-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 52, 53, 54 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/01/2012 1:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง.....

1,437. ชาวสวนในอังกฤษ เผยโฉม กะหล่ำปลียักษ์
1,438. ส้ม...คุณค่าเต็มร้อย
1,439. เห็ดฟางนมสด
1,440. แนะนำข้าวหอมมะลิ

1,441. ปริมาณธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์
1,442. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคเหนือตอนบน
1,443. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคเหนือตอนล่าง
1,444. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
1,445. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

1,446. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคกลาง
1,447. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคใต้
1,448. แหนแดงใช้ในนาข้าว
1,449. โรงสีข้าวต้นทุนต่ำสำหรับชุมชน
1,450. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ

1,451. เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ ไมคอร์ไรซ่า ต่อส้มเขียวหวาน
1,452. มะม่วงนนทิพย์
1,453. วิธีการเลี้ยงปลาทะเลสวยงาม
1,454. ธาตุอาหาร สำหรับเห็ด
1,455. มหัศจรรย์ของหนึ่งเมล็ด

1,456. ความมหัศจรรย์ของข้าวไทย
1,457. เวียดนามตะลึงงัน เมล็ดข้าว 3,000 ปี ยังงอกได้อีก
1,458. 10 สายพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นแท้ๆ ที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ
1,459. กรมการข้าวรับรองพันธุ์ข้าวใหม่ 3 พันธุ์
1,460. การศึกษาเรื่องพืชในปัจจุบันและอนาคต


--------------------------------------------------------------------------------------------------







1,437. ชาวสวนในอังกฤษ เผยโฉม กะหล่ำปลียักษ์




ฮือฮา!! ปู่ชาวสวนในอังกฤษ เผยโฉม กะหล่ำปลียักษ์

สำนักข่าวต่างประเทศเผยแพร่ภาพ โทนี่ ชาวสวนวัยชราที่เปิดตัว กะหล่ำปลีปลียักษ์
ให้สาธารณชนได้ชม หลังจากใช้เวลาในการปลูก ดูแล และบำรุงอยู่นาน เพื่อส่งเขา
ประกวดในงานพืชผลทางการเกษตรของ ในเขต West Midlands ของประเทศ
อังกฤษ ทั้งนี้ กะหล่ำปลีไจแอนท์คอร์นิช มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ 5 ฟุต ชั่ง
น้ำหนัก 25 ปอนด์ โดย โทนี่ ได้รับวิสกี้หนึ่งขวดเป็นรางวัล ซึ่งเขาได้ตั้งเป้าหมายว่า
จะปลูกต้น กะหล่ำปลี ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเขาเคยได้รับ
รางวัลชนะเลิศ จากการปลูก ถั่ว และรองชนะเลิศการปลูก แครอท รวมถึงผักอื่น ๆ
อีกมากมาย โดยเขาไม่เคยต้องซื้อผักกินเลย และมีตู้เย็นไว้แช่แข็งผักถึง 4 ตู้



http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:21 am, แก้ไขทั้งหมด 9 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/01/2012 1:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,438. ส้ม...คุณค่าเต็มร้อย


ส้มและมะนาว เป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นเคยดี เวลาเป็นหวัดเราจะเรียกหาส้มเขียวหวาน น้ำส้มคั้นจัดเป็นเครื่องดื่ม
ประจำตัวนางเอก ส่วนสาวเปรี้ยวนั้น ก็ต้องเปรี้ยวอย่างมะนาว ระยะสิบปีที่ผ่านมา สีส้มแปลกๆ วางตลาดเพิ่มขึ้นมาก
มายหลายชนิด ส้มโชกุน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มซันคิส ส้มสีทอง ฯลฯ เอ... คุณค่าของผลไม้จำพวกส้ม สมราคาไหมหนอ?




ส้ม (Oranges และ Tangerines) พืชจำพวกส้มมีมากมายหลายพันธุ์ ทั้งที่เป็นส้มหัวจุก ส้มเขียวหวาน ส้มโอ เลมอน
มะนาว มะกรูด มะงั่ว ส้มลูกเล็ก เปรี้ยวจี๊ดจ๊าด จิ้มเกลือ ว้าว.... น้ำลายสอกระพุ้งแก้ม ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกผล
ไม้จำพวกส้มมะนาวเหล่านี้ด้วยชื่อรวมๆ ว่า ซิตรุส (Citrus) เพราะทั้งหมดร่วมสกุลเดียวกันคือ Citrus วงศ์ Rutaceae
เรามักรู้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีใครบอกว่า ผลไม้ชนิดนี้น่าจะเป็นส้ม หรือญาติของส้ม เพราะมันมักมีเอกลักษณ์ที่เห็นเด่น
ชัดหลายประการคือ มีเปลือกหนาเหมือนหนังสัตว์ ในเปลือกมีต่อมน้ำมันเล็กๆ แทรกอยู่ หากบีบไม่ระวัง น้ำหอมร้อนอาจกระ
เด็นเข้าตา บีบใส่มด มดวิ่งหนี จึงนำมาเป็นยาไล่แมลงได้ ส่วนเนื้อในของผลจะแยกเป็นกลีบ ในกลีบมีถุงที่บรรจุน้ำผลไม้รส
เปรี้ยวอันทรงคุณค่า

คนไทยสมัยก่อนมักมองว่าส้มเป็นผลไม้ของคนจน เราใช้ส้มล้อเลียนฐานะ เช่น มาเยี่ยมไข้ ไม่มีอะไรติดมือเลย มีแต่ส้ม
กิโลเดียว หรือ เปิดตู้เย็นบ้านโน้นเห็นแต่ส้มกลิ้งอยู่สองสามลูก ทั้งนี้เป็นเพราะแต่ก่อนนี้ส้มราคาย่อมเยาจนถูกเหยียดหยาม
(แต่เชื่อเถอะคุณภาพเนื้อในเต็มร้อย) ความคิดนี้ตรงข้ามกับชาวฝรั่ง เพราะฝรั่งถือว่าส้มเป็นผลไม้เชิดหน้าชูตาในหมู่คนรวย
เหมือนกับที่คนไทยต้องมีแอปเปิ้ล พรุนแพร์ องุ่นดำใส่ในกระเช้าปีใหม่เพื่อแสดงความร่ำรวย

ในฝรั่งเศส ช่วงสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่แปด ชนชั้นสูงฝรั่งเศสมีค่านิยมทำสวนส้มแข่งกันเพื่ออวดร่ำอวดรวย ไม่ใช่สวนส้มแบบ
บ้านเรานะครับ แต่เป็นคล้ายอุทยานส้ม เพราะส้มทนหนาวไม่้ มีคนงานคอยหมุนกระถางส้มให้รับแสงแดดที่มีค่อนข้างน้อย
วันไหนแดดจ้าอากาศอบอุ่นก็จะลำเลียงส้มต้นสวยออกมาอวดหน้าบ้าน เป็นที่ชิดหน้าชูตามาก สวนส้มที่มีชื่อเสียงที่สุด เป็น
ของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ มีส้มปลูกในกระถางถึง 1,400 ต้น ใช้คนสวนเป็นกองทัพ เพื่อคอยหมุนต้นส้มให้ได้รับแดดทั่วถึง คน
รวยฝรั่งเศสสมัยนั้น ต้องมีผลส้มติดกิ่งวางโชว์บนโต๊ะอาหารและอาบน้ำด้วยน้ำดอกส้ม และต่อมาแม่บ้านก็รู้จักทำแยมผิวส้ม
หรือที่เรียก มาร์มาเลด (Marmalade) เป็นอาหารสุดฮิตสุดเท่ห์เลยทีเดียว เมื่อศึกษาย้อนไป เราพบว่าประวัติของส้มมีอยู่
คู่มนุษย์มายาวนานเกือบห้าพันปี เชื่อว่าส้มมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบบ้านเราและบริเวณปรเทศจีน ต่อมาแพร่ขยายไปทางอินเดีย
อาหรับ แอฟริกา เมดิเตอเรเนียน ส้มเป็นพืชไม่ทนอากาศหนาว พันธุ์ดีๆ จึงมักอยู่ในเขตร้อน พันธุ์ที่ทนหนาวฝรั่งปลูกได้มักเป็น
ส้มเปรี้ยว รสไม่กลมกล่อมถูกลิ้นเหมือนส้มเขตร้อน กระนั้นฝรั่งเรียกส้มของพวกตนว่า Sweet orange หรือส้มหวาน ใครที่
ลองซื้อส้มฝรั่งลูกโตสีส้มสดมาผ่ากิน จะเห็นว่าเนื้อติดเปลือก แกะยาก เปรี้ยวหัวสั่น แต่คนไทยก็ยังนิยมซื้อมากิน เพราะเท่ห์ดี
บ้างก็อยากลอง

เนื่องจากปลูกกันมาหลายพันปี ผลไม้จำพวกส้มจึงมีมากมายหลายสายพันธุ์ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังจัดเป็นกลุ่มได้ดังนี้

1. กลุ่มส้มหวาน (Sweet orange) คือส้มฝรั่งสีส้มสดรสเปรี้ยวนำ ไม่หวานจริงดังชื่อ (ฝรั่งเรียกส้มหวานเพราะยังมีสาย
พันธุ์ที่เปรี้ยวกว่านี้อีก ทั้งเปรี้ยวทั้งขม เรียก Bitter Orange) ส้มหวานจะมีลักษณะจำเพาะคือเปลือกกับเนื้อจะติดกัน
แกะเปลือกยากมาก ดังนั้นเวลากินจึงไม่นิยมแกะเปลือก แต่ใช้วิธีผ่าเป็นชิ้น วางเรียงบนจาน เอาเกลือโรย เวลาทานหยิบทั้งเปลือก
ใช้ฟันกัดเอาแต่เนื้อ บราซิลเป็นผู้นำการผลิตส้มหวานรายใหญ่ของโลก รองลงมาคือสหรัฐอเมริกา สเปน เม็กซิโก และจีน

2. กลุ่มส้มเขียวหวาน หรือส้มแมนดาริน ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของส้มกลุ่มนี้คือ เปลือกล่อน ปอกง่าย ดังตัวอย่างที่เห็น
ชัดในส้มเขียวหวาน (Tangerine) ฟลอริดาเป็นถิ่นที่มีอากาศอบอุ่นเหมาะกับการปลูกส้ม จึงมีการนำส้มเขียวหวานไปปลูก
ที่นั่นราวปี 1825 และได้รับความนิยม จุดด้อยของส้มเขียวหวานคือสีเปลือกนอกไม่ชวนให้ซื้อ ดูเขียวๆ นึกว่าเปรี้ยว ฝรั่งบาง
คนไม่ยอมลิ้มลอง จึงมีการนำส้มเขียวหวานไปผสมข้ามพันธุ์ เกิดเป็นส้มลูกครึ่งมากมาย ดังที่เห็นในตลาดทุกวันนี้

3. กลุ่มส้มเปรี้ยว (Sour Orange) เป็นเศษส้มที่บ้านเราไม่คิดจะปลูกเพราะทั้งเปรี้ยวทั้งขม มีถิ่นกำเนิดในจีนแต่ได้รับ
ความนิยมในยุโรปเพราะมันทนหนาวได้ดี ส้มอื่นตายหมดเหลือแต่ส้มเปรี้ยว ก็เลยจำยอมปลูกกันต่อไป แต่กระนั้นมันก็ยังมี
คุณค่าต่อมนุษย์ แม่บ้านเด็ดผลส้ม ปอกเอาแต่เปลือกทำแยมผิวส้ม เกษตรกรฝรั่งใช้ส้มเปรี้ยวเป็นต้นตอแล้วติดตาทาบกิ่ง
ด้วยส้มหวานอีกที

4. กลุ่มส้มพันธุ์ผสม (Hybrids) วอลเตอร์ ที สวิงเกิล แห่งกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิก
ส้มพันธุ์ผสมของโลกที่วงการยอมรับ ส้มพันธุ์ผสมต้นแรกที่จัดว่าดีเกิดจากฝีมือของวอลเตอร์ในปี 1897 โดยการผสมส้ม
เขียวหวานกับเกรพฟรุตได้ลูกผสมเรียก Tangelos และเกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ตามมาหลังจากนั้น

นอกจากนี้ยังมีการผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติระหว่างส้มเขียวหวานกับส้มหวานได้ลูกผสมเรียก Tangors ตัวเด่นๆ ในทาง
การค้าคือ ส้มคิงส์ ส้มเทมเปิ้ล



http://www.google.co.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:22 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/01/2012 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,439. เห็ดฟางนมสด


เทคโนโลยีการเกษตร

องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมการจัดการทรัพยากรการเกษตร ongart@yahoo.com


เห็ด ในโลกนี้มีจำนวนประมาณ 2,000 ชนิด ที่สามารถกินได้ และคนก็กินกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เพราะเห็ดมีคุณค่าทางอาหารสูง
เนื่องจากมีแคลอรีต่ำแต่มีคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามิน แร่ธาตุและกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อสุขภาพร่างกาย และเห็ดส่วนหนึ่งใน
จำนวนนี้ซึ่งไม่มากนักมีสารที่มีประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรคตามตำราการแพทย์แผนตะวันออก และมีการขนานนามเห็ดที่
มีประโยชน์ต่อสุขภาพเหล่านี้ว่า "เห็ดทางการแพทย์" ซึ่งเห็ดเหล่านี้มีสารอาหารที่สำคัญ เช่น เบต้ากลูแคน ไกลโคโปรตีน โพลีแซ็ก
คาไรด์ เป็นต้น สารเหล่านี้สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต้านจุลชีพ เชื้อรา และปรับสมดุลความดันโลหิต ลดระดับคอเลส
เตอรอลในกระแสเลือด ลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัดและการฉายรังสี เมนูการใช้เห็ด 3 อย่าง ในการประกอบอาหาร จึงเป็นเมนูที่คน
รักสุขภาพนิยมกินกันเป็นอย่างยิ่ง

เห็ดฟาง เป็นเห็ดที่นิยมกินกันอยู่ในชีวิตประจำวันสำหรับบ้านเรา และมีให้กินกันทุกฤดูกาล คุณสุพจน์ เจริญผล อยู่บ้านโคกสง่า ตำบล
หนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เบอร์โทรศัพท์ (088) 553-6507 เจ้าของไอเดียเห็ดฟางนมสด จึงมีความคิด
ที่จะเพาะเห็ดฟางขายเป็นอาชีพ เดิมทีคุณสุพจน์ไปทำงานในกรุงเทพฯ เป็นเซลส์ขายเครื่องใช้อุปโภคบริโภคก็เคย เป็นผู้รับขนส่งโล
จิสติกส์ก็เคย แต่คุณสุพจน์บอกว่าเงินทองที่ได้มาไม่พอใช้จ่าย เพราะในกรุงเทพฯ ไม่ต้องออกจากบ้านก็มีค่าใช้จ่าย ยิ่งออกจากบ้าน
ไม่ต้องพูดถึง คุณสุพจน์บอกว่า ในกรุงเทพฯ ไม่ซื้อก็แค่อากาศหายใจ นอกนั้นซื้อหมด ปี 2552 คุณสุพจน์ก็กลับบ้านมา เพราะคิดได้
ว่ารากฐานของครอบครัวคือการเกษตร จึงกลับบ้าน มีโอกาสได้ไปเจอกับ คุณป้าสมบูรณ์ ที่สีคิ้ว ปรมาจารย์ทางด้านเห็ดที่มีความ
เชี่ยวชาญด้านเห็ดฟาง เพราะว่ามีอาชีพเพาะเห็ดฟางมา 20 กว่าปี ท่านได้ถ่ายทอดวิชาการเพาะเห็ดฟางให้อย่างไม่ปิดบังเลย จึงทำ
ให้คุณสุพจน์มีวันนี้ได้ คุณสุพจน์บอกผมว่ามาถูกทางแล้วที่ยึดอาชีพนี้



โรงเรือนสร้างแบบง่าย เพื่อประหยัดต้นทุน
บนพื้นที่เพียง 3 งาน ของคุณสุพจน์ ขึ้นโรงเรือนเพาะเห็ดเอาไว้ 3 โรง มีขนาด กว้าง 5.60 เมตร ยาว 7.2 เมตร หลังคามุงด้วย
จาก เนื่องจากในฤดูร้อนจะไม่ทำให้อุณหภูมิในโรงเรือนสูงเกินไป ในโรงเรือนแบ่งโต๊ะออกเป็น 3 โต๊ะ กว้างประมาณ 1 เมตร ยาว
เกือบตลอดโรงเรือน แต่ก็จะมีพื้นที่ทางเดินสำหรับเก็บเห็ดได้รอบทุกโต๊ะ แต่ละโต๊ะทำชั้นไว้ 4 ชั้น รวมทั้งโรงเรือนเป็น 12 ชั้น โดย
เรียกว่า 12 ถาด วัสดุที่ใช้ทำโต๊ะก็ง่ายๆ โดยใช้ไม้กระถินเป็นเสาหลัก และไม้ไผ่เลี้ยงตัดวางห่างๆ ไว้เป็นโต๊ะสำหรับรองรับวัสดุเพาะ
โดยมีตาข่ายอวนขึงไว้ตลอดโต๊ะ ความสูงของหลังคา ประมาณ 2.50 เมตร มีประตูเปิดเข้าทางด้านหน้า ส่วนด้านข้างซ้าย-ขวา เป็น
ช่องเตี้ยๆ ไว้สำหรับเปิดระบายอากาศ นอกจากนี้ ใต้หลังคายังเป็นพลาสติกใสอีกชั้นหนึ่ง เพื่อรักษาอุณหภูมิ โดยมีช่องระบายขนาด
ใหญ่ประมาณชามข้าว ซึ่งสามารถ เปิด-ปิด ได้ง่ายด้วยการใช้เชือกมัด โดยรวมของโรงเรือนออกแบบให้สามารถเปิดและปิดได้ในการ
ทำงานทุกขั้นตอน และโรงเรือนนี้คุณสุพจน์บอกว่าจำเป็นจะต้องทำอย่างง่ายๆ เพื่อประหยัดต้นทุน โรงเรือนนี้ทำมา 2 ปีกว่าแล้ว ปีหน้า
ถึงคราวจะต้องรื้อทำใหม่ แต่ก็คุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ


วิธีหมักวัสดุสำหรับเพาะเห็ด
สูตรวิธีหมักวัสดุเพาะเห็ดฟางของคุณสุพจน์ จะใช้ฟางปูลงบนพื้น เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ก่อน โรยปูนขาวให้ทั่วกองฟาง
เพื่อป้องกันเชื้อรากับฟาง และเป็นการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง แล้วจึงนำกากมันสำปะหลัง ซึ่งกากมันสำปะหลังจะแบ่งเป็น 2
ส่วน คือ กากเปลือกมันสำปะหลังและกากแป้ง โดยกากเปลือกมันสำปะหลังจะช่วยในการย่อยสลาย ส่วนกากแป้งจะให้ความชื้นใน
กอง จำนวนกากมันทั้ง 2 อย่าง จะใช้เท่าๆ กัน มีน้ำหนักประมาณ 2.5 ตัน โรยกากมันทั้ง 2 อย่าง บนกองฟาง ประมาณ 700-800
กิโลกรัม ใช้อาหารเสริมของเห็ด ภูไมต์ แร่ถุงเงิน ขี้วัวแห้ง (60 กิโลกรัม) รำอ่อน (1 ถังสี) โรยทับบนกากมัน แล้วนำ อีเอ็ม กับ
กากน้ำตาล ผสมน้ำ 100 ลิตร รดให้ชุ่ม ทำแบบนี้จนครบ 3 ชั้น คลุมผ้าพลาสติกดำ ทิ้งไว้อย่างน้อยประมาณ 7 วัน เพื่อให้วัสดุ
เพาะย่อยสลาย วัสดุเพาะเห็ด 1 กอง ใช้ได้สำหรับ 1 โรงเรือน


ทำความสะอาดโรงเรือน เป็นเรื่องสำคัญ
การทำความสะอาดโรงเรือนที่เพาะเห็ดหลังจากสิ้นสุดการเก็บเห็ดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คุณสุพจน์บอกถึงวิธีทำความสะอาดว่า
"ในการลงเชื้อเห็ดใหม่แต่ละครั้ง หลังจากมีการขนวัสดุเพาะเห็ดออกจากโรงเรือนหมดแล้ว ก็จะทำความสะอาดในโรงเรือนทั้ง
หมดให้เกลี้ยงเกลาที่สุด ในส่วนที่เป็นโต๊ะก็จะใช้แปรงขัดด้วยน้ำเปล่า ห้ามใช้ผงซักฟอกเด็ดขาด เนื่องจากมีโซดาไฟที่ทำลาย
เชื้อเห็ด ต่อมาจะใช้ไตรโคเดอร์ม่า 20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ใส่เครื่องฉีดพ่นยาแบบสะพายหลังฉีดให้ทั่ว เพื่อแก้ปัญหารา
เขียว ราขาว ราเทา และราส้ม ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าเป็นกรณีที่เชื้อโรคมีมากก็จะทิ้งไว้นานกว่านั้น ขั้นตอนต่อไปให้
เอาฟางมาวางบนโต๊ะ ซึ่ง 1 โรงเรือน จะใช้ประมาณ 4-5 ก้อน หลังจากนั้น จะโรยปูนขาวบนฟางให้ทั่ว แล้วจึงนำวัสดุเพาะที่หมัก
จนได้ที่แล้วมาโรยให้หมดกอง ปิดโรงเรือนทิ้งไว้ 2 วัน แล้วอบไอน้ำด้วยการต้มน้ำด้วยถัง 200 ลิตร 3 ถังที่ต่อไว้ โดยจะมีท่อที่
ต่อไว้ อุณหภูมิที่ใช้ในการอบคือ 65-70 องศา นานประมาณ 4 ชั่วโมง แต่อุณหภูมิที่ได้น้อยกว่าก็ให้ยืดเวลาไปเป็น 5-6 ชั่วโมง
ทิ้งไว้ 1 คืน จึงมาเปิดช่องทั้ง 3 ด้าน ระบายออก"

นำก้อนเชื้อเห็ดฟางมาขยี้โรยบนวัสดุเพาะให้ครบทุกชั้น หลังจากนี้ จะปิดโรงเรือนไว้ 4 วัน เมื่อเปิดมาจะพบว่าเส้นใยขาวๆ ของ
เห็ดจะกระจายไปทั่วโต๊ะ ใช้สายยางรดน้ำรดบนโต๊ะให้ใยยุบลงไป เรียกว่า การตัดใย การทำแบบนี้เพื่อให้เส้นใยจับเป็นเม็ดเร็วขึ้น
ช่วงนี้จะเปิดโรงเรือนให้อากาศถ่ายเท เมื่อเห็ดฟางเป็นตุ่มเท่าเมล็ดงา ก็จะเริ่มให้ฮอร์โมน จนตุ่มมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว จะใช้
นมสด 1 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 15 ลิตร ใส่เครื่องฉีดพ่นยาแบบสะพายหลังฉีดให้ทั่วในตอนเช้าติดต่อกัน 3 วัน วันที่ 4-5 ก็จะเริ่ม
เก็บเห็ดได้แล้ว เห็ดจะขึ้นติดต่อกันประมาณ 19 วัน จึงจะรื้อออกและเริ่มต้นทำใหม่อีก ผลผลิตของคุณสุพจน์จะได้ประมาณ 200-
350 กิโลกรัม ต่อ 1 โรงเรือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเชื้อเห็ดและการจัดการในโรงเรือนเป็นสำคัญ ในช่วงหน้าร้อนจะเป็นหน้าที่เห็ดฟางดีให้
ผลผลิตดีที่สุด แต่ราคาจะต่ำที่สุด เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสมเป็นใจ ผลผลิตของทุกฟาร์มจึงประดังประเดกันออกมา ทำให้
เห็ดมีราคาถูกลง


การตลาด ต้องมาก่อน
การผลิตทางการเกษตร ผมพยายามเน้นให้เกษตรกรทุกคนตั้งสโลแกนไว้เลยว่า "การตลาด ต้องมาก่อน" ถามตัวเองก่อนว่า
ทำมาแล้ว ขายให้ใคร ขายอย่างไร ขายที่ไหน ขายเมื่อไหร่ เกษตรกรของเรามีข้อด้อยที่ไม่ได้ทำการตลาดก่อนลงมือผลิต แต่
นโยบาย "ประชาชนต้องมาก่อน" ต้องระวัง เพราะจะตีความหมายผิดกัน พรรคพวกอยู่ต่างจังหวัด เล่าให้ฟังว่า ไม่สบาย ไปรอหมอ
ตั้งแต่ 6 โมงเช้า หมอมา 9 โมงเช้า เขาก็ไปต่อว่า หาว่าหมอไม่เอาใจใส่คนไข้ มาซะสายโด่ง ไม่สมกับสโลแกน ประชาชนต้อง
มาก่อนเลย หมอถามว่า ไม่สมกับสโลแกนอย่างไง พรรคพวกบอกว่า หมอต้องมาก่อนตอนเช้าๆ พร้อมตรวจคนไข้ซิ แต่หมอบอก
ว่า หมอมาทีหลังน่ะถูกแล้ว ประชาชนต้องมารอก่อน ถูกต้องตามสโลแกนเปี๊ยบ ผิดตรงไหน เท็จจริงอยู่ที่คนเล่าน่ะครับ

คุณสุพจน์ก็เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่มองการตลาดก่อน ในครั้งแรกที่ทำได้ติดต่อให้พ่อค้าที่วิ่งรวบรวมซื้อเห็ดมาเป็นผู้รับซื้อก่อน
ตอนแรกให้ราคาดี ทำไปๆ ก็เริ่มกดราคา คุณสุพจน์จึงแก้ปัญหาด้วยการติดต่อแม่ค้าตามตลาดนัด ตลาดสด และร้านอาหารเอง โดย
ตามตลาดนัดจะเป็นเห็ดคละขนาด ส่งอยู่ในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนร้านอาหารจะใช้เห็ดขนาดใหญ่ที่คัดเป็นพิเศษจะได้
ราคาถึงกิโลกรัมละ 80 บาท คุณสุพจน์กล่าวถึงเรื่องการตลาดว่า "ผมจะไม่จับตลาดใหญ่ แต่จะจับตลาดที่ถึงผู้บริโภคโดยตรง ใน
รัศมีระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร ปัจจุบันในกลุ่มมีเห็นอยู่ จำนวน 4 ราย ต่างคนต่างส่ง ลูกค้าของตนเองอยู่ ในอนาคตคิดว่าจะ
รวมกันส่งและเพิ่มระบบการจัดการ วางแผนการผลิตให้เหมาะสมกว่าเดิม เพื่อให้ลูกค้ามีเห็ดจำหน่ายได้ตลอดเวลา


ใช้แรงงานในครอบครัวและลงแขกกันในกลุ่ม
แรงงานเป็นปัญหาในการทำเกษตร ฟาร์มเห็ดของคุณสุพจน์และในกลุ่มไม่ได้จ้างแรงงานภายนอกมาทำงาน ยกเว้นการนำวัสดุ
เพาะเข้าและออกจากโรงเรือนเท่านั้น แต่ในการทำงานทั่วไปทุกวันจะมีคุณสุพจน์และพ่อกับแม่เท่านั้น ที่ทำงานอยู่ โดยจะเริ่ม
เก็บเห็ดตอนเช้าจนถึง 9 โมง และจะเริ่มตัดแต่งเห็ด ในเวลาบ่าย 2 โมงของทุกวัน เห็ดฟางนมสดจะถึงมือแม่ค้าและร้านอาหาร
แต่ในช่วงที่เห็ดมีจำนวนมาก ก็จะประสานกับคนในกลุ่มเข้ามาช่วย ซึ่งจะเป็นการลงแขกกัน ช่วยกันทำภายในกลุ่ม เพราะแต่ละ
โรงเรือนผลผลิตจะไม่มากพร้อมๆ กัน จึงมีเวลาเหลือที่จะช่วยกันได้

ผมมีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์คุณสุพจน์ที่บ้าน พบว่า ในพื้นที่ 3 งาน ของคุณสุพจน์ ปลูกของกินได้ ที่เหลือกินแล้วสามารถนำมา
ขายได้ทั้งนั้น บางวันทำกับข้าว 3 มื้อ ไม่ได้ซื้อของจากนอกบ้านมาเลย เพราะเฉพาะหยิบฉวยเอาในบ้านก็พอกินแล้ว วันนั้น
ได้มีโอกาสได้ชิมเมนูเห็ดที่บ้านคุณสุพจน์ เห็ดฟางนมสดมีรสชาติดีและกรอบกว่าเห็ดฟางธรรมดาจริงๆ และสีสันของเห็ดฟางจะ
ไม่ดำคล้ำเหมือนกับเห็ดฟางทั่วไป เมื่อจบเรื่องจบราวก็ลากลับ คุณสุพจน์มีใจเอาเห็ดบานและเห็ดโคนน้อย ซึ่งขึ้นในกองเห็ดฟาง
ให้มาครึ่งกิโลกรัม มาถึงบ้านวันรุ่งขึ้นก็ผัดเห็ดฟางกันเป็นที่เอร็ดอร่อย กินไปหมดแล้วจึงนึกขึ้นได้ จะคายออกมาก็ใช่ที เพราะว่า
ลงไปถึงกระเพาะอาหารแล้ว ได้แต่นึกกลัวอยู่ว่า เขาจะหาว่ารับสินบงสินบนมาแล้วเขียนเชียร์หรือเปล่า รบกวนทีมงานอาร์ต ยังไงๆ
ก็อย่าลงรูปคุณสุพจน์ใหญ่กว่าเรื่องเห็ดของเจ้าอื่นล่ะ เกิดจะมีใครไปร้องเรียนสภาฯ พอจะมีข้อแก้ต่างได้ ไอ้ผมน่ะกลัวจริงจริ้ง แต่เรื่อง
ไปถึงขั้นนี้แล้ว ไม่รู้จะทำยังไง ถ้าเกิดตั้งคณะอนุกรรมการสอบกันจริง ขออย่าให้เป็นหมอโชคชัยก็แล้วกัน ช่วงนี้ได้ข่าวว่าท่านไม่
ค่อยสบาย เห็นว่าเป็นดีซ่าน ตาเตอผิวพรรณเหลืองไปหมด ขอให้เป็นหมออ้อยก็แล้วกัน เพราะผมชอบเป็นการส่วนตัว จะว่าอคติ
ก็ยอม


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05026151054&srcday=&search=no


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:35 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2012 7:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,440. แนะนำข้าวหอมมะลิ


ข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวพันธุ์เมล็ดยาวที่มีชื่อเสียงทั่วโลก ข้าวหอมมะลิไทยได้จัดเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของภาคกลางและ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยนั้นที่จะเพาะปลูกข้าวหอมมะลิที่มี

คุณลักษณะพิเศษ
1. แนะนำข้าวหอมมะลิไทย
ข้าวหอมมะลิไทย หรือที่รู้จักกันในชื่อ ข้าวหอมไทย มีประวัติยาวนานมากกว่า 5000 ปี

ในปีค.ศ. 1945 ข้าว KDML หรือ “มะลิขาว” ได้ถูกพบในจังหวัดชลบุรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ทำคัดเลือกสายพันธุ์และ
ทำการวิจัยพันธุ์ต่างๆของข้าวสายพันธุ์นี้ในจังหวัดลพบุรี และลองปลูกสายพันธุ์ที่เลือกมาในภาคเหนือและภา8ตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 ข้าวสายพันธุ์นี้ได้ถูกตั้งชื่อ ข้าวหอมมะลิ หรือชื่อ KDML 105 อย่างเป็นทางการ จนถึงปัจจุบัน
ในประเทศไทยมีแค่ KDML 105 และ RD 15 สองสายพันธุ์

ข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงนั้นมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งนั้น โดยเฉพาะจังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์และ
ยโสธร เนื่องด้วยสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนต่อปีได้ทำให้การปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดเหล่านี้เป้นไปได้อย่างดี

2. กลไกของข้าวหอมมะลิ
ในปีค.ศ. 2007 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ค้นพบว่าข้าวหอมมะลิ KDML 105 มีสารตัวหนึ่งชื่อ 2-acetyl-1-pyrroline
หรือ 2-AP ถึงแม้ว่ายีนของข้าวสายพันธุ์นี้จะประกอบไปด้วยสารมากกว่า 200 ตัว แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันว่า 2-AP เป็นสารตัว
สำคัญที่สร้างกลิ่นหอมในข้าว กลิ่มหอมนี้คล้ายคลึงกับกลิ่นของใบเตย (Pandanus amaryllifolius) ซึ่งเป็นพืชชนิด
หนึ่งที่มักจะใช้ในการปรุงอาหารในแถบเอเชียตะวันออกฉียงใต้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ได้ค้นพบว่าการรวมราชนิดหนึ่งกับใบเตยจะสามารถสร้างยีนกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ยีน
ชนิดนี้ก็ได้จดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดีเอ็นเอ.ของข้าวหอมมะลิเป็นการรวมตัวของกว่า 500 ยีน และในจำนวนนี้มียีน 8 ตัวที่อยู่สถานะไม่ได้ถูกกระตุ้น และจากการวิจัย
นักวิทยาศาสตร์ชาวไทยได้ค้นพบว่าในจำนวนยีนทั้งหมด มียีนที่เสียอยู่ 8 จุดและเป็นจุดเดียวกันกับยีนที่ไม่ได้ถูกกระตุ้น จึงได้ทำ
การเปลี่ยนสถานะของยีนเหล่านี้และนี่คือที่มาของกลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิไทยที่เป็นเอกลักษณ์

3. การพัฒนาของข้าวหอมมะลิ
ประเทศไทยอยู่บนเส้นละติจูด 6-20 องศาเหนือ และเป็นประเทศในแถบเขตร้อน ประเทศไทยนั้นมี 3 ฤดู ฤดูร้อนคือช่วงประมาณ
เดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนคือช่วงประมาณเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนตุลาคมและฤดูหนาวคือช่วงประมาณเดือนพฤจิกายน
จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 22-25 องศา ปริมาณน้ำฝนต่อปีลี่ยอยู่ที่ 1000 มม. เพราะว่าไม่การเปลี่ยนแปลงของอุณห
ภูมิมากนัก บวกกับมีแสงอาทิตย์ตลอดปี ประเทศไทยจึงเหมาะกับการปลูกข้าวหอมมะลิเป็นที่สุด

ข้าวเป็นผลิตผลที่สำคัญของไทย ข้าวไม่ได้เป็นแค่อาหารสำหรับคนไทยเท่านั้น ข้าวก็เป็นสินค้าส่งออกไปทั่วดลกอันดับหนึ่งอีกด้วย
จากสถิติที่ผ่านมา 52% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดในประเทศได้ใช้ในการปลูกข้าว จากจำนวนประชากรทั้งหมด 4.06 ล้านคน
เป็นเกษตกรปลูกข้าวและข้าวคือ 77.5% ของพืชผลการเกษตรทั้งหมดของประเทศไทย ประเทศไทยสามารถปลูกข้าวได้ทั้ง
หมด 18-26 ล้านตัน หรือเท่ากับ 112.827 พันล้านบาท (23.5 พันล้านหยวน) ประเทศไทยได้กำไรกว่าแปดหมื่นล้านบาทจาก
การส่งออกข้าวต่อปี ข้าวไม่ใช่เป็นพืชผลทางเกษตรที่สำคัญ แต่ก็เป็นสินค้าที่เป็นเสาหลักกับเศษฐกิจไทย

1) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งศุนย์วิจัยข้าวใน 7 เขตทั่วประเทศไทย โดยมีศุนย์วิจัยข้าวทั้งหมด 23 แห่ง การพัฒนาพันธุ์
ข้าวเป็นเป้าหมายสำคัญของศูนย์ฯ ศูนย์วิจัยจึงได้ทำข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบแจกจ่ายให้ชาวนาในพื้นที่ได้ทดลองปลูกและจะบังคับ
ให้ชาวนาเปลี่ยนสายพันธุ์ที่ปลูกทุกๆ 2-3 ปีเพื่อป้องกันการกลายพันธุ์ของข้าว

2) ข้าวสามารถปลูกได้ในนาที่มีน้ำขังและก็สามารถปลูกบนดินเหมือนพืชทั่วๆไป แต่การปลูกข้าวในประเทศไทยนั้นจะปลูกในนาที่มี
น้ำขังเท่านั้น พื้นที่ปลูกข้าวได้ถูกจัดตามภาคเช่น ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ แต่ว่าเงื่อนไขการปลูก
ข้าวนั้นไม่ค่อยจะดีในประเทศไทย เพราะว่ามีที่นาในบางพื้นที่ไม่มีการจัดสรรน้ำให้เข้าไปถึงพื้นที่ จึงทำให้นาข้าวเหล่านี้ถูกเรียกว่า
“นามองฟ้า” ซึ่งได้แต่รอน้ำฝนเท่านั้น

3) วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวในประเทศไทยก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เมื่อข้าวเปลือกถูกส่งมาถึงโรงงานก็จะเข้าขบวนการวัดความ
ชื้น ความหยาบ อัตราการสี และคุณค่าทางโภชนาการ ปัจจัยเหล่านี้เป้นตัววัดราคาของข้าว หลังจากนี้ข้างเปลือกก็จะเข้าสู่กระบวนการ
ทำความสะอาด อบแห้ง แกะเปลือก สี กรอง คัดเลือกตามสี ขัดสี คัดแยกและบรรจุ การขัดสีข้าวเปลือกในประเทศไทยค่อนข้าง
จะก้าวหน้า เพราะจะวัดและควบคุมความชื้นไปในตัว


4. วิธีแยกแยะข้าวหอมมะลิไทย
1. รูปแบบบรรจุภัณฑ์

Title 1 บรรจุภัณฑ์ของแท้จะมีการพิมพ์ที่มาของข้าวเป็นสีเขียว และนี่คือเครื่องหมายการค้าของข้าวหอมมะลิไทย

เครื่องหมายการค้านี้ออกโดยรัฐบาลไทยและยืนยันว่าข้าวทุกถุงที่มีโลโก้นี้คือข้าวหอมมะลิแท้ก่อนที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ
โลโก้เป็นทรงกลมสีเขียวและมีคำว่า “ข้าวหอมมะลิไทย / ปลูกในประเทศไทย” ล้อมรอบ ผู้บริโภคสามารถตรวจดูก่อนที่จะซื้อว่า
โลโก้นี่ได้ถูกทำขึ้นก่อนหรือหลังบรรจุ



Title 2 บรรจุภัณฑ์จะต้องบ่งบอกถึงที่มาของข้าวหอมมะลิ ซึ่งจะพิมพ์ไว้ว่า สินค้าของประเทศไทย (Product of Thailand)



Title 3 บรรจุภัณฑ์จะต้องบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์มากถึง 92%



Title 4 บรรจุภัณฑ์จะต้องมีบาร์โค้ด 885 ซึ่งหมายความว่าข้าวถุงนั้นๆได้ถูกบรรจุจากประเทศไทย






การแยกแยะโดยลักษณะทางเคมีและทางกายภาพ





1. เมล็ดข้าวจะต้องเรียวยาว.
2. ความยาวเฉลี่ยของเมล็ดข้าวจะต้องไม่น้อยกว่า 7 มม.
3. ความกว้างเฉลี่ยของเมล็ดข้าวจะต้องไม่น้อยกว่า 33 มม.
4. อัตราการแตกของเมล็ดข้าวจะต้องไม่เกิน 4.5 %

ลักษณะทางเคมี
1. ความชื้นจะต้องไม่เกิน 14%
2. ปริมาณอะมิโลสจะต้องอยู่ระหว่าง 12% ถึง 19%

ข้าวแต่ละสายพันธุ์จะมีปริมาณอะมิโลสที่แตกต่างกัน ความแข็งของเมล็ดข้าวหลังหุงขึ้นอยู่กับปริมาณอะมิโลส เมล็ดข้าวเปลือกยิ่งลื่น
ปริมาณอะมิโลสยิ่งต่ำ แต่ความบริสุทธิ์ยิ่งสูง



http://www.ccicthai.com/index.php?langtype=th&pageid=th_23


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2012 7:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,441. ปริมาณธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์



ปริมาณธาตุอาหารพืชโดยประมาณของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ




จาก: เอกสารทางวิชาการเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายประเสริฐ สองเมือง
กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร 2543


http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_007.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2012 7:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,442. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคเหนือตอนบน


ในพื้นที่นี้ แต่เดิมก่อนปี พ.ศ. 2534 เกษตรกรปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งอยู่ในกลุ่มข้าวหอมมะลิไทย ไว้เพื่อการ
จำหน่าย และปลูกข้าวเหนียว กข6 ไว้เพื่อบริโภคและเหลือจำหน่ายบางส่วน ดินนามีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูง ปริมาณน้ำฝน
เพียงพอตลอดฤดูปลูก มีการใช้รถไถเดินตามและรถแทรกเตอร์ รวมทั้งเครื่องนวดข้าวเป็นเครื่องจักรกลช่วยทุ่นแรงในการทำนา
ส่วนใหญ่ปลูกข้าวแบบปักดำ และเริ่มมีการปลูกแบบหว่านข้าวแห้งในนาลุ่มแล้วบ้าง มีการใส่ปุ๋ยเคมีที่นำมาซึ่งปัญหาโรคไหม้และ
การทำลายของแมลงในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกันกำจัดเพราะเสียหายเพียงบางส่วน ด้านสัตว์ศัตรูข้าวนั้น ด้วยการทำนาในเวลา
ใกล้เคียงกันเป็นบริเวณกว้าง ช่วยกระจายการทำลายได้ และการดักจับมาบริโภคยังช่วยควบคุมปริมาณศัตรูพืชได้ดี การเก็บเกี่ยวด้วย
แรงคนแล้วตากสุ่มซังในนา 3-4 วัน ทำให้ได้ข้าวเปลือกที่มีความชื้น 13-15 % นำไปเก็บรักษาหรือจำหน่ายได้เลย


ในการจัดทำแผนการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมานั้น ได้พิจารณาใช้เทคนิควิธีการเดิมที่ไม่ขัดกับระบบ
เกษตรอินทรีย์ แล้วพัฒนาวิธีการทดแทนการใช้สารเคมีเดิม โดยใช้ข้อมูลจากผลงานวิจัยการผลิตข้าวอินทรีย์ของกรมวิชาการ
เกษตร ร่วมกับข้อคิดเห็นของหน่วยตรวจสอบรับรอง โดยมีหลักการให้หมุนเวียนใช้ทรัพยากรในพื้นที่ และจะต้องพิจารณาต้นทุน
การผลิตประกอบด้วยทุกขั้นตอนการผลิต คือ

1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ;
พันธุ์ข้าวที่ใช้ตามความต้องการของตลาด คือ ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ช่วงหลังปี พ.ศ. 2545-46 มีพันธุ์ กข6 ร่วมด้วย
ระยะแรกใช้เมล็ดพันธุ์จากสถานีทดลองข้าวในพื้นที่ และฝึกอบรมการปลูกข้าวเพื่อทำเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรในโครงการ ปัจจุบัน
กลุ่มเกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้เองและเหลือจำหน่ายบางส่วน

2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ;
ใช้รถแทรกเตอร์ไถเตรียมดินช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ในนาหว่านข้าวแห้งซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากขึ้นมากกว่า 50 % จะไถ
แปรโดยใช้รถไถเดินตาม หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 15 กก./ไร่ แล้วคราดกลบ ในเดือนพฤษภาคม ส่วนนาดำที่ส่วนใหญ่จะอยู่
บริเวณที่ดอน จะตกกล้าในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม แล้ว ไถแปร คราดน้ำขัง แล้วถอนกล้าข้าวมาปักดำในเดือนกรกฎาคม-
สิงหาคม

3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ;
ในเบื้องต้นมีการไถกลบตอซังข้าวในนา นำฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา มีการเลี้ยงวัวแล้ว
นำมูลวัวมาหมัก ป่นแล้วอัดเม็ดนำไปใส่ในนาและเหลือจำหน่ายบางส่วน ด้านปุ๋ยพืชสด มีการพัฒนาการปลูกถั่วเขียวมาตั้งแต่ปี 2537
ต่อมามีการปลูกโสนอัฟริกันและปอเทือง ซึ่งได้ผลดีในบางปีขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนต้นฤดู การจัดการดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ดังกล่าว
อยู่ภายใต้แนวคิด “รักษาสถานะความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ยั่งยืน”

4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช ;
การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี แต่ในพื้นที่นาลุ่มที่วัชพืชไม่รุนแรง สามารถทำนาหว่านข้าวแห้งร่วมกับถั่วเขียวสลับ
ในบางปี ช่วยลดต้นทุนค่าแรงงานได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการดูแลคันนาเพื่อรักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีกับการเจริญเติบ
โตของข้าว ก็เป็นการควบคุมวัชพืชอย่างได้ผล รวมทั้งมีผลต่อความแข็งแรงของต้นข้าวด้วย

5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ;
ศัตรูข้าวที่สำคัญในพื้นที่นี้ คือ ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของข้าว มีปู และหอยเชอรี่ ซึ่งเกษตรกรแก้ไขโดยการลดระดับน้ำ
ในนา จับมาบริโภคหรือทำน้ำหมักชีวภาพ และใส่ต้นพืช เช่น โล่ติ้นหรือหางไหลกำจัด ในระยะข้าวแตกกอมีแมลงบั่วทำลายรุนแรง
ในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกันกำจัด รวมทั้งโรคไหม้ที่จะรุนแรงในบางปีและไม่ป้องกันกำจัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากการสังเกต
พบว่า ต้นข้าวอินทรีย์ที่ไม่ได้รับปุ๋ยเคมี มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวที่ปลูกแบบหว่านข้าวแห้ง
มีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ รวมทั้งสังเกตเห็นการเพิ่มขึ้นของศัตรูธรรมชาติในนา เช่น แมลงปอ ด้วงเต่า แตนเบียน
เป็นต้น

6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ;
คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากขั้นตอนนี้มาก โดยเฉพาะจากการตกของฝนช่วงก่อน – หลังการเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม การจัด
การแบบดั้งเดิมก็ใช้ได้ผลดี คือ ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คนเก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3-4 วัน หลังจากนั้นนำ
มารวมกองไว้รอคนนวดหรือใช้เครื่องนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วัน โดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวังกรณีที่
เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเจ้า เพราะจะเกิดการปนของข้าวที่ติดอยู่ในเครื่องนวด จึงต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาดเครื่องนวดก่อน
ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดและคัดชิ้น
ส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว ทั้งนี้ จะต้องติดรหัสของนาข้าวหรือของเกษตรกรที่กระสอบข้าวด้วย

7. ระบบพืช/ระบบเกษตร ;
มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเงื่อนไขเป็นพื้นที่นาน้ำฝน ทำให้การปลูกพืชฤดูแล้งทำได้ยาก จึงมีเพียงพืชก่อนนา คือ ถั่วเขียวและ
ปัจจุบันกำลังพัฒนาการปลูกงาในนาข้าวด้วย พื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวส่วนใหญ่จะปล่อยสัตว์เลี้ยง คือ วัว ควาย เข้าไปกินหญ้าและ
ฟางข้าวเป็นอาหาร ส่วนการพัฒนาการทำฟาร์มทั้งระบบให้เป็นเกษตรอินทรีย์นั้น อยู่ในแนวคิดของกลุ่มเกษตรกรที่จะทำต่อไป




http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_005_01.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2012 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,443. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคเหนือตอนล่าง


การผลิตข้าวอินทรีย์สามารถทำได้แต่เกษตรกรไม่นิยม เนื่องจากเคยชินกับการปลูกแบบเคมี และไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปทำความ
เข้าใจการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ที่ถูกต้อง และไม่มีตลาดรองรับอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งปี 2547 ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก จึง
แนะนำเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝน โดยแนะนำเทคโนโลยีที่เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้ดังนี้


1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ;
พันธุ์ข้าวที่ใช้ตามความต้องการของตลาด คือ ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ระยะแรกใช้เมล็ดพันธุ์จากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก
แนะนำและฝึกอบรมการปลูกข้าวเพื่อทำเมล็ดพันธุ์ให้แก่กลุ่มเกษตรกร


2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ;
ส่วนใหญ่เกษตรกรปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง เตรียมดินด้วยรถแทรกเตอร์ไถดะ และไถแปรในเดือนมีนาคม-เมษายน หว่านเมล็ด
พันธุ์ข้าวประมาณ 20 กก./ไร่ แล้วคราดกลบ วิธีหว่านน้ำตมเริ่มต้นเตรียมดินและปลูกในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ส่วนวิธีปักดำ
ตกกล้าในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม แล้วปักดำในเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม


3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ;
แนะนำให้มีการไถกลบตอซังข้าว นำฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา ด้านปุ๋ยพืชสด แนะนำให้
ปลูกโสนอัฟิกัน ถั่วเขียวและปอเทือง หว่านเมล็ดตั้งแต่กลางเดือนเมษายน


4. การควบคุมน้ำและวัชพืช ;
การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้ แต่ในพื้นที่นาลุ่มที่วัชพืชไม่รุนแรง สามารถทำนาหว่านข้าวแห้งร่วมกับถั่วเขียวในบางปี ช่วยลด
ต้นทุนค่าแรงงานได้ดี การรักษาระดับน้ำในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าว สามารถควบคุมวัชพืชได้


5. การป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ;
แมลงศัตรูข้าวที่สำคัญแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนห่อใบข้าว หนอนกอ หนอนม้วนใบ แมลงสิง แนะนำให้
เกษตรกรหมั่นตรวจและทำความสะอาด หากพบการระบาดให้ใช้สารสกัดจากพืช เช่น ตะไคร้หอม สะเดาในระยะแรกของการเจริญ
เติบโตของข้าว มีปู และหอยเชอรี่ ซึ่งเกษตรกรแก้ไขโดยการลดระดับน้ำในนา จับมาบริโภคหรือทำน้ำหมักชีวภาพ และใส่ต้นพืช เช่น
โล่ติ้นหรือหางไหลกำจัด โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคเมล็ดด่างที่จะรุนแรงในบางปีและไม่ป้องกันกำจัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จากการ
สังเกตพบว่า ต้นข้าวอินทรีย์ที่ไม่ได้รับปุ๋ยเคมี มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี ข้าวที่ปลูกแบบหว่าน
ข้าวแห้งมีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ รวมทั้งสังเกตเห็นการเพิ่มขึ้นของศัตรูธรรมชาติในนา เช่น แมลงปอ ด้วงเต่า
แตนเบียน เป็นต้น


6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ;
คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากขั้นตอนนี้มาก โดยเฉพาะจากการตกของฝนช่วงก่อน – หลังการเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม การ
จัดการแบบดั้งเดิมก็ใช้ได้ผลดี คือ ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คนเก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3-4 วัน หลังจากนั้น
นำมารวมกองไว้รอคนนวดหรือใช้เครื่องนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วัน โดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวัง
กรณีที่เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเจ้า เพราะจะเกิดการปนของข้าวที่ติดอยู่ในเครื่องนวด จึงต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาด
เครื่องนวดก่อน ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความ
สะอาดและคัดชิ้นส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว ทั้งนี้ จะต้องติดรหัสของนาข้าวหรือของเกษตรกรที่กระสอบข้าวด้วย



http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_005_02.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2012 8:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,444. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ข้อมูลจากจังหวัดสกลนคร

1. พันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105, กข15, กข6, และ สกลนคร

2. การเตรียมดินและการปลูก ใช้รถไถเดินตามหรือรถแทรกเตอร์ ไถครั้งแรกเพื่อกลบตอซังข้าว และหว่านเมล็ดพืชปุ๋ยสดใน
เดือน เมษายน (หรือเริ่มมีฝนตกความชื้นในดินเหมาะแก่การไถ) ตกกล้าข้าวในเดือน มิถุนายน เตรียมแปลงปักดำโดยรถไถ
เดินตามหรือ รถแทรกเตอร์ ไถดะ ไถแปร และทำเทือกในเดือนกรกฎาคม ปลูกโดยวิธีปักดำในเดือนเดียวกัน

3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3.1 ทำปุ๋ยหมักฟางข้าวใช้มูลวัว และฟางข้าวในแปลงข้าวอินทรีย์ เฉพาะส่วนที่ได้จาการนวดข้าว ทำในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์

3.2 ไถกลบตอซังข้าวเดือน เมษายน หรือ เริ่มมีฝนตกความชื้นเหมาะสมแก่การไถ

3.3 หว่านเมล็ดพืชปุ๋ยสดโสนอัฟริกัน อัตรา 5-7 กิโลกรัม/ไร่ ก่อนหว่านทำลายระยะพักตัวโดยการแช่น้ำร้อนนาน 2 นาที โสน
ขึ้นในนา 55-60 วัน ไถกลบ ปลายเดือนมิถุนายน

3.4 ใส่ปุ๋ยหมักฟางข้าว เพิ่มเติมให้ได้ธาตุอาหาร เท่าที่ต้องคือ 9 กิโลกรัม ไนโตรเจน ต่อไร่ ถ้าใช้ปุ๋ยหมักแล้ว ธาตุอาหาร
ไนโตรเจน ยังไม่พอจึงใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว (ปกติใช้ปุ๋ยหมักก็พอเพียง)

หมายเหตุ : ปุ๋ยพืชสด จะใช้โสนอัฟริกัน เพราะพื้นที่นาส่วนใหญ่ของจังหวัดสกลนคร เป็นที่ลุ่มน้ำขัง และมีฝนตกชุกมีบาง
พื้นที่ที่เป็นที่ดอน อาจใช้พืชปุ๋ยสดชนิดอื่น เช่น ถั่วเขียว ปอเทือง หรือถั่วพุ่ม

4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช ควบคุมระดับน้ำในนาระหว่าง 5-20 ชม. ถ้ามีวัชพืชบ้างจะกำจัดโดยวิธี การถอน 1 ครั้ง
เมื่อ 25 วันหลังปักดำ

5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว เช่น
- หอยเชอรี่ ใช้วิธีการเก็บ
- แมลงศัตรูข้าว ที่พบเช่นเพลี้ยกระโดดหลังขาว หนอนแมลงวันเจาะยอด เพลี้ยจักจั่นสีเขียว พบจำนวนน้อยและมีแมลงศัตรู
ธรรมชาติ เช่น แมลงมุมเขี้ยวยาว แมลงปอเข็ม แมลงปอบ้าน ตั๊กแตนหนวดยาว แมงมุมสุนัขป่า และด้วงเต่า คอยควบคุม ที่ผ่าน
มาจึงไม่ได้ใช้สารใด ๆ ควบคุม

6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ระบายน้ำออกจากนาก่อนเกี่ยวข้าว 10 วัน เกี่ยวข้าวตากตอซัง 3-4 วัน นวดด้วยเครื่องนวด
ข้าวมีคุณภาพดี ความชื้น ที่ได้ประมาณ 12 – 13% แต่ยังไม่มีข้อมูลนี้ ในแปลงเกษตรกร แต่ถ้าเป็นการจัดการข้าวแบบทั่วไป
จังหวัดสกลนคร ก็ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นสูง หรือข้าวมีคุณภาพการสีต่ำ เพราะเป็นฤดูนาปี ช่วงเก็บเกี่ยวความชื้นในอากาศต่ำ

7. ระบบพืช/ระบบเกษตรกร เป็นพื้นที่นาน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่ มีการแนะนำบ้างของกรมส่งเสริมการเกษตรให้ปลูกพืชตระกูลถั่ว
เพื่อบำรุงดินก่อนการทำนา คิดว่าเกษตรกรจะกระทำได้ถ้ามีการแนะนำหรือสนับสนุน เช่น ปลูกโสน ถั่วเขียว หรือปอเทืองก่อนการ
ทำนา พร้อมทั้งแนะนำให้มีการปลูกพืชบำรุงเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง




http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_005_03.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:38 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2012 8:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,445. เทคนิคการปลูกข้าอินทรีย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ข้อมูลจากจังหวัดอุบลราชธานี

1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์
ใช้พันธุ์ข้าวตามความต้องการของตลาดคือขาวดอกมะลิ 105 และ กข15

2. การเตรียมดินและวิธีปลูก
ควรปลูกโดยวิธีปักดำเพื่อสะดวกในการกำจัดวัชพืช การเตรียมดินทำได้โดยใช้รถแทรกเตอร์หรือรถไถนาเดินตามไถดะเตรียมดินช่วง
เดือนเมษายน-พฤษภาคม จากนั้นตกกล้าในเดือนมิถุนายน- กรกฎาคม แล้วไถแปร-คราดน้ำขัง แล้วถอนกล้าข้าวมาปักดำในเดือน
กรกฎาคม- สิงหาคม

3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ในเบื้องต้นมีการไถกลบตอซังข้าวในนา นำฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา ในนาปักดำควรปลูก
พืชปุ๋ยสดร่วมด้วยโดยหว่านเมล็ดพืชปุ๋ยสดประมาณ 2 เดือนก่อนปักดำเพื่อให้พืชปุ๋ยสดเจริญเติบโตและสะสมน้ำหนักแห้งในปริมาณ
ที่มากพอ ซึ่งชนิดพืชปุ๋ยสดที่มีศักยภาพสำหรับปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนนามีหลายชนิด เช่นถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า โสนอัฟริกัน ถั่วขอ
เป็นต้น

4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช
การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการดูแลคันนาเพื่อรักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าว
ก็เป็นการควบคุมวัชพืชอย่างได้ผล

5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว
ศัตรูข้าวที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีคือโรคไหม้ที่จะรุนแรงในบางปี อย่างไรก็ตามเกษตรกรไม่ได้มีการป้องกันกำจัด

6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว
คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากขั้นตอนนี้มาก โดยเฉพาะจากการตกของฝนช่วงก่อน – หลังการเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม การจัด
การแบบดั้งเดิมก็ใช้ได้ผลดี คือ ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คนเก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3-4 วัน หลังจากนั้นนำ
มารวมกองไว้รอคนนวดหรือใช้เครื่องนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วัน โดยข้าวยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวังกรณีที่
เปลี่ยนจากข้าวเหนียวเป็นข้าวเจ้า เพราะจะเกิดการปนของข้าวที่ติดอยู่ในเครื่องนวด จึงต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาดเครื่องนวดก่อน
ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดและคัดชิ้น
ส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว ทั้งนี้ จะต้องติดรหัสของนาข้าวหรือของเกษตรกรที่กระสอบข้าวด้วย


7. ระบบพืช/ระบบเกษตร ;
มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องแต่ด้วยเงื่อนไขเป็นพื้นที่นาน้ำฝน ทำให้การปลูกพืชฤดูแล้งทำได้ยาก จึงมีเพียงการปลูกพืชปุ๋ยสดก่อนนา
เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า โสนอัฟริกัน ถั่วขอ เป็นต้น พื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวส่วนใหญ่จะปล่อยสัตว์เลี้ยง คือ วัว ควาย เข้าไปกิน
หญ้าและฟางข้าวเป็นอาหาร



ข้อมูลจากจังหวัดสุรินทร์
1. พันธุ์ข้าว พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ได้จากแปลงนาขยายพันธุ์ที่ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์

2. การเตรียมดิน ใช้รถแทรกเตอร์ไถกลบฟางเดือนธันวาคม หรือปล่อยไว้ให้วัวควายแทะเล็ม พอถึงเดือนกุมภาพันธ์ และ มีนาคม
เมื่อมีฝนพอให้ไถสะดวก จึงทำการปลูกพืชสดบำรุงดิน เช่น โสนอัฟริกัน ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม โดยหว่านอัตรา 5 -10กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับ
ขนาดเมล็ด เมื่อพืชเจริญเติบโตและสามารถให้ผลผลิต ให้ทำการเก็บผลผลิตไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ต่อไป หรือหากไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต
ได้ก็ให้ไถกลบเมื่อพืชสดอยู่ในระยะออกดอก ราวเดือนพฤษภาคม การไถกลบพืชสดอาจถือเป็นการไถดะ

3. วิธีปลูก
- การปลูกแบบหว่าน ไถเตรียมดิน ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอแล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวอัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ เสร็จแล้วจึงคราดกลบ
- การปลูกแบบปักดำ ไถแปรและคราดทำเทือก และปักดำระยะระหว่างแถว 20 เซนติเมตรและระยะระหว่างต้น 20 เซนติเมตร

4. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ดินนาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากเป็นดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีอินทรียวัตถุในดินต่ำกว่าร้อยละ 1
มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำกว่า 10 มิลลิกรัมต่อดิน 1 กิโลกรัม มีปริมาณโพแทสเซียมต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมต่อดิน 1 กิโลกรัม ดินมี
ความเป็นกรดจัด (pH 4.5 – 5.4) ดังนั้นการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นจึงต้องมีการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน

4.1 การไถกลบฟาง เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ การไถกลบฟางเพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุและป้องกันการเผาฟางในนา ปัจจุบัน (ปี 2549)
น้ำมันแพงมาก (29 บาท/ลิตร) การไถกลบฟางอาจละเว้นได้แต่ห้ามเผาฟางและมีข้อดี คือ เป็นอาหารของวัว ควายที่นำออกไปเลี้ยง
ในทุ่งและประหยัดน้ำมัน

4.2 การปลูกพืชบำรุงดิน พืชที่ปลูกบำรุงดินมักจะปลูกหลังจากเสร็จจากการเก็บเกี่ยว จนถึงเก็บข้าวขึ้นยุ้งฉางเสร็จแล้ว จึงทำการ
ไถเพื่อปลูกพืชบำรุงดิน การปลูกในช่วงนี้อาศัยความชื้นที่เหลืออยู่ในดิน การเจริญเติบโตของพืชบำรุงดินไม่ค่อยดีเนื่องจากไม่มีฝน
แห้งแล้ง การปลูกพืชบำรุงดินในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม หากปลูกในระยะนี้พืชสดบำรุงดินบางชนิดให้ผลผลิตสามารถเก็บเมล็ดไว้
ปลูกฤดูต่อไป ถ้าปลูกเดือนเมษายน – พฤษภาคม พืชสดบำรุงดินเจริญเติบโตประมาณ 40-50 วัน จึงไถกลบเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
พืชบำรุงดินที่เจริญเติบโตในสภาพนาและให้ปริมาณมวลชีวภาพ เรียงจากมากไปหาน้อย คือโสนอัฟริกัน ถั่วพร้า ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่ว
เขียว น้ำหนักสดของพืชควรได้มากกว่า 1 ตัน จึงจะทำให้ต้นข้าวที่ปลูกตามงาม

4.3 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ
4.3.1 การใส่ปุ๋ยคอก วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน คือ การใส่ปุ๋ย
คอกที่ได้จากคอกวัว – ควายของชาวนาเอง ปริมาณที่ใส่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่ปริมาณของปุ๋ยคอกที่มี เมื่อนำไปถึงที่นาจะกอง
ไว้เป็นกองเล็ก ๆ กระจายอยู่ในกระทงนา (น้ำหนักประมาณ 300 – 500 กิโลกรัมต่อไร่)

4.3.2 การใส่ปุ๋ยหมัก จากผลการวิจัยการใส่ปุ๋ยหมัก 500 – 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยทำให้ดินดีและผลผลิตดีขึ้น แต่การใส่ปุ๋ย
หมักในนาไม่เป็นการปฏิบัติที่ปกติของชาวนา หากเป็นการกระทำที่พิเศษ โดยมีหน่วยงานของรัฐไปส่งเสริมให้ทำ เมื่อสิ้นสุด
โครงการของหน่วยงานที่ออกไปส่งเสริม การทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในนาก็จะสิ้นสุด การทำปุ๋ยหมักต้องใช้ทุน วัสดุอุปกรณ์ และแรงงาน
ค่อนข้างสูง ดังนั้น หากมีชาวนากลุ่มใด หรือ คนใดทำปุ๋ยหมักเพื่อใส่ในไร่นา ถือว่าเป็นชาวนาที่ขยัน และอดทน เพื่อทำให้ความ
อุดมสมบูรณ์ของดินดีขึ้นอย่างแท้จริง

4.3.3 การใส่ฟางข้าว ใบไม้ต่าง ๆ โปรยฟางข้าว ใบไม้ต่าง ๆ ในนาประมาณ 500 กิโลกรัมต่อไร่ การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของ
ดิน ไม่มีสูตรเฉพาะ ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณ ของวัสดุที่เกษตรกรมีอยู่ และความสามารถในการปฏิบัติแบบที่เหมาะสมกับตนเอง

5. อารักขาพืช
การป้องกันกำจัดวัชพืชในนาข้าวอินทรีย์ให้ใช้แรงงานถอน หรือใช้วิธีการเตรียมดินอย่างดี เช่นไถดะ ซึ่งเป็นการไถกลบหญ้า ฟาง
ถ้ามีการคราดก่อนหว่านข้าวหรือก่อนปักดำก็จะคราดเอาวัชพืชออกจากนาด้วย การทำนาหว่านข้าวแห้งแล้วใช้เมล็ดพันธุ์อัตราสูง
กว่าปกติ เช่น 20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือทำนาแบบปักดำถี่ ทำให้มีปริมาณของต้นข้าวในนามาก จะแข่งขันกับวัชพืชได้ดีกว่าปักดำห่าง
หรือใช้อัตราเมล็ดพันธุ์หว่านต่ำ

6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว
ก่อนการเก็บเกี่ยว ถ้ามีน้ำขังอยู่ในนาจะระบายน้ำออกให้แห้งพอดีในระยะเก็บเกี่ยว เพื่อความสะดวกในการเกี่ยว และรวงข้าวจะได้
สุกแก่พร้อมกัน

วิธีเก็บเกี่ยว มีทั้งใช้แรงคนเกี่ยว และรถเกี่ยวนวด การใช้แรงงารนคนเก็บเกี่ยว จะตากฟ่อนข้าวไว้ในนา 3 – 4 วัน แล้วเก็บฟ่อนรวม
ไว้ตามคันนา ซึ่งการรวมฟ่อนก่อนนวดจะเก็บไว้อาจนานถึง 30–40 วัน เนื่องจากการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคนต้องใช้เวลานานหลาย
รอจนกว่าจะเกี่ยวเสร็จทั้งหมดจึงจะทำการนวด การใช้รถนวดข้าวต้องเป่าทำความสะอาดเครื่องนวดก่อน ป้องกันการปนเปื้อนจาก
เมล็ดข้าวที่ค้างอยู่ในเครื่อง และแยกเมล็ดข้าวที่นวดก่อนออก 1 – 2 กระสอบ แล้วจึงเก็บเมล็ดข้าวเป็นข้าวอินทรีย์

การใช้รถเกี่ยวนวด จะเกี่ยวนวดข้าวอินทรีย์แยกออกประมาณ 3–4 กระสอบเพื่อล้างเครื่องไม่ให้เมล็ดข้าวอินทรีย์ปนเปื้อนจากเมล็ด
ข้าวที่ตกค้างอยู่ในเครื่อง จนแน่ใจว่าข้าวที่จะเก็บเป็นเมล็ดข้าวที่ผลิตโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ จากนั้นนำเมล็ดข้าวไปตากให้แห้ง

7. ระบบพืช/ระบบเกษตร การปลูกพืชหลังนายังไม่สามารถทำได้เนื่องจากหลังเก็บเกี่ยวข้าวจะเป็นฤดูแล้ง ไม่ค่อยมีความชื้นในดินที่
จะปลูกพืชเศรษฐกิจได้ แต่มีบางแห่งสามารถปลูกถั่วลิสงก่อนนา พืชอายุสั้นเช่นถั่วเขียว ถั่วพุ่ม เมื่อปลูกก่อนนาอาจรอจนเก็บเมล็ด
ได้ เกษตรกรที่ปลูกข้าวอินทรีย์ควรเลี้ยงวัวควายเพราะนอกจากจะได้ขาย ยังได้มูลเป็นปุ๋ยคอกใส่ในนา



http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_005_04.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2012 8:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,446. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคกลาง

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ;
พ.ศ. 2540-44 ใช้พันธุ์ข้าวตามความต้องการของตลาด คือ ขาวดอกมะลิ 105 ช่วงหลังปี พ.ศ. 2545-47 มีพันธุ์ข้าวหอมที่ไม่ไว
ต่อช่วงแสง ร่วมด้วย หลายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมสุพรรณบุรี ข้าวหอมคลองหลวง1 และปทุมธานี1 รวมทั้งข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ที่ผ่าน
การทดสอบว่ามีศักยภาพในการผลิตเป็นข้าวอินทรีย์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์พิษณุโลก2

2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ;
ใช้รถแทรกเตอร์ไถดะ ไถแปร คราด ทำเทือก

ข้าวขาวดอกมะลิ105 ปลูกโดยวิธีปักดำ ระยะปักดำ 25 x 25 เซนติเมตร ตกกล้า โดยวิธีตกกล้าเทือกอัตราเมล็ดพันธุ์ 50 กรัมต่อ
ตารางเมตร อายุกล้า 25-30 วัน ปักดำ 3 ต้นต่อกอ ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม อัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่

3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ;
ทำการไถกลบฟางข้าว อัตรา ประมาณ 2 ตันต่อไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอก จากมูลไก่ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ มูลวัว อัตรา
1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะ3-4 สัปดาห์ ก่อนหว่าน หรือ ปักดำข้าว และในพื้นที่ดินเปรี้ยว มีการใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 100 กิโลกรัม
ต่อไร่ 3 ปีต่อครั้ง

4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช ;
การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี สำหรับนาหว่าน ยังมีปัญหาในการควบคุมวัชพืช การใช้แรงงานถอนวัชพืช ทำให้สิ้น
เปลืองเวลาและแรงงาน ซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิต

5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ;
ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของข้าว มักมีเพลี้ยไฟเข้าทำลาย หลังจากนั้นอาจมีหนอนห่อใบ หรือหนอนกอ เข้าทำลาย เป็นครั้งคราว
การป้องกันกำจัด ใช้สารสกัดสะเดา ฉีดพ่น

6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ;
ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คนเก็บเกี่ยว นำมาตาก 3-4 วัน นวดเครื่องนวดข้าว ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้น
เฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษา โดยใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาด และคัดชิ้นส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว


http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_005_05.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/01/2012 8:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,447. เทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์ เขตภาคใต้


ในพื้นที่นี้ แต่เดิมก่อนปี พ.ศ. 2540 เกษตรกรปลูกข้าว พันธุ์พื้นเมืองเช่นพันธุ์ช่อเบา จำปาเหลืองและไข่มดริ้น ไว้เพื่อการบริโภค
และจำหน่าย บางส่วน ดินนามีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ-ปานกลาง ปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอตลอดฤดูปลูก มีการใช้รถไถเดินตามแล
ะรถแทรกเตอร์ รวมทั้งเครื่องนวดข้าวเป็นเครื่องจักรกลช่วยทุ่นแรงในการทำนา ส่วนใหญ่ปลูกข้าวแบบปักดำ และเริ่มมีการปลูกแบบ
หว่านข้าวแห้งในนาลุ่มแล้วบ้าง มีการใส่ปุ๋ยเคมีที่นำมาซึ่งปัญหาโรคไหม้และการทำลายของแมลงในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกัน
กำจัดเพราะเสียหายเพียงบางส่วน ด้านสัตว์ศัตรูข้าวนั้น ด้วยการทำนาในเวลาใกล้เคียงกันเป็นบริเวณกว้าง ช่วยกระจายการทำลาย
ได้ และการดักจับมาบริโภคยังช่วยควบคุมปริมาณศัตรูพืชได้ดี การเก็บเกี่ยวด้วยแรงคนแล้วตากสุ่มซังในนา 3-4 วัน ทำให้ได้ข้าว
เปลือกที่มีความชื้น 13-15 % นำไปเก็บรักษาหรือจำหน่ายได้เลย

ในการจัดทำแผนการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมานั้น ได้พิจารณาใช้เทคนิควิธีการเดิมที่ไม่ขัดกับระบบ
เกษตรอินทรีย์ แล้วพัฒนาวิธีการทดแทนการใช้สารเคมีเดิม โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าการผลิตข้าวอินทรีย์ของกรมวิชา
การเกษตร และการศึกษาดูงานของกลุ่มต่างๆ ร่วมกับข้อคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักการให้หมุนเวียนใช้ทรัพยากรในพื้นที่
และจะต้องพิจารณาต้นทุนการผลิตประกอบด้วยทุกขั้นตอนการผลิต คือ

1. พันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ ;
พันธุ์ข้าวที่ใช้ตามความต้องการของผู้บริโภค คือ ช่อเบา เหลืองจำปา ไข่มดริ้น ช่วงหลังปี พ.ศ. 2547 มีพันธุ์ เล็บนกปัตตานี สังข์หยด
และปทุมธานี 1 ระยะแรกใช้เมล็ดพันธุ์จากศูนย์ขยายพันธุ์พืช และ ศูนย์วิจัยข้าวในพื้นที่และการปลูกข้าวเพื่อทำเมล็ดพันธุ์เองบ้างในปัจจุบัน

2. การเตรียมดินและวิธีปลูก ;
ใช้รถแทรกเตอร์ไถเตรียมดินช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ในนาหว่านข้าวแห้งซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 30 % จะไถแปรโดยใช้
รถไถเดินตาม หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณ 15 กก./ไร่ แล้วคราดกลบ ในเดือนสิงหาคม ส่วนนาดำที่ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ดอน
จะตกกล้าในเดือน กรกฎาคม แล้ว ไถแปร คราดน้ำขัง แล้วถอนกล้าข้าวมาปักดำในเดือน สิงหาคม

3. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน ;
ในเบื้องต้นมีการไถกลบตอซังข้าวในนา นำฟางข้าวมาทำเป็นปุ๋ยหมักผสมกับปุ๋ยคอกแล้วนำกลับไปใส่ในนา มีการเลี้ยงวัวแล้วนำ
มูลวัวมาซึ่งได้ผลดีในบางปีขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนต้นฤดู การจัดการดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ดังกล่าว อยู่ภายใต้แนวคิด “รักษาสถานะ
ความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ยั่งยืน”

4. การควบคุมน้ำและควบคุมวัชพืช ;
การทำนาดำช่วยควบคุมวัชพืชได้เป็นอย่างดี แต่ในพื้นที่นาลุ่มที่วัชพืชไม่รุนแรง สามารถทำนาหว่านข้าวแห้งช่วยลดต้นทุนค่า
แรงงานได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการดูแลคันนาเพื่อรักษาระดับน้ำขังในนาให้พอดีกับการเจริญเติบโตของข้าว ก็เป็นการควบคุม
วัชพืชอย่างได้ผล รวมทั้งมีผลต่อความแข็งแรงของต้นข้าวด้วย

5. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ;
ศัตรูข้าวที่สำคัญในพื้นที่นี้ คือ ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของข้าว ปู และหอยเชอรี่ ซึ่งเกษตรกรแก้ไขโดยการลดระดับน้ำ
ในนา จับมาบริโภคหรือทำน้ำหมักชีวภาพ ในระยะข้าวแตกกอมีหนอนกอทำลายรุนแรงในบางปี ซึ่งยังไม่มีการป้องกันกำจัด
อย่างไรก็ตาม จากการสังเกตพบว่า ต้นข้าวอินทรีย์ที่ไม่ได้รับปุ๋ยเคมี มีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคไหม้ได้ดีกว่าข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมี
ข้าวที่ปลูกแบบหว่านข้าวแห้งมีการทำลายของแมลงบั่วน้อยกว่าข้าวนาดำ

6. การจัดการก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ; คุณภาพของข้าวได้รับผลกระทบจากขั้นตอนนี้มาก โดยเฉพาะจากการตกของฝนช่วงก่อน –
หลังการเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตาม การจัดการแบบดั้งเดิมก็ใช้ได้ผลดี คือ ระบายน้ำออกนาให้แห้งพอดีในช่วงที่ข้าวสุกแก่ ใช้คน
เก็บเกี่ยวแล้วตากสุ่มซัง 3-4 วัน หลังจากนั้นนำมารวมกองไว้รอคนนวดหรือใช้เครื่องนวด กองไว้ได้นานกว่า 30 วัน โดยข้าว
ยังคงมีคุณภาพดี การใช้เครื่องนวดข้าวจะต้องระวังกรณีที่เปลี่ยนจากพันธุ์ข้าว เพราะจะเกิดการปนของข้าวที่ติดอยู่ในเครื่องนวด จึง
ต้องเป่าหรือล้างทำความสะอาดเครื่องนวดก่อน ข้าวเปลือกที่ได้จะมีความชื้นเฉลี่ย 13-15 % ตามมาตรฐาน นำไปเก็บรักษาในยุ้ง
ฉางหรือใส่กระสอบป่านที่ทำความสะอาดและคัดชิ้นส่วนข้าวที่ติดมากับกระสอบเดิมแล้ว

7. ระบบพืช/ระบบเกษตร ; ยังไม่มีการพัฒนาในด้านระบบพืช เนื่องจากเป็นพื้นที่นาน้ำฝน ทำให้การปลูกพืชฤดูแล้งทำได้ยาก จึงไม่
มีเพียงพืชก่อนนา พื้นที่นาหลังการเก็บเกี่ยวข้าวส่วนใหญ่จะปล่อยสัตว์เลี้ยง คือ วัว เข้าไปกินหญ้าและฟางข้าวเป็นอาหาร



http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_005_06.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2012 8:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,448. แหนแดงใช้ในนาข้าว





ลักษณะ
แหนแดงเป็นเฟิร์นน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว
แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อนกัน ใบแต่ละ
ใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง sporocrap 2-4 อัน
ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์ในใบของแหนแดงมีโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่อาศัยของ Anabenae
ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabenaeได้รับสารอาหารจากแหนแดง ส่วนแหนแดงจะได้ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจน
ของ Anabenae


องค์ประกอบที่สำคัญ
ได้แก่โปรตีน ไขมัน และเซลลูโลส แร่ธาตุ แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญได้แก่ ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปตัสเซียม
และจุลธาตุที่สำคัญได้แก่ เหล็ก และ โมลิบดินัม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ไนโตรจิเนส ในการตรึงไนโตรเจน แหนแดง
สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 5–45 องศาเซลเซียส เจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 20–30 องศาเซลเซียส แหนแดงจะเจริญ
เติบโตได้ดีที่สุดที่มีแสงประมาณ 50–70 เปอร์เซ็นต์ของแสงสว่าง พีเอชที่เหมาะสมที่แหนแดงเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ 4.0–5.5 ความ
ลึกของน้ำความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงคือประมาณ 10 เซนติเมตร



ประโยชน์ของแหนแดง
แหนแดงเป็นพืชน้ำมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น และแหนแดงมีโปรตีนสูง เน่าสลายปลดปล่อย
ธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

- ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับ
การเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ แหนแดงมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) อยู่ระหว่าง 8–13 หลังถูกไถกลบ จะ
ย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลด
ปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่

- แหนแดงสามารถเลี้ยงได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ งานวิจัย (ประยูร สวัสดีและคณะ, 2531) ที่เกี่ยวข้องกับแหนแดงในนา
ข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา พบว่า มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ
และยังให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเพียงอย่างเดีย


.......


การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว
มีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวขั้นตอนการปฎิบัติการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว มีดังนี้
1. เตรียมขยายพันธุ์แหนแดงใช้เป็นเชื้อพันธุ์ในพื้นที่ประมาณ 25-50 ตารางเมตรต่อพื้นที่เพาะปลูกข้าว 1 ไร่
2. รักษาระดับน้ำในนาข้าวให้ลึก 5-10 เซนติเมตร
3. ใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง โดยใช้แหนแดงที่ได้เตรียมขยายไว้แล้วอัตรา 50-100กิโลกรัม/ไร่
4. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 3 ก.ก./ไร่ ในวันใส่เชื้อพันธุ์แหนแดง
5. ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตปริมาณเท่าเดิมหลังจากแหนแดงอายุ 7-10 วัน

ในสภาพเหมาะสม คือ ไม่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงรบกวน สิ่งแวดล้อมเหมาะสมแหนแดงจะเจริญเต็มพื้นที่นาให้น้ำหนักสด 2-3 ตัน/ไร่
ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ ในการปฎิบัติเลี้ยงขยายแหนแดงเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวอาจจะเลี้ยงระยะก่อนปักดำ 3 สัปดาห์แล้วทำ
การไถกลบพร้อมกับการเตรียมแปลงปักดำข้าว หรือเริ่มเลี้ยงพร้อมปักดำเมื่อแหนแดงขยายเต็มพื้นที่แล้วปล่อยให้ตายเองตามธรรมชาติ
การใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนใส่ในนาแล้วไถกลบ มีประสิทธิภาพสูงกว่าการใส่บนผิวดินโดยไม่มีการไถกลบ ในกรณีแหนแดงก็เช่นเดียวกัน


การเลี้ยงขยายแหนแดงก่อนปักดำแล้วไถกลบในระยะปักดำดีกว่าวิธีไม่ไถกลบ และจากการทดลองของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการ
เลี้ยงแหนแดงหนึ่งชุดก่อนปักดำแล้วไถกลบ ระยะปักดำกับการเลี้ยงปักดำโดยไม่ต้องมีการไถกลบแหนแดงสามารถเพิ่มผลผลิตข้าว
ได้ไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมี อัตรา 4.8-6.0 กิโลกรัม N/ไร่

ข้อสังเกต : (โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นันทกร บุญเกิด)
1. น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงแหนแดง ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงไม่ควรสูงเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ 10-30 เซนติเมตร
และแหนแดงจะตายเมื่อในนาขาดน้ำ

2. แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีน้ำนิ่ง หรือมีกระแสน้ำไหลเป็นเวลาอย่างช้าๆ บริเวณคลื่นลมจัดจะทำให้แหนแดงแตกกระจายออกจากกัน
ทำให้การเจริญเติบโต และการตรึงไนโตรเจนลดลงอย่างมาก

3. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae สามารถทำได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีไนโตรเจนต่ำ

4. การตรึงไนโตรเจนของ Anabaena azollae จะมีค่าสูงสุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และจะหยุดกระบวนการตรึงไนโตรเจน
ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส



ข้อมูลจาก doe.go.th,wikipedia,clinictech.most.go.th

http://dna.kps.ku.ac.th


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:23 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2012 8:22 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,449. โรงสีข้าวต้นทุนต่ำสำหรับชุมชน





นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประ ธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์
เปิดเผยว่า จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “คนไทยจะกินข้าว ทำไมต้องไปเสียค่าน้ำมัน ในการขนข้าว
เปลือกไปสีในเมือง และขนข้าว สารจากเมืองกลับมายังหมู่บ้าน ทำไมเราไม่คิดสร้างโรงสีชุมชนให้กับเกษตรกรในหมู่บ้าน เกษตรกร
ก็จะได้สีข้าวเอาไว้กินเอง แกลบที่ได้ ใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง หรือใช้หมักเป็นปุ๋ยคืนกลับสู่พื้นดินให้กับพืช” ดังนั้นทางบริษัทเกรทอะโกร
จำกัด จึงได้ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมโรงสีชุมชนขึ้น โดยการประยุกต์เครื่องจักรโรงสีข้าวขนาดใหญ่ให้เป็นโรงสีชุมชนซึ่งเหมาะสม
กับการใช้งานจริงของชุมชนและกลุ่มเกษตรกรในแต่ละพื้นที่

ทั้งนี้ โรงสีชุมชนที่พัฒนาขึ้นให้กำลัง การผลิตสูงถึง 1,000 กิโลกรัม (ข้าวเปลือก) ต่อชั่วโมง และสามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพที่มีต้นทุน
ต่ำเหมาะสำหรับชุมชน สำหรับลักษณะเด่นของเครื่องจักร คือ ให้เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูง ลดการสูญเสียและการแตกหักของข้าวในแต่ละ
ขั้นตอน สามารถผลิตได้ทั้งข้าวกล้อง ข้าวขาว และใช้ได้กับข้าวทุกประเภททั้งขนาดเมล็ดสั้นและเมล็ดยาว ที่สำคัญทำงานโดยใช้ผู้ควบ
คุมเพียงคนเดียว

“นับเป็นความภาคภูมิใจของกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ที่ได้มีส่วนร่วมในการคิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรโรงสีข้าวชุมชนขึ้นมาช่วยเหลือ
ชาวนาไทยให้สามารถได้มีเครื่องมือเป็นของตนเอง ซึ่งผลงานประดิษฐ์คิดค้นโรงสีข้าวชุมชนนี้ นำโดยนายนเรศว์ร ชิ้นอินมนู รองกรรม
การผู้จัดการ บริษัท เกรท อะโกร จำกัด เป็นผู้วิจัยและพัฒนาโรงสีข้าวดังกล่าวโดยน้อมนำพระราชดำริขององค์พระบาท สมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวมาเป็นแนวทางปฏิบัติ” นายมนตรีกล่าว.


ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ออนไลน์

http://dna.kps.ku.ac.th/index.php/ข่าว-ข้าว/โรงสีข้าวต้นทุนต่ำสำหรับชุมชน.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2012 8:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,450. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ

(Natural ways for Soil Improvement)


ลักษณะ ของดิน
ดิน ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกนั้น จะต้องประกอบด้วยสมบัติ 3 ประการ คือ

1. สมบัติทางเคมี คือ ดินต้องมีความสมดุล ของแร่ธาตุอาหารพืช ซึ่งประกอบด้วย ธาตุอาหารพืชหลักไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
โพแทสเซี่ยม ธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุอาหารเสริมประกอบด้วย เหล็ก สังกะสี ทองแดง
โบรอน โมลิบดินัม แมงกานีส และ คลอรีน และ มีปฏิกิริยา ของดิน ที่เป็นกลาง คือดินต้องไม่เป็นกรดเป็นด่างหรือมีความเค็มจนเกินไป

2. สมบัติทางกายภาพ คือ ดินต้องมีความสมดุล ของอากาศ และ น้ำ กล่าวคือ ดินต้องมีโครงสร้างที่ดี มีการร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้
ดี มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำได้ดี เม็ดดินเกาะกันอย่างหลวมๆ เพื่อช่วยให้รากพืชสามารถแผ่ขยายและชอนไชไปหาแร่ธาตุอาหาร
พืชได้ง่าย ในระยะที่กว้างและไกล เป็นดินที่อ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง

3. สมบัติทางชีวภาพ คือ เป็นดินที่มีความสมดุลของจุลินทรีย์ กล่าวคือ เป็นดิน ที่มีจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นประโยชน์
ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถควบคุมจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นโทษ แก่พืชได้เป็น อย่างดี และ จุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์
ในดิน สามารถสร้างกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แก่พืชได้ดี เช่น สามารถย่อยแร่ธาตุ ในดิน ที่ยังไม่เป็นประโยชน์แก่พืช หรือ
ให้ประโยชน์น้อยให้เป็นประโยชน์ แก่พืชและเพิ่มปริมาณที่มากขึ้น ตรึงธาตุอาหารพืชจากอากาศให้เป็นประโยชน์แก่พืช สร้างสารปฏิ
ชีวนะปราบโรค และ ศัตรูพืช ในดินได้ เสริมสร้างพลังให้ แก่พืช และ ทำลายสารพิษ ในดินได้



ดินที่มีปัญหา
ดินที่ใช้ทำการเพาะปลูกทั่วไป ของประเทศไทยส่วนใหญ่ มักจะขาด ความอุดมสมบูรณ์ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โครงสร้าง ของดิน
ไม่ดี แน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำ มีจุลินทรีย์ ในดินน้อย เนื่องจากสภาพ ที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ อันเนื่อง มาจากได้ใช้ดิน เพื่อการเพาะปลูก อย่าง ต่อ
เนื่อง โดยขาดการปรับปรุง และ บำรุงรักษา การทำการเกษตรกรรม ที่ไม่เหมาะสม ใช้ ที่ดินผิดประเภท ตลอดจนแหล่งกำเนิด ของดินเอง
เช่น ดินทราย ดินลูกรัง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินด่าง เป็นต้น ทำให้ขาดความสมดุล ในด้านสมบัติทางเคมี กายภาพ และ ชีวภาพ จำเป็นต้อง
ทำการปรับปรุง และ หาทางแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์ ในการใช้ เพื่อการเพาะปลูก ต่อไป ต่อไปนี้ขอแนะนำให้ท่านทราบถึงดิน
ที่มีปัญหาชนิดต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งต้องหาทางปรับปรุงให้กลับมาใช้ ประโยชน์ได้ ซึ่งจากการสำรวจ ของกรมพัฒนา ที่ดินพบว่า
ทรัพยากรดิน ของประเทศไทย มีปัญหาด้านกายภาพหรือด้านคุณภาพ ซึ่งจำแนกได้ดัง ต่อไปนี้

1. ปัญหาความอุดมสมบูรณ์ ของดินต่ำ และ เสื่อมลง จากรายงานการสำรวจ และ จำแนกชนิดดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน ที่ดำเนินการ ใน
จังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยพบว่า ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ โดยธรรมชาติ ทั้งนี้เนื่องจาก ประเทศตั้งอยู่ ในเขตศูนย์
สูตร อุณหภูมิสูง และ มีปริมาณฝนตกมาก การสลายตัว ของหินแร่ ที่เป็นวัตถุต้นกำเนิด ของดินเป็นไป อย่างรวดเร็ว และ มีการชะล้าง
แร่ธาตุอาหารพืช ออกไปจากดิน ในอัตรสูง ในช่วง ฤดูฝน ถูกพัดพาไป กับน้ำ ที่ไหลลงสู่ ที่ต่ำ ได้ แก่ แม่น้ำลำคลอง และ ลงสู่ทะเล
ในที่สุดจากการสลายตัว ของหินแร่ ในดินดำเนินไป อย่างมาก และ รวดเร็วนี้เอง ทำให้ดินในประเทศไทยส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย แร่
ดินเหนียว เคโอลิไนท์ (Kaolinite) แร่เหล็ก และ อลูมินัมออกไซด์ (hydrous oxide clay) ซึ่งแร่ดินเหนียว พวกนี้มีบทบาท ใน
การดูดซับแร่ธาตุอาหาร และ การเปลี่ยนประจุบวกต่ำ (low activity clay) จึงทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ของดินตามธรรมชาติต่ำด้วย

2. ดินที่มีปัญหาพิเศษ (problem soils) จากการสำรวจ และ ทำแผนที่ดิน ของ กรมพัฒนาที่ดินพบว่ามีดินบางชนิดที่มีสมบัติทางกาย
ภาพ และ ทางเคมี เป็นอุปสรรคหรือข้อกำจัด ในการใช้ประโยชน์ ในการเกษตร โดยเฉพาะ การเพาะปลูกพืช จำเป็นต้องมีการพัฒนา
หรือปรับปรุงแก้ไข เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต ของดินเหล่านั้น ดินที่มีปัญหาพิเศษที่กล่าวนี้ พอแยกออกได้ตามสภาพ ของปัญหา
หรือข้อจำกัด ดัง ต่อไปนี้

2.1 ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถัน (acid sulphate soils) เป็นดินที่มีค่า ของความเป็นกรด (pH) ต่ำกว่า 4.0 ตั้ง แต่ชั้นถัด
จากผิวดินลงไป (sud surface) และ ในชั้นที่มี สารสีเหลือง ฟางข้าว เกิดขึ้น (jarosite) ค่า ของ PH อาจลงต่ำถึง 3.5 หรือต่ำ
กว่า ถ้าในกรณี เช่น นี้ดินไม่สามารถปลูกพืชอะไรขึ้นแม้ แต่ข้าว จึงมักถูกทอดทิ้ง ให้เป็น ที่ว่างเปล่า มีหญ้าขึ้นปกคลุม การที่ไม่สามารถ
ปลูกข้าวหรือพืช อย่างอื่นก็เนื่องจาก มีสารพวกเหล็ก และ อะลูมินัมละลาย ออกมาเป็นพิษ ต่อพืช และ ยังทำให้ธาตุ ที่จำเป็น ต่อการ
เจริญเติบโต ของพืชบาง อย่างไม่ละลายมาเป็นประโยชน์ ต่อพืชด้วย โดยเฉพาะ ธาตุฟอสฟอรัส จะถูกตรึงไว้ (fixation) และ อยู่
ในรูป ที่ไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืช ดังนั้น จึงถือว่าเป็นดิน ที่มีปัญหาพิเศษ ที่จะต้อง ปรับปรุง และ แก้ไขให้เกิดประโยชน์ ในการใช้เพาะ
ปลูกได้ดินเปรี้ยวจัด หรือดินกรดกำมะถันทีกล่าว พบมีเนื้อที่ประมาณ 9.0 ล้านไร่ หรือร้อยละ 2.81 ของพื้นที่ประเทศ พบมาก ในที่
ราบภาคกลางตอนใต้ ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ พบกระจัดกระจาย บริเวณชายฝั่งทะเล ในสภาพพื้นที่ ที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน

2.2 ดินเค็ม (saline and sodic soils) เป็นดิน ที่มีเกลือ ที่ละลายน้ำได้เป็นองค์ประกอบอยู่สูงจนเป็นอันตราย ต่อพืช ที่ปลูก ดินเค็ม
ที่พบ ในประเทศไทยพบมากที่สุด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 17 ล้านไร่ หรือร้อยละ 5.5 ของพื้นที่ ทั้งประเทศ
นอกจากนี้ยังพบดินเค็มบริเวณชายฝั่งทะเล (coastal saline soils) มีเนื้อที่รวมกันแล้วประมาณ 3 ล้านไร่ รวม กับดินเค็ม ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ถึง 20 ล้านไร่ ซึ่งดินเค็ม ที่กล่าวนี้ มีศักยภาพ ในการให้ผลผลิตพืช ที่ปลูกต่ำ บางแห่งไม่สามารถปลูก
พืชได้เลย โดยเฉพาะบริเวณดินเค็ม ที่กล่าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีคราบเกลือ (salt crusts) ปรากฏ ขึ้น ที่ผิวดิน ใน
ช่วงฤดูแล้ง ซึ่งแสดงว่าดินเค็มจัด ส่วนดินเค็มชายทะเลมีใช้ประโยชน์ ในการทำนาเกลือ ปลูกผลไม้ โดยการยกร่องเป็นต้นว่า มะพร้าว
และ ยังคงสภาพป่าชายเลนปกคลุมอยู่ นอกจากนี้ บางพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น กุ้ง หอย ปู และ ปลา เป็นต้น

2.3 ดินทรายจัด (sandy soils) ที่พบ ในประเทศไทย พอแบ่งออก ได้เป็น 2 ประเภท คือ ดินทรายธรรมดา ที่มีเนื้อที่เป็นทราย
จัดลงไปลึก และ ดินทราย ที่มีชั้นดานจับตัวกันแข็ง โดยเหล็ก และ ฮัวมัส เป็นตัวเชื่อม เกิดขึ้นภาย ในความลึก 2 เมตร แต่ส่วนใหญ่
เกิดขึ้นต่ำกว่า 1 เมตร จากผิวดินบน ดินทรายทั้ง 2 ประเภทนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติต่ำ และ มีความสามารถ ในการอุ้ม
น้ำต่ำด้วย นอกจากนี้ ดินทราย ที่มีชั้นดินดานแข็ง เมื่อน้ำไหลซึมลงไปจะไปแช่ขังอยู่ เพราะชั้นดินดาน ที่กล่าวน้ำซึมผ่านได้ยาก ทำ
ให้เกิดสภาพน้ำขัง รากพืชขาดอากาศ ทำให้ต้นพืช ที่ปลูกชะงักการเจริญเติบโตในสภาพปัจจุบัน ดินทราย จัดมีศักยภาพ ในการผลิต
ต่ำ และ จำกัด ในการเลือกชนิด ของพืช ที่จะนำมาปลูก โดนเฉพาะดินทรายจัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ในช่วง
ฤดูแล้งจะแห้งจัด และ ในช่วงที่ทิ้งช่วง ในฤดูฝน ก็จะแห้งเร็ว เช่น เดียวกัน สำหรับดินทรายจัด ที่พบ บริเวณชายฝั่งทะเลนั้นมักมีความ
ชื้นสูงกว่า และ สามารถปลูกไม้ผลบางชนิดให้ผลอยู่ ในเกณฑ์พอใช้ หรือค่อนข้างดี ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะใช้ปลูกมะพร้าว แต่ อย่าง
ไรก็ตาม ดินทรายจัดก็ยังนับว่าเป็นดิน ที่มีปัญหาพิเศษต้องทำการปรับปรุงแก้ไข เป็นต้นว่าด้านความอุดมสมบูรณ์ ความสามารถ ใน
การอุ้มน้ำ ของดิน และ การเลือกชนิด ของพืช ที่จะนำมาปลูก

2.4 ดินปนกรวด (skeletal soils) เป็นดิน ที่มีชั้นลูกรัง (laterite or iron stone) เศษหิน (rock fragment) กรวดกลม
(cobble) และ เศษหินอื่นๆ เกิดขึ้น ในความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดินบน และ ในชั้น ที่มีดินปนกรวดนั้น จะประกอบไปด้วยกรวด
และ เศษหินต่างๆ ที่มีขนาด 2 มิลลิเมตร อยู่มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร ชั้นกรวดหินนี้จะเป็นอุปสรรค ต่อการชอนไช ของ
รากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ดิน ที่มีชั้นกรวดหินอยู่มักเป็นดิน ที่ขาดความชุ่มชื้น ในดินได้ง่าย และ ปัญหาอีก
อย่างหนึ่งก็คือมีข้อจำกัด ในการเลือกชนิด ของพืชมาปลูกถ้านำมาใช้ปลูกพืชบางชนิด โดยเฉพาะไม้ยืนต้น ต้องจัดการเป็นพิเศษ
ในการเตรียมหลุมปลูก ดินปนกรวด ที่พบ ในประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 52 ล้านไร่ หรือร้อยละ 16.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศพบมาก
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคเหนือ ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์ ในการเพาะปลูกน้อยปกคลุมด้วยป่าแดงโปร่ง การที่ใช้ประโยชน์
น้อยก็เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่มีชั้นลูกรัง และ เศษหินอยู่ตื้น บางแห่งพบ ที่ผิวดินบน เป็นดิน ที่มีศักยภาพ ในการเกตรต่ำ ควรพัฒนา
เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ซึ่งนับเป็นการใช้ประโยชน์ ที่เหมาะสม ที่สุด สำหรับ ดินประเภทนี้

2.5 ดินบริเวณพื้นที่พรุ หรือ ดินอินทรีย์ (organic soils) เป็นดิน ที่เกิด ในที่ลุ่มต่ำ (lagoon) มีน้ำเค็ม และ น้ำกร่อย จากทะเลเข้า
ท่วมถึง มีชั้นเศษพืชหรือชั้นอินทรียสาร ที่สลายตัวดีแล้ว และ กำลังสลายตัวสะสมกันเป็นชั้นหนตั้ง แต่ 50 เซนติเมตร ถึง 3 เมตร หรือ
หนากว่า เป็นดิน ที่มีศักยภาพเป็นกรดจัด (potential acidity) มีสภาพไม่อยู่ตัวขึ้นอยู่ กับระดับน้ำใต้ชั้นอินทรีย์สาร และ เป็นดิน
ที่ขาดธาตุอาหาร ที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโต ของพืชค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากข้อจำกัด ที่กล่าวนี้เองดินอินทรีย์ จึงนับว่าเป็นดิน ที่มี
ปัญหา พิเศษการพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขค่อนข้างยาก และ ลงทุนสูง เมื่อ เปรียบ กับดิน ที่มีปัญหา อย่างอื่นดินอินทรีย์ ที่พบมาก
ในภาคใต้มีพื้นที่รวมกันประมาณ 5 แสนไร่ แต่ที่พบมาก และ เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ ได้ แก่ จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่ประมาณ 4 แสน
ไร่ การใช้ประโยชน์มีน้อย จะใช้ ในการปลูกข้าวบริเวณริมๆ ขอบพรุเท่านั้น ส่วนใหญ่ ในจังหวัดอื่นๆ ของภาคใต้ และ ภาคตะวัน
ออกพบบ้างเป็นพื้นที่เล็กๆ และ กระจัดกระจายอยู่ ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล

2.6 ดินเหมืองแร่ร้าง (Tin – mined tailing lands) ถึงแม้จะพบ เป็นเนื้อที่ไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบ กับดิน ที่มีปัญหาพิเศษ ที่
กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่พบ ในภาคใต้ โดยเฉพาะ ในจังหวัดพังงา ภูเก็ต และ ระนอง มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 159,000 ไร่ นอกจากนี้ยัง
พบ ในภาคตะวันออก และ ภาคเหนือ ที่มีการทำเหมืองแร่ แต่ยังไม่ได้ทำการสำรวจหาพื้นที่ว่ามีปริมาณเท่าไร แ ต่ อย่างไรก็ตาม ดิน
เหมืองแร่ ่ร้างนับว่าเป็นดิน ที่มีปัญหา ต่อการใช้ทางการเกษตรเป็น อย่างมาก การปรับปรุงแก้ไขหรือการพัฒนาพื้นที่ และ ดินเสื่อม
คุณภาพลง อย่างมาก พื้นที่เป็น ที่ราบขรุขระสูงๆ ต่ำๆ เนื้อดินมีหิน ทราย และ กรวดปนอยู่มาก และ มักแยกกันเป็นส่วน ของเนื้อดิน
หยาบปนกรวดทรายส่วนหนึ่ง และ เนื้อดินละเอียดจะไปรวมอยู่กัน ในที่ต่ำ (slime area) พวกแร่ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างออกไป
ในระหว่างขั้นตอนการทำเหมืองแร่ ฉะนั้นความอุดมสมบูรณ์ ของดินเหมืองแร่ร้าง จึงต่ำมาก การปรับปรุงดินเหมืองแร่ร้างต้องคำนึงทั้ง
การปรับระดับพื้นที่ สมบัติทั้งด้านกายภาพ และ เคมี รวมทั้งการเลือกชนิด ของพืชมาปลูกให้เหมาะสมด้วย


3. ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน (soil erosion) ที่ทำให้ดิน เสื่อมโทรม นับว่าเป็นปัญหาสำคัญ อย่างหนึ่ง ในประเทศ และ
จำเป็นต้องมีการป้องกัน และ แก้ไข เพื่อรักษาคุณภาพ ของดินให้เหมาะสม และ ใช้ประโยชน์ ในระยะเวลายาวนาน การชะล้างพังทลาย
ของดิน ในประเทศไทยเกิดขึ้น ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การชะล้างพังทลาย ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (egologic erosion) เนื่องจาก
ประเทศไทยตั้งอยู่ศูนย์สูตร และ มีปริมาณฝนตกมาก ดินบริเวณ ที่ลาดเทจะถูกน้ำฝนกัดกร่อนชะล้างออกไปสู่ ที่ต่ำ เมื่อน้ำฝน ไหล
บ่าบนผิวดิน (run off) ในขณะฝนตก และ หลังฝนตกเกิดขึ้น ตามธรรมชาติ จะเกิดขึ้นมากบริเวณ ที่เป็นภูเขามีความลาดเท ของพื้นที่
สูง และ มีป่าไม้ คลุมไม่หนาแน่น ถ้าเป็นบริเวณ ที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ ไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น การชะล้างพังทลาย ในขณะนี้
มักไม่เกิดหรือเกิดขึ้นน้อยมาก แ ต่ อย่างไร ก็ตาม การชะล้างพังทลายแบบเกิดขึ้น ตามธรรมชาติจะน้อยขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลาย อย่าง
เช่น ชนิดหรือลักษณะ ของดิน ความลาดเท ของพื้นที่ ความหนาแน่น ของพืชพรรณ ที่ขึ้นปกคลุม และ ปริมาณฝน ที่ตกลง สำหรับ
การชะล้างพังทลาย อีกลักษณะหนึ่งนั้น เกิดขึ้นจากการกระทำ ของมนุษย์ หรือมนุษย์เป็นตัวเร่ง ให้เกิดหรือมากขึ้น (accelerated
erosion หรือ manmade erosion)

การชะล้างพังทลาย ในลักษณะนี้นับว่าเกิดขึ้นมาก และ รุนแรง ในประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ดินดอน ที่มีความลาดเทตั้ง แต่ 5
เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ที่ใช้ ในการเพาะปลูก โดยไม่มีการอนุรักษ์ดิน และ น้ำ ที่เหมาะสม และ จะมี ความรุนแรงมากขึ้น ในบริเวณบนพื้นที่
ภูเขา ที่เปิดป่าทำการเพาะปลูก หรือบริเวณ ที่ทำไร่เลื่อนลอยปัญหาการชะล้างพังทลาย ของดิน ในประเทศไทย นับว่าเป็นปัญหารุนแรง
ที่ทำให้ทรัพยากรดิน และ ที่ดินเสื่อมโทรมทั้งสมบัติทางด้านกายภาพ และ เคมี นอกจาก นี้ยังก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม ทางด้าน
สภาพ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เป็นต้นว่า ก่อให้เกิดสภาพความแห้งแล้ง ของดิน แม่น้ำ ลำคลองธรรมชาติ และ แหล่งน้ำ ที่พัฒนาขึ้นมา
ตื้นเขิน อันเนื่องจากตะกอนดินถูกชะล้างลงมาตกตะกอน ในแหล่งน้ำ ที่กล่าว ทำให้อายุการใช้งาน ของแหล่งน้ำสั้นลง บางครั้งตะกอน
ดิน ที่ถูกชะล้างลงสู่ ที่ราบต่ำอาจทับถมทำให้พื้นที่การเกษตร และ พืช ที่ปลูกเสียหาย ต้องมีการลงทุน เพื่อปรับปรุงแก้ไขไม่ใช่น้อย

แนวทางการปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ ดิน ที่ใช้ทำการเพาะปลูก ที่มีปัญหาไม่ว่าจะเป็นดิน ที่เสื่อมค่า ขาดความ อุดมสมบูรณ์
มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินกรวด ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่ ดินพรุ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดิน ที่มีหน้าดินถูกชะล้าง ดินเหล่านี้ สามารถ
ปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ใช้ ในการเพาะปลูกได้ การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติเป็นทางหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ได้ เป็น
วิธี ที่ทำได้ง่าย เป็นการใช้วัสดุ ที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้มาทำ ให้เกิดประโยชน์ ในการปรับปรุงบำรุงดิน เป็นการ
ใช้พืช และ สัตว์เป็นแหล่ง ของธาตุอาหารพืช ในดิน ตลอดจน การเขตกรรม และ ระบบการจัดการเกษตร ที่เหมาะสม เป็นการ
หลีกเลี่ยง การใช้สารเคมีสังเคราะห์มาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้เกิดผลผลิต ที่บริสุทธิ์ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และ
ผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุนการผลิต และ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพิษอีกด้วยอย่างไรก็ตาม การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติ
นั้น จะต้องคำนึงถึง ความสมดุลทางเคมี ชีวะ และ กายภาพ เป็นหลัก ซึ่งสามารถดำเนินการได้ โดยวิธีต่างๆ ดังนี้

1. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ระบบพืชประกอบด้วย
1.1 การปลูกพืชต่างชนิดแบบผสมผสาน
1.2 การปลูกพืชหมุนเวียน
1.3 การปลูกพืชสดเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน
1.4 การปลูกพืชคลุมดิน

วิธีดังกล่าวจะให้ประโยชน์ดังนี้
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
2. สะสมธาตุอาหารให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ป้องกันดินเป็นโรค
5. ป้องกันการชะล้าง และ พังทลาย ของดิน
6. ลดศัตรูพืช ในดิน
7. รักษาอุณหภูมิดิน
8. ทำให้ดินร่วนซุยอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง

2. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
2.1 การใช้ปุ๋ยคอกด
2.2 การใช้ปุ๋ยหมักด
2.3 การใช้เศษพืช

การใช้วัสดุดังกล่าวปรับปรุงบำรุงดินจะก่อให้เกิดประโยชน์คือ
1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้ แก่ดิน
2. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้ แก่ดิน
3. เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ให้ แก่ดิน
4. ช่วยลดความเปรี้ยว ความเค็ม ความเป็นด่าง ของดินให้น้อยลง
5. ลดศัตรูพืช ในดิน
6. ช่วยให้ดินร่วนซุย ดินอุ้มน้ำ ได้ดีขึ้น ดินไม่แข็ง
7. ช่วยดินมีพลังสามารถรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น
8. รักษาอุณหภูมิดิน
9. ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น



การทำนาที่บ้านม่วง จ.อุบลราชธานี ด้วยวิธีธรรมชาติ
3. การใช้จุลินทรีย์ (microorganisms) การใช้จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินจะช่วย
3.1 สร้างธาตุอาหาร
3.2 แก้ไขการขาดสมดุล ของจุลินทรีย์ ในดิน
3.3 ช่วยป้องกันดินเป็นโรค
3.4 ช่วยย่อยอินทรีย์สาร และ อนินทรีย์สาร ในดินให้เกิดประโยชน์
3.5 ลดสารพิษ ในดิน และ ทำให้ดินสะอาด



4. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้วัสดุ ที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติ
4.1 การใช้ปุ๋ยมาร์ล (Mar) โดโลไมท์ (Dolomite) หินฟอสเฟต (Rock phosphate) หินฝ่นปะการัง และ เปลือกหอย
กระดูกป่น (Ground bone) เป็นวัสดุปรับปรุงดินเปรี้ยว เพื่อลดความเปรี้ยว ของดินให้น้อยลง และ เป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืช เช่น
แคลเซี่ยม แมกนีเซียม และ ฟอสฟอรัสให้ แก่ดิน

4.2 การใช้แร่ยิปซัม (CaSO 4 2H2O) ลดความเค็ม และเพิ่มธาตุอาหาร เช่น แคลเซียม และกำมะถันให้แก่ดินในระยะเวลาที่
เท่ากัน เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของข้าว ด้วยสารเคมี (บน) และการใช้ปุ๋ยชีวิภาพ (ล่าง)


5. การใช้เขตกรรม (Deep Cultivation) การไถพรวนลึก ช่วยปรับปรุงดินได้ คือ
5.1 ป้องกันการเกิดโรคในดิน
5.2 ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพ ของดิน
5.3 เพิ่มชั้นดินให้สูงขึ้น

6. การใช้น้ำฝน (Rain water)
น้ำฝนเป็นน้ำ ที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติ ขณะ ที่ฝนตกมีฟ้าแลบ ทำให้ก๊าซไนโตรเจนทำปฏิกิริยา กับก๊าซไฮโดรเจนเป็นแอมโมเนีย
(NH3) ก๊าซนี้ละลายปะปนมา กับน้ำฝนช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ในดินเป็นประโยชน์ ต่อพืชที่ปลูกได้

7. การปรับปรุงดิน โดยใช้ไส้เดือน (Eargth worm) ประโยชน์
7.1 พรวนดินทำให้ดินร่วนซุย
7.2 สร้างอินทรียวัตถุ
7.3 เพิ่มธาตุอาหารพืช
7.4 ป้องกันน้ำท่วม
7.5 เพิ่มช่องอากาศ ในดิน


กล่าว โดยสรุปพบว่า ดิน ที่ทำการเกษตรทั่วไป และ ดิน ที่มีปัญหา ถ้านำมาใช้ ในการเกษตรนั้น เราสามารถใช้วิธีธรรมชาติปรับ
ปรุงบำรุงดินได้ โดยเฉพาะ การเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์นำมาใช้ปรับปรุงบำรุงดิน การปรับปรุง
บำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็น เพราะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เกิดความสมดุลภาย ในดิน เป็นการช่วยรักษาทรัพยากร
ดิน ให้เกิดประโยชน์ ในการเพาะปลูกได้ อย่างถาวร ผลผลิตทางการเกษตร ที่ได้ จะเป็นผลผลิต ที่มีคุณภาพบริสุทธิ์ และ ปลอดภัย
(Safety food) จะเป็นคุณประโยชน์ ต่อผู้ผลิต และ ผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุน ในการผลิต และ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย
ผังแนวทาง ในการปรับปรุงบำรุงดิน





จาก... วารสารชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=277881


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:43 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2012 6:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,451. เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าต่อส้มเขียวหวาน


“ส้ม” เป็นไม้ผลที่มีการเพาะปลูกอยู่ทั่วโลกนับร้อยชนิด และได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เนื่องจากผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน และมี
คุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วย แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินเอ และวิตามินซี เปลือกส้มมีน้ำมันหอมระเหย ใช้ปรุงยาหอม
แก้ลมจุกเสียด

ส้มเขียวหวานเป็นส้มพันธุ์หนึ่งที่มีการปลูกในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งมีอากาศหนาวเย็นจะช่วยให้ผิวของ
ผลส้มมีสีเหลืองส้มมาก ขึ้น โดยมีการปลูกมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ลำปาง สุโขทัย พะเยา นอกจากจะเป็นผล
ไม้ที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานแล้ว ยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศปีละหลายสิบล้านบาท โดยมีตลาดส่วนใหญ่อยู่ใน
ทวีปเอเชีย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา

ส้มเขียวหวานเป็นพืชที่ชอบดินที่มีความร่วนซุย ถ้าปลูกในดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีมักจะมีปัญหาจากโรครากเน่า โคนเน่า ทำ
ให้มีการใช้สารเคมีจำนวนมากในการเพาะปลูก เนื่องจากมีแมลงศัตรูและโรคพืชหลายชนิด ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่
พืชผลกลับดูดปุ๋ยไปใช้ได้เป็นส่วนน้อย จึงทำให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนต่ำ นอกจากนี้ยังมีผลเสียต่อสุขภาพของเกษตรกรและ
ผู้บริโภค ตลอดจนส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมีธาตุอาหารตกค้างในดินและปนเปื้อน ออกไปในแหล่งน้ำ

ด้วยเหตุนี้ ผศ.ดร.สมจิตร อยู่เป็นสุข จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และ ศ.ดร.เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม
เมธีวิจัยอาวุโส สกว. จึงได้ศึกษาวิจัยการ เพิ่มประสิทธิภาพของการดูดธาตุอาหารในต้นกล้าส้มเขียวหวาน มะนาว ส้มโอ และส้ม
เกลี้ยง ด้วยเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า โดยได้รับทุนวิจัยจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ร่วมกับรากพืชแบบพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม
น้ำและแร่ธาตุให้แก่พืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัส ซึ่งดินส่วนใหญ่มักมีปัญหาขาดแคลนธาตุนี้ นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุง
โครงสร้างของดิน เนื่องจากเส้นใยของเชื้อราจะช่วยทำให้เกิดการจับตัวกันของอนุภาคดินทำให้ เกิดเม็ดดิน ช่วยทำให้
ดินร่วนซุยเหมาะแก่การระบายน้ำและอากาศ รวมทั้งช่วยทำให้พืชต้านทานต่อจุลินทรีย์ในดินที่เป็นสาเหตุของโรคพืชได้มาก
ขึ้นด้วย เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่ามีอยู่ในธรรมชาติ แต่ในพื้นที่เพาะปลูกอาจมีปริมาณน้อยและไม่ใช่ชนิดที่มีประสิทธิภาพดี
ต่อการ เจริญเติบโตของต้นส้ม ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบหาเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่า เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา
ไปสู่การผลิตหัวเชื้อและส่งเสริมให้มีการนำไปใช้ ประโยชน์เป็นปุ๋ยชีวภาพมากยิ่งขึ้น

จากการศึกษาพื้นที่เพาะปลูกส้มในภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย สวนส้มเขียวหวานในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย พบ
ว่าเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าจะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของต้นมะนาว ส้มโอ และส้มเขียวหวานพันธุ์คลีโอพัตรา ฟรีมองต์
โอเชียน และสายน้ำผึ้ง ทั้งนี้ เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่ามีผลต่อการเจริญเติบโตของกิ่งตอนส้มเขียว หวานสายพันธุ์ ต่าง ๆ
และพืชตระกูลส้มบางชนิด เช่น มะนาว และ ส้มโอ ที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในระดับที่แตกต่างกัน โดยระดับ
ฟอสฟอรัสในดินที่บริเวณสวนส้มมีผลต่อเปอร์เซ็นต์การเข้าสู่รากของ เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าในต้นส้ม ทำให้เชื้อราอาร์
บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าในรากและปริมาณสปอร์ในดินลดลง

ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณมาก จะทำให้ศักยภาพของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์
ไรซ่าในการส่งเสริมการเจริญของ ต้นส้มลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าช่วยให้ต้นกล้ามะนาวและ ส้ม
โอดูดธาตุอาหารจากดินได้ดี และโตเร็วกว่าต้นส้มชนิดอื่น รวมทั้งส้มเขียวหวานพันธุ์คลีโอพัตราและโทรเยอร์ที่นิยมใช้เป็นต้นตอ
ของส้ม สายน้ำผึ้ง ต้นกล้าของมะนาวและส้มโอมีการตอบสนองต่อเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าได้ ดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
ต้นกล้าของส้มชนิดอื่น จึงน่าจะนำมาทดสอบเพื่อใช้เป็นต้นตอของส้มเขียวหวานพันธุ์สายน้ำผึ้ง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเพาะ
ปลูก การใช้ปุ๋ยและสารเคมี

ผศ.ดร.สมจิตร อยู่เป็นสุข เป็นผู้ทำการวิจัยทางไมคอร์ไรซ่า ในกลุ่มวิจัยทรัพยากรพันธุกรรมและธาตุอาหารพืชที่มหาวิทยาลัยเชียง
ใหม่ ที่สนับสนุนโดย สกว. ซึ่งนอกจากส้มแล้ว ไม้ยืนต้นชนิดอื่น เช่น กาแฟ และยางพารา ยังได้ประโยชน์ จากการติดเชื้อราไม
คอร์ไรซ่าที่รากด้วย กล้าไม้ที่มีเชื้อราไมคอร์ไรซ่าจะแข็งแรงและโตเร็ว มีอัตราการรอดสูง และสามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่อนำออก
ลงปลูกในแปลง


ผู้สนใจในการใช้เชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ่าในพืช ติดต่อสอบถามได้ที่ ผศ.ดร.สมจิตร อยู่เป็นสุข ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยา
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร. 0-5394-1946-8 ต่อ 143 หรือ e-mail : scboi027
@chiangmai.ac.th.



http://news.enterfarm.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:23 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/01/2012 6:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,452. มะม่วงนนทิพย์



มะม่วงนนทิพย์ ผลทั้งปี อร่อยทั้งดิบสุก


มะม่วงนนทิพย์ เป็นมะม่วงสายพันธุ์เก่าแก่ มีถิ่นปลูกในแถบจังหวัดนนทบุรี และปลูกกันมากในย่านอำเภอไทรน้อย และเขต
ใกล้เคียง เช่น ย่านตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็นมะม่วงที่มีรสชาติดีทั้งผลดิบและสุก โดยผลดิบหรือผลแก่จัด จะมี
รสหวานมัน เนื้อแน่นกรอบ สามารถรับประทานเปล่าๆ ไม่ต้องจิ้มน้ำปลาหวาน หรือเกลือป่นได้เลย เพราะไม่มีรสเปรี้ยวแม้
แต่นิดเดียว คนสมัยก่อนนิยมเอาผลดิบหรือผลแก่จัดปอกเปลือกแล้วเฉาะเป็นชิ้นใส่จานรับ ประทานยามว่างอร่อยมาก

ส่วนผลสุกเนื้อจะแน่น ไม่มีเสี้ยน รสหวานจัดมาก ถ้าหากเทียบความหวานกับมะม่วงน้ำตาลเตา ที่ถือว่าเป็นมะม่วงที่มีรสหวาน
ที่สุด น่าจะหวานหย่อนกว่าเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะหวานใกล้เคียงหรือหวานกว่ามะม่วงยายกล่ำที่เป็นสายพันธุ์ของจังหวัด นนทบุรี
เหมือนกัน คนโบราณนิยมรับประทานเนื้อจากผลสุกของ “มะม่วงนนทิพย์” กับข้าวสวยร้อนๆ หรือกินกับข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ๆ
ยังร้อนและนุ่มอยู่จะทำให้ได้รสชาติหวานอร่อยแบบพอดี หากรับประทานกับข้าวเหนียวมูนจะหวานมากเกินไป เพราะเนื้อ
ของ “มะม่วงนนทิพย์” มีความหวานจัดอยู่แล้ว

นอกจากนั้น ในสมัยก่อนชาวบ้านที่ปลูก “มะม่วงนนทิพย์” ไว้ มักจะเก็บผลดิบและผลสุกใส่ชะลอมเป็นของฝากให้ผู้นับถือหรือ
ผู้เป็นที่รัก ชื่นชอบมาก ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ “มะม่วงนน-ทิพย์” คือ จะติดผลตลอดปี หรือที่นิยมเรียกกันว่า ทะวายนั่นเอง
จึงทำให้ได้รับความนิยมปลูกกันแพร่หลายในยุคสมัยก่อน เพราะสามารถเก็บผลรับประทานหรือเก็บผลขายได้ตลอดไม่ขาดต้น
แต่ในปัจจุบันหาซื้อผลรับประทานได้ยากมาก และเชื่อว่าคนรุ่นใหม่ น้อยคนนักจะรู้จักมะม่วงพันธุ์นี้

มะม่วงนนทิพย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ เหมือนกับมะม่วงทั่วไป คือ MANGIFERA INDICA LINN. อยู่ในวงศ์ ANACAR-
DIACEAE เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบเป็นรูปใบหอก แต่ใบของ “มะม่วงนน-ทิพย์”
จะมีขนาดเรียวเล็กกว่าใบของมะม่วงทั่วไป ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาด
เล็กจำนวนมาก เป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรีคล้ายผลมะม่วงยายกล่ำแต่ทรงผลจะสวยกว่า ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ย
4-5 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม เนื้อเยอะเมล็ดลีบ
เสี้ยนน้อย รสชาติอร่อยทั้งผลดิบและผลสุกตามที่กล่าวข้างต้น ติดผลตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และ เสียบยอด มีต้น
ขายที่ตลาดนัด ไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แผง “คุณเล็ก” ตรงกันข้ามโครงการ 17 กับ แผง “คุณหลง-
คุณก๊อต” ตรงกันข้ามโครงการ 15 ราคาสอบถามกันเองครับ.



นายเกษตร/ไทยรัฐ

http://news.enterfarm.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:24 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/01/2012 6:09 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,453. วิธีการเลี้ยงปลาทะเลสวยงาม





ปลาทะเลนอกจากจะบริโภคได้แล้ว บางคนยังนำปลาทะเลบางชนิดมาเลี้ยงในตู้กระจกได้อีกด้วย เพราะปลาทะเลส่วนมากจะมี
สีสันสดใสสวยงาม รูปร่างลักษณะตลอดจนการดำรงชีวิต น่าสนใจ ปลาทะเลที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ส่วนใหญ่จะเป็นปลา
ตัวเล็ก รูปร่างและสีสันแปลกๆ ที่อาศัยอยู่ในเขตชายฝั่งบริเวณแนวปะการัง แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงปลาทะเลในตู้กระจก โอกาส
รอดชีวิตมีน้อย ด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ปลาที่จับมามีสุขภาพไม่แข็งแรง คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม และประการสำคัญ คือ
เรายังไม่สามารถที่จะสร้างสภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาให้เหมือนกับในทะเลได้ แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงปลาทะเลในตู้ สิ่ง
ที่ต้องทำให้ดี คือ รักษาสภาพภายในตู้ให้เหมาะสม และสิ่งที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้


การเลือก ซื้อปลา
ปลาทะเลสวยงามมีหลายชนิด เช่น ชนิดที่มีสีอ่อน หรือสีฉูดฉาด ตัวเล็กชอบว่ายกันเป็นฝูง หรือตัวโตที่ชอบอยู่เดี่ยวๆ ซึ่งชนิดของปลา
ที่จะเลี้ยงขึ้นอยู่กับความชอบของบุคคล

แต่สำหรับผู้เริ่มเลี้ยงควรเลือกเลี้ยงปลาที่เลี้ยงง่าย ตายยาก ราคาไม่แพงและควรเลือกปลาขนาดกลาง หรือตัวเล็กซึ่งจะบอบช้ำ
ระหว่างการเดินทางน้อยกว่าปลาตัวใหญ่ ทั้งในเรื่องอาหารและการทำความสะอาดตู้ ต่อมาเมื่อมีประสบการณ์และความพร้อมในด้าน
สถานที่ เงินทุน หรือความพร้อมในด้านอื่นๆที่สำคัญแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนมาเลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่ หรือปลาที่เลี้ยงยากต่อไป และ
เมื่อเลือกชนิดของปลาได้แล้วในการเลือกซื้อปลาที่ร้านขายปลา ควรซื้อจากร้านที่การคัดเลือกปลาคุณภาพดี มีการดูแลรักษา
คุณภาพปลา เลือกจากร้านที่ยินดีให้ความรู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงปลาได้ อย่างปลอดภัย เลือกซื้อจากร้านที่เต็มใจ
ให้บริการช่วยแก้ปัญหาในการเลี้ยง และควรเลือกซื้อปลาที่ราคาสมเหตุสมผลคุ้มกับคุณภาพ คำแนะนำ และบริการต่างๆ


ตู้ปลา
ที่นิยมใช้เลี้ยงปลาในปัจจุบันเป็นตู้ปลาที่ประกอบด้วยกระจกล้วนชนิดที่ไม่ ใช้กรอบโดยใช้ซิลิโคนเชื่อมต่อ ตู้ปลาประเภทนี้มีความ
โปร่งใสสวยงาม และมีความแข็งแรงดี ตู้ปลาที่เป็นกรอบโลหะไม่เป็นที่นิยมและไม่ควรใช้ เนื่องจากกรอบโลหะเกิดสนิมจากน้ำทะเล
ได้ง่าย อายุการใช้งานไม่นานและไม่สวยงาม ตู้ปลาที่จะใช้เลี้ยงปลาทะเลไม่ควรมีขนาดเล็ก ควรมีขนาดใหญ่ปริมาณของน้ำยิ่งมาก
เท่าใดยิ่งดีลักษณะตู้กระจกที่ใช้เลี้ยง ปลานั้นสำหรับมือใหม่ควรเลือกใช้ขนาด 50-75 แกลลอน เพราะหากตู้เล็กกว่านี้การควบคุม
คุณภาพน้ำจะทำได้ยากเมื่อมีสารพิษเกิดขึ้น เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ปลาตายได้ และตู้ปลาที่ดีควรมีฝาปิดเพื่อป้องกันปลากระ
โดดออกจากตู้


รูปแบบของการจัดตู้ปลา
การจัดตู้ปลาทะเลที่นิยมกันในปัจจุบัน มี 2 แบบคือ

- ตู้ปลาธรรมดา เป็นตู้ปลาที่ตกแต่งด้วยวัสดุธรรมดาส่วนมากจะไม่มีชีวิต เช่น ซากปะการัง เศษหิน ดิน ทราย เปลือกหอยและจะมี
สิ่งมีชีวิตอยู่ชนิดเดียวคือปลา ตู้ปลาชนิดนี้การดูแลรักษาจะง่าย โอกาสการเกิดโรคจะน้อยตู้ปะการัง และเป็นตู้ปลาที่มีความสวยงาม
ธรรมดา ต้นทุนการจัดตู้ไม่สูงมากนัก

- ตู้ปะการัง จะมีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอาศัยอยู่ด้วย เช่น ปะการังที่ยังมีชีวิต ก้อนหินที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอาศัยอยู่ หรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลาดาว ฟองน้ำ เพรียง เป็นต้น ตู้ปลาชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีทุนทรัพย์ และชอบความตื่นเต้น แปลกใหม่ชอบ
ความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะตู้ชนิดนี้จะมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดจึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา แต่ตู้ปลาชนิดนี้จะเกิด
โรคและสิ่งรบกวนได้ง่ายและต้องใช้งบประมาณค่อนข้าง สูงต้องการความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
น้ำและคุณภาพน้ำ


การเลี้ยงปลาทะเลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้น้ำเค็ม โดยเฉพาะน้ำทะเลจากธรรมชาติจะดีที่สุด แต่หากไม่สามารถหาน้ำทะเล
จากธรรมชาติได้ก็จำเป็นต้องสร้างน้ำทะเลเองโดยการ เติมเกลือทะเลลงในน้ำเปล่าหรือถ้าจะให้ดีควรใช้น้ำกลั่นเพราะน้ำประปาจะมี
ปริมาณฟอฟเฟตสูงเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำได้แล้วจากนั้น คนให้เกลือละลาย ซึ่งเกลือชนิดนี้สามารถหาซื้อ
ได้ตามร้านขายสัตว์น้ำทั่วไปหรือสวนจตุจักร


ในกรณีที่สามารถหาน้ำทะเลธรรมชาติได้ ควรเป็นน้ำทะเลที่ใสสะอาด ปราศจากสารเคมีและสารพิษต่างๆ ก่อนนำมาใช้ต้องกรองด้วย
วัสดุต่างๆ เช่น กรวด ทรายหยาบ ทรายละเอียด แล้วกรองด้วยถุงกรองที่มีความละเอียดของตาอวนอยู่ในช่วง 10-20 ไมครอน
ส่วนความเค็มของน้ำทะเลที่ใช้เลี้ยงปลาทะเลโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 30-35 พีพีที (ส่วนในพัน) อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับชนิดของ
ปลาด้วย หากปลาอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำความเค็มอาจต่ำกว่านี้ก็ได้


ส่วนระดับ อุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ในช่วง 24-28 องศาเซลเซียส และระดับความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ของน้ำทะเลควร
อยู่ระหว่าง 7.8-8.2 และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเลี้ยงปลาทะเลในตู้กระจกคือปริมาณออกซิเจนที่ ละลายในน้ำซึ่งปริมาณที่
เหมาะสมไม่ควรน้อยกว่า 5 พีพีเอ็ม



http://www.eazydo.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 7:24 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/01/2012 6:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,454. ธาตุอาหาร สำหรับเห็ด


เห็ดเป็นพืชชั้นต่ำไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้(Hetrotroph)จึงจำเป็นต้องอาศัยอาหารสำเร็จรูปจากแหล่งต่างๆเช่นไม้ผุ
หรือปุ๋ยหมักเป็นต้น เป็นเห็ดที่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยอาหารเชิงซ้อน โดยเฉพาะ พวกที่ให้พลังงานได้เช่นธาตุคาร์บอนที่อยู่ใน
รูปเชิงซ้อน ได้แก่

พวกลิกนิน (Lignin) ฮิมิเซลลูโลส (Hemicellulouse) โดยเส้นใยเห็ดมีน้ำย่อยทำการย่อยธาตุอาหารด้วยตัวมันเองได้ และนำ
เอาไปใช้พลังงานที่ใช้ในการเจริญเติบโต และแบ่งเซลของมันจากเหตุผลดังกล่าว จึงสามารถใช้วัสดุเพาะโดยตรงได้เลย โดยไม่
จำเป็นต้องทำการหมักเสียก่อนยกเว้น วัสดุบางชนิดที่มียางที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด หรือ เป็นวัสดุที่แข็งยาว ยากต่อ
การนำเอาไปบรรจุในถุง เช่น ฟางข้าวต้น ข้าวโพด ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ เป็นต้น ควรทำการหมักให้นิ่มก่อน หรือ ให้จุลินทรีย์
ช่วยย่อยให้ระดับหนึ่งก่อน แต่ไม่ถึงกับหมักจนเน่าสลายเหมือน การหมักปุ๋ยเห็ดฟาง เห็ดแชมปิญอง

ธาตุอาหารเกลือแร่และวิตามินหลักที่เห็ดต้องการมีเช่นเดียวกับพืชโดยทั่วไปจะต่างกันเพียงแต่รูปร่างของธาตุอาหารเท่านั้นเห็ดต้อง
การมากแต่มักจะขาดแคลนในปุ๋ยหมัก ได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน เกลือแร่และวิตามิน

ธาตุคาร์บอน (Carbon) สามารถใช้คาร์บอนที่สลับซับซ้อนได้ ดังนั้นการใช้วัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อย จากไม้เนื้ออ่อนเหมือนเห็ดที่
เพาะในถุงพลาสติกชนิดอื่น ได้แต่ถ้ามีการเติมแหล่งคาร์บอนที่อยู่ในรูปง่ายเช่นเซลลูโลสแป้งและน้ำตาลเข้าเสริมในวัสดุเพาะใน
ปริมาณที่พอควร เส้นใยของเห็ดก็จะเจริญได้ดี

ธาตุไนโตรเจน (Nitrogen, N.) เป็นเห็ดที่มีโปรตีนสูงมาก ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ โปรตีนโดยมีอยู่ประมาณ 16%
ดังนั้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดจะต้องอาศัย ไนโตรเจนเป็นอาหารที่สำคัญด้วย ไนโตรเจน ที่เห็ดสามารถนำไปใช้ได้ดีนั้น คือ
ไนโตรเจนในรูปอินทรีย์สารที่ให้ผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดมากที่สุด คือ โปรตีนที่มีอยู่ในส่าเหล้า รำละเอียด ใบกระถิ่นป่น แต่
จากการศึกษาการใช้ไนโตรเจนในรูปของ อาร์จินีน (Arginine) จะช่วยในการกระตุ้นให้เห็ดออกดอกมากขึ้น และดีขึ้น

เกลือแร่ (Minerals) เกลือแร่ก็เป็นอาหารที่สำคัญของเห็ดโดยแบ่งเป็นกลุ่มคือ :-

ที่ต้องการมาก ได้แก่ ฟอสฟอรัส (P) โปรแตสเซียม (K) กำมะถัน (S) แคลเซียม (Ca) แมกนีไซด ์(Mg)

ที่ต้องการน้อย ได้แก่ โมลิปตินัม (Mb) โบรอน (B) ทองแดง (Cu) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) และอื่นๆ

ฟอสฟอรัส จากดับเบิลฟอตเฟสมีผลทำให้เส้นใยเห็ดแข็งแรงเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ส่วนธาตุแมกนีเซียมที่อยู่ในรูปของดีเกลือ
(MgSo4 7 H2O) และฟอสเฟตในรูป Potassium dihydrogen phosphate มีผลทำให้เส้นใยของเห็ดเจริญเติบ
โตเข้าไปในวัสดุเพาะ และรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้เร็วยิ่งขึ้น แต่หากใส่มากเกินไปดอกเห็ดจะมีก้านยาวสีซีดดอกเห็ดมีขนาดเล็ก
ไม่ค่อยสมบูรณ์ หากนำไปผสมน้ำรดตอนที่ดอกเห็ดเกิดเป็นดอกแล้ว ดอกเห็ดจะฝ่อตายได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบว่าธาตุบางอย่าง
เช่น โซเดียมที่มีอยู่ในรูปเกลือแกง NaCl มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด เป็นการยืนยันว่าพื้นที่ใดที่มีอิทธิผลของน้ำ
ทะเลเข้ามาถึงน้ำที่มีความเค็ม เช่นน้ำกร่อยหากนำมารดในวัสดุเพาะเห็ดจะให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ
น้ำทะเล หรือจำนวนเกลือแกง

วิตามินหรือฮอร์โมน Vitamins จากการศึกษาพบว่ามีวิตามิน บี (Thiamine) ในระดับความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตรสามารถเร่ง
การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดได้

ฮอร์โมน กิบเบอราอิค แอซิค Giberellic Acid ที่สกัดจากเชื้อราที่เรียกว่า Gibberella ferjikuroi (Saw) Wollen
ขนาดความเข้มข้น 0.001% มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ดการใช้ปุ๋ยยูเรียจำนวนน้อย รดที่วัสดุเพาะหรือดอกเห็ดจะทำ
ให้เส้นใยหนา ดอกเห็ดมีน้ำหนักดี



http://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlbs004/kaomonhed.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:45 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/01/2012 7:32 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,455. มหัศจรรย์ของหนึ่งเมล็ด





อาจไม่มีใครเคยนับว่า ข้าว 1 ถัง มีกี่เมล็ด...

เช่นเดียวกัน ในการทำนาแต่ละบิ้งแต่ละแปลงในแต่ละฤดูเก็บเกี่ยวนั้น ผลิตข้าวออกมาได้กี่เมล็ด แต่คิดๆดูแล้ว ตัวเลขคง
มากมายมหาศาล

ทำไมคนโบราณจึงสอนลูกหลานให้กินข้าวเกลี้ยงจาน อย่าให้เหลือแม้แต่เมล็ดเดียว บางทีอาจเป็นเพราะคนโบราณนั้นตระหนัก
ถึงความมหัศจรรย์นี้ ไม่ว่าข้าวที่เก็บเกี่ยวได้แม้ว่ามีมากมายมหาศาลจนไม่อาจนับได้ถ้วนในแต่ละฤดูกาลผลิตจนต้องตวงเป็นถัง
เป็นเกวียน เป็นตันนั้นแท้ที่จริงทั้งหมดก็ล้วนเกิดจากข้าวเพียงเมล็ดเดียว!!

ชาวนาอินทรีย์ที่คัดพันธุ์ข้าวให้เหมาะกับนาด้วยตัวเอง จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดีกว่าใคร เพราะในความพยายามคัดเลือกพันธุ์นั้น เริ่ม
ต้นตรงจุดที่ใช้ข้าวเพียงเมล็ดเดียวนำไปปลูกให้งอก

ข้าว 1 เมล็ด เมื่องอกเป็นต้นข้าว สามารถแตกออกมาได้มากมายอาจมากถึงหลายร้อยต้นในกอเดียว แต่โดยทั่วไป อาจแตก
ออกมาได้ 60 ต้น ทั้ง 60 ต้นอาจมี 50 ที่สมบูรณ์ออกรวง

รวงข้าวขนาดกลางๆทั่วไป แต่ละรวงให้เมล็ดข้าว 250-300 เมล็ด คัดเอาเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์พร้อมจะงอกได้ดีไม่ถูกมอดแมลง
เจาะกิน อาจได้ 200 เมล็ดต่อรวง

ฉะนั้น จากข้าวเมล็ดเดียวเมื่อนำมาเพาะปลูกไว้เพียงรอบการผลิตเดียวได้กลายเป็นข้าว 10,000 เมล็ด

ข้าว 10,000 เมล็ดที่ได้นี้ เมื่อนำมาปลูกในรุ่นต่อไป ชาวนาที่พากเพียรนั้น จะค่อยๆแยกปลูกทีละเมล็ด ทีละเมล็ด จนครบหมื่น
ก็จะให้ผลผลิตข้าวในรอบการผลิตต่อมาเป็นหนึ่งร้อยล้านเมล็ด!!

ข้าวทั้งร้อยล้านเมล็ด เมื่อนำไปปลูกต่อ ก็หมายถึง ข้าวมากมายมหาศาล ที่มีไว้ให้ได้กินอิ่มหนำไม่มีหมด

หากคนไทยกินข้าวเหลือคนละ 2 เม็ด ในจานทุกวัน วันหนึ่งกินข้าวสามมื้อ จะมีข้าวเหลือวันละ 6 เม็ด คนไทย 65 ล้านคน มี
พฤติกรรมเช่นเดียวกัน ในวันหนึ่งจะมีข้าวเหลือ 390 ล้านเม็ด 1 ปี 142,000 ล้านเม็ด ข้าวสาร 1 กก. มี 30,000 เม็ด ข้าว
ที่กินเหลือทั้งหมดนี้ คิดเป็นน้ำหนักมากถึง 4,000 ตัน

ข้าวสาร 4,000 ตัน มากมายขนาดใหนนั้น คิดง่ายๆว่า พอสำหรับเลี้ยงคนกินข้าวคราวละมากๆอย่างคนกินจุมื้อละ 2-3 ชาม
โตๆ ได้ถึง 10,000 คน ไปได้ทั้งปี หรือถ้าคนที่กินน้อยๆ มื้อละจานเดียว ก็อาจพอเลี้ยงได้ถึง 20,000 คน





ฉะนั้น นับแต่วันนี้ไปทุกๆคนต้องกินข้าวให้หมดจานนะครับ



http://bamrungrai.fix.gs/index.php?topic=191.0


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/01/2012 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,456. ความมหัศจรรย์ของข้าวไทย


สารอาหารในเมล็ดข้าวคนไทยปลูกข้าว และบริโภคข้าว เป็นอาหารหลัก กรรมวิธีการดั้งเดิมในการให้ได้มาด้วยวิธีการตำด้วยครกไม้
โดยใช้แรงงานคน ข้าวที่นำมาหุงเป็นข้าวที่เรียกว่า ข้าวซ้อมมือ ซึ่งเป็นข้าวสดที่มีสารอาหารต่างๆอยู่ค่อนข้างครบ มีประโยชน์ต่อ
ร่างกายมาก ต่างจากข้าวสารที่ผ่านการขัดสีหลายครั้งในกระบวนการใช้เครื่องจักร สีข้าว เพื่อให้ได้ข้าวสารสีขาวสะอาด ถูกตาน่า
มอง แต่วิธีการใช้เครื่องจักรจะทำให้สารอาหารที่ถูกขัดสีมากๆหลายครั้ง กลายเป็นส่วนของรำข้าวที่ถูกนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ ส่วนที่
เหลือเป็นแป้ง ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อย เพราะการใช้เทคโนโลยีการขัดสีที่ต้องการความรวดเร็ว เพื่อให้ได้ข้าวขาว สำหรับการ
ส่งออก กระบวนการสีข้าวและส่วนที่ได้จากการสีข้าว 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม)

ข้าวเปลือก 1 ตัน (1,000 กก.)
ข้าวกล้อง 770 กก.
แกลบ 230 กก.
ข้าวสาร 660 กก.
รำ 110 กก.
ข้าวเต็มเมล็ด + ต้นข้าว 420 กก.
ปลายข้าว (ข้าวหัก) 240 กก.


ข้าวเป็นพืชที่มีสารอาหารหลักสำคัญ หนึ่งใน 5 ของกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นของมนุษย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน เกลือแร่
และ วิตามิน ข้าวเป็นพืชที่ให้สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท ที่รู้จักกันทั่วไปว่า มีหน้าที่ สร้างพลังงานให้กับร่างกาย เพราะในเมล็ดข้าวมีคาร์
โบไฮเดรท อยู่ ประมาณ 75–80 % ซึ่งอยู่ในรูปของ แป้ง (starch) และไขมัน ข้อมูลสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์
มี 5 กลุ่ม ดังนี้

1. คาร์โบไฮเดรทในเมล็ดข้าว
คาร์โบไฮเดรทในเมล็ดข้าวสาร 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี่ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย การขัดสีด้วยเครื่องจักรในปัจจุบัน
ทำให้เกิดคาร์โบไฮเดรท 2 ชนิด ในธรรมชาติ

- คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อนแบบสมบูรณ์ ที่ยังมีอยู่ครบในข้าวกล้อง เป็นรูปแบบของคาร์โบไฮเดรทที่ให้พลังงานอย่างต่อเนื่อง เพราะยัง
มีไฟเบอร์อยู่ครบถ้วน

- คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อนแบบไม่สมบูรณ์ ที่คงเหลือในข้าวสารหลังจากถูกขัดสีเป็นรำออกจนเป็นข้าวสารขาว ทำให้สูญเสียไฟเบอร์ไป
จำนวนมาก “ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อนแบบสมบูรณ์ กับคาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อนแบบไม่สมบูรณ์ มีผลอย่างมากต่อ
กลไกสร้างพลังงานภายในร่างกายมนุษย์ ส่วนหนึ่งอยู่ที่ปริมาณไฟเบอร์ที่แตกต่างกัน การบริโภคคาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อนแบบสมบูรณ์
อย่างข้าวกล้อง ซึ่งมีไฟเบอร์อยู่ครบถ้วน เพราะไม่ได้ผ่านขั้นตอนการขัดสี เมื่อเข้าไปในร่างกายไฟเบอร์ที่มีอยู่จะทำหน้าที่ขวางกั้นเอน
ไซม์ที่เข้ามาดูดกลูโคสเข้าไปในกระแสเลือด ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ต่อกลไกสร้างพลังงานในร่างกาย” (เฉลิมวุฒิ สฤษดิกุล,
2459.)

2. ไขมันในเมล็ดข้าว ไขมันในเมล็ดข้าว เป็นไขมันที่มีคุณภาพดี เพราะเป็นไขมันที่มีไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการควบคุม
ระดับคอเลสเตดรอลในส้นเลือด ช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก การขัดสีเมล็ดข้าวด้วยเครื่องจักร ทำ
ให้เยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวหลุดอกมาที่รำ ที่มีไขมันอิสระไม่อิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ (PUFA) (Free Fatty Acid) ต่อร่างกาย

3.สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidants)
- หมายถึงสารที่มีคุณสมบัติช่วยในการป้องกันการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายเสื่อมสภาพ
- มีส่วนสำคัญในกลไกสร้างภูมิต้านทานโรค
- เป็นสารประกอบที่อยู่ในเมล็ดข้าวและมีมากกว่าร้อยชนิด สารต้านอนุมูลอิสระประเภทวิตามิน เกลือแร่ หรือเอนไซม์ มีประโยชน์
ช่วยป้องกันร่างกายจากอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ซึ่งเชื่อว่า เป็นสาเหตุจากการเกิดรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ภาวะแก่ก่อนวัยของ
ร่างกาย หรือการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง-สารต้านอนุมูลอิสระสำคัญที่อยู่ในเมล็ดข้าวประกอบด้วย แกมมา-ออไรซานอล โทโคฟีรอล และ
โทโคไตรอีนอล


4.กลุ่มวิตามิน (Vitamin)
สารอาหารกลุ่มวิตามิน เป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่ร่างกายมีความต้องการใช้ประโยชน์ สารอาหารเหล่า
นี้มีอยู่ในอาหารที่รับประทาน ในเมล็ดข้าวก็มีวิตามินเหล่านี้เป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับต่างๆกัน วิตามินเหล่านี้ ได้แก่·

วิตามิน เอ (A) (Beta Carotene) ช่วยในการเจริญเติบโต บำรุงสายตาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ป้องกันโรคตาฟางในตอนกลางคืน
และช่วยพัฒนากระดูกและฟัน

วิตามิน บี 1 (B1) (Thiamine) ช่วยในการปรับกลไกการย่อยคาร์โบไฮเดรทในร่างกาย ให้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายรับอาหารได้มากขึ้น
เรียกว่าเจริญอาหาร ช่วยสนับสนุนระบบการทำงานของประสาท หัวใจ และกล้ามเนื้อ

วิตามิน บี 2 (B2) (Riboflavin) ช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และ เม็ดเลือดแดง ช่วยรักษาระดับการหายใจของเลล์ ช่วยให้มี
การเผาผลาญการใช้คาร์โบไฮเดรท ไขมัน และ โปรตีนในร่างกาย

วิตามิน บี 3 (B3) (Niacin) สนับสนุนการหมุนเวียนระบบการไหลเวียนของโลหิต และ ลดระดับคอเลสเตอรอล ในเลือด ลดความดัน
เลือด ทำให้การดูดซึมโปรตีน ไขมัน และน้ำตาในเลือดดีขึ้น

วิตามิน บี 5 (B5) (Pantothenic Acid) ช่วยการสร้างเซลใหม่ๆ และสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยการพัฒนาระบบประสาทส่วน
ล่าง ทำให้ผ่อนคลายความเครียด

วิตามิน บี 6 (B6) (Pyridokine) ช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ รักษาสมดุลของปริมาณเกลือแร่ โซเดียมและฟอสฟอรัส ภายในร่าง
กาย รวมทั้งการสร้างกรดอะมิโน ในร่างกาย

วิตามิน ซี (C) (Ascorbic Acid) ช่วยการดูดซึมของธาตุเหล็กจากอาหารผ่านเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ช่วยสมานแผล รักษาเหงือกและ
ฟัน ลดอาการโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือ ลักปิดลักเปิด สร้างภูมิคุ้มกันโรค เส้นเลือดแข็งแรง และป้องกันการเกิดสารมะเร็งจากสารไนเตรท

วิตามิน ดี (D) ช่วยการดูดซึมเกลือแร่ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ทำให้กระดูกแข็งแรง ลดอาการโรคกระดูกอ่อน ช่วยการทำงานของ
หัวใจ และรักษาระบบประสาทส่วนกลาง

วิตามิน อี (E) ช่วยชะลอการแก่ของเซลล์ ให้การกระจายออกซิเจนในกระแสเลือดดีขึ้น ป้องกันการสะสมและการเกาะของแคลเซียม
ในหลอดเลือด เป็นสารหลักของสารต้านอนุมูลอิสระ

โฟลิค แอซิด (Folic Acid) เป็นสารที่ช่วยในการสร้าง DNA และ RNA ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และการ
พัฒนาระบบการสืบพันธุ์ของร่างกาย


5. กลุ่มเกลือแร่ (Mineral) เกลือแร่ เป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง เช่นเดียวกับวิตามิน ร่างกายจึงจะต้องได้สารอาหาร
ชนิดนี้มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ประกอบด้วย

แคลเซียม (Calcium) เป็นเกลือแร่ที่สำคัญต่อการสร้างกระดูกและฟัน ลดความดันของเลือด ควบคุมการเต้นของหัวใจ ให้การทำงาน
ของไตเป็นปกติ รักษาระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท


โพแทสเซียม (Potassium) รักษาการเต้นของหัวใจให้ปกติ กระตุ้นการทำงานของของระบบไต ลดความดันเลือด รักษาสุขภาพผิวพรรณ

แมกนีเซียม (Magnesium) ช่วยปรับการทำงานของร่างกายในการนำแคลเซียม และวิตามิน ซี. ไปใช้ได้ดี ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ
หัวใจ รักษาระดับการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ช่วยให้ร่างกายสามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้ดี

เหล็ก (Iron) สารอาหารที่เป็นเหล็ก เป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบิน ซึ่งใช้ในการส่งออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกาย
ทำให้เลือดสามารถสรางความต้านทานต่อเชื้อโรคได้ดี

สังกะสี (Zinc) เป็นสารช่วยในการสร้างโปรตีน ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ รักษาเสถียรภาพของเลือด จำเป็นต่อการพัฒนาระบบ
การสืบพันธุ์ และฮอร์โมนเพศชาย และเป็นส่วนของสารต้านอนุมูลอิสระ


แมงกานีส (Manganese) เป็นสารช่วยการย่อยกรดอะมิโน ช่วยการนำวิตามิน บี 1 และ วิตามิน อี. ไปใช้ในการย่อยอาหาร ไขมันและ
คอเลสเตอรอล ช่วยการสร้างกระดูก และเป็นส่วนของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ


ทองแดง (Copper) เป็นสารช่วยการดูดซึมของธาตุเหล็ก ช่วยให้ร่างกายนำ

วิตามิน ซี. ไปใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อ เซลล์ เม็ดเลือดแดง และกระดูก

ไอโอดีน (Iodine) เป็นสารช่วยการพัฒนาต่อมไธรอยด์ ช่วยการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน และช่วยควบคุมพลังงานในร่างกาย


อาการของโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร (Mulnutrition)
1. ขาด วิตามิน บี 1 (Thiamine) ทำให้เป็นโรคเหน็บชา อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอาการชาที่บริเวณปลายมือ ปลายเท้า ปวดเมื่อย
น่องบ่อยๆ อาจเกิดตะคริวเป็นระยะๆ

2. ขาด วิตามิน บี 2 มีอาการริมฝีปากแห้ง แตก มุมปากซีดและแตกจนอักเสบ เรียกว่า โรคปากนกกระจอก (Angular Stoma-
titis) นอกจากนี้ตามใบหน้าและผิวหนังส่วนต่างๆ จะแตกเป็นสะเก็ด มีอาการคันในดวงตาเวลาโดนแสงแดดจะรู้สึกแสบ

3. ขาด วิตามิน บี 3 หรือ ขาด ไนอาซิน ผิวหนังตกสะเก็ด ผิวลอก เป็นอาการเฉียบพลัน ตามผิวหนังจะเกิดผื่นลักษณะเป้นถุงน้ำ โดย
จะเกิดบริเวณที่ไม่ค่อยได้สัมผัสแสงแดด

4. ขาดวอตามิน บี คอมเพล็ก (ประกอบด้วย วิตามิน บี 1, บี 2, บี 3, บี 5 และ บี 6) จะเกิดอาการผื่นคันตามผิวหนังจนถึงขั้น ภูมิแพ้
ได้ ในเด็กอาจมีอาการด้านระบบประสาท เช่น ชักง่าย เป็นต้น

5. ขาด เกลือแมกนีเซียม ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ถ้าเป็นระดับอ่อนถึงปานกลาง จะไม่มีอาการภายนอกให้เห็น แต่อาการ
ภายในจะถูกทำลาย จนเกิดผลแทรกซ้อนขั้นรุนแรง ได้แก่ หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ อัมพาต หรือ อัมพฤกษ์

วิตามิน บี คอมเพล็กส์ และแมกนีเซียม ล้วนมีอยู่ในเมล็ดข้าว ที่คนไทยบริโภคเป็นอาหารหลักอยู่แล้วทุกมื้อ คนไทยบริโภคข้าวกันเฉลี่ย
มื้อละ 90–100 กรัม (ปี 2550) แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าเป็นห่วงว่า คนไทยจะมีอาการขาดสารอาหารมากขึ้น เพราะคนไทยบริโภคข้าว
ที่เป็นข้าวสาร ซึ่งเป็นข้าวที่ผ่านการขัดสีหลายครั้งจนขาว คุณค่าของสารอาหารที่อยู่บนเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวจะถูกขัดสีไปอยู่ที่รำข้าว การบริ
โภคข้าวสารขาว จึงควรถูกทดแทนด้วยการหันมาบริโภคข้าวกล้อง ที่ผ่านกระบวนการสีข้าวเพียงครั้งเดียว และยังคงที่คุณค่าทางอาหาร
อยู่ที่เมล็ดข้าว GABA สารอาหารมหัศจรรย์ในเมล็ดข้าว

GABA หรือ กาบา หรือ Gamma Amino Butyric Acid เป็นสารที่เกิดขึ้นเป็นส่วนประกอบของเมล็ดข้าว และเกิดในภาวะที่ข้าวกำลัง
งอก แตกตุ่มรากข้าวสีขาว ความงอกของเมล็ดข้าว ช่วงนี้ข้าวจะสร้างสาร GABA ออกมาและหายไปเมื่อข้าวสร้างใบ สร้างรากออกมา

กาบา เป็นสารที่ส่งสัญญาณประสาท โดยส่งต่อสัญญาณ ประสาทชนิดหนึ่ง ไปยังประสาทอื่นๆต่อเนื่องไป นอกจากนี้ กาบา ยังส่งเสริม
ให้ไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ลดลง พบว่า กาบากระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมน เร่งการเจริญเติบโตออกมา (human growth hormone, HGH)

กาบา สารที่ช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ คลายความเครีดของกล้ามเนื้อ ลดความเครียด เร่งการทำงานของสมอง ป้องกันอาการปวดหัว
หรือ อาการซึมเศร้า มีผลต่อการป้องกันความเสื่อมของสมอง

กาบา มีบทบาทที่สำคัญ ในการเผาผลาญไขมันเพื่อให้พลังงานและสร้างกล้ามเนื้อ ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนชนิดนี้ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
ทำให้แก่ มีไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย และลดน้ำหนักมาก

อาหารเสริมหลายชนิด จะผสมสารสกัดจาก กาบา ลงไปด้วย ในอาหารสูตรสำหรับผู้สูงวัย และสำหรับนักกีฬา ผู้บริโภคจะควบคุมน้ำหนัก
ได้ มีสุขภาพที่ดี สามารถพักผ่อนและนอนหลับได้เต็มที่



http://thai-rice.exteen.com/20100703/entry-1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:46 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/01/2012 9:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




http://atcloud.com/stories/65897
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/01/2012 9:34 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,457. เวียดนามตะลึงงัน เมล็ดข้าว 3,000 ปี ยังงอกได้อีก





มหัศจรรย์ พันลึก-- ภาพจากเวียดนามเอ็กซ์เพรส (VN Express) เมล็ดข้าวอายุ 3,000 ปี ยังงอกเป็นต้นกล้าได้ สร้างความตะลึงงัน
ให้นักวิทยาศาสตร์เวียดนาม

นัก โบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์การเกษตรในเวียดนามมึนง งกับเรื่องประหลาด เมล็ดข้าวจำนวนหนึ่งที่ถูกเผาเมื่อประมาณ 3,000 ปี
ก่อนซึ่งขุดขึ้นมาจากแหล่งโบราณคดีในกรุงฮานอย สามารถงอกเป็นต้นกล้าขึ้นมาได้ และ ยังไม่สามรารถอธิบายได้

หลัง จากข่าวระแคะระคายออกไป นักโบราณคดีหัวหน้าทีมที่ขุดค้นแหล่งโบราณคดีซึ่งเป็ นเขตป้อมปราการโบราณ ใน อ.เหมะลีง
(Me Linh) กรุงฮานอยได้ออกยืนยันเรื่องราวทั้งหมดและมีการเผยแพ ร่ในเว็บไซต์ของพรรค คอมมิวนิสต์

ดร.เลิมถิหมีซวุง (Lam Thi My Dung) นักโบราณคดี หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษย
ศาสตร์กรุงฮานอย กล่าวว่าเมื่อกว่า 1 เดือนก่อน ทีมงานได้เริ่มขุดค้นแหล่งโบราณคดแถ่งเดน (Thanh Den) และ ในเดือน พ.ค.
นี้ได้พบเมล็ดข้าวเปลือกกับข้าวขาวในชั้นดินลึก 1 เมตร ในอาณาบริเวณที่เชื่อว่าเป็นโรงครัวขนาดใหญ่ มีเตาไฟในการหุงหา
อาหารครอบคลุมพื้นที่ราว 300 ตารางเมตร

ทีมงานยังพบซากอาหารชนิดอื่นๆ อีกจำนวนมาก รวมทั้งก้างปลา และกระดองของหอยทากด้วย

อย่าง ไรก็ตามสิ่งที่ทำให้ทุกคนแปลกใจก็คือ เมล็ดข้าวที่ถูกเผาจำนวน 10 เมล็ด ได้งอกขึ้นเป็นต้นกล้า หลังจากแช่ไว้ 2 วัน ใน
สารรักษาสภาพชนิดหนึ่ง เพื่อเก็บเอาไว้ศึกษาทางชาติพันธุ์วิทยา

ยังไม่สามารถบอกได้ว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถยืนยันได้ก็คือ เมล็ดข้าวถูกขุดขึ้นมาจากแหล่งโบราณคดี
ที่มีอายุ 3,500-3,000 ปี ซึ่งเก่าแก่ยุคด่งเซิน (Dong Son Age) เสียอีก ดร.ซวุงกล่าว

นายเล ดวีเหิ่ม (Le Duy Ham) นักวิทยาศาสตร์การเกษตร ผู้อำนวยการสถาบันยีนวิทยาการเกษตรทั้งตื่นเต้นและยิ นดีกับข่าวนี้
และกล่าวว่าเป็นเรื่องยากมากที่เมล็ดพันธุ์อายุ 3,000 ปี สามารถงอกขึ้นมาได้อีก ถึงแม้จะเคยได้ยินข่าวเช่นนี้มาก่อน แต่ก็ไม่ได้
เก่าแก่ขนาดนี้ จึงเป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากมาก

"ในหลัก การแล้วเป็นไปได้ยากที่เมล็ดข้าวอายุ 3,000 ปีจะงอกได้ อย่างไรก็ตามมันอาจจะได้รับการรักษาสภาพการมีชีวิต ในสภาพ
แวดล้อมที่เรายังไม่รู้" นายเหิ่มกล่าว

ผู้อำนวยการสถาบัน วิทยาศาสตร์การเกษตรนายเหวียนวันโบ (Nguyen Van Bo) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าที่สุดใน
ปัจจุบัน ก็ยังสามารรถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ได้เพียง 50-100 ปีเท่านั้น จำเป็นจะต้องตรวจสภาพทางคาร์บอนของเมล็ดข้าว
เปลือกโบ ราณพวกนั้นก่อน เพื่อหาคำตอบ





ภาพจากเวียดนามเอ็กซ์เพรส (VN Express) ทีมงานกำลังขุดค้นแหล่งโบราณคดีอายุ 3,500-3,000 ปี แหล่งที่พบเมล็ด
ข้าวมหัศจรรย์


ดร.ซวุ งกล่าวว่าเรื่องนี้จะมีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า เมื่อการขุดค้นเขตปราการเก่าแล้วเสร็จลงทั้งหมด แต่คงอีกหลายเดือน
กว่าจะสามารถให้คำตอบแก่สาธารณชนอย ่างเป็นทางการได้

นาง ซวุงกล่าวว่านับเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ เนื่องจากเป็นหลักฐานสำคัญที่จะทำให้ทราบว่า บรรพบุรุษปลูกข้าวกันอย่างไร และ
เป็นข้าวสายพันธุ์อะไร

"นับเป็นการค้นพบที่สำคัญยิ่ง สร้างความคืบหน้าให้แก่การวิจัย เราจะต้องตอบคำถามต่างๆ เช่น เป็นข้าวพันธุ์อะไร ทำไมจึง
สามารรถงอกขึ้นมาได้หลังเผาไปแล้วเมื่อ 3,000 ปีก่อน ข้าวพวกนี้ถูกเก็บรักษาเอาไว้ในสภาพแวดล้อมเช่นไร และมีลักษณะ
ทางพันธุกรรมเช่นไร" ดร.ซวุงกล่าว

ขณะเดียวกันวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา ทีมงานได้พบเมล็ดข้าวเปลือกอีกจำนวนหนึ่งในแหล่งโบรา ณคดี และหวังว่ามันคงจะงอก
ได้อีก นักวิทยาศาสตร์คนเดียวกันกล่าว

สำหรับ นายเหิ่มกล่าวว่า นับเป็นการค้นพบข้าวพันธุ์โบราณที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจจะนำมาประยุกต์ใช้กับโลกในปัจจุบันได้ เป็นการค้น
พบที่มีความหมายทั้งทางประวัติศาสตร์และทา งพันธุกรรมศาสตร์ในขณะ เดียวกัน

นักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศได้เคยบันทึกเกี่ยวกับเมล ็ดพืชอายุหลายร้อยและนับพันปีสามารถงอกได้ในหลายกรณี

ใน ปี 2545 นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย พิสูจน์ได้ว่า เมล็ดบัวอายุ 500 ปีที่พบในจีนยังคงสภาพการมีชีวิต
และในปี 2548 นักวิทยาศาสตร์ในอิสราเอลประสบความสำเร็จในการเพาะต้ นอินทผาลัมจากเมล็ดที่ มีอายุถึง 2,000 ปี



Credit : http://atcloud.com/stories/86023
http://www.clipmass.com/story/13361


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/01/2012 7:41 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,458. 10 สายพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นแท้ๆ ที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ


1. Koshihikari
เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันทั่วทุกจังหวัดในญี่ปุ่น แต่แหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ อุโอนุมา จังหวัดนีงาตะ ลักษณะเมล็ดข้าวสั้นป้อม
รสชาติอร่อย หอม นุ่ม มีความเงาของเม็ดข้าวเรียกได้ว่าเป็นข้าวที่มีคุณสมบัติครบถ้วน แต่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่แข็งแรง ป่วนเป็นโรคได้
ง่ายจึงถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อและใช้ชื่อว่า Koshihikari BL


2. Sasanishiki
เป็นพันธุ์ข้าวที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์ Koshihikari กับ Sasashigure และพบมากที่สุดในเขตฟุรุคาว่า จังหวัดมิยางิ ข้าว
ชนิดนี้เป็นที่นิยมนำมาทำซูชิกันมากเพราะตัวเม็ดข้าวมีความเหนียวนุ่ม เกาะตัวกันได้เป็นอย่างดี


3. Akitakomachi
เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันมากในแถบภูมิภาคโทโฮะคุ แต่แหล่งเพาะปลูกที่ผลิตข้าวพันธุ์นี้ได้มากที่สุดอยู่ในจังหวัดอะกิตะ ส่วนรส
ชาติและความเหนียวนุ่มไม่ด้อยไปกว่าข้าวสายพันธุ์ Sasanishiki ที่คนญี่ปุ่นนิยมรับประทาน


4. Hinohikari
เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันมากในแถบภูมิภาคคันไซ และแถบนี้จัดว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ได้รสชาติที่ดีที่สุด ลักษณะ
เมล็ดข้าวจะมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์Koshihikari แต่ได้รสชาติที่ออกหวาน นุ่มกว่าเล็กน้อย


5. Hitomebore
เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันมากในแถบภูมิภาคโทโฮะคุ โดยแหล่งเพาะปลูกที่ดีที่สุดอยู่ในจังหวัดโออืตะ รสชาติไม่ต่างไปจากสาย
พันธุ์ Koshihikar iมากนัก แต่ด้วยคุณสมบัติที่คงความนุ่มละมุน หอม และเหนียว แม้ข้าวจะหายร้อน คนญี่ปุ่นจึงนิยมนำข้าวชนิด
นี้มาทำข้าวปั้นสามเหลี่ยม


6. Kinuhikari
เป็นสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนามาจากสายพันธุ์หลักอย่าง โดยจดทะเบียนเมื่อปี 1989 แหล่งเพาะปลูกที่พบมากที่สุดคือแถบภูมิภาค
คันโต รสชาติของข้าวที่ได้ไม่แตกต่างไปจากข้าว Koshihikari มากนักแต่มีราคาถูกกว่า และมีความทนทานต่อโรคมากกว่า ข้อ
เสียอยู่ที่ปริมาณของรวงข้าวต่อต้นน้อยกว่า


7. Haenuki
เป็นพันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยเพิ่งจดทะเบียนไปเมื่อปี 1993 และนิยมปลูกกันมากในเขตจังหวัดยะมะงะตะ ข้าวชนิดนี้แม้
จะหายร้อนก็ยังคงความนุ่มเหนียว คนญี่ปุ่นจึงนิยมนำมาทำข้าวปั้นสามเหลี่ยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง


8. Kirara 397
เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกกันมากในแถบภูมิภาคฮอกไกโด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้าวสายพันธุ์ Koshihikari แล้ว ราคาจะถูกกว่า และ
มีจุดเด่นตรงที่มีเมล็ดจะเล็ก แต่เมื่อนำมาหุงเมล็ดจะใหญ่หรือหุงขึ้นหม้อ ที่สำคัญไม่แฉะง่าย


9. Hoshiniyume
เป็นพันธุ์ข้าวที่พัฒนาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของข้าวญี่ปุ่นหลากหลายชนิด โดยการผสมขั้นสุดท้ายกับสายพันธุ์ Kirara 397 ก่อน
จะนำมาจดทะเบียนเมื่อปี 2000 แหล่งเพราะปลูกพบมากในแถบภูมิภาคฮอกไกโดและนิยมรับประทานเป็นข้าวกล้อง ลักษณะเมล็ด
ยาวกว่าสายพันธุ์ Kirara 397 เล็กน้อย


10. Nanatsuboshi
เป็นสายพันธุ์ข้าวที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จากสายพันธุ์หลักอย่างและเป็นที่นิยมปลูกกันมากในแถบฮอกไกโด สายพันธุ์ข้าว Nanatsu-
boshi จัดเป็นข้าวที่มีความสำคัญของฮอกไกโดมาก เพราะมีความเงา นุ่ม เหนียว หอม และรสชาติดีถึงขั้นได้เป็นข้าวพันธุ์ดีประจำ
ท้องถิ่นเมื่อปี 2001



http://jpopmusicstation.com/?p=811


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 10/01/2012 8:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,459. กรมการข้าวรับรองพันธุ์ข้าวใหม่ 3 พันธุ์

เหนียวดำช่อไม้ไผ่49
กขผ1
ซีพี 304



ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว กรมการข้าว เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 ที่ผ่านมาที่ประชุมได้พิจารณารับรอง
พันธุ์ข้าวใหม่จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ ประเภทข้าวเหนียว คือ เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49 ประเภทข้าวเจ้าลูกผสมจำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่
กขผ1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงโดยกรมการข้าว และ ซีพี 304 ปรับปรุงพันธุ์โดยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด

ทั้งนี้ข้าวเหนียวพันธุ์เหนียวดำช่อไม้ไผ่ 49 เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
เก็บรวบรวมพันธุ์ปี 2539-2542 และดำเนินการปลูกคัดเลือกให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์แบบรวงต่อแถว คัดเลือกจนได้สายพันธุ์
PTNC96004-49 เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ออกดอกปลายเดือนมกราคม ผลผลิตเฉลี่ย 363 กิโลกรัมต่อไร่ ความสูงประมาณ 135
เซนติเมตร ลักษณะทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสีเขียว ใบธงหักลง ยอดเกสรตัวเมียสีขาว ยอดดอกสีม่วง กลีบดอกสีม่วงดำ คอ
รวงยาว รวงแน่นปานกลาง รวงยาว 28.5 เซนติเมตร เมล็ดเกาะกันเป็นกลุ่มบนระแง้ กลุ่มละ 2-4 เมล็ด ส่วนใหญ่มี 3 เมล็ด
ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.21 มิลลิเมตร กว้าง 3.66 มิลลิเมตร หนา 2.22 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีม่วงดำ รูปร่างเมล็ดค่อน
ข้างป้อม ยาว 7.20 มิลลิเมตร กว้าง 2.81 มิลลิเมตร หนา 1.92 มิลลิเมตร ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 34.59 กรัม น้ำหนัก
ข้าวเปลือก 10.38 กิโลกรัมต่อถัง คุณภาพการสีปานกลาง ระยะพักตัวประมาณ 8 สัปดาห์

ลักษณะเด่น เป็นข้าวเหนียวดำพื้นเมือง เมื่อนึ่งสุกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เป็นอาหารเสริมหรืออาหารว่าง และใช้ในงานบุญประเพณี ทำให้มีราคาจำหน่ายสูงกว่าข้าวทั่วไป มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมี
วิตามิน บี 1 วิตามิน บี 3 วิตามิน บี 6 และวิตามินอี พื้นที่แนะนำปลูก เหมาะสำหรับปลูกในบริเวณพื้นที่นาดอนและสภาพไร่ในภาคใต้
ข้อควรระวังคือ อ่อนแอต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง ไม่เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่นาลุ่ม

นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รักษาการอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ข้าวเจ้าลูกผสม พันธุ์กขผ1 เป็นข้าวลูกผสมสายพันธุ์ PTT06001H
ที่ผลิตในระบ3 สายพันธุ์ โดยมีพันธุ์แม่คือ สายพันธุ์เรณูเป็นหมัน IR79156A ของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ที่มีสายพันธุ์ IR79156B
เป็นสายพันธุ์รักษาเรณูเป็นหมัน ส่วนพันธุ์พ่อคือ สายพันธุ์แก้ความเป็นหมัน (สายพันธุ์ R) คือ JN29-PTT-43-1-5-5-1-3-1R



ข้าวเจ้าลูกผสม พันธุ์ กขผ1 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
มีอายุเก็บเกี่ยว 115 วัน (โดยวิธีปักดำ) ทรงกอตั้ง ต้นสูง 116 เซนติเมตร ต้นแข็งมาก ปล้องสีเหลืองอ่อน ใบสีเขียวเข้ม ปลายใบตั้ง
ตรง กาบใบสีเขียวเส้นม่วง ใบธงตั้งตรง ยอดเกสรตัวเมียสีม่วงดำ ปลายยอดดอกสีม่วงอ่อน บางดอกที่ปลายรวงมีหางสั้นสีม่วงอ่อน
คอรวงโผล่เล็กน้อย รวงแน่นปานกลางยาว 29 เซนติเมตร ยอดเมล็ดสีน้ำตาล ข้าวเปลือกสีฟาง บางเมล็ดที่ปลายรวงมีหางสั้นสีฟาง

จำนวนรวงต่อกอ 8 รวง (ระยะปักดำ 20 x 20 ซม.)
จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 200-250 เมล็ด
น้ำหนัก 1,000 เมล็ด หนัก 24.72 กรัม
น้ำหนักข้าวเปลือก 10.8 กิโลกรัมต่อถัง
ข้าวเปลือกยาว 10.38 - 0.28 มิลลิเมตร กว้าง 2.44 ? 0.07 มิลลิเมตร และ
หนา 1.97 - 0.03 มิลลิเมตร

ข้าวกล้องมีสีขาวยาว 7.28 - 0.28 มิลลิเมตร กว้าง 2.08 - 0.07 มิลลิเมตร และหนา 1.76 - 0.08 มิลลิเมตร

ข้าวสารยาว 7.23 - 0.25 มิลลิเมตร กว้าง 2.07 - 0.07 มิลลิเมตร หนา 1.74 - 0.04 มิลลิเมตร มีค่าท้องไข่น้อย (0.61) คุณภาพ
การสีดีได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 42.08 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณอมิโลสสูง (27.0 %) ค่าการสลายเมล็ดในด่าง (1.7% KOH) 5.98
ความคงตัวของแป้งสุกในระดับแป้งอ่อน (83.6 มิลลิเมตร) การยืดตัวของข้าวสุกอยู่ในเกณฑ์ปกติ (1.69 เท่า) อุณหภูมิแป้ง
สุกต่ำ ลักษณะข้าวสวย ร่วน ไม่เกาะติด ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ 5 สัปดาห์

ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,006 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 (666 กิโลกรัม/ไร่) และสุพรรณบุรี 1 (817 กิโลกรัม/ไร่)
คิดเป็นร้อยละ 51 และ 23 ตามลำดับ ต้านทานต่อโรคไหม้ในเขตภาคกลางภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ค่อนข้างต้านทานต่อ
เพลี้ยกระโดดหลังขาว แต่อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง พื้นที่แนะนำให้ปลูกได้แก่ พื้นที่นาชลประทานใน
ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ข้อควรระวัง เป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้ง ค่อนข้างอ่อน
แอต่อโรคไหม้ในเขตภาคเหนือตอนล่าง



สำหรับข้าวเจ้าลูกผสม พันธุ์ ซีพี 304 เป็นข้าวเจ้าลูกผสมไม่ไวต่อช่วงแสง ปรับปรุงพันธุ์โดยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 103-104 วัน ความสูงประมาณ 102-104 เซนติเมตร ต้นค่อนข้างแข็ง ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง

ผลผลิตเฉลี่ย 938 กิโลกรัมต่อไร่
จำนวนรวง 13 รวงต่อกอ
จำนวนเมล็ดดีเฉลี่ย 131 เมล็ดต่อรวง
เปลือกเมล็ดมีขนสั้น เมล็ดไม่มีหาง

ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.29 มิลลิเมตร กว้าง 2.48 มิลลิเมตร หนา 2.02 มิลลิเมตร

ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 27.72 กรัม
น้ำหนักข้าวเปลือกเฉลี่ย 11.11 กิโลกรัมต่อถัง
เมล็ดข้าวกล้องสีขาว ยาว 7.61 มิลลิเมตร กว้าง 2.11 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร รูปร่างเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย
ปริมาณอมิโลส 27.41 เปอร์เซ็นต์ เนื้อสัมผัสข้าวสุกจากการชิมค่อนข้างนุ่ม ข้าวสุกเมื่อเย็นจะแข็งและเหนียว ระยะพักตัวของ
เมล็ดพันธุ์ 5 สัปดาห์

ลักษณะเด่น ผลผลิตเฉลี่ย 938 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 (817 กก./ไร่), ชัยนาท 1 (749 กก./ไร่) และพิษณุ
โลก 2 (725 กก./ไร่) คิดเป็นผลผลิตมากกว่าร้อยละ 15 , 25 และ 29 ตามลำดับ อายุการเก็บเกี่ยว 103 - 104 วัน ปลูกโดย
วิธีปักดำ (ระยะปักดำ 30x14 ซม.) ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ พื้นที่แนะนำ ได้แก่ พื้นที่นาชลประทานที่เกษตรกรมีความพร้อม
และดินอุดมสมบูรณ์

ข้อควรระวัง เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมาก อาจจะเสียหายจากการทำลายของนก
และหนูได้ ข้าวพันธุ์นี้อ่อนแอมากต่อโรคใบหงิก โรคใบสีส้ม และโรคขอบใบแห้ง หากพบอาการของโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งควร
ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียตามความจำเป็น แต่ถ้าพบข้าวมีอาการเป็นโรคใบหงิก โรคใบสีส้ม ที่แพร่ระบาดโดย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ถอนต้นที่เป็นโรค และเผาทำลาย และค่อนข้างอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในพื้นที่ที่มีการระบาดของ
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นประจำ ให้หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโดยวิธีหว่านน้ำตม และถ้าพบมีการอพยพของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจำนวน
มากให้งดปลูกข้าวในช่วงเวลาดังกล่าว



http://www.naewna.com/news.asp?ID=285542[youtube][/youtube]


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:49 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/01/2012 7:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,460. การศึกษาเรื่องพืชในปัจจุบันและอนาคต


3.1 การปฏิวัติเขียว
ช่วงประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา เห็นได้ว่าผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะธัญพืช ข้าวและข้าวสาลี ซึ่งเป็นผลมาจาก
การรวมยีนส์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น ยีนส์ควบคุมลักษณะต้านทานโรค ยีนส์ต้นเตี้ยเข้าด้วยกัน ได้พืช ที่มีลักษณะต้านทานโรค ต้น
เล็ก ลดระยะปลูกลงได้ทำให้ผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคที่ใช้พันธุ์ พืชที่ให้ผลผลิตสูง เราเรียกการเปลี่ยน
แปลงช่วงนี้ว่า "Green-Revolution หรือ การปฏิวัติเขียว" ซึ่งช่วยให้โลกพ้น จากภาวะอดอยากยากแค้นจากการขาดอาหารเนื่อง
มาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย


3.2 การจัดการศัตรูพืช
โรค แมลง และวัชพืช เป็นปัญหาสำคัญในการเกษตร ประมาณกันว่าความเสียหายที่เกิดจากสามสิ่งนี้ในไร่นาประมาณ 35 เปอร์เซนต์
ของผลผลิต ในอดีตการศึกษาวิจัยมุ่งสู่การจัดการศัตรูพืชดังกล่าว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสารเคมีเป็นพิษ ก่อปัญหากับระบบนิเวศ
ปัจจุบันมีความพยายามใช้ความรู้ทางพฤกษศาสตร์เพื่อหาระบบควบคุมที่เหมาะสม

ปัจจุบันเราทราบกันว่าพืชมีกลไกป้องกันตนเองจากศัตรู เชื่อกันว่าพืชสร้าง phytoalexins เป็นสารทุติยภูมิสร้าง ขึ้นเมื่อ
ถูกศัตรูเข้าทำลาย มีผู้พยายามศึกษากันมาก เพื่อต้องการสารเหล่านี้จากพืชในธรรมชาติมาใช้ในการจัดการศัตรูพืช ต่อไป เช่น
การใช้ตระไคร้หอมเป็นสารไล่แมลง สะเดาใช้ฆ่าแมลง ทำให้แมลงสูญเสียความสามารถในการกินอาหารวางไข่ และตายในที่สุด
เป็นต้น สารพวกนี้ไม่มีพิษต่อระบบนิเวศน์ต่อสภาพแวดล้อม ผิดกับสารเคมีสังเคราะห์ที่เคยใช้กันมา

ในอนาคตการปราบวัชชพืชมีแนวโน้มเป็นไปในลักษณะใช้เชื้อโรคซึ่งเข้าทำลายเฉพาะวัชชพืชเป็นตัวปราบ อีกแนวทางหนึ่งคือ
ใช้ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า allelopathy เป็นสงครามเคมีระหว่างพืช โดยพืชหนึ่งผลิตสารทุติย ภูมิที่เป็นพิษต่อการเจริญของอีก
พืชหนึ่งซึ่งเจริญแข่งขันกันอยู่


3.3 การควบคุมการเจริญเติบโต
มีการนำฮอร์โมนเข้ามาใช้ประโยชน์ในการควบคุมระยะการเจริญเติบโตต่างๆ ของพืชให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น การเพิ่มคุณภาพ
และผลผลิตของผลไม้โดยฉีดพ่นด้วยฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนป้องกันการร่วงของผล ใช้เพื่อ ให้พืชแทงช่อดอก ประโยชน์ดังกล่าว
เกิดขึ้นได้เพราะเราได้เรียนรู้มาแล้วว่าปรากฎการณ์ในการเจริญเติบโตของพืช เป็นมาอย่างไร จึงสามารถนำเอาความรู้เหล่านั้นแต่ละ
ขั้นตอนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการควบคุมพืชให้เป็นไปตามที่ มนุษย์เราต้องการต่อไป


3.4 การเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์อาหารของพืช
ในอนาคตมนุษย์เราต้องการพันธุ์พืชที่มีลักษณะอย่างไร ในอดีตเราคิดว่ากระบวนการแสงสังเคราะห์ในพืชชั้นสูง ทุกชนิดรวมทั้ง
แอลจี มีกระบวนการหลักเหมือนกันหมด แต่ปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันแล้วว่า พืชบางชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และอ้อย มีกระบวน
การแสงสังเคราะห์แบบที่เรียกว่า C4 Photosynthesis ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าการสังเคราะห์ ทั่วๆไป ดังนั้นถ้าทำให้พืชเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะธัญญพืช กลายเป็นพืช C4 เราก็อาจทำให้ข้าว ข้าวสาลี มันฝรั่ง มีผลผลิต เพิ่มสูงขึ้นอีก

นอกจากนี้ปัญหาเรื่องน้ำก็เป็นเรื่องใหญ่ น้ำมีจำกัดในบางท้องที่ จากความรู้ในเรื่องการคายน้ำของพืช หรือการระเหย น้ำจากใบพืชซึ่ง
เป็นกระบวนการหลักในการใช้น้ำของพืช และเรายังเรียนรู้ว่าระบบฮอร์โมนในพืชเป็นตัวกระตุ้นการสูญเสียน้ำ ความรู้นี้ทำให้เราสามารถ
ลดการใช้น้ำของพืชลงได้

การให้ปุ๋ยมาก พบว่าเป็นการสิ้นเปลือง ดังนั้นกว่าครึ่งหนึ่งของปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินไม่ได้ถูกใช้โดยพืช การใช้ไม คอไรซาส์ซึ่งเป็นจุลินทรีย์
ในดินอาศัยอยู่บริเวณรากพืชช่วยในการ

ดูดดึงธาตุอาหารไปใช้ ก็มีการเพาะเลี้ยงแล้วเอาไปใส่ให้กับรากพืช เทคนิคนั้นนอกจากประหยัดปุ๋ยแล้วยังใช้ได้ดีกับ พื้นที่ๆเป็นดินเลว

การใช้ไรโซเบียม เพื่อการตรึงไนโตรเจน พืชตระกูลถั่วมีขบวนการตรึงไนโตรเจนเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ถ้าเราสามารถ ทำให้พืชอื่นๆ
มีคุณสมบัติอย่างนี้ได้ก็จะลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักของพืชลงได้อย่างมาก


3.5 พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
การย้ายยีนส์จากพืชหนึ่งไปสู่อีกพืชหนึ่ง ประเพณีดั้งเดิมก็คือการนำมาผสมข้ามกัน วิธีนี้เราเรียก conventional breeding วิธีนี้ก็ต้อง
ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้พันธุ์ใหม่ๆ ออกมา ต่อไปในอนาคตก็จะเป็นการคัดเลือกยีนส์เฉพาะลักษณะ ที่ต้องการ แล้วทำการย้ายใส่ลง
ไปในโครโมโซมพืชโดยตรง ทำให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะตามต้องการทันที หรือทำการ ผสมระหว่างโซมาติกเซลล์เพื่อให้เกิดการถ่าย
ยีนส์โดยวิธีรวมโปรโตพลาสต์ (protoplast fusion) เมื่อได้ต้นพืชที่มีลักษณะ ใหม่จึงขยายพันธุ์จำนวนมากโดยเทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อ
เยื่อต่อไป


3.6 พืชพลังงาน
fossil ของพืชเป็นแหล่งน้ำมัน ถ่านหิน นำมาใช้เป็นแหล่งพลังงาน ในประเทศ
บราซิลใช้แกสโซฮอล (gasohol) ซึ่งเป็นของผสม
ระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิงกับแอลกอฮอล์ โดยแอลกอฮอล์ได้มาจาก การหมักน้ำตาลจากต้นอ้อยกับยีสต์ แกสโซฮอล์สามารถนำไปใช้
กับรถยนต์ พืชบางชนิด เช่น Euphorbia lathyrus ผลิตสารทุติยภูมิซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนน้ำมันเชื้อเพลิงตามธรรมชาติคือ
เหมือนปิโตรเลียม นอกจากนี้แล้วการค้นพบที่สำคัญ ซึ่งเป็นผลงานของประเทศไทยคือการที่เกษตรกรสวนมะพร้าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ค้นพบว่าน้ำมันมะพร้าวสามารถนำมา ใช้กับเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ได้โดยตรง ทำให้ราคาผลผลิตของเกษตกรสวนมะพร้าวพุ่งสูงขึ้น
ทันที นอกจากนี้ยังมีความ พยายามนำเอาน้ำมันปาล์มมาใช้กับเครื่องยนต์และรถยนต์อีกด้วย





แหล่งวิทยาการ
1. หนังสือ/บทความ
ประมวลสาระชุดวิชาชีววิทยาพืช
Brun, G., L. McKane and G. Karp. 1994. Biology : Exploring Life. V.2:Form and Function of Plant Life. John Wiley & Sons, Inc. New York. 170 p.
Mauseth, J.D..1995. Botany : An Introduction to Plant Biology. Second Edition
Sanders College Publishing. Sydney. 837 p.
Ray, P.M., T.A. Steeves and S.A. Fulz. 1982. Botany. Saunders College Publishing. Tokyo. 784 p.
Schooley, J..1997. Introduction to Botany. Delmar Publishers. New York. 406 p.
Simpson, B.B. and M.C. Ogorazly. 2001. Economic Botany. Third Edition. Me Grow Hill. Singapore. 529 p.
Stern, K.R..1994. Introductory Plant Biology. Wm. C. Brown Publishers. Melbourne. 537 p.



http://158.108.17.142/learn/student.php?lesson=lesson1&lesson_id=1&action=story_1&step=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 27/01/2012 6:51 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 52, 53, 54 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 53 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©