-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ธาตุอาหารพืชมาจากไหน?
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ธาตุอาหารพืชมาจากไหน?

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
puk
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 29/10/2009
ตอบ: 26

ตอบตอบ: 11/07/2010 11:18 pm    ชื่อกระทู้: ธาตุอาหารพืชมาจากไหน? ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ธาตุอาหารพืชมาจากไหน?
รองศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ โอสถสภา
อาจารย์พิเศษ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พืช: สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เอง
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างน้ำตาลและแป้งจากการสังเคราะห์แสง โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและแร่ธาตุต่างๆจากดินเป็นวัตถุดิบ มีกระบวนการทางชีวเคมี เช่นการหายใจเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงานสําหรับการเจริญเติบโต รวมทั้งกระบวนการสังเคราะห์สารอินทรีย์ต่างๆที่จําเป็นสําหรับการดํารงชีวิต อาหารของพืชจึงมาจาก 3 แหล่งคือ

1) อากาศ ได้แก่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สออกซิเจน ซึ่งให้ธาตุคาร์บอนกับออกซิเจน
2) น้ำ ให้ธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน และ
3) ดิน ให้ธาตุต่างๆในรูปไอออน เนื่องจากอากาศมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจน
อย่างเหลือเฟือ ประกอบกับพืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอด้วยแล้ว พืชจึงมีแหล่งของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนอย่างไม่จํากัด


ธาตุอาหารพืช พืชชั้นสูงโดยทั่วไปต้องการธาตุอาหารจํานวน 17 ธาตุมาใช้เพื่อดํารงชีวิต เนื่องจากธาตุเหล่านั้นมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อพืช หากขาดแคลนธาตุใดธาตุหนึ่งพืชจะผิดปรกติ และอาจแก้ไขด้วยการให้ธาตุดังกล่าวในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้เท่านั้น อาจแบ่งธาตุเหล่านั้นได้
เป็น 2 กลุ่มคือ

1. ธาตุซึ่งพืชต้องการในปริมาณมาก เนื่องจากมีอยู่ในเนื้อเยื่อพืชแห้งมากกว่า 500 มก./กก. จึงจะเพียงพอแก่การเจริญเติบโต ซึ่งมี 9 ธาตุ และเรียกรวมกันว่า “มหธาตุ” คือ คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และกํามะถัน โดย 3 ธาตุแรกพืชได้จากอากาศและน้ำ ส่วน 6 ธาตุหลังพืชได้รับจากดิน ในกลุ่มหลังนี้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม รวมกันเรียกว่าธาตุอาหารหลัก เนื่องจากดินทั่วไปมักขาดแคลนและตองใช้ปุ๋ยที่ให้ธาตุทั้ง 3 ในการบํารุงดิน ส่วนแคลเซียม แมกนีเซียม และกํามะถันเรียกว่าธาตุอาหารรอง เพราะความขาดแคลนไม่กว้างขวางเหมือนธาตุหลัก

2. ธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย เนื่องจากมีอยู่ในเนื้อเยื่อพืชแห้งน้อยกว่า 100 มก./กก. เรียกว่าจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม มี 8 ธาตุ ซึ่งพืชได้มาจากดิน คือ โบรอน คลอรีน ทองแดง แมงกานีส โมลิบดีนัม สังกะสี เหล็ก และนิกเกิล สําหรับธาตุอาหารที่พืชได้รับจากดิน 14 ธาตุนั้น พืชดูดมาใช้ในรูปไอออน ทั้งนี้ยกเว้น 2 ธาตุ คือไนโตรเจนซึ่งพืชดูดโมเลกุลของยูเรีย และโบรอนซึ่งพืชดูดโมเลกุลของกรดบอริกด้วย ดังตารางที่ 1


ตารางที่ 1 ชื่อธาตุอาหารและรูปของธาตุอาหารที่พืชดูดไปใช้
ธาตุ ....................................................................... รูปที่พืชใช้ประโยชน์

ไนโตรเจน ................................................................ NH+4, NO-3, ยูเรีย
ฟอสฟอรัส ................................................................ H2PO-4, HPO42-
โพแทสเซียม ............................................................. K+

แคลเซียม ................................................................ Ca2+
แมกนีเซียม ............................................................... Mg2+
กํามะถัน ................................................................... SO42-

เหล็ก ...................................................................... Fe2+ (Fe3+)
ทองแดง ................................................................... Cu+, Cu2+
แมงกานีส .................................................................. Mn2+ (Mn4+)
สังกะสี ..................................................................... Zn2+
โบรอน ..................................................................... H3BO3 , B4O72-
โมลิบดินัม ................................................................. MoO42-
คลอรีน .................................................................... Cl-
นิกเกิล .................................................................... Ni2+


แหล่งของธาตุอาหารพืช นอกจากคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจนแล้ว ธาตุอาหารอีก 14 ธาตุมาจากดิน องค์ประกอบของดินที่ให้ธาตุอาหารแก่พืชมี 2 ส่วนคือ แร่และอินทรียวัตถุ ดังนี้

1. แร่ในดิน
เนื่องจากส่วนประกอบของดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกนั้น มีสองส่วนคือ 1) ประมาณร้อยละ 50 โดยปริมาตรเป็นของแข็ง ในส่วนนี้ร้อยละ 45 คือ สารอนินทรีย์ อันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยของแร่และหินต่างๆ ที่สลายตัวทางเคมี ฟิสิกส์และชีวภาพ อีกร้อยละ 5 เป็นอินทรีย์วัตถุ และ 2) ประมาณร้อยละ 50 เป็นช่อง ซึ่งควรมีน้ำและอากาศอยู่อย่างละครึ่ง ดังรายละเอียดในตอนที่แล้ว
สําหรับส่วนที่เป็นสารอนินทรีย์ประกอบด้วยแร่มากมายหลายชนิด แร่เหล่านั้นบางอย่างมีธาตุอาหารหนึ่งธาตุ แต่บางอย่างมีมากกว่าหนึ่งธาตุ เช่น แร่โพแทชเฟลด์สปาร์มีโพแทสเซียม แร่ไบโอไทต์มีโพแทสเซียมและแมกนีเซียม แร่ไพไรต์มีเหล็กและกํามะถัน แร่ยิปซัมมีแคลเซียมและกํามะถัน แร่อะพาไทต์มีฟอสฟอรัสกับแคลเซียม แร่โคลมาไนต์มีแคลเซียมและโบรอน แร่โมลิบดีไนต์มีโมลิบดีนัมและกํามะถัน แร่ไพโรลูไซต์มีแมงกานีส แร่คิวไปรต์ทองแดง และแร่สมิทโซไนต์มีสังกะสี เป็นต้น เมื่อแร่เหล่านี้สลายตัวก็ปลดปลอยธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนั้นชนิดและปริมาณของแร่ประกอบดิน จึงเป็นข้อบ่งชี้ประการหนึ่งของศักยภาพในการให้ธาตุอาหารแก่พืช

2. อินทรียวัตถุในดิน
อินทรียวัตถุ หมายถึงซากพืชและซากสัตว์ที่กําลังสลายตัว เซลล์ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและซากจุลินทรีย์ ตลอดจนสารอินทรีย์ที่ได้จากการสลายตัวและส่วนที่สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเนื้อเยื่อพืช สัตว์และจุลินทรีย์อันเป็นแหล่งของอินทรียวัตถุเหล่านั้น เมื่อมีชีวิตมีธาตุอาหารครบถ้วน เมื่อตายลงและเน่าเปื่อย ธาตุอาหารที่มีส่วนมากจึงอยู่ในอินทรียวัตถุ ดังนั้นสารอินทรีย์ต่างๆที่ประกอบกันเป็นอินทรียวัตถุในดิน จึงมีธาตุอาหารอยู่ครบทุกธาตุ แต่ในปริมาณที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับแร่ นอกจากนี้ธาตุอาหารส่วนมากยังอยู่ในรูปของสารประกอบโมเลกุลใหญ่ พืชจึงดูดไปใช้ไม่ได้ ต่อมาสารดังกล่าวถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย ก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในรูปที่เป็นประโยชน์ พืชจึงดูดไปใช้ได้ง่าย
ทั้งแร่และอินทรียวัตถุ ต่างก็เป็นแหล่งสําคัญของธาตุอาหารซึ่งพืชได้รับจากดิน ทั้งนี้ยกเว้นไนโตรเจน เนื่องจากพืชในธรรมชาติได้รับไนโตรเจนกว่าร้อยละ 80 ของที่ต้องการใช้ทั้งหมดจากอินทรียวัตถุ ดังนั้นดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง จึงสามารถสนองธาตุไนโตรเจนให้แก่พืชอย่างเพียงพอ
ธาตุอาหารพืชที่ได้มาจากแร่และอินทรียวัตถุในดิน แบ่งออกเป็น 2 รูปคือ รูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนี้


รูปของธาตุอาหารในดิน
ธาตุอาหารในดินมี 2 รูป คือ รูปที่เป็นประโยชน์ และรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช

1. ธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์ หมายถึงธาตุอาหารในดินส่วนที่รากพืชดูดไปใช้ง่าย ซึ่งมี 2 แบบ คือ
ก) ไอออนของธาตุอาหารซึ่งอยู่ในสารละลายของดินหรือน้ำในดิน และ
ข) ไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ ซึ่งหมายถึงไอออนของธาตุอาหารซึ่งถูกดูดซับอยู่ที่ผิวของแร่ดินเหนียวและฮิวมัส ส่วนนี้รากพืชสามารถดูดไปใช้ได้โดยตรง หรืออาจมีไอออนอื่นเข้าไปไล่ที่ ให้ออกมาอยู่ในสารละลายของดิน ซึ่งพืชดูดไปได้ง่ายเช่นกัน

2. ธาตุอาหารรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นรูปที่พืชดูดไปใช้ไม่ได้ ซึ่งมี 3 ส่วนคือ
ก) ธาตุที่เป็นองค์ประกอบในหินและแร่ซึ่งยังมีภาวะเป็นสารประกอบโมเลกุลใหญ่และไม่ละลายน้ำ
ข) ธาตุอาหารซึ่งถูกดินตรึงเอาไว้อย่างเหนียวแน่น และ
ค) สารประกอบอินทรีย์ที่ยังไม่สลายตัวเต็มที่ และสารประกอบที่มีธาตุอาหารอยู่นั้นยังมีโมเลกุลขนาดใหญ่ พืชจึงนํามาใช้ไม่ได้



สรุป ธาตุอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 17 ธาตุ มาจาก 3 แหล่งคือ
1) อากาศ ให้ธาตุคาร์บอนและออกซิเจน
2) น้ำ ให้ธาตุ ไฮโดรเจนและออกซิเจน และ
3) ดิน ให้ธาตุที่เหลือทั้งหมด สําหรับดินส่วนที่เป็นสารอนินทรีย์ ประกอบด้วยแร่จํานวนมาก แร่เหล่านั้นมีชนิดและปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกัน ดังนั้นชนิดและปริมาณของแร่ประกอบดิน จงเป็นข้อบ่งชี้ประการหนึ่งของศักยภาพในการให้ธาตุอาหารแก่พืช สําหรับอินทรีย์วัตถุในดิน มีธาตุอาหารอยู่ครบทุกธาตุ แต่ละธาตุมีปริมาณค่อนข้างต่ำ และส่วนมากอยู่ในรูปของสารประกอบโมเลกุลใหญ่ ต้องย่อยสลายก่อน จึงจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชใช้ได้ นอกจากนี้อินทรียวัตถุนับเป็นแหล่งสําคัญของไนโตรเจนสําหรับพืช ในตอนต่อไปจะอธิบายหน้าที่ของธาตุอาหารแต่ละธาตุ ต้อการเจริญเติบโตของพืช



เอกสารอ้างอิง
ยงยุทธ โอสถสภา. 2549. ศัพท์ในวงการปุ๋ย. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2549. การให้ปุ๋ยทางใบ. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2551. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน.
สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©