-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 39, 40, 41 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 30/10/2011 10:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 40


ลำดับเรื่อง....

1,012. การเจริญเติบโตของอ้อย
1,013. การเกิดดอก
1,014. ขบวนการหายใจภายในเซลล์
1,015. การจัดการธาตุอาหารในดินเพื่อการเกษตรดีที่เหมาะสม

1,016. 'ถั่วฝักยาวพันธุ์ใหม่'
1,017. ธาตุอาหารกับความหวานของผลไม้
1,018. การเพาะเมล็ดที่นิยมปฏิบัติ
1,019. หอมมะลิไทย เสียแชมป์โลก ให้ข้าวจากพม่า
1,020. ไร้เงาชาวนาร่วมโครงการจำนำข้าว

1,021. ผลไม้ออกนอกฤดู ส่งผลดีกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงพัทลุง
1,022. ก.วิทย์ฯ ผลักดันเศรษฐกิจเทคโนโลยี
1,023. แปรรูปฟางข้าวเหลือทิ้ง เป็นไบโอแก๊ส
1.024. การผลิตแก๊สใช้เอง
1,025. เตาแก๊สจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

1,026. สวีเดน กับรถไฟไบโอแก๊ส แห่งแรกของโลก
1,027. การเลี้ยงไก่ไข่ในระบบ EVAP
1,028. หนึ่งเดียวฟาร์มหมูปลอดโรค ประหยัดโดยนำปฎิกูลสู่พลังงาน
1,029. ไบโอแก๊ส พลังงาน จาก "ขี้หมู"
1,030. บ๊ายบายบัตรเครดิตเกษตรกร...รากหญ้ากินแห้ว

1,031. รัฐบาลไทยเจรจาขายข้าว 300,000 ตัน ส่อแห้ว
1,032. แนะวิธีเลี้ยงปลาช่วงน้ำหลาก
1,033. ถ่านกัมมันต์
1,034. วิธีทำถ่านกะลามะพร้าว เป็นถ่านกัมมันต์
1,035. การผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าว

1,036. การเผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน

------------------------------------------------------------------------------------------







1,012. การเจริญเติบโตของอ้อย

โดย นายเกษม สุขสถาน


ก่อนที่จะกล่าวถึงการเจริญเติบโต ใคร่ขออธิบายถึงธรรมชาติบางอย่างของอ้อยเสียก่อน เป็นที่ทราบกันดีว่า ขณะที่อ้อยเจริญเติบโตเป็นปกตินั้น ตาที่อยู่ตามลำต้น (lateral buds) จะไม่เจริญเป็นแขนง (lalas) ทั้งนี้เพราะว่าส่วนของยอดที่กำลังเจริญเติบโต (growing point) จะผลิตออกซิน (auxin) และฮอร์โมน (hormone) บางชนิดแล้วส่งลงมาตาม ลำต้น ซึ่งจะมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของตาที่อยู่ถัดลงมา ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า "ยอดข่ม" (top dominance หรือ apical dominance) ยอดข่มนี้ จะหมดไปเมื่อส่วนยอดอ้อยถูกทำลาย ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดๆ เช่น การตัดยอด ถูกความร้อนจัดหรือความเย็นจัด โรคหรือแมลงทำลาย ฉีดด้วยสารเคมีบางชนิด ตลอดจนการออกดอก เมื่อยอดข่มหมดไปตาที่อยู่ส่วนยอดของลำต้นจะเจริญเป็นแขนง และทำหน้าที่แทนยอดต่อไป ลักษณะยอดข่มจะปรากฏแม้กระทั่งเมื่อใช้ท่อนพันธุ์ที่มีตามากกว่าหนึ่งตามาปลูก ตาที่อยู่ทางปลายสุดจะงอกออกมาก่อน แล้วทำหน้าที่แทนยอด เป็นผลทำให้ตาที่อยู่ถัดลงมาเติบโตช้าลง ลักษณะยอดข่มจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น เมื่อใช้ท่อนพันธุ์ที่มีหลายๆ ตาปลูกหรือปลูกทั้งลำ โดยไม่ตัดเป็นท่อนๆ


ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งหน่อโผล่พันดิน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ การปฏิบัติต่อท่อนพันธุ์ และความหนาของดินที่กลบท่อนพันธุ์ เป็นต้น หน่อที่เกิดจากตาของท่อนพันธุ์ เรียกว่า หน่อแรก (primary shoot) หรือหน่อแม่ (mother shoot) จำนวนท่อนพันธุ์ที่งอกต่อไร่จะเป็นตัวกำหนดจำนวนกออ้อยในพื้นที่นั้น


ระยะแตกกอ (tillering phase)
ในระยะงอกนั้นอ้อยแต่ละตาจะงอกขึ้นมาเพียงต้นเดียวเท่านั้น และเมื่อเติบโตพอสมควรจึงจะมีการแตกกอ การแตกกอเป็นลักษณะสำคัญของพืชตระกูลหญ้ารวมทั้งอ้อย เกิดขึ้น เนื่องจากตาที่อยู่ส่วนโคนของลำต้นใต้ดินของหน่อแรก เจริญออกมาเป็นหน่อชุดที่สอง และจากหน่อชุดที่สองก็เจริญเป็นหน่อชุดที่สาม หรืออาจจะมีหน่อชุดต่อไปอีกทำให้มีจำนวนหน่อหรือลำต้นเพิ่มขึ้น ในระยะนี้อิทธิพลของยอดย่อมมีน้อยมาก จึงไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของตาที่อยู่ส่วนโคนได้ ระยะแตกกอเป็นระยะต่อเนื่องกับระยะงอก การแตกกอจะเริ่มเมื่ออายุประมาณ ๑.๕ เดือนเป็นต้นไป แต่ระยะที่มีการแตกกอมากที่สุดอยู่ระหว่าง ๒.๕-๔ เดือน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างตามที่กล่าวแล้ว หน่อที่แตกออกมาทั้งหมดในระยะแตกกอนี้จะเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว หน่อที่อ่อนแอกว่าจะตายไป เพราะการแข่งขันกันเพื่อปัจจัยในการเจริญเติบโต เช่น แสงแดด น้ำ และธาตุอาหารเป็นต้น จำนวนลำต้นต่อกอขณะเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับจำนวนหน่อในระยะแตกกอนี้


ระยะย่างปล้อง (stalk elongation phase)
เป็นระยะต่อเนื่องกับการแตกกอ ระยะนี้จะมีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของปล้องอย่างรวดเร็ว ทำให้อ้อยทั้งลำต้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วด้วย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่อายุประมาณ ๓-๔ เดือนจนถึงอายุประมาณ ๗-๘ เดือน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีน้อยลง และจะเริ่มมีการสะสมน้ำตาล เพิ่มขึ้น ขนาดและความยาวของแต่ละต้นในระยะนี้ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำหนักของแต่ละลำต้นและน้ำหนักแต่ละลำต้นมีผลโดยตรงต่อผลผลิตน้ำหนักของอ้อยทั้งไร่เมื่อเก็บเกี่ยว


ระยะแก่และสุก (maturity and ripening phase)
ระยะแก่คือระยะที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับระยะต่างๆ ตามที่ได้กล่าวแล้ว เมื่อการเจริญเติบโตเริ่มช้าลง น้ำตาลที่ใบสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์แสงก็จะถูกใช้น้อยลงและมีเหลือเก็บสะสมในลำต้นมากขึ้น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของระยะสุกนั่นเอง การสะสมน้ำตาลจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย ดังนั้น ส่วนโคนจึงหวานก่อน และมีความหวานมากกว่าส่วนปลาย การสะสมน้ำตาลจะมีมากขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งส่วนโคน ส่วนกลางและส่วนปลายมีความหวานใกล้เคียงกัน เรียกว่า สุก ถ้าจะเปรียบการแก่และการสุกของอ้อยกับมะม่วงก็จะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น มะม่วงแก่คือเมื่อเมล็ดเข้าไคลนั้นยังไม่หวานต้องบ่มต่อไปจนหวานสนิทจึงจะเรียกว่า สุก


สิ่งที่เน้นในที่นี้ก็คือ การเจริญเติบโตและการสะสมน้ำตาลของอ้อยมิได้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ในขณะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น น้ำตาลที่ใบสร้างขึ้น ส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปเพื่อการเจริญเติบโต จึงเหลือเก็บสะสมไว้ภายในลำต้นเพียงส่วนน้อย เมื่อการเจริญเติบโตช้าลง การสะสมน้ำตาลจึงมีมากขึ้น




บรรณานุกรม
• นายเกษม สุขสถาน

http://guru.sanook.com/encyclopedia/การเจริญเติบโตของอ้อย/


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/11/2011 8:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 11 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 30/10/2011 10:15 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,013. การเกิดดอก


โดย นายวิจิตร วังใน และนายปวิณ ปุณศรี


บริเวณปลายยอดของกิ่งมีกลุ่มเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว กลุ่มเซลล์เหล่านี้อาจแปรรูปเป็นตาดอกหรือใบก็ได้ ในระยะแรกของการเจริญเติบโตของพืช กลุ่มเซลล์ที่กล่าวนี้จะเจริญไปเป็นกิ่งใบ ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตตามด้านยาวเป็นส่วนมาก ทำให้พืชสูงใหญ่ขึ้น พอถึงอีกระยะหนึ่งจะหยุดเจริญทางกิ่งใบ และเริ่มสร้างดอกหรือช่อดอก ในระยะนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานของตาใบอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือตาใบจะค่อยๆแบนออก เพราะมีการเจริญทางด้านยาวน้อยมากแล้วเกิดเป็นตาดอก ทำให้เกิดจุดกำเนินดอกขึ้นซึ่งมีลักษณะนูนขึ้นเล็กน้อย ส่วนต่างๆ ของดอกจะเจริญจากจุดนี้

พืชบางชนิดจะออกดอกได้ ต่อเมื่อได้รับช่วงแสงวันสั้น บางชนิดต้องการช่วงแสงวันยาวจึงจะออกดอก แต่บางชนิดการออกดอกจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแม้จะมีวันสั้นหรือยาว ดังนั้นจึงมีการแบ่งพืชออกเป็น ๓ พวกโดยอาศัยความสั้นยาวของวัน (day-length) คือ


๑. พืชวันสั้น (short-day plant)
เป็นพืชที่จะออกดอกเมื่อได้รับแสงในช่วง ๒๔ ชั่วโมง (๑ วัน) ต่ำกว่าความยาววิกฤต (critical day-length)ของพืชนั้น ตัวอย่างเช่น พืชวันสั้นชนิดหนึ่งมีความยาววันวิกฤต ๑๒ ชั่วโมง พืชชนิดนี้จะออกดอกต่อเมื่อได้รับแสงน้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมงในช่วง ๒๔ ชั่วโมง และถ้าได้รับแสงมากกว่า ๑๒ ชั่วโมงในช่วง ๒๔ ชั่วโมง พืชจะไม่ออกดอก แต่จะมีการเจริญทางกิ่งใบเท่านั้น


๒. พืชวันยาว (long-day plant)
พืชวันยาวจะออกดอกได้ต่อเมื่อได้รับแสงในช่วง ๒๔ชั่วโมงมากกว่าความยาววันวิกฤตของพืชนั้น เช่น ผักโขมฝรั่ง (spinach) จะออกดอกได้เมื่อได้รับแสงมากกว่า ๑๓ ชั่วโมงในช่วง ๒๔ ชั่วโมง ฉะนั้นความยาววันวิกฤตของผักโขมฝรั่งจึงเท่ากับ ๑๓ ชั่วโมง


๓. พืชเป็นกลาง (day-neutral plant)
พืชกลุ่มที่สามนี้จะออกดอกได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับความสั้นยาวของวัน กล่าวคือสามารถออกดอกได้ตามอายุถ้าหากว่ามีปัจจัยในการเกิดดอกอย่างสมบูรณ์ตัวอย่างเช่น ข้าวโพด มะเขือเทศ



ปัจจัยที่เป็นเหตุให้พืชออกดอกได้นั้นมีหลายอย่างด้วยกันสามารถแยกกล่าวเป็นข้อๆ ดังนี้
๑. แสงสว่าง
ความเข้มของแสง ช่วงเวลาของแสง และคุณภาพของแสงมีบทบาทต่อการเกิดตาดอกของพืช

๒. การควั่นกิ่ง
การควั่นกิ่ง เป็นการทรมานพืชวิธีหนึ่ง เพื่อตัดท่ออาหาร โดยการควั่นเอาเปลือกออกให้รอบกิ่งหรือลำต้นให้มีรอยแผลแคบๆ หรืออาจใช้เลื่อยธรรมดา เลื่อยให้เป็นรอยเดียวให้ทะลุเปลือกรอบๆ กิ่งหรือต้น หรืออาจใช้ลวดรัดเพื่อไม่ให้ส่วนนั้นขยายตัวออก ก็จะเป็นการตัดทางเดินของอาหารมาสู่ส่วนล่างของรอยแผลได้อาหารและสารบางอย่างที่จำเป็นต่อการเกิดดอกจะสะสมอยู่ส่วนยอดจะช่วยทำให้ต้นไม้ออกดอกได้การทรมานพืชด้วยวิธีสับเปลือกรอบโคนกิ่งหรือต้นก็จะได้ผลคล้ายๆ กัน ในการทำสวนผลไม้เป็นการค้านั้น การทรมานพืชเพื่อให้เกิดดอกนั้นมีความสำคัญน้อยมาก เพราะเป็นวิธีที่ให้ผลไม่แน่นอน และอาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้ได้ง่าย ในฮาวายมีการทดลองใช้วิธีควั่นกิ่งเพื่อบังคับให้ลิ้นจี่ออกดอก ปรากฏว่ามีลิ้นจี่พันธุ์ Brewster เท่านั้นที่สนองตอบต่อการควั่นกิ่ง

๓. การตัดกิ่งและโน้มกิ่ง
การตัดหรือโน้มกิ่งให้อยู่ในแนวระดับหรือเกือบอยู่ในแนวระดับจะช่วยการออกดอกในพืชบางชนิดได้ ทั้งนี้เพราะกิ่งหรือยอดที่อยู่ในสภาพแนวระดับจะชะงักการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ ทำให้ส่วนเหล่านั้นสะสมสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอก

๔. การควบคุมการให้น้ำ
การลดความชื้นในดินในช่วงเวลาที่พืชสร้างตาดอก จะช่วยกระตุ้นให้ไม้ผลสร้างตาดอกได้ เพราะเป็นการลดการเจริญทางกิ่งใบ พืชก็จะสะสมคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมากพอในการเกิดดอก การปฏิบัติแบบนี้ได้ผลดีกับ สวนผลไม้ที่ได้รับการเอาใจใส่อย่างดีเท่านั้น ถ้าพืชในสวนนั้นไม่ค่อยได้น้ำ และอากาศมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงและต้นไม้ออกดอกเป็นจำนวนมากในปีที่แล้ว

ถ้าเราไปงดการให้น้ำเข้าอีก การเกิดดอกจะกระทบกระเทือน เพราะพืชจะใช้คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ให้หมดไป อุณหภูมิที่สูงนั้นก็จะช่วยเพิ่มการหายใจอีกทางหนึ่ง

๕. การควบคุมการใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนหรือปุ๋ยคอกกับไม้ผลที่มีอายุน้อยหรือไม้ผลที่ยังไม่ตกลูกจะทำให้พืชออกดอกช้าลง เพราะปุ๋ยจะไปเร่งการเจริญเติบโตทางกิ่งใบทำให้หมดเปลืองคาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ สำหรับต้นที่ให้ผลแล้วการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการเกิดดอกบ้าง บางทีจะทำให้จำนวนดอกลดลง การให้ปุ๋ยในช่วงที่ต้นไม้จะออกดอก โดยเฉพาะการให้ไนโตรเจน จึงมีผลโดยตรงต่อการเกิดดอก เพราะในช่วงนั้นต้นไม้ส่วนมากจะต้องชะงักการเจริญทางกิ่งใบต้นจึงจะออกดอก

๖. ผลจากสารเคมี
ในปัจจุบันมีการใช้ฮอร์โมนและสารเคมีบางอย่างช่วยกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอกหรือช่วยกระตุ้นให้ตาดอกที่พักตัวอยู่เจริญต่อไป ในสับปะรดเราสามารถกระตุ้นให้ออกดอกได้โดยใช้สารเคมีบางชนิด เช่น เกลือโซเดียมของกรดแนฟตาลีนอะซิติก แคลเซียมคาร์ไบด์ หรือ ethephon พ่นหรือหยอดลงไปที่ยอด

๗. อุณหภูมิ
พืชบางชนิด เช่น ลื้นจี่ ลำไย มะม่วง สตรอว์เบอร์รี จะออกดอกได้ดีถ้าอากาศเย็นก่อนถึงเวลาการออกดอกเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะความเย็นช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างสารที่ใช้ในการสร้างตาดอกและความแห้งแล้งที่มาพร้อมกับความเย็นจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ ทำให้ต้นไม้สะสมอาหารคาร์โบไฮเดรตได้มากขึ้น ทำให้อัตราส่วนของอาหารอยู่ในระดับพอดี ที่จะทำให้พืชออกดอกได้

ในการทำสวนผลไม้บางชนิด เช่น การปลูกมะม่วงในฟิลิปปินส์มีการช่วยให้พืชออกดอกโดยวิธีรมควัน คือ สุมไฟไว้บริเวณใต้พุ่ม หรือบริเวณใกล้เคียงกับต้นมะม่วง จะทำให้บรรยากาศในบริเวณสวนมีความแห้งแล้ง และต้นไม้อาจได้รับก๊าซบางอย่าง เช่น อะเซทิลีน หรือ เอทิลีนซึ่งอยู่ในควันไฟ ทำให้มะม่วงออกดอกได้ดีขึ้น

๘ . การตัดแต่ง
ไม้ผลที่มีพุ่มหนาทึบ กิ่งใบมักจะอวบน้ำ และการสะสมอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตจะมีน้อย พืชจะไม่ค่อยออกดอก การตัดกิ่งใบที่มากเกินไปออกเสียบ้างจะช่วยให้เกิดดอกได้แต่ต้องทำให้พอดีและคำนึงถึงอายุของต้นไม้ด้วยปกติการตัดแต่งไม้ผลที่ยังไม่เคยตกผลมาก่อนอาจทำให้เกิดดอกล่าช้า หรือลดจำนวนตาดอกได้

การตัดแต่งราก เป็นการลดเนื้อที่รากให้น้อยลง ทำให้พืชดูดแร่ธาตุอาหารได้น้อยลง การเจริญทางกิ่งใบก็อาจลดลง พืชก็จะสะสมอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น ทำให้เกิดดอกได้ การตัดแต่งรากโดยทั่วไป ควรทำก่อนต้นไม้ออกดอกหลายๆ สัปดาห์ วิธีปฏิบัติอาจขุดดินเป็นคูแคบๆ ห่างจากต้น ๑.๒๐-๑.๕๐ เมตร แล้วตัดรากออกเสียบ้าง อย่างไรก็ดีการปฏิบัติด้วยวิธีนี้ไม่ค่อยนิยมกันเพราะอาจมีอันตรายต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้



ระยะเวลาเกิดดอก และอายุผล
ระยะเวลาการออกดอกติดผลของไม้ผลอาจแตกต่างกันออกไปตามชนิดพืช และสภาพทางภูมิศาสตร์ ไม้ผลส่วนมากจะตกผลเป็นฤดูกาล คือปีละครั้ง ยกเว้นไม้ผลบางชนิดอาจให้ผลมากกว่า ๑ ครั้งต่อปี เช่น มะนาว ส้มโอ พุทรา ละมุด องุ่น เป็นต้น ตาราง ต่อไปนี้เป็นช่วงเวลาการออกดอก อายุของผลแก่ อายุจากปลูกจนถึงตกผลและจำนวนครั้งในการตกผลโดยประมาณของไม้ผลบางชนิดในประเทศไทย




http://guru.sanook.com/encyclopedia/การเกิดดอก/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 31/10/2011 10:51 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,014. ขบวนการหายใจภายในเซลล์

โดย ม.ร.ว.พุฒิพงศ์ วรวุฒิ


สิ่งที่มีชีวิตชั้นสูงทั้งพืชและสัตว์ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานในการดำรงชีพในอัตราที่สูงมาก สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จึงมีการหายใจแบบใช้ออกซิเจน ให้ออกซิเจนสันดาปกับโมเลกุลของอาหารภายในเซลล์ได้พลังงานออกมาใช้ในการดำรงชีพเกิดขึ้น การสันดาปโดยใช้ออกซิเจนภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต แตกต่างกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในอากาศมาก ในเซลล์การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย เป็นขั้นๆ ไปอย่างสลับซับซ้อน และพลังงานที่ได้จากการสันดาปโมเลกุลของอาหารน้อยกว่าที่เกิดจากภายนอกร่างกายมาก


หลังจากอาหารถูกย่อยแล้ว เส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ก็จะดูดอาหารที่ย่อยแล้วซึ่งมีโมเลกุลเล็กมาก คือ กรดอะมิโน น้ำตาลกลูโคส กรดมัน และกลีเซอรัลไปสู่เซลล์ ในระยะนี้ออกซิเจนยังไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารเหล่านี้ เซลล์ต้องอาศัยพลังงานที่ซ่อนอยู่ภายในเซลล์เป็นตัวจุดชนวนให้เริ่มเกิดการหายใจขึ้น นักวิทยาศาสตร์พบว่าในไซโตปลาสซึมของเซลล์ที่มีชีวิตจะมีสารเคมีชนิดหนึ่งมีชื่อว่า อะดีโนซีน ไตรฟอสเฟต(adenosine triphosphate) (เรียกย่อๆ ว่า ATP) ทำหน้าที่เก็บพลังงานที่เหลือใช้ไว้ในโมเลกุล ATP ประกอบไปด้วยอะดีนีน(adenine) น้ำตาลไรโบส (ribose sugar) และอนุมูลฟอสเฟต ๓ อนุมูล อนุมูลฟอสเฟตสองตัวหลัง (P2,P3) ในโมเลกุลของ ATP มีพลังงานสูงแฝงอยู่ที่แขนของมัน เมื่อเกิดมีการสลายตัวก็จะสามารถปล่อยพลังงานออกมาได้นับได้ว่า ATP เป็นสารเคมีที่คอยให้พลังงานจลน์ในรูปของงาน (wrok) ทุกๆ ชนิดที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิต เช่น

งานกล (mechanical work) ได้แก่ การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหว

งานออสโมซิส (osmocis work) ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับการรักษาความดันออสโมซิสในเซลล์ให้อยู่ในสภาวะสมดุล

งานเคมี (emical work) ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับการสร้าง และหลั่งสารเคมี เช่น น้ำย่อยอาหาร หรือ ฮอร์โมน เป็นต้น

งานไฟฟ้า (electrical work) ได้แก่ การสั่งงานของประสาทรับความรู้สึก เป็นต้น


สำหรับการหายใจซึ่งเกิดขึ้นภายในเซลล์นั้น ขั้นแรก ATP ในไซโตปลาสซึมจะเป็นผู้เริ่มต้นจุดชนวน โดยจะปล่อยแขนสุดท้ายของอนุมูลฟอสเฟตเพื่อให้แก่โมเลกุลของอาหาร เช่น กลูโคส (glucose) เพื่อทำให้มีพลังงานภายในเพิ่มมากขึ้น แล้ว ATP ก็จะกลายเป็นอะดีโนซีน ไดฟอสเฟต (adinosine diphosphate ADP) เราเรียกปฏิกิริยาที่ใส่ฟอสเฟตเข้าไปในโมเลกุลของน้ำตาลนี้ว่าฟอสฟอริเรชั่น (phosphorylation) ผลที่สุดจะมีการใส่แขนฟอสเฟตให้น้ำตาลกลูโคสถึง ๒ แขนพร้อมๆ กับมีการจัดระเบียบของอะตอมในโมเลกุลของน้ำตาลขึ้นใหม่ ได้เป็นน้ำตาลฟรักโทส ซึ่งมีฟอสเฟตประกอบอยู่ ๒ แขนเรียกว่า ฟรักโทส ไดฟอสเฟต (fructose diphosphate) ปฏิกิริยารวมอย่างง่ายที่สุดมีดังนี้


ขั้นต่อไปฟรักโทส ไดฟอสเฟต จะสลายตัวได้ ฟอสโฟกลีเซอรัลดีไฮด์ (phosphoglyceraldehyde) หรือเรียกสั้นๆ ว่า PGAL ซึ่งเป็นสารที่มีคาร์บอนเพียง ๓ อะตอม และมีอนุมูลฟอสเฟตจับอยู่ด้วยกัน ๑ แขน


หลังจากนั้น NAD นิโคตินาไมด์ อะดีนีน ไดนิวคลีโอไทด์ (nicotinamide adeninedinucleotide) ซึ่งเป็นสารที่พบประกอบอยู่ในไซโตปลาสซึมของเซลล์จะลดไฮโดรเจนจากPGAL และพร้อมๆ กันนั้น ATP จะสลายตัวให้แขนฟอสเฟตแก่ PGAL อีก ๑ แขนเกิดเป็นสารใหม่ คือ กรดไดฟอสโฟกลีเซอริค (diphosphoglyceric acid) และได้ ADP และริดิวส์ นิโคตินาไมด์ อะดีนีน ไดนิวคลีโอไทด์ (reduced nicotinamide adenine dinucleotide) (NADH2) เกิดขึ้นดังนี้


ต่อจากนี้ก็จะมีการคายพลังงานออกจากแขนของอนุมูลฟอสเฟตกลับคืนให้ ADPพร้อมทั้งสูญเสียน้ำออกไปจากโมเลกุล ได้เป็นกรดไพรูวิค (pyruvic) ดังนี้


ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทั้งหมดยังอยู่ในระยะที่ไม่มีออกซิเจนมาสันดาป พลังงานที่ได้ก็จะไม่มากนัก เพราะการสันดาปยังไม่ได้เป็นไปจนถึงขั้นสุดท้าย คือ ได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำออกมา พบว่าในสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มีใช้ออกซิเจนในการหายใจ กรดไพรูวิคจะได้รับไฮโดรเจนคืนมาจาก NADH2 เพื่อให้มี NAD กลับคืนเข้าสู่ไซโตปลาสซึมเพื่อเอาไว้ใช้จับไฮโดรเจนต่อไปอีก กรดไพรูวิคก็จะเปลี่ยนไปเป็นกรดนมหรือกรดแล็กติก(lactic acid) หรือ เอธิลอัลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนี้


ในสัตว์ชั้นสูง กรดแล็กติกอาจเกิดขึ้นขณะที่ออกกำลังกายมากๆ ปอดหายใจอาออกซิเจนไปให้ไม่ทัน ทำให้กล้ามเนื้อเปลี้ย (fatigue) ไม่มีแรงที่จะออกกำลังหรือทำงานต่อไปได้จนกว่าจะได้พักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง และมีออกซิเจนเข้าไปสันดาปเพียงพอเปลี่ยนกรดนมให้หมดไปจากกล้ามเนื้อ


ปฏิกิริยาทั้งหมดที่กล่าวมานี้เรียกว่าไกลโคไลซิส (glycolysis) ซึ่งเป็นการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน


เมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงได้รับออกซิเจนกรดไพรูวิคก็จะไม่ทำหน้าที่รับไฮโดรเจนคืนจาก NADH2 อีกต่อไป ส่วนหนึ่งอาจจะกลับมาทำหน้าที่สร้างโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรต (พวกแป้ง) ขึ้นมาใหม่ ในกรณีที่มีมากเกินพอส่วนที่เหลือก็จะถูกนำไปสันดาปต่อภายในหน่วยย่อย (organelles) เล็กๆ ที่พบอยู่มากมายในไซโตปลาสซึมเรียกไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ขั้นแรกกรดไพรูวิคจะสันดาปได้เป็นกรดน้ำส้มและคาร์บอนไดออกไซด์ กรดน้ำส้มนี้จะเข้าไปจับตัวกับโคเอนไซม์ A (Co.A) ในทันทีทันใดได้เป็นอซิติล โค.เอ (acetyl Co.A) ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการปล่อยไฮโดรเจนอะตอมให้กับ NAD ซึ่งเข้ามาอยู่ในไมโตคอนเดรียด้วย ดังนี้


จากนี้การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นกับ อซิติล โค.เอ เป็นขั้นๆ ไปไม่ต่ำกว่า ๑๐ ขั้นและผลที่สุดก็จะกลับมาเป็นสารเดิมได้อีก หมุนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยๆ ไป เราเรียกว่าวงของการสันดาปอาหารช่วงนี้ว่าเครปส์ไซเคิล (kreb's cycle) หรือซิตริคแอซิดไซเคิล (citricacid cycle) ในระหว่างเครปส์ไซเคิล ก็จะพบมีการลดเอาไฮโดรเจนอะตอมออกมาจากขบวนการมากมาย ไฮโดรเจนเหล่านี้ไม่ได้รวมตัวกับออกซิเจนในทันทีทันใด แต่จะถูกNAD นำออกจากไซเคิล เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในระยะก่อนที่จะเข้าเครปส์ไซเคิล และจะอยู่ในสภาพของ NADH2 เมื่อนำสารนี้เข้าไปอยู่ในไมโตคอนเดรียก็จะส่งต่อไปให้สารที่ทำหน้าที่ลำเลียงไฮโดรเจนตัวอื่นๆ ที่อยู่ในไมโตคอนเดรีย ต่อเนื่องกันไปเป็นทอดๆเราเรียกสารที่ร่วมกันนำไฮโดรเจนไปให้ออกซิเจน ซึ่งพบอยู่ในไมโตคอนเดรียนี้ว่า ไซโตโครม อิเล็กตรอน ทรานสปอร์ต ซิสเต็ม (cytochrome electron transport system)


ในที่สุดสารลำเลียงไฮโดรเจนตัวสุดท้ายก็จะนำไฮโดรเจนไปพบกับออกซิเจน แล้วทำปฏิกิริยากันได้น้ำเกิดขึ้น ระหว่างที่มีการลำเลียงไฮโดรเจนไปให้ออกซิเจน มีการปล่อยพลังงานออกมาด้วยมากมายจนสามารถที่จะเปลี่ยน ADP ให้กลับมาเป็น ATP เก็บเอาไว้ในรูปของพลังงานเคมีสำหรับเริ่มต้น ขบวนการต่างๆ ทุกชนิดที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากจะมีการสร้าง ATP เพิ่มขึ้นในระหว่างที่มีการนำไฮโดรเจน อะตอมไปให้ออกซิเจนในไซโตโครม อิเล็กตรอน ทรานสปอร์ตซิสเต็มแล้ว การสันดาปที่เกิดในเครปส์ไซเคิลก็มีการสร้าง ATP เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แต่ไม่มากเท่า สำหรับคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะพบถูกขับออกมาจากขบวนการสันดาปในเครปส์ไซเคิล


รายละเอียดของปฏิกิริยาทางเคมี ที่เกิดจากการหายใจภายในเซลล์อาจหาดูได้จากตำราชีววิทยา สรีรวิทยา หรือชีวเคมีเบื้องต้นทั่วๆ ไป โดยสรุปกล่าวได้ว่าในการสันดาปอาหารพวกน้ำตาลกลูโคสแต่ละโมเลกุลด้วยออกซิเจนจนถึงขั้นสุดท้ายจะมีการสร้าง ATPทั้งหมดถึง ๓๖ โมเลกุล คือ สร้างมาจากไกลโคไลซิส ๒ โมเลกุล และจากไซโตโครมอิเล็กตรอน ทรานสปอร์ตซิสเต็ม ๓๒ โมเลกุล โดยพบว่าทุกๆ ๒ อะตอมของไฮโดรเจนที่ถูก NAD นำไปให้ไซโตโครม ซิสเต็ม จะสร้าง ATP ได้ ๓ โมเลกุลจะเห็นได้ว่าระบบไซโตโครมในไมโตคอนเดรียของเซลล์ เป็นหน่วยที่สำคัญอย่างยิ่งที่สิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่ต้องใช้พลังงานมากๆ สำหรับดำรงชีวิตจะขาดเสียมิได้ ยาพิษต่างๆ เช่น ไซยาไนด์ก็พบว่ามีฤทธิ์ห้ามการทำงานของระบบไซโตโครมภายในไมโตคอนเดรีย จึงทำให้ผู้รับประทานสารนี้เข้าไปตายได้โดยง่าย เนื่องจากเซลล์ของร่างกายไม่สามารถที่จะหายใจและให้พลังงานออกมาได้เพียงพอ


สำหรับการสันดาปของอาหารพวกโปรตีนและไขมันก็พบว่า จะมีการสลายโมเลกุลออกเป็นขั้นๆ เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะมาเข้าเครปสไซเคิลนั้น โมเลกุลของอาหารพวกไขมันจะอยู่ในสภาพของ PGAL และอซิติล โค.เอ อาหารพวกโปรตีนก็จะมีการสลายเอาไฮโดรเจนออกมาจากโมเลกุลและเปลี่ยนไปเป็นได้ทั้งกรดไพรูวิค และอซิติล โค.เอเนื่องจากอาหารพวกไขมันเป็นสารที่โมเลกุลถูกสันดาปได้มากกว่าอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน เมื่อสันดาปโดยสมบูรณ์แล้วแต่ละหน่วยน้ำหนักของอาหารไขมันจะให้พลังงานได้มากกว่าอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนประมาณ ๒ เท่าเศษ (ดูเพิ่มเติมเรื่อง ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย)





บรรณานุกรม
• ม.ร.ว. พุฒิพงศ์ วรวุฒิ

http://guru.sanook.com/encyclopedia/ขบวนการหายใจภายในเซลล์/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/11/2011 9:36 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,015. การจัดการธาตุอาหารในดินเพื่อการเกษตรดีที่เหมาะสม

โดย อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์



แนวทางในการผลิตพืชตามแบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) เป็นแนวทางที่มีจุดประสงค์สำคัญที่ต้องการให้ผู้ผลิตมีการใช้เทคโนโลยีการจัดการระบบการผลิตแบบผสมผสาน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมทั้งในดิน น้ำ และอากาศ นอกจากนั้นหากเกษตรกรมีการผลิตพืชโดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


ดินถือว่าเป็นทรัพยากรการผลิตที่มีคุณค่า และหากดินสูญเสียคุณสมบัติที่ดีต่อการปลูกพืชแล้ว การแก้ไขให้ดินฟื้นคืนมาดังเดิมค่อนข้างทำได้ยาก หรือหากทำได้ก็ต้องใช้ทุนสูงมาก ตัวอย่างได้แก่ การเกิดดินเค็มในภาคกลางจากการทำนากุ้งกุลาดำในพื้นที่น้ำจืด หรือการปนเปื้อนของโลหะหนักในพื้นที่ทิ้งขยะในบางบริเวณ ดังนั้นหากเราต้องการใช้ทรัพยากรดินที่เหมาะสมทางการเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เป็นประโยชน์นานที่สุด จึงควรมีการจัดการดินอย่างเหมาะสม



ดิน คืออะไร
ดิน คือ เทหวัตถุธรรมชาติ ที่เกิดตามธรรมชาติรวมกันเป็นชั้น จากส่วนผสมของแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สลายตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยกับอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพัง อยู่รวมเป็นชั้นบาง ๆ ห่อหุ้มผิวโลก และเมื่อมีอากาศและน้ำเป็นปริมาณที่เหมาะสมแล้ว จะช่วยค้ำจุนพร้อมทั้งช่วยในการยังชีพและการเจริญเติบโตของพืช


การสูญเสียธาตุอาหารจากดิน
ธาตุอาหารในดินอาจสูญเสียไปได้จากหลายสาเหตุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดการของเกษตรกร หากเกษตรกรมีการเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับพยายามลดการสูญเสียธาตุอาหาร ก็จะสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ สำหรับการสูญเสียธาตุอาหารอาจแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ทาง คือ

1. สูญเสียไปกับผลผลิตที่เก็บเกี่ยวไปจากดิน
พืชที่มีสัดส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไป จากดินในสัดส่วนที่สูงมากต่อรอบปี จะช่วยเร่งให้มีการลดลงของธาตุอาหารไปจากดินในอัตราสูง


2. สูญเสียไปจากการชะละลายของน้ำ
การใช้ปุ๋ยที่มีการละลายน้ำสูง เช่น ปุ๋ยเคมี หาก มีการให้น้ำที่มากเกินไป น้ำส่วนที่เกินกว่าดินจะอุ้มไว้ได้ก็จะไหลออกไปจากขอบเขตรากของพืช ซึ่งอาจไหลลงบนผิวดินตามความลาดเทของพื้นที่ลงไปสู่ที่ต่ำ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หรืออาจไหลลงไปในแนวดิ่งเคลื่อนที่ลงไปสู่น้ำใต้ดิน ก็อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของธาตุปุ๋ยในน้ำใต้ดินได้ าตุปุ๋ยที่มีการปนเปื้อนแล้ว จะมีผลต่อมนุษย์สูง คือ ไนโตรเจนในรูปไนเตรท ซึ่งมีรายงานการศึกษากล่าวว่า น้ำที่มีการปนเปื้อนด้วยไนเตรทในปริมาณสูงอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้


3. การสูญเสียเนื่องจากการชะล้างพังทลาย หรือการกร่อนของดิน
ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินจะอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้อยู่ในสารละลายดิน ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน และรูปที่เป็นอิออนที่ถูกดูดซับอยู่กับอนุภาคดิน ธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในสารละลายดินจะสูญเสียไปด้วยการ ชะละลายตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 ส่วนธาตุอาหารที่เกาะอยู่กับอนุภาคดินนั้น หากเกษตรกรมีการปลูกพืชบนพื้นที่ที่มีความลาดชันค่อนข้างสูง และไม่มีระบบอนุรักษ์ดินเพื่อลดการกร่อนของดินแล้ว หากดินถูกกัดเซาะพังทลายสูญหายไปจากพื้นที่แล้ว จะเกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชได้


4. การสูญเสียจากการระเหย
ธาตุปุ๋ยบางธาตุโดยเฉพาะไนโตรเจน สามารถสูญหายไปจากดินโดยการระเหยไปในรูปของก๊าซแอมโมเนียได้ ดังนั้นในการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนทั่วไปจึงมีข้อแนะนำเกษตรกรให้มีการพรวนกลบเพื่อลดการระเหิดของก๊าซแอมโมเนียไปสู่บรรยากาศด้วย



ความต้องการธาตุอาหารของพืช
พืชต่างชนิดกันจะมีความต้องการใช้ธาตุอาหารพืชแตกต่างกัน แม้แต่พืชชนิดเดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ กับมะม่วงเขียวเสวย ที่มีอายุการบริโภคผลดิบและผลสุกแตกต่างกัน ก็ต้องมีความต้องการธาตุอาหารในสัดส่วนที่แตกต่างกัน ยิ่งไปกว่านั้นความต้องการธาตุอาหารพืชในแต่ละช่วงอายุยังมีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งพอจะกล่าวโดยสรุปความต้องการธาตุอาหารพืชในแต่ละช่วงอายุได้ดังนี้

1. ระยะการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้าน
ในระยะนี้มักเป็นช่วงแรกของการเจริญเติบโตของพืช พืชจะมีการเจริญเติบโตทางกิ่งก้าน สร้างลำต้นและใบ ในช่วงนี้พืชจะมีความต้องการธาตุไนโตรเจน (N) ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับธาตุปุ๋ยชนิดอื่น

2. ระยะการสร้างดอก
แต่เดิมมักมีความเข้าใจกันว่าธาตุฟอสฟอรัส (P) จะช่วยกระตุ้นการสร้างตาดอก แต่จากผลการทดลองในไม้ผลหลายชนิดของศูนย์วิจัยพืชสวน พบว่า การใช้ปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสไม่มีผลต่อการกระตุ้นให้ไม้ผลสร้างตาดอก แต่ฟอสฟอรัสจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาของดอก ส่วนการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตาใบเป็นตาดอกนั้นจะเป็นอิทธิพลของระดับฮอร์โมนในต้นพืช

3. ระยะการสร้างผลและเมล็ด
ในระยะนี้พืชจะมีการสะสมอาหารในผลและเมล็ด โดยสารอาหารที่พืชสะสมประเภทหนึ่ง คือ แป้งและน้ำตาล ธาตุปุ๋ยที่ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล คือ โพแทสเซียม (K) เกษตรกรบางรายจึงเรียกปุ๋ยที่ให้ธาตุโพแทสเซียมว่าปุ๋ยหวาน เนื่องจากสมบัติในการส่งเสริมคุณภาพของผลผลิตทางด้านการส่งเสริมการสะสมน้ำตาลในผลผลิตนั้นเอง





http://donchedi.suphanburi.doae.go.th/opi.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/11/2011 10:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,016. 'ถั่วฝักยาวพันธุ์ใหม่'



ถั่วฝักยาวพันธุ์ใหม่ ถั่วฝักยาว เป็นพืชผักที่คนไทยนิยมบริโภคกันมากทั้งนำไปปรุงอาหาร และเป็นเครื่องเคียงได้หลายเมนู ที่นิยมกันมากก็ต้องมีรสชาติหวานกรอบ

แต่ปัจจุบันยังมีสายพันธุ์ถั่วฝักยาว ค่อนข้างจำกัด เกษตรกรและผู้บริโภคมีทางเลือกน้อย พันธุ์ใหม่มาแนะนำ ซึ่งคุณกรุง สีตะธานี นักวิชาการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ผลิตขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ และกำลังส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกเป็นการค้า

มีจุดเด่นอย่างไร ถั่วฝักยาวพันธุ์ใหม่นี้ชื่อว่า ถั่วงู เพราะลักษณะของฝักถั่วที่มีขนาดใหญ่ บิดงอไปมา และผิวของฝักมีลายคล้ายหนังงู ถั่วฝักยาวพันธุ์นี้ มีสายพันธุ์ดั้งเดิมมาจากต่างประเทศ

ได้ปลูกและทดสอบแล้วว่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งจะมีลำต้นและใบค่อนข้างใหญ่ ออกดอกเมื่ออายุ 50 วัน ตามปกติถั่วฝักยาวทั่วไปจะเก็บฝักได้ หลังจากเริ่มติดฝัก 7 วัน แต่สำหรับถั่วงู แนะนำว่า ควรจะเก็บฝักอายุ 9 วัน เพราะจะได้ฝักเต็มและน้ำหนักมากขึ้น โดยจะทยอยเก็บฝักจนหมดภายใน 20 วัน และจะให้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1 ตัน ซึ่งน้อยกว่าถั่วฝักยาวทั่วไปประมาณครึ่งถึงหนึ่งเท่าตัว

ส่วนเมล็ดพันธุ์นั้น เกษตรกรสามารถเก็บไปปลูกต่อได้ครับ แต่อาจมีข้อจำกัดที่แต่ละฝักจะให้เมล็ดน้อย เพียง 3-5 เมล็ดเท่านั้น [...]




http://www.kasetthai.net


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:08 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/11/2011 10:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,017. ธาตุอาหารกับความหวานของผลไม้

ในการปลูกไม้ผลให้ได้ผลผลิตที่มีรสชาติดีนั้นธาตุอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญ ต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต


นับว่าคนไทย โชคดีที่เมืองไทยมีผลไม้หลากหลายชนิด เช่น เงาะ ทุเรียน มะม่วง มะละกอ มังคุด ลองกอง ลางสาด ลำไย และลิ้นจี่ เป็นต้น ทยอยออกสู่ตลาดให้หารับประทานได้ตลอดทั้งปี

ในการปลูกไม้ผลให้ได้ผลผลิตที่มีรสชาติดีนั้นธาตุอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญ ต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต หากไม้ผลได้รับไม่เพียงพอก็ทำให้เจริญเติบโตได้ไม่ดีและให้ผลผลิตน้อย โดยเฉพาะในไม้ผลด้วยแล้ว ธาตุอาหารยังมีความสำคัญต่อคุณภาพของผลผลิต ดังนั้นหากเข้าใจถึงบทบาทของธาตุอาหารต่อคุณภาพต่างๆ ของผลผลิตไม้ผลแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการผลิตไม้ผลให้ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

เมื่อกล่าวถึงคุณภาพของผลไม้ สิ่งที่มองเห็นได้ง่ายก็คือลักษณะภายนอกซึ่งได้แก่ รูปร่าง ขนาด สี ตำหนิ ตลอดจนความสม่ำเสมอ ผู้บริโภคโดยทั่วไปมักให้ความสำคัญเกี่ยวกับลักษณะเหล่านี้ซึ่งแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับไม้ผลแต่ละชนิด ผู้บริโภคที่ช่างเลือกซื้อก็มักมีเกณฑ์อยู่ในใจว่าจะเลือกผลไม้แบบไหน ส่วนลักษณะภายในของผลไม้ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับรสชาตินั้นเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ผู้บริโภคจะทราบได้ว่ามีรสชาติดีตามที่ต้องการหรือไม่ก็ต่อเมื่อได้ลองชิมดูเท่านั้น รสชาติต่างๆ เช่น หวาน เปรี้ยว ฝาด และขม จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสารต่างๆในผลไม้นั้นๆ

รสชาติของผลไม้แต่ละชนิด หรือแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกันออกไป และตัวผู้บริโภคเองก็อาจจะชอบรสชาติที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม คนไทยโดยทั่วไปมักชอบผลไม้ที่มีรสหวานนำ และอาจมีบ้างที่ชอบหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ดังนั้นเวลาซื้อผลไม้จึงมักมีคำถาม (ข้อบังคับ) เสมอว่า หวานมั๊ย ? หวานหรือเปล่า ? และผู้ซื้อก็มักต้องการคำตอบจากผู้ขายว่าหวาน (เพียงเท่านั้น)

การที่ผลไม้มีรสหวานนั้นแสดงว่ามีน้ำตาลอยู่มาก และถ้ามีรสเปรี้ยวก็แสดงว่ามีกรดอยู่มาก หากมีน้ำตาลและกรดในสัดส่วนที่พอเหมาะก็ทำให้ผลไม้มีรสชาติดีเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค ความหวานที่ว่านี้จัดได้ว่าเป็นคุณภาพที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และขึ้นกับปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำตาล ของแข็งที่ละลายน้ำได้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการหักเหของแสงเมื่อส่องผ่านน้ำ

สำหรับการวัดปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ในน้ำผลไม้ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า รีแฟรกโตมิเตอร์ (Refractometer) ค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์บริกซ์ (%Brix) ซึ่งสามารถเป็นตัวบอกถึงปริมาณน้ำตาลหรือความหวานของผลไม้ได้อย่างคร่าวๆ ถ้าค่าที่วัดได้มีค่าสูงแสดงว่ามีของแข็งที่ละลายน้ำได้อยู่มาก หรือมีน้ำตาลมากซึ่งทำให้ผลไม้นั้นมีรสหวาน ตัวอย่างผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ลองกอง มักพบว่ามีค่าเปอร์เซ็นต์บริกซ์ในน้ำคั้นสูงถึง 17-18 ในขณะที่ในฝรั่งมีค่าเพียง 10-11


ความหวานหรือปริมาณน้ำตาลในผลไม้นี้ย่อมขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูกเป็นสำคัญ โดยเห็นได้ชัดว่ามะขามหวานและมะขามเปรี้ยวมีความหวานแตกต่างกันมาก ในบางครั้งแม้ว่าจะปลูกไม้ผลพันธุ์ที่มีรสหวานถูกใจแล้ว แต่ปรากฏว่าผลผลิตที่ได้มีรสชาติไม่เหมือนเดิม ปัญหาเช่นนี้พบได้ทั่วไปในลองกองทั้งๆ ที่ได้มีการตรวจสอบและยืนยันชัดเจนแล้วว่า ลองกองที่ปลูกกันทั่วไปนั้นเป็นพันธุ์เดียวกัน แต่รสชาติโดยเฉพาะความหวานแตกต่างกันมาก ลองกองที่ออกนอกฤดูกาลมักมีความหวานที่แตกต่างกันมาก โดยมีเปอร์เซ็นต์บริกซ์ตั้งแต่ 15-18 ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากเกษตรกรเก็บผลผลิตเร็วเกินไป หรือไม่ก็เกิดจากการจัดการธาตุอาหารไม่เหมาะสม

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่าธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชมีทั้งหมด 17 ธาตุ แต่ธาตุที่พืชต้องการมากและมีในดินไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช และจำเป็นต้องใส่ให้กับพืชในรูปของปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อความหวานของผลไม้ มีรายงานการวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่ได้ศึกษาผลของธาตุอาหารต่อความหวานของผลไม้


ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางด้านการสร้างกิ่ง ก้าน และใบ ในพืชผักทำให้ใบสีเขียว อวบน้ำ และเส้นใยน้อย สำหรับในไม้ผลมีรายงานว่าไนโตรเจนช่วยเพิ่มปริมาณกรดและของแข็งที่ละลายน้ำได้ ในมะนาว แอปเปิล และเกรฟฟรุต โดยที่ไนโตรเจนมีผลต่อการเพิ่มกรดมากกว่าของแข็งที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นในระยะติดผลพืชต้องได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอจึงจะทำให้มีการสร้างน้ำตาลได้ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเพราะทำให้มีการสร้างกรดสูงด้วยซึ่งอาจจะทำให้ผลไม้มีรสเปรี้ยว


ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่สะสมมากในเมล็ด และมักใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงในระยะก่อนออกดอก อย่างไรก็ตาม ในสวนไม้ผลที่มีการใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงซ้ำๆ กันทุกปีจะทำให้ฟอสฟอรัสสะสมในดินมากจนเกินความต้องการของพืช และส่งผลทำให้พืชขาดธาตุอาหารอื่นๆ เช่น สังกะสี และทองแดงได้ นอกจากนั้นหากพืชได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไปก็มีผลต่อคุณภาพของไม้ผลได้ มีรายงานว่าในส้มที่มีฟอสฟอรัสในใบสูงจะทำให้ปริมาณกรดและของแข็งที่ละลายได้ต่ำกว่าส้มที่มีฟอสฟอรัสในใบต่ำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าฟอสฟอรัสช่วยเพิ่มปริมาณน้ำคั้น จึงทำให้กรดและของแข็งที่ละลายน้ำได้เจือจางลง


โพแทสเซียมเป็นธาตุที่มีผลต่อคุณภาพผลไม้ชัดเจนกว่าธาตุอื่นๆ ทั้งนี้เพราะโพแทสเซียมมีบทบาทที่สำคัญต่อการสร้างและการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลซึ่งมีผลโดยตรงต่อการสะสมน้ำตาลในผลไม้ ได้มีการศึกษาในฝรั่ง ท้อ และสับปะรด พบว่าโพแทสเซียมช่วยเพิ่มปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และจากการศึกษาในลองกองก็พบว่า เมื่อใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ให้กับลองกองต้นละ 1 กิโลกรัม ในระยะหลังติดผล 5 สัปดาห์ ทำให้ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ในระยะเก็บเกี่ยวสูงถึงประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ในขณะที่ต้นไม่ได้รับปุ๋ยโพแทสเซียมมีค่าของแข็งที่ละลายน้ำได้เพียง 15 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ภาพแสดงการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมช่วยเพิ่มของแข็งที่ละลายได้ในผลลองกอง


ดังนั้น หากต้องการให้ไม้ผลมีการสร้างและการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลไปสะสมที่ผลได้เต็มที่ตามความสามารถของไม้ผลพันธุ์นั้น การใส่ปุ๋ยให้ไม้ผลได้รับโพแทสเซียมอย่างเพียงพอย่อมทำให้มีการสะสมน้ำตาลในผลเกิดขึ้นได้เต็มที่ และทำให้ผลไม้มีความหวานตามธรรมชาติตรงกับพันธุ์ไม้ผลชนิดนั้นได้ ความหวานของผลไม้เกิดจากการสะสมน้ำตาล และการสร้างน้ำตาลนั้นถูกควบคุมโดยพันธุ์ไม้ผลชนิดนั้นๆ เป็นสำคัญ สำหรับธาตุอาหารพืชก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้มีการสร้างและเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลไปสะสมที่ผลโดยเป็นการทำหน้าที่ร่วมกันของธาตุหลายๆธาตุ แต่โพแทสเซียมซึ่งเป็นธาตุที่พืชต้องการมากมีบทบาทที่ชัดเจน เพราะโพแทสเซียมมีหน้าที่สำคัญในการสร้างและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลในพืช ประกอบกับดินปลูกไม้ผลส่วนใหญ่มีธาตุโพแทสเซียมต่ำ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในระยะหลังติดผลจะช่วยลดการร่วงของผล เพิ่มขนาดของผล และเพิ่มความหวานของผลไม้ได้



ข้อมูลจาก : รศ.ดร.จำเป็น อ่อนทอง ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112


http://share.psu.ac.th/blog/marky12/17332
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 01/11/2011 11:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,018. การเพาะเมล็ดที่นิยมปฏิบัติ



๑. การเพาะในกระบะเพาะชำ
กระบะเพาะชำจะต้องมีขนาดที่สามารถเอื้อมมือเข้าไปทำงานได้สะดวกทั้งสองด้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะกว้างประมาณ ๑๐๐-๑๒๐ เซนติเมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ ความสูงประมาณ ๑๕-๓๐ เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ต้องการเพาะ ส่วนพื้นล่างของกระบะต้องรองพื้นด้วยวัสดุช่วยระบายน้ำ ได้แก่ หินบด กรวด อิฐทุบ ขนาดเล็กประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร ควรปูด้วยทรายหยาบข้างบนแล้วอัดพื้นให้เรียบ ความสูงของพื้นชั้นล่างที่ระบายน้ำประมาณ ๒-๕ เซนติเมตร รองพื้นขึ้นสุดท้ายด้วยใยมะพร้าวหรือเศษหญ้าแห้ง บริเวณด้านข้างกระบะส่วนล่างที่ติดกับพื้นควรเจาะรูระบายน้ำโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขัง เพราะจะทำให้เมล็ดเน่าเสียหายได้ เมื่อเตรียมกระบะเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเตรียมวัสดุ เพาะชำ ดังนี้


การเตรียมวัสดุเพาะชำ
วัสดุเพาะชำสำหรับการเพาะเมล็ดต้องสามารถเก็บความชื้นและระบายน้ำได้ดีพอสมควรอีกทั้งไม่จับกันแน่นเกินไป ซึ่งจะสร้างความยุ่งยากในการถอนย้ายต้นกล้า ได้แก่

๑. ขี้เถ้าแกลบเก่าที่ทิ้งไว้ค้างปี ถ้าเป็นขี้เถ้าแกลบใหม่ต้องผ่านการล้างน้ำมาหลายครั้ง เพื่อลดความเป็นด่านของขี้เถ้าแกลบ

๒. ขุยมะพร้าว เป็นขุยที่ได้จากการตีเปลือกมะพร้าวแห้งเพื่อนำเอาเส้นใยไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้วเหลือแต่ขุยซึ่งมีใยปะปนอยู่ค่อนข้างน้อย เป็นวัสดุเพาะชำที่เก็บความชื้นได้ดีมาก

๓. วัสดุเพาะชำผสมขุยมะพร้าว ทราย ปุ๋ยคอก และดิน ในกรณีที่เพาะเลี้ยงไว้ในเวลาหลาย ๆ วัน การใช้ขุยมะพร้าวเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เหมาะกับเมล็ดพืชบางชนิดที่ไม่ต้องการความชื้นแฉะมาก ดังนั้นต้องนำทรายเข้ามาช่วยผสมเพื่อไม่ให้เกิดความชื้นมากเกินไป

๔. ดินร่วน ในกรณีที่ไม่สามารถหาวัสดุที่กล่าวข้างต้นได้ก็สามารถใช้ดินร่วนเป็นวัสดุเพาะชำได้ดีเช่นกัน ฉะนั้น การเลือกใช้วัสดุเพาะชำแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับชนิดพืชและความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่สภาพอากาศและ บริเวณที่ตั้งของกระบะเพาะชำ


วิธีการเพาะ
๑. นำเมล็ดที่ผ่านการคัดเลือกและเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วมาเพาะในกระบะโดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นและระหว่าง แถว ๑๐ x ๑๐ หรือ ๑๐ x ๑๕ เซนติเมตร (เฉพาะไม้ผลที่มีใบใหญ่ เช่น มะม่วง ขนุน) การวางเมล็ดควรวางส่วนขั้วของเมล็ดลงในวัสดุเพาะชำ เพื่อให้รากพืชที่เกิดใหม่หาอาหารได้ง่ายและยังทำให้ระบบรากพืชตั้งตรงแข็งแรงอีกด้วย จากนั้นกลบดินหรือวัสดุเพาะชำให้มิดเมล็ด แต่พืชบางชนิดไม่จำเป็นต้องกลบดินจนมิดเมล็ด เช่น มะม่วง มะพร้าว ในกรณีที่ต้องกลบวัสดุเพาะชำให้มิดเมล็ดก็ไม่ควรเกิน ๒-๓ เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดพืชนั้น ๆ

๒. ทำวัสดุพรางแสงในช่วงแรก กรณีที่มีแสงเข้มมากอาจจะทำให้เมล็ดงอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร หลังจากเมล็ดเริ่มงอกหมดแล้วจึงนำวัสดุพรางแสงออกทีละน้อยจนกว่าจะมีใบจริง จนกระทั่งใบจริงชุดแรกแก่แล้วจึงนำวัสดุพรางแสงออกให้หมด

๓. การให้น้ำ หลังจากทำการเพาะเมล็ด ต้องรดน้ำให้ชุ่ม การให้น้ำช่วงแรกอาจจะต้องใช้บัวรดน้ำ หรือถ้าใช้ระบบให้น้ำผ่านทางท่อสายยางก็จำเป็นต้องหาฝักบัวเสียบต่อตอนปลายท่อสายยาง เพื่อชะลอความแรงของน้ำที่จะกระแทกวัสดุ เพาะชำที่กลบเมล็ดไว้ รวมทั้งในกรณีที่ต้นอ่อนเริ่มงอกแล้ว การให้น้ำแบบใช้ท่อสายยางที่ไม่ได้สวมหัวบัวที่ส่วนปลายก็อาจจะทำให้ต้ชพืชที่งอกขึ้นมาใหม่บอบช้ำ และหักล้มเสียหาย ช่วงเวลาที่ให้น้ำควรเป็นเวลาช่วงเช้าตรู่และเย็น ควรให้ทุกวัน แต่ก็พิจารณาความเหมาะสมของสภาพอากาศด้วย ถ้ามีฝนตกลงมาควรงดการให้น้ำ

๔. การปฏิบัติดูแลรักษา ควรฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโรค แมลง เมื่อพบการถูกทำลาย และกำจัดวัชพืชโดยใช้มือถือถอนออกจะดีที่สุด ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชฉีดพ่นในแปลงกล้า เพราะอาจทำให้ต้นกล้าตายได้



๒. การเพาะในแปลงเพาะ
วิธีการนี้เป็นวิธีที่ง่าย ลงทุนน้อย เพียงเตรียมแปลงบนดินโดยวิธีการขุดดินตั้งแปลงเพาะให้ความกว้างของแปลงประมาณ ๑-๑.๕ เมตร ความยาวแล้วแต่ความเหมาะสม

วิธีการเตรียมแปลง
๑. ควรเลือกแปลงที่อยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำ เป็นที่ที่น้ำไม่ท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก ห่างไกลจากจอมปลวก ขุดดินตั้งแปลงให้ส่วนด้านยาวของแปลงอยู่ในแนวทิศเหนือใต้หรือขวางแนวแสงจากดวงอาทิตย์ ดินที่ทำการขุดจะต้องย่อยเมล็ดดินให้แตกละเอียดพอสมควร ตากดินไว้ประมาณ ๑๐-๑๕ วัน ในกรณีที่ดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ อาจจะต้องใส่ปุ๋ยคอกเพิ่มคลุกเคล้าเข้ากับดินด้วย และถ้าพบว่าดินบริเวณนั้นเป็นกรดจะต้องใส่ปูนขาวผสมไปในดินที่เตรียม ไว้เช่นกัน เพื่อลดความเป็นกรดของดิน

๒. ทำวัสดุพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิและความเข้มของแสง ซึ่งอาจจะมีผลต่อการงอกของเมล็ดได้ เพราะถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปอาจจะทำให้เมล็ดไม่งอกได้เช่นกัน เมื่อต้นกล้างอกหมดแล้ว จึงนำวัสดุพรางแสงออกทีละน้อยจนหมด เพราะถ้านำวัสดุพรางแสงออกหมดเลยทีเดียวก็อาจทำให้ใบต้นกล้าไหม้แห้งตายได้

๓. การให้น้ำและการปฏิบัติดูแลรักษาก็ทำเช่นเดียวกับวิธีเพาะเมล็ดในกระบะเพาะ


๓. การเพาะในภาชนะ
ภาชนะที่ใช้เพาะได้แก่ กระถางดินเผา ถาดเพาะชำสำเร็จรูป หรือถุงพลาสติกสีขาวหรือสีดำก็ได้ แต่ถุงสีดำจะช่วยให้ระบบรากพืชเจริญได้ดีกว่าสีขาว ขนาดของภาชนะขึ้นอยู่กับชนิดต้นพืชที่ทำการเพาะ รวมทั้งเวลาในการเพาะเลี้ยงว่ายาวนานเท่าไร ถ้าเพาะเลี้ยงนานควรใช้ภาชนะใหญ่ และภาชนะที่นำมาใช้ต้องเป็นภาชนะที่มีรูระบายน้ำที่บริเวณส่วนก้นภาชนะ

วิธีการเพาะ
๑. เพาะเมล็ดลงในภาชนะโดยตรง วิธีการนี้หากหยอดเมล็ดพืชเพียงเมล็ดเดียวลงในภาชนะ ถ้าต้นกล้าไม่งอกจะทำให้สูญเสียเนื้อที่ในการวางภาชนะและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติดูแลรักษา ดังนั้น ในกรณีที่เมล็ดพืชมีขนาดเล็กอาจจะเพิ่มจำนวนเมล็ดขึ้นอีกเป็น ๒-๓ เมล็ด และถ้าต้นพืชงอกขึ้นใหม่ในกระถาง ๒-๓ ต้น ก็ให้ถอนต้นที่อ่อนแอหรือมีขนาดเล็กกว่าออกเหลือต้นที่โตสมบูรณ์เพียงต้นเดียว

๒. วิธีย้ายชำต้นกล้าอ่อน วิธีการนี้เป็นวิธีการเตรียมภาชนะเพาะชำที่บรรจุด้วยวัสดุเพาะชำไว้เรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกันการเพาะเมล็ดพืชที่ต้องการจะเพาะในถาดเพาะชำซึ่งบรรจุด้วยวัสดุเพาะชำที่สามารถทำการแยกต้นอ่อนออกมาได้ง่าย และเมื่อเมล็ดงอกแล้วก่อนที่ใบเลี้ยงจะคลี่ออกก็ทำการยกถาดเพาะชำไปแช่น้ำเพื่อให้วัสดุเพาะชำอ่อนตัวแล้วคัดเลือกกล้าอ่อนมาเพาะในภาชนะที่เตรียมไว้อีกทีหนึ่ง วิธีการนี้จะช่วยให้ได้ต้นกล้าขึ้นเต็มที่ทุกภาชนะ และได้ต้นพืชใหม่ที่มีขนาดเท่า ๆ กันอีกด้วย อีกทั้งเป็นการช่วยลดจำนวนภาชนะชำเมล็ดพันธุ์และลดต้นทุนในการปฏิบัติดูแลรักษาอีกด้วย


http://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/17/nk17k6.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 02/11/2011 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,019. หอมมะลิไทย เสียแชมป์โลก ให้ข้าวจากพม่า

เนชั่น


หนังสือพิมพ์ วอลล์สตรีท เจอร์เนิล รายงานวันนี้ว่าในการการประกวดข้าวที่นครโฮจิมินห์ซิตี้ของเวียดนามเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการประกวดข้าวกว่า 30 สายพันธุ์จากทั่วโลก โดยพิจารณาจากรสชาติ, สี และคุณภาพ และปีนี้เป็นการประกวดครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นร่วมกับการประชุมข้าวโลกโดยองค์กร ไรซ์ เทรดเดอร์


ข้าวหอมมะลิของไทยที่คว้ารางวัลชนะเลิศมาได้ 2 ปีซ้อน ต้องสูญเสียตำแหน่งให้แก่ข้าวพันธุ์ Pearl Paw San ของพม่า ที่คว้ารางวัลข้าวรสชาติดีที่สุดไปครองในปีนี้


เจเรมี ซวิงเกอร์ ผู้บริหารองค์กร ไรซ์ เทรดเดอร์ กล่าวว่า โลกนี้มีข้าวอยู่หลากหลายสายพันธุ์ และแต่ละพันธุ์ก็มีลักษณะเด่นเป็นของตัวเอง ซึ่งในปีนี้ ข้าวที่พลาดรางวัลชนะเลิศไปแบบฉิวเฉียด ได้แก่ ข้าวสีดำพันธุ์ Venere จากอิตาลี และข้าวหอมมะลิของไทย

ครอสส์ ระบุว่า ข้าวที่ยังคงกลิ่นหอมอยู่ หลังจากหุงสุกแล้ว จะได้คะแนนดีเป็นพิเศษ แต่ลักษณะโดยรวมของข้าวก็มีความสำคัญเช่นกัน ข้าวที่ไม่บริสุทธิ์, มีฝุ่นผงเจือปน หรือเมล็ดหัก ก็จะเสียคะแนน


ทิน ฮตุต อู ที่ปรึกษาอาวุโสสมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งพม่า ระบุว่า ข้าว Pearl Paw San ของพม่าที่คว้ารางวัลชนะเลิศปีนี้ เป็นข้าวเมล็ดกลมที่มีความยาวเพียง 5.0-5.5 มิลลิเมตร และจะพองขึ้น 3-4 เท่าตัวเมื่อหุงสุก และยังมีกลิ่นหอมน่ารับประทานทั้งก่อนและหลังปรุงอีกด้วย



เขียนโดย webmaster เมื่อ 28 ตุลาคม, 2011 - 17:30.



http://thailandnewsdarussalam.com/?q=node/33580
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 02/11/2011 9:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,020. ไร้เงาชาวนาร่วมโครงการจำนำข้าว

เนชั่น


บุรีรัมย์ - ชาวนาเมินโครงการรับจำนำข้าวบุรีรัมย์ 2 สัปดาห์ไม่มีสนใจแม้แต่รายเดียว คาดนาข้าวถูกน้ำท่วมทำให้ความชื้นสูง ขณะการค้าภายในแนะตากให้แห้งก่อน พร้อมสั่งทุกอำเภอจับตาลักลอบนำข้าวจากนอกพื้นเข้ามาปลอมปน หากพบให้จับกุมดำเนินคดีเด็ดขาด

โดยนายธานี สามารถกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประชุมคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการรับจำนำข้าวระดับจังหวัด ประกอบไปด้วยนายอำเภอทั้ง 23 อำเภอ หน่วยงานที่รับผิดชอบ และตัวแทนผู้ประกอบการโรงสีข้าวที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำ

หลังทางจังหวัดได้มีการเปิดจุดรับจำนำข้าวแล้วใน 3 อำเภอ มีอำเภอเมือง 2 แห่ง พลับพลาชัย 1 แห่ง และอำเภอสตึก 1 แห่ง ทยอยเปิดให้ครบทุกอำเภอภายในเดือนหน้า การประชุมได้สั่งให้คณะอนุกรรมการติดตามเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อการป้องกันการเอาเปรียบช้ำเติมเกษตรกร โดยเน้นให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด

นอกจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งให้ทุกอำเภอได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีชะลอการนำข้าวเข้าที่มีความชื้นสูงมาเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะทำให้ข้าวมีคุณภาพต่ำไม่ได้ราคาเท่าที่ควร หรือทางที่ดีเกษตรกรควรตากข้าวให้แห้งก่อนที่จะนำเข้ามาร่วมโครงการ

อย่างไรก็ตามหลังจากเปิดรับจำนำมาแล้ว 2 สัปดาห์ ยังไม่มีเกษตรกรนำข้าวมาเข้าร่วมโครงการแม้แต่รายเดียว อาจเพราะเนื่องจากนาข้าวหลายหลายพื้นถูกน้ำท่วม ทำให้ข้าวยังมีความชื้นสูง

ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ได้สั่งให้อำเภอที่ติดแนวชายแดน และจังหวัดข้างเคียง จัดชุดเจ้าหน้าที่ปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมตั้งด่านสกัดการลักลอบนำข้าวจากนอกพื้นที่ที่มีคุณภาพต่ำมาปลอมปนข้าวในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะทำให้เกิดเสียหายต่องบประมาณของรัฐ และข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ที่มีคุณภาพดีแล้ว หากพบกลุ่มบุคคลลักลอบนำข้าวเข้ามาในพื้นที่ ให้ดำเนินการตามกฎหมายขั้นเด็ดขาดทันทีไม่ละเว้น



http://thailandnewsdarussalam.com/?q=node/33149
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 02/11/2011 9:43 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,021. ผลไม้ออกนอกฤดู ส่งผลดีกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงพัทลุง





ASTV


ผลไม้ออกดอกนอกฤดู ส่งผลดีต่อกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทย จ.พัทลุง ทำให้สามารถเก็บน้ำผึ้ง 3-4 ครั้ง สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในหมู่บ้านกว่า 700,000 บาทต่อปี ผึ้งโพรง เป็นผึ้งพันธุ์ของเมืองไทยชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในทุกภาค ซึ่งในธรรมชาติของผึ้งโพรงจะสร้างรังด้วยการสร้างรวงซ้อนเรียงกัน อยู่ในโพรงไม้หรือโพรงหิน โดยมีปากทางเข้าออกค่อนข้างเล็ก เพื่อป้องกันศัตรูจากภายนอก แต่ภายในจะมีพื้นที่กว้างพอให้ผึ้งสร้างรวงได้ ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอัตราการแยกรังค่อนข้างบ่อย และจะทิ้งรังเดิมเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ขาดแคลนอาหารและมีศัตรูรบกวน


ซึ่งการเลี้ยงผึ้งโพรงให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องมีใจรัก อดทน มีเวลา มีความรู้ในเรื่องชีววิทยา พฤติกรรมของผึ้ง การจัดการรังผึ้ง และอาศัยประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้ง เพื่อจะได้จัดการ รังผึ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จต่อไป อย่างเช่น กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทย อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ที่ประสบความสำเร็จสามารถมีรายเสริมจากการขายน้ำผึ้งปีละหลายแสนบาท


โดย นายดลเหราะหมาน หนุ่มอุ้ย อายุ 47 ปี ประธานกลุ่ม อยู่บ้านเลขที่ 354/1 ม.2 ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง กล่าวว่า ในกลุ่มสมาชิกใช้เวลาว่างหลังจากกรีดยางหันมาเลี้ยงผึ้งโพรงไทยจนประสบความสำเร็จ มีการรวมกลุ่มในนามกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงไทย (บ้านทุ่งเหรียง) ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 70 คน มีการเลี้ยงผึ้งประมาณ 800-1,000 รัง ให้ผลผลิต จำนวน 1,500 ขวด จำหน่ายในราคาขวดละ 500 บาท เป็นเงิน 750,000 บาทต่อปี ซึ่งเป็นเพียงการสร้างรายได้เสริมหลังจากงานประจำ


ส่วนวิธีการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยนั้นง่ายมาก ไม่ต้องใส่ปุ๋ย รดน้ำ หรือพรวนดิน โดยการนำเศษไม้เก่าๆ มาทำรังขนาดกว้าง 35 ซม.ยาว 50 ซม.และสูง 30 ซม.แล้วนำเสาสำหรับวางรังผึ้งขนาดความสูงประมาณ 1 ม. ไปวางไว้บริเวณในสวนผลไม้ข้างบ้าน หรือบริเวณริมคลองเป็นอันว่าเสร็จ รอประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะมีผึ้งเข้ามาทำรัง อีกประมาณ 2 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เฉลี่ยรังละ 5 ขวด จนปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด


นายดลเหราะหมาน ยังกล่าวอีกว่า ปีนี้ ถือว่ากลุ่มสมาชิกมีรายได้ที่สูงเลยทีเดียว เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดพัทลุงขณะนี้ ไม้ผลต่างๆ เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง รวมถึงผลไม้อื่นๆ กำลังออกดอก ให้ผลนอกฤดู ทำให้ผึ้งสามารถหาน้ำหวานจากดอกไม้ได้เยอะ จนทำให้สมาชิกสามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง จนสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง หากเกษตรกรสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ นายดลเหราะหมาน โทร.089-974-3631



http://thailandnewsdarussalam.com/?q=node/32252
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 02/11/2011 9:50 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,022. ก.วิทย์ฯ ผลักดันเศรษฐกิจเทคโนโลยี

สำนักข่าวไทย


กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เตรียมผลักดันงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งให้ภาคเอกชนและชุมชนนำไปปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพระดับสากล เชื่อช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 300,000 ล้านบาทต่อปี


กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) หารือกับภาคเอกชนกว่า 40 ราย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสนับสนุนความร่วมมือด้านวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการปรับปรุงนวัตกรรมสินค้าผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพมาตรฐานสามารถแข่งขันในตลาดสากล


นายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้า โดยจะสนับสนุนองค์ความรู้ วิทยาการและเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนนำไปใช้พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ กระทรวงเตรียมสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกและภาคเหนือ เพื่อเป็นศูนย์กลางวิจัยพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เคมี การแพทย์ เกษตร และชีวเคมี คาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 8 ปี เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 300,000 ล้านบาท


นอกจากนี้จะใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าโอท็อปของชุมชนให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์ได้ดียิ่งขึ้น




thailandnewsdarussalam
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 02/11/2011 10:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,023. แปรรูปฟางข้าวเหลือทิ้ง เป็นไบโอแก๊ส












จีนเป็นประเทศที่ผลิตข้าวอันดับหนึ่งของโลกการทำนาแต่ละรอบได้ฟางข้าวเป็นผลพลอยได้ราว 230 ล้านตัน


อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์จีนกล่าวว่า ที่ผ่านมายังไม่มีใครคิดนำฟางข้าวมาทำไบโอแก๊ส เนื่องจากแบคทีเรียย่อยสลายกลูโคสจากฟางได้ยาก เพราะฟางเป็นชีวมวลที่มีโครงสร้างทางเคมีและกายภาพที่ซับซ้อน

นักวิจัยจีนจึงลองนำฟางข้าวมาย่อยด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ในสภาพของแข็งก่อนนำแบคทีเรียมาหมักทำไบโอแก๊สย กระบวนการเตรียมดังกล่าวช่วยเพิ่มการผลิตไบโอแก๊ส ทำให้ได้เซลลูโลสและองค์ประกอบอื่นที่อยู่ในฟางมากขึ้นจากการย่อยของแบคทีเรียย ปัจจุบันทีมวิจัยได้สร้างโรงงานเพื่อนำฟางมาผ่านกระบวนการทำไบโอแก๊สแล้ว 3แห่งในจีนรายละเอียดของงานวิจัยจะถูกตีพิมพ์ลงในวารสารเอ็นเนอจีแอนด์ ฟิวเอล ฉบับวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ซึ่งจะอธิบายถึงกรรมวิธีเพิ่มผลผลิตไบโอแก๊สจากฟางข้าวได้มากขึ้น 65%

ทีมงานใช้เครื่องมือหลายชนิดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีและลักษณะทางกายภาพของเฮมิกลูโคสเซลลูโลส และลิกนิน ซึ่งเป็นสารประกอบเคมีเชิงซ้อนที่ได้จากไม้ และเป็นส่วนหนึ่งของผนังเซลล์ของพืช

ผลตรวจสอบพบว่าฟางข้าวที่เติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ย 6% ช่วยให้ได้ผลผลิตไบโอแก๊สเพิ่ม 27.3-64.5% ไบโอแก๊สที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะกระบวนการเติมสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ช่วยย่อยสลายทางชีวภาพ โดยเซลลูโลสเสื่อมสภาพลง16.4% เซลลูโลส 36.8% และลิกนิน 28.4% ขณะที่ได้สารละลายในน้ำเพิ่มขึ้น 122.5%

การเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ทำให้พันธะทางเคมีระหว่างลิกนินเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลสแยกจากกัน และเสื่อมสภาพ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เห็นได้จากลิกนิกสภาพดั้งเดิมมีน้ำหนักโมเลกุลใหญ่ และมีโครงสร้างสามมิติ แต่หลังจากเติมโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงไป ทำให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลง ขณะที่โครงสร้างผลึกของเซลลูโลสเพิ่มขึ้น แม้สังเกตเห็นไม่ชัดนักก็ตาม การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมี โครงสร้างทางเคมี และลักษณะทางกายภาพของฟางข้าวทำให้เกิดการเสื่อมสภาพมากขึ้น และเป็นกระบวนการที่ทำให้ได้ไบโอแก๊สเพิ่มขึ้น นักวิจัยกล่าว


http://www.fristweb.com/user/biogas/index.php?langtype=th&pageid=th_34
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 7:47 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1.024. การผลิตแก๊สใช้เอง

















เชื้อเพลิงที่เราใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่ก็คือ ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซ แอลพีจี. เป็นก๊าซที่ได้จากธรรมชาติ เป็นผลผลิตจากปิโตรเคมี ที่เราทราบกันดีแล้วว่าเริ่มขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติของเราเอง แต่ก็มีอยู่ไม่มาก ทุกวันนี้เราเองต้องสั่งซื้อก๊าซจากต่างประเทศเข้ามาใช้กันแล้ว

สภาวการณ์เช่นนี้ ก๊าซชีวภาพน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทางหนึ่ง ที่เราน่าจะเริ่มนำมาใช้กันอย่างจริงจัง นับแต่วันนี้ เพราะสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในการหุงต้มแทนก๊าซแอลพีจี ได้อย่างสบาย

ก๊าซชีวภาพที่ผลิตขึ้นจากการหมักมูลสัตว์ มูลคน และขยะเหลือทิ้งที่ย่อยสลายได้จากครัวเรือนและชุมชน โดยการหมักในสภาพแวดล้อม เช่น ถังหมักหรือบ่อที่ไร้อากาศ จุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติจะเปลี่ยนอินทรียวัตถุเหล่านี้ให้กลายเป็น ก๊าซชีวภาพที่มีคุณสมบัติติดไฟ สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานให้ความร้อน ใช้หุงต้ม ให้แสงสว่าง หรือใช้เดินเครื่องจักรเครื่องยนต์ได้

ส่วนใหญ่การทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ก็เพื่อแก้ปัญหามูลสัตว์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ได้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ ในปัจจุบันก๊าซธรรมชาติกำลังขาดแคลนและมีราคาสูง ก๊าซชีวภาพจึงน่าจะกลับมามีบทบาทที่สำคัญในการแก้ปัญหาในเรื่องพลังงาน ถังหมักหรือบ่อหมักก๊าซชีวภาพมีหลายรูปแบบ และหลายขนาด ตั้งแต่ถังขนาดเล็กที่สามารถทำใช้เองในครัวเรือน ไปจนถึงบ่อถาวรขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นใช้ในชุมชน แต่ที่สำคัญเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพนี้มีข้อดีที่ทุกคนสามารถทำขึ้นใช้เอง ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งแก้ไขปัญหาขยะที่มีมากขึ้นจนเป็นปัญหาให้ลดลง จึงช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไปในตัว รวมทั้งได้ผลพลอยได้ที่เป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพที่สามารถนำไปใช้เป็น ปุ๋ยปลูกพืชปลอดสารเคมีได้เป็นอย่างดี



ส่วนประกอบของถังหมักและถังเก็บก๊าซชีวภาพ
ถังพลาสติคปิดฝา ขนาด 200 ลิตร จำนวน 1 ใบ ทำหน้าที่ในการบรรจุมูลสัตว์และเศษอาหารเพื่อย่อยสลายจนเกิดก๊าซ โดยมีช่องใส่วัตถุดิบ ท่อน้ำล้นเพื่อควบคุมปริมาตรภายใน และท่อระบาย ด้านบนจะมีสายยางต่อเพื่อลำเลียงก๊าซที่ผลิตได้ไปสู่ถังเก็บถังพลาสติคเปิดฝาบน ขนาด 200 ลิตร จำนวน 1 ใบ เป็นถังเก็บก๊าซถังหงาย โดยจะตั้งหงายเพื่อบรรจุน้ำสำหรับเป็นตัวกันไม่ให้ก๊าซรั่วออกนอกถังเก็บ ถังจะตั้งหงายเพื่อให้ถังใบเล็กอีกถังครอบ ในส่วนของคุณลุงเสาร์แก้ว ดัดแปลงใช้วงบ่อซีเมนต์ ขนาด 80 เซนติเมตร 2 วง ฉาบปูนแทน

ถังพลาสติคเปิดฝาบน ขนาด 120 ลิตร จำนวน 1 ใบ เป็นถังเก็บก๊าซถังคว่ำ โดยจะตั้งคว่ำลงภายในถังเก็บก๊าซ ขนาด 200 ลิตร หรือวงบ่อที่ใส่น้ำ ทำหน้าที่เป็นตัวกักก๊าซไว้โดยตัวถังจะลอยขึ้นเมื่อก๊าซถูกลำเลียงมาจากถัง หมัก ด้านบนจะมีท่อลำเลียงก๊าซไปจุดใช้งานต่อไป ก่อนจะเริ่มใช้งานให้ใส่น้ำลงไปในถังใบที่ 2 ถังเก็บก๊าซถังหงายให้เต็ม แล้วสวมถังใบที่ 3 หรือถังเก็บก๊าซถังคว่ำลงในถังใบที่ 2 ให้จมลงไปในน้ำพอดีก้นถัง ต่อสายยางจากถังหมักมายังถังเก็บก๊าซ และต่อสายยางจากถังเก็บก๊าซไปยังเตาแก๊สเพื่อไว้ใช้งานต่อไป



ส่วนประกอบสำหรับท่อน้ำล้นและท่อระบายของถังหมักก๊าชชีวภาพ
ข้อต่อเกลียวนอก ขนาด 1 นิ้ว 1 อัน
ข้องอเกลียวใน ขนาด 1 นิ้ว
ท่อ พีวีซี. ขนาด 1 นิ้ว ตัดยาว 2 นิ้ว 1 อัน
3 ทาง ขนาด 1 นิ้ว 2 อัน
ฝาปิด พีวีซี. ขนาด 1 นิ้ว 1 อัน
ท่อ พีวีซี. ขนาด 1 นิ้ว ตัดประมาณ 40 เซนติเมตร 1 อัน
ท่อ พีวีซี. ขนาด 1 นิ้ว ตัดประมาณ 30 เซนติเมตร 1 อัน
กิ๊บยึดท่อ ขนาด 1 นิ้ว 1-2 อัน



วิธีการประกอบถังหมักก๊าซชีวภาพ
นำถังใบที่ปิดสนิทเจาะรูขนาดเท่ากับเกลียวของข้อต่อเกลียวนอก 4 หุน บริเวณที่เรียบๆ บนฝาถัง เจาะรูถังขนาดเท่าเกลียวนอกของข้อต่อตรงขนาด 1 นิ้ว เจาะบริเวณข้างถังสูงจากก้นถังประมาณ 3 นิ้ว เนื่องจากฝาถังหมักปิดสนิทต้องใช้แท่ง พีวีซี. ติดข้อต่อเกลียวนอก ขนาด 1 นิ้ว ไว้ที่ปลาย แล้วแยงจากช่องเติมอาหารผ่านไปติดที่ข้างถังด้านใน โดยให้ปลายเกลียวพ้นรูถังออกมา ทากาวบริเวณที่พ้นผ่านรูออกมา และทากาวที่ปากท่อข้องอเกลียวใน 1 นิ้ว จึงนำมาประกอบกัน ในส่วนของส่วนประกอบท่อน้ำล้น โดย 3 ทางตัวบน ต้องสูงได้ 75 เปอร์เซ็นต์ของตัวถัง จากนั้นยึดด้วยกิ๊บยึดท่อก็เป็นอันเสร็จในส่วนท่อน้ำล้น จากนั้นนำข้องอเกลียว ขนาด 4 หุน มาทากาวที่ปากท่อหมุนเกลียวเข้ารูที่ใช้ลำเลียงก๊าซด้านบนของถังหมัก และติดหัวต่อสายเกลียวนอก ขนาด 4 หุน ที่ข้องอเพื่อจะใช้ต่อสายยางต่อไป ประกอบท่อ พีวีซี. 3 นิ้ว ส่วนที่เป็นที่เติมวัตถุดิบด้านบนของถัง โดยหย่อนลงในถังด้านบนที่เจาะรูไว้ หันช่องเติมที่เจาะเข้าด้านในถัง ทากาวขอบท่อให้ทั่วเพื่อกันอากาศเข้า



วัตถุดิบที่ใช้ในการหมักก๊าซ
1. มูลสัตว์
2. น้ำ
3. เศษอาหาร



ขั้นตอนการหมักก๊าซชีวภาพ
นำมูลสัตว์แห้งหรือเปียกผสมกับน้ำแล้วใส่ลงไปในถังหมักปริมาตร 25 เปอร์เซ็นต์ของตัวถัง ใช้ท่อ พีวีซี. กระทุ้งให้มูลสัตว์กระจายตัวให้ทั่วถึง หมักมูลสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในถังประมาณ 10-15 วัน หลังจากนั้น เติมน้ำลงไปให้ถึงระดับ 75 เปอร์เซ็นต์ของถัง ซึ่งจะอยู่ที่ระดับน้ำล้นของถัง แล้วจึงสามารถเติมเศษอาหารหรือมูลสัตว์เพื่อผลิตก๊าซต่อไปได้ ในระยะแรกเติมวัตถุดิบแต่น้อยทุกวันที่มีการใช้ก๊าซประมาณ 1-2 กิโลกรัม แต่ไม่ควรเกิน 4 กิโลกรัม ต่อวัน เมื่อใช้ไปนานๆ สามารถเติมได้มากขึ้น แต่ไม่เกิน 10 กิโลกรัม เมื่อเติมลงช่องให้ใช้ท่อ พีวีซี. กระทุ้งขึ้น-ลงให้เศษอาหารกระจายตัว กระบวนการย่อยเพื่อผลิตก๊าซจะใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีก๊าซเกิดขึ้น ชุดถังเก็บก๊าซที่คว่ำอยู่จะเริ่มลอย ก๊าซที่เกิดมาชุดแรกให้ปล่อยทิ้งก่อนเพราะจะจุดไฟไม่ติดหรือติดยาก เพราะมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มาก เมื่อหมักจนเกิดก๊าซตั้งแต่ถังที่ 2 ต่อไปจึงสามารถจุดไฟใช้งานได้



การดูแลรักษา
เมื่อใช้งานจนถึงช่วง 7 เดือน ถึง 1 ปี ให้ปล่อยกากออกทางช่องระบาย ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเมื่อเติมมูลสัตว์หรือเศษอาหารเข้าไปแล้วไม่ค่อยล้น แสดงว่ามีเศษไปตกตะกอนอุดตัน หรือดูได้จากอัตราการเกิดก๊าซน้อยลง แสดงว่ามีการอุดตันเช่นเดียวกัน ไม่ควรใส่เศษอาหารเปรี้ยวในถังหมักเพราะจะทำให้แบคทีเรียไม่ทำงาน เนื่องจากค่าความเป็นกรดด่างไม่เหมาะสม ในถังเมื่อมีค่ากรดเกินไปจะสังเกตได้จากการเกิดก๊าซน้อย และพยายามอย่าให้ถังกระทบกระเทือนมากเพราะกาวจะกะเทาะออกได้จนเกิดการรั่ว เมื่อเกิดก๊าซให้ตรวจสอบรอยรั่วและสามารถใช้กาวทาซ่อมได้
ข้อเด่นของ ก๊าซแอลพีจี ที่เราใช้กันอยู่จนเคยชินคือ เรื่องแรงดันของก๊าซ ความร้อนของไฟ และการที่สามารถบรรจุในถังก๊าซได้ ซึ่งก๊าซชีวภาพที่เราผลิตจากมูลสัตว์และเศษอาหารในชุดถังหมักนี้จะมีแรงดัน ต่ำกว่าก๊าซ แอลพีจี. จึงต้องมีการปรับรูเตาแก๊สให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือใช้วิธีเพิ่มน้ำหนักกดทับด้านบนของถังเก็บก๊าซหรือทำโครงเหล็กกดถังเก็บ ก๊าซ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแรงดันก๊าซชีวภาพที่มากขึ้น





http://www.fristweb.com/user/biogas/index.php?langtype=th&pageid=th_29
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 7:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,025. เตาแก๊สจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร


เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชาวรากหญ้าตลอดจนเกษตรกรรายได้น้อยทั้งหลายที่ต้องเผชิญกับภาวะชักหน้าไม่ถึงหลังอันเนื่องมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกๆวัน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นแล้วไม่ยอมหดลดถอยกลับลงเท่าเดิมอีกต่อไป

ขณะนี้ได้มีนวัตกรรมใหม่ทางด้านพลังงานชนิดหนึ่งเกิดขึ้น นั่นก็คือ “เตาผลิตแก๊สจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร” ซึ่งเป็นเตาที่ใช้เศษเหลือใช้จากผลผลิตเกษตรทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขี้เลื่อย หญ้า ฟางข้าว เศษไม้ เศษฟืน ใบไม้ แกลบ แกนฝักข้าวโพด หรือ ฯลฯ ล้วนสามารถนำมาผลิตเป็นแก๊สหุงต้มได้ทั้งสิ้น กล่าวคือ เชื้อเพลิงที่ใช้เป็นเศษวัสดุ แต่สิ่งที่ลุกไหม้นั้นคือ แก๊ส (หาใช่เศษวัสดุไม่)


..


..........................


จากเตาที่ออกแบบเป็นพิเศษนั้น สามารถสันดาปเชื้อเพลิง (เศษวัสดุ) ในช่องที่อับอากาศจนเปลี่ยนเป็นแก๊สที่ลุกไหม้ได้ ปรับเปลวเพลิงให้ลุกโชนกี่มากน้อยได้ตามต้องการ ลดเถ้าเขม่าควันได้กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ บอกลาเตาเผาไหม้แบบเก่าดั้งเดิมไปได้เลย ลงทุนซื้อเตาครั้งเดียว ไม่ต้องซื้อถ่านถ่านไม้ฟืนไฟอีกต่อไป ใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทิ้งขว้างที่มีมากมายก่ายเกลื่อนให้เป็นประโยชน์ ช่วยรักษาแวดล้อมทางอ้อมอีกโสดหนึ่งต่างหาก

เตาชนิดนี้ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว จากเชื้อเพลิง 3–5 กิโลกรัม ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ก็มีแก๊สให้ใช้หุงข้าว ทำกับข้าว ต้มน้ำ ทำน้ำอุ่นอาบต่อเนื่องได้ตลอด 48 ชั่วโมง ใช้ต้ม ติดตั้งหัวเตาได้หลายหัว ใช้งานได้พร้อมกันทุกหัว ต่อท่อส่งแก๊สได้ใกล้และไกล ประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าเตาที่ใช้ถ่านใช้ฟืนได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงอีกมากโข ใช้งานได้ปลอดภัย เนื่องจากไม่ต้องใช้ถังเก็บกักแรงดันสูงเหมือนถังแก็สทั่วไป ใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ใช้งานได้กว้างขวาง ทั้งในบ้านนอกเรือน ภัตตาคาร ร้านค้า ร้านอาหาร สะอาด-สะดวก ประหยัดและปลอดภัย

เตาไฟแก็สไบโอ ชุดสำเร็จรูปที่ให้เปลวเพลิง เหมือน แก็สที่ใช้หุงต้มทั่วๆไป แต่ไม่ต้องใช้ ถังเก็บความดัน จึงปลอดภัยกว่า และวัสดุ เชื้อเพลิงก็เป็นเศษเหลือใช้ทิ้งแล้วของ ผลิตผลทางเกษตร เช่นเศษไม้ เศษฟาง เปลือกถั่วเหลือง ซังข้าวโพด ฯลฯ

.....








http://www.fristweb.com/user/biogas/index.php?langtype=th&pageid=th_35
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 7:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,026. สวีเดน กับรถไฟไบโอแก๊ส แห่งแรกของโลก









เพราะตั้งหมายชัดเจนว่าจะเป็นประเทศแรกของโลกที่ ‘ปลดแอก’ จากการใช้น้ำมันให้ได้ภายในปี 2558 สวีเดนจึงมุ่งหน้าสู่พลังงานทดแทน และพัฒนาจนทำให้รถยนต์ รถแท๊กซี่ รถขนขยะ และรถบัสหันมาใช้พลังงานจากไบโอแก๊สมากขึ้นเรื่อยๆ..”

...แต่เท่านั้นยังไม่พอ สวีเดนยังก้าวกระโดดถึงขึ้นมีรถไฟวิ่งด้วยไบโอแก๊สเป็นขบวนแรกของโลกอีกต่างหาก...

รถไฟที่สร้างความฮือฮาในระดับโลกขบวนนี้เชื่อมระหว่างเมืองลิงโกปิง (Linkoeping) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสต๊อกโฮล์มไปทางใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร กับเมืองแวสเตอร์วิก (Vaestervik) ซึ่งอยู่ริมชายฝั่งทางตะวันออกของสวีเดน รวมระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร

แม้จะบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่มากเพียงแค่ 54 คน แถมยังวิ่งด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และยังต้องคอยเติมเชื้อเพลิงทุกๆ 600 กิโลเมตร แต่รถไฟขบวนนี้กลับมี “ดี” ที่เชื้อเพลิงที่ใช้จนได้ชื่อว่าเป็นรถไฟแห่งอนาคตขบวนแรกของโลกที่วิ่งด้วยเชื้อเพลิงจากไบโอแก๊สที่ได้จากของเหลือใช้ในครัวเรือนและในภาคเกษตรกรรมคือฟาร์มเลี้ยงสัตว์

รถไฟพลังไบโอแก๊สขบวนนี้ผลิตโดยบริษัท สเวนส์คไบโอแก๊ส (Svensk Biogas) ใช้เงินลงทุนประมาณ 54,500,000 บาท แน่นอนว่ารถไฟขบวนนี้ยังไม่หยุด “พัฒนา” แต่เพียงเท่านี้ เพราะทั้งความเร็ว ความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร เส้นทางที่ยาวไกลมากยิ่งขึ้น และต้นทุนด้านเชื้อเพลิงล้วนเป็นสิ่ง “ท้าทาย” โดยมีเป้าหมายว่าต้องทำให้ “จูงใจ” ผู้ใช้บริการ และถึงขึ้นสามารถแข่งขันได้กับสายการบินราคาถูกที่เย้ายวนลูกค้า เพื่อเป็นทางเลือกที่ “ฉลาดกว่า” ของคนทั่วไป

หลังจากข่าวคราวรถไฟไบโอแก๊สแห่งสวีเดนเผยแพร่ออกไปทั่วโลก ประเทศอินเดียประกาศทันทีว่าสนใจจะเจริญรอยตามแนวทางนี้ด้วยเช่นกัน

ว่าไปแล้วการใช้ไบโอแก๊สเป็นเชื้อเพลิงในสวีเดนเป็นเรื่องแสนจะธรรมดา เพราะมีรถบัสมากกว่า 779 คัน และรถยนต์อีกว่า 4,000 คัน หันมาใช้เชื้อเพลิงที่เป็นส่วนผสมจากน้ำมันกับไบโอแก๊สหรือแก๊สธรรมชาติ ซึ่งการพัฒนาก็ก้าวไกลถึงขั้นใช้ไบโอแก๊สกับรถไฟที่ทำให้เมืองลิงโกปิงกลายเป็นจุดสนใจทันที

“จุดเปลี่ยน” ของเมืองลิงโกปิงซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน หันมาปฏิวัติพลังงานด้วยการเลิกพึ่งพาเชื้อเพลิงหลักอย่างน้ำมันและแก๊สธรรมชาติมายังเมืองแห่งนี้ล่าช้าจนเกินทน ประกอบกับความต้องการกำจัดของเสียที่ได้จากภาคเกษตรกรรม ที่มีทั้งฟาร์มเลี้ยงวัว ฟาร์มเลี้ยงหมู และมีอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ซึ่งแต่ละวันผลิตของเสียออกมาจำนวนไม่น้อย

บริษัทเอกชนจึงเริ่มคิดที่จะผลิตเชื้อเพลิงจากวัสดุในท้องถิ่นเหล่านี้ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลิงโกปิงคอยสนับสนุนเต็มกำลัง ซึ่งเป้าหมายแรกที่วางไว้คือทำอย่างไร จึงจะผลิตเชื้อเพลิงไบโอแก๊สใช้กับรถประจำทางของเมืองได้

นับจากวันแรกที่เริ่มคิดนำไปสู่การลงมือทำอย่างเอาจริงเอาจัง เพียงข้ามปีคือเดือนธันวาคม 2539 เมืองลิงโกปิงก็ได้เฉลิมฉลองการพึ่งพาตัวเองด้านพลังงานครั้งสำคัญ เมื่อสถานีเชื้อเพลิงไบโอแก๊สแห่งแรกก็เปิดให้บริการ และมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อจำนวนรถประจำทางของเมืองหันมาใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

นั่นคือปี 2540 มีรถบัสใช้ไบโอแก๊สเพียงแค่ 27 คันและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 60 คันในปี 2543 ที่สำคัญก็คือนับจากปี 2545 เป็นต้นมารถบรรทุกคันที่ใช้น้ำมันดีเซลก็ “สูญพันธุ์”

แต่ความสำเร็จยังไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะทั้งรถยนต์ส่วนตัวของชาวลิงโกปิง และรถแท๊กซี่ ล้วนหันมาใช้ไบโอแก๊ส ยิ่งนานวันจำนวนสถานีให้บริการก็เพิ่มขึ้นมากขึ้นตามไปด้วย

ปีเตอร์ อันเดน (Peter Unden) นักการตลาดจากบริษัทไบโอแก๊ส “ยักษ์ใหญ่” ที่ทั้งผลิตและจัดจำหน่ายไบโอแก๊สให้กับระบบขนส่งในภาคตะวันออกของสวีเดนบอกว่าการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงไบโอแก๊สถือเป็นการใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์
ทั้งนี้เพราะกระบวนการผลิตไบโอแก๊สช่วยกำจัดของเสียเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั่นเอง

“การใช้ไบโอแก๊สเป็นเชื้อเพลิงถือว่าได้กำไรอย่างแท้จริง เพราะเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทั้งยังสามารถผลิตได้ในท้องถิ่น สร้างงานและช่วยลดต้นทุนในภาคขนส่งได้ในเวลาเดียวกัน”

ประเทศสวีเดนยังคงมุ่งหน้าส่งเสริมการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้นและเอาจริงเอาจัง การสร้างแรงจูงใจให้ชาวสวีเดนหันมาใช้พลังงานทางเลือกกลายเป็นเงื่อนไข “น่าสนใจ” ยิ่งนัก เพราะผลประโยชน์ที่จะได้รับปรากฏให้เห็นชัดเจน อาทิ ไม่ต้องจ่ายค่าทางด่วนในสต๊อกโฮล์ม จอดรถฟรีในเมืองใหญ่ๆ แถมภาษีรถยนต์ก็แสนถูก

ซึ่งแรงจูงใจเหล่านี้ถูกผลักดันโดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์จนทำให้รถยนต์ จนทำให้รถยนต์ที่ใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมียอดขายพุ่งกระฉูดโดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กว่า 40,000 คันหรือคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนรถยนต์จำนวน 4 ล้านคันที่โลดแล่นอยู่ในสวีเดนเลยทีเดียว.



http://www.fristweb.com/user/biogas/index.php?langtype=th&pageid=th_32
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 9:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

....................................... ..............................................


1,027. การเลี้ยงไก่ไข่ในระบบ EVAP


ลี้ยงไก่ไข่ด้วยอีเวป ทำไบโอแก๊สลดค่าใช้จ่าย แม้ว่าการเลี้ยงไก่ไข่ที่ทำอยู่ขณะนี้ จะดูเสมือนเลี้ยงให้คนอื่น ไก่ที่กำลังเลี้ยงอย่างเอาใจใส่อยู่ขณะนี้พอวันหนึ่งมันไข่ออกมา ไข่นั้นมิใช่ไข่ของมัน มิใช่ไข่ของเรา แต่เป็นไข่ของบริษัทที่เรารับจ้างเขาเลี้ยง พอถึงวันนั้นก็ต้องดีใจเพราะมั่นใจได้ว่า ไม่ขาดทุนอย่างแน่นอนเพราะมีการประกันราคาไข่ไก่ไว้ ซึ่งนอกจากไข่แล้ว ทางบริษัทเขายังรับซื้อแม่ไก่ที่ปลดระวางด้วย

ที่อยากบอกเล่าในวันนี้ที่สำคัญคือเรื่อง การทำไบโอแก๊ส… การเลี้ยงไก่ (และ/หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ) นอกจากจะขายไข่ได้แล้ว ยังได้ประโยชน์มากกว่านั้นอีกคือ การนำเอาแก๊สที่จะต้องสูญเปล่าหากปล่อยทิ้งไป มาทำให้เกิดประโยชน์โภชผลมากกว่านั้น คือ การทำไบโอแก๊ส (Bio Gas) หากไม่ทำไบโอแก๊สแล้ว ก็จะเกิดมลพิษ ณ บริเวณนั้นและรอบ ๆ แต่หากทำ นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษแล้วยังก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่เจ้าของ ฟาร์ม

อย่าง คุณเจียดฉพร บุญรักศรพิทักษ์ เจ้าของธนโชติฟาร์ม อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ 5 ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ที่เริ่มต้นเลี้ยงไก่เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมากับโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่แก่เกษตรกรรายย่อยของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งคุณเจียดฉพรมีโรงเรือนเลี้ยงไก่ 1 โรง มีไก่ 36,000 ตัว โรงเรือนเป็นระบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรือ Evaporative cooling system (EVAP) คุณเจียดฉพรทำไบโอแก๊สแบบ Plug Flow แล้ว สามารถลดค่าให้จ่ายได้มาก เช่น ค่าไฟฟ้าก่อนที่จะทำไบโอแก๊สนั้นสูงมาก แต่หลังจากที่ทำระบบนี้แล้วค่าไฟฟ้าลดลง








คุณเจียดฉพร เล่าให้ฟังว่า เงินลงทุนทำ ไบโอแก๊สนั้นมีทั้งเงินส่วนตัวและเงินสนับสนุนจากทางราชการ บ่อนี้ลงทุนไม่รวมเครื่องปั่นไฟประมาณ 1.2 ล้านบาท มีขนาด 700 คิว ม.เชียงใหม่ช่วยประมาณ 900 บาทต่อคิว ไก่รุ่นที่ผ่านมามีรายได้จากการขายมูลไก่ที่ชักกากตากแห้งได้กิโลกรัมละ 3 บาท คิดเป็นตันละ 3,000 บาท ถ้าคิดเป็นเดือนจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 6,000 บาท ในส่วนมูลไก่สดที่ไม่ได้ลงบ่อจะขายได้ประมาณ 6,000 บาท เฉลี่ยแล้ว มูลไก่ทั้งหมดจะได้เป็นเงิน 12,000 บาท

เมื่อทำไบโอแก๊สแล้ว จากเดิมเสียค่าไฟฟ้า 45,000 บาทต่อเดือน แต่ปัจจุบันเหลือ ประมาณ 18,000 บาท …เห็นได้ว่าจ่ายถูกลงกว่าเดิมถึง 60%

สำหรับเหตุผลที่ตัดสินใจทำไบโอแก๊สประการแรกคือเรื่องของการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเลี้ยงไก่ย่อมต้องมีกลิ่นจากมูลไก่ซึ่ง อาจรบกวนชุมชนโดยรอบได้ ประกอบกับได้เงินลงทุนจึงหันมาใช้ไบโอแก๊ส โดยทาง ม.เชียงใหม่ มีวิศวกรมาดูแลถึงความเหมาะสมในการใช้ไบโอแก๊สให้เหมาะกับขนาดของฟาร์ม ซึ่งทาง ม.เชียงใหม่ มีงบประมาณให้เฉพาะแค่ 700 คิวเท่านั้น ถ้าเกษตรกรต้องการเพิ่มขนาดโรงเรือนให้ใหญ่กว่านี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเอง ซึ่งในอนาคตที่นี่อาจเพิ่มขนาดบ่อให้เหมาะสมตามจำนวนไก่ด้วย








ระบบการจัดการเรื่องของมูลไก่ มีระบบการเก็บโดยใช้สายพานและมีท่อลำเลียงเพื่อปล่อยลงไปยังบ่อหมัก โดยมูลไก่สดจะมีเกษตรกรมารับซื้อ ที่เหลือประมาณ 4 ตันจะลงบ่อทำไบโอแก๊สโดยมูลไก่ที่ได้และกากที่เหลือจากบ่อหมักจะได้ประมาณ 2 ตัน ซึ่งกากที่หายไปจะถูกย่อยเป็นน้ำ น้ำที่ได้จะไม่มีกลิ่นและไม่มีความเค็มจะมีค่า NPK ที่สูงสามารถนำมารดน้ำต้นไม้และนำมาทำการเกษตรได้ สำหรับมูลไก่ที่ชักกากขึ้นมานั้นเป็นปุ๋ยที่ดี ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์สำหรับต้นไม้ สามารถจำหน่ายได้เช่นกัน เห็นได้ชัดเจนว่าการเลี้ยงไก่ด้วยระบบที่มีคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ย่อมมีคุณภาพ และหากในฟาร์มมีการทำไบโอแก๊สด้วยแล้วก็จะไร้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านที่อยู่รายรอบฟาร์มก็จะเป็นมิตรที่ดีต่อฟาร์มเพราะเป็นฟาร์มที่ปลอด กลิ่น ปลอดแมลงวัน ที่สำคัญยังเป็นการลดต้นทุนอีกด้วย.


.................................... .............................................


http://www.fristweb.com/user/biogas/index.php?langtype=th&pageid=th_33
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 10:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,028. หนึ่งเดียวฟาร์มหมูปลอดโรค ประหยัดโดยนำปฎิกูลสู่พลังงาน





โรค พีอาร์อาร์เอส PRRS หรือ โรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ ที่เกิดขึ้นใน การปศุสัตว์ ซึ่ง ผู้เลี้ยงสัตว์ทั่วโลกกลัวกันมาก เพราะหากเกิดเป็นโรคนี้จะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว…… และยังไม่มีประเทศใดทำให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดจากโรคนี้ได้ไทยเราเป็นประเทศที่รุดหน้ากว่าใครๆ ทีม นักวิจัยจากฟาร์มกาญจนบุรี ของ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (CPF) สามารถทำให้ฟาร์มเลี้ยงสุกรปลอดภัยจากโรคนี้ได้สำเร็จ

นายสมควร ชูวรรธนะปกรณ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด เผยว่า….โรค PRRS เกิดจาก ฟาร์มมีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย การบำบัดมูลสุกรและของเสียภายในฟาร์มไม่ดี ทำให้ก่อโรคขึ้น ทางฟาร์มกาญจนบุรี จึงได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ เริ่มจากการออกแบบให้มีบริเวณจัดเก็บและบำบัดมูลอย่างพอเพียง

โรคพีอาร์อาร์เอส PRRS หรือ โรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ ที่เกิดขึ้นใน การปศุสัตว์ ซึ่งผู้เลี้ยงสัตว์ทั่วโลกกลัวกันมาก เพราะหากเกิดเป็นโรคนี้จะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว และยังไม่มีประเทศใดทำให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดจากโรคนี้ได้





ไทยเราเป็นประเทศที่รุดหน้ากว่าใครๆ ทีม นักวิจัยจากฟาร์มกาญจนบุรี ของ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (CPF) สามารถทำให้ฟาร์มเลี้ยงสุกรปลอดภัยจากโรคนี้ได้สำเร็จ

นายสมควร ชูวรรธนะปกรณ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด เผยว่า โรค PRRS เกิดจาก ฟาร์มมีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย การบำบัดมูลสุกรและของเสียภายในฟาร์มไม่ดี ทำให้ก่อโรคขึ้น ทางฟาร์มกาญจนบุรี จึงได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ เริ่มจากการออกแบบให้มีบริเวณจัดเก็บและบำบัดมูลอย่างพอเพียง

"ใช้หลักความเข้าใจถึงอุปนิสัยของสุกร ที่ชอบถ่ายมูลบริเวณเปียกชื้นแล้วจึงมานอนในพื้นที่แห้ง ได้ออกแบบก่อสร้างโรงเรือนให้มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 15 เป็นอ่างน้ำ มีความลาดเทลงเรียกว่า ส้วมน้ำ เพื่อให้สุกรลงไปขับถ่าย จากนั้นในระยะ 1-2 วันจะระบายน้ำพร้อมกับมูลสัตว์ออกจากโรงเรือนไปตามแนวท่อ เพื่อนำไปรวมกับบ่อหมัก ทำให้ไม่มีมูลเหลืออยู่ในระบบการเลี้ยง โรงเรือนจึงสะอาด ปราศจากแอมโมเนีย สุกรที่เลี้ยงไว้ จึงกินอยู่และนอนอย่างสบายทำให้สุขภาพดี

โรคพีอาร์อาร์เอส PRRS หรือ โรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ ที่เกิดขึ้นใน การปศุสัตว์ ซึ่งผู้เลี้ยงสัตว์ทั่วโลกกลัวกันมาก เพราะหากเกิดเป็นโรคนี้จะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว และยังไม่มีประเทศใดทำให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดจากโรคนี้ได้

ไทยเราเป็นประเทศที่รุดหน้ากว่าใครๆ ทีม นักวิจัยจากฟาร์มกาญจนบุรี ของ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (CPF) สามารถทำให้ฟาร์มเลี้ยงสุกรปลอดภัยจากโรคนี้ได้สำเร็จ

นายสมควร ชูวรรธนะปกรณ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด เผยว่า โรค PRRS เกิดจาก ฟาร์มมีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย การบำบัดมูลสุกรและของเสียภายในฟาร์มไม่ดี ทำให้ก่อโรคขึ้น ทางฟาร์มกาญจนบุรี จึงได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ เริ่มจากการออกแบบให้มีบริเวณจัดเก็บและบำบัดมูลอย่างพอเพียง

"ใช้หลักความเข้าใจถึงอุปนิสัยของสุกร ที่ชอบถ่ายมูลบริเวณเปียกชื้นแล้วจึงมานอนในพื้นที่แห้ง ได้ออกแบบก่อสร้างโรงเรือนให้มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 15 เป็นอ่างน้ำ มีความลาดเทลงเรียกว่า ส้วมน้ำ เพื่อให้สุกรลงไปขับถ่าย จากนั้นในระยะ 1-2 วันจะระบายน้ำพร้อมกับมูลสัตว์ออกจากโรงเรือนไปตามแนวท่อ เพื่อนำไปรวมกับบ่อหมัก ทำให้ไม่มีมูลเหลืออยู่ในระบบการเลี้ยง โรงเรือนจึงสะอาด ปราศจากแอมโมเนีย สุกรที่เลี้ยงไว้ จึงกินอยู่และนอนอย่างสบายทำให้สุขภาพดี







http://www.fristweb.com/user/biogas/index.php?langtype=th&pageid=th_30
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 10:15 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,029. ไบโอแก๊ส พลังงาน จาก "ขี้หมู"





เพราะยุคนี้เป็น “ยุคพลังงานแพง” ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน แก๊ส อีกทั้งยังเป็น “ยุคโลกร้อน” สภาวะแวดล้อมทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย กำลังย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ ดังนั้น การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า-อย่างประหยัด การใช้พลังงานทดแทน-พลังงานจากเศษสิ่งต่าง ๆ ที่แปรเป็นพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานในรูปแบบที่ช่วยลดมลพิษได้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ทั้งเพื่อเป็นการประหยัด เพื่อเศรษฐกิจชาติ และเพื่อสิ่งแวดล้อม

“ไบโอแก๊สจากขี้หมู” ยุคนี้ก็ “มิใช่สิ่งที่น่าขำ”
เพราะช่วยประหยัด-ช่วยในด้านสิ่งแวดล้อมได้ !!

เมื่อเร็ว ๆ นี้ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ส่งทีมร่วมคณะสื่อไปดูการนำมูลสุกรหรือขี้หมูมาทำเป็นไบโอแก๊สหรือ “แก๊สชีวภาพ” และ “ผลิตกระแสไฟฟ้า” ที่ฟาร์มแห่งหนึ่งที่ จ.กาญจนบุรี โดยเป็นโครงการของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ซึ่งแม้จะเป็นโครงการของเอกชนที่ทำเอง-ใช้เอง ก็ถือว่าน่าสนใจ การใช้ขี้หมูจากในฟาร์มทำเป็นแก๊สชีวภาพผลิตไฟฟ้าใช้ในฟาร์มนี้ สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าลงไปได้ถึง 30% ต่อเดือน หรือคิดเป็นตัวเงินแล้วก็ประหยัดไปได้ถึงเดือนละประมาณ 220,000 บาท








ไบโอแก๊ส-แก๊สชีวภาพจากขี้หมู ก็ถือว่าเป็น “พลังงานทาง เลือก” อีกรูปแบบที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้ แก๊สชีวภาพหรือไบโอแก๊สเป็นแก๊สที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรียวัตถุ ในกระบวนการ ย่อยสลายโดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนจะเกิดแก๊สชีวภาพขึ้น และในแก๊สชีวภาพนี้ก็ประกอบด้วย ก๊าซมีเทน (CH4), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และก๊าซไนโตรเจน (N2) ซึ่งคุณสมบัติของก๊าซมีเทนนั้นเป็นก๊าซที่ติดไฟได้ ดังนั้น “แก๊สชีวภาพ” ที่มีมีเทนอยู่เป็นจำนวนมากจึงสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนได้


สามารถใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
สมควร ชูวรรธนะปกณ์ รองผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ บอกว่า... ทางบริษัทได้ทำการศึกษาระบบบ่อหมักไบโอแก๊สหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในฟาร์มสุกรขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะฟาร์มของบริษัทเท่านั้น แต่รวมถึงฟาร์มของเกษตรกรด้วย โดยมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการเลี้ยงสุกรกับทางบริษัท สร้างระบบบำบัดมูลสุกรในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระบบไบโอแก๊ส

“บ่อหมักไบโอแก๊สไม่เพียงให้แก๊สมาเป็นพลังงานทดแทน แต่ยังมีกากมูลสุกรเพื่อใช้ทำเป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน รวมทั้งน้ำที่ผ่านการบำบัดยังสามารถหมุนเวียนมาใช้ในแปลงเกษตรได้ด้วย”

ในฟาร์มเลี้ยงสุกรแต่ละแห่งนั้น แต่ละวันจะมีมูลสุกรเป็นจำนวนมาก ทำให้มีปัญหาเรื่องส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน นอกจากจะสร้างความรำคาญต่อชุมชนแล้วยังสร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อม โดยในขี้หมูนั้นมีก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ผสมอยู่ ซึ่งก๊าซทั้ง 2 ชนิดเป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อมีการคิดค้นหาวิธีจัดการกับมูลสุกร และศึกษาการนำมูลสุกรมาเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนคือไบโอแก๊ส เพื่อใช้ผลิตเป็นไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านกระแสไฟฟ้า และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ด้วย

สำหรับรูปแบบของบ่อหมักมูลสุกรที่ใช้ผลิตไบโอแก๊ส ที่ฟาร์ม แห่งนี้ทำในระบบบ่อหมักแบบพลาสติกคลุมบ่อ หรือระบบ Cover Lagoon “เป็นบ่อหมักปิดสนิท ไม่มีปัญหากลิ่นเหม็นและแมลงวัน ซึ่งการทำลงทุนไม่สูง ใช้เวลาสร้างไม่นาน” แค่นำพลาสติกมาคลุมบ่อหมักที่ทุกฟาร์มจะต้องมีกันอยู่แล้ว โดยบ่อหมักแบบนี้จะใช้ระยะเวลาในการหมักให้เกิดแก๊สประมาณ 10-20 วัน จากนั้นแก๊สที่เกิดขึ้นมาจะถูกส่งผ่านไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ Generator เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าไปใช้ในฟาร์มต่อไป

กับฟาร์มที่กาญจนบุรียังได้พัฒนาบ่อหมักให้มีระบบชักกากได้ด้วย ทำให้สามารถชักเอากากตะกอนในบ่อหมักออกมาได้ ช่วยแก้ปัญหากาก ตะกอนเต็มเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปิดพลาสติกเพื่อขุดกากออก

“กากที่ได้จากระบบจะมีไนโตรเจน 3.67%, ฟอสฟอรัส 4.63%, โพแทสเซียม 0.38%, แคลเซียม 8.23%, แมกนีเซียม 1.53% และโซ เดียม 0.21% เหมาะที่จะนำไปเป็นอาหารให้กับพืช และน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดด้วยระบบนี้จะเป็นน้ำที่มีคุณภาพผ่านเกณฑ์กรมควบคุมมลพิษด้วย” ... รองผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ ระบุ




ด้าน วิโรจน์ ใจบุญมา ผู้จัดการฝ่ายผลิตกิจการสุกรพันธุ์ 3 ก็เสริมว่า... การทำให้เกิดไบโอแก๊สนั้น เกิดได้เพราะน้ำเสียที่อยู่ในบ่อหมักจะเป็นตัวที่มีโปรตีน ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในบ่อได้กินเป็นอาหาร ก็จะทำให้เกิดเป็นแก๊สขึ้นมา โดยบ่อบำบัดของที่ฟาร์มมีอยู่ 2 บ่อ มีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร และลึก 5 เมตร มีเครื่องปั่นไฟ 3 เครื่อง ขนาด 109 กิโลวัตต์ 1 เครื่อง และขนาด 70 กิโลวัตต์ 2 เครื่อง

“สามารถผลิตไฟฟ้าจากไบโอแก๊สได้ 80,000 กิโลวัตต์ ต่อ 1 วัน” ...วิโรจน์กล่าว และยังบอกด้วยว่า... สำหรับฟาร์มของเกษตรกรก็สามารถทำระบบแบบนี้ได้เลย เพราะทุกฟาร์มจะต้องมีบ่อเก็บมูลสุกรอยู่แล้ว “แค่ลงทุนค่าพลาสติกที่ใช้คลุมบ่อ และค่าเครื่องปั่นไฟ ค่าใช้จ่ายในการทำประมาณ 200,000-300,000 บาท ฟาร์มทั่วไปถ้าทำระบบแบบนี้ก็จะช่วยลดค่าไฟฟ้าในฟาร์มได้ถึง 30-50% เลยทีเดียว”



http://www.fristweb.com/user/biogas/index.php?langtype=th&pageid=th_31
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 5:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,030. บ๊ายบายบัตรเครดิตเกษตรกร...รากหญ้ากินแห้ว...อีกแล้วครับท่าน








คลังสั่งรื้อบัตรเครดิตชาวนาใหม่
"นายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง เผยสั่งล้มประมูลโครงการบัตรเครดิตชาวนา พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาแนวทางโครงการใหม่ทั้งหมด ส่งผลให้โครงการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในปีนี้ อาจต้องเลื่อนไปเป็นปี 55"

http://bit.ly/omOdHz


รมว.คลังสั่งล้มประมูล-รื้อบัตรเครดิตชาวนาเลื่อนใช้เป็นปี 55
"นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งล้มประมูลโครงการบัตรเครดิตชาวนา พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาแนวทางโครงการใหม่ทั้งหมด ส่งผลให้โครงการดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในปีนี้ อาจต้องเลื่อนไปเป็นปี 2555

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายนันท์ เนตรรัตน์ กรรมการบริษัท Accellence(Thailand) จำกัด ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 กันยายน เพื่อขอให้ทักท้วงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) ที่กำลังจะชี้ขาดการเปิดประมูลบัตรสินเชื่อเกษตร ธสก.หรือบัตรเครดิตชาวนา

บริษัท Accellence ระบุว่า บริษัทที่ยื่นเอกสารเทคนิคและเสนอราคา เพื่อแข่งขันการประมูลโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร 5 ราย มีบริษัทที่ผ่านการพิจารณา 2 ราย คือ บริษัทAccellence และบริษัทแห่งหนึ่งที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ โดย ธ.ก.ส.ให้เหตุผลว่า บริษัทที่ผ่านเข้ารอบ 2 บริษัทมีคุณสมบัติเท่าเทียมกัน ทั้งๆ ที่ไม่มีประวัติการทำระบบบัตรเครดิต

ในหนังสือดังกล่าวชี้ว่า บริษัท Accellence (Thailand)จำกัด ซึ่งรับผิดชอบผลิตบัตรเครดิต ให้หลายธนาคาร อาทิ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารอิสลาม ธนาคาร SME และเข้าร่วมประมูลผลิตบัตรเครดิตให้กับ ธกส.ด้วย ซึ่งบริษัท Accellence(Thailand) ได้ผ่านการพิจารณารอบแรกไปแล้ว แต่ ธกส.ได้เปรียบเทียบบริษัท Accellence(Thailand) ว่ามีคุณสมบัติเหมือนกับอีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งเรารับไม่ได้ เพราะบริษัทของเรา ใช้ Software Solution ที่เป็นระบบสากล ใช้ในหลายธนาคารทั่วโลก เฉพาะที่ประเทศไทย มีเจ้าหน้าที่กว่า 300 คน และดูแลระบบธนาคาร และบัตรเครดิตธนาคาร ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง มากว่า 20 ปีแล้ว

นายนันท์ กล่าวด้วยว่า ไม่อยากให้ ธกส.เป็นหนูทดลองระบบ เพราะจะเป็นหายนะของรัฐบาล และไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร ที่อาจต้องเดือดร้อนในภายภาคหน้า ถ้า รมว.คลัง ไม่ให้ความเป็นธรรมกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ทางบริษัทก็จะร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อตรวจสอบการทำงานของภาครัฐเพิ่มเติม"



http://www.oknation.net/blog/canthai/2011/09/29/entry-4
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 5:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,031. รัฐบาลไทยเจรจาขายข้าว 300,000 ตัน ส่อแห้ว

อินโด เล็งซื้อจากอินเดีย-เวียตนาม ฟุ่ย !


นางมารี เอลก้า ปังเกสตู รัฐมนตรีการค้าอินโดนีเซีย ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังรัฐมนตรีพาณิชย์ไทยยืนยันว่า จะไม่ขายข้าวให้อินโดนีเซีย ว่า จะมีการเจรจาซื้อขายจากประเทศผู้ผลิตรายอื่น โดยอินโดนีเซียจะเจรจากับรัฐมนตรีการค้าอินเดีย ที่กรุงจาการ์ต้า ในวันอังคารที่ 4 ตุลาคม

ขณะที่นายฮัตตารายาสา รัฐมนตรีประสานเศรษฐกิจอินโดนีเซีย บอกว่า นอกจากอินเดียแล้ว ตอนนี้ทั้งเวียดนามและปากีสถาน ก็เสนอขายข้าวให้อินโดนีเซียเช่นกัน

นายรายาสา บอกด้วยว่า เขาเชื่อว่าการที่ไทยปฏิเสธที่จะขายข้าวให้อินโดนีเซียจำนวน 3 แสนตัน ไม่มีผลกระทบต่อการแผนการเพิ่มปริมาณสำรองข้าวจำนวน 1 ล้าน 5 แสนตันในปีนี้ เนื่องจากปริมาณสต็อคข้าวในตลาดโลกมีสูงกว่าความต้องการบริโภค

รายงานสถานการณ์ผลผลิตข้าวโลกในฤดูการผลิต 2554/ 2555 จัดทำโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐ เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าปริมาณสำรองข้าวของโลกฤดูการผลิตปีนี้ จะมีทั้งสิ้น 98.7 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณสำรองที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปี



http://www.oknation.net/blog/canthai/2011/09/29/entry-2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 03/11/2011 6:04 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,032. แนะวิธีเลี้ยงปลาช่วงน้ำหลาก





ปัจจุบันหลายพื้นที่ของประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำหลาก ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงปลาของพี่น้องเกษตรกร จึงมีคำแนะนำสำหรับการเลี้ยงปลาในช่วงฤดูฝนเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและผลักดันให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาให้มีผลผลิตที่ดี

นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ให้คำแนะนำว่า การเลี้ยงปลาในช่วงฤดูฝนเกษตรกรจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาระบบกระชังในแม่น้ำที่ต้องเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงของน้ำ โดยจะต้องทำโครงกระชังให้มีขากระชังลงไปทั้ง 4 ด้าน อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความลึกกระชัง เพื่อป้องกันไม่ให้กระชังลู่ไปตามแรงน้ำ แต่ในบางพื้นที่ที่ภาวะน้ำหลากรุนแรงควรเคลื่อนย้ายกระชังไปยังจุดที่สามารถหลบแรงน้ำได้ นอกจากนี้ ในสภาวะที่น้ำไหลหลากมาอย่างต่อเนื่องอาจมีภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้เลี้ยงควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของน้ำที่จะมีผลต่อการกินอาหารลดลง จึงควรปรับปริมาณการให้อาหารในแต่ละมื้อลง โดยให้อาหารทีละน้อยเท่าที่ปลากินหมด และควรแบ่งจำนวนมื้ออาหารออกเป็นมากกว่า 5-6 มื้อต่อวัน เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารมากขึ้น เนื่องจากปลาต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพราะต้องว่ายต้านแรงน้ำที่รุนแรงกว่าปกติตลอดเวลา ทั้งนี้ภาวะน้ำแรงทำให้ปลาว่ายน้ำลำบากจึงกินอาหารได้น้อยลง ประกอบกับภาวะความเครียดทำให้ปลามีความอยากอาหารน้อยลง เกษตรกรจึงควรผสมวิตามินซีในอาหารให้ปลากินครั้งละ 3 วัน ในทุกสัปดาห์ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานด้วย

เมื่อภาวะน้ำเริ่มลดลงมักจะมีน้ำที่ค้างอยู่ในทุ่งนาซึ่งเป็นน้ำที่เต็มไปด้วยก๊าซต่าง ๆที่เป็นผลทำให้น้ำเกิดภาวะออกซิเจนต่ำอย่างฉับพลันในบริเวณนั้น ทำให้ปลาตายจากการขาดออกซิเจน เกษตรกรจึงควรสังเกตและต้องเพิ่มออกซิเจนให้ปลาในกระชังอย่างเพียงพอ

สำหรับการเลี้ยงในรูปแบบบ่อดิน ซึ่งถือว่าเหมาะสมที่สุดในปัจจุบันสำหรับการเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ ก็ควรปรับรูปแบบกระชังเป็นแบบกระชังลอย ที่มีอุปกรณ์ยึดไม่ให้ลอยไปกับกระแสน้ำได้ หากเกิดน้ำหลากสูงเกินระดับคันบ่อ และควรเลือกสถานที่เลี้ยงปลาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะอุทกภัยต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยยังคงมีปริมาณน้ำพอเพียงในการเลี้ยง เช่น น้ำจากระบบชลประทาน

…อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นหรือน้ำมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นอีก เกษตรกรควรตัดสินใจจับปลาออกขายโดยเร็วจะดีที่สุด อย่าปล่อยเอาไว้นานเพราะจะเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=346&contentID=173164
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 04/11/2011 7:13 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,033. ถ่านกัมมันต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลอันน่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงอาจพิจารณาให้ลบ

ถ่านกัมมันต์ (อังกฤษ : activated carbon หรือ activated charcoal) โดยทั่วไปมันเป็นวัสดุที่ประกอบด้วย คาร์บอน ที่ได้จากถ่าน ถูกระบุว่าเป็นวัสดุที่มีพื้นที่ผิว สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถใน การดูดซับไนโตรเจนมีสูงมาก เพราะว่ามันมีรูเล็กๆ (microporosity) จำนวนมาก และสามารถเพิ่มพลังการดูดซับได้อีกโดยใช้สารเคมีปรับสภาพ


การผลิตโดยทั่วไปมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน 2 วิธีคือ :
1. การกระตุ้นทางเคมี (Chemical activation) : โดยส่วนใหญ่จะใช้ กรด ผสมเข้ากับวัสดุเริ่มต้นเพื่อที่จะ กัดสิ่งสกปรก (Cauterization) ออกจากรูเล็กๆ วิธีการนี้ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ ตัวอย่างเช่น ว่าอาจจะมีเศษ สังกะสี ตกค้างอยู่ในผลผลิตสุดท้ายได้

2. การกระตุ้นด้วยไอน้ำ (Steam activation): วัสดุที่ทำจากคาร์บอนจะถูกผสมกับไอน้ำ และหรือ ก๊าซที่อุณหภูมิสูง เพื่อกระตุ้นมัน วัสดุเริ่มต้นสามารถใช้เป็นวัสดุคาร์บอน (carbonic materials) หลายชนิดเช่น กะลามะพร้าว ไม้ ถ่าน
อิ่มตัว ถ่านปกัมมันต์ ทำให้ใช้ได้ใหม่ (regeneration) โดยการใช้ความร้อน


การใช้ประโยชน์ถ่านกัมมันต์ ใช้ใน...
- การสกัดโลหะ (เช่น ทองคำ)
- ทำน้ำให้บริสุทธ์ (โดยเฉพาะถังเก็บน้ำ (aquarium) ในบ้านเรือน )
- ยา,
- การบำบัดน้ำเสีย (Sewage treatment)
- สารกรองก๊าซ และ หน้ากากกรอง ใช้กรองอากาศ



http://th.wikipedia.org/wiki


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/01/2023 8:09 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 04/11/2011 7:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,034. วิธีทำถ่านกะลามะพร้าว เป็นถ่านกัมมันต์

วิธีทำถ่านกะลามะพร้าวเป็นถ่านกัมมันต์




ถ่านกัมมันต์ชนิดเม็ด




ถ่านกัมมันต์ชนิดแคปซูล



ถ่านกัมมันต์ (Activated Carbon) เป็นถ่านที่ใช้ประโยชน์ด้านการดูดซับกลิ่นสีประมาณนั้น ที่เห็นกันบ่อยก็คือถ่านที่ใส่ในที่กรองน้ำ หรือ ยาก้อนดำที่ใช้ดูดแก๊ซในทางเดินอาหาร หรือในตู้เย็น (แต่ไม่ใช้ถ่านหุงข้าวนะ) ในกล่องดูดกลิ่นของตู้เย็นบางรุ่น หรือใส่อยู่ในเครื่องฟอกอากาศ หรือ ใช้ในหน้ากากกันแก๊ซพิษที่เราเห็นเป็นจมูกหมูนะแหละ ตรงที่เป็นจมูกหมูนั้นแหละเป็นกระเปาะใส่ถ่านพวกนี้อยู่ ส่วนการทำน้ำก็คือการนำถ่านกะลามะพร้าวที่ผ่านกระบวนการเผาให้เป็นถ่านคาร์บอนแล้วมาผ่านระบวนการกระตุ้น (Activate) อีกทีหนึง จึงทำให้มันมีชื่อว่า Activated Carbon ซึ่งถ้าแปลตัวภาษาอังกฤษแล้วก็คือ"คาร์บอน (ถ่าน) ที่ผ่านการกระตุ้น(Activated) แล้ว"


การกระตุ้น (Activate) ก็มี 2 แนวหลักๆ ก็คือ การกระตุ้นด้วยสารเคมี และ ด้วยวิธีทางกายภาพ ซึงก็มีข้อดี ข้อด้อยด้วยกัน การกระตุ้นด้วยสารเคมีนั้นมีข้อดีคือราคาถูกกว่า แต่ข้อด้อยก็คือการล้างสารเคมีออกในขั้นตอนสุดท้ายนั้นทำให้เกิดความยุ่งยาก ส่วนวิธีการทางกายภาพนั้นก็คือการเผาที่อุณภูมิสูง


ในพจนานุกรมศัพท์ทางการแพทย์ ได้นิยามและอธิบายความ Activated Carbon หรือ Activated Charcoal ดังนี้


Activated Charcoal : ถ่านที่ถูกเผาให้มีความร้อนสูงเพื่อให้เพิ่มขีดความสามารถในการดูดซับของมัน Activated Charcoal ถูกขายเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทโอทีซี (over-the-counter) เพื่อใช้ลดแก๊สในลำไส้ Activated Charcoal ก็ยังถูกใช้ให้ดูดซับสารพิษ(เช่นใช้ในเครื่องกรองในหน้ากากกันแก๊สพิษ) ใช้เพื่อสร้างความเป็นกลางแก่สารยาพิษที่ถูกกลืนเข้าไปในท้องและเป็นตัวกรองและตัวทำความสะอาดให้แก่ของเหลวต่างๆ



http://coconut-shell-charcoal-technology.blogspot.com/2010/09/blog-post_14.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 04/11/2011 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,035. การผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าว

โดยใช้โซเดียมคลอไรด์เป็นสารกระตุ้น


นามผู้วิจัย นางสาวจิราภรณ์ ธรรมศรี

คณะกรรมการที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ
อาจารย์ธรพร บุศย์น้ำเพชร ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ
อาจารย์กนกวรรณ ศุกรนันทน์ ที่ปรึกษาร่วมปัญหาพิเศษ



บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองการนำเอากะลามะพร้าวมาใช้ประโยชน์ร่วมกับโซเดียมคลอไรด์ในการผลิตถ่านกัมมันต์ ซึ่งได้ทำการศึกษาถึงสภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นถ่านกะลาให้เป็นถ่านกัมมันต์ โดยใช้สารโซเดียมคลอไรด์เป็นสารกระตุ้น โดยมีตัวแปรที่จะศึกษาคือ ระยะเวลาในการแช่ถ่านในสารละลานโซเดียวคลอไรด์ อุณหภูมิและระยะเวลาในการกระตุ้น และอัตราส่วนเกลือต่อถ่าน จากนั้นได้นำผลิตภัณฑ์ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตได้ไปวิเคราะห์หาค่าไอโอดีนนัมเบอร์ ค่าความชื้น และทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำสีย้อมผ้า


จากการศึกษาพบว่า สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกระตุ้นถ่านกะลาให้เป็นถ่านกัมมันต์คือ การกระตุ้นที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ในเตาเผาความร้อนสูงเป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้ตัวอย่างถ่านขนาด 1.68 ถึง 2.38 มิลลิเมตร ผสมกับสารละลายโซเดียมคลอไรด์ในอัตราส่วน 3:1 โดยน้ำหนัก เป็นเวลา 48 ชั่วโมง จะทำให้ได้ถ่านกัมมันต์ที่มีคุณสมบัติดังนี้คือ ค่าไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 849 มิลลิกรัมต่อกรัม ค่าความชื้นเท่ากับ 7.2% ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถ่านกัมมันต์แล้วพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณสมบัติเป็นถ่านกัมมันต์เนื่องจากค่าไอโอดีนนัมเบอร์มีค่ามากกว่า 600 มิลลิกรัมต่อกรัม ค่าความชื้นมีค่าน้อยกว่า 8% ตามที่ มอก.900-2523 ได้กำหนดไว้

สำหรับประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำสีนั้นยังมีค่าค่อนข้างต้ำ คือ 35% เนื่องจากว่า ถ่านกัมมันต์เป็นสารดูดซับที่มีความสารถในการดูดซับอินทรีย์สารได้ดีกว่าอนินทรีย์และสารอื่น



http://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/article3.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11557

ตอบตอบ: 04/11/2011 7:29 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

1,036.



โรงบดแกลบ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้นำแกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดามาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และนำมาเป็นเชื้อเพลิงแท่งซึ่งเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ และในปี พ.ศ. 2518 จึงเป็นปีที่เริ่มโครงการจัดสร้างโรงบดแกลบ โดยมอบหมายงานให้กับงานช่าง สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการสร้างพร้อมจัดซื้อวัสดุต่างๆ สำหรับก่อสร้างในแบบที่ประหยัดโดยใช้สิ่งของเก่าที่มีอยู่นำมาใช้สร้างอาคาร นอกจากจะนำแกลบมาผลิตเป็นถ่านแล้ว แกลบที่ได้จากโรงสีข้าวตัวอย่างจิตรลดายังสามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่างๆ



เตาเผาแกลบที่อัดแล้วเป็นถ่าน


เนื่องจากแกลบที่อัดแล้วไม่สามารถรักษาสภาพให้เป็นแท่งอยู่ได้ เมื่อถูกน้ำ หรือน้ำฝนจะแปรสภาพเป็นแกลบบดเช่นเดิม แต่เมื่อนำแกลบที่อัดแล้วไปเผาให้เป็นถ่าน จะสามารถคงสภาพตามรูปที่อัดได้

พ.ศ. ๒๕๓๐ บริษัท อุสาพัฒนาเศรษฐกิจ จำกัด ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย เตาเผาถ่าน ขนาด ๒ ตัน มูลค่า ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท และทางโครงการได้จัดสร้างโรง สำหรับเก็บเตาเผาถ่าน และเก็บถ่าน เป็นเงิน ๒๑,๓๗๒.๐๐ บาท ดำเนินการนำเอาแกลบอัดจากโรงบดแกลบมาเผาเป็นถ่าน เพื่อสะดวกในการใช้คือ ไม่มีควัน แกลบที่นำมาเผาเป็น ถ่านแล้วพบว่าน้ำหนักแกลบอัดจะหายไป ๗๐% ถ่านที่ได้จากแกลบมีค่าพลังงานความร้อนพอ สมควรแต่ความร้อนน้อยกว่าถ่านที่ทำจากไม้ทางโครงการฯ ได้บรรจุถ่านใส่ถุงออกจำหน่ายถุงละ ๒ กิโลกรัม ราคา ๘.๐๐ บาท นอกจากนี้ยังศึกษาถึงการอัดแกลบชนิดแน่นและไม่แน่น นำไปเผาถ่าน ผลวิเคราะห์ค่าความร้อนทั้งสองชนิดเท่ากัน ความหนาแน่นไม่เท่ากัน ทำให้ระยะเวลาใช้งานไม่เท่ากัน ถ่านที่ทำจากแกลบอัดชนิดแน่นจะใช้ได้นานกว่า

- พ.ศ. ๒๕๓๒ ผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ ได้มอบนโยบายให้ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เพิ่มประสิทธิภาพจากเดิม เดือนละ ๕ - ๖ ตัน ให้สามารถ จัดส่งค่ายผู้อพยพสหประชาชาติ เดือนละ ๑๐ ตัน ได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพ และการจัดการจนจัดส่งได้ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ได้ย้ายไซโลเหล็กที่เดิมใช้เก็บข้าวสารนำมา ใช้ข้างโรงอัดแกลบ ใช้สำหรับเก็บแกลบดิบจากโรงสี ซึ่งแต่เดิมไม่มีที่เก็บและมีฝุ่นฟุ้งกระจาย มาก ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้น

- พ.ศ. ๒๕๓๓ โรงบดและอัดแกลบ ได้ทำการพัฒนาปรับปรุงการทำงาน จนปัจจุบันเครื่องอัดแกลบเครื่องหนึ่ง สามารถอัดแกลบแท่งได้ประมาณวันละ ๕00 กก. ถ้าทำเต็มที่ ๒ เครื่อง ได้วันละ ๑,๐๐๐ ก.ก. ส่วนเกลียวอัดราคาอันละ ๒,๕๐๐.๐๐ บาท สามารถที่จะทำการซ่อมแซมโดยการพอกเกลียวใหม่ได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายในด้านนี้ ๐.๑๖ บาท ต่อแกลบอัดแท่ง ๑ ก.ก.

- พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื่องจากมีแกลบเหลือจากโรงสีข้าวส่วนพระองค์ เป็นจำนวนมากกว่าที่จะนำมาทำแกลบอัดแท่งได้ทัน โรงบดและอัดแกลบ จึงนำแกลบส่วนที่เหลือ มาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์สูตรต่าง ๆ

- พ.ศ. ๒๕๓๖ นำแกลบอัดแท่งมาเผาเป็นถ่าน และหั่นเป็นท่อนเล็ก ๆ หนาท่อนละประมาณ ๑ นิ้ว บรรจุถุงเพื่อสะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น

- พ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างเตาเผาถ่านเพิ่มขึ้นอีก ๒ เตา โดยความร่วมมือ ของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน

- พ.ศ. ๒๕๓๘ ปรับปรุงห้องเก็บแกลบอัดแท่ง เพื่อสามารถเก็บแกลบ อัดแท่งและถ่านที่ผลิตมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีการสร้างเตาเผาถ่านเพิ่มขึ้นอีก ๔ เตา โดยได้รับความร่วมมือจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยก่อสร้าง

จะเห็นได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวของเราได้ให้ความสนใจในเรื่องถ่านอัดแท่ง ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้มีค่ามากที่สุด พวกเราควรภูมใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการที่เราร่วมมือการใช้ทรัพยากรของเราอย่างมีคุณค่า



http://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/manufacter%20husk.php


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/11/2011 7:36 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 39, 40, 41 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 40 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©