-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - อยากทราบวิธีล่อตั๊กแตน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

อยากทราบวิธีล่อตั๊กแตน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 24/06/2010 2:30 am    ชื่อกระทู้: อยากทราบวิธีล่อตั๊กแตน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีเพื่อนๆ ทุกท่าน และลุงคิม ครับผม

คือผมมีความคิดจะลองทำอาหารนกหัวจุกขาย โดยเท่าที่ดูจากข้อมูลต่างๆ เจ้าตั๊กแตนนี้มันเป็นยาโด๊ปสุดยอดยิ่งกว่าหนอนนกอีกครับ อาหารสุดยอดของนกแข่งที่ทำให้คึกสุดขีด !!!!! คงไม่มีสิ่งเทียบได้ครับ มีโปรตีนสุดยอดยิ่งกว่าหนอนถึงหลายเท่าตัว นกแข่งกินดีครับ กินแล้วนกคึกดีครับ

ซึ่งทำให้ผมเกิดความคิดจะสร้างมูลค่าจากสิ่งที่ไร้ค่าศัตรูของพืชที่ใครๆ ก็รังเกียจ แต่มันเป็นสิ่งมีค่าสำหรับผู้เลี้ยงนกหัวจุก แต่ผมไม่รู้วิธีจะดักจับอย่างไรให้ได้ทีละเยอะๆ ผมจึงขอถามเพื่อนๆทุกๆท่านว่ามีวิธีไหนจะจับเจ้าตั๊กแตนได้ทีละเยอะๆ และง่ายดาย ขอขั้นตอนละเอียดนะ

ขอบคุณมากครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/06/2010 5:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟีโรโมน (Pheromone)
สารเคมีที่แมลงสร้างขึ้นมาดึงดูดเพศตรงข้ามเรียกว่า ฟีโรโมน (pheromone) สารเคมีเมื่อสร้างออกมาภายนอกร่างกายแล้วสามารถที่จะไปมีผลต่อสัตว์อื่นที่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและสรีระเฉพาะอย่างได้ เมื่อสัตว์ปล่อยฟีโรโมนออกมานอกร่างกายแล้ว สัตว์ตัวอื่นจะได้รับฟีโรโมน3ทางด้วยกันได้แก่ ทางการดมกลิ่น ทางการกินและทางการดูดซึม การรับฟีโรโมนทางกลิ่น ส่วนมากเพื่อประโยชน์ในการดึงดูดเพศตรงข้ามให้มาหา หรือเป็นการบอกตำแหน่งให้รู้ว่าอยู่ที่ไหนหรือเป็นการบอกอาณาเขต หรือเป็นสิ่งเตือนภัยให้รู้ถึงอันตราย ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมฟีโรโมนที่มีผลในทางกลิ่นก็มีเช่น ชะมด ที่มีกลิ่นตัวแรงมาก สร้างมาจากต่อมใกล้ๆอวัยวะสืบพันธุ์ และปล่อยออกมานอกร่างกายได้ทั้งในตัวผู้และตัวเมียมนุษย์ได้สกัดสารออกมาจากต่อมของสัตว์พวกนี้เพื่อใช้เป็นหัวน้ำหอม

การรับฟีโรโมนด้วยการกิน มีตัวอย่างไม่มากนัก เท่าที่รู้จักกันก็มีสารที่สร้างมาจากต่อมบริเวณรยางค์ปากของผึ้งราชินีเพื่อเอาไว้ให้ผึ้งงานซึ่งเป็นผึ้งตัวเมียกิน เมื่อกินแล้วผึ้งงานจะเป็นหมัน เพราะสารดังกล่าวมีผลไปห้ามการเจริญเติบโตของรังไข่และการสร้างไข่ จึงทำให้ผึ้งงานไม่มีโอกาสสืบพันธุ์เหมือนผึ้งราชินี แต่กลับทำงานรับใช้ผึ้งราชินี ผึ้งตัวผู้และตัวอ่อนผึ้งประดุจทาสจนตลอดชีวิตแม้ถึงฤดูผสมพันธุ์ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับตัวผู้ส่วนการรับฟีโรโมนโดยการดูดซึม พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางพวก เช่น แมลงสาบและแมงมุมบางชนิด ตัวเมียของสัตว์พวกนี้จะปล่อยฟีโรโมน
ทิ้งเอาไว้จนกระทั่งตัวผู้มาสัมผัสสารดังกล่าวจะซึมผ่านผิวเข้าไปกระตุ้นให้ตัวผู้เกิดความพอใจ และติดตามตัวเมียจนพบและทำการผสมพันธุ์ ในตั๊กแตนตัวผู้จะปล่อยฟีโรโมนทิ้งเอาไว้หลังผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนเติบโตและสัมผัสถูกสารนั้น สารจะซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายของตัวอ่อนแล้วกระตุ้นให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสามารถสืบพันธุ์ได้ สำหรับในคนยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีฟีโรโมนอะไรบ้าง

วิธีการทำงานของ Pheromone
เมื่อสัตว์ตัวหนึ่งปล่อย Pheromone ออกมานอกร่างกายแล้ว สัตว์ตัวอื่นจะได้รับ Pheromone 3 ทางด้วยกัน

1. ทางกลิ่น (Olfaction ) พบในแมลงหลายชนิด ซึ่งส่วนมากก็เพื่อประโยชน์ในการดึงดูดเพศตรงข้าม หรือไม่ก็เป็นการบอก
ให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน หรือเป็นสัญญาณอันตรายเตือนภัยให้รู้ Pheromone ที่มีผลทางกลิ่นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ กลิ่นตัวแรงของชะมด ซึ่งสร้าง Pheromone มาจากต่อมใกล้ๆอวัยวะสืบพันธุ์ แล้วปล่อยออกมานอกร่างกายทั้งในตัวผู้และตัวเมีย Pheromone ของชะมดนี้เองที่คนเราไปสกัด Pheromone แบบนี้มาจากธรรมชาติหลายชนิดแล้ว อีกทั้งยังสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองเช่นกัน

2. การกิน ( Ingestion ) เช่น ผึ้ง (เป็นแมลงที่อยู่กันเป็นสังคม แบ่งเป็น 3 วรรณะ คือนางพญา ( Queen ) ตัวผู้ drone และผึ้งงาน worker นางพญาจะสร้างสารจากต่อมบริเวณระยางค์ของปากส่วน mandible เรียกสารนั้นว่า Queen substance เอาไว้ล่อผึ้งงาน โดยไปยับยั้งรังไข่ของผึ้งงาน ( ผึ้งงานมีเฉพาะตัวเมีย ) ไม่ให้มีการเจริญเติบโตและสร้างรังไข่ จึงไม่มีโอกาสสืบพันธุ์

3. การดูดซึม ( absorption ) พบเฉพาะในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเท่านั้น เช่นแมงมุมบางชนิด และแมลงสาบ ตัวเมียจะปล่อย Pheromone ทิ้งเอาไว้จนกระทั่งตัวผู้มาสัมผัส ก็จะซึมเข้าไปกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ ติดตามหาตัวเมียจนพบและผสมพันธุ์ แต่ในตั๊กแตนตัวผู้จะปล่อยฟิโรโมนทิ้งเอาไว้หลังผสมพันธุ์ เมื่อตัวอ่อนมาสัมผัสฟิโรโมนนั้นก็จะดูดซึมเข้าไปกระตุ้นให้เติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสืบพันธุ์ได้

ชนิดของ Pheromone
จำแนกเป็น 3 ชนิด ตามปฏิกิริยาหรืออิทธิพลของฟิโรโมน

1. Releaser pheromone เป็น Pheromone ที่ไปมีผลโดยตรงต่อระบบประสาทกลางของสัตว์ที่ได้รับ ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง
ขึ้นในทันทีทันใด Releaser pheromone บางชนิดทำหน้าที่ดึงดูดเพศตรงข้ามให้มีการผสมพันธุ์ ชนิดนี้มีพบในสัตว์ทั่วไปซึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวผู้จะไปทำหน้าที่กระตุ้นให้ตัวเมียมีความต้องการทางเพศมากขึ้น ส่วนฟิโรโมนของตัวเมียทำหน้าที่บอกให้ตัวผู้ทราบถึงระยะเวลาที่จะผสมพันธุ์

Releaser pheromone บางชนิดทำหน้าที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการต่อสู้ เช่น หนูตัวผู้ 2 ตัวที่เคยอยู่ร่วมกันจะกัดกัน หากได้กลิ่น Pheromone ชนิดหนึ่งของหนูตัวผู้จากที่อื่น นอกจากนั้น Releaser pheromone ใช้บอกความเป็นพวกเดียวกันในกลุ่มเดียวกัน บางชนิดก็บอกตำแหน่งที่อยู่อาศัย ดังเช่น Releaser pheromone ของมด ที่ใช้บอกทางเดินนอกจากจะเป็นทาง
พาไปสู่แหล่งอาหาร และที่สร้างรังใหม่ ยังทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความว่องไวด้วย Pheromone และขับสารออกมาจากต่อมบริเวณอวัยวะที่มดใช้ต่อยโดยใช้อวัยวะดังกล่าวแตะกับพื้นเป็นระยะๆเมื่อมดงานมาพบทางนี้เข้ามันก็จะเดินตามทางโดยอัตโนมัติ และมันจะเดินชิดกันด้วยเพื่อไม่ให้หลงทาง สารที่ใช้เป็นทางเดินนี้ระเหยได้ เมื่อระเหยไปจนต่ำกว่าระดับ ความต้องการของมดแล้วก็ไม่สามารถที่จะกระตุ้นมดได้อีก ใช้เวลาทั้งสิ้น 2 นาที และมดจะเดินทางได้ 40 เซนติเมตร การระเหยไปเช่นนี้กลับมีประโยชน์เพราะมดจะเดินไม่หลงทางเดิมที่เลิกใช้ไปแล้ว ความเข้มข้น Pheromone ยังเป็นเครื่องบอกปริมาณอาหารด้วย

2. Primer pheromone เป็น Pheromone ที่ไปมีผลต่อต่อมใต้สมองส่วนหน้าทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองที่ช้ามาก ต้องกระตุ้นเป็นเวลานานจึงจะเกิดปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ เช่น ปลวกซึ่งอยู่กันเป็นสังคมแบบเดียวกับผึ้งแต่มีเพิ่มอีก 2 วรรณะคือsubmentary reproductive from และปลวกทหาร soldier พวกปลวกทหารและพวกที่สืบพันธุ์ได้จะขับสารออกมา และเมื่อตัวอ่อนกินเข้าไปสารนั้นจะไปบังคับ corpusallatum ไม่ให้ทำงานตามปกติ ปลวกตัวอ่อนนี้จึงไม่เจริญเติบโตเป็นปลวกทหารและปลวกสืบพันธุ์ แต่จะเจริญไปเป็นปลวกงาน ในตั๊กแตนบางชนิดตัวผู้จะขับสารระเหยออกมาจากผิว แล้วมีส่วนไปเร่งการเติบโตของตัวอ่อน ทำให้ตั๊กแตนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

สำหรับ primer pheromone ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมากสร้างมาจากตัวผู้ ทำหน้าที่เกี่ยวกับเพศ คือ กระตุ้นหรือเร่งการเกิด estrus ( เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเมีย ยกเว้นคนอยู่ในสภาพที่พร้อมจะผสมพันธุ์ ) เช่น ในแพะแกะซึ่งมีการผสมพันธุ์เป็นฤดู ถ้านำตัวผู้มาอยู่กับตัวเมียก่อนฤดูผสมพันธุ์เล็กน้อย ตัวผู้จะสร้าง Pheromone มาเร่งการเกิด estrus ของตัวเมียเร่งการตกไข่เร็วกว่ากำหนด แต่ถ้าอยู๋ด้วยกันมาตลอด จะไม่มีการเร่งการตกไข่ให้เร็วขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว primer pheromone ยังทำหน้าที่ห้ามการตั้งท้องของหนูด้วย ขณะที่หนูตัวเมียตั้งเริ่มตั้งท้อง(ระยะก่อนที่ตัวอ่อนจะฝังตัวกับผนังมดลูก ) แล้วมีหนูตัวผู้จากที่อื่นไปยู่ด้วย กลิ่นของ Pheromone จากตัวผู้ตัวอื่นจะไปมีผลยับยั้งการฝังตัว ของตัวอ่อนแต่กลับไปกระตุ้นให้มีการตกไข่ตามปกติ เพราะ Pheromone ของหนูตัวผู้นั้นไปสร้างสารกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตกไข่และการเกิด estrus ขณะเดียวกันก็ไปยับยั้งต่อมใต้สมองส่วนหน้า ไม่ให้หลั่งฮอร์โมนที่กระตุ้นรังไขไม่ให้สร้าง progesterone ที่จำเป็นต่อการฝังตัวของตัวอ่อน

3. Imprinting pheromone การมีหรือไม่มี Pheromone บางอย่างในช่วงวิกฤติของการเจริญเติบโต จะไปทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองขึ้นในตอนที่โตเต็มวัยขณะที่เป็นตัวอ่อนจะไม่แสดงอาการเรียก Pheromone ที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาดังกล่าวว่า Imprinting pheromone พฤติกรรมของสัตว์โตเต็มวัยที่ขาดหายไปก็เพราะเกี่ยวกับ Imprinting pheromone ในขณะที่กำลังเจริญเติบโต

การใช้ฟิโรโมนในการดักจับแมลง
วิธีการนี้จะทำให้ปราศจากสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ชนิดอื่น รวมทั้งคนบริโภค เพราะจะใช้สารดึงดูดทางธรรมชาติหรือฟิโรโมน ในการล่อให้แมลงชนิดนั้นๆ มาผสมพันธุ์ ฟิโรโมนได้จากการสังเคราะห์จากห้องปฏิบัติการแล้วทำการสกัดให้เหมาะสมกับการใช้งานกับแมลงประเภทต่างๆ เช่น แบบน้ำ หรือแบบเม็ด วิธีการใช้งานแค่นำไปวางไว้ตามจุดต่างๆ ที่ต้องการ
ดักจับแมลงชนิดนั้นๆ แล้วจึงนำไปกำจัดในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อผลิตผลทางการเกษตรของเกษตรกร นับเป็นวิธีการคุมกำเนิดกึ่งธรรมชาติที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะฟิโรโมน สังเคราะห์นั้นมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับน้ำมันมะกอกจึงไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คน วิธีการนี้แพร่หลายในหมู่เกษตรกรในอเมริการ โดยทำให้การใช้สารเคมีลดลงถึงปีละ 50 ตัน

ประเภทฟีโรโมนแมลงที่มีจำหน่าย
1. ด้วงงวงข้าว (rice weevil)
2. ผีเสื้อข้าวเปลือก (Angoumois Grain moth)
3. มอดแป้ง (Red And Confused Flour Beetle)
4. มอดยาสูบ (Cigarette Beetle)
5. แมลงสาบ (Cockroach)
6. ผีเสื้ออินเดีย (Indianmeal Moth)
7. แมลงวันผลไม้หรือแมลงวันทอง (Fruit Files)

ที่มา : ไม่ระบุ


ตั๊กแตนโลกัสต้า Locusta migratoria manilensis (Meyen)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Locusta migratoria manilensis (Meyen)

รูปร่างลักษณะ
- เป็นตั๊กแตนที่มีขนาดลำตัวปานกลาง ยาว 6-7 เซนติเมตร
- ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือเขียวปนเหลือง
- ตั๊กแตนตัวอ่อนฟักออกมาใหม่ ๆ จะมีตัวสีดำ ส่วนหัวโตกว่าลำตัว ลอกคราบ 5-6 ครั้ง ลอกคราบแต่ละครั้งใช้เวลา 5-7 วัน

การขยายพันธุ์
ในรอบ 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 3-4 ครั้ง

การผสมพันธุ์และวางไข่
ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน กรกฎาคม-พฤศจิกายน และธันวาคม

ระยะเวลาไข่ฟัก
ไข่จะอยู่ในดินประมาณ 14-18 วัน และจะฟักออกเป็นตัวอ่อนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พฤษภาคม-มิถุนายน สิงหาคม-ตุลาคม และธันวาคม-กุมภาพันธ์

ระยะตัวเต็มวัย
หลังจากลอกคราบ 5-6 ครั้ง จะเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยจะมีอายุ 32-97 วัน มี 7 วัย

การแพร่กระจาย
- พบตั๊กแตนตัวอ่อนในช่วงฤดูฝนโดยพบในพื้นที่ปลูกอ้อย ข้าวโพด ข้าวและข้าวฟ่าง
- ตั๊กแตนจะเคลื่อนย้ายในช่วงเช้าและบ่ายจากแหล่งพักอาศัยไปยังแหล่งอาหาร โดยเคลื่อนย้ายไปเป็นกลุ่ม โดยการกระโดดหรือเดินไปในทิศทางเดียวกัน

การทำลาย
เกิดระบาดอย่างรุนแรงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม-พฤศจิกายน โดยตั๊กแตนจะมีการรวมตัวเป็นกลุ่มและเคลื่อนย้ายเป็นฝูง ๆ ทำความเสียหายพืชผล 100% ในขณะที่ฝูงตั๊กแตนทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยผ่านไป พืชที่ถูกทำลายได้แก่ อ้อย ข้าวโพด ข้าว และข้าวฟ่าง ที่ปลูกใกล้กับแปลงนา

พืชอาหาร
ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง กล้วย มะพร้าว ถั่วเหลือง หม่อน ละหุ่ง ไผ่ ฝ้าย หญ้าขน ยางพารา

แนวทางและวิธีการป้องกันกำจัด
โดยให้สอดคล้องกับวงจรชีวิตของตั๊กแตนสามารถแบ่งช่วงในการป้องกันกำจัดได้ ดังนี้
1. ช่วงระยะพ่อ-แม่พันธุ์ (มิถุนายน-กรกฎาคม)
1.1 ส่งเสริมให้เกษตรกรจับตั๊กแตน พ่อ-แม่พันธุ์นำมาบริโภคและจำหน่าย
1.2 หลีกเลี่ยงการเตรียมดินเพาะปลูก ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงที่ตั๊กแตนโลกัสต้าผสมพันธุ์และวางไข่ ดังนั้น หากตั๊กแตนสามารถวางไข่ในดินที่เตรียมไว้ จะเป็นการส่งเสริมต่อการฟักไข่ เป็นตั๊กแตนตัวอ่อนได้ดีขึ้น เพราะสภาพแวดล้อมเหมาะสม

2. ช่วงระยะตัวอ่อน (ปลายกรกฎาคม-ต้นสิงหาคม-กันยายน)
2.1จัดวันรณรงค์ป้องกัน และกำจัดตั๊กแตนโลกัสต้าตัวอ่อนโดยวิธีกล (ไล่) ทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดที่พบตัวอ่อนระบาด โดยพร้อมเพรียงกัน

อุปกรณ์ที่ใช้จับตั๊กแตนโดยวิธีกล (ไล่)
- ตาข่ายไนล่อนขนาด 2.5x15 เมตร หรือ 2x30 เมตร
- ภาชนะใส่ตั๊กแตน
- กิ่งไม้สำหรับไล่ตั๊กแตน

การใช้ตาข่ายดักจับตั๊กแตนตัวอ่อน
การระบาดของตั๊กแตนโลกัสต้าสภาพรวมกลุ่มในไร่อ้อย จังหวัดกาญจนบุรี

การระบาดของตั๊กแตนโลกัสต้าสภาพโดดเดี่ยว ในนาข้าวที่มีน้ำท่วม และบางส่วนเป็นที่ดอน เช่นในจังหวัดนครสวรรค์


ที่มา : agriqua.doae.go.th/plantclinic/clinic/other/.../


ชาวเมืองน่านแห่จับตั๊กแตนขายเป็นรายได้เสริมช่วงฤดูฝนนี้ ได้ราคาดีกิโลกรัมละ 100 บาท
ตั๊กแตน ตำข้าวออกมาเล่นไฟบริเวณข่วงเมืองน่าน จนชาวบ้านที่ผ่านไป-มา พากันออกมาจับตั๊กแตน บางรายบอกว่า จะเก็บเอาไว้ไปรับประทานที่บ้าน ทำได้ทั้งน้ำพริก ปิ้ง หรือจะทอดรับประทานทานเป็นของเล่น รสชาติอร่อยหอมมัน บางรายถือเป็นนาทีทองนำอุปกรณ์การล่าแมลง สวิง ไฟฉายใช้สำหรับส่อง บางรายจับด้วยมือเปล่า เพื่อรอนำไปขายที่ตลาดช่วงเช้า สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท

ตั๊กแตน ตำข้าวมักจะบินออกมาเล่นแสงไฟช่วงกลางคืน โดยเฉพาะหลังจากฝนหยุดตก ที่สำคัญตั๊กแตนเหล่านี้ไม่มีสารพิษเจือปน เพราะเกิดเองตามธรรมชาติ.

ที่มา : สำนักข่าวไทย


พิธีอยู่กรรมกำจัดศัตรูรวงข้าว (หนือ บ๊อง ลอง เออ)
1. ความสำคัญ
เมื่อข้าวออกรวงแล้ว มีพิธีจับตั๊กแตน อาข่าเรียกว่า หนือ บ๊อง ลอง เออ หมายถึงอยู่กรรมให้ตั๊กแตน การจับตั๊กแตนเป็นกระบวนการควบคุมศัตรูข้าว ทุกครอบครัวต้องจับตั๊กแตนในวันเดียวกัน ในช่วงปลายเดือนกันยายน-เดือนตุลาคม ตรงกับเดือนอาข่า ฉ่อลาบาลา-สี่แยะ โดยจับตั๊กแตนในวันลิง อาข่าเรียกว่า (โหมยะ) และอยู่กรรม ในวันไก่ อาข่าเรียกว่า (ยา) ตามการนับวันรอบสัปดาห์อาข่า คือวันที่จับตั๊กแตน ไปไร่ได้ตามปกติ เมื่อกลับบ้านให้จับตั๊กแตนมา 1 ตัว หรือ 3 ตัว แต่อย่าจับตั๊กแตนมา 2 ตัว ซึ่งเป็นเลขคู่มีความเชื่อว่าถ้าจับตั๊กแตนมา 2 ตัว จะทำให้ตั๊กแตนสามารถแพร่พันธุ์ไปกินข้าวได้ เมื่อจับตั๊กแตนได้แล้วห่อด้วยใบเผือก และตัดไม้ไผ่มา 1 เล่ม ยาวประมาณ 1 เมตร กลับมาถึงหมู่บ้านในช่วงเย็นนำตั๊กแตนที่ห่อไว้ มาเสียบด้านล่างของไม้ไผ่ นำไปปักไว้ข้าง ประตูหมู่บ้านปักเรียงลำดับก่อนหลังเป็นแถวเดียว ถ้าบ้านอยู่ด้านขวามือของประตูหมู่บ้านปักไว้ทางขาวมือของประตูหมู่บ้าน ถ้าบ้านอยู่ด้านซ้ายมือของประตูหมู่บ้านก็ปักไว้ทางด้านซ้ายมือของประตูหมู่บ้าน



พิธีอยู่กรรมกำจัดศัตรูรวงข้าว (หนือ บ๊อง ลอง เออ)
ในวันถัดมาทุกครอบครัวจะอยู่กรรม ในวันไก่ (ยา) เป็นเวลา 1 วัน เพื่อกำจัดตั๊กแตนไม่ให้ไปกินรวงข้าวที่ปลูกไว้ โดยไม่มีการประกอบพิธีกรรมอะไร และในช่วงเช้าตรู่ทุกครอบครัวอาข่าจะนึ่งข้าวเหนียว เพื่อตำเป็นข้าวปุ๊ก (ห่อถ่อง) พิธีนี้ชาวอาข่ามีความเชื่อว่าการตำข้าวปุ๊ก ทำให้ตั๊กแตนตาบอด เพื่อไม่ให้ตั๊กแตนไปกินข้าวที่ปลูกไว้

ที่มา : msocd.cru.in.th/doitung/1/22.htm



เกษตรกรจีนทำฟาร์มเพาะตั๊กแตนขาย
เกษตรกรชาวจีนชานกรุงปักกิ่งประสบความสำเร็จในการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงตั๊กแตนส่งร้านอาหาร ทำรายได้มหาศาลเป็นแบบอย่างให้เพื่อนบ้านที่เคยมองธุรกิจนี้ด้วยสายตาที่หวาดระแวงหันมาทำตาม

หลี่ ซูฉี เกษตรกรชาวจีน วัย 61 ปี ยอมรับว่า เพื่อนบ้านไม่ค่อยพอใจนักกับธุรกิจของเขา พวกเขาคอยจับตามองฟาร์มเลี้ยงตั๊กแตนและหมั่นตรวจสอบตาข่ายล้อมรั้วเพื่อป้องกันตั๊กแตนบินหนี แต่ก็สามารถฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับจากเพื่อนบ้าน ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่หันมาทำฟาร์มตั๊กแตนตามอย่างเขา

นายหลี่ บอกว่า เงินลงทุน 2 แสนหยวน (ราว 1 ล้านบาท) ได้กลับคืนมาหมดแล้ว จึงเตรียมขยายกิจการสร้างเรือนเลี้ยงตั๊กแตนอีก 5 หลังในปีนี้ วิธีการเลี้ยงก็ง่ายมาก เพียงแต่นำไข่ของตั๊กแตนไปวางไว้ในเรือนเพาะเลี้ยง หลังจากนั้นก็นำหญ้ามาใส่เป็นอาหาร และรอเวลา 75 วันเพื่อจับตั๊กแตนโตเต็มวัยออกมาขายร้านอาหาร ซึ่งมีคนชมว่าตั๊กแตนของเขามีรสชาติอร่อย

นายหลี่ บอกว่า การจับตั๊กแตนเป็นงานยาก เขาต้องระดมสมาชิกในครอบครัว 4 คนมาช่วยกันจับตั๊กแตนให้ได้น้ำหนัก 220 กิโลกรัม ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 8 ชั่วโมง. - สำนักข่าวไทย

http://news.mcot.net/international/inside.php?value=bmlkPTEwNTczMyZudHlwZT10ZXh0
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kritsadalampang
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 12/01/2010
ตอบ: 51

ตอบตอบ: 25/06/2010 9:08 pm    ชื่อกระทู้: อยากทราบวิธีล่อตั๊กแตน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณลุงคิมมากครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©