-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เศรษฐกิจไทย: เกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เศรษฐกิจไทย: เกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 17/08/2010 9:26 pm    ชื่อกระทู้: เศรษฐกิจไทย: เกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ที่มา คัดลอกจาก http://www.econ.tu.ac.th/doc/article/fulltext/101.pdf

เศรษฐกิจไทย: เกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรมถูกโฉลกกว่ากัน

บทบาทที่ลดลงของสาขาการเกษตร
การพัฒนาประเทศไทยใน 4 ทศวรรษที่ผ่านมาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการซึ่งมี
ฐานการผลิตตั้งอยู่ในเขตเมือง ส่วนการเกษตรและเขตชนบทไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน
จากนโยบายของรัฐเท่าที่ควร ทำ ให้ความเจริญทางวัตถุกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกรุงเทพและ
ปริมณฑล ผลประโยชน์จากการพัฒนากระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มเจ้าของกิจการอุตสาหกรรม
และบริการ ส่วนสาขาการเกษตรมีบทบาทต่อเศรษฐกิจรวมของประเทศลดลงเรื่อย ๆ

สาขาการการเกษตรมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นภายในประเทศ (GDP) ได้
ลดลงจากร้อยละ 39.8 ในปี 2503 เหลือเพียงร้อยละ 10.6 ในปี 2539 ส่วนกำ ลังแรงงานได้ลดลง
จากร้อยละ 82.4 ในปี 2503 เป็นร้อยละ 60 ในปี 2539 เมื่อสัดส่วนใน GDP ลดลงมากกว่าสัด
ส่วนในกำ ลังแรงงาน จึงทำ ให้การเกษตรและเขตชนบทตกอยู่ในสภาพที่ล้าหลัง โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่ขาดระบบชลประทานนั้น เกษตรกรมีระดับรายได้ตํ่า ความเป็นอยู่ยากจน
มีหนี้สินรุงรัง และสิ้นหวังกับอาชีพการเกษตร เกษตรกรจำ นวนมากต้องทะยอยขายที่ดินเพื่อนำ
เงินไปชำ ระหนี้ และหันไปยึดอาชีพอื่นตามมีตามเกิด

ภาคเกษตรแบกรับภาระการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจไทยตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 1 เป็นต้นมา การพัฒนาอุตสาหกรรม
และบริการจำ เป็นต้องอาศัยสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่าง ๆ มากมาย อาทิ ถนน ท่าเรือ
เขื่อน สนามบิน โทรศัพท์ ประปา ไฟฟ้า สถานศึกษา โรงพยาบาล ฯลฯ การลงทุนในโครงสร้างพื้น
ฐานเหล่านี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล แต่ระบบเศรษฐกิจไทยยังมีระดับการออมตํ่า จึงต้องกู้ยืม
จากต่างประเทศมาดำ เนินโครงการเหล่านี้ ซึ่งต้องชำ ระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเงินตราต่าง
ประเทศ นอกจากนั้น การลงทุนด้านอุตสาหกรรมและบริการของภาคเอกชน ต้องใช้เงินตราต่าง
ประเทศเพื่อซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์และวัตถุดิบเข้ามาเช่นกัน โดยที่ผลผลิตอุตสาหกรรมส่วนมากใน
ช่วง 2 ทศวรรษแรกแห่งการใช้แผนพัฒนาฯ ยังไม่สามารถส่งไปขายแข่งขันในตลาดโลกได้

รัฐบาลจึงใช้กลยุทธส่งเสริมการขยายการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อส่งเป็นสินค้าออก ในด้าน
หนึ่งการเกษตรจึงรับภาระในการหารายได้เงินตราต่างประเทศ มาอุดหนุนการลงทุนทั้งในภาครัฐ
และเอกชนตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่ 1 เรื่อยมา ในอีกด้านหนึ่งก็ปล่อยให้เกษตรกรขยายการผลิต
ด้วยการขยายพื้นที่เพาะปลูกโดยรุกเข้าไปในเขตป่า เพราะรัฐบาลไม่ตระหนักที่จะลงทุนพัฒนา
ด้านเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิตการเกษตร

ผลที่เกิดขึ้นจึงพบว่าพื้นที่ป่าถูกหักล้างถางพงเพื่อปลูกพืชไร่ต่าง ๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ล้า
หลัง เกษตรกรต้องเสียต้นทุนการผลิตสูงโดยมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ค่อนข้างตํ่า เมื่อบวกกับราคาสิน
ค้าเกษตรที่ตํ่าและไม่แน่นอน เกษตรกรจึงยากจนและมีหนี้สินรุงรังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ยิ่งกว่านั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมจำ เป็นต้องอาศัยแรงงานจำ นวนมากจากเขตชนบท
จึงมีการกดค่าจ้างแรงงานให้ตํ่าเพื่อให้ต้นทุนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอยู่ในระดับตํ่า เพื่อให้
สามารถส่งออกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ สิ่งที่ตามมาคือการกดราคาผลผลิตการเกษตร
ให้ตํ่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตเกษตรที่เป็นอาหารของแรงงานในอุตสาหกรรม เพราะหากข้าว
ปลาอาหารแพง ย่อมต้องปรับค่าจ้างแรงงานตามไปด้วย

การกดราคาสินค้าเกษตรจึงเป็นนโยบาย “เงียบ” ที่รัฐบาลยึดถือมายาวนาน การพัฒนา
อุตสาหกรรมและบริการโดยผลักภาระให้สาขาการเกษตรนั้นมีมาตรการต่าง ๆ อาทิ การเก็บภาษี
หรือค่าธรรมเนียมส่งออกสินค้าเกษตรบางชนิด (ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยมีการเก็บภาษีส่งออกสินค้าอุตสาห
กรรม) การห้ามส่งออก การให้โรงงานยาสูบมีอำ นาจผูกขาดการซื้อใบยาสูบ ฯลฯ

ในบทความเรื่อง “สังคมไทยกับการกระจายโอกาสและรายได้” ของ เมธี ครองแก้ว เสนอ
ในการสัมมนาวิชาการประจำ ปี 2538 คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ได้กล่าวสรุปถึง

คุณูปการของภาคการเกษตรในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในช่วง 4ทศวรรษไว้หลายประการ ได้แก่ เป็นแหล่งผลิต
อาหารราคาตํ่าป้อนแรงงานในเขตเมือง ซึ่งกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงในเขตเมือง
พลอยได้ประโยชน์ไปด้วย เป็นแหล่งป้อนแรงงานแก่ภาคเศรษฐกิจอื่นโดยได้รับค่าตอบแทนตํ่า
เป็นตลาดสำ หรับสินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพตํ่าแต่ราคาแพงสืบเนื่องจากนโยบายปกป้อง
อุสาหกรรม เป็นแหล่งรายได้ของภาครัฐโดยการเก็บค่าพรีเมี่ยมข้าว และเป็นแหล่งรายได้เงินตรา
ต่างประเทศ

คุณูปการของภาคเกษตรในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540
แม้ว่ารัฐบาลได้ทอดทิ้งภาคเกษตรตลอดมา แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใดรวมทั้งครั้ง
ล่าสุด ปี 2540 ภาคเกษตรกลับมีบทบาทอย่างสำ คัญช่วยให้ประชากรในเขตเมืองมีสินค้าเกษตร
บริโภคอย่างเพียงพอและในราคาปกติ ภาคเกษตรจึงมีหน้าที่คอยป้อนข้าวปลาอาหารให้แก่ชาว
เมือง ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากพิษเศรษฐกิจตกตํ่าไปได้มาก สินค้าเกษตรส่งออกยังคงนำ
รายได้เงินตราต่างประเทศเข้ามาอย่างสมํ่าเสมอ ยิ่งกว่านั้น ภาคการเกษตรยังสามารถรองรับแรง
งานจำ นวนมากที่ถูกเลิกจ้างจากภาคอุตสาหกรรมได้อีกด้วย ช่วยให้รัฐบาลรอดพ้นจากแรงบีบคั้น
จากประชาชนในเขตเมืองได้เป็นอันมาก


การเมืองกับสาขาการเกษตร
ผู้ที้่อยู่สุขสบายในเขตเมืองจำ นวนมากมักมองอย่างตื้น ๆ ว่าความยากจนของประชาชน
ในเขตเกษตรล้าหลังเกิดจากความเกียจคร้าน โดยไม่พยายามทำ ความเข้าใจว่าความยากจนดัง
กล่าวมีสาเหตุหลักมาจากความล้าหลังของระบบการเมืองการปกครอง ระบบการเมืองการปก
ครองของไทยเป็นเผด็จการทางทหารมานาน เพิ่งจะมีการเลือกตั้งในปี 2517 อันเป็นผลมาจาก
การตอ่ สู้ของประชาชนเพื่อยุติเผด็จการทหารในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

การเมืองในยุคเผด็จการทหารไม่ต้องอาศัยประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทเป็นฐานอำ นาจ ผู้
บริหารประเทศจึงไม่จำ เป็นต้องหาคะแนนนิยมจากมวลชนในชนบท การบริหารประเทศจึงไม่ต้อง
คำ นึงถึงผลประโยชน์ของชาวชนบท

ครั้นถึงยุคที่มีการเลือกตั้ง นักเลือกตั้งก็อาศัยความยากจนของชาวชนบทโดยการซื้อเสียง
ทุกรูปแบบ ในระยะแรกความล้าหลังของระบบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้ง
กระบวนการยุติธรรมในเขตชนบท ทำ ให้ประชาชนส่วนหนึ่งขายเสียงให้กลุ่มนักเลือกตั้งผ่านระบบ
หัวคะแนน เพื่อหวังผลทางการคุ้มครองจากกลุ่มบุคคลเหล่านั้น แต่ในระยะหลังมีการจ่ายเงินซื้อ
เสียงต่อหัวด้วยเงินค่อนข้างมาก ประชาชนขายเสียงด้วยความสมัครใจมากขึ้น ดังนั้น พรรคการ
เมืองจึงไม่จำ เป็นต้องขายนโยบายที่เป็นประโยชน์ระยะยาวต่อชาวชนบทเพื่อแลกกับคะแนนเสียง
การซื้อขายเสียงนี้มีการปฏิบัติสืบทอดจนกลายเป็นมะเร็งที่รักษายาก

ด้วยเหตุนี้ การแก้ปัญหาของชาวชนบทจึงไม่อยู่ในความสนใจของรัฐบาลตราบเท่าที่นัก
เลือกตั้งยังสามารถซื้อคะแนนเสียงได้ ยิ่งกว่านั้น ผู้บริหารประเทศยังคงผลักภาระต่าง ๆ ให้ชาว
ชนบทต่อไป ตัวอย่างเช่นเมื่อโอเปคขึ้นราคานํ้ามัน แทนที่จะมีการเฉลี่ยทุกข์-กระจายสุข กันถ้วน
หน้า รัฐบาลกลับใช้มาตรการ “อุ้มคนเมือง-ส่งทุกข์ให้เกษตรกร” เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2543
ด้วยการขึ้นภาษีนํ้ามันดีเซลเพื่อนำ เงินมาตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ทำ ให้เกษตรกรต้องประสบกับ
ปัญหาต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อมาเมื่อถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย รัฐบาลจึงมี
การยกเลิกมาตรการนี้

การผลักภาระให้กลุ่มคนที่มีปากเสียงน้อยกว่า เป็นการบริหารประเทศที่ขาดความชอบ
ธรรม ต้องช่วยกันปฏิเสธ ไม่ยอมรับการเอาเปรียบกลุ่มคนที่ด้อยกว่าแม้เราจะอยู่กลุ่มที่ได้
ประโยชน์ก็ตาม มิฉะนั้น เราจะได้ชื่อว่ามีส่วนสนับสนุนสังคมที่รังแกคนที่ด้อยกว่าหรือสังคมด้อย
พัฒนานั่นเอง


สาขาการเกษตรกับอนาคตเศรษฐกิจไทย
ในขณะที่การผลิตทางอุตสาหกรรมมีการแข่งขันสูงในตลาดโลก ประกอบกับไทยขาด
แคลนความรู้ความชำ นาญด้านการประดิษฐคิดค้นทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานที่
สำ คัญยิ่งในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงต้องพึ่งพาวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และเทคโนโลยีการ
ผลิตที่นำ เข้าจากต่างประเทศเป็นอันมาก ยิ่งมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมาก ปัญหาขาดดุล
บัญชีเดินสะพัดยิ่งรุนแรงมาก แม้ขุนนางวิชาการพยายามปลอบใจครั้งแล้วครั้งเล่าว่าการขาดดุล
ดังกล่าวเป็นเพียงปราฏการณ์ ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงปรากฏการณ์นี้ได้
ขยายตัวจนรัฐบาลควบคุมไม่ได้ และกลายเป็นสาเหตุร่วมที่สำ คัญของวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540

ในทางตรงข้าม ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยธรรมชาติในด้านที่ดิน ดินฟ้าอากาศ
แหล่งนํ้า รวมทั้งความคุ้นเคยของประชากรในการทำ เกษตรกรรม ประกอบกับความต้องการสิน
ค้าเกษตรและแปรรูปเกษตรในตลาดโลกนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงควรหันมาสนใจและ
สนับสนุนการเกษตรอย่างจริงจัง และต้องรีบเร่งพัฒนาเพื่อชดเชยกับที่มีการละเลยมาเป็นเวลา
นาน จริงอยูก่ ารพัฒนาเกษตรคงจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะ
เทคโนโลยีการเกษตรหลายอย่างไม่อาจนำ เข้าได้เหมือนอย่างอุตสาหกรรม ซึ่งนำ เข้าได้รวดเร็วขอ
เพียงแต่มีเงินจ่าย แต่การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรบางอย่าง (เช่น การปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น) ต้อง
เกิดขึ้นภายในประเทศและใช้เวลานานกว่า

ในการพัฒนาสาขาการเกษตร ผลประโยชน์จะกระจายสู่เกษตรกรในวงกว้าง นอกจาก
ประโยชน์ด้านรายได้แล้ว ยังมีผลประโยชน์สืบเนื่องในด้านอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ทั้งทาง
เศรษฐกิจ (อำ นาจซื้อของประชากรเพิ่มขึ้น เป็นตลาดรองรับการผลิตทุกสาขา และเกษตรกร
สามารถใช้เวลาว่างจากงานเกษตรในการผลิตสินค้าหัตถกรรมที่มีคุณค่าและมูลค่า) สังคม (ไม่
ต้องไปทำ งานห่างไกลครอบครัวและชุมชน มีอำ นาจซื้อมากขึ้นด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล
และอื่นๆ) และด้านการเมือง (พึ่งตนเองได้ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่ต้องพึ่งหัวคะแนน จึงไม่
ต้องขายเสียงให้กับนักเลือกตั้ง)

ในการพัฒนาสาขาการเกษตรของไทย จำ เป็นต้องมีกลยุทธที่เหมาะสม ในบทความเรื่อง
“บทบาทของภาคเกษตรต่ออนาคตเศรษฐกิจไทย” เขียนโดยประยงค์ เนตยารักษ์ ใน เศรษฐสาร
ปีที่ 13 ฉบับที่ 4 ได้แสดงข้อเสนอเบื้องต้น กล่าวคือ จะต้องแยกนโยบายและมาตรการออกเป็น 2
ส่วน ส่วนหนึ่ง มุง่ การผลิตวัตถุดิบเพื่อการแปรรูปเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อป้อนตลาด
ภายในและต่างประเทศ การผลิตสินค้าเกษตรเพื่อป้อนโรงงานต้องเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ใช้
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ใช้ระบบบริหารจัดการที่ทันสมัย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ได้มาตร
ฐาน มีผลผลิตสมํ่าเสมอ และต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยตํ่า

อีกส่วนหนึ่ง เป็นการผลิตโดยมีการแปรรูปเพียงเล็กน้อยด้วยเทคโนโลยีพื้นบ้าน หรือไม่
ต้องมีการแปรรูป แบ่งเป็นการผลิตขนาดกลางเพื่อป้อนภายในประเทศหรือตลาดในระดับจังหวัด
อำ เภอ การผลิตขนาดเล็กเพื่อสนองความต้องการในระดับตำ บล และการผลิตขนาดจิ๋วเพื่อขาย
ในระดับหมูบ่ า้ น รวมทั้งการผลิตเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน (ขายเฉพาะส่วนที่เหลือจากการ
บริโภคในครัวเรือน) ซึ่งสามารถทำ ได้หลายรูปแบบ อาทิ การเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราช
ดำ ริ การเกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรธรรมชาติ วนเกษตร ไร่นาสวนผสม ฯลฯ

บทบาทของรัฐบาลในการพัฒนาสาขาการเกษตร ที่สำ คัญโดยสรุปมีดังนี้ ภาครัฐร่วมกับ
เอกชนศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของเกษตรกร
เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพให้เกษตรกรได้เรียนรู้อย่างทั่วถึงด้วยต้นทุนตํ่า จัด
ทำ ระบบการจดลิขสิทธิ์ผลการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม สร้างแรงจูงใจแก่
นักวิจัยภาครัฐ ขณะเดียวกันเกษตรกรได้ประโยชน์ การวิจัยของภาครัฐไม่สูญเปล่า (อย่างที่ผ่าน
มา) และรัฐบาลต้องขจัดมาตรการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบทางลบต่อการผลิตทางเกษตรกรรมให้หมด
สิ้นโดยเร็ว
------------
ปรับปรุงจาก “คุณูปการของการเกษตรในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย” เศรษฐสาร ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม
2538
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©