-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 พ.ค. *ยาน็อค ภูมิปัญญา+วิชาการ
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 พ.ค. *ยาน็อค ภูมิปัญญา+วิชาการ

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/05/2022 5:37 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 พ.ค. *ยาน็อค ภูมิปัญญา+วิชาการ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตรประจำวัน 31 พ.ค.

***********************************************************
สวัสดีครับ ท่านผู้ฟัง ที่เคารพ
กองทัพบก เพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม ผลิตรายการโดย กองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

จุดยืนรายการ ....
* เกษตรแบบ อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม “.. ? ..”
* ปัจจัยพื้นฐาน ดิน - น้ำ - แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล - สารอาหาร - สายพันธุ์ - โรค
* หัวใจเกษตร ปุ๋ย - ยา - เทคนิค - เทคโนฯ - โอกาส - ตลาด - ต้นทุน
* พร้อมทำเองสอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีซื้อ
กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการ

เช่นเคย รายการเรา....
*** 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว-สายตรง ที่ (081) 913-4986, ....
*** FB วีระ ใจหนักแน่น, ....
*** อินเตอร์เน็ต เกษตรลุงคิม ดอทคอม .... เว้บนี้ ถาม 1 บรรทัด ตอบ 1 หน้า
ถนัดช่องทางไหนเลือกช่องทางนั้นตามอัธยาศัย นักรบไม่ว่ากัน THANK YOU ....
รายการวิทยุ :
*** AM 594 ปตอ. เวลา 0815-0900 จันทร์-ศุกร์ คลื่นนี้ครอบคลุมพื้นที่ 40+ จังหวัด ***

งานสัญจรปกติตามวงรอบ :
* วันเสาร์ของสัปดาห์แรกของเดือน ..... ไปที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สองของเดือน ... ไปที่วัดอัมพวัน (หลวงพ่อโหน่ง) สองพี่น้อง สุพรรณบุรี,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สามของเดือน ... ไปวัดท่าตำหนัก เพชรเกษม(ขาล่อง) แยกนครชัยศรี นครปฐม,
* วันเสาร์ของสัปดาห์ที่สี่ของเดือน ...... ไปวัดส้มเกลี้ยง ใกล้โรงกรองประปามหาสวัสดิ์ ถ.วงแหวนตะวันตก
* เดือนที่มี 5 เสาร์ เสาร์ที่ 5 ของเดือน 30 เม.ย. ไปวัดทุ่งสะเดา แปลงยาว ฉะเชิงเทรา

** ถึงจุดนี้ เกษตรกรอยากให้งานสัญจรไปลง ที่ไหนก็ได้ ติดต่อมา พูดคุยกันในรายละเอียด


- งานสีสันสัญจรวันเสาร์ วันที่ 4 มิ.ย. ลุงคิม กับ อ.ณัฐ (086) 983-1966 สมุนไพรสำหรับคน ไปวัดพยัคฆาราม (วัดเสือ) ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี.... งานนี้

ซื้อหนังสือหัวใจเกษตรไท มินิ 1 เล่ม แถม ไม้ผลแนวหน้า 1 เล่ม....


****************************************************************
****************************************************************

จาก :(089) 618-47xx
ข้อความ : ขอเรื่องสารสมุนไพร ป้องกัน กำจัด ศัตรูพืช ที่เป็นข้อมูลทางวิชาการ เอาไปรวมเล่มแจก สมช.ที่มาอบรม

จาก : (068) 582-03xx
ข้อความ : ทำสารสมุนไพรให้ได้ตัวยาแรง มีกี่วิธี

จาก : (084) 392-17xx
ข้อความ : ทำสารสมุนไพรยาน็อค แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน บวก แบบวิชาการ

ตอบ :

บ่น :
** ต้นทุนค่าสาร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช 30%
** ทั่วโลกมีพืช 2,400 ชนิด เป็นสารสมุนไพรกำจัดโรคพืชได้
** สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร คือ กลิ่น - รส - ฤทธิ์

** อเมริกา ซื้อลิขสิทธิ์ราติโนน ในหนอนตายหยาก
** เยอรมัน ซื้อลิขสิทธิ์อะแซดิแร็คติน ในสะเดา
** ฝรั่งเศส ซื้อลิขสิทธิ์แค็ปไซซิน ในพริก

** ศัตรูพืช ในพืชอ่อนแอ แพร่ระบาดรุนแรงกว่าในพืชสมบูรณ์แข็งแรง
** ไม่มีพืชใดในโลก ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์

** ไม่มีสารเคมีในโลก ไม่มีสารสมุนไพรใดในโลก ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เสียแล้วเสียเลย มาตรการที่ดีที่สุด คือ “กันก่อนแก้”

** งานวิจัยสมุนไพร ป้องกัน/กำจัด ศัตรูพืช โดยนักวิชาการไทยกว่า 10 งานวิจัย ไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุน แม้โดยหน่วยราชการที่นักวิจัยสังกัดก็ไม่ส่งเสริม

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=6532


สัจจะธรรม ธรรมชาติ :
- สัญชาติญาณของแมลงในการเข้าหาพืชเป้าหมายด้วยการตาม “กลิ่น” (แมลงไม่มีจมูก แต่มีตุ่มรับกลิ่นที่ข้างลำตัว) หากกลิ่นของพืชเป้าหมายเปลี่ยนไป แมลงไม่รู้ คิดว่านั่นไม่ใช่พืชเป้าหมายตามต้องการก็จะไม่เข้าหาพืชนั้น ....

- ประสาทสัมผัสกลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 500,000 เท่า (หมาสูงกว่าคน 200,000 เท่า...สารคดีดิสคัพเวอรี)

- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อกินเป็นอาหาร (ปากกัด ปากดูด) แล้วกินพืชนั้น แต่ “รส” ของพืชเป้าหมายที่เคยกินเปลี่ยนไปจากเดิม แมลงจึงคิดว่านั่นไม่ใช่พืชเป้าหมายตามต้องการ ก็จะไม่กินพืชนั้นอีก .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจากการดูดกินของแมลง

- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อกินเป็นอาหาร (ปากกัด ปากดูด) กินพืชนั้นแล้วตายเพราะมี “ฤทธิ์” บางอย่างอยู่ที่พืชนั้น ....ผลรับ : พืชรอดพ้นจากการดูดกินแมลง

- แมลงเข้าหาพืชเป้าหมายเพื่อวางไข่ แล้วปล่อยให้ไข่ฟักตัวออกเป็นหนอน (หนอน คือ ทายาทของแมลง) เมื่อหนอนเกิดมาแล้วกินพืชนั้นเป็นอาหาร ในอาหารนั้นมี“ฤทธิ์” หนอนจะตายทันที หรือยังไม่ตายแต่ไม่เข้าดักแด้ ไม่ช้าก็ตายเหมือนกัน .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจาการกัดกินของหนอน

- แมลงวันทอง หลงกลิ่น .... แมลงศัตรูพืช กลางวัน เข้าหาสีเหลือง .... แมลงศัตรูพืช กลางคืน เข้าหาแสง .... แมลงธรรมชาติ (ผึ้ง ชันโรง ผีเสื้อสวยงาม) ไม่หลงสี ไม่หลงแสง .... ผลรับ : พืชรอดพ้นจาการเข้าทำลายของแมลงวันทอง และแมลงศัตรูพืชอื่นๆ

งานวิจัย :
สารสมุนไพรป้องกันกำจัด โรคพืช แมลงศัตรูพืช.... โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
http://www3.oae.go.th/rdpcc/images/filesdownload/km/Knowledge/productions/9.pdf

พืชสมุนไพรไล่แมลง แทนสารเคมีสังเคราะห์ .... อ.แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์ม ม.แม่โจ้
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_87501

การกำจัดศัตรูพืชด้วยสมนุไพร .... กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G1/G1_30.pdf

การใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช .... สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.เชียงใหม่
http://www.ndoae.doae.go.th/article2010/2011004.html

สมุนไพรไล่แมลง สูตรร้อนแรง ... อ.เกศศิรินทร์ แสงมณี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนคร
https://www.baanlaesuan.com/150794/garden-farm/herbal-insect-repellent-2

ควบคุมศัตรูพืชด้วยสารธรรมชาติ .... กรมวิชาการเกษตร
http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n9/v-8-sep/cheaksong.pdf

สมุนไพรไล่แมลง แทนสารเคมี (ตอนที่2) .... สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ม.แม่โจ้ http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/37-organic/165-

งานวิจัยฯ .... ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
http://rdi.rmutsv.ac.th/rmutsvrj/download/year6-issue1-2557/p_39.pdf

การใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช..... กรมวิชาการเกษตร
http://www.pmc03.doae.go.th/webpage/research/researchsamunphai.pdf

สมุนไพร : เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง .... วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร
http://www.kpcat.ac.th/BWLFSD/document/07102556.pdf

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ .... สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช http://lpsci.nfe.go.th/lpsci/attachments/184_bb11.pdf

คลื่นวิทยุลดความชื้นในข้าวและกำจัดแมลง .... คณะเกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่
https://www.voicetv.co.th/read/76546

** สารเคมี .... คนใช้รับ 10 เท่า - คนกินรับ 1 เท่า


หลากหลายสูตรการหมักสมุนไพร :
สูตรเฉพาะ :

หมายถึง การเลือกใช้พืชสมุนไพรเพียง 1 อย่าง ที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดของแมลงโดยเฉพาะ หรือตรงกับชนิดของหนอนโดยเฉพาะ หรือตรงกับชนิดของโรคโดยเฉพาะ นำมาสกัดตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยแยกพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ไม่ปะปนกัน เช่น

ถัง-1 สกัด "สะเดา" อย่างเดียวเพื่อใช้กำจัดหนอน
ถัง-2 สกัด "ขมิ้นชัน" อย่างเดียวเพื่อใช้กำจัดเพลี้ย ไร
ถัง-3 สกัด "มังคุด" อย่างเดียวเพื่อใช้กำจัดรา แบคทีเรีย

เมื่อสกัดพืชสมุนไพรตัวใดก็จะได้เฉพาะสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรตัวนั้นเท่านั้น เป็นสารออกฤทธิ์ที่ตรงกับชนิดของศัตรูพืช และมีความเข้มข้นมากที่สุด สูตรนี้เหมาะสำหรับการกำจัดและทำลายโดยตรง.... เรียกว่า "สูตรตัวต่อตัว"

สูตรรวมมิตร :
หมายถึง การเลือกพืชสมุนไพร 2-5 ชนิด ที่มีสารออกฤทธิ์ตรงกับหนอนเหมือนๆกัน หรือตรงกับแมลงเหมือนๆกัน หรือตรงกับโรคเหมือนๆกัน นำมาสกัดเอาสารออกฤทธิ์ตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยแยกสกัดพืชสมุนไพรแต่ละชนิดไม่ปะปนกัน เช่น

ถัง-1 สกัดว่านน้ำ ตะบูน กระเทียม ร่วมกันเพื่อใช้กำจัดเชื้อรา
ถัง-2 สกัดใบน้อยหน่า สะเดา หางไหล ร่วมกันเพื่อใช้กำจัดแมลง
ถัง-3 สกัดฝักคูน แมงลักคา โหระพา ร่วมกันเพื่อใช้กำจัดไข่แม่ผีเสื้อ

แบบนี้จะทำให้ได้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรหลายชนิดที่ตรงกับโรคและแมลงศัตรูพืชเพียงตัวเดียว ส่งผลให้ได้ประสิทธิ์ภาพสูง สูตรนี้ใช้ได้ทั้งป้องกันและกำจัด .... เรียกว่าสูตร "ตัวต่อตัวมีรุม"

สูตรรวมมิตรแบบผสม :
หมายถึง การเลือก........
- ใช้พืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดหนอนโดยตรง 3-5 ชนิด
- ใช้พืชสมุนไพรประเภทที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดแมลงโดยตรง 3-5 ชนิด
- ใช้พืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์กำจัดรา แบคทีเรีย ไวรัส โดยตรง 3-5 ชนิด

นำพืชสมุนไพรทั้ง 3 ประเภท มาสกัดรวมกันตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในถังเดียวกัน พร้อมๆกัน และด้วยวิธีการเดียวกันแบบนี้จะทำให้ได้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรทุกตัวที่สามารถป้องกันกำจัดหนอน แมลง และโรค ได้ในครั้งเดียวกันซึ่งเหมาะสำหรับการใช้เพื่อป้องกันมากกว่าเพื่อกำจัด เรียกว่า "สูตรตะลุมบอน"

สูตรข้างทาง :
หมายถึง การเลือกพืชทั้งที่กินได้ และวัชพืช ที่ขึ้นตามพื้นที่ทั่วไป เช่น ข้างถนน ในสวน ในป่า ชายน้ำ บนภูเขา ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวตามธรรมชาติ เช่น กลิ่นฉุน/เหม็น รสฝาด/ขม/เผ็ด/ร้อน มียางมากอวบน้ำ ไม่มีโรค หนอนและแมลงรบกวน ซึ่งแสดงว่าในพืชนั้นมีสารออกฤทธิ์บางอย่างที่คุ้มครองตัวมันเองได้ เมื่อนำพืชที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมาสกัดตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้านก็จะได้สารออกฤทธิ์นั้นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ เรียกว่า "สูตรเหมาจ่าย"

หมายเหตุ :
- มีพืชสมุนไพรเพียงจำนวนน้อย ที่ผ่านงานวิจัยโดยนักวิชาการ และผ่านการรับรองทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว ในขณะที่ยังมีพืชสมุนไพรอีกจำนวนมากที่ยังไม่ผ่านงานวิจัย และยังไม่มีการรับรองใด แต่ก็ยังมีการใช้และยินยอมให้ใช้ได้โดยผ่านกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน

- เกษตรกรทั่วโลกรู้จักและเคยใช้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรทดแทนสารเคมี ทั้งในการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชและในกิจกรรมเพื่อการดำรงชีวิตอื่นๆมานานแล้ว และวันนี้สารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรกำลังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

- มร.สตอลล์ แกสบี้. นักวิชาการเยอรมัน ร่วมกับ ศ.ดร.ขวัญชัย สมบัติสิริ ศึกษาวิจัยสะเดา และพืชสมุนไพรอื่นๆ อีกกว่า 30 ชนิดในประเทศไทยจนประสบความสำเร็จ ข้อมูลเรื่องนี้รัฐบาลเยอรมันได้ตีพิมพ์เป็นภาษาต่างๆทั่วโลก 14 ภาษา ยกเว้นภาษาไทยเพราะเห็นว่าประเทศไทยมีนักวิจัยร่วมอยู่ด้วยแล้ว

- เมื่อราว 3-5 ปีที่แล้ว เยอรมันได้สั่งนำเข้า หนอนตายหยากจากไทย. สะเดาจากอินเดีย. หางไหล.จากอินโดเนเซีย. นำไปสกัดเอาสารออกฤทธิ์ด้วยเทคโนโลยีสูง จนสามารถ Q.C. คุณภาพ และปริมาณของสารออกฤทธิ์ได้ตามต้องการ

วิธีสกัดพืชสมุนไพรแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน
1. หมักน้ำเปล่า :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้งใส่ลงในถังพลาสติก เติมน้ำเปล่า 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี

ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

2. สูตรหมักเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติก เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)1-2 ล. เติมน้ำส้มชายชู 1 ล. อัตราเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูให้ได้พอท่วมสมุนไพร ถ้าไม่ท่วมให้เติมน้ำเปล่าเพิ่มจนกระทั่งพอท่วม คนเคล้าให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม.ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ เพื่อให้แอลกอฮอร์กับน้ำส้มสายชูจะสกัดเอาสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรออกมา ครบกำหนด 24-48 ชม.แล้วให้เติมน้ำเปล่า 10-20 ล.ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

3. สูตรแช่น้ำร้อน :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังพลาสติกที่มีน้ำต้มเดือดแล้ว 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ทิ้งไว้ 24-48 ชม. ระหว่างนี้ให้คน 2-3 รอบ ครบกำหนด 24-48 ชม. ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

หมักต่อไป 15-20 วัน หรือเมื่อเห็นว่าพืชสมุนไพรเปื่อยยุ่ย นอนก้นถังดี ให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งานจะดีมาก กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูกหรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

4. สูตรต้มพอร้อน :
วัสดุส่วนผสม :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก.น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ)ที่มีน้ำ 10-20 ล. คนให้เข้ากันดี ยกขึ้นตั้งไฟ ต้มพอเดือด เสร็จแล้วยกลงปล่อยให้เย็น ก็จะได้สารสกัดสมุนไพรเข้มข้น พร้อมใช้งาน

เมื่อน้ำต้มเย็นลงแล้วให้กรองเอากากออก เก็บน้ำใสไว้ใช้งาน กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลักจะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

5. สูตรต้มเคี่ยว :
วัสดุส่วนผสมและวิธีทำ :

เลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ สภาพสดหรือแห้ง ส่วนที่มีสารออกฤทธิ์มากที่สุด อายุและสภาพแวดล้อม ตามต้องการหรือตามหลักวิชาการ สับเล็กหรือบดละเอียดปริมาณ 1-2 กก. น้ำที่ออกมาอย่าทิ้ง ใส่ลงในถังโลหะ (ปี๊บ)ที่มีน้ำ 10-20 ล. ยกขึ้นตั้งไฟ

ต้มครั้งที่ 1 ให้เดือดจัด เสร็จแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน เตรียมต้มรอบ 2

ต้มครั้งที่ 2 เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไป เตรียมต้มรอบ 3

ต้มครั้งที่ 3 เดือดจัดแล้วใช้ตะแกงกรองเอาสมุนไพรที่ต้มแล้วออกทิ้งไป ใส่สมุนไพรตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิมลงไปแทน แล้วต้มจนเดือดจัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วยกลง ปล่อยให้เย็น แล้วให้กรองเอากากออกก็จะได้หัวเชื้อน้ำต้มสมุนไพรเข้มข้นพร้อมใช้งาน

กากก้นถังที่ได้นำไปตากแห้ง เก็บไว้ใช้รองก้นหลุมปลูก หรือโรยหน้าดิน ช่วยป้องกันแมลงในดินได้เป็นอย่างดี

สูตรนี้ไม่แนะนำให้เก็บไว้นานเพราะจะเน่าหรือบูด กรณีพืชสมุนไพรประเภทหัว ซึ่งมีแป้งเป็นส่วนผสมหลัก จะบูดเน่าเร็วกว่าสมุนไพรประเภทใบ/ดอก/ผล ดังนั้นจึงควรทำครั้งละเพียงพอต่อการใช้ 1 ครั้ง แต่หากต้องการเก็บนานให้เติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอร์ อัตรา 1 ล.ต่อน้ำสกัด 10 ล. แอลกอฮอร์จะช่วยแก้อาการบูดเน่าได้

หมายเหตุ :
สูตรต้มเคี่ยวทำได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบแล้วกรองเอากากออกได้น้ำใสเท่าไรก็ได้เท่านั้น ใช้งานได้เลย ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์มีเท่าไรก็มีเท่านั้น

แบบที่ 2 ต้มเคี่ยวครบ 3 รอบ กรองเอากากออกจนได้น้ำใสแล้ว ให้ต้มเคี่ยวต่อโดยไม่ต้องเติมพืชสมุนไพรอีก ต้มเคี่ยวจนกระทั่งน้ำระเหยไปไอหายไป เหลือ 1 ใน 4 ของครั้งแรก เสร็จแล้วปล่อยทิ้งให้เย็น ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์จะแรงขึ้น

6.สูตรกลั่น
ถังกลั่น :

- เป็นถังโลหะทรงสูง
- ใส่น้ำเปล่าก้นถัง ปริมาณตามความเหมาะเมื่อเทียบกับปริมาณของพืชสมุนไพรที่จะกลั่น ไม่ควรเกิน 1 ใน 4 ของความสูงถัง

- มีตะแกงติดในถัง ณ ระดับความสูง 3 ใน 4 จากก้นถังของความสูงถัง
- มีฝาปิดสนิทป้องกันไอระเหยออกได้
- ที่ฝาปิดมีท่อให้ไอระเหยผ่านไปสูงระบบควบเย็นได้สะดวก
- ท่อนี้จะผ่านระบบควบเย็น ส่วนปลายดัดแปลงให้แทงเข้าไปในถังกลั่น เพื่อให้ไอระเหยที่ถูกควบเย็นจนกลายเป็นน้ำแล้วกลับเข้าไปกลั่นซ้ำในถังอีกครั้ง

ส่วนผสมและวิธีทำ :
เลือกพืชสมุนไพรประเภทสกัดด้วยวิธีกลั่นโดยเฉพาะ มีสารออกฤทธิ์ตรงกับชนิดศัตรูพืช สดหรือแห้ง สับเล็กหรือบดละเอียด การกลั่นทำได้ 3 แบบ

แบบที่ 1 กลั่นแบบต้มเหล้าป่า (ชาวบ้านแอบทำ /เหล้าเถื่อน)หรือเหล้าขาว (รัฐบาลทำ)การกลั่นแบบนี้ต้องอาศัยความร้อนสูง น้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยต้องเดือดจัด 100 องศาเซลเซียส ทำให้ได้ "น้ำ + สารออกฤทธิ์" ซึ่งจะมีน้ำ 70 เปอร์เซ็นต์ สารออกฤทธิ์ 30 เปอร์เซ็นต์ ถ้าน้ำที่ต้มเพื่อเอาไอระเหยร้อน 60-70 องศาเซลเซียส จะทำได้เปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์สูงขึ้น อัตราส่วน น้ำ 30 เปอร์เซ็นต์ สารออกฤทธิ์ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่เนื่องจากความร้อนเพียงเท่านี้ไอน้ำจะไม่พุ่งออกมาสู่ระบบควบเย็นได้ แก้ไขโดยการใช้ตัวดูดไอระเหย (แว็คกั้ม).... สารออกที่ได้ใช้งานได้เลย หากต้องการเก็บนานให้เติมแอลกอฮอร์ 10-20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำกลั่นสารออกฤทธิ์

แบบที่ 2 กลั่นซ้ำ เป็นการกลั่นแบบให้ความร้อนสูงเดือดจัด ไอระเหยที่ถูกควบเย็นแล้วผ่านท่อที่ดัดแปลงเป็นการเฉพาะไหลกลับเข้าไปในหม้อกลั่นอย่างเดิมรวมกับน้ำก้นถังกลั่นอีกครั้ง แล้วถูกต้มกลายเป็นไอระเหยสูงขึ้นสู่ระบบควบเย็นซ้ำโดยอัตโนมัติ น้ำจะถูกกลั่นเป็นไอน้ำ ถูกควบเย็นเป็นน้ำไหลกลับเข้าถังกลั่น หมุนเวียนซ้ำอย่างนี้จนเป็นที่พอใจ น้ำก้นถังกลั่น คือ น้ำกลั่นสารออกฤทธิ์ มีน้ำกับสารออกฤทธิ์ 1 : 1 ใช้งานได้เลย

แบบที่ 3 กลั่นด้วยเครื่องกลั่นเฉพาะแบบ "แยกน้ำ-แยกน้ำมัน" น้ำมันที่ได้เป็นสารออกฤทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีน้ำปน สารออกฤทธิ์ที่ได้ใช้งานได้เลย และสามารถเก็บนานได้โดยไม่ต้องเติมแอลกอฮอร์

ประสบการณ์ตรงที่ไร่กล้อมแกล้ม :
สูตรข้างทางต้มพอเดือด :

เลือกเก็บพืชสมุนไพรที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ สภาพสดใหม่ สมบูรณ์ มีงานวิจับรองรับ ในพื้นที่ทั่วๆไป เช่น

เก็บจากข้างถนน :
สาบเสือ. สบู่ต้น. แมงลักคา. สะเดา. ผกากรองป่า. ว่านน้ำ. กะเพราผี. ฝักคูน. ชุมเห็ด.

เก็บจากหลังบ้าน-หน้าบ้าน-ในครัว :
ตะไคร้. ข่า. พริก. กระชาย. กะเพรา. โหระพา. แมงลัก.

เก็บในสวนตัวเอง-สวนเพื่อนบ้าน :
ใบน้อยหน่า. บอระเพ็ด. ฟ้าทะลายโจร. ลูกใต้ใบ. ใบฝรั่ง. เสลดพังพอน.

เก็บมาอย่างละกำมือใหญ่ๆ ปริมาณเท่าๆ กัน ทุกอย่างสดใหม่ อัดลงปี๊บได้ประมาณ 3 ใน 4 ของความจุ ใส่น้ำให้เต็มปี๊บ ยกขึ้นตั้งไฟ เร่งไฟอ่อนๆ (เร่งมากเปลืองแก๊ส) ระหว่างต้มคนพอเป็นพิธี ต้มพอเดือดปุดๆ เสร็จแล้วดับไฟ ยกลง ทิ้งให้เย็น..... เย็นแล้วกรองกากออกเอาไปใส่โคนไม้ เท่านี้ก็ได้สารสกัดสมุนไพรสูตรข้างทาง เป็นสารสกัด "เข้มข้น" พร้อมใช้งาน.... ถ้าจะใช้เลย ให้เจือจางกับน้ำเปล่า 3-4 เท่า

ถ้าต้องการเก็บนาน ให้เติมแอลกอฮอร์ 1-2 ส่วนต่อน้ำต้มสมุนไพร 10 ส่วนและเติมน้ำส้มสายชู 1-2 ส่วนต่อแอลกอฮอร์ 10 ส่วน.....อัตราใช้ 20-50 ซีซี./น้ำ 20 ล.

หมายเหตุ :
- เลือกพืชสมุนไพรอะไรก็ได้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เผ็ด/ร้อนจัด. ขมจัด. ฝาดจัด. มีฤทธิ์เบื่อเมา.
- น้ำพริกแกงเผ็ดซึ่งมี พริก. มะกรูด. ตะไคร้. สามารถพัฒนาให้เป็นสารสกัดสมุนไพรได้ โดยเติมเพิ่ม ข่า. ขิง. ขมิ้น. ไพล. ฯลฯ

- พืชปลูกบางชนิดเมื่อสัมผัสกับแอลกอฮอร์แล้วเกิดอาการใบกร้าน ให้เลิกใช้แอลกอฮอร์แล้วใช้เหล้าขาวแทน

- ปุ๋ยทางใบที่มีกากน้ำตาล. หรือกลูโคส.เป็นส่วนผสม เนื่องจากความหวานของสารดังกล่าวอาจจะเป็นตัวเรียกเชื้อราเข้ามาได้ แก้ไขโดย ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบช่วงกลางวัน แล้วฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรกำจัดเชื้อราในช่วงเย็นหรือค่ำของวันเดียวกัน

เคล็ด (ไม่) ลับเรื่องสารสกัดสมุนไพร :
การ "สกัด" สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรให้ออกมาได้ปริมาณมากที่สุด เข้มข้นที่สุดนั้น กรรมวิธีหรือวิธีการสกัดถือว่ามีความสำคัญไม่ใช่น้อย หากใช้สกัดผิดวิธีนอกจากจะได้สารออกฤทธิ์น้อยหรือไม่ได้เลยแล้ว เมื่อนำไปใช้อาจจะเป็นพิษต่อพืช คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ก็ได้

พืชสมุนไพร ชนิดกลิ่น ............. สกัดด้วยวิธี กลั่น
พืชสมุนไพร ชนิดรสขม/เผ็ด ...... สกัดด้วยวิธี ต้ม
พืชสมุนไพร ชนิดรสฝาด .......... สกัดด้วยวิธี หมัก

วิธีการสกัดในแต่ละวิธีก็ต้องมีเทคนิคเฉพาะ แหล่งข้อมูลเรื่องเทคนิคเฉพาะสามารถสอบถามได้ที่ องค์การเภสัชกรรม หรือหน่วยงานแพทย์แผนไทย ชื่อของพืชสมุนไพรต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือที่จะกล่าวต่อไป เป็นชื่อที่ใช้ในหลักฐานทางวิชาการ ไม่ใช่ชื่อพื้นเมืองหรือท้องถิ่น การที่จะรู้ว่าพืชสมุนไพรตัวใดมีชื่อทางวิชาการว่าอย่างไรนั้น ให้พิจารณาเปรียบจากรูปถ่ายของจริง หรือสอบถามจากผู้รู้จริงเท่านั้นสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรกำจัดหนอนไม่อาจทำให้หนอนตายอย่างเฉียบพลันได้เหมือนสารเคมีประเภทยาน็อค แต่จะทำให้หนอนเกิดอาการทุรนทุรายจนต้องออกมาจากที่หลบซ่อน ไม่ลอกคราบและไม่กินอาหาร (ทำลายพืช)ไม่ช้าไม่นานหนอนตัวนั้นก็จะตายไปเอง.... มาตรการขับไล่แม่ผีเสื้อไม่ให้เข้ามาวางไข่ หรือการทำให้ไข่ของแม่ผีเสื้อฝ่อจนไม่อาจฟักออกมาเป็นตัวหนอนได้สำเร็จก็ถือว่าเป็นการกำจัดหนอนได้อีกวิธีหนึ่ง สารสกัดสมุนไพรที่ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินจะทำให้ใบพืชไหม้หรือกร้านได้ ทั้งนี้สารออกฤทธิ์ที่ได้จากพืชสมุนไพรแต่ละชนิด จากแต่ละแหล่ง แต่ละฤดูกาล แต่ละอายุ แต่ละส่วนที่ใช้ แต่ละวิธีในการสกัด และแต่ละครั้ง จะมีความเข้มข้นและปริมาณไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนใช้งานจริงจำเป็นต้องทดสอบอัตราใช้สูตรของตนเองก่อนว่า ใช้อัตราเท่าใดจึงจะทำให้ใบพืชไหม้หรือหยาบกร้าน จากนั้นจึงยึดถืออัตราใช้นั้นประจำต่อไปสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรรสฝาด เผ็ด ร้อน ขม และกลิ่นจัด มีประสิทธิภาพทำให้แมลงปากกัด/ปากดูด เช่น เพลี้ย ไร ไม่เข้ากัดกินพืชและจากกลิ่นจัดของสมุนไพรนี้ยังทำให้แมลงประเภทผีเสื้อไม่เข้าวางไข่อีกด้วยสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรประเภทรสฝาดจัด ในความฝาดมีสารเทนนินที่สามารถทำให้ รา แบคทีเรีย ไวรัส ตายได้

สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรไม่ต้านทานต่อแสงแดด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้หรือฉีดพ่นช่วงไม่มีแสงแดด หรืออากาศไม่ร้อนสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรสลายตัวเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฉีดพ่นบ่อยๆน้ำสารสกัดสมุนไพรที่ไหลอาบลำต้นผ่านลงถึงพื้นดินโคนต้นกระจายทั่วบริเวณทรงพุ่มนั้น นอกจากช่วยกำจัดหนอนที่พื้นดินโคนต้นโดยตรงแล้ว ยังทำให้ไข่ของแมลงแม่ผีเสื้อฝ่อ และสภาพแวดล้อมบริเวณโคนต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพปกติ จนเป็นเหตุให้แม่ผีเสื้อไม่เข้าวางไข่ได้ ส่วนตัวแมลงแม่ผีเสื้อที่หลบอาศัยอยู่ก็จะหนีไปอีกด้วย

น้ำสารสกัดสมุนไพรที่ได้จากการหมักครั้งแรก เรียกว่า "น้ำแรก หรือ น้ำหนึ่ง" ให้ใช้ในอัตราใช้ปกติ เมื่อใช้น้ำแรกหมดแล้วเหลือกาก สามารถหมักต่อด้วยวิธีการเดิมเป็น "น้ำสอง" ได้ กรณีน้ำสองเมื่อจะใช้ แนะนำให้เพิ่มอัตราการใช้หรือใช้เข้มข้นขึ้น.... อย่างไรก็ตาม น้ำสอง มีสารออกฤทธิ์น้อยกว่า น้ำหนึ่ง ทางเลือกที่ดีก็คือ ใช้น้ำหนึ่งหมดแล้วให้ทิ้งไปหรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ไม่ควรหมักเป็นน้ำสองแล้วใช้อีก เพราะจะไม่ได้ผลไม่ควรใช้สารสกัดสมุนไพรตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียวเดี่ยวๆประจำๆ ติดต่อกันหลายๆรอบ เพราะจะทำให้แมลง/หนอน ปรับตัวเป็นดื้อยาได้ ควรเปลี่ยนหรือสลับใช้สารสกัดสมุนไพรชนิดอื่นๆ บ่อยๆ หรือใช้ "สูตรเฉพาะ" แต่ละตัวสลับกันไปเรื่อยๆ หรือสลับกับสูตรอื่นๆ (สูตรรวมมิตร สูตรข้างทาง สูตรเหมาจ่าย) ก็ได้ สารสกัดสมุนไพรที่ได้ หรือผ่านกรรมวิธีสกัดมาแล้ว มีกลิ่นและรสจัดรุนแรงมากๆ ย่อมหมายถึงประสิทธิภาพหรือสรรพคุณของสารออกฤทธิ์นั้นพืชสมุนไพรประเภทหมักด้วย "น้ำ + แอลกอฮอร์" ยิ่งหมักนานจะยิ่งได้สารออกฤทธิ์เข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้ ช่วงระหว่างการหมักนั้นจะต้องถูกวิธีด้วยแมลงกลางวันจะมองเห็นพืชเป้าหมายขณะเคลื่อนที่ด้วยการ "มองเห็น" ถ้ามีสารเคลือบใบหรือส่วนต่างของพืชให้เป็นมันวาว จะทำให้ภาพการมองเห็นของนัยตาแมลงผิดเพี้ยนไป จนทำให้แมลงเข้าใจผิดว่านั้นไม่ใช่พืชเป้าหมายที่ต้องการจึงเลี่ยงไปหาที่อื่นแทน (นัยตาของแมลงมีเลนส์ 200,000 เลนส์ ลูกนัยตาของแมลงจึงกลอกกลิ้งไปมาไม่ได้ หรืออยู่นิ่งตลอดเวลา แต่สามารถมองเห็นได้จากเลนส์ใดเล็นส์หนึ่งนั่นเอง ...... (สารคดีดิสคัฟเวอรี่)

แมลงกลางคืนเคลื่อนที่เข้าหาพืชเป้าหมายด้วยประสาทดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นอื่นหรือกลิ่นพืชสมุนไพรซึ่งไม่ใช่กลิ่นพืชเป้าหมายเคลือบอยู่ แมลงก็จะไม่เข้าหาพืชเป้าหมายนั้น แต่จะค้นหาพืชเป้าหมายจากแหล่งอื่นต่อไป (ประสาทการรับรู้กลิ่นของแมลงสูงกว่าคน 600,000 เท่า / สารคดีดิสคัฟเวอรี่)

สารสกัดสมุนไพรไม่เป็นอันตรายต่อแมลงธรรมชาติ จึงทำให้ยังคงมีแมลงธรรมชาติคอยช่วยผสมเกสร นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริม หรือดึงดูดแมลงธรรมชาติอื่นๆ ให้เข้ามาอยู่ในแปลงเกษตรเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สารสกัดสมุนไพรทุกสูตร สามารถใช้ร่วมกับ ปุ๋ย ฮอร์โมน ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และสารเคมีทุกชนิด ไม่ควรใช้สารสกัดสมุนไพรร่วมกับ จุลินทรีย์ทุกชนิด เชื้อโรคของศัตรูพืช เช่น บีที. บีซี. บีเอส. เอ็นพีวี. ฯลฯ เพราะสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพรจะยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์เหล่านี้

พืชสมุนไพรประเภทหัว มีแป้งเป็นองค์ประกอบ เมื่อนำมาหมักมักเกิดอาการบูดเน่า กลิ่นเหม็นรุนแรง วิธีการแก้ไข คือ เพิ่มอัตราส่วนแอลกอฮอร์ให้มากขึ้น 2-3 เท่าจากอัตราปกติ และอาจจะเพิ่มได้อีกในระหว่างการหมักเมื่อเห็นว่าลักษณะไม่ค่อยน่าพึงพอใจ

สารสกัดสมุนไพร "สูตรเฉพาะ" ใช้สลับกันบ่อยๆ ได้ผลสูงกว่า "สูตรรวมมิตร" หรือเพื่อความแน่นอนควรใช้ทั้งสองสูตรสลับกัน

พืชสมุนไพรที่ให้สารออกฤทธิ์รุนแรงเทียบเท่ายาน็อคสารเคมี คือ หัวกลอย. เมล็ดมันแกว. เมล็ดน้อยหน่า. เปลือกต้นซาก. ซึ่งให้สารออกฤทธิ์ทั้งในรูปของ "กลิ่นไล่" และสารออกฤทธิ์ประเภท "กินตาย ไม่ลอกคราบ"

สารออกฤทธิ์ในบอระเพ็ดเป็น "สารดูดซึม" เมื่อฉีดพ่นให้แก่พืชแล้วสารออกฤทธิ์จะซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อพืช ทำให้เกิดรสขมอยู่นาน 7-10 วัน จึงไม่ควรให้แก่พืชประเภทกินสด เช่น ผักสวนครัว ผลไม้ใกล้เก็บเกี่ยว.... สารออกฤทธิ์ใน "ลางจืด" สามารถถอนฤทธิ์รสขมในบอระเพ็ดได้

ใช้สารสกัดสมุนไพรอย่างทันเวลา เช่น ฉีดพ่นช่วงเช้ามืดของคืนที่น้ำค้างลงแรงๆ ฉีดพ่นก่อนที่น้ำค้างจะแห้ง หรือฉีดพ่นเพื่อล้างน้ำค้างออกจากต้น จะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคที่มากับน้ำค้าง เช่น ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม ได้ดี หรือฉีดพ่นหลังฝนหยุดช่วงกลางวันเพื่อล้างน้ำฝนออกจากส่วนต่างๆ ของต้นก่อนที่น้ำฝนนั้นจะแห้งคาต้นจะช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อโรคที่มากับน้ำฝน เช่น ราโรคขอบใบไหม้ ราโรคปลายใบไหม้ ราโรคใบจุด ราโรคใบติด ได้ดี

หมายเหตุ :
ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม เกิดจากพื้นดินแล้วล่องลอยปลิวไปตามอากาศ เมื่อพบหยดน้ำค้างก็จะแฝงตัวเข้าไปอาศัยอยู่ในหยดน้ำค้างนั้น เมื่อน้ำค้างแห้ง ราเหล่านี้ก็จะซึมแทรกเข้าไปสู่ภายในของพืชแล้วแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป.... ราโรคขอบใบไหม้ ราโรคปลายใบไหม้ ราโรคใบจุด ราโรคใบติด ก็มีพฤติกรรมเหมือนราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม แต่เข้าไปแฝงตัวอาศัยในหยดน้ำฝน เมื่อนำฝนแห้งก็จะซึมแทรกเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของพืช.... กรณีราที่มากับน้ำฝน หากฝนตกช่วงกลางคืน ก็ควรฉีดพ่นตอนเช้าตรู่ เป็นการฉีดล้างก่อนที่หยดน้ำฝนจะแห้ง

หลักนิยมของเกษตรกรในการกำจัดเชื้อโรคราดังกล่าว มักใช้สารเคมีประเภท "ดูดซึม" บางครั้งก็ได้ผลบางครั้งก็สูญเปล่า แม้ว่าจะได้ผลสามารถเข่นฆ่าเชื้อราเหล่านั้นให้ด่าวดิ้นสิ้นใจไปได้ แต่ส่วนของพืชที่ถูกซึมแทรกเข้าไปก็ถูกทำลายไปแล้ว ไม่อาจทำให้ดีคืนเหมือนเดิมได้ นั่นเท่ากับเสียทั้งเงินและเสียทั้งพืช

วิธีกำจัดที่นิยมกันก็คือ ใช้สารเคมีประเภทดูดซึม ก่อนตัดสินในเลือกใช้สารสกัดสมุนไพรควรรู้ให้แน่ก่อนว่า ศัตรูพืชที่ต้องการกำจัดนั้น ชื่ออะไร มีวงจรชีวิตอย่างไร แล้วเลือกพืชสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ (ผ่านงานวิจัยมาแล้ว) ตรงกับชนิดของศัตรูพืชนั้นๆ กับใช้อย่างถูกวิธีก็จะได้ประสิทธิผลสูงสุด ใช้สารสกัดสมุนไพรแบบ "ป้องกัน" จะได้ผลดีกว่าใช้แบบ "กำจัด" หรือ ใช้แบบ "กันก่อนแก้" นั่นเอง

ไม่มี "สารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร" ใดๆ และไม่มี "สารออกฤทธิ์ในสารเคมี" ใดๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเดี่ยว สามารถป้องกันและกำจัดโรค แมลง ศัตรูพืชอย่างได้ผล วิธีการที่ได้ผลที่สุด คือ ไอ.พี.เอ็ม.

เมื่อพบลักษณะหรืออาการผิดปกติในพืช อย่ารีบด่วนตัดสินใจว่านั่นเป็นสาเหตุเกิดจาก "โรค" โดยเฉพาะ ในบางครั้งลักษณะอาการนั้นอาจจะเกิดจากการ "ขาดสารอาหาร หรือ "ปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก" ไม่ถูกต้องก็ได้....แนวทางแก้ปัญหา คือ ให้ทั้ง "ยา" และ "อาหาร" ไปพร้อมกันในเวลาเดียวกันเลย

สารออกฤทธิ์ในสารสกัดสมุนไพรสามารถเป็นพิษแก่คนฉีดพ่นได้ ดังนั้น การใช้ทุกครั้งจึงต้องระมัดระวังเหมือนการใช้สารเคมี

------------------------------------------------------------------------------------


.



กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©