาใช้เว้บนี้หลอกชาวบ้านเท่านั้นแหละ เพราะฉนั้น ถ้าลุงคิม หรือสมาชิกเว้บนี้จะตั้งข้อสงสัย ๆๆ ๆๆ อะไรๆ ที่มันแรงไปหน่อยก็อย่าว่าก็แล้วกันนะ

ดูรูปที่เทียบกับเหรียญ 10 บาทแล้ว บอกตามตรงนะว่า ไม่ได้เหนือกว่า UREGA เลย

จากข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อได้ 99.98 % + ข้อมูลจากประสบการณ์ตรงที่เชื่อถือได้ 99.99 เศษ 44 ส่วน 100 ระบุว่า.....

สารอาหารพืชที่มีประสิทธิภาพในการบำรุงผล (ขยายขนาด) ให้ใหญ่ขึ้น ได้แก่ 21-7-14 (ทางราก/ทางใบ), ไคโตซาน. แคลเซียม. อะมิโนโปรตีน. ไม่ใช่เหรอ.... สนนราคาขายผ่านเอเย่นต์ ลิตร (1,000 ซีซี.) ละ 350 บาท.....แต่ถ้าลุงคิมขายตรงผู้ใช้ ลิตรละ 150 บาท แถมยังสอนให้ทำเองอีกด้วย ถามว่าอย่างไหนน่าลุ้นน่าลองกว่ากัน


ถ้าจริงใจ ที่นี่ยินดีต้อนรับ ... แต่ถ้าไม่จริงใจ อยากให้กลับไปคิดใหม่
ลุงคิมครับผม

ปล.
ลุงคิมไม่ได้หมายถึงเจ้าของกระทู้ แต่มุ่งไปที่ "อ้างอิง" ที่เจ้าของกระทู้ระบุเป็นที่มา


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 22/07/2010 7:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 5 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 22/07/2010 7:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

งานเข้า......

ฝากถึงสมาชิกทุกท่าน ช่วยหาข้อมูลทางวิชาการ (เน้นย้ำ...ทางวิชาการ) เกี่ยวกับเจ้าสารวิเศษตัวนี้หน่อย ให้มันกระจ่างกันไปเลยว่า มันคืออะไรกันแน่ ?

ขอบคุณล่วงหน้าถึงปีหน้าปีโน้นเลย
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
jee_ex15
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 25/10/2009
ตอบ: 41

ตอบตอบ: 22/07/2010 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เรียนผู้รู้ ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่
คำพูด:
วิธีการเพิ่มขนาดผล (การทำผลลำไยจัมโบ้) ทำได้โดยการฉีดพ่นสารคล้ายบราสซินความเข้มข้น 10 นาโนกรัมต่อลิตร จำนวน 2 ครั้ง

1 กรัม = 1 ซีซี (โดยประมาณ)
1 นาโนกรัม = หนึ่งในพันล้านกรัม (1/1,000,000,000)
= 0.000000001 กรัม
10 นาโนกรัม = 10 x 0.000000001 กรัม
= 0.00000001 กรัม

ดังนั้น
บราสซิน 0.00000001 กรัม ผสมน้ำได้ 1 ลิตร
บราสซิน 1 กรัม (1ซีซี) ผสมน้ำได้ 100,000,000 ลิตร
(100,000,000 x 0.00000001 = 1)
= 100,000 ตัน น่าจะเป็นไปได้หรือไม่
คำพูด:
สารคล้ายบราสซิน ปริมาณ 50 ซีซี. 1,000 บาท

50 ซีซี. ผสมน้ำได้ 5,000,000 ตัน
น้ำที่ผสมแล้ว 1 ตัน มีต้นทุนค่าบราสซิน = 1,000/5,000,000
= 0.0002 บาท


โอ้ย!!!มึนแล้วครับ
จีรศักดิ์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kurtco
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 16/03/2010
ตอบ: 4

ตอบตอบ: 23/07/2010 3:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ครับ ได้ความรู้มากๆครับ
ผมไม่รู้เรื่องการขายสารนี่หรอกครับ พอดีได้เห็นได้ยินมา แต่ไม่กระจ่าง จึงอยากรู้อยากเห็นตามประสามือใหม่ ที่จะทำลำไยให้ได้ขนาด ตอนนี้ก็อ้างอิง ข้อมูลของลุงคิม ตามขั้นตอนบำรุงลำไยอยู่ได้ผลอย่างไรจะแจ้งครับ

เกษตรกรมือใหม่ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 23/07/2010 4:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อย่าปิดกั้นตัวเอง อย่าเดินบนเส้นทางที่คนอื่นขีดให้ และอย่าให้พระเจ้ากำหนดชะตาชีวิต....ทุกอย่างต้องอยู่บนลมหายใจของเราเอง

อย่าเพิ่งตัดสินว่า ข้อมูลตาม "อ้างอิง โดยนักวิชาการ" นั้นว่าเป็น "สิ่งผิด" โดยสิ้นเชิงในทันทีทันใด

แยกให้ออกระหว่าง "ข้อมูลทางวิชาการ" กับ "นักวิชาการ"

ข้อมูลทาง "วิชาการ" ถ้าเป็นข้อมูลที่แท้จริง เผยแพร่โดย "นักวิชาการอุดมการณ์" ก็คือสิ่งที่ถูกต้อง ...... แต่ผู้ให้ข้อมูลนั้นเผยแพร่ "นักวิชาการเชิงพานิช" ก็ต้องว่ากันไปอีกเรื่องหนึ่ง

ในฐานะที่คุณเป็นผู้เปิดประเด็นนี้ขึ้นมา ซึ่งลุงคิมถือว่าเป็น "ประเด็นที่ดีมาก" สมาชิกท่านอื่นๆก็คิดเช่นนี้ เพราะฉนั้น ลุงคิมจึงใคร่ขอให้คุณ "ค้นคว้า" หารายละเอียดที่เป็นข้อมูลทางวิชาการที่แท้จริงเกี่ยวกับฮอร์โมนตัวนี้ มาบอกกล่าวพวกเราอีก

เชื่อเถอะ เดี๋ยวพวกเราไม่ใครก็ใครคนหนึ่งก็ "ดัดแปลง" ให้เหนือกว่าของเดิมได้


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©