-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ลูกเหม็นกับต้นไม้-และแมลง
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ลูกเหม็นกับต้นไม้-และแมลง

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
twohandcrikky
สาวดอง
สาวดอง


เข้าร่วมเมื่อ: 31/07/2011
ตอบ: 47

ตอบตอบ: 15/07/2012 12:04 am    ชื่อกระทู้: ลูกเหม็นกับต้นไม้-และแมลง ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

วันนี้เด็กมันซน เอาลูกเหม็นมาโยนใส่โคนต้นพริกของผม ผมเลยฉุกใจคิดขึ้นมาว่า
ลูกเหม็น ขนาดคนยังทนไม่ได้ แล้วแมลงละครับ

ลูกเหม็นมีผลต่อแมลง และ พืช ยังไงบ้าง ? เอามาใช้ไล่แมลงได้ไหม ?




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 15/07/2012 6:34 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

............. ฯลฯ ..............

วิธีที่ 2. สูตรปราบแมลงด้วยราคาประหยัดและปลอดสารพิษ:
นำ ลูกเหม็น มาตำให้ละเอียด ตักมา 3 ช้อนโต๊ะ ห่อผ้าขาวบาง
สารเพิ่มทรัพย์ชนิดผง 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 20 ลิตร (1 ปิ๊ป)

วิธีผสม :
นำสารเพิ่มทรัพย์ชนิดผง 3 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำ 20 ลิตร
นำลูกเหม็นบดห่อผ้าขาวบางใส่ลงในน้ำที่ผสมสารชนิดผง แล้วแช่ทิ้งไว้ 1 คืน
นำน้ำที่ละลายสารเพิ่มทรัพย์ไว้แล้วไปฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น
กากของลูกเหม็นนำไปโรยในแปลง เพื่อให้กลิ่นของลูกเหม็นช่วยขับไล่แมลง

หมายเหตุ :
ลูกเหม็นเมื่อโดนแสงแดด และอากาศจะทำให้ความเป็นพิษของลูกเหม็นระเหิดไปหมด จะคงเหลือ แต่กลิ่นไว้ขับไล่แมลงเท่านั้น รวมถึงลดการผสมพันธุ์ของแมลง ส่วนสารชนิดผงเมื่อผสมกับลูกเหม็นจะทำหน้าที่ เก็บกลิ่นของลูกเหม็นให้อยู่ได้นาน และถ้าฉีดพ่นถูกตัวแมลงจะมีคุณสมบัติดูดน้ำออกจากตัวแมลง ทำให้แมลงสูญเสียน้ำ ตัวเหี่ยวลง หมดแรง และป้องกันเชื้อรา

.............. ฯลฯ ............



http://www.angelfire.com/biz7/polimerr/insect.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/07/2012 7:07 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 15/07/2012 6:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การใช้ลูกเหม็นไล่แมลงศัตรูพืชในสวนไม้ผล

โดย นางเกตุนิกา ชื่นสงวน
เจ้าพนักงานการเกษตร 6
สำนักงานเกษตรอำเภออัมพวา


การใช้ ลูกเหม็น ไล่แมลงศัตรูพืชในสวนไม้ผลเป็นเรื่องเล่าจากนายบุญเลิศ เข็มกำเนิด เกษตรกรทำสวนส้มโอ หมู่ 7 ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

1. ใช้ขวดพลาสติกจากน้ำดื่ม ขนาด 250 CC. ตัดบริเวณตรงกลางขวดประมาณ 1 นิ้ว
2. นำลูกเหม็นใส่ลงไปในขวดประมาณ 5-10 ลูก/ขวด
3. แขวนรอบสวนรอบนอกไม่ให้แมลงศัตรูพืชเข้ามารบกวนในสวน



http://km.doae.go.th/admin/uploadfile/samutsongkhram012.doc


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 15/07/2012 7:07 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 15/07/2012 7:04 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

"ด้วงแรด" จะกัดกินยอมมะพร้าวทำให้ใบมะพร้าวขาดเป็นริ้ว ๆ รูปสามเหลี่ยม ต่อมาทางมะพร้าวจะหักพับลงทำให้ มะพร้าวโทรมหรือชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกัน
๑. รักษาบริเวณสวนมะพร้าให้สะอาด ไม่สะสมที่ขยายพันธุ์ของด้วงแรด เช่น กองปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ขุยมะพร้าว และกองขยะ

๒. กำจัดมะพร้าวที่ยืนต้นตาย หรือโค่นทิ้งไว้ รวมทั้งตอมะพร้าวให้หมดไปจากสวน

๓. ใส่ ลูกเหม็น ที่คอมะพร้าวบริเวณโคนทางรอบยอดอ่อน (ยอดกลม) ทางละ ๒ ลูก ประมาณ ๖-๘ ลูก / ต้น เมื่อมะพร้าวอายุ ๓-๕ ปี


การกำจัด
๑. ตรวจพบรอยเจาะเข้าทำลายที่ยอดอ่อน ใช้เหล็กแหลมแทงตามเข้าไปในรูเพื่อทำลายตัวด้วง แรดที่ซุกตัวกินอยู่ภายใน

๒. ใช้ต้นมะพร้าวที่ตาย หรือโค่นทิ้งไว้ตัดทอนเป็นท่อนยาวประมาณ ๑๒๐ เซนติเมตร วางเป็นกับดักในบริเวณสวน เพื่อชักนำให้ด้วงแรดมาวางไข่ภายในท่อน แล้วผ่าลำ ต้นเผาเพื่อทำลายหนอนได้ทั้งหมด

๓. ใช้สารฆ่าแมลง คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ ๒๐% อีซี) ผสมน้ำอัตรา ๘๐ ซีซีต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวให้ชุ่มประมาณ ๑-๑.๕ ลิตร / ต้น ตามขนาดของคอมะพร้าว เดือนละครั้ง

๔. ใช้เชื้อราเขียว คลุกผสมกับวัสดุ ที่ใช้หมักเป็นปุ๋ย เช่น ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าวหรือมูลสัตว์ที่สลสยตัวแล้ว อัตรา ๒๐๐ - ๔๐๐ กรัมต่อกองปุ๋ยหมักขนาด ๒ x ๒ x ๐.๕ เมตร รดน้ำให้ชุ่มชื้นเตรียมไว้ในบริเวณสวน เพื่อกำจัดหนองด้วงแรดที่ตัวเต็มวัยเข้ามาวาง ไข่ขยายพันธุ์ไว้



ติดต่อขอข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิไลวรรณ เวชยันต์ กลุ่มกฎีและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-7542





https://sites.google.com/a/wanthanaa.net/www2/rad
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 15/07/2012 7:39 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การระเหิด (sublimation)


การระเหิดสามารถสรุปได้ดังนี้
"บทนิยาม” ของแข็งโดยทั่วไปเมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นของเหลว แต่มีของแข็งบางชนิดเปลี่ยนสถานะ จากของแข็งกลายเป็นไอ การเปลี่ยนสถานะแบบนี้เรียกว่า การระเหิด”



มาดูความหมายของคำว่า การระเหิด

การระเหิด
การระเหิด คือ ปรากฏการณ์ที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นก๊าซหรือไอโดยไม่เปลี่ยน สถานะเป็นของเหลวก่อน ใช้แยกสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งออกจากกัน ของแข็งที่มีสมบัติในการระเหิด ได้แก่ ลูกเหม็น พิมเสน การบูร น้ำแข็งแห้ง การบูรกับเกลือแกง


ตัวอย่างของการเกิดการระเหิด
ตัวอย่าง การระเหิด เช่น เมื่อให้ความร้อนการบูรจะกลายเป็นไอแยกออกจากเกลือแกง ดักไอของการบูรด้วยภาชนะที่เย็นจะได้การบูรเป็นของแข็งแยกออกมาหรือ ถ้าเราใส่ ลูกเหม็น ในตู้เสื้อผ้าไว้สักระยะหนึ่ง ลูกเหม็น จะมีขนาดเล็กลงเพราะ ลูกเหม็น เปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอทำให้ มีกลิ่นเหม็นไล่แมลง

ดังนั้นการแยกสารโดยการระเหิด จะใช้แยกองค์ประกอบของสารที่ผสมที่มีสถานะเป็นของแข็งที่ระเหิดได้กับของ แข็ง ที่ระเหิดไม่ได้ การให้ความร้อนแก่สารผสมจะทำให้องค์ประกอบที่ระเหิดได้กลายเป็นไอแล้วแยกตัว ออกจากสารผสมนั้น
เรื่องนี้การระเหิดนี้ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระเหย สามรถเปรียบเทียบข้อแตกต่างได้ดังนี้

ซึ่งข้อสรุปข้อแตกต่างของการระเหิด กับ ระเหยก็คือ
“การระเหิดคือ การที่ของแข็ง เปลี่ยนสภานะเป็นแก๊ส โดยไม่ผ่านการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวมาก่อนครับ”


บทสรุปของการระเหย
“ส่วนการระเหยคือ การที่ของแข็ง เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว จากนั้นระเหยเป็นแก๊ส โดยเป็นลำดับตามการเปลี่ยนสถานะตามกายภาพของนํ้าแข็งนั่นเองครับ”

ดังนั้นคงจะเห็นแล้วว่า การระเหยเป็นการเปลี่ยนสภาพตามลำดับ ส่วนการระเหิดคือการเปลี่ยนสภาพข้ามขั้นตอน การเป็นของเหลวก่อนไงครับ

อนึ่งแล้ว การเปลี่ยนสถานะตามกายภาพ คือ การที่ ของสิ่งนั้นเปลี่ยนสภาพแล้วสามารถเปลี่ยนสภาพมาเป็นสารชนิดตั้งต้นเดิมได้อีก เช่น นํ้าเมื่อเปลี่ยนจากของเหลว เป็น แก๊ส ก็สามารถที่จะเปลี่ยนมาเป็นนํ้าได้อีก

ซึ่งต่างจากการเปลี่ยนสถานะแบบปฏกิริยาทางเคมีซึ่งเมื่อเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนเลยไม่สามารถกลับมาเป็นอย่างเดิมได้อีก เช่น จุดไม้ขีดไฟสารก่อไฟเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้ว ไหม้กลายเป็นถ่าน ไม่สามารถกลับมาเป็นไม้ขีดแบบเดิมได้อีกครับ

หวังว่าคงเข้าใจกับเรื่อง การระเหิด (sublimation) หมายถึงอะไร ต่างจาก การระเหย อย่างไร คราวหน้าพบกันใหม่นะครับ

http://www.changsunha.com/index.php/science/sublimation/



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1fc5502697527fde
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 15/07/2012 8:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พลิกผืนนา 20 ไร่ เป็นสวนมะม่วง มีรายได้ร่วม 7 แสนบาท ต่อปี





วันที่ 23 พ.ค. 55 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.สงขลา นอกจากจะมีการปลูกยาพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักแล้ว ยังมีเกษตรกรบางรายที่หันมาทำสวนมะม่วง จนประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน เช่น นายเขียน อุบลพันธุ์ อายุ 67 ปี เกษตรกรในพื้นที่ หมู่ 5 ต.สทิ้งหม้อ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งได้พลิกผืนนามาทำสวนมะม่วง โดยการปลูกมะม่วงรวมกัน 10 สายพันธุ์ ในแปลงเดียว รวมเนื้อที่ 20 ไร่


โดยแบ่งออกเป็น 3 สวน ประกอบด้วย มะม่วงเบา มะม่วงพิมเสนเบา มะม่วงมันศาลายา มะม่วงเขียวไข่กา มะม่วงฟ้าลั่น มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงแก้วลืมคอน มะม่วงเพชรบ้านลาด และ มะม่วงโชคอนันต์ ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 700 ต้น โดยเน้นไปที่มะม่วงเบา ซึ่งเป็นมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ และ มะม่วงพิมเสนเบา เป็นตัวชูโรง ซึ่งสามรถสร้างรายได้เป็นจำนวนถึง 5-7 แสนบาท ต่อปี เลยทีเดียว

นายเขียน อุบลพันธุ์ เล่าว่า ตนได้เริ่มต้นจากที่ดินเพียง 10 ไร่ เมื่อ 40 ปี ที่ผ่านมา โดยใช้ที่ดินทำนาและทำสวนอยู่ในผืนเดียวกัน แต่มาในระยะหลังการทำนาไม่ค่อยได้ผล เลยพลิกผืนนามาทำสวนมะม่วงเพียงอย่างเดียว โดยเน้นปลูกมะม่วงเบาและมะม่วงพิมเสนเบาเป็นหลัก ต่อมาได้ขยายพื้นที่ทำสวนมะม่วงเพิ่มเป็น 20 ไร่ รวม 3 สวน หลังจากนั้นได้นำพันธุ์มะม่วงอีก 8 สายพันธุ์ มาปลูก โดยใช้วิธีเสียบยอดกับโคนต้นมะม่วงเบา และตัดต้นมะม่วงเบาออก ซึ่งให้ผลผลิตได้ดีเช่นเดียวกัน และไม่เปลืองเนื้อที่

สำหรับสวนมะม่วงทั้งหมดไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลง แต่จะใช้น้ำหมักจากสมุนไพร ซึ่งประกอบด้วย ใบสะเดา หัวข่า และ ตะไคร้หอม โดยนำน้ำหมักมาฉีดใบมะม่วง เพื่อไล่แมลง และใช้ ลูกเหม็นห่อผ้าฉลุมาแขวนที่บริเวณกิ่งที่มีผลมะม่วง ซึ่งกลิ่นของลูกเหม็นทำให้แมลงวันทองไม่กล้าเข้าเจาะผลมะม่วงอีกด้วย

นายเขียน เล่าอีกว่า ตนอยู่กับมะม่วงมาตั้งแต่หนุ่มจนถึงปัจจุบันนานกว่า 40 ปี โดยช่วยกันทำสวนมะม่วงกับภรรยา จนถึงตอนนี้มีลูก 4 คน แล้ว และส่งลูกเรียนจากรายได้จากการขายมะม่วง จนสำเร็จทำงานไปแล้ว 3 คน และกำลังศึกษาอยู่อีก 1 คน ซึ่งเวลาลูกกลับมาเยี่ยมบ้านก็จะเข้ามาช่วยดูแลสวนทุกคน เนื่องจากมีความผูกพัน เพราะ รายได้ทั้งหมดที่ทำให้เล่าเรียนจนจบมาจากสวนมะม่วงทั้งหมด

นอกจากนั้น นายเขียน ยังได้ฝากข้อคิดสำหรับเกษตรกรในการทำการเกษตรให้ประสบความสำเร็จ โดยจะต้องมีความอดทน ขยัน และ มองตลาดให้ออก เพื่อที่จะสามารถนำผลผลิตออกขายในช่วงที่ราคาดี ไม่ใช่หวังพึ่งแต่เทวดาเพียงอย่างเดียว

ธวัช/หาดใหญ่













http://www.pastnews.org/?p=5583
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11564

ตอบตอบ: 15/07/2012 8:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กิระได้ยินมา.....

เอาลูกเหม็น ใส่ในถุงเท้า (เก่า/ใหม่ ไม่ยืนยัน) นำไปแขวนในทรงพุ่มต้นไม้ ...
บางคน เอาลูกเหม็น ใส่ถุงพลาสติก (ใหม่/เก่า-หนา/บาง ไม่ยืนยัน) เจาะรูเล็กๆหลายๆรู นำไปแขวนในทรงพุ่มต้นไม้

บอกว่า....ไล่แมลงได้




.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©