-
++kasetloongkim.com++ Forums-viewtopic-ปัญหาเรื่องไข่ + ปาล์มน้ำมัน
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเรื่องไข่ + ปาล์มน้ำมัน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเรื่องไข่ + ปาล์มน้ำมัน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 14/07/2010 12:57 pm    ชื่อกระทู้: ปัญหาเรื่องไข่ + ปาล์มน้ำมัน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=219174

มติ ครม.แม่พันธุ์ไก่ไข่ ขัดใจกลุ่มทุน (สารส้ม)
วานนี้ เขียนเรื่องการแก้ปัญหาไข่ไก่ราคาแพง ว่าควรมองให้เห็นระบบธุรกิจไข่ไก่ทั้งพวง

เก็บความสั้นๆ ตรงนี้ เพื่อทบทวนเรื่องเดิมได้ว่า "..สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ไข่ราคาแพงในขณะนี้ เกิดจากการควบคุมแม่พันธุ์ไก่ไข่ เมื่อมีการควบคุมแม่พันธุ์ไก่ไข่ เกษตรกรรายเล็กรายน้อยก็ไม่มีพันธุ์ไก่จะฟักเลี้ยงเอาไข่ เนื่องจากได้รับการจัดสรรพันธุ์ไก่ไข่มาจำนวนจำกัด, เมื่อมีไก่น้อย ไข่ก็มีจำนวนน้อย, เมื่อไข่มีน้อยลง ราคาก็แพงขึ้น ตามหลักเศรษฐศาสตร์ขั้นต้นที่เกษตรกรทุกคนล้วนทราบดี..."

1) ก่อนหน้านี้.... ครม. มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ( Egg Board) มี 3 มาตรการ ได้แก่ การยืดอายุแม่ไก่ยืนกรงออกไปอีก 1 เดือน, การขอให้งดส่งออกไข่ไก่ และการกระจายลูกไก่ไข่ให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง

นอกจากนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ก็จะไปดำเนินโครงการไข่ไก่ธงฟ้า ขายไข่ไก่ราคาถูก ผ่านร้านสะดวกซื้อ และห้างค้าปลีก และขอให้ผู้ผลิตไข่ไก่ลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ไข่ไก่ที่เป็นถาดพลาสติก บรรจุใส่ถุงพลาสติกแทน เพื่อลดต้นทุน

2) ล่าสุด... 13 ก.ค.2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาปัญหาไข่ไก่ราคาแพง โดยยืนยันว่า ต่อไปนี้ ให้มีการนำเข้าแม่พันธุ์ไก่ไข่ได้โดยเสรี ขออนุญาตนำเข้าได้ที่กรมปศุสัตว์

เรื่องนี้ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้สัมภาษณ์ที่ตึกสันติไมตรี มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า

"ครม.เห็นว่า ความพยายามของ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดเสถียรภาพเรื่องของธุรกิจ มีความผิดพลาดในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา เพราะว่าพอตกลงกันในเรื่องของจำนวนไก่ 4 แสนกว่าตัว เอาเข้าจริงๆ มีการไปลดเพิ่มเติม แล้วปรากฏว่าคนพยายามนำเข้ามาก็นำเข้ามาไม่ได้ อันนี้มีผลทำให้เกิดความผันผวนในเรื่องของราคา และไม่สัมพันธ์กับต้นทุนที่แท้จริง ฉะนั้น จึงเชิญกรมปศุสัตว์มา และพูดชัดเจนว่า มติของบอร์ดเป็นเพียงการขอความร่วมมือ แต่ต้องไม่ไปตัดสิทธิ์คนที่ต้องการที่จะนำเข้า ฉะนั้น ครม.ถือว่า ขณะนี้ใครจะขออนุญาตนำเข้าในเรื่องของไก่ ต้องทำได้อย่างเสรี"

การที่คณะรัฐมนตรีมีมติออกมาในลักษณะนี้ นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง

3) สะท้อนว่า นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี มองเห็น "ไข่ทั้งพวง"

คือ เห็นปัญหาไข่ไก่ทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

เมื่อมีการควบคุมปริมาณการนำเข้าแม่พันธุ์ไก่ ไม่เกิน 400,000 กว่าตัว แล้วบริษัทผู้นำเข้าแม่พันธุ์ขนาดใหญ่ ยังได้ลดปริมาณนำเข้าให้น้อยลงจากยอดที่วางเป้าหมายไว้อีกร้อยละ 20 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีปริมาณไข่ออกมาสู่ท้องตลาดน้อยลง ทำให้ไข่ราคาแพงขึ้น

การแก้ปัญหาไข่ไก่ราคาแพง จึงไม่สามารถแก้ได้เฉพาะด้วยการจัดการโดยมาตรการที่ปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขายไข่ธงฟ้า การลดการส่งออก การยืดอายุไก่ยืนกรง การลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาปัญหาได้เพียงเฉพาะหน้า จึงต้องลงมือแก้ปมที่ผูกขาดหรือตัดตอน ที่มีอยู่ ณ ต้นน้ำ

นั่นก็คือ ปัญหาการควบคุมการนำเข้าแม่พันธุ์ไก่!

4) จุดยืนของคณะรัฐมนตรีเช่นนี้ เป็นการขัดกับผลประโยชน์ของธุรกิจเกษตรยักษ์ใหญ่

เพราะที่ผ่านมา วิธีการจัดสรรโควตานำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่จากต่างประเทศ มีการจัดสรรให้แก่บริษัทปศุสัตว์ครบวงจรขนาดใหญ่ เพียง 9 บริษัท ได้แก่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จำนวน 164,160 ตัว, บริษัทอาหารเบทเทอร์ เครือเบทาโกร จำนวน 60,480 ตัว, บริษัทแหลมทองฟาร์ม จำนวน 57,809 ตัว, บริษัทฟาร์มไก่พันธุ์เกิดเจริญ จำนวน 33,120 ตัว, บริษัทฟาร์มกรุงไทย จำนวน 27,872 ตัว, บริษัท ยูไนเต็ดฟีดดิ้ง จำนวน 21,000 ตัว, บริษัทยู่สูงอาหารสัตว์ จำนวน 12,000 ตัว, ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุดมชัยฟาร์ม จำนวน 3,360 ตัว และบริษัทสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ชลบุรี จำนวน 21,120 ตัว รวม 400,921 ตัว

ทำให้บริษัทเหล่านี้ สามารถนำโควตาไปดำเนินการเพื่อหาผลประโยชน์ทางธุรกิจต่อไป

ดังนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรี มีจุดยืนในลักษณะที่ขัดแย้ง หรือทำลายอำนาจผูกขาดของบริษัทเหล่านี้ จึงเป็นการท้าทาย และทำลายผลประโยชน์ส่วนตัวกลุ่มทุนเหล่านี้โดยตรง

5) ข้อน่าคิดอีกประการหนึ่ง ที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดของมติ ครม.ดังกล่าว คือ การมีมติ ครม. โดยที่ไม่ต้องมีมติอะไรใหม่เลย!

มติ ครม.ที่บอกว่า ไม่มีการควบคุมการนำเข้าแม่พันธุ์ไก่แล้วนั้น แท้จริงก็คือการตีความอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และ ผลิตภัณฑ์ ( Egg Board) ว่าไม่มีอำนาจบังคับหรือไปตัดสิทธิคนนำเข้า โดย ครม.บอกว่า เป็นได้แต่เพียงการขอความร่วมมือ!

น่าคิดว่า... ที่ผ่านมา มีผู้อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และ ผลิตภัณฑ์ ( Egg Board) อาทิ ไม่สามารถนำเข้าแม่พันธุ์ไก่ ทำให้เสียโอกาสที่จะประกอบอาชีพ หรือแม้แต่เสียหายจากการใช้อำนาจขายอาหารสัตว์พ่วงไก่ไข่ของบริษัทเกษตร ยักษ์ใหญ่ ฯลฯ

จะให้เข้าใจต่อไปว่า คณะกรรมการดังกล่าวกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ หรือเกินเลยอำนาจ หรือจะตีความว่าเกิดความเข้าใจผิด หรืออย่างไร?

หากบอกว่า กรมปศุสัตว์และ/หรือคณะกรรมการดังกล่าว ไม่มีอำนาจให้มีการรวมหัวผูกขาดไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ แล้วที่ผ่านมา ใครจะต้องรับผิดชอบอย่างไร?

การมีมติ ครม. เช่นนี้ จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเอกชนรายใด รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ได้ง่ายขึ้น หรือจะช่วยให้ใครติดคุกเร็วขึ้น?
วันที่ 14/7/2010
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 14/07/2010 1:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผูกขาด การฮั้วกัน การแสวงหาผลประโยชน์จากประชาชน ไม่มีทางหมดไปจากสังคมไทย

น่าเสียดายที่ รมว.กระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง มองไม่เป็น หรือแกล้งมองไม่เห็น

ประเทศคงจะเจริญ(โภคภัณฑ์)
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
piglatte
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/08/2009
ตอบ: 17

ตอบตอบ: 14/07/2010 2:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถึงจะควบคุมโควต้านำเข้าพันธุ์ไก่ได้ แต่ควบคุมราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ไม่ได้... ก็มีค่าเท่ากัน
ถ้าให้ละทิ้งกำไร เพื่อผดุงคุณธรรม แล้วจะได้เป็นยักษ์ใหญ่ได้ยังไงละคร้าบ...
เกือบทุกธุรกิจการเกษตรที่ทำแล้วมีกำไร ท่านทำหมด แล้วรากฝอยจะทำอะไรกินล่ะคร้บ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 14/07/2010 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"ต้นทุนการเลี้ยงไก่สูงขึ้น" จะไม่สูงได้ยังงัย ในเมื่อกลไกการผลิตถูกควบคุมด้วย เกษตรพันธะสัญญา(ทาส)

"Contract Farming" รายใหญ่รังแกรายเล็ก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 14/07/2010 7:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q3/2006august24p02.htm

กลยุทธ์ของการเกษตรแบบตีตรวน (Contract Farming)

ระบบการเกษตรแบบตีตรวนเป็นกลยุทธ์ใหม่ในการหา กินของบริษัทเกษตรอุตสาหกรรม (agribusiness corps) ที่ไม่ต้องรับความเสี่ยงเอง แต่ปัดภาระนี้ไปยังเกษตรกรเป็นผู้รับแทน ได้ทำให้เกษตรกรเกือบทั่วโลกถูกตีตรวน กลายเป็นทาสยุคใหม่ในที่ดินของตัวเอง หรือโรงเลี้ยงสัตว์ของตนเองแบบดิ้นไม่หลุด เพราะว่าติดกับดักลงทุนล่วงหน้าไปแล้ว โดยการกู้ธนาคาร หรือแหล่งการเงินอื่นๆ ที่ทำให้ต้องหารายได้มาชำระดอกเบี้ยเป็นประจำ

ระบบแฟรนไชส์ที่เข้ามาในบ้านเราเมื่อประมาณ 10 ปีเศษมานี้ ก็มีหลักการเช่นเดียวกับระบบเกษตรตีตรวน

ระบบการเกษตรแบบตีตรวนก็คือ ระบบการทำสัญญาซื้อล่วงหน้าเหมือนกับตลาด (เก็งกำไร) อนุพันธ์ของกลุ่มทุนการเงิน โดยขึ้นกับเงื่อนไข 4 ประการ คือ

1.ราคา (ที่ตกลงล่วงหน้า)
2.เวลา
3.ปริมาณ และ
4.คุณภาพ ของสินค้า

ซึ่งหมาย ความว่าผลผลิตต้องเก็บเกี่ยวเสร็จ หรือโตได้ขนาดตามมาตรฐานที่กำหนดโดยบริษัทเกษตรอุตสาห กรรมผู้รับซื้อ และในบางกรณีเป็นผู้ลงทุนด้วย

หากผลผลิตไม่ครบตามเงื่อนไขทั้ง 4 ประการ ผู้ซื้ออาจจะไม่รับซื้อ ปรับ หรือให้ราคาต่ำกว่าที่ตกลงกัน

ลักษณะของสัญญาการเกษตรแบบตีตรวนโดยทั่วไปสัญญา ของการเกษตรแบบตีตรวนจะมี 2 รูปแบบ ดังนี้

- สัญญาแบบประกันค่าแรง (marketing contract)
- สัญญาแบบประกันรับซื้อผลผลิต (production contract)

วิธีการของสัญญาแบบประกันค่าแรง (marketing contract) คือสัญญาที่บริษัทเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดในด้านพันธุ์ หัวอาหาร ปุ๋ย ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลง โดยทำเป็นสินเชื่อให้แก่เกษตรกรล่วงหน้า หากราคาปัจจัยการผลิตเหล่านี้ขึ้นหรือลง บริษัทเป็นผู้รับความเสี่ยง ส่วนเกษตรกรต้องลงทุนด้านที่ดินและโรงเรือน (เล้า) เกษตรกรจะรับความเสี่ยงเพียงในด้านผลผลิตที่ต้องได้มาตรฐานเท่านั้น

เกษตรกรลงทุนเรื่องที่ดินและแรงงาน ซึ่งรวมถึงการสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก หรือเล้า และค่าใช้จ่ายแปรผัน เช่น ค่าไฟฟ้า ถ้าหากเกษตรกรไม่มีเงิน บริษัทจะค้ำประกันเงินกู้ให้ ส่วนค่าแรงคิดจากราคารับซื้อผลผลิตตามที่ตกลงกัน หักจำนวนที่ตายไป เช่น ถ้าเป็นไก่ หรือหมู ก็คิดต่อตัว หรือต่อน้ำหนัก

บริษัทเป็นผู้จัดหา ผลิตภัณฑ์ อาหารสัตว์ หรือปุ๋ย ยารักษาโรคสัตว์ ยาฆ่าแมลง แล้วแต่ว่าสัญญานั้นจ้างเลี้ยง หรือ จ้างปลูก โดยทั่วไปบริษัทจะเป็นผู้กำหนดประเภทของอาหารสัตว์ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ว่าให้ใช้ยี่ห้ออะไร ของบริษัทไหน และส่วนใหญ่ก็จะเป็นสินค้าของบริษัท หรือบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นวิธีการระบายสินค้าที่มีต้นทุนต่ำแต่ได้ราคาสูงแบบหนึ่ง

เกษตรกรที่ฝ่าฝืนไม่ใช้สินค้าของบริษัทก็จะถูก ลงโทษ โดยการงดส่งอาหาร หรือไม่ขายพันธุ์ให้ เมื่อเกษตรกรไปซื้ออาหารหรือปุ๋ยจากท้องตลาด เมื่อได้ผลิตภัณฑ์มา บริษัทก็จะอ้างว่าไม่ได้มาตรฐาน และไม่รับซื้อ หรือซื้อในราคาต่ำกว่าตลาดมากๆ อันเป็นการลงโทษที่โหดร้ายต่อเกษตรกร ซึ่งได้ลงทุนและลงแรงไปแล้ว ผลคือเกษตรกรอาจจะไม่มีเงินผ่อนธนาคาร ถูกธนาคารปรับ หรือเพิ่มอัตราดอก เพื่อการลงโทษที่ผ่อนไม่ตรงเวลา หรือถูกยึดทรัพย์สิน

วิธีการป้องกันเกษตรกรไปซื้อปุ๋ย อาหารสัตว์ หรือหัวอาหาร หรือยาฆ่าแมลงจากท้องตลาดที่มีราคาต่ำกว่า บริษัทมักจะจัดตั้งสมาชิกเกษตรกรเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อสอดส่อง เฝ้าระวัง และตรวจสอบกันเองโดยมีแรงจูงใจให้ ซึ่งเป็นการทำลายระบบความสัมพันธ์และความสามัคคีของชุมชน ทำให้ชุมชนอ่อนแอ

มีรายงานในหลายประเทศว่า บริษัทเกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ด้วย มักจะใช้เทคนิคในการเปลี่ยนสูตรอาหารโดยการไม่บอกกล่าวกับเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่จะขาดความรู้ การเปลี่ยนสูตรอาหาร หรือสูตรปุ๋ย ก็คือ การลดต้นทุน หรือลดคุณภาพของอาหารสัตว์ หรือคุณภาพของปุ๋ยแบบหนึ่ง ทำให้เกษตรกรต้องใช้ในปริมาณมากขึ้น มิฉะนั้นผลผลิตจะไม่ออกมาตามที่บริษัทต้องการ และถูกปฏิเสธรับซื้อ

ดังนั้นต้นทุนของเกษตรกรจึงมีแต่เพิ่มและเพิ่ม ขึ้นทุกวัน ยิ่งทำก็ยิ่งจน ยิ่งมีหนี้สินเพิ่มพูน เกิดปัญหาความเครียด เกิดปัญหาครอบครัว และบางทีเมื่อจนตรอกก็มาสร้างปัญหาให้กับสังคม

นอกจากนี้บริษัทยังส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบ เป็นประจำ โดยอ้างว่ามาให้คำปรึกษา หรือให้บริการหลังการขาย แต่แท้ที่จริงก็ทำหน้าที่เหมือนกับตำรวจลับ เกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพอิสระจึงเสมือนถูกจองจำคล้ายกับเป็นคนคุกที่ขาดอิสรภาพ

บริษัทจะเป็นผู้กำหนดราคารับซื้อตายตัวของผล ผลิตล่วงหน้า โดยมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณราคา 2 ประการ ดังนี้

1.การคิดราคาจากสัดส่วนอาหารของบริษัท หรือ feed conversion ratio - FCR
2.การคิดจากสัดส่วนอัตราการตายของสัตว์

การคิดราคาจากสัดส่วนอาหารของบริษัทที่บริษัท จ่ายให้ล่วงหน้า คือบริษัทจะใช้สัดส่วนของอาหารสัตว์ ที่บริษัทมอบให้ล่วงหน้ามาคำนวณ น้ำหนักของสัตว์ เช่น ไก่ หรือหมู เช่น น้ำหนักของอาหารสัตว์ 10 กิโลกรัม จะต้องได้ไก่หรือ หมูที่มีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม หากเกษตรกรคนใดทำไม่ได้ตามสูตรนี้ ถือว่ามีประสิทธิภาพต่ำ คือมีค่า เอฟซีอาร์ สูงกว่ามาตรฐาน ในแง่ใช้อาหารมาก แต่ได้เนื้อน้อย ดังนั้นราคาที่รับซื้อก็จะต่ำลงไปตามสัดส่วน เพราะว่าแสดงถึงความเอาใจใส่ ของเกษตรกรมีน้อย ไม่ตั้งใจทำงาน ผลผลิตจึง ไม่เข้าเป้า จึงไม่ควรได้ค่าแรงสูง โดยคำนวณจากราคาผลผลิตที่ถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือเกรดต่ำ

การคิดจากสัดส่วนอัตราการตายของสัตว์ ก็ใช้หลักคิดเดียวกับวิธีแรก คือถ้าเลี้ยงไก่ หรือหมู 100 ตัว อัตราการตายไม่ควรเกินร้อยละ 5 ถ้าตายมากกว่านี้เกษตรกรก็ต้องชดเชยโดยหักจากราคาซื้อที่ทำสัญญากันไว้ เช่น หากตกลงราคาซื้อกันที่ 100 บาท บริษัทอาจจะจ่ายเพียง 50 บาท หรือน้อยกว่านั้น ด้วยข้ออ้าง 2 ประการข้างต้น โดยบริษัทไม่ผิดสัญญารับซื้อตามราคากำหนด

เกษตรกรจึงมีความเครียด อาชีพที่คิดว่าเป็นอิสระ เป็นเถ้าแก่เอง แต่กลับถูกกดดันบีบคั้นด้วยเงื่อนไขต่างๆ ต้องทำงานหนัก ทำงานเพิ่ม โดยที่ในที่สุดผลตอบแทนกลับน้อยกว่าแรงที่ลงไป หรือบางทีก็ติดลบด้วยซ้ำ

โดยสรุปคือสัญญาประเภทนี้คือการจ้างงานโดยไม่ ต้องจ่ายค่าแรง (ปล้นแรงงาน) และไม่ต้องลงทุนด้านปัจจัยการผลิตคงที่ อันได้แก่ ที่ดิน โรงเรือน เล้า และระบบการดูแลทั้งปวงอันได้แก่ระบบระบายอากาศ การควบคุมอุณหภูมิในเล้า ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง

ภาระเหล่านี้ถูกปัดมาที่เกษตรกรทั้งหมด เมื่อเกษตรกรติดกับดัก คือกู้เงินมาลงทุนแล้ว มีพันธะต้องผ่อนจ่ายดอกเบี้ย ให้กับธนาคารจึงดิ้นไม่หลุดจากการถูกการเกษตรแบบตีตรวนนี้ ในหลายๆ ประเทศจึงมีเกษตรกรที่ฆ่าตัวตายเพราะว่าหาทางออกไม่ได้

ระบบเกษตรตีตรวนจึงเป็นระบบการขูดรีดแรงงานขั้น สูงสุดที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

ระบบนี้คนงาน หรือผู้ประกอบการขนาดเล็กต้องไปกู้เงินมาลงทุน ต้องแบกภาระดอกเบี้ย ต้องทำงานเกือบ 24 ชั่วโมง มิใช่ 8 ชั่วโมงแบบปกติ เมื่อผลผลิตออกมาถูกตีราคารับซื้อในราคาที่เท่าทุน จึงเท่ากับทำงานให้บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมฟรีๆ ทั้งปี

บางกรณีถูกเล่ห์เหลี่ยมรับซื้อในราคาต่ำกว่าทุน ซึ่งนอกจากทำงานฟรีแล้วยังต้องแบกดอกเบี้ย เป็นหนี้เป็นสิน ต้องส่งดอกทบต้นตกทอดไปถึงลูกหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเลวร้ายกว่าระบบทาสเสียอีก

สัญญาแบบประกันราคาผลผลิต (production contract) สัญญาประเภทสองนี้ บริษัททำสัญญารับซื้อไก่ หรือหมูล่วงหน้าในราคาตายตัว เช่น 5 บาท หรือ 10 บาทต่อไก่ 1 กิโลกรัม ส่วนเกษตรกรจะเป็นผู้ลงทุนสร้างเล้า และปัจจัยการผลิตอื่นๆ เอง โดยบริษัทจะทำสัญญารับซื้อผลผลิตในราคาประกันตามที่ตกลงกันอย่างมีเงื่อนไข ว่า ต้องใช้พันธุ์ อาหาร หัวอาหาร ปุ๋ย ยารักษาโรค และยาฆ่าแมลงของบริษัท เพื่อที่ว่าจะได้ผลผลิตตามมาตรฐานของบริษัท หากว่าเกษตรกรไม่มีทุน บริษัทก็จะค้ำประกัน เงินกู้ให้

ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงระบบการเลี้ยงตามแรงกด ดันของตลาดต่างประเทศ เช่น กลุ่มประเทศอียูที่มักจะหาข้ออ้างมาเพิ่มมาตรฐานและเพิ่มคุณภาพ เพื่อกีดกันสินค้าทางอ้อม ทำให้ต้นทุนสูง เพื่อจะได้ไม่สามารถแข่งขันกับผลผลิตในประเทศของตน

ภาระในการปรับปรุงจะถูกปัดมาให้เกษตรกร เช่น การเปลี่ยนระบบเลี้ยงจากเปิดมาเป็นระบบปิด ซึ่งต้องติดตั้งระบบฉีดพ่นละอองน้ำ เพื่อรักษาอุณหภูมิ เหมือนกับการติดแอร์ให้ไก่อยู่ แต่เกษตรกรเอง กับต้องกินนอนอยู่กับอากาศที่ผันแปรทั้งร้อนจัด หรือหนาวจัดในบ้าน ต้องติดระบบพัดลมดูดอากาศเข้าและระบายอากาศออก รายจ่ายค่าไฟฟ้าจึงเป็นรายจ่ายใหญ่อีกรายการหนึ่ง ดังนั้นเมื่อมีการแปรรูป หรือขายกิจการไฟฟ้าของรัฐมาให้เอกชน และมีการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เทคนิคการคิดค่า เอฟที เกษตรกรก็จะเป็นผู้รับกรรม (ตามระเบียบ) หากว่าเกษตรกรไม่ปรับปรุง บริษัทก็จะไม่รับซื้อ หรือรับซื้อผลผลิตในราคาต่ำๆ

การเกษตรแบบตีตรวนได้ทำลายห่วงโซ่อาหารของหลายๆ ประเทศ เพราะเกษตรกรถูกล่อลวงให้ละทิ้งการผลิตพืช ที่เป็นธัญญาหาร หันมาปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือพืชอุตสาหกรรม หรือพืชเพื่อการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อให้ได้ผลผลิตมากๆ ก็ต้องใช้สารเคมีช่วยอย่างหนัก เช่น ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ซึ่งสารเหล่านี้เมื่อโดนน้ำชำระ ก็จะไหลซึมลงสู่ดิน ลงสู่น้ำบาดาล และลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง หรือทะเล ไปทำลายห่วงโซ่อาหารในน้ำอีก ทำให้วงจรอาหารตามธรรมชาติถูกทำลาย เมื่อมนุษย์ได้ดื่ม หรือกินสารปนเปื้อนก็จะทำให้ ภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เป็นมะเร็ง และโรคอื่นๆ ห่วงโซ่อาหารที่ถูกทำลายทำให้เกิดความอดอยากและโรคระบาด

การเกษตรแบบตีตรวนทำให้ชีวิตของเกษตรกรต้องไป ผูกต่อระบบความไม่แน่นอนของสงครามการค้าในระดับโลก ซึ่งมักจะนำข้ออ้างเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยมาเป็นข้ออ้างในการกีดกัน การค้า ผลคือเมื่อตลาดต่างประเทศถูกปิด หรือถูกกีดกัน บริษัทเกษตรอุตสาหกรรม ก็มักจะปัดภาระมาที่เกษตรกร โดยการไม่ยอมรับซื้อผลผลิตตามที่ตกลงกัน โดยอ้างถึงความไม่มาตรฐานต่างๆ โดยไม่ผิดสัญญา

การเกษตรแบบตีตรวนจึงเป็นอันตรายและคุกคามต่อ ความมั่นคงทางอาหารของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรจะมองข้ามกัน


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 14/07/2010 8:01 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 14/07/2010 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อีก 1 ธุรกิจการเกษตร


ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=218986

สวนปาล์มทุ่งรังสิต1.5 แสนไร่ (เกษตรสร้างสรรค์)

ท้องทุ่งรังสิตกินพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 แสนไร่ ครอบคลุมทั้งปทุมธานี นครนายก สระบุรี และอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นที่นาปลูกข้าว จนกระทั่งมีการโยกย้ายแหล่งปลูกสวนส้มจากบางมด มาตั้งหลักปักฐานที่นี่ ไม่ช้าไม่นาน ส้มรังสิตก็ล่มสลายกลายเป็นสวนส้มร้าง ล้มละลายกันทั้งบาง

สวนส้มร้างเหล่านี้ มีพื้นที่ร่วม 150,000 ไร่ กรมพัฒนาที่ดิน ได้รับมอบหมายพัฒนาฟื้นฟูดิน ทดลองปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมีหลักคิดว่า ปลูกทดแทนพื้นที่ปลูกส้ม การลงทุนก็ไม่มาก เพราะยกร่องสวนส้มไว้อยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ปรับปรุงดินซึ่งเป็นดินเปรี้ยว ทั้งแปลงทดลอง และแปลงริเริ่มเองของชาวบ้านต่างได้รับผลดี ผลผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยมากกว่า 3-4 ตัน/ไร่ ซึ่งเป็นอานิสงส์จากน้ำชลประทานที่สมบูรณ์ด้วย

เมื่อปาล์มน้ำมันดูจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่แทนส้ม ชาวบ้านย่านถิ่นในทุ่งรังสิตเริ่มปลูกตามอย่างด้วย พร้อมๆกับการเข้ามาของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และ ซีพี ซึ่งมีที่ดินทดลองปลูกปาล์มเช่นกัน

จะไปผูกมือกันตอนไหน ท่าไหน ไม่แจ้ง มารู้อีกทีมีชื่อ เอ็มเทค หราอยู่คู่กับ ซีพี

เครื่องจักรโชว์กันที่ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี และขยายมาที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เปิดให้ชาวบ้านเข้าไปชมในนามเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มชุมชน เทคโนโลยีใหม่ไม่ใช่ไอน้ำ ถ้าจำไม่ผิดสนนราคา 5-6 ล้าน นัยว่าเหมาะสำหรับชุมชนเกษตรกรปาล์มน้ำมันซื้อไปใช้สกัดน้ำมันปาล์มดิบ

ทุกวันนี้ผลปาล์มสดของชาวบ้านมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจาก จ.ชลบุรี มารับซื้อถึงที่ อย่าเพิ่งดีใจนะ เพราะเขาหักค่าขนส่งจากราคารับซื้อเรียบร้อยแล้วครับ

ซีพี วางเป้าหมายเกมนี้อย่างไร

หนึ่ง .... ขายเมล็ดพันธุ์ หรือกล้าพันธุ์ปาล์ม โดยไปซื้อพันธุ์ปาล์มจากภาคใต้ยกกระบิ บังเอิญพันธุ์ที่ว่า ยังมีปัญหาที่มาที่ไปไม่แจ้งชัด กระนั้นก็ยังผลิตออกมาขายภายใต้ชื่อ ซีพี อยู่พักหนึ่ง ตอนนี้ลบชื่อออกไปแล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุ

สอง ..... ขายเครื่องจักรสกัดน้ำมันปาล์มดิบสำหรับชุมชน เพื่อให้ชุมชนขายน้ำมันปาล์มดิบต่อยังโรงงานไบโอดีเซล ซึ่ง ซีพี ก็จับมือกับ เอ็มเทค พัฒนาเตรียมขายชาวสวนปาล์มรังสิตอยู่

ถ้าคิดแค่ 2 อย่างนี้ กี่ปีๆก็คงขยายพื้นที่ปลูกได้ไม่เท่าไหร่ จะขายเครื่องจักรได้กี่ตัว ดังนั้นก็ต้องคิดการณ์ใหญ่เป็นโครงการใหญ่ครบวงจร จึงเป็นที่มาของโครงการเนรมิตสวนปาล์ม 150,000 ไร่ในท้องทุ่งรังสิต

ใหญ่อย่างนี้ทำคนเดียวไม่ได้อยู่แล้ว ใครจะทำโครงการได้ดีกว่า รัฐบาล...แอ่น...แอ๊น....ยังจำได้ไหม เมื่อครั้ง คุณวีระชัย วีระเมธีกุล ได้รับแต่งตั้งเป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในหนแรก คุณนิพิฏฐ อินทรสมบัติ ส.ส.อาวุโส ของประชาธิปัตย์ถึงโวยวายว่า เป็นเพราะใครบางคนบริจาคเงินก้อนโตให้พรรค จนเมื่อปรับ ครม.หนล่าสุดคุณนิพิฏฐ จึงได้รับตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม ซึ่งเป็นความศักดิ์สิทธิ์ของคำโวยโดยแท้ ขืนโวยหนักกว่านี้ พรรคประชาธิปัตย์จะป่นปี้พังเอา

ผมเห็นโครงการเนรมิตสวนปาล์ม 150,000 ไร่ในทุ่งรังสิตแล้ว รู้สึกว่าเป็นงานยักษ์ใหญ่เหลือคณานับ เพราะสวนปาล์มแค่เป็นพื้นฐานวัตถุดิบ เขาคิดไปไกลกว่านั้นคือ โรงงานไบโอดีเซล ครบวงจร

ว่าแต่ว่า ใครล่ะพัฒนาเครื่องจักรไบโอดีเซลครบวงจร เนื้อที่ไม่พอต้องติดตามวันพรุ่งนี้


พอใจ สะพรั่งเนตร
วันที่ 13/7/2010
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 14/07/2010 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คำพูด:
หนึ่ง ขายเมล็ดพันธุ์ หรือกล้าพันธุ์ปาล์ม โดยไปซื้อพันธุ์ปาล์มจากภาคใต้ยกกระบิ บังเอิญพันธุ์ที่ว่า ยังมีปัญหาที่มาที่ไปไม่แจ้งชัด กระนั้นก็ยังผลิตออกมาขายภายใต้ชื่อซีพีอยู่พักหนึ่ง ตอนนี้ลบชื่อออกไปแล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุ


เคยเห็นบริษัทออกมาตั้งบูทโดยใช้ชื่อพันธุ์ว่า"โกลเด้น เทอร์เนร่า" พอผมสอบถามถึงสายพันธ์พ่อ-แม่ พนักงานบอกว่าเป็นของบริษัทคิดค้นขึ้นมาเอง เอ้ยๆๆๆ(คิดในใจ) ขนาดบริษัทที่เชี่ยวชาญในเรื่องปาล์มน้ำมัน เขายังต้องผสมสายพันธุ์กว่า 10 ปี สายพันธุ์ถึงจะนิ่ง แต่นี่อะไรจู่ๆ บอกของซีพี. ขายต้นละ 150 บาท (แพงกว่าปกติ 2 เท่า) ผมละสงสารแมลงเม่าที่บินเข้ากองไฟจริงๆ

คำพูด:

สอง ขายเครื่องจักรสกัดน้ำมันปาล์มดิบสำหรับชุมชน เพื่อให้ชุมชนขายน้ำมันปาล์มดิบต่อยังโรงงานไบโอดีเซล ซึ่งซีพีก็จับมือกับเอ็มเทคพัฒนาเตรียมขายชาวสวนปาล์มรังสิตอยู่


เครื่องจักรสกัดน้ำมันปาล์มจริงๆ ตัวละไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน นี่จะทำเรื่องจักรขนาดชุมชนอีกแล้ว ผมว่าสุดท้ายก็คงเป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งเป็นอนุสรณ์ความเห็นแก่ตัวของคนบางคนในประเทศนี้ ที่ชื่อประเทศไทย เฮ้อ!
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 14/07/2010 9:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"เขาคิดไปไกลกว่านั้นคือโรงงานไบโอดีเซล ครบวงจร"


จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเขาเป็นเจ้าตลาดธุรกิจพลังงานทดแทน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
piglatte
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 17/08/2009
ตอบ: 17

ตอบตอบ: 16/07/2010 6:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เสี่ยอ๊อดอย่าน้อยหน้าครับ รีบขยายพื้นที่ปาล์มด่วน จาก 100 ไร่เป็น 1,000 ไร่ก่อนเป็นไง?? Razz
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 16/07/2010 7:08 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟาร์มหมูของน้องติ๊กล่ะ มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจฟาร์มระบบพันธะสัญญาหรือเปล่า?
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
eawbo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010
ตอบ: 52

ตอบตอบ: 16/07/2010 11:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พวกนายทุนก็หากินกับเลือดเนื้อและน้ำตาของเกษตรกร

ตอนที่ ซีพี ส่งเสริมให้เลี้ยงปลาทับทิม ก็มีเกษตรกรจำนวนมากร่วมโครงการด้วย โดยต้องซื้อลูกปลาอาหารปลาจาก ซีพี มีการประกันราคาและซื้อปลาเมื่อเลี้ยงได้ขนาด ตือ มีทีมขายลูกปลาและอาหารปลา และทีมจับปลาเนื้อ ปัญหาตอนนั้นที่เจอกันก็คือ ทาง ซีพี ก็ออกซื้อปลาทุกวันในราคาที่ประกัน (ขนาด.5 กก.ถึง 1 กก.) แต่การส่งเสริมมากกว่ากำลังซื้อ ผู้เลี้ยงเมื่อเลี้ยงได้ขนาดก็ไม่มีคิวจับเพราะคิวเต็ม ปลาก็ต้องกินทุกวัน โตทุกวัน จนโตเกินขนาดที่ตกลงกันไว้ ราคาที่ประกันกันไว้ก็ใช้ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องขายในราคาที่ขาดทุน แต่ ซีพี ได้ขายลูกปลาและที่ได้เป็นกอบเป็นกำคือ ขายอาหารปลา

ปาล์มน้ำมันก็คงเป็นการออกมาหาเหยื่อรายใหม่ และก็ยังมีโครงการหาเหยื่ออีกมากมายในรูปแบบของการส่งเสริมอาชีพ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 19/07/2010 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา http://www.biothai.net/news/4911

มหากาพย์สงครามไข่ ไก่ เปิดเสรีพันธุ์สัตว์.....ใครเจ๊ง ?
Submitted by info on 16 ก.ค. 2010

มีคำขู่ตามมามากมายหลังจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผลักดันจน ครม.มีมติให้เปิดเสรีนำเข้าพันธุ์สัตว์ (พ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่)
จากเดิมที่ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่ และผลิตตภัณฑ์ หรือ Egg Board ตั้งโต๊ะใช้อำนาจเถื่อนจัดฮั้วผูกขาดให้กับทุน 9 ราย
จนมีอิทธิพลเหนือระบบตลาดไข่ไก่ กดขี่เกษตรกรอิสระให้ตกอยู่ในสภาพเป็นลูกไก่ในกำมือทุนใหญ่มานานกว่า 2 ปี

โดยพยายามปั่นกระแสว่า “เสรี” เท่ากับ “เจ๊ง”

สร้างภาพลวงตาให้สังคมเกิดความกังวลว่า การเปิดเสรีนำเข้าพันธุ์สัตว์เป็นนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาล เพราะจะเป็น
จุดเริ่มต้นที่ทำให้ราคาไข่ไก่ล้นตลาดจนส่งผลให้ราคาตกต่ำในที่ สุด

ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างที่กลุ่มผู้เสียประโยชน์ออกมาตีฆ้อง ร้องป่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าจะนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้สังคมได้เรียนรู้เรื่องนี้ไปพร้อมๆ กัน

เริ่มจากการเจาะดูรายละเอียดของทุน 9 ราย ที่ได้รับการผูกขาดการนำเข้าพันธุ์สัตว์มาตั้งแต่ปี 2551 ว่าทุนเหล่านี้
มีพัฒนาการในการประกอบธุรกิจที่ทำร้ายเกษตรกรอิสระไร้สังกัด อย่างไร

เหตุผลที่ Egg Board อนุมัติให้ 9 รายนี้ ได้รับการจัดสรรโควต้า คือ เป็นรายเดิมที่มีการนำเข้าพันธุ์สัตว์มาก่อน และกลายเป็น
เหตุผลสำคัญที่ Egg Board ใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันรายใหม่ นอกเหนือจากเหตุผลเรื่องการลดกำลังผลิตจากการควบคุมปริมาณพันธุ์สัตว์

หากบริษัทที่ได้รับโควต้ามีการกระจายพันธุ์สัตว์อย่างเป็นธรรม ไม่คิดเอาเปรียบเกษตรกรอิสระปัญหาคงไม่หนักหน่วง
เช่นที่เกิดขึ้นในเวลานี้
แต่เป็นเพราะการไปควบคุมปริมาณทำให้จำนวนลูกไก่ไข่น้อยกว่าความต้องการของตลาด
ทำให้ราคาลูกไก่ไข่พุ่งสูงขึ้น กระทั่งทุนผูกขาดได้รับกำไรกันอย่างเป็นกอบเป็นกำ และเล็งเห็นถึงการควบคุมทิศทาง
ของระบบไข่ไก่ไว้ในมือจากการผูกขาดดังกล่าว ทำให้มีการขยายกำลังการผลิตไก่ไข่ของแต่ละบริษัทออกไปอย่างมโหฬาร

ตัวอย่างเช่น การขยายกำลังผลิตไก่ไข่ของบริษัทแหลมทองสหการ จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับโควต้าการผลิตลูกไก่ไข่
โดยมีการสร้างฟาร์มขนาดใหญ่สามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้มากกว่า 1 ล้านตัว จาก เดิมมีการเลี้ยงไก่ไข่เองเพียง 200,000 - 300,000 ตัว
ซึ่งหากพิจารณาจากสัดส่วนโควต้าที่บริษัทได้รับการจัดสรรจาก Egg Board คือ 57,809 ตัว จะผลิตลูกไก่ไข่ได้ประมาณ 5 ล้านตัวต่อปี
การขยายปริมาณเลี้ยงดังกล่าวจะทำให้ในอนาคตลูกไก่ไข่ที่ผลิตได้จะถูกกระจาย ไปยังเกษตรกรรายย่อยลดลง เพื่อนำเข้าเลี้ยงในฟาร์มของตัวเอง
โดยมีการวางแผนล่วงหน้าถึงขนาดสั่งเครื่องคัดไข่ที่มีศักยภาพคัดไข่ได้ถึง เกือบสองแสนฟองต่อชั่วโมงมารองรับไว้แล้วด้วย

ยังมีอีกหลายบริษัท ที่มีการขยายฟาร์มในลักษณะเดียวกัน เช่น บริษัทนาดี พันธุ์ดี

อาจจะสงสัยว่า บริษัทนี้เข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร เพราะไม่ปรากฏอยู่ในรายชื่อของทุน 9 รายที่ได้รับการจัดสรรโควต้า

บริษัท นาดี พันธุ์ดี ใช้ชื่อ สหกรณ์ไก่ไข่ชลบุรีบังหน้าในการขอนำเข้าพันธุ์สัตว์ โดยได้รับการจัดสรรโควต้าจำนวน 21,120 ตัว
ซึ่งหากทำอย่างตรงไปตรงมา ผู้นำเข้าพันธุ์สัตว์จะต้องเป็นสหกรณ์ฯจึงจะถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติผู้นำเข้ากลับเป็น
ไปอยู่ ในกระเป๋าผู้บริหารสหกรณ์ซึ่งถือหุ้นส่วนอยู่ใน บ.นาดี พันธุ์ดี แทน

ในเอกสารประชาสัมพันธ์ของ บ.นาดี พันธุ์ดี มีการระบุว่า เป็นผู้ได้รับโควต้านำเข้าพันธุ์สัตว์ ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงและ Egg Board
ก็ไม่เคยทำการตรวจสอบว่าโควต้าจากสหกรณ์ถูกเล่นแร่แปรธาตุไปเป็นของ บ.นาดี พันธุ์ดีได้อย่างไร ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ Egg Board
และ กรมปศุสัตว์จะไม่รู้เรื่อง เนื่องจากนำเข้าพันธุ์สัตว์จะต้องมีหลักฐานปรากฏว่าบริษัทใดเป็นผู้นำเข้า ขณะที่ผลการดำเนินงานของสหกรณ์
เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรีปี 2551-2552 ไม่มีการระบุถึงการนำเข้าพันธุ์สัตว์แต่อย่างใด แถมกำไรที่ได้ในปี 2551 ยังมีเพียงแค่ สองแสนกว่าบาท
ส่วนปี 2552 ก็อยูที่ตัวเลข 1 ล้านกว่าบาทเท่านั้น

คำถาม คือ ถ้า บ.นาดี พันธุ์ดี รับหน้าที่เป็นเพียงแค่ผู้ผลิตลูกไก่ไข่ให้กับสหกรณ์ฯที่อาจไม่มีศักยภาพ เพียงพอจึงนำโควต้าที่ได้ไปให้
บริษัทนี้เป็นผู้ผลิตแทน ก็ต้องมีหลักฐานการจ้างผลิต และผลผลิตที่กลับมาจะต้องเป็นของสหกรณ์ฯ จึงเป็นไปไม่ได้ที่สหกรณ์จะมีกำไร
ในแต่ละปีต่ำขนาดนั้น เพราะหากพิจารณาตัวเลขพันธุ์สัตว์ที่ได้รับการจัดสรรโควต้า จะสามารถผลิตลูกไก่ไข่ได้ไม่ต่ำกว่า 1,900,000 ตัว
ลองเอาราคาลูกไก่ไข่ในปัจจุบันคือ 30 บาทคูณเข้าไปก็จะเห็นตัวเลขว่ารายได้จากการขายลูกไก่ไข่ว่ามหาศาลขนาดไหน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีปรากฏ
ในรายงานของ สหกรณ์ไก่ไข่ชลบุรี ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้นำเข้าพันธุ์สัตว์แม้แต่น้อย

ผลประโยชน์จากกำไรดังกล่าว จึงตกอยู่กับหุ้นส่วนนาดี พันธุ์ดี ทั้งสิ้น

มาดูกันหน่อยว่า บริษัทนี้มีใครถือหุ้นอยู่บ้าง และแต่ละคนมีบทบาทต่อระบบตลาดไข่ไก่ในปัจจุบันอย่างไร

จากรายชื่อข้างต้นจะเห็นได้ว่าไม่มีสหกรณ์ไก่ไข่ชลบุรีร่วมเป็นหุ้น ส่วนด้วย มีแต่เอกชนที่จับมือกันตั้งบริษัทสวมรอยสหกรณ์
ที่สามารถทำได้ก็เป็นเพราะหนึ่งในหุ้นส่วนนี้ คือ บุญยงค์ ศรีไตรราศรี ประธานสหกรณ์ไก่ไข่ชลบุรี

คงถึงบางอ้อแล้วว่า สหกรณ์ฯถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ให้กับผู้บริหาร หาใช่การสร้างกำไรเพื่อสมาชิกสหกรณ์ตามที่ควรจะเป็น

ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีปัญหาที่สลับซับซ้อนมากกว่าแค่การดึงผลประโยชน์สหกรณ์ไปเป็นของตนและ พวกพ้อง นั่นก็คือหุ้นส่วนทั้งหมดของ
นาดี พันธุ์ดี ล้วนแต่ทำฟาร์มไก่ไข่ทั้งสิ้น โดยในแต่ละปีต้องใช้ลูกไก่ไข่ป้อนในฟาร์มของนาดี พันธุ์ดี ถึง 3,182,920 ตัว มากกว่าโควต้า
ที่ผลิตได้เกือบหนึ่งเท่าตัว

อย่างนี้จะเอาลูกไก่ไข่ที่ไหนไปให้กับสมาชิกสหกรณ์หรือเกษตรกรราย ย่อยคนอื่น เพราะลำพังที่ผลิตได้ก็ไม่เพียงพอจนต้องซื้อจากบ.เบทราโก
เพิ่มเติมอยู่ทุกปี

ที่สำคัญคือผิดเงื่อนไขที่กำหนดว่า สหกรณ์ที่ได้รับโควต้าจะต้องจำหน่ายให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่รายกลาง รายเล็ก และรายย่อย
แต่การกระจายพันธุ์สัตว์อย่างเป็นธรรมดังกล่าวกลับไม่เกิดขึ้น มีเพียงพรรคพวกกูเท่านั้นที่ได้รับการจัดสรรลูกไก่ไข่

ขณะที่ทุนใหญ่รายอื่นไม่เพียงมีทั้งฟาร์มของตัวเอง ยังมี Contract Farming และกำลังขยายฟาร์มของตัวเองอย่างต่อเนื่อง
โดยตัวเลขของสองบริษัทยักษ์ใหญ่คือ ซีพี กับเบทราโกร ได้เตรียมขยายฟาร์มที่สามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้อยู่ในระหว่างตัวเลข 3-5 ล้านตัว

คงจะได้คำตอบแล้วว่า ทำไมในช่วงสองปีที่ผ่านมาลูกไก่ไข่จึงขาดตลาดไม่ถึงมือเกษตรกรรายย่อย หรือแม้แต่รายใหญ่บางรายก็ยังมี
ไก่ไข่ไปยืนกรงไม่เต็มโรงเรือน ก็มาจากเหตุผลที่บริษัทเหล่านี้ชงเอง กินเอง กำหนดราคาเอง จนเกษตรกรไก่ไข่จำนวนไม่น้อยต้อง
เลิกกิจการไปเพราะไม่มีไก่ไข่จะเลี้ยง

หาก ครม. ไม่มีมติเปิดเสรีพันธุ์สัตว์ เกษตรกรอิสระก็จะถูกบีบให้ตายไปเรื่อย ๆ เพราะไม่มีไก่ไข่ไปเลี้ยงในฟาร์มของตัวเอง
ขณะที่ บริษัทที่ได้รับโควต้าพันธุ์สัตว์ก็จะกลายเป็นผู้ครอบครองตลาดอย่างถาวร เนื่องจากไม่เหลือฟาร์มใดมีชีวิตรอดมาเป็นคู่แข่งได้อีก
เป็นการทำลายอาชีพเกษตรกรอย่างเลือดเย็นที่สุด ส่วนประชาชนผู้บริโภคก็จะต้องกินไข่ราคาแพงตลอดไป
จากการควบคุมปริมาณที่ต่ำกว่าความต้องการอยู่ตลอดเวลา

การเปิดเสรีตามมติ ครม. จึงเป็นการคืนความเป็นธรรมให้กับเกษตรกรอิสระที่ไร้ทางสู้มานาน ทำให้กลไกตลาดไม่ถูกบิดเบือน
จนเกิดภาวะผันผวนอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งกระทบกับผู้บริโภคไข่ไก่โดยตรง มติครม.ดังกล่าว ไม่ใช่นโยบายผิดพลาดของ อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี ที่จะทำให้เกษตรกรไก่ไข่ล่มสลายเหมือนที่ มาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่แห่งประเทศไทย หนึ่งใน
หุ้นส่วนนาดี พันธุ์ดี ออกมาขู่ ตรงกันข้าม เกษตรกรที่แปรสภาพเป็นนายทุนกับทุนใหญ่ที่คิดกินยาวที่รวมหัวกันกดขี่ เกษตรกรอิสระต่างหากที่กำลังได้รับบทเรียนว่า

ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน นั้นเป็นสุภาษิตที่ใช้ได้จริงในทุกยุคทุกสมัย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©