-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * หัวใจเกษตรไท ห้อง 1 “ปุ๋ย-จุลินทรีย์”
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* หัวใจเกษตรไท ห้อง 1 “ปุ๋ย-จุลินทรีย์”

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 22/01/2024 7:24 am    ชื่อกระทู้: * หัวใจเกษตรไท ห้อง 1 “ปุ๋ย-จุลินทรีย์” ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
เกริ่นกล่าว :


GENTLE AGREEMENT :
จริงจัง จริงใจ เสียสละ .... ให้มากกว่ารับ..... พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ .... ทำใช้ ทำขาย ทำแจก ทำเททิ้ง .....

อยากทำปุ๋ย แต่....
หาวัสดุส่วนผสมไม่ได้ : ไปที่ร้าน บอก ร้าน/เซลล สั่งให้ .... บอกให้สหกรณ์เอาสินค้านี้มาขาย

อยากทำยาสมุนไพร แต่....
ไม่รู้จัก หาซื้อไม่ได้ : ไปที่ร้านยาไทย .... บอกให้สหกรณ์เอาสมุนไพร สำเร็จรูป/พร้อมใช้ มาขาย

อยากรู้เทคโนโลยี แต่....
ไม่รู้ ไม่เคยเห็น : อ่านตำรา .... ไปสวน ดูหลายๆสวน แล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ด้วยเหตุและผล

อยากได้โอกาส แต่....
ไม่รู้ ไม่เชื่อ : ถามคนขาย สินค้านั้นมาจากไหน ไปดูถึงแหล่ง แล้ว คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ ด้วยเหตุและผล


ต้นทุนทำเกษตรยุคนี้ ค่าปุ๋ย 30% ค่ายา 30% ค่าเทคโน 20% ค่าเสียโอกาส 20% ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครทำเป็นมาตั้งแต่อยู่ในท้อง เกิดมาแล้วมาเรียนมาหัดเอาเองทั้งสิ้น สวมวิญญาณนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ .... อ่าน ดู ทำ ใช้ ขาย แจก



----------------------------------------------------------------------------------



หัวใจเกษตรไท ห้อง 1 “ปุ๋ย-จุลินทรีย์”
** ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี 30%
** ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคันเร่ง ไม่มีบล็อก
** ปัจจัยพื้นฐาน “ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค” ผิดพลาดปัจจัยเดียว หมายถึง ล้มเหลวทั้งหมด

** จุลินทรีย์-ปุ๋ย คนละตัวกัน แต่อยู่ด้วยกัน
** ปุ๋ยถูก + ใช้ผิด = ไม่ได้ผล
** ปุ๋ยผิด + ใช้ถูก = ไม่ได้ผล
** ยุโรปทำเกษตร อินทรีย์-เคมี-ผสมผสาน
** อเมริกาทำนาข้าว ไม่เผาฟาง แต่ทำฟางเปล่าๆ ให้เป็นฟางซุปเปอร์

"ปุ๋ยน้ำทางใบ-สารสมุนไพร" ที่วางขายในท้องตลาด....
** มหาลัยไหน สอนวิธีทำ ...................................... คำตอบ ไม่มี
** คณะภาควิชาอะไร สอนวิธีทำ ............................... คำตอบ ไม่มี
** ระดับปริญญาตรี หรือโท หรือเอก สอนวิธีทำ ............... คำตอบ ไม่มี


***********************************************************

เกร็ดความรู้เรื่องปุ๋ย :

- หลักการพื้นฐาน คือ ต้นพืชรับสารอาหารหรือปุ๋ยได้ 2 ทาง ทางใบกับทางราก เมื่อไม่รู้ว่าทางรากส่งสารอาหารไปเลี้ยงต้นได้หรือไม่ เราก็ให้ทางใบแทน แม้ไม่เต็มร้อยก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย หรือแม้ว่า ทางรากส่งสาร อาหารได้แล้วให้ทางใบเพิ่มเข้าไปอีก ก็เท่ากับได้ทั้ง 2 ทาง ซึ่งต้องดีกว่าได้รับทางเดียวแน่นอน

- ปัจจัยที่มีผลต่อพืชหลังจากได้รับสารอาหาร (ปุ๋ย) ทั้งทางใบและทางรากไป แล้ว การตอบสนองหรือการเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน ได้แก่

- ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตามโซนภูมิศาสตร์โลก .... ในความชื้นมีไนโตรเจน ในเมื่อไนโตรเจนคือสารอาหารสร้างการเจริญโตโดยตรง ภาคไต้มีความ ชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง จึงไม่จำเป็นต้องให้มากนัก ในขณะที่ภาคเหนือหรือภาคอื่นๆ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีน้อย จึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณไนโตรเจนให้แก่พืช

- ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตามฤดูกาล ภาคไต้มีฤดูร้อนกับฤดูฝน กับมีสายลมที่พัดขึ้นมาจากทะเลตลอดเวลา ในสายลมทะเลมีสารอาหารพืชที่ระเหิดขึ้นมาจากน้ำทะเล เช่น แม็กเนเซียม สังกะสี โซเดียม ปนเปื้อนอยู่ด้วย แต่ภาคเหนือทุกฤดูกาลจะไม่มีสารอาหารเหล่านี้เลย ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องจัดหาให้แก่พืช

- กับอีกหลากหลายปัจจัย ที่ทำให้ “ปุ๋ย” ทั้งทางใบและทางราก เกิดประ สิทธิภาพประสิทธิผลต่างกัน ทั้งที่เป็นสูตร (เรโช) เดียวกัน ให้แก่พืชชนิดเดียวกันและทุกเทคนิคเดียวกัน .... ที่กล่าวอย่างนี้มิใช่เจตนาบอกว่า “ไม่ต้องให้” แต่ตรงกันข้าม “ต้องให้” ด้วยซ้ำไป ตัดปัญหาปัจจัยต้านเหล่านั้นออกไปแล้วให้แบบ “ให้น้อย บ่อยครั้ง” แทน นั่นเอง

- ปุ๋ยทางใบ หมายถึง ปุ๋ยที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เป็นโมเลกุลเดี่ยว ละลายดี แล้วฉีดพ่นทางใบ เพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช ทั้งเพื่อเพิ่มสารอาหารโดยตรง และเพื่อทดแทนที่ระบบรากไม่สามารถรับสารอาหารแล้วส่งไปให้ต้นได้

- ประสิทธิภาพของปุ๋ยทางใบจะบังเกิดได้ ต้องมีความสมบูรณ์ของต้นเป็นสิ่งรองรับ และความสมบูรณ์ของต้นมาจาก “6 ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” ของพืชชนิดนั้นๆ

- ปุ๋ยทางใบจะผ่านปากใบได้ เมื่อปากใบเปิด (แดดออก, เวลา 10 โมงเช้าถึงเที่ยง) .... ฉีดพ่นน้ำเปล่าก่อนเพื่อกระตุ้นให้ปากใบเปิด ใบเริ่มๆ (เน้นย้ำ....เริ่ม) แห้ง จึงฉีดพ่นปุ๋ยทางใบตาม

ชนิดของปุ๋ยทางใบ :
1. ปุ๋ยเกล็ด คือ ปุ๋ยเคมีชนิดแข็ง เป็นรูปผลึกของสารประกอบ ผลิตจากการนำแม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ มาผสมกันให้ได้สูตรที่ต้องการ และละลายน้ำง่าย

2. ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเหลว คือ ปุ๋ยที่ได้จากการละลายแม่ปุ๋ย 2-3-4 ตัว หรือมากกว่า ในน้ำตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับชนิดพืช ระยะพัฒนาการ และปัจจัยเสริมหรือปัจจัยต้าน ของพืชชนิดนั้นๆ

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยทางใบ :
1. ช่วยให้พืชรับเข้าสู่ต้น ส่งผลให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
2. เพื่อชดเชยธาตุอาหารที่ขาด หรือเพิ่มเติมเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแก่พืชได้
3. ใช้ผสมร่วมไปกับสารเคมี หรือสารสกัดสมุนไพร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างได้ เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน

4. ใช้กับพืชที่มีปัญหาเกี่ยวกับดิน เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินเหนียวจัด หรือดินที่มีปัจจัยแวดล้อมขวางการดูดใช้ธาตุอาหารทางระบบราก

5. พืชสามารถดูดธาตุอาหารโดยทางใบได้มากกว่า และเร็วกว่าการดูดทางราก ต้นไม้จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารได้เร็วกว่า

6. ช่วยให้พืชฟื้นตัวเร็วหลังจากชะงัก เนื่องจากกระทบแล้งหรือถูกโรคแมลงทำลาย
7. ปุ๋ยชนิดน้ำมีความสม่ำเสมอของเนื้อปุ๋ยแน่นอนกว่าปุ๋ยชนิดแข็งและปุ๋ยชนิดเกล็ด มีปริมาณเนื้อปุ๋ยรวม (N+P2O5+K2O) สูงกว่าปุ๋ยเม็ด ทำให้ได้ประสิทธิภาพเหนือกว่า

8. ปุ๋ยชนิดน้ำผลิตง่าย และเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสูตรได้ง่าย จึงผลิตได้มากสูตรกว่าปุ๋ยชนิดแข็งหรือชนิดเกล็ด

ข้อเสียของปุ๋ยทางใบ :
1. การให้ปุ๋ยทางใบเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชได้ จึงควรให้ทั้ง 2 ทาง คือ ทั้งทางใบและทางราก หรือใช้ควบคู่กัน

2. การให้ปุ๋ยทางใบควรให้ปุ๋ยบ่อยครั้งตามกำหนดเวลาอย่างสม่ำเสมอ
3. ให้ในระดับความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชใบไหม้
4. ปุ๋ยชนิดน้ำไม่สามารถทำให้มีเปอร์เซ็นต์เนื้อปุ๋ยสูงๆ ได้ โดยทั่วไปมักมีปริมาณของธาตุอาหารหลัก (N+P2O5+K2O) รวมไม่เกิน 30 %

5. ปุ๋ยชนิดเกล็ด มักมีคุณสมบัติดูดความชื้นจากอากาศได้ง่ายกว่าปุ๋ยเม็ด แม้จะมีการใส่สารป้องกันความชื้นแล้ว จึงทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว

6. ราคาของปุ๋ยชนิดเกล็ดสูงกว่าปุ๋ยชนิดเม็ดมาก
7. ปุ๋ยชนิดน้ำละลายธาตุอาหารเสริมและธาตุอาหารรองได้น้อย ยกเว้นปุ๋ยชนิดน้ำที่ใช้แม่ปุ๋ยในรูปของโพลิฟอสเฟต และสารคีเลต

8. ปุ๋ยชนิดน้ำควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าปุ๋ยเม็ด และปุ๋ยเกล็ด

คุณสมบัติที่ดีของปุ๋ยทางใบ :
1. ควรประกอบด้วยธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริมบางธาตุ หรือหลายๆธาตุ นอกเหนือจากธาตุอาหารหลัก N-P-K

2. เป็นปุ๋ยที่มีความเป็นกรดมากพอ เมื่อนำไปละลายน้ำในระดับความเข้มข้น 0.25 - 0.30 % ของตัวปุ๋ย (อัตราที่ใช้อยู่ในประเทศไทย) จะได้ส่วนผสมของสารละลายปุ๋ยที่มีค่า pH ระหว่าง 4.5 - 6.0 ทั้งนี้เนื่องจากค่า pH ในช่วงดัง กล่าวใบพืชจะสามารถดูดธาตุอาหารได้ดีและเร็วกว่าค่า pH ของปุ๋ยที่ต่ำหรือสูงกว่านี้

3. ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดสามารถละลายน้ำได้เร็ว และละลายน้ำได้ทั้งหมด
4. ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดควรอยู่ในรูปผลึกขนาดเล็ก ที่มีความบริสุทธิ์สูง และไม่ควรมีค่าความชื้นมากกว่า 1%

วัตถุประสงค์หลักในการให้ปุ๋ยทางใบ :
1. เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร :
ในดินด่างพืชมักขาดธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn) และโบรอน (Bo)การให้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตราสูงก็คงเป็นเหตุให้พืชขาดสังกะสีได้เช่นกัน การใส่ปุ๋ยจุลธาตุเหล่านั้นทางดินในรูปเกลืออินทรีย์ ก็มักจะตกตะกอน และไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเต็มที่แต่ถ้าใช้ปุ๋ยจุลธาตุคีเลตในดินก็ย่อมเสียค่าใช้จ่ายสูง วิธีการแก้ไข คือ ใช้สารละลายของเกลือจุลธาตุดังกล่าวฉีดพ่นทางใบ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลเร็วและชัดเจนกว่าการให้ทางดิน แต่อย่างไรก็ตามดินยังเป็นทรัพยากรหลักในการผลิตพืชและถือว่าดินเป็นแหล่งธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช การบำรุงดินตามหลักการทีกล่าวข้างต้นจึงเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การใช้ปุ๋ยทางใบจึงอาจยอมรับเข้ามาเสริมความสมบูรณ์ของการผลิต โดยเฉพาะช่วยแก้ไขการขาดธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ดังนี้

2. เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต :
ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของไนโตรเจนดังนั้นเป็นที่นิยมใช้กันมาก คือ ราวร้อยละ 50 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมด เมื่อนำมาใช้ร่วมในการผลิตผักและช่วยให้ผักดูอวบและเขียวสด เนื่องจากไนโตรเจน ส่งเสริมการเติบโตของต้นและใบยังช่วยเพิ่มปริมาณของคลอโรฟิลล์ในใบ

ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูงได้รับความนิยมรองลงมา คือ ใช้ประมาณร้อยละ 28 ปุ๋ยประเภทนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ หากใช้เสริมในไม้ผลก่อนการออกดอกจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์

ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง ใช้กันเพียงร้อยละ 11 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมดเพื่อเสริมธาตุนี้ในช่วงการพัฒนาของผลในไม้ผลหลายชนิดและช่วยให้รสชาติของผลไม้ดีขึ้น

3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย :
สำหรับพืชล้มลุกโดยทั่วไป เมื่อย่างเข้าสู่ผลิดอกออกผล อินทรีย์สารต่าง ๆ ที่เคยสะสมไว้ในใบจะเริ่มเคลื่อนย้ายไปสร้างผล เป็นเหตุให้รากพืชได้รับอาหารน้อย ในช่วงนี้การเจริญเติบโตของระบบรากจึงหยุดลง แต่รากก็ยังต้องทำหน้าที่ต่อไปด้วย ประสิทธิภาพที่ต่ำ ปริมาณของธาตุอาหารที่ดูดได้จากดินก็น้อยลงไปด้วย สำหรับในพืชตระกูลถั่วนั้นช่วงนี้ปมรากอาจขาดอาหารจึงเริ่มเน่าและหลุดจากราก ขณะที่รากดูดธาตุไนโตรเจนได้น้อยลง และไม่มีกิจกรรมการตรึงไนโตรเจนอีก พืชจึงไม่มีไนโตรเจนเพียงพอแก่การบำรุงลำต้น ใบ ดอก และผล ในช่วงนี้ไนโตรเจนจากใบจะเคลื่อนย้ายไปสร้างผลเป็นเหตุให้ใบเหลืองและในที่สุดก็แห้งตาย พืชตระกูลถั่วมักประสบปัญหานี้ได้มากกว่าพืชตระกูลหญ้าเพราะใช้ไนโตรเจนมากกว่า ดังนั้นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนทางใบแก่พืชเหล่านี้ในช่วงที่ออกดอก จะช่วยชะลอการร่วงของใบและมีแนวโน้มจะเพิ่มผลผลิตได้ด้วย

4. เพื่อวัตถุประสงค์อื่น :
เช่นบังคับให้ออกดอกและติดผลนอกฤดู โดยการใช้ฮอร์โมน

ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบ :
- ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำ อย่าผสมให้เข้มข้นเกินไป จะทำให้ใบพืชไหม้
- ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเร็วที่สุด ถ้ามีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบจะไม่เกิดผล

- ควรถือว่าการใช้ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริม แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นงานหลัก หากบำรุงดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบ

http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/flo1.htm

เกร็ดความรู้เรื่องธาตุอาหารพืช :
ราว พ.ศ. 2488 หรือประมาณสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการระดับดอกเตอร์จากประเทศอินเดียเข้ามาเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ปุ๋ยอินทรีย์” ถึงวิธีทำวิธีใช้แก่เกษตรกรในประเทศไทย และราวเวลาไล่เลี่ยกันนั้น สหรัฐ อเมริกา มหามิตรประเทศ โดยนักการตลาดก็เข้ามาเผยแพร่ความรู้เรื่อง “ปุ๋ยเคมี” ถึงวิธีการใช้แก่เกษตรกรในประเทศไทย เช่นกัน

ด้วยความที่การเกษตรด้านพืชที่เกษตรกรไทยทำนั้น ผืนดินยังบริสุทธิ์ ไร้สารพิษ (ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ของเสียโรงงาน ปุ๋ยเคมีเกิน พันธุ์กรรม) ทุกชนิด การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตามดอกเตอร์อินเดียจึงเห็นผลไม่ชัดเจน ต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามนักการตลาดอเมริกาที่เห็นผลชัดเจน ชนิดหน้ามือกับหลังมือเลยก็ว่าได้

1. ปุ๋ย หมายถึง สารเหลวที่พืชนำไปใช้สร้างและบำรุงส่วนต่างๆ ของต้นให้เจริญพัฒนา เรียกว่า “ธาตุอาหาร” ประกอบด้วย

ธาตุหลัก : ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปแตสเซียม
ธาตุรอง : แคลเซียม. แม็กเนเซียม. กำมะถัน
ธาตุเสริม : เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โบรอน. โมลิบดินั่ม. ซิลิก้า. คลอรีน. โซเดียม. นิเกิล. โคบอลท์. ฯลฯ

ฮอร์โมน :ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. ไอเอเอ. เอบีเอ. ไอบีเอ. อะมิโน. โปรตีน ฯลฯ

2. ธาตุอาหารพืช มีอยู่ในอินทรีย์วัตถุ และอนินทรีย์วัตถุ......
อินทรีย์วัตถุ หมายถึง วัสดุที่ได้จากสัตว์และพืช เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์” เช่น เศษซากสัตว์ มูลสัตว์ เศษซากพืช น้ำคั้นจากพืช

อนินทรีย์วัตถุ หมายถึง วัสดุที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีวิทยาศาสตร์ เรียกว่า “ปุ๋ยสังเคราะห์ หรือ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์” เช่น ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนวิทยาศาสตร์

เคมีชีวะ หมายถึง ธาตุอาหารพืชที่เกิดเองตามธรรมชาติ มีชื่อเรียกและมีคุณสมบัติเป็นธาตุอาหารชัดเจน เกิดเองตามธรรมชาติ พืชดูดซึมไปใช้ได้ทันที เช่น

- ในน้ำมะพร้าวอ่อนมีจิ๊บเบอเรลลิน กลูโคส ฯลฯ
- ในน้ำมะพร้าวแก่มี โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม แม็กเนเซียม เหล็ก ทองแดง ฟอสฟอรัส ไซโตโคนิน กลูโคส ฯลฯ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น ความสมบูรณ์ของต้นขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้น ฐานฯ มีโมเลกุลขนาดเล็กที่พืชสามารถรับทางปากใบ และรับทางปลายรากเข้าสู่ต้นได้เลย

- ในปลาทะเลมีมีธาตุอาหาร หลัก/รอง/เสริม ครบ 14 ตัว ที่มีมากเป็นพิเศษ คือ แม็กเมเซียม, สังกะสี, โซเดียม, ฟลาโวนอยด์, ควินนอย, โพลิตินอล, ฮิวมัส, ซึ่งในปลาน้ำจืดไม่มี ธาตุเหล่านี้เกิดมาจากกระบวนการย่อยสลาย (ENZIME) โดยจุลินทรีย์ มีโมเลกุลขนาดใหญ่พืชสามารถรับได้ทางปลายรากทางเดียว มีทั้งชนิดน้ำและชนิดแห้ง .... หากต้องการให้ทางใบต้องปรับโมเลกุลให้เป็นโมเลกุลเดี่ยวก่อนการใช้

- อาหารคน อาหารสัตว์ อาหารพืช ทุกตัว คือ ตัวเดียวกัน เช่น คนต้องการธาตุแคลเซียม พืชและสัตว์ก็ต้องการธาตุแคลเซียม, คนต้องการธาตุเหล็ก พืชและสัตว์ก็ต้องการธาตุสังกะสี หากคนสัตว์พืชหรือจุลินทรีย์ขาดธาตุอาหารตัวใดตัวหนึ่งจะเกิดโรค “ทุโภชนา หรือ ขาดสารอาหาร” ร่างกายจะชะงักการเจริญเติบโต

- ในเศษซากสัตว์และพืชมี ธาตุหลัก-ธาตุรอง-ธาตุเสริม-ฮอร์โมน-วิตามิน ครบทุกตัว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของเศษซากนั้น ธาตุอาหารเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปทางเคมี (ภาษาวิชาเคมี) มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ต้องถูกหรือได้รับการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ภายไต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม

- ในมูลสัตว์จะมีธาตุอาหารอะไร มากหรือน้อย พิจารณาจากอาหารที่สัตว์นั้นกิน และระบบย่ออาหารของสัตว์นั้น เช่น วัวไล่ทุ่งกินหญ้าเป็นหลัก ในมูลจึงมี N ที่มาจากหญ้ามาก ส่วนวัวเนื้อวัวนมอยู่ในฟาร์ม กินอาหารที่คนเลี้ยงจัดสรรให้เป็นการเฉพาะ ในมูลจึงมีธาตุอาหารครบมากกว่าวัวไล่ทุ่ง และ/หรือ ในมูลของสัตว์ปีก มี P และ K มาก กว่าสัตว์สี่เท้า โดยมูลค้างคาวกินแมลง มีธาตุอาหารมากที่สุด .... ข้อมูลในสารคดีดิสคัพเวอรี่ บอกว่า มูลนกทะเล มีธาตุอาหารพืชมากที่สุด เนื่องจากนกทะเลกินแต่ปลาทะเล

...................................................................................................................

น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคสผง (คนกิน), กลูโคสน้ำ (ทำน้ำอัด ลม เครื่องดื่มชูกำลัง), น้ำตาลธรรมชาติ (งวงตาล งวงมะพร้าว) น้ำอ้อยคั้น, น้ำตาลในสาโท,

น้ำตาลทางด่วน หมายถึง สารอาหารพืชที่ผ่านปากใบเข้าสู่ต้นได้เร็ว หลังจากฉีดพ่น 2-3 ชั่วโมง เพราะเป็นโมเลกุลเดี่ยว ให้กับไม้ผล ในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เช่น แล้งรุนแรง น้ำท่วมขังค้างนาน ต้นรับภาระเลี้ยง ดอก/ผล จำนวนมาก และสร้างความสมบูรณ์สะสม ให้ต้นพร้อมต่อการสร้างดอก (ซี/เอ็น เรโช)

ฮอร์โมนสด : ได้แก่ นมน้ำเหลือง นมตกเกรด นมจากฟาร์มประท้วง ขี้เพลี้ยไส้อ่อน กะปิ น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าวแก่ น้ำตาลสดงวงตาล/งวงมะพร้าว น้ำซาวข้าว น้ำแช่ปลา น้ำล้างเขียงทำปลา น้ำหอยเผา นมสด น้ำเต้าหู้ น้ำต้มกระดูกก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว สาโท ข้าวหมาก เบียร์สด แบลนด์ ลิโพกระทิงแดงคาราบาว วีฟีด ไวตามิลท์ ยาคูลท์ ปัสสาวะใหม่/เก่า

ฮอร์โมนธรรมชาติ : ได้แก่ ใบแก่ผักกินใบ ยอดอ่อนผักกินยอด ผลอ่อนขบเผาะ หัวไชเท้า หน่อไม้ไผ่ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยสุกงอม มะละกอสุกงอม ข้าวน้ำนม เมล็ดเริ่มงอก กวาวเครือขาว หัวแก่จัดเนื้อเป็นเสี้ยน

หมายเหตุ :
- น้ำล้างเขียงปลาสดใหม่ ให้สะระแหน่ ดีมากๆ
- นมสดจากฟาร์มประท้วง ใส่ลงดินแล้วไถพวนช่วงเตรียมดินปลูกอ้อย ดีมากๆ
- นมน้ำเหลือง ใส่ลงดินแล้วไถพวนช่วงเตรียมดินปลูกทานตะวัน ดีมากๆ
- นมสดในกล่อง ให้บัวในบึง ดอกดี ใบใหญ่
- น้ำแช่ไส้เดือนสดใหม่ ให้ถั่วฝักยาว ดีมากๆ
- น้ำคั้นมะละกอสุกงอมสดใหม่ ให้กล้วยช่วงผลแก่ใกล้ตัด ดีมากๆ
- น้ำเจือจางกะปิ เร่งรากกิ่งตอน ดีมากๆ
- ลิโพกระทิงแดง ให้มะนาวออกดอกติดผลดีมากๆ
- แบลนด์ แช่เมล็ดพันธุ์ เปอร์เซ็นต์งอก ดีมากๆ


..............................................................................................................

เคมีสังเคราะห์ หมายถึง สารอาหารพืชที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ เรียกว่า ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยสังเคราะห์ หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ มีหลากหลายประเภท (ให้ทางใบ ให้ทางราก) ชนิด (เกร็ด น้ำ), ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของคนใช้ ซึ่งวัตถุประสงค์ของคนใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของพืชด้วย

3. ธาตุอาหารพืช สัตว์ คน คือตัวเดียวกัน สังเกตได้จากการเขียนสัญลักษณ์ทางเคมีของชื่อธาตุอาหารเป็นตัวอักษรตัวเดียวกัน แต่ธาตุอาหารที่พืช สัตว์ คน นำไปใช้ต่างกันที่ “รูป” เท่านั้น

4. ในเมือกและเลือดปลาสดมีธาตุไนโตรเจนมากกว่ายูเรีย (46-0-0) 1 เท่าตัว ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ โดยจุลินทรีย์จะทำหน้าที่เปลี่ยน “รูปไนโตรเจน” ในเมือกและเลือดปลาให้เป็น “รูปไนโตรเจน” ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้เอง

5. ในปลาทะเลมีกรดอะมิโน, โอเมก้า, แม็กเนเซียม, และโซเดียม. ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชจำนวนมาก

6. ในหนอนมีกรดอะมิโน ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสัตว์มากถึง 18 ชนิด
7. พืชกินธาตุอาหารที่มีสถานะเป็นของเหลวด้วยการดูดซึมเข้าทางปลายราก (หมวกราก) และทางปากใบ ในขณะที่ปุ๋ยอินทรีย์ยังคงมีสภาพเป็นชิ้นหรือเป็นก้อนอยู่นั้น พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้จะต้องทำให้อินทรียวัตถุนั้นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวหรือน้ำเสียก่อนพืชจึงจะนำไปใช้ได้

การเปลี่ยนสถานะอินทรีย์วัตถุให้เป็นของเหลวสามารถทำได้ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ โดยเริ่มจากหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียด จากนั้นนำไปผสมกับสารรสหวานจัด (กากน้ำตาล กลูโคส น้ำผลไม้หวาน) ด้วยอัตราส่วนที่เหมาะสม ใส่จุลินทรีย์เล็กน้อย ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์ หมักทิ้งไว้นานๆในสถานที่ ภาชนะ และระยะเวลาที่กำหนด จุลินทรีย์จะเป็นตัวย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านั้นให้มีขนาดเล็กลงถึงระดับโมเลกุล ซึ่งเล็กจนสามารถผ่านปลายรากและปากใบเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้

8. ปุ๋ยอินทรีย์ชิ้นขนาดเท่าปลายเข็มหรือเล็กกว่า รากพืชก็ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ลำต้นได้ ต้องเปลี่ยนสภาพปุ๋ยอินทรีย์ชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นให้เป็นของเหลว ขนาดเล็กระดับโมเลกุลเสียก่อน พืชจึงจะดูดซึมเข้าสู่ลำต้นไปใช้ได้

9. การหมัก หมายถึง กระบวนการย่อยสลาย (เอ็นไซม์) โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวกระทำต่ออินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุเพื่อเปลี่ยนสภาพจากเดิมที่เป็นชิ้นให้เป็นของเหลว

10. การหมักสามารถทำได้ทั้ง “หมักในภาชนะ หมักในกอง และหมักในดิน” ระยะเวลาในการหมักจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความแข็งแรง/จำนวน/ประเภทของจุลินทรีย์. ชนิด/ประเภทของอินทรียวัตถุ. สภาพแวดล้อม (อุณหภูมิ/น้ำ/อากาศ). ระยะเวลา. อัตราส่วนของวัสดุส่วนผสม. อาหารสำหรับจุลินทรีย์. และปัจจัยอื่นๆที่จำเป็น

11. ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. ปุ๋ยน้ำชีวภาพ. น้ำสกัดชีวภาพ. ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ. ปุ๋ยชีวภาพ. ปุ๋ยพืชสด. ปุ๋ยซากสัตว์ และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นตัวเดียวกันเพราะทำมาจากวัสดุส่วนผสมและด้วยกรรมวิธีในการทำแบบเดียวกัน จึงต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น

12. การฝังซากสัตว์หรือซากพืชที่โคนต้นไม้ผลบริเวณชายพุ่ม ช่วงแรกๆ จะยังไม่พบการเปลี่ยน แปลงใดๆในทางที่ดีขึ้นจากไม้ต้นนั้น แต่ครั้นนานไปเมื่อซากสัตว์หรือซากพืชเน่าเปื่อย ไม้ผลต้นนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การที่ซากสัตว์หรือซากพืชเน่าเปื่อยได้ก็คือการ “หมักในดิน” โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวดำเนินการให้นั่นเอง

13. ซากสัตว์ที่หมักลงไปในดินใหม่ๆ หรือระยะแรกๆ หรือระหว่างที่ซากสัตว์กำลังเน่าเปื่อยนั้นมีความเป็นกรดจัดมาก เป็นอันตรายต่อระบบรากหรือทำให้รากเน่าได้ ดังนั้นจึงไม่ควรฝังซากสัตว์ในช่วงที่ต้นพืชกำลังอยู่ในระยะสำคัญ เช่น ระยะกล้า. สะสมอาหาร. เปิดตาดอก. บำรุงดอก. บำรุงผล ฯลฯ ทั้งนี้ การฝังซากสัตว์จะต้องกระทำก่อนหน้านั้นนานๆ เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายหรือแปรสภาพซากสัตว์จนหมดความเป็นกรดแล้วเปลี่ยน “รูป” มาเป็นรูปของธาตุอาหารพืชที่พืชพร้อมนำไปใช้ได้ .... การหมักซากสัตว์แบบปุ๋ยน้ำชีวภาพนานข้ามปีแล้วจึงนำมาใช้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ได้แต่ต้องไม่ลืมตรวจวัดค่ากรดด่างแล้วปรับให้เป็นกลางก่อนใช้เสมอ

14. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่มีกากน้ำตาลเป็นส่วนผสม หมักใหม่หรืออายุการหมักสั้น มีความเป็น “กรด” สูงมาก (2.5-3.0) โดยปุ๋ยน้ำชีวภาพซากสัตว์เป็นกรดจัดมากกว่าเศษพืช เมื่อฉีดพ่นทางใบจะทำให้เกิดอาการ ใบไหม้ ใบจุด ดอกร่วง ผลด่างลาย/ร่วง เมื่อไม่แน่ใจว่าปุ๋ยน้ำชีวภาพเป็นกรดจัดหรือไม่ ขอให้งดการให้ทางใบแล้วให้ทางรากแทน แม้แต่การให้ทางดินบ่อยๆ หรือประจำๆ ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จนเกิดการสะสมก็อาจทำให้ดินเป็นกรดได้เช่นกัน

15. ปุ๋ยน้ำชีวภาพกล้อมแกล้มสูตรมาตรฐาน ผ่านกรรมวิธีการหมักถูกต้อง อายุการหมักนานข้ามปี เมื่อวัดค่ากรดด่างจะได้ประมาณ 6.0-7.0 จึงถือว่าดี ถูกต้อง และใช้ได้

16. วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าในปุ๋ยน้ำชีวภาพแต่ละสูตรหรือแต่ละยี่ห้อมีปริมาณธาตุพืชมากหรือน้อยกว่ากัน สามารถพิสูจน์ได้โดยการบรรจุปุ๋ยน้ำชีวภาพใส่ขวดขนาดเดียวกันหรือปริมาตรเท่าๆ กัน แล้วนำขึ้นชั่งด้วยตาชั่งที่มีมาตรวัดละเอียดมากๆ ตรวจค่าความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) ขวดที่หนักกว่าแสดงว่ามีธาตุอาหารพืชมากกว่าหรือนำลงจุ่มน้ำ ขวดที่จมน้ำได้ลึกกว่าแสดงว่ามีปริมาณธาตุอาหารมากกว่า

17. อาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ที่ปรุงโดยการต้มเคี่ยว หรือตุ๋นจนเหลวเปื่อยยุ่ย เช่น แกงจืดจับฉ่าย น้ำต้มกระดูก ซุปไก่แบลนด์ น้ำหวานจากน้ำตาลหรือผลไม้คั้น วิตามินบำรุงร่างกายคน/สัตว์ ฯลฯ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามวัสดุที่นำมาปรุง หากนำน้ำอาหารที่เหลวเปื่อยยุ่ยแล้วนี้ให้แก่พืชบ้าง พืชก็จะได้รับธาตุอาหารตัวเดียวกันนี้เช่นกัน.... มีงานทดลองใช้ “แอสไพริน” ยาแก้ไข้ในคน ไปให้แก่ต้นพืชแล้วต้นสมบูรณ์ออกดอกดี แม้นักวิทยาศาสตร์จะรู้ว่าในแอสไพรินมีสารอะไรที่มีผลต่อพืช แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยฟันธงว่าใช่หรือไม่ใช่

18. พืชสามารถนำธาตุอาหารเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของต้นได้ทั้งทางปลายราก และปากใบ เมื่อให้ธาตุอาหารทางใบด้วยการฉีดพ่น ธาตุอาหารส่วนที่มีโมเลกุลขนาดเล็กสามารถผ่านปากใบได้จะผ่านเข้าไปทันที ส่วนธาตุอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านปากใบเข้าไปได้ยังติดค้างอยู่บนใบ เมื่อถูกน้ำชะล้างก็จะตกลงดินแล้วถูกจุลินทรีย์ในดินทำการย่อยสลายต่อให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลงอีกจนสามารถผ่านปากรากได้ พืชก็จะได้รับธาตุอาหารนั้นต่อไป

19. การหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพโดยใช้ถังหมักที่แข็งแรง มีฝาปิดเรียบร้อย มีระบบให้ออกซิเจนแล้วฝังลงดินจนมิดถัง มีระบบป้องกันน้ำเข้าไปในถังได้แน่นอนนั้น อุณหภูมิใต้ดินที่เย็นกว่าบนดินนอกจากจะช่วยให้กระบวนการหมักดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพใช้การได้เร็วขึ้นอีกด้วย

20. เสริมประสิทธิภาพจุลินทรีย์ในถังหมักให้แข็งแรงยิ่งขึ้นด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 (100 กรัม) หรือ 21-53-0 (100 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง หรือน้ำมะพร้าวอ่อน 1-2 ล. ต่อวัสดุส่วนผสมในถัง 100 ล.

21. การใช้ถังหมักแบบมีใบพัดปั่นหมุนภายในตลอด 24 ชม. นอกจากจะเป็นการช่วยบดย่อยวัสดุส่วนผสมให้ละเอียดยิ่งขึ้นแล้วยังส่งผลให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพนั้นใช้การได้เร็วขึ้น

22. ไม่ควรใช้พืชผักจากตลาดเพราะเป็นพืชผักที่เก่าแล้ว และอาจปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ จากตลาดมาด้วย แหล่งเชื้อโรคมากที่สุด ได้แก่ กองขยะตลาดสด ขยะแยกเชื้อจาก ร.พ.

23. ไม่ควรใช้ซากสัตว์ที่ตายนานแล้วหรือเน่าแล้วแต่ให้ใช้ซากสัตว์สดและใหม่ โดยเลือกใช้สัตว์ขณะที่ยังมีชีวิตหรือตายใหม่ๆ จะได้ธาตุอาหารพืชที่ดีกว่า

24. ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรมาตรฐานที่ดีจะต้องไม่มีกลิ่นของวัสดุส่วนผสมตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวชัดเจน ซึ่งเป็นการแสดงให้รู้ว่าใช้วัสดุส่วนผสมไม่หลากหลาย ยกเว้นสูตรเฉพาะซึ่งจะต้องมีกลิ่นเฉพาะตัว และปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ดีต้องมีกลิ่นหอม-หวาน-ฉุน

25. ระยะเวลาในการหมัก หมักนาน 3 เดือนจะได้ธาตุหลัก หมักนาน 6 เดือนจะได้ธาตุรอง หมักนาน 9 เดือนจะได้ธาตุเสริมและฮอร์โมน....เมื่อหมักนานข้ามปีจะได้สารอาหาร ฮอร์โมน และจุลินทรีย์ต่างๆ หลายชนิด เช่น

- ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน. ฟอสฟอรัส. โปรแตสเซียม. แคลเซียม. แม็กเเซียม.กำมะถัน. เหล็ก. ทองแดง. สังกะสี. แมงกานิส. โซเดียม. อะมิโนโปรตีน. ..... สารอาหารเหล่านี้เป็นสารอินทรีย์บริสุทธิ์

- ฮอร์โมน ได้แก่ ไซโตคินนิน. เอสโตรเจน. ออร์แกนิค แอซิด. ฟลาโวอยด์. ควินนอยด์. อโรเมติก แอซิด. ฮิวมัส. โพลิตินอล. ไอบีเอ. เอ็นบีเอ. ....ฮอร์โมนเหล่านี้เป็นฮอร์โมนอินทรีย์บริสุทธิ์ และสารท็อกซิก.ที่เป็นสารพิษต่อโรคและแมลงศัตรูพืช

- จุลินทรีย์ ได้แก่ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. บาซิลลัสส์. ไรซ็อคโธเนีย. แบคทีเรีย. และฟังก์จัย.

ยิปซัมธรรมชาติปรับปรุงบำรุงดินและพืช เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน...

โดย ดร.สำเนา เพชรฉวี

ในปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารมากมายจากสื่อต่างๆ ได้กล่าวถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในประเทศ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมของประชากรในประเทศ การเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่ามาเป็นพื้นที่การเกษตรเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกิดปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง หน้าดินถูกชะล้างพังทลาย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้คำนิยามความเสื่อมโทรมของดิน คือ ความเสื่อมโทรมในคุณภาพของดินและการให้ผลิตผลของดินที่ลดลง เป็นสูตรโครงสร้างที่เกิดจากปัจจัยต่างๆร่วมกัน ได้แก่ ความเลวร้ายของสภาพฟ้า อากาศ ลักษณะธรรมชาติของดิน ภูมิประเทศ ชนิดพันธุ์พืชที่เพาะปลูก ลักษณะการใช้พื้นที่ และการจัดการดิน จากข้อมูลที่เกษตรกรได้ประสบปัญหาทางด้านการจัดการดินที่ทำการเกษตรแล้วยังไม่ได้รับผลสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งของปัญหาได้แก่โครงสร้างของดินเลวลง ผิวดินจับตัวกันแน่นทึบ เมื่อฝนตกหรือมีการให้น้ำ น้ำซึมลงใต้ผิวดำดินได้น้อย เกิดน้ำไหลบ่าที่ผิวดิน ไหลลงไปสู่ที่ต่ำ ดินระบายน้ำยาก เมื่อเกิดฝนทิ้งช่วง แหล่งน้ำในดินไม่เพียงพอ พืชเหี่ยวเฉาเร็ว ดินเป็นกรดมากขึ้นธาตุอาหารพืชในดินถูกตรึงอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ขาดความสมดุลของธาตุอาหารในดิน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตต่ำ ดินใช้ปลูกพืชมานาน ขาดการจัดการดินที่ถูกต้อง เกิดการสูญเสียหน้าดิน ถูกชะล้างพังทลาย ดินขาดธาตุอาหารพืช ทำให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตต่ำทั้งปริมาณและคุณภาพ ดินเสื่อมโทรมที่เกิดโดยธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการกระทำของมนุษย์ได้แก่ ดินที่ทำการเกษตรมานาน ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่เก่า ดินนากุ้งร้าง ฯลฯ

เนื่องจากพื้นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรทุกวันนี้มีจำนวนจำกัดไม่อาจขยายพื้นที่ได้อีกแล้ว แต่ขณะเดียวกันจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี จึงมีความจำเป็นต้องทำกากรฟื้นฟูทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศหลายล้านไร่ให้กลับมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร มีข้อมูลผล งานวิจัยทั้งในต่างประเทศและภายในประเทศเกี่ยวกับวิธีการฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรม เช่น การใช้อินทรีย์
วัตถุ ปุ๋ยอินทรีย์ ปูนชนิดต่างๆ ยิปซัม สารสังเคราะห์โพลิเมอร์ ตลอดจนวัสดุที่เป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม และเขตชุมชน นำมาเป็นวัสดุปรับปรุงดิน ในบรรดาวัสดุปรับปรุงดินเหล่านี้ยิปซัมมีสมบัติที่ดีเด่นหลายประการ ในการแก้ไขปัญหาดินเสื่อมโทรมทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และชีวภาพ จนอาจกล่าวได้ว่า หากมีการนำยิปซัมมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรอย่างเหมาะสม จะมีส่วนในการเสริมสร้างความยั่งยืนให้แก่ดินและพืชในระยะยาว

ยิปซัมคืออะไร ?
ยิปซัม คือ แร่เกลือจืด เป็นสารประกอบแคลเซียมซัลเฟต มีสูตรทางเคมี คือ CaSO4. 2H2O เป็นผลึกสีขาวหรือไม่มีสี เนื้ออ่อน มีปฏิกิริยาเป็นกลาง ละลายในน้ำได้ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเนื้อยิปซัม ยิปซัมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ยิปซัมที่เกิดตามธรรมชาติจากการตกตะกอนของทะเลเก่าที่เป็นแอ่งใหญ่ ในใจกลางของประเทศในประเทศ ในประเทศไทยพบแหล่งใหญ่เกิดอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์และในพื้นที่ภาคใต้เป็นแร่ยิปซัมที่มีความบริสุทธิ์ 96-98% ประกอบด้วยธาตุแคลเซียม 23% Ca กำมะถัน (ในรูปของซัลเฟต) 17% S เป็นชนิดที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการเกษตรได้ดี

2. ยิปซัมที่เกิดจากผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี ได้แก่ อุตสาห
กรรมการผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ในการผลิตกรดฟอสฟอริคจากแร่หินฟอสเฟต

ส่วนที่เป็นผลพลอยได้มีชื่อเรียกว่า ฟอสโฟยิปซัม ซึ่งอาจมีสารฟลูออไรด์และธาตุโลหะหนักหลายชนิดเจือปนอยู่ได้แก่สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม มีความเป็นกรดอยู่มาก และมีสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนเช่น เรเดียม ที่มีค่าเกินกว่าเกณฑ์กำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัย เกิดมลพิษต่อดิน พืชและสิ่งแวดล้อม จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ทางด้านการเกษตร ยิปซัมที่เกิดจากการใช้ถ่านหินลิกไนท์เป็นเชื้อ เพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีก๊าซซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ ปนเปื้อนจากปล่องควันโรงงานการกำจัดควันพิษด้วยการทำปฏิกิริยากับหินปูนที่ผสมกับน้ำจะได้ผลพลอยได้คือ ยิปซัมซึ่งยังมีธาตุโลหะหนักปนเปื้อน

ผลจากการใช้ทรัพยากรที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้มีพื้นที่ดินเสื่อมโทรมที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตพืชต่ำทั้งปริมาณและคุณภาพมากมาย ปัญหาทางกายภาพได้แก่ ผิวดินจับกันแน่นน้ำซึมได้ยาก มีน้ำที่เป็นประโยชน์ได้น้อยลง พืชจึงเหี่ยวเฉาง่าย ในกรณีที่มีฝนตกมาก เกิดปัญหาน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีปัญหาดินเป็นกรดมากขึ้น ดินที่ใช้ในการเกษตรมานาน ขาดการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสม จำเป็น ต้องได้รับการแก้ไข การใช้ยิปซัมเป็นวัสดุปรับปรุงดิน จะช่วยแก้ปัญหาผิวดินจับตัวกันแน่น ทำให้น้ำและอากาศผ่านลงไปในดินชั้นล่างได้ดีขึ้น พืชดูดใช้น้ำและอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาทางเคมีและชีวภาพ ยิปซัมช่วยลดสภาพดินเป็นกรดในดินชั้นล่างลดการเกิดโรคพืช ช่วยฟื้นฟูดินเค็มให้กลับมาใช้ปลูกพืชได้เป็นปกติ ยิปซัมนอกจากช่วยปรับสภาพดินแล้วยังเป็นแหล่งให้ธาตุแคลเซียม และกำมะถันที่จำเป็น แก่พืชเศรษฐกิจ ในสภาวะการณ์ปัจจุบันที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตพืช ระบบการเกษตรแบบประณีต ทำให้ดินขาดความสมดุลของธาตุอาหารโดยเฉพาะแคลเซียม และกำมะถันที่มีอยู่ในดินสูญเสียไปจากการถูกชะล้างจำนวนมากทุกปี การใส่ยิปซัมในระบบการจัดการดินที่เหมาะสมจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างระบบดิน-พืช ให้เกิดความ

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=fisheries&topic=375

สมการปุ๋ยอินทรีย์ (แห้ง) :
วัสดุถูก + จุลินทรีย์ถูก + อุณหภูมิถูก + ความชื้นถูก + วิธีทำถูก + ระยะการใช้ถูก + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

วัสดุถูก + จุลินทรีย์ถูก + อุณหภูมิถูก + ความชื้นถูก + วิธีทำถูก + ระยะการใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

วัสดุถูก + จุลินทรีย์ถูก + อุณหภูมิถูก + ความชื้นถูก + วิธีทำผิด + ระยะการใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

วัสดุถูก + จุลินทรีย์ถูก + อุณหภูมิถูก + ความชื้นผิด + วิธีทำผิด + ระยะการใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

วัสดุถูก + จุลินทรีย์ถูก + อุณหภูมิผิด + ความชื้นผิด + วิธีทำผิด + ระยะการใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล

วัสดุถูก + จุลินทรีย์ผิด + อุณหภูมิผิด + ความชื้นผิด + วิธีทำผิด + ระยะการใช้ผิด + วิธีใช้ผิด =ไม่ได้ผล

วัสดุผิด + จุลินทรีย์ผิด + อุณหภูมิผิด + ความชื้นผิด + วิธีทำผิด + ระยะการใช้ผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 7

วัสดุถูก + จุลินทรีย์ถูก + อุณหภูมิถูก + ความชื้นถูก + วิธีทำถูก + ระยะการใช้ถูก + วิธีใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลัง 7

วัสดุถูก หมายถึง อินทรีย์วัตถุ ที่เป็นหรือมาจาก เศษซากตัวพืช/ตัวสัตว์ มูลสัตว์ อาหารสัตว์ ที่โครง สร้างทางเคมีเป็นสารอาหารสำหรับพืช

จุลินทรีย์ถูก หมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเซลล์เดียว กิน (ย่อยสลาย) วัสดุแล้วเปลี่ยนรูปเป็นฮิวมัส ที่เป็นสารอาหารสำหรับพืช

อุณหภูมิถูก หมายถึง ความร้อนแต่ละระดับ ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์แต่ละชนิด

ความชื้นถูก หมายถึง ปริมาณน้ำแต่ละระดับ (ชื้น ชุ่ม โชก แฉะ แช่) ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์แต่ละชนิด

วิธีทำ หมายถึง ปฏิบัติการใดๆ เพื่อ ส่งเสริม/เอื้ออำนวย/ฯลฯ แต่ละแบบที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เช่น อากาศ สารอาหารสำหรับจุลินทรีย์แต่ละชนิด

ระยะเวลาทำถูก หมายถึง ความ เร็ว/ช้า ของการปฏิบัติที่บรรลุวัตถุ ประสงค์ โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวตั้ง นั่นคือ มาตรการที่ช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้เร็วขึ้น และประสิทธิภาพสูงสุด

ระยะการใช้ หมายถึง ความ ถี่/ห่าง ในการใช้
วิธีใช้ถูก หมายถึง ปฏิบัติการใดๆที่ทำให้พืชได้รับสารอาหารจากปุ๋ยอินทรีย์นั้นๆ
ได้ผล หมายถึง สิ่งตอบแทนจากการนำใช้ ภายไต้เงื่อนไขที่กำหนด



อินทรีย์วัตถุในดินและฮิวมัส :
อินทรีย์วัตถุในดินแบ่งออกได้เป็นอินทรีย์วัตถุที่ยังมีชีวิตและที่ไม่มี ชีวิต กว่า 90% ของอินทรีย์วัตถุในดินเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, ซากจุลินทรีย์ และอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายแล้ว เรียกว่า “ฮิวมัส” มีบทบาทหน้าที่ ....

* ช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดิน และดินอัดตัวแน่นเกินไป
* ช่วยอุ้มน้ำในดินสู้ภัยแล้ง
* ช่วยเก็บแร่ธาตุ ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
* ช่วยลดสารพิษในดิน
* เป็นสารอาหารช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
* สารอินทรีย์ทำให้สีของใบ ดอก และผลไม้สวยขึ้น



อินทรีย์นำ เคมีเสริม V.S. เคมีนำ อินทรีย์เสริม ตามความเหมาะสม ... “?" ...


สายตรงจาก : (085) 086-47xx
..?.. : ผู้พันครับ ก่อนอื่นขอแนะนำตัวเองก่อน ผมอยู่อรัญประเทศ สระแก้ว เป็นข้าราชการเกษียณ เพิ่งเกษียณเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่สนใจเรื่องการเกษตรมานานแล้ว วันนี้ลงมาทำเองเต็มตัว เริ่มปีแรกก็ประสบความสำเร็จเลย เพราะทำตามแนว
ทางผู้พันนี่แหละครับ ผมมีนาข้าวกับแปลงแคนตาลูป วันนี้ที่ผมโทรมาเพื่อจะขออนุญาตลิขสิทธิ์ใช้คำว่า อินทรีย์นำ เคมีวิทยาศาสตร์เสริม ผมจะทำป้ายติดไว้หน้าบ้านน่ะครับ
ลุงคิม : (ฟังแล้วคิด....จากคนไม่เคยรู้กันเป็นส่วนตัวมาก่อน รายนี้น่าจะเป็นรายแรกๆ ที่แนะนำตัวเองก่อนค่อนข้างยาว) .... O.K. ไม่ขัดข้อง แล้วก็ยินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีก .... อืมมม ขอถามก่อนว่า คุณทำตามแนวผู้พัน ทำตามแนวผม คุณได้ข้อมูลมาจากไหน วิทยุ. ทีวี. หนังสือ. โครงการสัญจร. หรือไปเรียนรู้ที่ไร่กล้อมแกล้ม หรือช่องทางอื่น....?

..?.. : ผมจับแนวมาจากวิทยุ กับหนังสือเกษตรใหม่ที่ผู้พันเขียนน่ะครับ ผมมีครบทุกเล่ม ผมอ่านแล้วก็ทำตามในหนังสือ เรียกว่าเปิดตำราทำกันเลยครับ วันนี้ผมกำลังเล็งๆคอมพิวเตอร์ จะเล่นอินเตอร์เน็ตบ้าง เห็นผู้พันบอกว่า อะไรๆก็ไม่ได้เรียนมาตรงโดย ผู้พันเป็นทหารเรียนแต่วิชาฆ่าคน วางปืนแล้วมาจับจอบทำเกษตรได้ เล่นคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตได้ ผมคิดว่า ผมก็น่าจะทำได้บ้างนะครับ
ลุงคิม : ถูกต้อง ไม่มีอะไรที่มนุษย์ทำไม่ได้ ต่างกันที่คนทำ เขาทำหรือเราทำ คนเอาชนะคนไม่ได้ คนเก่งกว่าคนไม่ได้ ไม่ใช่เปิดมุ้งออกมาก็บอกว่า ทำไม่ได้-ทำไม่เป็น-เป็นไปไม่ได้ บางคนว่า ยุ่งยาก-เสีย เวลา ทั้งๆที่ยังไม่ได้ลองทำเลย แบบนี้เขาเรียกว่า แพ้กันตั้งแต่ในมุ้ง .... คุณว่าไหม ?

..?.. : จริงครับผู้พัน ผมยืนยัน ผมทำเองแล้วสอนชาวบ้าน เริ่มที่บ้านข้างเคียง แปลงนาติดกัน เมื่อมีโอกาสคุยกัน ผมจะอ่านหนังสือที่ผู้พันเขียนให้เขาฟัง อ่านหลายต่อหลายครั้ง อ่านแล้วพาไปดูของจริงเปรียบเทียบให้เขาเห็น แล้วจึงชวนให้เขาทำ แรกๆผมทำในแปลงนาผมเสร็จแล้ว ผมไปช่วยเขาด้วย ช่วยไถ ช่วยย่ำ
เทือก ช่วยฉีดปุ๋ยฉีดยา ด้วยมือผมเองเลย นารอบแรกได้ผลครับ เขาขายข้าวแล้วได้กำไร ทำรอบสองต่ออีก คราวนี้ได้กำไรมากขึ้นอีก จนไถ่โฉนดกลับบ้านได้
ลุงคิม : (หัวเราะในลำคอ) งั้นเหรอ....

..?.. : จริงครับผู้พัน วันนี้แปลงแรกที่อยู่ติดกับผม แกเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว แถมต่อยอดได้ด้วย แกออกไปสอนแปลงข้างๆบ้าง แปลงข้างๆก็เริ่มเอาตามแล้วครับ
ลุงคิม : งั้นนะ

..?.. : ใช่ครับผู้พัน ตอนนี้ผมมีกลุ่มเกือบ 20 คน ทำนา ปลูกผัก ทำแคนตาลูป เราคุยกัน ปรึกษากัน ทุกครั้งผมจะอ้างผู้พันนี่แหละครับ
ลุงคิม : สมาชิก ฟังรายการวิทยุไหม ?

..?.. : ฟังครับ ตอนเช้าจะเอาวิทยุไปในแปลงด้วย ตอนค่ำก็มาคุยกันที่บ้านผม ทำอย่างนี้กันทุกวัน ทุกคนยอมรับคำพูดผู้พันอย่างไม่มีข้อแม้เลยครับ
ลุงคิม : เอางั้นนะ แล้ววันนี้แต่ละคน สภาพหนี้สิน สถานะครอบครัว เป็นไงบ้างล่ะ ?

..?.. : หนี้ไม่มีแล้วครับ ทุกบ้านได้โฉนดกลับบ้านหมดแล้ว แถมมีเงินฝากธนาคารกันแล้วครับ
ลุงคิม : อืมมม .... อย่างที่บอกนั่นแหละนะ ทำแนวนี้แล้วประสบความสำเร็จ ผมไม่สงสัยเพราะมันคือความจริงของธรรมชาติอยู่แล้ว ที่สงสัยแล้วก็สงสัยอย่างมากๆ ก็คือ คนที่ยังล้มเหลวอยู่ หนี้สินยังเต็มบ้าน เขาคิดยังไงต่างหาก ทำไมเขาถึงไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีการทำบ้าง เท่านั้นแหละ

..?.. : คงไม่นานเกินรอหรอกครับผู้พัน เพราะราคาในตลาดมันบังคับ ข้าวก็โรงสี ผักผลไม่ก็คนกลางในตลาดควบคุมอีก
ลุงคิม : เอาวะ จะคอย

..?.. : ผู้พันครับ วันนี้ผมโทรมา ผมจะขอลิขสิทธิ์ใช้คำว่า อินทรีย์นำ เคมีวิทยาศาสตร์เสริม ผมจะเขียนป้ายไว้หน้าบ้าน ที่ทำการรวมกลุ่มน่ะครับ
ลุงคิม : ไม่มีปัญหา ไม่มีลิขสิทธิ์อยู่แล้ว ว่าแต่ คุณมีความเข้าใจกับหลักการทำเกษตรแบบนี้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นแหละ เพราะถ้าใครเอาไปทำแล้วผิดหลักการธรรมชาติ มันไม่ได้ผล เขาจะว่าเอาได้นะ

..?.. : คงไม่มีปัญหาหรอกครับ
ลุงคิม : คืองี้ ผมอยากจะบอกคุณว่า ....
ข้อที่ 1 : คำว่า อินทรีย์ชีวภาพนำ-เคมีวิทยาศาสตร์เสริม น่ะ เป็นคำดั้งเดิม ตั้งแต่เริ่มจับงานนี้ใหม่ๆ กว่า 10 ปีมาแล้ว วันนี้มันพัฒนาเป็นคำว่า อินทรีย์นำ-เคมีเสริม-ตามความเหมาะสม แล้วก็มีเครื่องหมาย ... “?” ... ต่อท้ายอีกด้วย ความหมายก็คือ บางพืชบางครั้งต้อง “อินทรีย์นำ-เคมีเสริม” กับบางพืชบางครั้งต้อง “เคมีนำ-อินทรีย์เสริม” แม้ แต่พืชเดียวกันแต่ต่างปัจจัยพื้นฐานกัน ระหว่างตัวนำกับตัวเสริม ก็อาจจะต่างกันด้วย .... พืชเดียวกัน เช่น มะเขือกินผล ทุเรียนก็กินผล เหมือนกัน มะเขือใช้อินทรีย์นำ-เคมีเสริมได้ แต่ทุเรียนต้องใช้ เคมีนำ-อินทรีย์เสริม นี่ไง ตามความเหมาะสมของมะเขือ ตามความเหมาะสมของทุเรียน ....

ข้อที่สอง : แม้แต่มะเขือพันธุ์เดียวกันแท้ๆ ก็ไม่เหมือนกัน มะเขือหน้าหนาวเชียงรายกับมะเขือหน้าหนาวนราธิวาส ต่อทุเรียนก็มีความต่าง ทุเรียนอายุต้น 5 ปี กับทุเรียนอายุต้น 50 ปี ทั้งๆที่เป็นทุเรียนเหมือน กันแท้ๆ อยู่ในสวนเดียวกันด้วย ยังต้องบำรุงต่างกันเลย .... ถึงจุดนี้พอมองภาพออกไหม ?


..?.. : ออกครับ ผู้พันว่าต่อครับ....
ลุงคิม : เครื่องหมาย .. “?”.. ที่ต่อท้ายคำว่า ตามความเหมาะสมน่ะ แท้
จริงหมายถึง “ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก” นั่นก็คือ ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณห
ภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธ์-โรค ที่มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก เราจะต้องจัดการหรือปรับแก้ปัจจัยพวกนี้ให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของพืชนั้นๆ

..?.. : ครับผู้พัน....
ลุงคิม : พวกเราหลายคนออกไปส่งเสริมเกษตรกรให้ทำเกษตรแบบอินทรีย์ มีทั้งอินทรีย์เพียวๆ ไม่มีเคมีเลย กับอินทรีย์-เคมีผสมกัน แต่ถ้าทำไม่ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของพืช ผลผลิตที่ออกมาเลยตกเกรด ตลาดไม่เอา หรือไม่ก็ไม่ได้ราคา กลายเป็นความล้มเหลวไป .... เพราะฉะนั้น ระหว่างอินทรีย์กับเคมี ต้องถูกต้องเหมาะสม บนพื้นฐาน 6 ปัจจัยพื้นฐานที่ว่า อย่างแท้จริง .... ตัวอย่างนาข้าว อินทรีย์นำ เคมีเสริม ตามความเหมาะสม ของ นาปี-นาปรัง-ข้าวลูกผสม-ข้าวพื้นเมือง- หน้าหนาว-หน้าฝน-หน้าแล้ง-น้ำมาก-น้ำน้อย กับอีกหลายๆปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับต้นข้าว ที่ต้องเหมาะสมตามธรรมชาติของต้นข้าว จึงจะได้ผล

..?.. : ถ้างั้น ผมต้องแยกพืชแต่ละชนิด กับแต่ละปัจจัยพื้นฐาน ใช่ไหมครับ ?
ลุงคิม : ถูกต้อง เป๊ะเลย ไม่งั้นจะกลายเป็น อินทรีย์ตกขอบ-เคมีบ้าเลือด งานนี้คนส่งเสริมจะเสียคนเอานะ .... หลักการคิดก็คือ ต้องดูปัจจัยทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับพืชโดยตรงที่ปลูกก่อน แล้วถึงมาดูพืชทีหลัง .... เคยมีนะ ทุเรียนอายุต้น 50 ปี ลูกเต็มต้น ให้ปุ๋ยทางใบตามคำแนะนำทุกประการ ทางดินให้แต่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเลย ผลผลิตรุ่นนั้นดี ดีมากๆด้วย แต่พอเก็บผลผลิตหมด สภาพต้นโทรมมาก ทำท่าจะตายเอาแน่ะ

..?.. : เป็นเพราะอะไรครับ ?
ลุงคิม : เพราะสารอาหาร คือ ปุ๋ยไม่พอน่ะซี ก็เขาไม่ได้ใส่ปุ๋ยทางดินเพิ่มเลย ให้แต่น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงอย่างเดียวเพียวๆ ถามว่า ทำไมไม่ใส่ปุ๋ยทางดินเพิ่ม เขาตอบหน้าตาเฉย ก็ลุงคิมบอกไม่ต้องใส่ปุ๋ยแม้แต่แหมะเดียวไงล่ะ เราก็ว่า โถ โถ โถ นั่นมันมะเขือไม่ใช่ทุเรียน เอามาเปรียบเทียบกันได้ยังไง มะเขือน่ะ อินทรีย์นำ-เคมีเสริม ได้ เพราะมะเขือใช้สารอาหารปุ๋ยเคมีเท่าที่มีในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงได้ แต่ทุเรียนต้อง เคมีนำ-อินทรีย์เสริม เพราะ ฉะนั้นต้องเพิ่มสารอาหารปุ๋ยเคมีทางดินลงไปด้วย เพิ่มมากเพิ่มน้อย ขั้นอยู่กับสภาพต้น ทุเรียนอายุต้น 50 ปี สูงขนาดเสาไฟฟ้า ลูกเต็มต้น ก็ต้องให้สารอาหารมากขึ้นใช้ไหม ?

..?.. : ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับผู้พัน
ลุงคิม : ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก .... อ่าน LINE ธรรมชาติให้ออก แล้วทำแบบให้พืชเป็นศูนย์กลาง เรียกว่า ปลูกพืชตามใจพืช ไม่ใช่ตามใจคน อย่าใช้แค่ความรู้สึก คิดว่าต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้เสมอ แต่ต้องใช้หลักวิชาการอย่างมีเหตุมีผล อย่าเอาชนะธรรมชาติ อย่าฝืนธรรมชาติ แต่ขอให้ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ให้ธรรมชาติมีความเหมาะสมมากยิ่งๆขึ้นเท่านั้น

..?.. : งานนี้ผมคงต้องเรียนรู้อีกเยอะนะครับ
ลุงคิม : แน่นอน เพราะการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งเรียนยิ่งไม่รู้ เพราะสิ่งไม่รู้จะออกมาให้เรียนเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเอาแค่ รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล ตามที่สุนทรภู่บอกก็ได้ .... เรียนเรื่องพืช แยกอินทรีย์กับเคมีให้ออกจากกันก่อน แล้วค่อยเอามารวมกันทีหลัง อย่างที่บอก อิน ทรีย์นำ-เคมีเสริม....เคมีนำ-อินทรีย์เสริม ไงล่ะ

..?.. : ครับผู้พัน
ลุงคิม : อย่าเร่ง อย่ารีบ เกษตรไม่มีคันเร่ง ไม่มีโวลลุ่ม อย่าเล็งผลเลิศ มันเหมือนแสงสว่างปากถ้ำ ค่อยเป็นค่อยไป เดี๋ยวดีเอง .... ปัญหามีให้แก้ ไม่ใช่มีให้กลุ้ม สองคนหลายๆคนเอาปัญหามากองรวมกัน แล้วร่วมกันขบคิดแก้ปัญหา อย่ากะรวยคนเดียว อย่าเก่งคนเดียว แต่ถ้ากะรวยด้วยกันจะรวยทุกคน กะเก่งด้วยกันจะเก่งทุกคน

..?.. : ครับผู้พัน
ลุงคิม : เอาเถอะ ใจเย็นๆ วันนี้ไม่ใช่แค่นิยาม "อินทรีย์นำ เคมีเสริม หรือ เคมีนำ อินทรีย์เสริม" เท่านี้ ยังมีเรื่องของเหตุและผลว่าด้วยสมการ .... "สมการปุ๋ยเคมี-สมการปุ๋ยอินทรีย์" ก็มีส่วนอีกด้วย

..?.. : ครับผู้พัน สมการ ผมเริ่มเห็นทางแล้ว
ลุงคิม : ลองดู เกาะกลุ่มดีๆ มีปัญหาก็โทรมาเล่าสู่กันฟัง ลุงคิมจะได้เก่งด้วย....O.K. มั้ย

..?.. : O.K. ครับ ....ขอบคุณครับ
ลุงคิม : THANK YOU


---------------------------------------------------------------------------------


ปุ๋ยอินทรีย์ ไบโอ ซัมมิต (BIO SUMMIT)

วัสดุส่วนผสม :
- เศษซากพืชแห้งทุกชนิดจากแปลงเกษตร (ปลูก) จากธรรมชาติ (เกิดเอง) ....บดหยาบผสมคลุกให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

- พืชเกิดเอง สารอาหารธรรมชาติ ครบ/มาก พืชปลูก เช่น นาข้าว ได้ข้าวเปลือก 1 เกวียน ในฟางมีปุ๋ย 18 กก. ( อ้างอิง : จุฬาลงกรณ์ฯ ) ... เศษซากพืชตระกูลถั่วมีจุลินทรีย์คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า.

- ใบพืชแห้งที่มีไนโตรเจนสูง (ใบก้ามปู ใบพืชตระกูลถั่ว) .... แหนแดง มีไนโตรเจนมาก ( อ้างอิง : ม.สุรนารี ) .... ใบพืชแห้งที่มีฟอสฟอรัส โปแตสเซียม สูง (ใบมะขาม)

- มูลสัตว์ (สี่เท้า/ปีก) ทุกชนิดจากฟาร์ม (เลี้ยงโรงเรือน) สดใหม่ จากธรรมชาติ (เลี้ยงปล่อย) บดละเอียด ผสมคลุกให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

- เศษซากสัตว์ (เนื้อ/หนัง/ขน/กระดูก/เลือด/เครื่องใน/ขี้เพี้ย/ปัสสาวะ) สดใหม่ ทุกชนิดจากโรงฆ่าสัตว์, ครัว เรือน ร้านอาหาร, อาหารสัตว์ทำมาจาก กุ้งหอยปูปลาทะเล บดละเอียด/แห้ง

- เศษอาหาร (คน/สัตว์, ปรุง/ยังไม่ได้ปรุง, กินแล้ว/ยังไม่ได้กิน) สดใหม่ จากบ้านเรือน ภัตตาคาร โรงงาน

- จุลินทรีย์ (จาวปลวก หน่อกล้วย นมเปรี้ยว พด.)
- น้ำหมักชีวภาพ (มีสารอาหารพืช จุลินทรีย์ สารอาหารสำปรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น)
- แกลบดิบใหม่ (มีรำ) .... รำละเอียด คือ ตัวเร่งจุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์แห้งที่ดีที่สุด

วิธีทำ :
ส่วนผสม .... “เศษซากพืช : มูลสัตว์ : เศษซากสัตว์ : เศษอาหาร” อัตรา 20 : 5 : 1 : 1 : (โดย ประมาณตามความเหมาะสม) โรยทับด้วยจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรจากท้องตลาด ยิ่งมากยี่ห้อยิ่งดี เพื่อเอาความหลากหลาย ผสมคลุก เคล้าให้เข้ากันดี

- ระหว่างคลุกผสม พรมด้วยน้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง (พร้อมใช้แล้ว) ให้ได้ความชื้น 50% แล้วทำกอง กดแน่นพอประมาณ ปิดคลุมด้วยพลาสติกเพื่ออบให้เกิดความร้อน-จุลินทรีย์พื้นฐานเริ่มเกิดเมื่ออุณหภูมิ 40-45 องศา, ไตรโคเดอร์ม่า เริ่มเกิด 60 องศา (ต้องการอุณหภูมิสูงสุดในบรรดาจุลินทรีย์ด้วยกัน), อุณหภูมิ 70 องศา จุลินทรีย์ทุกชนิดตาย

- ระหว่างอบ ร้อนจนเกิดควัน ให้พลิกกลับกองเพื่อระบายความร้อน แล้วทำกองกดแน่นอนประมาณ ปิดกองด้วยพลาสติก อบให้เกิดความร้อนต่อ.... การเกิดควันในกอง เกิดจากกระบวนการจุลินทรีย์ ถือเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า การหมักดี ถูกต้อง


** ร้อนแล้วกลับกอง ร้อนแล้วกลับกอง ทำซ้ำ 3-4 รอบ หรือจนกว่าจะไม่ร้อน มือล้วงในกองรู้สึกเย็น นั่นคือปุ๋ยอินทรีย์ “ไซลิด ซัมมิท” พร้อมใช้


ปุ๋ยอินทรีย์ ไบโอ โซลิด
ปุ๋ยอินทรีย์ BIOSOLID ทำในออสเตรเลีย ใช้ในออสเตรเลีย ชนิด ผง/แห้ง/สีดำสนิท/ไม่มีกลิ่น/มีสารอาหารพืช .... ทำมาจาก

1. มูลสัตว์ทุกชนิดจากฟาร์ม (วัวควายไก่), จากธรรมชาติ (ค้างคาว นกทะเล)
2. เศษซากสัตว์ทุกชนิดจากโรงฆ่าสัตว์, ครัวเรือน, โรงงานอุสาหกรรมอาหาร, กองขยะ
3. เศษซากพืชทุกชนิดจาก แปลง, ครัวเรือน, โรงงานอุสาหกรรมอาหาร, กองขยะ
4. เศษอาหาร คน/สัตว์ จาก บ้านเรือน, ภัตตาคาร, โรงงานอุสาหกรรมอาหาร, กองขยะ
5. ของเสียจากบ่อบำบัดน้ำเสีย, ท่อระบายน้ำเสียจาก ครัวเรือน/โรงงาน/ฟาร์ม,

วิธีทำ :
- บดละเอียดทุกอย่าง (เหลว/แห้ง-ชิ้นเล็กชิ้นใหญ่) ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
- ให้ความร้อน 1,400 องศา ซ. เพื่อกำจัดจุลินทรีย์ทุกชนิด และลบล้างกลิ่นเดิม

วิธีใช้ :
- พืชสวนครัว ไม้ดอก ไม้กระถาง : หว่านลงพื้น ไถพรวน คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้ง
- ไม้ผล : หว่านโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม

หมายเหตุ :
- ไบโอ โซลิด พร้อมใช้ จากโรงงาน ไม่มีจุลินทรีย์ ไม่มีปุ๋ยเคมี
- เมื่อใช้งาน ได้รับ น้ำ/ความชื้น จะส่งเสริมจุลินทรีย์ประจำถิ่นให้เข้ามาอยู่ด้วย แล้วสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่นไปในตัว
( อ้างอิง : สารคดีดิสคัพเวอรี่ )



ปุ๋ยอินทรีย์ ซุปเปอร์
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อทำให้เศษซากพืชจากเศษซากธรรมดา ให้มีสารอาหารสำหรับพืช และจุลินทรีย์ในดิน ทั้งพืชทั่วไปและพืชเฉพาะ

- คำว่า “ซุปเปอร์” หมายถึง คุณภาพ/ประสิทธิภาพ ที่เหนือกว่าเศษซากพืชเดิมธรรมดาๆ

วัสดุเริ่มต้น : เศษซากพืชทุกชนิดที่มี เช่น ฟางในนาข้าว เศษซากต้นพืชไร่ในไร่ ใบไม้คลุมโคนต้นไม้ผล แกลบ ขุยมะพร้าวสับ ทะลายปาล์ม ปุ๋ยคอก ฯลฯ ที่มีอยู่แล้วหรือจัดหามา อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง ซึ่งทุกอย่างเป็นเศษซากพืช หรืออินทรีย์วัตถุ (OGANIC MATTER หรือ OM) ธรรมดาๆ ไม่มีสารอาหารพืช สภาพแห้ง บดป่น

สารอาหารพืชชนิดแห้ง : ยิบซั่ม ปุ๋ยคอก รำ เปลือกถั่วลิสง กากถั่วเหลือง จุลินทรีย์แห้ง เศษอาหารคน เศษอาหารสัตว์ กระดูกป่น ปลาป่น ขี้เค้กโรงงานน้ำตาล

สารอาหารพืชชนิดน้ำ : น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์น้ำ นม ฮอร์โมนธรรมชาติ น้ำมะพร้าว น้ำปุ๋ยคอกหมัก กากน้ำตาล

วิธีทำ :
- วัสดุเริ่มต้นเศษซากพืช อย่างใดอย่างหนึ่ง หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง
- หว่านทับด้วยเศษอาหารพืช “ชนิดแห้ง” อัตราส่วน 10 : 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันดี (รำละเอียดใหม่ช่วยเร่งกระบวนการจุลินทรีย์ได้ดีที่สุด)

- รดด้วยสารอาหารพืช “ชนิดน้ำ” อย่างใดอย่างหนึ่ง หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง คลุกเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง ให้ได้ความชื้น 50%

- ใช้ "น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง" นอกจากจะได้สารอาหารพืชที่มาจาก กุ้งหอยปูปลาทะเล. ไขกระดูก. เลือด. นม. น้ำมะพร้าว. แล้ว ยังมีจุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น ด้วยกรรม วิธีในการหมักอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

- ตรวจสอบความชื้นในกอง 50 % โดยการกำด้วยมือแล้วบีบแรงๆ .... ถ้ามีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้วมือ แสดงว่า ความชื้นมาก แก้ไขโดยเพิ่มอินทรีย์วัตถุ .... ถ้าไม่มีน้ำออกมาตามง่ามนิ้วมือ ให้แบมือ แล้วก้อนปุ๋ยที่กำแตกกระจาย แสดงว่า ความชื้นน้อย แก้ไขโดยเพิ่มน้ำ .... ถ้าไม่มีน้ำออก มาตามง่ามนิ้วมือ แบมือ ปุ๋ยยังจับเป็นก้อนปกติ แสดงว่า ความชื้นพอดี

- ทำกอง อัดแน่น คลุมด้วยพลาสติกเพื่อความร้อน

ทำกองปุ๋ยอินทรีย์ :
- ทำกอง อัดแน่น พลาสติกปิดกอง เก็บชายให้มิดชิด ทิ้งไว้ 15-20 วัน เปิดพลาสติกเช็คอุณหภูมิ

* ถ้าร้อนให้ ปิดพลาสติก พลิกกลับกอง ระบายอุณหภูมิ แล้วหมักต่อ .... ถ้าไม่ร้อน ไม่ต้องพลิกกลับกอง ปล่อยไว้ หมักต่อไปอีก จนกว่าจะร้อน

* ถ้าร้อนให้ กลับกองหมักต่อและกลับกองหมักต่อ ทำซ้ำ 2-3-4 รอบ จนกว่าจะเย็น....เย็นแล้วพร้อมใช้งาน

- อุณหภูมิที่ดี 40-60 องศา .... จุลินทรีย์กลุ่มมีประโยชน์เกิดแล้วขยายพันธุ์ จุลินทรีย์กลุ่มไตรโคเดอร์ม่าเกิดที่อุณหภูมิ 60 องศา

- ถ้าอุณหภูมิในกองหมักสูงเกิน 70 องศา (ควันขึ้น) จุลินทรีย์ทุกกลุ่มตายหมด
- ถ้าอุณหภูมิในกองต่ำกว่า 30 องศา ช่วยให้จุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรีย (เลว/เชื้อโรค) เจริญพัฒนาดี จุลินทรีย์กลุ่มนี้นี่แหละที่เป็นต้นสาเหตุของการเหม็นเน่า

- รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้น ถึงกองเย็นพร้อมใช้ น่าจะประมาณ 3-6 เดือน กลิ่นหอมชัดเจน หรืออาจจะไม่มีกลิ่นเลยก็ได้ นั่นคือได้ “ปุ๋ยอินทรีย์” พร้อมใช้งาน

ทำในแปลง :
- แปลงนาข้าว แปลงพืชไร่ทุกประเภท หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต อาจใช้ผานโรตารี่ตีป่นก่อน เพื่อให้การ เกลี่ย/กระจาย เศษซากง่ายขึ้น จากนั้นปล่อยทิ้งตากแดดให้แห้งสนิท

- แห้งสนิทแล้วไถดะ ขี้ไถใหญ่ๆ ทิ้งไว้ 15-20 วัน ให้ขี้ไถแห้งสนิทและได้กำจัดวัชพืชไปในตัว
-ใส่ “ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้ง” หว่านทั่วแปลง แล้วไถพรวนรอบที่ 1
- ใส่ “ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ” ที่มีสารอาหารและจุลินทรีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง หลายอย่างดีกว่าน้อยกว่า พร้อมกับไถพรวนรอบที่ 2

- บ่มดินทิ้งไว้ 15-20 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพโครงสร้างดิน และสร้างสารอาหารไว้ล่วงหน้าสำหรับที่จะปลูก

หมายเหตุ :
- เหมือนการทำเทือกนา
- ทฤษฎีการหมัก เพื่อเข้าสู่กระบวนการจุลินทรีย์ มี 3 รูปแบบ คือ หมักในถัง/ภาชนะ หมักในกอง และหมักในดิน


ปุ๋ยอินทรีย์ พด.
ดร.พิทยากรฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับขั้นตอนการผลิตจะเหมือนกับการทำปุ๋ยหมักแต่จะพิถีพิถันมากขึ้นกรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดไว้ สำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 100 กก. จะมี...

กากถั่วเหลือง 40 กก.
รำละเอียด 10 กก.
มูลสัตว์ 10 กก.
หินฟอสเฟต 24 กก.
กระดูกป่น 8 กก.
มูลค้างคาว 8 กก.

นำส่วนผสมหมักไว้ประมาณ 9-12 วัน จากนั้นใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 พด.3 พด.9 อย่างละ 1 ซอง สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อในกากน้ำตาล จำนวน 26 ล. คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักต่ออีก 3 วัน จะได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีธาตุอาหาร “ไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส :โปรตัสเซียม” อยู่ในระดับ “1 : 2.5 : 1” ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงประมาณ 200-400 กก. ซึ่งใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป

ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีคุณสมบัติเด่น คือ
- เป็นแหล่งธาตุอาหารหลักที่มีความเพียงพอต่อความต้องการของพืชในการเจริญเติบโต และให้ผลผลิต
- เป็นแหล่งธาตุอาหารรอง และจุลธาตุแก่พืช
- มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน และพืช
- การปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชแบบช้าๆ ทำให้ลดการสูญเสียธาตุอาหาร
- เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี อีกทั้งยังสามารถผลิตใช้เองได้ง่ายด้วย
เกษตรกรที่สนใจการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน 0-2579-2875


ปุ๋ยอินทรีย์แบบเติมอากาศ
ปุ๋ยหมัก : เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์ ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ ประกอบหลักในกิจกรรมของจุลินทรีย์ คุณภาพของปุ๋ยหมักเติมอากาศขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักที่สำคัญ 2 อย่าง คือ วัสดุอินทรีย์ที่เป็นส่วนผสม และระบบเติมอากาศ

วัสดุอินทรีย์ที่เป็นส่วนผสม ส่วนประกอบหลัก คือ วัสดุที่มีไนโตรเจนสูง สำหรับให้ไนโตรเจนกับจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก ได้แก่ มูลไก่แกลบหรือมูลไก่เนื้อ มูลสัตว์เคี้ยวเอื้องและวัสดุที่มีคาร์บอนสูง เช่น เศษพืช ใบไม้ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ทะลายมะพร้าว ใบมะพร้าว ทะลายปาล์มบด เพื่อเป็นแหล่งพลังงาน ของจุลินทรีย์และช่วยลดความแน่นทึบในกองปุ๋ยหมักเพิ่มการระบายอากาศภายในกองปุ๋ย

ระบบเติมอากาศ : ประกอบด้วย ซองหมัก 2 ซอง แต่ละซองกว้าง 2.5 ม. ยาว 8 ม. สูง 1.8 ม. มีความจุ 30 ลบ.ม. หลังคากระเบื้องใยหินลูกฟูก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ม. ลึก 2 ม. ในส่วนของระบบเติมอากาศประกอบด้วยพัดลมอัดอากาศ (Blower) มีตะแกรงเหล็ก เพื่อรองรับวัสดุและช่วยกระจายลม พร้อมติดตั้งระบบ เปิด-ปิด ด้วยนาฬิกาตั้งเวลาอัตโนมัติ วันละ 6 ครั้ง โดยเปิดครั้งละ 1 ชั่วโมง และปิดครั้งละ 3 ชั่วโมง

วิธีการผลิต : ชั่งส่วนผสมตามสัดส่วน 3 : 3 : 1 คือ มูลไก่แกลบอย่างเดียว หรือผสมมูลไก่ 150 กก. มูลสัตว์เคี้ยวเอื้อง 150 กก. และฟางข้าว ทะลายปาล์มบด หรือเศษพืช 50 กก.จากนั้นเติมน้ำประมาณ 60% โดยน้ำหนัก หรือเติมน้ำให้เปียกชุ่มจนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ และเมื่อใช้นิ้วกดก็จะแตกได้ง่าย แล้วจึงนำไปใส่ในซองหมักจนเต็มเสมอขอบซองหมัก โดยไม่ต้องย่ำให้แน่น เพื่อให้วัสดุอินทรีย์มีช่องว่างให้อากาศกระจายได้อย่างทั่วถึง จากนั้น เปิด-ปิด ระบบเติมอากาศด้วยนาฬิกาอัตโนมัติ และเติมน้ำทุกๆ 7 วัน โดยการติดสปริงเกอร์หรือพ่นน้ำด้านบนกองปุ๋ยให้ชุ่มเพื่อควบคุมความชื้น เมื่อครบ 30 วัน นำปุ๋ยออกจากซองหมักระบบเติมอากาศ มากระจายเป็นกองเล็กๆ กว้าง 1.5 ม. สูง 50 ซม. โดยมีความยาวตามขนาดของพื้นที่ เพื่อรอให้ปุ๋ยสุกหรือย่อยสลายสมบูรณ์ ประมาณ 30-45 วัน ก่อนตรวจสอบการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้วจึงนำไปใช้ในการปลูกพืชต่อไป

http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n16/v_3-apr/korkui.html


ปุ๋ยคอก ซุปเปอร์
หลักการและเหตุผล :
- ปุ๋ยคอก หมายถึง สิ่งที่สิ่งมีชีวิตขับถ่ายออกมาจากร่างกาย ทั้งที่ขับถ่ายออกมาตามปกติ และออกมาด้วยวิธีการอื่น

- สารในปุ๋ยคอก คือ สารอาหารพืช เหมือน/ต่าง/มาก/น้อย/ชนิด ขึ้นอยู่กับอาหารที่สัตว์นั้นกิน และระบบย่อยอาหารของสัตว์นั้น เช่น วัวกินหญ้าไล่ทุ่งกับวัวเนื้อวัวนม, สัตว์ 4 เท้า (ลำไส้ยาว) กับสัตว์ปีก (ลำไส้สั้น), ค้างคาวกินผลไม้กับค้างคาวกินแมลง, นกบกกินแมลงกับนกทะเลกินปลาทะเล,

- สารอาหารในมูลสัตว์ใหม่ ไนโตรเจนจะเปลี่ยนรูปทางเคมีเป็น “ไนโตร์ท-ไนเตรท” นอกจากพืชรับไปใช้ไม่ได้แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อต้นพืชนั้นอีกด้วย แนวทางแก้ไข คือ 1.ปล่อยไว้ให้เก่า 2.หว่านบางๆบนหญ้าแห้งรองพื้นหนาๆที่อากาศระบายได้

- คำว่า “ซุปเปอร์” หมายถึง ชนิด/ปริมาณ สารอาหารพืช ทั้งเป็นเคมีชีวะ เคมีสังเคราะห์ และอื่นๆ ที่พืชใช้ประโยชน์ได้ เพิ่มในสาอาหารที่มีในปุ๋ยคอกเดิม

วิธีทำ :
- จากปุ๋ยคอกมูลสัตว์เดิมที่มี บวก/เสริม/เติม/เพิ่ม มูลสัตว์อื่น ที่พิจารณาแล้วว่ามีสารอาหารตัวอื่นที่ปุ๋ยคอกเดิมไม่มี

- จากปุ๋ยคอกมูลสัตว์เดิม+มูลสัตว์อื่นแล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารอาหารประเภท “เคมีชีวะ” ทั้งที่เป็นของเหลว หรือของแห้ง

- จากปุ๋ยคอกมูลสัตว์เดิม+มูลสัตว์+สารประเภท “เคมีชีวะ” แล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก สารอาหาร ประเภท “เคมีสังเคราะห์”

- สำเร็จทุกอย่างแล้ว ทำกอง เก็บต่อนาน 6 เดือน- 1 ปี เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ปรับสภาพโครง สร้าง จึงนำไปใช้งาน


ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ประวัติของปุ๋ยน้ำชีวภาพ :
เรื่องราวของปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพนี้ เกิดขึ้นเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2540 ในขณะที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนคนไทยต้องเดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า จนต้องไปพึ่งพาเจ้าพ่อ ไอเอ็มเอ็ฟ แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้โชคร้ายเสียทีเดียว ท่ามกลางความโชคร้ายก็ได้เกิดความโชคดีขึ้นมา โชคดีที่ว่านั้นคือ คนไทยได้รู้จักวิธีการทำ “ปุ๋ยน้ำชีวภาพ” ใช้เอง

ความเป็นมาของปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือน กรกฏาคม 2540 โดยอาจารย์ภรณ์ ภูมิพันนา ได้เชิญ มร.ฮาน คิว โช ซึ่งต่อไปนี้ผมขอเรียกชื่อท่านง่ายๆว่า มร.โช นายกสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี มาบรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำเกษตรธรรมชาติให้ปลอดภัยจากสารพิษโดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ ตอนที่เชิญท่านมาตอนนั้น เจ้าภาพที่เชิญจัดหาสถานที่จัดอบรมไม่ได้ก็เลย ต้องไปขอใช้ห้องประชุมกรมวิชาการเกษตรจาก ท่านรองชนวน รัตนวราหะ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรในสมัยนั้น เป็นสถานที่จัดอบรม โดยท่านรองฯ ได้ช่วยเป็นธุระในการติดต่อผู้คนให้เข้ามารับฟัง มีเกษตรกรผู้สนใจแนวทางในการทำการ เกษตรธรรมชาติ ข้าราชการ องค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ และผู้ที่สนใจจำนวนหนึ่งเข้ารับการอบรม หลังจากอบรมในวันนั้นแล้ว มร.โช ก็ได้ตระเวนไปบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตพืชแบบเกษตรธรรมชาติโดยใช้จุลินทรีย์ให้แก่ชาวชุมชนราชธานีอโศก ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่ศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีไร้สารพิษและสิ่งแวดล้อม หมู่บ้านราชธานีอโศก ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่าง
วันที่ 2-4 สิงหาคม พ.ศ.2540 เป็นต้น

มร.โช เป็น นายกสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี เป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้าการทำการ เกษตรธรรมชาติมาเป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปี มีเทคนิควิธีการต่างๆที่ใช้ได้ผลอย่างชัดเจน เป็นที่แพร่ หลายและได้รับการยอมรับจากภาครัฐบาลของประเทศเกาหลี สิ่งที่ มร.โช นำมาเปิดเผยในครั้งนั้น ไม่ใช่ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพเพียงอย่างเดียว หากแต่นำเทคนิควิธีการหลายรูปแบบรวมทั้งสิ้น 7 รูปแบบ ในการผลิตพืชโดยวิธีการทางธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีเข้ามาเผยแพร่ด้วย นับเป็นการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง เทคนิคที่นำมาถ่ายทอดในครั้งนั้นได้แก่

1. จุลินทรีย์ในพื้นที่ (lndigenous Micro-organism : IMO)
2. น้ำหวานหมักจากพืชสดสีเขียว (Fermented Plant Juice : FPJ)
3. น้ำหวานหมักจากผลไม้ (Fermented Fruit Juice : FFJ)
4. น้ำหวานหมักจากเศษปลาสด (Fish Amino Acid : FAA)
5. ซีรั่มของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (Lactic Acid Bacteria Serum:LAS)
6. น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวกล้อง (Brown Rice Vinegar : BRV)

จากคำบรรยายในหัวข้อเรื่องความรู้เรื่องจุลินทรีย์ในพื้นที่และการนำไปใช้ประโยชน์ในระบบเกษตรธรรมชาติ มร.โช อธิบายว่า ในเรื่องเกษตรธรรมชาตินี้ไม่สามารถที่จะยกมากล่าวเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เนื่องมาจากการทำเกษตรธรรมชาติเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันของสิ่งต่างๆในระบบนิเวศน์ ซึ่งมนุษย์จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดการให้แต่ละสิ่งนั้นสัมพันธ์กันและดำเนินไปในทางที่ก่อให้เกิดผล ผลิตสูงสุด โดยไม่ไปตัดหรือทำลายส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ มร.โช กล่าว ถึงสิ่งสำคัญ 3 ประการในการที่จะช่วยเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ได้แก่

การสร้างดินโดยจุลินทรีย์
ธาตุอาหารของพืชในดิน และ
ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์
ซึ่งในการทำเกษตรธรรมชาติ จุลินทรีย์ จะเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ โดยมนุษย์จะมีหน้าที่ทำให้จุลินทรีย์มีความแข็งแรงและมีมากเพียงพอที่จะดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้

........... ฯลฯ .............

- ประวัติศาสตร์น้ำหมักชีวภาพ กำเนิดขึ้นมาในโลกตั้งแต่ยุคฟาห์โร อียิปต์ จากหลักฐานภาพสลักหินในปิรามิด ต่อมาถึงยุคจิ๋นซีฮ่องเต้ ผู้สร้าง กำแพงเมืองจีน ล่าสุดคือ อเมริกา ทำน้ำหมักเมื่อ 60-70 ปีที่แล้วนี้เอง แต่ประเทศไทย ประเทศเกษตรกรรมแท้ๆเพิ่งตื่น ตอนนี้ยังงัวเงียๆ ทำผิดใช้ถูก-ทำถูกใช้ผิด มั่วกันไปหมด เหตุเพราะ “ปุ๋ยเคมี” มันครอบงำเอาไว้ เรียกว่าง่ายๆก็คือ อยู่ในกระสอบปุ๋ยเคมีนั่นเอง

- ปุ๋ยน้ำชีวภาพ “ทำ” แบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน-มาตรฐานโรงงาน-มีหลักวิชาการรองรับ .... “ใช้” ภายไต้กรอบ สมการปุ๋ย อินทรีย์-เคมี ก็น่าจะ O.K. แล้วมั้ง


น้ำหมักชีวภาพ ศาสตร์ใหม่ เพิ่งเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2540 นี้เอง
ลุงคิมเป็นคนแรกคนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนของประเทศไทย ที่ สนใจ/ค้นคว้า/คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ
แล้วขยายผลต่อ โดยเริ่มต้นด้วยข้อมูลจากครูคนแรก

..................................................................................................................
ดร.อรรถ บุญนิธี สอนวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ .................. จากพืชสด
อ.สำรวล ดอกไม้หอม สอนวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ ............ จากหอยเชอรี่
ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ สอนวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ ............. จากปลาทะเล

…………………..........................................................................................................






.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/02/2024 11:27 am, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/01/2024 11:43 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
น้ำหมักชีวภาพ สูตรกล้อมแกล้ม
วัสดุส่วนผสม :
1. พืชผักสด (5 กก.) : ผักสวนครัว ได้แก่ ผักกาด. ผักคะน้า. ผักกวางตุ้ง. ยอดผักบุ้ง. ยอดตำลึง. ยอดกระทกรก. ยอดฟักทอง. ใบฟักทองแก่จัด. ผักปรัง. หน่อไม้ฝรั่ง. ข้าวโพดหวาน. ข้าวน้ำนม. ต้น หอม. ผักชี. กุยช่าย ฯลฯ

**ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย อย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลากหลาย จำนวน 2.5 กก.

**วัชพืช ได้แก่ ผักขม. ผักปอด. สาหร่าย. แหนแดง ฯลฯ
**ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลากหลาย

หมายเหตุ :
- ไม่ควรใช้พืชที่ใช้สำหรับทำสารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู พืช เพราะสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรจะเป็นตัวยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์

- พืชที่เกิดหรือขึ้นเองตามธรรมชาติในฤดูกาลและอยู่มานานดีกว่าพืชที่ตั้งใจปลูก
- สภาพสด ใหม่ สมบูรณ์ โตเต็มที่ อวบน้ำ ไม่มีโรคและแมลง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
- เก็บตอนเช้าตรู่ (ตี 5) มีน้ำค้างเกาะ ดีกว่าเก็บตอนสายแดดออกจนใบ/ต้นแห้งแล้ว
- เก็บขึ้นมาแล้วบดละเอียดทันทีไม่ควรทิ้งไว้นาน
- เก็บแบบถอนทั้งต้น (ยอดถึงราก) ไม่ต้องล้างเพียงแต่สลัดดินติดรากออกบ้างเท่านั้น
- ใช้มากชนิดดีกว่าน้อยชนิด

2. ผลสดดิบ+เมล็ด (5 กก.) : ผลไม้กินได้มีเมล็ดมากๆ ทั้งอ่อนและแก่ ได้แก่ แตงกวา. แตงโม. แตงไทย. แคนตาลูป. มะระ. มะเขือเทศดิบ. ฟักทอง. ฟักเขียว. ถั่วฝัก ยาว. ถั่วลันเตา. ถั่วพู. ตำลึง ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความ หลาก หลาย พืชหัวระยะแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ได้แก่ ไชเท้า. แครอท. เผือก. มันเทศ. มันฝรั่ง. ถั่วเหลือง. ถัวลิสง. หอมหัวใหญ่ ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งต้อง การ คือ ความหลากหลาย

หมายเหตุ :
- ไม่ควรใช้ผลหรือหัวของพืชที่ใช้ทำสารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช เพราะสารออกฤทธิ์ในผลหรือหัวของพืชสมุนไพรจะเป็นตัวยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์

- สภาพสด ใหม่ สมบูรณ์ โตเต็มที่ อวบน้ำ ไม่มีโรคและแมลง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
- เก็บตอนเที่ยงหรือบ่าย เก็บมาแล้วไม่ต้องล้างน้ำให้บดละเอียดทันที
- ใช้มากชนิดดีกว่าน้อยชนิด

3. ผลสุก + เมล็ด (5 กก.) : ผลไม้รสหวานสนิท ได้แก่ ทุเรียน. มะละกอ. กล้วย. องุ่น. ลิ้นจี่. เงาะ. ลำไย. ขนุน. ฝรั่ง. น้อยหน่า. ตำลึง ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งต้องการ คือ ความหลาก หลาย

** ผลไม้รสเปรี้ยว ได้แก่ มะเขือเทศสุก. ส้ม. สับปะรด. มะปรางเปรี้ยว. มะขามเปรี้ยว ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งที่ต้องการ คือ ความหลากหลาย

หมายเหตุ :
- ไม่ควรใช้ผลไม้ที่ใช้ทำสารสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช เพราะสารออกฤทธิ์ในผลสมุน ไพรจะเป็นตัวยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์

- ใช้ผลไม้แก่จัดเริ่มสุกงอม มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ทั้งเปลือก เนื้อ และเมล็ด
- สภาพสมบูรณ์ โตเต็มที่ ไม่มีโรคและแมลง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน
- ผลไม้ป่าหรือพันธุ์พื้นเมือง เกิดและให้ผลผลิตเองตามธรรมชาติดีกว่าผลไม้จากต้นที่ปลูก
- ได้มาแล้วบดละเอียดทันที ไม่ต้องล้าง ใช้หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง
- ชาวสวนองุ่นในยุโรปนิยมเก็บผลองุ่นช่วงเดือนหงายหรือขึ้น 15 ค่ำ เพราะทำให้ได้น้ำองุ่นสำหรับทำเหล้าองุ่นที่มีคุณภาพดีกว่าองุ่นที่เก็บในช่วงอื่น

4. ซากสัตว์ (5 กก.) : สัตว์ทั่วไป ได้แก่ ปลา. เครื่องใน. เลือด. เมือก. รก. น้ำเชื้อ. ไข่ ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ๆละเท่าๆ กัน สิ่งต้อง
การ คือ ความหลากหลาย ** สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ เปลือกกุ้ง. กระ
ดองปู. ปูนิ่ม. กิ้งกือ. ไส้ เดือน. ไรแดง. หอย พร้อมเปลือก. หนอน. แมลง. ปลิงทะเล/น้ำจืด. แมง กะพรุน. เปลือกกั้ง. เคย. อาทิเมีย. ลิ้นทะเล ฯลฯ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่าๆ กัน สิ่งที่ต้อง การ คือ ความหลากหลาย

หมายเหตุ :
- สภาพสด ใหม่ สมบูรณ์ โตเต็มที่ ไม่มีโรค
- สัตว์ในแหล่งธรรมชาติดีกว่าสัตว์ในฟาร์ม
- ใช้หลายอย่างดีกว่าน้อยอย่าง
- ใช้สัตว์มีชีวิตดีกว่าสัตว์ที่ตายแล้ว
- ไม่ต้องล้าง บดละเอียดแล้วนำมาหมักทันที

5. วัสดุส่วนผสมเสริมจากอาหารคน : ได้แก่ นมกล่อง. ผงชูรส. นมสัตว์. น้ำมันพืช. น้ำมันตับปลา. น้ำผึ้ง. น้ำสลัด. กระทิงแดง/ลิโพ. วิตามิน. กลูโคส, อาหารเสริม. อาหารในครัว, ฯลฯ

** จากแหล่งอื่นๆ ได้แก่ น้ำมะพร้าวอ่อน. น้ำตาลสดจากมะพร้าว/ตาล/อ้อย. เมล็ดพืชเริ่มงอก. อาหารสัตว์. ถั่วเน่า. สาหร่ายทะเล/น้ำจืด. สาหร่ายน้ำเงินแกมเขียว. ขี้เพี้ยในไส้อ่อน ฯลฯ เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ๆละเท่าๆ กัน โดยพิจารณาธาตุอาหารพืชหรือจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในวัสดุส่วนผสมแต่ละชนิดเป็นหลัก และสิ่งที่ต้องการ คือ ความหลากหลายของธาตุอาหารพืช

6. จุลินทรีย์จากอาหารคน : ได้แก่ ยาคูลท์. โยเกิร์ต. นมเปรี้ยว. แป้งข้าวหมาก. ยีสต์ทำขนมปัง ฯลฯ

** จากพืช ได้แก่ เปลือกติดตาสับปะรด. เหง้าปรง. วัสดุเพาะเห็ดถุง. ฟางเห็ดฟาง. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์จาวปลวก, จุลินทรีย์ อีแอบ.

** จุลินทรีย์ประจำถิ่น ฯลฯ จากห้องปฏิบัติการ ได้แก่ พด.1-7 จุลินทรีย์ทั่วไป (ทำเอง/ท้องตลาด-แห้ง/น้ำ) เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ๆละเท่าๆ กัน สิ่งที่ต้องการ คือ ความหลากหลายของจุลินทรีย์

หมายเหตุ :
- สภาพสด ใหม่ ไม่มีเชื้อโรค
- จุลินทรีย์จากห้องปฏิบัติการดีกว่าจุลินทรีย์ธรรมชาติ หรือควรใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน
- อย่างไหนมาก่อนใส่หมักลงไปก่อน อย่างไหนได้มาทีหลังใส่หมักตามทีหลัง
- แม้จะเป็นจุลินทรีย์ต่างชนิดกัน แต่เป็นจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเหมือนกันสามารถใช้ร่วมกันได้
- เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งแต่ถ้าใช้หลายอย่างได้จะดีกว่าใช้น้อยอย่าง

วิธีทำ :
1. บด “วัสดุส่วนผสมหลัก” ตามข้อ 1-4 ที่เป็นของแข็งทั้งหมด ทีละอย่างหรือพร้อมกันทุกอย่างก็ได้ บดหลายๆ รอบให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้ น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใช้ทั้งน้ำและกาก ได้มาแล้วบรรจุลงถังที่ไม่ใช่โลหะ

2. นำ “วัสดุส่วนผสมเสริม” ที่เป็นของแข็งบดละเอียด อัตรา 1-5% ของปริมาณวัสดุส่วนผสมหลัก ใส่ตามลงไป

3. ใส่ “กากน้ำตาล” พอท่วม .... เพื่อประกันความผิดพลาดที่อาจจะใส่กากน้ำตาลมากเกินไปหรือน้อยเกินไป แนะนำให้ตวง “วัสดุส่วนผสม” กับ “กากน้ำตาล” ให้ได้ปริมาณอัตราส่วน 10 : 1 เสียก่อนจึงใส่ลงถัง

4. ใส่ “วัสดุส่วนผสมเสริม” ที่เป็นน้ำไม่จำกัดปริมาณเพื่อให้ได้ส่วนผสมเหลวมากๆ
5. ใส่ “จุลินทรีย์” มากหรือน้อยไม่จำกัด
6. คนเคล้าให้เข้ากันดี ติด “ปั๊มออกซิเจน” เพื่อเติมอากาศให้แก่จุลินทรีย์ตลอดเวลา
7. ปิดฝาภาชนะหมักพอหลวม เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง
8. ระวังอย่าให้แมลงตอมเพราะจะทำให้เกิดหนอนและอย่าให้มีวัสดุแปลกปลอมลงไป
9. มีของหนักกดวัสดุส่วนผสมให้จมตลอดเวลา
10. หมั่นคนบ่อยๆ เพื่อป้องกันวัสดุส่วนผสมนอนก้น

หมายเหตุ :
- ควบคุมอัตราส่วนของวัสดุส่วนผสมทุกอย่างให้ได้เท่าๆ กัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารเท่าๆ กัน
- วัสดุส่วนผสมที่ได้มาไม่พร้อมกัน โดยได้อย่างไหนมาก่อนให้หมักลงไปก่อนและอย่างไหนได้มาทีหลังให้หมักลงตามหลังนั้น ระยะห่างไม่ควรนานเกิน 1-2 เดือน เพื่อให้กระบวนการย่อยสลายดำเนินไปพร้อมๆ กันซึ่งจะส่งผลให้ได้ธาตุอาหารเท่ากัน

- อัตราส่วนกากน้ำตาลที่ใช้ ถ้าใส่กากน้ำตาลมากเกินอัตรา จะทำให้วัสดุส่วนผสมจับตัวแข็งเป็นก้อน กระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จะชะงัก หรือไม่ย่อยสลายเลย ส่วนผสมต่างๆจะไม่เปื่อยยุ่ย หรือเรียกว่า “แช่อิ่ม” นิ่งอยู่อย่างนั้นตราบนานเท่านาน .... แต่ถ้าใส่กากน้ำตาลน้อยจะทำให้วัสดุส่วนผสมบูดเน่า และไม่เปื่อยยุ่ย

- อัตราส่วนกากน้ำตาลที่น้อยเกินไปนอกจากจะทำให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ไม่เจริญพัฒนาแล้วยังทำให้จุลินทรีย์มีโทษเกิดขึ้นอีกด้วย และอัตราส่วนของกากน้ำตาลที่มากเกินก็ทำให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ไม่เจริญพัฒนาและจุลินทรีย์มีโทษเกิดขึ้นได้เช่นกัน

- ในกากน้ำตาลใหม่มีสารเป็นพิษต่อพืช 16 ชนิด เมื่อให้ทางใบต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลา นานๆ จะทำให้ใบลาย ใบมีขนาดเล็กลง และต้นโทรมได้ นอกจากนี้ กากน้ำตาลใหม่ยังเป็นอาหารอย่างดีสำหรับเชื้อรา (เข้าทำลายใบ ดอก ผล ต้น) หลายชนิดอีกด้วย วิธีการดับพิษในกากน้ำตาลทำได้โดยหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพนานข้ามปี เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารพิษนั้นหรือต้มกากน้ำตาลให้เดือดก่อนใช้ในการหมัก .... หากใช้ทั้ง 2 วิธีนี้แล้วยังเกิดปัญหาแก่ต้นพืชอีกก็ต้องยกเลิกการให้ทางใบแล้วให้ทางรากอย่างเดียว

- ถ้าไม่มีกากน้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลอื่นๆ เช่น น้ำตาลทรายแดง. น้ำตาลทรายขาว. น้ำตาลปี๊บ. น้ำอ้อย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างๆ ละเท่ากันแทนได้ แต่ต้องใช้ในอัตรามากกว่ากาก น้ำตาล 7 เท่าจึงจะได้ความหวานเข้มข้นเท่ากากน้ำตาล .... การนำน้ำตาลอื่นๆ มาเคี่ยวจนเป็นน้ำ เชื่อมเพื่อเพิ่มความหวานจนหวานจัดแล้วใช้แทนกากน้ำตาลได้เช่นกัน

- ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพไม่ควรใช้กลูโคส (ผงหรือน้ำ) เนื่องจากมีความหวานน้อยกว่ากากน้ำตาล จะทำให้เกิดการบูดเน่าแล้วแก้ไขไม่ได้

- ใส่วัสดุส่วนผสม ½ หรือ ¾ ของความจุภาชนะหมัก เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับอากาศหมุนเวียนดี และสะดวกต่อการคน

- หมักในภาชนะขนาดเล็ก ปากกว้าง จะช่วยให้กระบวนการหมักดีกว่าหมักในภาชนะขนาดใหญ่ปากแคบ

- วัสดุส่วนผสมที่ผ่านการบดละเอียดเหลวหรือเหลวมากๆ กระบวนการหมักจะดี มีประสิทธิ ภาพและใช้การได้เร็วกว่าวัสดุส่วนผสมชิ้นหยาบๆ และส่วนผสมที่ข้นมากๆ

- ปุ๋ยน้ำชีวภาพกล้อมแกล้มไม่มีการใส่ “น้ำเปล่า” เด็ดขาด เพราะในน้ำเปล่าไม่มีธาตุอาหารพืช หากต้อง การให้วัสดุส่วนผสมเหลวมากๆ ให้ใส่วัสดุส่วนผสมเสริมที่เป็นน้ำ เช่น น้ำมะพร้าว นมสด หรือจากพืชอวบน้ำ เช่น แตงโม แตงกวา ไชเท้า ฟัก ให้มากขึ้นหรือจนกว่าจะเหลวตามต้องการ

- ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีหรือฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ใดๆ ในระหว่างการหมักทั้งสิ้น เพราะจะทำให้ได้ธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยเคมีนั้นเพียงสูตรเดียว หรือได้ฮอร์โมนพืชเพียงชนิดเดียว แต่ให้ใส่ก่อนใช้งานจริง ซึ่งจะทำให้สามารถเลือกสูตรปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนพืชได้ตรงตามความต้องการของพืช

- วัสดุส่วนผสมที่อายุการหมักสั้น (น้อยกว่า 6 เดือน) มีความเป็นกรดจัดมาก (2.0-3.0) หมักนาน 6 เดือน -1 ปี มีความเป็นกรด (4.0-5.0) และหมักนานข้ามปีมีความเป็นกรดอ่อนๆ (5.0-6.0) โดยประมาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุส่วนผสม โดยส่วนผสมที่เป็นซากสัตว์จะเป็นกรดมากกว่าวัสดุส่วนผสมที่เป็นพืช

- ธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยน้ำชีวภาพ....
อายุหมักนาน 3 เดือน ............. ได้ธาตุอาหารหลัก
อายุการหมักนาน 6 เดือน ......... ได้ธาตุอาหารรอง
อายุการหมักนาน 9 เดือน ......... ได้ธาตุอาหารเสริม
อายุหมักนาน 12 เดือน ........... ได้ฮอร์โมน และอื่นๆ

วัสดุส่วนผสมที่หมักกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลอื่นๆ ด้วยระยะเวลาการหมักเพียง 1 สัปดาห์ -1 เดือน นั้นจุลินทรีย์ยังไม่สามารถแปรสภาพ (ย่อยสลาย/ENZIME) วัสดุส่วนผสมให้ธาตุอาหารพืชออกมาได้ เมื่อนำไปใช้จึงได้เพียงประโยชน์จากกากน้ำตาลหรือตัวเสริมเปล่าๆ เท่านั้นเอง

วิธีเก็บรักษา ปรับปรุง และแก้ไข :
1. เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง ติดปั๊มออกซิเจนเติมอากาศให้จุลินทรีย์ตลอดเวลา ปิดฝาพอหลวม คนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการนอนก้นและป้องกันการจับก้อน ระวังอย่าให้ส่วนผสมลอย

2. อายุหมัก 7 วันแรก ให้ตรวจสอบด้วยการดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยว แสดงว่าอ่อนกากน้ำตาลและจุลินทรีย์ แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล อัตรา ¼ ของที่ใส่ครั้งแรกพร้อมกับเพิ่มจุลินทรีย์และน้ำมะพร้าวลงไปอีก คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้วดำเนินการหมักต่อไปตามปกติ หลังจากนั้น 7 วัน ให้ตรวจสอบอีกครั้ง ถ้ายังมีกลิ่นบูดเปรี้ยวอยู่อีกก็ให้แก้ไขด้วยกากน้ำตาล ¼ ของที่ใส่เติมเพิ่มครั้งก่อนกับใส่จุลินทรีย์และน้ำมะพร้าวอ่อนลงไปอีก ทำอย่างนี้เรื่อยๆ ไปพร้อมกับตรวจสอบทุก 7 วัน ถ้ายังมีกลิ่นบูดเปรี้ยวอยู่ก็ให้แก้ไขด้วยวิธีการเดียวกันจนกว่าจะหายกลิ่นบูดเปรี้ยว และเมื่อหายจากบูดเปรี้ยวแล้วก็จะไม่บูดเปรี้ยวอีก

3. ใช้ถังหมักแบบ “บด-ปั่น” ที่มีมอเตอร์ทดรอบ (เกียร์มอเตอร์) ซึ่งจะทำหน้าที่ทั้งบดและปั่นในเวลาเดียวกันตลอด 24 ชม. หรือตลอดอายุการหมัก อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บดจะย่อยวัสดุส่วนผสมให้ละเอียดเล็กลงไปอีก ส่วนอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ปั่น จะช่วยเติมอากาศแก่จุลินทรีย์ตลอดเวลา เช่นกัน ส่งผลให้กระบวนการหมักดีและเร็วขึ้น

4. ใช้ถังหมักแบบควบคุมอุณหภูมิภายในที่ใจกลางถังและขอบนอกของถังให้คงที่ ณ 40 องศา ซี. สม่ำเสมอตลอดเวลา ในระหว่างการหมักจะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญพัฒนาและขยายพันธุ์ได้ดีมาก

5. ระหว่างการหมักถ้ามีฟองอากาศเกิดขึ้นแสดงว่าดีมีจุลินทรีย์มากและแข็งแรง และถ้ามีฝ้าสีขาวอมเทาเกิดขึ้นที่ผิวหน้าก็แสดงว่าดีเช่นกัน ฝ้าที่เกิดขึ้นคือจุลินทรีย์ที่ตายแล้วให้คนฝ้านั้นลงไปก็จะกลายเป็นอาหารอย่างดีแก่จุลินทรีย์ที่ยังไม่ตายต่อไป

6. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักไว้นานแล้วเกิดอาการ “นิ่ง-ไม่มีฟอง” แต่กลิ่น “หอม-หวาน-ฉุน” ดี ให้ใส่น้ำมะพร้าวอ่อน นมสด หรือวัสดุส่วนผสมเสริม คนเคล้าให้เข้ากันดี ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เคยนิ่งจะเดือดมีฟองเกิดขึ้นมาทันที ช่วยทำให้ได้ประสิทธิภาพในกระบวนการหมักสูงขึ้นไปอีก

7. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ทำไว้นานแล้วด้วยวัสดุส่วนผสมน้อยอย่าง หรือไม่หลากหลายนั้น แก้ไขได้โดยการใส่วัสดุส่วนผสมที่ยังขาดหรือไม่ได้ใส่ตามภายหลัง แล้วหมักต่อไปด้วยวิธีการหมักปกติได้

8. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ทำไว้นานแล้ว วัสดุส่วนผสมจับตัวเป็นก้อนแข็ง หรือบูดเน่า หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แก้ไขได้ด้วยการใส่ กากน้ำตาล จุลินทรีย์ น้ำมะพร้าวอ่อน ตัวเสริม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามความเหมาะสม จากนั้นหมักต่อไปตามปกติแล้วทุกอย่างจะดีขึ้น

9. หนอนในปุ๋ยน้ำชีวภาพเกิดจากไข่ของแมลงที่ลอบเข้ามาวางไว้ ไม่มีผลเสียต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพ หนอนเหล่านี้จะไม่ลอกคราบและไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นแมลงได้ ให้บดละเอียดหนอนลงหมักร่วมไปเลย จะได้ฮอร์โมนไซโตคินนิน และอะมิโนโปรตีน

10. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่น “หอม-หวาน-ฉุน” ชัดเจนอยู่ได้นานนับปีหรือหลายๆ ปี หรือยิ่งหมักนานยิ่งดี

11. ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่หมักจนใช้การได้ดีแล้ว กรองกากออกเหลือแต่น้ำเพื่อนำไปใช้งาน ในน้ำที่กรองออกมานั้นยังมีจุลินทรีย์ เมื่อปิดฝาขวดเก็บไว้นานๆ ขวดจะบวมจนระเบิดได้ ให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในขวดด้วยการใส่ “โซเดียม เมตตะไบร์ ซัลไฟด์ หรือ โปแตสเซียม เมตตะไบร์ ซัลไฟด์” (อย่างใดอย่างหนึ่ง) อัตรา 250 พีพีเอ็ม. หรือ 250 ซีซี./1,000 ล. หรือ 25 ซีซี./100 ล. หรือ 2.5 ซีซี./10 ล. การยับยั้งจุลินทรีย์แบบพลาสเจอร์ไลท์ โดยนำน้ำปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ผ่านการกรองดีแล้ว ใส่ถังยกขึ้นตั้งไฟความร้อน 70-72 องศา ซี. แล้วนำลงกรอกบรรจุขวด ปิดฝาสนิทอย่าให้อากาศเข้าได้ แล้วใส่ลงในถังควบคุมความเย็นจัด (ถังน้ำแข็ง) ทันที เมื่อเก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง
จะทำให้ขวดไม่บวมหรือไม่ระเบิด และอยู่ได้นานนับปี

------------------------------------------------------------------------------
(ขอบคุณครู : ดร.อรรถ บุญนิธี, ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ, อ.สำรวล ดอกไม้หอม, มาซาโอะ ฟูกูโอกะ-ญี่ปุ่น, ดร.โช - เกาหลี

---------------------------------------------------------------------------------

สมการปุ๋ยอินทรีย์น้ำ :
อินทรียวัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด + สารอาหารจุลินทรีย์ผิด+วิธีทำผิด+อุณหภูมิผิด+ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 6

อินทรียวัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด +สารอาหารจุลินทรีย์ผิด + วิธีทำผิด + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล

อินทรียวัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด + สารอาหารจุลินทรีย์ผิด + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล

อินทรียวัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นผิด + สารอาหารจุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล

อินทรียวัตถุผิด + จุลินทรีย์เริ่มต้นถูก + สารอาหารจุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ไม่ได้ผล

อินทรียวัตถุถูก + จุลินทรีย์เริ่มต้นถูก + สารอาหารจุลินทรีย์ถูก + วิธีทำถูก + อุณหภูมิถูก + ระยะเวลาถูก = ได้ผล ยกกำลัง 6

อินทรีย์วัตถุ .......... สดใหม่สมบูรณ์ มีสารอาหารเคมีชีวะมากที่สุด
จุลินทรีย์เริ่มต้น ... จุลินทรีย์เก่าที่ใช้งานมาแล้ว จุลินทรีย์ใหม่ชนิดตรงกับอินทรีย์วัตถุ
สารอาหาร ........... สารรสหวาน มาก/น้อย ตามชนิดของอินทรีย์วัตถุ
วิธีทำ ................... บดละเอียดก่อนหมัก เปิดฝาถัง ระหว่างหมักต้อง ไม่เหม็น/ไม่หนอน
อุณหภูมิ .............. อุณหภูมิห้อง
ระยะเวลา ............ หมักนาน 3 เดือนได้ธาตุหลัก, 6 เดือนได้ธาตุรอง, 9 เดือนได้ธาตุเสริม, ข้ามปีได้ฮอร์โมน
ได้ผล .................. ต้องตรวจในห้อง LAB เท่านั้น

---------------------------------------------------------------------------------

.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/02/2024 10:22 am, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/01/2024 1:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง

INSIDE ระเบิดเถิดเทิง :

..........................................................................................................
สูตรระเบิดเถิดเทิง เรียกว่า "ปุ๋ย-อินทรีย์-ชีวภาพ" ได้เต็มปากเพราะ มีปริมาณปุ๋ย (ธาตุอาหาร ชนิดและปริมาณ) ตามต้องการ, เป็นอินทรีย์เพราะทำมาจากเศษซากสัตว์ล้วนๆ, และเป็นชีวภาพเพราะมีจุลินทรีย์
..........................................................................................................

คุณสมบัติอื่น ได้แก่ ....
* ผ่านการตรวจจากกรมวิชาการเกษตรมาแล้ว 3 ครั้ง
* เป็นอินทรีย์เพราะทำจาก กุ้งหอยปูปลาทะเล เลือด ไขกระดูก ขี้ค้างคาว นม น้ำมะพร้าว
* เป็นอินทรีย์เพราะมีจุลินทรีย์สารพัดชนิด พิสูจน์จากส่วนผสมที่ถูกย่อยสลาย
* ในเลือดมี N P K Fe
* ในไขกระดูกมี N P K Ca S
* ในขี้ค้างคาวมี P K
* ในนมมี P K Ca Mg Zn
* ในน้ำมะพร้าวมี P Ca Zn ไซโคไคนิน กลูโคส


สารอาหารในอินทรีย์วัตถุที่นำมาทำ มีสารอาหาร มาก/น้อย ต่างกัน :
ผักผลไม้ ...................... น้อยสุด หรือน้อยกว่าหอยเชอรี่
หอยเชอรี่ ..................... มากกว่าผักผลไม้ แต่น้อยกว่าปลาน้ำจืด
ปลาน้ำจืด .................... มากกว่าหอยเชอรี่ แต่น้อยกว่าปลาทะเล
ปลาทะเลอย่างเดียว ..... น้อยกว่า ปลากุ้งหอยปูทะเล รวมกัน
หรือ มากสุดไปหาน้อยสุด คือ ปลาทะเลรวม-ปลาทะเลเดี่ยว-ปลาน้ำจืด-หอยเชอรี่-ผักผลไม้
ข้อมูลทางวิชาโภชนาการระบุชัดเจนว่าในปลาทะเลมี แม็กเนเซียม. สังกะสี. โซเดียม ซึ่งในปลาน้ำจืดไม่มี

หมักนานข้ามปี :
หมักนาน 3 เดือน ได้ธาตุหลัก
หมักต่ออีก 3 เดือน ได้ธาตุรอง
หมักต่ออีก 3 เดือน ได้ธาตุเสริม
หมักต่ออีก 3 เดือน ได้ฮอร์โมน

ฮอร์โมนที่ได้ ฟลาโวนอยด์, โพลิตินอล, ควินนอยด์, จิ๊บเบอเรลลิน, ไซโตไคนิน, ท็อกซิก. ระหว่างการหมักไม่ปิดฝาเพื่อให้จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศที่ปากถัง ได้รับอ๊อกซิเจน ระหว่างการหมักไม่คน เพื่อให้จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศที่ก้นถัง ไม่โดนอากาศ .... จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศมีพลังในการย่อยสลายสูงกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ

หมักนานแล้ว ใช้ไม้พายคนทั้งถังแล้วยื่นไม้พายให้หมา หมาดม ดมแล้วเลียหมับๆกิน กินเป็นว่าเล่น .... หนู ตกลงไปในถัง แสดงว่าต้องการกิน ถ้าไม่ต้องการกินคงไม่ลงไป ลงไปแล้วตกตายในถัง ปล่อยทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ขึ้นอืด 2 เดือนละลายสลายหาไปทั้งตัว.... หมาเลีย/หนูกิน นี่คือ FOOD GRADE

ฟาร์มไก่ข้างไร่กล้อมแกล้ม ไก่ตาย หมาคาบมา คนแย่งหมาจับยัดลงถังหมักทั้งตัว ทิ้งไว้ 3 เดือนละลายสลายหายไปทั้งตัว .... นี่คือ พลังจุลินทรีย์

วิธีหมัก :
หมักแยก :
ถัง 1. กุ้งหอยปูปลาทะเลสดใหม่ บดละเอียด 20 กก. + กากน้ำตาล 5 กก. +เปลือกสับปะรด + น้ำหมักชีวภาพเก่า 5 ล. หมักนาน 3 เดือน ....ใส่ “น้ำมะพร้าว” จนเต็มถังที่หมักขนาด 200 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ น้ำหมักชีวภาพเริ่มต้น พร้อมผสมต่อ

ถัง 2. เลือด 200 ล. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ เลือดหมัก พร้อมผสมต่อ

ถัง 3. ไขกระดูก 100 กก. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ ไขกระดูกหมัก พร้อมผสมต่อ

ถัง 4. ขี้ค้างคาว 10 กก. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 30 ล. หมักนานข้ามปี .... ได้ ขี้ค้างคาวหมัก พร้อมผสมต่อ

ถัง 5. นม 100 ล. + กากน้ำตาล 5 ล. + น้ำหมักเก่า 5 ล. + ยิสต์ 1 กล่อง หมักนานข้ามปี .... ได้ นมหมัก พร้อมผสมต่อ

ใช้รวม :
น้ำหมักชีวภาพเปล่าเริ่มต้น 180 ล. + เลือดหมัก 5 ล. + ไขกระดูกหมัก 5 ล. + ขี้ค้างคาวหมัก 5 ล. + นมหมัก 5 ล. ได้น้ำหมักชีวภาพ “สูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์” 200 ล พร้อมใช้ หรือปรุงต่อ

หมายเหตุ :
- น้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์ แม้สมบูรณ์แบบด้วยวัสดุส่วนผสมที่มีสารอา หารพืชมาก และกรรมวิธีในการทำต้องตามหลักวิชาการที่ยืนยันได้ ถึงกระนั้นชนิดและปริมาณของสารอาหารก็ยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยสังเคราะห์ กับทั้งเหมาะสมกับความต้องการหรือจำเป็นต้องใช้สำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น

- ไม่มีกุ้งหอยปูปลาทะเลสดๆ จากแพปลา ใช้ปลาป่นส่วนผสมอาหารไก่แทนได้ ดีกว่ากุ้งหอยปูปลาทะเลสดๆ เพราะไม่ต้องบด หรือใส่ลงถังหมักได้เลย

อินทรีย์-เคมี :
จากสูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์ +เพิ่มแม็กเนเซียม 10%, สังกะสี 5%, รอง/เสริม 2%, ฮิวมิก 1%. เป็นตัวคงที่ กับ +เพิ่มธาตุหลักตามพืช 10-30% ผสมให้เข้ากันดีด้วยโมลิเน็กซ์ยักษ์ ได้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สูตรระบิดเถิดเทิง อินทรีย์ -เคมี" พร้อมใช้

หมายเหตุ :
ปริมาณธาตุหลัก 10-30% ขึ้นกับชนิดพืช การ +เพิ่มปุ๋ยเคมี (หลัก รอง เสริม) แล้ว เรียกว่า “อินทรีย์เคมี ตามความเหมาะสม” .... ความเหมาะสม หมายถึง พืชที่จะให้

ตัวอย่าง .... ระหว่าง :
* ผักกาดผักคะน้า (กินใบ) กับ พริกมะเขือ (กินผล) กับ มะม่วงทุเรียน (กินผล) .... หรือ
* มะม่วงทะวาย มีลูกหลายรุ่นบนต้น กับมะม่วงปี มีลูกรุ่นเดียวบนต้น .... หรือ
* ลำไยอายุต้น 5 ปี กับลำไยอายุ 50 ปี มีลูกบนต้นเหมือนๆกัน .... หรือ
* ไม้ผลยืนต้น ปีที่แล้วให้ผลผลิตมาก มาปีนี้ต้องให้ปุ๋ยมากขึ้น ตามความจำเป็นที่ต้นแม่ต้องเลี้ยงลูกมากขึ้น

น้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์ จากถังหมัก มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ผ่านปากใบไม่ได้ ต้องให้ทางดินเท่านั้น หากต้องการให้ทางใบต้องปรับโมเลกุลให้มีขนาดเล็ก เป็นโมเลกุลเดี่ยว เรียกว่า “อะมิโนโปรตีน” ก่อน

เกษตรที่จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ทำได้โดยใช้ "น้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิงอินทรีย์" (ไม่ปุ๋ยเคมี) ปรับโมเลกุล ให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ผ่านปากใบได้ เรียกว่า "อินทรีย์เกาะขอบ ชื่อ ฟาจีก้า" แล้วให้ทั้งทางใบและทางรากควบคู่กัน กับ เสริม/สลับ ด้วยฮอร์โมนธรรมชาติที่มีโมเลกุลขนาดเล็กผ่านปากใบได้

ฮอร์โมนธรรมชาติ ได้แก่ นมสด น้ำมะพร้าว น้ำคั้นหัวไชเท้า น้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก น้ำคั้นผักสด ฯลฯ เรื่องนี้ยาวต้องหาเวลาว่ากันต่างหาก

เกษตร “อินทรีย์ตกขอบ หรือ อินทรีย์มั่วซั่ว” หมายถึงการใช้น้ำหมักชีวภาพที่ ไม่มีสารอาหาร หรือมีสารอาหารน้อย กรรมวิธีการหมักไม่ถูกต้อง เหม็นเน่า มีหนอนเกิดขึ้น นั่นไม่ใช่สารอาหารแต่เป็น “เชื้อโรค”

ข้อสังเกต (1) : กุ้งหอยปูปลาทะเล สดใหม่ กลิ่นคาวจัด บนรถหน้าโรงปุ๋ย แมลงวันตอมหึ่ง ครั้นขนย้ายเข้าในโรงปุ๋ยหมด แมลงวันหน้าโรงปุ๋ยไม่ตามเข้าไปแม้แต่ตัวเดียว เหตุผลเพราะ ในน้ำหมักเก่าในโรงปุ๋ยมีสารท็อกซิก ที่เป็นพิษต่อแมลงนั่นเอง

ข้อสังเกต (2) : รอบๆ RKK มีฟาร์มไก่ คอกวัว มีแมลงวันเป็นธรรมดา ในครัว โต๊ะกินข้าว ที่ RKK ก็มีแมลงวัน แต่ในโรงปุ๋ยชีวภาพไม่มีแมลงวัน


กุ้งหอยปูปลาทะเล ทั้งตัว สดๆ ปั่นด้วยโมลิเน็กซ์ยักษ์ 15-20 นาที เหลวเป็นน้ำวุ้น หมักทั้งตัวแบบธรรมดา ใช้เวลา 3-6 เดือน ถึงจะเหลว

น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ขั้นตอนที่ 1 :
วัสดุส่วนผสม :
กุ้งหอยปูปลาทะเลสด 20 กก.
กากน้ำตาล 5 ล.
เปลือกสับปะรด 2-3 หัว
น้ำหมักฯ เก่า พร้อมใช้งานแล้ว 5 ล.

วิธีทำ :
ใส่ส่วนผสม “ทุกตัว” ลงถังขนาดจุ 200 ล. แล้วบดด้วยเครื่องบดโมลิเน็กซ์ยักษ์ บดให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้ จนเป็นน้ำวุ้น ถ้าส่วนผสมข้นมากจนบดไม่ได้ ให้เติมเพิ่มน้ำน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงพร้อมใช้งานแล้ว พอเหลวให้เครื่องบดทำงานได้ บดเสร็จแล้วปิดฝาพอหลวม เก็บในอุณหภูมิโรงงาน ใช้ไม้พายคน 7 วัน/ครั้ง หมักทิ้งไว้ 3 เดือน ครบกำหนด 3 เดือนแล้วจะพบว่าส่วนผสมต่างๆในถังหมักเหลวเป็นน้ำ นั่นคือ "อะมิโน โปรตีน" มีกลิ่นคาวปลาแรงกว่าเดิม .... พร้อมปรุงต่อขั้นที่ 2

น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ขั้นตอนที่ 2 :
น้ำมะพร้าว จากโรงงานทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
อะมิโนโปรตีน. ที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 ประมาณ 40 ล. ในถัง 200 ล. ให้เติม

น้ำมะพร้าว 160 ล. หรือ จนเต็มถัง
21-0-0 500 กรัม

คนเคล้าให้เข้ากันดี แล้วเติมอากาศด้วยปั๊มออกซิเจนเฉพาะช่วงกลางวัน เช้าถึงเย็น นานติดต่อกัน 7 วัน .... ระหว่างเติมอากาศหากหยุดเติม วัสดุส่วนผสมต่างๆ ช่วงแรกๆ จะลอยขึ้นมาอยู่ที่ผิวหน้า ครั้นเวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน ส่วนผสมเหล่านั้นจะจมลงก้นถังทั้งหมด เมื่อเห็นว่าส่วนผสมจมลงก้นถังหมดแล้วให้หยุดเติมอากาศ หยุดการคนส่วนผสมก้นถังด้วยเครื่องมือใดๆ เพื่อปล่อยให้ส่วนผสมก้นถังอยู่ในสภาพไร้อากาศ ในสภาพไร้อากาศนี้จะเกิดจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศซึ่งมีพลังย่อยสลายดีกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ

เมื่อส่วนผสมต่างๆจมลงก้นถังหมดแล้ว ให้คนเฉพาะผิวหน้าด้านบน เพื่อให้จุลินทรีย์ประ เภทต้องการอากาศได้รับอากาศเท่านั้น

นอกจากนี้ยังพบสารเหลวที่เป็นเมือก มันวาว จำนวนมาก นั่นคือ "ฮอร์โมน ไซโตไคนิน และฮิวมัส" สารที่มีประโยชน์ต่อพืชอย่างมาก

หมักนานข้าม 1ปี 2ปี 3ปี ตรวจสอบทุกระยะ ทุกขั้นตอน (สี กลิ่น กาก ฝ่า ฟอง) ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยๆ ได้ “น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงดิบ” พร้อมปรุงต่อ

หมายเหตุ :
- ทุกขั้นตอนของการหมักไม่มีการเติม "น้ำเปล่า" เพราะในน้ำเปล่า นอก
จากไม่มีสาร อาหารแล้ว ยังทำให้เปอร์เซ็นต์ของสารอาหารที่พึงมีเจือจางลงไปอีก กับทั้งน้ำเปล่าเป็นต้นสาเหตุทำให้การหมักเกิดเน่าเหม็นอีกด้วย

- คนเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี ปิดฝาพอหลวมหรือไม่ต้องปิดฝา เก็บในร่ม อุณหภูมิโรงงาน เติมอากาศช่วง 7 วันแรก ระหว่างเติมอากาศจะพบว่ามีฟองเกิดขึ้น ถ้าลูกฟองมีขนาดใหญ่ให้เติมอากาศต่อไปเรื่อยๆ จนลูกฟองมีขนาดเล็กละเอียด จึงหยุดเติมอากาศ แล้วหมักทิ้งไว้ข้ามปี (ฟองขนาดใหญ่แสดงว่ายังไม่พร้อมใช้งาน .... ฟองเล็กละเอียดแสดงว่าพร้อมใช้งานแล้ว)

ไม่ปิดฝา แต่คนด้วยมือที่ปากถัง อาทิตย์ละครั้ง เพื่อให้อากาศแก่จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ ฝ้าที่ปากถัง คือ จุลินทรีย์ที่ตายแล้ว ฝ้ามากแสดงว่าจุลินทรีย์มาก ฝ้าน้อยแสดงว่าจุลินทรีย์น้อย ..... สี/รูปลักษณ์ ที่ต่างกัน คือ จุลินทรีย์ต่างกลุ่มกัน ทุกกลุ่ม คือ จุลินทรีย์ดี มีประโยชน์ทั้งสิ้นใช้ไม้พายคนให้จมลงก็จะเป็นอาหารให้แก่จุลินทรีย์ที่ยังไม่ตาย กระทั่งไม่มีฝ้าใดๆ บนปากถังเลย นั่นคือ “น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ขั้นที่ 2 “ พร้อมใช้งาน หรือปรุงต่อ

- ระยะเวลาหมักยิ่งหลายปียิ่งดี ก็จะได้ "น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงดิบ" พร้อมปรุงต่อก่อนใช้งานจริง น้ำหมักระเบิดเถิดเทิงดิบที่ผ่านการหมักข้ามปีแล้วจะมีกลิ่นฉุนแอลกอฮอร์ หากใช้ไม้พายค่อยๆ งัดกากที่อยู่ก้นถังขึ้นมาดู จะพบว่าส่วนผสมที่อาจจะหยาบๆ ในครั้งแรกนั้นได้กลายสภาพเป็นของเหลวเหมือนวุ้น

วิธีเก็บรักษา ปรับปรุง และแก้ไข :
ปฏิบัติเหมือนน้ำหมักชีวภาพสูตรกล้อมแกล้ม ทุกประการ ....
ส่วนผสมเสริม 1 (ไขกระดูก) :
- ถังขนาดจุ 100 ล. ใส่ไขกระดูก ½ ของความจุถัง เติมน้ำมะพร้าวท่วมไขกระดูก เติมกากน้ำตาล 3-5 ล. เติมน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงพร้อมใช้งานเพื่อเอาจุลินทรีย์ 5 ล. ใช้โมลิเน็กซ์ยักษ์ปั่นให้เข้ากัน เรียบร้อยแล้ว ปิดฝาพอหลวม เก็บในร่ม อุณหภูมิโงงาน หมักนานข้าม 1ปี 2ปี 3ปี

- ระหว่างการหมัก มีกลิ่นเหม็นเน่า แสดงว่ากากน้ำตาลน้อย แก้ไขโดยใส่เพิ่มครั้งละ ¼ ของที่ใส่ครั้งแรก ถ้ากากน้ำตาลพอดี กลิ่นเหม็นจะหายใน 24 ชม. หากกลิ่นเหม็นยังไม่หาย ให้เติมกากน้ำตาลอีก ¼ ของครั้งที่สอง คราวนี้ ถ้ากากน้ำตาลพอดี กลิ่นเหม็นจะหายใน 24 ชม. เช่นกัน หากกลิ่นเหม็นยังไม่หาย ให้เติมกากน้ำตาลอีก ¼ ของครั้งที่สามแล้วหมักต่อเหมือนเดิม ถ้ากลิ่นเหม็นหาย แสดงว่ากากน้ำตาลพอดี ไขกระดูกหมักจะอยู่ได้ต่อไปนานนับปี

- หมักนานข้ามปี ได้ “ไขกระดูกหมัก” เข้มข้น พร้อมใช้งาน ....ไข
กระดูก 1 กก. มีสารอาหารพืชเท่ากับกระดูกป่นอบแห้งบดละเอียด 1.000 กก. (สารคดีดิสคัพเวอรี่)

ส่วนผสมเสริม 2 (นม) :
- ถังขนาดจุ 100 ล. ใส่นมตกเกรดจากฟาร์ม ¾ ของความจุถัง เติมกากน้ำตาล 3-5 ล. เติมยิสต์ 1 กล่อง คนให้เข้ากันดี ปิดฝาพอหลวม เก็บในอุณหภูมิโรงงาน คนทุก 3 วัน

- เริ่มหมัก 7-10 วันแรก เติมอ๊อกซิเจน
- ระหว่างการหมัก มีกลิ่นเหม็นเน่า แสดงว่ากากน้ำตาลน้อย แก้ไขโดยใส่เพิ่มครั้งละ ¼ ของที่ใส่ครั้งแรก ถ้ากากน้ำตาลพอดี กลิ่นเหม็นจะหายใน 24 ชม. หากกลิ่นเหม็นยังไม่หาย ให้เติมกากน้ำตาลอีก ¼ ของครั้งที่สอง คราวนี้ ถ้ากากน้ำตาลพอดี กลิ่นเหม็นจะหายใน 24 ชม. เช่นกัน หากกลิ่นเหม็นยังไม่หาย ให้เติมกากน้ำตาลอีก ¼ ของครั้งที่สามแล้วหมักต่อเหมือนเดิม ถ้ากลิ่นเหม็นหาย แสดงว่ากากน้ำตาลพอดี นมหมักจะอยู่ได้ต่อไปนานนับปี

- หมักนานข้ามปี ได้ “นมหมัก” เข้มข้น พร้อมใช้งาน .... นมมีค่า ซี/เอ็น เรโช 39 : 1 (สวพ.5 ชัยนาท)

ส่วนผสมเสริม 3 (ขี้ค้างคาว) :
- ถังขนาดจุ 100 ล. ใส่ขี้ค้าวคาว ½ ของความจุถัง เติมน้ำมะพร้าว ¾ ของความจุถัง ท่วมขี้ค้างคาวแต่เหลือพื้นที่ ¼ ของความจุถังเพื่อให้ขี้ค้างคาวลอย เติมกากน้ำตาล 3-5 ล. เติมน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงพร้อมใช้งานเพื่อเอาจุลินทรีย์ 5 ล. คนให้เข้ากัน เรียบร้อยแล้ว ปิดฝาพอหลวม เก็บในร่ม อุณหภูมิโรงงาน หมักนานข้าม 1ปี 2ปี 3ปี

- ระหว่างการหมัก มีกลิ่นเหม็นเน่า แสดงว่ากากน้ำตาลน้อย แก้ไขโดยใส่เพิ่มครั้งละ ¼ ของที่ใส่ครั้งแรก ถ้ากากน้ำตาลพอดี กลิ่นเหม็นจะหายใน 24 ชม. หากกลิ่นเหม็นยังไม่หาย ให้เติมกากน้ำตาลอีก ¼ ของครั้งที่สอง คราวนี้ ถ้ากากน้ำตาลพอดี กลิ่นเหม็นจะหายใน 24 ชม. เช่นกัน หากกลิ่นเหม็นยังไม่หาย ให้เติมกากน้ำตาลอีก ¼ ของครั้งที่สามแล้วหมักต่อเหมือนเดิม ถ้ากลิ่นเหม็นหาย แสดงว่ากากน้ำตาลพอดี ไขกระดูกหมักจะอยู่ได้ต่อไปนานนับปี

- ระหว่างการหมัก 1-3 เดือนแรก ขี้ค้างคาวจะลอยถึงปากถัง เมื่อการหมักถูกต้องก็จะค่อยๆจมลง จนนอนก้นถัง เหลือเป็นน้ำใสสีดำอยู่ข้างบน
- หมักนานข้ามปี ได้ “ขี้ค้างคาว” เข้มข้น พร้อมใช้งาน

ส่วนผสมเสริม 4 (เลือด) :
- ถังขนาดจุ 100 ล. ใส่เลือด ½ ของความจุถัง เติมน้ำมะพร้าว ¾ เติมกากน้ำตาล 3-5 ล. เติมน้ำหมักระเบิดเถิดเทิงพร้อมใช้งานเพื่อเอาจุลินทรีย์ 5 ล. คนให้เข้ากัน เรียบร้อยแล้ว ปิดฝาพอหลวม เก็บในร่ม อุณหภูมิโรงงาน หมักนานข้าม 1ปี 2ปี 3ปี

- ระหว่างการหมัก มีกลิ่นเหม็นเน่า แสดงว่ากากน้ำตาลน้อย แก้ไขโดยใส่เพิ่มครั้งละ ¼ ของที่ใส่ครั้งแรก ถ้ากากน้ำตาลพอดี กลิ่นเหม็นจะหายใน 24 ชม. หากกลิ่นเหม็นยังไม่หาย ให้เติมกากน้ำตาลอีก ¼ ของครั้งที่สอง คราวนี้ ถ้ากากน้ำตาลพอดี กลิ่นเหม็นจะหายใน 24 ชม. เช่นกัน หากกลิ่นเหม็นยังไม่หาย ให้เติมกากน้ำตาลอีก ¼ ของครั้งที่สามแล้วหมักต่อเหมือนเดิม ถ้ากลิ่นเหม็นหาย แสดงว่ากากน้ำตาลพอดี เลือดหมักจะอยู่ได้ต่อไปนานนับปี

- หมักนานข้ามปี ได้ “เลือดหมัก” เข้มข้น พร้อมใช้งาน

น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง ขั้นตอนที่ 3 :
ส่วนผสมอินทรีย์ :
น้ำหมักระเบิดฯ (ขั้น 2 ) 180 ล.
ไขกระดูก 5 ล.
เลือด 5 ล.
มูลค้างคาว 5 ล.
นม 5 ล.
ฮิวมิค แอซิด ½ กก.

ส่วนผสมเคมี :
บี-1 ¼ กก.
ปุ๋ยธาตุหลัก (ทางราก) 10-20 กก.
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 กก.
แม็กเนเซียม 10 กก.
สังกะสี 5 กก.

ใช้โมลิเน็กซ์ยักษ์ ปั่นส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากันดี ได้ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง อินทรีย์-เคมี" พร้อมใช้งาน อายุเก็บนานนับปี
หมายเหตุ :
- ปุ๋ย หมายถึง สารหรือธาตุอาหารพืช

**ส่วนที่เป็นเคมีชีวะ ได้จากส่วนผสมที่เกิดเองตามธรรมชาติ ได้แก่ กุ้ง-หอย-ปู-ปลา-เลือด-ไขกระดูก-นม-น้ำมะพร้าว-ขี้ค้างคาว
** ส่วนที่เป็นเคมีสังเคราะห์ ได้จากส่วนผสมที่มนุษย์ผลิตหรือสร้างขึ้น ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ขั้นที่ 3 ได้แก่ N. P. K. TE. Mg. Zn.

- ไขกระดูก. เลือด. มูลค้างคาว. นม. หมักล่วงหน้านานข้ามปีจนพร้อมใช้งาน ...หมาย ถึง "หมักแยก” ก่อนใช้งานจริงจึงผสมรวมกับน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ขั้นที่ 2 แบบนี้เรียกว่า “ใช้รวม" นั่นเอง

- สารอาหารพืชที่พึงมีในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง ขั้นที่ 2 เป็นสารอาหารประเภท "อินทรีย์สาร" ที่ถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายออกมาจากวัสดุส่วนผสมนั่นเอง ปริมาณสารอาหารที่มีหรือที่ได้เมื่อคิดปริมาณเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วถือว่าไม่มากนัก ในพืชอายุสั้นฤดูกาลเดียวอาจเพียงพอต่อการนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต แต่ในพืชยืนต้นขนาดใหญ่ซึ่งต้องการใช้สาร อาหารในปริมาณมากขึ้นนั้นอาจจะไม่พอเพียง

- จากหลักการและเหตุผลที่ว่า น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง มีปริมาณเปอร์เซ็นต์ของอาหารน้อยถึงน้อยมาก ทางราชการ (เกษตร) จึงห้ามใส่หรือใช้คำว่า “ปุ๋ย” แต่ให้เรียกว่า “น้ำหมักชีวภาพ น้ำสกัดชีวภาพ ฯลฯ” เท่านั้น

**ในทางปฏิบัติจริง ผู้ใช้น้ำหมักชีวภาพมีการใส่ปุ๋ยเคมี “สูตรและปริมาณ” ตามต้องการลงไป (ผสมกัน) แล้วให้แก่ต้นไม้ หรือหว่านเม็ดปุ๋ย “สูตรและปริมาณ” ตามต้องการลงไปบนพื้นดินก่อน แล้วรดตามด้วยน้ำหมักชีวภาพ

**ทั้ง 2 แบบไม่ต่างกัน เพราะทั้งปุ๋ยเคมีและน้ำหมักชีวภาพต้องไปรวมกันอยู่ที่พื้นดิน แบบนี้นอกจากทำได้ ดี และถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้ปุ๋ยเคมีนั้นเกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ด้วยข้อห้ามที่ทางราชการ ห้ามมีคำว่า “ปุ๋ย” ในชื่อของน้ำหมักชีวภาพ เพราะในน้ำหมักฯ มีสารอาหารน้อยนั้น ครั้นใส่ เติม/เสริม/เพิ่ม/บวก ปุ๋ยเคมี สูตรหรือปริมาณตามความเหมาะ สมและจำเป็นแล้ว สามารถเรียกชื่อว่า “ปุ๋ยน้ำชีวภาพ” ได้หรือไม่ ?

นี่คือ "ปุ๋ยน้ำชีวภาพ” อย่างแท้จริง ภายไต้ BRAND NAME สูตรระเบิดเถิดเทิง" ได้อย่างมั่นใจ

อัตราใช้และวิธีใช้ :
- นาข้าว พืชไร่ ผักสวนครัว : ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 2 ล./ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว ใส่ครั้งเดียวช่วงเตรียมดินเตรียมแปลง

-ไม้ผล ไม้ดอก (ยืนต้น) : ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 2 ล./ไร่ รดทั่วแปลง ทุกตารางนิ้ว เดือนละครั้ง

- ทำปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 5-10 ล. /อินทรีย์วัตถุ 1 ตัน

ตรวจสอบ – แก้ไข :
สี : สีน้ำตาลอ่อน-น้ำตาลไหม้-ดำ ขึ้นอยู่กับปริมาณกากน้ำตาลที่ใส่ครั้งแรก และใส่เพิ่มภายหลัง

กลิ่น : หมักใหม่ๆเป็นกลิ่นคาวปลาชัดเจน อายุการหมักนานขึ้น กลิ่นคาว
ปลาเริ่มลดลง เป็นกลิ่นกากน้ำตาลปนกลิ่นคาวปลา กระทั่งหมักนานข้าม 1-2-3 ปี จะมีกลิ่นฉุนเหมือนแอลกอฮอร์ชัดเจน

** กลิ่นปกติคือ “กลิ่นที่รับได้” ได้กลิ่นแล้วไม่เวียนหัว ซึ่งต่างจากกลิ่นเหม็นเน่าอย่างสิ้นเชิงระหว่างการหมักถ้าเริ่ม (เน้นย้ำ...เริ่ม) มีกลิ่นเหม็นเน่า หรือกลิ่นไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น แสดงว่าอ่อนกากน้ำตาล ให้เติมกากน้ำตาล 1-2 ล. (ถังหมัก 200 ล.) ใส่แล้วคนให้ทั่วถัง ทิ้งไว้ 12-24 ชม. กลิ่นไม่พึงประสงค์จะหายไป กลายเป็นกลิ่นรับได้ตามปกติ แสดงว่าอัตราส่วนกากน้ำตาลพอดีแล้ว ถ้ากลิ่นไม่พึงประสงค์นั้นยังไม่หายก็ให้เติมกากน้ำตาลซ้ำ 1-2 ล. อีกรอบ คนให้ทั่วถัง ทิ้งไว้ 12-24 ชม. จากนั้นตรวจสอบซ้ำพร้อมกับแก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาลไปเรื่อยๆ เมื่ออัตราส่วนของกากน้ำตาลพอดีแล้ว จะไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นอีกเลยจนถึงวันใช้งาน

*** หนอน ส่วนใหญ่เกิดจากแมลงวันเข้าวางไข่ กล่าวคือ เมื่อน้ำหมักเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์มักมีแมลงวันเข้ามาตอมแล้ววางไข่นั่นเอง หนอนเหล่านี้จะไม่เป็นตัวแมลง ถ้าไม่ชอบก็ตักซ้อนออกไปให้ ปลา/ไก่ กิน หรือเมื่ออายุนานขึ้นก็ตายเองแล้วเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ย ส่วนกลิ่นไม่พึงประสงค์จะรุนแรงยิ่งขึ้นจนเป็นกลิ่นเหม็นเน่า (เหม็นแปดบ้าน) สาเหตุนี้เกิดจากอ่อนกากน้ำตาล ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาลทีละน้อยๆ เหมือนแก้ปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ เมื่อกลิ่นไม่พึงประสงค์หายไปก็จะไม่มีแมลงวันมาตอนอีก.... ถังหมักที่มี “แมลงหวี่” ตอม แม้ว่าแมลงหวี่จะวางไข่ไว้ แต่ไข่ก็ไม่ฟักออกมาเป็นตัว ไม่นานก็ฝ่อเน่าแล้วกลายเป็นปุ๋ยไปเอง

กาก : หมักใหม่ๆ ส่วนผสมต่างๆ จะขนาดเท่ากับที่บดด้วยเครื่องบดโมลิเน็กซ์ยักษ์นั้น ครั้นนานไปส่วนผสมจะเหลวเป็นน้ำวุ้น

ฝ้า : บนผิวหน้าจะมีฝ้า สีขาวอมเทา หรือเทาอมดำ หรือสีดำ ฝ้านี้คือจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศประเภท "รา" เป็นราที่มีประโยชน์ ไม่มีกลิ่น ส่วนหนึ่งยังมีชีวิต ส่วนที่ตายแล้วจะเป็นอาหารให้แก่ตัวที่ยังมีชีวิต

ฟอง : หลังจากผ่านการมักนาน 3-6-9 เดือน ถึงข้าม 1-2-3 ปี แล้วทดสอบโดยปั่นด้วยเครื่องโมลิเน็กซ์ยักษ์ จะมีฟองเกิดขึ้น ถ้าเป็นฟองขนาดใหญ่ถือว่าการหมักยังไม่ดี แต่ถ้าเป็นฟองละเอียดถือว่าการหมักดี ใช้การได้แล้ว

แช่อิ่ม : ซากสัตว์ (ปลา หอยเชอรี่) ที่หมักกับกากน้ำตาลอัตราส่วน 1 : 1 นั้น จะไม่เปื่อยยุ่ยเหลวจนเป็นน้ำวุ้น แต่จะยังเป็นตัวเหมือนทำครั้งแรก นั่นเป็นเพราะกากน้ำตาล STOP จุลินทรีย์ไว้ (นักรบสมัยโบราณ ตัดหัวข้าศึก แช่น้ำผึ้งนานนับเดือน ไม่เน่า) แก้ไขโดยนำออกมาปรุงใหม่ ลดอัตราส่วนกากน้ำตาลลง (น้ำหมักฯ ระเบิดเถิดเทิง .... กุ้งหอยปูปลา 20 กก. + กากน้ำตาล 2-3 กก.) พร้อมกับ +เปลือกสับปะรด, +น้ำหมักเก่าฯ แล้วหมักใหม่

รูปลักษณ์ : กากส่วนที่อยู่ก้นถังจะเหลวเป็นวุ้น มีเมือกใส ซึ่งเมือกนี้คือไซโตไคนิน. อุดมไปด้วยจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัสส์ เป็นจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศ มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ (ข้อมูล : สจล.)

ปริมาณ : ในการหมักขั้นตอนที่ 2 เติมน้ำมะพร้าวจนเต็มถึงปากถังขนาดจุ 200 ล. จาก นั้นประมาณ 1 เดือน ระดับน้ำมะพร้าวจะยุบลงราว 10-15 ซม.เสมอ เมื่อเติมน้ำมะพร้าวใหม่จนเต็มก็จะยุบลงอีก ก็ให้เติมใหม่อีกทุกครั้ง กรณีนี้เกิดจากกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์นั่นเอง

อีซี - ซี/เอ็น เรโช : ตรวจสอบโดย LAB
ถพ. : โดยน้ำใสด้านบน ค่า ถพ.ประมาณ 4-5% แต่ถ้าคนให้มีกากละเอียดรวมอยู่ด้วย 30% จะมีค่า ถพ.ประมาณ 10-12%

พีเอช. : หมักใหม่ 3-6 เดือน ค่า พีเอช ประมาณ 3.5-4.5 แต่ถ้าหมักนานข้ามปี ค่า พีเอช ประมาณ 5.0-6.0


น้ำหมักชีวภาพ สูตรก้นครัว
วิธีทำ :
น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว : ทำมาจาก กระดูกสดใหม่ หัวไชเท้าสดใหม่ ต้มเดือด 100 อง ศา 1-2 ชม. ต้มร้อนไอกรุ่นๆ 70 องศา 3-4 ชม.

น้ำเต้าหู้ : ทำมาจากถั่วเหลือง ต้มเดือด 100 องศา 1-2 ชม. ต้มร้อนไอกรุ่นๆ 70 องศา 3-4 ชม.

** ใช้ : น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว น้ำเต้าหู้ เจือจางน้ำเปล่า 3-4 เท่า ให้พืชสวนครัวประเภทกินใบ จะทำให้ได้ใบขนาดใหญ่ สมบูรณ์

** เก็บนาน : น้ำต้มก้นหม้อก๋วยเตี๋ยว น้ำเต้าหู้ 10 ล. เติมสารกันบูด 1 ช้อน

การต้มเดือดและต้มร้อนไอกรุ่นนานแบบนี้ทำให้โปรตีนแตกตัวเป็น “อะมิโน โปรตีน หรือ โปรตีน โมเลกุลเดี่ยว” เป็นโปรตีนขนาดเล็ก เมื่อคนกินเข้าไปถึงกะเพราะแล้วส่งต่อไปลำไส้เล็ก จากลำไส้เล็กไปทางเส้นเลือดสู่กล้ามเนื้อได้เลย น้ำเต้าหู้ที่ต้มไม่นาน กลิ่นเหม็นเขียว รสชาดไม่อร่อย ชัดเจน

** กรณีใช้กับพืช อะมิโน โปรตีน สามารถผ่านปากใบเข้าสู่ต้นเลย เมื่อตกลงดิน ระบบรากดูดซึมเข้าไปใช้ได้ทันทีอีก โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ก่อน

น้ำล้างเขียง : ปลาช่อนสดใหม่ยังมีชีวิต แช่ในกะละมัง 1 คืน เพื่อให้คายขี้คายเมือก รุ่งเช้าเชือดปลาช่อนทำปรุงข้าวต้มปลา ข้าวต้มจะอร่อยเพราะไม่มีกลิ่นคาวปลา หั่นปลาช่อนบนเขียงตามปกติ หั่นแล้วล้างเขียง (มี เลือด/คาว ปลาติด)

** ใช้ : นำน้ำขังปลาในกะละมัง เจือจางน้ำเปล่า 3-4 เท่า ให้พืชสวนครัวประเภทกินใบ จะทำให้ได้ใบขนาดใหญ่ สมบูรณ์

** เก็บนาน : น้ำล้างเขียง 10 ล. เติมสารกันบูด 1 ช้อน

น้ำล้างจาน : เศษอาหารที่ปรุงจนกินได้แล้ว เศษซากที่เหลือจากการปรุง ทุกชนิด ทุกรสชาด รวมถึงน้ำล้างจาน นำปั่นลงในโมลิเน็กซ์ ปั่นให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้ ** ใช้ : น้ำล้างจานบดละเอียด 1 ล. ผสมน้ำ 20-40 ล. ให้ได้ทั้งผักกินใบ และผักกินดอก ** เก็บนาน : น้ำล้างจาน 10 ล. เติมสารกันบูด 1 ช้อน

หมายเหตุ :
น้ำหมักชีวภาพ สูตรก้นครัว ทุกสูตรที่กล่าว และ/หรือ สูตรอื่นที่คิดได้ใหม่ตามหลัก การและเหตุผลนี้ ทำเป็น “ซุปเปอร์” โดย ....

+ กลูโคสหรือน้ำมะพร้าวแก่ เป็นทางด่วนผ่านปากใบได้เร็ว
+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม (เคมี) ทำให้ผลผลิตเนื้อแน่นขึ้น
+ สารสมุนไพร เป็นทั้งสารอาหาร และยา
- กรองชั้นดี ให้น้ำใสที่สุด ใส่สีผสมอาหาร ช่วยให้ดูขลังขึ้น
- ทำด้วยหม้อนึ่งความดัน ใช้เวลาต้ม 1 ชม. นอกจากประหยัดพลังงานกว่าต้มบนเตา 4-6 ชม.แล้ว ยังได้เปอร์เซ็นต์สารอาหารสูงกว่าอีกด้วย





.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/02/2024 10:28 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 23/01/2024 4:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรฟาจีก้า
น้ำหมักฯ ระเบิดเถิดเทิง ขั้นที่ 2 40 ล.
เลือดหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
นมหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
ขี้ค้างคาวหมัก พร้อมใช้ 5 ล.
ไขกระดูกหมัก พร้อมใช้ 5 ล.

คนเคล้าให้เข้ากันดี ต้มเดือดจัด 100 องศา 4 ชม. ต้มร้อนไอกรุ่นๆ 70 องศา 2 ชม. ปล่อยให้เย็น กรองเอากากออก ได้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิงโมเลกุลเดี่ยว (อะมิโนโปรตีน) ชื่อ “โอไฮ โอ” หรือ “โอไฮโอ อินทรีย์” เข้มข้น พร้อมใช้หรือพร้อมปรุงต่อ.... ใช้ 50 ซีซี./น้ำ 20 ล.

2. ต้มร้อนยกลงแล้ว ใส่ปุ๋ยเคมีประเภทให้ทางใบ (จี. เกรด) แม็กเนเซียม ซัลเฟต 4 กก., สังกะสี ซัลเฟต 1 กก., ธาตุรอง/ธาตุเสริม ½ กก. ธาตุหลัก สูตรตามชนิดและระยะพืช 7 กก. ชื่อ “โอไฮโอ เคมี” เข้มข้น พร้อมใช้ .... ใช้ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.

หมายเหตุ :
- โอไฮโอ อินทรีย์ สำหรับเกษตรแบบ “อินทรีย์ ไม่ปุ๋ยเคมี”
- โอไฮโอ เคมี สำหรับเกษตรแบบ “อินทรีย์ เคมี ผสมผสม”
- สารอาหารทั้งอินทรีย์ และเคมีประเภทให้ทางใบ ในโอไฮโอ สามารถผ่านปากใบและปลายรากเข้าสู่ภายในต้นได้

น้ำหมักชีวภาพ BMW (Bacterio Mineral Water)
ขั้นตอนที่ 1
1. เปล่า 100 ล.
2. ขี้วัวนมตั้งท้องใหม่ 5 กก.
3. มูลหมูตั้งท้องใหม่ 5 กก.
4. มูลไก่ไข่ 5 กก.
5. มูลค้างคาว 2 กก.
6. เลือด 1 ล.
7. ไขกระดูก 1 ล.
8. นมสดจากฟาร์ม 1 ล.
9. น้ำมะพร้าว 5 ล.
10. น้ำผักดอง 1 ล.
11. สับปะรด 1 หัว
12. กากน้ำตาล 2 ล.

คนเคล้าให้เข้ากันดี เติมออกซิเจนตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วัน ครบกำหนดแล้วกรองน้ำใสออกมา

ขั้นตอนที่ 2
น้ำใสปุ๋ยคอกหมัก 100 ล.+ ธาตุหลัก 8 กก. (สูตรตามพืช) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 กก.+ สาหร่ายทะเล 1 กก.+ ฮิวมิก แอซิด 1 กก. ..... คนเคล้าให้เข้ากันดี ได้ "หัวเชื้อ" พร้อมใช้งาน

อัตราใช้ :
หัวเชื้อ 500 ซีซี./น้ำ 100 ล. ..... ให้ทางราก ทุก 20-30 วัน
หมายเหตุ :
บริเวณโคนต้นมี ปุ๋ยคอก. ยิบซั่ม. ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ, เศษพืช.คลุมหน้าดินหรือไถพรวนคลุกอยู่ในเนื้อดิน เป็นตัวรองพื้น


น้ำหมักชีวภาพสูตรสำหรับไฮโดรโปรนิกส์
การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ คือ การปลูกในภาชนะ ในภาชนะมีอุปกรณ์ยึดลำต้น มีน้ำให้รากแช่น้ำ ในน้ำมีสารอาหาร และอากาศที่ได้จากการไหลเวียนของน้ำ

- น้ำ : สารอาหาร ผักไฮโดรโปรนิกส์ “น้ำ 200 ล. /ฟาจีก้า 1 ล.” หรือ 200 : 1
- เลือกใช้น้ำหมักชีวภาพที่มั่นใจว่ามีสารอาหาร (คิด/วิเคราะห์/เปรียบเทียบ จากวัสดุและกรรมวิธีในการทำ) และสารอาหารนั้นถูกปรับโมเลกุลเป็นโมเลกุลเดี่ยว สามารถปากใบได้ และระบบรากดูดซับเข้าสู้ต้นโดยไม่ต้องพึ่งพาจุลินทรีย์ .... ปุ๋ยเคมีสำหรับผักไฮโดรโปรนิกส์ เป็นปุ๋ยประเภทให้ทางใบ (จี.เกรด)

- น้ำหมักชีวภาพ “ฟาจีก้า” นอกจากได้สารอาหารครบและมากแล้ว ยังเป็น อะมิโน โปรตีน ที่รากผักสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที เหมือนปุ๋ยเคมีกลุ่ม จี.เกรด

- ติดสปริงเกอร์แบบกะเหรี่ยงลอยฟ้า หม้อปุ๋ยหน้าโซน หรือถังปุ๋ยที่ปั๊ม สำหรับให้ สารสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือ สารสมุนไพร+ฟาจีก้า หรือ ฮอร์โมนก้นครัว หรือ ฮอร์โมนธรรมชาติ อื่นๆ ทำได้ทุกเวลาที่ต้องการ

หมายเหตุ :
- เสริมทางใบด้วย “ฟาจีก้า หรือ ฮอร์โมนเขียว” 1-2 ครั้ง/อาทิตย์

น้ำหมักชีวภาพสูตร มั่วซั่วซุปเปอร์
หลักการและเหตุผล :
- วัตถุประสงค์ของการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้ได้ สารอาหาร (หลัก/รอง/เสริม/ฮอร์โมน) พืช จุลินทรีย์ และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น

- “มั่วซั่ว” แปลว่า ไม่มีหลักเกณฑ์หลักการ ส่งเดช โมเม ไม่รู้จริง เดาสุ่ม
- วัสดุส่วนผสมที่นำมาทำแล้วให้สารอาหารจาก “น้อยสุด ไปหา มากสุด” ดังนี้ ...

* พืช น้อยกว่า หอยเชอรี่,
* หอยเชอรี่ น้อยกว่า ปลาน้ำจืด,
* ปลาน้ำจืด น้อยกว่า ปลาทะเล,
* ปลาทะเลอย่างเดียว น้อยกว่า ปลากุ้งหอยปูทะเล :
**** ปลากุ้งหอยปูทะเล มีมากสุด

- สาอาหารมี 2 ชนิด คือ “เคมีชีวะ” และ “เคมีสังเคราะห์” .... เคมีชีวะ ได้มาจากอินทรีย์วัตถุ .... เคมีสังเคราะห์ ได้มาจากการผลิตโดยมนุษย์

- น้ำหมักชีวภาพที่ทำแล้วมีสารพืชอาหารน้อย หรือไม่มีเลย หรือมีไม่ครบ แก้ไขได้ด้วย “เสริม/เพิ่ม/เติม/บวก” สารอาหารลงไป ทั้งชนิดและปริมาณตามความต้องการ

** ต้องการแบบ “อินทรีย์ 100%” ให้ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก น้ำมะพร้าว นมสด ฯลฯ
** ต้องการแบบ “อินทรีย์ เคมี ผสมผสาน” ให้ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก โดย “อินทรีย์” : น้ำมะพร้าว นมสด .... “ปุ๋ยเคมี” : แม็กเนเซียม สังกะสี รอง/เสริม ธาตุหลักตามชนิดพืช

หมายเหตุ :
- แบบอินทรีย์ 100% นอกจากน้ำมะพร้าว นมสดแล้ว เพิ่มอย่างอื่นที่เป็นอินทรีย์ตามหลักวิชาการได้อีก

- แบบอินทรีย์ เคมี ผสมผสาน ส่วนของปุ๋ยเคมี ใส่มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่จะให้

น้ำหมักชีวภาพกำจัดวัชพืช
วัสดุส่วนผสม :
1. สับปะรด 20 ผล
2. มะเฟือง 10 ผล
4. กากน้ำตาล 5 ก.ก.
6. แป้งข้าวหมาก 2 ก้อน
7. น้ำหมักชีวภาพ พร้อมใช้งาน 2 ลิตร
8. น้ำมะพร้าว 10 ลิตร

วิธีการทำ วิธีใช้ :
บดหยาบหรือสับเล็ก คนเคล้าส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน ใส่ถัง ปิดฝาพอหลวม หมักนาน 6 เดือน ระหว่างหมักคนบ้างเป็นครั้งคราว และมีกลิ่นเหม็นเน่า มีหนอน ให้เติมเพิ่มกากน้ำตาล เหมือนการแก้ปัญหาน้ำหมักชีวภาพสูตรกล้อมแกล้ม .... หมักนานครบกำหนด ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน....ใช้ “หัวเชื้อ 1/2 - 1 ล./น้ำ 20 ล.” ฉีดพ่นต้นวัชพืชให้เปียกโชกลงถึงพื้น .... ตัดวัช พืชก่อน รอให้แตกยอดใหม่เป็นยอดอ่อนแล้วฉีดพ่น จะได้ผลดีกว่าต้นวัชพืชแก่

ฮอร์โมนธรรมชาติ
ฮอร์โมนสมส่วน

วัสดุส่วนผสม :
น้ำคั้นหัวไชเท้าสดใหม่ 1 ล.
น้ำคั้นเมล็ดงอก 1 ล.
น้ำมะพร้าวอ่อน (เนื้อเป็นวุ่น) 1 ล.
น้ำมะพร้าวแก่ (แกง) 1 ล.
น้ำส้มสายชู 30 ซีซี.
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 50 กรัม
กลูโคสน้ำ 100 ซีซี.

วิธีทำ :
1. หัวไชเท้าสดใหม่ สมบูรณ์ โตเร็ว เก็บตอน ตี.5 เข้าเครื่องปั่นแบบแยกกากแยกน้ำ (จุ๊ยเซอร์)
2. แช่เมล็ดถั่วเขียว (น้ำมากที่สุดในบรรดาเมล็ดพืชด้วยกัน) 2-3 วัน เหมือนการเพาะถั่ว งอก เมื่อเริ่มมีรากโผล่ออกมาให้นำขึ้น

3. นำเมล็ดถั่วเขียวรากเริ่มงอกผสมกับ น้ำมะพร้าวอ่อน+ น้ำมะพร้าวแก่ พอท่วม ใส่เครื่องปั่นโมลิเนกซ์ ปั่นให้เมล็ดถั่วเขียวละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้

4. ผสมน้ำคั้นไชเท้า. น้ำมะพร้าว น้ำเมล็ดเริ่มงอก. คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้วเติมน้ำส้มสายชู. คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง แล้วเติมธาตุรอง/ธาตุเสริม คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง ได้ "หัวเชื้อฮอร์โมนขยายขนาด เข้มข้น" พร้อมใช้งาน

อัตราใช้ :
หัวเชื้อ 50 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทางใบ ให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ช่วงเช้า แดดไม่ร้อน

หมายเหตุ :
- ฮอร์โมนธรรมชาติที่เป็น “เคมีชีวะ” ไม่สู้แสงแดด (รังสีอุลตราไวโอเลต) จึงควรใช้หลังสิ้นแสงอาทิตย์ แม้ไม่มีแสงแดดปากใบพืชไม่เปิด แต่ให้ทางดินแทน รากก็จะทำหน้าที่ดูดสารอาหารไปไว้ที่ใบ ครั้นรุ่งขึ้นมีแสงแดดใบจะทำหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนนั้นส่งลงมาให้ต้นเอง

- ในน้ำคั้นไชเท้าสด มีฮอร์โมนไซโตคินนิน. ประสิทธิภาพในการขยายขนาด "ทางข้าง" ของพืช

- ในน้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก มีฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน. ประสิทธิภาพในการขยายขนาด "ทางยาว" ของพืช

- เมื่อใช้ ไซโตคินนิน + จิ๊บเบอเรลลิน (1 : 1) จึงมีประสิทธิภาพในการขยายขนาดพืชทั้ง "ทางข้าง และ ทางยาว" จึงเท่ากับโตอย่างสมส่วน

- น้ำมะพร้าวอ่อน (เนื้อเป็นวุ้น) มีฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน. ขยายขนาดทางยาว และน้ำมะพร้าวแก่มีฮอร์โมนไซโตคินนิน. ขยายขนาดทางข้าง

- น้ำส้มสายชู ช่วยป้องกันไม่ให้ส่วนผสมเปลี่ยนสีจากเดิมเป็นสีน้ำตาล หรือดำคล้ำ

- ส่วนผสมทุกตัวที่กล่าว เมื่อใช้แล้วขยายขนาดพืชได้ แต่ เนื้อหลวม น้ำหนักน้อย สีไม่จัด กลิ่นและรสไม่ดี เมื่อได้เพิ่ม “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ลงไปจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ กล่าวคือ เนื้อแน่น น้ำหนักดี สีจัด กลิ่นรสดี

- การเก็บรักษา เก็บในตู้เย็น บรรจุภาชนะทึบแสง หากต้องการเก็บไว้นาน แนะนำให้เติมสารกันบูด 0.5 %

พืชเป้าหมาย :
- ไม้ใบ ........ ยืนต้นได้ดีแล้วช่วยขยายขนาดใบให้ใหญ่ขึ้น
- ไม้ดอก ..... เมื่อดอกออกมาแล้วช่วยขยายขนาดดอกให้ใหญ่ขึ้น
- ไม้ผล ....... ช่วงผลโตได้ 25-75% ช่วยขยายขนาดผลให้ใหญ่ขึ้น


ฮอร์โมนเขียว
สำหรับผักกินใบ

วัสดุ ส่วนผสม และวิธีทำ :
เลือกผักสวนครัวกินใบ อายุสั้น ฤดูกาลเดียว เช่น ผักกาด ผักคะน้า ต้นที่สมบูรณ์ แข็งแรง โตเร็ว อัตราโตประมาณ 50% ไม่มีโรคแมลง และไม่มีการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง หรือสารสมุนไพรทุกประเภท เก็บตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ถอนขึ้นมาทั้งต้น (ใบ+ราก) สลัดดินติดรากทิ้ง ไม่ต้องล้างน้ำ นำเข้าเครื่องปั่นแบบแยกกากแยกน้ำ (จุ๊ยเซอร์) น้ำคั้นผักที่ได้ เรียกว่า “ฮอร์โมนเขียว” พร้อมใช้ เก็บในภาชนะทึบแสง รักษาอุณหภูมิโดยการเก็บในตู้เย็นช่องแช่เย็นธรรมดา

วิธีใช้ :
ตกค่ำพระอาทิตย์สิ้นแสงแล้ว นำ “ฮอร์โมนเขียว” พร้อมใช้ 500 ซีซี. ผสมน้ำ (พีเอช 6.0) จำนวน 100 ล. นำไปรดให้แก่ผักประเภทที่นำมาคั้นน้ำนั้น (น้ำคั้นผักอะไรให้ผักชนิดเดียวกัน) ทุก 3-5 วัน จะช่วยบำรุงให้ผักนั้นโตเร็ว สมบูรณ์ แข็งแรง คุณภาพดี

หมายเหตุ :
ทำฮอร์โมนเขียว ซุปเปอร์.โดย "น้ำคั้นผัก + น้ำคั้นหัวไชเท้า+ น้ำมะพร้าวแก่" อัตราส่วน 10 : 10 : 1 แล้วใช้อัตราเดิมและวิธีเดิม

สำหรับผักกินยอด :
ใช้ "น้ำคั้นผักกินใบทั้งต้น + น้ำคั้นยอดผักกิน เด็ดด้วยมือ + น้ำคั้นหัวไชเท้า + น้ำมะพร้าวอ่อน" อัตรา ส่วน 1 : 1 : 1 : 5 ไม่ใช้กากน้ำตาลหรือกลูโคส เพราะในน้ำมะพร้าวอ่อนมีกลูโคสอยู่แล้ว

วิธีใช้และอัตราใช้ เหมือนสำหรับผักกินใบ


ฮอร์โมนบำรุงราก
วัสดุส่วนผสม :
น้ำ (พีเอช 4.0) 10 ล.
12-60-0 1.4 กก.
จิ๊บเบอเรลลิน 100 ซีซี.
เอ็นเอเอ. 100 ซีซี.
ไคโตซาน 100 ซีซี.
กากน้ำตาล 500 ซีซี.
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.
สาหร่ายทะเล 100 กรัม
วิตามิน บี-1 100 กรัม
ฮิวมิก แอซิด 100 กรัม

วิธีทำ :
ใส่ส่วนผสมทีละตัว คนให้ตัวแรกละลายดีก่อนแล้วจึงใส่ตัวถัดไป ใส่ครบทุกตัวแล้วคนต่อนานๆ เพื่อให้ส่วนผสมทุกตัวเข้าเป็นเนื้อกันดี ได้ “หัวเชื้อฮอร์โมนบำรุงรากเข้มข้น” พร้อมใช้

อัตราใช้ และพืชเป้าหมาย :
ไม้ลงดิน ............... น้ำ (พีเอช 6.0) 20 ล. + หัวเชื้อฮอร์โมน 20 ซีซี. ฉีดพ่นลงดินโดยตรงหรือฉีดพ่นทับบนอินทรีย์วัตถุที่คลุมโคนต้น ทั่วบริเวณทรงพุ่ม

ไม้รากอากาศ ....... อัตราผสมเดียวกัน ฉีดพ่นทั่วต้นลงถึงราก
ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง .... ใช้หัวเชื้อฮอร์โมนเข้มข้น 1 ล. / กองปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน

ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน
สูตร 1 :
กะปิทำจากเคย สดใหม่ 1 ก้อนเท่านิ้วโป้มือ ผสมน้ำกลั่น 100 ซีซี. คนเคล้าให้เข้ากันดี ได้

“ฮอร์โมนเร่งรากกิ่งตอน” พร้อมใช้งาน ..... ใช้ปลายพู่กันจุ่มน้ำฮอร์โมนทาที่แผลกิ่งตอน ลอกเปลือกพร้อมหุ้มตุ้มตอนแล้ว ทาให้เปียกชุ่ม จากนั้นจึงหุ้มแผลตอนด้วยตุ้มตอนต่อไป

สูตร 2 :
เฉือนเนื้อข้าวโพดหวาน สดใหม่ สมบูรณ์ ความแก่ 50% ได้มาแล้วบดละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ น้ำคั้นเมล็ดข้าวโพดหวาน 100 ซีซี. ผสมน้ำกลั่น 100 ซีซี. คนเคล้าให้เข้ากันดีได้“ฮอร์โมนเร่งราก” พร้อมใช้ .... ใช้ปลายพู่กันจุ่มฮอร์โมนเร่งรากทาที่แผลตอน ที่ลอกเปลือกเรียบแล้วให้โชก เสร็จแล้วหุ้มกิ่งตอนด้วยตุ้มตอนตามปกติ

สูตร 3 :
แช่ขุยมะพร้าวเก่าที่จะใช้ทำตุ้มตอนในน้ำมะพร้าวแก่พอท่วม นาน 48 ชม. ครบกำหนดแล้วอัดขุยมะพร้าวลงถุงตุ้มตอนให้แน่น นำไปหุ้มแผลตอนของกิ่งตอนที่ลอกเปลือกไว้แล้วตามปกติ


จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
สมการจุลินทรีย์

ตัวจุลินทรีย์ผิด + วัสดุอาศัยผิด + อุณหภูมิผิด + อายุผิด + วิธีใช้ผิด = ไม่ได้ผล ยกกำลัง 5

ตัวจุลินทรีย์ผิด + วัสดุอาศัยผิด + อุณหภูมิผิด + อายุผิด + วิธีใช้ถูก = ไม่ได้ผล

ตัวจุลินทรีย์ผิด + วัสดุอาศัยผิด + อุณหภูมิผิด + อายุถูก + วิธีใช้ถูก = ไม่ได้ผล

ตัวจุลินทรีย์ผิด + วัสดุอาศัยผิด + อุณหภูมิถูก + อายุถูก + วิธีใช้ถูก = ไม่ได้ผล

ตัวจุลินทรีย์ผิด + วัสดุอาศัยถูก + อุณหภูมิถูก + อายุถูก + วิธีใช้ถูก = ไม่ได้ผล

ตัวจุลินทรีย์ถูก + วัสดุอาศัยถูก + อุณหภูมิถูก + อายุถูก + วิธีใช้ถูก = ได้ผล ยกกำลัง 5

ตัวจุลินทรีย์ หมายถึง ชื่อ กลุ่มต้องการอากาศ/ไม่ต้องการอากาศ
วัสดุอาศัย หมายถึง ชนิด/ประเภท/รูปลักษณ์ อินทรีย์วัตถุ
อุณหภูมิ หมายถึง เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต (เกิด กิน ตาย ขยายพันธุ์)
อายุ หมายถึง อายุขัยของจุลินทรีย์ สั้น/ยาว เท่าไร เพราะอะไร
วิธีใช้ หมายถึง มีแสง/ไม่มีแสง วัสดุอาศัย
ผลรับ หมายถึง กลุ่มสร้างสารอาหารได้สาอาหาร กลุ่มกำจัดเชื้อโรค ๆตาย


บทบาทของจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
1. ย่อยสลาย (กิน) อินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า "กรดอินทรีย์" ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ใน "รูป" ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ) และส่วนที่เป็นท็อกซิก. ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืชได้

2. ปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ทำให้ดินเป็นกลาง
3. จับยึดธาตุอาหารพืชจากอากาศไปไว้ในตัวเองแล้วปลดปล่อยให้แก่ต้นพืช
4. ปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ถูกดิน (กรดจัด) ตรึงไว้ให้ออกมาเป็นประโยชน์แก่ต้นพืช
5. ตรึงปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงไปไว้แล้วปลดปล่อยให้ออกมาช้าๆ เพื่อให้พืชได้มีเวลาดูดซับไปใช้งานได้ทันทีและสม่ำเสมอ

6. สลายฤทธิ์สารที่เป็นพิษต่อพืชให้เจือจางลงๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุด
7. กำจัดจุลินทรีย์ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นโทษ (เชื้อโรค) ต่อต้นพืช
8. เกิดได้เองตามธรรมชาติภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ประโยชน์ของฮิวมัส :
1. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
2. ป้องกันเม็ดดินอัดตัวกันแน่นจนเป็นดินเหนียวจัด
3. รักษาความชุ่มชื้นของเม็ดดิน (ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กก. เก็บน้ำได้ 19.66 ล..... จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
4. ลดและสลายสารพิษในดิน
5. กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
6. เสริมประสิทธิภาพของธาตุอาหารพืชที่ได้จากการสังเคราะห์แสง

เกร็ดความรู้เรื่อง "จุลินทรีย์" เพื่อการเกษตร :
1. จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ใช่สัตว์หรือพืช เรียกว่า "สัตว์เซลล์เดียว" อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีความชื้นตั้งแต่ระดับความชื้น 1-100% .... องค์การนาซาได้รายงานว่าพบจุลินทรีย์ในก้อนเมฆ และรายการ ทีวี. ดิสคัฟเวอรี่ แชลแนล ได้ให้ข้อมูลว่า ดิน 1 ลบ.ซม. มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ถึง 78 ล้านตัว

2. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร หมายถึง จุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมโดยเฉพาะ

3. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรเกี่ยวกับพืชโดยมีหน้าที่อนุรักษ์ดิน น้ำ สภาพแวดล้อม ผลิตและจัดการธาตุอาหาร กำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคและอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดี และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีภายใต้ความชื้น 25-50%

4. จุลินทรีย์ขยายพันธุ์โดยการแบ่งตัวเองแบบทวีคูณ เช่น 1 ตัวเมื่อโตเต็มที่จะแบ่งตัวเองออกเป็น 2 ตัว และ 2 ตัวเมื่อโตเต็มที่ก็จะแบ่งตัวเองออกเป็น 4 ตัว หรือจุลินทรีย์ 1 แสนตัว เมื่อโตเต็มที่ต่างก็แบ่งตัวเองกลายเป็น 2 แสนตัวเป็นต้น

5. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย. ไวรัส. ยีสต์. และรา. ซึ่งกลุ่มใหญ่ๆ เหล่านี้แยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีกหลายประเภท เช่น

- ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) มีประสิทธิภาพในการสร้างและส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานด้านการเกษตร (ดิน-น้ำ-อุณหภูมิ-สายพันธุ์-โรค) ให้พืชเจริญเติบโต

- ประเภทที่ไม่มีประโยชน์หรือเชื้อโรค (ฝ่ายอธรรม) มีประสิทธิภาพในการทำลายปัจจัยพื้นฐานด้านการ เกษตร ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตหรือตาย

- ประเภทไม่ต้องการอากาศ ชอบและอยู่ในดินลึกที่อากาศลงไปถึงได้น้อยหรือไม่มีอากาศเลย ถ้ามีอากาศจะตาย แต่ยังเป็นจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ

- ประเภทต้องการอากาศ ชอบและอยู่บริเวณผิวหน้าดินที่อากาศผ่านหรือถ่ายเทสะดวก ถ้าไม่ได้รับอากาศก็จะตาย

- ประเภทต้องการความชื้นน้อย เจริญเติบโต ขยายพันธุ์ได้ดีภายใต้สภาพความชื้นน้อยๆ หรือแห้งแล้ง

- ประเภทต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ภายใต้สภาพความชื้นที่เหมาะสม เช่น ชื้นพอดี ชื้นแฉะ น้ำขังค้าง

- ประเภทเกิดได้เร็ว เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะ สมภายใน 3-10 วัน

- ประเภทเกิดได้ช้า เกิดและขยายพันธุ์ได้ในถังหมักหรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องใช้ระยะ เวลา นานนับเดือนหรือหลายๆ เดือนทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดได้เร็วและเกิดได้ช้า ถ้าเป็นจุลินทรีย์ฝ่ายธรรมะย่อมมีประโยชน์ต่อพืชเหมือนๆ กันดังนั้นการใช้จุลินทรีย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรใช้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทหมักใหม่และหมักนานแล้วร่วมกัน

- จุลินทรีย์แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์ หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %

2. กลุ่มจุลินทรีย์ทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคต่างๆ รวมทั้งของเสียต่างๆ มีประมาณ 10 %

3. กลุ่มจุลินทรีย์เป็นกลาง มีประมาณ 80% จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่า จุลินทรีย์กลุ่มนี้ จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วย ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

จุลินทรีย์มีจุดเด่น คือ สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมากภายในเวลาสั้นๆ และต้องการปัจจัยสนับสนุนในการขยายพันธุ์น้อย เช่น น้ำ/อาหาร ดังนั้น เมื่อเรานำจุลินทรีย์ที่ผลิตปุ๋ยสำหรับพืชมาเลี้ยงไว้และทำให้เกิดการขยาย พันธุ์อย่างเข้มข้น เราก็จะได้ปุ๋ยสำหรับพืชอย่างพอเพียง

จุลินทรีย์ขยายพันธุ์จาก 1 เป็น 2 เป็น 4 เป็น 8 และหากเริ่มต้นจากจุลินทรีย์ 100 ตัว จะสามารถเพิ่ม จำนวนเป็น 100 ล้านตัวได้ภายในเวลาเพียง 6-12 ชั่วโมง ดังนั้น การคัดเลือกจุลินทรีย์ที่ดีสามารถสร้างปุ๋ยสำหรับพืชมาเพาะเลี้ยงไว้ในระบบนาโนจึงสามารถทำเป็นปุ๋ยสำหรับพืชที่สมบูรณ์แบบที่สุด

6. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์แห้งที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงที่อินทรีย์วัตถุเริ่มสลายตัวและอุณหภูมิในกองเริ่มเย็นลง

7. จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุ (ซากพืชและสัตว์) จะเจริญ เติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อกระบวนการหมักหมดฟองใหม่ๆ

8. การใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่เกี่ยวกับพืชให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรใช้ "ปุ๋ยอินทรีย์แห้ง" หรือ "ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ" ที่หมักนานข้ามปีแล้วกับที่หมักใช้การได้ใหม่ๆ ผสมกัน 1:1 จะได้ทั้งจุลินทรีย์ประเภทเกิดเร็วและประเภทเกิดช้า

9. อาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ คือ "รำละเอียด" และ "สารรสหวาน" เช่น กากน้ำ ตาล น้ำตาลในครัว น้ำหวานในเครื่องดื่มต่างๆ ในอัตราที่เหมาะสม ปริมาณของสารรสหวานมีผลต่อการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งสองชนิด กล่าวคือ

- สารรสหวานปริมาณมากเกินจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ทั้งจุลินทรีย์ดีและจุลินทรีย์โทษ

- สารรสหวานปริมาณที่น้อยเกินไปจะยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดีและส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ

- สารรสหวานปริมาณที่พอดีจะส่งเสริมการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์ดี และยับยั้งการเจริญพัฒนาของจุลินทรีย์โทษ

10. จุลินทรีย์ในถังหมักจะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และขยายพันธุ์ได้ดีมากภายใต้อุณหภูมิ 40 องศา ซี” มีอากาศหมุนเวียน มีสารอาหาร และค่ากรด-ด่างที่เหมาะสมสำหรับชนิดของจุลินทรีย์

11. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีที่สุด คือ "จุลินทรีย์ธรรมชาติ" หรือ "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" ซึ่งมีอยู่ในแปลงเกษตรนั้นๆ เป็นจุลินทรีย์ที่อยู่มานานแล้วและจะคงอยู่ที่นั่นต่อไปตราบเท่าที่สภาพ แวดล้อมต่างๆ เหมาะสม
………………………………………………………………………………………………………………..
จุลินทรีย์ไม่ใช่ปุ๋ย - ปุ๋ยไม่ใช่จุลินทรีย์ ....
** จุลินทรีย์ชื่อ คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า. แอ็คติโนมัยซิส. บาซิลลัส ซับติลิส. บาซิลลัส ทูรินจินซิส, ฯลฯ

** ปุ๋ยชื่อ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม แม็กเนเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานิส โมลิบดินั่ม โบรอน ซิลิก้า ฯลฯ ....

………………………………………………………………………………………………………….........

จุลินทรีย์กับปุ๋ย คือ คนละตัวกัน แต่อยู่ด้วยกัน ไปด้วยกัน เปรียบเสมือน ปุ๋ยคือข้าวสาร จุลินทรีย์คือคนหุงข้าวสาร .... ถามว่า คุณจะกินข้าวสารที่หุงแล้ว หรือกินคนหุง

ใส่อินทรีย์วัตถุ (OM) ลงไปในดิน ถ้าไม่มีจุลินทรีย์แปรรูปอินทรีย์วัตถุนั้นก่อน ต้นพืชก็เอาไปกินไม่ได้ อย่าลืมว่า พืชกินอาหารที่เป็นของเหลว โมเลกุลเล็กระดับอะมิโน .... นี่ไง จุลินทรีย์ คือ แม่ครัว ของต้นพืช

ในโลกนี้มีจุลินทรีย์นับล้านชนิด ที่มนุษย์รู้จักและตั้งชื่อแล้วเป็นเพียงเศษเสี้ยวส่วนล้านเท่านั้น เมื่้อไม่รู้จักแต่มนุษย์ก็ใช้วิธีแยกประเภท คือ ประเภทมีประโยชน์ กับประเภทมีโทษ เท่านี้ก็พอสื่อสารกันรู้เรื่อง

12. การบำรุงจุลินทรีย์ประจำถิ่นสามารถทำได้โดยการโรยรำละเอียดบางๆ รดด้วยน้ำเจือจางสารรสหวานพอหน้าดินชื้น ใส่หรือคลุมทับด้วยอินทรีย์วัตถุ แสงแดดส่องถึงได้เล็กน้อย อากาศถ่าย เทสะดวก มีระดับความชื้นพอดี เมื่อจุลินทรีย์ได้รับสารอาหารและสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง ขยายพันธุ์และทำหน้าที่ได้ดีเอง

13. จุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ (ฝ่ายธรรมะ) สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ .... ถ้าเป็นกรดจัดหรือด่างจัดจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้

14. จุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (ฝ่ายอธรรม) หรือเชื้อโรค สามารถดำรงชีวิต (เกิด กิน ขับถ่าย ขยายพันธุ์ และตาย) ได้ดีภายใต้สภาพโครงสร้างดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัด ..... ถ้าดินเป็นกรดอ่อนๆ หรือเป็นกลางจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรคพืช) นี้จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้หรือตายไปเอง

15. เนื่องจากพืชกินธาตุอาหารที่เป็นของเหลวด้วยการดูดซึม ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นชิ้น แม้ว่าอาหารชิ้นนั้นจะมีขนาดเท่าปลายเข็มก็กินไม่ได้ แต่หากอาหารชิ้นเท่าปลายเข็มนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวแล้วนั่นแหละพืชจึงจะดูดซึมไปใช้ได้ .... จุลินทรีย์ คือ ตัวทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารพืชที่สภาพยังเป็นชิ้นๆ (อินทรีย์วัตถุ) ให้กลายเป็นของเหลวจนพืชสามารถดูดซึมผ่านปลายรากไปใช้ได้ จุลินทรีย์จึงเปรียบเสมือน "แม่ครัว" หรือผู้ สร้างอาหารของต้นพืชนั่นเอง

16. การดูด้วยสายตาให้รู้ว่าบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ต่อพืช หรือมีจุลินทรีย์ประเภทมีโทษต่อพืช ดูได้จากการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้น ถ้าระบบรากสมบูรณ์ อวบอ้วน มีจำนวนมาก แสดงว่าดินดี หรือสังเกตการณ์ตอบสนองของพืชต่อปุ๋ยทางราก ทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยเพียงน้อยนิดแต่ต้นพืชยังเจริญเติบโตได้ดี ก็แสดงว่าดินดีอีกเช่นกัน และการที่ดินดีได้ก็เพราะมีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ (ธรรมะ) ทำหน้าที่อนุรักษ์ให้ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบรากไม่ดีหรือต้นพืชไม่เจริญงอกงามทั้งๆ ที่ใส่ปุ๋ยลงไปแล้วก็แสดงว่าดินไม่ดี และดินไม่ดีก็คือดินที่เป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์ (เชื้อโรค/อธรรม) นั่นเอง

.......................................................................................................
17. แหล่งจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ ได้แก่....
- บาซิลลัส ซับติลิส.......................... มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส................... มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา ..... มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
- แอ็คติโนมัยซิส ............................ มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย มูลสัตว์กินหญ้า
- แล็คโตบาซิลลัส ........................... มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย .................................. มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส ....... มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก ................................... มีอยู่ในรากต้นปรง
- อะโซโตแบ็คเตอร์. ........................ มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น

- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรีย์วัตถุสะสมมานาน

.............................................................................................................

18. ทดสอบจุลินทรีย์โดยการใส่จุลินทรีย์น้ำลงไปในขวด ใช้ลูกโป่งไม่มีลมสวมปากขวดรัดให้แน่น ทิ้งไว้ 2-5 วัน ถ้าลูกโป่งค่อยๆ พองโตขึ้นแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมากสมบูรณ์ แข็งแรงดี แต่ถ้าลูกโป่งพองโตช้าหรือไม่พองโตก็แสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยและไม่สมบูรณ์แข็งแรง

19. ช่วงแรกๆ ลูกโป่งจะพองโตขึ้น แสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศเกิดขึ้น แต่ครั้นนานๆ ไปลูกโป่งจะยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวดทดสอบก็แสดงว่าจุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศตายหมดแล้ว แต่มีจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน กรณีนี้ไม่เป็นปัญหาเพราะจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศก็เป็นจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่มีประโยชน์ต่อพืชเช่นกัน

20. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรมีหลายชนิดหรือหลายประเภท แต่ละชนิดหรือแต่ละประเภทที่ผ่านกรรมวิธีในการหมักหรือขยายเชื้อดีแล้วสามารถนำมาใช้รวมกันหรือใส่ลงไปดินพร้อมๆ กันแล้วให้อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจะได้รับประโยชน์มากกว่าการใช้จุลินทรีย์เพียงอย่างเดียวหรือตัวเดียว

21. จุลินทรีย์ไม่ใช่ธาตุอาหารหรือฮอร์โมนพืช แต่เป็นผู้สร้าง หรือผลิตอาหาร หรือฮอร์โมน ให้แก่พืช ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าจุลินทรีย์ คือ "ผู้อารักขาพืช" ก็ได้ เพราะนอกจากผลิตอาหารหรือฮอร์โมนให้แก่พืชแล้ว ยังปรับปรุงดูแลสภาพแวดล้อม ที่อยู่ที่กินของพืชอีกด้วย

22. จุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งจะมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เปลี่ยนสภาพเป็นธาตุอาหารพืชตัวหนึ่ง กล่าวคือ อินทรีย์วัตถุชิ้นหนึ่ง (ชิ้นเดียวกัน) เมื่อถูกจุลินทรีย์กลุ่มใดเข้าย่อยสลายก็จะได้สารอาหารพืชตัวนั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยจุลินทรีย์หลากหลายกลุ่มเข้าย่อยสลายอินทรีย์วัตถุชิ้นนั้น จึงจะได้สารอาหารพืชกลากหลายชนิด เช่น

- AZOSPIRILLUM SPP. เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ทำให้ N. ในบรรยากาศคงที่เพื่อให้พืชได้ รับอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้สีสันของใบพืชเขียวสด ส่งเสริมกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชดำเนินไปอย่างราบรื่น ป้องกันและแก้ปัญหาใบเหลืองในพืช

- PHOSPHATE SOLUBILIZING BACTERIA ช่วยย่อยสลาย P. (ในอินทรีย์วัตถุ) ที่ยังอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ไม่ได้ให้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้

- LACTOBACILLUS มีประสิทธิภาพในการสร้างสารละลาย K. ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ช่วยเพิ่มระดับ K. ให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชเพื่อใช้ในการพัฒนาผลผลิต ช่วยในการสร้างรูปร่างลักษณะและแบบของ ดอก-ผล และน้ำหนัก

- LAIN-LAIN BACTERIA & OTHER BACTERIA มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสาร พิษในแอมโมเนีย ให้เป็น แอมโมเนีย ไนเตรท. เพื่อเสริมประสิทธิระบบการดูดซึมสารอาหารในลำต้นพืช

- YEAST GROUP SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นช่วยย่อยสลายสารอนินทรีย์ให้มาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ดี ช่วยเพิ่มสมรรถภาพและความแข็งแรงในการกำจัดเชื้อโรค

- ACTINOMYCES SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างสารกำจัดเชื้อโรค ช่วยเพิ่มความ ต้านทานต่อสภาวะความรุนแรงอันเกิดจากเชื้อโรค

- GROWTH FACTOR PRODUCING BACTERIA SERIES มีประสิทธิภาพในการสร้างฮอร์โมน เพื่อเสริมสร้างความเจริญทางด้าน ต้น. กิ่ง. ใบ.

23. น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้น..... เลือกวัสดุส่วนผสมเฉพาะตัว และกรรม วิธีในการหมัก) หมักข้ามปี หลังจากกากส่วนผสมทั้งหมดจมลงนอนก้นถังแล้วไม่มีการคนให้อากาศตลอดระยะเวลาข้ามปี จะมีจุลินทรีย์กลุ่มบาซิลลัส.ที่ไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นจำนวนมาก จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะผลิตสาร "ท็อกซิก" ซึ่งเป็นสารพิษต่อศัตรูพืช (โรค-แมลง-หนอน) เมื่อใช้ให้ทางใบประจำจะช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ ....ในถังหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง ไม่มีแมลงวันตอม เป็นสิ่งบอกเหตุว่าในน้ำหมักนั้นมีสารท็อกซิก.

24. จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์กินกากน้ำตาลหรือสารรสหวานเป็นอาหาร ในขณะที่จุลินทรีย์โทษ (เชื้อโรค) ไม่กินสารรสหวาน การมีสารรสหวานในอัตราส่วนที่เหมาะสมจะช่วยให้จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์เจริญพัฒนาแล้วกำจัดจุลินทรีย์โทษได้เองตามธรรมชาติวิสัยของจุลินทรีย์

25. ในถังหมักที่เป็นของเหลวและมีจุลินทรีย์เป็นองค์ประกอบหนึ่งทุกชนิด ย่อมมีจุลินทรีย์หลาก หลายชนิด ทั้งที่เจาะจงใส่ลงไปและที่เกิดเองตามธรรมชาติ เมื่อจุลินทรีย์เหล่า นี้ตายจะเกิดเป็นฝ้าบนผิว หน้าของๆเหลวที่หมักนั้น ถ้าเป็นจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ ฝ้านั้นจะไม่มีกลิ่น ครั้นเมื่อคนให้ฝ้าจมลงจะกลาย เป็นอาหารอย่างดีของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่ .... แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์โทษ (เชื้อโรค) จะมีกลิ่นเหม็น แสดงว่าอัตราส่วนวัสดุที่ใช้หมักกับกากน้ำตาลไม่สมดุลกัน จึงเกิดจุลินทรีย์โทษได้ แก้ไขโดยเติมเพิ่มกากน้ำ ตาล คนเคล้าให้เข้ากันดีทั่วถัง จากนั้นจะลินทรีย์ดีจะกินกากน้ำตาลแล้วเจริญพัฒนาขึ้นและกินฝ้าจุลินทรีย์โทษจนจุลินทรีย์โทษจะค่อยๆตายแล้วหมดไปในที่สุดไป

26. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ขยายเชื้อใน "น้ำ + สารรสหวาน + อากาศ" หลังจากผ่านขั้นตอนการขยายเชื้อเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำขึ้นจาก "น้ำขยายเชื้อ" ออกใช้งานทันที หรือนำ ไปฝากหรือส่งไปอยู่ในที่ชื้น เช่น ปุ๋ยอินทรีย์. ปุ๋ยคอก. หรือลงดินไปเลย .... การเก็บนานจุลินทรีย์ที่ผ่านการขยายเชื้อแล้วไว้ในน้ำสารรสหวาน จะทำให้จุลินทรีย์ชุดแรกที่ได้ตายแล้วเกิดจุลินทรีย์ชุดใหม่ขึ้นมาแทน เป็นเหตุให้ไม่ได้จุลินทรีย์ประเภทที่ต้องการ

การใช้จุลินทรีย์ชนิดน้ำจากท้องตลาดซึ่งมีสารรสหวาน (น้ำ) เป็นแหล่งอาศัย จึงเท่ากับได้เพียง "สารอาหาร" จุลินทรีย์เท่านั้น โดยไม่มีตัวจุลินทรีย์แต่อย่างใด เมื่อไม่มีตัวจุลินทรีย์หรือมีแต่น้ำสาร อาหารจุลินทรีย์เปล่าๆ แล้ว "ใช้ได้ผล" นั้น เป็นผลโดยตรงของ "จุลินทรีย์ประจำถิ่น" ซึ่งอดีตที่ผ่านมาไม่เคยได้รับสารอาหารใดๆ เลย ครั้นเมื่อได้รับสารอาหารก็ย่อมเจริญพัฒนาเป็นธรรมดา

การเก็บจุลินทรีย์เพื่อใช้งานนานๆ ต้องเก็บใน "ความชื้น-อากาศ-อุณหภูมิ” ควบคุม เช่น เก็บในผงคาร์บอนเบา. แป้งข้าวฟ่าง. มูลม้า. รำพวนข้าว. เป็นต้น

27. เทคนิคการใช้จุลินทรีย์ท้องตลาดให้ได้ผลสูงสุด ทำดังนี้ เตรียม "น้ำ (พีเอช 6.0) 10 ล. + น้ำมะพร้าว 1 ล. + กากน้ำตาล 1 ล." คนเคล้าให้เข้ากันดีแล้วเติม "จุลินทรีย์ (ผง) 100 กรัม" คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้ง .... เติมอากาศ (ปั๊มออกซิเจน) ตลอดเวลานาน 48 ชม. ครบกำหนดแล้วให้นำออกใช้ทันที

28. ในกากน้ำตาลมีสารพิษต่อ 18 ชนิด ก่อนใช้งานขยายเชื้อจุลินทรีย์ควรนำขึ้นความร้อน 70 องศา ซี. นาน 30 นาทีก่อน ความร้อนจะช่วยสลายฤทธิ์ความเป็นพิษในกากน้ำตาลได้

29. สารรสหวานตามธรรมชาติ ได้แก่ น้ำผึ้ง. น้ำอ้อย. น้ำตาลจากมะพร้าว-ตาล. น้ำต้มฝักก้ามปูสุก. เป็นสารรสหวานที่ปราศจากสารเคมีอย่างแท้จริง

30. การใส่ "อินทรีย์วัตถุ" ลงไปในดิน พีเอช 6.0 แล้วราดรดด้วย "สารรสหวาน" เดี่ยวๆ คือการให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ที่มีอยู่เดิมในอินทรียวัตถุและในดิน เทคนิคนี้ยังประหยัดและไม่ต้องเสี่ยงกับจุลินทรีย์โทษที่อาจแฝงปนเปื้อนมาด้วย


จุลินทรีย์ธรรมชาติ
หลักการและเหตุผล :
- การที่จะรู้ว่าพื้นดินหรือแหล่งปลูกพืชบริเวณใดมีจุลินทรีย์ประเภทใดได้นั้น สังเกตจากการเจริญเติบโตของต้นพืชที่ขึ้นในบริเวณนั้นหรือใกล้เคียงเป็นหลัก ถ้าต้นพืชเจริญเติบโตดีแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทมีประโยชน์ แต่ถ้าต้นพืชไม่เจริญเติบโตแสดงว่ามีจุลินทรีย์ประเภทไม่มีประโยชน์

- ประเภทของจุลินทรีย์ธรรมชาติในแหล่งธรรมชาติ
* รากหญ้าแฝก หญ้าขน หญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น มีจุลินทรีย์อะโซโตแบ็คเตอร์
* ปมรากถั่วลิสง มีจุลินทรีย์คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซ่า.
* รากมะกอกน้ำ มีจุลินทรีย์บาซิลลัส
* รากกล้วย มีจุลินทรีย์แอ็คติโนมัยซิส
* รากพืชตระกูลถั่วยืนต้น เช่น สะดา เหลียง มะขามเทศ
* เศษใบไม้ เศษกิ่งไม้ ผุเปื่อย
* ดินผิวดินที่ประวัติเคมีมีเห็ดธรรมชาติเกิดประจำ

วิธีขยายเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ :
น้ำ (พีเอช 6.7-7.0) 10 ล.
กากน้ำตาล 1 ล.
น้ำมะพร้าว 1 ล.
วัสดุจุลินทรีย์เริ่มต้น 1-2 กก.

คนเคล้าให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจนตลอด 24 ชม. 7-10 วัน ได้ "หัวเชื้อ" พร้อมใช้งาน ใช้ "หัวเชื้อ 1 ล./น้ำ 500 ล." (1 : 500) ราดรดลงดิน หรือบนกองปุ๋ยอินทรีย์

หมายเหตุ :
การนำวัสดุที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ธรรมชาติ หลายๆอย่าง สับเล็ก ใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์หมักในกอง ก็จะทำให้จุลินทรีย์จากแหล่งธรรมชาติที่ใส่ร่วมลงไปนั้นขยายเชื้อเพิ่มปริมาณได้

จุลินทรีย์ อีแอบ :
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :

1. ใช้ “ปลาทะเลสดยังมีชีวิตทั้งตัวบดละเอียด 1 กก. + กากน้ำตาล 50 ซีซี. + หัวกระเทียมบด ละเอียด 200-300 กรัม.” ผสมนวดให้เข้ากันดี

2. นำเนื้อปลาที่นวดดีแล้วห่อด้วยใบตองหลายๆ ชั้น รัดห่อด้วยเชือกเป็นเปราะๆ เหมือนห่อหมูยอ แล้วเก็บไว้ในตู้กับข้าว ทิ้งไว้ 7-10 วัน ช่วงอุณหภูมิอากาศปกติ หรือ 15-20 วันช่วงอุณหภูมิอากาศเย็นได้

“ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ." เข้มข้น พร้อมนำไปขยายเชื้อ

ขยายเชื้อจุลินทรีย์ :
1. เตรียมน้ำต้มเดือดจัดเพื่อฆ่าเชื้อโรค ปล่อยทิ้งให้เย็น 10 ล.ในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ สะอาด ใส่กากน้ำตาลลงไป 1 ล. หรืออัตราส่วน 10 : 1 คนให้เข้ากันดี

2. นำก้อนเชื้อจุลินทรีย์ออกมาจากห่อ ใส่ลงไปในน้ำ ขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี
3. ใส่ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ลงไปแล้วช่วงการหมัก 24-48 ชม.แรกให้ปิดฝาสนิท อย่าให้อากาศเข้าได้ ผ่าน 24-48 ชม.ไปแล้วคลายฝาออกปิดพอหลวม ระวังอย่าให้สิ่งแปลกปลอมตกลงไป ติดปั๊มออกซิเจนเพื่อเติมอากาศให้แก่จุลินทรีย์

4. ตรวจสอบประจำวันด้วยการสังเกตฟองที่เกิดขึ้นในถังขยายเชื้อ ถ้ามีฟองผุดขึ้นมามากแสดงว่ามีจุลินทรีย์จำนวนมาก สมบูรณ์ และแข็งแรง แต่ถ้ามีฟองผุดขึ้นมาน้อยแสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อยให้ใส่เพิ่ม “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์” พร้อมกับเติมกากน้ำตาลอีก อัตรา ¼ ของที่ใส่ครั้งแรกกับน้ำมะพร้าวอ่อนเล็กน้อยลงไป คนเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งแล้วหมักขยายเชื้อต่อไป

- หลังจากหมดฟองแล้วได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” ให้นำออกใช้ทันทีในวันรุ่งขึ้น
- ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำออกไปใช้ ให้ปฏิบัติเหมือนขยายเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น

หมายเหตุ :
- ไม่ควรเก็บจุลินทรีย์ที่ขยายเชื้อจนเจริญดีแล้วไว้ในน้ำขยายเชื้อนานเกินไป เพราะจะทำให้จุลิน ทรีย์กลุ่มแรก (จุลินทรีย์ที่ต้องการ) ซึ่งเกิดก่อนต้องตายแล้วเกิดจุลินทรีย์กลุ่มใหม่ (ไม่รู้จัก) ขึ้นมาแทน ทั้งนี้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ต้องการความชื้นเพียง 30-70% เท่านั้น

- การควบคุมอุณหภูมิในถังขยายเชื้อหรือถังหมักให้อยู่ที่ 40 องศา ซี. อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้จุลินทรีย์เจริญและขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น
.............................................................................................................
* ดร.สุริยา ศาสนรักกิจ. ตรวจสอบจุลินทรีย์ อีเอ็ม. ว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มไหนบ้าง จากนั้นพยายามคัดสรรสารพัดวัสดุเพื่อนำมา เพาะ/ขยายเชื้อ จนกระทั่งพบว่า “ปลาทะเล” ทำให้ได้จุลินทรีย์กลุ่มเดียวกันกับ อีเอ็ม. ทันทีที่พบถึงกับอุทานว่า "แอบ" อยู่นี่เอง และนี่คือที่มาของชื่อว่า "อีแอบ" ที่ลุงคิมตั้งให้เอง ..................................................................................................................


จุลินทรีย์ อีแอบ ซุปเปอร์
เตรียมเชื้อเริ่มต้น :

ใช้ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น” หมักนานจนพร้อมใช้งานแล้ว
การขยายเชื้อและวิธีใช้ :
- เตรียมน้ำขยายเชื้อเหมือนเดิม
- ใส่ “ก้อนเชื้อจุลินทรีย์ อีแอบ.เข้มข้น + จุลินทรีย์ท้องตลาดหรือจุลินทรีย์อื่นๆ” ลงในถังขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี

- กรรมวิธีการหมักขยายเชื้อเหมือนการทำจุลินทรีย์ อีแอบ.ทุกประการ

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ท้องตลาดได้แก่ ยาคูลท์ โยเกิร์ต และร้านขายสินค้าเกษตรทั่วไป
- จุลินทรีย์อื่นๆ หมายถึง พด. จุลินทรีย์หน่อกล้วย. จุลินทรีย์ประจำถิ่น. ฯลฯ ที่พร้อมใช้งานดีแล้ว ซึ่งจะทำให้ใน อีแอบ. มีจุลินทรีย์กลุ่มอื่นเพิ่มขึ้น



.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/01/2024 8:44 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2024 7:35 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
จุลินทรีย์จาวปลวก
จาวปลวก คือ รังของปลวกสีขาวขุ่น รูปร่างคล้ายปะการัง หรือมันสมอง เป็นช่องตารางเหมือนรังผึ้ง มีแบคทีเรียกลุ่มโปรโตซัวร์ ชื่อ BACILLUS SEREUS ช่วยบำรุงราก เป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อโรครากเน่า รากขาว รากปม

ในลำไส้ปลวกมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายเส้นใยของเศษซากพืช แล้วเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นสารอาหารสำหรับพืชได้

ขยายเชื้อจุลินทรีย์จาวปลวก :
วิธีที่ 1 :
จาวปลวกสดใหม่ 1 กก., ข้าวเหนียวนึ่งปล่อยให้เย็น 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วนำลงผสมน้ำ 20 ล. คนเคล้าให้เช้ากัน ปิดฝาภาชนะสนิท เก็บในอุณหภูมิ ห้อง ทิ้งไว้ 7 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 2 :
จาวปลวกสดใหม่ 1 กก., ข้าวจ้าวสุกปล่อยให้เย็น 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วนำลงผสมน้ำ 20 ล. คนเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะสนิท เก็บในอุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ 7 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 3 :
- จาวปลวกสดใหม่ 1/2 กก. พ่นน้ำซาวข้าวพอชื้นๆ ใส่ลงในกระติกน้ำแข็ง ปิดฝาสนิท วางไว้กลางแดดวันละ 4-5 ชม. หน้าร้อน 2-3 วัน หน้าหนาว 5-7 วัน

- ครบกำหนดเปิดกระติก เส้นใยสีขาว คือ เชื้อโปรโตซัวร์ พร้อมขยายต่อ
- นำเชื้อโปรโตซัว. คลุกกับข้าวเหนียวนึ่งสุก 1/2 กก. (1:1) ใส่ลงภานะน้ำซาวข้าว 20 ล. ปิดฝาสนิท อุณหภูมิห้อง นาน 7-10 วัน เริ่มเกิดฝ้าสีขาวปนเทา ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

วิธีที่ 4 :
น้ำ 10 ล. + กากน้ำตาล 1 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี เป็นน้ำขยายเชื้อ ใส่จาวปลวก สดใหม่บดละเอียด 1 กำปั้นมือ ลงในน้ำขยายเชื้อ คนเคล้าให้เข้ากันดี ปิดฝาพอหลวม วางไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ใส่ปั๊มอ๊อกซิเจน (ปั๊มปลาตู้) เพื่อเติมออกซิเจนให้แก่จุลินทรีย์ ปล่อยไว้ 5-6-7 วัน เพื่อให้เวลาแก่จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ อากาศร้อนขยายพันธุ์เร็ว อากาศเย็นขยายพันธุ์ช้า

ใช้งาน :
- หัวเชื้อเข้มข้น 1-2 ล. + น้ำตามความจำเป็น ใส่นาข้าว/พืชไร่ 1 ไร่ หรือแปลงปลูกผัก 1 ไร่ หรือโคนต้นไม้ผลบริเวณทรงพุ่ม 10-20 ต้น หรือใส่ในกองปุ๋ยอินทรีย์ 1 กอง (1 ตัน) ใส่มากเกินไม่ส่งผลเสีย แต่สิ้นเปลืองเท่านั้น

- จาวปลวก สดใหม่ บดละเอียด ผสมปุ๋ยอินทรีย์ในกอง หรือหว่านลงพื้นในแปลงปลูก จุลินทรีย์ในจาวปลวกก็ขยายเผ่าพันธุ์เองได้

หมายเหตุ :
- ทดสอบจุลินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการขยายพันธุ์แล้ว ตักน้ำเลี้ยงจุลินทรีย์ใส่ขวดน้ำดื่ม ปิดฝาขวดด้วยลูกโป่ง ทิ้งไว้ 3-4-5 วัน แล้งสังเกตลูกโป่ง .... ลูกโป่งพองโตมากและเร็ว แสดงว่าจุลินทรีย์มาก สมบูรณ์ แข็งแรง ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน .... ถ้าลูกโปร่งพองโตน้อยและช้า แสดงว่าจุลินทรีย์น้อย ไม่สมบูรณ์ และไม่แข็งแรง ให้ขยายเชื้อต่อไป
- วิธีการนี้นำไปทดสอบจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด


จุลินทรีย์หน่อกล้วย
เตรียมเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น :
1. เลือกหน่อกล้วยความสูง 1 ม.จากพื้นถึงยอด เป็นหน่อชนิดที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรค เกิดจากต้นแม่ที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตดี ทั้งต้นแม่และหน่ออยู่ในบริเวณที่ดินมีค่ากรด-ด่างเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ

2. ขุดหน่อขึ้นมาให้มีเหง้าติดรากมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สลัดดินทิ้งไปให้เหลือติดรากไว้เล็กน้อย ไม่ต้องล้างน้ำ

3. สับเล็กหรือบดละเอียดทั้งต้น (ราก เหง้า ต้น) ที่ตัดมา อัตราส่วน หน่อกล้วย 3 ส่วน : กากน้ำตาล 1 ส่วน (3:1) เติมน้ำมะพร้าวอ่อนพอเหลว บรรจุในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี เก็บในร่ม อุณหภูมิห้อง คนบ่อยๆ เพื่อเร่งอากาศให้แก่จุลินทรีย์ หมักนาน 7-10 วัน กรองเอากากออก น้ำที่ได้คือ “น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วยเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

ขั้นตอนการหมัก การตรวจสอบ และการนำไปใช้ เหมือนจุลินทรีย์ประจำถิ่น อายุการเก็บนาน 6 เดือนหลังจากหมดอายุแล้วนำมาขยายเชื้อด้วยจุลินทรีย์เริ่มต้นชุดใหม่ได้

ประโยชน์ :
- ใช้ในการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนพืช บ่มดิน ปรับปรุงดิน ฯลฯ
- ราดลงดินช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยและกำจัดเชื้อโรคในดิน
- ผสมกับปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ให้ได้ความชื้น 50% ช่วยเร่งให้ ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก ใช้งานได้เร็วและดีขึ้น

- ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุที่ใส่ลงไปในดินให้เกิด “ฮิวมิค แอซิด” ได้เร็วและจำนวนมาก
- ช่วยย่อยสลายฟางในนาข้าวที่ไถกลบช่วงทำเทือกให้เปื่อยยุ่ยเร็วขึ้น
- ฉีดพ่นทางใบช่วยกำจัดเชื้อรา ทำให้หนอนไม่ลอกคราบไม่กินอาหาร (ทำลายพืช) ทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนฟักออกมาเป็นตัวหนอนไม่ได้ และขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้าวางไข่

- กำจัดเชื้อโรคในน้ำในร่องสวน สระกักเก็บน้ำ และคอกปศุสัตว์

หมายเหตุ :
- ในหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม “แอ็คติโนมัยซิส” ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง
- ฉีดพ่นจุลินทรีย์หน่อกล้วยทางใบให้ทั่วทรงพุ่มตอนกลาวันช่วงหลังฝนหยุด (ฝนต่อแดด) เพื่อล้างน้ำฝนออกจากต้นไม่ให้น้ำฝนแห้งคาต้นช่วยกำจัดเชื้อราแอนแทร็คโนส. ไม่ให้เข้าทำลายใบ ยอด ดอก ผล และส่วนต่างๆ ของพืชได้ .... ฉีดพ่นตอนเช้ามืดเพื่อล้างน้ำค้างและหมอกออกจากต้นก่อนที่น้ำค้างและหมอกจะแห้งคาต้น ช่วยกำจัดเชื้อราน้ำค้าง. ราแป้ง. ราสนิม. ไม่ให้เข้าทำลายส่วนต่างๆ ของต้นพืชได้

- จุลินทรีย์กลุ่มแอ็คติโนมัยซิส. มีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคพืชประเภทเชื้อราในดิน เช่น เชื้อไฟธอปเทอร่า. พิเทียม. ฟูซาเลียม. สเคลโรเทียม. และไรช็อคโธเนีย. ได้ผลดีมาก

- ถ้าไม่ใช้หน่อกล้วยทั้งหน่อ สามารถใช้เฉพาะส่วนลำต้นของต้นกล้วยแก่ตัดเครือใหม่ๆ แทนก็ได้ ด้วยอัตราส่วนและวิธีการเดียวกัน


จุลินทรีย์ก้นครัว
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
ใช้อาหารหมักดองที่ สี กลิ่น และรสชาด พร้อมบริโภค เช่น แหนม. ส้มฟัก. ปลาส้ม. ผักดอง. เต้าเจี้ยว. เต้าหู้ยี้. ยาคูลท์. โยเกิร์ต. นมเปรี้ยว. ถั่วเน่า. กะปิ. สภาพสดใหม่ สะอาด สภาพดี รับประทานได้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ๆละเท่าๆกัน ขยำพอแหลก เป็น “จุลินทรีย์เริ่มต้น” ใส่ใน “น้ำขยายเชื้อ” แล้วดำเนินการหมักเหมือนการขยายเชื้อ จุลินทรีย์ตามปกติ

วิธีใช้และอัตราใช้ :
- ใช้เป็นจุลินทรีย์เริ่มต้นในกองปุ๋ยหมักหรือในดิน
- ในมูลไก่ค้างคอน มูลสัตว์กินเนื้อ ขี้เพี้ยวัว/ควาย สภาพสดใหม่ก็มีจุลินทรีย์ เมื่อนำมาขยายเชื้อในน้ำขยายเชื้อหรือผสมปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงดินก็จะได้จุลินทรีย์ที่ดีเช่นกัน

- น้ำผักดองที่อยู่ในไห คือ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องนำไปขยายเชื้ออีก

อัตราใช้ “น้ำผักดองในไห 1 ล./น้ำ 500 ล.” (1:500) ให้ทางดินหรือใส่ร่วมใน ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก จุลินทรีย์ก็จะเจริญขยายพันธุ์ได้เอง

หมายเหตุ :
ดร.อิงะ นักวิชาการเกษตรอินทรีย์ญี่ปุ่น ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์จากแหล่งต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอาหารหมักดอง แล้วพัฒนาจนกลายเป็นจุลินทรีย์ อีเอ็ม. นำมาใช้อย่างได้ผลจนกระทั่งปัจจุบัน


จุลินทรีย์ฟังก์จัย
วัสดุส่วนผสม :
ฟางเห็ดฟางที่เชื้อเห็ดเริ่มเจริญ 10 กก.
มูลวัวไล่ทุ่งแห้งเก่าค้างปี 10 กก.
รำละเอียด 1 กก.
ข้าวฟ่างสดใหม่บดละเอียด 1 กก.
ยิบซั่มธรรมชาติ 1 กก.

คลุกเคล้าวัสดุส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี ทำกองบนแผ่นพลาสติกหรือพื้นคอนกรีตน้ำเข้าไม่ได้ อยู่ในร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก

น้ำขยายเชื้อ :
น้ำต้มปล่อยให้เย็น 10 ล.
น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ล.
กากน้ำตาล 1 ล.
นมสดสัตว์รีดใหม่ 1 ล.

วิธีทำ :
ใส่ส่วนผสมตามลำดับ คลุกเคล้าวัสดุส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี พร้อมกับพรมด้วยน้ำขยายเชื้อให้ทั่วกองได้ความชื้น 50% เสร็จแล้วทำกองอัดแน่น ปิดทับด้วยพลาสติกให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุด ช่วงการหมัก 5-7 วันแรก ถ้ามีควันเกิดขึ้นให้กลับกองระบายอากาศ และให้กลับกองทุกครั้งเมื่อมีควันเกิดขึ้น หลัง จากหมดควันแล้วให้กลับกองทุก 10-15 วัน จนกระ ทั่งเห็นว่าวัสดุส่วนผสมเย็น มีกลิ่นหอมรำข้าว เนื้อนุ่มเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลอมดำ ได้ "หัวเชื้อจุลินทรีย์ฟังก์จัยเข้มข้น" พร้อมใช้งาน

วิธีใช้และอัตราใช้ :
ใช้ "หัวเชื้อเข้มข้น 1 กระป๋องนม/พื้นที่ 1 ตร.ว." เป็นเชื้อเริ่มต้น หรือใช้ "หัวเชื้อเข้มข้น 10 กก.ผสมปุ๋ยหมัก 100 กก." เป็นเชื้อเริ่มต้น วิธีขยายเชื้อจุลินทรีย์


จุลินทรีย์นมสด
วัสดุส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
นมโคสด รีดใหม่ จากฟาร์ม 10 ล.
น้ำส้มสายชู 100 ซีซี.
น้ำมะพร้าว 1 ล.
กากน้ำตาล 1 ล.
ยิสต์ทำขนมปัง 100 กรัม

คนเคล้าทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจน ตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วัน ได้ "หัวเชื้อ" เข้มข้น ....

วิธีใช้ : "หัวเชื้อ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล.” ราดรดลงดิน

หมายเหตุ :
ในน้ำนมดิบประกอบด้วยสารอาหารโปรตีนสูง ที่ เรียกว่า เคซีน , โกลบูลนิ, อลับูมิน และมีกรดอะมิโนอยู่19 ชนิด ในน้ำนม มีน้ำตาลที่มีชื่อว่าแล็คโตส (Lactose) และ ที่น่าสนใจคือโปรตีนที่เรียกว่า เคซีน (Casein) จะพบในธรรมชาติ คือ ในน้ำนมเท่านั้น

เมื่อย่อยโปรตีนจะได้กรดอะมิโน เมื่อย่อยกรดอะมิโน จะได้ในโตรเจน (N) ดังนั้น ที่ไหนมีโปรตีนที่นั่นมีกรดอะมิโน ที่ไหนมีกรดอะ มิโนที่นั่นมีในโตรเจน (N) ที่ไหนมีในโตรเจน (N) กรดอะมิโน และโปรตีน ที่ นั่นพืชเจริญงอกงาม


จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง
วัสดุส่วนผสม วิธีทำ และวิธีใช้ :
จุลินทรีย์เริ่มต้น + น้ำ 10 ล.
กากน้ำตาล 1 ล.
น้ำมะพร้าว 1 ล.
ยูเรีย 100 กรัม

จุลินทรีย์เริ่มต้น : ฟางใหม่จากนาปีนั้น อยู่บริเวณในนาที่ไม่ปุ๋ยเคมี ไม่สารเคมีฆ่าแมลง ไม่ยาฆ่าหญ้า มีน้ำท่วมขังค้างนาน เริ่มเปื่อยยุ่ย นำมาทั้งฟางและน้ำ ใส่ภาชนะ ใส่ส่วนผสมต่างๆ คนเคล้าส่วนผมทุกอย่างให้เข้ากันดี เติมอ๊อกซิเจนตลอด 24 ชม. นาน 7-10 วัน ได้ "หัวเชื้อ" เข้มข้น พร้อมใช้งาน หรือขยายเชื้อต่อ

วิธีใช้ "หัวเชื้อ 1-2 ล." ผสมน้ำตามความเหมาะสม สาดให้ทั่วแปลงนา 1 ไร่ ช่วงหมักฟางหรือใส่กองปุ๋ยอินทรีย์หมัก 1 ตัน


ขยายเชื้อไตรโคเดอร์ม่า
- เตรียมจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า พร้อมใช้
- ข้าวสุก 1 ทับพี + หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา 1 ช้อนชา. คลุกให้เข้ากัน ใส่ลงถุงพลาสติก แล้วขยำถุงให้ข้าวสุกกับเชื้อเข้ากันดี ทำถุงแบนๆ พับปากถุงลงด้านล่าง วางบนพื้น อย่าวางถุงซ้อนกัน เจาะรูที่ถุงให้อากาศเข้าได้เล็กน้อย เก็บในรุ่ม อุณหภูมิห้อง

- ขยำถุงซ้ำ 2-3 วัน/ครั้งเพื่อให้เชื้อกระจายตัวดี ประมาณ 7-10 ข้าวสุกเปลี่ยนเป็นสีเขียว ชาวบ้านเรียก "ราเขียว" กลิ่นหอม ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน

- ขณะ ทำ/ขยาย เชื้ออยู่ในอุณหภูมิห้อง หลังจากได้หัวเชื้อมาแล้วต้องเก็บในตู้เย็น ช่องเย็นธรรมดา อยู่นานได้ 1 เดือน

- อัตราใช้ หัวเชื้อเข้มข้น 1 ถุง ผสมน้ำ 100 ล. รดทั่วบริเวณที่ต้องการ

หมายเหตุ :
- ปุ๋ยอินทรีย์ วัสดุ/ส่วนผสม/วิธีทำ ถูกต้อง เมื่ออุณหภูมิในกองร้อน 60 องศา ซ. เชื้อไตรโคเดอร์ม่า เกิดเองตามธรรมชาติ แต่ถ้าอุณหภูมิในกองร้อนเกิน 70 องศา ซ. เชื้อไตรโคเดอร์ม่าตาย

- น้ำหมักชีวภาพ หมักนานข้ามปี ระหว่างการหมักไม่เกิดหนอน ไม่มีกลิ่นเหม็น จะมีเชื้อไตรโคเดอร์ม่าเกิดขึ้นด้วย

- ไตรโคเดอร์ม่า ไม่สู้หรืออยู่ไม่ได้ในดินที่เป็นกรดจัด การใส่ไตรโคเดอร์ม่าลงไปในดินที่มีโรคที่เกิดจากดินเป็นกรดจัด (ไฟธอปเทอร์ร่า พิเทียม ฟูซาเลียม สเคลโรเทียม ไรซ็อคโทเนีย ไส้เดือนฝอยรากปม ฯลฯ....เกิดเองตามธรรมชาติเมื่อดินเป็นกรดจัด) ทันที่ใส่ลงไปไตรโคเดอร์ม่าจะตายทันที วิธีใช้ไตรโคเดอร์ม่าให้ได้ผลสูงสุด คือ ใส่ล่วงหน้ากนที่ดินจะเป็นกรด หรือใช้ป้องกันดีกว่ากำจัด นั่นเอง


ขยายเชื้อเห็ดธรรมชาติ :
หลักการและเหตุผล :
- เห็ดที่กินได้ ทั้งที่เกิดเองในธรรมชาติ และในโรงเรือน แท้จริง คือ “รา” และราก็คือ “จุลินทรีย์” กลุ่มหนึ่ง ในเมื่อเห็ดในโรงเรือนขยายพันธุ์ได้ จึงไม่มีเหตุใดที่เห็ดธรรมชาติจะขยายพันธุ์ไม่ได้

วิธีขยายเชื้อเห็ดธรรมชาติ :
- เตรียมต้นพืชอาศัยไม้ยืนต้น ได้แก่ มะกอกน้ำ ชมพู่ ลำดวน แค ทองหลาง รำเพย ลำไย ยี่โถ ชบา มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ ลิ้นจี่ ขนุน มะไฟ ชมพูพันธุ์ทิพย์ โสน หว้า ยางนา ตะแบก มะค่า ฯลฯ ใส่ยิบซั่ม ปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ น้ำหมักชีวภาพ .... ห้ามสารเคมียาฆ่าแมลง และยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด

- นำเห็ดธรรมชาติ แก่จัดพร้อมกินได้ หรือซื้อหัวเชื้อที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มาขยำละลายในน้ำ หรือเข้าเครื่องปั่นโมลิเน็กซ์ แล้วนำไปราดรดโคนต้นไม้พืชอาศัย

- ขูดหน้าดินบริเวณที่เห็ดธรรมชาติกำลังขึ้น และขึ้นประจำทุกปี ความลึกไม่เกิน 1 ฝ่ามือ นำมาโรยบนพื้นโคนต้นชนิดเดียวกับที่เห็ดเคยขึ้นอยู่ก่อน บำรุงเชื้อเห็ดที่มากับดินด้วย แป้งข้าวฟ่าง หรือรำละเอียด

- ถ้าการปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะเห็ดธรรมชาติ เหมาะสม/ต่อเนื่อง/สม่ำเสมอ ประมาณ 2-3 ปี ก็จะมีดอกเห็ดเกิดขึ้น

- เห็ดธรรมชาติแม้จะต่างชนิดกัน แต่อยู่ในไม้อาศัยเดียวกัน สามารถเพาะขยายแล้วให้อยู่ร่วมกันได้


ทำจุลินทรีย์ผง
วิธีทำ :
ต้องการทำเป็นจุลินทรีย์น้ำ เป็นจุลินทรีย์ แห้ง/ผง แล้วเก็บได้นาน ขนส่งง่าย ทำได้โดย....

1. ใช้ขี้ม้าแห้งเก่าข้ามปี บดละเอียด หรือใช้แป้งข้าวฟ่าง หรือฝักบัวตากแห้ง บดละเอียด ปริมาณเท่าไหร่ก็ได้ตามความต้องการ เพื่อเป็นวัสดุแหล่งอาศัย (HOST) ของจุลินทรีย์

2. นึ่งวัสดุแหล่งอาศัยเหมือนนึ่งเชื้อเห็ด เพื่อกำจัดจุลินทรีย์แปลกปลอมให้หมดสิ้นก่อน
3. พรมด้วยน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้องการ พร้อมใช้งาน บนวัสดุแหล่งอาศัยผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว คนเคล้าให้เข้ากันให้ทั่วผงหรือทุกเม็ดของวัสดุอาศัย

4. นำเข้าตู้อบความร้อน อุณหภูมิไม่เกิน 35 องศา ซี. ไล่ความชื้น นาน 48-72 ชม. ได้ "จุลินทรีย์ผงแห้ง" พร้อมเก็บ

5. นำจุลินทรีย์ผงแห้งที่ได้บรรจุถุงสุญญากาศ เก็บในที่ร่ม อุณหภูมิห้อง หรือในตู้เย็นช่องแช่เย็นธรรมดา

หมายเหตุ :
- หาวัสดุอาศัยแบบง่ายๆ คือ มูลสัตว์ตากแห้ง บดละเอียด แล้วฉีดพ่นด้วยจุลินทรีย์ตามต้องการชนิดน้ำ คนเคล้าให้เข้ากันดี แล้วอบแห้ง ก็จะได้จุลินทรีย์ผงแห้งเช่นกัน

- จุลินทรีย์แห้งผงที่บรรจุลงถุงสุญญากาศแล้วจะไม่ขยายพันธุ์ แต่จะอยู่นิ่งๆ อย่างนั้น เหมือนการหลับพักผ่อน

- อายุของจุลินทรีย์ผงแห้งขึ้นอยู่กับการจัดเก็บที่อุณหภูมิห้องสม่ำเสมอและเหมาะสม
- ก่อนใช้งานจริงต้องบำรุงให้ฟื้นหรือปลุกให้ตื่นจากการหลับก่อน โดยใส่ใน “น้ำ 1 ล. + กลูโคส หรือ น้ำมะพร้าว 100 ซีซี. + จุลินทรีย์ผงแห้ง 1 ชต.” คนให้เข้ากันแล้วเติมอ๊อกซิเจน นาน 36 ชม. (ไม่ควรเร็วหรือช้ากว่านี้) ได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น” พร้อมใช้งาน

- ตรวจสอบความสมบูรณ์ แข็งแรง และปริมาณ โดยใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นในขวด แล้วใช้ลูก โป่งสวมปากขวดเหมือนตอนทำครั้งแรก

- จุลินทรีย์ต้องคู่กับ อินทรีย์วัตถุ และสารปรับปรุงบำรุงดิน จึงจะได้ผลสูงสุด เพราะจุลินทรีย์จะเป็นตัวย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เอาสารอาหารออกมาให้แก่พืช


วิธีเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์
แหล่งจุลินทรีย์เริ่มต้น (STARTER) :
- บาซิลลัส ซับติลิส ......................... มีอยู่ในตาติดเปลือกสับปะรดสด
- ฟังก์จัย. จินเจียงลินซิส ................... มีอยู่ในฟางเพาะเห็ด
- คีโตเมียม. ไรโซเบียม. ไมโครไรซา ...... มีอยู่ในเปลือกถั่วลิสง
- แอ็คติโนมัยซิส ............................. มีอยู่ในเหง้า/รากกล้วย มูลสัตว์กินหญ้า
- แล็คโตบาซิลลัส ............................ มีอยู่ในยาคูลท์ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยว
- แฟลงเกีย ................................... มีอยู่ในสนทะเล สนประดิพัทธ์
- ไบโอโพลิเมอร์. คลาไมโดโมแนส ........ มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืด
- นอสท็อก ................................... มีอยู่ในรากต้นปรง
- อะโซโตแบ็คเตอร์ .......................... มีอยู่ในเหง้าหญ้าขน และหญ้าประเภทหน้าแล้งตายหน้าฝนฟื้น

- แอ็คติโนมัยเกรต. ซีอะโนแบคทีเรีย. อัลเกีย. ฟังก์จัยลิเซ่. .... เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นได้เองจากดินที่มีสภาพโครงสร้างเป็นกลางดีอย่างต่อเนื่อง และมีอินทรียวัตถุสะสมมานาน

- จุลินทรีย์ในท้องตลาด ทุกชนิด
- นมเปรี้ยวทุกชนิด
- จุลินทรีย์ในอาหารหมักดอง สดใหม่ บริโภคได้
- มูลสัตว์ สดใหม่ ทุกชนิด
- อุจจาระเด็กอายุไม่เกิน 3 เดือน

วิธีทำ :
- น้ำต้มเดือด ปล่อยให้เย็น 10 ล. ใส่กากน้ำตาล 1 ล. น้ำมะพร้าว 1 ล. คนให้เข้ากันดี
- ใส่จุลินทรีย์เริ่มต้นชนิดที่ต้องการ 1-2-3-4-ฯลฯ ชนิด สภาพสดใหม่ จากแหล่งกำเนิดสมบูรณ์ ปริมาณรวม ½ ของพื้นที่น้ำในภาชนะ

- ติดป๊มออกซิเจน ให้ออกซิเจนตลอด 24 ชม. นาน 4 วัน

ตรวจสอบ :
- ระหว่างเติมอ๊อกซิเจน ให้สังเกตุ สี-กลิ่น-กาก-ฝ้า-ฟอง ถ้าทุกอย่างสภาพดี รับได้ แสดงว่าวิธีเพราะขยายเชื้อถูกต้อง ได้ “หัวเชื้อเข้มข้น” พร้อมใช้งาน
- ทดสอบประสิทธิภาพ ใส่ขวดสวมลูกโปร่ง ดูผลการโตพองของลูกโปร่ง


ทดสอบจุลินทรีย์
กรอกใส่ขวดพลาสติก แล้วปิดปากขวดด้วยลูกโป่ง ทิ้งไว้ในร่ม อุณหภูมิห้อง ไม่คนไม่เขย่า นาน 24 - 48 - 72 ชม. สังเกตุ.....

1. ลูกโป่งพอโต โตมากแสดงว่ามีจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศจำนวนมาก แข็งแรง พองน้อยจุลินทรีย์น้อย ไม่พองเลยก็แสดงว่าไม่มีจุลินทรีย์

2. ช่วงแรกที่ลูกโป่งพอโต ต่อมาลูกโป่งยุบแล้วถูกดูดเข้าไปในขวด กรณีนี้เกิดจากจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศ ก็แสงดงว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมดแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้อง การอากาศเกิดขึ้นมาแทน

3. บรรจุขวดช่วงแรกขวดบวมพอง ต่อมาขวดยุบบุบบู้บี้ แสดงว่า จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศตายหมด แล้ว จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศเกิดขึ้นมาแทน

4. ในถังหมักชีวภาพชนิดน้ำที่อาศัยจุลินทรีย์ จะมีฟองอากาศที่ผิวหน้า มีฟองมากแสดงมีจุลินทรีย์มาก มีฟองน้อยแสดงว่ามีจุลินทรีย์น้อย .... พิสูจน์จุลินทรีย์ด้วยการคนให้จุลินทรีย์จมลงน้ำให้หมด ทิ้งไว้ 24-36-47 ชม. แล้วพิสูจน์ใหม่อีกครั้ง

หมายเหตุ :
- จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กที่สุด ได้แก่ รา-แบคทีเรีย-ไวรัส วงจรชีวิตประกอบ ด้วย เกิด-กิน-ถ่าย-ขยายพันธุ์-ตาย ....

ประเภทต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีอากาศ ถ้าไม่มีอากาศจะตาย ....
ประเภทไม่ต้องการอากาศ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีอากาศ ถ้ามีอากาศจะตาย

- การบรรจุในขวดปิดสนิทแน่น อากาศเข้าไม่ได้ จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศจะใช้อากาศที่พอมีอยู่ในขวดนั้นเพื่อการดำรงชีวิต ช่วงนี้จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศจะยังไม่เกิด ครั้นเมื่ออากาศในขวดหมด จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ เกิดอาการขาดอากาศจึงตาย พร้อมกันนั้นจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้อง การอากาศก็เริ่มเกิดแล้วเจริญเติบโต

- จุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ อาศัยอยู่บริเวณผิวดินที่อากาศผ่านได้ ส่วนจุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศอาศัยอยู่ใต้ดินลึกบริเวณที่อากาศลงไปไม่ถึง .... จุลินทรีย์กลุ่มไม่ต้องการอากาศมีพลังในการย่อยสลายสูงกว่าจุลินทรีย์กลุ่มต้องการอากาศ


จุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ. (ประจำถิ่น)
หลักการและเหตุผล :
จุลินทรีย์ธรรมชาติ คือ จุลินทรีย์ดั้งเดิมในท้องถิ่น มีความสำคัญมาก มีพัฒนาการเพื่อการอยู่รอดและปรับตัวให้คงทนต่อสภาพแวดล้อมมานาน เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีการปรับตัวเองมากขึ้น เรียกว่า “กลายพันธุ์” กรณีจุลินทรีย์จากต่างถิ่นแม้จะเป็นจุลินทรีย์มีประโยชน์กลุ่มเดียวกัน แต่ขาดลักษณะเด่น คือไม่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และยังปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวด ล้อมไม่ได้ จึงไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อธรรมชาติ คือ ความหลากหลาย ดังนั้นมาตรการ เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก จุลินทรีย์ต่างถิ่นลงไปอยู่ร่วมกับจุลินทรีย์ประจำถิ่น จึงยังมีความจำเป็นและเหมาะสมอยู่

วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :
1. หุงข้าว (ข้าวใหม่ดีกว่าข้าวเก่า) ให้สุกปกติพอดีๆ ปล่อยให้เย็นคาหม้อหุง ตักใส่กระบะพลาสติก ยีข้าวให้แตกเมล็ดดีพร้อมกับโรยน้ำตาลทรายแดงบดละเอียดบางๆ อัตราส่วน ข้าว 1,000 ส่วน น้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน คนเคล้าให้เข้ากันดี ปิดฝากระบะด้วยผ้า รัดขอบให้มิดชิด

2. นำกระบะข้าวไปวางไว้ในสวนบริเวณร่มเย็น ความชื้นสูง (กลางกอกล้วย) ปลอดสารเคมี-ยาฆ่าหญ้าและสารเคมีอื่นๆ ทุกชนิด แล้วคลุมด้วยเศษพืชแห้งบางๆ โปร่งอากาศผ่านสะดวก

3. ทิ้งกระบะไว้ 5-7 วัน เมล็ดข้าวสุกจะเริ่มเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อนๆ บริเวณผิวหน้าก่อน เมื่อปล่อยไว้ต่อไปอีกเมล็ดข้าวสุกจะเป็นสีเหลืองอมเขียวทั้งหมดและมีน้ำใสๆ อยู่ที่ก้นกระบะนำกระบะข้าวสุกกลับมา ได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์ ไอเอ็มโอ. เข้มข้น” พร้อมใช้งาน

อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้ “น้ำ 1,000 ล. + กากน้ำตาล 1 ล. + หัวเชื้อเข้มข้น 1 กก.” คนให้เข้ากันดี กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นทางใบแก่พืชช่วงหลังค่ำ อากาศไม่ร้อน หรือผสมปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อขยายเชื้อจุลินทรีย์ให้มากและแข็งแรงขึ้น


ปุ๋ยเคมีทางใบ
ปุ๋ยทางใบชนิดน้ำ :
- เกษตรกร อเมริกา ยุโรป อิสราเอล ทำปุ๋ยน้ำทางใบใช้เองในบ้าน
- มือผสมปุ๋ยน้ำทางใบที่หนองเสือ ปทุมธานี ผสมปุ๋ยส่งให้อเมริกา งวดละ 10,000-20,000 ล. ลงเรือที่ระยองไปโรงแพ็กที่เรือใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แพ็กแล้วพะยี่ห้อภาษาฟิลิปปินส์ส่งฟิลิปปินส์ พะยี่ห้อภาษาไต้หวันส่งไต้หวัน พะยี่ห้อภาษามาเลเซียส่งมาเลเซีย พะยี่ห้อภาษาเวียดนามส่งเวียดนาม พะยี่ห้อภาษาอินโดเนเซียส่งอินโดเนเซีย ที่ไม่รู้และอยากรู้คือ พะยี่ห้อภาษาไทยส่งประเทศไทยหรือไม่เท่านั้น

- ในประเทศไทย ไม่มีคณะเกษตรมหาวิทยาลัยใด ไม่มีระดับปริญญาตรีโทเอก มีหลักสูตรการทำปุ๋ยน้ำทางใบสำหรับนักศึกษา ในขณะเดียวกันก็ไม่ ปลูกฝัง/ชี้นำ/แนะนำ ให้ นศ.สาขาการเกษตรด้านพืชขวนขวายหา ข้อมูล/ความรู้/ประสบการณ์ ด้วยตัวเอง ทั้งๆที่ “ปุ๋ย” เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพืช

- ผู้มีความสามารถ ผสม/ผลิต ปุ๋ยนำทางใบได้ในวันนี้ ทุกคนใช้ “ประสบการณ์ตรง” ของตัวเองทั้งสิ้น

- สจล. (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) ส่ง นศ.สาขาเกษตร มาฝึกงานที่ RKK เน้น 3 วิชาสำคัญ คือ สูตรปุ๋ยน้ำ ระบบสปริงเกอร์ การจัดแปลงระยะชิด

- ปุ๋ยน้ำทางใบในประเทศไทยทุกชนิดพืช ทุกยี่ห้อ ทั้งชื่อไทยชื่อเทศ ทั้งขายตรงขายฝากขายปลีกขายส่งขายสดขายเชื่อ ทั้งลดแลกแจกแถม ล้วนทำในเมือไทยทั้งนั้น

แนวความคิดเบื้องต้น :
* ปุ๋ย หรือธาตุอาหาร หรือสารอาหาร ประกอบด้วย N. P. K. (หลัก), Ca. Mg. S. (รอง), Fe. Cu. Zn. Mn. B. Si. Na. (เสริม), จิ๊บเบอเรลลิน. ไคโตซาน. พาโคลบิวทาโซล. เอ็นเอเอ, อีเทฟ่อน, ฯลฯ (ฮอร์โมน), ทุกตัวมีประโยชน์ต่อพืชทั้งสิ้น

* ปุ๋ยน้ำให้ทางทางใบ สำหรับทุกพืช ทุกยี่ห้อ จากต่างประเทศหรือผลิตในประเทศ ต้องประกอบ ด้วยธาตุอาหาร (หลัก/รอง/เสริม) 16 ตัวนี้เป็นหลัก แล้ว เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก ฮอร์โมนหรืออื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม เป็นส่วนผสมเหมือนกันทั้งสิ้น .... จะต่างกันที่ “อัตราส่วนหรือปริมาณ” ของส่วน ผสมแต่ละตัวที่ใช้ เรียกว่า “สูตร” เท่านั้น

* พืชที่ขาดหรือไม่ได้รับธาตุอาหารตัวใดตัวหนึ่ง จะปรากฏอาการ ณ บริเวณหรือส่วนของพืชนั้น เรียกว่า “โรคไม่มีเชื้อ” เพราะลักษณะอาการ เหมือน/คล้าย อาการของโรคพืช (โรคมีเชื้อ) .... โรคไม่มีเชื้อแก้ไขด้วยการการให้สารอาหาร และจัดการปัจจัยพื้นฐานฯ ให้เหมาะสม

* ธาตุอาหารกลุ่ม หลัก/รอง/เสริม เกิดเองได้ในธรรมชาติที่สมบูรณ์ เช่น ดินป่าเปิดใหม่ ดินโปร่งร่วนซุย น้ำ อากาศผ่านสะดวก เพราะมีอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์

* ธาตุอาหารกลุ่ม ฮอร์โมน เกิดเองได้ในต้นพืชที่มีความสมบูรณ์สูง
* ปุ๋ย/ฮอร์โมน ให้แก่พืชแล้วจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สายพันธุ์-โรค ที่ถูกต้องตามความเหมาะสมของพืชเป็นสิ่งรองรับ

* ปุ๋ยทางใบจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อเมื่อมีความ สมบูรณ์/เหมาะสม ของต้นรองรับ
* ต้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีปัจจัยพื้นฐานฯ ที่เหมาะสมรองรับ
* ยูเรีย จี.เกรด ละลายน้ำ 6.0 ให้ทางใบ = ได้ .... 25-5-5 จี.เกรด ละลายน้ำ 6.0 ให้ทางใบ = ได้ใบใหญ่หนาเขียวเข้มกว่ายูเรีย

* แม็กเนเซียม ซัลเฟต (ปุ๋ยสำหรับทางใบโดยเฉพาะ) ละลายน้ำ 6.0 ให้ทางใบ = ได้เลย สังกะสี ซัลเฟต (ปุ๋ยสำหรับทางใบโดยเฉพาะ) ละลายน้ำ 6.0 ให้ทางใบ = ได้เลย....ทั้ง 2 ตัวนี้ ถ้าให้แบบแยกกัน เห็นผลไม่ชัดเจน แต่ถ้าละลายน้ำ 6.0 ด้วยกัน อัตราส่วน แม็กเนเซียม : สังกะสี 3 : 1 แล้วให้พร้อมกัน เห็นผลชักเจนมาก เพราะปุ๋ย 2 ตัวนี้ต้องไปคู่กัน

* แคลเซียม ไนเตรท (15-0-0 จี.เกรด) ละลายน้ำ 6.0 ให้ทางใบได้เลย โบรอน (เกรด 10 โมเลกุลน้ำ สำหรับทางใบโดยเฉพาะ) ละลายน้ำ 6.0 ให้ทางใบได้เลย .... ทั้ง 2 ตัวนี้ ถ้าให้แบบแยกกัน เห็นผลไม่ชัดเจน แต่ถ้าละลายน้ำ 6.0 ด้วยกัน อัตราส่วน แคลเซียม : โบรอน 3 : 1 แล้วให้พร้อมกัน เห็นผลชักเจนมาก เพราะปุ๋ย 2 ตัวนี้ต้องไปคู่กัน

* จากกรณีศึกษา แม็กเนเซียม ซัลเฟต+สังกะสี ซัลเฟต หรือ แคลเซียม+โบรอน ผสมกันแล้วให้แก่พืชได้ ฉันใด หากนำสารอาหาร (ปุ๋ย) ทางใบตัวอื่น บางตัว/ทุกตัว จับคู่กันตาม “หลักวิชาการและเหตุผล” แล้วให้แก่พืชย่อมต้องได้ ฉันนั้น


แม่ปุ๋ยเกร็ด ไบยูเร็ต/ไบยูรอน ประสิทธิภาพเหนือกว่ายูเรียธรรมดา
หลักการ ทำ/ใช้ ปุ๋ยทางใบ :
- เป็นปุ๋ยประเภทให้ทางใบ (GRANUAL, ABC, EDDHA, EDTA, CHELATED, ect)
- ธาตุหลัก แบบ 1 ผสมก่อนใช้ เช่น 15-0-0, 46-0-0, 0-52-34, 0-0-50 ฯลฯ
- ธาตุหลัก แบบ 2 สำเร็จรูปพร้อมใช้ เช่น 25-5-5, 30-10-10, 21-7-14 ฯลฯ
- ละลายในน้ำ pH 5.5-6.5
- ตรวจสอบการตอบสนองต่อตัวทำละลายก่อน เช่น ละลายในน้ำอุ่น หรือน้ำร้อน
- ตรวจสอบการเข้ากันได้ของส่วนผสมแต่ละตัว โดยทดลองผสมกันแต่ละตัวก่อน เพื่อจัดลำดับการใส่ก่อนใส่หลัง

- ความเข้มข้นของส่วนผสม (เนื้อปุ๋ย)
* ขั้นต้น : ส่วนผสม หลัก/รอง/เสริม ทุกตัว อัตรา 1-2% .... ได้ผลระดับดีกว่าไม่ได้ให้เลย
* ขั้นกลาง : ส่วนผสม หลัก 6% รอง 3% เสริม 1% .... ได้ผลปานกลาง
* ขั้นสูง : ละลายแยกระหว่างส่วนผสมแต่ละตัวเฉพาะตัวที่เข้ากันได้เตรียมไว้ ก่อนใช้จริงนำมาผสมกัน เช่น สูตร เอ. (หลัก 6%) + สูตร บี. (รอง 3%) + สูตร ซี. (เสริม 1%) + สูตร ดี. (พิเศษ ตามความจำเป็น) ทุกสูตร ปรุง/ผสม แบบแยกกัน ก่อนใช้งานจริงให้นำแต่ละสูตรมาผสมกัน อัตราใช้ ให้ใช้ตามที่กำหนดไว้สำหรับพืชแต่ละ ชนิด/ระยะ โดยเฉพาะ .... ได้ผลสูงสุด

(บริษัทหนึ่ง นำส่วนผสม ปุ๋ย/ฮอร์โมน/อื่นๆ แยกบรรจุขวด ได้ 5 ขวด แล้วแยกชื่อแต่ละขวด ที่ขาดไม่ได้ คือ แยกขาย .... เวลาใช้จริงจะนำทั้ง 5 ขวดนั้นมาผสมรวมกันแล้วให้พร้อมกัน กรณีที่ ถ้าวันนี้มีไม่ครบ 5 ขวด ก็ให้ใช้เฉพาะขวดที่มีไปก่อน แล้วให้ขวดที่ขาดตามภายหลังได้ .... งานนี้ไม่ผิด สรุปได้ว่า ในทั้ง 5 ขวด รวมกันแล้ว คือ ปุ๋ย 16 ตัว ฮอร์โมน และอื่นๆ นั่นเอง....)

- ตรวจสอบลักษณะละลายเข้ากันดีของส่วนผสมแต่ละตัวจาก สี กลิ่น กาก ฝ้า ฟอง
- ผสมแล้ววัดค่า ถ.พ. (ความเข้มข้นของส่วนผสม) ที่ยอมให้ คือ 4-12
- ค่าความเข้มข้นต่ำ ใช้กับพืชล้มลุก อายุสั้น ฤดูกาลเดียว ได้ผลดี หากใช้ค่าความเข้มข้นสูงจะทำใบไหม้

- ค่าความเข้มข้นสูง ใช้กับพืชยืนต้น อายุนาน ให้ตามระยะปกติ = ได้ผลดี หากใช้ค่าความเข้มข้นต่ำต้องให้บ่อยครั้ง

- ผสมแล้วมีกากหรือตะกอน นอนก้นหรือแขวนลอย ถ้าเป็น “กากหรือตะกอนละเอียด” ถือว่าใช้การได้ เพียงเขย่าภาชนะบรรจุก่อนใช้งานเท่านั้น.... กากหรือตะกอนหยาบผ่านปากใบไม่ได้ แต่ให้ทางราก จุลินทรีย์ในดินจะปรับโครงสร้างกากหรือตะกอนปุ๋ยนี้ให้พืชนำไปใช้ได้เอง

- ปุ๋ยทางใบต่อพืชล้มลุก อายุสั้น ฤดูกาลเดียว พืชรับได้ทั้งทางใบและทางราก 1:1
- ปุ๋ยทางใบต่อพืชยืนต้น อายุนาน รับทางใบได้ 3-4 ส่วนใน 10 ส่วนของปริมาณทั้งหมดที่ให้ แม้ต้นได้รับน้อยแต่ประสิทธิผลของการให้ทางใบเหนือกว่าและเร็วกว่าให้ทางราก

- ปุ๋ยทางใบ พืชรับได้ทั้งทางใบและทางราก ส่วนปุ๋ยทางราก พืชรับทางรากได้ทางเดียว รับทางใบไม่ได้ เพราะโมเลกุลของปุ๋ยทางรากใหญ่ผ่านปากใบไม่ได้

- ปุ๋ยทางใบ ให้ทางใบและทางรากจะได้ผลสูงสุด เมื่อต้นมีความสมบูรณ์รองรับ
- กรณีที่ระบบรากทำงาน (ดูดสารอาหาร) ไม่ได้ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ไม่เหมาะสม แก้ไขด้วยการให้ปุ๋ยทางใบแทน

- การให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม และ/หรือ อื่นๆ ไม่พร้อมกันแต่ระยะห่างการให้แต่ละครั้งไม่นานนัก ต้นพืชสามารถปรับตัวเองรับธาตุอาหารเหล่านั้นได้เอง

- ปุ๋ยทางใบชนิดน้ำธรรมดาๆ ทำให้เป็นปุ๋ยทางด่วนโดย เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก กลูโคส 1-2% ของส่วนผสม

- ปุ๋ยทางใบ (เสริม) เหล็กคีเลต. หรืออะมิโน แอซิด. สำหรับเร่งยอด เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก 1-2% ของส่วนผสม

- ปุ๋ยทางใบ (เสริม)ไคโตซาน. เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก 5%, หรือ โบรอน. เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก 2%, ของส่วนผสม สำหรับขยายขนาดผล

- ปุ๋ยทางใบ ใช้ ร่วม/ผสม กับปุ๋ยประเภท “เคมีชีวะ” เช่น น้ำมะพร้าวอ่อน/แก่, ผงชูรส, ฮอร์โมนก้นครัว, น้ำหมักชีวภาพสูตรฟาจีก้า, ฯลฯ ได้ตามความเหมาะสม หรือตามอัธยาศัย

- ปุ๋ยทางใบ ทุกสูตร ตัวเลขอัตราใช้ของส่วนผสม คลาดเคลื่อน +/- 3 ได้
- ปุ๋ยทางใบ ขึ้นทะเบียน แจ้งเฉพาะ “ชนิด” ของส่วนผสมเท่าที่ประสงค์แจ้ง ทั้งนี้ แจ้งส่วนผสมตัวไหนก็จะตรวจเฉพาะตัวนั้น ตัวที่ไม่แจ้งจะไม่ตรวจ .... แจ้ง “ปริมาณ” ให้ตรวจพบคลาดเคลื่อนจากที่แจ้งได้ +/- 3% องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ มาตรฐานแหล่งผลิต (โรงงาน) มาตรฐานวัตถุดิบในการผลิต สถานะทางกฎหมายผู้ผลิต อื่นๆตามระเบียบราชการ .... ฉะนี้ การขึ้นทะเบียนถือว่า “ผ่าน”

- ปุ๋ยทางใบ ผสมเสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้แล้วแต่ง กลิ่น/สี เพื่อให้ดูขลังขึ้น
- ปุ๋ยทางใบ ใช้ ร่วม/ผสม กับสารสมุนไพรได้
- ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยทางราก ทุกตัวมีสถานะเป็น “กรด” ยกเว้น 0-42-56 เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่มีสถานะเป็น “ด่าง”

- ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยทางราก ตัวเดียวที่พืชรับได้ทั้งทางใบและทางราก คือ 46-0-0
- ใช้น้ำสารสมุนไพร (พร้อมใช้) สำหรับผสมปุ๋ยทางใบ ผสมแล้วนำไปใช้จะได้ทั้งสารอาหาร (ปุ๋ย) และสารออกฤทธิ์ (ยา) พร้อมกัน


ปุ๋ยน้ำทางใบ-ผักใบ (สูตรพร้อมใช้) :
1. น้ำ (พีเอช 6.0) 100 ลิตร
2. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 15 กรัม
3. 15-0-0 จี. 75 กรัม
4. 46-0-0 จี. 90 กรัม
5. 0-52-34 25 กรัม
6. 0-0-50 35 กรัม
7. แมกนีเซียม ซัลเฟต 25 กรัม
8. สังกะสี ซัลเฟต 25 กรัม
9. โบรอน 25 กรัม
10. ไคโตซาน 100 ซีซี.

วิธีทำ วิธีใช้ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ แล้วใส่ส่วนผสมเรียงตามลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส เสร็จแล้วใช้ได้เลย ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7 วัน

ปุ๋ยน้ำทางใบ-ผักใบ (สูตรเข้มข้น)
1. น้ำ (พีเอช 5.0) 80 ลิตร
2. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 3 กก.
3. 15-0-0 จี. 3 กก.
4. 46-0-0 จี. 4 กก.
5. 0-52-34 3 กก.
6. 0-0-50 3 กก.
7. แมกนีเซียม ซัลเฟต 8 กก.
8. สังกะสี ซัลเฟต 4 กก.
9. โบรอน 1 กก.
10. ไคโตซาน 10 ล.
11. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.

12. แต่งสีผสมอาหารตามต้องการ
วิธีทำ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำด้วย บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมเรียงตามลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส ได้ “ปุ๋ยน้ำทางใบ-ผักใบ” สูตรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

วิธีใช้ :
ใช้ปุ๋ยน้ำทางใบ-ผักใบ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ทุก 7 วัน ฉีดพ่นทางใบ

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (WT/WT) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมแต่ละตัว สามารถเพิ่ม/ลด หรือ +/- 1-3% ได้ ตามความจำเป็น


ปุ๋ยน้ำ-ผักกินดอกและผล (พร้อมใช้) :
1. น้ำ (พีเอช 6.0) 100 ลิตร
2. 15-0-0 จี. 100 กรัม
3. 46-0-0 จี. 100 กรัม
4. 0-52-34 30 กรัม
5. 0-0-50 50 กรัม
6. แมกนีเซียม ซัลเฟต 30 กรัม
7. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 20 กรัม
8. สังกะสี ซัลเฟต 25 กรัม
9. โบรอน 25 กรัม
10. ไคโตซาน 100 ซีซี.

วิธีทำ วิธีใช้ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมเรียงตามลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส เสร็จแล้วใช้ได้เลย ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7-10 วัน


ปุ๋ยน้ำ-ผักกินดอกและผล (เข้มข้น )
1. น้ำ (พีเอช 5.0) 80 ลิตร
2. 15-0-0 จี. 4 กก.
3. 46-0-0 จี. 4 กก.
4. 0-52-34 3 กก.
5. 0-0-50 4 กก.
6. แมกนีเซียม ซัลเฟต 8 กก.
7. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 20 กก.
8. สังกะสี ซัลเฟต 4 กก.
9. โบรอน 1 กก.
10. ไคโตซาน 10 ล.

11. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.
12. แต่งสีผสมอาหารตามต้องการ

วิธีทำ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมเรียงตามลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส ได้สูตร “บำรุงผักกินดอก-กินผล” เข้มข้นพร้อมใช้

วิธีใช้ :
ใช้สูตรบำรุงผักกินดอก-กินผล 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7-10 วัน

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (W/W) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมแต่ละตัว สามารถเพิ่ม/ลด หรือ +/- 1-3% ได้ ตามความจำเป็น


ปุ๋ยน้ำ-กล้วยไม้ (พร้อมใช้)
1. น้ำ (พีเอช 6.0) 100 ลิตร
2. 15-0-0 จี. 15 กรัม
3. 46-0-0 จี. 10 กรัม
4. 12-0-46 10 กรัม
5. 13-0-46 20 กรัม
6. แมกนีเซียม ซัลเฟต 30 กรัม
7. สังกะสี ซัลเฟต 10 กรัม
8. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 10 กรัม
9. ไคโตซาน 50 ซีซี.

วิธีทำ วิธีใช้ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมเรียงตามลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส เสร็จแล้วใช้ได้เลย ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7-10 วัน สำหรับบำรุงต้น

วัด ถ.พ. (ความถ่วงจำเพาะ) ความเข้มข้น (มวลสาร) ของเนื้อปุ๋ย


ปุ๋ยน้ำ-กล้วยไม้ (เข้มข้น)
1. น้ำ (พีเอช 5.0 ) 90 ลิตร
2. 15-0-0 จี. 1,200 กรัม
3. 46-0-0 จี. 1,000 กรัม
4. 12-0-46 320 กรัม
5. 13-0-46 1.300 กรัม
6. แมกนีเซียม ซัลเฟต 800 กรัม
7. สังกะสี ซัลเฟต 400 กรัม
8. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 10 กรัม
9. ไคโตซาน 50 ซีซี.
10. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.
11. แต่งสีตามต้องการ

วิธีทำ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมเรียงตามลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส

วิธีใช้ :
อัตราใช้ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7-10 วัน สำหรับบำรุงต้น

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (W/W) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ปุ๋ยสูตรขยายขนาดดอกกล้วยไม้โดยเฉพาะ คือ 14-7-21 (2:1:3) จี.เกรด .... น้ำ 100 ล. พีเอช 6.0 +14-7-21 (200 กรัม) + ไคโตซาน 100 ซีซี. + รอง/เสริม 100 กรัม + สารสมุนไพร 100 ซีซี. ให้ 2 รอบ สลับ แคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7 วัน

- ส่วนผสมแต่ละตัว สามารถเพิ่ม/ลด หรือ +/- 1-3% ได้ ตามความจำเป็น


สูตรบำรุงต้น หัวเชื้อเข้มข้น (ไบโออิ) [b]
1. น้ำ พีเอช 5.0 90 ล.
2. แม็กเนเซียม ซัลเฟต 8 กก.
3. สังกะสี อะมิโน คีเลต 4 ล.
4. ไบยูเร็ต 2 กก.
5. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 กก.
6. โบรอน 1 กก.
7. กลูโคส 2 ล.
8. ธาตุหลักสูตรตามพืช 4 กก.
9. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.
10. แต่งสีผสมอาหารตามต้องการ

วิธีทำ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมตาม ลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส ได้ “ไบโออิ” เข้มข้น พร้อมใช้งาน

วิธีใช้ :
ใช้ไบโออิ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7-10 วัน สำหรับบำรุงต้น

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วน ผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (WT/WT) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3%


สูตรบำรุงต้น หัวเชื้อเข้มข้น (ไบโอเฮิร์บ)
1. น้ำสมุนไพร พีเอช 5.0 90 ล.
2. แม็กเนเซียม ซัลเฟต 8 กก.
3. สังกะสี อะมิโน คีเลต 4 ล.
4. ไบยูเร็ต 2 กก.
5. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 กก.
6. โบรอน 1 กก.
7. กลูโคส 2 ล.
8. ธาตุหลักสูตรตามพืช 4 กก.
9. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.
10. แต่งสีผสมอาหารตามต้องการ -
11 แต่งกลิ่นสมุนไพรตามต้องการ -

วิธีทำ วิธีใช้ :
น้ำสมุนไพรกำจัด แมลง/หนอน/โรค อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมทั้ง 3 อย่าง ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสาย ชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ (ถ้าค่า พีเอช ยังไม่ได้) ใส่ส่วนผสมตามลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส ได้ไบโอเฮิร์บเข้มข้น พร้อมใช้งาน

วิธีใช้ :
ใช้ไบโอเฮิร์บ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7-10 วัน สำหรับบำรุงต้น

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วน ผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BYWEIGHT (WT/WT) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3%


สูตรเปิดตาดอก หัวเชื้อเข้มข้น (ไทเป)
ขั้นตอนที่ 1 :
วัสดุส่วนผสม และวิธีทำ :
1. นมสด 50 ล.
2. ไข่สดพร้อมเปลือก 50 ฟอง
3. กลูโคส 2 ล.
4. ยิสต์ 100 กรัม
5. น้ำส้มสายชู 200 ซีซี.

- บดไข่พร้อมเปลือกกับน้ำมะพร้าว ด้วยเครื่องโมลิเนกซ์ ให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะละเอียดได้ เติมส่วนผสมอื่นๆ ลงไปตามลำดับจนครบ บดซ้ำอีกครั้งเพื่อให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกันดี

- เติมออกซิเจนตลอด 24 ชม. ติดต่อกัน 7 วัน (อากาศปกติ) หรือเติมออกซิเจน ติดต่อ กัน 10 วัน (อากาศหนาว)

- เติมออกซิเจนครบ 7 วันแล้วหยุดเติม หมักต่อ 1 เดือน ระหว่างหมักต่อให้ไม้พายคน 2-3 วัน/ครั้ง ครบกำหนด 3 เดือน ได้ฮอร์โมนไข่พร้อมปรุงต่อ

ตรวจสอบ :
- ระหว่างการหมักแต่เริ่มต้นจนถึงครบกำหนด 3 เดือน
** ถ้ามีกลิ่นเน่า (กลิ่นไม่พึงประสงค์ หรือกลิ่นเปลี่ยนไปจากครั้งแรกที่เริ่มทำ) ให้เติมเพิ่มกลูโคส ครั้งละ ½ ลิตร ทิ้งไว้ 24 ชม. ถ้ากลิ่นยังไม่หายให้เติมเพิ่มครั้งที่ 2 ทิ้งไว้อีก 24 ชม. ถ้ายังไม่หายอีก ให้เติมอีก เติมครั้งละ ½ ล. ทิ้งไว้ 24 ชม. จนกว่าจะไม่มีกลิ่น

** ถ้าสีเปลี่ยนจากขาวนม เป็น อมแดง หรือน้ำตาลอ่อน ให้เติมเพิ่มน้ำส้มสายชู 50 ซีซี. ทิ้งไว้ 24 ชม. .... ตรวจและทำซ้ำเหมือนเติมกลูโคส

** ถ้ากากลอยหน้า (ช่วงแรก) หยาบเป็นก้อน เติมเพิ่มยิสต์ 50 กรัม ทิ้งไว้ 24 ชม. .... ตรวจและทำซ้ำเหมือนเติมกลูโคส/น้ำส้มสายชู

ขั้นตอนที่ 2 :
- เติมน้ำมะพร้าว 200 ล. คนเคล้าให้เข้ากันดี ไม่ต้องให้ออกซิเจน หมักต่อ 3 เดือน ได้ฮอร์โมนไข่พร้อมปรุงต่อ

ตรวจสอบ :
- ปฏิบัติการเหมือนขั้นตอนที่ 1 ทุกประการ

ขั้นตอนที่ 3 :
1. 13-0-46 12 กก.
2. 0-52-34 4 กก.
3. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 1 กก.
4. แม็กเนเซีย ซัลเฟต 2 กก.
5. สังกะสี ซัลเฟต 2 กก.
6. สาหร่ายทะเล 1 กก.
7. โบรอน ½ กก.
8. แต่งสี ตามต้องการ

วิธีทำ :
ใส่ส่วนผสมที่ละตัว ตามลำดับ คนเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันดี ได้ "ฮอร์โมนไข่ สูตรเข้มข้น" พร้อมใช้

อัตราใช้และวิธีใช้ :
- ใช้ "ฮอร์โมนไข่ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ล." ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นโคนต้น ช่วงเช้าแดดจัด ทุก 5-7 วัน

พืชเป้าหมาย :
- ไม้ดอกช่วยให้ออกดอกดี ไม้ใบช่วยให้ใบสีจัดขึ้น
- ผักสวนครัวกิน ดอก/ผล ช่วยออกดอกติดผลดก ดกดี กลิ่นรสดี น้ำหนักดี
- นาข้าว ให้ช่วงก่อนออกรวงจะช่วยให้ออกรวงดี
- ไม้ผลยืนต้นประเภททะวายหรือติดผลง่าย (พันธุ์เบา) จะออกดอกติดผลตลอดปีแบบไม่มีรุ่น .... ในไม้ผลประเภทออกดอกติดผลปีละรุ่น (พันธุ์หนัก) เมื่อใช้สลับกับสูตรเปิดตาดอกปกติ (13-0-46 หรือ ไธโอยูเรีย หรือ 0-52-34) ตามชนิดไม้ผล จะช่วยให้ออกดอกดี

หมายเหตุ :
- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3%


สูตรบำรุงดอก หน้าฝน
1. น้ำ พีเอช 5.0 90 ล.
2. 0-52-34 8 กก.
3. เอ็นเอเอ. 1 ล.
4. แม็กเนเซียม ซัลเฟต 2 กก.
5. สังกะสี ซัลเฟต 2 กก.
6. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 กก.
7. สาหร่ายทะเล 2 กก.
8. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.
9. แต่งสีผสมอาหารตามต้องการ

วิธีทำ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมที่ละตัว ตามลำดับ คนเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันดี ได้ปุ๋ยทางใบสูตร "บำรุงดอก หน้าฝน เข้มข้น" พร้อมใช้

อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้ "20 ซีซี./น้ำ 20 ล." ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นโคนต้น ช่วงเช้าแดดจัด ทุก 5-7 วัน .... เป้าหมาย บำรุงดอกช่วงหน้าฝน

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (W/W) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3%


สูตรบำรุงดอกหน้าแล้ง
1. น้ำ พีเอช 5.0 90 ล.
2. 15-30-15 8 กก.
3. เอ็นเอเอ. 1 ล.
4. แม็กเนเซียม ซัลเฟต 2 กก.
5. สังกะสี ซัลเฟต 2 กก.
6. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 กก.
7. สาหร่ายทะเล 2 กก.
8. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.
9. แต่งสีตามต้องการ

วิธีทำ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมที่ละตัว ตามลำดับ คนเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันดี ได้ปุ๋ยทางใบสูตร "บำรุงดอก หน้าแล้ง เข้มข้น" พร้อมใช้

อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้ "20 ซีซี./น้ำ 20 ล." ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นโคนต้น ช่วงเช้าแดดจัด ทุก 5-7 วัน .... เป้าหมาย บำรุงดอกช่วงหน้าแล้ง

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (W/W) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3%


สูตรบำรุงผล (ยูเรก้า)
1. น้ำ (พีเอช 5.0) 90 ล.
2. ไคโตซาน 8 ล.
3. แม็กเนเซียม ซัลเฟต 6 กก.
4. สังกะสี อะมิโน คีเลต 4 ล.
5. 15-0-0 2 กก.
6. โบรอน ½ กก.
7. ไบยูเร็ต 2 กก.
8. กลูโคส 2 ล.
8. 21-7-14 8 กก.
9. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.
10. แต่งสีตามต้องการ

- ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมที่ละตัว ตามลำดับ คนเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันดี ได้ "ยูเรก้า” สูตรเข้มข้น พร้อมใช้

อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้ "ยูเรก้า 20 ซีซี./น้ำ 20 ล." ฉีดพ่นทางใบให้เปียกโชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้นโคนต้น ช่วงเช้าแดดจัด ทุก 5-7 วัน .... เป้าหมาย บำรุงขยายขนาดผล (ไม้ผล) ขยายขนาดดอก (ไม้ดอก)

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (W/W) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3%


สูตรบำรุงผล (อเมริกาโน)
1. น้ำ (พีเอช 5.5-.0) 90 ล.
2. 15-0-0 จี. 2 กก.
3. 46-0-0 จี. 1 กก.
4. 0-52-34 2 กรัม
5. 0-0-50 2 กรัม
6. แม็กเนเซียม ซัลเฟต 4 กก.
7. สังกะสี อะมิโน คีเลต 2 กก.
8. โบรอน ½ กก.
9. ไคโตซาน 10 ล.
10. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 กก.
11. เติมน้ำให้เต็ม 100 ล.
12. แต่งสีตามต้องการ

ปรับ พีเอช.น้ำด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ แล้วใส่ส่วนผสมตัวแรก คนช้าๆ ละลายดีใส่ตัวใหม่ คนช้าๆทุกครั้ง ครบทุกตัวแล้วได้ “ยูเรก้า” สูตรขยายขนาดผล เข้มข้น พร้อมใช้

อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้อเมริกาโน่ 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นที่ใบ ตามระยะ ตามชนิดพืช ทุก 7 วัน เก็บนานถ้ามีกากนอนก้นให้เขย่าก่อนใช้งาน

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (W/W) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด
- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3


.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/01/2024 10:10 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2024 10:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
สูตรบำรุงต้น สร้างความสมบูรณสะสม (พร้อมใช้) :
15-0-0 150 กรัม
46-0-0 110 กรัม
0-52-34 70 กรัม
0-0-50 250 กรัม
แม็กเนเซียม ซัลเฟต 150 กรัม
สังกะสี ซัลเฟต 50 กรัม
โบรอน 50 กรัม
กลูโคส 100 ซีซี.

วิธีทำ วิธีใช้ :
ปรับ พีเอช.น้ำ ด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ ใส่ส่วนผสมเรียงตามลำดับทีละตัว คนให้ละลายจนใส เสร็จแล้วใช้ได้เลย ฉีดพ่นทางใบ ทุก 7-10 วัน


สูตรสารลมเบ่งนาข้าว (พร้อมใช้) :
1. น้ำ (พีเอช 6.0) 200 ล.
2. 46-0-0 จี. 400 กรัม
3. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 400 กรัม
4. เอ็นเอเอ. 100 ซีซี.
5. กลูโคส 200 ซีซี.

ปรับ พีเอช. น้ำด้วยน้ำส้มสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ แล้วใส่ส่วนผสมตัวแรก คนช้าๆ ละลายดีใส่ตัวใหม่ คนช้าๆทุกครั้ง ครบทุกตัวแล้วได้สูตร “กระตุ้นข้าวออกรวง” ใช้ได้เลย ฉีดพ่นทุก 7 วัน ใช้ครั้งต่อครั้ง ถ้าเก็บนานแล้วมีกากนอนก้นให้คนก่อนใช้งาน


แคลเซียม โบรอน (สูตรเข้มข้น) :
ต้นทุน 300 ทำได้ 20 ล.
1. น้ำ (พีเอช 4.5-5.0) 20 ล.
2. โบรอน เกรด 10 โมเลกุลน้ำ 400 กรัม
3. 15-0-0 จี. 1,200 กรัม
4. กลูโคส 200 ซีซี.
5. สีผสมอาหาร - -

ปรับ พีเอช.น้ำด้วยน้ำสมสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ แล้วใส่ส่วนผสมตัวแรก คนช้าๆ ละลายดีใส่ตัวใหม่ คนช้าๆทุกครั้ง ใส่ครบทุกตัวแล้วได้ “แคลเซียม โบรอน” สูตรเข้มข้นพร้อมใช้งาน

อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้แคลเซียม โบรอน 20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นทางใบ ใช้ ถี่/ห่าง ตามอัธยาศัย ถ้าเก็บนานแล้วมีกากนอนก้นให้เขย่าก่อนใช้งาน

หมายเหตุ :
- แคลเซียม โบรอน ท้องตลาดบางยี่ห้อ ปรุงเป็น 40 ล. (ขายราคาเดิม) เพราะรู้ว่าเกษตรกรชอบใส่เกินเสมอ

- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 3%


สูตรสะสมอาหารเพื่อการออกดอก (เข้มข้น) :
1. น้ำ 100 ลิตร
2. 15-0-0 จี. 4 กก.
3. 46-0-0 จี. 4 กก.
4. 0-52-34 5 กก.
5.0-0-50 3 กก.
6. แมกนีเซียม ซัลเฟต 4 กก.
7. สังกะสี ซัลเฟต 2 กก.
8. ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2 กก.
9. โบรอน 1 กก.
10. กลูโคส 1 ล.
11. สีผสมอาหาร

วิธีทำ :
ปรับ พีเอช.น้ำด้วยน้ำสมสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ แล้วใส่ส่วนผสมตัวแรก คนช้าๆ ละลายดีใส่ตัวใหม่ คนช้าๆทุกครั้ง ใส่ครบทุกตัวแล้วได้สูตร “สะสมตาดอก” เข้มข้นพร้อมใช้งาน

อัตราใช้และวิธีใช้ :
ใช้ สะสมตาดอก20 ซีซี./น้ำ 20 ล. ฉีดพ่นที่ใบ ใช้ ถี่/ห่าง ตามอัธยาศัย ถ้าเก็บนานแล้วมีกากนอนก้นให้คนก่อนใช้งาน

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (W/W) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3%


ปุ๋ยเคมีไฮโดรโปรนิกส์ :
สูตร 1 :
สต๊อค A ประกอบด้วย :
แคลเซียม ไนเตรด .......................... 80.9 กรัม / น้ำ 100 ลิตร

สต๊อค B :
ประกอบด้วย :
โปแตสเซียม ซัลเฟต ....................... 55.4 กรัม
โปแตสเซียม ฟอสเฟต ..................... 17.7 กรัม
แมกนีเซียม ฟอสเฟต ...................... 9.9 กรัม
แมกนีเซียม ซัลเฟต ........................ 46.2 กรัม
เหล็ก (ซีเลตติ้ง) ........................... 3.27 กรัม
แมงกานีส ซัลเฟต .......................... 0.02 กรัม
กรดบอริค .................................... 0.173 กรัม
ซิงค์ ซัลเฟต ................................ 0.044 กรัม
แอมโมเนีย โมดิบเดท ................. 0.005 กรัม

สูตร 2 :
สต๊อค A ประกอบด้วย :
แคลเซียม ไนเตรด ............................ 2.5 ก.ก./น้ำ 25 ลิตร

สต๊อค B ประกอบด้วย :
โปแตสเซียม ไนเตรด ....................... 1.5 ก.ก.
โมโน โปแตสเซียม ฟอสเฟต ........... 0.5 ก.ก.
แมกนีเซียม ซัลเฟต ........................... 1.3 ก.ก.
สารละลาย Nzhydroppnic ................. 0.1 ก.ก.

อนึ่ง สูตรอาหาร นอกจากนี้มีหลากหลายสูตร เช่น สูตรของ Knop สูตรประเทศอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย

ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารทางวิชาการด้านการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน

สูตร A
น้ำ 100 ล.
โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต 3 กก.
โปแตสเซียม ไนเตรท 16 กก.
แม็กเนเซียม ซัลเฟต 10 กก.
ธาตุเสริม 200 กรัม
แคลเซียม ไนเตรท 20 กก.
ธาตุรอง/ธาตุเสริม 1 กก.

ทั้ง A และ B อัตราใช้ 1 : 100 ผักไทย, 1 : 200 ผักสลัด
http://pantip.com/topic/32556611


น้ำตาลทางด่วน (สูตรพร้อมใช้)
1. น้ำ (พีเอช 6.0) 20 ลิตร
2. กลูโคส 600 กรัม
3. ฮิวมิค แอซิด 20 ซีซี.
4. 15-30-15 TE. หรือ 20-20-20 TE. 60 กรัม

วิธีทำ วิธีใช้ :
ปรับ พีเอช.น้ำด้วยน้ำสมสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ แล้วใส่ส่วนผสมตัวแรก คนช้าๆ ละลายดีใส่ตัวใหม่ คนช้าๆทุกครั้ง ใส่ครบทุกตัวแล้วได้ “น้ำตาลทางด่วน” สูตรพร้อมใช้ ใช้งานได้เลย


น้ำตาลทางด่วน (สูตรเข้มข้น)
น้ำ (พีเอช 6.0) 100 ล.
กลูโคส 3 ล.
ฮิวมิก แอซิด 100 ซีซี.
10-20-30 3 กก.
ธาตุรองธาตุเสริม 500 กรัม
แต่งกลิ่น/แต่งสี ตามอัธยาศัย

วิธีทำ วิธีใช้ :
ปรับ พีเอช.น้ำด้วยน้ำสมสายชู หรือสารปรับ พีเอช.น้ำ บั๊ฟเฟอร์ อัลคาไรด์เซอร์ แล้วใส่ส่วนผสมตัวแรก คนช้าๆ ละลายดีใส่ตัวใหม่ คนช้าๆทุกครั้ง ใส่ครบทุกตัวแล้วได้ “น้ำตาลทางด่วน” สูตรเข้มข้น พร้อมใช้ ใช้ 20 ซีซี. /น้ำ 20 ล.

ประโยชน์ :
1. ให้กับไม้ผล ในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เช่น แล้งรุนแรง น้ำท่วมขังค้างนาน
2. ต้นรับภาระเลี้ยง ดอก/ผล จำนวนมาก
3. สร้างความสมบูรณ์สะสม ให้ต้นพร้อมต่อการสร้างดอก (ซี/เอ็น เรโช)
4. พืชดูดซึมผ่านทางใบแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้ หลังจากฉีดพ่น 2-3 ชั่วโมง

หมายเหตุ :
- การเตรียมน้ำครั้งแรก 80 ล. เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับรับส่วนผสมต่างๆ กระทั่งใส่ส่วนผสมครบถ้วนแล้ว จึงเติมน้ำเพิ่มให้เต็ม 100 ล. นั่นคือ ปุ๋ยทางใบสูตรนี้มี “น้ำ + ส่วนผสม = 100 ล.” หรือ WEIGHT BY WEIGHT (W/W) ซึ่งจะทำให้ได้เนื้อส่วนผสม (ปุ๋ย) เข้มข้นที่สุด

- ส่วนผสมที่ใช้ คลาดเคลื่อนได้ +/- 1-3%

-----------------------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©