-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปุ๋ยสั่งตัด.....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปุ๋ยสั่งตัด.....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 06/07/2011 5:47 am    ชื่อกระทู้: ปุ๋ยสั่งตัด..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ลำดับเรื่อง....

1. "ปุ๋ยสั่งตัด" ฉีกกฎหว่านปุ๋ยทิ้ง ใช้ปุ๋ยตรงพืช ตรงดิน ลดต้นทุน
2. การวิเคราะห์ NPK ในดินอย่างง่าย
3. คลินิกปุ๋ยสั่งตัด
4. เปิด "ปุ๋ยสั่งตัด" 6 สูตร ช่วยชาวนา
5. ปุ๋ยสั่งตัด

6. พบนักวิจัยปุ๋ยสั่งตัด ฟื้นรายได้เกษตรกรไทย
7. "ก่อนตายอยากเห็นเกษตรกรรวยขึ้น"
8. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เฮ ! ใช้ปุ๋ยเคมีแบบสั่งตัด ผลผลิตเพิ่ม
9. การใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว
10. “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยเกษตรกรได้อย่างไร ?

11. “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยลดต้นทุนการผลิต
12. ปุ๋ยสั่งตัด
13. ม.เกษตรพัฒนาโปรแกรม สั่งสูตรปุ๋ยผ่าน SMS
14. “ปุ๋ยสั่งตัด” ปุ๋ยตรงพืช ตรงดิน ลดต้นทุน
15. ปุ๋ยยางสั่งตัด


********************************************************************





1. "ปุ๋ยสั่งตัด" ฉีกกฎหว่านปุ๋ยทิ้ง ใช้ปุ๋ยตรงพืช ตรงดิน ลดต้นทุน



ปัญหา :
เมื่อร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องบริโภคอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่...ผืนดินก็เช่นเดียวกัน มันจำเป็นต้องมีธาตุอาหารคอยหล่อเลี้ยงเพื่อบำรุงโครงสร้างให้อยู่ในสภาพดี และเพื่อทดแทนธาตุอาหารที่ถูกพืชดูดดึงไปใช้

ธาตุอาหาร N-P-K (ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม) ที่ผ่านการผลิตทางเคมี ซึ่งเกษตรกรรู้จักกันดีในนามของ "ปุ๋ยเคมี" นั้นก็คือ อาหารที่จำเป็นสำหรับพืช แต่ที่ผ่านมาพบปัญหาว่าเกษตรกรมักใช้ปุ๋ยเคมีตามความคุ้นเคย โดยมองข้ามไปว่าแท้จริงแล้ว ดินและพืชที่ปลูกต้องการธาตุอาหารใด ปริมาณเท่าไหร่ หรือปุ๋ยสูตรที่จำหน่ายตามท้องตลาดนั้นเหมาะสมกับพืชและดินแล้วหรือไม่

เกษตรกรหลายรายยึดติดกับความคิดที่ว่า ใส่ปุ๋ยมาก ได้ผลผลิตมาก แต่สุดท้ายก็ได้พบความจริงว่า สิ่งที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ใช่ผลผลิตแต่เป็นต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงขึ้นแบบเท่าทวีคูณ หากการใช้ปุ๋ยในปริมาณที่มากกว่าความต้องการของดินและพืช นั่นหมายความว่า เกษตรกรกำลังฉีกเงิน ฉีกสตางค์ แล้วหว่านทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ นั่นเอง

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใส่ปุ๋ยชนิดใด ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ??? หลายคนตั้งคำถาม

คำตอบจาก ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครูผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านปุ๋ยแก่เกษตรกรมาตลอดเกือบ 10 ปี ก็คือ "ปุ๋ยสั่งตัด" หรือการใช้ปุ๋ยเฉพาะที่เฉพาะทางตามค่าวิเคราะห์ดิน เจาะจงความเหมาะสมเฉพาะแปลงของเกษตรกรแต่ละราย

"ปุ๋ยเคมีทั่วไป เปรียบเทียบได้กับเสื้อผ้าที่ขายในท้องตลาด ที่เรียกกันว่าเสื้อโหล ซึ่งอาจจะไม่พอดีกับเรา ต่างกับเสื้อสั่งตัดที่เป็นขนาดของเราโดยเฉพาะ ปัจจุบันเกษตรกรยังใช้ปุ๋ยแบบเสื้อโหล นั่นหมายความว่า คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเฉพาะข้าวหรือข้าวโพดจะใช้ทั้งสูตรปุ๋ยและปริมาณปุ๋ยเหมือนกันหมดทุกดินในประเทศไทย แต่ดินในประเทศไทยมีอยู่มากกว่า 200 ชนิด แล้วจะให้เหมือนกันทั้งหมดได้อย่างไร"

ดังนั้น เกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีตัวช่วย ดร.ทัศนีย์ รวมทีมวิจัยนำแบบจำลองการปลูกพืชมาพัฒนาคำแนะนำปุ๋ยโดยนำปัจจัยต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ดิน พืช และภูมิอากาศ มาร่วมคำนวณหาข้อมูลที่แม่นยำ เพื่อให้ได้คำแนะนำปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพจากโปรแกรม จากนั้นนำมาทดสอบในแปลงทดสอบและแปลงสาธิตโดยเกษตรกร และได้เปรียบเทียบผลผลิตที่คาดคะเนจากโปรแกรมกับผลผลิตที่ได้จริงในภาคสนาม พบว่ามีค่าใกล้เคียงกันมาก จากจุดเริ่มตั้งแต่ปี 2540 ได้พัฒนาเป็นคำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" สำหรับข้าวโพดที่เรียกว่า SimCorn ในปี 2544 และสำเร็จเป็นคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดสำหรับข้าวเรียกว่า SimRice ในปี 2549 โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ส.ก.ว.)

ผลจากการวิจัยดังกล่าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน ธ.ก.ส. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน ได้นำคำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" ไปขยายผลกับข้าวนาชลประทาน 8 จังหวัดภาคกลาง ในปี 2550 ปรากฏว่าได้ผลดีมาก พบว่า ถ้าใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินแล้วค่าปุ๋ยเคมีต่อไร่ต่อฤดูปลูกลดลงร้อยละ 47 ขณะที่ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในปี 2551 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กำลังนำไปขยายผลกับนาข้าว 1 ล้านไร่ในภาคกลาง และอีสานอีก 2,000 ไร่

"ปุ๋ยสั่งตัด" เป็นคำแนะนำปุ๋ยที่แตกต่างกันในดินแต่ละชนิด ในกรณีที่เป็นดินชนิดเดียวกัน แต่อยู่ต่างพื้นที่ วิเคราะห์ดินแล้ว มี เอ็นพีเค เท่ากัน แต่น้ำฝนไม่เท่า อากาศไม่เท่า แสงแดดไม่เท่า ก็จะมีคำแนะนำที่ต่างกัน ดังนั้น คำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" จึงเป็นคำแนะนำปุ๋ยที่ละเอียดอ่อนมากและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เหมือนกับเราใส่เสื้อผ้าที่พอดี แต่เกษตรกรยังต้องมีการปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองเพิ่มเติม จะได้เป็นข้อมูลเฉพาะดินของตนเอง ซึ่งไม่เหมือนใคร แม้กระทั่งแปลงใกล้เคียง เพราะลักษณะดินและการจัดการดินมีส่วนทำให้ธาตุอาหารในดินแตกต่างกัน"

แต่เมื่อเอ่ยถึง "การวิเคราะห์ดิน" แล้ว สิ่งที่ต้องผุดอยู่ในความคิดของเกษตรกรทันทีก็คือ "เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก!!"

"การตรวจดินเป็นเรื่องที่เกษตรกรทำได้ ไม่ยุ่งยากเลย เพราะขั้นตอนที่สลับซับซ้อน เราทำให้มันง่ายแล้ว เพียงแค่เกษตรกรต้องเก็บดินในวิธีการที่ถูกต้อง เปลี่ยนพฤติกรรมจากปกติที่ซื้อปุ๋ยมาโยนๆ มาลองเก็บดินให้ถูกวิธี และมาดูว่าเป็นดินชุดใด และวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือว่ามีธาตุอาหารอะไรอยู่ในดินบ้าง จากนั้นก็นำค่าที่ได้มาเทียบเคียงกับตารางคำแนะนำการใช้ "ปุ๋ยสั่งตัด" แต่ต้องเป็นปัจจุบันที่สุด ไม่ใช่นำผลวิเคราะห์ดินเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เก็บใส่ลิ้นชัก เมื่อถึงเวลาแล้วเก็บขึ้นมาใช้ เพราะดินมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ก็เหมือนกับคนเรามีอ้วนมีผอม เสื้อผ้าชุดเดิมก็อาจใส่ไม่ได้แล้ว มีเกษตรกรบางรายใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 มานานมาก ซึ่งหมายความว่าไม่มีธาตุอาหารตัวท้าย แต่ปรากฏว่าเมื่อนำดินไปวิเคราะห์ปุ๊บ ดินในแปลงดังกล่าวขาดตัว K ดังนั้น แม้จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ไปมากแค่ไหน ดินก็ไม่เคยได้รับธาตุอาหารที่ขาด การใช้ปุ๋ยต้องมีความสมดุลตามปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน จึงต้องมีการตรวจวิเคราะห์ดิน ซึ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ดินง่ายมาก แต่เกษตรกรที่ยังไม่เคยลงมือมักจะมองว่าเป็นเรื่องยาก"

วิธีการตรวจสอบชุดดินสามารถปฏิบัติตามคู่มือตรวจสอบชุดดินที่ทีมงานได้พัฒนาขึ้น หรือสามารถสอบถามได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด ส่วนการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ก็สามารถวิเคราะห์เองได้ภายใน 30 นาทีด้วย "ชุดตรวจสอบ N P K ในดิน" ปัจจุบันราคาประมาณ 3,745 บาท สามารถวิเคราะห์ดินได้ 50 ตัวอย่าง หากเทียบกับการส่งดินตัวอย่างมาตรวจสอบในห้องแล็บซึ่งมีรายจ่ายราว 400 บาท ต่อ 1 ตัวอย่าง และใช้เวลามากกว่า 3 สัปดาห์ จึงจะรู้ผล นับว่าการตรวจสอบเองที่คุ้มค่าและคุ้มเวลากว่ามาก

การลงทุนจุดนี้ หากเกษตรกรสามารถรวมกลุ่มใช้ชุดตรวจสอบร่วมกัน หรือทางผู้นำชุมชน อบต. อบจ. หรือศูนย์ชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนก็นับว่าเหมาะสมอย่างยิ่ง

เมื่อได้ค่าวิเคราะห์ดินเสร็จแล้ว เกษตรกรก็สามารถนำมาเทียบเคียงกับคู่มือแนะนำการใช้ปุ๋ย หรือในท้ายเล่มหนังสือธรรมชาติของดินและปุ๋ย หรือคำนวณเองง่ายๆ ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th

และเร็วๆ นี้ เกษตรกรยังสามารถรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยผ่านมือถือได้ง่ายๆ โดยระบบ SMS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

มาถึงบรรทัดนี้มีคำถามตั้งขึ้นต่อว่า แล้วจะนำปุ๋ยตามคำแนะนำมาจากที่ใด ???

คำตอบก็คือ การใช้แม่ปุ๋ย N P K เป็นหลัก นำมาผสมตามสัดส่วนตามคำแนะนำนั่นเอง

"อาจจะไม่ง่ายเหมือนการซื้อปุ๋ยสูตร แต่การใช้แม่ปุ๋ยจะช่วยลดปัญหาปุ๋ยปลอมระบาดได้ส่วนหนึ่ง เพราะปัญหาทุกวันนี้คือเกษตรกรใส่ปุ๋ยเท่ากับใส่ดิน แต่ปัจจุบันพบปัญหาอีกว่าแม่ปุ๋ยก็หาได้ยาก จังหวะเหมาะที่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนรายหนึ่งที่สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มสั่งซื้อแม่ปุ๋ยนำเข้าผ่านบริษัทเพื่อให้ได้แม่ปุ๋ยในราคาที่ถูกกว่าได้ ที่ต่างประเทศไม่ได้ขาดแคลนเลย ส่วนปุ๋ยสูตรที่นิยมใช้นั้นหน้าตาก็เหมือนกันไปหมด เราไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าจริงหรือปลอม จนกว่าจะมาวิเคราะห์ทางเคมี ปรากฏว่ามีคนไปเจอสูตร 15-15-15 ผลคือ มีแค่ 11-1-1 นี่เป็นต้นเหตุของเรื่องที่เกษตรกรแปลกใจว่าทำไมใส่ปุ๋ยไปแล้วมันเขียวแค่แป๊บเดียว นั่นก็เพราะธาตุอาหารมีแค่นิดเดียวเท่านั้น" ดร.ทัศนีย์กล่าวเสริม

จากผลการใช้งานจริงของเกษตรกรตัวอย่างเคยใช้ปุ๋ยรวม 72 กิโลกรัม ต่อไร่ เมื่อวิเคราะห์ดินแล้วเหลือ 25 กิโลกรัม ขณะที่ผลผลิตไม่ต่างกันมาก บางรายลดการใช้ปุ๋ยเหลือ 1 ใน 3 เฉลี่ยแล้วพบว่า เกษตรกรสามารถลดการใช้ปุ๋ย 38-49% นอกจากนี้ ยังส่งผลไปถึงการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสิ่งแวดล้อมด้วย

"ที่ผ่านมา เกษตรกรเข้าใจว่าใส่ปุ๋ยมากจะทำให้ผลผลิตมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ชอบคือแมลง เพราะไนโตรเจนทำให้พืชอวบ เต่งตึง แมลงก็มากิน เกษตรกรจึงต้องฉีดยาฆ่าแมลง บางคนเห็นแมลงอะไรก็ฉีดแล้ว แต่จริงๆ แล้ว มันมีทั้งแมลงตำรวจ แล้วก็แมลงผู้ร้าย เกษตรกรก็ฉีดหมด กันไว้ก่อน ในที่สุดผลร้ายก็ตามมา เขาก็เลยโทษกันว่าสารเคมีมาจากปุ๋ยเคมีที่เป็นอันตราย อันที่จริงแล้วมาจากยาฆ่าแมลงเหล่านี้นี่เอง"

แต่การใช้ "ปุ๋ยสั่งตัด" นี้ มีเงื่อนไขสิ่งหนึ่งคือ เกษตรกรต้องไม่เผาฟาง ศ.ดร.ทัศนีย์บอกว่า หากเผาฝางทิ้งก็เท่ากับการเผาเงินทิ้งเช่นกัน เพราะฟางข้าวเหล่านั้นก็คือปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีที่ไม่ต้องซื้อหา ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินให้โปร่งขึ้น ลดปัญหาดินแน่นทึบได้ดีและเพิ่มธาตุโพแทสเซียม

"ตอนนี้ปุ๋ยแพง เกษตรกรจะมาโยนเล่นไม่ได้ แต่ต้องใช้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ไม่ว่าปุ๋ยจะแพงอย่างไร ถ้าเราจัดการได้ดีและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็คุ้ม ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ราคาตันละ 7,000-12,000 บาท (ราคาต่อหนึ่งหน่วยธาตุอาหาร เท่ากับ 175-300 บาท) เกษตรกรอาจจะมองเห็นว่ามันถูกเมื่อเทียบราคาต่อตันกับปุ๋ยยูเรีย ซึ่งมีราคาสูงถึงตันละ 28,000 บาท (ราคาต่อหนึ่งหน่วยธาตุอาหาร เท่ากับ 61 บาท) เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารต่ำกว่าปุ๋ยเคมีมาก จึงมีราคาต่อหน่วยธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยเคมี หากนำมาใช้ตามความต้องการของพืช เท่ากับว่าเกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่สูงกว่า ซึ่งหมายถึงรายจ่ายที่สูงขึ้น ยกตัวอย่าง การใช้ปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยอินทรีย์ พบว่า ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากกว่า คิดเป็นสัดส่วน 17 ต่อ 400 ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีไม่ได้ แต่ต้องใช้ด้วยกัน เพราะหน้าที่ปุ๋ยอินทรีย์ก็คือปรับปรุงสภาพกายภาพ แต่บังเอิญว่าในปุ๋ยอินทรีย์นั้นมีธาตุอาหารอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ปุ๋ยเคมีนั้นมีหน้าที่ให้ธาตุอาหารโดยตรง จึงเป็นคำตอบที่ว่า เราไม่สามารถเอาของที่ไม่เหมือนกันมาเทียบมาแทนกันได้ แต่สามารถใช้ร่วมกันได้"

ศ.ดร.ทัศนีย์ ยอมรับว่ารู้สึกหนักใจกับกระแสการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อจำหน่ายที่เริ่มผิดเพี้ยนไป เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้องคือเป็นการนำเอาวัตถุทางธรรมชาติ เช่น เศษพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่มาไถกลบลงไปในดิน โดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น และพยายามปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชหลักที่ปลูกอยู่ แต่สิ่งที่หนักใจยิ่งกว่าก็คือ ยังมีเกษตรกรค่อนประเทศที่มองข้ามความสำคัญของดินที่เหยียบย่ำ ใช้ประโยชน์จากมันอย่างละเลย

"ตอนนี้ดินประเทศไทยเสื่อมโทรมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อีสาน เมื่อไปวิเคราะห์ดินแล้วอยู่ในระดับต่ำเกือบทั้งหมด ไม่มีธาตุอาหารใดๆ เหมือนทราย ภาคกลางเองก็เยอะ ทางเหนือก็เสื่อม ขณะที่เกษตรกรก็ไม่รู้ ประชากรก็เกิดทุกวัน แต่เราไม่สามารถไปบุกป่าสร้างพื้นที่ใหม่ได้อีกแล้ว เราต้องใช้พื้นที่เดิม แต่ถ้าเราไม่ดูแลเรื่องดินเสื่อมโทรม ผลผลิตก็จะค่อยๆ ลดลงจนถึงจุดที่แย่ถึงที่สุด แล้ววันนั้นกว่าเราจะสามารถฟื้นฟูได้ต้องใช้เวลาอีกเป็นสิบปี เกษตรกรไม่เพียงใช้ปุ๋ยเป็นอย่างเดียว แต่ต้องใส่ใจกับดิน หมั่นตรวจดิน ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันให้ความรู้กับเกษตรกร"

ความพยายามในการถ่ายทอดความรู้เรื่องดินและการใช้ปุ๋ยของ ดร.ทัศนีย์และทีมงาน เนิ่นนานมาร่วม 10 ปีแล้ว แต่การนำไปใช้จริงของเกษตรกรมีเพียง 10% เท่านั้น หลายคนบอกกับ ดร.ทัศนีย์ว่า เหมือนการหยดน้ำทีละหยดในมหาสมุทร แต่เธอบอกว่าไม่เป็นไร สักวันคงจะได้สักกระป๋องหนึ่ง การมีพันธมิตรมีผู้สนับสนุนร่วมเผยแพร่หรือต่อยอดงานวิจัยที่มากขึ้น ทำให้ภาพความหวังให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้เริ่มชัดเจนขึ้น

"อาจารย์ไม่ได้คาดหวังว่าเกษตรกรทุกคนทั่วประเทศจะต้องวิเคราะห์ดินเก่งหรือให้คำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" เก่ง แต่สิ่งที่เราหวังก็คือแกนนำชุมชนที่สามารถเรียนรู้วิธีการนี้ไปใช้หรือเผยแพร่ในชุมชน สอนกันเองในชุมชน เกษตรกรเก่งๆ บ้านเรามีเยอะเลย เพียงแต่ว่าเราจะขยายผลอย่างไรให้เกษตรกรมีความรู้ จะได้ไม่ถูกเอาเปรียบ ทุกวันนี้ให้อาจารย์ไปสอนไปบรรยายที่ไหน รวมกลุ่มกันมา อาจารย์ก็ไปหมด สักวันก็คงได้รับผลสำเร็จ...ก็คงจะทำไปจนกว่าอาจารย์จะตาย" คำทิ้งท้ายจาก ศ.ดร.ทัศนีย์



http://siweb.dss.go.th/qa/search/search_description.asp?QA_ID=802 .


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/06/2016 5:48 am, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 06/07/2011 5:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. การวิเคราะห์ NPK ในดินอย่างง่าย


บุญแสน เตียวนุกูลธรรม; สมชาย กรีฑาภิรมย์; ชัยฤกษ์ สุวรรณรัตน์; ทัศนีย์ อัตตะนันทน์


ได้ศึกษาน้ำยาสกัด N P K ในดิน โดยนำดินที่ปลูกข้าวโพดมาทดลองและคัดเลือกน้ำยาสกัด N P K เพียงครั้งเดียว แต่สามารถวิเคราะห์ปริมาณ N P K ได้โดยการศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างค่าที่สกัดได้กับน้ำหนักแห้ง และการดูดใช้ N P K ของข้าวโพด

ผลปรากฎว่าน้ำยา Mehlich 1 เป็นน้ำยาสกัดที่เหมาะสมและได้ถูกคัดเลือกให้เป็นน้ำยาสกัดดิน นำสิ่งที่สกัดได้มาวิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจน ในรูปแบบของแอมโมเนียม และไนเตรต และฟอสฟอรัส โดยวิธีทำให้เกิดสี เปรียบเทียบการวัดปริมาณโดยใช้ spectrophotometer กับการใช้แผ่นสีมาตรฐาน

ผลการทดลองกับดิน 55 ตัวอย่าง พบว่าการวัดปริมาณแอมโมเนียม ไนเตรต และฟอสฟอรัส โดยการใช้ spectrophotometer กับการใช้แผ่นสีมาตรฐาน มีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ

ในกรณีของโพแทสเซียมนั้น ได้ทดลองกับดิน 200 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นดินกรด และดินด่างที่มีเนื้อดินหยาบ ปานกลาง และละเอียด โดยหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ K ที่สกัดโดยใช้ NH4OAc และวัดปริมาณโดยใช้ Atomic absorption spectrophotometer (A.A.) กับปริมาณ K ที่สกัดโดย Mehlich 1 และวัดปริมาณโดยการใช้แผ่นสีมาตรฐาน ผลปรากฎว่ามีค่าสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ยกเว้นดินด่างที่มีเนื้อดินหยาบ ไม่พบสหสัมพันธ์

ได้พัฒนาอุปกรณ์ และวิธีการวิเคราะห์ปริมาณ N P K โดยใช้แผ่นสีมาตรฐาน จุดประสงค์เพื่อให้เกษตรกร หรือนักส่งเสริมการเกษตรสามารถตรวจสอบปริมาณ N P K ในดินได้ด้วยตนเอง ปรับปรุงอุปกรณ์ และสารเคมีสำหรับสกัด และวิเคราะห์ปริมาณ N P K จนได้ชุดตรวจสอบ N P K ในดินที่สามารถนำติดตัวออกไปใช้ในภาคสนามได้




http://kucon.lib.ku.ac.th
.


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/12/2015 7:21 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 06/07/2011 4:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. คลินิกปุ๋ยสั่งตัด


เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวและข้าวโพดได้ด้วยตนเอง

ปุ๋ยสั่งตัด คือ อะไร?
การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดิน และ ค่าวิเคราะห์ดินปัจจุบัน ซึ่งพัฒนาโดยนำข้อมูลดิน พืช การจัดการดิน รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์มาคำนวณในคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมการปลูกพืชที่สลับซับซ้อน แต่ทำให้ง่ายสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ คำแนะนำปุ๋ยแบบ “สั่งตัด” จะมีความแตกต่างกันในดินแต่ละชนิด เช่น คำแนะนำปุ๋ยข้าวในชุดดินอยุธยา และ ชุดดินมโนรมย์ไม่เท่ากันแม้ปริมาณ เอ็น พี เค ที่วิเคราะห์ได้ในดินเท่ากัน กรณีของข้าวโพด คำแนะนำปุ๋ย “สั่งตัด” ของชุดดินปากช่อง จ. นครราชสีมา แตกต่างจากคำแนะนำปุ๋ยของชุดดินปากช่อง จ. ลพบุรี เป็นต้น


การใช้ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าว และ ข้าวโพดได้อย่างไร และ เท่าใด?
จากผลการทดลองโครงการบูรณาการเพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลางที่ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” โดย ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และหน่วยงานอีกหลายแห่ง พบว่า ชาวนาใส่ปุ๋ย เอ็น และ พี ในปริมาณมากเกินกว่าความต้องการของต้นข้าว และ ละเลยการใส่ปุ๋ย เค เมื่อเกษตรกรทดลองใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลดลง 241 บาท (เมื่อคิดราคาปุ๋ยเดือนมกราคม 2550) ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลดลง 178 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ลดลง 91 บาท รวมต้นทุนการปลูกข้าวลดลง 510 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก ถ้าชาวนาภาคกลางในพื้นที่ 10 ล้านไร่ (ปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง) ได้ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” จะทำให้ต้นทุนการปลูกข้าวลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนชาวไร่ข้าวโพดจะได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 35 และ ผลตอบแทนสูงขึ้นอีกร้อยละ 41 เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”


เหตุใดเกษตรกรจึงทำปุ๋ยสั่งตัดได้ด้วยตนเอง ?
เกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถตรวจสอบเอ็น พี เค ในดินโดยใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างง่ายด้วยตัวเอง ซึ่งรู้ผลได้ภายใน 30 นาที และ เกษตรกรสามารถทราบชื่อชุดดินโดยตรวจสอบได้จากแผนที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน จากนั้นเกษตรกรสามารถหาคำแนะนำปุ๋ย “สั่งตัด” ได้โดยการใช้หนังสือหรือโปรแกรมคำแนะนำ



หลักการสำคัญของปุ๋ยสั่งตัด
เกษตรกรที่ต้องการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” เพื่อช่วยให้การใช้ปุ๋ยเคมีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ควรมีความรู้ความเข้าใจใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสอบข้อมูลชุดดิน การเก็บตัวอย่างดินและการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน และ การใช้คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดโดยใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งทุกขั้นตอนเกษตรกรสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง


การตรวจสอบข้อมูลชุดดิน
เกษตรกรสามารถใช้คู่มือการตรวจสอบชุดดิน หรือ เปิดแผนที่ดินของกรมพัฒนาที่ดินเพื่อหาชื่อชุดดินของตนเองได้



การเก็บตัวอย่างดินและการตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดิน
เกษตรกรควรศึกษาวิธีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อให้ได้ตัวอย่างดินที่เป็นตัวแทนของที่ดินของตนเอง และ ควรวิเคราะห์ดินโดยใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินได้ด้วยตนเอง



การใช้คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดโดยใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูป
เกษตรกรสามารถใช้คู่มือหรือโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาคำแนะนำปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ได้



การใช้ปุ๋ยสั่งตัดในไร่นาของเกษตรกร
ผู้ใช้ปุ๋ยสั่งตัดภาคประชาชน
ชาวนา เช่น คุณพิชิต เกียรติสมพร คุณสมศักดิ์ นุ่มน่วม คุณสมมาตร สิงห์ทอง คุณศรีนวล ศรีสวัสดิ์ คุณประทิน หมื่นจง คุณมาณพ ขันทอง คุณสมใจ ศรีชัยนาท คุณธัญพร ศรีประเสริฐ คุณประจวบ เพชรทับทิม คุณโสภณ ทองดอนพุ่ม คุณประสิทธิ์ วงษ์สนอง คุณสมปอง ฉ่ำเฉลียว คุณสำรวย วงษ์สนอง คุณสุนทร ชมแพ คุณบันเทิง อภัยสุข คุณสุรินทร์ โพโต คุณสนิท คำแหง คุณอำไพ น้ำจันทร์ คุณนิมนต์ เกิดบัณฑิต คุณเสวก ทับทิม คุณนิสา สังวาลย์เพชร คุณปลี รอดเรื่อง คุณสุภาพ โนรีวงศ์ เป็นต้น

ชาวไร่ข้าวโพด เช่น คุณสมบัติ นิรากรณ์ คุณสละ นิรากรณ์ คุณชำเลือง ลัดดาผล คุณสัมพันธ์ เย็นวารี คุณกฤชพัฒน์ ศรีทรงเมือง เป็นต้น



หน่วยงานที่ใช้ปุ๋ยสั่งตัด
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร



หลักสูตรอบรมการใช้ปุ๋ยสั่งตัด 1 วัน
เกษตรกรสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ได้หลังจากผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่มีการเรียนรู้ทั้งภาคบรรยาย และ ภาคปฏิบัติการตามหัวข้อดังต่อไปนี้



หลักคิดของเกษตรกรมืออาชีพ
เกษตรกรควรมีหลักคิดที่ถูกต้องเพื่อพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเอง โดยเป็นผู้รอบรู้ในด้านการจัดการดิน ปุ๋ย โรค และ แมลงศัตรูพืช และ มีความสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ไร่นาของตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยสามารถเพิ่มผลผลิต และ ลดต้นทุนการผลิตได้


รู้จริงเรื่องดินและปุ๋ย
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนมากพยายามลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงเพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทน แต่ถ้าเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีน้อยเกินไป ผลผลิตที่ได้จะลดลงไปด้วย เกษตรกรจึงควรรู้จักทรัพยากรดินที่เป็นรากฐานของชีวิตตนเอง และ ควรมีความเข้าใจในการเลือกใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมทั้งชนิด และ ปริมาณ เพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการผลิต และ ป้องกันปัญหาดินเสื่อมโทรม



ทำไมต้องใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”
ดินที่ใช้เพาะปลูกพืชมีมากมายหลายร้อยชุดดิน แต่ละชุดดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตพืชแตกต่างกัน การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” คือ การนำข้อมูลชุดดิน ซึ่งหมายถึง การนำสมบัติทางเคมี และ กายภาพอื่นๆ มาร่วมคำนวณคำแนะนำปุ๋ย และ นำข้อมูล เอ็น พี เค ในดินมาประกอบการตัดสินใจใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น



การตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินอย่างรวดเร็ว
เกษตรกรสามารถเก็บตัวอย่างดินได้อย่างถูกต้อง และ สามารถใช้ชุดตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรทราบปริมาณ เอ็น พี เค ในดินได้ภายเวลา 30 นาที



การอ่านคำแนะนำปุ๋ย
เกษตรกรสามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้เหมาะสมกับความต้องการของพืชโดยใช้ปุ๋ยตามตารางคำแนะนำการใส่ปุ๋ยตามระดับธาตุอาหารพืชในชุดดินต่างๆ ที่นักวิจัยได้ทำไว้ให้แล้วในรูปของหนังสือคู่มือ และ โปรแกรม SimRice และ Simcorn



ช่องทางเข้าถึงปุ๋ยสั่งตัด
หนังสือธรรมชาติของดินและปุ๋ย : คู่มือสำหรับเกษตรกรยุคใหม่
วิดีทัศน์ การบรรยายหลักคิด หลักวิชา และ หลักปฏิบัติเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด”
ซีดีโปรแกรมคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดสำหรับข้าว (SimRice) และ ข้าวโพด (Simcorn)
www.ssnm.agr.ku.ac.th
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 02-942-8104-5 โทรสาร 02-942-8106

หน่วยงานวิจัยปุ๋ยสั่งตัด หน่วยงานบริการ และ หน่วยงานสนับสนุน
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน
กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน
วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม





คณะผู้วิจัย :
ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และ รุ่งโรจน์ พิทักษ์ด่านธรรม
หน่วยงาน :
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 02-942-8104-5


http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch52/10-clinic/tasnee_au/clinic_00.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2011 9:24 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 06/07/2011 4:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. เปิด "ปุ๋ยสั่งตัด" 6 สูตร ช่วยชาวนา

ห้ามขายเกินราคาเพดานคาดรัฐใช้เงินอุ้ม3.5พันล.


เปิด 6 สูตร "ปุ๋ยสั่งตัด" เสนอ "อภิสิทธิ์" เคาะวันที่ 6 พ.ค.นี้ ช่วยชาวนาซื้อราคาถูก "ลักษณ์" คาดรัฐใช้เงินอุ้ม 3,500 ล้านบาท "กรณ์" ลั่นก่อนยุบสภาต้องแก้ปัญหาปุ๋ยแพงสำเร็จ ด้าน ธ.ก.ส.เร่งแก้หนี้เกษตรกรจบในปีนี้ ทั้งลูกหนี้ กฟก.ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และลูกค้าแบงก์เอง รวมมูลหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า โครงการปุ๋ยสั่งตัดที่รัฐบาลจะออกมาช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้กำหนดสูตรปุ๋ยไว้ 6 สูตรด้วยกัน ซึ่งมี 2 แนวทางอุดหนุนให้กับเกษตรกร คือ การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงในการซื้อปุ๋ยแก่เกษตรกร 1.50 บาทต่อกิโลกรัม เช่น หากราคาปุ๋ยกิโลกรัมละ 1,500 บาท เกษตรกรจะจ่ายเพียงกิโลกรัมละ 1,350 บาท หรือให้ ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรไปซื้อปุ๋ย โดยจะนำเสนอให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมในวันที่ 6 พ.ค. ซึ่งปุ๋ยราคาถูกนี้จะช่วยเกษตรกรในการนำมาใช้ปลูกข้าวนาปี 1.5 ล้านตัน บนพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 57 ล้านไร่ ใช้งบประมาณ 3,500 ล้านบาท

รายงานแจ้งว่า ที่ประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยสั่งตัด ที่มีนายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน กับกรมการค้าภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปในการกำหนดสูตรปุ๋ยสั่งตัดจำนวน 6 สูตร พร้อมทั้งมีการกำหนดราคาเพดานเพื่อไม่ให้ขายเกินราคาที่กำหนด ได้แก่

ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ราคาเพดานตันละ 14,210 บาท,
สูตร 16-20-0 ราคาเพดานตันละ 13,836 บาท,
สูตร 16-8-8 ราคาเพดานตันละ 11,685 บาท,
สูตร 16-16-8 ราคาเพดานตันละ 14,335 บาท,
สูตร 18-12-6 ราคาเพดานตันละ 13,171 บาท และ
สูตร 15-15-15 ราคาเพดานตันละ 16,342 บาท

โดยมีเงื่อนไขข้อตกลงที่จะยืนราคาดังกล่าวเป็นเวลา 3 เดือน


รายงานข่าวแจ้งว่า ความต้องการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรทั่วประเทศมีประมาณ 1.5 ล้านตัน แต่ในช่วง 3 เดือน (มิ.ย.-ส.ค.) คาดว่ามีความต้องการใช้ประมาณ 3 แสนตัน ขณะที่สต็อกที่ได้รับแจ้งจากภาคเอกชนมีประมาณ 4 แสนตัน จึงมีความเพียงพอต่อความต้องการใช้

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า ในช่วงสัปดาห์นี้ก่อนยุบสภา รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาปุ๋ยแพงที่จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในฤดูปลูกข้าวนาปีที่จะถึงนี้ ซึ่งในฐานะที่เป็นประธานบอร์ด ธ.ก.ส.ได้เตรียมมาตรการไว้รองรับทั้งหมดแล้ว โดยจะเสนอให้นายอภิสิทธิ์พิจารณาอนุมัติในวันที่ 6 พ.ค.นี้

นายวินัย เครือตรีประดิษฐ์ รองผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวว่า ในปี 2554 ธ.ก.ส.จะเร่งแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ให้แล้วเสร็จ โดยหนี้กลุ่มแรก มีมูลหนี้ประมาณ 6.8 หมื่นล้านบาท จำนวนลูกหนี้ 2.6 หมื่นราย ซึ่งมติ ครม.กำหนดให้ลูกหนี้ที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ที่มาขึ้นทะเบียนแก้ไขหนี้ และเป็นหนี้ก่อนวันที่ 31 ธ.ค.2552 จะได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ 50% แรก เป็นเวลา 15 ปีก่อน หากชำระหนี้ได้ดีตามกำหนด ธนาคารจะยกหนี้อีก 50% หลังให้ ทั้งนี้ กลุ่มนี้ดำเนินการไปได้ประมาณ 50% แล้ว ตั้งเป้าดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ให้ครบทุกรายภายในเดือน มิ.ย.นี้

ลูกหนี้กลุ่มที่ 2 เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. ที่มีหนี้ค้าง (เอ็นพีแอล) แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ กฟก. มีประมาณ 3.3 แสนราย มูลหนี้ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท จะเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้ครบทุกรายภายในเดือน ก.ย.ปีนี้ โดยขณะนี้ดำเนินการไปได้ประมาณ 50% แล้วเช่นกัน

นายวินัยกล่าวว่า สถานการณ์เอ็นพีแอลของ ธ.ก.ส. ณ สิ้นปีบัญชี 2553 หรือวันที่ 31 มี.ค.2554 อยู่ที่ 3.76 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 6.6% ลดลงจากปีบัญชีก่อนที่อยู่ที่ 7.66%




http://www.thaipost.net/news/060511/38192


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2011 8:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 06/07/2011 5:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. ปุ๋ยสั่งตัด


แหล่งที่มา : มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์


ปุ๋ยสั่งตัด คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภททีมประจำปีนี้จากมูลนิธิ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ กับคณะวิจัยกลุ่ม เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ หรือที่เรียกกันว่า ปุ๋ยสั่ง ตัด ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ เพราะงานวิจัยนี้ได้ริเริ่มและดำเนินการมา แล้วกว่า 10 ปี และ ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ จริง โดยเฉพาะกับภาคการเกษตร อาชีพหลักที่สำคัญของประเทศไทย

ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ จากคณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มวิจัย บอกว่า กลุ่มเทคโนโลยี ปุ๋ยสั่งตัด ประกอบ ด้วยบุคลากรหลาก หลายองค์กรกว่า 30 คน จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมพัฒนา ที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว มูลนิธิพลังนิเวศ และชุมชน และจากต่างประเทศคือมหาวิทยาลัย เกียวโต และมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ มาของงานวิจัยเนื่องจากพื้นที่ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพาะปลูก ปุ๋ยจึงมีความสำคัญ แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรขาดความเข้าใจในดิน ทรัพยากรที่มีค่าของ ตนเอง จึงเกิดการใช้ปุ๋ยอย่างไม่เหมาะสม


ศ.ดร.ทัศนีย์ บอกว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้คำแนะนำปุ๋ย โดยเฉพาะ ไนโตรเจน (เอ็น) ฟอสฟอรัส (พี) และโพแทสเซียม (เค) แบบกว้าง ๆ สำหรับการ ปลูกพืชในดินทุกชนิดและทุกจังหวัด ที่เรียกว่า การใช้ปุ๋ยเสื้อโหล ไม่มีการวิเคราะห์ดิน แม้ว่าต่อมาจะพัฒนาเป็นการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยนำค่าวิเคราะห์ เอ็น-พ ในดินขณะนั้น มากำหนดคำแนะนำการใช้ปุ๋ย แต่ในทางปฏิบัติก็ยังห่างไกลความเป็นจริง

ปัจจุบันปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกปี ในขณะที่ผลผลิตไม่ได้เพิ่มตามไปด้วย แสดงให้เห็นถึงการใช้ปุ๋ยเคมียังไม่มีประสิทธิภาพ ผลก็คือ หากใช้ปุ๋ยผิดสูตรและปริมาณไม่เหมาะสมทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ผลผลิตน้อย แต่ถ้าใส่ปุ๋ยเกินความต้องการของพืช นอกจากจะสิ้นเปลืองค่าปุ๋ย ยังสร้างปัญหาให้แก่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

กลุ่มวิจัยจึงได้ริเริ่มและพัฒนา เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยที่มีความแม่นยำสำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อยขึ้น เพื่อเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกษตรกรตัดสินใจใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง โดยนำแนวคิดมาจากการเกษตรแม่นยำของสหรัฐอเมริกาที่ใช้มากว่า 10 ปี มาประยุกต์ ให้เหมาะสมกับสภาพไร่นาขนาดเล็กของเกษตรกรไทย

ในที่นี้เรียกว่า เทคโนโลยี ปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเหมือนเสื้อมีขนาดพอดีตัว มีการนำข้อมูล พันธุ์พืช แสง อุณหภูมิ ปริมาณ น้ำฝน ชุดดิน และ เอ็น-พี-เค ในดินใน ขณะนั้นมาคำนวณ ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วยคอมพิวเตอร์ และพัฒนาเป็นโปรแกรม คำแนะนำปุ๋ยสั่งตัด

นอกจากนี้ยังพัฒนาชุดตรวจสอบค่าเอ็น-พี-เคในดินอย่างรวด เร็ว วิเคราะห์ได้ใน 30 นาที และคู่มือการสำรวจชุดดินในภาคสนามอย่างง่าย ไม่ต้องใช้ห้องปฏิบัติให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจำนวนมากและใช้เวลานาน

สำหรับความง่ายของช้เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ศ.ดร.ทัศนีย์ บอกว่ามี เพียง 3 ขั้นตอนคือ

1. ตรวจสอบดินของตนเองว่าเป็นชุดดินอะไร สอบถามได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินในจังหวัดหรือ www.soil.doae.go.th

2. ตรวจสอบปริมาณธาตุ อาหาร เอ็น-พี-เค ในดิน โดยใช้ชุดตรวจสอบอย่างรวดเร็ว ซึ่งแนะนำชุมชน หรือ อบต. เป็นผู้ลงทุน และ

3. ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยดูจากคู่มือการใช้หรือ โปรแกรมซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ www.ssnm. agr.ku.ac.th

ส่วนผลการดำเนินงาน ปุ๋ยสั่งตัดทำให้เกษตรกรลดค่าปุ๋ยในการผลิตข้าว 47% ขณะที่ผลผลิตข้าว เพิ่มขึ้นได้ถึง 7% ได้

ส่วนข้าวโพด ถ้าใช้ปุ๋ยสั่งตัดจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้ มากกว่า 30%

สำหรับอ้อย ซึ่งคำแนะนำเพิ่งเสร็จเฉพาะภาคอีสาน ก็พบว่ามีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทีมงานบอกว่าการพัฒนาต่อไปนอกจากจะประยุกต์ใช้ กับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น อ้อยภาคตะวันตก หรือยางพาราแล้ว ยังต้องเน้นที่การฝึก อบรม ยกระดับความรู้ให้กับเกษตรกรไทย เพื่อความหวังที่ว่า อนาคตเกษตรกรไทย จะต้องไม่ยากจน.



http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?News_id=145989&action=edit&joomla=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2011 8:39 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 06/07/2011 7:26 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6. พบนักวิจัยปุ๋ยสั่งตัด ฟื้นรายได้เกษตรกรไทย





ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ ผู้คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภททีม ปี 52 มุ่งวิจัยใช้ในมันสำปะหลังหลังสำเร็จในข้าว ข้าวโพด อ้อย วอนเกษตร จ. ช่วยสานต่อ ตั้งเป้าเกษตรกรไทยรวย...

จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2535 หรือเมื่อหลายสิบปีก่อน ในการสัมมนาวิจัยของต่างประเทศ นำแบบจำลองการปลูกพืชมาให้ดู โดยสามารถจะปลูกพืชในคอมพิวเตอร์ได้ จึงเกิดความคิดเช่นเดียวกัน จนผ่านมาถึงปี 2540 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยหรือ สกว.เริ่มตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งให้เงินทุนนักวิจัย 3 ปี ด้วยจำนวนเงิน 10 ล้านบาท

ด้วยแนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้มองการณ์ไกลระดับโลก จึงไม่คิดจดสิทธิบัตร โดยหวังว่า จะเกิดเป็นวิทยาทานแก่คนทั่วโลก ได้นำไปใช้พัฒนาด้านการเกษตรอย่างเป็นประโยชน์ ทำให้ไม่น่าแปลกใจว่า ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ผู้คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภททีม ปี 2552 ไปครอง ส่วนรายละเอียดของเทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นอย่างไร ลองมาติดตามได้ ณ บัดนี้...



ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์

IT digest : กรอบแนวความคิดของกลุ่มเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด

ทัศนีย์ : หลักคิดพื้นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยี ปุ๋ยสั่งตัด ได้จากการเกษตรแม่นยำ ที่เกษตรกรในประเทศสหรัฐอเมริกาถือปฏิบัติมากว่า 10 ปี โดยนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพไร่นาขนาดเล็กในประเทศไทย เริ่มจากการใช้แบบจำลอง DSSAT(Decision Support System for Agrotechnology Transfer) พัฒนาคำแนะนำปุ๋ยไนโตรเจน ใช้โปรแกรม PDSS (Phosphorus Decision Support System) พัฒนาคำแนะนำปุ๋ยโพแทสเซียม เฉพาะพื้นที่ขึ้น



IT digest : จุดเด่นของกลุ่มเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด คืออะไร

ทัศนีย์ : ชุดตรวจสอบ ไนโตรเจน (เอ็น) ฟอสฟอรัส (พี) และโพแทสเซียม (เค) ในดินช่วยให้เกษตรกรวิเคราะห์ดินได้ด้วยตนเอง สะดวก รวดเร็ว ประหยัดและราคาถูกกว่าของต่างประเทศ ทั้งยังใช้จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมด้วย ทั้งนี้ ยังช่วยให้ใช้ปุ๋ยได้เหมาะกับดินและพืช ทำให้การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชลดลง ไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่วนโปรแกรมคำแนะนำ ปุ๋ยสั่งตัด ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจได้ตั้งแต่ก่อนปลูกพืช ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ตอบได้ว่าถ้าใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ จะได้ผลผลิตเท่าไร และเมื่อคีย์ข้อมูลราคาปุ๋ย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ และราคาของผลผลิต ก็จะได้คำตอบว่าได้กำไรเท่าไร นอกจากนี้ คำแนะนำ ปุ๋ยสั่งตัด สามารถนำไปใช้พื้นที่อื่นๆ หรือพันธุ์พืชอื่นๆ ได้ โดยการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และเปลี่ยนฐานข้อมูลหลักที่สำคัญ เช่นเดียวกับ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือแบบจำลองการปลูกพืชที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างขีดความสามารถของเกษตรกรทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ คิดพึ่งตนเอง คิดอย่างเป็นระบบ เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและการทดลองในไร่นาด้วยตนเอง รวมทั้งการยกระดับความรู้เรื่องดิน และปุ๋ยให้แก่เกษตร สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญยิ่งในการพัฒนาเกษตรกรรมของไทยให้มั่นคงยั่งยืน อีกทั้ง รูปแบบการบูรณาการงานวิจัยพัฒนาเข้ากับงานส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรผู้นำทำแปลงทดสอบและแปลงสาธิต นับเป็นแปลงตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมระบบการวิจัย ที่เพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้การขยายผลงานวิจัยได้ง่ายขึ้น เกิดผลงานวิชาการตีพิมพ์ ทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งผลพลอยได้จากงานวิจัยในรูปของการสื่อสารศึกษาสำหรับเกษตรกร



IT digest : อธิบายขั้นตอนการใช้งานของปุ๋ยสั่งตัด

ทัศนีย์ : มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน ใช้คู่มือสำรวจชุดดินในภาคสนามอย่างง่าย สอบถามได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ www.soil.doae.go.th

2. ตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน ใช้ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดิน แบบรวดเร็ว ซึ่งเกษตรกร วิเคราะห์ได้ด้วยตนเองภายใน 30 นาที และ

3. ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีจากเว็บ www.ssnm.agr.ku.ac.th

นอกจากนี้ ควรวิเคราะห์ดินก่อนปลูกพืช 3 ฤดูปลูกติดต่อกัน เพื่อปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จากนั้นแนะนำว่าต้องวิเคราะห์




IT digest : มองภาพรวมเกษตรในประเทศไทย

ทัศนีย์ : ภาพรวมของเกษตรไทยทุกวันนี้ เท่าที่ได้สัมผัส พบว่า เกษตรไทยคงต้องพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองอีกมาก เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะ การเปิดการค้าเสรีเร็ว ๆนี้ สิ่งที่ต้องแข่งขันในภาคการเกษตร คือ ต้องลดต้นทุนการผลิต เพราะถ้าของประเทศไทยแพงก็คงไม่มีใครซื้อ เพราะฉะนั้น เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดที่พัฒนาขึ้นมากว่า 10 ปี จะช่วยลดต้นทุนการผลิต นี่คือ ผลลัพธ์ที่เห็นชัดเจน ทั้งนี้ ในนาชลประทาน สามารถลดต้นทุนได้กว่า 500 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก หากทำ 2 ครั้ง ก็จะลดได้ถึง 1 พันบาท รวมค่าปุ๋ย ค่าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเมล็ดพันธุ์ โดยเป็นผลงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ทำเมื่อ ปี 2550 ของเกษตรกรทั้งหมด 8 จังหวัด ภาคกลาง ส่วนกรณีของข้าวโพด เกษตรกรจะได้รับผลผลิตสูงขึ้น 35-200% เท่าที่ไปทำมา แต่ปัญหาฝนแล้งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกษตรหนีไปปลูกพืชอื่นแทน เพราะฉะนั้น พื้นที่ที่ปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์จะลดลง จากที่เคยทำวิจัยไว้เมื่อปี 2540 มีพื้นที่ปลูกข้าวโพด ประมาณ 10 ล้านไร่ ขณะนี้ เหลืออยู่เพียง 6 ล้านไร่ ไปปลูกมันสำปะหลังแทน เพราะทนแล้งได้ดีกว่า อีกทั้ง ยังมีอ้อย อีกตัวหนึ่งในภาคอีสานที่เป็นปุ๋ยสังตัด โดยโปรแกรมเพิ่งเสร็จปี 2552 จึงได้ทำงานกับเกษตรกรโดยนักวิชาการ กรมวิชาการเกษตร พบว่า เกษตรกร ปลูกอ้อยสามารถเพิ่มผลผลิตได้ 2 ตันต่อไร่ และกำไรมากขึ้น 2 พันบาทต่อไร่




IT digest : ปุ๋ยสั่งตัดใช้ได้กับพืชชนิดใดได้บ้าง

ทัศนีย์ : 3 พืช คือ ข้าว ข้าวโพด อ้อยอีสาน และขณะนี้ นักวิจัยกำลังทำวิจัยอ้อยภาคตะวันตก และจะทำปุ๋ยสั่งตัดใช้กับมันสำปะหลัง เร็วๆ นี้ เนื่องจากดินแต่ละภาคไม่เหมือนกัน จึงต้องวิจัยเพิ่มเติม สำหรับภาคที่น่าเป็นห่วงที่สุด มองได้หลายอย่าง เช่น ความยากจน ความด้อยโอกาส ต้องภาคอีสาน แต่ถ้าจะมองว่า จะเกิดผลชัดเจน ที่จะทำให้มีฐานะดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิต คือ ภาคกลาง นอกจากข้าวที่ปลูกเป็นอันดับ 1 แล้ว ยังมียางพารามันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน ภาคใต้ อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยสั่งตัดต้องดูพืชอันดับแรก ทั้งนี้ ไม่สามารถนำคำแนะนำไปใช้ร่วมกันได้ เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการปริมาณอาหารสร้างผลผลิตไม่เท่ากัน และต้องขึ้นอยู่กับดินด้วย อย่างไรก็ตาม เกษตรกร ต้องมีความรู้เรื่องดินอยู่แล้ว โดยสอบถามถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)




IT digest : วางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่เกษตรกรอย่างไรบ้าง

ทัศนีย์ : เริ่มจากปรับกระบวนทัศน์ของเกษตรกร เพราะเกษตรกรยังงมีความเชื่อดั้งเดิม ถ้าเข้าไปให้ใช้เทคโนโลยีเลยจะไม่เชื่อ จึงต้องให้เรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อการแข่งขันในในโลก จากนั้นก็ให้ลงมือทำ แล้วถ้าผลออกมาดีก็ให้ดำเนินการต่อไปแต่ถ้าไม่ดีก็แสดงว่าทำผิด เพราะทดสอบมาหลายปีแล้ว ที่ผ่านมา การลงพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2544 ได้รับเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตรจะคัดเลือกเกษตรและนักวิชาการมาให้สอน และเกษตรกรได้รับผลตอบรับดี ใช้ปุ๋ยน้อยลง แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยไม่ถูกสัดส่วน ระหว่างเอ็นพีเค




IT digest : ความรู้ความเข้าใจของเกษตร ต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นอย่างไรบ้าง

ทัศนีย์ : เกษตรกรมีความรู้เรื่องดิน และปุ๋ยน้อยมาก เมื่อเทียบกับเรื่องโรค แมลง วัชพืช และเมล็ดพันธุ์ เป็นปัญหามาก เพราะฉะนั้น จึง ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้ดินไม่เสื่อมโทรม นอกจากนี้ เกษตรกรยังมีปัญหาเรื่อง ข้าววัชพืช การใช้สารเคมี ไม่ถูกต้อง ก้ให้เอกสารไปศึกษา




IT digest : แล้วเกษตรจังหวัดมีส่วนช่วยอย่างไรบ้าง

ทัศนีย์ : เกษตรกรส่วนใหญ่ชื่นชอบ เพราะเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ แต่กลับไปแล้ว จะเกิดปัญหามากมาย จึงต้องการให้เกษตรจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นช่วยดูว่า เกษตรติดปัญหาอะไร ทั้งนี้ รับหลักการ แต่ฟังรอบเดียว ไม่เพียงพอ ดังนั้นนักวิชาการท้องถิ่นต้องเข้าไปช่วยดูแลเกษตรเพื่ออำนวยเท่าที่จะทำได้ อาทิ ชุดตรวจสอบ การให้ความรู้ในการเก็บดิน การรู้จักชื่อดิน อย่างไรก็ตามเกษตร สามารถทำเองได้ก็ต่อเมื่อมีการรวมกลุ่ม แล้วเข้มแข็ง ไม่ต้องพึ่งนักวิชาการ




IT digest : เป้าหมายสูงสุดของเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด คืออะไร

ทัศนีย์ : ต้องการให้เกษตรไทยมีฐานะปานกลาง ถึงรวย มีชีวิตสุขสบาย เหมือนเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำงานวิจัยเรื่องนี้มากว่า 8 ปี แต่ก็ยังเห็นผลเกิดขึ้นในทางที่ดีค่อนข้างช้า ทั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่า เกิดอุปสรรคบางประการ ดังนั้น จึงต้องอาศัยหน่วยงานราชการ และเอกชน ทุกฝ่าย




IT digest : ถามถึงงบประมาณที่ใช้อบรมเกษตรกร

ทัศนีย์ : ได้มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อบรมเกษตรกรประมาณ 100 คน ภาคกลาง มีค่าอาหาร ค่ารถ ค่าวิทยากร เอกสารประกอบ อยู่ที่ประมาณ 3-5 หมื่นบาท แต่ถ้าไปไกลก็เพิ่มค่าน้ำมันรถขึ้นอีก ส่วนการลงพื้นที่ต่ำสุดอยู่ที่ 2 คน มากสุดอยู่ที่ 10 คน โดยมีนิสิต เข้าไปช่วย ทั้งนี้ ไม่สามารถตั้งเป้าการอบรมได้ เนื่องจากไม่มีงบประมาณ ขณะที่กำลังทำเรื่องของงบประมาณจากรัฐบาล




IT digest : ฝากอะไรถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์บ้าง

ทัศนีย์ : อยากฝากถึงผู้มีส่วนรับผิดชอบว่า ประเทศไทยจำเป็นที่ต้องพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรมืออาชีพอย่างเร่งด่วน ส่วนวิธีการทำ คือ หาคนเก่งแต่ละพื้นที่มาฝึกอบรมความรู้ที่ถูกต้อง แล้วกลับไปถ่ายทอดในกลุ่ม ให้พึ่งตนเองได้ เกิดการรวมกลุ่ม สร้างเครือข่าย อีกทั้ง ต้องปรับปรุง บำรุงดินอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้น อนาคตทิสทางการเกษตรประเทศไทยจะสู้ต่างประเทศไม่ได้

โดย: กนกรัตน์ โกวิชัย




http://m.thairath.co.th/content/tech/46090


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2011 8:40 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 06/07/2011 7:51 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7. "ก่อนตายอยากเห็นเกษตรกรรวยขึ้น"
วาทะนักเทคโนโลยีดีเด่น '52 กลุ่ม "ปุ๋ยสั่งตัด"


ตัวแทนกลุ่ม "ปุ๋ยสั่งตัด" ผู้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น '52 เผยความในใจ ก่อนตายอยากเห็นเกษตรกรรวยขึ้น" เผยเกษตรกรไทยยังไม่รู้จักปุ๋ยและดิน แจงอบรมให้ความรู้เกษตรกรเพื่อการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับดิน

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 12 ต.ค.52 ณ โรงแรมอโนมา ซึ่งผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทกลุ่มได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี "ปุ๋ยสั่งตัด" จาก 15 หน่วยงาน อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน เป็นต้น

ส่วนประเภทบุคคลได้แก่ รศ.นพ.สิทธิกร บุณยนิตย์ จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากผลงานแผ่นไฮโดรเจลห้ามเลือดระหว่างผ่าตัดสำหรับอวัยวะภายในซึ่งผลิตจากแป้งข้าวเจ้า และวัสดุเย็บแผลชนิดย่อยสลายได้จากแป้งข้าวเจ้า

ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันท์ จากภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตัวแทนกลุ่มเทคโนโลยี "ปุ๋ยสั่งตัด" กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่าเกษตรกรไทยยีงมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับดินปุ๋ยน้อยมาก บางคนไม่ทราบว่าปุ๋ยคืออะไร รู้แค่ว่าต้องใส่ บางคนไม่ทราบว่า NPK (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม) คืออะไร และยังใช้แบบไม่วิเคราะห์ดินก่อน หรือที่เรียกว่า "ปุ๋ยเสื้อโหล" แต่เทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดจะช่วยเกษตรกรวิเคราะห์ดินและปุ๋ยที่เหมาะสมกับดินได้ ทำให้ลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

"การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมจะช่วยเกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยและสารเคมี ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนของปุ๋ยเคมี และช่วยให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ และทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งมองไปไกลกว่านั้นการซื้อเสียงจะลดลง แต่พบว่า เกษตรกรยังใช้ปุ๋ยในสัดส่วนไม่เหมาะสม ชาวนาใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเกินจำเป็นถึง 65% และ 43% ตามลำดับ แต่ไม่ใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม ทำให้ข้าวได้เมล็ดลีบ แม้ว่าใบจะเขียว ซึ่งใบเขียวไม่ได้หมายถึงจะได้ผลิตดี และแมลงยังรุมกินอีก ทั้งทั้งใช้ไนโตรเจนเยอะๆ ยังทำให้ข้าวล้มด้วย" ศ.ดร.ทัศนีย์กล่าว

สำหรับการใช้ปุ๋ยสั่งตัดนั้น อันดับแรกเกษตรกรต้องตรวจข้อมูลชุดดิน (Soil Series) ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้จำแนกถึง 200 กว่าชื่อ เช่น "ดินปากช่อง" เป็นดินเหนียวสีแดง ระบายน้ำดีแต่ธาตุอาหารน้อย เป็นต้น จากนั้นนำดินในพื้นที่เพาะปลูกไปวิเคราะห์หาธาตุอาหาร NPK ด้วยชุดทดสอบที่กลุ่มพัฒนาขึ้น แล้ววิเคราะห์ว่าต้องใช้ปุ๋ยในสัดส่วนเท่าไหร่จากคู่มือหรือโปรแกรมคำแนะนำ "ปุ๋ยสั่งตัด" ซึ่งยังวิเคราะห์ได้ว่าผลผลิตจะออกมาเป็นเท่าไหร่

ขณะนี้ โปรแกรมปุ๋ยสั่งตัดให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับข้าว ข้าวโพดและอ้อยได้แล้ว และกำลังพัฒนาเพื่อการวิเคราะห์ปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลังและอ้อยตะวันตกหรืออ้อยสำหรับปลูกในภาคตะวันตกของไทย โดยสำนักตะค้า จ.สุพรรรบุรี คือตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลสำเร็จจากโปรแกรมวิเคราะห์ปุ๋ยสั่งตัดนี้ ซึ่ง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าวเป็น 1,000 บาทต่อไร่ จากเดิมที่มีรายได้เพียง 200-300 บาทต่อไร่

ศ.ดร.ทัศนีย์ในวัย 65 ปีซึ่งเกษียณราชการ 2 รอบแล้วนั้น บอกกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ว่า ยังคงทำงาน โดยอบรมแก่เกษตรกรเรื่องปุ๋ยสั่งตัดอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ผ่านการทำงานเป็นอาสาสมัครให้กับมูลนิธิพระดาบส

อีกทั้ง ดร.ทัศนย์ยังบอกเจตนารมย์ว่า "ก่อนตายอยากเห็นเกษตรกรรวยขึ้น" พร้อมทั้ง เปรียบเทียบความเป็นอยู่ของเกษตรกรในต่างประเทศ อย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นว่า เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง ซึ่งมีความรู้ระดับปริญญาเอก และทำเกษตรอย่างแม่นยำ คือ วิเคราะห์สภาพดินก่อนใช้ปุ๋ย

ต่างกันที่เกษตรกรในต่างประเทศมีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ ขณะที่เกษตรกรไทยมีพื้นที่ในการเพาะปลูกเพียงไม่กี่ไร่ แต่ก็สามารถทำเกษตรแบบแม่นยำได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจาก อบต.ในการลงทุนด้านโปรแกรมและชุดวิเคราะห์ดิน

ทางด้าน รศ.นพ.สุทธิพรกล่าวถึงผลงานของตนเองว่า เลือกใช้ข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบในการผลิตชีววัสดุทางการแพทย์ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบในประเทศ มีความปลอดภัยและมีความแข็งแรงในระดับที่ผลิตเป็นวัสดุทางการแพทย์ได้ โดยเลือกแป้งข้าวเจ้าบริสุทธิ์ที่มีเพียงคาร์โบไฮเดรตมาพัฒนาเป็นวัสดุห้ามเลือดอวัยวะภายในระหว่างผ่าตัด ซึ่งเมื่อวัสดุห้ามเลือดนี้สัมผัสของเหลวจะกลายเป็น "กรดแก่" ที่มีค่า pH ต่ำกว่า 2 ทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มและมีความดันเลือดลดลง ส่วนวัสดุเย็บแผลนั้นนำแป้งข้าวเจ้าบริสุทธิ์ผสมกับนาโนคาร์บอนจากถ่าน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง แต่วัสดุชนิดหลังนั้นยังอยุ่ในขั้นตอนของการพัฒนา

พร้อมกันนี้ ยังมีรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ซึ่งปีนี้ผู้ได้รับรางวัลได้แก่ ผศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์ จากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีผลงานพัฒนาเทคโนโลยีการขึ้นรูปโลหะด้วยกระบวนการหล่อโลหะกึ่งของแข็ง เพิ่มศักยภาพการผลิตในอุตสาหกรรมหล่อโลหะไทย และประยุกต์ใช้ทางทหารได้

ยังมี ดร.ฉันท์ทิพ คำนวณทิพย์ จากภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งมีผลงานพัฒนาอะคริลิกนำแสงประหยัดพลังงาน โดยใช้สารช่วยกระแสง ทำให้แผ่นอะคริลิกให้ความสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ได้

สำหรับผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ทั้ง 4 คนนี้ จะเข้ารางวัลประติมากรรมเรือใบซูเปอร์มดและเหรียญรางวัลเรือใบซูเปอร์มด ภายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 (วทท.35) ณ โรงแรมเดอะ ไทด์ รีสอร์ท จ.ชลบุรี



http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000120937


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 06/07/2011 9:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 06/07/2011 8:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

8. เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เฮ ! ใช้ปุ๋ยเคมีแบบสั่งตัด ผลผลิตเพิ่ม



นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ใช้ปุ๋ยสั่งตัด เพื่อลดต้นทุนการผลิต ที่กลางไร่ข้าวโพด หมู่ 2 ต.ห้วยเฮี้ย อ.นครไทย จ.พิษณุ โลกโดยมี รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวถึงโครงการปุ๋ยสั่งตัด ว่า เป็นการวิเคราะห์ดิน ก่อนใช้ปุ๋ยเคมีตามความต้องการของพืช ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ 4 ตำบลของอำเภอนครไทย เข้าร่วมโครงการในปี 2553 นี้ กว่า 50 รายแล้ว โดยแต่รายประสบผลสำเร็จสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยและได้ผลผลิตที่มีน้ำหนักดีขึ้น และมีเงินรายได้


รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) กล่าวว่า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ทาง สกว.ได้รับการร้องขอจากเกษตรกรที่มีปัญหาต้นทุนการผลิตพืชเกษตรสูง เมื่อมาสำรวจค่าดินและปุ๋ยที่เกษตรกรใช้ปรากฏว่าเกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยที่ใช้กับนาข้าว ซึ่งทำให้ต้นทุนการใช้ปุ๋ยสูงและไม่ได้ผลผลิตดีเท่าที่ควร ทางทีมวิจัยจึงทดสอบคุณภาพดินและแนะนำให้ใช้ปุ๋ยตามที่พืชต้องการผลปรากฏว่าผลผลิตข้าวโพดของเกษตรกร อ.นครไทย ดีขึ้นเกษตรกรพึงพอใจ และเข้าร่วมโครงการปุ๋ยสั่งตัดเพิ่มขึ้นอีกตำบลละกว่า 100 ราย โดย ปุ๋ยสั่งตัดนี้ นอกจากจะใช้กับข้าวโพดแล้ว ยังทดลองใช้กับการปลูกข้าวและมันสำปะหลังด้วย


นายมาลัย จันทร์ส่อง เกษตรกร หมู่ 2 ต.ห้วยเฮี้ย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก กล่าวว่า จากผลการทดลองโครงการบูรณาการเพื่อลดพึ่งเข้าร่วมโครางการได้ประมาณ 5 เดือน ได้ทดลอง ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” โดย ศ.ดร. ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แนะนำแล้ว ปรากฏว่าว่าสามารถลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยไร่ละ 900 บาท อีกทั้งผลผลิตเพิ่มขึ้นอีก 35 % โดยข้าวโพด 10 ฟัก ที่ใช้แบบเดิมน้ำหนัก 1.7 กิโลกรัม แต่ใช้ปุ๋ยเคมีแบบ “สั่งตัด” ได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 กิโลกรัม


http://pr.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=184:2010-10-07-02-07-43&catid=35:2010-06-10-02-35-11&Itemid=53
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 17/07/2011 7:30 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9. การใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว




"การใช้ปุ๋ยสั่งตัด เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว" เป็นอีกหนึ่งหัวข้อการบรรยายในการเสวนาเชิงวิชาการเกษตรและประสบการณ์ ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง" ซึ่งนิตยสารเทคโนโลยีบ้าน จัดขึ้น ณ ห้องประชุมพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพนไบโอเทค จำกัด เป็นวิทยากร

ดร.ประทีป กล่าวว่า ในเรื่องของการเกษตรนั้นต้องมองที่เป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งระยะสั้นนั้นหมายความว่า จะทำอย่างไร ให้พี่น้องชาวเกษตรกรทำแล้วมีกำไร เพราะเราอยู่ในยุคทำมาค้าขาย เราพ้นยุคหาอยู่หากิน เพราะฉะนั้นต้องชัดเจนว่าเป้าหมายของการทำการเกษตรได้เปลี่ยนไปแล้วในระยะสั้นต้องทำกำไร

"แล้วระยะยาวจะอยู่ตรงไหน ระยะยาว ดิน น้ำ ต้องดีใช่ไหม ดิน น้ำดี ต้นทุนการผลิตต่ำ ไม่ต้องใส่อะไรมากเลย ระยะยาวชีวิตต้องดี ชุมชนต้องเข้มแข็ง แก้ปัญหาด้วยตัวเองได้ คราวนี้มาดูเรื่องกำไรซึ่งผมแบ่งกำไรออกเป็น 2 กองใหญ่ๆ กองแรกคือ ผลผลิตอะไรที่จะนำไปขาย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพมากๆ ซึ่งการทำกำไรสามารถทำได้หลายทาง อาทิ ขยายเนื้อที่การผลิตก็สามารถทำกำไรได้ ลดต้นทุนการผลิตก็ทำกำไรได้ แต่เกษตรกรต้องชัดเจนนะว่า เราไม่มีอำนาจการต่อรองเรื่องราคา จะเห็นว่าข้าวโพดที่ตามตัวเลขประเทศไทยยังผลิตได้น้อยกว่าใช้เสียอีก แต่ทำไม ราคาจึงได้ต่ำ พอแทรกแซงราคาข้าวโพดจากต่างประเทศก็เข้ามา"

ดร.ประทีป กล่าวอีกว่า สำหรับสินค้าเกษตรที่นำไปขายและเกี่ยวข้องกับคุณภาพน้อยให้ดู 2 เรื่อง คือลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตกับการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่หรือต่อไร่ ส่วนในกรณีที่ราคาสินค้าไปเกี่ยวข้องกับคุณภาพ ให้ไปดู 2 เรื่อง เหมือนกันคือ ลดค่าใช้จ่ายในการผลิตกับคุณภาพของผลผลิต เช่นวันนี้ประเทศเราผลิตลำไยได้ 400,000 ตัน โดยในจำนวนนี้ใช้เพื่อการบริโภคเพียง 40,000 ตัน อีก 90 เปอร์เซ็นต์ ต้องส่งออก เพราะฉะนั้นต้องไปทำขนาดจัมโบ้ ที่วันนี้ทำได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ต้องเพิ่มให้ได้เป็น 25 เปอร์เซ็นต์

"ผมคิดว่า ถ้าตั้งเป้าอย่างชัดเจนก็จะไปได้ เพราะฉะนั้นมาดูว่าการที่เรามองช้าง เราต้องมองทั้งตัว ไม่ใช่มองเพียงแค่ด้านเดียว เราจึงมาดูว่าจะให้พืชที่เราปลูกเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูง ระบบการเกษตรไม่ใช่ป่าธรรมชาติ เพราะป่าธรรมชาติเป็นระบบปิด พืชดูดอะไรขึ้นมา กิ่ง ก้าน ใบ ลูก ดอก ตกลงมาก็ดูดไปอีก ถ้าผมเรียกป่าธรรมชาติเป็นระบบเกษตร ผมจะเรียกว่าระบบเกษตรแบบยถากรรม"

ดร.ประทีป กล่าวต่อไปว่า เคยมีคนมากมายบอกว่า ป่าไม่ต้องใส่อะไรเลย ก็ตอนที่ท่านไปเจอแบบนั้น เพราะส่วนที่อยู่ไม่ได้ตายไปหมดแล้ว และมีตัวเลขหรือไม่ว่า ปีนี้โตเท่าไร ปีนั้นโตเท่าไร แล้วมาพูดตามความรู้สึกมันจึงเป็นปัญหา แต่ระบบการเกษตรเป็นระบบเปิด ต้องเอาบางสิ่งบางอย่าง เช่น เอาหัวกับมันสำปะหลัง เอาเมล็ดกับข้าว เอาดอกก็ไม้ดอก เอามะม่วงก็ผลต้องออกไป ถามว่า ข้าวเปลือกนั้นเปลือกมันหุ้มลมไว้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่าระบบการเกษตรต้องการความรู้ ความสามารถในการจัดการให้ลงตัวพอดีและพอดีในเรื่องอะไรบ้าง เราจะปลูกอะไรต้องรู้ก่อนว่า ดิน 200 กว่าชนิด ที่มีในประเทศไทย และมีชื่อมันปลูกกับสิ่งที่เราต้องการปลูกได้ไหม จริงๆ ก็ได้ ถึงแม้ไม่เหมาะก็สามารถปลูกได้ แต่มันจะคุ้มค่ากับการลงทุน มันเสี่ยง

ดังนั้น ขั้นแรกต้องเลือกก่อนว่า จะปลูกอะไร แล้วเลือกพันธุ์ ไม่มีพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก ข้าวโพดที่ดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาก็นำมาปลูกที่ขอนแก่นไม่ได้ แต่อย่าไปเชื่อครับ วันนี้เกษตรกรไม่เข้าใจ พอมันสำปะหลังราคาดี อันนั้นก็พันธุ์มหัศจรรย์ก็แห่กันไปซื้อ วันนี้ทางหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ทำแผนที่ออกมาแล้วเป็นรูปขนมชั้น ชั้นแรกก็เป็นแผนที่ดิน เป็นดิน 100 กว่าชนิด ที่ปลูกมันสำปะหลังวางลงไป เอาแผนที่ฝน แผนที่อุณหภูมิ แผนที่พันธุ์ต่างๆ มองลงไปจากด้านบน จะเห็นได้เลยว่า พื้นที่ตรงนี้เหมาะสำหรับพันธุ์ที่ดีที่สุดได้จัดทำออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และตกลงจะจัดการดิน น้ำ ลม ไฟ ให้มันเหมาะสมอย่างไร และจะไปถามใครได้ ปลูกมันสำปะหลังที่อีสานแล้วไปถามที่ระยองได้หรือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่เหมือนกัน

นอกจากนี้ ยังได้จัดทำเว็บไซด์เกี่ยวกับเรื่องของดินขึ้นมา กรณีที่คุณตกงานแล้วกลับมาบ้านที่จังหวัดขอนแก่น สามารถเปิดเว็บไซด์ดูได้เลยว่า ดินในพื้นที่ของคุณเป็นกลุ่มดินชนิดใด สามารถใช้ปลูกพืชอะไรได้บ้าง แต่อยากทราบข้อมูลที่ละเอียดขึ้นเกี่ยวกับพืชที่มีการส่งเสริมให้ปลูก ก็ให้คลิกลงไปอีกทีหนึ่ง ข้อมูลก็จะขึ้นมา ซึ่งอันนี้ในทุกจังหวัดจะมีเหมือนกันหมด

"ในปีที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีนโยบายสั่งลงมาแล้ว หากเปิดเว็บไซด์ที่จังหวัดสุพรรณบุรีจะพบว่า เขาเน้นไปที่ข้าว หน่อไม้ฝรั่ง และมะม่วงส่งออก อย่างกรณีตัวผมเป็นคนสุพรรณบุรี หากตกงานผมก็กลับไปบ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรี ผมก็เปิดเว็บไซด์จะเจอ ดินชื่อกำแพงแสน แล้วผมเลือกหน่อไม้ฝรั่ง พอผมกดอีกครั้งจะขึ้นข้อมูลเลยว่า จากจุดที่ผมยืนอยู่ ภายในรัศมี 50 กิโลเมตร ที่ผมสามารถขี่มอเตอร์ไซค์ไปได้ ลุงมี ลุงมา หรือลุงแม้น ที่เขาเก่งในเรื่องหน่อไม้ฝรั่งเขาอยู่ตรงไหนบ้าง ง่ายไหมครับ และนี่คือสิ่งที่ผมอยากเห็น ซึ่งก็สามารถทำได้ใน 1 เดือน เสร็จทั้งประเทศ" ดร.ประทีป กล่าว

สำหรับในเรื่องของปุ๋ยสั่งตัด ดร.ประทีป กล่าวว่า สำหรับในพืชที่ปลูกนั้น จะต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นทั้งสิ้น 17 ชนิด แต่ถามว่า วันนี้เกษตรกรรู้บ้างหรือไม่ อย่างมันสำปะหลัง ที่ผมบอกผลผลิตเฉลี่ยไม่ถึง 4 ตัน ต่อไร่ เราปลูก 1,600 ต้น ต่อไร่ หนึ่งต้นให้ผลผลิตไม่ถึง 3 กิโลกรัม แต่เกษตรกรคนสุดยอดของเราสามารถปลูกได้ 120 กิโลกรัม ต่อต้น แล้วท่านจะว่าอย่างไร? ท่านไปหาพันธุ์มหัศจรรย์มาหรือครับ ทำไม ไม่หาความรู้จากเกษตรกรเหล่านี้ว่าเขาทำกันอย่างไร

ท่านทราบหรือไม่ว่า ครูที่ดีที่สุดของชาวไร่มันสำปะหลังคือใคร ก็คือต้นมันสำปะหลัง ครูที่ดีที่สุดของชาวนาคือ ต้นข้าว ไม่มีนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญคนไหน จะมีปริญญาเอกกี่ใบ เชี่ยวชาญเรื่องข้าวไม่มีหรอกครับ โม้ทั้งนั้น มีแต่เชี่ยวชาญเรื่องพันธุ์ข้าว เชี่ยวชาญเรื่องการใช้น้ำในนาข้าว เชี่ยวชาญเรื่องดินนา และนี่คือปัญหาของประเทศไทย แต่คนที่เก่งที่สุดที่ผมเชื่อถือ คือเกษตรกร แต่ต้องเป็นคนเก่งนะ ซึ่งพบว่าในเกษตรกรจำนวน 100 คน ในแต่ละชุมชนมีเกษตรกรที่เป็นมืออาชีพจริงๆ ไม่ถึง 5 คน ที่เหลือคือคนที่ทำการเกษตร

"ถ้าผมเริ่มปลูกข้าว ผมจะดูคนข้างๆ ว่าเขาใส่ปุ๋ยเท่าไร ผมจะใส่ให้มากกว่า ดินก็มีความแตกต่าง ฝนตกลงมาเท่ากัน แต่ดินอุ้มน้ำไม่เท่ากัน ก็ส่งผลให้พืชได้รับน้ำไม่เท่ากัน จะเห็นว่ามีเรื่องเยอะแยะที่ซับซ้อนมาก คราวนี้มาดูเรื่องดินดีหรือดินเลว ซึ่งก็ต้องดู 3 เรื่อง คือ"

1. ดูความเป็นกรด-ด่าง ของดิน ว่าเหมาะสมหรือไม่ ถ้าความเป็นกรด-ด่าง ไม่เหมาะสมแล้ว ธาตุอาหารมีเยอะแยะพืชจะใช้ไม่ได้ หรือใส่ปุ๋ยสัก 10 กระสอบ ต่อไร่ พืชก็ดูดไม่ได้

2. เสร็จแล้วมาดูเรื่องความโปร่งร่วนซุยของดิน ถามว่าดินที่โปร่งกับดินที่แน่นปลูกพืชลงไปแล้วรากของพืชชนิดไหนไปได้ไกลกว่ากัน ถ้ารากพืชที่ไปได้ไกลกับไปได้ใกล้อย่างไหนจะดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดีกว่ากัน แล้วในธรรมชาติเองสัดส่วนระหว่างข้างบนกับข้างล่างจะสมดุล กล่าวคือ ถ้ารากไปได้น้อย ก็โตน้อย ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติ

3. ต้องดูว่าที่พืชกินอาหารเข้าไป 17 ชนิด ตอนนี้ในดินพอหรือไม่ พืชแต่ละชนิดต้องการกินอาหารที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นมันสำปะหลังจะกินอาหารต่างๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างจากข้าวหรือข้าวโพด

"ซึ่งเราก็ต้องรู้ว่า ดินเรารวยหรือจน อย่างน้อยต้องดู 3 เรื่อง ธาตุอาหาร 17 ชนิด ผมยกมาเพียง 3 ชนิด แต่ละตัวมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ผมในฐานะที่เรียนทางด้านปฐพีวิทยามา ทั้งเรื่องดินและปุ๋ยมาตั้งแต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก เวลาไปที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสาตร์ที่ภาคปฐพีวิทยาทีไร ก็ได้พูดกับอาจารย์ทุกครั้งว่า เราสร้างคนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกไปนับแสนคนแล้ว เกษตรกรยังยากจนหนี้สินล้นพ้นตัว ที่ดินหลุดมือ ผมว่าจำเป็นนะที่จะต้องปลุก เพื่อใช้วิกฤติการตกงานในครั้งนี้พลิกฟื้นชนบทไทยให้ได้ มีความจำเป็น ท่านไปซื้อยาแก้โรคแมลงมาฉีดมาพ่นกันบอกว่ามันขาดสารอาหาร"

จากการบรรยายของอธิบดีกรมการข้าว บอกว่า เกษตรกรภาคกลางรวยกว่าทางภาคอีสาน ซื้อปุ๋ยใส่ลงไปเลย 3 เท่าตัว อันนี้เป็นข้อมูลเฉลี่ยในภาคกลางที่วันนี้เกษตรกรที่ปลูกข้าวในภาคกลางใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเกิน 3 เท่าตัว จากข้อมูลสำรวจของเรา แล้วเกิดอะไรท่านทราบไหม ก็จะเกิดโรคใบไหม้รุนแรง ใช้มากเกินไปแล้วเกิดอะไรทราบหรือไม่ เห็นใบเขียวดี แมลงระบาดก็เลยฉีดยาตามฉลากขวด แล้วใครรวยครับ

ดร.ประทีป กล่าวว่า แทนที่จะสอนเกษตรกรว่า ถ้าเดิน 10 ก้าว ไปเจอแมลงไม่เกิน 5 ตัว ไม่ต้องฉีด ก็ใช้ปุ๋ยตามฉลากที่ติดไว้ข้างถุงไม่ผิดนะที่เขาทำมาขาย เพราะเขาต้องเขียนกลางๆ อย่างนั้น แต่กำลังจะบอกว่าเราอยู่ในยุคที่ต้นทุนแข่งกับใครไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจากประเทศเพื่อนบ้านจะทะลักเข้ามา ในขณะที่เขาขนมา หรือดูอย่างกรณีแอ๊ปเปิ้ลขนมาจากประเทศจีนยังถูกกว่าฝรั่งที่เมืองไทย ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ถ้านักวิชาการหรือหน่วยงานราชการไม่ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว ผมว่าเกษตรกรคงจะไม่ดีแน่ ที่ผมคิดว่าใช้วิกฤติตกงานพลิกฟื้นชนบทมันคงเกิดไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือกัน

ถ้าธาตุอาหารไม่สมดุลจะเกิดโรคใบจุดสีน้ำตาลทำลายราก ผมอยากจะให้มองอะไรเป็นการเชื่อมโยง ไม่ใช่แยกส่วน ตัวเลขชัดเจนนะครับว่าต้นทุนการผลิต 1 ใน 4 คือปุ๋ยเคมี และใน 7-8 ปี ที่ผ่านมา เรานำเข้าปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นถึง 65 เปอร์เซ็นต์ ถามว่าแล้วผลิตผลเพิ่มขึ้นสักกี่เปอร์เซ็นต์ อย่างนี้จะไปรอดไหมครับ? ก็แสดงว่าปุ๋ยเคมีต่างๆ ที่ได้ใช้ไปมันมีการรั่วไหลไปมากมาย ทั้งนี้ เพราะเกษตรกรใช้ไม่ถูก

เพราะฉะนั้นเมื่อวิเคราะห์เจาะลึกตรงจุดนี้โดยความร่วมมือของทีมงานที่ประกอบด้วยทางกรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงมูลนิธิพลังนิเวศน์และชุมชน โดยการสนับสนุนของ สกว. โดยเริ่มทำมาตั้งแต่ ปี 2540 ซึ่งเราพยายามที่จะทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาการและต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

"ผมอยากให้นึกภาพที่ผ่านมา เวลาเราไปเดินตามห้างหรือดีพาร์ตเม้นต์สโตร์ เราไปซื้อเสื้อมา แต่ว่าแผงขายเสื้อตรงนั้นมีเสื้ออยู่เพียงขนาดเดียว ซึ่งคนตัวเล็ก อ้วน ผอม ใส่ได้หมด ก็เหมือนกับการแนะนำปุ๋ยที่เราแนะนำกันมาตลอด ดินมีตั้งหลายอย่าง พันธุ์พืชแต่ละชนิดก็กินปุ๋ยไม่เท่ากัน อันนี้เราเรียกว่า "ปุ๋ยเสื้อโหล" ต่อมาดีขึ้นหน่อย เริ่มทำเสื้อเป็นขนาดต่างๆ บ้างแล้ว ทางราชการก็ไปตั้งห้องแล็บวิเคราะห์ดิน เช่น สวพ. หรือกรมพัฒนาที่ดิน เป็นต้น ซึ่งก็ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เสื้อก็เริ่มมีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่"

"แต่ลืมไปว่า ดินที่มีเป็น 100 กว่าชนิดมันแตกต่างกัน มันลึก ตื้น แตกต่างกัน เป็นทรายเหนียวต่างกัน พอใส่เข้าไปคือจะให้ธาตุอาหารที่ต่างกัน รวมทั้งยังอยู่ในภูมิอากาศที่แตกต่างกัน แล้วพอเอาดินมาวิเคราะห์ได้ค่าปริมาณธาตุอาหารที่เหลือ ซึ่งจะต้องดูให้หลายด้าน เฉพาะเรื่องดิน เราไม่รู้หรอกว่าดินที่นำมาวิเคราะห์มีโพแทสเซียมเท่านี้ ไนโตรเจนเท่านี้ หรือฟอสฟอรัสเท่านี้ จะอยู่ลึกหรือตื้นกันแน่ไม่รู้หรอกครับ ไม่ได้ใช้ข้อมูลพวกนี้เลย ใช้แต่ข้อมูลธาตุอาหารเท่านั้น ก็ดีกว่าปุ๋ยเสื้อโหลหน่อย ปุ๋ยเสื้อโหลก็ดีกว่าไม่มีเสื้อใส่"

ดร.ประทีป กล่าวต่อไปว่า แต่ปุ๋ยสั่งตัดไม่ใช่ ทำเป็นขนมชั้นเลยนะ เอาดินมาวาง ดินมี 100 กว่าชนิด เอาพันธุ์มาวาง พันธุ์ไวแสง ไม่ไวแสง เอาอากาศมาวาง เอาความชื้นมาวาง เอาฝนมาวาง ถ้าเป็นข้าวระบบชลประทานก็ไม่ต้องใช้ แต่ข้าวโพดต้องเอาฝนมาวางแล้วมองไปข้างบน แล้วบอกว่าถ้าพืชพันธุ์นี้อยู่ในดินแบบไหน แสงเท่านี้จะต้องใช้ปุ๋ยตัวนี้ ใช้เท่านั้น เราก็ลองมาปลูกข้าวโพดในคอมพิวเตอร์ดู แล้วก็เอาไปทดลอง แล้วไปปรับใช้จริง ซึ่งเป็นงานวิจัยพืช 2 ชนิดนี้มา 10 กว่าปี ใช้เงินภาษีของท่านไป 20 กว่าล้านบาท ของสำนักกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ซึ่งอยากจะเห็นอีกหลายพืช อยากจะทำให้เห็นว่าก็สามารถทำได้ ดังนั้น จะเห็นภาพว่าการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่เป็นขนาดเล็ก กลาง ใหญ่

"อย่างเรากรีดยางออกไปให้น้ำยางออกไป ปริมาณน้ำยาง 1 ตัน ที่กรีดยางออกไปจะต้องดูดไนโตรเจน 20 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัม โพแทสเซียม 25 กิโลกรัม ตอนนี้ถ้ารู้ว่าดินขาดอะไร เกษตรกรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีเป็นคนละเรื่องกันนะ คนละประเด็นกัน ปุ๋ยอินทรีย์เองถ้าต้องการใช้โพแทสเซียมมากๆ ท่านก็ไปเอาปุ๋ยอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของแกลบดำมากๆ แต่ถ้าท่านต้องการฟอสฟอรัสก็ให้ไปใช้มูลค้างคาว เพราะฉะนั้นการตรวจดินไม่ได้หมายความว่าให้เปลี่ยนจากเกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรเคมี หรือเปลี่ยนจากเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ แต่ต้องการให้ท่านรู้จักสภาพ"

ส่วนในเรื่องของข้าว ดร.ประทีป บอกว่า ต้องมองข้าวทั้งระบบ จะรู้ว่าข้าว 1 ตัน ที่เอาออกไป ข้าวเปลือก 1 ตัน ในภาคกลาง ต้องดูดอะไรบ้าง เมื่อเกี่ยวไปแล้วและที่เหลืออยู่ในนาประมาณ 1,300 กิโลกรัม เกษตรกรจะเผา ไม่รู้หรอกว่าโพแทสเซียมเกือบทั้งหมดที่ดูดขึ้นไปนั้นอยู่ที่ที่เหลือตรงนั้น ได้ออกไปแต่ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส 1 ใน 3 อยู่ที่นี่ เกษตรกรก็เผา ถ้าวันนี้ปุ๋ยมีราคาสูงเกษตรกรกำลังเผาเงินในภาคกลาง จำนวน 1 ไร่ จะอยู่ประมาณ 1,000-1,500 บาท หายไปเลย แล้วก็มาบ่นกันว่าต้องใส่ปุ๋ยเยอะ อันนี้คือปัญหา

"เพราะฉะนั้น 3 ขั้นตอน ที่เราแนะนำก็คือว่า เราต้องรู้ชื่อดินเสียก่อนว่า ดินอะไร ต้องรู้ว่าธาตุอาหารวันนี้เหลือเท่าไร และให้ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ เราทำเป็นคู่มือสำรวจดินออกมา ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมของโลก ซึ่งตอนนั้นมีการโต้แย้งว่าชาวบ้านทำไม่ได้หรอก แต่ชาวบ้านต้องรู้ดินทั้งประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องรู้ จะรู้แค่ในหมู่บ้านของตัวเอง 3-4 ชนิดหลักๆ ก็พอ แต่วันนี้เรามีแผนที่ดินฉบับแรก แผนที่ดินสำหรับทุกจังหวัด ตั้งแต่ ปี 2519 แต่วันนี้ยิ่งง่ายกว่านั้น เพราะว่าเราได้ลงในเว็บไซด์ได้หมดแล้ว ท่านจะรู้ว่าดินอะไร ชื่อดินอะไร คุณสมบัติก็เปลี่ยนแปลงยาก ก็คือว่าเนื้อดินเปลี่ยนแปลงยาก ความลึก ตื้น เปลี่ยนแปลงยาก สีของดินเปลี่ยนแปลงยาก ความเป็นกรด-ด่าง ชั้นล่างเปลี่ยนแปลงยาก แล้วนำมาตั้งชื่อ เมื่อเจอครั้งแรก 12,500 ไร่ เมื่อไรให้ตั้งชื่อ ดินโคราช แน่นอนต้องเจอที่โคราช แต่ที่ขอนแก่น มีโคราชเพียบเลย รู้ทีเดียวรู้ให้ถึงลูกหลานเลย

ด้วยเหตุนี้ ทีมงานจึงได้พัฒนาชุดตรวจสอบดินแบบง่ายๆ ขึ้นมา โดยเสียค่าน้ำยาเพียง 50 บาท เด็กเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก็สามารถวัดได้ แต่การเก็บตัวอย่างดินนั้นเกษตรกรต้องเก็บเอง ถ้าไม่อย่างนั้นจะไม่เห็นคุณค่า พอเห็นภาพว่าเรากำลังทำให้เกิดการนำไปสู่การพึ่งตนเอง วันนี้นักวิจัยหรือนักพัฒนาทุกคนต้องพยายามคิดเครื่องไม้เครื่องมือให้เกษตรกรไปทำงานให้เร็วขึ้น ประณีตขึ้นและทันเวลาได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่จะคอยพึ่งพานักวิจัยอีกต่อไปเท่านั้น นั่นคือ เป้าหมายของการพัฒนา

เรามีคู่มือทำง่ายๆ เกษตรกรสามารถเปิดอ่านดูได้ สิ่งที่ผมอยากจะเห็นอีกอย่างคือ ความโปร่งร่วนซุย บางที่มีโรงสีชุมชนใส่แกลบไปแล้วก็ต้องใส่อีกแล้วมันเน่า เราได้พัฒนาโดยใช้ภูมิปัญญาคนญี่ปุ่น เมื่อ 400 ปีที่แล้ว เผาแกลบในอุณหภูมิต่ำด้วยถัง 200 ลิตร เพราะอุณหภูมิต่ำคาร์บอนไม่หายก็ไม่ทำให้โลกร้อน ซึ่งไม่เหมือนกับโรงสี เผาเสร็จแล้วเป็นรูปแกลบ ท่านใส่ครั้งเดียวในชีวิตได้ถึงลูกถึงหลาน เพราะจากข้อมูลการวิจัยอยู่ได้หลายร้อยปี ประมาณ 300 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้นที่เราไปทดลองที่สระบุรี 1 ตารางเมตร อย่านำไปใส่ในนานะ ให้ไปใส่ของแพงๆ พวกพืชผัก ไม้ดอก ท่านปรับปรุงฟาร์มให้ร่วนซุยครั้งเดียวตลอดการปลูกไปเลยชั่วลูกชั่วหลาน

อย่างกรณีที่ทดลองที่สระบุรี เป็นดินเหนียว จำนวน 1 ตารางเมตร ใช้ปริมาณ 4 กิโลกรัม ให้นึกภาพว่าวันนี้เรามีแกลบอยู่จำนวน 5 ล้านตัน ในประเทศ เพียงนำมาสัก 10 เปอร์เซ็นต์ ปีละประมาณ 500,000 ตัน นำมาทำอย่างนี้ ผมว่าไม่เกิน 10 ปี ดินในชุมชนเกษตรจะดีขึ้นทั้งหมด เพราะไม่ต้องไปใส่ที่เดิมอีก ดังนั้น เมื่อเรารู้ชื่อดินแล้ว ก็จะทราบว่าผลผลิตควรจะได้สักเท่าไร ดินตากฟ้า ที่นครสวรรค์ กับดินตากฟ้า ที่ตาก ถ้าวิเคราะห์ NPK เท่ากัน ปลูกข้าวโพดแนะนำปุ๋ยไม่เท่ากัน ซึ่งอันนี้คือ สั่งตัด

จะเห็นว่า ดินอยุธยาปลูกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ข้าว 900 กว่ากิโลกรัม วัดค่า N ได้ต่ำมาก ถ้าใส่ 8 ดินจะต่ำมาก วัด P ได้ต่ำ ใส่ 4 วัด K ได้ปานกลาง ใส่ 2 ซึ่งก็คือ 8-4-2 ซึ่งจะใช้ปุ๋ย 16-20-0 จำนวน 20 กิโลกรัม 46-0-0 จำนวน 2 กิโลกรัม และ 0-0-60 จำนวน 4 กิโลกรัม สำหรับในครั้งแรก พอครั้งที่ 2 ให้นับถอยหลังมา 60 วัน ใส่ตอนตั้งท้อง 46-0-0 จำนวน 9 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นจะใช้ปุ๋ยทั้งหมดเท่าไรครับ คือ 26+9 = 35 กิโลกรัม และถ้าเราปรับปรุงดินของเราให้ดีขึ้น เราก็จะใช้ปุ๋ยในปริมาณที่น้อยลง แต่ในวันนี้ภาคกลางโดยเฉลี่ย ประมาณ 1-1.5 กระสอบ ต่อไร่ ประมาณ 50-70 กิโลกรัม คราวนี้มาดูว่าถ้าดินอยุธยาต่ำมาก ใส่ 8 แต่ดินมโนรมย์ วัดได้ต่ำมาก ให้ใส่ 10 เห็นหรือไม่ว่าถ้าต่ำมาก ต้องใส่ 10 อันนี้คือ สั่งตัด

จากผลการวิจัยจะเห็นว่าเป็นเกษตรกรผู้นำที่เก่งๆ ทั้งนั้น ซึ่งเราได้คัดเลือกมาเป็นนักวิจัยของเราเป็นการสร้างเกษตรกรผู้นำให้เป็นนักวิจัยให้ใช้ท้องนาเป็นห้องทดลอง จะเห็นว่าสามารถลดปุ๋ยได้มากถึง 50% บางรายลดได้ถึง 62% คุณสมมาตร สิงห์ทอง ปลูกข้าวในดินชุดเสนา สามารถลดปุ๋ยได้ถึง 62% เคยใช้ 72 กิโลกรัม ต่อไร่ ตอนนี้เหลือ 27 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยรวมเราพบว่าลดปุ๋ยไนโตรเจนได้ถึง 65% ฟอสฟอรัส 43% ชาวบ้านไม่รู้ว่าโพแทสเซียมมีหน้าที่ทำให้เมล็ดข้าวเต็ม ที่เมล็ดข้าวลีบ เพราะขาดโพแทสเซียม

"สมัยผมเด็กๆ ตอนที่อยู่สุพรรณบุรี เอามือลงไปจับกุ้งเลย แต่วันนี้ไปคุยกับชาวบ้านเขาบอกว่า ทำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว มือจะคันหมดเลย เพราะยาสารเคมีต่างๆ มันไหลลงไปในน้ำ มันไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม ของเดิมปีหนึ่งเอาออกครั้งเดียวปลูกปีละครั้ง เดี๋ยวนี้ 5 ครั้ง 2 ปี ปีหนึ่งเอาข้าวเปลือกออกไปแล้ว 2,000 กิโลกรัม เราทำข้าวโพดเสร็จก่อน จะเห็นว่าข้าวโพดสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 53% ต้นทุนลดไป 31% ปี 2547 ต้นทุนลด 42% ผลผลิตเพิ่ม 58% ที่น่าสนใจคือช่วงฝนแล้งเสียหายกันมาก ต้องขายไร่กัน เมื่อปี 2548 ปรากฏว่าฟอสฟอรัสที่เร่งรากได้ดีถึงแม้ว่าในดินมีน้ำอยู่น้อย แต่มันไปได้ไกลกว่าแห้งชัดมากเลย ช่วงฝนแล้งผลผลิตเพิ่มถึง 78% เมื่อเปรียบเทียบกันเราให้ทดลองแบ่งคนละครึ่งแปลงเลย นี่เป็นการสรุปหลักๆ ให้ท่านเห็น" ดร.ประทีป กล่าวในที่สุด



ข้อมูล : วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
http://sites.google.com/site/banrainarao/column/fermade_rice


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/07/2011 9:16 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 17/07/2011 8:01 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

10. “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยเกษตรกรได้อย่างไร ?


“การเกษตรเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสยศาสตร์” ทุกสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงกันและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีนั่น เพราะมีนี่ ทำสิ่งนั้น จึงเกิดสิ่งนี้ จึงต้องไม่คิดแบบแยกส่วน หรือคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว เพราะหนึ่งผลมาจากหลายเหตุ ต้องคิดอย่างเป็นระบบให้เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม

พืชทุกชนิดอยู่ภายใต้ “กฎธรรมชาติ” เจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง ก็ต่อเมื่อเกษตรกรมีความรู้ความสามารถในการจัดการให้เกิด “ความลงตัวพอดี” ระหว่างพันธุ์พืชที่ปลูกกับปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดิน ปุ๋ย น้ำ วัชพืช โรค แมลง ฯลฯ แต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม นอกจากจะอยู่ภายใต้ “กฎธรรมชาติ” (เกิด แก่ เจ็บ ตาย) เช่นเดียวกับพืชแล้ว ยังอยู่ภายใต้ “กฎมนุษย์” อีกด้วย

เกือบทุกประเทศในโลกปัจจุบันอยู่ภายใต้ “กฎมนุษย์” ที่เรียกว่า “ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี” ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ “คนแข็งแรง” เป็นผู้กำหนด จึงสร้าง “โอกาสทอง” ให้เฉพาะ “คนที่เข้มแข็ง” เท่านั้น ขณะที่เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่อ่อนแอย่อมเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้น เพราะการแข่งขันมีแนวโน้มนับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้น

เกษตรกรต้องแข่งขันทั้งด้านราคาและคุณภาพ รวมทั้งการกีดกันทางการค้า เกษตรกรจึงต้องเร่งพัฒนาตนเองให้เป็น “มืออาชีพ” เร็วที่สุด คือ ทำการเกษตรอย่างมีเป้าหมายชัดเจนและท้าทาย มีจินตนาการกว้างไกล มีหลักคิดถูกต้อง มีความรู้และทักษะพอเพียง และใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนจนถึงการนำแผนไปปฏิบัติ

เกษตรกรส่วนใหญ่ต่างคนต่างอยู่ องค์กรเกษตรกรก็ไม่เข้มแข็ง จึงไม่มีบทบาทในการกำหนดราคาขายผลผลิต ฉะนั้น หนึ่งในเป้าหมายลำดับแรกๆ ของเกษตรกรควรอยู่ที่การลดต้นทุนการผลิต เพราะเกษตรกรสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองทันที โดยเริ่มจากการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิตในฤดูปลูกที่ผ่านมา แล้วกำหนดเป้าหมายต้นทุนการผลิตในฤดูปลูกต่อไปว่า

ต้องการลดลงเท่าไร ?
จะลดค่าใช้จ่ายในส่วนไหน ?
จะใช้วิธีการอย่างไร ?

เทคโนโลยีการผลิตและระบบการจัดการสำหรับใช้ผลิตสินค้าเกษตร เพื่อให้มีคุณภาพและปริมาณตรงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งมีต้นทุนที่แข่งขันได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนขั้นพื้นฐานของเกษตรกร

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าที่สร้างขึ้นใหม่ไม่ได้ และเปรียบเสมือนรากฐานชีวิตของเกษตรกร เป็น “ทุน” ที่สำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในบรรดาปัจจัยที่ใช้ในการผลิตพืช ดินเป็นสิ่งที่เกษตรกรรู้จักน้อยที่สุด เกษตรกรจึงขาดความตระหนักถึง “คุณค่า” ของดิน

สาเหตุที่เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องดิน อาจเนื่องจากความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของดิน ได้แก่ อินทรียวัตถุ แร่ธาตุ น้ำ และอากาศ มีความซับซ้อน อธิบายให้เข้าใจได้ยาก อีกทั้งความสัมพันธ์เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งที่อยู่ในดินและบนดิน

นอกจากนั้น ดินยังมีศักยภาพ (พลัง) และข้อจำกัดที่แตกต่างกันในการใช้เพาะปลูกพืช กรมพัฒนาที่ดินได้ใช้สมบัติที่เปลี่ยนแปลงได้ยากของดินสำหรับจำแนกดินในพื้นที่การเกษตรของประเทศไทย และพบว่ามีมากกว่า 200 ชุดดิน (Soil series)

ถึงแม้ว่าชื่อชุดดินจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ความอุดมสมบูรณ์ของดินเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพียงแต่เปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูก หรือเปลี่ยนวิธีการจัดการดิน เกษตรกรจึงควรตรวจสอบธาตุอาหารพืชในดินก่อนการใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยให้สูงขึ้น

นอกจากเรื่องดินแล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ย สับสนในความแตกต่างระหว่างปุ๋ย (อาหารพืช) กับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช (ยา) ปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยชีวภาพ และขาดความเข้าใจถึงหน้าที่ (ประโยชน์) ของปุ๋ยแต่ละประเภท จึงตกเป็นเยื่อของการโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย อีกทั้งการส่งเสริมด้านดินและปุ๋ยของบางหน่วยงานก็ผิดทิศผิดทาง

ดินดีหรือดินเลวต้องดูที่ไหน ? และจะปรับปรุงแก้ไขดินที่มีปัญหาได้อย่างไร ? ในทางวิชาการ “คุณภาพของดินในการปลูกพืช” เรียกว่า “ผลิตภาพของดิน” ต้องพิจารณาทั้ง 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน บ่งบอกถึงปริมาณธาตุอาหารในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ถ้ามีเพียงพอ เรียกว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่ถ้าขาดแคลน เรียกว่า ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แนะนำให้ปรับปรุงโดยการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะเมื่อพิจารณาเฉพาะธาตุอาหารพืชเป็นหลักแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีจะให้ผลคุ้มค่ากว่าปุ๋ยอินทรีย์

2. สมบัติทางกายภาพของดิน ได้แก่ ความโปร่งร่วนซุย ความแข็ง และความแน่นทึบของดิน ซึ่งมีผลต่อการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำของดิน และส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของรากพืช รวมทั้งการดูดน้ำและธาตุอาหาร

ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ถ้าสมบัติทางกายภาพของดินไม่ดี รากพืชจะไม่เจริญเติบโต ดูดน้ำและธาตุอาหารได้ไม่เต็มที่ ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ปุ๋ยที่เหลือจะถูกชะล้างไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา

การแก้ไขสมบัติทางกายภาพของดินทำได้โดยใช้วัสดุปรับปรุงดิน เช่น ไถกลบเศษซากพืชลงไปในดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปลูกพืชปุ๋ยสด การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพสูงจึงจำเป็นต้องปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีเสียก่อน

3. สมบัติทางเคมีของดิน เช่น ความเป็นกรด-ด่าง ความเค็มของดิน หรือสารพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นในดิน ฯลฯ ถ้าสมบัติเหล่านี้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรากพืช ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดูดน้ำและธาตุอาหารของรากพืช ประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมีจึงขึ้นอยู่กับสมบัติทางเคมีของดินด้วย

ตัวอย่างของการแก้ไขสมบัติทางเคมีของดิน ถ้าดินเป็นกรดรุนแรง แนะนำให้ใช้วัสดุจำพวกปูน เช่น ปูนมาร์ล หินปูน ปูนโดโลไมต์ ปูนขาว ฯลฯ แต่ถ้าเป็นดินเค็ม มีเกลืออยู่มาก ให้ล้างเกลือด้วยน้ำ เพื่อเอาความเค็มออกไปก่อน พืชจึงจะเจริญเติบโตได้เป็นปรกติ

ดินที่มีทั้งความอุดมสมบูรณ์สูงและสมบัติทางกายภาพดี แต่ถ้าสมบัติทางเคมีไม่เหมาะสม ก็ยังคงถูกจัดอยู่ในประเภท “ดินเลว” หรือ “ดินที่มีผลิตภาพต่ำ”

4. สมบัติทางชีวภาพของดิน เป็นสมบัติของดินที่ประกอบด้วยสิ่งที่มีชีวิตที่เป็นประโยชน์ ครอบคลุมตั้งแต่สัตว์ที่มีขนาดเล็กไปถึงจุลินทรีย์ที่หลากหลาย จุลินทรีย์เหล่านี้จะตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศให้กับดิน และช่วยย่อยสลายปลดปล่อยธาตุอาหารจากอินทรียวัตถุและละลายสารประกอบบางชนิดในดินให้มาอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้

ตัวอย่างเช่น พืชตระกูลถั่วเจริญเติบโตดีเมื่อมีจุลินทรีย์พวกไรโซเบียมช่วยจับไนโตรเจนจากอากาศให้มาอยู่ในรูปที่พืชใช้ได้ หรือจุลินทรีย์จำพวกไมคอร์ไรซ่าช่วยทำให้หินฟอสเฟตละลาย และพืชนำไปใช้ได้ดีขึ้น เป็นต้น

“ดินดี” หรือดินที่มี “ผลิตภาพสูง” จึงต้องมีทั้ง 4 องค์ประกอบดังกล่าวเหมาะสม เพราะแต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญเท่าเทียมกันต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช

ถึงแม้ว่าการใส่ปุ๋ยเคมีจะทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ต่ำกลายเป็นดินอุดมสมบูรณ์สูง แต่ปุ๋ยเคมีไม่สามารถเปลี่ยนดินเลวให้เป็นดินดีได้ ถ้าสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของดินไม่ได้รับการแก้ไขให้เหมาะสมเสียก่อน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจึงไม่จำเป็นต้องเป็นดินดีเสมอไป ถ้าดินนั้นมีองค์ประกอบอื่นๆ ไม่เหมาะสม แต่ดินดีต้องเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรายงานว่า ปี 2543 ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมี 2.6 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 ล้านตันในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา แต่ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจหลักเพิ่มขึ้นไม่มากนัก และต้นทุนการผลิตเป็นค่าปุ๋ยเคมีสูงถึงร้อยละ 25

สาเหตุหลักเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงใช้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเป็นแบบกว้างๆ ที่เรียกว่า “การใช้ปุ๋ยแบบเสื้อโหล” (เสื้อมีขนาดเดียว) ไม่มีการวิเคราะห์ดิน แม้ต่อมานักวิชาการได้พัฒนาเป็น “การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน” (เสื้อมีหลายขนาด เล็ก-กลาง-ใหญ่) โดยนำค่าวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินขณะนั้น มาใช้กำหนดคำแนะนำการใช้ปุ๋ยด้วย แต่เกษตรกรก็ยังคงนิยมใช้ “ปุ๋ยแบบเสื้อโหล” อยู่นั่นเอง

การใช้ปุ๋ยเคมีให้ “ถูกสูตร ถูกปริมาณ ถูกเวลา ถูกวิธี” จึงเป็นประเด็นเร่งด่วนที่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ระหว่างปี 2540-2551 โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศ. ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ จึงได้ริเริ่มและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยที่มีความแม่นยำสำหรับข้าว ข้าวโพด และอ้อย อีกทั้งต้องการให้เป็นเทคโนโลยีที่เกษตรกรตัดสินใจใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง

ในที่นี้เรียกว่า เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” (เสื้อมีขนาดพอดีตัว) โดยนำข้อมูลพันธุ์พืช แสง อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ชุดดิน และ เอ็น-พี-เค ในดินในขณะนั้น มากำหนดคำแนะนำการใช้ปุ๋ย เมื่อใช้ปุ๋ยถูกสูตร ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี พืชย่อมแข็งแรง ส่งผลให้ปัญหาโรคและแมลงลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น และต้นทุนการผลิตลดลง



เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” มี 3 ขั้นตอน
1. ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน (Soil series) ใช้คู่มือสำรวจชุดดินในภาคสนามอย่างง่าย สอบถามได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ www.soil.doae.go.th

2. ตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน ใช้ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว ซึ่งเกษตรกรวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองภายใน 30 นาที สอบถามได้ที่ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 02 942 8104 – 5

3. ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด” หรือโปรแกรมคำแนะนำการใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด” ซึ่งดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีจากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th

หมายเหตุ : ควรวิเคราะห์ดินก่อนปลูกพืช 3 ฤดูปลูกติดต่อกัน เพื่อปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จากนั้นแนะนำให้วิเคราะห์ดินทุก 2 ปี

ในปี 2550 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการบูรณาการลดต้นทุนการปลูกข้าวในเขตชลประทานภาคกลาง 8 จังหวัด เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยประหยัดค่าปุ๋ย 241 บาทต่อไร่ ขณะที่ค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชลดลง 178 บาทต่อไร่ และค่าเมล็ดพันธุ์ลดลง 91 บาทต่อไร่ รวมต้นทุนการผลิตลดลง 510 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก

นอกจากนี้ ยังพบว่าชาวนาใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยฟอสฟอรัสเกินความต้องการของข้าวถึง 65% และ 43% ตามลำดับ แต่ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมไม่เพียงพอ จึงเกิดปัญหาเมล็ดลีบ ต้องเพิ่มปุ๋ยโพแทสเซียม 48% ส่วนผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 7% ฉะนั้น ในนาข้าวชลประทาน 10 ล้านไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวจะลดลงมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี

เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 35-200% ในพื้นที่เพาะปลูก 6 ล้านไร่ ถ้าผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง 50% เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 9,000 ล้านบาทต่อปี

สำหรับอ้อย คำแนะนำ “ปุ๋ยสั่งตัด” เพิ่งเสร็จเฉพาะในภาคอีสาน พบว่า ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากไร่ละ 15.2 ตัน เป็น 17.1 ตัน ขณะที่ต้นทุนการผลิตไม่แตกต่างกัน ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นไร่ละ 2,023 บาท

ดังนั้น ควรเร่งยกระดับความรู้ด้านการจัดการดินและการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องให้แก่เกษตรกร เพราะถ้าไม่รู้จักดิน ไม่รู้จักปุ๋ย จะปรับปรุงบำรุงดิน หรือใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร ?




ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์
มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน
http://sites.google.com/site/banrainarao/fermade
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 17/07/2011 8:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

11. “ปุ๋ยสั่งตัด” ช่วยลดต้นทุนการผลิต


ในยุคเศรษฐกิจทุนนิยม เกษตรกรต้องแข่งขันทั้งด้านราคาและคุณภาพ จึงควรเร่งพัฒนาตนเองให้เป็น “มืออาชีพ” เร็วที่สุด คือ ทำการเกษตรอย่างมีเป้าหมายชัดเจน มีหลักคิดที่ถูกต้อง รวมทั้งใช้ข้อมูลและความรู้ประกอบการตัดสินใจในทุกๆ ขั้นตอน

เป้าหมายแรกของเกษตรกรมืออาชีพควรอยู่ที่การลดต้นทุน เพราะเริ่มได้ทันทีด้วยตนเอง โดยวิเคราะห์โครงสร้างของต้นทุนการผลิต แล้วกำหนดเป้าหมายต้นทุนการผลิตครั้งต่อไปว่าจะอยู่ที่เท่าไร? จะลดค่าใช้จ่ายส่วนไหน? และด้วยวิธีการอย่างไร?

ระวัง! อย่าคิดแบบแยกส่วน หรือคิดแบบเหตุเดียวผลเดียว เพราะหนึ่งผลมาจากหลายเหตุ ต้องคิดเป็นระบบให้เชื่อมโยงเป็นองค์รวม เพราะการเกษตรเป็นวิทยาศาสตร์

พืชทุกชนิดจะเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตสูงก็ต่อเมื่อเกษตรกรสามารถจัดการให้เกิด “ความลงตัวพอดี” ระหว่างพันธุ์พืชกับปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง อาทิ ดิน ปุ๋ย น้ำ วัชพืช โรค แมลง ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2550 กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมมือกับกรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ธ.ก.ส. และมูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน ได้จัดทำโครงการบูรณาการลดต้นทุนการผลิตข้าวในเขตชลประทานภาคกลาง 8 จังหวัด


จากเวทีเสวนาของชาวนาผู้นำ สรุปได้ว่า ถ้าต้องการลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 20 โดยผลผลิตข้าวไม่ลดลง ต้องดูแลจัดการเป็นพิเศษใน 4 “จุดคอขวด” ดังนี้
1. เมล็ดพันธุ์ข้าว ปัญหาใช้อัตราเมล็ดพันธุ์มากเกินไป ควรใช้เพียง 20-25 กก.ต่อไร่

2. การปรับปรุงบำรุงดิน ปัญหาดินเสื่อมโทรม และการเผาฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ควรไถกลบหรือหมักฟางในนา โดยเร่งการผุพังสลายตัวด้วยปุ๋ยอินทรีย์/น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะช่วยลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้มาก ทั้งยังช่วยลดการระบาดของหนอนกอ ส่วนดินที่เสื่อมโทรมมาก ควรปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด อาทิ ปอเทือง ถั่วมะแฮะ ฯลฯ

3. การใช้ปุ๋ยเคมี ปัญหาใช้ปุ๋ยเคมีผิดสูตรและผิดปริมาณ ควรใช้เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” รวมทั้งการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หรือปุ๋ยแต่งหน้า (ปริมาณครึ่งหนึ่งของปุ๋ยไนโตรเจนทั้งหมด) ต้องให้ถูกเวลาด้วย แนะนำให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ในวันที่ 60 นับถอยหลังจากวันเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นระยะกำเนิดช่อดอกของข้าว เช่น พันธุ์ข้าวอายุ 110 วัน (สุพรรณ 1 ชัยนาท 1 และพิษณุโลก 2) ใส่ปุ๋ย 50 วันหลังหว่าน พันธุ์ข้าวอายุ 115 วัน (สุพรรณ 3) ใส่ปุ๋ย 55 วันหลังหว่าน และพันธุ์ข้าวอายุ 120 วัน (ปทุมธานี 1) ใส่ปุ๋ย 60 วันหลังหว่าน เป็นต้น

4. การใช้สารฆ่าแมลง ปัญหาใช้สารฆ่าแมลงเกินความจำเป็น ถ้าใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตราที่เหมาะสม และใช้ปุ๋ยเคมีถูกต้อง ปัญหานี้จะลดลงได้มาก โดยแนะนำให้สำรวจแมลงศัตรูข้าวก่อนฉีดพ่นสารฆ่าแมลงทุกครั้ง


สรุปผลจากโครงการฯ คือ ต้นทุนการผลิตข้าวลดลง 510 บาทต่อไร่ต่อฤดูปลูก เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และสารฆ่าแมลง 91, 241 และ 178 บาท ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ส่วน “ปุ๋ยสั่งตัด” ลดค่าปุ๋ยเคมีได้ร้อยละ 47 ซึ่งเป็นผลจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสลดลงร้อยละ 65 และ 43 ตามลำดับ แต่การใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 48

ปี 2543 ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมี 2.6 ล้านตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 ล้านตันในปี 2550 หรือใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นร้อยละ 65 ในช่วงระยะเวลา 7 ปี และเกือบครึ่งหนึ่งของปุ๋ยเคมีทั้งหมดใช้ในการปลูกข้าว แต่ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่มากนัก

ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2551) แสดงให้เห็นว่า ต้นทุนการผลิตพืชเศรษฐกิจเป็นค่าปุ๋ยเคมีถึงร้อยละ 25 และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (ธ.ก.ส.) รายงานว่า ประมาณร้อยละ 50 ของยอดจำหน่ายปัจจัยการผลิตทั้งหมดของสหกรณ์ฯ เป็นค่าปุ๋ยเคมี

การใช้ปุ๋ยเคมีให้ “ถูกสูตร ถูกปริมาณ ถูกเวลา ถูกวิธี” จึงควรเป็นประเด็นเร่งด่วนที่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ

ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางปลูกข้าวปีละ 2-3 ครั้ง การปลูกข้าวแต่ละครั้งใช้ปุ๋ยเคมี 50-75 กก.ต่อไร่ เป็นการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็นถึงเท่าตัว โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ต้นข้าวอ่อนแอ ล้มง่าย โรคแมลงระบาด และพบว่าในบางพื้นที่ แม้เป็นดินเหนียว ต้นข้าวมีอาการขาดโพแทสเซียม เมล็ดข้าวลีบ ผลผลิตไม่มีน้ำหนัก จึงต้องเปลี่ยนความเชื่อที่ว่า “ไม่ต้องใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมให้แก่ข้าวที่ปลูกในดินเหนียว เพราะดินมีอยู่เพียงพอแล้ว”

สาเหตุที่ต้นข้าวแสดงอาการขาดโพแทสเซียม เพราะในปัจจุบันมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวออกจากพื้นที่มากกว่าในอดีต 5-6 เท่าตัว จากที่เคยปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองปีละครั้ง และเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปเพียง 300-400 กก.ต่อไร่

การผลิตข้าวเปลือก 1 ตัน ข้าวต้องดูดใช้ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ประมาณ 20, 5 และ 25 กก. ตามลำดับ และพบว่าดินเหนียวในบางพื้นที่ปลดปล่อยธาตุโพแทสเซียมออกมาให้ต้นข้าวใช้ได้ไม่เพียงพอ ซึ่งดินที่ใช้ปลูกพืชในประเทศไทยมีมากกว่า 200 ชุดดิน (Soil series) เช่น ชุดดินบางกอก อยุธยา รังสิต ปากช่อง ฯลฯ และแต่ละชุดดินต่างก็มีมีศักยภาพ (พลัง) และข้อจำกัดในการปลูกพืชที่แตกต่างกัน

คำแนะนำการใช้ปุ๋ยส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบกว้างๆ หรือที่เรียกว่า “การใช้ปุ๋ยแบบเสื้อโหล” (เสื้อมีขนาดเดียว) ไม่มีการวิเคราะห์ดิน ต่อมาพัฒนาเป็น “การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน” (เสื้อมีหลายขนาด เล็ก-กลาง-ใหญ่) โดยนำค่าวิเคราะห์ เอ็น-พี-เค ในดินขณะนั้น มาใช้กำหนดคำแนะนำการใช้ปุ๋ยด้วย

ส่วน “ปุ๋ยสั่งตัด” (เสื้อมีขนาดพอดีตัว) เป็นเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยที่นำปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ พันธุ์พืช แสง อุณหภูมิ น้ำฝน ชุดดิน และข้อมูล เอ็น-พี-เค ในดินขณะนั้น มาใช้กำหนดคำแนะนำการใช้ปุ๋ย จึงมีความถูกต้องมากขึ้น แต่ยังคงแนะนำให้เกษตรกรปรับการใช้ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่งด้วยตนเอง โดยสังเกตการเจริญเติบโตของพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยให้มากยิ่งขึ้น

ข่าวดีสำหรับเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตรกำลังขยายแนวทางลดต้นทุนการผลิตข้าวดังกล่าวในเขตชลประทานภาคกลาง 20 จังหวัด และในปี 2551 สปก. ได้นำเทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” ไปลดต้นทุนการผลิตข้าว ทั้งในภาคกลางและภาคอีสาน ส่วนวิทยาลัยเกษตรฯ 5 แห่ง ได้ทดลองจัดตั้งหน่วยบริการวิเคราะห์ดินและให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยแก่เกษตรกร เพื่อให้นักศึกษาได้บริการชุมชนและเรียนรู้จากการปฏิบัติ รวมทั้งเมื่อเดือนมกราคม 2552 ธ.ก.ส. ได้เริ่มโครงการวิเคราะห์ดินและตรวจสอบปุ๋ย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในทุกจังหวัด

ระหว่างปี 2540-2549 ศ. ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และคณะ โดยการสนับสนุนของสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ประดิษฐ์ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว เพื่อช่วยให้เกษตรกรวิเคราะห์ดินได้ด้วยตนเอง ทั้งยังแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงและความล่าช้าของการวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ พร้อมกับได้พัฒนาโปรแกรม “ปุ๋ยสั่งตัด” สำหรับข้าวและข้าวโพดเสร็จเรียบร้อยแล้ว



การใช้เทคโนโลยี “ปุ๋ยสั่งตัด” มี 3 ขั้นตอน
1. ตรวจสอบข้อมูลชุดดิน สอบถามได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ www.soil.doae.go.th

2. ตรวจสอบปริมาณ เอ็น-พี-เค ในดิน ใช้ชุดตรวจสอบ เอ็น-พี-เค ในดินแบบรวดเร็ว ซึ่งเกษตรกรวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองภายใน 30 นาที (ค่าน้ำยา 50 บาทต่อตัวอย่าง) สอบถามได้ที่ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 02 942 8104–5

3. ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ ศึกษาจากคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด หรือโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งดาวน์โหลดโปรแกรมได้จากเว็บไซต์ www.ssnm.agr.ku.ac.th


หมายเหตุ : ควรวิเคราะห์ดินก่อนปลูกพืช 3 ฤดูปลูกติดต่อกัน เพื่อปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จากนั้นแนะนำให้วิเคราะห์ดินทุก 2 ปี
ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ดินจึงเปรียบเสมือนรากฐานชีวิตของเกษตรกร เพราะเป็น “ทุน” ที่สำคัญสำหรับทำการเกษตร แต่เกษตรกรขาดความตระหนักถึงคุณค่าของดิน อาจเป็นเพราะว่า เกษตรกรยังรู้จักดินน้อยที่สุดในบรรดาปัจจัยที่ใช้ในการผลิต ทั้งๆ ที่ดินเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุด

ดังนั้น ควรเร่งยกระดับความรู้เรื่องดินและปุ๋ยของเกษตรกร ถ้าไม่รู้จักดิน ไม่รู้จักปุ๋ย จะปรับปรุงดิน หรือใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร? เพราะ “ดินดีใช้ปุ๋ยน้อย”




ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์
http://sites.google.com/site/banrainarao/fermade
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 17/07/2011 8:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

12. ปุ๋ยสั่งตัด


ถึงแม้ว่าผมจะกล่าวถึงเรื่อง "ปุ๋ยสั่งตัด" ไปหลายครั้งแล้ว แต่ว่าความที่เรื่องนี้ค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรกรทั่วไป จึงต้องพยายามทำความชัดเจนให้เข้าใจตรงกันก่อน
เพราะอย่าว่าแต่เกษตรกรเลยที่ไม่เข้าใจ บางครั้งนักวิชาการด้วยกันก็ยังเข้าใจคลาดเคลื่อน คิดว่าเป็นเรื่องเดิมๆ ที่เคยทำกันมาแล้ว และเอามาปัดฝุ่นตีปี๊บกันใหม่

ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น เพราะว่ามีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ผมได้หารือกับ ศ.ดร.ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทำเรื่องนี้มาโดยตลอด และได้ข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งน่าจะนำมาถ่ายทอดให้ทุกคนได้เข้าใจตรงกันและหันมาใช้วิธีการแบบนี้กันมากขึ้น เพื่อการลดต้นทุน แต่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยให้มากขึ้น

การใช้ปุ๋ยเคมีแบบ "สั่งตัด" คือ การใช้ปุ๋ยเคมีตามชุดดินและค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งพัฒนาโดยนำข้อมูลดิน พืช การจัดการดิน รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์มาคำนวณในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมจำลองการปลูกพืชที่สลับซับซ้อน แต่ทำให้ง่ายสำหรับเกษตรกรนำไปใช้ ฟังดูแล้วเหมือนยาก เพราะว่าหลายคนดูถูกว่าเกษตรกรคงทำเรื่องยากๆ อย่างนี้ไม่ได้ แต่ความจริงแล้ว หากใครใช้คอมพิวเตอร์เป็น ก็จะง่ายในการหาคำแนะนำ แต่หากใครใช้ไม่เป็น ทางนักวิจัยก็ได้ทำตารางสรุปให้เบ็ดเสร็จ เพียงแค่ทำตามคู่มือแล้วจำแนกดินให้ออกว่า ดินของตนเป็นดินชุดอะไร แล้ววิเคราะห์ดินเองโดยใช้เครื่องมืออย่างง่าย เมื่อได้ค่าเหล่านี้มาแล้ว ก็มาเทียบกับตารางสำเร็จรูปว่าควรใช้ปุ๋ยอะไรอย่างละเท่าใด ซึ่งตอนนี้เกษตรกรที่ได้รับการอบรมไปก็ใช้วิธีการอย่างนี้เป็นเรื่องปกติ ไม่ได้ยากเย็นอะไรอย่างที่บรรดานักวิชาการหลายคนเข้าใจ

สรุปคือ คำแนะนำปุ๋ยแบบ "สั่งตัด" จะแตกต่างกันในดินแต่ละชนิด เช่น คำแนะนำปุ๋ยข้าวในชุดดินอยุธยา และชุดดินมโนรมย์ ไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าปริมาณ "เอ็น พี เค" ที่วิเคราะห์ได้ในดินเท่ากัน อีกกรณีหนึ่งคือ แม้เป็นดินชุดเดียวกัน แต่หากปริมาณเอ็น พี เค ที่วิเคราะห์ได้ไม่เท่ากัน การใช้ปุ๋ยก็จะแตกต่างกัน อย่างเช่น ข้าวโพด คำแนะนำปุ๋ย "สั่งตัด" ของชุดดินปากช่อง จ.นครราชสีมา แตกต่างจากคำแนะนำปุ๋ยของชุดดินปากช่อง จ.ลพบุรี เป็นต้น

ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน แต่ว่ามีความแตกต่างจากแนวคิดเรื่องปุ๋ยสั่งตัด คือ คำแนะนำดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงสมบัติทางเคมี และกายภาพของดินแต่ละชนิดซึ่งมีศักยภาพ (พลัง) ในการผลิตที่ไม่เท่ากัน เป็นคำแนะนำปุ๋ยที่เหมือนกันในดินทุกชนิด ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้จำแนกดินในประเทศไทยไว้แล้วว่ามีมากกว่า 200 ชนิด ดังนั้นคำแนะนำปุ๋ยสูตรเดียว ปริมาณเดียว จึงไม่เหมาะสมต่อชนิดดินที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นถ้าจะพูดตรงๆ ก็คือ วิธีการให้คำแนะนำแบบเดิมยังเป็นคำแนะนำปุ๋ยที่ไม่มีประสิทธิภาพ

นอกจากจะพูดถึงเรื่องของการใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ลืมก็คือ เรื่องของการใช้อินทรียวัตถุช่วยในการปรับปรุงดิน ชาวนาควรปรับปรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุต่างๆ เท่าที่หาได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทางแรกที่ทำได้เลยโดยไม่ต้องซื้อหา คือ การไม่เผาฟาง ซึ่งเป็นทางหนึ่งในการเพิ่มอินทรียวัตถุที่ดีมาก อย่าลืมว่า มนุษย์เราถ้ามีสุขภาพดีก็ไม่จำเป็นต้องกินวิตามิน หรืออาหารเสริม พืชก็เช่นเดียวกัน เมื่อปลูกให้มีสุขภาพดีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน หรือสารอื่นๆ

อย่าให้ผืนดินที่ดีและมีค่าของเราเป็นที่ทิ้งขยะโดยเสียเงินเอาสารต่างๆ มาใส่ลงไป โดยไม่ได้ประโยชน์ เพราะความ "ไม่รู้" หรือเพราะ "เชื่อคำโฆษณา" มากเกินไปครับ



ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net/2008/06/23/x_agi_b001_208225.php?news_id=208225
http://www.phtnet.org/news51/view-news.asp?nID=384


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 17/07/2011 9:17 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 17/07/2011 9:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

13. ม.เกษตรพัฒนาโปรแกรม สั่งสูตรปุ๋ยผ่าน SMS


ชาวนาไทยกำลังจะได้สั่งตัด “ปุ๋ย” ลงนาข้าวผ่าน “เอสเอ็มเอส” แล้ว! โดยเรื่องนี้กำลังจะเป็นเรื่องจริง ไม่ได้โกหกหรือจำสลับกันกับการสั่งตัดเสื้อผ้าอย่างเคยๆ โปรแกรมนี้ใช้งานได้จริงแล้วในรั้วเกษตรศาสตร์ บางเขน ต่อไปชาวนาไทยสามารถหาสูตรปุ๋ยธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมกับที่นาตัวเองได้แบบทันใจ และใช้ปุ๋ยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในยุคข้าวราคาแพงด้วย

ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล นักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะการประมวลผลภาษาธรรมชาติและเทคโนโลยีสารสนเทศอัจฉริยะ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ขณะนี้ได้มีการพัฒนาโปรแกรม “1 2 3–ปุ๋ยสั่งตัด-ผ่านมือถือ” (Fertilizer Expert System) ขึ้น เพื่อให้บริการสั่งตัดปุ๋ยที่เหมาะสมกับแปลงปลูกข้าวแต่ละแปลงของชาวนาไทย

โปรแกรมดังกล่าวเกิดจากการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการเกษตรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตลอดจนองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ไว้ด้วยกัน รวมถึงระบบคำนวณสูตรปุ๋ยจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และโปรแกรมเชื่อมต่อบริการส่งข้อความสั้นของโทรศัพท์มือถือ (เอสเอ็มเอส) ที่พัฒนาขึ้นใหม่เข้าด้วยกัน

“ปุ๋ยสั่งตัดคือปุ๋ยที่มีสูตรที่เหมาะสมกับพืช ชนิดดิน และค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมในดินจริงๆ เปรียบเหมือนกับเสื้อสั่งตัดที่พอดีตัว ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีกว่าและประหยัดกว่า ซึ่งดีกว่าสูตรปุ๋ยที่ขายกันตามท้องตลาดที่เปรียบเหมือนกับเสื้อโหล” นักวิจัยกล่าว

ดร.อัศนีย์ บอกด้วยว่า โปรแกรม “1 2 3 –ปุ๋ยสั่งตัด-ผ่านมือถือ” มีขั้นตอนการทำงานโดยเกษตรกรต้องไปลงทะเบียนประวัติส่วนตัว เบอร์โทรศัพท์มือถือ และพื้นที่ที่ใช้ในการทำการเกษตรเพื่อลงบันทึกในฐานข้อมูลของระบบก่อน จากนั้นก่อนเริ่มปลูกข้าว เกษตรกรต้องส่งข้อความสั้นเพื่อแจ้งผลการสำรวจค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม (N-P-K) ที่ได้จากการวิเคราะห์โดยชุดตรวจ (NPK test kit) หรือจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ให้ระบบรับทราบ

ถัดจากนั้น ระบบจะคำนวณสูตรปุ๋ยให้โดยอัตโนมัติและตอบกลับข้อความของเกษตรกรในทันที โดยรวมถึงคำแนะนำปริมาณการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้ง และประมาณการณ์ผลผลิตต่อไร่ที่คาดว่าน่าจะได้รับด้วย จึงอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรที่ต้องเดินทางไปขอคำแนะนำจากศูนย์เรียนรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตรได้

สำหรับวิธีส่งข้อความสั่งตัดปุ๋ยทำได้โดยการส่งข้อความสั้นแสดงปริมาณค่าธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียมตามลำดับไปยังหมายเลขที่จะมีการเปิดให้บริการในอนาคต โดยใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษแสดงค่า 5 ระดับคือ vl หมายถึง “น้อยมาก” l หมายถึง “น้อย” m หมายถึง “ปานกลาง” h หมายถึง “สูง” และ vh หมายถึง “สูงมาก”

ตัวอย่างข้อความเช่น “vl m h” หมายถึง ดินมีไนโตรเจนต่ำมาก มีฟอสฟอรัสปานกลาง และมีโปแตสเซียมสูง โดยต่อไปยังจะได้หารือถึงการเปลี่ยนตัวย่อให้เป็นภาษาไทยเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้งานอย่างสะดวกมากขึ้นด้วย

“ตัวโปรแกรมได้รับการพัฒนาเสร็จแล้วจึงอยู่ที่การนำไปใช้โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจำเป็นต้องหาเจ้าภาพระดับท้องถิ่นให้ได้ว่าจะมีหน่วยงานใดรับไปขยายผลจริงกับเกษตรกร ระยะแรกต้องสร้างฐานข้อมูลดินขึ้นมาก่อน" นักวิจัยระบุ

แต่หากได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและกรมพัฒนาที่ดินด้วย ก็จะทำให้ได้แผนที่ดินที่ทำให้ทราบว่าแต่ละพื้นที่มีดินประเภทใดจากกว่า 200 ชุดดินทั่วประเทศ จึงลดขั้นตอนส่วนนี้ลงได้

ส่วนข้อดีของปุ๋ยสั่งตัด ดร.อัศนีย์ บอกว่า ปุ๋ยสั่งตัดจะลดการใช้ปุ๋ยเกินจำเป็นได้ถึง 740 บาท/ไร่ และจะช่วยประหยัดได้ถึง 11,100 ล้านบาท/ปีในพื้นที่ปลูกข้าว 15 ล้านไร่ในเขตชลประทานของประเทศ อีกทั้งยังเป็นการถนอมสุขภาพของชาวนาจากผลกระทบของสารเคมีการเกษตร โดยต่อไปยังสามารถขยายผลไปใช้กับพืชตัวอื่นๆ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และยางพาราได้ด้วย

ทั้งนี้ ดร.อัศนีย์ได้แถลงข่าวเปิดตัวโปรแกรม “1 2 3–ปุ๋ยสั่งตัด-ผ่านมือถือ” ในงาน “ทางรอดของชาวนาไทยในยุคปุ๋ยแพง” ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.


โดย กองบรรณาธิการSpufriends
http://blog.spu.ac.th/print.php?id=2891
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 17/07/2011 9:29 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

14. “ปุ๋ยสั่งตัด” ปุ๋ยตรงพืช ตรงดิน ลดต้นทุน


นายธนัญ โกศัลวัฒน์ เกษตรจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกษตรกร หลายรายยังยึดติดกับความคิดที่ว่า ใส่ปุ๋ยมากจะได้ผลผลิตมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วคือสิ่งที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ใช่ผลผลิต เป็นต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงขึ้นแบบเท่าทวีคูณ หากการใช้ปุ๋ยในปริมาณ ที่มากกว่าความต้องการของดินและพืช นั้นหมายความว่า เกษตรกรสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ผลการวิจัยสรุปว่าการใช้ปุ๋ยสั่งตัดสามารถลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีต่อไร่ ต่อฤดูกาลลดลงกว่าร้อยละ 40 ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 5

เกษตรจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า "ปุ๋ยสั่งตัด”(เลือกเสื้อที่มีขนาดพอดีตัว) เป็นการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ การตรวจวิเคราะห์ดินและมีความแตกต่างกันในดินแต่ละชนิด ในบางกรณีเป็นดินชนิดเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ วิเคราะห์ดินแล้วมีธาตุอาหารพืช อาจจะเท่ากันแต่น้ำฝน ไม่เท่า อากาศไม่เท่า แสงแดดไม่เท่า ก็จะมีคำแนะนำที่แตกต่างกัน การตรวจวิเคราะห์ดินเป็นเรื่องที่เกษตรกรทำได้ ไม่ยุ่งยากเลย สามารถปฏิบัติตามคู่มือตรวจสอบชุดดิน การแนะนำของอาสาสมัครหมอดินอาสาในชุมชนหรือสอบถามได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด และการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชมีหลักการควรปฏิบัติ ดังนี้

1. อุปกรณ์และภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด

2. ตัวอย่างดินแต่ละตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีความสม่ำเสมอ และขนาด ของพื้นที่ไม่ควรเกิน 50 ไร่ แต่ถ้าพื้นที่มีขนาดใหญ่ไม่สม่ำเสมอ มีความลาดเทต่างกัน ปลูกพืชต่างชนิดกัน หรือเคยใช้ปุ๋ยต่างกัน ฯลฯ ต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลงย่อยๆแล้วเก็บตัวอย่างดิน เพื่อให้ได้ตัวแทนของแต่ละแปลงย่อย (1 ตัวอย่าง 1 แปลงย่อย เก็บดิน 15–20 จุด)

3. การเก็บตัวอย่างดินจะทำเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถ้าปลูกพืชตามฤดูกาล ควรเก็บตัวอย่าง ดินก่อนการปลูกพืช เพื่อให้ได้ข้อมูลธาตุอาหารพืชในดินที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด สอบถามรายละเอียดวิธีการเก็บตัวอย่างดินและอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด และสถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร ในวัน เวลาราชการ


http://pr.prd.go.th/mukdahan/ewt_news.php?nid=119&filename=index
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11560

ตอบตอบ: 17/07/2011 9:37 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

15. ปุ๋ยยางสั่งตัด


สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า จากปัญหาราคาปุ๋ยแพง ทำให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พยายามหาทางช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเต็มที่ เนื่องจากดินในแต่ละพื้นที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน มีธาตุอาหารในดินต่างกัน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหารตรงกับความต้องการของยางในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน


"ปุ๋ยยางสั่งตัด"
ปัจจุบันการแนะนำการใส่ปุ๋ยยางในแต่ละพื้นที่เป็นการแนะนำในภาพรวม โดยแยกเป็นแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยยางสูตร 20-8-20 และแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยยางสูตร 20-10-12 ซึ่งเป็นสูตรปุ๋ยเฉพาะพื้นที่ใส่ให้เหมาะสมกับความต้องการของยางในพื้นที่นั้นจริง ๆ จะทำให้ยางเติบโตได้ตามขนาดมาตรฐานได้ผลผลิตสูงและสามารถลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย

เกษตรกรชาวสวนยางควรเข้ารับการอบรม ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ดินเพื่อสามารถดำเนินการวิเคราะห์ดินได้ด้วยตนเอง เพื่อให้รู้จักการจัดการใช้ปุ๋ยอย่างคุ้มค่าต่อไป


ที่ีมาของการผลิตปุ๋ยยางสั่งตัดของ สกย.
บ้านสะท้อน ชุมชนเก่าแก่ของตำบลท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่อีกแห่งที่มีสวนยางพาราหนาแน่น อันถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าในท้องถิ่น จึงเหมาะสมกับการเป็นต้นแบบจัดการสวนยางตามแนวทางการเกษตรแผนใหม่ที่เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากแนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของการผลิตปุ๋ยยางสั่งตัด ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย. ให้สอดคล้องกับโครงการปุ๋ยยางสั่งตัด เพื่อช่วยคลายความกังวลของพี่น้องชาวสวนยาง ในด้านต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาปุ๋ยที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น สกย. จึงให้การสนับสนุน และส่งเสริมการผลิตปุ๋ยยางสั่งตัด เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยการแนะนำ และให้ความรู้เกษตรกรผู้ปลูกสวนยางในการผลิตปุ๋ยยางสั่งตัดให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง

ปุ๋ยยางสั่งตัดนี้เปรียบได้กับการแยกตัดเสื้อให้เหมาะสมพอดีกับขนาดเฉพาะของแต่ละคนนั่นเอง ในสภาพปัจจุบัน การใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จบางพื้นที่ อาจมีธาตุอาหารบางชนิดมากเกินความจำเป็นก่อความสิ้นเปลืองทั้งค่าปุ๋ยและแรงงาน เนื่องจากสภาพดินของพื้นที่ปลูกยางแต่ละแห่งมีธาตุอาหารแตกต่างกัน การใส่ปุ๋ยแบบสั่งตัดจึงเป็นการเลือกใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหาร ตรงกับความต้องการของยางในแต่ละพื้นที่มากกว่านั่นเอง

การตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารในดินนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่เกษตรกรเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ ไปตรวจสอบหาธาตุอาหารในดิน และนำไปวิเคราะห์หาความ เป็นกรด-เป็นด่าง ด้วยชุดตรวจสอบหาธาตุอาหารในดินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบบง่ายๆ เมื่อได้ผลการตรวจสอบธาตุอาหารในดินแล้ว เกษตรกรจึงนำผลที่ได้ไปที่โรงงานผสมสูตรปุ๋ยยางสั่งตัด เพื่อผสมปุ๋ยยางสั่งตัดตามความต้องการของเกษตรกรแต่ละคนไปใช้ในสวนยาง

ทั้งนี้ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงแค่รู้ว่าดินในสวนยางมีธาตุอาหารเดิมอยู่เท่าใด ขาดอะไร ก็ใส่เพิ่มในส่วนที่ขาดเท่านั้น ซึ่งเกษตรกรสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองจากเอกสารคำแนะนำการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพกับยางพาราตามค่าวิเคราะห์ดิน หรือปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อเพิ่มผลผลิตของยางได้อย่างคุ้มค่า

นับว่าโครงการนี้เป็นการช่วยให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของพืช ช่วยลดต้นทุนในสภาวะที่ปุ๋ยมีราคาแพงและยังให้ผลตอบแทนสูงสุด อีกทั้งลดปัญหาปุ๋ยด้อยคุณภาพได้อีกทางหนึ่ง


http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=194:2011-05-30-04-33-55&catid=52:2011-05-30-06-35-01&Itemid=159
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©