-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การขยายเชื้อจุลินทรีย์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การขยายเชื้อจุลินทรีย์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
katt
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 08/09/2010
ตอบ: 5

ตอบตอบ: 08/09/2010 7:32 am    ชื่อกระทู้: การขยายเชื้อจุลินทรีย์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

อยากทราว่า ถ้าจะหมักโยเกริต์ (ที่ซื้อมาจากห้างสรรพสินค้า) + น้ำมะพร้าวสด + น้ำเชื่อม เป็นเวลาสัก 2 อาทิตย์ จะได้เชื้อจุลินทรีย์ EM ไหม ...... และ

อยากทราบว่า EM นี่คนรับประทานเป็นอันตรายไหม (ดูรายการ ป้าเช็ง เห็นว่าเอามาหยอดตา หรือรับประทาน) ก็เลยอยากทราบค่ะ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
mongkol
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 29/06/2010
ตอบ: 134

ตอบตอบ: 08/09/2010 7:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เราต้องมาทำความเข้าใจEMกันใหม่และให้ถูกต้อง EMเป็นการเรียกหรือใช้เป็นตัวแทนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และไม่ได้หมายถึงจุลินทรีเฉพาะเป็นตัวๆ แต่ความยากที่จะอธิบายเชิงรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์จึงมั่วกันระเบิดไปเลย สมัยแรกๆ ออกทีวีมีมาทาหัวผมงอกใหม่ได้เรื่องนี้ถ้าจะอธิบายโทรมาคุยกันยาวๆดีกว่า แต่ถ้าจะถามเรื่องการขยายเชื้อ อันนี้เรียกกันว่าหลอกให้โง่และบ้าไปใหญ่ ผมท้าเลยมีเกษตรกรที่ไหนทำสำเร็จแบบง่ายๆบ้าง การปนเปื้อนของเชื้อมันมีโอกาสเกิดมาก แต่ถ้านำไปใช้กับพืชพอจะได้แต่กับคนหาเรื่อง สมัยเด็กๆมีการหลอกขายหัวเชื้อยาคูลท์มาผสมกับนมสดหลอกให้ซื้อหัวเชื้อ ราคาแพงอ้างว่าจะมาซื้อนมเปรี้ยวที่ได้ สุดท้ายเททื้ง พอโดนจับได้ก็อ้างว่าโดนเขาหลอกมาอีกทอด สมัยนี้หลอกกันมาก อ้างกระแสแพทย์ทางเลือกแผนไทย คุณภาพคนมาทำยังไม่ได้เลยที่มาส่วนมากจะขายของ หลายปีก่อนใบแปะก้วย ต่อมาชาเจียวกู่หลาน ตอนนี้มะรุม มันมารุมหลอกตังประจำ กินแบบคนโบราณที่บอกว่ากินเนื้อสัตว์มากจะตาลขโมย กินผักเยอะจะดี ใครสนใจโทรมาคุยกันได้มีเรื่องเล่าให้ฟังเยอะ 089-144-1112 มงคล นาคอ่อน ครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/09/2010 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า จุลินทรีย์ในโยเกิร์ตเป็นกลุ่มไหน ? ชื่ออะไร ? แล้วก็ให้รู้ว่าจุลินทรีย์ใน อีเอ็ม.น่ะ กลุ่มไหน ? ชื่ออะไร ? ให้ได้เสียก่อน ถ้าเป็นกลุ่มเดียวกัน ชื่อเดียวกันก็เอามาใช้งานแทนกันได้

คำว่า "ใช้แทน" กับ "ใช้ร่วม" โดยความหมายแล้ว ไม่เหมือนกันนะ

เบื้องต้น :
- จุลินทรีย์ในโยเกิร์ต เป็นจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ กลุ่มบาซิลลัสส์ น่าจะเป็นกลุ่มแล็คโตบาซิลลัสส์ จุลินทรีย์กลุ่มนี้ย่อยโปรตีนดี

- จุลินทรีย์ใน อีเอ็ม. มีกว่า 80 ชนิด (คำโฆษณาของ อีเอ็ม.) แต่ไม่ระบุประเภท ไม่บอกกลุ่ม บอกแต่ว่าเป็นจุลินทรีย์มีประสิทธิภาพ.....เอากะพ่อซี่....

- ดร.อิงะ เป็นคนญี่ปุ่น ค้นพบจุลินทรีย์ อีเอ็ม.ในเมืองไทย เป็นจุลินทรีย์เมืองร้อน "เกิด-กิน-ถ่าย-ตาย-ขยายพันธุ์" ในเมืองร้อน ไม่ใช่เอามาจากญี่ปุ่น ที่ญี่ปุ่นเป็นเมืองหนาว จุลินทรีย์คนละพวกกัน เอาจุลินทรีย์เมืองร้อนไปใช้เมืองหนาวแล้วเอาจุลินทรีย์เมืองหนาวมาใช้เมืองร้อน .....ยังงั้นเหรอ


การขายเชื้อจุลินทรีย์ ที่จริงก็คือการขยายพันธุ์ เหมือนสิ่งมีชีวิตทั่วๆ ไปนั่นแหละ ไม่มีอะไรแปลกพิสดารหรอก.....อย่าไปเชื่อ ขี่ฮก ทั่งเพ....

อ่านรายละเอียดเว้บนี้ที่ "เมนูหลัก - จุลินทรีย์" ก็ได้
ลุงคิมครับผม

ปล.
- ทำเอง จุลินทรีย์หน่อกล้วย ซุปเปอร์ๆๆๆๆ....ดีกว่าเยอะเลย

- ลุงคิมหมักปลาทะเลสดๆ เป็นตัวๆ ไม่ได้บดก่อนด้วยทั้งๆที่มีโมลิเน็กซ์ยักย์ ไม่ได้ใส่จุลินทรีย์ใดๆทั้งสิ้นด้วย แค่ 2-3 อาทิตย์ ปลาทั้งตัวเปื่อยเหลวเป็นน้ำวุ้นได้ อย่าว่าแต่ปลาเลย ไก่สดๆทั้งตัวยัดลงไป แค่เดือนเดียวเนื้อ กระดูก เครื่องใน หายเกลี้ยง เหลือแต่ขนลอยอยู่ที่ผิวหน้าเท่านั้น

- จุลินทรีย์รอบตัวเรามีเป็นล้าน ล้าน ล้าน ล้าน ๆ ๆๆ ๆๆๆ ๆๆๆๆ ตัว
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Biot_11
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 15/02/2010
ตอบ: 38

ตอบตอบ: 14/09/2010 9:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถ้าจะหมักโยเกิร์ตเพื่อให้ได้เชื้อ EM คงไม่ได้ครับ เพราะ EM เป็นกลุ่มจุลินทรีย์หลายชนิด เช่น ที่ลุงคิมบอกครับ

แต่ถ้าจะขยายเชื้อจากโยเกิร์ตก็คงจะได้แค่เชื้อกลุ่มแลคโตบาซิลลัสครับ ถ้าจะกำหนดเวลา 2 อาทิตย์ ก็คงไม่ได้อีกเช่นกันครับ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อาหารเลี้ยงเชื้อ (น้ำเชื่อม) เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของเชื้อหรือไม่ สภาวะแวดล้อม (อุณหภูมิ) เหมาะสมหรือไม่

ทางที่ดีใช้การสังเกตุดีกว่าครับว่า หลังจากที่ใส่เชื้อลงในอาหารเลี้ยงเชื้อแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรโดยมากไม่เกิน 7 วัน เชื้อก็เริ่มตายแล้วครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 14/09/2010 10:01 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

บอกตามตรง..... ไม่เข้าใจที่คุณว่ามา....

ช่างเถอะ ลุงคิมสนใจแต่ "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" เท่านั้น
บอกแล้วไง ขนาดในถังหมักระเบิดเถิดเทิง ปลาสดๆ ไม่ได้ใส่จุลินทรีย์เลยแม้แต่แหมะเดียว ปลาเป็นตัวๆ ไก่เป็นตัวๆ ยังเปื่อยเป็นน้ำวุ้นได้ นี่ไม่ใช่ฝีมือจุลินทรีย์ประจำถิ่นหรอกรึ

ทำไม ยังติดชื่อ อีเอ็ม-อีเอ็ม อยู่อีกหรือ ?


ประหยัด - สะดวก - แน่นอน
ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 15/09/2010 7:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


เทคนิคการนับจำนวนเชื้อจุลินทรีย์
(Microbial Population Count)

วิรุธน์ บัวงาม

นักวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี



บทนำ

การนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม ในการวิจัย การควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ การควบคุมคุณภาพน้ำและอาหาร สิ่งหนึ่งที่นักจุลชีววิทยาจะต้องศึกษา คือ การนับจำนวนจุลินทรีย์ การตรวจสอบจำนวนจุลินทรีย์ตั้งแต่จำนวนเซลล์เริ่มต้น และจำนวนเซลล์ระหว่างการเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อ เซลล์ที่มีชีวิตและเซลล์ที่เจริญได้สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

1. การนับโดยตรง (direct count) เป็นการนับจำนวนโดยตรงจากกล้องจุลทรรศน์ มีหลายวิธี คือ
1.1 การนับเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านการตรึงและย้อมสี (stained film) วิธีนี้เป็นการนับเชื้อแบคทีเรีย ปริมาตร 0.01 มล. ที่ถูกตรึงและย้อมสีอยู่บนสไลด์ภายในพื้นที่ 1 ตร.ซม. วิธีนี้มีข้อดีตรงที่ทำง่าย รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ไม่แพง แต่มีข้อเสียตรงที่เป็นการนับจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด (total count) ทั้งเซลล์ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต นอกจากนี้ตัวอย่างที่จะตรวจนับต้องมีจำนวนเชื้อแบคทีเรียมาก
1.2 การนับเชื้อบนสไลด์ที่มี counting chamber สไลด์ที่มี counting chamber ได้แก่

- Petroff – Hausser counting chamber) นิยมใช้นับจำนวนแบคทีเรีย
- Haemacytometer ใช้นับ eucaryotic microbe ที่มีขนาดใหญ่

สไลด์พวกนี้จะมีแอ่ง (chamber) ซึ่งรู้ความลึกของ chamber และที่พื้นของ chamber จะมีตารางสี่เหลี่ยมซึ่งทราบความกว้างความยาวของตารางสี่เหลี่ยม ดังนั้นเมื่อหยดเชื้อจุลินทรีย์ลงไปใน chamber ที่มี cover glass ปิดอยู่ ตรวจนับเชื้อจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 400X ในสี่เหลี่ยมลูกบาศก์เล็ก ก็จะทำให้สามารถคำนวณหาจำนวนเซลล์ต่อมล.ของตัวอย่างได้ สำหรับข้อดีข้อเสียของ counting chamber จะเหมือนกับนับด้วยวิธี stained film

- การนับเชื้อจุลินทรีย์ใช้กำลังขยาย objective lens 40X
- ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียให้นับช่องที่มีความยาวด้านละ 0.05 มม. และควรเจือจางให้มีแบคทีเรีย 1-10 เซลในแต่ละช่องเล็ก และนับไม่ต่ำกว่า 10 ช่อง
- ถ้าเป็นยีสต์หรือจุลินทรีย์ขนาดใหญ่ให้ใช้ช่องใหญ่ที่มีความยาวด้านละ 0.2 มม.
- การนับให้นับเฉพาะเซลที่แตะหรือทับด้านบนหรือด้านขวาของสี่เหลี่ยมจตุรัสแต่จะไม่นับเซลใดก็ตามที่แตะหรือทับด้านล่างและทางซ้ายมือของสี่เหลี่ยมจตุรัส

2. การนับจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่เพาะบนจานอาหาร (plate count)
การนำอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมวุ้น (agar media) มาใช้ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1800 ทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการนับจำนวนจุลินทรีย์โดยการนับจำนวนโคโลนี วิธีการดังกล่าวมีพื้นฐานจากข้อสมมติ 3 อย่าง คือ

1. เซลล์จุลินทรีย์หนึ่งเซลล์เจริญและแบ่งตัวเพื่อสร้างโคโลนีเดี่ยว

2. เชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น(original inoculum) มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous)

3. ไม่มีเซลล์ใดๆที่อยู่รวมกัน (no aggregate) วิธีนี้ทำง่ายนับจำนวนได้ดีแม้ว่าจะมีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ต่ำ (sensitive) และนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งจากตัวอย่างอาหาร น้ำ และดิน

ในการนับเซลล์จุลินทรีย์ด้วยวิธีนี้จำนวนโคโลนีที่เจริญบนจานอาหารมีความสำคัญ คือ ต้องมีจำนวนไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยทั่วไปจะนับเฉพาะจานอาหารที่มีจำนวนเซลล์ระหว่าง 25-250 เซลล์เท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้จำนวนโคโลนีที่เจริญบนจานอาหารอยู่ในช่วงดังกล่าว ควรทำการเจือจางเชื้อเริ่มต้นหลายๆครั้ง โดยทั่วไปทำเป็นลำดับๆละ 10 เท่า (serial dilution) แล้วทำการเพาะเชื้อ จุลินทรีย์ที่แต่ละระดับการเจือจางลงบนจานอาหาร เมื่อเชื้อจุลินทรีย์เจริญบนจานอาหารแล้ว นับจำนวน ทำการคำนวณหาจุลินทรีย์ต่อกรัมหรือมล.ของตัวอย่างได้ การรายงานผลมักรายงานเป็น colony forming unit (CFU) มากกว่าจำนวนจุลินทรีย์ เนื่องจากไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอน ชัดเจนว่า 1 โคโลนีมาจาก 1 เซลล์ การนับจำนวนด้วยวิธี plate count จึงเป็นการนับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิต (viable count) ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่

2.1 Pour plate
เมื่อตัวอย่างถูกเจือจางลงระดับละ 10 เท่า ทำการเพาะเชื้อจุลินทรีย์จากตัวอย่างที่มีระดับการเจือจางเหมาะสม โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ 1 มล.หรือ 0.1 มล.หยดไปบนจานอาหารแล้วเทอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีอุณหภูมิ 44–46 ๐ ซ ลงไป ผสมเชื้อจุลินทรีย์กับให้เข้าอาหารโดยแกว่งจานอาหารไป-มาเบาๆ ทิ้งให้อาหารแข็งตัวแล้วนำไปบ่ม ภายหลังบ่มแล้วโคโลนีของจุลินทรีย์จะเจริญทั้งในและบนอาหารเลี้ยงเชื้อ นับจำนวนจุลินทรีย์ในจานอาหารที่มีจำนวนเซลล์ 25-250 เซลล์ ก็จะทำให้สามารถคำนวณหาเชื้อจุลินทรีย์ต่อมล.หรือต่อกรัมตัวอย่างได้ วิธีนี้หากใช้วุ้นที่ร้อนไปอาจทำให้ sensitive cell ตายหรือบาดเจ็บไม่สามารถสร้างโคโลนีได้

2.2 Spread plate
เป็นวิธีการนับจำนวนโคโลนีของจุลินทรีย์ที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ 0.1 มลหยดลงบนจานอาหารที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อซึ่งแข็งตัวแล้ว (solidified agar medium) เชื้อจุลินทรีย์จะถูกแผ่กระจายทั่วผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยแท่งแก้วพิเศษที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว (spreader)วิธีนี้ผู้วิเคราะห์จะสามารถสังเกตลักษณะโคโลนีของจุลินทรีย์ได้ง่าย ในบางครั้งวิธี spread plate อาจนับปริมาณเซลล์ได้มากกว่าวิธี pour plate เนื่องจากจุลินทรีย์ไม่ได้เจอกับความร้อนจากอาหารเลี้ยงเชื้อหลอมเหลวเหมือนวิธี pour plate ในกรณีที่ตัวอย่างมีเซลล์ จุลินทรีย์อยู่น้อย การใช้วิธีนี้อาจขาดความถูกต้องแม่นยำเนื่องจากใช้ปริมาณตัวอย่างค่อนข้างน้อย (0.1 มล.) ในการ plating

2.3 Drop plate
วิธีนี้มีหลักการเหมือนกันกับ spread plate โดยจะหยดตัวอย่างที่ระดับการเจือจางที่เหมาะสมลงบนจานอาหารหนึ่งจานต่อ 5 จุด โดยแต่ละจุดใช้ปริมาณ 0.02 มล. ตัวอย่างจะถูกปล่อยให้แห้งอยู่บนอาหารเลี้ยงเชื้อในจานอาหารซึ่งโดยปกติจะมีความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1.5 ถึง 3 ซม. การนับและคำนวณจำนวนโคโลนีขึ้นอยู่กับจำนวนหยดต่อจานอาหาร จำนวนหยดต่อมล. และค่าการเจือจาง (dilution factor) โดยทั่วไปเมื่อบ่มจนเชื้อเจริญแล้ว ให้เลือกจานอาหารที่มีระดับการเจือจางเหมาะสมคือ มีเชื้อจุลินทรีย์บนจานอาหารแต่ละจุดไม่เกิน 10 โคโลนี เมื่อนับจำนวนโคโลนีทั้ง 5 จุดรวมกันในแต่ละระดับการเจือจาง ก็จะสามารถคำนวณหาจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ต่อมล.หรือต่อกรัมตัวอย่าง

2.4 Membrane filtration method
วิธีนี้เหมาะสำหรับตัวอย่างมีจำนวนจุลินทรีย์อยู่น้อยและจำเป็นต้องใช้ปริมาตรของตัวอย่างมากเพื่อความแม่นยำในการตรจหาจุลินทรีย์แบบปริมาณวิเคราะห์ (quantitative analyses)ตัวอย่าง 100 มล.หรือมากกว่าจะถูกกรองผ่าน membrane filter ซึ่งมีรูขนาด 0.45 ไมครอน (แบคทีเรียไม่สามารถผ่านได้) ดังนั้นจุลินทรีย์จะถูกกักอยู่บนกระดาษกรอง จากนั้นนำกระดาษกรองวางในจานอาหารที่มีกระดาษซึ่งชุ่มด้วยอาหารเหลว (liquid nutrient medium) อยู่แล้ว โคโลนีของจุลินทรีย์จะเจริญบนกระดาษกรอง วิธีนี้มักใช้กับการตรวจวิเคราะห์ coliform bacteria ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ (indicator) การปนเปื้อนจากอุจจาระในอาหาร หรือน้ำ



เอกสารอ้างอิง
จริยา หาญวจนวงศ์ และคณะ. คู่มือปฏิบัติการจุลชีววิทยาทางการแพทย์ สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3, ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น : 2536

Adam, M.R. 1986. Process in Industrial Microbiology. Volume 23. Microorganisms in the Production of Food. Elsevier Science Publishers, B.V., The Netherlands.

AOAC International. 1998. Bacteriological Analytical Manual (BAM). 8th edition Revision A, Published and distributed by AOAC International, USA.


http://learners.in.th/blog/wirut/265228
learners.in.th/blog/wirut/265228 -
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©