-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปาล์มน้ำมัน....การใช้ปุ๋ย และการอนุรักษ์ดิน
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปาล์มน้ำมัน....การใช้ปุ๋ย และการอนุรักษ์ดิน

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 17/07/2011 10:21 am    ชื่อกระทู้: ปาล์มน้ำมัน....การใช้ปุ๋ย และการอนุรักษ์ดิน ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปาล์มน้ำมัน....การใช้ปุ๋ย และการอนุรักษ์ดิน


ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง และให้ผลผลิตสูง ซึ่งมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณที่สูง ดังนั้นในการทำสวนปาล์มน้ำมันจะต้องใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับต้นทุนการผลิต จึงจำเป็นต้องทราบชนิด และอัตราปุ๋ยที่ปาล์มน้ำมันต้องการ รวมทั้งวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยในแหล่งปลูกต่างๆ ซึ่งมีส่วนสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต



1. บทบาทและอาการขาดธาตุอาหาร ที่สำคัญของปาล์มน้ำมัน
1.1 ไนโตรเจน (N)

N เป็นองค์ประกอบของโปรตีนและนิวคลีโอโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่อยู่ในโครโมโซมมีความสำคัญต่อขบวนการเจริญเติบโตของพืช ปาล์มน้ำมันในช่วง Main Nursery และ immature stage จะตอบสนองต่อธาตุ N มากกว่าต้นปาล์มขนาดใหญ่ ดังนั้น อาการขาดธาตุ N จะพบมากในต้นปาล์มเล็กที่ปลูกในดินทรายตื้นๆ หรือดินที่มีการระบายน้ำเลว และในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ที่มีวัชพืชขึ้นอยู่หนาแน่น รวมทั้งหน้าดินมีการชะล้าง พังทลาย

สภาพแวดล้อมที่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
1) สภาพน้ำท่วมขัง
2) ดินเป็นกรดจัด (pH < 4) ในดินพรุ
3) หน้าดินตื้น และ แน่นทึบ
4) สภาพหลังจากใส่เศษซากพืชที่มี อัตราส่วนของ คาร์บอน/ไนโตรเจนสูง

อาการที่ใบ
1) ใบมีขนาดเล็กลง มีสีเหลืองซีดหรือเขียวอมเหลืองเกิดที่ทางใบด้านล่างก่อน
2) ขาดรุนแรงจะแสดงที่ใบมีสีเหลืองเพิ่มขึ้น
3) ทางใบและเส้นใบมีสีเหลือง แผ่นใบย่อยจะเรียวลงและม้วนเข้าหากัน
4) ปลายใบย่อยจะเป็นสีม่วงอมน้ำตาล

อาการที่ต้น
1) ลดการผลิตทางใบ และลดการเจริญเติบโต
2) ในปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว ขนาดของหน้าตัดแกนทางลดลง
3) การให้ผลผลิตครั้งแรกช้าลง
4) ผลผลิตลดลง



อาการขาดธาตุไนโตรเจน



1.2 ฟอสฟอรัส (P)
ฟอสฟอรัสบทบาทความสำคัญในเซลพืช การสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ของเซลการแบ่งเซลและการสัมพันธุ์และทำหน้าที่เป็นตำรับและถ่ายทอดพลังงานระหว่างสารต่าง ๆ ในกระบวนการที่สำคัญ ๆ เช่น กระบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจเป็นต้น

สภาพแวดล้อมที่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
1) สภาพที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
2) ดินตะกอนที่มีการตรึงฟอสฟอรัส
3) ดินจากเถ้าภูเขาไฟ
4) ดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสต่ำ

อาการที่ต้น อาการขาดธาตุ P ในปาล์มมักจะไม่แสดงอาการออกมาชัดเจนแต่อาจสังเกตได้จากปาล์มมีอัตราเจริญเติบโตต่ำทางใบสั้นลงลำต้นเล็กและขนาดของทะลายปาล์มเล็กลงและอาจสังเกตจากต้นหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วที่ปลูกบริเวณใกล้ต้นปาล์มมีปลายใบและก้านใบสีม่วง ใบล่างจะมีขนาดเล็กสีม่วงเข้ม ถ้า
1) ทางใบสั้น
2) ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโต
3) เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นลดลงในขณะที่มีความสูงเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นปาล์มมีลักษณะคล้ายปิรามิด


อาการขาดธาตุฟอสฟอรัส




1.3 โพแทสเซียม (K)
K เป็น Enzyme activator เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจ กระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ตลอดจนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืชช่วยให้น้ำในพืชมีความสมดุลย์และควบคุมการปิดเปิดปากใบในเซลพืช ซึ่งมีผลให้ปาล์มน้ำมันที่ได้รับ K เพียงพอทนทานต่อความแห้งแล้ง และโรคตลอดจนทำให้ทะลายปาล์มมีขนาดใหญ่และจำนวนเพิ่มขึ้น

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการ K สูง และมักจะเป็นธาตุอาหารที่มีการขาดอยู่เสมอ ในทุกพื้นที่ของการปลูกปาล์ม

สภาพแวดล้อมที่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
1) ดินพรุ
2) หน้าดินตื้น และแน่นทึบ
3) ดินทรายที่มีสภาพเป็นกรดจัด
4) ดินที่ผ่านการทำการเกษตร
อาการขาดธาตุ K ค่อนข้างแปรปรวนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ลักษณะอาการที่แสดงออกชัดเจน คือ

1) ใบมีจุดสีส้ม อาการเริ่มแรกพบในใบย่อยของทางใบล่าง จะเป็นจุดเหลืองซีด รูปร่างไม่แน่นอนเกิดขึ้นตามความยาวของทางใบ เมื่ออาการรุนแรงจุดเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเข้ม สลับตัดกับสีเขียวบางส่วนของใบ และเป็นจุดสีส้มในวงสีเหลือง อาการรุนแรงมากขึ้น จะพบเนื้อเยื่อแห้งตายตรงส่วนกลางของจุดสีส้ม ปลายและขอบทางใบย่อยแห้งตาย และในบางกรณีจะพบใบปาล์มล่างมีลักษณะดังกล่าว แต่แสดงอาการเพียงต้นเดียวในขณะที่ต้นข้างเคียงไม่แสดงอาการ ให้พิจารณาว่าน่าจะเป็นผลทางพันธุกรรมมากกว่าการขาดธาตุ K

2) อาการใบย่อยสีเหลืองแพร่กระจายเป็นวง ลักษณะอาการนี้พบเสมอ กับปาล์มที่ปลูกบนดินทราย ดินพรุ โดยเฉพาะในช่วงที่ขาดน้ำอย่างรุนแรง ใบย่อยของทางใบกลางจนถึงทางใบล่างของลำต้น มีอาการสีเหลืองและแห้งตาย

3) อาการตุ่มแผลสีส้มบนใบย่อยของทางใบล่าง


อาการขาดธาตุโพแทสเซียม





1.4 แมกนีเซียม (Mg)
Mg มีบทบาทที่สำคัญในพืช คือ เป็น Enzyme activator เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ที่มีสีเขียวและมีบทบาทในการสังเคราะห์กรดไขมัน ควบคุมปริมาณ

อาการขาด Mg มักพบในบริเวณพื้นที่ปลูกปาล์มในดินทราย และดินกรด และบริเวณที่หน้าดินถูกชะล้าง ลักษณะอาการขาดธาตุ Mg สังเกตได้ง่ายโดยใบย่อยของทางใบตอนล่าง จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม โดยเฉพาะใบที่ได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง แต่ส่วนใบย่อยที่ไม่สัมผัสแสงอาทิตย์ จะยังคงมีสีเขียวอยู่ แต่ถ้าขาดรุนแรงใบจะเป็นสีส้มทั้งใบ และแห้งตายเป็นหย่อม อาการขาด Mg อาจเกิดจากต้นปาล์มได้รับ K มากเกินไปก็ได้


อาการขาดธาตุแมกนีเซียม


1.5 โบรอน (B)
B มีบทบาทในการสังเคราะห์และย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในพืช ช่วยในการลำเลียงน้ำตาลในพืช เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ และกระบวนการสังเคราะห์แสง จำเป็นสำหรับการงอกของหลอดละอองเกสรตัวผู้ในช่วงการผสมเกสร จำเป็นในการแบ่งเซลโดยเฉพาะบริเวณปลายยอดและปลายรากและเกี่ยวข้องกับดึงดูดธาตุแคลเซียมของรากพืช ดังนั้น B เป็นธาตุอาหารที่ค่อนข้างมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันมาก การขาดธาตุ B ของปาล์มน้ำมันเป็นปัญหาใหญ่ และพบอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

ลักษณะอาการขาดธาตุ B จะแสดงออกที่ส่วนที่อ่อนที่สุดของพืช เนื่องจากเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช ดังนั้น การขาดธาตุโบรอนจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของใบทำให้ใบมีรูปร่างผิดปกติดังนี้
1) ทางใบยอดจะย่นพับเข้าหากัน ทำให้ใบยอดสั้นผิดปกติ
2) อาการขาดที่ไม่รุนแรง ปลายใบจะหักงอคล้ายรูปขอ (Hooked leaf)
3) อาการขาดที่รุนแรง ใบยอดจะย่น และปลายใบหัก นอกจากนี้มีอาการใบเปราะและสีเขียวเข้ม
4) ทะลายปาล์มจะมีเมล็ดลีบ หรือ มีเปอร์เซ็นต์การผสมไม่ติดสูง
1.6 ธาตุอาหารอื่นๆ

การขาดธาตุอาหารอื่นๆ ไม่ค่อยพบบ่อยนัก ปาล์มที่ปลูกในดินพรุหรือดินทรายจัด จะพบมีการขาดธาตุทองแดง ปาล์มที่ปลูกในดินจอมปลวกที่มีความเป็นด่างสูง จะมีการขาดธาตุเหล็กอย่างไรก็ตามการขาดธาตุอาหารเหล่านี้ มักไม่ค่อยมีความสำคัญเพราะพบน้อยมาก



อาการขาดธาตุโบรอน



2. การประเมินความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมัน
การกำหนดความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันนั้น นิยมใช้ผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบ มาประกอบเป็นแนวทางการใส่ปุ๋ย เพราะค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมันที่ได้มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต นอกจากการวิเคราะห์ใบแล้ว ตลอดจนการบันทึกปริมาณผลผลิตที่ได้ในแต่ละปี เพื่อความมั่นใจจะต้องมีการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความต้องการธาตุอาหาร และสุดท้ายนำผลที่ได้เหล่านั้น มาพิจารณาเพื่อการใส่ปุ๋ย

2.1 การวิเคราะห์ดิน
การวิเคราะห์ดินมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสำรวจดินก่อนปลูก แต่ไม่เหมาะสมที่จะวิเคราะห์ดินทุกปี เพื่อใช้ในการพิจารณาการใช้ปุ๋ย เพราะว่าเป็นการยากที่จะเก็บตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทน ที่จะบอกระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในบริเวณรากปาล์มน้ำมันได้อย่างแท้จริง

2.2 การวิเคราะห์ใบ
การใช้ค่าผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบ เพื่อประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และของต้นพืชนั้น มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพืชจำพวกไม้ยืนต้นซึ่งมีการเจริญเติบโตช้า และตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยในระยะ เวลาที่นาน และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น กับปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชที่ไม่มีระยะพักตัว เหมือนกับไม้ผล โดยปาล์มน้ำมันจะมีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
สำหรับงานทดลอง การใช้ผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมัน (ทางใบที่ 17) เพื่อการใช้ปุ๋ยเคมี มีงานทดลองมากมายในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารในใบกับผลผลิตปาล์มน้ำมัน ทำให้มีการกำหนดค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมของแต่ละธาตุ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาว่า ระดับธาตุอาหารในใบที่วิเคราะห์ได้นั้น เพียงพอต่อความต้องการของต้นปาล์มน้ำมันหรือไม่ ซึ่งได้มีการกำหนดเป็นช่วงความเข้มข้นที่เหมาะสม ระดับไม่เพียงพอ และระดับที่มากเกินพอ (ตารางที่ 2)

อย่างไรก็ตามค่าความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบที่เหมาะสม จะมีความแปรปรวน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ดิน ภูมิอากาศ ตลอดจนธาตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สภาพดิน ปริมาณน้ำฝน ซึ่งผลวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมัน จะมีความแม่นยำมากขึ้น เมื่อมีการวิเคราะห์ติดต่อกันหลายปี ในสภาพพื้นที่ของแต่ละสวนปาล์ม


3. การแนะนำการใช้ปุ๋ย
การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด มีหลักเกณฑ์ ที่ควรพิจารณา ดังนี้
3.1 ชนิดปุ๋ย
การเลือกใช้ปุ๋ยมีความสำคัญประการหนึ่งในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งนอกจากจะต้องคำนึงถึงราคาของปุ๋ยแล้ว ควรคำนึงถึงผลตอบแทนจาการใส่ปุ๋ยด้วย ซึ้งในการเลือกใช้ปุ๋ยด้วย ซึ่งในการเลือกใช้ปุ๋ยควรพิจารณาคุณสมบัติของปุ๋ย สภาพพื้นที่และภูมิอากาศในสวนด้วย เพื่อที่จะเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพื้นที่ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของของการใช้ปุ๋ย สำหรับปุ๋ยที่นิยมในสวนปาล์ม เป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยว ซึ่งมีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารต่ำกว่าปุ๋ยผสมและสามารถปรับลดอัตราการใส่ธาตุอาหารแต่ละชนิดไดตามต้องการของพืช ซึ่งแหล่งปุ๋ยเชิงเดี่ยวมีหลายชนิด


1) ปุ๋ยไนโตรเจน
แหล่งให้ธาตุไนโตรเจน (N) ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่
(1) ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้เป็นแหล่งของธาตุ N ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ปุ๋ยแอมโมเนียม ซัลเฟต (21% N) และปุ๋ยยูเรีย (46% N) ซึ่งเป็นปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุ N เป็นปริมาณสูง แต่ในการเลือกใช้ปุ๋ยชนิดนี้ต้องระวังการสูญเสียจากระเหิด (Volatilization) โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยยูเรียในดินทรายที่เป็นด่าง

(2) การตรึงไนโตรเจนของพืชตระกูลถั่ว การปลูกพืชตระกูลถัวคลุมดิน ตั้งแต่เริ่มปลูกสร้างสวนปาล์มเป็นการเพิ่มอินทรีย์ไนโตรเจน ซึ่งเมื่อตระกูลถัวสลายตัว ค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ออกมาช้า ๆ ซึ่งพืชตระกูลถั่วที่นิยมปลูกดิน ได้แก่ ถั่วคาโลโปโกเนียม (Calopogonium caerulum) ผสมถั่วเพอราเรีย (Pueraria phaseoloides) ซึ่งจะเป็นแหล่งให้ธาตุ N ที่สำคัญในสวนปาล์มโดยเฉพาะในช่วงปีที่ 3-5 ของการปลูก เพื่อสลายตัวจะปลดปล่อยธาตุ N เท่ากับ 1.34 กก./ต้น/ปี หรือ 30 กก./ไร่/ปี

(3) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มเติมในดิน เช่น ทางใบปาล์มที่ตัดแต่งแล้ว ทะลายเปล่าปาล์มมัน ซึ่งเมื่อสลายตัวจะเป็นแหล่งของธาตุอาหารที่สำคัญ และอินทรียวัตถุเหล่านี้จะช่วยรักษาความชื้นของดินทำให้ดินมีโครงสร้างดี ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและจุลชีวของดิน ทำให้ประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของรากเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของปุ๋ย N ที่ใส่ในสวนปาล์ม


2) ปุ๋ยฟอสฟอรัส
ปุ๋ยที่ให้ธาตุ P ที่นิยมใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (46%P2O5) และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต ซึ่งความเป็นประโยชน์ของธาตุ P จะขึ้นอยู่แหล่งของร็อคฟอสเฟต ซึ่งในการเลือกใช้ปุ๋ย P นี้ ขึ้นอยู่กับราคาปุ๋ยความเป็นประโยชน์ของธาตุ P ที่พืชต้องการ กรณีที่ปาล์มอายุน้อย (immature) หรือแสดงอาการขาดธาตุ P ควรใส่ปุ๋ย P ในรูปของปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต ซึ่งจะมีธาตุฟอสฟอรัส อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ง่าย ทำให้ปาล์มสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ใส่ได้ทันที

ในสวนปาล์มที่โตเต็มที่ (mature) สามารถใส่ปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต และร็อคฟอสเฟตเป็นแหล่งของธาตุ P ในสวนปาล์มได้ แต่การเลือกใช้ปุ๋ยร็อคฟอสเฟต จะทำให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ยเคมี เนื่องจากมีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารต่ำกว่าปุ๋ยทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต


3) ปุ๋ยโพแทสเซียม
ปุ๋ยที่ให้ธาตุ K ที่นิยมใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ และปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต แต่สวนใหญ่จะนิยมใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ เพราะมีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารต่ำกว่า
แหล่งของธาตุ K ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง คือ ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้จากผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สกัดน้ำมันออกแล้ว โดยผลผลิตทะลายสด เมื่อสกัดน้ำมันออกแล้วจะได้ส่วนที่เป็นทะลายเปล่า 22%
ใน 1 ตันทะลายเปล่าจะมีธาตุอาหารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งคิดเทียบเท่าปุ๋ยเคมีแอมโมเนียมซัลเฟต 15.3 กก. ปุ๋ย Christmas Island Rock Phosphate 2.5 กก. ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 18.8 กก. และ ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ 4.7 กก. ดังนั้น จึงสามารถใช้ทะลายเปล่าเป็นแหล่งของธาตุ K ในสวนปาล์มน้ำมันได้


4) ปุ๋ยแมกนีเซียม
ปุ๋ยที่ธาตุ Mg ที่นิยมใช้ในสวนปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ และปูนโดโลไมท์ (ground magnesium limestone) ซึ่งสามารถในการสะลายจะต่างกัน โดยคีเซอร์ไรท์ จะมีธาตุ Mg อยู่ในรูปละลายน้ำได้ง่ายกว่าปูนโดโลไมท์ แต่ในดินกรดควรใส่ปูนโดโลไมท์ ซึ่งจะมีธาตุ Ca เป็นองค์ประกอบทำหน้าที่ปรับสภาพความเป็นกรดของดิน สำหรับปาล์มน้ำมันที่มีอายุน้อย (immature) หรือแสดงอาการขาดธาตุควรเลือกใช้ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ ซึ่งมีธาตุ Mg ในรูปละลายน้ำไดง่าย สำหรับปาล์มน้ำมันที่โตเต็มที่แล้ว (mature) สามารถเลือกใช้ปูนโดโลไมท์ เป็นแหล่งธาตุ Mg ทดแทนการใช้ปุ๋ยคีเซอร์ไรท์ โดยไม่ทำให้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันและความเข้มข้นของธาตุ Mg ในปบแตกต่างกัน และโดโลไมท์ทำหน้าที่เหมือนปูนที่ปรับสภาพความเป็นกรดของดิน (liming agent) ทำให้ดินมี pH ที่เหมาะสม ที่จะทำให้ธาตุอาหารพืชละลายออกมาในรูปที่เป็นประโยชน์ได้ง่าย แต่การใส่โดโลไมท์ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ควรระวังการสะสมธาตุ Ca ในดิน ซึ่งถ้ามีปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อการดูดใช้ธาตุ K ของรากพืชได้


http://www.sintusatepalmoil.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539259315&Ntype=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©