-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 1 OCT **เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นาข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 1 OCT **เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นาข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 01/10/2014 8:38 pm    ชื่อกระทู้: ถาม-ตอบปัญหาการเกษตร 1 OCT **เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล นาข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

.
.
ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ทางรายการวิทยุ 1 OCT

AM 594 เวลา 08.10-09.00 & 20.05-20.30 ทุกวัน และ FM 91.0 (07.00-08.00 / วันอาทิตย์)

********************************************************************

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ
กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตร และอาชีพเสริม
ผลิตรายการโดยกองกิจการพลเรือน หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพบก

@@ สนับสนุนรายการโดย ...
... บ.นิมุติ เอ็นจิเนียริ่ง เครื่องย่อยเศษพืช (02) 322-9175-6

... ยิบซั่มธรรมชาติ เฟอร์มิกซ์, ธันเดอร์พลัส, ธันเดอร์แคล, เอ็ม.แคล--- ธาตุรอง/ธาตุเสริม มัลติแชมป์ (089) 144-1112

... และ บ.มายซัคเซส อะโกร--- ปุ๋ยอินทรีย์ ตราคนกับควาย, กาวเหนียวดักแมลง มายฟิกส์, กลิ่นล่อแมลงวันทอง ฟลายแอต,
สารเสริมฤทธิ์สารสมุนไพร ไบโอเจ๊ต, ถังฉีดพ่นรุ่นใหม่ ใช้แบตเตอรี่ (081) 910-5034

กระผม พันโทวีระ ใจหนักแน่น (คิม ซา กัสส์) เป็นผู้ดำเนินรายการครับ
เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 ฝากข้อความ-ฝากคำถาม ที่ (081) 913-4986

----------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวแทนจำหน่าย ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง, ไบโออิ, ไทเป, ยูเรก้า. (อินทรีย์ – เคมี)

1) ชมรม (ใหญ่) สีสันชีวิตไทย (089) 814-3204 ใกล้ไฟแดง สี่แยกบางแพ ราชบุรี
2) “คุณชาตรี” (081) 841-9874 ทรัพย์ทวีการเกษตร ชัฎป่าหวาย สวนผึ้ง ราชบุรี (ส่งทาง ปณ.)

3) ร.ต.ต.นันท์สุรัตน์ (089) 821-8273 ต.จรเข้เผือก ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี (ส่งทาง ปณ.)
4) “คุณล่า” (081) 944-8494 ทุกวันจันทร์ ตลาดนัดวัดอมรญาติ ดำเนินสดวก ราชบุรี

5) “คุณประเสริฐ” (080) 110-4645 บ.เขาดิน หนองแขม เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี
6) “คุณอรุณ” (085) 058-1737 ในร้านโครงการหลวง ตลาด อตก.

7) “คุณพรพรรณ” (089) 814-7944 พลชัยเกษตรชีวภาพ ตลาดนัดธนบุรี ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา
8 ) “คุณน้ำส้ม” (085) 055-7706 ชมรมฯ สาขาศาลายา หน้า ม.มหิดล พุทธมณฑลสาย 4 (ส่งทาง ปณ.)

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

@@ สารอาหาร (ปุ๋ย) เพื่อการสื่อสาร :

** ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง : ส่วนผสมหลัก .... อินทรีย์/เคมี (กุ้งหอยปูปลาทะเล, เลือด,
ไขกระดูก, นม, ขี้ค้างคาว, น้ำมะพร้าว, ธาตุหลักตามพืช, แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม

** ไบโออิ : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (แม็กเนเซียม. สังกะสี. รอง/เสริม)
** ยูเรก้า : ส่วนผสมหลัก .... เคมี (21-7-14, ไคโตซาน, อะมิโนโปรตีน)
** ไทเป : ส่วนผสมหลัก ..... อินทรีย์/เคมี (นม, ไข่, น้ำมะพร้าว, 13-0-46. 0-52-34)


มิได้มีเจตนาโฆษณาผลิตภัณฑ์ แต่ใช้ชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อง่ายต่อการสื่อสารข้อมูล เท่านั้น
.... ต้นพืชไม่รู้จักยี่ห้อ ไม่รู้จักเจ้าของสูตร .....
.... ไม่รู้เจ้าของคนปลูก ไม่ฟังโฆษณา .........
.... ต้นพืชรู้จักแต่ส่วนผสมหรือเนื้อใน .........

-----------------------------------------------------------



จาก : (087) 286-58xx
ข้อความ : คุณตาขา ข้าวนาดำ อายุ 80-90 วัน เพลี้ยกระโดดลง ฉีดสมุนไพรพริกเผ็ดจัด กับบอระเพ็ดขมจัด ตามสูตรของคุณตา ฉีดแล้วตามไปดู เห็นเพลี้ยกระโดดลงไปหลบอยู่ที่โคนกอข้าว เต็มไปหมดเลยค่ะ เราจะเปลี่ยนสมุนไพรดีไหมคะ .... ขอบคุณค่ะ ชาวนาปราจีนค่ะ

จาก : (095) 782-59xx
ข้อความ : คุณลุงครับ ผมทำนาดำ ตอนนี้ข้าวอายุ 100 วัน คราวนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว กับอีก 2-3 เพลี้ย ไม่รู้จักชื่อ ลงเต็มนาเลยครับ คุณลุงช่วยแนะนำวิธีใช้สมุนไพรสู้กับเพลี้ยพวกนี้ด้วย ผมไม่อยากใช่สารเคมีครับ .... ชาวนาหนองจอก

(.... คำถามซ้ำ ....)

จาก : (094) 193-50xx
ข้อความ : รายการค่ำนี้ ขอให้คุณลุงพูดเรื่องนาข้าวที่ออกอากาศเมื่อเช้านี้อีกครั้ง ผมขับรถติดอยู่ไต้ทางด่วน รับคลื่นไม่ได้ หลุดจากทางด่วนมาได้ รายการก็จบ .... ขอบคุณครับ

จาก : (080) 220-65xx
ข้อความ : คุณลุงครับ พ่อบอกว่า เมื่อเช้านี้ คุณลุงพูดเรื่องเพลี้ยกระโดดในนาข้าว พ่อฟังไม่ทัน พอดีผมไปธุระนอกบ้าน คืนนี้ อยากให้คุณลุงพูดอีกครั้ง ผมจะอัดเสียงคุณลุงไว้ครับ...ชาวนาเมืองฉะ

ตอบ :
- ภาษิตจีนบอกว่า .... รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยกับหนึ่งครึ่ง, ไม่รู้เรา ไม่รู้เขา รบร้อยครั้ง แพ้ร้อยกับหนึ่งครั้ง อีกหนึ่งครั้งที่เพิ่มขึ้น คือ ลูกหลาน .... ข้าวมีศัตรูพืชมากที่สุดในบรรดาพืชด้วยกัน มากถึง 200 ชนิด เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา มาเถอะเอาไม่ทัน .... ไม่มีสารเคมีใดๆในโลกนี้ ไม่มีสารสมุนไพรใดๆในโลกนี้ ที่ทำให้ส่วนของต้นข้าวหรือต้นพืชใดๆในโลกนี้ที่ถูกศัตรูพืชเข้าทำลายไปแล้ว ฟื้นคืนดีอย่างเดิมได้ เรียกว่า เสียแล้วเสียเลย .... ทุกปัญหาเคยเกิดมาแล้ว นับร้อยพันหมื่นครั้ง ทั้งของตัวเอง ของแปลงข้างเคียง เกิดทุกครั้งเสียหายทุกครั้ง .... ผู้ส่งเสริม ทำหน้าที่ของเขาแล้ว คงทำได้แค่นั้น ผู้รับการส่งเสริม รู้-รู้ทั้งรู้ เห็น-เห็นทั้งเห็น แต่ไม่ทำอะไรทั้งสิ้น เอาแต่นั่งรอนอนรอ รอให้ปัญหาเข้ามาถึงตัวถึงจะตื่น .... ไม่คิด ไม่ใส่ใจ ป้องกันล่วงหน้า

@@ ปุจฉา วิสัชนา :
* ต่อคำถามแรก : “เพลี้ยกระโดดหลบลงไปที่โคนกอ” นี่คือสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิต ที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด .... ทำไมคนจึงไม่รู้

* ต่อคำถามที่สอง : “ไม่มีน้ำ-ไม่มีเพลี้ย มีน้ำ-มีเพลี้ย” นี่ก็คืออีกหนึ่งสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิต ที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด .... ทำไมคนจึงไม่รู้

- ทั้งสองคำถาม ในคำถาม “มีคำตอบอยู่ในตัวมันเอง” นี่ก็คืออีกหนึ่งสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิต ที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด .... ทำไมตัวเองจึงไม่รู้

- สาเหตุ : นาดำต้นข้าวขึ้นแน่นเบียดกันยิ่งกว่านิ้วมือ ฉีดยาฉีดปุ๋ย ฉีดอะไรลงไป ต้นข้าวได้รับไม่ทั่วถึง .... แก้ไขโดย :
* เตรียมน้ำสำหรับผสมมากๆ แต่เนื้อปุ๋ยเนื้อยาเท่าเดิม ต่อเนื้อที่เท่าเดิม
* ฉีดโชกๆ โชกๆ จากยอดปลายใบถึงโคน ถึงพื้นดินโคนต้นได้ยิ่งดี
* แหย่หัวฉีดลงไปที่โคนต้นให้ได้
* เลือกใช้เครื่องฉีดแรงๆ
* ฉีดบ่อย วันเว้นวัน ติดต่อกัน 3-4 รอบ

* ทำยาสมุนไพร ตัวยาเข้มข้น เทียบเท่ายาน็อค (สมการยา : ยาถูก + ใช้ถูก = ได้ผล) ประหยัด ปลอดภัย ได้เครดิต

* เลิกปลูกถี่ (นาดำ .... เสียมากกว่าได้), ปลูกห่าง (นาดำ/นาหยอด .... ได้มากกว่าเสีย)
* บำรุงต้นให้มีภูมิต้านสู้กับศัตรูพืชได้ (ปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สารอาหาร-สายพันธุ์-โรค) ตามความเหมาะสมของพืชตระกูลข้าว
* ใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสมอย่างแท้จริง


@@ ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าว ระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้ง ลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก “อาการไหม้” โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 รอบของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าว หรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น

นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น

ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด :
วิธีการปลูกข้าว : การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำเพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อุณหภูมิและความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง

การใช้ปุ๋ย : การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้การเพิ่มจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในนาข้าวมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ใบข้าวเขียว ขึ้นหนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำ เหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การควบคุมน้ำในนาข้าว : สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลา ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพิ่มจำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว (เปียกสลับแห้ง) เพราะความชื้นจากไอน้ำเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การใช้สารฆ่าแมลง : การใช้สารฆ่าแมลง ในระยะที่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นตัวเต็มวัย ชนิดปีกยาว หรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ๆ (ข้าวระยะ 30 วันหลังหว่าน) ศัตรูธรรมชาติ จะถูกทำลาย และสารฆ่าแมลง ก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง

ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ได้แก่
มวนเขียวดูดไข่ : เป็นตัวห้ำที่สำคัญในการทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่ มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่และอพยพเข้ามาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2-3 เท่า มวนชนิดนี้ สามารถควบคุมการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวได้

แมงมุมสุนัขป่า : เป็นแมงมุมประเภทตัวห้ำ มีบทบาทมากที่สุดในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆ ในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและจะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าวแตกกอ

การบริหารจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล :
1) ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 2, สุพรรณ บุรี 90, สุพรรณบุรี 60, ปทุมธานี 1, พิษณุโลก 2, ชัยนาท 1, ชัยนาท 2. และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

2) ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้อง ควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

3) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเพอร์มิทริน, ไซเพอร์มิทริน, ไซแฮโลทริน, เดคาเมทริน, เอสเฟนแวเลอเรต, เพอร์มิทริน, ไตรอะโซฟอส, ไซยาโนเฟนฟอส, ไอโซซาไทออน, ไฟริดาเฟนไทออน, ควินาลฟอส, และ เตตระคลอร์วินฟอส, เป็นต้น

สารเคมีที่ใช้ควบคุม :
คาร์แทป + ไอโซโพรคาร์บ 5 กก. /ไร่
อิมิดาโคลพริด 15-30 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร
บูโพรเฟซิน + ไอโซโปร์คาร์บ 50 กรัม /น้ำ 20 ลิตร
ไอโซโปร์คาร์ 60 กรัม /น้ำ 20 ลิตร
บูโพรเฟซิน 20-30 กรัม /น้ำ 20 ลิตร
อีทิโพรล 40 ซีซี. /น้ำ 20 ลิตร

ป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน IPM :
- เลี้ยงวัชพืชบนคันนาให้เป็นแหล่งอาศัยของแมลงในธรรมชาติ ตัวห้ำตัวเบียน
- แสงไฟล่อ ให้ตกลงน้ำ
- นาเปียกสลับแห้ง ไถกลบฟางให้คอยช่วยอุ้มน้ำไว้ไต้ดิน น้ำผิวดินแห้งข้าวอยู่ได้นับเดือน
– ให้ แม็กเนเซียม. ประจำๆ ทั้งทางใบ (ไบโออิ) ทางราก (เฟอร์มิกซ์) สร้างความแข็งแกร่ง แมลงปากกัดปากดูดไม่ชอบ

-----------------------------------------------------------------------



.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©