-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เกษตรธาตุสี่คืออะไร
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เกษตรธาตุสี่คืออะไร

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
hearse
สาวดาม
สาวดาม


เข้าร่วมเมื่อ: 08/01/2010
ตอบ: 110

ตอบตอบ: 11/05/2010 8:50 pm    ชื่อกระทู้: เกษตรธาตุสี่คืออะไร ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การทำเกษตรธาตุ 4 ไม่ใช่การทำสวน แบบปริมาณเยอะๆ ปรัชญาของมันคือ ทำเอง ทำเล็กๆ พอกินและมีความสุข ไม่ต้องเร่งร้อน ไม่ต้องลงทุนมากมาย ไม่ต้องขึ้นกับตลาดมากนัก นะครับ เพราะเกษตรธาตุ 4 คือ เกษตรที่ให้ความสุข กลับบ้าน มานอนก็ไม่ต้องคิดมาก ว่าราคาเท่าไหร่ ใช้หนี้เท่าไหร่ ค่าปุ๋ย ค่าแรงเท่าไหร่"

ป๊ะหรน หมัด

เกษตรธาตุ 4 แนวทางสมดุลของปราชญ์เขาพระ

ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ องค์ความรู้ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์สังคมมาจากการสั่งสมรวบรวม สังเกต วิเคราะห์แล้วถ่ายทอด กว่าจะเป็นตำหรับตำราเป็นวิทยาการ อันน่าเชื่อถือ ลึกซึ้งและงดงามด้วยพลังแห่งภูมิปัญญาอันมีคุณค่าแก่มนุษย์นั้น ผ่านกาลเวลามานานนับศตวรรษ

มิว่าจะเป็นตำราอาหรับ ตำราจีน หรือว่าตำราไทย ล้วนเก็บเกี่ยวรวบรวมจากคำบอกเล่า จดจำและบันทึกไว้จากประสบการณ์ตรงทั้งสิ้น โดยเฉพาะปรัชญาการวิเคราะห์และปฏิบัติต่อชีวิตต่อสังคมอันสัมพันธ์กัน อย่างเป็นแนวทางไปสู่ความงดงาม สมดุลของชีวิตและสังคม

เมื่อทุกสรรพสิ่งมีสองด้านที่สัมพันธ์กันประหนึ่งหยิน-หยาง ที่ต่างเอื้อเฟื้อกัน มิว่าจะเป็น มนุษย์ สัตว์ พืช หรือองค์ประกอบในสากลโลกก็ล้วนเป็นเฉกเช่นนี้ทั้งนั้น จึงเป็นแนวทางไปสู่การดำเนินชีวิต การรักษายามป่วยไข้ การประกอบสัมมาชีพ การอยู่ร่วมกันของสังคม หรือแม้แต่การเกษตรก็ตาม ก็นำปรัชญา หยิน-หยาง ธาตุ 4 มาอธิบายว่า พืชนั้นมีทั้ง พืชรากกว้างย่อมสอดประสานกับพืชรากแก้วลึก ไม้พุ่มเตี้ยพึงรักไม้พุ่มสูง ไม้เล็กพึ่งพาอาศัยไม้ใหญ่ และไม้เนื้อร้อนชอบที่จะอิงอาศัยไม้เนื้อเย็น หรือไม้รำไรแดด ย่อมงามได้ใต้ร่มไม้กลางแจ้ง

"ป๊ะหรน หมัดหลี" นักวิทยาศาสตร์การเกษตร ผู้นำตำราสอนชีวิตมาเรียนรู้และหาความเข้าใจ ถึงแนวทางการปลูกพืช ที่ผสมผสาน บนจุดความสมดุล เพราะเมื่อพืชผลการเกษตรมีดุลยภาพต่อกัน ทุกสรรพสิ่งก็มีดุลยภาพ ชีวิตก็ดุลยภาพ การเกษตรในมุมมองป๊ะหรน มิใช่การเกษตรเพื่อการผลิตสู่ตลาด แต่เป็นการเกษตรเพื่อความงามความสงบสุขและเอื้ออาทรของชีวิต

ทีมงานไทย เอ็นจีโอ สื่อทางเลือกของประชาชน รับฟังเรื่องราวจากปราชญ์ชุมชน ป๊ะหรน หมัดหลี วัย 75 ปี แห่งบ้านบนควน ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ สงขลา ซึ่งบุกเบิกเกษตรธาตุ 4 มากกว่า 50 ปี พร้อมสวนสมุนไพร มรดกทางปัญญา ที่หาค่ามิได้ ซึ่งกำลังจะถูกอ่างเก็บน้ำยักษ์คลองลำแซง ท่วมทิ้งทั้งหมด เนื่องจากอยู่ในบริเวณสันเขื่อน !!... ป๊ะหรนได้อธิบายย้อนถึง จุดเริ่มต้นตั้งแต่แนวคิดการทดลองปลูก และพยายามเรียนรู้คำตอบ เรื่องเกษตรธาตุ 4 ด้วยตนเองว่า

สวนนี้เราเรียกว่าสวนผสมผสาน มันเป็นแนวคิดแบบของดั้งของเดิม แต่ว่าเรานำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะปลูกพืชชนิดเดียว อย่างเดียว ต่อมาเราเริ่มมาคิดแล้วก็ปลูกร่วมกัน จึงกลายมาเป็นเกษตรธาตุ 4 ที่งอกงามอยู่ในหลุมเดียวกัน ที่นี่ใส่อะไรไปหลายอย่าง ในหลุมเดียว ข้อดีคือหนึ่งทำให้เราปลูกอะไรได้หลายสิ่งหลายอย่างมาก ซึ่งถ้าเราปลูกอย่างเดียวเราก็กินอย่างเดียว ข้อดีที่สองของมันคือ มันจะไข้อดีข้อที่สาม คือมันสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ สมมุติว่าต้นหนึ่งมีธาตุหนึ่งเช่นธาตุร้อน อีกต้นมีธาตุเย็น ก็จะทำให้เกิดการสมดุลต่อกัน และทำให้ดินสมบูรณ์มากขึ้น มันทำให้ดินปรับตัวสามารถเข้ากันได้มากขึ้น เช่น ปลูก 3 อย่าง อย่างละต้น มี มังคุด ได้ผล 10 กก. ทุเรียน 10 กก. ลองกอง 10 กก. ซึ่งถ้าเราปลูกต้นเดียวโดดๆ หากได้ทุเรียน 10 กก. ก็จะได้แค่ 10 กก. หรือ ลองกอง 10 กก. เท่านั้น เราจะไม่ได้อย่างอื่น เลย แต่ถ้าเราปลูกรวมกัน อาจจะได้อย่างใดอย่างหนึ่งน้อยลงไปนิด แต่เราได้ถึง 3 อย่าง ซึ่งมาเปรียบเทียบรวมแล้วจะเยอะกว่า แต่ไม่ควรลงหลุมหนึ่งเกิน 3 ต้น จะดีมาก 4 ต้น ก็ได้ แต่ 3 ต้นจะดีกว่านะครับ ไม่หมด เวลาตายไปต้นหนึ่งก็เหลืออีกต้นหนึ่ง

เรื่องการดูว่าต้นไหนเป็นธาตุไหนนั้น เราต้องเรียนเอา เพราะตรงนี้ผมเองก็ไปเรียนมาจากมาเลเซียบ้าง จากคนเฒ่าคนแก่บ้าง และเก็บสะสมประสบการณ์ตัวเองบ้าง ถึงจะเข้าใจธาตุของต้นไม้ ว่าต้นไหนเป็นธาตุเย็น ต้นไหนธาตุร้อน ซึ่งที่นี่เราก็จัดสอนให้อยู่บ้างนะครับ ส่วนการเรียนรู้อย่างแรกเลยเราต้องรู้จักรสของพืชซึ่ง ก็ทำได้ด้วยการชิมรสของพืชทุกๆ ตัว ชิมตั้งแต่ ราก ใบ ผล เปลือก ลำต้น ชิมให้หมด เลยครับ แล้วจากนั้น เราก็เอาต้นไม้รสเย็นมาเป็นตัวตั้ง หรือเป็นประธานปลูก จากนั้นก็เอาไม้ธาตุอื่น รสอื่นมาประกอบกันปลูก" ป๊ะหรนอธิบายอย่างแช่มช้า ก่อนจะสรุปให้ทีมงานฟังถึงปรัชญาชาวบ้านกับการปลูกพืชก่อนจะลงสวนว่า

"การเกษตรปัจจุบัน ถ้าเราปลูกต้นใดแบบเดี่ยวๆ หรือเชิงเดี่ยว ถ้ามันตายก็จะตายไปเลย การปลูกใหม่ ก็โตไม่ทัน ทำให้เกษตรกรยากลำบากมากขึ้น แต่ถ้าเราปลูกรวม ต้นหนึ่งตายยังเหลืออีกต้นหนึ่ง ซึ่งตอนนี้คนปลูกสวนทุเรียน แล้วเริ่มตายก็ทยอยตาย ตายจนไม่เหลือไว้อีกเลย และไม้อื่นๆ ก็ไม่มี ซึ่งถ้าเทียบแบบธาตุ 4 ไม้จะอายุยืนกว่า และแบบการปลูกพืชแบบนี้ เป็นแบบของคนจนนะครับ เพราะมันแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ไม่เหมือนปลูกแบบเชิงเดี่ยว ซึ่งลงทุนเยอะมาก แต่แบบของคนจนมันไม่ต้องซื้อปุ๋ยมากมายมาใส่ เช้าๆ ก็ออกไปทำงานเพียงวันละนิดวันละหน่อย ไม่ต้องจ้าง ไม่ต้องฉีดยา ปุ๋ยก็ใส่มูลขี้ไก่บ้างขี้วัวบ้างพอแล้ว

การใช้ชีวิตทำสวนอย่างนี้มันสบายแตกต่างกัน ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินใคร แต่เราต้องทำทุกวัน วันละเล็กละน้อย ไม่ได้เร่งร้อนอะไรมาก ทำให้เป็นประจำ เช้าๆ ออกไปตัดแต่งกิ่งสักต้น สองต้น ซึ่งผมคิดว่าเป็นการออกกำลังกายมากกว่านะครับ

สรุปง่ายๆ เกษตรธาตุ 4 นั้นทำสบายๆ ทำแบบเดินหน้า ไม่ใช่ทำแบบถอยหลัง ซึ่งก็คือ ฝนตกก็ทำ แดดออกก็ทำ ทำทุกวัน แต่ไม่จำเป็นต้องทำมากมายอะไร ทำพอดีๆ เน้นความสุข เน้นการพึ่งตนเอง พอเพียงอยู่กับธรรมชาติ อีกอย่างเกษตรธาตุ 4 ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวว่าต้องเป็นรูปแบบใด เพราะรูปแบบที่ดีที่สุด คือเราต้องไปคิดค้นประยุกต์หาลักษณะที่ดีที่สุดของพืชเอาเอง ว่าแบบใดเหมาะสมกับเรา กับพืช กับดินและกับธรรมชาติครับ" ป๊ะหรนสาธยา


ที่มา http://www.thaingo.org/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©