-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - นานาสาระเกี่ยวกับเห็ด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

นานาสาระเกี่ยวกับเห็ด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 07/08/2010 8:38 pm    ชื่อกระทู้: นานาสาระเกี่ยวกับเห็ด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็ดนางฟ้า-ภูฏาน
ชื่อสามัญ : Sarjor-caju Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sajor-caju(Fr.) Sing.
ชื่ออื่น : เห็ดแขก
ถิ่นกำเนิด: แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดสกุลเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ มีลักษณะดอกเห็ดคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อและเห็ดนางรม ดอกเห็ดมีสีขาวจนถึงสีน้ำตาลอ่อน หมวกดอกเนื้อแน่นสีคล้ำ ก้านดอกสีขาว ขนาดยาวไม่มีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวอยู่ชิดติดกันมากกว่าครีบดอกเห็ดเป๋าฮื้อ เส้นใยค่อนข้างละเอียด
ฤดูกาล : เห็ดนางฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในช่วงหน้าร้อน ประมาณเดือนเมษายน
แหล่งปลูก : เจริญเติบโตตามตอไม้ผุๆ บริเวณที่อากาศชื้นและเย็น
การกิน : เห็ดนางฟ้ามีกลิ่นหอม เนื้อแน่น รสหวาน นำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่นเห็ดนางฟ้าชุบแป้งทอด ผัดเห็ดนางฟ้า เห็ดนางฟ้าผัดกระเพรา ห่อหมกเห็ดนางฟ้า ยำเห็ดนางฟ้า เมี่ยงเห็ดนางฟ้า แหนมสดเห็ดนางฟ้า ใส่ในต้มโคล้งหรือต้มยำ เป็นต้น
สรรพคุณทางยา: ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด
คุณค่ทางอาหาร:เนื้อเห็ด 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 2.5 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม ไนอะซิน 2.5 มิลลิกรัม.

เห็ดนางรม-ฮังการี
ชื่อสามัญ : Oyster Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus ostreatus(Fr.)Kummer.
ชื่ออื่น :-
ถิ่นกำเนิด: ทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกา
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดรูปร่างคล้ายหอยนางรม ดอกสีขาวอมเทา ผิวเรียบ กลางหมวกเว้าเป็นแอ่ง ขอบกลีบดอกโค้งลงด้านล่างเล็กน้อย เมื่อโตเต็มที่ด้านหลังดอกจะมีลักษณะเป็นครีบ ก้านดอกยาวปานกลาง เชื่อมติดเป็น เนื้อเดียวกับหมวก อาจเกิดเป็นดอกเดียวหรือเป็นกระจุกก็ได้ โตเต็มที่กว้างประมาณ 3-6 นิ้ว
ฤดูกาล : ตลอดปี
แหล่งปลูก : เพาะปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ภาคกลางปลูกมากที่ จ.นครปฐม ราชบุรี ปทุมธานี และนครนายก
การกิน : เนื้อเห็ดนาวรมหนานุ่ม นำมาปรุงอาหารประเภทต้มยำ นึ่งจิ้มน้ำพริก ใส่แกงหน่อไม้ และทำเป็นยำหรือผัด
สรรพคุณทางยา: เห็ดนางรมมีกรดโฟลิก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โรคความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เพราะมีปริมาณไขมันและแคลอรีต่ำ
คุณค่าอาหาร : เห็ดนางรม 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเครต 4.8 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 61 มิลลิกรัม เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.7 มิลลิกรัม วิตมินซี 21 มิลลิกรัม

เห็ดหูหนู
ชื่อสามัญ :Jew's Ear Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Auricularia auricula Judae
ชื่ออื่น: เห็ดหูหนูธรรมดา เห็ดหูลัวะ เห็ดหูลิง(ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นมันเงา บางใส สีน้ำตาลปนดำหรือปนแดง มีรอยหยักเป็นคลื่นรอบดอก ด้านใต้ของดอกมีขนละเอียด คล้ายๆกำมะหยี่ ก้านดอกขนาดสั้น อยู่กลางดอกหรือค่อนไปทางใดทางหนึ่ง เนื้อนุ่มนิ่มรสหวาน
ฤดูกาล :ทุกฤดู
แหล่งปลูก: เมืองจางโจว มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน
การกิน :นำไปลวกใสอาหารประเภทยำ ทำอาหารประเภทผัด ต้มตุ๋น นึ่ง และแกง หรือนำไปแปรรูป เป็นหูหนูอบแห้งหรือตากแห้ง
สรรพคุณทางยา: เห็ดหูหนู ชาวจีนถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะ อีกชนิดหนึ่ง ใช้บำรุง ร่างกาย บำรุงปอด บำบัดอาการอ่อนเพลีย ไอ เสมหะมีเลือดปน ร้อนใน คอแห้ง
คุณต่าทางอาหาร :เห็ดหูหนู 100 กรัม ให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยโปรตีน 1.4 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม แคลเซียม 60 มิลลิกรัม 6.1 มิลลิกรัม ไนอะซีน 2.8 มิลลิกรัม วิตมินซี 21 มิลลิกรัม

เห็ดเป๋าฮื้อ
ชื่อสามัญ :Abalone Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus ostreatus (FR.) Guel
ชื่ออื่น :เห็ดหอยโข่งทะเล
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีนและไต้หวัน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดมีสีครีมถึงสีเทาเข้ม ผิวดอก แห้งขอบหมวกม้วนงอลงเล็กน้อย ครีบใต้ดอกหมวกสีขาวถึงสีครีม บริเวณส่วนกลางดอกจะบุ๋มเล็กน้อย ก้านดอกมีขนาดใหญ่ อวบแน่นและติดกับขอบหมวกดอก ด้านใดด้านหนึ่ง
ฤดูกาล :ฤดูฝน
แหล่งปลูก : ปัจจุบันสามารถเพาะเห็ดเป๋าฮื้อได้แล้วทั่วทุกภาคของประเทศไทย ส่วนที่เกิดตามธรรมชาติจะขึ้นตามเปลือกไม้หรือขอนไม้ผุ
การกิน : นิยมนำเห็ดเป๋าฮื้อสดมาปรุงในตำรับอาหารจีน
สรรพคุณทางยา: ต่อต้านแบคทีเรียพวกกรัมบวก และป้องกันโรคมะเร็ง
คุณค่าอาหาร :เห็ดเป๋าฮื้อ 100 กรัม ให้พลังงาน 34 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยโปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1.0 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มืลลิกรัม ไนอะซีน 2.8 มิลลิกรัม วิตมินซี 11 มิลลิกรัม

เห็ดฟาง
ชื่อสามัญ Straw Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ Volvariella vovacea(Bull. Ex.Fr.) Sing
ชื่ออื่น เห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับ ฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บางๆคล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด
ฤดูกาล ตลอดปี
แหล่งปลูก สระบุรี นครนายก อยุธยา อ่างทอง สงขลา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุราษร์ธานี และนครศรีธรรมราช การกิน เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่นยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น
สรรพคุณทางยา เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปํญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้
คุณค่าทางอาหาร เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม

เห็ดโคนญี่ปุ่น(ยานางิ,Pioppini)
ชื่ออื่น Yanagi Mutsutake (เห็ดยานางิ), Pioppini , Black Poplar
ชื่อวิทยาศาสตร์ Agrocybe cylindracea (Dc. Ex. Fr.) Maire.
สายพันธุ์ สีขาว , สีน้ำตาลเข้ม
ดอกเห็ดมีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลออกส้ม ก้านดอกสีขาวเนื้อแน่น รสชาดของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวคือจะมีหมวกดอกที่เหนียวนุ่มเหมือนเห็ดหอมแต่บริเวณขาของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะกรอบอร่อย เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่ใช้ประกอบอาหารได้ดีโดยเฉพาะก้านดอกซึ่งมีเนื้อเยื่อยาวและแน่นเวลาเคี้ยวจะได้รสชาดดีคล้ายเห็ดโคนทำอาหาร ได้ทั้งผัด ยำและต้มแกง ไม่เสียรูปร่างของเห็ด ให้คุณค่าทางอาหารสูงเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่นๆ
สรรพคุณทางยา ต้านและ ป้องกันมะเร็ง ลดไขมันและโคเลสเตอรอลในเลือด


เห็ดแครง
ชื่อสามัญ :-
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schizophylum commune Fr
ชื่ออื่น : เห็ดตีนตุ๊กแก
ถิ่นกำเนิด: -
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดแครงมีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายพัด ที่ฐานมีก้านยาวประมาณ 0.1-0.5 ซม. ดอกเห็ดกว้างประมาณ 1-3 ซม. ผิวด้านบนมีสีขาวปนเทาปกคลุมอยู่ทั่ว ด้านใต้ของดอกมีครีบเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน ขอบดอกหยักคล้ายขอบเปลือกหอยแครง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เห็ดแครง
ฤดูกาล : ฤดูฝน
แหล่งปลูก : ขึ้นตามท่อนไม้ยางพาราและกิ่งไม้จำพวกสะตอ มะม่วงและกระถินณรงค์ มีมากแถบภาคใต้ของประเทศไทย
การกิน : เห็ดแครงอ่อนเนื้อนุ่ม รสหวานหอม คนใต้นำเห็ดแครงมาแกงกระทิใส่ไข่ แกงน้ำใส และตากแห้งเก็บไว้กินนอกฤดู
สรรพคุณทางยา: ช่วยขับปัสสาวะ ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง
คุณค่าอาหาร : เห็ดแครง 100 กรัม ให้พลังงาน 126.74 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เหล็ก 3.96 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 181.98 มิลลิกรัม แคลเซียม 17.73 มิลลิกรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 6.77 กรัม คาร์โบไฮเดรต 27.74 กรัม เส้นใย 3.35 กรัม วิตามินบี(1) 1.10 มิลลิกรัมวิตามินบี(2) 0.60 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.40 มิลลิกรัม ไนอะซีน 2.50 มิลลิกรัม

เห็ดโคน
ชื่อสามัญ : Termite Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Termitomyces fuliginosus Heim.
ชื่ออื่น : เห็ดปลวก
ถิ่นกำเนิด: ในประเทศเขตร้อนแถบทวีปแอฟริกา ประทศเนบาล อินเดีย พม่า และไทย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดโคนมีหมวกดอกกลม ปลายแหลมเล็กน้อยคล้ายงอบ ด้านบนของหมวกเห็ดสีน้ำตาล เรียบหรือมีรอยย่น เล็กน้อย ด้านล่างหมวกเป็นครีบสีขาวเรียงชิดกัน ครีบดอกสีขาว ส่วนโคนจะพองโป่งออก ก้านดอกยาวหนา โป่งตรงกลางเล็กน้อย เนื้อเยื่อมีสีขาวนุ่มและเหนียว ก้านทรงกระบอกสีขาว ผิวเรียบ ยาวประมาณ 12-20 ซม. มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ฤดูกาล : ฤดูฝน ช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม
แหล่งปลูก : ขึ้นเองตามธรรมชาติตามป่าโปร่ง จอมปลวก และที่ราบทั่วทุกภาค โดยจะพบมากแถบจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา ราชบุรี และ เพชรบุรี
การกิน : เนื้อเห็ดโคนนุ่มเหนียว คล้ายเนื้อไก่ นำมาปรุงอาหารประเภท ต้มเปรี้ยวเห็ดโคน ยำเห็ดโคน แกงเลียงเห็ดโคน แกงเขียวหวานเห็ดโคน หรือนำมาต้มกับเกลือ กินกับน้ำพริก
สรรพคุณทางยา: เห็ดโคนช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ น้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิดได้เช่นเชื้อไทฟอยด์ เป็นต้น
คุณค่าอาหาร :เห็ดโคน 100 กรัม ให้พลังงาน 48.72 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5.28 กรัม โปรตีน 6.27 กรัม เส้นใย 1.96 กรัม แคลเซียม 8.64 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 135.11 มิลลิกรัม วิตมินบี1 0.095 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.50 มิลลิกรัม

เห็ดแชมปิญอง
ชื่อสามัญ : Champigon Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agaricus bisporus(langes) Sing.
ชื่ออื่น : เห็ดกระดุม เห็ดฝรั่ง เห็ดขาว
ถิ่นกำเนิด: ประเทศฝรั่งเศส
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดแชมปิญอง มีหมวกดอกสีขาว หรือสีครีมลักษณะคล้ายกระดุม ครีบดอกคล้ายซี่ร่ม เมื่อแรกบานครีบดอกมีสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีชมพู ครีบดอกเป็นแหล่งผลิตสปอร์ ก้านดอกสีขาว ลักษณะคล้ายทรงกระบอก มีวงแหวนล้อมรอบ ส่วนโคนของก้านดอก มีเส้นใยหนาแน่น
ฤดูกาล : มีขายตามท้องตลาดช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่
การกิน : เห็ดแชมปิญองเนื้อหนานุ่ม นำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่นเต้าหู้ราดซอสเห็ด ผัดยอดถั่วลันเตา กับเห็ด ซุบเห็ด สตูเห็ด และเห็ดอบเนย เป็นต้น
สรรพคุณทางยา: เห็ดแชมปิญอง มีสาร Lentinan ที่สามารถต่อต้าน เนื้องอกและมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ช่วยเสริมสร้าง ภูมิต้านทานโรค และลดไขมันในเส้นเลือด
คุณค่าอาหาร : เห็ดสุก 100 กรัม ให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮรต 1.5 กรัม เส้นใย 3 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 100 มิลลิกรัม โซเดียม 380 มิลลิกรัม

เห็ดกระด้าง
ชื่อสามัญ :-
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus polychrous Lev.
ชื่ออื่น : ภาคอีสานเรียกว่าเห็ดบด ภาคเหนือเรียกว่า เห็ดลม
ถิ่นกำเนิด: เห็ดกระด้างเป็นเห็ดพื้นบ้านของประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดเป็นรูปกรวยลึกคล้ายพัด สีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อนปนเทา เส้นผ่าศุนย์กลาง 5-8 ซม. ขอบงอลงเล็กน้อย ผิวมีขนสั้นๆสีน้ำตาลรวมกันคล้ายเกล็ดเล็กๆปลายงอนขึ้นเล็กน้อย เกล็ดเรียงกันกระจายอยู่บริเวณขอบหมวก ใต้ดอกมีครีบเป็นร่องลึกสีน้ำตาล ดอกอ่อนมีขอบบางและม้วนงอลง เมื่อแห้งเนื้อจะแข็งและเหนียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
ฤดูกาล : ฤดูฝน
แหล่งปลูก : เห็ดกระด้างพบได้ตามธรรมชาติ บริเวณป่าตามภาคเหนือและภาคอีสาน ชอบขึ้นตามตอไม้ผุๆหรือขอนไม้เก่าๆ
การกิน : ดอกอ่อนนำมาผัดน้ำมันหอย ทำแกงส้ม ใส่ในแกงหน่อไม้ ดอกแก่นำมาใส่แกงแคหรือซุบแบบอีสาน
สรรพคุณทางยา: ไม่มีข้อมูล
คุณค่าอาหาร :ไม่มีข้อมูล

เห็ดตับเต่า
ชื่อสามัญ : Bolete
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thaeogyroporus porentosus (berk. ET. Broome )
ชื่ออื่น : ภาคเหนือเรียกว่า เห็ดห้า ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดน้ำผึ้ง
ถิ่นกำเนิด: ในแถบประเทศทีมีอากาศชื้น
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดเป็นรูปกระทะคว่ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-30 ซม. ดอกอ่อนมีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล เมื่อบานเต็มที่ กลางหมวกเว้าเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลเข้มอมเหลืองอ่อน ปริแตกเป็นแห่งๆ ด้านล่างของหมวกมีรูกลมเล็กๆสีเหลือง ปากรูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อบานเต็มที่เนื้อจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวหม่น และเขียวหม่นอมน้ำตาล ก้านอวบใหญ่สีน้ำตาลอมเหลือง โคนก้านโป่งเป็นกระเปาะส่วนนูนและเว้าเป็นร่องลึก เมื่อตัดหรือหั่นถูกอากาศ เนื้อเห็ดตับเต่าจะสีน้ำเงินอมเขียว
ฤดูกาล : ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน
แหล่งปลูก : พบได้ในป่าทั่วไปตามภาคเหนือและภาคใต้
การกิน : ดอกเห็ดนำมาแกงกับยอดฟักทองหรือหน่อไม้สด
สรรพคุณทางยา: ช่วยบำรุงร่างกาย กระจายโลหิต ดับพิษร้อนภายใน
คุณค่าอาหาร : เห็ด 100 กรัม ให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย น้ำ 92.4 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.5 กรัม แคลเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ไทอะมีน 0.06 มิลลิกรัม ไนอะซีน 2.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม

เห็ดหลินจือ
ชื่อสามัญ Ling Zhi Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma Iucidum
ชื่ออื่น เห็ดหมื่นปี เห็ดหิ้ง เห็ดขอนไม้ เห็ดสวรรค์พันปี เห็ดศักดิ์สิทธิ์ เห็ดนำโชค
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน
ฤดูกาล ฤดูฝน
ลักษณะทางพันธุศาสตร์ หมวกเห็ดเป็นรูปไตหรือครึ่งวงกลม ดอกเห็ดกว้าง 3-9 เซนติเมตร ดอกอ่อนสีเหลือง ขอบขาว กลางดอกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง เนื้อเหนียว ดอกแก่จะแข็งเป็นมัน สีน้ำตาลแดงเข้มขึ้นเรื่อยๆ หมวกเห็ดมีริ้วหรือหยักเป็นคลื่น ขอบหมวกหน้างุ้มลงเล็กน้อย ด้านล่างมีรูกลมเล็กๆเป็นท่อเชื่อมติดกัน ก้านดอกสีน้ำตาลดำสั้นหรือไม่มีก้านเลย อยู่เยื้องไปด้านใดด้านหนึ่งของดอก หรืออยู่ติดขอบหมวก ผิวก้านเป็นมันเงา ผิวเรียบ หิดหลินจือมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีรสชาตและสรรพคุณแตกต่างกันไป
แหล่งปลูก หินหลินจือตามธรรมชาติมักขึ้นอยู่กับขอนไม้ที่ตายแล้ว ในเขตป่าอบอุ่นและเขตร้อน
การกิน ดอกเห็ดนำมาต้มหรือตุ๋น
สรรพคุณทางยา ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดปริมาณน้ำตาลและโคเลสเตอรอล รักษาอาการภูมิแพ้ต่างๆ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้หอบหืด ยับยั้งเซลเนื้องอกมะเร็ง แก้ปวดตามข้อ บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท
คุณค่าอาหาร ไม่มีข้อมูล

เห็ดหอม
ชื่อสามัญ :Shiitake Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) Sing.
ชื่ออื่น : ญี่ปุ่นเรียกว่า ไชอิตาเกะ เกาหลีเรียกว่า โบโกะ จีนเรียกว่าเฮียโกะ
ภูฏาน เรียก ชิชิ-ชามุ อังกฟษเรียกว่า Black Mushroom หรือ เห็ดดำ
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดหอมมีรูปทรงกลม ผิวมีขนรวมกันเป็น เกล็ดหยาบๆ สีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ผิวหมวกด้านบนสีน้ำตาล น้ำตาลปนแดงหรือ น้ำตาลเข้ม ครีบดอกเป็นแผ่นบางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ก้านดอกมีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน หากปล่อยไว้ให้ถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม โคนก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาว เห็ดหอมเนื้อนุ่ม มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงได้ชื่อว่า เห็ดหอม
ฤดูกาล : ตลอดปีแต่จะให้ผลผลิตดีในช่วบงฤดูหนาว
แหล่งปลูก : ภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ภาคอีสานแถบจังหวัดเลยและสกลนคร
การกิน : เห็ดหอมที่นำมากินมีทั้งเห็ดหอมสดและเห็ดหอมแห้ง หากเป็นเห็ดหอมแห้งจะต้องนำมาแช่น้ำก่อนปรุงอาหาร เช่นเห็ดหอมผัดน้ำมันหอย เห็ดหอมตุ๋น โจ้กเห็ดหอม ใส่ในข้าวผัด และผัดผัก เป้นต้น
สรรพคุณทางยา: คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะ รักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แกโรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอล ได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก
คุณค่าอาหาร : เห็ดสด 100 กรัม ให้พลังงาน 387 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8.0 กรัม เส้นใย 8.0 กรัม วิตามิน บี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม
เห็ดแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 375 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม เส้นใย6.5 กรัม วิตามิน บี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

เห็ดหูหนูขาว
ชื่อสามัญ : White Jelly Fungus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tremella fusiformis Berk.
ชื่ออื่น : Pen Tsao, Silver Ear
ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: เห็ดหูหนูขาวขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มก้อนติดกัน มีดอกบางสีขาวใส รูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ เช่นเหมือนใบหู กลีบดอกไม้ และภาชนะ มีทั้งแบบหมวกบานใหญ่และแบบหมวกบานฝอย คล้ายแมงกระพรุน ดอกเห็ดมีลักษณะคล้ายวุ้น อ่อนนุ่ม ขอบหยักย่น เป็นคลื่น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ดอกแห้งสีขาวอมเหลือง รสหวาน เนื้อนุ่มกว่าเห็ดหูหนูสีน้ำตาล
ฤดูกาล : -
แหล่งปลูก : เมืองจางโจวมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน
การกิน : นำไปลวกใส่อาหารประเภทยำ และทำอาหารประเภทผัด ต้ม ตุ๋น นึ่งและแกง หรือนำไปแปรรูปเป็นเห็ดหูหนูตากแห้ง และอบแห้ง
สรรพคุณทางยา: เห็ดหูหนูขาว ชาวจีนถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะอีกชนิดหนึ่ง ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงปอด บำบัดอาการอ่อนเพลีย ไอ เสมหะมีเลือดปน ร้อนใน คอแห้ง
คุณค่าอาหาร : ไม่มีข้อมูล






[/b]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 07/08/2010 8:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็ดตะไคล
ชื่อสามัญ :-
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Russula delica Fr.
ชื่ออื่น : เห็ดไคล เห็ดหล่มขาว เห็ดตะไคลขาว เห็ดเข้าพรรษา
ถิ่นกำเนิด: -
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: ดอกเห็ดอ่อนสีขาวนวล ผิวหมวกเห็ดเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-15 ซม. เมื่อบานรูปร่างคล้ายกรวย ตรงกลางหมวกเว้าลงเล็กน้อย สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเนื้อ เนื้อหมวกหนาด้านล่างหมวกมีครีบเรียงกันเป็นรัศมี ก้านดอกมีลักษณะกลมใหญ่ โคนก้านดอกเรียวเล็กกว่าด้านบนเล็กน้อย ผิวด้านนอกสีขาวนวลและเรียบ เมื่อกระทบแสงไฟในตอนกลางคืนจะเรืองแสง
ฤดูกาล :ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
แหล่งปลูก : เห็ดตะไคลพบได้ตามธรรมชาติ บริเวณหนองน้ำ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง แถบภาคอีสาน
การกิน :เห็ดตะไคลมีกลิ่นหอม เนื้อแน่นกรอบ รสออกหวานนิดๆ นำไปย่างจิ้มน้ำพริก ยำเห็ด ต้มยำเห็ด แจ่วเห็ดตะไคล หรือผัดเห็ดตะไคล
สรรพคุณทางยา: ไม่มีข้อมูล
คุณค่าอาหาร :เห็ด 100 กรัม ให้พลังงาน 41 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย น้ำ 89.3 กรัม โปรตีน 36 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม เหล็ก 2.0 มิลลิกรัม โซเดียม 2 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.64 มิลลิกรัม วิตามินซี 2 มิลลิกรัม

เห็ดเข็มทอง
ชื่อสามัญ :Golden Needle Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Flammulina velutipes (Curt,ex Fr.) Sing
ชื่ออื่น :Enokitake,Needle Mushroom,เห็ดเหมันต์
ถิ่นกำเนิด: พบขึ้นทั่วไปในเขตหนาว เช่นประเทศจีน ญี่ปุ่น อเมริกา และออสเตรเลีย
ลักษณะทางพฤกษศาตร์: หมวกเห็ดรูปร่างกลม มีขนาดเล็กก้านยาวเรียว เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อสุกเนื้อนุ่มลื่นเคี้ยวกรุบ
ฤดูกาล :เห็ดเข็มทองตามธรรมชาติชอบขึ้นกับไม้ที่ตายแล้ว ออกดอกในช่วงฤดูหนาว
แหล่งปลูก : -
การกิน : นำมาทำสุกี้ยากี้ ผัดรวมกับผักต่างๆ และใส่แกงจืด
สรรพคุณทางยา: กินเห็ดเข็มทองเป็นประจำจะช่วยให้รักษา โรคตับ โรคกระเพาะอาหารและโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
คุณค่าอาหาร :เห็ด 100 กรัม ให้พลังงาน 34 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 2.4 กรัม โซเดียม 3 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม

เห็ดโคนน้อย (Coprinus fimetarius)
จัดเป็นราชั้นสูงที่อยู่ใน ตระกูลเห็ด (Basidiomycetes) มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเนื่องจากมีการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น เห็ดถั่ว เห็ดถั่วเหลืองหรือเห็ดถั่วเน่า ซึ่งเรียกตามวัสดุเพาะ เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว(ภาคเหนือ) เห็ดคราม เห็ดปลวกน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เห็ดโคนเพาะ เห็ดโคนน้อย เห็ดหมึก(ภาคกลาง) เป็นต้น มีลักษณะคล้ายเห็ดโคน หมวกเห็ดสีขาว ก้านดอกขนาดเท่าดินสอดำ ความยาวของต้นเห็ดประมาณ 2-3 นิ้ว มีสรรพคุณทางสมุนไพรช่วยในการย่อยอาหารและลดเสมหะ ถ้าตำให้ละเอียดใช้พอกภายนอก จะช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆ ได้

จากการศึกษาวิจัยพบว่าเห็ดโคนน้อยสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง sarcoma 180 และ เซลล์มะเร็ง Ehrlich carcinoma ได้สูง 90 และ100% ตามลำดับ และยังพบว่ามีส่วนประกอบของ สารออกฤทธิ์ต้านเชื้อรา (Ying,1987) แต่เดิมนั้นยังไม่มีการเพาะอย่างแพร่หลาย ในภาคเหนือ ชาวบ้านจะเก็บได้จากเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติเช่นตามกองเศษซากของต้นถั่วที่หมักเอาไว้ เรียกกันว่าเห็ดถั่วหรือเห็ดถั่วเน่า แต่เนื่องจากลักษณะของเห็ดกลุ่มนี้มีอยู่หลายชนิด บางครั้งอาจไปเก็บเห็ดที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ที่ชาวบ้านเรียกว่าเห็ดขี้ควาย ซึ่งมีสารพิษ Coprine ซึ่งสารชนิดนี้มีอยู่ในเห็ดจีนัส Coprinus หลายสปีชีส์ที่ใกล้เคียงกับเห็ดที่เก็บรับประทานกันเช่นพบใน C.atramentarius, C.disseminatus, C.fuscescens, C.insignis, C.micaceus, C.quadrifidus, C.variegatus, C.silvaticus (เกษม,2537 และ Benjamin,1995) หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Coprinus syndrome (Bresinsky and Besel,1990) เนื่องมาจากสารพิษ coprine ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ สารพิษนี้มีฤทธิ์เสริมกับเครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ (Allen and Piessel,1993) ไม่ว่าจะบริโภคก่อนหรือหลังรับประทานเห็ด จะมีอาการเมาค้าง หายใจหอบ หน้าแดงเนื่องจากหลอดเลือดขยาย ใจสั่น ชีพจร เต้นเร็ว เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ มึนงง สับสนหรือประสาทหลอนและความดันโลหิตต่ำ อาการจะปรากฏอยู่ไม่นานและดีขึ้นภายใน 5 วัน การรักษาเนื่องจากพิษ โดยปกติจะหายได้เอง แต่ถ้าอาการคงอยู่นาน ต้องทำให้อาเจียนล้างกระเพาะลำไส้ ถ้าความดันต่ำมากต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

ที่มาข้อมูล
1.เกษม สร้อยทอง.2537. เห็ดและราขนาดใหญ่ในประเทศไทย. อุบลราชธานี,โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท
2.Allen M., Peissel, M. 1993. The encyclopedia of danger : Dangerous plants and mushrooms. New York, Chelsea House Publisher.
3.Benjamin, D.R. 1995. Mushrooms : Poison and panaceas : A handbook for naturalists, mycologists and physicians. New York, W.H.Freeman and Company.
4.Bresinky, A. and Besel, H. 1990. A colour atlas of poisonous fungi. London, Wolfe Publishing.
5.Ying,J. 1987. Icons of medicinal fungi. Beijing, Science Press.
6.ดร.ปัญญา โพธิ์ฐิรัตน์ เทคโนโลยีการเพาะเห็ด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เมษายน 2532.
[/b]
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 07/08/2010 9:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็ดนางฟ้า-ภูฏาน


เห็ดนางรม -ฮังการี


เห็ดหูหนู


เห็ดเป๋าฮื้อ


เห็ดฟาง


เห็ดโคนญี่ปุ่น


เห็ดแครง


เห็ดโคน


เห็ดแชมปิญอง


เห็ดกระด้าง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 08/08/2010 9:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณ คุณอ้อที่อุตสาห์ช่วยลงรูปให้
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
eawbo
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 03/03/2010
ตอบ: 52

ตอบตอบ: 08/08/2010 11:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เห็ดทำอาหารอร่อยมีคุณค่า นอกจากเจอเห็ดพิษ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 08/08/2010 11:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

hearse บันทึก:
ขอบคุณ คุณอ้อที่อุตสาห์ช่วยลงรูปให้


จะปล่อยให้คุณhearse เหนื่อยคนเดียวได้ไง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©