-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ยางพาราอิสาน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ยางพาราอิสาน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/03/2010 2:28 pm    ชื่อกระทู้: ยางพาราอิสาน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ยางพารา เงินล้านที่อิสาน

ตามที่รัฐบาลดำเนินโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ จำนวน 90 ต้น ในพื้นที่ 36
จังหวัดภาคเหนือและภาคอีสาน ที่ดำเนินการปลูกช่วงระหว่างปี 2547-2549 นั้น หาก
คำนวณระยะเวลาในดำเนินโครงการระยะแรกในปี 2547 ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์
จำกัด เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้รับคัดเลือกจากกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ผลิตและมอบกล้า
พันธุ์ยางพาราคุณภาพ 15.2 ล้านต้น ให้แก่เกษตรกร จากทั้งหมดตามสัญญาส่งมอบระยะแรก 18
ล้านต้น ทำให้ต้นยางพารา 15.2 ล้านต้น มีอายุ 6 ปีแล้ว ซึ่งตามหลักวิชาการยางพาราพันธุ์
อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 (RRIM 600) ต้องมีอายุ 7 ปี หรือมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้น 50 ซม. จึง
จะกรีดได้ แต่ปรากฏว่า ขณะนี้มีเกษตรที่ร่วมโครงการระยะแรกทยอยกรีดกันแล้ว ทำให้มีเม็ดเงิน
เริ่มสะพัดเข้าในพื้นหลายท้องถิ่นด้วยกัน

อย่าง นายหล้า พรหมเกตุ ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางพาราผาน้อย จำกัด ต.ผาน้อย อ.วังสะ
พุง จ.เลย ผู้ซึ่งร่วมโครงการระยะแรกในปี 2547 ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่เริ่มเปิดกรีดยางพาราตั้งแต่
อายุเพียงเข้าสู่ปีที่ 5 เท่านั้น คือ เริ่มกรีดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 จำนวน 10 ไร่ 760 ต้น
กรีดวันเว้นวัน ได้ผลผลิตเฉลี่ยวันละ 20 แผ่น หรือ 20 กก. ปัจจุบันราคายางพาราอยู่ที่ กก.ละ
90 บาท ส่งผลให้มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 2.7 หมื่นบาท เขาให้เหตุผลว่า ที่สามารถเปิดกรีดยาง
ได้ เพราะวัดเส้นรอบวงของต้นได้ 50 ซม.นั่นเอง

“การปลูกยางพารา เรื่องอายุกี่ปีไม่เกี่ยวหรอกครับ ขอให้วัดรอบต้นได้ 50 ซม. ต้นยางผมโตดี
มาก และสม่ำเสมอทุกต้น เพราะผมดูแลเอาใจใส่อย่างดี ตอนนี้ผมมีรายได้ที่น่าพอใจมาก เพราะ
ผมเกิดมาทั้งชีวิต ทำทุกอย่างมาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ หรือปลูกต้นไม้ จนอายุปูนนี้
แล้ว สู้ปลูกยางพาราไม่ได้ ยางพาราขายได้ทุกวัน เปรียบเสมือนเป็นต้นไม้ทิพย์ ที่ให้ผลคุ้มค่า ต่อ
ไปเกษตรกรที่ปลูกจะได้ลืมตาอ้าปากได้อย่างแน่นอน ภาครัฐควรจะหันมาใส่ใจและสนับสนุน
โครงการอย่างนี้” นายหล้า กล่าว

ด้าน นายทรงศักดิ์ ประจงจัด นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดเลย กล่าวว่า ตอนนี้ทราบว่า
เกษตรกรที่ปลูกยางพาราในโครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ใน จ.เลย มีการกรีดมา
บ้างแล้ว บางรายมีต้นยางพาราได้ขนาดเส้นรอบวง 50 ซม. แต่บางรายมีขนาดเท่าหน้าแข็งก็มีการ
กรีดเช่นกัน เพราะราคายางท้าทาย ตรงนี้น่าเป็นห่วง หากต้นยางไม่ได้ขนาดมาตรฐานที่จะกรีดอาจ
ส่งผลเสียในอนาคตได้

"ของผมไม่ได้ร่วมโครงการ แต่ผมปลูกเอง มียางพันธุ์อื่นที่มาจากภาคใต้ ปลูกมาตั้งแต่ปี 2547
ลำต้นมีขนาดใหญ่กว่าที่บางคนกรีดแล้ว แต่ผมยังไม่กรีด คิดว่าจะกรีดในปีหน้า ซึ่งต้นยางมีอายุ
ได้ 7 ปี และขนาดต้องได้เส้นรอบวงของลำต้น 50 ซม.ก่อน เพื่อป้องกันมีปัญหาทีหลัง" นายทรง
ศักดิ์กล่าว

ขณะที่ นายสำเลา สมบูรณ์ เกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ร่วมโครงการเมื่อปี 2547 ปลูกในพื้นที่
ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย กล่าวว่า ต้นยางที่ร่วมโครงการโตเร็วมาก มีเส้นรอบวงเฉลี่ยที่ 53
ซม. พอกรีดแล้ว ให้น้ำยางเป็นอย่างดี หากเกษตรกรเปิดกรีดได้แล้วสร้างรายได้ที่ดี และเกิด
ความมั่นคงแก่อาชีพไปอีก 25 ปี

“กล้ายางที่ผมรับในปี 2547 เป็นกล้าพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปลูกแล้วโตเร็วเกินคาด เพราะปกติต้นยาง
อายุ 6 ปี จะไม่โตเท่านี้ ทำให้ผมรู้สึกพึงพอใจมาก ขนาดกรีดมาไม่นาน วันนี้ครอบครัวผมอยู่ดีกิน
ดีกว่าแต่ก่อน ต่อไปนี้ผมไม่ต้องทิ้งครอบครัวไปทำงานที่ไหนอีก ผมขอฝากเพื่อนเกษตรกรที่
กำลังคิดจะปลูกยางพาราในปีนี้ว่า ท่านเดินทางมาถูกแล้ว ยังไม่สายครับ" นายสำเลากล่าวอย่าง
ภาคภูมิใจ

ส่วน นายชุม เสาหิน เกษตรวัย 66 ปี ที่ร่วมโครงในปี 2547 มีสวนยางพาราที่ ต.เสาหิน กิ่ง อ.ภู
ซาง จ.พะเยา กล่าวว่า ปลูกยางพาราทั้งหมด 760 ต้น เริ่มกรีดตอนต้นยางมีอายุได้ 5 ปี ตอนนี้
สามารถกรีดได้แล้ว 200 ต้น เป็นการกรีดวันเว้นวัน ทำเป็นยางแผ่นได้วันละ 8 แผ่น หรือ 8 กก.
ราคา กก.ละ 90 บาท มีรายได้เฉลี่ยวันละ 720 บาท เดือนละ 10,800 บาท

นับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่สร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกร หลังจากที่มองผิดๆ ว่า ยางพาราเป็นพืช
เศรษฐกิจที่เหมาะกับพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกมายาวนาน

อีก 3 ปี เงินสู่ท้องถิ่นกว่า 2.8 หมื่นล้าน

นายขุนศรี ทองย้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี
เอส) ซึ่งรับผิดชอบด้านกล้ายางพาราของซีพีเอส กล่าวว่า ในฐานะที่ซีพีเอสได้มีส่วนร่วมใน
โครงการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ผลิตและมอบกล้าพันธุ์
ยางพาราคุณภาพให้แก่เกษตรกรส่วนหนึ่ง แม้ที่ผ่านมาจะมีปัญหาบ้าง และขณะนี้หมดภาระหน้าที่
กันแล้วก็ตาม แต่ซีพีเอสไม่ได้ทอดทิ้งเกษตรกรร่วมโครงการ ตลอดยระยะเวลาที่ผ่านมา ได้
ติดตามการผลิต คอยแนะนำเกษตรกรมาตลอด จึงทราบว่า ผู้ที่ได้รับกล้ายางไปปลูกในปี 2547
บางส่วนสามารถเปิดกรีดได้แล้วราว 5-10% ถือว่าเป็นการเปิดกรีดที่รวดเร็วกว่าปกติที่กำหนดไว้
7 ปี เนื่องจากเกษตรกรมีการเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี ประกอบกับเกษตรกรได้กล้ายางพันธุ์ดีที่
ได้มาตรฐานด้วย จึงทำให้ต้นยางพาราโตเร็วมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้น 50 ซม.

อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2557 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่า ผู้ที่ร่วมโครงการขยายพื้นที่ปลูก
ยางพารา 1 ล้านไร่ (ภาคเหนือ 3 แสนไร่ ภาคอีสาน 7 แสนไร่) จะสามารถกรีดได้ 100%
หากวัดจากราคายางแผ่นดิบรมควันชั้น 3 ณ ปัจจุบัน กก.ละ 100 บาทนั้น จะทำให้เกิดเงินสะพัด
ในพื้นที่ร่วมโครงการ มีมูลค่าถึง 28,700 ล้านบาท เป็นภาคเหนือ 8,610 ล้านบาท ภาคอีสาน
20,090 ล้านบาท ที่สำคัญจะทำให้เกษตรกรในพื้นที่ร่วมโครงการเกิดความมั่นคงในอาชีพตลอด
ยาวนานถึง 25 ปีที่ยางพาราสามารถกรีดได้ และยังส่งผลต่อการลดปัญหาการย้ายถิ่น ลดปัญหา
อาชญากรรมในพื้นที่ ตลอดจนแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย

“เท่าที่ผมลงในพื้นที่ พบว่า บางแห่งการเจริญเติบโตของต้นยางที่เกษตรกรรับไปปลูกเจริญเติบ
โตดีกว่ามาตรฐาน คือจากกำหนดเดิมที่เกษตรกรจะต้องกรีดในปีที่ 7 ถึงปีที่ 8 แต่บางรายเพียง
เข้าปีที่ 6 เกษตรกรเริ่มกรีดแล้ว เพราะลำต้นได้มาตรฐาน คือ เส้นรอบวง 50 ซม. ตรงนี้เป็นการ
พิสูจน์ได้ว่า ยางที่เกษตรกรรับมาจากโครงการได้มาตรฐาน คุณภาพดี และการเจริญเติบโตสม่ำ
เสมอดีทุกต้น" นายขุนศรีกล่าว

ที่มา : คม ชัด ลึก
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©