-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 13 ส.ค
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 13 ส.ค

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 13/08/2011 9:10 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 13 ส.ค ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 13 ส.ค



***********************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ....

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

***********************************************




จาก : (084) 369-45xx
ข้อความ : จากประสบการณ์ของลุงคิม คิดว่า มะนาวพันธุ์อะไรทนโรคที่สุด และจากทัศนะของลุงคิม คิดว่าพันธุ์ทนโรค ปลูกแล้วตลาดดีที่สุด....ขอบคุณค่ะ เกษตรกรมือใหม่ นครสวรรค์

ตอบ :
ประสบการณ์ตรง มะนาวทนโรคที่สัมผัสมากับมือ 3 สายพันธุ์ คือ น้ำหอมทูนเกล้า. ด่านเกวียน. ตาฮิติ. เท่านั้น ทั้ง 3 สายพันธุ์นี้เก่าแก่มานานแล้ว ปัจจุบันมีสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่มีสายพันธุ์เดียวที่กล้าโฆษณาว่าทนโรค คือ พิจิตร-1 ของชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร จ.พิจิตร ในความเป็นจริงจะทนโรคได้เหมือนโฆษณาหรือเปล่าอันนี้ไม่รู้ ส่วนสายพันธุ์เกิดใหม่ที่โฆษณาขายต้นพันธุ์กันบ้าเลือดอยู่ทุกวันนี้ ก็ไม่มีเห็นมีสายพันธุ์ไหนพูดถึงทนโรคเลย

มะนาวสายพันธุ์เกิดใหม่แทบทุกสายพันธุ์ถือหลักเอา "แป้น + น้ำหอมทูนเกล้า หรือตาฮิติ หรือด่านเกวียน" กันทั้งนั้น จะเอาพันธุ์ไหนเป็นพ่อ หรือพันธุ์ไหนเป็นแม่ก็สุดแท้ ได้ลูกออกมาก็ตั้งชื่อให้มีคำว่า "แป้น" อยู่ด้วย เช่น "แป้นตาคิม - แป้นน้องเมีย - แป้นแม่ยาย - แป้น ฯลฯ" แล้วโฆษณาขายต้นพันธุ์ให้บ้าเลือดเข้าไป เดี๋ยวรวยเอง

ลักษณะอาการโรคพืชมี 2 อย่าง คือ อาการโรคมีเชื้อ กับอาการโรคไม่มีเชื้อ

โรคมีเชื้อ คือ โรคที่เกิดจากเชื้อโรค เช่น ไวรัส (กรีนนิ่ง ตริสเตรซ่า ยางไหล) แบคทีเรีย (แคงเคอร์) รา-รากเน่าโคนเน่า (ไฟธอปเทอร่า) เป็นต้น โรคประเภทนี้แก้ไขด้วยตัวยา (เคมี-สมุนไพร)

โรคไม่มีเชื้อ คือ โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร แก้ไขด้วยการให้สารอาหารโดยเฉพาะสารอาหารตัวที่ขาด แล้ว เสริม-เติม-เพิ่ม-บวก ด้วยสารอาหารตัวอื่นๆ ควบคู่กับการจัดการเรื่องปัจจัยพื้นฐาน ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุ๊ณหภูมิ/ฤดูกาล/สายพันธุ์/โรค ให้เหมาะสม

อาการของโรคมีเชื้อและอาการของโรคไม่มีเชื้อ ทั้ง 2 อาการมีลักษณะคล้ายกันมาก เช่น ใบเหลือง อาจเป็นเชื้อไวรัส (กรีนนิ่ง/ใบแก้ว) หรืออาจขาดธาตุสังกะสี หรือรากเน่า อาจเป็นเชื้อไฟธอปเทอร่า หรือดินเป็นกรดจัด ก็ได้ เพราะฉนั้นต้องวิเคราะห์แยกแยะให้ดี แล้ว ป้องกัน-แก้ไข ให้ตรงตามสาเหตุนั้นๆ

มะนาวสายพันธุ์ทนไรค (น้ำหอมทูนเกล้า, ตาฮิติ, ด่านเกวียน) พูดถึงตลาดในประเทศ ช่วงที่มะนาวแป้น (แป้นทะวาย, แป้นรำไพ, แป้นกระดาน...สายพันธุ์เดียวกัน) ราคาแพงจนหูฉี่แล้ว เห็นมีก็แต่ตาฮิติ.เท่านั้นที่คนกินยอมรับได้ เพราะราคาถูกกว่าเยอะ ทั้งนี้การที่คนกินติดมะนาวแป้น ไม่ใช่แค่รสชาติอย่างเดียวเท่านั้น รูปทรงก็มีส่วนด้วย

ในจำนวนมะนาวทนโรคทั้ง 3 สายพันธุ์ มีเพียงตาฮิติ.เท่านั้นที่ทรงผลออกจะ "แป้น-แป้น" คล้ายมะนาวพันธุ์แป้นมากที่สุด คือ ทรงผลแป้น เปลือกบาง น้ำมาก

ส่วนด่านเกวียน.เปลือกหนา ทรงผลมีจุกสูง กับน้ำหอมทูนเกล้า.ก็ลูกใหญ่เกินไป ใหญ่ขนาดส้มเขียวหวานแน่ะ คนกินเลยไม่เอา

ส่วนมะนาวส่งออก แนะนำ "ตาฮิติ" เพราะรสนิยมในการกินของต่างชาติไม่เน้นเรื่อง "กลิ่น" แต่เน้นเรื่องน้ำมากๆเข้าว่า ในขณะที่คนปลูกก็ควรเน้นที่ต้นทุน อย่างน้อยต้นทุนค่าสารป้องกันกำจัดโรคนี่แหละ


-----------------------------------------------------------------------------



จาก : (081) 452-78xx
ข้อความ : พอเริ่มฤดูทำนา ปุ๋ยขึ้นราคาทันที ลงทุนสูงอย่างนี้ชาวนาจะเหลืออะไร ..... ชาวนาสิงห์บุรี


ตอบ :
เหมือนปัญหาโลกแตก ป่วยการที่จะไปโหวกเหวกโวยวายให้อายลาวเขมรพม่า ในเมื่อนาข้าวกินปุ๋ยธาตุหลักในกระสอบจริงๆแค่ 10-20 กก./ไร่/รุ่น เท่านั้น ที่เหลือเขาต้องการกินธาตุรอง ธาตุเสริม ฮอร์โมน

ถ้าชาวนาใส่ปุ๋ยจริงๆแค่ 10-20 กก./ไร่/รุ่น ดูซิว่า ไอ้บริษัทปุ๋ย, ฯพณฯ นักวิชาการเชิงพานิช, นักส่งเสริมคุณวุฒิสูง-คุณธรรมต่ำ จะอยู่ได้ไหม ?

ก็เพราะชาวนาไม่ชอบคิด ไม่ยอมคิด ไม่ยอมรับรู้อะไรทั้งสิ้น เชื่อคนขายปุ๋ยมากกว่าเชื่อตัวเอง ก็คงออกจากวังวนปัญหานี้ไม่พ้น

แปลงข้างๆทำแล้วได้ผลผลิตมากกว่าของตัวเองทั้งคุณภาพและปริมาณ ต้นทุนก็ต่ำกว่า เห็นก็เห็น รู้ทั้งรู้ แต่ไม่ยอมทำตาม เพราะทิฐิ รั้น เอาชนะ ข้าก็แน่ ข้าก็เก่ง

แปลงข้างๆทำแล้วล้มเหลว ผลผลิตน้อยทั้งคุณภาพและปริมาณ ต้นทุนก็สูง กลับทำตาม แปลงข้างๆใส่ปุ๋ย 1 กส. ของตัวเองต้องใส่ 2 กส. แปลงข้างใช้ยาฆ่าแมลงลิตรละ 500 ของตัวเองต้องลิตรละ 1,000 เหมือนเจตนาประกาศว่า ตัวเองรวยกว่า มีทุนมากกว่า มีความรู้มากกว่า ฝีมือเหนือกว่า สุดท้ายก็คือ เจ๊งมากกว่าข้างบ้าน

ว่ามั้ย....ทำตามแปลงที่ประสบความสำเร็จ จะประสบความสำเร็จมากกว่า แต่ถ้าทำตามแปลงที่ประสบความล้มเหลว จะประสบความล้มเหลวยิ่งกว่า



ที่น่าสงสัยมากที่สุด คือ หน่วยงานส่งเสริมภาครัฐ ที่มีบุคคลากรระดับด็อกเตอร์ทั้งนั้น ไม่รู้เรื่องเลยหรือว่า

- หนี้สินของชาวนา เกิดจากต้นทุนที่สูญเปล่า.....
- ชาวนาเชื่อพ่อค้าขายปุ๋ยมากกว่าราชการ....

- นาแปลงข้างรั้วศูนย์ส่งเสริมฯ ยังเผาฟางอยู่เลย....
- พ่อแม่ญาติพี่น้องของคนระดับศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ ยังเผาฟางอยู่เลย...

- หลุยส์เซียร์น่า สหรัฐอเมริกา รัฐเดียวใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งประเทศ รัฐนี้ปลูกข้าวทั้งรัฐ (ข้าวหอมอเมริกา "แจสแมน" เกิดที่รัฐนี้) ที่นั่นเขาทำนาไม่เผาฟาง แต่ไถกลบ แล้วด็อกเตอร์ที่เรียนจบมาจากอเมริกา เขาเรียนอะไรกัน กลับมานั่งดูพ่อแม่ตัวเองเผาฟางได้....ไม่ต้องส่งเสริมคนอื่นหรอก ส่งเสริมพ่อแม่พี่น้องที่อยู่ในหมู่บ้านตัวเองให้สำเร็จก่อนเถอะ

-----------------------------------------------------------------------------



จาก : (087) 606-88xx
ข้อความ : ข้าวเป็นหนอนกอ เอาอะไรฉีดครับ.....จากเด็กช่างฉะครับ


ตอบ :
ประสบการณ์ตรง ....... สัญญานบอกเหตุว่ามีศัตรูนาข้าวระบาดในแปลงนา คือ มีนกอีแอ่นถลาลม บินโฉบไปโฉบมาบริเวณกอข้าว โฉบลงกินแมลงหรือแม่ผีเสื้อที่เกาะอยู่ตามต้นข้าว อยากรู้ว่าเป็นแมลงแม่ผีเสื้ออะไรก็ต้องเดินลุยเข้าไปดู พอคนเดินลุยลงไปเท่านั้นแหละ บรรดาแมลงแม่ผีเสื้อก็จะบินขึ้นมาให้เห็น ทันที่เห็นจึงรู้ว่าแม่ผีเสื้อของหนอนกอ นั่นคือ หนอนกอกำลังเข้าทำลายต้นข้าว

สั่งคนงานเอาสารสกัดจากกลอยใส่ถังสะพายแบบโยกเดินฉีด ไล่จากซ้ายไปขวา ไปเรื่อยๆจนสุดเขตแปลงนา ระหว่างที่ฉีดไล่ไปนั้น แมลงแม่ผีเสื้อก็จะบินหนีไปทางด้านที่ยังไม่ได้ฉีด ลุงคิมเลยถามคนงาน

ลุงคิม : ถ้าฉีดไปสุดแปลงนาด้านโน้นแล้ว มึงว่าไอ้แม่ผีเสื้อพวกนี้จะไปไหน ?
คนฉีด : มันก็ไปอยู่ที่นาแปลงข้างๆนั่นซิลุง

ลุงคิม : อือว่ะ กูก็ว่ายังงั้นแหละ....แล้วมึงว่า มันไปแล้วมันจะมาอีกไหม ?
คนฉีด : มาครับ พอหมดกลิ่นกลอยมันก็มา

ลุงคิม : แล้วจะทำไงต่อล่ะ
คนฉีด : ก็ฉีดซ้ำซิลุง

ลุงคิม : ซ้ำซักกี่รอบ กี่ครั้งดีวะ
คนฉีด : งวดแรก ผมกะจะเอาซัก 3 รอบ ห่างกันวันเว้นวันครับ

ลุงคิม : แล้วจะรู้ได้ไงว่า ไอ้แม่ผีเสื้อนี่หมดแล้ว หรือว่าไม่มาแล้ว
คนฉีด : ดูนกอีแอ่นครับ ถ้านกไม่มาก็แสดงว่าไม่มีแม่ผีเสื้อไงครับ



คลิก....
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=135

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1960

-----------------------------------------------------------------------------



จาก : (087)529-2540
ข้อความ : ลุงคิมครับ ขอสูตรจุลินทรีย์หมักฟางด้วยครับ รออยู่หน้าเว้บตรับ....ขอขอบคุณครับ

ตอบ :
จุลินทรีย์หมักฟาง ก็คือ จุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง ก็อยู่ในฟางนั่นแหละ .... เช่นกัน จุลินทรีย์ย่อยสลายอะไรก็อยู่ในอันนั้น นั่นเอง

จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกันสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลก....ทุกสิ่งมีชีวิตในโลก ต้องการปัจจัยเพื่อการดำรงชีวิตและเผ่าพันธุ์ และมีวงจรชีวิตเหมือนกัน คือ เกิด-กิน-แก่-เจ็บ-ตาย-ขยายพันธุ์ ทั้งสิ้น

เมื่อนำจุลินทรีย์ชนิดที่ต้องการมาขายพันธุ์ เรียกว่า "ตัวเริ่มต้น" (STARTER) ภายใต้สภาพแวดล้อม (อาหาร อากาศ อุณหภูมิ ฯลฯ) จุลินทรีย์ตัวเริ่มต้นจะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นได้ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป

- จุลินทรีย์กินสารรสหวาน (กากน้ำตาลราคาถูกที่สุด)
- จุลินทรีย์ขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์แบบทวีคูณ (2 เป็น 4, 4 เป็น 8, หรือ 100 เป็น 200)
- จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ทุก 30 นาที ถึง 7 วัน (แล้วแต่ชนิดและปัจจัยสภาพแวดล้อม)
- จุลินทรีย์บางชนิดเกิดได้เร็ว บางชนิดเกิดได้ช้า
- จุลินทรีย์ต้องการอุณหภูมิ 40 องศา ซ. ถึง 60 องศา ซ. (แล้วแต่ชนิด)
- จุลินทรีย์ต้องการอากาศและไม่ต้องการอากาศ (แล้วแต่ชนิด)
- จุลินทรีย์ประจำถิ่นแข็งแรงกว่าจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงขึ้นมา
- ฯลฯ

ขยายเชื้อจุลินทรีย์ย่อยฟางข้าวแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน :
วิธีที่ 1.....
ขั้นตอนที่ 1 : มองหาฟางข้าวในแปลงนา เป็นฟางรุ่นล่าสุด แช่น้ำตามธรรมชาติลึกประมาณคืบมือ ไม่มีสารเคมี-ปุ๋ยเคมี-ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยอินทรีย์ใดๆ มีแสงแดดส่องตลอfเวลา เนื้อฟางเริ่มอ่อนนิ่ม

ขั้นตอนที่ 2 : ใส่กากน้ำตาล 250 ซีซี./พื้นที่ 1 ตร.ม. ลึก 1 คืบมือ คนเบาๆ ช้าๆ ให้กากน้ำตาลละลายเข้ากับน้ำทั่วถึง ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน ระหว่างนี้ให้คนวันละ 1 ครั้งเพื่อเติมอ๊อกซิเจน ระวังอย่าให้น้ำใหม่เข้าไปรวมกับน้ำเก่าที่เคยมีอยู่เดิม เพราะจะทำให้รสหวานในกากน้ำตาลเจือจาง

ขั้นตอนที่ 3 : ครบกำหนด 7-10 วัน ตรวจสอบฟาง ถ้าเริ่มเปื่อยยุ่ย แสดงว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง (อยู่กับฟาง) เจริญพัฒนาเต็มที่แล้ว นำน้ำแช่ฟาง 5-10 ล.ไปขยายเชื้อต่อในน้ำขยายเชื้อ (น้ำสะอาด : กากน้ำตาล : น้ำมะพร้าว = 10 : 1 : 1/10) ต่อไป.....ถ้าการหมักฟางครบกำหนด 7-10 วันแล้ว อาการเปื่อยยุ่ยยังไม่ดีพอ ให้หมักต่อไปจนกว่าจะได้อาการเปื่อยยุ่ยตามต้องการ (เปื่อยยุ่ยยิ่งมากยิ่งดี)

วิธีที่ 2....
เตรียมภาชนะพลาสติกปากกว้าง (กะละมังซักผ้า) ใส่น้ำขยายเชื้อ (น้ำสะอาด : กากน้ำตาล : น้ำมะพร้าว = 10 : 1 : 1/10) ประมาณ 20 ล. ใส่ฟางแห้งใหม่จากต้นข้าวรุ่นล่าสุด ถอนมาทั้งต้นติดรากด้วย เคาะดินที่ติดรากออกเล็กน้อย ลงไปในน้ำพอท่วม ใช้มือขยำๆให้ฟางช้ำ

วางกะละมังหมักฟางกลางแจ้ง ได้รับแสงแดด 100% ไม่ต้องมีฝาปิด ติดปั๊มอ๊อกซิเจนเติมอากาศตลอด 24 ชม. คนด้วยมือช่วยวันละครั้ง หมักนาน 7-10 วัน แล้วตรวจสอบอาการเปื่อยยุ่ยของฟาง ถ้าฟางเปื่อยยุ่ยดีแสดงว่าจุลินทรีย์เจริญพัฒนาเต็มที่ พร้อมใช้งานแล้ว.....ถ้าอาการเปื่อยยุ่ยยังไม่ดี ให้มักต่อ

อัตราใช้และวิธีใช้ :
จุลินทรีย์ขยายเชื้อพร้อมใช้ 5 ล./นาข้าว 1 ไร่....ใส่ช่วงทำเทือก สาดให้ทั่วพอประมาณ แล้วใช้ลูกทุบย่ำ จังหวะที่ลากลูกทุบย่ำเทือกนี้เป็นการช่วยกระจายจุลินทรีย์ออกไปเองโดยอัตโนมัติ


หมายเหตุ :
1. จุลินทรีย์ที่ดีที่สุด คือ จุลินทรีย์ประจำถิ่น (มาซาโอะ ฟูกูโอกะ) จุลินทรีย์ทุกประเภทสำหรับนาข้าวที่ดีที่สุด คือ จุลินทรีย์ในแปลงนาของตัวเอง แปลงไหนแปลงนั้น ทั้งนี้จุลินทรีย์ประจำถิ่นได้ผ่านการปรับตัวจนเข้ากับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นได้ดีแล้ว ในขณะที่จุลินทรีย์จากแหล่งอื่น แม้จะเป็นจุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อนาข้าวก็จริง แต่เมื่อมาอยู่ในแปลงนาข้าวใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่ ต้องปรับตัวใหม่ ปรับตัวได้ก็อยู่ได้ ปรับตัวไม่ได้ก็ตายไป

2. จากหลักการและเหตุผลที่ว่า จุลินทรีย์กินสารรสหวาน (กากน้ำตาล-ราคาถูกที่สุด) ถ้าใส่ "กากน้ำตาล 1-2 ล. + น้ำ 20-30 ล." คนเคล้าเข้ากันดีแล้ว สาดลงแปลงนาโดยตรง สาดอย่างประณีตให้ทั่วเสมอกันทั้งแปลง แล้วย่ำฟางให้จมน้ำ กากน้ำตาลที่ใส่เข้าไปจะไปเป็นสารอาหารแก่จุลินทรีย์ประจำถิ่นที่มีอยู่เดิมในแปลงนาให้เจริญพัฒนาได้ ไม่ต่างหรือดีกว่า จุลินทรีย์ขยายเชื้อ

3. จากกากน้ำตาลเดี่ยวๆ เติม/เพิ่ม นมสด-น้ำมะพร้าว อย่างละ 2-3 ล./นาข้าว 1 ไร่ ก็จะทำให้กากน้ำตาลธรรมดาๆ เป็น "กากน้ำตาลซุปเปอร์" ขึ้นมาได้

4. จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร 2 ประเภท คือ ประเภทต้องการอากาศ และประเภทไม่ต้องการอากาศ.....ระหว่างการในช่วงแรก (7-10 วัน) มีการเติมอ็อกซิเจน จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศจะเกิดแล้วเจริญพัฒนาไปสู่ขั้นตอนพร้อมใช้ก่อน ส่วนจุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศจะยังไม่เกิด .... เมื่อครบกำหนด 7-10 วันของการหมักช่วงแรกแล้ว หยุดการให้อากาศ ไม่ต้องคนด้วยมือ ปิดฝามิดชิดพอหลวม ทิ้งไว้กลางแจ้ง 1-3 เดือน จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศจะเกิด แล้วเจริญพัฒนาไปสู่ขั้นตอนพร้อมใช้งาน ..... จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศ มีพลังในการย่อยสลายเหนือกว่าจะลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ (อ.วิชัยฯ /สจล.) ..... ดังนั้น เทคนิคการเลือกใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตรที่ดีและสมบูรณ์แบบที่สุด คือใช้ จุลินทรีย์ต้องการอากาศ + จุลินทรีย์ไม่ต้องการอากาศ อัตราส่วน 1 : 1 ..... ทั้งนี้ ตอนทำให้ทำแบบ "แยกทำ" แต่ตอนใช้ให้ใช้แบบ "ใช้รวม" หรือจะแยกใช้แบบทำงาน 2 ครั้งก็ได้

ธรรมชาติ คือ ความหลากหลาย จุลินทรีย์ทั้งโลกมีนับล้านชนิด ที่คนรู้จักและตั้งชื่อแล้วเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆของทั้งหมดเท่านั้น ..... ในเมื่อฟางก็คือพืชชนิดหนึ่ง ถ้าไม่ยึดกับกับ "จุลินทรีย์-ฟาง" เพียงอย่างเดียวจนเกินไป ก็น่าจะพิจารณาจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการย่อยสลายพืชอื่นๆอีกหลายชนิดบ้าง เช่น เศษไม้หรือเศษซากพืชในป่าธรรมชาติที่กำลังผุเปื่อย, มูลสัตว์กินหญ้า ชื้น/แห้ง เก่าข้ามปี, ฯลฯ ก็สามารถนำมาใช้หรือขยายเชื้อร่วมกับฟางผุเปื่อยได้เช่นกัน



คลิก....จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1848
-----------------------------------------------------------------------------
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©