-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - โรคและแมลงของมังคุด
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

โรคและแมลงของมังคุด

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 12/07/2010 8:53 pm    ชื่อกระทู้: โรคและแมลงของมังคุด ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

Off_Chantaburi บันทึก:
ไม่รู้ว่าหนอนประเภทไหน หาตัวไม่เจอ แต่ผมไปสวนรอบนี้ มังคุดบางต้นมีศิลปะใบอ่อนเพสลาดออกมามีโค้งมีเว้า บางต้นเจอแต่ก้าน ฮึ่มๆ


ที่มา http://web.ku.ac.th/agri/magost/insect.htm

อาการผิดปกติที่เกิดกับส่วนต่าง ๆ ของมังคุดอาจจะมีสาเหตุมาจากการทำลาย ของโรค แมลงหรืออาจจะเกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ซึ่งมีผลโดยตรงต่อปริมาณและคุณภาพของ ผลผลิต โรคแมลงและอาการผิดปกติที่สำคัญได้แก่

1. หนอนชอนใบ เป็นหนอนของผีเสื้อชนิดหนึ่ง ตัวหนอนมีขนาดเล็กยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ตัวสีขาวนวลปนแดง จะกินอยู่ใต้ผิวใบทั้งสองด้านและเห็นเป็นทาง สีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบที่ถูกทำลาย จะมีรูปร่างบิดเบี้ยวใบไม่เจริญและมีขนาดเล็ก หนอนชนิดนี้จะทำลายเฉพาะใบอ่อนเท่านั้น รวมทั้งต้นกล้ามังคุด ที่อยู่ในเรือนเพาะชำ มักจะพบการทำลายของหนอนชอนใบด้วย
การป้องกันกำจัด ในระยะที่มังคุดเริ่มแตกใบอ่อน ถ้าพบการทำลายให้พ่นด้วย สารป้องกันกำจัดแมลงในกลุ่มคาร์บาริ ลทุก 7 วัน เมื่อใบแก่แล้วก็หยุดพ่น

2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อชนิดหนึ่งขนาดของตัวหนอนยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร สีของตัวหนอนเหมือนกับสีของใบอ่อนมังคุด (เขียวแกมเหลือง) ถ้าหากไม่สังเกตดี ๆ จะมองไม่เห็น ตัวหนอนจะกัดกินแต่ใบอ่อนเท่านั้น ลักษณะการทำลายทำให้ใบเว้า ๆ แหว่งๆ เหลือแต่ก้านใบทำให้มังคุดขาด ความสมบูรณ์
การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูตามใบมังคุด หากพบการทำลายให้หาเศษหญ้าแห้ง กองรอบโคนต้นมังคุด พอตอนสาย ๆ ให้รื้อกองหญ้าทำลายหนอนหรือให้พ่นสารประเภทดูดซึม เช่น คาร์บาริล ในอัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 5-7 วัน



3.เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็ก เคลื่อนไหวตัวได้รวดเร็วระบาดในช่วงที่อากาศ แห้งแล้งติดต่อกันนาน ๆ โดยทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของศัตรูชนิดนี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนดอกอ่อน และผลอ่อนของมังคุด ถ้าหากเป็นยอดอ่อนจะทำให้ยอดแห้ง สำหรับดอกอ่อนและผลอ่อนจะทำให้ดอกร่วง และผลมีรอยสีน้ำตาลกร้านมียางไหลและจะทำให้ผลร่วงได้ ศัตรูชนิดนี้นับเป็นศัตรูสำคัญที่มีผลกระทบในการ ส่งออกมังคุดเป็นอย่างมาก
การป้องกันกำจัด เมื่อมังคุดเริ่มติดดอกให้หมั่นตรวจดูดอกมังคุด ถ้าหากพบว่ามีเพลี้ยไฟอยู่ตาม โคนก้านดอกหรือตามกลีบดอกให้ฉีดพ่นสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น สารโมโนโครโตฟอส เมทธิโอคาร์บ หรือ คาร์โบซัลแฟน หลังพ่นสารเคมีแล้ว 5-7 วัน ให้ตรวจดูอีก หากยังพบอยู่ให้พ่นซ้ำ การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ให้ได้ผลดี ควรทำพร้อมกันกับสวนข้างเคียงเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายของแมลง



4. ไรแดง เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ตัวโตเต็มวัยมีรูป ร่างกลมหรือรูปไข่ มีสีแดง เคลื่อนไหว ได้อย่างรวดเร็ว มักอยู่รวมเป็นกลุ่มและระบาดควบคู่ไป กับเพลี้ยไฟ โดยไรแดงจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ดอกและผลอ่อน ทำให้ดอกและผลอ่อนแห้งร่วงหล่นไปหรือทำให้ผลไม่เจริญ เปลือกมีผิดตกกระ เป็นขุย เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกเช่นเดียวกัน กับเพลี้ยไฟ
การป้องกันและกำจัด ให้หมั่นตรวจดูในระยะที่มังคุดกำลังออกดอกและติดผล ถ้าพบให้พ่นด้วย กำมะถันผงหรือสารไดโคโพลทุก 7-10 วัน

5. โรคใบจุด เกิดจากการทำลายของเชื้อรา เชื้อราเข้าทำลายใบเกิดเป็น รอยแผลไหม้สีน้ำตาลมีขอบแผลสีเหลือง รูปร่างของแผลไม่แน่นอน ทำให้ใบเสียเนื้อที่ในการสังเคราะห์แสง ความสมบูรณ์ของต้นลดลง และถ้าระบาดรุนแรงใบจะแห้งทั้งใบและร่วงหล่น ทำให้ผลมังคุดไม่มีใบปกคลุม ผิวของผลมังคุดจะกร้านแดดไม่สวย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ แมนโคเซบ คาร์เบนดาซิม หรือเบนโนมิล เป็นต้น



6. โรคใบแห้งและขอบใบแห้ง เกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม คือ แสงแดดจัด ความชื้นต่ำ ทำให้น้ำระเหยออกจากขอบใบมาก จนกระทั่งขอบใบแห้ง ทำให้มังคุดเจริญเติบโต ช้า ต้นขาดความสมบูรณ์ให้ผลผลิตน้อย จึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกมังคุดในสภาพที่มีภูมิอากาศไม่เหมาะสม และโดยทั่วไปก็มักจะพบอาการใบไหม้ขอบใบแห้งในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งตรงกับช่วงที่ผลมังคุดกำลังออกดอก ติดผลพอดี เมื่อใบมังคุดขาดความสมบูรณ์จะทำให้ผลมังคุดขาดความสมบูรณ์ตามไปได้
การป้องกันกำจัด ควรดูแลให้ต้นมังคุดได้รับน้ำอย่างสม่ำ เสมอและพอเพียง

7. อาการยางไหลที่ผิว จะพบได้ทั้งระยะผลอ่อนและผลแก่
ยางไหลระยะผลอ่อน เกิดจากเพลี้ยไฟดูดกินน้ำเลี้ยงระยะผลอ่อน จะทำให้เกิด ยางไหลออกมาจากผิวเปลือกเป็นสีเหลือง ทำให้ผลมีการเจริญเติบโตช้า การป้องกันกำจัดอาการยางไหลของ ผลอ่อน โดยการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ตั้งแต่มังคุดเริ่มออกดอก
ยางไหลระยะผลขนาดใหญ่ จะพบอาการยางไหลในขณะผลใกล้แก่ แต่ยังมีสีเขียวอยู่ ยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน สันนิษฐานว่าเกิดจากมังคุดได้รับน้ำมากเกินไป ทำให้ปริมาณน้ำยางในผลมีมาก และปะทุออกมาเอง หรืออาจมีแมลงไปทำให้เกิดบาดแผลทำให้ยางไหลออกมาได้ ซึ่งภายหลังจากการเก็บเกี่ยว ก็สามารถขูดยางเหล่านี้ออกได้ โดยผลไม่เสียหายแต่จะสิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน

8. อาการเนื้อแก้ว เป็นอาการของเนื้อมังคุดที่มีสีขาวใสในบางกลีบ โดยมากจะเป็นกับกลีบที่มีขนาดใหญ่ ในบางครั้งก็เป็นเนื้อแก้วทั้งผล อาการเนื้อแก้วนี้จะสังเกตได้จากลักษณะภายนอก โดย พบว่าผลที่มีรอยร้าวอยู่ที่ผิว มักจะมีอาการเนื้อแก้วด้วย แต่ในบางครั้งลักษณะภายนอกเป็นปกติ เมื่อผ่าดูก็อาจพบอาการเนื้อแก้วได้เช่นกัน
อาการยางไหลภายในผล พบยางสีเหลืองอยู่ตรงกลางระหว่างกลีบผล มักจะพบคู่กับอาการเนื้อแก้ว หรืออาจจะพบแต่อาการยางไหลเพียงอย่างเดียวก็ได้
อาการเนื้อแก้วและยางไหลภายในผล ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จะพบมากในมังคุดที่ขาดการดูแล รักษา เช่น ได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ หรือขาดน้ำเป็นเวลานาน ๆ เมื่อได้รับน้ำจากฝนที่ตกชุกในช่วงผลใกล้แก่ ผลมังคุดได้รับน้ำอย่างกระทันหัน เปลือกขยายตัวไม่ทันเกิดรอยร้าว ท่อน้ำยางภายในผล ก็ได้รับน้ำมากเช่นกัน เกิดแรงดันมากจึงปะทุแตก มีน้ำยางไหลออกมา นอกจากนั้นแล้ว การบำรุงรักษาไม่ถูกต้อง มังคุดได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการเจริญเติบโต ผิดปกติเกิดเป็นเนื้อแก้วได้


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Aorrayong เมื่อ 12/07/2010 9:19 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
ott_club
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 20/07/2009
ตอบ: 718

ตอบตอบ: 12/07/2010 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณครับ

รวดเร็วยังกับผีเสื้อจรวดเลยพี่เรา
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว ส่งอีเมล์
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 12/07/2010 9:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นี่แค่ Low Speed Internet นะเนี่ย
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/07/2010 10:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุย........
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Off_Chantaburi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/07/2010
ตอบ: 28

ตอบตอบ: 12/07/2010 10:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

รวดเร็วมากมาย ขอบคุณครับ สงสัยจะเป็นโรคใบจุด และหนอนกินใบบางส่วน

โรคใบจุดนี่เกี่ยวมั้ยครับ ว่าแปลงมังคุดผม ค่อนข้างร่ม มียางพาราแซม เลยมีเชื้อรา เพราะเป็น
หลายต้นเลย

ปีนี้ถ้าป้องกันไม่ทันแล้ว ผมว่าจะบำรุงให้ต้นแข็งแรงก่อน (ด้วยระเบิดฯ +น้ำดำ) เผื่อว่ามังคุดจะ
ต่อสู้ได้เอง หรือว่าควรจะพ่นยาเลยดีครับ ไปเดินดูสมุนไพรแถวสวนมีแต่สาบเสือ


ลุงคิม พี่อ้อครับ ขอบคุณมากที่แนะนำเรื่องพ่อแม่ วันเสาร์ไปราดปุ๋ย นึกว่าแม่เมย์จะไม่สนใจ ที่
ไหนได้ถามใหญ่เลยว่าทำยังไงหมักยังไง ผมกับเมย์ก็อธิบายได้บ้างไม่ได้บ้าง สุดท้าย แกขอ ยู
เรก้า. ไบโออิ. และฮอร์โมนไข่. ไปอย่างละลิตรกว่า (ขอกันเฉยเลย)

แกบอกว่ารบกวนถามลุงคิม กับพี่อ้อหน่อยว่า ลองกองแก สองปีที่ผ่านมาไว้ช่อเยอะไปหน่อย ปี
นี้ยังไว้เยอะอีก ปรากฏว่าเบ่งลูกไม่ค่อยออก ทำยังไงดี ตอนนี้รุ่นหลังยังเขียวอยู่เม็ดเท่าลูกแก้ว
เด็กเล่น ปกติแกใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ที่เค้าบอกว่ามีธาตุรองธาตุเสริม

ปุ๋ยน่ะ เอาใส่ขวดกลับบ้านไปเรียบร้อย แต่ไม่รู้ว่าจะใช้ยังไงดี แถมบอกอีกว่าทำแคลเซียมโบรอน.
ให้หน่อยซิซื้อเค้าน่ะมันแพง แหม ....แม่นี่เป็นลมๆ นะครับ เดี๋ยวด่าเดี๋ยวถาม ผมละงง

นี่รูปต้นลองกองของแกครับถ่ายเมื่อ 4-5 เดือนก่อน มีเล็กใหญ่สลับกัน ส่วนใหญ่จะขนาดต้น
ใหญ่ด้านหลังครับ

กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/07/2010 10:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"สารสมุนไพร" กับ "ศัตรูพืช"

1...สารออกฤทธิ์โดยตรง
- หนอนและแมลงปากกัดปากดูด : สะเดา. บอระเพ็ด. ฟ้าทะลายโจร. เมล็ด/ใบน้อยหน่า.
เมล็ดมันแกว. เปลือกต้นซาก. หัวกลอย. ยาสูบ/ยาฉุน. ใบดาวเรือง. สบู่ต้น. ฯลฯ

ทำให้หนอนหยุดกินอาหาร ไม่ลอกคาบ ไม่เข้าดักแด้ ไม่นานหนอนนั้นก็ตาย......
ทำให้รสชาติตามธรรมชาติของพืชที่แมลงชอบกินเปลี่ยนแปลง แมลงจึงไม่กัดกินพืชนั้น......

- แมลงวางไข่ : สาบเสือ. ตะไคร้หอม/แกง. ขิง. ข่า. ขมิ้นชัน. มะกรูด. ...... กลิ่นของ
สมุนไพรทำให้แมลงหนีไปไม่เข้าวางไข่ และไม่เข้ากัดกิน
- ไข่แมลง : ฝักคูน. แมงลักคา. ผกากรอง. ...... ทำให้ไข่ฝ่อ ฟักออกเป็นตัวไม่ได้
- โรค (รา-แบคทีเรีย-ไวรัส) : เปลือกมังคุด. เปลือกสดต้นไม้. ใบ/ผลยอ. พริกไทย.
ดีปลี. กานพลู. ใบพลู. หมาก. ....... ทำให้เชื้อโรคตายหรือไม่แพร่พันธุ์

2...สารรออกฤทธิ์โดยอ้อม
- ใช้สูตรรวมมิตร : สมุนไพรอะไรก็ได้ที่มีคุณสมบัติ กลิ่น (หอม/เหม็น) จัด. ขมจัด. เผ็ด
จัด. ร้อนจัด. ฝาดจัด. เอาทุกตัว เพื่ออาศัย "กลิ่น/รส" ที่แมลงหรือหนอนไม่ชอบ
- ใช้สารท็อกซิก.จากน้ำหมักชีวภาพ (หมักนานหลายปี)
- ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย (หมักใหม่)

3...สภาพแวดล้อม
- สร้างอุณหภูมิในทรงพุ่มสูง เนื่องจากแสงแดดส่องรุนแรง โดยการตัดแต่งกิ่ง
- สร้างภูมิต้านทานในต้นพืช โดยบำรุงต้นให้สมบูรณ์ แข็งแรง อยู่เสมอ
- สร้างความชื้นต่อสู้กับแมลงประเภทไม่ชอบความชื้น โดยฉีดพ่นละอองน้ำ
- สร้างความแห้งต่อสู้กับแมลงประเภทไม่ชอบความแห้ง
- ทำลายแหล่งอาศัย/แพร่พันธุ์ เช่น สะเก็ดเปลือกบนลำต้น ความชิ้นบนเปลือกลำต้น เศษพืช
แห้งบนพื้นดินบริเวณโคนต้น
- ปลูกพืชประเภทที่แมลงศัตรูพืชไม่ชอบ แซมแทรกระหว่างพืชประธาน

4...เทคนิคที่เหมาะสม
- ฉีดพ่นสารสมุนไพรบ่อยๆแบบ เช้ารอบ-ค่ำรอบ บ่อยที่สุดเท่าที่จะบ่อยได้
- ใช้มาตรการ "กันก่อนแก้"
- ทุกครั้งที่ฉีดพ่น ปุ๋ย/ฮอร์โมน ทางใบ ให้ +สารสมุนไพรร่วมไปด้วย
- ใช้มาตรการ "ลด-ละ-เลิก" สารเคมี
- สารสมุนไพร +กับสารเคมีได้ แต่ +กับจุลินทรีย์ไม่ได้






COPY.....
แกบอกว่ารบกวนถามลุงคิม กับพี่อ้อหน่อยว่า ลองกองแก สองปีที่ผ่านมาไว้ช่อเยอะไปหน่อย ปีนี้
ยังไว้เยอะอีก ปรากฏว่าเบ่งลูกไม่ค่อยออก ทำยังไงดี ตอนนี้รุ่นหลังยังเขียวอยู่เม็ดเท่าลูกแก้วเด็ก
เล่น ปกติแกใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ที่เค้าบอกว่ามีธาตุรองธาตุเสริม.......

ตอบ :
* ออกดอกติดผลที่ลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่อายุ 2 ปีขึ้นไป ต้นที่สมบูรณ์มากๆก็อาจจะออก
ดอกติดผลที่ใต้ท้องกิ่งอายุปีเดียวได้ การออกดอกจะออกแบบทยอยซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานถึง
2 เดือนจึงครบทุกตาดอก แต่ในต้นที่มีความสมบูรณ์สูงจะออกดอกได้นานกว่า 2 เดือนจนถึง
ออกดอกได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น และฤดูกาลเลยได้

* ลองกอง-ลางสาด ที่อั้นตาดอกดีแต่เปิดตาดอกแล้วไม่ออกดอก ให้เพิ่ม ”แคลเซียม โบรอน
+ สาหร่ายทะเล” สลับ 1-2 รอบ จะช่วยให้ออกดอกได้ดี

* ออกดอกทั้งเป็นช่อเดี่ยวและเป็นกระจุก บางครั้งออกมาเป็นช่อเดี่ยวก่อนแล้วมีช่อชุดหลังออก
ตามมาอีกจนเป็นกระจุก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น..........แต่ละกระจุกมีตั้งแต่ 5-20 ช่อ

* การมีดอกจำนวนมากและเป็นดอกต่างรุ่นกัน ทำให้ยุ่งยากอย่างมากต่อการบำรุง ทั้งช่วงที่ยังเป็น
ดอกและช่วงที่พัฒนาเป็นผลแล้ว จึงจำเป็นต้องตัดแต่งช่อดอกออกบ้าง โดยเลือกตัดทิ้งช่อดอก
ก้านสั้น, ช่อดอกไม่สมบูรณ์ก้านเรียวเล็กหรือคดงอ, ช่อดอกที่เกิดในง่ามกิ่ง, ช่อดอกชี้ขึ้น
หรือเกิดที่ด้านบนของกิ่ง, ช่อดอกที่เกิดปลายกิ่ง ..........ใน 1 กระจุกควรมีช่อดอก 2-4 ช่อ
และห่างจากช่อข้างเดียงไม่น้อยกว่า 20-30 ซม.เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

* ดอกชุดที่ออกก่อน (เดี่ยวหรือกระจุก) มักสมบูรณ์กว่าดอกชุดที่ออกตามหลัง ดังนั้นเมื่อมีช่อ
ดอกออกมาตามหลังจะต้องพิจารณาคุณลักษณะและตำแหน่งว่า จะมีโอกาสได้รับน้ำเลี้ยงอย่าง
เพียงพอหรือไม่ จากนั้นจึงเลือกตัดทิ้งหรือเก็บไว้

* ในช่อที่มีผลจำนวนมาก แม้จะได้บำรุงยืดช่อแล้วผลก็ยังเบียดกันจนแน่นอยู่อีกก็ต้องซอยผล
ออกบ้าง ให้พิจาณาผล 2-3 ผลแรกที่โคนก้านช่อ ถ้าอยู่ชิดกับกิ่งมากให้ตัดออกเพราะผลเหล่า
เมื่อโตขึ้นจะเบียดกับกิ่งจนทำให้ก้านช่อขาดได้ ส่วนผลอื่นๆที่อยู่ภายในช่อให้พิจาณาตัดผลที่เล็ก
กว่าออกเพราะผลแบบนี้นอกจากจะโตไม่ทันผลใหญ่แล้วยังกีดขวางการขยายตัวของผลใหญ่ให้
เสียรูปทรงอีกด้วย

* ถ้าผลในช่อเบียดกันมากจนไม่สามารถตัดผลใดผลหนึ่งออกได้เพราะอาจจะกระทบกระเทือน
ผลใหญ่ข้างเคียง ให้ปลายเข็มแทงผลที่ต้องการตัดออก เมื่อผลมีแผลจะมียางไหลออกมา
ประมาณ 7-10 วัน ผลนั้นก็จะหลุดจากขั้วเอง

* ธรรมชาติของดอกลองกอง-ลางสาดจะเริ่มบานและผสมติดจากดอกที่โคนช่อก่อน แล้วจะผสม
ติดตามลำดับจนถึงปลายช่อ เมื่อดอกในช่อทุกดอกผสมติดจนพัฒนาเป็นหมดแล้ว ให้ตัดผลเล็ก
สุดที่ปลายช่อ 2-3 ผลออก จะช่วยให้ทุกผลที่เหลือในช่อนั้นแก่เก็บเกี่ยวได้ภายในระยะเวลาใกล้
เคียงกันหรือเกือบพร้อมกัน

* ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกันและผสมกันเอง
ได้ ไม่จำเป็นต้องรับเกสรตัวผู้จากต่างดอกหรือต่างต้น ดอกที่ออกมาจึงสามารถพัฒนาเป็นผลได้
ทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่ต้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดสารอาหาร หรือสภาพอากาศวิปริตอย่างรุนแรงเท่านั้น

* เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/
ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็น
ผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว

* ลองกอง-ลางสาดมักติดผลเป็นพวงจำนวนมากบนก้านช่อเพียงก้านเดียว ผลจึงเบียดกันทำให้
เสียรูปทรง จึงควรบำรุงยืดก้านช่อให้ยาวขึ้นเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับผลแต่ละผลขยายตัวได้มากขึ้น
ด้วย จิ๊บเบอเรลลิน อัตรา 100 ซีซี./น้ำ 100 ล. โดยให้ครั้งแรกเมื่อช่อดอกยาว 2-3 ซม. ให้
ครั้งที่สองเมื่อช่อดอกยาว 8-20 ซม. และให้ครั้งที่สามเมื่อดอกบานได้ 1 ใน 4 ของจำนวนดอก
ในช่อ........เนื่องจากดอกลองกอง-ลางสาดออกไม่พร้อมกันแต่จะทยอยออกนานถึง 2 เดือน
อายุดอกจึงไม่เท่ากัน ดังนั้นการฉีดพ่นจิ๊บเบอเรลลินจึงต้องฉีดทีละช่อตามลำดับความพร้อมก่อนหลัง

* เปลือกต้นหรือกิ่งใหญ่ลองกอง-ลางสาดแห้งเป็นสะเด็ด (คุดทะราด) ให้ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำ
ชีวภาพบ่อยๆ ฉีดให้โชกจนเปียกทั่วลำต้นหรือกิ่งที่เป็นสะเก็ด จุลินทรีย์ในปุ๋ยน้ำชีวภาพจะช่วยย่อย
สลายให้สะเก็ดบนเปลือกเหล่านั้นหลุดร่วงจนผิวเปลือกสะอาดได้ สะเก็ดเหล่านี้นอกจากเป็น
แหล่งอาศัยของหนอนต่างๆ แล้วยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อราอีกด้วย เมื่อไม่มีสะเก็ดหรือเปลือก
สะอาดดี ตาดอกซึ่งอยู่ใต้เปลือกก็จะสมบูรณ์ดีไปด้วย

* ระยะพัฒนาของดอก..........ในช่อดอกเดียวกัน ดอกที่โคนช่อออกก่อนแล้วดอกอื่นๆจะออก
ตามจนสุดปลายช่อใช้เวลา 5 สัปดาห์ กว่าดอกปลายช่อจะออกมาได้ดอกโคนช่อซึ่งออกก่อนได้
บานและผสมติดเป็นผลเรียบร้อยแล้ว ดอกจะบานอยู่นาน 3-5 วัน

* ระยะพัฒนาการของผล........ในต้นเดียวกัน เมื่อช่อดอกชุดแรกเริ่มออกมาแล้ว ช่อดอกชุด
หลังจะออกตามมาติดต่อกันนาน 19 สัปดาห์ อายุผลตั้งแต่เริ่มติดถึงแก่เก็บเกี่ยวได้ 14
สัปดาห์ การที่ช่อดอกออกไม่พร้อมกันจึงทำให้ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน แก้ไขโดย ผลช่อ
ไหนแก่ก่อนให้เก็บก่อนและผลช่อไหนแก่ทีหลังให้เก็บทีหลัง หรือทยอยเก็บไปเรื่อยๆ ซึ่งต้อง
เก็บเกี่ยวประมาณ 3-5 รอบจึงหมดทั้งต้น

* การที่ผลลองกอง-ลางสาดในช่อเดียวกันแต่ต่างอายุกันถึง 5 สัปดาห์จึงทำให้ผลแก่ไม่พร้อม
กัน แก้ไขโดยฉีดพ่น อีเทฟอน 20 ซีซี./น้ำ 100 ล. เมื่อผลเริ่มเปลี่ยนสีเปลือกจากสีเขียวเป็นสี
เหลืองได้ 10-20 เปอร์เซ็นต์ โดยฉีดใส่ที่ช่อผลนั้นโดยตรง จะช่วยให้ผลแก่พร้อมกันทั้งช่อภาย
ใน 2 สัปดาห์ การฉีดพ่นอีเทฟอน.จะไม่มีผลต่อการร่วงของผลเมื่อสุกหรือระหว่างขนส่งแต่อย่างใด

* หลังจากเก็บเกี่ยวลงมาแล้วปล่อยทิ้งให้ลืมต้น 1-3 วันจะได้รสชาติและกลิ่นดีขึ้น

* การที่ผลลองกอง-ลางสาดหลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้วหลายวันมักร่วงจากขั้ว แก้ไขโดยใช้ เอ็น
เอเอ. 40 ซีซี./น้ำ 100 ล. ฉีดพ่นใส่ช่อผลโดยตรงช่วงที่เปลือกผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสี
เหลืองหมดทั้งช่อแล้ว จะช่วยให้ลองกอง-ลางสาดอยู่บนแผงจำหน่ายโดยผลไม่หลุดจากขั้วนาน
20-30 วัน..........ในช่อที่ไม่ได้ฉีดพ่นเอ็นเอเอ.ผลมักหลุดจากขั้วเร็วหรือฝากแผงได้นานไม่
เกิน 10 วัน

ที่มา : เว้บเรานี่แหละ.......หน้าแรก - เมนูหลัก - ไม้ผล - ลางสาด/งอวกอว.....


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/07/2010 6:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
may-etc
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 02/06/2010
ตอบ: 87
ที่อยู่: จันทบุรี

ตอบตอบ: 13/07/2010 2:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณค่ะลุง

จริงๆ เข้าไปอ่านแล้วค่ะ แต่ไม่มั่นใจว่าขยายขนาดผลโดยที่ต้นก็ไม่สมบูรณ์มาก เนี่ย ให้ยูเรก้า
อย่างเดียว หรือบวกกับอย่างอื่นด้วย

เลยบอกแม่ว่าทดลองละกัน ลูกก็ยังไม่เข้าใจต้นไม้เท่าไหร่ ให้ยูเรก้า 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร พ่น
ไปก่อน กลัวแนะนำผิดเดี๋ยวลองกองเค้ามีปัญหา ลูกจะโดนมิใช่น้อย Shocked
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/07/2010 4:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ไฮ....... ยูเรก้า 1 ล./น้ำ 200 ล. โอเวอร์ไป.....แค่ 200 ซีซี./น้ำ 200 ล. ก็เต็มที่แล้ว

เอางี้ซี่.... สหประชาชาติ "ยูเรก้า 100 ซีซี.+ ไบโออิ 100 ซีซี./น้ำ 200 ล." ให้ไปแล้ว 2-3
รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน. 1 รอบ....สูตรนี้ขยายขนาดผลนะ


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 13/07/2010 6:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Aorrayong
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 30/07/2009
ตอบ: 869

ตอบตอบ: 13/07/2010 6:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:

ไฮ....... ยูเรก้า 1 ล./น้ำ 200 ล. โอเวอร์ไป.....แค่ 200 ซีซี./น้ำ 200 ล. ก็เต็มที่แล้ว

เอางี้ซี่.... สหประชาชาติ "ยูเรก้า 100 ซีซี.+ ไบโออิ 100 ซีซี./น้ำ 200 ล." ให้ไปแล้ว 2-3
รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน. 1 รอบ....สูตรนี้ขยายขนาดผลนะ


ลุงคิมครับผม


ใส่ฮอร์โมนไข่เข้าไปอีก 100 ซีซี. ได้หรือเปล่าคะ เพราะช่วยขยายขนาดได้เหมือนกัน
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
Off_Chantaburi
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 07/07/2010
ตอบ: 28

ตอบตอบ: 13/07/2010 6:38 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เกือบไปแล้วครับ ขอบคุณครับ
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/07/2010 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ช่วงที่มี "ผลหลายรุ่น + ดอกออกมาแล้ว/กำลังจะออก/เปิดตาดอก" อยู่บนต้น ใช้สหประชา
ชาติ "ยูเรก้า + ไบโออิ + ฮอร์โมนไข่" อย่างละ 50-100 ซีซี./น้ำ 100 ล./7-10 วัน ให้
แล้ว 2-3 รอบ ให้แคลเซียม โบรอน 1 ครั้ง..... ถ้าทำได้ หรือได้ทำ จะดีมากๆ


ช่วงที่มีแต่ "ผลหลายรุ่น" โดยไม่มีดอกและไม่เปิดตาดอก ให้สหประชาชาติ "ยูเรก้า + ไบโอ
อิ" กับแคลเซียม โบรอน. อัตราและระยะเวลาเดียวกัน

ให้น้ำสม่ำเสมอ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©