-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - * นานาสาระเรื่องเกษตร.
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

* นานาสาระเรื่องเกษตร.
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 72, 73, 74  ถัดไป
 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/08/2011 7:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่ 13

ลำดับเรื่อง....


331. เครื่องล้างผักผลไม้ปลอดสารพิษ/จุลินทรีย์ …เครื่องแรกของไทย
332. การใช้สารเคมีส่งผลร้ายแรงต่อผลผลิตทางการเกษตร
333. ความรู้ เรื่องปุ๋ยเคมี
334. อุตสาหกรรมปุ๋ย
335. แนะแก้สวนผลไม้ถูกน้ำท่วมก่อนจะสายเกิน

336. ดูแลรักษาไม้ผลหลังน้ำท่วมให้ทันท่วงที
337. นักวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ แนะวิธีฟื้นฟูยางพาราหลังน้ำท่วม
338. ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน (Vermicompost)
339. ไส้เดือนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
340. ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน

341. ระบบนิเวศ การแพร่กระจายพันธุ์ และพฤติกรรมของไส้เดือนดิน
342. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือนดิน
343. ไส้เดือนแอฟริกาตัวใหญ่ โตเร็ว ให้ลูกมาก
344. 4 สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้เลี้ยงในการกำจัดขยะ
345. ฮอร์โมนกลุ่มออกซิน (Auxin)

346. ไคโตซาน กับประโยชน์ที่มีต่อกุ้ง
347. ปุ๋ยเคมี VS ปุ๋ยอินทรีย์
348. ประเภทของปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอนินทรีย์
349. วิธีการเพิ่มผลผลิต มีอะไรบ้าง ?
350. การใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากอ้อย

351. ผลิตภัณฑ์จากข้าว
352. ข้าวกึ่งสำเร็จรูป (Quick cooking rice or instant rice)
353. สรรพคุณ “หมามุ่ย” บำรุงสมอง-เพิ่มสเปิร์มในงานมหกรรมสมุนไพรไทย
354. สธ.นำกาแฟสมุนไพรหมามุ่ยเสิร์ฟ ส.ส. ส.ว.ในสภา
355. น้ำผึ้ง ยาดีไม่มีขม

--------------------------------------------------------------------------







331. เครื่องล้างผักผลไม้ปลอดสารพิษ/จุลินทรีย์ …เครื่องแรกของไทย



สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโชว์นวัตกรรมผลงานวิจัยล่าสุด “เครื่องล้างผักผลไม้อัลตราโซนิกส์” มีประสิทธิภาพล้างสารเคมีตกค้างและจุลินทรีย์ในผักและผลไม้สูงถึง 78% ลดปริมาณการใช้น้ำได้ 85% เมื่อเทียบกับการล้างแบบเดิม เตรียมผลิตจำหน่ายทดลองตลาด 20 เครื่อง พร้อมเปิดทางผู้ประกอบการไทยต่อยอดการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ


ดร.นงลักษณ์ ปานเกิดดี ผู้ว่าการ วว. กล่าวชี้แจงว่า ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ ประประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา “เครื่องล้างผักผลไม้อัลตราโซนิกส์ ” (Ultrasonic Vegetable and Fruit Cleaner) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการล้างสารเคมีที่ตกค้างและจุลินทรีย์ตามซอกมุมต่าง ๆ ของใบผักและผิวผลไม้ เกิดการสลายและหลุดออกจากผักและผลไม้ได้ โดย วว. ร่วมกับภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทดสอบประสิทธิภาพการใช้ เครื่อง ในการทดลองล้างผักและผลไม้โดยควบคุมเวลาและปริมาณของผักที่ใช้ในการล้างพบว่า การใช้เครื่องล้างผักผลไม้อัลตราโซนิกส์ร่วมกับน้ำยาล้างผัก สามารถชำระล้างสารเคมีตกค้างและ จุลินทรีย์ในผักและผลไม้สูงถึง 78% โดยไม่ทำให้ผักช้ำและลดปริมาณการใช้น้ำได้ 85% เมื่อเทียบกับการล้างแบบเดิม ซึ่งภายในครัวเรือนหรือร้านอาหารต่าง ๆ นิยมล้างด้วยการให้น้ำไหลผ่านผักและผลไม้เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก ทำให้สูญเสียทรัพยากรน้ำเป็นจำนวนมากในการล้างแต่ละครั้ง นอกจากนั้นยังไม่สามารถชำระล้างสารเคมีออกจากผักประเภทที่มีใบมากหรือมีกิ่งก้านที่ซับซ้อน เช่น ผักชี คะน้า องุ่น ฯลฯ สำหรับอุตสาหกรรมการล้างผักและผลไม้จะใช้วิธีการไหลผ่านของน้ำร่วมกับแรงดันอากาศ แต่ต้องใช้ปริมาณน้ำมากเช่นกันทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

“...เพื่อต่อยอดงานวิจัยด้านอัลตราโซนิกส์ให้สามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย วว. จะผลิตเครื่องล้างผักผลไม้อัลตราโซนิกส์สำหรับทดลองตลาดจำนวน 20 เครื่อง ที่มีการใช้คลื่นอัลตราโซนิกส์ ที่มีความถี่และความแรงของคลื่นเหมาะสมกับการล้างผักผลไม้ โดยไม่ทำให้ผักหรือผลไม้ช้ำและประหยัดน้ำ การทดลองตลาดครั้งนี้จึงเป็นการดำเนินการเพื่อศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ได้แก่ รูปแบบการนำไปใช้งาน ระยะเวลาการทำความสะอาด ความสะดวกในการใช้งานรวมทั้งข้อมูลทางด้านการตลาด เป็นต้น เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงเครื่องล้างผักผลไม้อัลตราโซนิกส์ให้สมบูรณ์พร้อมนำไปถ่ายทอดเชิงพาณิชย์ต่อไป ทั้งนี้หากผู้ประกอบการไทยมีการต่อยอดการผลิตก็จะช่วยลดปริมาณการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคายุติธรรม” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้อำนวยการ ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ กล่าวเพิ่มเติมว่า เครื่องล้างผักผลไม้อัลตราโซนิกส์พัฒนาต่อยอดจากประสบการณ์งานวิจัยของฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ ที่ได้พัฒนาเครื่องทำความสะอาดอัลตราโซนิกส์เมื่อ พ.ศ.2544 ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำความสะอาดชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีรูปร่างซับซ้อนและเปราะบางได้ดีทุกซอกทุกมุม โดยไม่ทำลายผิวหน้าของวัสดุหรือมีร่องรอยหลังการล้างทัดเทียมกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ และมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

“…สำหรับเครื่องล้างผักผลไม้อัลตราโซนิกส์ประกอบด้วยอ่างน้ำสำหรับใส่ผักและผลไม้ บริเวณก้นอ่างจะถูกยึดติดกับหัวทรานสดิวเซอร์ เมื่อเปิดเครื่องวงจรไฟฟ้าภายในตัวเครื่องจะส่งสัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงระดับกิโลเฮิร์ตให้กับหัวทรานสดิวเซอร์ส่งคลื่นเหนือเสียง ที่มีความถี่สูงประมาณ 60 กิโลเฮิร์ต ไปยังน้ำที่แช่ผักและผลไม้ ทำให้น้ำเกิดการสั่นสะเทือนเกิดกระบวนการ cavitation และทำให้มีพลังงานที่เป็น shock wave เกิดขึ้น และด้วยสมบัติของคลื่นเหนือเสียงที่สามารถแทรกซึมได้ทั่วทุกซอกทุกมุมภายในอ่าง จึงทำให้สารเคมีที่ตกค้างตามซอกใบและพื้นผิวของผักผลไม้ตามซอกมุมต่าง ๆ เกิดการสลายและหลุดออกในที่สุด” ผอ.ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ กล่าว

ชมการสาธิตเครื่องล้างผักผลไม้อัลตราโซนิกส์ ได้ที่ งานเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 45 ปี วว. “สุขภาพดี ชีวีสดใส” ในวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2551 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต หรือ นายเฉลิมชัย จีระพันธุ์ ฝ่ายเทคโนโลยีวัสดุ วว. โทร. 0 2579 1121- 30 ต่อ 2015 และ 2120 ในวันและเวลาราชการ หรือที่ E-mail : tistr@tistr.or.th




http://www.ryt9.com/s/prg/346690


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/10/2011 7:44 am, แก้ไขทั้งหมด 12 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/08/2011 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

332. การใช้สารเคมีส่งผลร้ายแรงต่อผลผลิตทางการเกษตรจีน



การใช้สารเคมีทางการเกษตรเป็นปริมาณมากในพื้นที่เพาะปลูก ส่งผลให้ดินมีคุณภาพเสื่อมลงจนไม่สามารถทนทานต่อภัยธรรมชาติและสภาพอากาศที่แปรปรวน และอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตรในประเทศจีนที่อาจจะมีปริมาณลดลงภายในไม่กี่ปีข้างหน้า เหตุการณ์นี้ทำให้นักนิเวศวิทยาเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐช่วยออกมาตรการควบคุมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีในการทำเกษตร และให้รัฐบาลให้ความสำคัญและเพิ่มงบประมาณในการสนับสนุนการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งงสามารถช่วยรักษาหน้าดินได้ ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาค่อนข้างนาน นอกจากนี้ ภาครัฐยังควรที่จะสนับสนุนให้ภาคเอกชนให้ความช่วยเหลือชาวนาในเรื่องของการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม โดยให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ทางการเกษตรที่ชาวนาไม่สามารถหาเองได้

ในปี ๒๕๕๓ หลายพื้นที่ในประเทศจีนได้ประสบปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย แต่ปริมาณการผลิตข้าวของประเทศก็ยังสูงถึง ๕๔๖.๔ ล้านตัน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ ๗ เทียบกับปีที่แล้วที่ผลิตได้ ๓๒๐ ล้านตัน นักวิทยาศาสตร์การเกษตรของจีนกล่าว การเพิ่มขึ้นนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นระยะยาว หากรัฐบาลไม่สามารถออกมาตรการในการควบคุมการใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพและทันเวลาได้ เนื่องจากคุณภาพของดินอาจจะเสื่อมจนไม่สามารถให้ผลผลิตได้เป็นจำนวนมาก


สารอินทรีย์ในดินที่เป็นตัวกำหนดปริมาณผลผลิตที่สำคัญ ซึ่งในพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ขณะนี้มีปริมาณเสารอินทรีย์ฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ ๑ ถึง ๕ น้อยกว่าปี ๒๔๙๓ ที่มีปริมาณอยู่ที่ร้อยละ ๘ ถึง ๑๐ ในขณะนี้ พื้นที่มากกว่า ๑ ใน ๓ ของประเทศมีเนื้อดินหนาหรือบางเกินไป ทำให้ไม่สามารถเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหานี้เกิดมาจากการใช้สารเคมีมากเกินกำหนดตลอด ๓๐ ปีที่ผ่านมา

ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่มีการใช้สารเคมีในการเกษตรมากเป็นอันดับ ๑ ของโลก และมีปริมาณการใช้มากกว่า ๕๐ ล้านตันต่อปี คิดเป็น ๔ เท่าของการใช้สารเคมีเมื่อปี ๒๕๒๓ ในส่วนของสารฆ่าแมลงที่ใช้ในจีนมีปริมาณมากกว่า ๑.๓ ล้านตันต่อปี มากกว่าตัวเลขเฉลี่ยของการใช้สารฆ่าแมลงจากทั่วโลกถึง ๒.๕ เท่า

เกษตรกรและเจ้าหน้าที่รัฐมีความเชื่อว่า การใช้สารเคมีมาก จะทำให้ได้ผลผลิตมาก ไม่ว่าต้นทุนจะสูงขึ้นเท่าไรก็ตาม ปุ๋ยเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเกษตรเพื่อเป็นหลักประกันของปริมาณผลผลิต ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมายืนยันว่า โรคต่างๆของพืชที่เพิ่มขึ้นและสภาพแวดล้อมที่เสื่อมสภาพลง ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการใช้สารเคมีในการเกษตรมาเป็นเวลานาน เกษตรกรส่วนใหญ่นั้นจะให้ความสำคัญในเรื่องปริมาณการผลิตและรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตมากกว่าปัญหาดินเสียและความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีในนาข้าวที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค


อีกปัญหาหนึ่งที่ประเทศจีนกำลังประสบอยู่ คือ มลพิษทางน้ำ แม่น้ำสายสำคัญทั้ง ๗ สายและบริเวณชายฝั่งทะเลของจีน มีสารพิษปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก มีการพบว่าร้อยละ ๔๒.๓ ของทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในความดูแลของรัฐ มีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสและธาตุไนโตรเจนมากเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุให้พืชน้ำมีการเจริญเติบโตรวดเร็วผิดปกติ ดังนั้น สิ่งที่ประเทศจีนต้องเผชิญ คือ ปริมาณผลผลิตที่ลดลง รวมทั้งสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงซึ่งจะทำให้วิกฤตรุนแรงและยาวนานขึ้น



ที่มา: http://www.depthai.go.th
http://www.ryt9.com/s/expd/1218738
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/08/2011 9:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

333. ความรู้ เรื่องปุ๋ยเคมี

ในอดีตเมื่อทำการเพาะปลูกเพียงรดน้ำพรวนดินก็ได้ผลผลิตแล้ว เพราะธาตุอาหารต่างๆในดินยังคงมีอยู่มาก ต่อมาเมื่อหน่วยงานต่างๆ ผลักดันให้ ภาคการเกษตรที่เคยผลิตเพื่อเลี้ยงชีพ เปลี่ยนเป็นรูปแบบผลิตเพื่อการค้า ซึ่งหมายความว่า ต้องทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงๆ เพื่อสร้างผลกำไรจากการขาย การใส่ปุ๋ยเคมี มีข้อดีในแง่ที่มีธาตุอาหารหลัก (N-P-K) มาก จึงทำให้ในช่วงแรกพืชเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ได้ผลผลิตมาก แต่ปุ๋ยเคมี ไม่มีธาตุอาหารรองและเสริม เมื่อธาตุรองและเสริมในดินถูกใช้หมด ผลผลิตที่ได้ก็ลดน้อยลง เกษตรกรไม่รู้ก็ยิ่งใส่ปุ๋ยเคมีมากขึ้นอีก ต้นทุนก็จะยิ่งสูงขึ้น กำไรจึงลดน้อยลง



ปุ๋ยเคมี คือ
ปุ๋ยเคมี (Chemical fertilizers) หมายถึงปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ ซึ่ง มีธาตุอาหารหลัก N P K โดยมีขบวนการตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์น้ำมัน และเมื่อนำมารวมกับ กรด โดยผ่านขบวนการทางเคมี จะได้ธาตุ N P K ออกมาเป็นแม่ปุ๋ยสูตรต่างๆ แล้วแต่ว่าจะใช้ กรด ชนิดใดในการทำปฏิกิริยา (ดังนั้นหากใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกวิธีจะทำให้ดินเป็นกรด) ประเทศไทยยังไม่มีโรงงานผลิตแม่ปุ๋ย เพราะต้นทุนการผลิตสูง จึงนำเข้าแม่ปุ๋ยมาจากต่างประเทศ เช่น ยูเรีย แอมโมเนียเหลว หินฟอสเฟตและโพแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น เมื่อโรงงานปุ๋ยในประเทศได้แม่ปุ๋ยมาแล้ว จึงผลิตปุ๋ยโดยนำแม่ปุ๋ยมาผสมปั้นเป็นเม็ด โดยมีแม่ปุ๋ยตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปตามสูตรที่ต้องการเช่น ปุ๋ยสูตร15–15–15 หมายความว่า จะนำแม่ปุ๋ยมาคำนวณให้ในเนื้อปุ๋ย 100 กิโลกรัม มี ไนโตรเจน (N) อยู่ 15กิโลกรัม ฟอสฟอรัส (P) อยู่ 15 กิโลกรัม และมีโปแตสเซียม (K) อยู่ 15 กิโลกรัม รวมเป็น 45 กิโลกรัม และอีก 55 กิโลกรัมที่เหลือจะเป็นสารเติมแต่ง(ฟิลเลอร์) เพื่อให้ได้ปริมาณครบจำนวน100กิโลกรัม ซึ่งฟิลเลอร์ที่เติมเข้าไปก็คือ ดินขาว (Clay) นั้นเอง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรซื้อ จะเป็นดินขาวอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ (%) ดินขาวจะมีส่วนช่วยในการปั้นเม็ดให้กลมสวย ทำให้เม็ดปุ๋ยมีความแข็งไม่แตกร่วนในขณะเก็บไว้นานๆ รวมถึงช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจน (N) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักตัวหนึ่งในเนื้อปุ๋ย ไม่ให้สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป แต่ดินขาวเองไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อพืชแต่กลับเป็นข้อเสีย เพราะดินขาวจะแทรกตัวไปอัดแน่นอยู่ในช่องว่างของดิน และยึดเกาะเม็ดดินให้จับตัวกันแน่นขึ้น พร้อมกับขับไล่อากาศที่มีอยู่ในดินออกไป ดังนั้นดินที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาโดยตลอด จะมีสภาพเป็นกรดและแข็งกระด้าง



จริงหรือไม่ ที่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรที่สูงๆยิ่งดี ปุ๋ยสูตรต่ำสารอาหารจะไม่เพียงพอ
ปุ๋ยที่มีสูตรที่สูงๆ หากพืชสามารถกินได้ทันที กินได้หมด ก็จะดีมีประโยชน์ แต่ความจริงแล้ว พืชจะไม่สามารถกินปุ๋ย N P K ได้ทันที ต้องเปลี่ยนรูปไปเป็นสารอาหารที่พืชสามารถดูดกินได้ก่อน ซึ่งหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารนี้คือหน้าที่ของจุลินทรีย์ชนิดดีในดิน แต่การใช้ปุ๋ยเคมีมากๆหรือใช้มานาน จะทำให้จำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีที่คอยทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารเกิดการชะงัก ทำให้การเปลี่ยนสารอาหารลดน้อยลง จนกระทั่งไม่สามารถ เปลี่ยนสารอาหารให้พืชกินได้ทัน พืชจึงเจริญเติบโตช้าและให้ผลผลิตน้อย เกษตรกรจึงคิดว่าสารอาหารในดินไม่เพียงพอจึงเติมปุ๋ยเคมีลงไปอีก หรือเปลี่ยนไปใช้ปุ๋ยที่มีสูตรสูงขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ผิดวิธี สิ้นเปลืองเงินไปโดยไร้ประโยชน์ และยิ่งส่งผลเสียต่อจุลินทรีย์และดินมากยิ่งขึ้น



จริงหรือไม่ ปุ๋ยเคมีควรใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีที่สุด
จากคำพูดดังกล่าว น่าจะดีแต่ทำได้จริงหรือไม่ หากจะทำจริงต้องใช้ปุ๋ยเคมีกี่ส่วนต่อปุ๋ยอินทรีย์กี่ส่วน ปุ๋ยเคมีควรเป็นสูตรใด ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ชนิดไหน (อินทรีย์ทั่วไป คอก วัว ไก่ หมู ค้างคาว ชีวภาพ จุลินทรีย์) แล้วจะใส่อย่างไร เคมีก่อนหรืออินทรีย์ก่อน หรือพร้อมกัน แล้วจะใส่ช่วงไหนดี แน่ใจได้อย่างไรว่าจะออกมาดี การใช้ปุ๋ยจึงควรพิจารณาให้เหมาะสมก่อนใช้


*** การจะเลือกใช้ปุ๋ยประเภทใด ก็ขอให้พิจารณา ตัดสินใจเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด




http://agriculturalknowledge.blogspot.com/2010/06/knowledge-of-chemical-fertilizer.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 24/08/2011 9:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

334. อุตสาหกรรมปุ๋ย


ปุ๋ย คือ สารที่ใส่ลงไปในดิน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารซึ่งมีอยู่ในดินไม่เพียงพอ จนพอแก่ความต้องการของพืช เพื่อพืชจะได้เจริญเติบโตงอกงามและให้ผลผลิตสูง

พืชและต้นไม้เจริญเติบโตได้เนื่องจากในดินมีธาตุอาหาร มีน้ำและอากาศให้รากพืชได้หายใจ รากพืชจะดูดน้ำและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้น รากพืชต้องมีอากาศหายใจ

ดินในบริเวณที่เปิดป่าใหม่ๆเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากดินชั้นบนสะสมอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาเนื่องจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุและการผุพังของหินและแร่ในดิน พืชที่ปลูกจึงงอกงาม และให้ผลผลิตสูง

ธาตุอาหารพืชถูกปลดปล่อยออกมาเนื่องจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุและการผุพังของหินและแร่ในดิน พืชที่ปลูกจึงงอกงาม และให้ผลผลิตสูง

การปลูกพืชและเก็บเกี่ยวผลิตผลจากไร่นาแต่ละครั้ง เป็นการเก็บเกี่ยวธาตุอาหารหรือปุ๋ยในดินออกไปด้วยเช่นกัน การปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานานๆจึงทำให้ดินสูญเสียธาตุอาหารพืช รวมทั้งอินทรียวัตถุในดิน ในที่สุดจะทำให้ดินทีความอุดมสมบูรณ์ลดลง กลายเป็นดินเลวปลูกพืชไม่ได้ผลอีกต่อไป

ดังนั้นในการปลูกพืชจึงควรใช้ปุ๋ยปรับปรุงดิน เนื่องจากปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินจะปล่อยธาตุอาหารพืชชดเชยธาตุอาหารพืชเดิมที่สูญเสียไป และยังสามารถเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเมื่อปลูกในดินที่มีธาตุอาหารไม่พอเพียง

ปุ๋ยเคมีจะปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างเดียว เนื่องจากเป็นสารเคมีที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่ปุ๋ยอินทรีย์นั้น นอกจากจะปลดปล่อยธาตุอาหารแล้ว ยังช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุยอีกด้วย โดยปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่าปุ๋ยเคมี และปลดปล่อยออกมาช้ากว่า เนื่องจากต้องรอให้จุลินทรีย์ในดินย่อยสลายให้ผุพังเน่าเปื่อยเสียก่อน

การเข้าใจเรื่องปุ๋ยและการเลือกใช้ปุ๋ยมาใช้ในทางเกษตรเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น

ปุ๋ย ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 หมายความถึง สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีการใดหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดินเพื่อบำรุงความเจริญเติบโตของพืช

ปุ๋ย หรือ fertilizer มาจาก fertile (เฟอร์ไทร์) หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยลงในดินก็เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารแก่พืช โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ซึ่งพืชยังขาดอยู่ให้ได้รับอย่างเพียงพอ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตงอกงาม พร้อมที่จะให้ผลผลิตมีคุณภาพและได้ปริมาณสูง

ธาตุอาหารของพืช มีประมาณ 16 ธาตุด้วยกัน คือ ธาตุ C, H, O, N, P, K , Ca, Mg, S, Fe, Mn, B, Mo, Cu, Zn และCl สำหรับ 3 ธาตุแรกคือ C, H, O พืชสามารถรับได้จากน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ธาตุที่เหลือ 13 ธาตุได้จากดิน ในกรณีที่ดนไม่เพียงพอจะต้องได้รับจากปุ๋ยที่ใส่ลงไป มิฉะนั้นจะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ธาตุอาหารของพืชที่อยู่ในดินทั้ง 13 ธาตุจะมีความสำคัญต่อพืชไม่เท่ากัน สามารถแบ่งได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ธาตุอาหารหลัก (primary elements) พืชต้องการมากและมักมีอยู่ในดินไม่เพียงพอ ต้องใส่ปุ๋ยลงไป ได้แก่ N, P, K

กลุ่มที่ 2 ธาตุอาหารรอง (secondary elements) ได้แก่ Ca, Mg, S พืชต้องการมาก แต่โดยปกติจะมีอยู่ในดินค่อนข้างมากและเพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงมักไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยที่ธาตุกลุ่มนี้

กลุ่มที่ 3 ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ Fe, Mn, B, Mo, Cu, Zn, Cl พืชต้องการในปริมาณน้อยและมักมีเพียงพอในดินแล้ว



ประเภทของปุ๋ย
โดยทั่วไปปุ๋ยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และวัสดุที่เหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรีย์สาร

- ปุ๋ยคอก ที่สำคัญ ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก

- ปุ๋ยหมัก ได้แก่ ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ ซึ่งได้จากการนำขยะในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหาร เข้าโรงหมักเป็นขั้นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้ โดยการกองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 เซนติเมตร แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีก แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตร ควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง

- ปุ๋ยพืชสด ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน


ปุ๋ยอินทรีย์เมื่อใส่ในดิน ซากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะค่อยๆ สลายตัวและปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืชช่วยทำให้ดินร่วนซุยและสามารถดูดซับน้ำและปุ๋ยได้ดีขึ้น แต่มีข้อเสียคือ มีธาตุอาหารน้อย รวมทั้งมีปริมาณและสัดส่วนไม่แน่นอน ต้องใช้ปริมาณมากจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของพืช

ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่างๆที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด


ปุ๋ยเคมีมี 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว และปุ๋ยผสม
- แม่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหารปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุ แล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้นๆ มีปริมาณของธาตุอาหารของพืชคงที่

- ปุ๋ยผสม ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลายๆชนิดมารวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นานๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้


ปุ๋ยเคมีที่ซื้อขายกันในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิด มีทั้งที่เป็นผลึก เม็ด เกล็ด และผง ซึ่งแล้วแต่ผู้ผลิตจะผลิตขายตามความต้องการของตลาดซึ่งให้ธาตุอาหารหลักไม่เหมือนกันในปุ๋ยแต่ละชนิด นักวิชาการจึงไดกำหนด "เกรดปุ๋ย" ขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ ผู้ขาย และผู้ควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่วางไว้ เกรดปุ๋ยจะบอกให้ทราบว่าปุ๋ยนั้นจะให้ธาตุอาหารหลักชนิดใด และธาตุอาหารชนิดนั้นจะมีปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเป็นปริมาณเท่าใด ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมตามชนิดของพืชที่ปลูก เกรดปุ๋ยนั้นประกอบด้วยเลข 3 ชุด แต่ละชุดจะมีเครื่องหมาย "-" แยกตัวเลขไว้ ตัวเลขแต่ละชุดจะเป็นตัวเลขจำนวนเต็มไม่มีจุดทศนิยม เช่น ปุ๋ยเกรด 46-0-0, 20-20-0, 13-13-21 เป็นต้น

ตัวเลขชุดแรก บอกปริมาณเป็นร้อยละของธาตุไนโตรเจน (N) ทั้งหมด ในปุ๋ย 100 กิโลกรัม

ตัวเลขชุดที่สอง บอกปริมาณเป็นร้อยละของธาตุฟอสฟอรัสในรูปของฟอสเฟต (PO4)ที่เป็นประโยชน์ (available P2O5) ในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม

ตัวเลขชุดที่สาม บอกปริมาณเป็นร้อยละของธาตุโพแทสเซียมในรูปของโพแทสที่ละลายน้ำ (water soluble K2O) ในปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม



ข้อดี-ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยอินทรีย์
ข้อดี
1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก
2. อยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้าๆ
3. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยเสริมคุณภาพของปุ๋ยเคมีให้ดีขึ้น
4. ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ในดินทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อเสีย
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
2. ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช
3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อเทียบกับราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร
4. มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆได้


ปุ๋ยเคมี
ข้อดี
1.มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วนน้ำหนักของปุ๋ยสูง จึงใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย
2.ราคาถูก สะดวกในการเก็บรักษาและการขนส่ง
3.หาซื้อได้ง่าย เพราะสามารถผลิตจากโรงงาน
4.ให้ธาตุอาหารแก่พืชได้เร็ว

ข้อเสีย
1.ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน ไม่ทำให้ดินร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
2.ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้ปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น
3.ถ้าใช้ในอัตราที่สูงเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อพืช
4.ผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจจะเกิดผลเสียหายมาก




ปุ๋ยไนโตรเจน
ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้อาจจัดเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ และปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จาสิ่งที่มีชีวิต เกิดการเน่าเปื่อยผุพังไป เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเทศบาล เป็นต้น ปุ๋ยประเภทนี้จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนต่ำ ฉะนั้นในการใช้แต่ละครั้งต้องใช้ในปริมาณมาก แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพราะให้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินให้โปร่ง ร่วนซุย ซึ่งเป็นสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของดินที่พืชต้องการ

ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่

1. ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3) หรือ anhydrous ammonia หรือ liquid ammonia(แอมโมเนียมเหลว) มีไนโตรเจนทั้งหมด 82% เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุด

2. ปุ๋ยยูเรีย (CO(NH2)2) เป็นเม็ดกลมสีขาว มีไนโตรเจนสูงรองจากปุ๋ยแอมโมเนีย คือ มีไนโตรเจนทั้งหมด 46% มีสมบัติดูดความชื้นได้ง่าย

3. ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) มีไนโตรเจนทั้งหมด 35%

4. ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4 มีไนโตรเจนทั้งหมด 21%

5. ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) มีไนโตรเจนทั้งหมด 24-26%

6. ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต (NaNO3) มีไนโตรเจนทั้งหมด 16%

7. ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN2) มีไนโตรเจนทั้งหมด 21-22 % เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ เวลาใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง อาจใช้เป็นยาฆ่าหญ้า และฉีดพ่นให้ใบฝ้ายร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวได้ด้วย

8. ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต (Ca(NO3)2) มีไนโตรเจนทั้งหมด 15.5%

9. ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตซัลเฟต (NH4 NO3 .(NH4)2SO4) มีไนโตรเจนทั้งหมด 30%

10. ปุ๋ยไนโตรเจนอื่นๆ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต-ซัลเฟต ปุ๋ยยูเรีย-ซัลเฟอร์ ปุ๋ยยูเรีย-ฟอสเฟต เป็นต้น

ปกติธาตุไนโตรเจนในดินมีอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมอยู่ในอากาศ ซึ่งมีธาตุนี้อยู่ถึง 78% ของปริมาณอากาศทั้งหมดที่ห่อหุ้มโลก โดยอยู่ในรูปของโมเลกุลไนโตรเจน (N2) ซึ่งพืชส่วนใหญ่ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง นอกจากพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ดังนั้นไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสารประกอบอนินทรีย์เสียก่อน เช่น ในรูปของไนเตรต (NO3-) หรือแอมโมเนีย (NH4+) จึงจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้

กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน โรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยสามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจน ในที่นี้จะเน้นการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) และปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)

ปุ๋ย (NH4)2SO4 หรือปุ๋ยขาว เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 และสารละลาย H2SO4

2NH3 (g) + H2SO4 (aq) ? (NH4)2SO4 (s)



การผลิตปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)
เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 กับแก๊สCO2 โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 180-210 องศาเซลเซียส และความดัน 140-250 บรรยากาศ จะได้แอมโมเนียมคาร์บาเมต (NH2CONH4) กับน้ำ ดังสมการ

2NH3 (g) + CO2 (g) ? NH2CONH4 (aq)
NH2CONH4 (aq) ? NH2CONH2 (aq) + H2O (l)

NH3 กับCO2 เตรียมได้จากก๊าซธรรมชาติ

NH3 เตรียมจาก N2 และ H2 ในอากาศ โดยนำอากาศมากลั่นลำดับส่วน คือ ลดอุณหภูมิลงมากๆ พร้อมกับเพิ่มความดันจนอากาศกลายเป็นของเหลว


เริ่มต้นเตรียม N2 จากอากาศโดยกระบวนการ liquefaction คือ ทำให้อากาศกลายเป็ฯของเหลวทั้งหมดก่อนโดยการลดอุณหภูมิลงมากๆ และเพิ่มความดันสูงๆ จากนั้นนำอากาศเหลวซึ่งมี N2 และ O2 เป็นส่วนใหญ่มากลั่นลำดับส่วนแยกออกจากกัน N2 ซึ่งมีจุดเดือดต่ำกว่า O2 จะแยกออกมาก่อนแล้ว O2 จึงกลั่นออกมา ภายหลัง

การเตรียม H2 ในกรณีที่มีก๊าซปิโตรเลียมหรือก๊าซธรรมชาติ โดยนำ O2 ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนอากาศมาทำปฏิกิริยาดังสมการ โดยใช้ภาวะที่เหมาะสมและใช้ Niเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ H2 และCO2 ซึ่งเรียกรวมกันว่า water gas

2CH4 (g) + O2 (g) --Ni-- 2CO (g) + 4H2 (g)


หรืออาจใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 โดยตรง จะได้ก๊าซ CO และ H2 เช่นเดียวกัน

CH4 (g) + H2O (g) ---Ni- CO (g) + 3H2 (g)


เมื่อแยกก๊าซ H2 ออกจากก๊าซผสมแล้ว จึงนำก๊าซ COที่เหลือไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CH4 อีกภายใต้อุณหภูมิสูง และมีตัวเร่งปฏิกิริยาเหมาะสม จะได้ก๊าซ CO2 และH2

CH4 (g) + CO (g) CO2 (g) + H2 (g)





ก๊าซผสมทั้งหมด (CO+H2) สามารถแยกออกจากกันได้โดยผ่านเข้าไปในหอคอยที่มีน้ำพ่นลงมา ก๊าซ CO2 ละลายน้ำได้ เกิดเป็นกรด H2CO3 ไหลออกทางส่วนล่างของหอคอยพร้อมกับน้ำ

CO2 (g) + H2O (l) ? H2CO3 (aq)

สำหรับก๊าซ H2 ซึ่งไม่ละลายน้ำจะผ่านขึ้นไปออกทางส่วนบนของหอคอย เก็บไว้ทำปฏิกิริยากับ N2 เพื่อเตรียมก๊าซ NH3 ต่อไป

สำหรับกรด H2CO3 นำไปแยกสลายให้กลับมาเป็นก๊าซ CO2ได้ โดยนำ H2CO3 ไปลดความดันและเพิ่มอุณหภูมิ


H2CO3 (aq) CO2 (g) + H2O (l)



ก๊าซ N2 ที่เตรียมจากอากาศ และ H2 ที่ได้จากก๊าซธรรมชาตินำมาทำปฏิกิริยากันจะได้ NH3 เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีภาวะสมดุลจึงต้องเลือกภาวะที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ก๊าซ มากที่สุด โดยทั่วๆไปใช้อุณหภูมิประมาณ 300 องศาเซลเซียส 350 บรรยากาศ และใช้ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

เมื่อนำก๊าซ NH3ไปทำปฏิกิริยากับก๊าซ CO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย

CH3 (g) + CO2 (g) ? NH2CONH2 (s) + H2O (l)


นอกจากนี้ ถ้าใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นวัตถุดิบแทนก๊าซธรรมชาติ จะเตรียม CO2 และ H2 ได้โดยการเผารวมกับ O2 จะได้ CO2 9.4%,CO 59.9%, H2 28.6% และก๊าซอื่นๆ 2.1%

เมื่อแยกก๊าซอื่นๆที่ไม่ต้องการ เช่น H2S และNO ออกไปแล้วจึงทำให้ CO กลายเป็นCO2 โดยนำก๊าซผสมไปทำปฏิกิริยากับไอน้ำที่ความดันสูงๆ และมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม CO จะรวมตัวกับ H2O ได้เป็น
CO2 และ H2

หลังจากได้ก๊าซผสม CO2 และ H2 แล้ว กระบวนการต่อๆไป สำหรับเตรียมปุ๋ยยูเรีย จะเหมือนกับกรณีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ


การผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4
เตรียมก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 ก่อนแล้วจึงนำมาทำปฏิกิริยากันเป็นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต

ก๊าซ NH3 เตรียมได้โดยวิธีการเดียวกับการผลิตปุ๋ยยูเรีย

กรด H2SO4 เตรียมได้โดยใช้ S เป็นสารตั้งต้นซึ่งส่วนใหญ่จะได้จากถ่านลิกไนต์

โดยนำ S มาหลอมเหลวแล้วเผารวมกับก๊าซ O2 จะได้ก๊าซ SO2

S (l) + O2 (g) ? SO2 (g)

เมื่อนำก๊าซ SO2ทำปฏิกิริยาต่อกับ O2 จะได้ก๊าซ SO3แต่เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาที่มีสมดุลจึงต้องเลือกภาวะของอุณหภูมิและความดันที่เหมาะสม คือ 330 องศาเซลเซียส และใช้ V2O5 หรือ Pt เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะเหมาะสมได้ก๊าซ มากที่สุด

2SO2 (g) + O2 (g) 2SO3 (g)

เมื่อผ่านก๊าซ SO3 ลงในสารละลายกรด H2SO4 เข้มข้น(เกือบบริสุทธิ์) จะเกิดปฏิกิริยาได้เป็น H2S2O7 หรือ H2SO4 . SO3 เรียกว่า โอเลียม(oleum) หรือ fuming sulfuric acid

H2SO4 (aq) + SO3 (g) ? H2S2O7 (aq)


เมื่อต้องการกรด H2SO4 กลับคืน ให้นำ H2S2O7 ไปทำปฏิกิริยากับน้ำ
เมื่อนำก๊าซ NH3 และกรด H2SO4 มาทำปฏิกิริยากันจะได้ปุ๋ย (NH4)2SO4 ตามต้องการ

2NH3 (g) + H2SO4 (aq) ? (NH4)2SO4(s)



หมายเหตุ
การเตรียมกรด H2SO4 จะไม่เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่าง SO3 (g) กับ H2O (l) โดยตรง ตามสมการ

H2O (l) + SO3 (g) ? H2SO4(aq)


เนื่องจาก เกิดปฏิกิริยายาก และมีการคายความร้อนสูงมาก รวมทั้งยังมีก๊าซบางอย่างระเหยออกมาตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย




http://www.webtpk.com/webpk/puy.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/08/2011 7:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

335. แนะแก้สวนผลไม้ถูกน้ำท่วมก่อนจะสายเกิน


รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มก. เปิดเผยว่า ไม้ยืนต้นทั่วไปเกือบทุกชนิดมักทนสภาพน้ำท่วมได้ไม่นาน อาจเพียง 5-15 วัน หรือนานกว่า ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ในพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม หรือพื้นที่ลุ่มน้ำใกล้แม่น้ำหรือลำคลองใหญ่ จึงควรตระเตรียมพื้นที่ปลูกโดยยกคันดินรอบพื้นที่ให้แข็งแรงเพื่อป้องกันน้ำ

จากเหตุการณ์น้ำท่วมสวนส้มเขียวหวานในเขตชลประทานรังสิตเมื่อเดือน ต.ค.53 โดยพายุอีล่า พื้นที่ถูกน้ำท่วมเฉลี่ย 15-30 วัน พบว่าต้นส้มที่ถูกน้ำท่วมจนมิดยอดมีโอกาสตายเกือบทั้งหมด ส่วนต้นส้มที่มีใบอ่อนและมีผลส้มบนต้นมากมักไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมนานเกิน 7 วัน สวนส้มที่ถูกน้ำท่วมแบบน้ำแช่ขัง ต้นส้มตายมากกว่าสวนที่ถูกน้ำท่วมแบบไหลผ่าน ร่องสวนที่มีหน้าร่องปลูกแคบ ต้นส้มตายน้อยกว่าร่องที่ปลูกกว้างและเตี้ย การฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 13-0-46 น้ำตาลกลูโคส อาหารเสริมพืชหรือธาตุอาหารรอง ในอัตราหรือปริมาณต่ำ ทั้งในขณะน้ำท่วมและภายหลังน้ำท่วม ทำให้ต้นส้มมีโอกาสรอดตายได้มากกว่า

นอกจากนี้ การตัดแต่งต้นส้มให้มีขนาดเล็กลง และตัดแต่งกิ่งที่แห้งตายภายหลังจากน้ำลด และเมื่อผิวหน้าร่องปลูกหรือดินปลูกแห้งจะทำให้ต้นส้มมีโอกาสฟื้นได้มากขึ้น โดยเฉพาะต้นที่ยังไม่แสดงอาการต้นหรือกิ่งแห้งมากนัก การให้น้ำน้อยๆ แก่ต้นส้มหลังน้ำลดแล้ว โดยให้น้ำแบบโชยขึ้นยอดเป็นละอองฝอย ในวันที่อากาศร้อนหรือแสงแดดจัด พยายามไม่ให้ร่องหรือดินปลูกเปียก จะช่วยให้ต้นส้มตายน้อยลงและฟื้นได้ ส่วนต้นส้มที่มีการแตกใบอ่อนใหม่ภายหลังจากถูกน้ำท่วมประมาณ 1 เดือน มีโอกาสรอดและฟื้นต้นได้มาก

ในกรณีสวนเงาะที่ถูกน้ำท่วมและต้นเงาะไม่ตาย รศ.ดร.อำไพวรรณมีข้อแนะนำในเบื้องต้นว่า เกษตรกรไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีทางดินจนกว่าหน้าดินจะแห้ง หรืออย่างน้อยอาจต้องรอเวลาประมาณ 20-30 วัน หลังน้ำลดแล้วใช้ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ในปริมาณน้อย จะมีประโยชน์มากกว่า ไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำหน้าดิน โดยเฉพาะบริเวณทรงพุ่ม และไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชโดยเด็ดขาดจนกว่าต้นเงาะจะฟื้นสมบูรณ์
ส่วนต้นเงาะที่มีอาการทรุดโทรมให้ตัดทรงพุ่มให้เล็กลงและตัดแต่งกิ่งแห้งออก ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิดราดดินจนกว่าดินปลูกจะแห้ง และต้นเงาะเริ่มปรับสภาพได้ การรดน้ำให้แก่ต้นเงาะโดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนหรือแสงแดดจัด ควรรดน้ำให้เปียกยอดแทนการรดน้ำทางดิน นอกจากนี้ ควรระวังการเข้าทำลายของโรครากเน่า โคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอร่า ให้เลือกใช้เชื้อราปรปักษ์ไตรโคเดอร์มาฉีดพ่นทางใบ และราดลงดินบริเวณทรงพุ่ม อาจเลือกใช้การพ่นสารฟอสฟอรัสแอซิก (เช่น โฟซีธิล อัล หรือคิวโปรฟอส) โดยฉีด 2 ครั้ง ในเดือน มิ.ย. และ ก.ย. การทาที่โคนต้นด้วยไวต์วอชสามารถป้องกันโรคโคนเน่าและการถูกแดดเผาได้ในระดับหนึ่ง หรือหากต้องการป้องกันหรือควบคุมโรคโคนเน่าที่มีแผลบริเวณโคนต้น อาจเลือกใช้ปูนขาวผสมกับจุนสี (บอร์โรมิกเจอร์) หรือเมทาแล็กซิลที่ผสมแมนโคเซ็บก็ได้เช่นกัน

กรณีต้นเงาะใบแห้งตายและเกษตรกรต้องการปลูกซ่อมทดแทน ไม่ควรปลูกโดยการขุดต้นตายออกแล้วปลูกใหม่ตรงจุดเดิม ควรเลือกห่างจากจุดต้นเดิม 1 ถึง 1 เมตรครึ่ง และไม่ควรปลูกลึก ควรปลูกโดยยกโขดหรือโดกสูงจากหน้าดินปลูกประมาณ 50-60 ซม. หากต้องการยกร่องปลูกใหม่ก็ควรให้สูงกว่าเดิม และหน้าร่องไม่กว้างมาก

รศ.ดร.อำไพวรรณกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วมักมีการทำลายของโรครากเน่า โคนเน่าหลังน้ำลด ในต้นส้ม ทุเรียน ปาล์ม ยางพารา และเงาะ เกษตรกรควรรีบสำรวจอาการผิดปกติที่โคนต้น เช่น แผลเน่า เปลือกเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำ หากถากเปลือกที่เปลี่ยนสีออกและพบว่าเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง แสดงว่าเชื้อราได้เข้าทำลายโคนต้น ต้องทาบริเวณที่เป็นโรคด้วยบอร์โดมิกเจอร์ หรือเมทาแล็กซิลที่ผสมแมนโคเซ็บ ก็จะช่วยลดความเสียหายได้ ผู้สนใจต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ โทรสาร 0-2579-6152.
.

http://www.thaipost.net/x-cite/120711/41561
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/08/2011 7:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

336. ดูแลรักษาไม้ผลหลังน้ำท่วมให้ทันท่วงที


สวัสดีค่ะ ท่านผู้ฟัง ขอต้อนรับเข้าสู่รายการเศรษฐกิจการเกษตรเพื่อเกษตรกร ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร ในระบบ เอ.เอ็ม ความถี่ 1,386 กิโลเฮิร์ต พบกันเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00 ถึง 17.30 น. โดยประมาณ สำหรับรายการเศรษฐกิจการเกษตรเพื่อเกษตรกรในวันนี้จะนำเสนอเรื่อง “สศก.8 แนะเกษตรกรดูแลรักษาไม้ผลหลังน้ำท่วมให้ทันท่วงที” ขอเชิญติดตามรับฟังได้เลยค่ะ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 แนะเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นเวลานานหลายวัน โดยหาทางขุดร่องระบายน้ำ ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืชด้วยการพรวนดิน และหาสารป้องกันเชื้อราราดบริเวณโคนต้นเพื่อป้องกัน โรครากเน่า

นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.Cool สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ที่ได้รับผลกระทบจากหย่อมความกดอากาศต่ำจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตลอดจนพายุ โซนร้อน “นูล” ซึ่งทำให้เกิดอุทกภัยอย่างหนัก แก่แหล่งปลูกไม้ผล ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังแก่สวนผลไม้เป็นเวลานานหลายวัน อาจทำให้ได้รับความเสียหายได้ ซึ่งชาวสวนผลไม้ ควรดูแลไม้ผลหลังน้ำท่วมด้วยการหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณนั้นโดยเร็วที่สุด เพื่อรากพืชจะได้รับอากาศ โดยการขุดร่องระบายน้ำ ให้น้ำไหลออกจากพื้นที่สวนให้มากที่สุด หากมีดินหรือทรายที่ถูกน้ำพัดพาไป ทับถมในแปลงไม้ผลควรทำการขุดหรือปาดออกจากโคนต้นไม้ผล พร้อมให้ตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เป็นการลดการคายน้ำ และเป็นการเร่งให้ไม้ผลแตกใบใหม่เร็วขึ้น หากกำลังติดผลให้ปลิดผลออกบ้าง เพื่อป้องกันต้นไม้ผล ทรุดโทรม

นอกจากนี้ หลังน้ำท่วมขณะดินยังเปียกอยู่ เจ้าของสวนและสัตว์เลี้ยงไม่ควรเข้าไปเหยียบย่ำโดยเด็ดขาด ตลอดจนไม่ควรนำเครื่องจักรกลหนักใดๆ เข้าไปในสวนเพราะจะทำให้ดินเกิดการอัดแน่น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช

นายมนตรี กล่าวต่อไปอีกว่า ขณะน้ำท่วมราก ต้นไม้ผลจะไม่สามารถดูดกินอาหารจากดินได้ เพื่อช่วยให้ไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ด้วยสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือปุ๋ยสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 ละลายน้ำฉีดพ่น ด้วยการเติมสารจับใบหรือสารป้องกันแมลงตามความจำเป็นประมาณ 2-3 ครั้ง นอกจากนั้น ควรจะเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืชด้วยการพรวนดิน เมื่อดินแห้งเป็นปกติแล้ว พร้อมกับหาสารป้องกันเชื้อราทาบริเวณโคนต้นหรือราดโคนต้น เพื่อป้องกัน โรครากเน่าและโคนเน่า นอกจากนั้นอาจจะปรับปรุงสภาพดินให้เป็นด่างเล็กน้อยด้วยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย ซึ่งจะทำให้ไม้ผลรอดพ้นจากความเสียหายได้


http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=367&filename=index







ต้นไม้ที่น้ำท่วม มักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

- ระบบรากขาดออกซิเจน ที่ใช้ในการสร้างพลังงานเพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ ขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของลำต้น เนื่องจากน้ำจะแทรกซึมเข้าไปตามช่องว่างของอากาศที่มีอยู่ในดิน

- อาการใบเหลือง จะไม่เด่นชัดในวันแรกๆ แต่จะพบชัดเจนมากขึ้นในวันต่อๆ มา และมักจะพบอาการดังกล่าวเกิดขึ้นที่ใบมีอายุมากกว่าหรือใบที่อยู่ทางส่วนโคนของกิ่ง ในแต่ละกิ่งย่อย และเหลืองเข้มมากขึ้นส่วนอาการซีดเหลืองนั้นมักจะพบในกรณีที่ต้นไม้ถูกน้ำท่วมขังต่อเนื่อง และนอกจากนี้ยังพบอาการใบลู่หรือห้อยลงอีกด้วย

- อาการทิ้งใบ ดอก และผล ระบบรากต้นไม้ที่ถูกน้ำท่วมขังจะก่อให้เกิดสภาวะเครียดขี้น ซึ่งความเครียดนี้จะส่งผลให้ต้นไม้มีการกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนเอทธิลีนในปริมาณที่สูงกว่าปกติมาก ทำให้ต้นไม้ทิ้งดอกและผลก่อน โดยจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแบะรุนแรงจะเกือบหมดต้น ส่วนการทิ้งใบนั้นมักจะพบในส่วนใบที่มีอายุมากกว่าใบที่อ่อนกว่า ซึ่งสังเกตได้จากใบที่อยู่ทางส่วนล่างของกิ่งกระจายไปทุกบริเวณของต้น แต่ไม้ผลบางชนิดอาจจะไม่แสดงอาการทิ้งใบแต่จะยืนต้นตายทั้งที่มีใบเต็มตันก็ได้ เช่น มะม่วงเป็นต้น

- การสร้างรูเปิด ในกรณีที่ถูกน้ำที่ท่วมต้นไม้จะสร้างรูเปิดขึ้น ซึ่งมักจะสร้างอยู่ตรงกลางส่วนของลำต้นบริเวณเหนือผิวน้ำที่ท่วมขังเพียงเล็กน้อย เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงราก ถ้าต้นไม้มีการสร้างรูเปิดมากเท่าไรก็ยิ่งจะทำให้ต้นไม้มีโอกาสรอดมากเท่านั้น

วิธีการป้องกันน้ำท่วม-แนวทางแก้ไขหากเกิดน้ำท่วม และข้อควรปฏิบัติหลังน้ำลด มีดังต่อไปนี้


การป้องกันน้ำท่วมสวนผลไม้
ควรเสริมคันดินรอบนอกให้แข็งแรง
เก็บเกี่ยวต้นไม้อย่าให้มีผลอยู่ติดกับต้น
ตัดแต่งกิ่งให้เหลือใบน้อยลง
ให้ปุ๋ยทางใบที่มีโพแทสเซียมสูง ประมาณ 1-2 ครั้ง


แนวทางแก้ไขหากเกิดน้ำท่วม
อย่าเหยียบย่ำพื้นดินในบริเวณผลไม้เด็ดขาด
ทำให้เกิดสภาพน้ำมีการเคลื่อนไหว
เสริมคันดินและสูบน้ำออก
ใช้กังหันตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับต้นไม้


ข้อควรปฏิบัติหลังน้ำลด
เมื่อระดับน้ำลดแล้ว แต่ดินยังเปียกหรือหมาด ห้ามเดินย่ำผิวดินโดยเด็ดขาด เนื่องจากดินรอบระบบรากยังอิ่มตัวด้วยน้ำ ควรปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ให้หน้าดินแห้งเสียก่อน

ดินเริ่มหมาดให้ใช้ปุ๋ยทางใบที่มี N P K ในอัตรา 1:1:1 ผสมกับน้ำตาลทราย 1% ฉีดพ่นให้กับต้นไม้ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 3 วัน /ครั้ง เพื่อฟื้นคืนสภาพต้นโดยเร็วและเริ่มสร้างระบบรากที่ต้นไม้อย่างรวดเร็ว

เรื่องราวของการดูแลต้นไม้ในช่วงฝนตกหนักน้ำท่วมขัง ที่ทางรายการสาระความรู้ทางการเกษตรนำเสนอให้คุณผู้ฟังและท่านเกษตรกรที่รักทุกท่านได้ทราบ ก็คงจะพอเป็นแนวคิดในการวางแผนเพื่อหาวิธีการในการป้องกันและดูแลรักษาต้นไม้ในสวนของท่าน ให้สามารถยืนต้นและให้ผลผลิตต่อไปได้ไม่มากก็น้อยนะคะ ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้เกษตรกรชาวใต้สู้ต่อไปค่ะ

คุณผู้ฟังที่รักค่ะ หากคุณผู้ฟังต้องการรายนะเอียดเกี่ยวกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตรเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชมอย่างไรนะคะก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ค่ะที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ หมาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โทร.(074)-211030-49 ต่อ 2370 หรือที่สถานีวิทยุมอ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร.(074)-211030-49 ต่อ 2999 ในวันและเวลาราชการค่ะ

สำหรับวันนี้เวลาของรายการสาระความรู้ทางการเกษตรได้หมดลงอีกแล้วละคะ คุณผู้ฟังจะติดตามรับฟังรายการสาระความรู้ทางการเกษตรได้ ณ สถานีวิทยุมอ. FM 88 MHz ทุกวันจันทร์เวลาประมาณสิบห้านาฬิกาสี่สิบห้านาที่ สำหรับวันนี้ดิฉันขอลาคุณผู้ฟังไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ



งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม
ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
โทร. (074) 211030-49 ต่อ 2370 ต่อ 14,212849 ต่อ 14 แฟกซ์ (074) 558803 สถานีวิทยุมอ.FM 88 MHz

ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา : 15.45-15.55 น.
โทร. (074) 211030-49 ต่อ 2999


http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio42-43/42-430007.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 26/08/2011 8:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

337. นักวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ แนะวิธีฟื้นฟูยางพาราหลังน้ำท่วม






นักวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แนะนำวิธีฟื้นฟูยางพารา หลังสำรวจพบพื้นที่น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อต้นยางพาราต้องทิ้งใบเป็นจำนวนมาก ช่อดอกแห้ง กิ่งขนาดเล็กแห้งตาย เนื่องจากไม่สามารถดูดซับธาตุอาหารได้


รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา หัวหน้าหน่วยวิจัยไม้ผลเขตร้อน สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า จากการออกสำรวจความเสียหายของต้นยางพาราในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ของทีมนักวิชาการจากหน่วยวิจัยไม้ผลเขตร้อน หลังภาวะน้ำท่วมหนักในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่า มีบริเวณที่มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นเวลานาน จนทำให้ต้นยางพาราที่เปิดกรีดแล้ว มีใบในระยะเพสลาด และกำลังออกช่อดอก ซึ่งเป็นระยะที่กำลังอ่อนแอเพราะต้องอาศัยธาตุอาหารจำนวนมากไปเลี้ยงทั้งในส่วนของลำต้น ใบและช่อดอก แต่จากการขังของน้ำเป็นเวลานานทำให้ระบบรากไม่สามารถดูดซับธาตุอาหารไปเลี้ยงต้นได้เลย อีกทั้งระบบรากบางส่วนยังเน่าตายอีกด้วย ดังนั้นต้นยางพาราเกือบทุกสวนที่ได้รับผลกระทบจึงต้องทิ้งใบ ส่วนใบยอดและช่อดอกต้องแห้งตายคาต้น บางสวนที่อาการรุนแรง พบว่ากิ่งขนาดเล็กแห้งตายด้วยเช่นกัน อาการของต้นยางพาราเหล่านี้สร้างความเครียดและหนักใจกับเกษตรกรชาวสวนยางในภาคใต้เป็นอย่างมาก


รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน กล่าวต่อไปอีกว่า เพื่อให้ต้นยางพาราฟื้นตัวได้เร็วขึ้นพื้นที่ที่น้ำยังท่วมขังอยู่ต้องรีบหาแนวทางในการระบายน้ำอย่างเร่งด่วน เพราะน้ำที่ท่วมขังนานกว่า 2 สัปดาห์ทำให้ระบบรากของต้นยางบางส่วนเน่าตาย และหากน้ำขังนานมากไปกว่านี้การฟื้นตัวของต้นยางพาราจะช้ามากยิ่งขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้เกษตรกรไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปเหยียบย่ำในพื้นที่เพราะจะทำให้ดินที่กำลังอ่อนตัวเกิดการอัดแน่น ส่งผลให้ระบบรากชอนไชและดูดซับธาตุอาหารไม่ได้ อีกทั้งการเหยียบย่ำยังทำให้ระบบรากยางพาราเสียหาย สิ่งสำคัญควรงดกรีด งดการใช้สารกำจัดวัชพืชในระยะเวลานี้ และควรหมั่นสังเกตอาการของต้นยางพาราอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการแก้ไขปัญหาอื่นๆที่จะตามมาได้ทันท่วงที โดยเฉพาะเชื้อโรคพืชต่างๆ เพราะต้นยางพาราที่กำลังอ่อนแอย่อมง่ายต่อเชื้อโรคพืชที่จะเข้าทำลายซ้ำได้


ทั้งนี้หากมีปัญหาเกี่ยวกับต้นยางพาราหรือพืชอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามแนวทางการแก้ไข ได้ที่ หน่วยวิจัยไม้ผลเขตร้อน สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หมายเลขโทรศัพท์ 075-672377


http://www.wu.ac.th/2553/news/hotnewsV.php?id=853&type=h
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/08/2011 5:22 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

338. ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน (Vermicompost)


หมายถึง เศษซากอินทรีย์วัตถุต่างๆ รวมทั้งดินและจุลินทรีย์ที่ไส้เดือนดินกินเข้าไปแล้วผ่านกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านั้นภายในลำไส้ของไส้เดือนดิน แล้วจึงขับถ่ายเป็นมูลออกมาทางรูทวาร ซึ่งมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นเม็ดสีดำ มีธาตอาหารพืชอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ในปริมาณที่สูงและมีจุลินทรีย์จำนวนมาก ซึ้งในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้ไส้เดือนดินขยะอินทรีย์ที่ไส้เดือนดินกินเข้าไป และผ่านการย่อยสลายในลำไส้แล้วขับถ่ายออกมา มูลไส้เดือนดินที่ได้เรียกว่า “ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน”



คุณสมบัติของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
ลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของปุ๋ยหมักไส้เดือนดินมีลักษณะเป็นเม็ดร่วนละเอียด มีสีดำออกน้ำตาล โปร่งเบา มีความพรุนระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก มีความจุความชื้นสูงและมีประมาณอินทรียวัตถุสูงมาก ซึ่งผลจากการย่อยสลายขยะอินทรีย์ที่ไส้เดือนดินดูดกินเข้าไปภายในลำไส้ และด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้และน้ำย่อยของไส้เดือนดินจะช่วยให้ธาตุอาหารหลายๆ ชนิดที่อยู่ในเศษอินทรียวัตถุเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ เช่น เปลี่ยนไนโตรเจน ให้อยู่ในรูป ไนเตรท หรือ แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมในรูปที่แลกเปลี่ยนได้ และนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชชนิดอื่นและจุลินทรีย์หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อดิน รวมทั้งสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิดที่เกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในลำไส้ของไส้เดือนดินอีกด้วย


การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินในการปลูกพืชจะส่งผลให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น คือทำให้ดินกักเก็บความชื้นได้มากขึ้น มีความโปร่งร่วนซุย รากพืชสามารถชอนไชและแพร่กระจายได้กว้าง ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้จุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์บริเวณรากพืชสามารถสร้างเอนโซม์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้เพิ่มชึ้น นอกจากนี้จุลินทรีย์ดินที่ปนออกมากับมูลของไส้เดือนดินยังสามารถสร้างเอ็นไซม์ฟอสฟาเตสได้อีกด้วย ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มประมาณฟอสฟอรัสในดินให้สูงขึ้นได้

ประโยชน์และความสำคัญของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
1. ส่งเสริมการเกิดเม็ดดิน
2. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุแก่ดิน
3. เพิ่มช่องว่างในดินให้การระบายน้ำและอากาศดียิ่งขึ้น
4. ส่งเสริมความพรุนของผิวหน้าดิน ลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งของหน้าดิน
5. ช่วยให้ระบบรากพืชสามารถแดร่กระจายตัวในดินได้กว้าง
6. เพิ่มขีดความสามารถในการดูดซับน้ำในดิน ทำให้ดินชุ่มขึ้น
7. เพิ่มธาตุอาหารพืชให้แก่ดินโดยตรงและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์และจุลินทรีย์ดิน
8. เพิ่มศักยภาพการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน
9. ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีปริมาณมาเกินไป เช่น อลูมินัม และแมงกานีส
10. ช่วยเพิ่มความต้านทานในการเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นกรด-เบส (Buffer capacity) ทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่เร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช
11. ช่วยควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดิน เนื่องจากการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะทำให้มีปริมาณจุลินทรีย์ที่สามารถขับสารพวกอับคาลอยด์และกรดไขมันที่เป็นพิษต่อไส้เดือนฝอยได้เพิ่มขึ้น


การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเป็นส่วนผสมของวัสดุปลูกและวัสดุเพาะกล้าพืช
นอกจากการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินไปใช้เป็นปุ๋ยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูกและวัสดุเพาะกล้าพืชได้ วัสดุปลูกพืชหรือสัสดุเพาะกล้าพืชทีมีส่วนผสมของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะมีธาตุอาหารพืชอยู่ในปริมาณที่เจือจางและอยู่ในรูปพร้อมใช้ ซึ่งจะค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นกล้าพืชในการเจริญเติบโตระยะแรกได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมีโครงสร้างที่โปร่งเบาระบายน้ำและอากาศได้ดี และจุความชื้นได้มาก ดังนั้นต้นกล้าพืชจะสามารถเจริญเติบโตออกรากและชอนไชได้ดีมาก ในการนำมาปลูกพืชจำพวกได้ประดับจะส่งเสริมให้พืชออกดอกได้ดีมากเนื่องจากจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินสามารถสร้างเอนไซม์ฟอสฟาเตสได้ จึงทำให้วัสดุปลูกนั้นมีปริมาณของฟอสฟอรัสเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้พืชออกดอกได้ดียิ่งขึ้น

คุณสมบัติของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่นำมาใช้เป็นวัสดุปลูกพืชจะแตกต่างกันตามวัสดุที่นำมาใช้ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน แต่โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้จะมีลักษณะที่คล้ายกัน คือจะมีส่วนประกอบของธาตุอาหารพืชอยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ มีส่วนประกอบของธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเกือบทุกชนิดที่พืชต้องการ

ในการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมาใช้เป็นวัสดุปลูก ควรจะนำมาผสมกับวัสดุปลูกชนิดอื่นๆ ก่อน เนื่องจากปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะประกอบด้วยอินทรียวัตถุเป็นส่วนใหญ่ และมีอนุภาคของดินอยู่น้อย ดังนั้นในการนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้มาผสมกับวัสดุปลูกชนิดอื่นๆ จะได้ผลดีกว่าและสิ้นเปลืองน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเพียงอย่างเดียว ซึ่งในการปลูกพืชสวนประดับสามารถนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินมาเจือจากได้หลายระดับ


ข้อดีของวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินสามารถช่วยเก็บความชื้นและปลดปล่อยออกมาให้พืชอย่างช้าๆ เมื่อพืชต้องการยืดระยะเวลาการให้น้ำแก่พืชได้นานขึ้น

กรณีใช้ผสมดินที่เป็นดินเหนียวจะช่วยเพิ่มอากาศในดิน ทำให้ดินร่วนซุย และช่วยในการถ่ายเทน้ำและอากาศได้สะดวก

กรณีผสมดินที่เป็นดินทรายจะช่วยเพิ่มเนื้อดิน ช่วยให้ดินเก็บรักษาความชื้น และธาตุอาหารในดิน ลดการชะล้างธาตุอาหารของน้ำ

ลดปัญหาการสลายตัวของธาตุอาหาร เป็นตัวปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ทำให้ประหยัดปุ๋ย

ปกป้องดินไม่ให้มีสภาพโครงร้างแน่นเข็งและช่วยเติมอินทรียวัตถุในเนื้อดิน ช่วยให้ดินร่วนซุย รากพืชสามารถแพร่ขยายได้กว้าง

ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจะมีสาวนประกอบของกรดฮิวมิคซึ่งเป็นตัวกักเก็บธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชหลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) เหล็ก (Fe) และทองแดง (Cu) ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในโมเลกุลของกรดฮิวมิค อยู่ในรูปพร้อมใช้ และจะถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อพืชต้องการ




http://www.oknation.net/blog/earthworms/2007/08/08/entry-1
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/08/2011 5:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

339. ไส้เดือนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย


การสำราจไส้เดือนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ณ พื้นที่ศูนย์พัฒนามูลนิธิโครงการหลวงสะโงว และบริเวณริมแม่น้ำโขง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันจันทร์ที่ 19 และวันอังคารท 20 มีนาคม 2550 รศ.ดร.อานัฐ ตันโช และเจ้าหน้าที่โครงการกองทุนปุ๋ยอินทรีย์และไฮโดรโพนิคส์ จำนวน 3 คน ออกเดินทางเพื่อสำรวจไส้เดือนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย






อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.maejoearthworm.org/News/earth_long.pdf

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=90104


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 28/08/2011 5:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/08/2011 5:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

340. ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน


ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน จะได้ผลผลิตอยู่ 3 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน และตัวไส้เดือนดินที่ขยายเพิ่มขึ้น โดยปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน คือเศษซากอินทรียวัตถุต่างๆ รวมทั้งดินและจุลินทรีย์ที่ไส้เดือนดินกินเข้าไปแล้วขับถ่ายเป็นมูลออกมา ซึ่งมูลที่ได้จะมีลักษณะเป็นเม็ดสีดำ มีธาตุอาหารพืชอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ในปริมาณที่สูง และมีจุลินทรีย์จำนวนมาก น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน คือ น้ำที่ได้จากกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เป็นน้ำที่ขับถ่ายผ่านลำตัวไส้เดือนดิน ในขณะที่ไส้เดือนดินกำลังกินอาหาร และเป็นน้ำที่ได้จากการเน่าสลายของเศษขยะอินทรีย์ที่ใช้เป็นอาหารของไส้เดือนดิน น้ำหมักมูลไส้เดือนดินจะมีธาตุอาหารพืชอยู่ในปริมาณเจือจาง แต่จะมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิดและมีปริมาณมาก รวมถึงฮอร์โมนพืชที่เป็นประโยชน์หลายชนิดด้วย


ปุ๋ยหมักและน้ำหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้สามารถนำไปใช้เพาะปลูกต้นไม้ หรือปรับปรุงโครงสร้างของดินได้ ซึ่งจะทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น โดยปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน จะส่งเสริมการเกิดเม็ดดิน เพิ่มอินทรียวัตถุ เพิ่มช่องวางในดิน ลดการจับตัวเป็นแผนแข็งของหน้าดิน ลดความเป็นพิษของธาตุอาหารพืชบางชนิดที่มีมากเกินไป เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของพีเอช และเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้กับดิน สามารถนำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน และมูลไส้เดือนดิน มาใช้ในการเพาะปลูกพืช หรือใช้เป็นวัสดุเพาะกล้าพืช จะส่งผลให้ต้นกล้าเจริญเติบโตดีและพืชจำพวกไม้ดอกไม้ประดับมีการออกดอกดี


การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินทางการค้า มักจะพบปัญหาในด้านความแปรปรวนของปริมาณธาตุอาหารพืช เนื่องจากการผลิตแต่ละครั้งใช้ขยะอินทรีย์ที่แตกต่างกันออกไป จึงส่งผลให้คุณภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้ไม่คงที่ ในการผลิตทางการค้าจะผสมวัสดุอินทรีย์หลายชนิดเพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่มีคุณภาพและมีความแปรปรวนน้อย เพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ได้ในปัจจุบันยังมีราคาต่อหน่วยสูง

ตลาดของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินส่วนใหญ่จะเป็นตลาดที่ผลิตพืชสวนประดับทางการค้า จำพวกไม้ดอกไม้ประดับที่มีราคาค่อนข้างแพง และกลุ่มผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับในบ้านเรือน แต่ในอนาคตที่การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินใช้เทคโนโลยีสูง ใช้แรงงานคนน้อย และปรับปรุงผลผลิตของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินก็จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อการนำมาใช้ผลิตพืชมากขึ้น


http://www.maejoearthworm.org/m9.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/08/2011 5:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

341. ระบบนิเวศ การแพร่กระจายพันธุ์ และพฤติกรรมของไส้เดือนดิน


ระบบนิเวศนั้นมีความสัมพันธ์กับการแพร่กระจายตัวของไส้เดือนดินทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยสภาพอากาศที่แตกต่างกันเช่น พื้นที่ในเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาว ลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่สูง (ภูเขา) พื้นที่ราบ รวมถึงพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมขัง แห้งแล้ง ตลอดจนกำแพงธรรมชาติ อาทิเช่น ทะเล มหาสมุทร ทะเลทรายและแม่น้ำเป็นต้น ซึ่งปัจจัยข้างต้นมีผลอย่างยิ่งต่อการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน โดยเป็นตัวกำหนดและควบคุมชนิดของสายพันธุ์ ปริมาณและการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการแพร่กระจายพันธุ์ของไส้เดือนดินในกลุ่มเพอริคริน(Perigrine) นั้นก็คือ มนุษย์ เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การเกษตรกรรม การปรับพื้นที่ รวมถึงการเคลื่อนย้ายดิน การใช้พื้นที่ในการสร้างอาคารบ้านเรือน หรือ ค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการ เคลื่อนย้ายดินและต้นไม้ซึ่งมีตัวไส้เดือนดินติดไปด้วย และการนำเข้าสายพันธุ์ไส้เดือนดินเพื่อใช้ในการวิจัย หรือใช้ทางการค้า ก็เป็นต้นเหตุของการแพร่กระจายตัวของไส้เดือนดินด้วย


สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันดังกล่าว ส่งผลให้ไส้เดือนดินที่แพร่กระจายพันธุ์อยู่บริเวณนั้นมีลักษณะพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป โดยพฤติกรรมหลายๆ อย่างของไส้เดือนดินพบว่า มีผลมาจากปัจจัยแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นเช่น สภาพพื้นที่ ฤดูกาล และสภาพของแหล่งที่อยู่ โดยพฤติกรรมต่างๆ เหล่านั้นมักเกิดขึ้นเพื่อการดำรงชีวิตให้รอดปลอดภัยจากอันตรายทั้งสิ้น

ในการสำรวจการแพร่กระจายพันธุ์ของไส้เดือนดิน ที่ให้ทราบถึงชนิดของสายพันธุ์ ปริมาณ ตลอดจนการกระจายพันธุ์ของไส้เดือนดินแต่ละชนิด สามารถทำการตรวจวัดโดยวิธีการประเมินประชากรไส้เดือนดิน ด้วยวิธีต่างๆ ทั้งทางวิธีกล ทางเคมี และทางกายภาพ เช่น การนับด้วยมือ การใช้สารเคมี การใช้ความร้อน และการใช้ไฟฟ้ากระตุ้น เป็นต้น




http://www.maejoearthworm.org/m4.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/08/2011 5:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

342. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือนดิน


ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือนดิน ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) การระบายอากาศและความเข้มข้นของกาซคาร์บอนไดออกไซด์ ชนิดและโครงสร้างของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ และแหล่งอาหาร ไส้เดือนมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 70-80 % ของน้ำหนักตัว และกิจกรรมต่างๆ ของไส้เดือนดินจะขึ้นอยู่กับความชื้นของดิน โดยความชื้นของดินมีอิทธิพลต่อจำนวนและน้ำหนักตัวของไส้เดือนดิน ซึ่งไส้เดือนดินแต่ละสายพันธุ์ก็จะเจริญได้ดีที่ระดับความชื้นที่แตกต่างกันไป แต่โดยมากจะชอบอาศัยอยู่ในดินที่มีความชื้นประมาณ 60-80 %
สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินจะประมาณ 15-28 องศาเซลเซียส โดยไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนจะทนต่อช่วงที่สูงได้ดีกว่าไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว


ไส้เดือนดินเกือบทุกชนิดจะชอบดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างเป็นกลาง (pH เท่ากับ 0.7) แต่ไส้เดือนดินสามารถอาศัยอยู่ในดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 5-8 ได้ การใช้ปูนขาวเจือจางน้ำพ่นลงไป ในบ่อสามารถปรับค่าความเป็นกรด-ด่างที่สูงให้ต่ำลงได้


ชนิดและโครงสร้างของดินส่งผลต่อประชากรของไส้เดือนดินทางอ้อม โดยเนื้อดินที่เหนียวและแน่น หรือมีส่วนผสมของกรวดทรายอยู่มาก จะส่งผลให้ไส้เดือนดินเคลื่อนที่ได้ยากและมีแหล่งอาหารอยู่น้อย การระบายน้ำและอากาศไม่ดี ทำให้มีประชากรไส้เดือนดินอยู่น้อย นอกจากนี้ไส้เดือนดินสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในดินทั่วไปที่มีความเข้มข้นระหว่าง 0.01-11.5 % แต่ดินที่มีปริมาณความเข้มข้น ของกาซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่สูงก็ส่งผลเสียต่อไส้เดือนดินด้วยเช่นกัน


ในดินที่มีอินทรียวัตถุน้อยจะพบไส้เดือนดินอาศัยอยู่น้อย ในทางตรงกันข้ามบริเวณดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุมากก็จะพบไส้เดือนดินในปริมาณมาก ซึ่งปริมาณอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้นในดินจะส่งผลให้ดินมี โครงสร้างที่ดีขึ้นเหมาะต่อการอาศัยอยู่ของไส้เดือนดิน และปริมาณอินทรียวัตถุเหล่านี้ยังเป็นแหล่งอาหารของไส้เดือนดินอีกด้วย ซึ่งอาหารของไส้เดือนดิน จะประกอบด้วย ดิน เศษอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย จุลินทรีย์ขนาดเล็ก รวมถึงกรวดทรายด้วยซึ่งไส้เดือนดินจะกินกรวดทรายเข้าไปเพื่อใช้ในการช่วยบดย่อยอาหาร



http://www.maejoearthworm.org/m5.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/08/2011 5:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

343. ไส้เดือนแอฟริกาตัวใหญ่ โตเร็ว ให้ลูกมาก






มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษาพบไส้เดือนแอฟริกาตัวใหญ่เจริญเติบโตเร็ว ให้ลูกมาก เหมาะสำหรับเลี้ยงเป็นอาหารสัตว์ และกำจัดขยะอินทรีย์ผลิตปุ๋ยหมักได้ดี

รศ.ดร.สมชัย จันทร์สว่าง อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มศึกษาและทดสอบการเลี้ยงไส้เดือนแอฟริกาในประเทศไทย ณ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทดลองของภาควิชาสัตวบาลมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2543 จนได้ผลเป็นที่แน่ใจแล้วว่า ไส้เดือนชนิดนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพของดิน จึงได้เผยผพร่ไส้เดือนชนิดนี้ให้แก่เกษตรกร นักสิ่งแวดล้อมและผู้สนใจการเลี้ยงไส้เดือนโดยทั่วไป และปัจจุบันไส้เดือนแอฟริกาได้รับความนิยมเลี้ยงกันอยู่ในกลุ่มคนเลี้ยงไส้เดือน เพื่อการค้าและผู้ที่มีหัวก้าวหน้า รวมทั้งชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง

ไส้เดือนแอฟริกาเป็นไส้เดือนที่อาศัยอยู่หน้าดิน ( soil surface dwelling species) กินอาหารที่เป็นอินทรีย์วัตถุทุกชนิด เช่น มูลสัตว์ เศษอาหาร เศษเหลือทางการเกษตร เศษผักหญ้า และใบไม้ในปริมาณสูงมากต่อวัน เมื่อไส้เดือนชนิดนี้หลุดลงไปในดิน จึงไม่สามารถเจริญเติบโตและอยู่รอดได้ในสภาพธรรมชาติโดยทั่วไป

ดังนั้นการเลี้ยงดูต้องมีการควบคุมปัจจัยการเลี้ยงที่เหมาะสม และให้อาหารมากสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และให้ลูกมาก ไส้เดือนชนิดนี้ได้รับความนิยมนำเข้าไปเลี้ยงในประเทศต่างๆทั่วโลก จากการเก็บข้อมูลการเลี้ยงไส้เดือนแอฟริกาที่ภาควิชาสัตวบาลพบว่า ไส้เดือนชนิดนี้เป็นไส้เดือนขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาไส้เดือน 6 ชนิด ที่นิยมเลี้ยงกัน โดยทั่วไป มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาว 12 นิ้ว น้ำหนัก 1.8 กรัม ต่อตัว มีจำนวนปล้องโดยทั่วไป 188-297 ปล้อง




ไส้เดือนแอฟริกาผลิตไข่ซึ่งเป็นโคคูน 3.6 ใบต่อสัปดาห์ เปอร์เซ็นต์ฟัก 80 เปอร์เซ็นต์ ให้ลูกเฉลี่ย 2.3 ตัวต่อโคคูน โดยใช้เวลาที่ไข่ฝัก 2-3 วัน ถึง 2 สัปดาห์ เจริญเติบโตจาก ตัวอ่อนถึงเป็นหนุ่มสาว (เริ่มมีไคลเทลลัมหรือปลอกเนื้อ) ในระยะเวลา 1 เดือน ถึง 2-3 เดือน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอาหารที่ใช้เลี้ยง และระยะจากไข่ถึงเป็นหนุ่มสาวใช้เวลา 40 วัน ถึง 3-4 เดือน

การศึกษาทางสัณฐานวิทยา ลักษณะภายนอกและภายในของไส้เดือนแอฟริกาของ นางสาวสุพาภรณ์ ดาคง นิสิตปริญญาโท ภาควิชาสัตวบาล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า ไส้เดือนแอฟริกามีลำตัวขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีเทาอมม่วง ลำตัวด้านท้องแบนเล็กน้อย และมีสีชีดกว่าด้านหลัง ไคลเทลลัมสีขาวขุ่นอยู่ปล้องที่ 13-17 ช่องเพศเมียอยู่บริเวณปล้องที่ 13 ช่องเพศผู้วางตัวอยู่ระหว่างปล้องที่ 17 และ 18 ไม่มีช่องหลัง (dorsal pore) อัณฑะวางอยู่บริเวณผนังกั้นระหว่างปล้องที่ 10 กับ 11 และ 11 กับ 12 ถุงเก็บอสุจิอยู่ปล้องที่ 12 และ 13 รังไข่อยู่ระหว่างปล้องที่ 13 และ 14 ถุงรับอสุจิมี 2 คู่ วางตัวอยู่บริเวณปล้องที่ 10 และ 11

ไส้เดือนแห้งป่นมีส่วนประกอบของโปรตีนประมาณ 62 เปอร์เซ็นต์ และโปรตีนมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนที่จำเป็นอยู่ครบสมบูรณ์ มีส่วนประกอบ ของกรดไขมันประมาณ 9 เปอร์เซนต์ และไขมันก็มีส่วนประกอบของกรดไขมันที่จำเป็นอยู่ครบ จึงเหมาะที่จะเลี้ยงเพื่อนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง ทั้งในสภาพไส้เดือนเป็น เช่น ใช้เลี้ยงปลาสวยงาม และเป็นเหยื่อตกเบ็ด ที่ปลาชอบและไม่มีกลิ่นคาวไส้เดือนติดมือ และในสภาพไส้เดือนแห้งป่น ทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองป่น ซึ่งถ้าเป็นการเลี้ยงไส้เดือน เพื่อวัตถุประสงค์ข้อนี้ไส้เดือนแอฟริกาก็เป็นชนิดของไส้เดือนที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะมีขนาดตัวใหญ่ เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ให้ลูกมาก และกินอาหารได้มาก ทำให้เกิดประโยชน์ด้านอื่นไปพร้อมๆ กันด้วยคือ กำจัดขยะอินทรีย์ และการผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนที่มีคุณภาพสูง




สำหรับไส้เดือนแอฟริกามีชื่อสามัญ African Nightcrawler ชื่อวิทยาศาสตร์ Eudrilus eugenine เป็นไส้เดือนชนิดหนึ่งจากไส้เดือนจำนวน 6 ชนิด ที่นิยมเลี้ยงกันทั่วโลกในขณะนี้ เพื่อผลิตไส้เดือนเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงเป็นเหยื่อตกเบ็ด เพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ และผลิตปุ๋ยหมัก ไส้เดือนแอฟริกาชนิดนี้มีกำเนิดในทวีปแอฟริกาตอนกลาง แต่ปัจจุบันมีการนำไส้เดือนชนิดนี้เข้าไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อังกฤษ ฝรั่งเศษ สเปน ออสเตรเลีย และ ในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ และไทย ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีการเลี้ยงไส้เดือนเป็นการค้ามานาน มีมูลค่าทางการตลาดหลายล้านดอลลาร์ต่อปี ไส้เดือนแอฟริกา ได้รับความนิยมใช้เป็นเหยื่อตกเบ็ดและขายได้ในราคาสูงเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับไส้เดือนชนิดอื่น ทั้งนี้ เพราะไส้เดือนแอฟริกาตัวใหญ่เกี่ยวเบ็ดได้ง่าย ปลาชอบ และเลี้ยงได้ค่อนข้างยากในสหรัฐอเมริกาเพราะเป็นไส้เดือนจากเขตร้อน

สนใจไส้เดือนแอฟริกาและการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุสอบถามข้อมูลได้ที่ รศ.ดร.สมชัย จันทร์สว่าง โทร 0-2579-1120 ,0-2579-0649


แหล่งที่มาของภาพ : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
http://www.ku.ac.th/e-magazine/sep49/agri/african.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 28/08/2011 6:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

344. 4 สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้เลี้ยงในการกำจัดขยะ


4 สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้เลี้ยงในการกำจัดขยะ
และผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน

สายพันธุ์ที่ 1 อายซิเนีย ฟูทิดา (Eisenia foetida)
ชื่อสามัญ The Tiger worm, Manure worm, Compost worm

ลักษณะโดยทั่วไป เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด เห็นปล้องแต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวมเร็วและมีกลิ่นตัวที่รุนแรง มีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้

ลำตัวมีขนาด 35-130 x 3-5 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดง ร่างระหว่างปล้องและบริเวณปลายหางมีสีเหลือง มีอายุยืนยาว 4-5 ปี แต่มักจะอยู่ได้ 1-2 ปี เมื่อเลี้ยงในบ่อสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

สร้างถุงไข่โดยเฉลี่ยประมาณ 150-198 ถุง/ตัว/ปี สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปีใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32-40 วัน (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล) โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัว/ถุงไข่ ใช้เวลาในการเติบโดเต็มวัย 3-6 เดือน (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล) อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายและมีอนุภาคขนาดเล็ก

ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย นิยมนำไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ หรือ สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันคือ สายพันธุ์ Eisenai Andrei (ไม่ขอกล่าวในที่นี้) มาใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์และกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เป็นพันธุ์การค้าที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเลือกใช้สายพันธุ์นี้ คือ ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีขยะอินทรีย์ โดยพวกมันจะขยายพันธุ์และเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น เป็นพันธุ์ที่มีความทนทานต่อช่วงอุณหภูมิกว้าง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ที่มีความชื้นได้หลายระดับ โดยรวมแล้วเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีมาก ทำให้เลี้ยงง่าย




สายพันธุ์ที่ 2 ยูดริลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae)
ชื่อสามัญ African Night Crawler

ลักษณะโดยทั่วไป ลำตัวมีขนาด 130-250 x 5-8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศจับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162-188 ถุง/ตัว/ปี ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13-27 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่ ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 6-10 เดือน อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหารมีอายุยืนยาว 4-5 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ (African night crawler) สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้นอกจากนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแล้วยังมีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนเสริมสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์
เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมาก แต่มีข้อเสียตรงที่ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ทนทานต่อช่วงอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ต่ำ เลี้ยงยาก และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยากด้วย เนื่องจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง โดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส

การเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์นี้ในประเทศเขตหนาวจะถูกจำกัดการเลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะเลี้ยงได้ดี สำหรับการเลี้ยงภายนอกโรงเรือน จะเหมาะสมเฉพาะกับพื้นที่เขตร้อน หรือ กึ่งร้อนเท่านั้น สำหรับในด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว





สายพันธุ์ที่ 3 ลัมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricus rubellus)
ชื่อสามัญ Red worm, Red Marsh worm, Red wriggler

ลักษณะโดยทั่วไป ลำตัวมีขนาด 60-150 x 4-6 มิลลิเมตร ผิวบริเวณท้องมีสีขาวขุ่น บริเวณด้านหลังมีสีแดงสด ร่องระหว่างปล้องมีสีเหลือง เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม อิพิจีนิค อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน หรือในกองมูลสัตว์ กินเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ขยะอินทรีย์ และมูลสัตว์เป็นอาหาร สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน สามารถผลิตถุงไข่ได้ 79-106 ถุง/ตัว/ปี ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 27-45 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่ ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5-6 เดือน มีชีวิตยืนยาว 2-3 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ เป็นไส้เดือนดินที่มีลำตัวสีแดง ตัวไม่ใหญ่มาก และลำตัวแบน โดยจะมีลำตัวใหญ่กว่าไส้เดือนดินสายพันธุ๋ อายซิเนีย ฟูทิดา และเล็กว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ พบได้ทั่วไปในดินที่มีความชุ่มชื้น หรือบริเวณที่มีมูลสัตว์หรือกากสิ่งปฏิกูล มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและความชื้นในช่วงกว้าง ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมาก กินเศษซากอินทรียวัตถุได้รวดเร็วมาก และขยายพันธุ์ได้ค่อนข้างเร็ว เป็นไส้เดือนพันธุ์การค้าที่มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน




สายพันธุ์ที่ 4 ฟีเรททิมา พีกัวนา (Pheretima peguana)
ชื่อท้องถิ่น ขี้ตาแร่

ลักษณะโดยทั่วไปลำตัวมีขนาด 130-200 x 5-6 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้มอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย และมูลสัตว์เป็นอาหารสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศจับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดิน สามารถผลิตถุงไข่ได้ 24-40 ถุง/ตัว/ปีใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25-30 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่ ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5-6 เดือน มีชีวิตยืนยาว 2-4 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทย มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ โดยพบในมูลวัวนม และใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้งในนาข้าว โดยอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึกเหมือนกับ ไส้เดือนพันธุ์สีเทา ที่อาศัยอยู่ในสวนผลไม้และอยู่ในชั้นดินที่ลึกลงไป ชาวบ้านแถบภาคเหนือเรียกว่า “ขี้ตาแร่” ชาวบ้านมักจะนำมาใช้เป็นเหยื่อตกปลา

ลักษณะพิเศษของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้คือ จะมีความตื่นตัว (Active) สูงมาก เมื่อสัมผัสถูกตัวมันจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนีเร็วมาก นอกจากนี้ในการนำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์พบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้จะสามารพกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผัก ผลไม้ได้หมดอย่างรวดเร็ว หากนำมาเลี้ยงและฝึกให้กินขยะอินทรีย์เหล่านี้ นอกจากกินขยะอินทรีย์เก่งแล้ว ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ยังมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมากด้วย ดังนั้นในการนำไส้เดือนดินมาใช้กำจัดขยะในประเทศไทย ไส้เดือนดินสายพันธุ์ “ขี้ตาแร่” เป็นไส้เดือนสายพันธุ์ที่นับว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและหามาเลี้ยงได้ง่าย




ที่มา : ศูนย์สารสนเทศไส้เดือนดินแม่โจ้ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

http://www.siamfishing.com/content/view.php?id=2120&cat=article
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/08/2011 5:53 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

345. ฮอร์โมนกลุ่มออกซิน (Auxin)


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออกซินนั้นเกิดขึ้นจากงานของ Charles Darwin ซึ่งศึกษาเรื่อง Phototropism ซึ่งพืชจะโค้งงอเข้าหาแสง Darwin ทดลองกับต้นกล้าของ Phalaris canariensis และพบว่าโคลีออพไทล์ของพืชชนิดนี้จะตอบสนองต่อการได้รับแสงเพียงด้านเดียวทำให้เกิดการโค้งเข้าหาแสง Darwin สรุปว่าเมื่อต้นกล้าได้รับแสงจะทำให้มี "อิทธิพล" (Influence) บางอย่างส่งผ่านจากส่วนยอดมายังส่วนล่างของโคลีออพไทล์ ทำให้เกิดการโค้งงอเข้าหาแสง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาได้ศึกษาถึง "อิทธิพล" ดังกล่าว

ต่อมา Boysen-Jensen และ Paal ได้ศึกษาและแสดงให้เห็นว่า "อิทธิพล" ดังกล่าวนี้มีสภาพเป็นสารเคมี ซึ่งในสภาพที่โคลีออพไทล์ได้รับแสงเท่ากันทั้งสองด้าน สารเคมีนี้จะเคลื่อนที่ลงสู่ส่วนล่างของโคลีออพไทล์ ในอัตราเท่ากันทุกด้านและทำหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต

ในปี ค.ศ. 1926 Went ได้ทำงานทดลองและสามารถแยกสารชนิดนี้ออกจากโคลีออพไทล์ได้ โดยตัดส่วนยอดของโคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ตแล้ววางลงบนวุ้นจะทำให้สารเคมีที่กระตุ้นการเจริญเติบโตไหลลงสู่วุ้น เมื่อนำวุ้นไปวางลงที่ด้านหนึ่งของโคลีออพไทล์ที่ไม่มียอดด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้โคลีออพไทล์ดังกล่าวโค้งได้ เขาสรุปว่าสารเคมีได้ซึมลงสู่วุ้นแล้วซึมจากวุ้นลงสู่ส่วนของโคลีออพไทล์ วิธีการดังกล่าวนอกจากเป็นวิธีการแรกที่แยกสารเคมีชนิดนี้ได้แล้ว ยังเป็นวิธีการวัดปริมาณของฮอร์โมนได้ด้วย เป็นวิธีที่เรียกว่า Bioassay

สารเคมีดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า ออกซิน ซึ่งในปัจจุบันพบในพืชชั้นสูงทั่วๆ ไป และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช สังเคราะห์ได้จากส่วนเนื้อเยื่อเจริญของลำต้น ปลายราก ใบอ่อน ดอกและผล และพบมากที่บริเวณเนื้อเยื่อเจริญ โคลีออพไทด์และคัพภะ รวมทั้งใบที่กำลังเจริญด้วย



การสังเคราะห์ออกซิน
ในปี ค.ศ. 1934 ได้พบว่า ออกซินมีลักษณะทางเคมีเป็นสาร Indole-3-acetic acid หรือ เรียกย่อๆ ว่า IAA ซึ่งในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นออกซินส่วนใหญ่ที่พบในพืชและในสภาพธรรมชาติ อยู่ในรูป Indole ทั้งสิ้น โดยที่ IAA เป็นสารที่สำคัญที่สุด นอกจากนั้นยังพบในรูปของ Indole-3-acetaldehyde หรือ IAAld Indole-3-Pyruvic acid หรือ IPyA และ Indole-3-acetonitrile หรือ IAN ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถเปลี่ยนเป็น IAA ได้ พืชสังเคราะห์ออกซินที่ใบอ่อน จุดกำเนิดของใบและเมล็ดซึ่งกำลังเจริญเติบโต

การสังเคราะห์ออกซินนั้น มีกรดอะมิโน L-Tryptophan เป็นสารเริ่มต้น (Precursor) L-Tryptophan เป็นกรดอะมิโนที่มีโครงสร้างของ Indole อยู่ การสังเคราะห์ออกซิน ซึ่งในการสังเคราะห์ IAA นั้น จะมี IAAld และ IPyA เป็นสารที่พบในระหว่างการสังเคราะห์ ในพืชบางชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต ยาสูบ มะเขือเทศ ทานตะวัน และข้าวบาร์เลย์ พบว่า Tryptophan สามารถเปลี่ยนเป็น Tryptamine ได้ ในพืชตระกูลกะหล่ำ Tryptamine อาจจะเปลี่ยนไปเป็น Indoleacetaldoxime แล้วเปลี่ยนไปเป็น IAN แล้วจึงเปลี่ยนเป็น IAA

การศึกษาเรื่องการสังเคราะห์ออกซินมักศึกษาจากเนื้อเยื่อปลายรากหรือปลายยอด และพบว่า IAA นี้สังเคราะห์ได้ทั้งในส่วนไซโตซอล (Cytosol) ไมโตคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์ ในการศึกษาในปัจจุบันพบว่า Phenylacetic acid หรือ PAA มีคุณสมบัติของออกซินด้วย และสามารถสังเคราะห์ได้จาก L-Phenylalanine โดยพบในคลอโรพลาสต์ และไมโตคอนเดรียของทานตะวัน

สารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติของออกซินมีหลายชนิดที่สำคัญทางการเกษตร เช่น สาร 2,4-dichlorophenoxyacetic acid หรือ 2,4-D ซึ่งใช้ในการกำจัดวัชพืช IBA หรือ Indole butyric acid ใช้ในการเร่งให้ส่วนที่จะนำไปปักชำเกิดรากเร็วขึ้น และ NAA หรือ Napthalene acetic acid จะช่วยในการติดผลของผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล



ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของโมเลกุลและการมีคุณสมบัติของออกซิน
เนื่องจากมีสารที่เกิดในธรรมชาติและสารสังเคราะห์จำนวนมากมีคุณสมบัติของออกซิน จึงจำเป็นต้องรู้โครงสร้างของโมเลกุลที่จะก่อให้เกิดคุณสมบัติของออกซินได้ ซึ่งมีการศึกษากันมาก ในขั้นต้น เข้าใจว่าสารที่จะมีคุณสมบัติของออกซินต้องประกอบด้วยวงแหวนที่ไม่อิ่มตัว มี side chain เป็นกรด ซึ่งต่อมาพบว่าไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง เพราะมีสารหลายชนิดที่ไม่มีลักษณะ ดังกล่าว แต่มีคุณสมบัติของออกซิน จากการศึกษาของ Thimann ในปี ค.ศ. 1963 ได้สรุปว่า โครงสร้างของโมเลกุลที่สำคัญของสารที่จะมีคุณสมบัติของออกซินคือ ต้องประกอบด้วยประจุลบ (Strong Negative Charge) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของกลุ่มคาร์บอกซิล และประจุลบจะต้องอยู่ห่างจากประจุบวก (Weaker Positive Charge) บนวงแหวนด้วยระยะทางประมาณ 5.5 Angstrom สมมุติฐานของ Thimann นับว่าใช้อธิบายโครงสร้างโมเลกุลของสารที่มีคุณสมบัติของออกซินได้ครบ



การสลายตัวของ IAA
ปริมาณของ IAA ในพืชนั้นไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับอัตราการสังเคราะห์เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับอัตราการสลายตัว ซึ่งการสลายตัวของ IAA นั้น สามารถเกิดขึ้นได้หลายวิธี

1. Photo-oxidation IAA ที่อยู่ในสภาพสารละลายจะสลายตัวได้เมื่อได้รับแสง การเกิด Photo-oxidation ของ IAA จะถูกเร่งโดยการปรากฏของรงควัตถุตามธรรมชาติ หรือที่สังเคราะห์ได้ จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าการที่รงควัตถุของพืชดูดซับพลังงานจากแสงแล้วทำให้เกิดการออกซิไดซ์ IAA ซึ่งรงควัตถุที่เกี่ยวข้อง คือ ไรโบฟลาวินและไวโอลาแซนธิน (Riboflavin และ Violaxanthin) สารที่เกิดขึ้นเมื่อ IAA สลายตัวโดยแสงคือ 3-methylene-2-oxindole และ Indoleacetaldehyde

2. การออกซิไดซ์โดยเอนไซม์ (Enzymic Oxidation of IAA) พืชหลายชนิดมีเอนไซม์เรียกว่า IAA-oxidase ซึ่งจะคะตะไลท์ สลาย IAA ได้คาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นปฏิกิริยาที่ใช้ออกซิเจน IAA-oxidase มีคุณสมบัติคล้ายเอนไซม์ประเภทเพอร์ออกซิเดส (Peroxidase) และเป็นเอนไซม์ที่ต้องการแมงกานีสเป็นโค-แฟคเตอร์ กระบวนการออกซิไดซ์ โดย IAA-oxidase ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก จากการทดลอง In vitro พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ 3-methylene-2-oxindole และถูกเมตาโบไลซ์ต่อไป เป็น 3-methyl-2-oxindole มีการทดลองหลายครั้งที่ยืนยันว่า IAA-oxidase จะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุของพืชเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีความสัมพันธ์แบบผกผันระหว่างอัตราการเจริญเติบโตและปริมาณของ IAA-oxidase ในเนื้อเยื่อของรากจะมี IAA ในปริมาณต่ำ แต่มี IAA-oxidase เป็นจำนวนมาก

3. รวมกับสารชนิดอื่นในไซโตพลาสต์

4. เปลี่ยนเป็นอนุพันธ์ชนิดอื่น



การวัดปริมาณออกซิน
1. Bioassay คือ การวัดปริมาณออกซินโดยใช้ชิ้นส่วนของพืช เช่น โคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ตหรือพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอื่นๆ แล้ววัดความโค้งของยอดโดยการวางออกซินที่ต้องการวัดปริมาณลงบนส่วนของโคลีออพไทล์ซึ่งตัดยอดออกแล้ว มุมที่โค้งจะบอกปริมาณของออกซินได้โดยเปรียบเทียบจากเส้นมาตรฐาน (Standard Curve)

2. การวัดจากคุณสมบัติทางฟิสิกส์ คือ การวัดปริมาณของออกซินโดยใช้การดูดกลืนแสงของ IAA ซึ่งเมื่อมีความเข้มข้นต่างกันจะดูดกลืนแสงได้ต่างกัน โดยใช้ความยาวคลื่นแสงที่ 280 nm หรือสกัดจนเป็นสารบริสุทธิ์แล้วจึงใช้เครื่อง Gas Chromatograph ร่วมกับ Mass Spectrometry ในการจำแนกและหาปริมาณ

3. การวัดโดยวิธีเคมี โดยให้ออกซินทำปฏิกิริยากับ Salkowski's Reagent (acidified ferric chloride) หรือใช้ Ehrllch's Reagent ซึ่งจะเกิดสีขึ้นมา จากนั้นวัดความเข้มของสีแล้วเปรียบเทียบกับเส้นมาตรฐาน



การเคลื่อนที่ของออกซินในต้นพืช
จากส่วนของพืชที่มีการสังเคราะห์ ฮอร์โมนจะเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนอื่นๆ และมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อที่ได้รับฮอร์โมน การเคลื่อนที่จะถูกควบคุมอย่างดี การเคลื่อนที่ของออกซินจะเป็นแบบโพลาไรซ์ (Polarized) คือ เคลื่อนที่ไปตามยาวของลำต้นโดยไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากกว่าทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งการเคลื่อนที่แบบโพลาร์ (Polar) นี้จะเกี่ยวข้องกับการเจริญและการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของพืชทั้งต้น

การเคลื่อนที่ของออกซินในส่วนที่อยู่เหนือดิน จะเป็นแบบโพลาร์ เบสิพีตัล (Polar Basipetal) คือ จะเคลื่อนที่จากแหล่งผลิตที่ยอดไปสู่โคนต้น ซึ่งการทดลองที่แสดงว่ามีการเคลื่อนที่แบบนี้สามารถทำได้โดยใช้ก้อนวุ้นที่เป็นแหล่งให้ออกซินและรับออกซิน (Donor-Receiver Agar Block) คือ ใช้ก้อนวุ้นที่มีออกซินอยู่วางบนท่อนของเนื้อเยื่อ ส่วนก้อนวุ้นอีกก้อนซึ่งทำหน้าที่รับออกซินอยู่อีกปลายหนึ่งของท่อนเนื้อเยื่อ ออกซินจะเคลื่อนที่จากก้อนวุ้นที่มีออกซินผ่านเนื้อเยื่อลงไปสู่ก้อนวุ้นที่ไม่มีออกซิน ซึ่งจากวิธีการนี้สามารถคำนวณความเร็วของการเคลื่อนที่ของออกซินในเนื้อเยื่อได้ เพราะทราบความยาวของท่อนเนื้อเยื่อ ความเร็วในการเคลื่อนที่แสดงเป็นระยะทางต่อหน่วยเวลา ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของออกซินจะประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง

การเคลื่อนที่ของออกซินจะเกิดแบบเบสิพีตัลก็เมื่อท่อนเนื้อเยื่อวางอยู่ในลักษณะปกติของลักษณะทางสัณฐานวิทยาเท่านั้น คือ ก้อนวุ้นที่เป็นก้อนที่รับออกซินจะต้องอยู่ทางด้านโคนของท่อนเนื้อเยื่อ ถ้าหากกลับท่อนเนื้อเยื่อเอาด้านโคนกลับขึ้นเป็นด้านยอด การเคลื่อนที่แบบเบสิพีตัลจะลดลงทันที

อัตราการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติของออกซิน จะช้ากว่าการ เคลื่อนที่ของ IAA แต่ลักษณะการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ เช่น 2,4-D IBA และ NAA ก็เกิดในลักษณะโพลาร์เช่นเดียวกับสาร IAA

การเคลื่อนที่ของออกซินในส่วนที่อยู่เหนือดินของพืช เกิดแบบอะโครพีตัล (Acropetal) ได้บ้างแต่น้อยมาก การเคลื่อนที่แบบโพลาร์จะลดลงเมื่ออายุของพืชเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าออกซินเคลื่อนที่ผ่านไปในส่วนใดของเนื้อเยื่ออาจจะเป็นแบบจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งเพราะการเคลื่อนที่ช้ากว่าการเคลื่อนที่ของสารในท่ออาหาร (Phloem) ซึ่งประมาณ 10-100 เซนติเมตรต่อชั่วโมง และการเคลื่อนที่ของสารในท่ออาหารจะเป็นแบบอะโครพีตัล มากกว่า ดังนั้นออกซินจึงไม่ได้เคลื่อนที่ในท่ออาหาร แต่การเคลื่อนที่ในรากอาจจะเป็นแบบตาม Phloem และเป็นที่เด่นชัดว่าออกซินไม่ได้เคลื่อนที่ในท่อน้ำของพืชเพราะการไหลของน้ำจะเป็นไปในทิศทางที่ขึ้นสู่ยอด และนอกจากนั้นท่อน้ำยังเป็นเนื้อเยื่อที่ตายแล้วไม่มีพลังงานที่จะทำให้ออกซินเคลื่อนที่แบบโพลาร์ได้ ในกรณีของโคลีออพไทล์ของพืชนั้นชี้ให้เห็นว่าออกซินเคลื่อนที่ผ่านเซลล์ทุกเซลล์ลงมา แต่ในกรณีของลำต้นนั้นยังไม่มีหลักฐานชี้ให้เห็นเด่นชัดนัก แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าโปรแคมเบียม (Procambium) และแคมเบียม (Cambium) โดยเฉพาะส่วนที่จะกลายเป็นท่ออาหารอาจจะเป็นทางเคลื่อนที่ของออกซิน

การเคลื่อนที่ของออกซินในรากก็มีลักษณะเป็นโพลาร์ แต่เป็นแบบ อะโครพีตัล ซึ่งกลับกันกับกรณีของลำต้น ความเร็วของออกซินที่เคลื่อนที่ไปในรากพืชประมาณ 1 เซนติเมตรต่อ ชั่วโมง โดยคาดว่าเกิดในส่วนของแคมเบียมและท่ออาหารที่เกิดใหม่



การเคลื่อนที่ของออกซินเป็นกระบวนการที่ต้องใช้พลังงานโดยมีหลักฐานที่สนับสนุนดังนี้

1. การเคลื่อนที่เร็วกว่าการซึม 10 เท่า

2. เคลื่อนที่ได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนเท่านั้น และการเคลื่อนที่หยุดได้โดยสารบางชนิด (Inhibitor)

3. เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีปริมาณมากไปสู่บริเวณที่มีปริมาณน้อย (Gradient)

4. เกิด Saturation Effect ได้



กลไกการทำงานของออกซิน
โดยทั่วไปฮอร์โมนจะสามารถก่อให้เกิดผลต่อการเจริญเติบโตได้ในปริมาณที่ต่ำมาก จึงสรุปกันว่าการทำงานของฮอร์โมนต้องเกี่ยวข้องกับการขยายสัญญาณของฮอร์โมน (Large Amplification) แล้วฮอร์โมนสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลจำนวนมากขึ้นได้ โดยทั่วไปฮอร์โมนจะมีผลต่อการเจริญเติบโตโดยผ่านมาทางการควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนหรือกรดนิวคลีอิคควบคุม "pace-setter" ของเอนไซม์และควบคุมการยอมให้สารเข้าออกจากเซลล์ของเยื่อหุ้มเซลล์

กลไกในการทำงานของออกซินในระยะที่ผ่านมาจะมีแนวความคิดเป็นสองอย่าง คือ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับผนังเซลล์เป็นส่วนที่รับผลกระทบของออกซินและขยายตัว ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งมุ่งไปที่ผลของออกซินต่อเมตาบอลิสม์ของกรดนิวคลีอิค ในปัจจุบันได้นำสองแนวคิดมาวิเคราะห์ ร่วมกันเพื่อศึกษากลไกในการทำงานของออกซิน และยังศึกษาผลของออกซินต่อเยื่อหุ้มเซลล์ด้วย

การขยายตัวของเซลล์จะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงปริมาณและกิจกรรมของเอนไซม์ โดยที่ออกซินจะมีบทบาทต่อ กระบวนการเมตาบอลิสม์ของกรดนิวคลีอิค โดยการศึกษาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เป็นไส้ของต้นยาสูบ (Tobacco Pith) ซึ่งจะเจริญไปเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อ (Callus) นั้นพบว่ามีปริมาณของ RNA เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะออกซินจะกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์ RNA มากขึ้น แล้วส่งผลไปถึงการเจริญของกลุ่มเนื้อเยื่อ ถ้าหากใช้สารระงับการสังเคราะห์โปรตีนหรือ RNA ความสามารถในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของออกซินจะหายไป

การทดลองอีกเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าออกซินกระตุ้นให้มีการสร้าง RNA คือ การใช้นิวเคลียส หรือโครมาตินเลี้ยงไว้ในสารที่เป็นสารเริ่มต้นของ RNA เช่น ATP CTP GTP และ UTP ซึ่งสารเริ่มต้นเหล่านี้จะมีสารกัมมันตรังสีปรากฏอยู่ด้วย RNA ที่เกิดขึ้นมาใหม่จะมีสารกัมมันตรังสีด้วย ซึ่งการที่จะเกิด RNA ใหม่ขึ้นได้นี้เซลล์จะต้องได้รับออกซินก่อนที่นิวเคลียสหรือโครมาตินจะถูกแยกออกจากเซลล์เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าออกซินไปกระตุ้นการสังเคราะห์ RNA

ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าออกซินมีผลต่อระดับเอนไซม์ โดยผ่านทางการสังเคราะห์ RNA นอกจากนั้นออกซินยังมีผลกระทบต่อกิจกรรมของเอนไซม์โดยตรง เช่น การกระตุ้นให้เอนไซม์เกิดกิจกรรมหรือเปลี่ยนรูปมาอยู่ในรูปที่มีกิจกรรมได้ แต่ไม่ว่าออกซินจะมีผลกระทบต่อเอนไซม์แบบใดก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งความสนใจไปสู่เอนไซม์ที่สัมพันธ์กับกระบวนการขยายตัวของเซลล์ เซลล์พืชจะมีผนังเซลล์อยู่ข้างนอกสุด ดังนั้นการเจริญของเซลล์จะเกิดขึ้นได้เมื่อคุณสมบัติของผนังเซลล์เปลี่ยนไปในทางที่ก่อให้เกิดการขยายตัวของโปรโตพลาสต์ จากความจริงดังกล่าวการศึกษาทางด้านนี้จึงมุ่งไปสู่ผลกระทบของออกซินต่อคุณสมบัติของผนังเซลล์

เซลล์พืชทุกชนิดที่ผ่านขั้นตอนของเนื้อเยื่อเจริญมาแล้วจะผ่านขั้นตอนการ เจริญเติบโต 2 ขั้น คือ การแบ่งเซลล์และการขยายตัวแวคคิวโอขึ้นภายในเซลล์ (Vacuolation) ในการศึกษาการเจริญเติบโตของโคลีออพไทล์ของข้าวโอ๊ต พบว่าการแบ่งเซลล์จะหยุดเมื่อมีความยาว 10 มิลลิเมตร การเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะเนื่องมาจากการขยายขนาดของเซลล์ ดังนั้นในการศึกษาถึงผลกระทบของออกซินต่อการเจริญเติบโตของพืชจึงเน้นไปที่ผลต่อการขยายตัวของเซลล์ ในระหว่างการขยายขนาดของเซลล์เพราะการขยายตัวของแวคคิวโอ หรืออาจจะเกิดช่องว่างภายในเซลล์ขึ้น ที่ผนังเซลล์จะเกิดการยืดตัวชนิดที่ไม่สามารถหดได้อีก มีการทดลองหลายการทดลองสนับสนุนว่าออกซินเพิ่มการยืดตัวของผนังเซลล์ (Plasticity)

ในระหว่างการขยายตัวของเซลล์นั้น ไม่เพียงแต่ผนังเซลล์ยืดตัวเท่านั้น แต่ยังมีการเพิ่มความหนาของผนังเซลล์เพราะมีสารใหม่ ๆ ไปเกาะด้วย ซึ่งการเจริญดังกล่าวนี้ก็เป็นผลจากการกระตุ้นของออกซิน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อการยืดตัวของเซลล์หยุดลงแล้ว

จากบทที่ 1 ได้กล่าวแล้วว่าผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลล์ลูโลสไมโครไฟบริลฝังตัวอยู่ในส่วนที่เป็นแมททริกซ์ (Matrix) และโปรตีน ดังนั้นถ้าพิจารณาดูผนังเซลล์จะมีลักษณะเหมือนคอนกรีตเสริมเหล็กโดยเซลลูโลสจะเป็นส่วนของเหล็ก โมเลกุลของเซลลูโลสยึดติดกันด้วยแขนไฮโดรเจน (Hydrogen bond) ในขณะที่ส่วนของแมททริกซ์เกาะกันด้วยแขนโควาเลนท์ (Covalent bond) และในเนื้อเยื่อใบเลี้ยงของพืชใบเลี้ยงคู่ เซลลูโลสเกาะอยู่กับแมททริกซ์โดยแขนไฮโดรเจน ดังนั้นการที่ออกซินจะทำให้เซลล์ยืดตัวนั้นต้องทำลายแขนเหล่านี้เสียก่อน ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าแม้ว่าการขยายตัวของเซลล์เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนและ RNA รวมทั้งพลังงานจากการหายใจก็ตาม แต่ถ้าให้ออกซินจากภายนอกต่อลำต้นหรือโคลีออพไทล์อัตราการเจริญเติบโตจะเพิ่มขึ้นหลังจากระยะเวลา "lag" เพียง 2-3 นาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่การเจริญเติบโตถูกเร่งโดยการเปลี่ยนอัตราของการ Transcription และ Translation แต่ดูเหมือนว่าออกซินจะไปมีผลต่อระบบที่ปรากฏอยู่ในพืชแล้ว (Pre-formed System) ดังนั้นจากเหตุผลข้างต้น การทำลายการเกาะกันของโครงสร้างของผนังเซลล์จะไม่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์

ในการทดลองต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้นำเอาโคลีออพไทล์หรือลำต้นที่ไม่ได้รับแสงไปแช่ลงในสภาพที่มี pH ประมาณ 3 ปรากฏว่าโคลีออพไทล์และลำต้นสามารถยืดตัวได้ และเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "Acid Growth Effect" ซึ่งให้ผลเหมือนกับการให้ออกซินแก่พืช การทดลองนี้ได้นำไปสู่การศึกษาที่แสดงว่า ออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ หรือโปรตอนจากเนื้อเยื่อ ทำให้ pH ของผนังเซลล์ต่ำลง ซึ่งการปลดปล่อย H+ นี้ต้องใช้พลังงานจากการหายใจด้วย สมมุติฐานเกี่ยวกับ "Proton-Pump" นี้ คาดว่าเกิดในเยื่อหุ้มเซลล์

ในการยอมรับปรากฏการณ์ข้างต้นว่าเป็นการทำงานของออกซินในการกระตุ้นอัตราการเจริญเติบโตของพืช ต้องสามารถอธิบายเหตุผลว่าออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ ได้อย่างไรหรือทำไมการสังเคราะห์โปรตีนและ RNA จึงจำเป็นต่อการยืดตัวของเซลล์ และการเปลี่ยน pH ทำให้คุณสมบัติของผนังเซลล์เปลี่ยนไปได้อย่างไร

คำตอบว่าออกซินกระตุ้นการปลดปล่อย H+ อย่างไรนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด ยังต้องมีการทดลองอีกมากเพื่ออธิบาย การเจริญของเซลล์ต้องการ RNA และโปรตีนในช่วงที่เซลล์ยืดตัว เพราะในการยืดตัวของเซลล์นั้นผนังเซลล์ไม่ได้บางลงไป แต่ยังคงหนาเท่าเดิมหรือหนาขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างผนังเซลล์เพิ่มขึ้นด้วย ในการสร้างผนังเซลล์นั้นต้องใช้เอนไซม์และ RNA pH ต่ำมีผลต่อการเปลี่ยนคุณสมบัติของผนังเซลล์ในแง่ที่ว่า แขนที่เกาะกันของผนังเซลล์นั้นอาจจะถูกทำลายในสภาพที่ pH ต่ำ หรืออาจจะเป็น pH ที่เหมาะสมสำหรับเอนไซม์ ที่จะทำให้ผนังเซลล์เปลี่ยนไป



การตอบสนองของพืชต่อออกซิน
1. การตอบสนองในระดับเซลล์ ออกซินทำให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ (Cell enlargement) เช่น ทำให้เกิดการขยายตัวของใบ ทำให้ผลเจริญเติบโต เช่น กรณีของสตรอเบอรี่ ถ้าหากกำจัดแหล่งของออกซิน ซึ่งคือส่วนของเมล็ดที่อยู่ภายนอกของผล (ผลแห้งแบบ Achene) จะทำให้เนื้อเยื่อของผลบริเวณที่ไม่มีเมล็ดรอบนอกไม่เจริญเติบโต ออกซินทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ได้ในบางกรณี เช่น กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของแคมเบียมและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ เช่น กระตุ้นให้เกิดท่อน้ำและท่ออาหาร กระตุ้นให้เกิดรากจากการปักชำพืช เช่น การใช้ IBA ในการเร่งรากของกิ่งชำ แล้วยังกระตุ้นให้เกิดแคลลัส (Callus) ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แต่การตอบสนองในระดับเซลล์ที่เกิดเสมอคือ การขยายตัวของเซลล์

2. การตอบสนองของอวัยวะหรือพืชทั้งต้น

2.1 เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชต่อแสง (Phototropism) Geotropism ดังได้กล่าวมาแล้ว

2.2 การที่ตายอดข่มไม่ให้ตาข้างเจริญเติบโต (Apical Dominance)

2.3 การติดผล เช่น กรณีของมะเขือเทศ ออกซินในรูปของ 4 CPA จะเร่งให้เกิดผลแบบ Pathenocarpic และในเงาะถ้าใช้ NAA 4.5 เปอร์เซ็นต์ จะเร่งการเจริญของเกสรตัวผู้ทำให้สามารถผสมกับเกสรตัวเมียได้ ในดอกที่ได้รับ NAA เกสรตัวเมียจะไม่เจริญเพราะได้รับ NAA ที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป แต่เกสรตัวผู้ยังเจริญได้ ทำให้การติดผลเกิดมากขึ้น

2.4 ป้องกันการร่วงของผลโดยออกซินจะยับยั้งไม่ให้เกิด Abcission layer ขึ้นมา เช่น การใช้ 2,4-D ป้องกันผลส้มไม่ให้ร่วง หรือ NAA สามารถป้องกันการร่วงของผลมะม่วง

2.5 ป้องกันการร่วงของใบ

2.6 ในบางกรณีออกซินสามารถทำให้สัดส่วนของดอกตัวเมีย และตัวผู้เปลี่ยนไปโดยออกซินจะกระตุ้นให้มีดอกตัวเมียมากขึ้น



http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/08/2011 5:57 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

346. ไคโตซาน กับประโยชน์ที่มีต่อกุ้ง


ไคโตซาน เป็นสารอาหารเข้มข้นชนิดน้ำ เป็นสารไบโอโพลีเมอร์ชีวภาพ ที่สกัดมาจากธรรมชาติ 100% ไร้สารเคมี เป็นสารปรับสภาพดินและน้ำ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิตพืชทุกชนิด ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หรือผู้บริโภค ไม่เป็นพิษตกค้าง และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับ นาข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ และสัตว์ทุกชนิด

สำหรับอาชีพการเลี้ยงกุ้งนั้น ผู้ประกอบการหลายๆรายในปัจจุบันต้องประสบกับปัญหาต่างๆในการดำเนินธุรกิจมากมาย เช่น กุ้งไม่เจริญเติบโต, กุ้งไม่ลอกคราบ, กุ้งไม่แข็งแรง ขี้โรค, กุ้งตาย, อัตราการรอดน้อย, ผลผลิตรวมตกต่ำ, ผลผลิตไม่มีคุณภาพ เช่น กุ้งตัวเล็ก ผิวไม่สวย มีกลิ่นโคลนตม ทำให้ขายไม่ได้ราคาดี ประสบกับปัญหาขาดทุนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ระหว่างการเลี้ยงกุ้งได้ใช้สารเคมีและยาเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในดินก้นบ่อส่งผลต่อการเลี้ยงกุ้งในครั้งต่อๆไปอีกด้วย ทำให้ผลผลิตเลวลงอีกอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบในการเลี้ยงกุ้งหรือสัตว์น้ำอื่นๆคือ ความสิ้นเปลืองอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งหรือสัตว์น้ำ ส่วนหนึ่งประมาณ 40% จะละลายหายไปในน้ำและตกตะกอนลงก้นบ่อเลี้ยง ส่งผลให้เกิดการหมกหมมของเศษอาหารบริเวณก้นบ่อทำให้เกิดปัญหาน้ำเสีย น้ำบูดเน่า โคลนเน่า เลนเน่า ค่า PH เสียไป เกิดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ ส่งผลให้กุ้งและสัตว์เลี้ยงเป็นโรคได้ง่าย เปิดปัญหากุ้งไม่กินอาหาร ไม่ลอกคราบ ไม่โต ผิวไม่สวย ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำในที่สุด

สำหรับสัตว์น้ำชนิดอื่นๆก็มักจะประสบปัญหาคล้ายๆกัน คือ ปัญหาเรื่องน้ำเสีย, ความสิ้นเปลืองอาหาร, สัตว์เป็นโรค ไม่ค่อยกินอาหาร, อัตราการรอดน้อย, น้ำหนักตัวไม่ดี เป็นต้น


ประโยชน์ของไคโตซานที่มีต่อกุ้ง
ไคโตซาน จะเคลือบอาหารสัตว์เอาไว้ ทำให้อาหารแตกตัวในน้ำช้าลง ทำให้กุ้ง, ปลาและสัตว์อื่นๆกินอาหารได้มากขึ้นเพราะอาหารอยู่ในน้ำได้ประมาณ 12 ชั่วโมงขึ้นไปโดยไม่เปื่อยยุ่ยง่าย ลดการสูญเสียอาหารทำให้สามารถลดปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละครั้ง เกษตรกรจึงประหยัดการให้อาหารในแต่ละครั้งลงได้ นอกจากนี้ยังทำให้น้ำและดินก็ไม่เสียเร็ว เกิดการสะสมโรคน้อยลง นอกจากนี้ปัญหาเรื่องแอมโมเนีย ค่า PH ของน้ำ ผู้เลี้ยงไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องใช้สารเคมีแก้ปัญหามากเหมือนเมื่อก่อน

เมื่อสัตว์กินอาหารที่มีไคโตซานเคลือบอยู่ ไคโตซานจะถูกเปลี่ยนเป็นสารกลูโคซามีนซึ่งช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและเปลือกกุ้ง ช่วยในการสร้างเกล็ดในปลา และเร่งการเจริญเติบโตในกบและตะพาบ จึงทำให้เจริญเติบโตดี กุ้งลอกคราบดี ปลา กบ และตะพาบเนื้อแน่น น้ำหนักดี ผิวสวย และมีสุขภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด




อ้างอิง:
http://chotrungsee-biochem.com


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 07/01/2023 5:39 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/08/2011 4:53 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

347. ปุ๋ยเคมี VS ปุ๋ยอินทรีย์



ปุ๋ยเคมี คือ อะไร

ปุ๋ยเคมี (Chemical fertilizers) หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์สังเคราะห์ ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก NPK

โดยมีขบวนการตั้งต้นมาจากก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์น้ำมัน และเมื่อนำมารวมกับ กรด โดยผ่านขบวนการทางเคมี จะได้ธาตุ N P K ออกมาเป็นแม่ปุ๋ยสูตรต่างๆ แล้วแต่ว่าจะใช้ กรด ชนิดใดในการทำปฏิกิริยา (ดังนั้นหากใช้ปุ๋ยเคมีไม่ถูกวิธีจะทำให้ดินเป็นกรด)

ประเทศไทยยังไม่มีโรงงานผลิตแม่ปุ๋ย เพราะต้นทุนการผลิตสูง จึงนำเข้าแม่ปุ๋ยมาจากต่างประเทศ เช่น ยูเรีย แอมโมเนียเหลว หินฟอสเฟตและโพแทสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น เมื่อโรงงานปุ๋ยในประเทศได้แม่ปุ๋ยมาแล้ว จึงผลิตปุ๋ยโดยนำแม่ปุ๋ยมาผสมปั้นเป็นเม็ด โดยมีแม่ปุ๋ยตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปตามสูตรที่ต้องการเช่น ปุ๋ยสูตร15–15–15หมายความว่า จะนำแม่ปุ๋ยมาคำนวณให้ในเนื้อปุ๋ย 100กิโลกรัมมี ไนโตรเจน(N)อยู่15กิโลกรัม ฟอสฟอรัส(P)อยู่15กิโลกรัม และมีโปแตสเซียม(K)อยู่15กิโลกรัม รวมเป็น45กิโลกรัม และอีก55กิโลกรัมที่เหลือจะเป็นสารเติมแต่ง(ฟิลเลอร์) เพื่อให้ได้ปริมาณครบจำนวน100กิโลกรัม ซึ่งฟิลเลอร์ที่เติมเข้าไปก็คือ ดินขาว(Clay) นั้นเอง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรซื้อ จะเป็นดินขาวอย่างน้อย 50เปอร์เซ็นต์(%) ดินขาวจะมีส่วนช่วยในการปั้นเม็ดให้กลมสวย ทำให้เม็ดปุ๋ยมีความแข็งไม่แตกร่วนในขณะเก็บไว้นานๆ รวมถึงช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจน(N) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักตัวหนึ่งในเนื้อปุ๋ย ไม่ให้สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป แต่ดินขาวเองไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อพืชแต่กลับเป็นข้อเสีย เพราะดินขาวจะแทรกตัวไปอัดแน่นอยู่ในช่องว่างของดิน และยึดเกาะเม็ดดินให้จับตัวกันแน่นขึ้น พร้อมกับขับไล่อากาศที่มีอยู่ในดินออกไป ดังนั้นดินที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาโดยตลอด จะมีสภาพเป็นกรดและแข็งกระด้าง

จริงหรือไม่ ที่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรที่สูงๆยิ่งดี ปุ๋ยสูตรต่ำสารอาหารจะไม่เพียงพอ ปุ๋ยที่มีสูตรที่สูงๆ หากพืชสามารถกินได้ทันที กินได้หมด ก็จะดีมีประโยชน์ แต่ความจริงแล้ว พืชจะไม่สามารถกินปุ๋ย N P K ได้ทันที ต้องเปลี่ยนรูปไปเป็นสารอาหารที่พืชสามารถดูดกินได้ก่อน ซึ่งหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารนี้คือหน้าที่ของจุลินทรีย์ชนิดดีในดิน แต่การใช้ปุ๋ยเคมีมากๆหรือใช้มานาน จะทำให้จำนวนจุลินทรีย์ชนิดดีที่คอยทำหน้าที่เปลี่ยนสารอาหารเกิดการชะงัก ทำให้การเปลี่ยนสารอาหารลดน้อยลง จนกระทั่งไม่สามารถ เปลี่ยนสารอาหารให้พืชกินได้ทัน พืชจึงเจริญเติบโตช้าและให้ผลผลิตน้อย เกษตรกรจึงคิดว่าสารอาหารในดินไม่เพียงพอจึงเติมปุ๋ยเคมีลงไปอีก หรือเปลี่ยนไปใช้ปุ๋ยที่มีสูตรสูงขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ผิดวิธี สิ้นเปลืองเงินไปโดยไร้ประโยชน์ และยิ่งส่งผลเสียต่อจุลินทรีย์และดินมากยิ่งขึ้น

จริงหรือไม่ ปุ๋ยเคมีควรใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีที่สุด จากคำพูดดังกล่าว น่าจะดีแต่ทำได้จริงหรือไม่ หากจะทำจริงต้องใช้ปุ๋ยเคมีกี่ส่วนต่อปุ๋ยอินทรีย์กี่ส่วน ปุ๋ยเคมีควรเป็นสูตรใด ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ชนิดไหน (อินทรีย์ทั่วไป คอก วัว ไก่ หมู ค้างคาว ชีวภาพ จุลินทรีย์) แล้วจะใส่อย่างไร เคมีก่อนหรืออินทรีย์ก่อน หรือพร้อมกัน แล้วจะใส่ช่วงไหนดี แน่ใจได้อย่างไรว่าจะออกมาดี การใช้ปุ๋ยจึงควรพิจารณาให้เหมาะสมก่อนใช้
(ข้อมูลจาก คุณลิขิต : KM Team บางปะหัน)




ข้อได้เปรียบ-ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ
๒. ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและเก็บรักษาสะดวกมาก
๓. หาได้ง่าย ถ้าต้องการเป็นปริมาณมากก็สามารถหามาได้ เพราะเป็นผลิตผลที่ผลิตได้จากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
๔. ให้ผลทางด้านธาตุอาหารเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์



ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี
๑. ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสภาพทางฟิสิกส์ของดินกล่าวคือไม่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
๒. ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมากและติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องใช้ปูนช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน
๓. ปุ๋ยเคมีทุกชนิดมีความเค็ม ถ้าใช้ในอัตราสูง หรือใส่ที่โคนต้นพืชจะเกิดอันตรายแก่พืชและการงอกของเมล็ด การใช้จึงต้องระมัดระวัง
๔. ผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจมีผลเสียหายต่อพืชและต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ (ทำให้ขาดทุนได้)





ปุ๋ยอินทรีย์คืออะไร

ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน มีวัตถุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้



ข้อดี ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ มีดังนี้

1. ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
- ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่งความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
- อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
- เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพมีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช
- ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน
ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


2. ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
- มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
- ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
- ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
- หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก
- ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรทในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
- การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้
- มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืชและวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้
- ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน
- ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือนก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท
- การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน จากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ
- ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า




ข้อได้เปรียบ-ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์

ข้อได้เปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น ข้อดีข้อนี้ปุ๋ยอินทรีย์ทำได้แต่ผู้เดียวปุ๋ยเคมีไม่สามารถทำได้
๒. อยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้าๆ
๓. เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๔. ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ในดินโดยเฉพาะพวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
๑. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
๒. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมีในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืช
๓. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
๔. หายาก พิจารณาในแง่เมื่อต้องการเป็นปริมาณมาก




ที่มา ; http://www.por-dee.com/
http://www.rd-alliance.com/index.php?option=com_content&view=article&id=124:dinapui3&catid=25:dinapui&Itemid=15
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/08/2011 5:05 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

348. ประเภทของปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอนินทรีย์





ปุ๋ยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยอนินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์
เป็นปุ๋ยที่ได้จากซากพืชซากสัตว์ มูลสัตว์ เศษขยะมูงฝอยต่างๆปุ๋ยนี้จะมีธาตุอาหารพืชอยู่ในปริมาณน้อย แต่จะช่วยในการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ปุ๋ยอินทรีย์เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ

(1) ปุ๋ยคอก ได้แก่ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ชนิดต่างๆ ปุ๋ยคอกจะดีหรือไม่เพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ อายุของสัตว์ อาหารที่สัตว์กินเข้าไป อายุของปุ๋ยคอก และวิธีการเก็บรักษาปุ๋ย ปุ๋ยคอกที่จะนำมาใช้กับพืชให้ได้ผลดีจะต้องเป็นปุ๋ยคอกที่เก่า มีการสลายตัวดีแล้ว หากเป็นปุ๋ยคอกที่ยังใหม่อยู่อาจเกิดความเสียหายแก่พืชได้ เพราะยังมีความร้อนอยู่มาก

(2) ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักของซากพืช ซากสัตว์ เช่น เศษใบไม้ ฟางข้าว มูลสัตว์ เศษอาหาร ฯลฯ นำมากองรวมกัน อาศัยจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตในดิน ช่วยย่อยสลายให้เกิดการเน่าเปื่อยผุพัง กลายเป็นปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วนั้น จะมีสีน้ำตาล หรือสีดำ ร่วนซุย

ในปัจจุบันการทำปุ๋ยหมักนั้นได้ใส่จุลินทรีย์ลงไปในกองปุ๋ยหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้การย่อยสลายตัวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลานานมาก ทำให้มีปุ๋ยใช้ในเวลาที่เร็วกว่าแต่ก่อน

อนึ่งยังมีแนวความคิดและการทำปุ๋ยหมักในการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Micro-organism) มาใช้ ซึ่งแนวความคิดใหม่นี้ ปุ๋ยหมักที่ได้ไม่จำเป็นต้องมีการสลายตัวแต่อย่างใดการทำปุ๋ยหมักไปใช้นั้น ใช้เวลาเพียง 2-3 วัน ก็นำปุ๋ยหมักไปใช้ได้ทั้งยังสามารถใช้ในในปริมาณที่น้อยเพราะถือว่าจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในปุ๋ยหมักนั้นเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์

(3) ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่เราได้จากการปลูกหรือหว่านพืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น โสน ปอเทือง ถั่วเขียว ฯลฯ เมื่อพืชเหล่นนี้เริ่มมีดอก ซึ่งเป็นช่วงที่มีอาหารพืชมาก เราก็ทำการไถกลบทิ้งไว้ให้พืชเหล่านี้เน่าเปื่อย ต่อจากนั้นจึงทำการปลูกพืชหลักต่อไป ในการทำปุ๋ยพืชสดนี้จะทำหลังจากการเก็บเกี่ยวพืชหลักแล้ว เพื่อทำให้ดินดีขึ้น ในส่วนของการปลูกพืชหมุนเวียน ซึ่งใช้พืชตระกูลถั่วสลับกับการปลูกพืชอื่นๆ ก็เป็นการทำปุ๋ยพืชสดในทางอ้อม ได้ทั้งผลผลิตจากพวกถั่วและซากพืชพวกถั่วอีกด้วย

นอกจากนี้ในการทำการเกษตร เช่น การทำนา ชาวนาจะมีการไถดะเพื่อทิ้งไว้ให้หญ้าหรือวัชพืชตายแล้วจึงไถแปรให้ซากพืชที่เน่าเปื่อยกลายเป็นอาหารข้าวที่ปลูก ก็จัดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานานแล้ว ซึ่งแม้ว่าจะมิใช้การไถกลบพืชตระกูลถั่ว ก็เป็นการเพิ่มอาหารแก่ไร่นาโดยการไถกลบเช่นกัน

(4) ปุ๋ยเทศบาล บางทีก็เรียกว่าปุ๋ย กรุงเทพมหานคร หรือปุ๋ยขยะ เป็นปุ๋ยที่กรุงเทพมหานครทำขึ้น โดยการใช้ขยะมูลฝอยที่เก็บในแต่ละวัน มีปัญหาในเรื่องที่ทิ้ง หรือการทำลาย จึงได้ทำปุ๋ยนี้ขึ้นโดยการนำไปหมักยังโรงงานทำปุ๋ยหมัก ซึ่งตั้งอยู่ในเขตหนองแขม กรุงเทพฯ ปุ๋ยหมักของ กทม. มีทั้งชนิดธรรมดาและชนิดที่เติมอาหารพืช ทั้งนี้เพื่อให้ใช้ในวัตถุประสงค์ต่างกันไป




ปุ๋ยอนินทรีย์
มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ เช่น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยการค้า แต่ตามพระราชบัญญัติ
ปุ๋ยเรียกว่า ปุ๋ยเคมี ซึ่งหมายถึงการใช้กรรมวิธีทางเคมีสังเคราะห์แร่ธาตุต่างๆ เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารตามที่ต้องการ โดยทั่วไปจะมีธาตุอาหารหลัก ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม อยู่ในปริมาณมาก ปุ๋ยเคมีนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

(1) ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักธาตุใดธาตุหนึ่งเพียงธาตุเดียวซึ่งไม่ได้แก่
ก. ปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจน ได้แก่
- ปุ๋ยยูเรีย (Urea) บางทีเรียกว่าปุ๋ยเย็น มีสีขุ่นขาวเหมือนเม็ดสาคู ละลายน้ำง่าย มีธาตุไนโตรเจน ร้อยละ 45-46 โดยน้ำหนัก
- ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (Ammonium sulphate) หรือบางทีเรียกว่าปุ๋ยน้ำตาล ละลายน้ำได้ดี มีธาตุไนโตรเจน ร้อยละ 20-21 โดยน้ำหนัก
- ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium nitrate) มีธาตุไนโตรเจน ร้อยละ 35 โดยน้ำหนัก

ข. ปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส ได้แก่
- ปุ๋ยหินฟอสเฟต (Rock phosphate) จะให้ธาตุฟอสฟอรัสประมาณ ร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก
- ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต (Super phosphate) จะให้ฟอสฟอรัส ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก
- ปุ๋ยดับเบิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต (Double super phosphate) ให้ธาตุฟอสฟอรัส ร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก

ค. ปุ๋ยที่ให้ธาตุโปตัสเซียม ได้แก่
- ปุ๋ยโปตัสเซียมคลอไรด์ (Potassium Chloride) ให้ธาตุโปตัสเซียม ร้อยละ 60 โดยน้ำหนัก
- ปุ๋ยโปตัสเซียมเฟต (Potassium sulphate) ให้ธาตุโปตัสเซียม ร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก


(2) ปุ๋ยผสม ได้แก่ปุ๋ยที่ต้องเอาปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ยตั้งแต่ 2 ชนิดมาผสมกับเพื่อให้ได้ธาตุอาหารพืชตามที่ต้องการแบ่งออกเป็น

ก. ปุ๋ยผสมไม่สมบูรณ์ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักอยู่เพียง 2 ธาตุ เช่น ปุ๋ยสูตร 16- 20-0 จะ มีธาตุไนโตรเจน 16 ส่วน และฟอสฟอรัส 20 ส่วนในร้อยส่วนเป็นต้น

ข. ปุ๋ยผสมสมบูรณ์ จะมีธาตุอาหารหลักครบ 3 ธาตุ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เป็นต้นในการนำแม่ปุ๋ยมาผสมกันเพื่อให้ได้น้ำหนักจำนวนเต็ม 100 ส่วน ซึ่งหากเมื่อใช้แม่ปุ๋ยแล้วยังได้น้ำหนักไม่เต็ม 100 ส่วน จะต้องใช้วัสดุอื่นที่ไม่มีอาหารพืช สามารถคลุกเคล้าปุ๋ยได้ เช่น ทราย ขี้เลื่อย ฯลฯ มาเติม เราเรียกวัสดุนั้นว่าฟิลเลอร์ (Filler) ในการผสมปุ๋ยใช้เองนั้น เราจะได้ปุ๋ยดีในราคาไม่แพง มีธาตุอาหารครบถ้วนและในปริมาณที่เราต้องการ




5. หลักและวิธีการใช้ปุ๋ย
5.1 ข้อคำนึงในการใช้ปุ๋ย

(1) ชนิดของปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์นั้นเราสามารถใช้ได้ง่ายเป็นอันตรายต่อพืชน้อยส่วนปุ๋ยเคมีนั้นเราจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้

ก. ความเข้มข้นของปุ๋ย ปุ๋ยแต่ละสูตรจะมีธาตุอาหารพืชที่แตกต่างกันไปราคาแพงกว่ากันตามสภาพความเข้มข้นที่มากหรือน้อย จะต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องการของพืชแต่ละชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของดิน

ข. ความเป็นกรดเป็นด่างของปุ๋ย ปุ๋ยบางชนิด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต จะมีความเป็นกรด ซึ่งจะมีผลตกค้างให้ดินนั้นเป็นกรดไปด้วย

ค. การละลายน้ำ ปุ๋ยที่ละลายน้ำง่าย ควรใส่น้อยๆแต่บ่อยครั้งปุ๋ยบางชนิดจะเคลื่อนที่ในดินช้ามาก จะต้องใส่ให้คลุกเคล้ากับดิน เพื่อให้เข้าใกล้รากพืชมากที่สุด

(2) ปริมาณที่ใช้ ในการจะใช้ปุ๋ยปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดนั้น จะต้องดูว่าดินนั้นมีความสมบูรณ์เพียงใดนั้น จะต้องดูว่าดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์เพียงใด ดูว่าพืชที่เราปลูกนั้นมีความต้องการอาหารชนิดใดมาก การใช้ปุ๋ยเคมีนั้นจะต้องตระหนักและคิดเสมอว่าจะต้องใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุ ด เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด ซึ่งจะทำให้เกิด กำไรในการผลิต

(3) ช่วงเวลาการใช้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยอินทรีย์นิยมใส่พร้อมกับการเตรียมดินซึ่งจะทำให้ดินร่วมซุยอุ้มน้ำได้ดี ส่วนปุ๋ยเคมีนั้นแบ่งใส่เป็น 3 ช่วงตามความเจริญเติบโตของพืช คือ
- ระยะแรก หรือหลังงอก พืชต้องการธาตุไนโตรเจนมาก
- ระยะแตกกิ่งก้าน แตกกอ พืชต้องการธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ธาตุ
- ระยะให้ดอกผล หรือลงหัว พืชจะต้องการธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโปตัสเซียมมาก

(4) บริเวณที่ใส่ปุ๋ย จะต้องดูว่าพืชที่ปลูกนั้นมีระบบรากเป็นอย่างไร การใส่ปุ๋ยที่ให้อยู่ในบริเวณที่รากพืชจะดูดไปใช้ได้นั้น จะทำให้ปุ๋ยนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี


5.2 วิธีการใส่ปุ๋ย ในการใส่ปุ๋ยนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปุ๋ย ชนิดของพืชการปลูกพืช รวมทั้งสภาพดินฟ้าอากาศและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งเมื่อนำรวมกันแล้วจะต้องทำให้เกิด การประหยัดเงิน ประหยดเวลา ประหยัดแรงงานเป็นประการสำคัญ วิธีการใส่ปุ๋ยทำกันมีหลายวิธี ซึ่งสามารถเลือกปฏิบัติได้ดังนี้
(1) ละลายน้ำรด ใช้กับปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดี เช่น ปุ๋ยยูเรีย
(2) หว่าน เป็นวิธีที่นิยมกันมาก จะใช้มือกำแล้วหว่านปุ๋ยไปให้ทั่วถึงและรวดเร็ว
(3) หยอดหลุม ใช้กับพืชที่ปลูกเป็นหลุมห่างกันจะช่วยป้องกันการชะล้างจากน้ำ
(4) โรยเป็นแถว อาจใส่หลังจากการพรวนดิน โดยเฉพาะกับพืชที่ปลูกเป็นแนวบางทีอาจใช้เครื่องทุ่นแรงช่วย ก็จะเกิดการประหยัด




Home - About Us - webbaord- guestbook - chatroom
© 2005 Srisukwittaya school by mr.Boonlue chanpo

http://school.obec.go.th/boonlue/ag4.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/08/2011 5:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

349. วิธีการเพิ่มผลผลิต มีอะไรบ้าง ?


ถ้าเป็นพืช ต้องลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต จึงจะได้กำไรเยอะ
เช่น ลงทุนน้อยลง แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ตัวอย่าง ข้าว
- ใช้พื้นที่เท่าเดิม
- ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยลง แต่ใช้วิธีทำให้ข้าวแตกกอดีขึ้น
- ใช้ปุ๋ยน้อยลง แต่ใช้วิธีทำให้ข้าวกินปุ๋ยดี หาอาหารเองดี
- ใช้ยาป้องกันและฆ่าแมลงน้อยลง แต่ใช้วิธีทำให้ข้าวไม่เป็นโรค แมลงไม่กิน



http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=65589998756cd2aa&clk=wttpcts
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 29/08/2011 5:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

350. การใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากอ้อย


ปรีชา สุริยพันธ์
กรมวิชาการเกษตร


ชนิดของน้ำตาล
น้ำตาลที่ได้จากอ้อยแบ่งเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ

1) centrifugal และ
2) non-centrifugal

ชนิดแรกเป็นน้ำตาลที่ถูกแยกเอาน้ำตาลโมลาส หรือที่ชาวโรงงานน้ำตาลชอบ เรียกว่า น้ำเหลือง ออกจากผลึกของน้ำตาล โดยวิธีอาศัยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (centrifugal) ส่วนน้ำตาลชนิดที่สอง เป็นน้ำตาลที่ไม่มีการแยกเอาน้ำตาลโมลาสออก นอกจากนี้อาจจะมีน้ำตาลชนิดที่ 3 ได้เรียกว่า เป็นน้ำตาลชนิดไซรับ (syrup) เราเรียกว่า ไซรับ เพราะมีลักษณะเป็นของเหลวข้น ไซรับเกิดจากโรงงานน้ำตาลขนาดเล็ก หีบเอาน้ำอ้อยมาทำให้ข้น แล้วส่งไปทำเป็นน้ำตาลดิบ หรือน้ำตาลทรายที่โรงงานน้ำตาลที่มีขนาดใหญ่กว่า เราสามารถจัดกลุ่มน้ำตาลได้ดังนี้คือ Centrifugal sugar :

น้ำตาลดิบสามารถส่งไปทำเป็นน้ำตาลทรายขาว, ขาวพิเศษในโรงงานน้ำตาลใหญ่ต่อไปได้

น้ำตาลทรายแดง มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษต่าง ๆ เช่น golden brown, yellow, washed grey, standard white, plantation white และ Khandsari


Non centrifugal sugar :
มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษต่าง ๆ กัน เช่น Gur, jaggery, panela, desi ปกติผลิตในโรงงานน้ำตาลขนาดเล็ก (cottage industries) เพื่อใช้บริโภคในหมู่บ้าน ในกรณี ของน้ำตาล jaggery ชาวบ้านนำไปใช้เพื่อทำเมรัยด้วยการหมักต่อไปอีก


Liquid sugars :
ได้แก่ น้ำตาลชนิดข้น มีชื่อเรียกเป็นภาษา อังกฤษ เช่น fancy molasse edible syrup


นอกจากจะหีบอ้อย เอาน้ำอ้อยไปทำ น้ำตาลแล้ว ส่วนประกอบส่วนอื่น ๆ ของอ้อยที่เหลือ เช่น ชานอ้อย กากน้ำตาลหรือโมเลส (molasses) และขี้ผึ้ง ฯลฯ ก็สามารถนำไปดัดแปลงให้เป็นประโยชน์ทาง อื่นได้อีกด้วย

1. ชานอ้อย (bagasse)
หมายถึงเศษเหลือจากการหีบเอาน้ำ อ้อยออกจากท่อนอ้อยแล้ว เมื่อท่อนอ้อยผ่านลูกหีบชุดแรก อาจจะมี น้ำอ้อยตกค้างเหลืออยู่ยังหีบออกไม่หมด แต่พอผ่านลูกหีบชุดที่ 3-4 ก็จะมีน้ำอ้อย ตกค้างอยู่น้อยมาก หรือแทบจะไม่เหลือ อยู่เลย คือเหลือแต่เส้นใยล้วนๆ ผลพลอยได้อันดับต่อมา ได้แก่ ฟิลเตอร์มัด (filter mud) หรือบางแห่งก็เรียกฟิลเตอร์ เพรสเค็ก หรือฟิลเตอร์เค็ก หรือฟิลเตอร์มัด (filter-press cake, filter or filter muck) ซึ่งจะถูกแยกหรือกรองหรือ ทำให้น้ำอ้อยบริสุทธิ์โดยวิธีอื่นใดก็ตาม สิ่งสกปรกที่แยกออกมาก็คือ ฟิลเตอร์เค็ก ผลพลอยได้ อันดับสุดท้ายจากโรง งานน้ำตาลก็ได้แก่ กากน้ำตาล หรือโมลาส (molasses) ซึ่งมีลักษณะข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ ที่ไม่ สามารถจะสกัดเอาน้ำตาล ออกได้อีกโดยวิธีปกติ

ในอดีตใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงสำหรับ ต้มน้ำในหม้อน้ำให้เดือดแล้ว ใช้กำลังไอน้ำสำหรับเดินเครื่องจักรไอน้ำและสำหรับกำเนิดไฟฟ้าในระยะเวลาต่อ มา ชานอ้อยในยุคก่อน ๆ ยังมีน้ำตาลที่หีบ ออกไม่หมดหลงเหลืออยู่มาก และเป็นการสะดวกในการที่ป้อนชานอ้อยจากลูกหีบลูกสุดท้ายเข้าสู่เตาต้มน้ำ หรือ boiler ได้ทันที ถึงกระนั้นก็ตามชานอ้อยก็ยังคงเหลืออยู่อีกมาก เนื่องจากหม้อน้ำใช้ไม่หมดทำให้เกิดปัญหาในการกำจัด และทำลาย ให้หมดไปจากบริเวณโรงงานแม้ว่าบางโรงงานในแถบเวสต์อินดีสจะดัดแปลงไปใช้ กลั่นเหล้ารัมหรือแอลกอฮอล์บ้าง ชานอ้อยก็ ยังคงเหลืออยู่มากมาย


1.1 การใช้ประโยชน์ชานอ้อยในการอุตสาหกรรม
นักวิจัยได้พยายามคิดค้นหาวิธี นำชานอ้อยไปประดิษฐ์ใช้ให้เป็น ประโยชน์แก่มนุษย์ผลสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ โดยการนำไปอัดเป็นแผ่นคล้ายไม้อัด และใช้ทำเยื่อกระดาษตลอด จนพลาสติกและสารเฟอฟิวราล (furfural) เป็นที่ทราบกันดีว่ากระดาษอัดที่ทำจากชานอ้อย มีคุณสมบัติเก็บเสียงได้ดี และใช้ทำฝ้าเพดาน ตลอดจนใช้บุผนังห้องในบ้านหรือแม้แต่ในเรือและรถยนต์ ในบรรดาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ จากชานอ้อย ต่างก็มีชื่อการค้าจดทะเบียนสิทธิ์ต่าง ๆ กัน เช่น ซีโลเท็กซ์ และเคเน็ก (Celotex and Canec) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะของเส้นใยหรือไฟเบอร์ที่ได้จากอ้อยก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ใช้ มากนัก หรือแม้แต่โรงงานทำเยื่อกระดาษ ห่อของก็ยังต้องการให้ชานอ้อยมีเส้นใยยาวกว่านี้

เมื่อมองในแง่พลังงานซึ่งกำลังมีราคาแพงขึ้นในทุกวันนี้ ชานอ้อยแม้ว่าจะให้พลังงาน น้อยกว่าน้ำมันหรือถ่านหิน แต่ก็เป็นผลพลอยได้ที่โรงงานน้ำตาลไม่ต้องลงทุนซื้อหามาเหมือนน้ำมัน ปิโตรเลียม มีผู้คำนวณไว้ว่า ชานอ้อยหกตันที่มีความชื้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ มี ไฟเบอร์ประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำตาลเหลืออยู่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ จะมีความร้อนเทียบเท่ากับน้ำมันเตาหนึ่งตันทั้งนี้ ถ้าชานอ้อยยิ่งมีความชื้นน้อยมีเปอร์เซ็นต์ไฟเบอร์สูง และมีน้ำตาลซูโครสที่เหลืออยู่สูงก็จะให้ความร้อนสูงมากยิ่งขึ้น โดยวัดค่าความร้อนออกมาเป็น L.C.V. (lower calorific value) ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 2,800 ถึง 3,700 B.T.U. ต่อปอนด์

การทำเยื่อกระดาษจากชานอ้อยมี ประวัติมานาน และมีผู้จดทะเบียนสิทธิ์มาตั้งแต่ปี 1838 ต่อมาก็มีการผลิตกระ ดาษชนิดต่าง ๆ จากเยื่อกระดาษที่ได้จากชานอ้อย ในปี 1856 มีรายงานว่า มีผู้ประดิษฐ์กระดาษชนิดกระดาษหนังสือ พิมพ์ได้จากชานอ้อย จนกระทั่งปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตเยื่อกระดาษจากชานอ้อยได้รุดหน้าไปไกล มาก ชานอ้อยที่จะ ถูกนำมาแยกสิ่งสกปรกและสิ่งที่ละลายปนมาตลอดจน pith ออกก่อนโดยวิธีทำให้เปียกแล้วทำให้แห้งทันที แล้วนำไป ผสมกับเยื่อกระดาษที่ได้จากไม้ไผ่และเยื่อกระดาษจากกระดาษเก่าๆ (cellulosic material) อีกวิธีหนึ่งในการแยก pith ออก ก็โดยวิธีที่เรียกว่า ไฮดราพัลเพอร์ (hydrapulper) คือการใช้น้ำล้างอย่างแรงและชะให้ pith แยกออกโดยผ่านตะแกรง หมุนแล้วทำให้แห้ง

ในแง่ของการทำเยื่อกระดาษ เส้นใยของวัตถุดิบที่นำมาทำเยื่อนับ ว่ามีความสำคัญที่สุด อันดับต่อไปก็คืออัตราส่วนสัมพันธ์ระหว่างความยาวของเส้นใย ต่อเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใย นับเป็นความสำคัญถัดไป Barnes (1964) ได้แยกอัตราส่วนดังกล่าวของพืชต่าง ๆ เทียบกับอ้อยไว้ดังนี้



ส่วนประกอบทางเคมีของชานอ้อยคล้ายกับของไม้เนื้อแข็ง (ไม้เนื้อแข็ง ในแง่การทำเยื่อกระดาษ) ส่วนประกอบดังกล่าวปรวนแปรไปตามชนิดพันธุ์ อายุและสภาพที่อ้อยเติบโตขึ้นมา ชานอ้อยมีลิกนิน (lignin) น้อยกว่าไม้ยืนต้น มีสารเพนโตแซน (pentosan) มากกว่าไม้สนไม้สปรูซ (spruce) และไม้ยืนต้น อื่น ๆ บางชนิด ส่วนประกอบเซลลูโลส ชนิด Cross และ Bevan ของอ้อยมีลักษณะคล้ายกับไม้ที่ใช้ทำกระดาษชนิดอื่น ๆ ขี้เถ้าของอ้อยมีส่วนประกอบผิดแผกจากไม้ชนิดอื่น คือมี ซิลิกา (silica) สูงมาก และมีโพแทสกับแคลเซียมต่ำ เส้นใยอ้อยยก เว้น pith เหมาะสมที่จะนำมาทำเยื่อกระดาษมาก คือ จัดเป็นเยื่อชนิดดี และฟอกสีได้ง่าย ข้อเสีย คือ จำเป็นจะต้องแยก pith ออกก่อนทำเยื่อและ pith ที่แยกออกมาสามารถนำไปสังเคราะห์ทำอาหารสัตว์ได้โดยผสมกับกากน้ำตาล หรือสามารถ ใช้ทำส่วนประกอบของวัตถุระเบิดได้

การทำเยื่อกระดาษก็เพื่อที่จะละลายส่วนที่เป็นลิกนินและเฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) ออกจากชานอ้อย ลิกนินเป็นส่วน หนึ่งซึ่งยึดเส้นใยของชานอ้อยให้ติดกัน ทำให้ไม่สามารถทำให้ได้กระดาษแผ่นบาง ๆ ได้ ส่วนเฮมิเซลลูโลสถ้ามีอยู่เกิน 20% จะทำให้กระดาษที่ได้ขาดง่ายเกินไป ไม่เหนียวและหยุ่นตัว

ก่อนทำเยื่อกระดาษ จะต้องนำชานอ้อยมาล้าง และแยกส่วนที่เรียกว่า “พิท” (pith) ออกก่อน เยื่อที่เหลืออยู่จะถูกนำ ไปย่อย หรือผสมกับส่วนผสมหนึ่ง หรือมากกว่าตามสูตร ซึ่งมักจะปิดบังไม่เปิดเผย เสร็จแล้วนำไปผ่านความร้อน 10 - 12 นาที สิ่งที่ได้เรียกว่า เยื่อกระดาษ ต่อมาเยื่อกระดาษจะถูกนำไปทำให้ขาวโดยการฟอกด้วยนม หรือสารเคมี แล้วแต่ว่าจะนำ เยื่อกระดาษนั้นไปใช้ทำอะไร


1.2 เฟอฟูราล (Furfural)
เฟอฟูราล ซึ่งเป็นสารประกอบที่สกัด ได้จากชานอ้อย มีชื่ออื่นอีก คือ ฟูรอล, เฟอฟูรอล, เฟอฟูราลดีไฮด์ (furol, furfurol, furfuraldehyde) เป็นสารเคมีที่ไม่มีสี ไม่ติดไฟมีกลิ่นหอมและระเหยได้ง่าย เมื่อถูกแสงสว่างหรืออากาศจะเปลี่ยนเป็นสีแดงน้ำตาล เฟอฟูราล ใช้ในอุตสาหกรรม กลั่นไม้และน้ำมันหล่อลื่น หรือใช้เป็นส่วนผสมของกาว หรือตัวการที่ทำให้พลาสติกแข็งตัว นอกจากนี้เฟอฟูราลยังเป็นตัว ละลายชนิดเดียวของสารบูตาดีน (butadiene) ในอุตสาหกรรมผลิตยางสังเคราะห์ และใช้ในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม ส่วน มากในปัจจุบันใช้เป็นวัตถุประกอบสำคัญในการผลิต “ไนลอน 5-6” วัตถุดิบอื่นที่นำมาใช้ผลิตเฟอฟูราลได้อีก ได้แก่ ซังข้าว โพด เปลือกข้าวโอ๊ต เมล็ดฝ้าย แกลบ และชานอ้อย ซึ่งวัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็มีเพนโตแซนและเซลลูโลส ซึ่งเมื่อถูกนำมา ย่อยด้วยกรดซัลฟูริกเจือจาง ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูงถึง 153 องศาเซลเซียส ก็จะได้สารเฟอฟูราลบริสุทธิ์ 98-99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหม้อน้ำ และใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้

ส่วนประกอบเพนโตแซนในชานอ้อยมีอยู่ประมาณ 24 ถึง 32 เปอร์เซ็นต์ และใน pith จะมีอยู่ประมาณ 27.5 ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันนี้ประเทศสาธารณรัฐโดมินิกันเป็นผู้ผลิตสารเฟอฟูราลได้มากที่สุด คือประมาณ ปีละ 30 ล้านปอนด์


1.3 แอลฟา-เซลลูโลส (µ-cellulose)
เป็นสารที่ควรจะเรียกได้ว่าเป็นสารขั้นต้นของเยื่อกระดาษซึ่งได้กล่าวถึงแล้ว วิธีการสกัดสารนี้ ใช้วิธีของ de la Roza (1946) ซึ่งได้จดทะเบียนสิทธิ์เอาไว้ ผลผลิตตามวิธีนี้จะได้เยื่อกระดาษแอลฟาเซลลูโลส จากการกลืนย่อยโดยใช้กรด และด่างถึงประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์

อีกวิธีหนึ่งที่ ใช้สกัดแอลฟาเซลลูโลส เป็นวิธีของ Lynch และ Aronowsky โดยการย่อย ด้วยกรดไนตริค ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เสร็จแล้วล้างและทำให้สะเด็ดน้ำ แล้วย่อยต่อด้วยโซดาไฟ

สารแอลฟาเซลลูโลส นี้ นำไปผลิตสิ่งต่าง ๆ ได้อีก เช่น เซลโลเฟน เรยอง พลาสติก วิสโคส (viscose) เซลลูโลสอาซีเตท ไนโตรเซลลูโลส ซึ่งเป็นสารที่ใช้ทำวัตถุระเบิด เป็นต้น


1.4 พลาสติก (plastics)
พลาสติกมีกรรมวิธีผลิตได้หลายวิธี วิธีหนึ่งก็คือ การใช้ชานอ้อยที่บริสุทธิ์ปราศจาก pith ปั่นให้เป็นผง ใช้เป็นฟิล เลอร์ (filler) ของพลาสติก อีกวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ลิกนิน (lignin) บริสุทธิ์เป็นเนื้อพลาสติก เรียกว่าพลาสติกแท้ ชานอ้อย เป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับทำพลาสติกมาก เนื่องจากหาได้ง่าย ราคาถูกและมีส่วนประกอบทางเคมีเหมาะสมมาก ชานอ้อยมีส่วน ประกอบของลิกนิน 13 ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับสารพลาสติไซส์ วัสดุอื่นที่ได้จากชานอ้อยในการแยกชานอ้อย เพื่อทำพลาสติก ได้แก่สารอนิลินฟินอล และเฟอฟิวราล ซึ่งแยกโดยการไฮโดรไลซ์เพนโตแซนในชานอ้อย

กรรมวิธีอีกแบบหนึ่ง ได้แก่ การย่อยชานอ้อยด้วยกรดซัลฟูริกเจือจางหรือย่อยด้วยน้ำผสมกับ อนิลิน สารเฮมิเซลลูโลสจะถูกละลายออกมา ซึ่งจะทำให้ ส่วนประกอบที่เป็นลิกนินมีมากขึ้น หลังจากนั้นก็ใช้สารละลายชะล้างสิ่งที่ละลายได้ออกไป นำไปทำให้แห้งและบดเป็นผงนำไป ผสมหรือเข้าแบบหล่อร่วมกับสารพลาสติไซส์ จะได้สารชนิดหนึ่งที่มีประกายแข็งสีดำและไม่ละลายน้ำและเป็นฉนวนไฟฟ้า สารที่ได้นี้สามารถนำไปผ่านกรรมวิธีได้สารเรซินที่เรียกว่า “โนโวแลค” (Novolak) ซึ่งเป็นสิทธิจดทะเบียนของบริษัท ล็อค พอร์ดแห่งหลุยเซียนา


1.5 โปรดิวเซอร์แก๊ส (Producer gas)
ได้มีผู้ค้นพบว่าชานอ้อยสามารถผลิตโปรดิวเซอร์แก๊สได้ ซึ่งเป็นสารที่ให้พลังงานเผาไหม้ชานอ้อยที่มีความชื้น 30-50 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำมาผลิตแก็สที่มีค่าพลังงานดังต่อไปนี้

เมื่อต้องการใช้จะต้องให้อากาศ 1 cu.ft ทำปฏิกิริยากับแก๊สนี้ปริมาตรเท่ากัน อัตราการสิ้น เปลืองชานอ้อยต่อหนึ่งแรงม้า/ชั่วโมง มีน้ำหนัก 0.9 ถึง 1.8 กิโลกรัม ถ้าเผาชานอ้อยได้ความร้อนเท่ากับ 100 เปรียบเทียบกับ โปรดิวเซอร์แก๊สน้ำหนักเท่ากันจะให้ความร้อนในการผลิตไอน้ำเท่ากับ 1.8 (เครื่องจักรชนิด non-condensing) และจะได้ ความร้อน 252 Btu จากเครื่องจักรชนิด condensing engine


1.6 การทำไม้อัดชนิด Medium density fiber particle board (MDFB)
โรงงานน้ำตาลส่วนมากจะใช้ชานอ้อยเพื่อเป็นเชื้อเพลิงต้มหม้อน้ำ เพื่อใช้ไอน้ำในการทำน้ำตาลและปั่นกระแส ไฟฟ้าในโรงงาน ทุกปีจะมีชานอ้อยเหลืออยู่มากมายเป็นภาระแก่โรงงาน ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยอย่างน้อย สองโรงงานที่ใช้ชานอ้อยเพื่อผลิตกระดานไม้อัดชนิดความหนาแน่นปานกลาง (MDFB) การผลิตไม้อัดดังกล่าวถือเป็นความ ลับ ของโรงงานซึ่งไม่เปิดเผยแก่สาธารณชน

กรรมวิธี การทำไม้อัด เริ่มจากล้างทำความสะอาดชานอ้อยให้สะอาดปราศจากน้ำตาลโดยการใช้น้ำร้อนหรือ ไอน้ำ ในถังล้างซึ่งหมุนรอบตัวเอง เมื่อสะอาดแล้วชานอ้อยจะถูกส่งเข้าเครื่องทำไม้อัด โดยการผสมกับ resin แล้วอัดลงในกรอบ แผ่นไม้อัดที่ผ่านเครื่องออกมาจะยังคงอ่อนตัวและยังชื้นอยู่ ดังนั้นแผ่นไม้อัดจะถูกส่งเข้าสู่เครื่องรีดอัด เพื่อรีดน้ำออกและ ทำให้แห้งให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ หลังจากนั้นก็นำมาตัดและอบให้แห้ง ไม้อัดที่ได้จะไม่บิดเบี้ยวและทาสีได้ไม่ดูดสี ไม้อัดที่ได้จะสามารถทำให้ทนต่อการทำลายของแมลง เชื้อรา หรือทนต่อฝนหรือน้ำค้างก็สามารถทำได้โดยการอาบน้ำยา ไม้อัด ดังกล่าวมักจะทำให้มีขนาด 153 x 350 ซม. มีความหนา 4 ถึง 40 มม. เพื่อให้เหมาะสมแก่ความต้องการของตลาด (Langreney, F and Hugot, 1969)



2. กากน้ำตาล (Molasses)
เป็น ของเหลวสีดำที่เหนียวข้น ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีกด้วยเครื่องจักรของโรงงานน้ำตาลธรรมดา กากน้ำตาลเป็นเนื้อของสิ่งที่มิใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมีเช่น ปูนขาว ซึ่งใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส ส่วนประกอบของกากน้ำตาลจะปรวนแปรไม่แน่นอน แล้วแต่ว่าได้มาจากอ้อยพันธุ์ไหนและผ่านกรรมวิธีอย่างไร แต่มักจะหนีไม่พ้นน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ทกับน้ำ

ปัจจุบันนี้ โรงงานน้ำตาลทันสมัยมีความสามารถในการสกัดน้ำตาลออกจากกากน้ำตาลได้เกลี้ยง ที่สุด แต่ก็ไม่หมด เสียทีเดียว เพราะถ้าสกัดให้ออกหมดจริงจะสิ้นค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงมีน้ำตาลซูโครสบางส่วนที่สูญเสียไปกับกากน้ำตาล ซึ่งมักจะสูญเสียไปมากที่สุดกว่าที่สูญเสียไปทางอื่น โดยทั่วๆ ไปจะมีซูโครสปนอยู่ในกากน้ำตาลเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์

2.1 ส่วนประกอบของกากน้ำตาล
ต่อไปนี้ คือ ส่วนประกอบของกากน้ำตาล 32 ตัวอย่าง ที่ได้จากโรงงานน้ำตาลในอาฟริกาใต้ ในปี 1957 จากโรงงาน 17 แห่ง

เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
น้ำ 20.65
ซูโครส 36.60
รีดิวซิงชูการ์ 13.00
น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อได้ทั้งหมด 50.50
เถ้าของซัลเฟต 15.10
ยางและแป้ง (gum & starch) 3.01
แป้ง 0.42
ขี้ผึ้ง 0.38
ไนโตรเจนทั้งหมด 0.95
ซิลิกา ในรูป SO2 0.46
ฟอสเฟตในรูป P2 O5 0.12
โพแทสในรูป K2 O 4.19
แคลเซียมในรูป CaO 1.35
แมกนีเซียมในรูป Mg O 1.12


สิ่งสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของกากน้ำตาลก็ คือ น้ำตาลที่ใช้หมักเชื้อได้ทั้งหมดซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก กากน้ำตาลจากบางโรงงานมีส่วนประกอบนี้ ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นน้ำตาลชนิดอินเวอร์ท


2.2 ประโยชน์ของกากน้ำตาล
อุตสาหกรรม การผลิตเหล้าและแอลกอฮอล์ เป็นแหล่งใหญ่ที่ต้องการกากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ สำคัญในอุตสาหกรรม ผลิตน้ำตาลและแอลกอฮอล์ ผลผลิตที่ได้จากการหมักกากน้ำตาลได้แก่เอทิลแอลกอฮอล์ บิวธิลแอลกอฮอล์ อาซีโตน กรดซิตริก กลีเซอรอล (glycerol) และยีสต์ เอทิลแอลกอฮอล์ใช้ทำกรด อาซีติค เอธีลอีเธอร์ ฯลฯ สารประกอบอื่นที่ ได้จากการหมักกากน้ำตาล ได้แก่ เอธิลอาซีเตท บิวธิลอา-ซีเตท อามีลอาซีเตท น้ำส้มสายชู และคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง ในอดีตชาวเกาะเวสต์อินดีส ผลิตเหล้ารัมจากกากน้ำตาล นอกจากนั้นถ้านำกากน้ำตาลที่ทำให้ บริสุทธิ์ไปหมักและกลั่นจะได้ เหล้ายิน (gin) ส่าเหล้าหรือยีสต์ที่ตายแล้ว เป็นผลพลอยได้ซึ่งนำไปทำอาหารสัตว์ นอกจากนี้กากน้ำตาลยังใช้ทำยีสต์สำ หรับทำขนมปังและเหล้าได้ด้วย ยีสต์บางชนิดที่ให้โปรตีนสูงคือ Torulopsis utilis ก็สามารถเลี้ยงขึ้นมาได้จาก กากน้ำตาล กากน้ำตาลสามารถนำมาทำกรดเป็นแลคติคได้ แม้ว่าจะทำได้น้อยมาก

ในอดีตชาวปศุสัตว์ ใช้กากน้ำตาลผสมลงในอาหารสัตว์ แต่ก็มีขีดจำกัด กล่าวคือ วัวตัวหนึ่งไม่ควรรับกากน้ำตาล เข้าไปเกิน 1.5 ปอนด์ สัตว์ชอบกินกากน้ำตาลคลุกกับหญ้าเพราะช่วยทำให้รสชาติดี รวมทั้งการใส่กากน้ำตาลในไซเลจ (silage) อีกด้วย

มีผู้วิจัยทดลองใส่แอมโมเนียลงใน กากน้ำตาล พบว่า สามารถผลิตโปรตีนได้และสัตว์สามารถกินกากน้ำตาล นี้เข้าไปและทำให้สร้างโปรตีนขึ้นในร่างกายสัตว์ได้ จึงเป็นสิ่งที่ประหลาดที่กากน้ำตาลเป็นสารคาร์โบไฮเดรต สามารถถูกสัตว์ เปลี่ยนไปเป็นโปรตีน ได้ผลดี

ส่วประกอบสำคัญของน้ำอ้อยอีกชนิดหนึ่งก็คือ กรดอโคนิติค ซึ่งจะผสมรวมอยู่ในกากน้ำตาล ซึ่งเราสามารถแยก ได้โดยการตกตะกอนด้วยเกลือแคลเซียม กรดอโคนิติคนี้มีความสำคัญในการผลิตยางสังเคราะห์ พลาสติก เรซิน และสาร ชักเงา

ประโยชน์ สุดท้ายของกากน้ำตาลก็คือ การใช้ทำปุ๋ยหรือปรับคุณภาพดิน กากน้ำตาลมีส่วนประกอบของโพแทสเซียม อินทรีย์วัตถุ และธาตุรองอื่น ๆ อีกมาก นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับปรับสภาพดินทราย หรือดินเลวที่ไม่มีการเกาะตัว เนื่องจากขาดอินทรีย์วัตถุอีกด้วย ประโยชน์สุดท้ายใช้ผสมกับชานอ้อยสำหรับทำถ่านใช้ในครัวเรือน




3. ผลิตผลที่ได้จากการหมัก
3.1 เหล้ารัม
น้ำ เหล้าที่ได้จากการกลั่นเมรัยของน้ำอ้อย หรือกากน้ำตาล เราเรียกว่า เหล้ารัม เหล้ารัมดูเหมือนจะเป็น เครื่องหมายการค้าของอุตสาหกรรมน้ำตาลในแถบทะเลแคริบเบียน ในสมัยโบราณมนุษย์รู้ว่าน้ำอ้อยถ้าเอาไปหมักจะทำให้ได้ เมรัยชนิดหนึ่ง แต่กำเนิดของเหล้ารัมนั้นเพิ่งจะเริ่มเอาเมื่ออุตสาหกรรมน้ำตาลรุ่งเรือง ขึ้นมา ในหมู่เกาะเวสต์อินดีสในคริตส์ ศตวรรษที่ 17 นี่เองในสมัยที่น้ำตาลจากอ้อยพ่ายแพ้น้ำตาลจากหัวผักกาดหวาน บรรดาโรงงานน้ำตาลสามารถดำรงอยู่ได้ก็ โดยการผลิตเหล้ารัมออกมาจำหน่าย ดังจะเห็นได้ว่าด้านหนึ่งของโรงงานน้ำตาลมักจะมีถังหมักเหล้า โรงกลั่น และโรงเก็บเหล้า อยู่ใกล้ ๆ จนแทบจะเรียกได้เป็นสัญญลักษณ์ของโรงน้ำตาลเลยทีเดียว

ลักษณะการผลิตเหล้ารัมในอดีตนั้น อาศัยความชำนาญของผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ หรือเคมีเข้าไปช่วยแต่อย่างใด ความสามารถส่วนตัวของผู้ผลิตก็ไม่เคยเผยแพร่ให้ผู้ใดรู้นอกจากลูกหลานผู้สืบ สกุลเท่านั้น แม้แต่ลูกจ้างแรงงานที่เข้ามารับจ้างทำงานถือเสมือนว่ามาขอรับการถ่ายทอด วิชาจากผู้ผลิต จึงได้รับค่าจ้างแต่เพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เท่านั้น เล่ากันว่าผู้ผลิตเหล้ารัมบางยี่ห้อเมื่อหมักเหล้าได้ที่แล้ว ต้องการหยุดปฏิกริยาของเชื้อยีสต์ก็จะโยนเนื้อ สักก้อนหนึ่ง หรือซากสัตว์ตายสักตัวหนึ่งลงไปในถังหมักเพื่อให้ได้รสชาติที่เป็นลักษณะ เฉพาะตัวของเหล้ารัมยี่ห้อนั้น ๆ ดังนั้นเหล้ารัมแต่ละยี่ห้อจึงมีรสชาติเฉพาะตัว ไม่มีการเลียนแบบกันได้ บางเจ้าของก็มักจะอ้างว่าที่เหล้ารัมของเขา มีรสชาติ อร่อยก็เพราะเนื้อดินที่ปลูกอ้อยเอามาทำรัมนั้น ไม่เหมือนใครผู้ผลิตเหล้ารัมแต่ละเจ้าของก็พยายามรักษา คุณสมบัติรสชาติ เหล้ารัมของตนเองไว้ จวบจนถึงยุคน้ำตาลซบเซาเจ้าของที่ดินรายย่อยจำเป็นต้องมารวมกันเพื่อสร้าง โรงงานน้ำตาลกลางขึ้น จึงทำให้เจ้าของที่ดินรายย่อยหลายเจ้าของมารวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว แต่มีเหล้ารัมหลายยี่ห้อทั้งนี้ เพราะผู้ผลิตเหล้ารัม แต่ละเจ้าของต่างก็พยายามรักษาสูตรของตัวไว้เป็นความลับถึงแม้เหตุการณ์ผ่าน มานานเป็นศตวรรษ แต่เหล้ารัมยี่ห้อเก่าก็ ยังคงรักษารสชาติและกลิ่นของตัวเองตลอดมา

เหล้ารัมที่ผลิตจากหมู่เกาะเวสต์อินดิส มักจะมีลักษณะเฉพาะตัว มีกลิ่นและรสชาติพิเศษ ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะ เหล้าเหล่านี้ ถูกหมักในถังหมัก ที่ไม่มีการถ่ายเท (pot stills) ทำให้สารบางชนิดที่ประกอบอยู่ในน้ำอ้อย หรือกากน้ำตาลถูก เชื้อยีสต์เข้าย่อยจนครบถ้วนขบวนการทำให้ได้สารเอสเทอร์ของเอธิลและบิวธิล อาซีเตท ซึ่งเรียกเป็นภาษาตลาดว่า “อีเทอร์” ในเหล้ารัมที่จัดว่าเป็นพวก “หนัก” จะมีอีเทอร์มากกว่ารัมที่เป็นพวก “เบา” ในเหล้ารัมเราจะพบกรดอินทรีย์ อัลดีไฮด์ (โดย เฉพาะอาซีตัลดีไฮด์) น้ำมันฟูเซล (fusel oil) และเฟอฟิวราลเหล้ารัมจากจาไมกามีกลิ่นหอมพิเศษ เนื่องมาจากสารประกอบ ในน้ำอ้อยบางชนิดถูกสร้างขึ้นโดยบักเตรีชนิดอาซีติค, แลกติก และบิวทีริค ในอดีตคอเหล้ารัมนิยมเหล้ารัม ชนิดหนักมาก กว่าแต่เนื่องจากมันมีกลิ่นติดริมฝีปากอยู่นาน ปัจจุบันคนจึงไม่ค่อยนิยมหันมานิยมชนิด “เบา” มากกว่าซึ่งชนิด “เบา” นี้ใช้ หมักและกลั่นในถังแบบคอลัมน์ และมีลักษณะคล้ายวิสกี้และยินมากกว่าถังหมักชนิดถ่ายเทได้ (continuous stills) ทำให้ สามารถแยกกลิ่นที่ไม่ต้องการออกไปได้ทำให้เหล้ารัมในปัจจุบันนี้มีกลิ่นและ รสชาติไม่เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม

เมื่อกลั่นออกมาใหม่ ๆ เหล้ารัมจะมีความแรง 40 ถึง 60 ดีกรี ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเฉพาะตัวเหมือนเหล้ารัม เมื่อจะส่งสู่ตลาดจึง ผสมคาราเมลลงไปเพื่อทำให้มีสีน่าดื่ม ผู้ผลิตจะเก็บรัมไว้เพื่อให้ได้อายุ และผสมกลิ่นสีให้ถูกใจผู้ซื้อเมื่อได้อายุตามที่ต้องการ

การ ผลิตเหล้ารัมมีขบวนการคล้ายกับการผลิตแอลกอฮอล์มาก เพียงแต่ว่ากากน้ำตาลที่นำมาผลิตแอลกอฮอล์นั้น ไม่มีการทำให้สะอาดเสียก่อน และยีสต์ที่ใช้ใส่ลงไปก็ไม่บริสุทธิ์ ยีสต์ที่ใช้ก็คือ Saccha-romyces cerevisiae ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสเตรน (Strain) และมักจะมีอยู่แล้วในน้ำอ้อยหรือติดอยู่ตามถังหมัก กากน้ำตาล 2 ถึง 3 แกลลอนจะ ผลิตปรูฟรัม (proof rum) ได้ 1 แกลลอน การเปลี่ยนแปลง น้ำตาลจะเกิดขึ้นสมบูรณ์มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์และจาก ปรูฟรัมนี้ จะกลั่นแอลกอฮอล์ได้ 40-60 เปอร์เซ็นต์

จนกระทั่งประมาณ ปี 1950 การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตรัม ยังมีอยู่น้อยมาก ดังนั้น ประสิทธิภาพจึงต่ำ ผู้ผลิตก็ไม่ ติดใจที่จะปรับปรุงวิธีการให้ดีขึ้น เพราะวัตถุดิบมีต้นทุนต่ำ ต่อมาจึงได้มีความต้องการเหล้ารัมชนิด “เบา” มากขึ้น จึงมีการไหว ตัวตามตลาด โดยปรับปรุงการทำให้กากน้ำตาลบริสุทธิ์มากขึ้น การคัดพันธุ์ยีสต์ที่ใช้ เหล่านี้ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น


3.2 อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์
ประเทศที่ผลิตน้ำตาลมาแต่ดั้งเดิมส่วนมากรู้จักทำแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาล ประเทศเกิดใหม่บางประเทศ แม้จะไม่ปลูกอ้อยก็พยายามนำเข้ากากน้ำตาลจากประเทศอื่น เพื่อนำไปผลิตแอลกอฮอล์ใช้ภายในประเทศ ปัจจุบันเทคนิค ในการผลิตแอลกอฮอล์ นับว่าได้ประสิทธิภาพสูงมากตรงตามทฤษฎี ประเทศอาเยนตินาและไต้หวันรู้จักใช้แอลกอฮอล์ จากอ้อยสำหรับเติมรถแทรกเตอร์ และกำเนิดไฟฟ้ามานานหลายสิบปี ขบวนการผลิตแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาลที่ เรียกว่า azeotropic process เป็นการผลิตแอลกอฮอล์แอนไฮดรัส (anhydrous alcohol) ใช้ผสมกับน้ำมันเบนซินในท่อไอดีรถยนต์ หรือรถแทรกเตอร์ เนื่องจากแอลกอฮอล์แบบนี้ผสมกับเบนซินในอัตราส่วน 20-30 % ได้ ผิดกับแอลกอฮอล์ชนิดที่ใช้ทำเหล้า (rectified spirit) นักวิทยาศาสตร์ของกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้ทดลองเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า แอลกอฮอล์ผสม กับเบนซินอัตรา 14-25 เปอร์เซ็นต์ทำให้เครื่องยนต์ของรถยนต์เดินได้ดี เรื่องการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยนี้ เป็นเรื่องที่ กำลังสนใจกัน โรงงานแอลกอฮอล์ของกรมสรรพสามิต จังหวัดพระนครศรีอยุธยาดำเนินการผลิตแอลกอฮอล์ จากกากน้ำ ตาลมาเป็นเวลานานกากน้ำตาล invert sugar ประมาณ 50% จะผลิตแอลกอฮอล์ได้ 4 : 1 ต้นทุนการผลิตประมาณลิตรละ 6 บาท ทั้งนี้ โดยการสนทนากับคุณอบ นาคอ่วม ผู้จัดการโรงงาน (พ.ศ. 2525)


3.3 ส่าเหล้า (Dunder or distillery slops)
เป็นเศษเหลือที่ได้จากการทำเหล้ารัม เศษเหลือนี้เป็นปัญหาสำหรับโรงเหล้าในการกำจัดทิ้ง แต่ส่าเหล้านี้มีโพแทส เหลือปะปนอยู่ด้วยจำนวนมาก โรงเหล้าจึงใช้ส่าเหล้านี้ใส่ลงในไร่อ้อย หรือถ้าหากนำส่าเหล้านี้ไปเผา จนเป็นขี้เถ้าจะมีส่วน ประกอบของโพแทสอยู่ถึง 37.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใช้เป็นปุ๋ยโพแทสได้ดี


3.4 อาซีโตนและบิวตานอล (acetone and butanol)
นอกจากจะใช้ผลิตเหล้ารัมและแอลกอฮอล์แล้ว กากน้ำตาลยังใช้ผลิตอาซีโตนและบิวตานอล (acetone and butylalcohol) ได้อีกด้วย ทั้งนี้ แทนที่จะใช้เชื้อยีสต์เป็นตัวหมักก็ใช้บักเตรีแทน แม้ว่ามนุษย์สามารถผลิตอาซีโตน และ บิวตานอลได้โดยวิธีอื่น แต่วิธีการหมักนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่บักเตรีที่ใช้คือเชื้อ Clostridia ซึ่ง จะย่อยน้ำตาลซูโครส ในกากน้ำตาลที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาก่อน (sterilized) ขบวนการเต็มไปด้วยขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนและสะอาดสะอ้าน เครื่องมือ เครื่องใช้จะต้องนึ่งฆ่าเชื้อเสียก่อน การหมักใช้เวลา 36-48 ชั่วโมง ซึ่งจะเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจนเกิดขึ้น ถัดจากนั้นก็นำของเหลวที่ได้ไปแยกด้วยวิธีกลั่นแยกส่วน ทำให้ได้บิวตานอล, เอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ และอาซีโตน บริสุทธิ์สิ่งที่มีราคาก็คือบิวตานอล ส่วนที่เหลือจากการกลั่นได้แก่โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

ถ้านำเอทิลแอลกอฮอล์ไปทำปฏิกิริยา ต่อไปจะได้เอธิลอาซีเตท ซึ่งมีประโยชน์ใช้เป็นตัวทำลายที่ดี ใช้กันมากใน อุตสาหกรรมการพิมพ์และการผลิตหนังเทียม หรือใช้ละลายเซลลูลอยด์หรือยางไม้ (resins and gum) ซึ่งใช้ใน อุตสาหกรรมการเคลือบผิววัสดุ

บิวธิลอาซีเตท ใช้ในการสกัดสารฟีนอล หรือใช้ผสมเคมีเคลือบผิวไนโตรเซลลูโลส แลคเกอร์ บิวธิลอาซีเตท ระเหยได้เร็ว เป็นตัวทำลายที่ดีมาก และเคลือบผิวไม่ลอก ใช้ได้ทั้งร้อนและเย็น

สารอามีลอาซีเตท ซึ่งได้จากผลิตภัณฑ์จากกากน้ำตาลเช่นกัน ก็เป็นตัวทำละลายที่ดี ใช้ในเคมีเคลือบผิว ไนโตรเซลลูโลส นอกจากนี้ยังใช้อุตสาหกรรมผลิตกลิ่น ผสมอาหารได้ดีที่สุดอีกด้วย

อาซีโตน เป็นตัวทำละลายที่ดีอีกตัวหนึ่งที่เรารู้จักดี ใช้ละลายอเซทีลีน ใช้ทำกาวฟิล์มถ่ายรูป กระจกนิรภัย และเรยอง (cordite) ในแง่ที่เป็นตัวทำละลาย ที่ดีมันจึงถูกนำมาผสมกับน้ำมันเครื่องรถยนต์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมเภสัช หรือให้สกัดสารอินซูลินจากไต ฮอร์โมน ฯลฯ อาซีโตน เป็นสารอินเตอร์มีเดียทของสารประกอบหลายชนิด เช่น วิตามินซี (ascorbie acid) โคลโรฟอร์ม ไอโอโดฟอร์ม, ซัลโฟนอล เมธิลเฮฟทีโนน เป็นต้น

บิวธิลแอลกอฮอล์ เป็นตัวทำละลายอีกเช่นเดียวกัน ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสารเคลือบผิวที่ให้คุณลักษณะเป็นเงา และต้าน ทานต่อการขูดขีดได้ดี ใช้ทำน้ำมันเบรคชนิดที่ใช้กับรถยนต์ขนาดกลาง ได้ดีอีกด้วย นอกจากนั้นแอลกอฮอล์ชนิดนี้ยัง ใช้ทำ เป็นตัวการทำพลาสติก (plasticizer) ได้ดี คือ ใช้ ผลิตสารไดบิวธิลฟธาเลต (dibutyl phthalate)


3.5 เชื้อยีสต์ที่ใช้เป็นอาหาร
SCP หรือ single cell protein คือสิ่งที่ได้จากยีสต์ ปริมาณมาก นำมาทำให้แห้ง ใช้เป็นอาหาร ยีสต์ชนิดนี้คือ Torulopsis utilis Var.major ผลิตได้จากน้ำอ้อยผสมธาตุอาหารบางอย่างและอ๊อกซิเจน ประเทศจาไมการู้จักผลิต SCP นี้เป็นครั้งแรกในปี 1964 เพื่อที่จะผลิตสารโปรตีน ราคาถูกให้เป็นอาหารแก่ประชาชนที่ได้รับทุกข์จากสงครามโลก ครั้งที่ 2 จาไมกามีกากน้ำตาล เหลือใช้มากมายจึงเป็นการลงทุนที่ได้ผลคุ้มค่า ภายหลังต่อมาปรากฏว่าราคากากน้ำตาลสูงขึ้นจนโรงงานผลิตยีสต์ขาดทุน ต้องปิดตัวเอง ปัจจุบันมีโรงงานชนิดนี้ที่อาฟริกาใต้ ผลิตอาหารที่มีโปรตีนสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 2 เปอร์เซ็นต์ และวิตามินบี หลายชนิด


3.6 ขบวนการผลิตยีสต์ SCP
วิธีการผลิตยีสต์เพื่อใช้ เป็นอาหารนั้น ก่อนอื่นต้องทำให้กาก น้ำตาลบริสุทธิ์เสียก่อนโดยการทำให้อุ่นทีละน้อยจนใส โดยเติมซูเปอร์ฟอสเฟตลงไป จะมีตะกอนเกิดขึ้นเมื่อเติมสารละลาย โซดาไฟ (caustic soda) ลงไป ต่อไปก็แยกส่วนที่ใสออกโดยการริน นำส่วนที่ใสนี้ไปใช้ ข้อสำคัญไม่ควรให้กากน้ำตาล ที่ใสแล้วนี้ถูกกับเหล็ก ภาชนะที่ใช้ควรเป็นสเตนเลสสตีล นำกากน้ำตาลใสมาเคี่ยวต่อไป ส่วนที่เป็นน้ำตาลจะจับตัวเหนียว และตกตะกอนกับโซดาไฟ แยกส่วนใสออก

ก่อนที่จะนำกากน้ำตาลไปหมัก เตรียมสารละลายของแอมโมเนียมซัลเฟตผสมกับ ซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดที่บริสุทธิ์ ปราศจากสารอาเซนิค เสร็จแล้วนำไปผสมกับสารละลายโซดาไฟค่อย ๆ เติมสารละลายนี้ลงในกากน้ำตาลใสที่บรรจุอยู่ใน ถังเหล็กกล้าทรงสูง ที่มีอากาศ ออกซิเจนปั๊มลงไป อากาศที่ปั๊มลงไปจะช่วยให้เซลล์ของยีสต์แบ่งตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ต้องต่อขดนำความเย็นลงไปในถังด้วย เพื่อปรับอุณหภูมิที่เกิดจากการหมักให้ต่ำลงเท่าสภาพปกติ คือ อยู่ระหว่าง 48.3 องศาเซลเซียส และควรจะให้กากน้ำตาลที่หมักมี pH 3.9 ถึง 4.4 ในขณะเดียวกันค่อย ๆ เติมสารละลายคลอรีนลงไป และตวงสารละลายแอมโมเนียม-ซัลเฟตกับซูเปอร์ฟอสเฟตลงไปตามส่วน

ในขณะนี้ยีสต์จะถูกสร้างขึ้นจนมี ความเข้มข้น ขบวนการหมักยีสต์คงดำเนินต่อไป สารละลายที่เติมให้เป็นอาหาร แก่ยีสต์ก็ยังคอยเติมอยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งสารละลายล้นถังหมักออกไปทางท่อระบาย ความจริงขบวนการนี้เป็นการกระทำ ให้ห้องปฏิบัติการเพื่อเลี้ยงยีสต์ให้เพียงพอ เสร็จแล้วนำยีสต์นี้ไปถ่ายลงให้เป็นเชื้อในถังหมักขนาดยักษ์ที่เรียกว่า seed fermenter ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมยีสต์จะถูกปล่อยไว้ให้ขยายตัวไปอีกเล็กน้อย จนกระทั่งถึงรอบที่จะต้องถ่ายถังหมัก เนื่องจากอัตราการขยายตัวของยีสต์ลดลง ขบวนการนี้จะต้องทำด้วยความสะอาดและระมัดระวังในการเตรียมสารละลายต่าง ๆ ให้มีความเข้มข้นคงที่และเหมาะสมตลอดจนอุณหภูมิก็จะต้องควบคุมให้เหมาะสมอีก ด้วย

การแยกยีสต์ออกจากถังหมัก ต้องใช้เครื่องแยกที่ เรียกว่า Delaval ซึ่งมีขั้นตอนอยู่ 2 ขั้น คือ การทำให้ยีสต์ หยุดการทำงานโดยความร้อนจากไอน้ำ แล้วอบจนกระทั่งยีสต์ลอกออกเป็นเกล็ด ๆ สีน้ำตาลอ่อน มีความชื้นอยู่ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยีสต์นี้เมื่อแห้งแล้วจะเหลืออยู่เพียง 1.5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักสด มีน้ำหนัก 27 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ต่อหนึ่งลูกบาศก์ฟุต


4. ผลผลิตที่เป็นอาหารอย่างอื่น
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ส่าเหล้ารัมที่เป็นเศษเหลือ สามารถนำไปทำอาหารสัตว์ได้เช่นเดียวกันเศษเหลือของกาก น้ำตาลจากการเลี้ยงยีสต์ก็สามารถนำไปทำอาหารสัตว์ได้ ถังหมักจะมีท่อแยกส่วนที่เหลือจาก การหมักนำลงไปรวมกัน แล้วทำให้แห้ง แบบเดียวกันกับการทำยีสต์อาหารที่ได้จากเศษเหลือของยีสต์ที่แห้งแล้วนี้ มีโปรตีน และวิตามินมากพอสม ควร



การใช้กากน้ำตาลเป็นอาหารสัตว์
ในบางปีราคาของกากน้ำตาลต่ำมาก กสิกรจึงนำกาก น้ำตาลไปเลี้ยงสัตว์ คุณค่าทางอาหารของกากน้ำตาลอยู่ที่น้ำตาล ซึ่งให้พลังงานสูงและสัตว์ชอบกิน นอกจากนั้นยังมีธาตุ อาหารโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุอาหารปริมาณน้อยอื่น ๆ รวมทั้งวิตามินบี ชนิดต่าง ๆ อีกด้วย

มีผู้วิเคราะห์แล้วว่า กากน้ำตาลมีคุณค่าทางอาหารเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของข้าวโพดซึ่งบางครั้งสูงถึง 85 เปอร์เซ็นต์ คุณค่าทางอาหารจะสูงยิ่งขึ้น ถ้าใช้กากน้ำตาล 10 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง เคยมีผู้ทดลองผสมยูเรียและ แอมโนเนียลงในกากน้ำตาลเพื่อเลี้ยงสัตว์ ซึ่งพบว่าให้โปรตีนสูง ในกรณีที่ไม่มีอาหารสัตว์เพียงพอ กสิกรอาจจะใช้ซังข้าว โพด และฟางผสมด้วยกากน้ำตาลจะทำให้สัตว์อ้วนท้วนและกินอาหารได้มากขึ้น

กากน้ำตาลเป็นสิ่งจำเป็นในการทำไซเลจให้แก่สัตว์กิน ชาวจาไมกาใช้กากน้ำตาลราดไปบน ไซเลจทำให้วัวนมกินอาหารได้มากขึ้น และวัวนมได้รับโปรตีน และธาตุอาหารที่ต้องการจากกาก น้ำตาลตลอดฤดูหนาวที่วัวนม จำต้องอยู่ในคอกตลอดเวลาด้วย



สูตรอาหารเลี้ยงวัวขุนก่อนส่งตลาด มีดังนี้
กากน้ำตาล 40 เปอร์เซ็นต์
ข้าวโพดป่น 35 เปอร์เซ็นต์
เส้นใยแข็งจากชานอ้อย 12 เปอร์เซ็นต์
กากถั่ว 8 เปอร์เซ็นต์
ยูเรีย 2 เปอร์เซ็นต์
วิตามินแร่ธาตุต่าง ๆ 3 เปอร์เซ็นต์

สูตรอาหารนี้จะมีโปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ ให้สัตว์กินตลอดเวลาจึงมีโปรตีนไม่สูงมากเกินไป วัวหนึ่งตัวต้องการอาหาร นี้ 15 ปอนด์ ต่อวัน ควรจะผสมยอดอ้อยสดหั่นฝอย 40 ปอนด์ต่อตัวด้วย



4.1 ฟิลเตอร์เค็ก
การสกัดขี้หม้อกรอง (filter mud or filter cake)
ฟิลเตอร์มัด หรือชาวโรงงานชอบเรียกว่า ขี้หม้อกรอง มีประโยชน์ใช้เป็นปุ๋ยอ้อยได้ดีที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ได้จาก อ้อย และเหมาะสำหรับดินที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส ปรกติโรงงานน้ำตาลที่มีใจเป็นธรรมควรจะคืนขี้หม้อกรองให้แก่ชาวไร่อ้อย ให้ได้ขนไปใส่ไร่อ้อยโดยไม่คิดมูลค่า เมื่อขนไปสู่ไร่แล้ว ชาวไร่ควรทิ้งกองไว้ 1-3 เดือน ให้ขบวนการหมักสิ้นสุดลงแล้วจึง นำไปหว่านในไร่อ้อย ขี้หม้อกรองแห้ง ๆ ที่กองสุมเอาไว้อาจลุกเป็นไฟได้เอง เพราะความร้อนภายในของมัน

ฟิลเตอร์เค็ก มีชื่อหลายชื่อดังกล่าวแล้ว บางแห่งก็เรียก mill mud คุณภาพของฟิลเตอร์เค็ก แตกต่างกันไปตาม ท้องถิ่น พันธุ์อ้อย วิธีการสกัดน้ำตาลและชนิด และแบบของเครื่องอุปกรณ์ในการกรองน้ำตาล สถาบันวิจัยพืชไร่ ได้เก็บตัว อย่างชานกากอ้อย ฟิลเตอร์เค็กเก่า และฟิลเตอร์เค็กสด นำมาวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ดูในตารางที่ 3


4.2 ไขอ้อย
เปลือกอ้อย แต่ละพันธุ์จะมีไขหรือขี้ผึ้งหุ้มอยู่มากน้อยแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของอ้อย ไขหรือขี้ผึ้งส่วนหนึ่งจะติด ไปกับน้ำอ้อยอีกครึ่งหนึ่งจะติดไปกับชานอ้อย ส่วนที่ติดไปกับน้ำอ้อยจะถูกแยกออกไปกับฟิลเตอร์เค็ก แต่ก็ยังคงมีบางส่วน ติดไปกับกากน้ำตาลบ้าง


การสกัดไขจากลำอ้อย (wax)
ลำอ้อยจะห่อหุ้มด้วยใขบาง ๆ อ้อยบางพันธุ์จะมีไขหุ้มหนาบริเวณข้อและกาบใบ เมื่อลำอ้อยถูกส่งเข้าหีบประมาณ ครึ่งหนึ่งของไขจะปนลงไปกับน้ำอ้อย ที่เหลือจะติดไปกับชานอ้อย ส่วนที่ติดไปกับน้ำอ้อยจะถูกทำให้ตกตะกอน เมื่อผ่าน กระบวนการทำใส หรือถูกสกัดออกติดไปกับขี้หม้อกรอง ไขส่วนน้อยจะติดไปกับน้ำเชื่อมเข้าสู่ขบวนการทำน้ำตาล ไขพวกนี้ จะมีจุดเดือดต่ำ นักวิชาการหลายประเทศสนใจที่จะแยกเอาไขออกมาจากขี้หม้อกรองเพื่อนำไปใช้ ประโยชน์ ไขของอ้อยมีคุณ ภาพใกล้เคียงกับไขที่ได้จากพืชหลายชนิด (ตารางที่ 2) ไขของคารเนาบาใช้เป็นไขเคลือบสีรถยนต์ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง รถยนต์เมื่อเคลือบสีด้วยคารเนาบาจะมีสีสวยเป็นเงางาม ถูกฝนหรือน้ำค้างไม่ซึมหรือถูกล้างออกไปง่าย ๆ นอกจากนั้นไข จากพืชสามารถนำไปทำกระดาษไข และลิบสติกได้

ขี้หม้อกรองมีความชื้นอยู่ 60-80% มีไขจากอ้อยอยู่ประมาณ 6% (บางครั้งอาจสูงถึง 20 % แล้วแต่ชนิดพันธุ์อ้อย) ไขของอ้อยจะมีเหลืออยู่น้อยหากมีการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว



การที่จะได้ขี้ผึ้งจากอ้อยมากน้อยเพียงใดนั้น ประการแรก อ้อยจะต้องไม่เผา พันธุ์อ้อยจะต้องเป็นพันธุ์ที่มีไขปกคลุมตามลำอ้อยมาก จึงจะสกัดไขได้มากกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ ตามสถานที่ปลูกอ้อยก็ทำให้อ้อยมีขี้ผึ้งมากน้อยต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่นอ้อยที่ปลูกที่ตรินิแดดมีขี้ผึ้ง 9-10.8 เปอร์เซ็นต์ แต่ในขณะเดียวกันอ้อยพันธุ์เดียวกันที่ปลูกที่เกาะเซนต์คิทท์ ให้ขี้ผึ้ง 16.2-18.3 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เบนซีนเป็นสารสกัด

ขี้ผึ้งที่ สกัดออกมาได้ต้องนำมากลั่นให้สะอาดเสียก่อน ซึ่งวิธีการยังไม่มีการเปิดเผยจากบริษัทผู้ผลิตจำหน่าย ตามปกติโรงงานน้ำตาลธรรมดาถ้ามีอุปกรณ์ครบถ้วนก็สามารถจะสกัดขี้ผึ้งออกจาก ฟิลเตอร์เค็กได้ แต่การที่จะกลั่นขี้ผึ้ง จะต้องส่งไปที่โรงงานขี้ผึ้งซึ่งเป็นโรงงานที่มีความถนัดในการนี้โดยเฉพาะ


ไขที่สกัด ด้วยวิธีดังกล่าวจะได้ประมาณ 60% โดยน้ำหนักของไขหยาบโดยทั่ว ๆ ไปเมื่อนำขี้หม้อกรองมาใส่ไว้ในภาชนะสามสัปดาห์ อุณหภูมิจะสูงขึ้นถึง 93 องศาเซลเซียส ความชื้นจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 15% ใช้ฆ้อนทุบขี้หม้อกรองให้ละเอียด ร่อนให้ได้เฉพาะส่วนที่ละเอียดนำไปสกัดในถังด้วย เบนซิน (benzene) นำเบนซีนไปกลั่นและชะล้างไขหยาบที่ได้ด้วยน้ำ นำไขหยาบไปแยกแคลเซียมออกโดยนำไปทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ แยกเอาแคลเซียมออกไป นำส่วนที่ได้มาทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ในภาชนะที่มีที่กวนตลอดเวลา แอลกอฮอล์จะละลาย fatty material ออกไป หลังจากการสกัดด้วยแอลกอฮอล์เช่นนี้ 3 ครั้ง จะได้ไขของอ้อย ส่วนแอลกอฮอล์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ไขจากอ้อยยังไม่บริสุทธิ์แท้จริงเพราะมีสีคล้ำ ต้องนำไปฟอกสีโดยต้มกับ aqueous potassium chlorate และกรดกำมะถันเจือจาง เมื่อแยกส่วนสกปรกออกไปจะได้ไขบริสุทธิ์สีขาวของอ้อย ส่วนสารละลายที่มีสีดำแยกออกทิ้งไป ไขที่ได้จากอ้อยมีคุณภาพทัดเทียมกับไขที่ได้จากพืชอื่น (ตารางที่ 2) แต่การตั้งโรงงานสกัดไขจากอ้อยจะต้องพิจารณาให้ดี เพราะหากเมื่อใดเกษตรกรชาวไร่อ้อยเปลี่ยนไปปลูกอ้อยพันธุ์ใหม่ที่มีไขน้อยลง โรงงานสกัดไขจากอ้อยอาจจำต้องปิดโรงงานไปโดยปริยาย



เอกสารอ้างอิง
Atchison, J.E. 1974. Present status and future potential for utilization of bagasse in the pulp, paper and paper board industry. Proc. Int. Soc. Sug. Cane Technol. 15 : 1851-63

Barnes , A.C. 1964. The Sugar Cane. Interscience Pub. Inc

Langreney, F. and Hugot, E. 1969. The Bagapan particle board. Proc. Int. Soc. Sug. Cane Technol. 13 : 1891-96

Wiggin, L.F. 1949. Sugar Cane wax (Part I). Proc. Br. W. Indies. Sug. Technol 1949, 24-28





http://www.sugarzone.in.th/know/know2.asp
http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=443325&chapter=6
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/08/2011 8:09 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

351. ผลิตภัณฑ์จากข้าว


............. ฯลฯ ................




8. ข้าวสวยบรรจุในบรรจุภัณฑ์ (Retort pouch)
เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นสามารถปิดผนึกด้วยความร้อน และทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 1210 ซ. ดังนั้นจึงสามารถนำมาใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารประเภทกรดต่ำ แทนกระป๋องและขวดแก้ว ผลิตภัณฑ์ข้าวสวยใน retort pouch นี้เป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น ภาชนะบรรจุที่ใช้ ได้แก่ 3-ply laminate ของ polyester, aluminum foil และ polypropylene โดยมี polyester หนา 0.0005 นิ้ว ชั้น aluminum foil มีความหนา 0.00035-0.0007 นิ้ว จะช่วยป้องกันแสงและการซึมผ่านของน้ำและออกซิเจน สำหรับชั้น polypropylene ที่อยู่ชั้นในสุดมีคุณสมบัติไม่ทำปฏิกริยากับอาหารจึงเหมาะสมเป็นส่วนที่ สัมผัสกับอาหาร ภาชนะบรรจุนี้ใช้ในขบวนการผลิตที่อุณหภูมิ 1210ซ. หรือต่ำกว่าเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ใน Retort pouch นี้มีอายุการเก็บ (shelf life) นาน 6 เดือน เมื่อต้องการบริโภคจึงนำถุง Retort pouch นี้แช่ในน้ำร้อนนาน 10-15 นาที




9. อาหารเช้า (Breakfast cereal)
อาหารเช้าหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า breakfast cereal แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ชนิดที่ต้องต้มกับนมหรือน้ำเพื่อบริโภค (hot cereal breakfast cereal) ได้แก่ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปที่ใช้เวลาต้มสั้น ๆ ข้าวที่นำมาผลิตอาจเป็นปลายข้าวหรือแป้งข้าวบดเพื่อช่วยให้ต้มสุกเร็ว อาจมีการเติมรสชาติต่าง ๆ ตัวอย่างอาหารเช้าชนิดนี้ได้แก่ โจ๊ก 7 นาที ควิกโจ๊ก

2. ชนิดที่บริโภคได้ทันที (Ready to eat breakfast cereal) ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อาจมีการนำธัญชาติชนิดอื่นมาผสม ในขบวนการผลิตอาจเตรียมเป็นลักษณะของวัตถุดิบ สุก แห้ง เป็นแผ่นเล็กๆ (flake) หรือเป็นก้อนโด (dough) แล้วจึงทำให้พองหรือคั่ว คุณภาพของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับระยะเวลาทำให้สุก (cooking time) ความดัน อุณหภูมิของวัตถุดิบและการคั่ว ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจมีการเติมสารปรุงรส (flavoring material) วิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีนเพื่อเสริมโภชนาการ ตัวอย่างอาหารเช้าพร้อมรับประทาน ได้แก่ rice crispy



10. อาหารเด็กอ่อน (Baby food)
แป้งข้าวหรือข้าวบดหยาบ สามารถใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเด็กอ่อน ขบวนการผลิตของ Hogan (1967, 1977) เริ่มจากการต้มน้ำแป้งข้น ๆ แล้วนำไปลดความชื้นด้วย double drum drier จะได้แผ่นแป้งเล็ก ๆ (flake) ผู้ผลิตแต่ละรายจะมีสูตรเฉพาะ ส่วนประกอบมักประกอบด้วย แป้งข้าว รำละเอียด น้ำตาล dibasic calcium phosphate, เกลือไอโอดีน sodium iron pyrophosphate, glycerol monostearate (emulsifier) น้ำมันรำข้าว thiamine hydrochloride, riboflavin และ niacin หรือ niacinamide นอกจากนี้ยังมีสูตรอื่น ๆ ในการผลิตอาหารเด็กอ่อน นอกจากใช้วิธีผลิตเป็นลักษณะ flake ยังมีการผลิตอาหารเด็กอ่อนด้วยวิธี Extrusion ดังเช่น อาหารเด็กของเกษตร (Kaset infant food) ซึ่งประกอบด้วยแป้งข้าว 71.7% แป้งถั่วเหลือง 12.5%

นอกจากนี้ยังมีอาหารเด็กอ่อนชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำนมข้าว (Bebiko 2R), Energo ซึ่งประกอบด้วย แป้งข้าว 60% แป้งถั่วเหลือง 35% นมผงพร่องมันเนย 5% Babymate ที่ประกอบด้วยข้าวขาว 75% และถั่วเขียวกะเพาะเปลือก 25%




11. ข้าวเสริมโภชนาการหรือข้าวอนามัย (Enriched Rice)
การที่ประชาชนบริโภคข้าวสารที่สีจนขาว ซึ่งวิตามินส่วนใหญ่ถูกขัดออกจนเกือบหมด ในบางประเทศมีการผลิตข้าวเสริมวิตามินและเกลือแร่เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไป การเสริมโภชนาการกระทำได้โดยวิธีการดังนี้

(1) การผสมข้าวเสริมโภชนาการกับข้าวขาว (Premix kernel) เป็นการผลิตข้าวเสริมโภชนาการ โดยการผสมข้าวที่ผ่านขบวนการเสริมโภชนาการกับข้าวธรรมดา ขบวนการผลิตที่มีการผลิตในประเทศฟิลิปปินส์ คือ การพ่นสารละลายที่มี thiamin และ niacin ละลายอยู่ในสภาพกรดลงบนผิวเมล็ด แล้วทำให้แห้งโดยตากลม หลังจากนั้นจึงเคลือบด้วยสารละลายกรด stearic, zein และ กรด abietic ในแอลกอฮอล 2 ครั้ง ในขั้นตอนสุดท้ายจึงนำสาร ferric pyrophosphate และผงแป้งมาโรยบนผิวเมล็ด เมื่อบริโภคจึงนำเมล็ดข้าวเสริมโภชนาการนี้ผสมกับข้าวขาว ในอัตราส่วน 1:200 และหุงต้ม นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาข้าวเสริมโภชนาการวิธีนี้โดยเติมสารอาหารต่าง ๆ มาเคลือบเมล็ด

(2) ผสมกับผงของสารอาหาร (Powdered premix) เป็นการผสมอย่างง่าย ๆ โดยผสมสารอาหาร 0.5-1.0 ส่วนต่อข้าว 16,000 ส่วน ข้าวเสริมโภชนาการนี้ไม่ควรล้างข้าวเมื่อจะหุงต้ม เพราะสารอาหารเหล่านั้นจะสูญหายไปกับน้ำ

(3) การผลิตข้าวนึ่งในสภาพเป็นกรด (Acid parboiling) นำข้าวขาวมาแช่สารละลายของไวตามิน thianime (B1) ในสภาพเป็นกรด แล้วจึงสะเด็ดน้ำแล้วนึ่ง และลดความชื้น เมล็ดที่ได้มีรอยร้าวเกิดขึ้น ต่อมาจึงเปลี่ยนมาแช่เมล็ดใน organic solvent เช่น ethanal, acetone และ chloroform โดยใช้ละลายกับ derivative ของไวตามิน B1 ที่ละลายใน organic solvent ได้

(4) การเลียนแบบเมล็ดข้าว (Simulated rice) เป็นการนำแป้งสาลีผสมกับไวตามินและแร่ธาตุ แล้วปั้นเป็นเมล็ดคล้ายข้าว เมื่อบริโภคกันนำมาหุงต้มโดยผสมกับข้าวขาว

(5) การเติมสารอาหารในธัญชาติพร้อมบริโภค (ready to eat cereal) เป็นการเติมสารอาหารในระหว่างขบวนการผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปพร้อมบริโภค

(6) การสเปรย์ (spray system) เป็นการสเปรย์สารอาหารลงบนเมล็ดข้าวที่ผ่านการอบให้ร้อน และใส่ในถังหมุน (rotating drum) เพื่อคลุกเคล้าให้ทั่วถึง เพื่อป้องกันปฏิกิริยาเติมออกซิเจนที่ทำลายไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามิน A และ D จึงการเติม butylated hydroxytoluene (BHT) ใน 15-25% sucrose ลงในสารละลายที่สเปรย์จะช่วยป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจนได้

(7) การเสริมกรดอมิโนในเมล็ดข้าว (Amin oacid fortification) กรดอมิโนที่ขาดแคลนในเมล็ดธัญชาติได้แก่ ไลซีน (lysine) และ ทรีโอนีน (threonine) วิธีการเสริมกรดอมิโนอาจใช้พร้อมกับการเสริมไวตามิน ข้าวเสริมโภชนาการนี้ ในสหรัฐอเมริกาได้เสนอมาตรฐานของสารอาหารไว้โดย The Food and Nutrition Board of The National Academy of Science ในปี ค.ศ. 1974 ดังนี้





12. ผลิตภัณฑ์หมักดอง
เมล็ดข้าวเป็นแหล่งของแป้งที่เหมาะ สำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เพราะมีแป้งอยู่ถึง 90% โดยน้ำหนักแห้ง ผลิตภัณฑ์หมักดองอาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เป็นของแข็ง (solid) ของแข็งกึ่งเหลว (paste) และของเหลว (liquid)

(1) ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแข็ง ได้แก่ starters หรือลูกแป้งของไทย sarters เหล่านี้มีจุลินทรีย์ ที่สามารถย่อยแป้งสุกได้ (saccharifying agent) จุลินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นเชื้อรา เช่น Rhisopus spp. และ Aspergillus oryzae?ผลิตภัณฑ์ที่ starters นี้ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มต่าง ๆ

ข้าวแดง (Anka) เป็นการผลิตสีแดงจากเชื้อจุลินทรีย์ สีแดงนี้สามารถใช้เป็นสีผสมอาหาร เช่น เหล้าแดง (red wine) ผสมในผักดอง และเนื้อหมักรวมทั้งเต้าฮู่ยี้ เชื้อจุลินทรีย์ที่ผลิตสีแดงนี้ คือ Monascub purpurens went.

(2) ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแข็งกึ่งเหลว ได้แก่เต้าเจี๋ยวญี่ปุ่น (Miso) ที่ใช้ในการปรุงอาหาร ผลิตมาจากถั่วเหลืองข้าวและเกลือ โดยมีอัตราส่วน ข้าว = 5 x (ถั่วเหลือง 2 x เกลือ) ความเข้มข้นของเกลือจะเป็นปัจจัยในการเลือกชนิดของเชื้อจุลินทรีย์สำหรับใช้ใน การหมัก เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักเต้าเจี๋ยวมี Aspergillus oryzae ที่เลี้ยงในข้าวขาวนึ่งสุกเพื่อผลิต Koji เชื้อราที่ใช้มักมีหลายสายพันธุ์เพื่อสร้างเอนไซม์ย่อยโปรตีน ไขมัน และแป้ง (proteolytic, hyolytic and amylolytic enzymes) นอกจากนี้ยังอาจพบยีสต์ เช่น Saccharomyces rouxii และ lactic acid bacteria

(3) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล ประเทศผลิตข้าวต่าง ๆ จะมีการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอลโดยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ เช่น กระแช่ของไทยที่ผลิตจากข้าวเหนียว Shao-hsing wine ของจีนผลิตจาก starter ที่ทำจากข้าวขาวและข้าวสาลี และนำ starter นี้ไปผลิตเหล้าต่อ โดยใช้ข้าวเหนียว สำหรับ Sake ของญี่ปุ่นนั้น จัดเป็นไวน์ข้าวชนิดหนึ่งผลิตจากข้าวเจ้า japonica การผลิต Sake ของญี่ปุ่น ข้าวขาวที่ใช้ในการหมักมักได้รับการขัดสีเอาผิวนอกออกมากกว่า 20-30% ของน้ำหมักข้าวกล้อง โดยเฉพาะ Sake คุณภาพสูง การขัดสีอาจสูงถึง 40-50% หรือเหลือเป็นเนื้อข้าว 50-60% จุลินทรีย์ที่มีบทบาทในการหมักเหล้า Sake ได้แก่
- เชื้อรา Aspergillus oryzae ผลิตเอนไซม์ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลและให้กลิ่นรส
- บักเตรี Pseudomonas spp. ผลิตกรด lactic และกำจัดกรด nitric
Leuconostoc และ Lactobacillus ผลิตกรด nitric จาก nitate
- ยีสต์ (Sake yeast) Saccharomyces cerevisiae เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล

สำหรับไวน์ข้าวของไทยส่วนใหญ่ผลิตจากข้าวเหนียว เช่น กระแช่ เหล้าขาว เป็นต้น?จากการศึกษาการใช้ข้าวเจ้าไทยในการผลิตไวน์ข้าวพบว่า ข้าวเจ้าชนิดอมิโลสต่ำ และข้าวเหนียวจะให้ปริมาณแอลกอฮอลสูงกว่าข้าวอมิโลสปานกลางและสูง นอกจากนี้การนำข้าวหอมมะลิมาผลิตไวน์ข้าวยังช่วยให้รสชาติของของผลิตภัณฑ์ดี ขึ้น


เหล้าข้าว ประเทศญี่ปุ่นนำเข้าข้าวขาวของไทย สำหรับการผลิตเหล้าที่เรียกว่า sho-chiu ในการหมักใช้เชื้อ Rhizopus javanicus Takeda และ ยีสต์ Saccharomyces peka Takeda ผสมพร้อมกัน การหมักจะใช้อุณหภูมิสูง 35-280ซ. และมีแอลกอฮอลสูงถึง 23%





13. ผลิตภัณฑ์จากรำข้าว
รำข้าวเป็นผล พลอยได้จากการขัดขาวข้าว แบ่งออกเป็นรำหยาบและรำละเอียด (bran and polish) ในส่วนของรำหยาบมีแกลบผสมอยู่บ้าง สำหรับรำละเอียดนั้นได้จากการขัดเฉพาะผิวนอกของข้าวกล้องออก ซึ่งประกอบด้วย เยื่อหุ้มผล (pericarp) เยื่อหุ้มเมล็ด (Seed coat) เยื่ออะลิวโรน (aleurone loyer) และ คัพภะ (embryo or germ) การใช้ประโยชน์จากรำได้แก่

(1) เป็นอาหารสัตว์ รำข้าวทั้งชนิดรำหยาบและรำละเอียดสามารถนำมาผสมในอาหารสัตว์

(2) สกัดน้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันข้าว น้ำมันข้าวเป็นน้ำมันบริโภคที่มีคุณภาพดีเนื่องจากมี chloresterol ต่ำมาก และจากขบวนการสกัดน้ำมันนี้ยังสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ด้านเภสัชกรรม และอุตสาหกรรม

(3) เป็นอาหาร รำละเอียดสามารถใช้ผสมในอาหารเด็กอ่อน ในอาหารขบเคี้ยวต่าง ๆ รวมทั้งผสมในขนมปัง มัฟฟิน แพนเค็ก คุกกี้ เค้ก พาย และอาหารว่างชนิดอบกรอบหรือผ่าน extrusion ในประเทศญี่ปุ่นมีการนำรำข้าวสกัดไขมันออกมาใช้ในการผลิต Koji ในอุตสาหกรรมเต้าเจี้ยวและซีอิ้ว




14. น้ำมันข้าว
น้ำมันในเมล็ดข้าว โดยแทรกอยู่ตาม pericarp, seed coat, aleurone layer และ embryo ซึ่งมักถูกขัดออกจากเมล็ดไปเป็นรำข้าวละเอียด (polish) ในส่วนของรำข้าวอาจมีน้ำมันอยู่ 15-20% น้ำมันข้าวเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี องค์ประกอบของกรดไขมันที่สำคัญในน้ำมันข้าวคือ Oleic acid 40-50%, Linoleic acide 20-42% และ palmitic acid 12-18% ในน้ำมันข้าวยังมี phosphatide ประมาณ 2% ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่น สาร phosphatide นี้ใช้ในขบวนการผลิต gum และ lecithin ขบวนการสกัดน้ำมันรำข้าวมีขั้นตอนแสดงดังภาพที่ 9

น้ำมัน ข้าวเมื่อผ่านขบวนการ Winterization เพื่อแยก saturated glyceride (stearin) สำหรับใช้ในการผลิตเนยเทียม (margarine หรือ shortening) ส่วนน้ำมันที่เหลือเหมาะสำหรับนำมาทำ mayonnaix หรือ น้ำมันสลัด Oryzanol ซึ่งเป็นส่วน nonsponifiable ในน้ำมัน เมื่อนำไปแยกให้บริสุทธิ์ สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางเภสัชกรรมโดยเป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตและ การหลั่งฮอร์โมน (promote human growth and hormonal secretion) น้ำมันข้าวเกรดต่ำไม่เหมาะสำหรับบริโภค แต่สามารถนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ ไขข้าว (rice wax) มีคุณลักษณะคล้าย Carnauba wax สามารถใช้ในเครื่องสำอางค์ สารขัดเงา และสารเคลือนในอุตสาหกรรม




อาจารย์งามชื่น?คงเสรี นักวิชาการเกษตร 8ว. (ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว)
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/rice-product/24-rice-product-01
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/08/2011 9:06 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

352. ข้าวกึ่งสำเร็จรูป (Quick cooking rice or instant rice)


เป็น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เวลาหุงต้มหรือคืนรูปสั้น ๆ และด้วยวิธีที่ไม่ยุ่งยาก เมื่อต้องการบริโภคหลังจากคืนรูปแล้ว ผลิตภัณฑ์ยังคงมีรสชาติ กลิ่น และเนื้อสัมผัสใกล้เคียงกับข้าวที่หุงต้มปกติ ขบวนการผลิตต้องไม่ยุ่งยากร่วมทั้งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน ผลิตภัณฑ์ข้าวกึ่งสำเร็จรูปที่หลายรูปแบบ เช่น

Cup rice
คืนรูปโดยเติมน้ำร้อนหรือน้ำเดือดแล้วตั้งทิ้งไว้ 1-5 นาที ก็จะได้ผลิตภัณฑ์คืนรูปพร้อมบริโภค เช่น Nissins Cup Rice

Standing rice
คืน รูปโดยต้มน้ำให้เดือด ใส่ข้าวกึ่งสำเร็จรูปคนให้เข้ากัน แล้วลดความร้อน ตั้งทิ้งไว้ 5-7 นาที ก็จะนำมาบริโภคได้ เช่น Kraft-General Food?s Minute Rice

Simmering rice
ต้มน้ำและข้าวกึ่งสำเร็จรูปด้วยกัน แล้วจึงลดความร้อน แล้วทิ้งไว้ให้ระอุ 5-10 นาที เช่น ผลิตภัณฑ์ของ Uncle Ben

Saute/simmering rice
เป็น ข้าวกึ่งสำเร็จรูปปรุงรส คืนรูปโดยผัดข้าวกับน้ำมันหรือเนยจนทั่วแล้วเติมน้ำต้มเดือดและทิ้งให้ระอุ นาน 10 นาที จะได้ข้าวปรุงรส เช่น ผลิตภัณฑ์ของ Uncle Ben, Suzi Wan

Boil in bag
บรรจุข้าวกึ่งสำเร็จรูปในถุงที่มีรูพรุน เมื่อต้มในน้ำเดือด 10 นาที จะได้ข้าวพร้อมบริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์ของ Riviana?s Success

Microwave
คืน รูปข้าวโดยใส่ข้าวและน้ำในชาม แล้วต้มในตู้ microwave 5-10 นาที ก็จะได้ข้าวพร้อมบริโภค เช่น MSB?s and Kraft-General Foods microwave products




ขบวนการผลิตข้าวกึ่งสำเร็จรูปมีหลายวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 Soak-boil-steam-day :
แช่ข้าวให้มีความชื้น 30% ต้มในน้ำเดือดจนความชื้น 50-60% แล้วต้ม หรือนึ่งต่อไปให้มีความชื้น 60-70% แล้วจึงทำการลดความชื้นอย่างระมัดระวังเพื่อรักษารูพรุนของเมล็ดไว้

วิธีที่ 2 Expandedand pregelatinizeo riec :
แช่ ข้าวสาร แล้วต้ม นึ่ง หรือต้มที่ความดันสูงจนข้าวสุกแล้วจึงลดความชื้นจะได้เมล็ดใส แกร่ง หลังจากนั้นจึงทำให้เมล็ดพอง (puffed) โดยใช้ความร้อนสูง

วิธีที่ 3 Rodling or bumping treatgment :
ต้มข้าวให้สุกแล้วตำหรือผ่านลูกกลิ้งให้เมล็ดแบนก่อนลดความชื้น

วิธีที่ 4 Dryheat treatment :
ใช้ ลมร้อนเป่าข้าวที่ 65-82 0ซ. นาน 10-13 นาที หรือ 272 0ซ.18 วินาที เพื่อให้เมล็ดข้าวเกิด dextinization, รอยร้าว และขยายตัว เพื่อช่วยลดระยะเวลาหุงต้ม

วิธีที่ 5 Fruzethane process :
ต้มข้าวให้สุกแล้วนำไปแช่แข็ง ละลายน้ำแข็ง แล้วจึงลดความชื้น

วิธีที่ 6 Gun puffing :
เพิ่ม ความชื้นเมล็ดข้าวให้อยู่ในระดับ 20-22% แล้วนึ่งในหม้อความดันสูง (Retort) ที่ 3.5-5.5 ก.ก./ตร.ซม. นาน 5-10 นาทีแล้วทำให้เมล็ดข้าวพอง โดยลดความดันลงอยู่ในระดับบรรยากาศ หรือต่ำกว่าสภาพที่เหมาะสมคือ ที่อุณหภูมิ 1650ซ. ที่ระดับความชื้น 20-25%

วิธีที่ 7 Freeze drying :
แช่แข็งข้าวสุก แล้วทำให้น้ำระเหิดหายไปในสภาพอุณหภูมิต่ำ(freeze-day)

วิธีที่ 8 Chemical tredment :
ก่อน ผ่านขบวนการต่าง ๆ ลดการเกาะตัวระหว่างเมล็ดข้าวสุกโดยแช่ในสารละลาย เช่น Sodium Chloride disodium phosphate หรือสาร suzfactant ที่อยู่ในระดับ food grade



การผลิตข้าวกึ่งสำเร็จรูปอาจนำวิธีการที่ผนวกจากหลายวิธีการ เข้ามาอยู่ในขบวนการผลิตได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการผลิตโดยนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้ เช่น การทำ

(1). Centrifugal Fluidized Bed Drying ภายหลังต้มข้าวจนสุกลดความชื้นข้าวสุกโดยใช้ Centrifugal fluidized bed dryer โดยใช้อุณหภูมิ 295 0ฟ. และแรงลม 3,000 p.m. นาน 5 นาที (Carlson, 1976) ในขณะที่ Robert et.al. (1979) ใช้อุณหภูมิ 132 0ซ. และ Centrifugal force 10 x g.?

(2). Extruded Quick-Cooking Ricelike Product มีการพัฒนาผลิตภัณพ์ที่มีลักษณะคล้ายข้าวกึ่งสำเร็จรูปโดยใช้ Extrusion เทคนิคโดยจดเป็นลิขสิทธิ์ในสหรัฐอเมริกา [E.P.0026 375 A 1(US 803189)] ขบวนการประกอบด้วย การผสมแป้งข้าวกับ 0.1-2% wt. Starch complexing agent (เช่น glyceryl monostearate หรือ sodium stearoyl lactylate) และ 0-0.2% โดยน้ำหนัก ของ gum ที่บริโภคได้ เช่น xanthan gum, carboxymethylcellulose, carrageenan และ/หรือ alginate ทำการ exrude ที่ 29.4-104.4 0ซ. ณ จุดต่าง ๆ ของ cooking zones และความดัน 91.4 กก./ตร.ซม. ผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถดูดน้ำโดยใช้เวลา 5 นาที และสามารถรักษาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ได้นาน 20-30 นาที


สำหรับประเทศไทย ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกึ่งสำเร็จรูป โดยวิธี Soak-boil-steam-dry โดยอบลดความชื้นแบบถาด (tray drying) ผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องใช้เวลาคืนรูปนานถึง 12 นาที โดยแช่น้ำเดือด ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถคืนรูปโดยต้มในน้ำเดือดด้วยระยะเวลาสั้น ๆ ได้ วัตถุดิบที่เหมาะสมควรเป็นข้าวอมิโลสต่ำ เมื่อพัฒนาวิธีการโดยใช้ Freeze-thaw-fluidized bed+drying จะได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถคืนรูปโดยแช่ในน้ำร้อนนาน 4-5 นาที โดยใช้วัตถุดิบเป็นข้าวเจ้าทั้งชนิดอมิโลสต่ำ ปานกลางและสูง เทคนิคดังกล่าวยังสามารถใช้ในการผลิตข้าวกล้องกึ่งสำเร็จรูปได้ด้วย หากเติมสารปรุงรสและเนื้อสัตว์อบแห้งหรือส่วนประกอบอื่นๆ เมื่อคืนรูปในน้ำร้อนปริมาณพอเหมาะจะได้ข้าวปรุงรสลักษณะคล้ายข้าวผัด (Pilaf)




http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge/rice-product/24-rice-product-01
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/08/2011 9:24 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

353. สธ.โชว์สรรพคุณ “หมามุ่ย” บำรุงสมอง-เพิ่มสเปิร์มในงานมหกรรมสมุนไพรไทย





กรุงเทพฯ 22 ส.ค.- สธ.จัดงานมหกรรมสมุนไพรไทย ระหว่าง 31 ส.ค.-4 ก.ย.นี้ ภายใต้แนวคิด “ยาไทย เด็กใช้ได้ ผู้ใหญ่ใช้ดี” หนุนการใช้ยาสมุนไพรในประเทศ สมุนไพรเด่นในงาน เน้นการเพิ่มกำลัง บำรุง เช่น หมามุ่ย ประยุกต์เป็นชา กาแฟ ใช้ดื่มรับประทาน บำรุงสมอง เพิ่มความจำ เพิ่มสเปิร์มในเพศชาย

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด “ยาไทย เด็กใช้ได้ ผู้ใหญ่ใช้ดี ”ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 4 กันยายน 2554 ที่ อิมแพค เมืองทองธานี เพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย นำไปต่อยอดพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ ทั้งยา เครื่องสำอาง เกิดการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรไทยในประเทศ และยังเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในอีกปี 4 หรือปี 2558 เพื่อส่งเสริมให้สมุนไพรไทยเป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้นำด้านแพทย์ดั้งเดิมของอาเซียน

สำหรับปี 2554 นี้ได้มีการส่งเสริมให้มีการบรรจุยาสมุนไพรเข้าไปในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว 71 รายการ จากเดิม 19 รายการซึ่งในการจัดการครั้งนี้จะมีการแบ่งโซนกิจกรรมที่น่าสนใจ 6 โซน ประกอบด้วย 1.ยาไทยสู้โรค 2.8 ทศวรรษยาไทยคู่คนไทย เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา .. ในหลวงของเรา 3.อัศจรรย์ 10 ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมดีเด่นบนวิถีสมุนไพรไทย 4.สมุนไพรไทย ขจรไกลทั่วโลก 5. ผลงานของศูนย์พัฒนายาไทยและสมุนไพรไทย และ 6.ผลงานนวัตกรรมสมุนไพรจาก 6 สถาบันชั้นนำ ซึ่งสมุนไพรไทยที่นำมาจัดแสดงจะเน้นเรื่องของการชูกำลัง ทั้งกาแฟหมามุ่ย เพิ่มพลัง สมรรถภาพทางเพศ เพิ่มสเปิร์ม บำรุงสมองเพิ่มความจำ

ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ในอดีตความรู้จากประเทศอินเดีย พบว่าหมามุ่ยมีสรรพคุณในการช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย เพิ่มจำนวนของสเปิร์มเพิ่มมากขึ้น และทำให้ยืดเวลาร่วมรักในนานขึ้น และยังช่วยในเรื่องของการเพิ่มความจำ รักษาโรคพาร์กินสัน อัมพาต โดยการใช้จะเป็นการนำส่วนของเม็ดหมามุ่ยมาคั่วให้สุก จากนั้นบดให้ละเอียด ชงรับประทานร่วมกับชาหรือกาแฟได้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนิยมนำเม็ดหมามุ่ยมานึ่งรับประทานกับข้าวเหนียว ทั้งนี้ การรับประทานเม็ดหมามุ่ยนิยมรับประทานที่คั่วสุก เพราะมิเช่นนั้นอาจได้รับอันตรายได้

นอกจากนี้ ในงานมหกรรมสมุนไพรยังมีพืชสมุนไพรไทยอีกหลายชนิดที่นิยมนำมาพัฒนาดัดแปลง สร้างมูลค่าและประโยชน์ เช่น คุกกี้ใบบัวบก น้ำสมุนไพรแม่ก่ำ หรือไดฟูกุเท้ายายเม่า มีสรรพคุณเย็นช่วยลดไข้ และยังเป็นขนมน่ารับประทาน อีกทั้งยังมีนวัตกรรมสมุนไพรไทยที่มาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ ครีม เคอร์มิน ยกกระชับอกขององค์การเภสัชกรรม (อภ.).- สำนักข่าวไทย


http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/256128.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/08/2011 9:27 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

354. สธ.นำกาแฟสมุนไพรหมามุ่ยเสิร์ฟ ส.ส. ส.ว.ในสภา


นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำกาแฟสมุนไพรหมามุ่ย มาบริการให้แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ระหว่างการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เพื่อสนับสนุนการใช้สมุนไพรไทย รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการพัฒนาสมุนไพรไทย ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการรักษาพยาบาลให้กับประชาชน จากข้อมูลวิจัยของประเทศอินเดีย พบว่าหมามุ่ย เป็นพืชเถาพบมากในประเทศไทย มีสารที่สามารถรักษาโรคพาร์กินสัน ที่เป็นโรคที่มีความเสื่อมของระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งทั่วโลกพบผู้ป่วยประมาณ 60 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ส่วนคนไทยพบประมาณ 5-6 ล้านคน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ หมามุ่ย ยังมีผลกระตุ้นการสร้างน้ำอสุจิ ใช้รักษาภาวะมีบุตรยากจากปัญหาความผิดปกติของการผลิตน้ำอสุจิในผู้ชาย โดยขณะนี้มีครอบครัวไทยจำนวนมาก ที่ประสบปัญหามีบุตรยาก และต้องพึ่งพาการแพทย์สมัยใหม่ที่มีค่าใช้จ่ายสูง

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เร่งทำการศึกษาวิจัย และพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์และคลินิก เพื่อจะนำไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ซึ่งอาจทำเป็น 2 รูปแบบ คือ ยารักษาโรค และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมั่นใจว่า พืชหมามุ่ย จะสามารถนำมาต่อยอดเศรษฐกิจในเชิงอุตสาหกรรมได้





http://www.dailyworldtoday.com/hotnews.php?hotnews_id=47268
http://www.tfn5.info/board/index.php?PHPSESSID=f0c4e49d2c4ebe13f8c15466673d2be9&topic=27694.msg141414#msg141414
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 30/08/2011 3:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

355. น้ำผึ้ง ยาดีไม่มีขม


ใครว่าต้องขมเท่านั้นถึงจะเป็นยา น้ำผึ้งนี้ไว ทั้งเป็นยาสารพัดประโยชน์แถมยังหวานเจี๊ยบไม่น้อยหน้าใครอีกด้วย แต่น้ำผึ้งจากดอกไม้ต่างชนิดก็จะมีประโยชน์ต่างกันใครปลื้มแบบไหน เลือกได้ตามอัธยาศัย
น้ำผึ้งจากเกสรดอกลำใย บำรุงเลือด บำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดี และนอนหลับสบาย

น้ำผึ้งจากเกสรดอกลิ้นจี่ ขับความร้อนในร่างกาย ใช้บรรเทาความร้อนจากแผลไฟลวก ขับลม แก้พิษ

น้ำผึ้งจากเกสรอบเชยป่า ขับความร้อน กระตุ้นความยากอาหาร บำรุงม้าม บำรุงประสาท

น้ำผึ้งจากเกสรดอกส้ม ลดอาการบวมอักเสบ ขับพิษ แก้กระหายน้ำ

ประโยชน์
น้ำผึ้งแท้มีน้ำตาลเด็กซ์โทสและฟรุคโทส ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการและมคุณสมบัติความเป็นยาสูง และยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 บี 2 วิตามินอี วิตามินเค วิตามินซีตามธรรมชาติ กรดอะมิโน กรดไขมัน เกลือแร่ สังกะสี และทองแดง ถ้าเอาไปผสมรวมกับสมุนไพรจึงกล่ยเป้นยาที่หลายชาตินิยมใช้

ในตำราจีนบันทึกไว้สรรพคุรของน้ำผึ้งไว้ว่าสามารถขับร้อน บำรุงกระเพราะอาหาร ม้าม ขับพิษ รักษาแผล ทำหชุ่มชื่นลดความแห้ง แก้ไอ และแก้ปวดได้

หมอในอเมริกาและแคนาดาให้คนป่วยทานขนมปังทาน้ำผึ้งผสมผงอบเชยทุกวัน เพื่อช่วยลดโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นปกติ

ในตำรายาของไทย น้ำผึ้งช่วยให้ร่างกายดูดซึมตัวยาได้เร็วกระตุ้นการทพงานของไต กระจายเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกายทำให้มีกำลัง สำหรับผู้ชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศถ้าได้ทานน้ำผึ้งแท้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ ก่อนนอนเป็นประจำทุกวัน อาการจะดีขึ้น

ถ้าได้อื่มน้ำผึ้งแท้ชงน้ำอุ่น ก่อนทานอาหาร 1-1 ½ ชั่วโมงจะยับยั้งไม่ให้กระเพราะหลั่งกรดออกมามากเกินไป เหมาะสำหรับหลังกรดออกมามากเกินไป เหมาสำหรับคนที่เป็นแผลในกระเพราะอาหาร แต่ถ้าชงกับน้ำเย็นจะกระตุ้นในกระเพราะอาหารหลั่งกรอมากขึ้น กระตุ้นการบีบตัวของลำใส้ แก้ปัญหาอาหารไม่ย่อยและท้องผูก

ไม่ควรดื่มน้ำผึ้งหลังอาหารทันที เพราะระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกระตุ้นให้กระเพราะหลังกรดมากเกินไป ถ้าจะดื่มต้องทานอาหารไปแล้วประมาณ 2 -3 ชั่วโมง

สาว ๆ ที่นอนหลับยาก ถ้าได้น้ำผึ้งชงกับน้ำเปล่าก่อนอนสักแก้วจะช่วยให้หลับสบาย



ที่มา : นิตยสาร SPICY
ขอบคุณเนื้อหาจาก…MK Restaurant
http://www.thaiopetus.com/saranaruu.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 30/08/2011 3:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
ไปที่หน้า ก่อนนี้  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 72, 73, 74  ถัดไป
หน้า 13 จากทั้งหมด 74

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©