-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การปรับปรุงพันธุ์ข้าว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การปรับปรุงพันธุ์ข้าว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 11/07/2011 10:40 pm    ชื่อกระทู้: การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง :


1. การปรับปรุงพันธุ์ข้าว
2. การผสมพันธุ์ข้าว
3. ผสมพันธุ์ข้าว ตอนที่ 2
4. การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสม ทำได้อย่างไร ?
5. หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี

6. การเติบโตของพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่กุดชุม
7. "ต้นกล้า" กลางนา รวงข้าวแห่งความหวัง
8. พันธุ์ข้าวท้องถิ่นคืนนา ชาติพ้นวิกฤต ฟื้นชีวิตชาวนา
9. ชีวิตชาวนายุคโลกาภิวัฒน์ สู่ชาวนานักปราชญ์
10. นักผสมพันธุ์ข้าว งานปิดทองหลังพระ ข้าวพันธุ์ใหม่

11. พันธุ์ข้าวไทย มาจากไหน
12. นักวิชาการหนุนยึดจีนต้นแบบ ‘ข้าวลูกผสม’
13. ดอกข้าว
14. นักวิจัยล้านนาพัฒนา "ข้าวลูกผสม" พร้อมลงแปลงอีก 3 ปี
15. ชวนชาว we are cp มารู้จักข้าวลูกผสมกัน

16. ข้าวเมืองน่าน
17. ข้าวลูกผสมพันธุ์ใหม่ ผลผลิตสูง 1,500 กก.
18. การรวบรวมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง
19. ภาวะโลกร้อนทำข้าวเป็นหมัน







------------------------------------------------------------------------------



1. การปรับปรุงพันธุ์ข้าว


การปรับปรุงพันธุ์ข้าวในประเทศไทย ชาวนาผู้ปลูกข้าวได้ดำเนินการคัดเลือกหาพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ปลูก และรสชาติตามที่ตนต้องการมาเป็นเวลานานแล้ว แต่การปรับปรุงพันธุ์ตามหลักวิชาการาของทางราชการ ได้เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2450 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวยพันธุ์ข้าวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่เมืองธัญญบุรี (ปัจจุบันเขียนเป็นธัญบุรี) และพันธุ์ข้าวจากเมืองธัญญบุรี และในปี พ.ศ. 2453 ได้จัดงานการแสดงกสิกรรมและพาณิชยการครั้งที่ 1 รวมทั้งการประกวดพันธุ์ข้าวทั่วราชอาณาจักรขึ้นที่สระปทุมวัน (บริเวณวังสระปทุมในปัจจุบัน) และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2454 (รัชกาลที่ 6) ข้าวจากเมืองธัญญบุรีก็ยังเป็นพันธุ์ข้าวที่ชนะเลิศอีก พันธุ์ข้าวที่ชนะการประกวดครั้งหลัง ๆ มีคุณภาพดีกว่าครั้งแรก ๆ แสดงว่าชาวนาได้หันมาปลูกข้าวพันธุ์ดีกันมากขึ้น (ภักดี,2539)

ในปี พ.ศ. 2459 ทางราชการได้จัดตั้งสถานีทดลองข้าวรังสิตหรือนาทดลองคลองรังสิตขึ้น นับเป็นสถานีทดลองข้าวแห่งแรกของประเทศไทย การจัดตั้งนาทดลองคลองรังสิต (ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีในปัจจุบัน)นั้น ทรงเป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาช้านานแล้ว แต่มีหลายสาเหตุทำให้จัดตั้งไม่ได้ และได้จัดตั้งสำเร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว งานด้านการปรับปรุงพันธุ์ในระยะแรกมีแต่การคัดพันธุ์โดยปลูกคัดเลือกแบบรวง แต่แถว (Head to Row Selection) จากผลการดำเนินงานของพระยาโภชากร (ตริ มิลินสทสูต) ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2476 ข้าวไทยชนะเลิศในการประกวดพันธุ์ข้าวทั่วโลก (World’s Grain Exhibition Conference) ที่เมืองเรจินา (Regina) ประเทศแคนาดา พันธุ์ข้าวไทยที่ชนะเลิศเป็นที่หนึ่งของโลกก็คือ พันธุ์ปิ่นแก้ว ซึ่งเป็นข้าวเจ้านาสวนเมล็ดยาว เนื้อแข็งมันเลื่อม ไม่เป็นท้องไข่ เปลือกและปลอกบาง เมล็ดไม่บิดโค้ง ไม่มีเมล็ดแดงปนและน้ำหนักเมล็ดดี (ภักดี,2539) และได้รางวัลอื่น ๆ อีกรวม 11 รางวัล ทำให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนาสวน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2454-2465 ด้วยการรวบรวมข้าวพันธุ์ดีจากทั่วประเทศจำนวน 4764 ตัวอย่าง ทำการคัดเลือกเอาเฉพาะตัวอย่างที่มีลักษณะดีไว้เพียง 482 ตัวอย่าง สำหรับปลูกศึกษาคัดเลือกพันธุ์ หลังจากปลูกทดสอบอยู่ 3 ปี จึงได้พันธุ์ข้าวดีเยี่ยมเพียง 8 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์พวงเงินทองระย้า ดำ ขาวทดลอง จำปาซ้อน ปิ่นแก้ว บางพระ น้ำดอกไม้ และนางตานี (ภักดี,2539)สำหรับการขยายพันธุ์ให้เกษตรกรปลูก พันธุ์ข้าวทั้ง 8 พันธุ์นี้จึงเป็นพันธุ์ข้าวชุดแรกที่ขยายพันธุ์และแนะนำให้เกษตรกรปลูกอย่าง เป็นทางการในปี พ.ศ. 2478 (สุวิตร,2525) ด้วยวิธีการประเมินผลผลิตของสายพันธุ์ดีเด่นจากการคัดเลือก โดยคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีคุณภาพของเมล็ดเป็นที่ยอมรับ วิธีการคัดเลือกเป็นวิธีการที่ใช้ในการบำรุงพันธุ์ข้าวในยุคต้น ๆ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวโดยการพัฒนาพันธุ์ข้าวท้องถิ่นซึ่งมีทั้งข้าวนาสวนและ ข้าวชื้นน้ำ ยังคงดำเนินการต่อมาและมีการรับรองและแนะนำพันธุ์ข้าวมาเรื่อย ๆ เช่น พันธุ์ข้าวนาสวนที่รู้จักกันดี ได้แก่ พันธุ์นางมาล เอส -4 ขาวตาแห้ง 17 หรือพันธุ์ที่มีคุณภาพเป็นที่นิยมอย่างสูง เช่น ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ขาวเหนียวสันป่าตองเป็นต้นส่วนพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำ เช่น มะลิทอง มะลิอ่อง จำปา (จีน) และ (เจ๊ก) กอกพ้อม


การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ก่อนที่จะมีการผสมพันธุ์ข้าวในไทย มีการส่งพันธุ์ข้าวไปผสมพันธุ์ที่เมือง Cuttack ประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศไทย การผสมพันธุ์เริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2497 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และปี พ.ศ. 2498 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับผลผลิตให้สูงขึ้น โดยใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทย แต่ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2509 ได้นำข้าวรูปแบบต้นเตี้ยจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI,International Rice Research Institute) เช่น ข้าว IR8 ซึ่งให้ผลผลิตสูง มาเป็นพันธุ์พ่อในการผสมพันธุ์ ทำให้ได้พันธุ์ผสม (เดิมเรียกข้าวลูกผสม แต่เมื่อมีการค้นพบข้าวลูกผสม คือ Hybrid Rice จึงเรียกข้าวลูกผสมเฉพาะข้าวชั่วที่ 1 หรือ F1 Hybrid Rice เท่านั้น) ที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างน่าพอใจ และมีความสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วย ถึงแม้คุณภาพเมล็ดและคุณภาพในการหุงต้ม ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ แต่ก็ได้พันธุ์ข้าวในรูปแบบใหม่ และใช้แก้ปัญหาการระบาดของโรคใบสีส้ม ปี พ.ศ. 2518 กข 7 แก้ปัญหาโรคขอบใบแห้ง กข 23 แก้ปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และยังมีพันธุ์ผสมอีกมากมาย รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงมีลักษณะความต้านทานโรคและแมลงหลากหลายชนิดมี ลักษณะเป็นข้าวหอม มีคุณภาพดีพิเศษ ตามลักษณะของข้าวไทย และอายุเหมาะสำหรับการปลูกในเขตนาชลประทาน


นอกจากนี้ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังได้ใช้วิธีการชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กรรมพันธุ์ โดยใช้กัมมันตภาพรังสี โดยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2498 ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2520 มีการรับรองพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน 2 พันธุ์ คือ กข 6 และ กข 15 และในปี 2524 คือ กข 10 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวสำหรับนาชลประทานและยังมีงานวิจัยข้าวลูกผสม (Hybrid Rice) ได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2522 รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2525 ได้เริ่มงานนี้โดยเฉพาะด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้มีการพัฒนามาตามลำดับโดยส่วนใหญ่จะมี วัตถุประสงค์ดังนี้
1.มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง เช่น รวงต่อกอมาก รวงใหญ่ ระแง้ถี่ เมล็ดต่อรวงมาก และเมล็ดมีน้ำหนักดี
2. รักษาลักษณะคุณภาพเมล็ดให้มีคุณภาพดี ตรงกับความต้องการของตลาด เช่น เมล็ดเรียวยาว คุณภาพการสีดี คุณภาพหุงต้มเป็นที่ต้องการของตลาด มีท้องไข่น้อย
3. ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ เช่น โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงบั่ว เป็นต้น
4. ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีปัญหา เช่น ทนแล้ง ทนดินเปรี้ยวและดินเค็ม ทนน้ำท่วมฉับพลับเป็นต้น
5.มีลักษณะรูปแบบต้นที่ดี ที่เหมาะสมกับการปลูกในนิเวศน์ต่าง ๆ ได้แก่ ข้าวนาชลประทานข้าวนาน้ำฝน ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำและข้าวน้ำลึก


ข้าวเป็นพืชจำพวกเดียวกับหญ้าสามารถขึ้นได้ดีในที่น้ำท่วมขังและที่ดอน ปลูกกันมานานในเขตภูมิภาคเอเชีย ข้าวที่ปลูกกันทั่วโลกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ข้าวป่า เป็นข้าวที่เกิดขึ้นและมีอยู่ตามธรรมชาติ และข้าวปลูก เป็นข้าวที่มนุษย์ใช้สำหรับเพาะปลูก นอกจากนี้กลุ่มของข้าวปลูกยังจำแนกแยกออกได้อีก คือข้าวเอเชียและข้าวแอฟริกา สำหรับข้าวเอเชียจำแนก ได้อีก 3 กลุ่มคือ

1. ข้าวจาปอนนิกา เป็นข้าวเมล็ดสั้น ขึ้นได้ดีในเขตอบอุ่น เช่น ข้าวที่ปลูกในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น
2. ข้าวอินดิกา เป็นข้าวเมล็ดยาว ขึ้นได้ดีในเขตร้อน เช่น ข้าวที่ปลูกในประเทศไทย ลาว พม่า
3. ข้าวจาวานิกา เป็นข้าวเมล็ดใหญ่ ป้อม ต้นสูง ปลูกกันในเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย



ส่วนประกอบต่างๆ ของต้นข้าว

ราก : เป็นระบบรากฝอยประกอบด้วยราก ย่อยและรากขนอ่อน การเจริญเติบโตของรากแบ่งเป็น 3 ชุด คือรากชุดแรกเกิดขึ้นภายหลังจากการงอก รากชุดที่สองเป็นรากที่เกิดจากข้อใต้ดินของของข้าวต้นอ่อน รากชุดที่สามเป็นรากค้ำจุนหรือรากฝังดินเกิดจากข้อเหนือระดับผิวดิน รากทำหน้าที่ยึดลำต้นดูดน้ำและลำเลียงธาตุอาหารไปยังส่วนต่างๆของต้นข้าว

ลำต้น : ลำต้นทำหน้าที่พยุงใบ ดอก และรวงเพื่อให้ใบรับแสงสำหรับสร้างอาหารและลำเลียงน้ำ อาหารไปยังส่วนต่างๆของลำต้น

ใบ : ข้าวเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบของต้นข้าวมีลักษณะเป็นแผ่นแบน บางและยาวเรียว ใบเกิดจากข้อของลำต้น ใบข้าวประกอบด้วยตัวใบ กาบใบ ข้อต่อ หูใบ และเขี้ยวกันแมลง ใบแรกเกิดจากต้นแม่มีสักษณะคล้ายกาบใบ และใบที่อยู่บนสุดใต้รวงข้าวเรียกว่าใบธงใบข้าวทำหน้าที่หลักคือสร้างอาหาร

รวงข้าว : รวงข้าวประกอบด้วยแขนงอันแรกของช่อดอกที่เกิดจากด้านบนของคอรวง แขนงต่อไปเกิดจากแกนกลางของคอรวง บนแขนงจะแตกกิ่งเล็ก แต่ละกิ่งจะมีดอกข้าวเกิดขึ้น แขนงและกิ่งเล็กๆนี้เรียกว่า“ระแง้”ถ้าข้าวมีระแง้ถี่แสดงว่ามีดอกในรวงมาก แต่ถ้ามีระแง้ห่างแสดงว่ามีจำนวนดอกข้าวในรวงน้อย

ดอกข้าว : ดอกข้าวประกอบด้วย กลีบฝ่อ มี 2 ปุ่มติดอยู่ที่คอรวงและส่วนปลายที่ต่อจากก้านดอกย่อย ขั้วดอกเกิดถัดจากกลีบฝ่อขึ้นมาอยู่ระหว่างกลีบรองดอกและเปลือกดอกใหญ่และ เปลือกดอกเล็ก ส่วนยอดของกลีบดอกใหญ่บางพันธุ์จะมีปลายแหลมยื่นออกมาเรียกว่า “หาง” เปลือกดอกทำหน้าที่หุ้มและป้องกันดอกไว้ข้างใน ดอกข้าวเป็นดอกสมบูรณ์เพศคือมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน อับเกสรตัวผู้มีจำนวน 6 อัน อยู่บนก้านอับเกสร ส่วนเพศเมียมีพู่รับละอองเกสร 2 อัน และรังไข่ 1 รัง ดอกข้าวสามารถผสมพันธุ์ด้วยตนเอง



การผสมพันธุ์ข้าว
การผสมพันธุ์ข้าวเป็นวิธีการสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ที่รวมลักษณะเด่นต่างๆไว้ใน พันธุ์เดียวกันหลักสำคัญของการผสมพันธุ์คือ การสร้างความผันแปรที่เกิดจากการจับคู่ใหม่ของยีน ซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะแตกต่างกันจำนวนมากมายในรุ่นลูกรุ่นหลาน ซึงมีทั้งลักษณะดีหรือด้อยกว่าพ่อแม่

1. การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ ประกอบ ด้วย
1.กรรไกร
4. คลิปหนีบกระดาษ
2.ปากคีบ
5. แผ่นป้ายพลาสติก
3.กระดาษแก้ว
6. ดินสอดำ



2. การตอนกำจัดเกสรตัวผู้
เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ผสมตัวเอง การผสมกับข้าวพันธุ์อื่นต้องกำจัดเกสรตัวผู้ออกก่อน การตอนกำจัดเกสรตัวผู้ทำได้โดยการเลือกรวงที่โผล่พ้นกาบใบธงประมาณ 60% เลือกตัดดอกข้าวที่คาดว่าจะบานในวันรุ่งขึ้น โดยใช้กรรไกรตัดออกประมาณ 1 ส่วน 3 ของเมล็ดข้าวทั้งหมด จากนั้นใช้ปากคีบเขี่ยเกสรตัวผู้ออกให้หมด แล้วใช้กระดาษแก้วคลุมไว้


ตัดดอกข้าว




เขี่ยเกสรตัวผู้ออก


3. การผสมพันธุ์ข้าวหรือการถ่ายละอองเกสร
ปกติดอกข้าวจะบานช่วงเวลาประมาณ 08.00-12.00 น. ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ อุณหภูมิแสงแดด หรือช่วงที่อุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส




เคาะเกสรใส่ดอกแม่พันธุ์



4. วิธีการผสมพันธุ์
นำกระถางข้าวพ่อพันธุ์ที่ดอกกำลังจะบาน เมื่อดอกข้าวเริ่มบานเกสรตัวผู้ทั้ง 6 อัน จะเริ่มโผล่ชูก้านเกสรตัวผู้ที่อยู่ส่วนบนก้านเกสรตัวผู้และอับละอองเกสร พร้อมที่จะผสม ซึ่งจะสังเกตเห็นฝุ่นละอองสีเหลือง จากนั้นก็เอาถุงคลุมต้นแม่พันธุ์ออกแล้วคีบดอกข้าวพ่อพันธุ์ที่กำลังบานมา เคาะให้ฝุ่นละอองสีเหลืองตกใส่ดอกแม่พันธุ์ หากสังเกตเห็นฝุ่นละอองสีเหลืองแสดงว่าการการถ่ายละอองในครั้งนั้นสำเร็จ หลังจากนั้นติดป้ายชื่อ พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และวันที่ผสม ให้เรียบร้อย หากเกสรตัวผู้ไม่เพียงพออาจผสมซ้ำอีก 1-2 วัน หลังการผสมเสร็จ 1 สัปดาห์สามารถตรวจสอบความสำเร็จได้ซึ่งจะพัฒนาเป็นเมล็ดข้าว หลังจากนั้นปิดไว้ประมาณ 1 เดือนจึงนำถุงกระดาษแก้วออก


ใช้ถุงครอบ



1. วิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว
ข้าวเป็นพืชที่มีการผสมตัวเอง การปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่หรือพันธุ์ที่ดีกว่าเดิมนั้น มีวิธีการดังนี้
2.1.1 การรวบรวมพันธุ์และการนำพันธุ์ข้าวมาจากที่อื่น (Collection and Introduction)
2.1.2 การคัดเลือกพันธุ์ (Selection)
2.1.3 การผสมพันธุ์ (Hybridization) และการคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมที่กระจายตัว
2.1.4 การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Induced Mutation)
2.1.5 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม (Biotechnology and Genetic Engineering)
2.1.6 การสร้างพันธุ์ข้าวลูกผสม (Hybrid Rice)



1.1 การรวบรวมพันธุ์และการนำพันธุ์ข้าวมาจากที่อื่น (Collection and Introduction)
เป็นการนำพันธุ์ข้าวจากแหล่งหนึ่งไปปลูกยังอีกแหล่งหนึ่ง โดยพันธุ์ที่นำมานี้อาจนำมาจากในประเทศหรือจากต่างประเทศ นำมาปลูกทดลองคัดเลือก ถ้าพันธุ์ใดให้ผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดดี และปรับตัวได้ดี ก็จะได้รับการนำไปเพราะปลูกและขยายเมล็ดพันธุ์เผยแพร่ให้เกษตรกรปลูกต่อไป ส่วนพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมแต่มีลักษณะดีเด่นบางอย่างหรือเฉพาะอย่าง ก็จะนำไปใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยวิธีการอื่น ๆ ต่อไป แหล่งเชื้อพันธุ์ข้าวจากต่างประเทศ ที่ได้นำเข้ามาปรับปรุงพันธุ์ ส่วนใหญ่จะนำมาจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI., International Rice Research Institute) พันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ที่จะได้จาก Collection และ Introduction เพื่อการเพาะปลูกอย่างกว้างขวาง อาจได้จากวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้คือ
1) โดยการนำพันธุ์ข้าวที่นำเข้ามาแล้วปรับตัวได้ดี มาปลูกทำพันธุ์ต่อโดยตรง
2) โดยการคัดเลือกหาสายพันธุ์ที่ต้องการจากพันธุ์ข้าวต่าง ๆที่นำเข้ามาจำนวนมาก
3) โดยการใช้สายพันธุ์ที่นำเข้ามาเป็นพ่อแม่ในการผสมพันธุ์

1.2 การคัดเลือกพันธุ์ (Selection)
พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกอยู่นั้นอาจมีความแปรปรวนทางพันธุกรรม (Genetic Variability ) ของลักษณะต่าง ๆ ปรากฏอยู่ซึ่งความแปรปรวนนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุคือ
- การประปนของ Genotypes ต่าง ๆ (Mechanical Mixture)
- การผสมข้ามกับพันธุ์อื่น ๆ ในสภาพธรรมชาติ (Natural Out- crossing) ซึ่งมีผลทำให้เกิด Genetic Recombination ขึ้นได้
- การผ่าเหล่า (Mutation) ซึ่งทำให้เกิด Genotype ใหม่ ๆ

จากการที่พันธุ์ข้าวมีลักษณะทางพันธุ์ กรรมแปรปรวนนี้ จึงต้องพึ่งพาความสามารถในการคัดเลือกหรือการแยกเอาพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะเด่นออกมาจากพืชจำนวนมากด้วยกัน ก็ต้องอาศัยวิธีการคัดเลือกซึ่งมีอยู่ 2 วิธี
1) การคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection)
2) การคัดพันธุ์หมู่ (Mass Selection)



1) การคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection)
เป็นการคัดเลือกหาพันธุ์ใหม่จากพืชพันธุ์ที่มีอยู่เดิม โดยคัดเลือกมาจากต้นข้าวเพียงต้นเดียว ซึ่งวิธีการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิด Genotype ใหม่ ๆ เพียงแต่เป็นการคัดเลือกหา Genotype ที่ดีที่สุดที่ปรากฏอยู่แล้ว Mixed Population โดยวิธีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน (รูปที่ 1)

1. คัดเลือกต้นข้าวที่มีลักษณะดีที่ต้องการจากประชากรที่มีความแปรปรวนในลักษณะ ต่าง ๆ อยู่แล้ว (Variable Population) โดยวิธีคัดเลือกต้นข้าวเป็นต้น ๆ ไป (Single-plant Selection) แล้วเลือกต้นข้าวที่ต้องการไว้จำนวนมากที่สุด และเก็บเกี่ยวเมล็ดแยกกันต่างหาก

2. นำเมล็ดที่ได้จากแต่ละต้นมาปลูกเป็นแถว ๆ เลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ตามต้องการไปปลูกต่อหลาย ๆ ชั่ว สายพันธุ์ใดที่ไม่ดีก็คัดทิ้งไป และอาจมีการทดสอบความต้านทานต่อโรคบางอย่างด้วย เพื่อจะช่วยคัดทิ้งสายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคออกไป จะได้ลดจำนวนสายพันธุ์ให้น้อยลงในการทดสอบขั้นต่อไป ในแต่ละชั่วก็ยังคงคัดเลือกต้นข้าวเป็นต้น ๆ จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่บริสุทธิ์

3.นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ไปปลูกเปรียบเทียบความสามารถใน การให้ผลผลิตและลักษณะอื่น ๆร่วมกับพันธุ์เดิมและพันธุ์มาตรฐาน สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและลักษณะดีก็จะนำไปขยายพันธุ์และพิจารณาเป็น พันธุ์ใหม่ต่อไป


2) การคัดพันธุ์หมู่ (Mass Selection)
วิธีนี้จะคัดเลือกข้าวที่มีลักษณะที่ปรากฏออกมาในข้าวแต่ละ ต้นที่เหมือนกันนำเมล็ดที่เก็บเกี่ยวจากต้นที่คัดเลือกไว้มารวมกันเพื่อไว้ ปลูกต่อไป (รูปที่ 2) โดยไม่มีการทดสอบในชั่วลูก (Progeny Test) วิธีนี้ข้าวแต่ละต้นจะมีลักษณะต่าง ๆ ที่มองเห็นเหมือน ๆ กัน แต่ลักษณะทางพันธุกรรมอาจแตกต่างกัน พันธุ์ที่ได้จะมี Genetic Diversity ค่อนข้างสูง จุดประสงค์สำคัญของการคัดพันธุ์หมู่ก็เพื่อที่จะปรับปรุงลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ของกลุ่มของพืชให้ดีขึ้นกว่าเดิม ประโยชน์ที่สำคัญของวิธีนี้คือ

-ใช้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้ผลรวดเร็วดี โดยนำมากำจัดข้าวบางส่วนของพันธุ์เดิมที่มีลักษณะเลว ๆ ออกไป เช่น กำจัดลักษณะข้าวเจ้าออกไปจากพันธุ์ข้าวเหนียว เป็นต้น

-ใช้ในการทำพันธุ์ให้บริสุทธิ์ (Purification) ในข้าวบางพันธุ์ที่ใช้ปลูกอยู่ นาน ๆ ไปอาจมีเปอร์เซ็นต์ความบริสุทธิ์ลดลง เนื่องจากการปะปนของพันธุ์อื่นหรือการผสมข้ามกับพันธุ์อื่นหรือมีการผ่า เหล่าเกิดขึ้น เราอาจนำวิธีนี้มาใช้ โดยการคัดพันธุ์ที่ไม่ต้องการทิ้งไปแล้วเก็บเกี่ยวเฉพาะพวกที่ต้องการไว้นำ เมล็ดมารวมกัน อาจทำไปหลาย ๆ ชั่ว จนกว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ



1.3 การผสมพันธุ์ (Hybridization) และการคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสม
เป็นวิธีการที่นำพันธุ์ต่าง ๆ มาผสมกัน (Artificial Hybridization) เพื่อจะให้ลักษณะดี ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพันธุ์ข้าวหรือพืชต่าง ๆ Species มีโอกาสมาอยู่รวมกันในพันธุ์เดียวกัน หรือสายพันธุ์เดียวกันซึ่งมีผลจาการจัดชุดใหม่ของยีน (Gene Recombination) โดยมีความหวังว่าจะมีลักษณะดี ๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในพ่อแม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลจาก Transgressive Segregation หรือ Gene Interaction ต้นข้าวในชั่วที่ 1 (F1 Generation) ในแต่ละคู่ผสมจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน การกระจายตัวทางพันธุกรรม (Genetic Segregation) ในประชากรจะเริ่มปรากฏตั้งแต่ชั่วที่ 2 (F2 Generation) เป็นต้นไป

เมื่อเลือกพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ที่จะนำมาผสมพันธุ์แล้ว ก็พิจารณาเลือกแบบของการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ ซึ่งมีหลายแบบ คือ

- การผสมเดียว (Single Cross) เป็นการผสมระหว่างข้าว 2 พันธุ์ เช่น ผสมพันธุ์ระหว่างเหลือทองกับ IR8

- การผสมสามทาง (Three-way Cross or Top Cross) เป็นการผสมข้าวพันธุ์ที่ 3 เพื่อเพิ่มบางลักษณะลงในข้าวพันธุ์ผสมเดี่ยว ชั่วที่ 1 (F1) ของคู่ผสม เพื่อรวมลักษณะต่าง ๆ หลายอย่างไว้ด้วยกัน

- การผสมกลับ (Back Cross Method) การปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับนี้ จะทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะต่าง ๆ ดีอยู่แล้ว แต่ยังขาดบางลักษณะหรือยีนส์บางอย่างอยู่ เช่น ความต้านทานต่อโรคหรือแมลง จึงนำเอาพันธุ์ดีดังกล่าวมาใช้เป็น Recurrent Parent นำไปผสมกับพันธุ์หรือสายพันธุ์อื่นที่มีลักษณะที่ต้องการอยู่เป็น Donor Parent เมื่อได้ F1 แล้วจึงผสมกลับไปหา Recurrent Parent ทำการคัดเลือกหาต้นที่มีลักษณะที่ต้องการ แล้วผสมกลับไปหา Recurrent Parent อีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ 5-6 ครั้ง หรือมากกว่า จนได้ลักษณะส่วนใหญ่ของ Recurrent Parent กลับคืนมา เมื่อสิ้นสุดการผสมกลับครั้งสุดท้ายแล้วยีนส์ที่ต้องการถ่ายทอดจะยังคงอยู่ ในสภาพ Heterozygous ต้องปล่อยให้มีการผสมตัวเองต่ออีกหนึ่งชั่วจึงจะมี Homozygous Genotype สำหรับยีนส์ที่ต้องการเกิดขึ้น เมื่อทำการคัดเลือกต่อก็จะได้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะต่าง ๆ ของ Recurrent Parent อยู่ พร้อมทั้งลักษณะใหม่จาก Donor Parent ด้วย

หลังจากผสมพันธุ์แล้วก็จะปล่อยให้ข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ผสมตัวเองและคัดเลือกต้นที่ลักษณะตามต้องการซึ่งจะมีการกระจายตัวในลักษณะ ต่าง ๆ ตั้งแต่ชั่วที่ 2เป็นต้นไป การคัดเลือกพันธุ์ผสมอาจทำได้ 4 วิธี คือ


1) การคัดพันธุ์ข้าวแบบสืบตระกูล (Pedigree Method)
เป็นการคัดเลือกหาต้นที่มีลักษณะดีในทุก ๆ ชั่วโดยเริ่มจาก F2 โดยทำการคัดเลือกข้าวเป็นต้นและนำไปปลูกต้นต่อแถวต่อไป (รูปที่ 3) ตามขั้นตอนดังนี้
- คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะดีตามต้องการมาผสมพันธุ์กัน
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 แบบ Hybrid Check Plot คือปลูกพันธุ์แม่และพันธุ์พ่อขนาบต้นลูกผสมชั่วที่ 1 เกี่ยวต้นที่เหมือนต้นแม่ทิ้ง เก็บเมล็ดทั้งหมด ปลูกฤดูกาลต่อไป
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 2 เลือกเก็บเกี่ยวรวงข้าวจากต้นข้าวแต่ละต้นที่มีลักษณะดีที่ต้องการแยกกันไว้
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 3 โดยนำเมล็ดจากแต่ละต้นในชั่วที่ 2 มาปลูกเป็นแถว คัดเลือกต้นข้าวที่มีลักษณะดีเก็บเมล็ดแต่ละต้นแยกกันไว้
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 4-5 และคัดเลือกเช่นเดียวกับชั่วที่ 3
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 6 คัดเลือกแถวที่มีลักษณะดีที่ต้องการ เก็บเกี่ยวเมล็ดทั้งแถวในแปลงที่มีความสม่ำเสมอดี แล้วนำไปปลูกศึกษาพันธุ์
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 7 แบบศึกษาพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ดี ที่มีความสม่ำเสมอไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตต่อไป
- ปลูกข้าวลูกผสมชั่วที่ 8-12 ที่มีความสม่ำเสมอแบบทดสอบผลผลิตร่วมกับสายพันธุ์อื่น ๆและพันธุ์มาตรฐาน ทั้งในสถานีทดลอง ระหว่างสถานี และในนาเกษตรกร นำสายพันธุ์ ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะดีตามต้องการไปพิจารณาแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไป

2) การคัดพันธุ์แบบรวม (Bulk Method)
ปลูกข้าวพันธุ์ผสมในชั่วที่ 2-4 แบบรวมกันและเก็บเมล็ดมารวมกัน โดยไม่มีการคัดเลือกในแต่ละชั่วอายุ (รูปที่ 4 ) จนกระทั้งชั่วที่ 4 หรือ 5 ต้นข้าวที่ปลูกก็จะมีการคัดเลือกตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพราะต้นข้าวที่ได้จะมีลักษณะเป็น homozygous แล้ว จึงนำไปปลูกต้นต่อแถวในชั่วที่ 5 หรือ 6 และศึกษาพันธุ์ในชั่วที่ 6 หรือ 7 และเปรียบเทียบผลผลิตในชั่วที่ 7 หรือ 8-12 เช่นเดียวกับการคัดพันธุ์แบบสืบตระกูล

การคัดพันธุ์แบบรวมนี้เป็นวิธีการที่สะดวกในการดำเนินการ ในระยะชั่วแรก ๆ ในกรณีที่นักปรับปรุงพันธุ์มีจำนวนคู่ผสมที่จะต้องคัดเลือกเป็นจำนวนมาก แต่จะต้องปลูกประชาการในแต่ละชั่วอายุให้มากเพราะไม่มีการคัดเลือกในชั่วแรก ๆ ซึ่งอาจทำให้สูญเสีย Genotype ที่ดี ๆ ไป และการคัดเลือกแบบนี้จะเป็นการให้ธรรมชาติช่วยคัดเลือกให้แต่เพียงอย่าง เดียว นักปรับปรุงพันธุ์จึงอาจช่วยคัดเลือกไปด้วย โดยคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีที่ต้องการ และเก็บเมล็ดจากต้นเหล่านั้นรวมกัน แล้วนำไปปลูกต่อไป ซึ่งอาจจะแยกเป็นพวก ๆ เช่น พวกอายุเบา อายุกลาง หรืออายุหนักได้อีกด้วย วิธีการนี้อาจเรียกว่า Modified Bulk Method นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงวิธีการคัดพันธุ์แบบรวมไปใช้ในอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า Bulk Population โดยจะใช้ในกรณีที่มีพันธุ์ที่ต้องการใช้ในการผสมพันธุ์เป็นจำนวนมาก และการเลือกคู่ผสมเฉพาะบางคู่อาจไม่ได้ลักษณะที่ต้องการ การคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมทุก ๆคู่ เป็นการเสียเวลาและแรงงาน ก็แก้ไขโดยการผสมพันธุ์เหล่านั้นทั้งหมดในทุก ๆ Combination เช่น ถ้ามีอยู่ 5 พันธุ์จะได้คู่ผสมทั้งหมด 10 คู่ผสมก็นำเมล็ดชั่วที่ 2 จากแต่ละคู่ผสมจำนวนเท่ากันมารวมกัน เรียกคู่ผสมลักษณะแบบนี้ว่า Composite Cross นำเมล็ดพันธุ์ไปปลูก ซึ่งควรปลูก 10,000 ต้นขึ้นไป เพราะมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมกว้าง แล้วเก็บเกี่ยวเมล็ดรวมกัน เมื่อปลูกคัดเลือกได้ 8-10 ชั่วอายุ ก็สามารถนำไปทดสอบผลผลิตได้


3) การปลูกและคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมแบบเร่งชั่วอายุ (Rapid Generation Advance หรือ RGA)
ข้าวพันธุ์ผสมที่มีพ่อหรือแม่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง หรือทั้งพ่อ-แม่เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งปกติมักจะทำการผสมพันธุ์ขาวในฤดูนาปี เมื่อนำเมล็ดที่ผสมไปปลูกเป็นชั่วที่ 1 ในฤดูการปลุกต่อไป คือ ฤดูนาปรัง ข้าวพันธุ์ผสมจะไม่ออกดอก จำเป็นต้องปลูกแต่ละชั่วอายุในฤดูนาปีเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่ผสมที่มีพ่อ-แม่ เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงทำให้ต้องใช้เวลาหลายปีในการปลูกและคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์ที่อยู่ตัว

การปลูกแบบเร่งชั่วอายุสามารถย่นระยะเวลาในการปลูกและคัดเลือกให้ได้สาย พันธุ์ที่อยู่ตัวเร็วขึ้นเพราะในเวลา 1 ปี สามารถปลูกได้ 3-4 ชั่วอายุ การปลูกและคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมแบบเร่งชั่วอายุเป็นการปลูกและคัดเลือกแบบ รวมหมู่ร่วมกับแบบสืบตระกูล ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้

นำเมล็ดที่ผสมได้ทั้งหมดไปปลูกเป็นชั่วที่ 1 ในกระถางเล็ก จำนวน 1 ต้น / กระถาง เมื่อต้นข้าวอายุประมาณ 15 วัน นำไปเข้าห้องมืดเพื่อชักนำให้เกิดรวง โดยนำเข้าห้องมืดตอน 17.00 น. แล้วนำออกจากห้องมืดเวลา 07.00 น. ทุกวันเป็นเวลา 21 วัน แล้วนำไปไว้ในกรงกันนกจนข้าวออกรวง ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 75-80 วัน เมื่อข้าวมีอายุพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว เก็บ 1 เมล็ดในแต่ละกอนำมารวมกันเพื่อนำไปปลูกในชั่วที่ 2 ต่อไป ทำเช่นเดียวกันนี้ ในทุกชั่วอายุจนถึงชั่วที่ 5 หรือ 6 จึงเก็บเกี่ยวทั้งกอ นำไปปลูกกอต่อแถว แบบสืบตระกูลตามปกติ เลือกกอที่มีลักษณะต่าง ๆ ดี นำไปศึกษาพันธุ์ต่อไป


การปลูกแบบเร่งชั่วอายุ อาจนำไปเข้าและออกจากห้องมืดตั้งแต่ชั่วที่ 1 ไปจนถึงชั่วที่ 6 ดังที่ได้กล่าวแล้ว หรือนำไปปลูกเร่งชั่วอายุในชั่วที่ ถึงชั่วที่ 5 หรือ 6 โดยในชั่วที่ 1 และ 2 ปลูกแบบปกติ คือ ชั่วที่ 1 ปลูกแบบ Hybrid Check plot เก็บเกี่ยวนำไปปลูกชั่วที่ 2 แบบรวมหมู่ประยุกต์ จำนวน 5,000 ต้น/คู่ผสม นำเมล็ดจากกอที่ได้เลือกไว้ว่ามีลักษณะต่าง ๆ ดี มารวมกัน นำไปปลูกแบบร่างชั่วอายุ จนถึงชั่วที่ 5 หรือ 6 จึงนำไปปลูกแบบสืบตระกูล เลือกกอที่มีลักษณะต่าง ๆ ดีนำไปศึกษาพันธุ์ต่อไป

4) การคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล ช่วยให้นักวิจัยสามารถตรวจสอบพันธุกรรมของลักษณะที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น โมเลกุลเครื่องหมายได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างแผนที่โครโมโซมและกำหนดตำแหน่ง ของยีนที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของพืชที่มีความสำคัญหลายชนิด เช่น ข้าว มะเขือเทศ พริก ข้าวโพด ฯลฯ และจากการศึกษาความสัมพันธ์ (Linkage) ระหว่างดีเอ็นเอเครื่องหมายและลักษณะที่สนใจก็จะสามารถนำดีเอ็นเอเครื่อง หมายมาใช้ในการคัดเลือกลักษณะนั้น ๆ ได้

1.4 การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Induce Mutation)
เป็นวิธีการที่ทำให้ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ กรรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจมีผลทำให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สูญหาย หรือการเพิ่มจำนวนของยีนบนโครโมโซม Gene Mutation อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงจากยีนเด่นเป็นยีนด้อย หรือยีนด้วยเป็นยีนเด่น แต่ลักษณะของยีนเด่นเป็นยีนด้วยค่อนข้างจะมีโอกาสพบได้มากกว่า การชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์อาจทำได้โดย
- ใช้กัมมันตภาพรังสี เช่น X-rays, Neutrons และ Gamma Rays
- ใช้สารเคมี เช่น Ethyl Methane Sulfonate (EMS), Methyl Methane Sulfonate (MMS)

ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายโดยวิธีนี้ได้แก่ การเป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้า อายุเบา และอายุหนักต้นสูงและต้นเตี้ย และยังมีการใช้รังสีแกรมม่า ปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานโรคไหม้ด้วย (Wong and Xian.,1986)
การคัดเลือกก็จะปลูกคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ได้เหมือน กับการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ได้จากการผสมพันธุ์

1.5 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม (Biotechnology and Genetic Engineering)
เป็นวิธีการสมัยใหม่วิธีหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์ โดยการสร้างพันธุกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น โดยอาศัยเทคนิคการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) การเชื่อมโปรโตพลาสต์เข้าด้วยกัน (Protoplast Fusion) และการใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรมอาจจะช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาพันธุ์ ข้าวพันธุ์ใหม่แต่ละพันธุ์ให้สั้นลงได้ โดยได้ลักษณะพันธุ์ข้าวตามต้องการได้ง่ายขึ้น แต่ปัจจุบันยังดำเนินการเป็นผลสำเร็จไปได้ไม่มากนัก ยังมีความจำเป็นต้องศึกษาและวิจัยต่อไป

1.6 การสร้างพันธุ์ข้าวลูกผสม (Hybrid Rice)
ข้าวลูกผสม หรือ Hybrid Rice หมายถึง ข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อแม่ที่มีพื้นฐานทางพันธุกรรม (Genetic Background) ต่างกัน ซึ่งในทางทฤษฎีเมื่อนำพ่อแม่ที่มีความแตกต่างกันมาผสมพันธุ์กัน ลูกผสมชั่วที่ 1 จะมีความแข็งแรงหรือมีความดีเด่นในลักษณะบางอย่าง เช่น ผลผลิตเหนือกว่าพ่อแม่ (Hybrid Vigor หรือ Heterosis) ซึ่งอาจเป็นความดีเด่นเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อแม่ หรืออาจเหนือกว่าพ่อหรือแม่ที่ดีกว่า การผลิตข้าวลูกผสมจะต้องประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ
1) การสร้างสายพันธุ์เรณู เป็นหมัน โดยปกติสายพันธุ์เหล่านั้นจะเป็น Cytoplasmic Genetic Male Sterile Line หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า CMS Line หรือ Line

2) การสร้างสายพันธุ์รักษาสายพันธุ์เรณูเป็นหมัน (Maintainer Line) หรือเรียกกันว่า B Line ซึ่ง B Line นี้จะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับ A Line ยกเว้นแต่จะมี Cytoplasm ปกติ

3) การสร้างสายพันธุ์แก้ความเป็นหมัน (Fertility Restoring Line) หรือเรียกกันว่า R Line สายพันธุ์ข้าวนี้จะมียีนซึ่งเรียกว่า Restorer Gene ซึ่งเมื่อนำมาผสมพันธุ์กับ A Line แล้วจะให้ลูกผสม F1 ซึ่งไม่เป็นหมัน

4) การนำสายพันธุ์ข้าวทั้ง A B และ R Lines มาใช้ในการผลิตข้าวลูกผสม จะต้องมีการศึกษาถึง Combining Ability ของสายพันธุ์ข้าวที่ใช้ เพื่อให้ได้ลูกผสมที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงโดยปกติข้าวลูกผสมควรให้ผล ผลิตสูงกว่าพันธุ์แท้ที่ให้ผลผลิตสูงไม่น้อยกว่า 15-20 % นอกจากนี้วิธีการผลิต เช่น อัตราส่วนของพันธุ์ A และ R อายุวันออกดอกเป็นสิ่งละเอียดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตสูงของข้าว ลูกผสมทั้งสิ้น


2. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์
2.1 การคัดเลือกพันธุ์
สายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการต่าง ๆ และได้ทำการคัดเลือกตามวิธีการต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว จนได้สายพันธุ์ที่คงตัวแล้ว จะนำไปทำการศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตต่อไป

2.2 การศึกษาพันธุ์ (observation)
การศึกษาพันธุ์เป็นการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ที่สำคัญ และคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ที่ดีนำไปเปรียบเทียบผลผลผลิตภายในสถานีหรือระหว่างสถานีต่อไป การศึกษาพันธุ์ มี 2 ขั้นตอน คือ
1) การศึกษาพันธุ์ขั้นต้น (Single Row หรือ 2- Row Observation) การศึกษาพันธุ์ขั้นต้นจะปลูกข้าวสายพันธุ์ละ 1 หรือ 2 แถว โดยมีพันธุ์มาตรฐานเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ เพื่อศึกษาลักษณะต่าง ๆของสายพันธุ์ข้าว จะใช้ในข้าวพันธุ์ผสมที่ยังมีการกระจายตัวเล็กน้อย และจำนวนสายพันธุ์ที่อยู่ระหว่าง การคัดเลือกมีเป็นจำนวนมาก และมีความดีในลักษณะรูปแบบต้น และรูปร่างของเมล็ดใกล้เคียงกัน นำเมล็ดข้าวพันธุ์ผสมที่คัดเลือกจากชั่วที่ 4 หรือ 5 หรือ 6 สายพันธุ์ละ 1 กอ มาปลูกศึกษาพันธุ์แบบ 2 แถว จำนวน 1 หรือ 2 ซ้ำ โดยมีพันธุ์มาตรฐานเปรียบเทียบทุก 10 หรือ 20 สายพันธุ์ เช่นเดียวกับการปลูกข้าวพันธุ์ผสมแบบสืบตระกูล เพื่อศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของพันธุ์ข้าว คือ ลักษณะรูปแบบทรงต้น วันออกดอก 50 % อายุที่เก็บเกี่ยวจริง ลักษณะเมล็ด การมีท้องไข่ และความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญและคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ดี โดยเก็บเกี่ยวสายพันธุ์ละ 1-4 กอ เพื่อนำไปศึกษาพันธุ์ 4 แถวต่อไป

2) การศึกษาพันธุ์ 4 แถว ( 4 –Row Observation) หรือการศึกษาพันธุ์ขั้นสูงเป็นการประเมินผลผลิตขั้นต้น หรือศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของสายพันธุ์ข้าว ซึ่งผ่านการทดสอบจากการศึกษาพันธุ์แบบ 2 แถว หรือจากข้าวพันธุ์ผสมที่มีลักษณะคงตัวทางพันธุกรรมแล้ว โดยนำมาปลูกสายพันธุ์ละ 4 แถว จำนวน 1 ถึง 2 ซ้ำ มีพันธุ์มาตรฐานเปรียบเทียบทุกสายพันธุ์ที่ 10 หรือ 20 เลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะต่าง ๆ ตรงตามวัตถุประสงค์ และที่มีความสม่ำเสมอโดยเก็บเกี่ยว 2 แถวกลาง เว้นกอหัวท้าย เพื่อชั่งน้ำหนัก พร้อมทั้งเลือกเก็บเกี่ยวรวงจากแถวข้าง 2 แถว ประมาณ 100 รวง เพื่อนำเมล็ดพันธุ์ส่วนนี้ไปเปรียบเทียบผลผลติสำหรับบางสายพันธุ์ที่ยังมี การกระจายตัวอยู่บ้าง ทำการเก็บเกี่ยว 1 กอ เพื่อนำไปปลูกศึกษาซ้ำ หลังจากกะเทาะดูท้องไข่แล้วพิจารณาข้อมูลทั้งผลผลิต การมีท้องไข่ และความต้านทานต่อโรคและแมลง เลือกสายพันธุ์ที่มีความดีเด่นกว่าพันธุ์ที่ส่งเสริมอย่างน้อยในลักษณะที่ สำคัญ 1 หรือ 2 ลักษณะ และมีลักษณะอื่น ๆ ใกล้เคียงกัน เพื่อนำไปประเมินต่อในชั้นเปรียบเทียบผลผลิต

2.3 การเปรียบเทียบผลผลิต มี 3 ขั้นตอน คือ
1) การเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี (Intra-station Yield Trials)
2) การเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี (Inter-station Yield Trals)
3) การทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร (Former Yield Trials or On-Farm Trials)

1) การเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี

นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้จากแปลงศึกษาพันธุ์ที่มีอยู่มาปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ทดลองข้าวหรือศูนย์วิจัยข้าว เพื่อคัดเลือกหาสายพันธุ์ที่ดีเด่นจริง ๆ นำไปทดสอบผลผลิตระหว่างสถานีฯและศูนย์ฯ ต่อไป แต่ละการทดลองจะมีตั้งแต่ 8-24 สายพันธุ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้จากแปลงศึกษาพันธุ์แบ่งการ ทดลองโดยจัดให้ข้าวที่มีอายุใกล้เคียงกันอยู่ในการทดลองเดียวกันในแต่ละการ ทดลอง มีพันธุ์ที่รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกเป็นพันธุ์มาตรฐานเปรียบเทียบ 1 ถึง 3 หรือ 4 พันธุ์ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) มี 3-4 ซ้ำ ในแต่ละซ้ำ ปลูกสายพันธุ์ละ 5 หรือ 6 แถว ๆ ยาว 5 เมตร ระยะระหว่างกอและแถว 20 x 20 เซนติเมตร (ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง) 25 x 25 เซนติเมตร (ข้าวไวต่อช่วงแสง) จำนวน 3-5 ต้นต่อกอ เพื่อให้สายพันธุ์ที่ทดลองแสดงออกถึงความสามารถในการให้ผลผลิตเต็มที่ จึงจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในอัตราที่พอเหมาะ คือ ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงอัตรา 12-6-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ แรกใส่ 6-6-6 กิโลกรัม ต่อไร่ ก่อนปักดำ 1 วัน และอีก 6-0-0 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ในระยะข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก สำหรับข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยอัตรา 6-6-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ แรกใส่ 6-6-6 กิโลกรัม ต่อไร่ ก่อนปักดำ 1 วัน และอีก 6-0-0 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ในระยะข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก สำหรับข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยอัตรา 6-6-6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ โดยครั้งแรกใส่ 3-6-6 กิโลกรัมต่อไร่ และครั้งที่ 2 ใส่ 3-0-0 กิโลกรัมต่อไร่ มีการป้องกันและกำจัดวัชพืช โรคและมลงตามความจำเป็น เก็บเกี่ยว 3 แถวกลาง (จากการปลูก 5 แถว) หรือ 4 แถวกลาง (จากการปลูก 6 แถว) เว้นกอหัวท้าย นวด ตากให้แห้งชั่งน้ำหนัก และวัดความชื้นเมล็ด เพื่อคำนวณผลผลิตเป็นกิโลกรัมต่อไร่ ที่ความชื้นของเมล็ด 14 % แล้วนำไปวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ในการทดลองเปรียบเทียบผลผลิต จะต้องทำการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดตาม SES (Standard Evaluation System) ของ IRRI (IRRI., 1996) และตามคู่มือการเก็บข้อมูลพันธุ์ข้าว(สถาบันวิจัยข้าว, 2531) ซึ่งได้แก่ ลักษณะรูปแบบต้น ความสูง การแตกกอ การล้ม อายุตั้งแต่วันตกกล้าจนถึงวันเก็บเกี่ยว วันออกดอก 50 % ปฏิกิริยาต่อโรคแมลงที่สำคัญจากแปลงทดลองในสภาพธรรมชาติและจากการทดลองใน เรือนทดลอง ลักษณะคุณภาพเมล็ดทางกายภาพซึ่งประกอบด้วย ขนาด รูปร่าง ท้องไข่และลักษณะเมล็ดทางเคมี ได้แก่ กลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์อมิโลส (Amylose) ความคงตัวของแป้งสุก (Elongation Ratio) พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน เพื่อเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่น (ให้ผลผลิตสูงกว่า Check และมีลักษณะต่าง ๆดี ) ในการทดลองนั้น นำไปเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีต่อไป

2) การเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี

เป็นการนำสายพันธุ์ข้าวที่คัดเลือกได้จากการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตภายใน สถานี มาปลูกเปรียบเทียบผลผลิตโดยการทดลองหนึ่ง ๆ ดำเนินการพร้อม ๆ กันหลายแห่ง (ศูนย์ฯและสถานีฯ) มีวิธีการจัดการแปลงทดลองตั้งแต่รูปแบบการทดลอง การปลูก การใส่ปุ๋ย การปฏิบัติดูแลรักษา การบันทึกข้อมูลและการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีเพื่อตรวจสอบความสามารถในการให้ ผลผลิตของสายพันธุ์ในพื้นที่หลายแห่ง เลือกสายพันธุ์เด่นที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ Check และมีลักษณะต่าง ๆ ดี นำไปทดสอบความสามารถในการให้ผลผลิตในสภาพนาของเกษตรกรต่อไป

3) ทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร

เป็นการประเมินผลผลิตขั้นสุดท้ายเพื่อทดสอบความสามารถในการให้ผลผลิตในสภาพ แวดล้อมต่าง ๆ โดยนำสายพันธุ์ข้าวดีเด่น จากการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ประมาณ 5-10 สายพันธุ์ ไปปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวที่แนะนำให้ปลูกและพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยม ปลูกจำนวน 2-3 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ สายพันธุ์ละ 4x5 เมตร ปลูกโดยวิธีปักดำ ระยะ 20x20 เซนติเมตร (ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ) หรือ 25x25 เซนติเมตร (ข้าวไวต่อช่วงแสง) หรือปลูกวิธีหว่านน้ำตม อัตราเมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับข้าวไวต่อช่วงแสงใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ด้วยปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ป้องกันกำจัดวัชพืช โรค-แมลง ตามความจำเป็น เก็บเกี่ยวผลผลิตในพื้นที่ 2x4 เมตรา (นาดำ) และ 3x4 เมตร (นาหว่านน้ำตม) เลือกสายพันธุ์ที่ดีกว่าพันธุ์มาตรฐานเปรียบเทียบ ทั้งในด้านการให้ผลผลิต คุณภาพเมล็ด และความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญหรือมีลักษณะ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเสนอเป็นพันธุ์รับรองต่อไป
นอกจากนี้อาจจะมีการศึกษาเสถียรภาพการให้ผลผลิตในสภาพแวด ล้อมที่แตกต่างกัน ถ้าพันธุ์ข้าวมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตสูง แสดงว่า เป็นพันธุ์ที่สามารถนำไปปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ (ทั้งในสภาพแวดล้อมที่ดีและไม่ดี) โดยจะให้ผลผลิตสูงและค่อนข้างคงที่ ทำการทดลองในศูนย์วิจัยข้าวและสถานีทดลองข้าวหลาย ๆ แห่ง (ปกติควรจะทดลอง ในนาเกษตรกร แต่พบว่าผลผลิตมีความแปรปรวนมาก ส่วนใหญ่จะเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แห้งแล้ง และการทำลายของนก หนู หอยเชอรี่ โรคและแมลงศัตรูข้าว) โดยนำสายพันธุ์ข้าวดีเด่นชุดเดียวกับที่ทดสอบในนาเกษตรกร มาเปรียบเทียบผลผลิตในศูนย์ฯ และสถานีฯ หลาย ๆ แห่งพร้อมกัน มีวิธีการทดลองและการปฏิบัติต่าง ๆ เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี และเพิ่มการบันทึกสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของแปลงทดลอง เช่น ลักษณะดิน อุณหภูมิเฉลี่ยวต่ำสุดและสูงสุด และปริมาณฝนในช่วงปลูก การระบาดของโรคแมลงและอื่น ๆ หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นำข้อมูลผลผลิตมาวิเคราะห์เสถียรภาพของผลผลิตตามวิธีของ Eberhart and Russell (1996.)





-เมล็ดพันธุ์จากการวบรวมพันธุ์

-ปลูกข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ที่รวบรวมมาหรือพันธุ์ที่มีความแปรปรวนมาก เช่น วันออกดอก หรือความสูงแตกต่างกันมาก คัดเลือกเก็บเกี่ยวเมล็ดจากต้นที่มีลักษณะดีแยกกันไว้

- นำเมล็ดจากแต่ละต้นมาปลูกเป็นแถว คัดแถวที่มีลักษณะไม่ดีทิ้งไป และคัดต้นที่ดีที่สุดจากแถวที่เหลือแยกกันไว้อีก

-ทำแบบเดิมไปเรื่อย ๆ จนกว่าต้นข้าวในแต่ละแถวจะมีลักษณะต่าง ๆสม่ำเสมอดี
-นำเมล็ดจากแถวที่มีลักษณะดีและสม่ำเสมอไปปลูก ศึกษาพันธุ์ขั้นต้น
-ทดสอบผลผลิตร่วมกับพันธุ์มาตรฐาน


รูป 1 ขั้นตอนในการคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) จากข้าวพันธุ์ต่าง ๆจำนวนมาก ที่รวบรวมมาได้ หรือจากข้าวพันธุ์ที่มีความแปรปรวนมาก
- ปลูกข้าวพันธุ์ที่มีความแปรปรวนมาก เช่น วันออกดอกหรือความสูงแตกต่างกัน เก็บเกี่ยวเมล็ดจากต้นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันตามต้องการนำเมล็ดมารวมเข้า ด้วยกัน
- ปลูกและคัดเลือกเช่นเดียวกัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ข้าวที่มีความสม่ำเสมอดี จึงนำไปปลูกทดสอบผลผลิตร่วมกับพันธุ์อื่น ๆ หรือนำไปขยายพันธุ์ให้ชาวนานำไปปลูกต่อไป
- ข้าวพันธุ์เดิมที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น


รูปที่ 2 ขั้นตอนในการคัดพันธุ์หมู่ (Mass Selection) จากข้าวพันธุ์ที่มีลักษณะไม่สม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงให้มีลักษณะดีขึ้น
- คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะตามต้องการมาผสมพันธุ์กัน
- ปลูกเมล็ดที่ผสมได้ทั้งหมดแล้วตรวจว่าเป็นพันธุ์ผสมจริงหรือไม่ เกี่ยวต้นที่เกิดจากการผสมตัวเองทิ้ง (Hybrid Check plot)
- ปลูก 5,000 กอ ๆ ละต้น เลือกเก็บเกี่ยวกอที่มีลักษณะดีแยกกันไว้
- นำกอ (สายพันธุ์) ที่เลือกไว้มาปลูกกอ/แถวหรือรวง/แถว เลือกเกี่ยวกอที่มีลักษณะดีในแต่ละสาย พันธุ์ ๆ ละ 1-3 กอ แยกกันไว้
- ทำเช่นเดียวกับ F3 เกี่ยวรวมในสายพันธุ์ที่มีลักษณะดีและอยู่ตัวนำไปศึกษาพันธุ์และ เลือกกอที่ยังไม่อยู่ตัวนำไปปลูกต่อ
- ทำเช่นเดียวกับ F4
- ทำเช่นเดียวกับ F3
- ปลูกศึกษาพันธุ์ร่วมกับสายจากคู่ผสมอื่น ๆ
- เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี และทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร


รูปที่ 3 ขั้นตอนในการคัดพันธุ์ข้าวแบบสืบตระกูล (Pedigree Method) ภายหลังการผสมพันธุ์ข้าว

- คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะตามต้องการมาผสม
- ปลูกเมล็ดที่ผสมได้ทั้งหมด แล้วตรวจว่าเป็นข้าวพันธุ์ผสมจริงหรือไม่ เกี่ยวต้นที่เกิดจากการผสมตัวเองทิ้ง

- ปลูก 5,000 กอ ๆ ละต้นเก็บเกี่ยวเมล็ด 1 รวง จากทุกต้นมารวมกัน เพื่อปลูกในชั่วต่อไป
- ทำเช่นเดียวกับ F2
- ทำเช่นเดียวกับ F3
้- ทำเช่นเดียวกับ F4
- ปลูก 5,000 กอ ๆ ละต้น เลือกเก็บเกี่ยวกอที่มีลักษณะดีแยกกันไว


- นำกอ (สายพันธุ์) ที่เลือกมาปลูก กอ / แถวหรือ รวง/ แถว คัดเลือกแถวที่มีลักษณะดี และสม่ำเสมอเกี่ยวรวมกันเพื่อปลูกศึกษาพันธุ์

- ปลูกศึกษาพันธุ์ร่วมกับสายพันธุ์จากคู่ผสมอื่น ๆ
- เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี
- เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี
- เปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกร


รูปที่ 4 ขั้นตอนในการคัดพันธุ์แบบรวม (Bulk Method) ภายหลังการผสมพันธุ์ข้าว



http://www.surin.rmuti.ac.th/websurin/suriyon/index.php?option=com_content&view=article&id=28&Itemid=45


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 9:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 6 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 7:50 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. การผสมพันธุ์ข้าว

จะว่าไปแล้ว เกษตรกรรู้จักวิธีการคัดเลือกพันธุ์และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองเป็นเวลาช้านาน โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์หลายปัจจัยซึ่งได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก การคัดเลือกตามความต้องการบริโภค รวมทั้งการคัดเลือกตามความต้องการนำไปใช้ประโยชน์ จากหลักเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าวจึงทำให้ชาวนามีการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไว้หลากหลายพันธุ์และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นมาหลายชั่วอายุคน


แต่สถานการณ์การผลิตในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิม มีการจัดการแหล่งน้ำระบบชลประทานที่ดี ปัจจัยการผลิตเครื่องมือที่ทันสมัยและมีรูปแบบการผลิตที่เน้นเชิงพาณิชย์มากขึ้น แต่ข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีข้อจำกัดในการปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี และข้อจำกัดในการให้ผลผลิตที่ต่ำไม่เหมาะสมกับระบบการผลิตในเขตชลประทาน สถานการณ์ในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้มีความเหมาะสมกับระบบการผลิตแบบใหม่โดยยังคงข้อดีของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองไว้เช่น ให้มีคุณภาพเมล็ดดี คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม และมีความสามารถในการปรับตัวในพื้นที่ได้ดี เป็นต้น

การผสมพันธุ์ข้าวเป็นวิธีการสร้างข้าวพันธุ์ใหม่ที่รวมลักษณะเด่นต่าง ๆ ไว้ในพันธุ์เดียวกัน หลักสำคัญของการผสมพันธุ์คือ การสร้างความผันแปรที่เกิดจากการจับคู่ใหม่ของยีน ซึ่งจะทำให้เกิดลักษณะแตกต่างกันจำนวนมากมายในรุ่นลูกรุ่นหลาน ลักษณะความแตกต่างดังกล่าวจะมีทั้งลักษณะดีกว่าหรือด้อยกว่าพ่อแม่ ซึ่งสามารถคัดเลือกแยกออกจากกันได้โดยการนำข้าวลูกผสมที่ได้ มาปลูกคัดเลือกหาพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ต้องการปลูกคัดเลือกประมาณ 6-8 รุ่น ทั้งนี้เพื่อความนิ่งทางสายพันธุ์ ขณะเดียวกันจำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ด คุณภาพการหุงต้มไปพร้อมกัน หลังจากผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ รับรองพันธุ์แล้วจึงจะได้ข้าวพันธุ์ใหม่ตามที่ต้องการ


ขั้นตอนการปฏิบัติการผสมพันธุ์ข้าว
1. การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ข้าว
ขั้นตอนการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ข้าวประกอบด้วยขั้นตอนตั้งแต่ การรวบรวมพันธุ์ การกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการผสมพันธุ์ การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ และการปลูกพ่อแม่พันธุ์ ในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

1.1 การรวบรวมพันธุ์
ต้องมีการรวบรวมพันธุ์และนำมาปลูกทดสอบเพื่อศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์ การให้ผลผลิต ความสามารถในการต้านทานโรคแมลงซึ่งสามารถนำข้อมูลประกอบในการคัดเลือกเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป

1.2 การกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการผสมพันธุ์
คือการกำหนดความต้องการพันธุ์ข้าวในอุดมคติ หรือพันธุ์ข้าวในฝันนั่นเอง หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบการผลิต เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก การให้ผลผลิตดี คุณภาพเมล็ด คุณภาพการหุงต้มรสชาติดี สามารถต้านทานโรค และแมลง สามารถปลูกได้ไม่จำกัดฤดูกาล เป็นต้น

1.3 การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
หัวใจสำคัญของการผสมพันธุ์ข้าวคือ จะต้องทราบข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ ข้อดี ข้อด้อย ของข้าวแต่ละพันธุ์ เพื่อใช้ในการคัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์ และการกำหนดคู่ผสมให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวชนิดข้าวเจ้า ปลูกได้ปีละครั้ง คุณภาพเมล็ดดี การหุงต้มมีกลิ่นหอมรสชาติดี ต้นสูง ล้มง่าย ผลผลิตต่ำ ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี การคัดเลือกพันธุ์ที่จะใช้เป็นคู่ผสมจะต้องเพิ่มเติมข้อด้อยของพันธุ์ดังกล่าว เช่น ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ผลผลิตดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นต้น

1.4 การปลูก พ่อแม่พันธุ์
หลังผ่านการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์แล้ว นำเมล็ดที่ได้มาปลูกในแปลงนาหรือในกระถาง การปลูกแต่ละพันธุ์ควรปลูกหลายรุ่น แต่ละรุ่นทิ้งช่วงห่างประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงในคู่ผสมที่ออกรวงไม่พร้อมกัน และให้สามารถผสมซ้ำในกรณีผสมไม่ติด กรณีที่ปลูกในแปลงนาควรย้ายปลูกลงกระถางก่อนข้าวออกรวงเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน


การผสมพันธุ์ข้าว
ขั้นตอนการผสมพันธุ์ข้าวต้องมีการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการผสมพันธุ์ข้าว หลังจากนั้นจึงจะทำการตอนกำจัดเกสรตัวผู้ การผสมพันธุ์หรือการถ่ายละอองเกสร และการเก็บเกี่ยว มีรายละเอียดดังนี้
2.1 การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ประกอบด้วย
1. กรรไกร .......... 4. คลิปหนีบกระดาษ
2. ปากคีบ .......... 5. แผ่นป้ายพลาสติก
3. กระดาษแก้ว ..... 6. ดินสอดำ ....... 7.แว่นขยาย

2.2 การตอนกำจัดเกสรตัวผู้
เนื่องจากข้าวเป็นพืชผสมตัวเอง การที่จะผสมกับข้าวพันธุ์อื่นจำเป็นจะต้องกำจัดเกสรตัวผู้ออกก่อน เสร็จแล้วจึงนำเกสรตัวผู้จากพันธุ์อื่นมาผสม ต้นหรือรวงที่ถูกกำจัดเกสรตัวผู้ออกไปแล้ว เรียกว่าต้นแม่พันธุ์

วิธีการตอนกำจัดเกสรตัวผู้ เลือกรวงที่โผล่พ้นกาบใบธงประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ เลือกตัดดอกข้าวที่คาดว่าจะบานในวันรุ่งขึ้น โดยใช้กรรไกรตัดดอกประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของเมล็ด จากนั้นใช้ปากคีบ เขี่ยเกสรตัวผู้ทั้ง 6 อันออกให้หมด ในหนึ่งรวงเลือกตอนประมาณ 20-30 ดอก หลังตอนเสร็จใช้ถุงกระดาษแก้วคลุมรวงไว้ใช้คลิปหนีบถุงอีกครั้ง อาจใช้ไม้ไผ่ทำหลักประคองเพื่อป้องกันไม่ให้รวงหัก

2.3 การผสมพันธุ์หรือ การถ่ายละอองเกสร
ปกติดอกข้าวจะบานและมีการถ่ายละอองเกสรช่วงเวลาประมาณ 8.00-12.00 น. ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ อุณหภูมิแสงแดด ดอกข้าวจะไม่บานในวันที่อากาศหนาวเย็นหรือวันที่มีฟ้ามืดครึ้ม

วิธีการผสม
นำกระถางข้าวพ่อพันธุ์ที่ดอกกำลังบานหรือตัดช่อดอกพ่อพันธุ์ใส่ขวดแช่น้ำเตรียมรอไว้ เมื่อดอกข้าวเริ่มบานเกสรตัวผู้ทั้ง 6 อันจะเริ่มโผล่ชูอับละอองเกสรที่อยู่ส่วนบนก้านเกสรตัวผู้พร้อมที่จะแตก ซึ่งจะสังเกตลักษณะเป็นผงฝุ่นละอองสีเหลือง จากนั้นเปิดถุงคลุมรวงต้นแม่พันธุ์ออก แล้วนำช่อดอกตัวผู้ที่กำลังบานมาเคาะให้ฝุ่นละอองสีเหลืองตกใส่ดอกแม่พันธุ์ หรืออาจใช้ปากคีบ คีบดอกข้าวพ่อพันธุ์ที่กำลังบานนำมาเคาะใส่ในดอกต้นแม่พันธุ์ที่กำลังบาน

การตรวจสอบหากสังเกตเห็นฝุ่นละอองสีเหลืองเกาะบนยอดเกสรตัวเมียของต้นแม่พันธุ์แสดงว่าการถ่ายละอองในครั้งนั้นเสร็จแล้ว

หลังจากนั้นใช้ถุงกระดาษครอบรวงไว้เหมือนเดิม ผูกป้ายชื่อ พ่อแม่พันธุ์คู่ผสม วัน เดือน ปี ที่ทำการผสม หากเกสรตัวผู้ไม่เพียงพออาจผสมซ้ำอีก 1-2 วัน หลังการผสมแล้ว 1 สัปดาห์ สามารถตรวจสอบความสำเร็จได้ หากผสมติดรังไข่จะพัฒนาเป็นเมล็ดข้าว หลังจากนั้น 25-30 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ตามปกติ


2.4 การเก็บเกี่ยว
1. ก่อนเก็บเกี่ยวควรตรวจสอบ ป้ายชื่อ พันธุ์ว่าอยู่ครบหรือไม่
2. เก็บเกี่ยวใส่ถุงกระดาษ นำไปผึ่งแดดให้แห้งประมาณ 1-2 แดด
3. แช่ตู้เย็นไว้ประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อทำลายการพักตัวของเมล็ดข้าว



กระบวนการและเทคนิคเหล่านี้ เป็นขั้นตอนง่ายๆที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน แต่กว่าที่นักเรียนชาวนาจะได้มาเรียนรู้ในขั้นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเริ่มเรียนรู้กันเลยเทียวนะ เพราะหลักการอย่างหนึ่งที่นักเรียนชาวนาต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนคือ ความสำคัญและความจำเป็นที่เราจะต้องพัฒนาพันธุ์ข้าว ซึ่งแน่นอนว่า ความรู้ในภาคทฤษฎี ถ้าไม่ได้ลงมือปฏิบัติให้เห็นกับตา เมื่อฟังคำอธิบายหรือแค่อ่านเอกสารจะนึกภาพไม่ออกแน่ ดังนั้น เทคนิคนี้ เจ้าหน้าที่ต้องตามให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดเลยเชียวล่ะ เพราะถึงแม้ว่านักเรียนชาวนาจะเข้าใจขั้นตอนอย่างแจ่มแจ้งแล้วก็เถอะ แต่ผลชี้วัดมันอยู่ที่จะผสมติดหรือไม่ด้วย ทั้งนี้ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่มาเกี่ยวข้อง เช่น ช่วงเวลา หรือแม้แต่กระทั่งความมีสมาธิของนักเรียนชาวนาระหว่างผสมพันธุ์นั่นเอง....ถ้าใครได้มีโอกาสมาที่ข้าวขวัญ เราจะพาชมต้นข้าวที่ผ่านการผสมพันธุ์โดยชาวนาให้เห็นกันชัดๆ เพราะไม่ทุกคนหรอกค่ะที่จะทำได้สำเร็จ แต่ชาวนาก็ไม่ท้อ ยังคิดว่าสักวันหนึ่งพวกเค้าก็จะต้องนำเทคนิคไปทดลองให้สำเร็จจนได้ และไม่ว่าคุณหรือใครก็ตาม ถ้าบังเอิญผ่านมา ต้องการลองวิชาว่าด้วยการผสมพันธุ์ข้าวแล้วล่ะก็...เรายินดีต้อนรับค่ะ


http://www.gotoknow.org/blog/ngos/13874


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 3:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 9:11 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

โรงเรียนชาวนาระดับอุดมศึกษา (13.2)

3. ผสมพันธุ์ข้าว ตอนที่ 2

นักเรียนชาวนาขอให้เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆให้ครบให้พร้อม แต่ละอย่างก็สามารถหาได้โดยทั่วไป มีอะไรบ้างเอ่ย... มีกรรไกร ปากคีบ กระดาษแก้ว คลิปหนีบกระดาษ แผ่นป้ายพลาสติก และดินสอดำ รวม ๖ อย่าง เตรียมกระดาษแก้ว คลิปหนีบกระดาษ และแผ่นป้ายพลาสติกไว้มากจำนวนหน่อย



เครื่องมือสำหรับการผสมพันธุ์ข้าว


นักเรียนชาวนาบอกกันว่า เตรียมมามากเข้าไว้ก่อน เผื่อเหลือเผื่อขาด เห็นหลายคนซื้อกรรไกรใหม่มาเลยทีเดียว จะเอาไปตัดอะไรบ้างก็ไม่รู้ซินะ กรรไกรใหม่ๆ ท่าทางจะคมไม่เบา

พอเตรียมเครื่องไม้เครื่องมืออะไรต่างๆพร้อมและครบถ้วนดีแล้ว ขั้นตอนสำคัญเป็นเรื่องการตอนกำจัดเกสรตัวผู้ ก่อนขึ้นใคร่ขอทำความเข้าใจกันสักเล็กน้อย เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในเรื่องข้าวกันก่อน

ข้าวเป็นพืชผสมตัวเอง การที่จะผสมกับข้าวพันธุ์อื่นจำเป็นต้องกำจัดเกสรตัวผู้ออกก่อน แล้วจึงจะสามารถนำเอาเกสรตัวผู้จากพันธุ์อื่นมาผสมได้ ต้นหรือรวงที่ถูกกำจัดเกสรตัวผู้ออกไปแล้ว เรียกว่า “ต้นแม่พันธุ์”

พอเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ก็จะเข้าสู่วิธีการตอนกำจัดเกสรตัวผู้ ให้เลือกรวงที่โผล่พ้นกาบใบธง ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ เลือกตัดดอกข้าวที่คาดว่าจะบานในวันรุ่งขึ้น โดยใช้กรรไกรตัดดอก ประมาณ ๑ ใน ๓ ส่วนของเมล็ด

เมื่อตัดแล้ว ใช้ปากคีบ เขี่ยเกสรตัวผู้ทั้ง ๖ ตัว ออกให้หมด

ในรวงหนึ่งๆให้เลือกตอนประมาณ ๒๐ – ๓๐ ดอก




การตัดดอกข้าว (ด้วยกรรไกร)





การเขี่ยเกสรตัวผู้ออก (ด้วยปากคีม)


หลังจากที่ได้ตอนเกสรตัวผู้ออกหมดแล้ว นำเอาถุงกระดาษแก้วคลุมรวงไว้ ใช้คลิปหนีบถุงด้วย เพื่อป้องกันลมพัดถุงหลุดร่วง รวงข้าวมีน้ำหนักพอสมควร นักเรียนชาวนาอาจจะใช้ไม้ไผ่ทำหลักประคองรวง เพื่อป้องกันไม่ให้รวงหัก

และต่อไปนี้ถึงขั้นตอนของการผสมพันธุ์หรือการถ่ายละอองเกสรแล้ว จึงใคร่ขอทำความเข้าใจในเรื่องดอกข้าวกันเล็กๆน้อยๆ

โดยปกติ ดอกข้าวจะบานและถ่ายละอองเกสรในช่วงเวลาประมาณ ๐๘.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. แต่ทั้งนี้ ข้าวแต่ละพันธุ์จะมีความแตกต่างกันไป ประกอบกับเรื่องอุณหภูมิ แสงแดด ดอกข้าวจะไม่บานในวันที่อากาศหนาวเย็น วันที่ฟ้ามืดครึ้ม

พอทราบหรือพอเห็นภาพแล้วว่าดอกข้าวจะบานเช่นไร คราวนี้มาเรียนรู้วิธีการผสมพันธุ์ เริ่มแรกนักเรียนชาวนาควรจะนำกระถางข้าวพ่อพันธุ์ที่ดอกกำลังบานหรือตัดช่องดอกพ่อพันธุ์ใส่ขวดแช่น้ำเตรียมรอเอาไว้เลย

เมื่อดอกข้าวเริ่มบาน เกสรตัวผู้ทั้ง ๖ ตัว จะเริ่มโผล่ชูอับละอองเกสร ซึ่งอยู่ส่วนบนก้านเกสรตัวผู้ พร้อมที่จะแตก ทั้งนี้สามารถสังเกตเห็นลักษณะจะเป็นผงละอองสีเหลือง

ให้เปิดถุงที่คลุมรวงต้นแม่พันธุ์ออก แล้วนำช่อดอกตัวผู้ที่กำลังบานมาเคาะให้ละอองสีเหลืองตกใส่ดอกแม่พันธุ์ หรือจะใช้ปากคีบ คีบดอกข้าวพ่อพันธุ์ที่กำลังบาน...นำมาเคาะใส่ในดอกต้นแม่พันธุ์ที่กำลังบาน

ในขั้นตอนนี้นักเรียนชาวนาสามารถตรวจสอบได้โดยสังเกตดูละอองสีเหลืองเกาะบนยอดเกสรตัวเมียของต้นแม่พันธุ์ ก็แสดงว่าการถ่ายละอองในครั้งนี้เสร็จแล้ว



การคลุมช่อดอกแม่พันธุ์


หลังการผสมแล้ว แล้วใช้คลิปหนีบถุง จากนั้นจึงนำถุงกระดาษแก้วครอบรวงไว้ พร้อมใช้คลิปหนีบไว้ดังเดิม แล้วผูกป้ายชื่อ โดยเขียนชื่อพ่อแม่พันธุ์คู่ผสม วันเดือนปีที่ทำการผสม



ผูกป้ายชื่อ แสดงพ่อแม่พันธุ์คู่ผสมวันเดือนปีที่ทำการผสม



ในกรณีที่เกสรตัวผู้ไม่เพียงพออาจผสมซ้ำอีก ๑ – ๒ วัน หลังจากการผสมผ่านไปแล้ว ๑ สัปดาห์

นักเรียนชาวนาสามารถตรวจสอบความสำเร็จของการผสมพันธุ์ได้ หากผสมติด รังไข่จะพัฒนาเป็นเมล็ดข้าว หลังจากนั้น ๒๕ – ๓๐ วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ตามปกติ

เมื่อมาถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของช่วงที่ ๒ นี้ ซึ่งนักเรียนชาวนาจะเกี่ยวข้าวไปตามปกติ เพียงแต่เพิ่มการสังเกต เพิ่มความระมัดระวังอีกนิดหน่อย อย่างไรล่ะจึงถือได้ว่าเป็นการเพิ่มการสังเกตและความระมัดระวัง... ก่อนเกี่ยวข้าว ควรตรวจสอบป้ายชื่อพันธุ์ว่าอยู่ครบหรือไม่

เกี่ยวข้าวแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้งประมาณ ๑ – ๒ แดด แล้วเก็บใส่ไว้ในถุงกระดาษ

แล้วนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นสักประมาณ ๒ สัปดาห์ หลายคนสงสัยอีกว่า ในเมื่อได้นำไปผึ่งแดดแล้ว เหตุใดจึงต้องนำไปแช่ตู้เย็นอีก ข้อสงสัยในประเด็นนี้ สามารถตอบให้ได้ว่า การนำข้าวไปแช่ตู้เย็น เพื่อจะทำลายการพักตัวของเมล็ดข้าว คำตอบนี้จึงช่วยคลายความสงสัยให้กับนักเรียนชาวนาได้

และแล้วก็มาถึงเรื่องราวสุดท้ายของกระบวนการทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องราวของการปลูกทดสอบคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสม ขั้นตอนนี้มีสำคัญเป็นอย่างมาก สำคัญอย่างไรนั้นโปรดคิดพิจารณากันต่อไป




http://www.gotoknow.org/blog/play/34166


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 3:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 9:20 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. การผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสม ทำได้อย่างไร ?



แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมเผยจ๋าซวงชี (培杂双七 หรือ培杂เผยจ๋า 77)
แถวที่เห็นรวงข้าวห้อยระย้านั่นก็คือสายพันธุ์ที่มีแต่ดอกตัวเมีย
(ดอกตัวผู้ไม่พัฒนา จึงไม่มีเกสรตัวผู้)
ที่ได้รับการผสมเกสรข้ามต้นจากต้นพันธุ์ที่ปลูกเป็นแถวสลับกันไป



คงเป็นเรื่องยุ่งยากน่าปวดเศียรเวียนเกล้าเป็นแน่แท้ในการผสมพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมเป็นจำนวนมากๆในเชิงพาณิชย์ เพราะการป้องกันการผสมพันธุ์ระหว่างเกสรตัวผู้และตัวเมียภายในต้นเดียวกัน หรือจากเกสรตัวผู้ต้นอื่นๆที่ไม่พึงประสงค์จำนวนมากๆนั้นคงทำไม่ได้เป็นแน่ในทางปฏิบัติ แต่เป็นเพราะความมานะบากบั่นอย่างแรงกล้าของนักผสมพันธุ์ข้าวที่มีนามว่า เหยี่ยน หลงผิง ที่ได้รับสมญานามเป็นบิดาของวงการข้าวลูกผสมของจีนและโลก ได้ทุ่มเทชีวิตการทำงานทั้งหมดให้กับการวิจัยค้นคว้าหาหนทางผลิตข้าวลูกผสมให้สำเร็จจงได้ เพราะท่านเล็งเห็นว่าหนทางเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้ได้มากยิ่งๆขึ้นนั้น มีแค่หนทางเดียวเท่านั้น นั่นก็คือพันธุ์ข้าวลูกผสมที่เหมือนกับพันธุ์ลูกผสมของพืชชนิดอื่นๆที่ประสบความสำเร็จให้เห็นเป็นที่ยอมรับกันแล้วนั่นเอง แต่หนทางการผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมจำนวนมากมายในทางปฏิบัตินั้นมันเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย ทว่าโชคย่อมเข้าข้างกับผู้มีอุตสาหะวิริยะ จากการค้นพบสายพันธุ์ข้าวป่ากอหนึ่งที่เกสรตัวผู้ไม่พัฒนาในมณฑลห่ายหนานเต่า (เกาะไหหลำ) นั่นก็คือจุดกำเนิดเริ่มต้นของข้าวลูกผสมหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน





ข้าวเป็นพืชที่ผสมตัวเองจากเกสรตัวผู้และตัวเมียภายในต้นเดียวกัน หรือผสมข้ามต้นจากเกสรตัวผู้ต้นอื่นๆก็ได้ การป้องกันการผสมเกสรจากเกสรตัวผู้ภายในต้นเดียวกันจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง เพราะทั้งดอกตัวผู้และเกสรนั้นมีขนาดเล็กและมีปริมาณมหาศาล แต่เมื่อมีข้าวสายพันธุ์ที่เกสรตัวผู้ไม่พัฒนา จึงทำให้กำแพงปัญหาดังกล่าวถูกทะลายไป ภาพถ่ายที่นำมาให้ชมกันนี้ เป็นแปลงข้าวผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ลูกผสมในมณฑล ห่ายหนานเต่า และมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) จะเห็นได้ว่ามีข้าวที่ตกรวงเป็นแนวเป็นแถวอย่างมีระเบียบ นั่นก็คือสายพันธุ์ข้าวที่เกสรตัวผู้ไม่พัฒนา (มีแต่ดอกตัวเมียเท่านั้น ไม่มีดอกตัวผู้) จึ่งไม่มีโอกาสผสมตัวเอง คงได้รับการผสมเกสรข้ามต้นจากสายพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดีตามความต้องการจากต้นข้าวที่ปลูกสลับกันเป็นแถวๆแต่เพียงแหล่งเดียว เป็นหลักประกันได้ว่าไม่เกิดความแปรปรวนในสายพันธุ์ข้าวลูกผสมที่ทำการผลิตอย่างแน่นอน


http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538644079&Ntype=2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 3:06 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 11:28 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี

ความสำคัญของเมล็ดพันธุ์การเพาะปลูกข้าวในปัจจุบัน เกือบทั้งหมดปลูกเพื่อการค้า จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน ข้าวต้นหนึ่งเป็นเสมือนเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง เมื่อใส่วัตถุดิบเข้าไปในปริมาณที่เท่ากัน ผลผลิตที่ได้จากเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูง จะมีการสูญเสียน้อย ได้ผลผลิตมากกว่า และมีคุณภาพที่ดีกว่า จึงสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. พันธุ์เป็นสิ่งจำกัดผลผลิตสูงสุด หากเปรียบเทียบการให้ปุ๋ย ยา ฮอร์โมน การปฏิบัติดูแล ในปริมาณที่เท่ากัน ข้าวพันธุ์ดีย่อมให้ผลผลิตที่มากกว่า และการเพิ่มปัจจัยต่างๆ มากขึ้น จนถึงจุดๆ หนึ่ง พันธุ์ที่ด้อยกว่าจะหยุดการให้ผลผลิตเพิ่ม ในขณะที่พันธุ์ที่ดีกว่ายังคงให้ผลผลิตเพิ่มได้ นั่นคือ ความสามารถให้การให้ผลผลิตสูงสุด ของพันธุ์ดีจะสูงกว่า


2. พันธุ์เป็นจุดเริ่มต้นของคุณภาพ การคัดเลือกผสมพันธุ์ เพื่อผลิตพันธุ์ใหม่แต่ละพันธุ์ จะต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด หรือผู้บริโภค รวมถึงสภาพแวดล้อม ความต้านทานโรค แมลง การตอบสนองต่อปุ๋ย ตามวัตถุประสงค์ของผู้ผสมพันธุ์ เพื่อให้ผ่านการรับรองพันธุ์ของคณะกรรมการนั้น การผสมพันธุ์ การคัดเลือกพันธุ์ดังกล่าว วัตถุประสงค์หลักก็คือ คุณภาพของผลผลิตที่ได้จากพันธุ์นั้น ต้องมีคุณภาพที่ดี ตรงตามความต้องการตลาดนั่นเอง


3. พันธุ์ดีจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ในการลงทุนที่เท่ากันหรืออาจสูงกว่า เมื่อหักต้นทุนแล้ว การใช้พันธุ์ที่ดีกว่า จะได้รับผลตอบแทนต่อหน่วยที่มากกว่า จึงเป็นการลดต้นทุนต่อหน่วยการผลิต ตัวอย่างเช่น การเลี้ยงโค (วัว) ที่มีสายเลือดของพันธุ์ที่มีความสูงใหญ่อย่าง ฮินดูบราซิล พร้อมๆ กับโคพื้นเมืองพม่า ซึ่งมีขนาดเล็กผอมแห้ง แม้การให้อาหารและสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน ความแตกต่างก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าโคพันธุ์ จะมีขนาดที่สูงใหญ่ เติบโตได้เร็วกว่า ผลตอบแทนหรือความคุ้มค่าของการเลี้ยง ย่อมสูงกว่า การ ใช้ข้าวพันธุ์ดีก็ได้ผลเช่นเดียวกัน


4. เพิ่มผลผลิตพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์ที่ผ่านการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์จนได้รับการรับรองพันธุ์นั้น จะมีความสามารถ ในการต้านทานโรค แมลง ศัตรูพืช อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในพันธุ์เดียว หากเราเลือกใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานโรค หรือ แมลง ได้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งเคยเกิดการระบาด พันธุ์นั้นจะยังคงให้ผลผลิตได้ มากกว่าพันธุ์ที่ไม่ต้านทาน และสิ่งสำคัญ พันธุ์ที่ผ่านการรับรองพันธุ์ จะต้องให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานเสมอ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการรับรองพันธุ์ การผลิตเมล็ดพันธุ์ดี



หลักการสำคัญเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์
การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ให้ได้ตามมาตรฐานนั้น มีสิ่งที่สำคัญเป็นหลักในการปฏิบัติ คือ

ต้องมีการป้องกันการปนพันธุ์ มีการกำจัดพันธุ์ และปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ดีผ่านมาตรฐาน?ความหมายสำคัญของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและการผลิตเมล็ดพันธุ์ คือ

1. ต้องกำจัดพันธุ์ปน
เกิดจาก ารผสมพันธุ์ระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย (เราพูดถือเรื่องของพืช) คือ การถ่ายทอดลักษณะด้านพันธุกรรม (ภายใน DNA) ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะเกิดลักษณะที่เปลี่ยนไป อาจจะแสดงออกในชั่วชีวิตใดไม่แน่นอน

หากลักษณะที่แสดงออก ไม่ตรงกับพันธุ์ที่เราปลูก ข้าวต้นนั้นก็คือ พันธุ์ปน

2. ต้องป้องกันการปนพันธุ์
คือ พืชพันธุ์อื่น ที่เราไม่ต้องการ มาเกิด เจริญเติบโต ในพื้นที่ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

3. ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ดี
ได้มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าว มาตรฐานแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์

ตามพระราชบัญญัติ เมล็ดพันธุ์ กำหนดให้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่สามารถจำหน่ายได้ ต้องมีคุณภาพตามลักษณะที่กำหนดใน พรบ.เมล็ดพันธุ์พืช และมาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์จากแปลงขยายพันธุ์ข้าว จะมีพันธุ์ปน(พืชอืน) ได้ คือ

ระยะพืช สิ่งกำหนด
จำนวนที่ยอมให้มีได้

ชั้นพันธุ์ขยาย
ชั้นพันธุ์จำหน่าย

แปลงกล้า พันธุ์อื่น (สูงสุด)
1:2,000 (0.05%)
1:1,000 (0.10%)

แปลงปลูก พันธุ์อื่น (สูงสุด)
1:2,000 (0.05%)
1:1,000 (0.10%)

ข้าวแดง (สูงสุด) 0
1:100,000 (0.001%)

การผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว มีการผลิตตั้งแต่ปี 2519 เพื่อ วัตถุประสงค์ในการส่งเสริม สนับสนุนโครงการภาครัฐ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ดีแก่เกษตรกรทั่วไป และที่สำคัญคือการสำรองเมล็ดไว้ใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติ ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ การ ผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว จะผลิตจากแปลงขยายของเกษตรกรผู้มีความรู้ความชำนาญ โดยได้รับการอบรมจากศูนย์ฯ และการควบคุมติดตามโดยเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการเฉพาะด้านพืชและพันธุ์นั้นๆ และกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนจะควบคุมโดยการตรวจสอบจากนักวิชาการเกษตรของ ศูนย์ฯ

องค์ประกอบที่สำคัญในการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพที่ดี ได้มาตรฐานมี 3 ส่วน คือ
1.การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแปลง
2.การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
3.การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์


1. การผลิตเมล็ดพันธุ์ในแปลง
การผลิตเมล็ดพันธุ์ในไร่นามีความสำคัญที่สุดในด้านคุณภาพ หากผลผลิตที่ได้จากไร่นา มีคุณภาพไม่ดี ไม่แข็งแรง มีพันธุ์ปนสูงไม่ได้มาตรฐาน เกิดการผสมข้ามกับพืชพันธุ์อื่นแล้ว เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวจะไม่สามารถปรับปรุงให้มีคุณภาพดีได้ ฉะนั้นเกษตรกรผู้ทำนา ผู้ปฏิบัติงานซึ่งรับจ้าง ใช้เครื่องจักรเครื่องมือ ในการเตรียมดิน การปลูก การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว ทุกคนทุกขั้นตอน จะเป็นผู้ที่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ทั้งสิ้น

1) เกษตรกรผู้จัดทำแปลง
เกษตรกรต้องเป็นผู้ที่มีความขยันในการปฏิบัติ ตั้งใจในการป้องกันการปนพันธุ์ และการกำจัดพันธุ์ปน รู้จักลักษณะของพืชพันธุ์ที่ปลูก และสังเกตลักษณะความแตกต่างของข้าวพันธุ์ปลูกข้าวพันธุ์ปน และข้าวพันธุ์อื่น มีจิตสำนึกที่ดี มุ่งมั่นจะผลิตเมล็ดพันธุ์ดีเป็นอันดับแรก โดยทำความเข้าใจถึงประโยชน์การใช้เมล็ดพันธุ์ดี และผลเสียหายที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่นำเมล็ดที่ไม่ได้มาตรฐานจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ รวมถึงการดูแลป้องกันมิให้ผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกระทำในสิ่งที่มีผลเสีย ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วย

2) พื้นที่ทำแปลงที่เหมาะสม
การจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ จะมีการปฏิบัติและการลงทุน ที่เพิ่มมากกว่าการเพาะปลูกทั่วไป โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกทำแปลงพันธุ์ จะต้องเป็นพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหมายถึงจะมีปริมาณน้อยส่วนมากมีไม่เพียงพอ และราคามักจะสูงกว่าพันธุ์ทั่วไป ฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องคัดเลือกพื้นที่เพาะปลูกให้มีสภาพเหมาะสม มีความเสี่ยงต่อการเสียหายน้อยที่สุด และเพื่อป้องกันการปนพันธุ์จากข้าวเรื้อ ข้าวปลูกพื้นเดิมซึ่งปลูกพันธุ์อื่น ควรกำจัดข้าวเรื้อก่อนที่จะปลูกข้าว เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์

3) เมล็ดพันธุ์เพื่อจัดทำแปลง
การ เลือกพันธุ์ข้าวปลูกหรือเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นสิ่งสำคัญอันแรก ของการทำนา การเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ดี ย่อมให้ผลตอบแทนที่ดี คุ้มกับการลงทุน ดังสำนวนคนโบราณกล่าวไว้ถึงการเลือกไว้ว่าจะดูวัวให้ดูที่หาง จะดูนางให้ดูที่แม่ จะเลือกให้ดีแน่ๆ ต้องดูถึงยาย เมล็ดพันธุ์ก็เป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งการสืบเชื้อสายแก่ลูกหลาน คือ การสืบทอดลักษณะพันธุกรรม (ลักษณะที่แสดงออก และลักษณะภายในที่ซึ่งแฝงอยู่ในสายเลือด) หรือที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ DNA การ เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อปลูกทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์นั้นง่ายกว่ามาก เพราะมีกฎหมายกำหนดมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ และมีผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เป็นมาตรฐานของหน่วยงานราชการ โดยมีการตรวจรับรองพันธุ์ว่าเมล็ดพันธุ์ การเริ่มจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี มีความงอกสูง สิ่งเจือปนน้อย ความบริสุทธิ์สูงตรงตามสายพันธุ์มีพันธุ์ปนไม่เกินมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ปราศจากโรค แมลงปราศจาก วัชชพืช (โดยเฉพาะข้าววัชชพืช ห้ามมีโดยเด็ดขาด) และต้องเป็นพันธุ์ที่ต้องของผู้ปลูกและผู้ซื้ออีกด้วย

4) การป้องกันการปนพันธุ์ และการกำจัดพันธุ์ปน
สิ่ง สำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการผสมพันธุ์แบบใช้เพศ(คล้ายกับของคนแหละครับ แต่ต่างกันช่วงของวิธีการที่จะแลกเปลี่ยน) ทั่วไปข้าวพันธุ์ของไทยเราจะผสมตัวเอง และมีอัตราการผสมข้ามเพียงร้อยละ .05 เท่านั้น แต่เมื่อมีการผสมพันธุ์จะมีการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุ์กรรมของเพศผู้และเพศเมีย ฉะนั้น แปลงข้าวที่เพาะปลูกทุกแปลงไม่ว่าจะใช้เมล็ดพันธุ์ดีขนาดไหน หรือจากที่ใดก็ตาม ทุกครั้งที่ปลูกและทุกแปลงจะต้องมีพันธุ์ปน เกิดขึ้นเสมอ จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการผสมข้าม และลักษณะที่แสดงออกนั้น แตกต่างจากพันธุ์ปลูกของเรา วิธีที่จะช่วยลดพันธุ์ปน ทำได้โดยป้องกันธุ์มิให้มีข้าวพันธุ์อื่นปนเข้ามาในแปลงปลูกของเรา ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการผสมข้ามกับข้าวพันธุ์อื่นลดลง และต้องมีการกำจัดพันธุ์ปนก่อนมีการผสมพันธุ์

ลักษณะพันธุ์ปน ในแต่ละครั้ง แต่ละพืช แต่ละพันธุ์มีความแตกต่างกันไปตามแต่สภาพแวดล้อม การจะระบุให้ชัดเจน ควรได้รับการฝึกปฏิบัติจริง และเห็นของจริงในไร่นา จะเป็นวิธีการที่ดีและถูกต้องที่สุด

5) การปฏิบัติดูแลรักษา
การปฏิบัติดูแล เหมือนการเพาะปลูกข้าวทั่วไป มีส่วนที่ต้องเพิ่มในเรื่องของการป้องกันการปนพันธุ์และการกำจัดพันธุ์ปน และที่ควรระวังเรื่องการใช้สารเคมีที่มีผลต่อความมีชิวิตของเมล็ด เนื่องจากเมล็ดที่ได้อย่างแรกต้องเป็นเมล็ดที่ยังไม่ตาย ต้องมีชีวิต และถ้ามีชีวิตที่แข็งแรงสมบูรณ์ก็ยิ่งดี สารเคมีที่ต้องระวัง เช่น สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) ซึ่งนอกจากต้นข้าวจะตายแล้วยังจะมีผลต่อเมล็ดอาจถึงตายได้เช่นกัน

6) การเก็บเกี่ยว
ขั้นตอนที่เกิดความเสียหายในการผลิตเมล็ดพันธุ์มากที่สุด และเกิดการปนพันธุ์มากที่สุด คือ ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวนี่เอง เครื่องเก็บเกี่ยวที่ไม่ได้ทำความสะอาด ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ นั่นหมายถึง มีเมล็ดข้าวจากแหล่งอื่นมาปนในข้าวพันธุ์ของเรา 1-3 ถัง หมายความว่า การปฏิบัติการป้องกันการปนพันธุ์ การกำจัดพันธุ์ที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นไม่มีเลย เพาะตอนเก็บเกี่ยวเรากับนำเมล็ดพันธุ์อื่นมาปนกับเมล็ดพันธุ์
ที่เราผลิต ซึ่งอาจจะมากกว่าที่เรากำจัดออกเสียอีก

7) ลดความชื้นและการทำความสะอาดเบื้องต้น
ความชื้นของเมล็ดมีผลต่อความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์มากที่สุด กระบวนการเคมีภายในเมล็ดจะเกิดมากหรือน้อยมีผลจากความชื้น ความชื้นที่สูงจะช่วยให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นมาก และมีผลพลอยได้ เป็นความร้อนสะสมโดยรอบเมล็ด หากอุณหภูมิสะสมสูงเกิน 51 องศาเซนเซียส เป็นเวลานานติดต่อกัน เมล็ดจะตาย หากยังไม่ถึงตากอาหารภายในเมล็ดจะถูกใช้ไปกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้น จะลดน้อยลงจนมีผลต่อความแข็งแรงของเมล็ดและอายุการเก็บรักษาด้วย ถ้าความชื้นสูงเพียงพอต่อการงอก (ข้าวใช้ความชื้นเพื่อการงอก 45% ของน้ำหนักเมล็ด) เมล็ดจะงอกเป็นต้นใหม่

การทำความสะอาดเบื้องต้น โดยการคัดแยกเศษหิน ดิน ทราย และเศษพืช ที่ติดมากกับเมล็ดจะช่วยลดแหล่งอาศัยของเชื้อโรค แมลงและไข่แมลง ได้อย่างมาก รวมทั้งลดแหล่งสะสมความชื้นอีกด้วย


2. การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
1) การควบคุมเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามหลักวิชาการ เพื่อป้องการการปนพันธุ์และการกำจัดพันธุ์ปน ให้มีได้ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน พรบ.เมล็ดพันธุ์

ด้านการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสรรค์ จะมีคณะกรรมการตรวจติดตามควบคุมกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน และมีการตรวจรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์จากแปลงขยายพันธุ์ก่อนการเก็บเกี่ยวทุกแปลง โดยการตรวจสอบในกระบวนการผลิต ได้แก่

- การตรวจสอบเครื่องจักรเครื่องมือ สำหรับปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ หลังการทำความสะอาดในการเปลี่ยนพันธุ์พืช

- การตรวจรับรองมาตรฐานแปลงขยายพันธุ์ โดยคณะกรรมการ

- การตรวจสอบสภาพการเก็บรักษา อันได้แก่ สภาพแวดล้อม การทำลายของแมลง สัตว์ ศัตรูในโรงเก็บ และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ระหว่างการเก็บรักษา

2) การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ทราบสถานะปัจจุบันของเมล็ดพันธุ์ ว่ามีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเมล็ดพันธุ์หรือไม่ ในการตรวจสอบคุณภาพนั้นทุกวิธีการจะใช้หลักสำคัญโดยการใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ในแต่ละกลุ่ม แต่ละชุด ด้วยหลักวิธีการสุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการ แล้วแบ่งตัวอย่างมาปฏิบัติการทดสอบ ได้แก่

- การทดสอบ ความชื้น เพื่อให้ทราบปริมาณน้ำในเมล็ด ว่ามีมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับการเก็บรักษาหรือไม่ ความชื้นที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว ควรอยู่ที่ ไม่เกินร้อยละ 14 ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นถึงความชื้นที่มีผลต่อปฏิกริยาเคมีภายในเมล็ด

- การทดสอบความงอก หรือความมีชีวิตของเมล็ด สิ่งมีชีวิตเมื่อเกิดแล้วก็จะมีแต่เสื่อมและตายในที่สุด การทดสอบความงอก โดยนำเมล็ดมาเพาะแล้วคำนวนหาว่ามีความงอกร้อยละเท่าไหร่ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนความงอกของเมล็ดที่เหลืออยู่ทั้งหมด

- การทดสอบความบริสุทธิ์ เพื่อค้นหาว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นมีส่วนของเมล็ดพืชพันธุ์ที่ระบุ และเมล็ดพืช พันธุ์อื่น หรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มากน้อยร้อยละเท่าไหร่

- การทดสอบสิ่งเจือปน สิ่งที่รวมอยู่กับเมล็ดพันธุ์นอกเหนือจากเมล็ดพันธุ์แล้ว สิ่งอื่นถือเป็นสิ่งเจือปนทั้งสิ้น ได้แก่ เศษดิน เศษหิน เศษชิ้นส่วนของพืช ฯลฯ การทดสอบโดยการคัดแยกส่วนที่เป็นเมล็ดพืช และสิ่งที่ปนมา คิดคำนวนหาสัดส่วนของน้ำหนักเป็นร้อยละ


3. การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์
1) คัดทำความสะอาดเบื้องต้น
เมล็ด ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในไร่นา มักจะมีส่วนที่ไม่ใช้เมล็ด ดังที่กล่าวไว้คือสิ่งเจือปน การคัดแยกในครั้งแรกนี้ จะใช้เครื่องคัดโดยใช้ตะแกรงและแรงลม วัตถุประสงค์เพื่อนำสิ่งที่ไม่ใช้เมล็ดออกก่อนจะนำเมล็ดเข้าอบลดความความ ชื้น ซึ่งจะไม่สูญเสียเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์?

2) ลดความชื้น
การลดความชื้นเมล็ดพันธุ์นั้น ใช้หลักการโดยให้ความร้อนผสมกับอากาศ ทำให้อากาศขยายตัวลอยสูงขึ้น เมื่ออากาศผ่านไปตามช่องว่างระหว่างเมล็ดจะเกิดการถ่ายเทความชื้นจากเมล็ด ที่มีมากกว่าติดไปกับอากาศ มีผลให้ความชื้นของเมล็ดลดลง

3) คัดแยกทำความสะอาด และคัดขนาด
ความสม่ำเสมอของเมล็ด มีผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต เนื่องจาก การงอก ความแข็งแรง การเติบโตของพืชที่เป็นไปพร้อมๆ กัน ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน จะช่วยลดความเสียหายจากการตกหล่น เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดแยกทำความสะอาดและคัดขนาด จะมีขนาดสม่ำเสมอ สิ่งเจือปนทั้งที่มีขนาดใหญ่กว่าและเล็กกว่าเมล็ดพันธุ์รวมถึงเศษฝุ่นผง ละอองจะมีปริมาณไม่เกินมาตรฐาน

4) คัดแยกโดยน้ำหนัก
เมล็ด ที่ได้จากการคัดแยกขนาดบางส่วน อาจจะมีเมล็ดที่ขนาดเท่ากัน แต่น้ำหนักไม่เท่ากัน จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ภายในเมล็ดมีเนื้อแป้งไม่เต็มเมล็ด (เมล็ดลีบ) หรือถูกแมลงทำลายภายในเมล็ด การคัดแยกโดยน้ำหนักจะช่วยให้เมล็ดมีความสม่ำเสมอยิ่งขึ้น

5) คลุกสารเคมี
สารเคมีสำหรับคลุกเมล็ดพันธุ์ มีประโยชน์ในการกำจัดเชื้อโรค แมลงซึ่งติดมา
กับ เมล็ด เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของโรค แมลง ระหว่างการเก็บรักษา จนถึงเวลาก่อนปลูกในไร่นา เป็นการประกันอย่างหนึ่งว่าเมล็ดพันธุ์นั้นๆ ปราศจากโรคแมลง ซึ่งอาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้

6) บรรจุถุง
เมล็ด พันธุ์ข้าวของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจะบรรจุถุงขนาดถุงละ 25 กิโลกรัม โดยมีสัญญลักษณ์ของกรมการข้าว และทุกถุงจะมีป้ายกำกับระบุ ชื่อ พืชพันธุ์ สถานที่ผลิตไว้ ซึ่งสามารถสอบทวนกลับได้

7) การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
ศูนย์ฯจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้แก่โครงการของรัฐฯ ตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และเกษตรทั้วไป สามารถติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ได้โดยตรงที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์



http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=13166


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 3:26 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 3:21 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

6. การเติบโตของพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่กุดชุม

..... ฯลฯ .....



ด้วยวัย 40 ต้น ดาวเรือง พืชผล น่าจะเรียกว่าเป็นชาวนารุ่นใหม่ของกุดชุม เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่เลือกจะกำหนดวิถีการเพาะปลูกด้วยตัวเอง ไม่ต้องการให้โรงสี นายทุน หรือบริษัทขายยาปราบศัตรูพืชมามีอิทธิพลต่อการปลูกข้าว

บ้านของดาวเรืองและสุพิศตั้งอยู่กลางนาที่บ้านกุดหิน ตำบลกำแมด ไม่ไกลจาก “ ฉางข้าวกุดหิน ” ซึ่งเป็นสาขารับซื้อข้าวของโรงสีโสกขุมปูน ทั้งคู่มีโอกาสขอคำแนะนำปรึกษากับชาวเกษตรอินทรีย์ที่อาวุโสกว่าอย่างพ่อทองอวนบ่อยๆ ทำให้หันมาปลูกข้าวระบบเกษตรอินทรีย์เต็มตัวบนที่นาทั้งหมดประมาณ 30 ไร่ เป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นบ้าน ปลูกไว้กิน คือ ข้าวนางนวล เล้าแตก ขี้ตมใหญ่ แม่ผึ้ง อีโต่น อย่างละ 1-2 ไร่ และปลูกข้าวหอมมะลิไว้ขายอีก 16 ไร่ ข้าวพื้นบ้านเหล่านี้ได้มาจากเวทีแลกเปลี่ยนพันธุกรรมพื้นบ้านเมื่อ 3-4 ปีก่อน ซึ่งเขาเข้าร่วมด้วยตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์พืชผัก โดยเฉพาะข้าว เหมือนกับชาวนาทุกคนที่เคยผ่านการปลูก ‘ ข้าวมีเบอร์ ’ -พันธุ์ปรับปรุงของทางราชการ เช่น ข้าว กข 6 แล้วพบว่าปลูกได้ไม่นานเมล็ดข้าวก็แข็ง ไม่หอมเหมือนเดิม ทั้งยังอ่อนแอต่อโรค แมลง หากมีหนอนกอ หรือเพลี้ยไฟลงก็จะเสียหายหนัก ขณะเดียวกัน ก็เห็นว่าชาวนาไทยละทิ้งวัฒนธรรมการปลูกข้าวดั้งเดิม ทำให้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านสูญหายไปมาก

“ ตอนนี้เมล็ดพันธุ์ผักอื่นๆ เขาเอาไปอยู่ในกระป๋องหมดแล้ว ก็เหลือแต่พันธุ์ข้าวถ้าเราไม่ช่วยกันรักษาไว้ก็จะไม่มีอะไรเหลือ ” ดาวเรืองพูด

เขายังเชื่อด้วยว่าข้าวพื้นบ้านแต่ละชนิดมีคุณค่าทางอาหารแบบสมุนไพร ตัวอย่างจากข้าวที่คนแถบสุรินทร์หรือเขมรกินเป็นประจำซึ่งเมล็ดสีแดงนั้น พวกเขาบอกว่าหากไม่ได้กินจะเป็นโรคปวดขา “ ผมก็มาคิดต่อว่าน่าจะจริง เพราะข้าวพื้นบ้านไม่ได้ถูกพัฒนามาด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่มันพัฒนาพันธุ์มาด้วยตัวเอง การกินข้าวหลายๆ พันธุ์น่าจะได้รับสารอาหาร วิตามินที่หลากหลายเพียงพอต่อร่างกาย ”

ดาวเรืองคิดว่าควรจะพิสูจน์เรื่องนี้ด้วยตัวเองจึงหันมาปลูกและพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ทั้งยังมีความสนใจจะผสมพันธุ์ข้าวเพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่ต้องการ เป็นต้นว่าหอม กินอร่อย ทนทานโรค-แมลง แต่การผสมพันธุ์ข้าวต้องใช้เวลา อย่างน้อยจะต้องรู้เสียก่อนว่าเมล็ดพันธุ์ที่ตัวเองมีอยู่เป็นพันธุ์แท้หรือไม่ จึงต้องปลูกคัดพันธุ์ก่อนหลายๆ รุ่นเพื่อให้ได้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เป็นพันธุ์แท้

เขากล่าวว่าโรคและแมลงโดยเฉพาะหนอนกอ ที่ชาวอีสานเรียกว่า “ ข้าวตายขาว ” เป็นปัญหาสำคัญของต้นข้าว ในข้าวพันธุ์พื้นบ้าน แม้หนอนกอจะชอบเป็นกับข้าวขี้ตมใหญ่มาก (เชื่อกันว่าเพราะรสชาติอร่อย) แต่สำหรับข้าวพื้นบ้าน ปลูกระบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งแปลงนามีดินร่วนซุย จะมีลำต้นแข็งแรงทำให้ไม่เป็นปัญหามากจนถึงกับต้องหาทางแก้ไข ซึ่งเมื่อเทียบกับข้าวพันธุ์ปรับปรุงซึ่งปลูกระบบเคมีแล้วจะมีปัญหามากกว่า

ชาวบ้านบางคนเชื่อว่าการทำนาปีละครั้งในภาคอีสานเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยตัดวงจรชีวิตของหนอนกอ ขณะบางคนเชื่อว่าในฤดูแล้งหลังฤดูเก็บเกี่ยว ผีเสื้อหนอนกอจะไปวางไข่ไว้ที่ตอซังข้าวและต้นงวงช้าง แล้วกลายเป็นผีเสื้อเพื่อวางไข่อีกช่วงต้นฤดูทำนา อย่างไรก็ตาม พวกเขาบอกว่าถ้าปีไหนฝนตกต้องตามฤดูกาล ปริมาณน้ำเพียงพอ ต้นข้าวจะเติบโต แข็งแรงก่อนระยะที่ไข่จะฟักเป็นตัว จึงไม่เกิดปัญหาใดๆ ส่วนใหญ่หนอนกอจะเป็นปัญหากับข้าวที่ปักดำช้า หรือปลูกไม่ทันมากกว่า

อย่างไรก็ดี เมื่อดาวเรืองรับรู้ข้อมูลว่าขณะนี้ ในต่างประเทศกำลังมีการพัฒนาข้าวจีเอ็มโอหลายสายพันธุ์ และหนึ่งในนั้นเป็นพันธุ์ที่ผลิตพิษฆ่าหนอนกอข้าว เขาเกิดความวิตกว่าหากข้าวที่โฆษณาว่ามีพิษหนอนกอเข้ามาขายก็จะยิ่งเกิดความสับสน เพราะคิดว่าจะต้องมีคนจำนวนมากอยากทดลองปลูก และหากผลิตพิษฆ่าหนอนกอได้จริงในระยะแรกก็ยิ่งจะมีคนชอบ โดยที่เรายังไม่รู้ผลกระทบของมันเลย เป็นต้นว่า สารพิษฆ่าแมลงที่ถูกใส่ลงไปในข้าวด้วยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม อาจทำให้เกิดแมลงชนิดใหม่ที่ต้านทานต่อสารชนิดนั้นขึ้น แล้วจะไม่ดีกว่าหรือ ถ้าจะให้ต้นข้าวเหล่านี้ต่อสู้กับโรคและแมลงศัตรูต่างๆ ด้วยตัวของมันเอง

ถาวร พิลาน้อย กับเมียและลูกชาย ทำไร่นาสวนผสมระบบเกษตรอินทรีย์อยู่ห่างจากโรงสีบ้านโสกฯ ประมาณ 20 กิโลเมตร เรียกกันว่า บ้านโนนยาง

ที่นาผืนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิไว้ขาย ปลูกข้าวพื้นบ้านไว้กิน 5 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวเล้าแตก ดอลาว หมาหอน ข้าวเหนียวแดง รวมถึง ‘ ข้าวศรีถาวร ’ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่กำลังปรับปรุงขึ้นใหม่ และยังแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกข้าวเพื่อขยายพันธุ์อีกประมาณ 30 ชนิด ส่วนที่ดินอีกแปลงอยู่ห่างออกไปถึงชายป่า เป็นที่ดอนขนาดประมาณ 15 ไร่ ทดลองปลูกข้าวศรีถาวรไว้ 1 ไร่เศษ มอบให้ลูกชายดูแล

พ่อถาวรนั้นมีประสบการณ์ มีภูมิรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับข้าวอยู่กับตัว ทว่าไม่ได้เล่าเรียนในระบบจึงไม่ได้จดบันทึกข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบ ทางด้านแก่นคำหล้า หรือ “ ตุ๊หล่าง ” ลูกชาย วัย 22 ปี หลังจบชั้น ม.6 ก็เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรเต็มตัว ด้วยใจที่รักการทำไร่ทำนามาแต่เด็ก ทั้งยังสนใจเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มสันติอโศกตั้งแต่อายุ 18 ปี

ตุ๊หล่างเล่าถึงเหตุที่สนใจอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านว่า ในรุ่นตามาถึงรุ่นแม่ยังสืบทอดข้าวพื้นบ้าน เท่าที่จำได้ก็ข้าวดอลาว ข้าวหมากม่วย แต่ขาดช่วงไปเนื่องจากหันไปปลูกข้าวมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข 6 ซึ่งเป็นพันธุ์ปรับปรุงของทางการเหมือนคนอื่นๆ ส่วนหนึ่งเพราะโรงสีรับซื้อแต่ข้าวมะลิ 105 พอถึงปี 2540 เกิดภาวะฝนแล้งอย่างหนัก ได้ข้าวน้อยจนไม่พอกิน ฤดูต่อมา แม่ของเขาจึงต้องไปขอพันธุ์ข้าวดอ หรือข้าวเบาที่จะเก็บเกี่ยวได้เร็วมาปลูก เพื่อจะได้มีข้าวกินระหว่างฤดู ก่อนข้าวหนักหรือข้าวปีจะสุก

ตอนนั้นทุกคนจึงเริ่มคิดว่าขืนปลูกข้าวเพียงสายพันธุ์เดียว ต่อไปโอกาสอดข้าวอาจเกิดขึ้นอีก จึงสนใจปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ ให้มีข้าวหลายระดับอายุ ตั้งแต่ เบา กลาง จนถึงหนัก จะได้ทยอยเก็บเกี่ยวตามกำลังแรงงานในครอบครัว และข้าวแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกัน เป็นต้นว่า ข้าวเบาสุกแล้วเมล็ดร่วงง่าย หากเกี่ยวไม่ทันจะเสีย เขาจึงไม่ปลูกมากนัก

ระยะต่อมาครอบครัวพิลาน้อยก็เริ่มปลูกไม้ยืนต้น ปลูกสมุนไพร ทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม แต่ขณะนั้นยังไม่มีความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ หรือการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์และธาตุอาหารในดิน เพิ่งมาทำเต็มตัวในปี 2544 หลังจากตุ๊หล่างเรียนจบชั้น ม.6 และไปอบรมความรู้เพิ่มเติมเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำน้ำหมักชีวภาพที่จังหวัดระยอง


ปี 2544 เป็นปีที่โสกขุมปูนจัดเวทีแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าว ตุ๊หล่างตามพ่อไปร่วมงานและได้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านมาเพิ่มอีกมาก อย่างเช่น ข้าวเล้าแตก หมาหอน อีโต่น เหนียวดำ นอกจากพันธุ์ข้าวที่ขอปัน ขอซื้อมาแล้ว ตุ๊หล่างยังได้เชื้อพันธุ์ข้าวอีกนับสิบ จากการขอพันธุ์ข้าวตัวอย่างที่คณะทำงานของชมรมรักษ์ธรรมชาตินำมาจัดบอร์ดนิทรรศการ ซึ่งเขาบอกว่าบางพันธุ์ขอมาได้เพียงสองสามเมล็ดเท่านั้น

แต่ข้อพึงระวังคือ สำหรับข้าวที่ได้จากคนอื่นบางครั้งจะมีข้าวปนอยู่มาก ดังนั้นก่อนที่สองพ่อลูกจะนำมาปลูกจึงต้องคัดเลือกอย่างละเอียด ทั้งจากลักษณะภายนอกและแกะเปลือกออกดูความสมบูรณ์ ดูลักษณะที่ตรงกับสายพันธุ์ จากนั้นค่อยนำเมล็ดข้าวกล้องไปเพาะกล้าต่อไป



ทั้งสองตั้งใจจะปลูกข้าวให้ได้หลากหลายสายพันธุ์ ขณะเดียวกันก็ต้องการศึกษาว่า ข้าวพันธุ์ใดเหมาะกับดินชนิดใดที่สุด เผื่อว่าขยายพันธุ์แล้ว จะได้แบ่งให้ญาติพี่น้องหรือคนที่ต้องการนำไปปลูก และยังสนใจการผสมพันธุ์ข้าว เพื่อปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีธรรมชาติ


“ข้าวศรีถาวร ” ที่เอ่ยถึงแต่ต้นก็เป็นผลผลิตจากพ่อพันธุ์ คือ ข้าวเล้าแตก และแม่พันธุ์ ข้าว กข 6 ซึ่งตุ๊หล่างปรับปรุงพันธุ์ขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2544 จากนั้นก็คัดพันธุ์ปลูกต่อเนื่องมาจนถึงขณะนี้ได้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวรุ่นที่ 4 แล้ว


“ ตอนนั้นยังไม่รู้จักเทคนิคการผสมพันธุ์ข้าววิธีอื่น เคยได้ยินแต่ที่ตาผมบอกว่าให้เอาข้าวมาปลูกใกล้ๆ กันแล้วเก็บเมล็ดจากที่ออกรวงไปปลูก หรือวิธีผสมพันธุ์ข้าวแบบคนโบราณ คือ จะจับดอกข้าวมาใส่กัน คิดว่าน่าจะทำลองดู...ก็เลือกข้าวเหนียวพันธุ์เล้าแตกกับ กข 6 ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์หนักเหมือนกัน ออกดอกช่วงเดียวกัน ข้าวเล้าแตกเป็นข้าวพื้นบ้านที่ให้ผลผลิตสูง แต่เมล็ดใหญ่และบางคนบอกว่ามันจะเหนียวมากเกินไป ส่วนข้าว กข 6 กลิ่นหอม อ่อนนุ่มดี แต่ปลายปีหุงกินจะแข็ง ผิดกับข้าวเล้าแตกยังคงนุ่มเหมือนช่วงต้นปี



“ วิธีการผสมเราก็แยกใส่กระถางมาอย่างละต้น วางให้รวงข้าวใกล้กัน เพื่อให้ดอกข้าวของทั้งสองต้นผสมเกสรกันตามธรรมชาติ เราไม่ได้ทำตามหลักวิชา วิธีนี้เราจะไม่รู้ว่าเมล็ดไหนถูกผสม (ข้ามพันธุ์) แล้ว เมื่อไม่รู้ว่าเมล็ดไหนถูกผสมก็เก็บมาเพาะทั้งหมด แล้วคัดเอาต้นที่มีลักษณะแตกต่างจากต้นพ่อ-แม่ ผลที่ได้รุ่นแรก บางต้นก็เหมือนพ่อ บางต้นก็เหมือนแม่ แต่ต้นที่คัดมาปลูกขยายพันธุ์นี้ไม่เหมือนใคร ” ตุ๊หล่างอธิบาย



ลักษณะของข้าวที่ได้มาใหม่คือจะออกรวงช้ากว่าข้าว กข 6 และเมล็ดใหญ่กว่า แต่ขนาดของมันก็ยังเล็กและยาวกว่าข้าวเล้าแตก นอกจากนั้นลักษณะที่ดี คือ กลิ่นหอม หุงสุกแล้วนุ่มมาจากข้าว กข 6 ด้วย จึงน่าจะเป็นที่ต้องการของตลาดพอสมควร

“ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แต่แรก ผมแค่อยากได้ข้าวพันธุ์ที่หอม กินอร่อย ส่วนความต้านทานโรคนั้นข้าวเล้าแตกมีความต้านทานดีอยู่แล้ว คิดว่าได้จากพ่อมาสักครึ่งก็พอใจ ปรากฏว่าออกมาดี...น่าพอใจ ข้าวที่คัดได้ทดลองปลูกรุ่นแรกจนถึงขณะนี้เป็นรุ่นที่สามก็ไม่มีปัญหาเรื่องโรค โดยเฉพาะหนอนกอข้าวที่เป็นศัตรูตัวสำคัญ หรือเพลี้ยไฟก็ไม่กลัว ปีนี้ก็มีเพลี้ยไฟระบาด แต่แปลงข้าว ‘ ศรีถาวร ’ ไม่โดน เรื่องความสูงของต้นข้าว การแตกกอได้จากพ่อ (เล้าแตก) มาหมดเลย สำหรับข้าวรุ่นแรกจะแตกกอเฉลี่ยกว่า 20 ต้น จำนวนเมล็ดข้าวเฉลี่ยประมาณ 200 กว่าเมล็ดต่อรวง ”

หนุ่มนักวิจัยไทบ้านเล่าและบอกว่า ปีที่แล้วมีญาติมาลองกินข้าวที่ตั้งชื่อกันสนุกๆ ว่า “ศรีถาวร” แล้วพากันว่าอร่อย ข้าวที่ปลูกได้ก็ฝากให้ญาติๆ ไปกิน สำหรับความสม่ำเสมอของสายพันธุ์นั้นจะต้องรอดูต่อไปอีกสักปีสองปี


http://www.facebook.com/note.php?note_id=182615141795177&comments
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 3:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7. "ต้นกล้า"กลางนา รวงข้าวแห่งความหวัง


เด็กหญิงนฤมล เรืองตื้อ หรือน้องหลิน สาวน้อยวัยประถมปลาย แห่งชุมชนบ้านหาดเค็ด ตำบลเมืองจัง กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน หากมองเผินๆ น้องหลินก็เป็นเพียงเด็กหญิงต่างจังหวัดตัวเล็กธรรมดาๆ คนหนึ่งเท่านั้น แต่น้องหลินไม่ธรรมดา เพราะน้องหลินมีความรู้ในเรื่องๆ หนึ่งดีเป็นพิเศษ เรื่องใกล้ๆ ตัวคนไทยที่หาคนรับรู้ได้น้อยเต็มที เรื่องของ "ข้าว"

ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย อาชีพหลักของเกษตรกรไทยเราแต่เดิมคือชาวนา ผู้เอาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน สู้อุตส่าห์ลำบากลำบนทำนาเพาะปลูกข้าวมาให้เราได้กินกัน แต่เด็กไทยทุกวันนี้รู้จักข้าวก็แค่เพียงข้าวสวยร้อนๆ สีขาวน่ากินที่อยู่บนจานเท่านั้น แม้แต่ชาวนาทุกวันนี้รู้จักข้าวที่ตัวเองปลูกดีแค่ไหน

หวัน เรืองตื้อ พี่หวันหรือพ่อหวันของน้องหลิน ชาวนาผู้สืบทอดอาชีพนี้มาแต่บรรพบุรุษ ผู้พยายามเรียนรู้และรู้จักข้าวที่ตนเองปลูกอย่างแท้จริง จนมีความสามารถในการเพาะขยายปรับปรุงพันธุ์ข้าว ฉายาของพี่หวันคือชาวนานักปรับปรุงพันธุ์ข้าว


"เริ่มต้นจากที่เราประสบปัญหาเรื่องผลผลิตข้าวตกต่ำ ข้าวที่เราปลูกเป็นโรค" พี่หวันบอกเล่าบทเริ่มต้นของเรื่อง "เมื่อก่อนเราปลูกข้าวเหนียว กข 6 ของทางราชการ แต่เจอปัญหาเรื่องต้นข้าวอ่อนแอ ล้มง่ายเกินไป ทั้งยังแมลงศัตรูข้าวอีก ช่วงนั้นเจอโรคไหม้จากภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำระบาด แต่สังเกตพบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมือง คือ หอมทุ่ง กลับไม่เป็นอะไร ก็เลยลองปลูกข้าวทั้งสองผสมกันในแปลงนา ให้ต้นข้าวมันช่วยพยุงกันไม่ให้มันล้มและหลอกแมลงได้ด้วย"


วิธีการดังกล่าวได้ผลในระดับหนึ่ง ทำอยู่สัก 2-3 ปีก็เจอปัญหาเรื่องผลผลิตและการจัดการที่ยุ่งยากเกินไป "ช่วงปีพ.ศ.2541 มีโอกาสไปดูงานเรื่องเทคนิคการผสมพันธุ์ข้าวที่ฟิลิปปินส์ และได้รับความรู้ใหม่ๆ จากผู้รู้เรื่องข้าว" พี่หวันเล่าว่าหลังจากนั้นก็เลยคิดลองปรับปรุงพันธุ์ข้าวด้วยตัวเอง

มานะพยายามอยู่นานจนทุกวันนี้จึงได้ข้าวเหนียวพันธุ์ผสม ที่เรียกชื่อกันเล่นๆ ว่า เหนียวหวัน 1 เกิดจากการผสมระหว่างข้าวเหนียว กข 6 และข้าวเหนียวหอมทุ่งนั่นเอง โดยเอาคุณสมบัติเรื่องลำต้นที่แข็งแรงและต้านทานโรคและแมลงจากข้าวหอมทุ่ง มาผสมกับคุณสมบัติของเรื่องการให้ผลผลิตที่สูง ได้เมล็ดข้าวที่รับประทานอร่อย หอมและอ่อนนุ่ม


"คิดง่ายๆ ว่าเอาเมล็ดข้าวของ กข 6 ไปไว้บนต้นของหอมทุ่งนั่นเอง" พี่หวันสรุปแบบง่ายๆ ให้ฟัง


ข้าวพันธุ์เหนียวหวัน 1 ใช้เวลาพัฒนาคัดเลือกพันธุ์ ตั้งแต่การผสมรุ่นแรกอยู่นานจนถึงตอนนี้ 8 ปี รวมทั้งหมด 7 รุ่นแล้ว กว่าจะได้พันธุ์ข้าวที่นิ่งและมีคุณสมบัติที่ต้องการ

ว่าแต่การผสมพันธุ์ข้าวทำอย่างไรล่ะ เรื่องนี้น้องหลินลูกสาวคนสวยของพ่อหวัน เรียนรู้เรื่องนี้มาจากพ่อเป็นอย่างดี แต่ต้องพาไปดูและทดลองทำกันถึงที่นาของพ่อเลยทีเดียว

ที่นาของพ่อหวันทุกวันนี้แทบจะกลายเป็นธนาคารพันธุ์ข้าว เพราะมีพันธุ์ข้าวมากมายรวบรวมอยู่ที่นี่ ทั้งยังถือเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการผสมพันธุ์ข้าวและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวอีกด้วย มีชาวนาจากหลากหลายที่เดินทางมาศึกษาดูงานที่นี่แทบจะตลอดเวลา

น้องหลินบอกว่า "อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการผสมพันธุ์ข้าวก็มีกรรไกร เข็มปลายแหลมกับกระดาษว่าวสีขาวค่ะ" การผสมพันธุ์ข้าวต้องเป็นช่วงที่ข้าวบานดอกเท่านั้น วิธีการก็คือ คัดเลือกต้นข้าวที่จะเอามาเป็นแม่พันธุ์ออกมา ตัดแต่งต้นข้าว ใบธงข้าวและรวงข้าวให้เหลือแต่รวงข้าวที่ต้องการ


"จากนั้นเราก็ทำหมันเมล็ดข้าว" ซึ่งก็คือ การตัดเมล็ดข้าวด้วยกรรไกรที่เตรียมไว้ในแนวเฉียง ก็จะเห็นดอกข้าวข้างในซึ่งข้าวหนึ่งดอกจะมีเกสรตัวผู้ 6 อันและเกสรตัวเมียอีก 1 อัน จากนั้นก็ใช้เข็มเขี่ยเกสรตัวผู้ออกไป

ได้ข้าวตัวแม่ที่เป็นหมันแล้ว ก็เอารวงข้าวตัวพ่อซึ่งต้องบานดอกอย่างเต็มที่เช่นกัน เอามาเขย่าๆ ปัดๆ ลูบกับรวงข้าวต้นแม่ที่ทำหมันแล้ว ให้เกสรตัวผู้ของข้าวต้นพ่อตกลงไปผสมกับเกสรตัวเมียของข้าวต้นแม่นั่นเอง

จากนั้นก็เอากระดาษว่าวสีขาวที่เตรียมไว้ ห่อรวงข้าวต้นแม่ไว้ ที่ต้องเป็นกระดาษสีขาวก็เพื่อให้แสงลอดผ่านไปได้นั่นเอง เท่านี้ก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้นการผสมพันธุ์ข้าว รอเวลาอีกประมาณหนึ่งถึงสองอาทิตย์ก็มาเปิดออกดูว่าข้าวที่ผสมไว้ติดหรือเปล่า ถ้าติดก็จะเห็นเป็นเมล็ดข้าวสีขาวงอกออกมาจากเปลือกข้าวที่ถูกตัดออกไป

ถือว่าเป็นวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อนและเข้าใจยากทีเดียว หลังจากนั้นต้องเอาเมล็ดข้าวที่ได้ไปเพาะพันธุ์ต่อและต้องผ่านการคัดเลือกพันธุ์อีกหลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้ได้ข้าวคุณสมบัติตามที่ต้องการ



ติดตามชมเรื่องราวการผสมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวดังกล่าว ได้ในรายการทุ่งแสงตะวัน ตอน "นักปรับปรุงพันธุ์ข้าว" เวลาเช้า 06.25 น. วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคมนี้ ทางไทยทีวีสีช่องสาม น้องหลินทายาทชาวนาตัวน้อยจะเป็นไกด์พาพี่นก-นิรมล เมธีสุวกุล ย่ำเท้าท่องทุ่งนาดูพันธุ์ข้าวหลากหลายแห่งบ้านหาดเค็ด จังหวัดน่าน




http://www.whitemedia.org/wma/content/view/407/10/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 3:54 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

8. พันธุ์ข้าวท้องถิ่นคืนนา ชาติพ้นวิกฤต ฟื้นชีวิตชาวนา


ปัจจุบันเป็นช่วงวิกฤตข้าว ทั้งวิกฤตเรื่องพันธุ์ข้าว ที่ดิน หากเราผ่านวิกฤตนี้ไปไม่ได้ ชาวนาก็จะสูญพันธุ์ หากเราไม่ปรับตัวชาวนาไทยจะอยู่รอดยาก ฉะนั้นเรื่องง่ายๆ คือ พันธุ์ข้าวที่เรามีอยู่เป็นขุมทรัพย์ ที่ถูกแช่แข็งมา 30 ปี ถึงเวลาที่จะต้องกลับคืนผืนนาได้แล้ว

เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา ณ อาคารวิทยบริการ ม.เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ในงานมหกรรมข้าวคืนนา พาแม่โพสพกลับบ้าน มีการอภิปรายเรื่อง “พันธุกรรมข้าวพื้นเมืองกับความมั่นคงทางด้านอาหาร” โดยนายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ สำนักข่าวประชาธรรมเห็นว่าเนื้อหาในประเด็นดังกล่าวน่าสนใจ จึงเรียบเรียงมาให้ได้อ่าน

...............................................

เริ่มจากสถานการณ์จริง กว่า 60 ปีที่ผ่านมา ในพื้นที่นาหลังบ้านจะปลูกพันธุ์ข้าวพื้นบ้านทั้งหมด แต่เมื่อตนเองเรียนจบตอนประมาณปี 2512 ที่บ้านก็อยากจะรวยเพราะทำนา จึงเริ่มปลูกข้าวพันธุ์ IR 8 ที่เป็นพันธุ์ข้าวที่มีการปรับปรุงพันธุ์มาใช้เราปลูกกันในหน้าแล้ง ข้าวพันธุ์ IR 8 นี้ในพื้นที่อื่น ๆ ปลูกกันในหน้าฝน ลองทำในพื้นที่นา 200 ไร่ แต่ว่ามันไม่ได้ผล คือ ต้นเตี้ย ไม่ทนโรค ใบสีส้ม เมล็ดข้าวสั้นนิดเดียว หุงกินก็แฉะ แต่ภายในปีสองปี กรมการข้าว ผสมพันธุ์ข้าว กข 1 กับ กข 3 ซึ่งพันธุ์ กข 1 คนนิยมปลูกมากกว่า แล้วก็มีโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวในเขตชลประทาน เอาพันธุ์ข้าว กข 1 ไปแลกกับชาวบ้านในเขตชลประทาน ซึ่งเป็นโครงการที่ทำให้พันธุ์ข้าวท้องถิ่นในเขตชลประทานหมดไป

ตั้งแต่ปี 2520 พันธุ์ข้าวท้องถิ่นในเขตชลประทานที่ จ.สุพรรณบุรี จึงไม่มีเหลือเลย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่พันธุ์ข้าวท้องถิ่นหายไป และที่สำคัญคือ มันเกิดขึ้นจากโครงการของรัฐ เกิดจากพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่เอากลับไปแทนที่ของเก่า แล้วของเก่านั้นบางส่วนก็ถูกเก็บอยู่ในธนาคารเมล็ดพันธุ์ บางส่วนก็หายไปอย่างถาวร แล้วมันก็ลุกลามไปสู่พื้นที่เขตน้ำฝน เช่น ที่สุรินทร์ก็มีการนำเอาข้าวหอมมะลิ 105 ไปแลกกับพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ข้าวพื้นบ้านในเขตที่ปลูกข้าวหอมมะลิ 105 นั้น ส่วนมากจึงหายไปแต่ก็ยังไม่หมด เพราะชาวบ้านบางส่วนก็ยังเก็บข้าวที่ตนเองปลูกเอาไว้กินอยู่ แต่ปลูกข้าวหอมมะลิเพื่อขาย

เพราะฉะนั้น ถ้าหากถามว่าพันธุ์ข้าวที่เคยมีอยู่ในท้องถิ่นมีอยู่เท่าไหร่ หายไปเท่าไหร่และพันธุ์ข้าวที่หายไปนั้นมีอยู่ในธนาคารเมล็ดพันธุ์หมดหรือเปล่า อันนี้ตอบไม่ได้ ซึ่งตนเองก็พยายามที่จะหาพยานหลักฐานมาแต่ก็ไม่มีใครสามารถรู้ได้ ถ้าหากนับเพียงแค่ พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำของ จ.อ่างทอง สุพรรณบุรี อยุธยา ที่นับพันธุ์ข้าวได้ง่ายที่สุดก็ยังนับยาก พันธุ์ข้าวนาดำแบบอีสานยิ่งยากขึ้นไปอีก แต่ว่าที่ยากที่สุดคือ ข้าวในไร่หมุนเวียน ที่พี่น้องปลูกในภูเขา ซึ่งมีมากมาย แต่ถ้าหากถามว่าปัจจุบันนี้เหลือเท่าไหร่นั้นเราพอที่จะตอบได้ก็คือ ต้องไปเช็คจากธนาคารเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 6,000 ชื่อ หมายความว่าอย่างน้อยจะต้องมีอยู่ 6,000 สายพันธุ์แน่ ๆ อยู่แล้ว แต่ว่าบางชื่อก็ซ้ำกัน

ส่วนคำถามที่ว่าชื่อที่หายไปเป็นจำนวนเท่าไหร่นั้น ประเมินได้อย่างใกล้เคียงที่สุด คือหากเราเอาตัวเลขตั้งแต่เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 100 ปี ตอนปี 2425 โดยมีการฉลองใหญ่ มีการนำข้าวจากทั่วประเทศมาจัดแสดง 100 สายพันธุ์ มีทั้งนาดำ ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวไร่ ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า เราลองเอามาเปรียบเทียบกับรายชื่อที่มีอยู่ในธนาคารเมล็ดพันธุ์ ปรากฏว่ารายชื่อเมื่อ 100 ปีก่อน มันหายไป 50% คือ ในธนาคารเมล็ดพันธุ์มีแค่ 50 ชื่อ ฉะนั้นเมื่อประมาณการคร่าว ๆ เราจึงมีพันธุ์ข้าวมากกว่าในธนาคารถึงหนึ่งเท่าตัว คือ ในสมัยก่อนเราอาจจะเคยมีพันธุ์ข้าวมากกว่า 12,000 ชนิด พันธุ์ข้าวที่หายไปก็หายไปอย่างถาวร แต่อาจจะมีพันธุ์ข้าวเจ้าของภาคกลางบางพันธุ์ที่อยู่ในกัมพูชา ข้าวเหนียวภาคอีสานอาจจะตามหาได้ในประเทศลาว และ ประเทศลาวนั้นเป็นประเทศที่ฝากข้าวในใน อีรี่.เป็นอันดับ 2 ของโลก


พันธุ์ข้าว 50% ในท้องถิ่นเองก็เหลืออีกเพียงไม่กี่สายพันธุ์ อย่างเช่นที่สุพรรณบุรีเหลือไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้น ความสูญหายในท้องถิ่นก็มากขึ้นเรื่อย ๆ และพันธุ์ข้าวที่เก็บในธนาคารเองก็น่าเป็นห่วง จุดอ่อนข้อหนึ่งก็เพราะว่าทำให้พันธุกรรมแคบลง แต่ในพันธุ์ข้าวอาจเห็นไม่ชัด ในพืชตระกูลถั่วจะเห็นได้ชัดมาก ทำให้ความหลากหลายหายไป อีกอย่างหนึ่งคือพันธุ์ข้าวทุกพันธุ์ถูกนำเอามารวมที่เดียว มันเสี่ยงมากกว่าการเก็บเอาไว้ในหลาย ๆ ที่ และธนาคารเมล็ดพันธุ์ก็มีอยู่เพียงแห่งเดียวเก็บพันธุ์ข้าวไว้เป็นหมื่นสายพันธุ์ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก็มหาศาล เดือนละเป็นแสนบาท

การเก็บในธนาคารข้าวนั้น ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า เป็นการเก็บนอกสถานที่ ส่วนที่ปลูกในไร่นา เรียกว่าเป็นการเก็บในสถานที่ ซึ่งตามทฤษฎีถือได้ว่า เป็นการเก็บพันธุข้าวที่ดีที่สุด คือ พันธุ์ข้าวเกิดที่ไหน ก็ควรจะไปปลูกที่นั่น เพราะว่ามันสามารถปรับตัวได้หมาะสมที่สุด และเป็นการกระจายพันธุ์ให้คนหลายคนได้รับผิดชอบ ดูแลใช้ประโยชน์จากมัน นักวิชาการส่วนมากจะมองว่าพันธุ์ข้าวพื้นบ้านเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตไม่ดี ซึ่งสิ่งที่เป็นอยู่นั้นมันทำให้เราไม่เห็นคุณค่าของข้าวพื้นบ้าน

ข้าวที่กรมการข้าวผสมพันธุ์ออกมานั้นเป็นพันธุ์ข้าว กข. ที่เชื่อว่าเป็นข้าวที่มีผลผลิตสูงนั่นก็หมายความว่าพันธุ์พื้นบ้านที่เคยปลูกกันเก่า ๆ เป็นพันธุ์ที่มีผลผลิตต่ำ ฉะนั้นจึงไม่แปลก เมื่อมีการเข้าไปส่งเสริม นักวิชาการเกษตรก็มักจะส่งเสริมให้ปลูกพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง เกษตรกรเองก็เชื่อง่าย แล้วนักวิชาการก็ยังเชื่ออยู่จนมาถึงปัจจุบันนี้


ผมมีตัวอย่างเกษตรกรที่ปลูกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้ 1,600 กิโลต่อไร มากกว่าพันธุ์ข้าวผสม ซึ่งจนถึงป่านนี้นักวิชาการกรมการข้าว กรมวิชาการ ยังไม่เคยไปที่บ้านของแกเลย ผลัดแล้วผลัดอีก เขาไม่เชื่อว่าสามารถทำได้ ยิ่งไม่ใส่ปุ๋ยด้วยแล้วยิ่งไม่น่าที่จะเชื่อเข้าไปใหญ่ ตรงนี้เป็นความคิดของนักวิชาการ สะท้อนได้ว่าความคิดเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวพื้นบ้านนั้นเป็นแบบไหน บอกเราได้ว่าถ้าหากพันธุ์ข้าวพื้นบ้านไม่ได้อยู่ในมือของชาวนาก็ไม่มีอนาคต


ในเวลานี้สถานการณ์ที่ข้าวกำลังแพง สิ่งแวดล้อมแปรปรวน โรคแมลงระบาด อากาศวิกฤติ พันธุ์ข้าวต้องการการปรับตัวอีกเยอะถึงจะสามารถอยู่รอดได้ จากการสำรวจฤดูกาลที่ผ่านมาพันธุ์ข้าวเป็นโรคเยอะที่สุด โรคที่ไม่เคยเจอเมื่อหลายปีที่ผ่านมาก็เจอ เพราะว่าอากาศมันเปลี่ยนแปลงไป มันวิกฤต แล้วสถานการณ์โรคเพลี้ยกระโดดระบาดก็กำลังวนกลับมาเป็นวงรอบอีกครั้ง ไม่มีใครสักคนออกมาเตือนเลยว่าวงจรของเพลี้ยกระโดดกำลังกลับมาอีกครั้ง มีการใช้ปุ๋ยยาที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น อากาศที่แปรปรวนไปทุก ๆ วัน ฉะนั้นชาวบ้านจึงเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าราคาข้าวดีก็จริงแต่ว่าไม่มีข้าวจะขายเพราะโดนเพลี้ยกินไปหมด มันอาจจะเป็นอย่างนั้น เพราะว่าพันธุ์ข้าวไม่หลากหลาย เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่จะนำเอาพันธุ์ข้าวที่หลากหลายมาใช้ให้เป็นประโยชน์

จึงเสนอหลักการว่า ชาวนาไทยต้องเอาข้าวจากธนาคารข้าวไปปลูกในแหล่งที่จากมา กรมการข้าวต้องนำข้าวที่เก็บตัวอย่างต้องมาคืน ธนาคารข้าวก็ควรที่จะทำหน้าที่เป็นตัวสำรองหรือกองหนุน โดยตัวจริงก็คือ ชาวนาในไร่นาที่จะต้องเอาไปปลูก ต้องเอาทุก ๆ ตัวอย่างคืนให้จากแหล่งที่มา คืนให้สุพรรณไปปลุก คืนอยุธยา คืนพิจิตร เก็บที่ไหน คืนที่นั่น แล้วชาวนาก็จะเอาไปใช้ประโยชน์หรือว่ารักษาต่อ ๆ ไป แต่ผมไม่ได้หมายความว่ากรมการข้าวจะต้องคืนข้าวทุกเม็ดกลับไปท้องถิ่นหมด


และถ้าหากเราเอาข้าวในธนาคารข้าวที่มี 10,000 ตัวอย่างมาปลูก ผมเชื่อว่าภายในอีกไม่กี่ปีเราจะมีพันธุ์ข้าวเพิ่มมากขึ้นอีกเป็นหมื่นตัวอย่าง เพราะว่ามันจะผสมกันเองกลายเป็นตัวอย่างใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ อย่างเช่น ข้าวหอมมะลิแดง ที่ทางกลุ่มอโศกเชื่อว่าสามารถแก้โรคเบาหวานได้ ก็เกิดขึ้นมาเอง ถามว่าแค่พันธุ์เดียวที่เกิดขึ้นมาคุณค่าของมันเกิดขึ้นมาอีกเท่าไหร่ ความหลากหลายของประเทศเราก็จะมากขึ้น ซึ่งมันก็จะส่งผลดีกับหลาย ๆ ส่วน แต่ว่าเราก็ต้องการความร่วมมือจากหลาย ๆ ส่วนทั้งกรมการข้าว ทั้งชาวนา


ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงวิกฤตของข้าวที่เราหนีไม่พ้น วิกฤตเรื่องพันธุ์ข้าว ที่ดิน และอื่น ๆ อีก ถ้าหากว่าเราไม่สามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้ ชาวนาก็จะสูญพันธุ์ แล้วเรายังต้องแข่งกับประเทศอื่นอีกมหาศาล กัมพูชาประกาศส่งออกล้านกว่าตัน เวียดนามก็จะประกาศอีก ฉะนั้นถ้าหากเราไม่ปรับตัวโอกาสที่ชาวนาไทยอยู่รอดนั้นยาก เพราะฉะนั้นเรื่องง่ายเรื่องเดียว คือ พันธุ์ข้าวที่เรามีอยู่เป็นขุมทรัพย์ ที่ถูกแช่แข็งมา 30 ปี ถึงเวลาที่จะต้องกลับคืนผืนนาได้แล้ว.




http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n4_01062008_01
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 4:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9. ชีวิตชาวนายุคโลกาภิวัฒน์สู่ชาวนานักปราชญ์
Rice Farmer in Globalization Age as Wisdom

เรียบเรียงโดย สมหวัง วิทยาปัญญานนท์


1. ปัญหาชาวนายากจน
บทความต่อไปนี้ได้มาจากการสัมภาษณ์ ลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ปราชญ์ชาวนา อำเภอศรีประจัน จังหวัดสุพรรรณบุรี โดยคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา TV ช่อง 3 ในรายการจับเข่าคุย ปัญหาชาวนายากจน เพราะกำหนดราคาไม่ได้ กำหนดต้นทุนก็ไม่ได้ ชาวนาไม่ได้ทำนาเอง ไม่ทำปุ๋ยเอง ต้องซื้อทุกอย่าง จ้างทุกอย่าง ก่อนขายก็ไม่เตรียมอะไร ขายไปเลย ชาวนาจึงยากจนเพราะต้นทุนสูง ไม่ได้เพิ่มมูลค่าเพิ่มกับข้าวที่ผลิต ชาวนาไม่ได้อับจนค้นแค้น แต่มีธนาคารสถาบันการเงิน นายเงินมาให้กู้ยืมเงิน ทำให้เกิดมีเงินจับจ่ายใช้สอย แต่เป็นหนี้ไว้ข้างหลัง


2. ชาวนาชอบจ้าง
ชาวนาชอบเป็นผู้จัดการนา จ้างทุกอย่างเรียกรถมาไถน าเรียกคนและเครื่องจักรมาทำนา ทำด้วยแรงงานเองน้อยมาก และมีน้อยรายที่ทำเอง ชาวนาคิดว่าทำนาพื้นที่น้อยๆ ไม่คุ้มค่า คิดว่าต้องทำพื้นที่นามากๆ หลายๆ ไร่ จึงจะอยู่ได้ ไม่คิดว่าหากทำน้อยกว่าสักนิดแล้วจะกำไรมากกว่า

เดี๋ยวน้ำไม่มีวัฒนธรรมลงแขกทำนากันอีกแล้ว ต้องจ้างทำนากันอีก แล้วต้องจ้างทำนา เกี่ยวข้าวเม็ดเลย ข้าวก็ไม่ตากก่อนขาย ขายทั้งชื้นๆ ไปเลย ขายให้โรงสี เขาก็หักความชื้นไป หักเงินไป


3. ชาวนาซื้อข้าวสารกิน
ชาวนาก็เหมือนคนกรุงเทพต้องไปซื้อข้าวสารมากินเหมือนคนอื่นๆ ทำนาข้าวพันธุ์อื่น เพื่อขาย แต่ไปซื้อข้าวหอมมะลิมากิน ซื้อมากินแบบแพง


4. ชาวนาต้องซื้อพันธุ์ข้าว
เดี๋ยวนี้ชาวนาไม่เกี่ยวข้าวตากข้าวใส่ยุ้งใส่ฉางเก็บเอาไว้ทำพันธุ์เอง ในการปลูกรอบต่อไป เก็บเอาไว้สีกินเอง ตำข้าวเปลือกเอง ภาพอย่างนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว หากมีก็หากดูยากมากในชนบทไกลๆ ชาวนาไม่มีข้าวพันธุ์ตัวเอง เวลาถึงหน้าจะปลูกข้าว ก็สั่งให้คนที่เขาทำข้าวเปลือกข้าวมาส่งให้มาขายให้ต้องซื้ออีกในราคาถังละ 200-220 บาท ก็เข้าวัฎจักร ซื้อข้าวพันธุ์ จ้างคนมาไถ มาทำเทือก ชาวนาก็มีตารางเวลา ทำนาเทือก หว่าน เกี่ยว เห็นชัดก็ตอนเกี่ยวข้าว เพราะเห็นรวงข้าวพร้อมเกี่ยว


5. ชาวนาขาดความรู้เรื่องทำนา
ชาวนาไม่รู้ว่าจุลินทรีย์มีประโยชน์ในการทำนา จุลินทรีย์อยู่ในดินเหมือนแม่พระธรณี พอ ถึงยุคเคมีเข้ามาในวงการเกษตรในปี 2512 มีทั้งปุ๋ยและยา ดินเริ่มตาย พันธุ์ข้าวโบราณที่ชินต่อการปลูกแบบไร้สารเคมีเริ่มเปลี่ยนไป เป็นข้าวที่ปรับปรุงพันธุ์ที่ตอบสนองกับปุ๋ยเคมี ข้าวนาปีเริ่มหายไป มีข้าวนาปรังเข้ามาแทนที่ ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ แต่ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง เอาข้าวนาปรังไปปลูกข้าวนาปี พอหน้าน้ำท่วม ข้าวนาปรังไม่ชอบน้ำ ออกไม่ได้ ข้าวจู๋ออกรวงไม่สุดเพราะหนาวได้ข้าวแค่ปลายรวง คนที่เอาข้าวนาปรังไปปลูกช่วงนาปีจะเกิดโรคจู๋ เพราะหนาว ชาวนาต้องรู้จักข้าวปรัง ข้าวนาปี


6. ชีวิตข้าวเปลี่ยนไปกินเคมี
ชีวิตข้าวเริ่มเปลี่ยนไป เพราะเคมีเป็นตัวกำหนดพันธุ์ข้าว ความเชื่อโบราณเปลี่ยน เดี๋ยวนี้เอาผลผลิตเป็นใหญ่ แท้จริงต้องรู้ว่าช่วงไหนควรปลูก ข้าวพันธุ์อะไร ควรปลูกเวลาอะไร จึงจะเกิดผลผลิตสูง

ข้าวหอมมะลิเป็นข้าววันสั้นทนหนาวได้ เวลาหนาวก็ออกรวงได้ทนได้ ข้าวหอมมะลิรวงหนึ่งๆ ที่งามๆ มี 230 เมล็ด ชาวนาก็ไม่รู้ว่าต้นหนึ่งมีกี่รวง รวงหนึ่งมีกี่เมล็ด ข้าวหอมมะลิเป็นข้าวไวแสง วันสั้น เอามาปลูกวันยาวไม่ได้


7. ข้าวเขียวมากออกรวงสั้น
ทำนาต้นข้าวเหลืองกี่ครั้ง ตั้งแต่ปลูกเป็นเมล็ดจนเป็นต้นกล้าเล็กๆ จนต้นยาวใหญ่จนเกี่ยวได้ชาวนาไม่รู้ พอเห็นข้าวเหลืองก็คิดว่าเป็นเพลี้ย ก็เอาสารเคมีมาใส่ ข้าวก็กลับมาเขียวใหม่ ชาวนารู้หรือเปล่าว่า ในช่วง 40-60 วัน ใบข้าวจะเหลืองกี่ครั้ง ข้าวใบเหลืองกี่ใบใบที่ 1-4 แต่ใบที่ 5-6 และใบหาอาหารให้ใบที่ 1,2 กิน ใบที่ 5 จะต้องปลดใบที่ 1 ทิ้ง แล้วมาสร้างรังไข่รวงใหญ่ยาว พอเอาปุ๋ยไปใส่ใบที่ 1,2 เขียว ใบที่ 5-6 ก็หาอาหารมาให้ใบที่ 1,2 กิน รังไข่ก็เลยเล็กสั้นรวงสั้นทั้งประเทศ ทั้งประเทศผลผลิตลดลงไม่รู้เท่าไร

ข้าวก็เหลือแต่รวงละ 110 เมล็ด แทนที่จะเป็น 230 เมล็ดให้ใบเขียว ใบข้าวนั้นก็เหลืองเป็นธรรมชาติของเขา

หากรวงข้าวสั้นลง ผลผลิตก็จะลดลง 110 เมล็ด 40-50 ถัง/ไร่ หากเต็มก็จะประมาณ 100-200 ถัง/ไร่ ที่เมืองจีน กัมพูชา ได้ถึง 200 ถัง/ไร่ เมืองไทยอย่างเก่งแค่ 70-120 ถัง/ไร่

ข้าวถังหนึ่งมีประมาณ 378,000 เมล็ด ชาวนาหว่าน ข้าว 3 ถัง/ไร่ หรือประมาณ 1.1 ล้านเมล็ด ชาวนาไม่รู้หรอกว่า มีกี่ต้นข้าวต่อตารางวา แล้วต้องใช้ปุ๋ยไปเท่าไร น้ำยาเท่าไร ใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปราคาแสนแพง


8. ข้าวเหลืองถวายพระ
คนโบราณบอกว่าข้าวเหลืองถวายพระ ข้าวจะแต่งตัว ซื้อปุ๋ยถวายพ่อค้า ชาวนาหาความรู้นับตามวันไม่ได้ดูคลื่นไม่ได้ดูข้าว ชาวนาดูตามฉลากข้างถุงปุ๋ยว่า ปลูกข้าวได้ 50 วัน ก็เอาปุ๋ยไปใส่ นับวันเอา ไม่ได้ดูที่ต้นใบข้าวที่ 1 เหลือง ใบที่ 2 เหลือง ถ้าบังเอิญไปตรงกับใบข้าวเหลืองรับรองเลยว่ารวงสั้นแน่ เสียหายหมด


9. บ้านชาวนา 1 ไร่ แก้จน
นอกเหนือจากทำนา ในบริเวณบ้านก็ใช้หลัก เศรษฐกิจพอเพียง 1 ไร่แก้จน มีทำน้ำมันเชื้อเพลิงไบโอดีเซล เผาถ่านผลิตน้ำส้มควันไม้ เลี้ยงหมู ทำบ่อเลี้ยงปลาเล็กๆ มีปลาหมอ ปลาแรด มีผักตบลอยอยู่ ปลูกสะเดามัน ดอกแค

ในนาก็ปลูกต้นไม้อื่นๆ เพื่อดักแมลงให้มากินแทนการลงนาไปกินข้าว


10. ไทยสูญเสียข้าวเพราะรวงสั้น
ประเทศไทยสูญเสียข้าวไปเท่าไร นาข้าว 60 ล้านไร่ รวงหนึ่งสูญหายไป 10 เมล็ด (ค่าปกติสูญหายไป 100 เม็ด/รวง) กี่รวง ก็คูณกันไป

หากเราลดการสูญเสียข้าว เราก็ไม่ต้องใช้พื้นที่มากแค่นี้ สามารถลดลงได้ ลดการสั่งซื้อปุ๋ยเคมีลงไปได้ ถ้าประเทศไทยเราไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย จะลดต้นทุนได้มาก เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมีนักวิชาการทั้งหลายในแวดวงราชการมาสอนให้ใช้สารเคมี


11. ลัทธิเคมี 40 ปี แห่งความหลัง
ลัทธิเคมีเข้ามาตั้งแต่ปี 2512 สอนมาว่า ต่อไปเราจะผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลกไม่ทัน หากไม่ใช้สารเคมี เป็นความคิดที่ผิด เพราะเขาหลอกเรา ทำให้จุลินทรีย์ (แม่พระธรณี)ของ เราตาย และเสียเงินให้ ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ก็ทำให้แม่พระพายก็ตาย (เราหายใจไม่ได้ มีแต่อากาศเป็นพิษ) เคมีทำลายหมดทุกอย่าง ทำลายจุลินทรีย์ ทำลายสุขภาพคนด้วย


12. เกษตรอินทรีย์ต้องมีจุลินทรีย์ด้วย
หากหันมาทำเกษตรอินทรีย์ต้องมาใช้จุลินทรีย์ที่เดิมเคยมีอยู่ ก็ใส่เข้าไปช่วยย่อยอาหารอินทรีย์วัตถุกลับไปเป็นอาหารของพืชต่อไป การเอาอินทรีย์วัตถุไปใส่นาทั้งพืชทั้งสัตว์โดยไม่มีจุลินทรีย์ชีวภาพ พืชก็กินไม่ได้ เกิดน้ำเน่าแทน ดินไม่มีชีวิตแล้ว ไม่มีจุลินทรีย์ เพราะสารเคมีลงไปทำลายฆ่าจุลินทรีย์ตายหมดแล้ว


13. ผลกระทบโลกร้อนต่อข้าว
ปุ๋ยอินทรีย์เป็นเม็ดก็มีค่าแค่ขี้วัวกระสอบเดียว มีแต่เน่า หากไม่มีจุลินทรีย์ พอเอาปุ๋ยอินทรีย์ไปใส่นา ไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลาย น้ำในนาก็จะเน่า เวลาเดินย้ำนา น้ำเน่าจะกัดเท้า คันไปหมด เกิดเป็นแก๊สมีเทน ระเหยขึ้นในอากาศ เป็นฝ้าเรือนกระจก เป็นเหตุให้โลกร้อน ข้าวจะผสมพันธุ์เองยาก ข้าวผสมพันธุ์โดยไม่อาศัยแมลง จะผสมพันธุ์เอง เกสรตัวผู้แห้ง 6 ตัว ร่วงหล่นไปโดนเกสรตัวเมีย 2 อัน ข้างล่าง พอรับเกสรตัวผู้ได้ เป็นโรคปากหุบไม่ลง เป็นโรคปากอ้า หากเกสรตัวผู้ถูกภาวะโลกร้อน ก็ไม่มีคุณภาพ พอหล่นใส่เกสรตัวเมียก็ไม่ติดเมล็ด ชาวนาจึงจนเพราะภาวะโลกร้อนด้วย


14. มาทำหัวเชื้อจุลินทรีย์กันเองเถอะ
การใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องใส่เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปทำงานย่อยสลายด้วย พืชจึงจะกินได้เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต เป็นจุลินทรีย์กู้ชาติ ไปหาได้จากธรรมชาติป่าดงดิบในป่าใหญ่ เช่นแถบเขาใหญ่ แล้วเอามาขยายหัวเชื้อ ได้ดินจากป่าลึก ก็จะมีชีวิตมีจุลินทรีย์หลายสายพันธุ์ สามารถเอาไปขยายทำหัวเชื้อได้ เอาไปทำปุ๋ย เอาไปบำบัดน้ำเสีย มูลสัตว์หมู เป็ด ไก่ วัว ควาย ให้หายเหม็นได้ เอาดินจากป่าใหญ่แค่ 0.5-1.0 กิโลกรัม (ไม่ต้องเอามาก) ก็เอามาขยายได้ โดยใช้รำ แกลบ 1 ปี๊บ ใบไผ่แห้ง 1 ปี๊บ และน้ำเปล่า 1 บัวรดน้ำ เข้าสู่กระบวนขยายหัวเชื้อ ในขั้นตอนการทำ ดังนี้

1. นำแกลบสดและใบไม้แห้ง มาผสมคลุกเค้า ให้เข้ากันกับดินป่าลึก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม 50%
2. นำรำข้าวมาคลุกให้เข้ากันเพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน
3. เมื่อครบ 15 วัน นำส่วนผสมที่ได้ใส่ลงถุงตาข่ายขนาด 8x12 นิ้ว
4. เตรียมถังน้ำ 200 ลิตร เติมน้ำเปล่าปริมาณ 175 ลิตร ผสมกับกากน้ำตาล 15 ลิตร แล้วคนให้เข้ากัน
5. นำถุงตาข่ายที่เตรียมไว้ลงแช่ในถังน้ำแล้วปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 15 วัน ก็จะได้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์”


15. ทำเพื่อให้ธรรมชาติทำงานต่อ
เมื่อมีจุลินทรีย์เหมือนมีแก้วสารพัดนึก แต่ปลูกข้าวแบบเคมี เหมือนทำเพราะมีหน้าที่ต้องทำ ปลูกอีกก็ต้องเอาเคมีมาใส่และเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปีแรกๆ ใส่ 100 กก/ไร่ พร้อมฉีดน้ำจุลินทรีย์ ปีต่อไปใส่ปุ๋ยอินทรีย์แค่ 50 กก/ไร่ ปีต่อไปลดเหลือ 30 กก/ไร่ ใส่ต่ออีก 2-3 ปี ปีละ 30 กก/ไร่ จากนั้นก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เลย ฉีดแต่น้ำจุลินทรีย์อย่างเดียว อย่างนี้เป็นการทำเพื่อจะไม่ต้องทำ พอเข้าที่ก็ปล่อยให้ธรรมชาติทำงานทั้งดินอากาศ จุลินทรีย์ปีต่อๆไปก็ปลูกข้าวโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเลย เป็นไปได้ เป็นการคืนชีวิตให้กับแผ่นดิน การปลูกพืชแบบเคมีเหมือนปลูกพืชแบบเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงหมูถึงเวลาไม่ให้อาหารหมูโจมร้องอิ๊ตๆ เลี้ยงวัวไม่เปิดคอกให้ไปกิน วัวก็จะร้องมอๆ เวลาเอาอาหารให้หมูกิน หมูหยุดร้อง แต่เวลาปลูกพืช เราเอาเคมีไปใส่ ต้นพืชร้องไม่ได้ แต่จะแสดงออกมาเป็นใบเหลือง



16. ข้าวติดสารเคมีแบบยาเสพติด
ถ้าทำด้วยอินทรีย์ชีวภาพ รากพืชจะมีสีขาว หากเป็นสารเคมีปลายรากจะดำ ให้ลองถอนต้นข้าวมาดูราก เพราะปุ๋ยเคมีจะมีปูนผสมไปอุดทางเดินน้ำที่จะลำเลียงในลำต้น ต้นพืชจะกินปุ๋ยได้ เพราะมีเคมีมาใส่ ถูกฝึกมาแบบนั้น ต้นพืชโง่เพราะเคมี พอเอาปุ๋ยอินทรีย์มา พืชกินไม่เป็น พืชติดเคมีเหมือนติดยาเสพติด



17. ทำนาอินทรีย์ต้องใจเย็นต่อการรอคอย
ทำนาอินทรีย์เริ่มใหม่ ผลผลิตอาจลดลงเล็กน้อย เพราะยังมีเคมีตกค้างอยู่ แต่ราคาต้นทุนถูกกว่า เช่นว่าเคยทำเคมีได้ 100 ถัง/ไร่ แต่พอเริ่มทำอินทรีย์ได้แค่ 50 ถัง/ไร่ ปีแรกอาจหายไปครึ่งหนึ่งแต่ไม่ต้องเสียเงินค่าปุ๋ยเคมี ที่แน่ๆ ได้กำไรชีวิต ทำเคมีต้องฉีดพ่นละอองเคมีเข้าร่างกายทางลมหายใจ พอฉีดยาฆ่าหญ้ามันก็ซึมขึ้นมาทางเท้า กลายเป็นโรคตับโรคไต เดี๋ยวนี้โรงพยาบาลสูงละฟ้า มีแต่เกษตรกรเจ็บป่วยไปนอน


18. มาดูต้นทุนทำนาระหว่างเคมีกับอินทรีย์
เดี๋ยวนี้ต้องลงทุนถึง 6,000 – 7,000 บาท/ไร่ มีค่าปุ๋ย น้ำมัน น้ำยามียาปราบศัตรูพืช ค่าแรงงาน (ขึ้น) ค่าฉีดยาคุมไร่ละ 50 บาท เป็นหน่วยกล้าตายพ่นยาฆ่าแมลงพ่นยา ฆ่าหญ้า ยังไม่นับค่าเช่านา เดิมค่าเช่า 15 ถัง เดี๋ยวน้ำ 20-25 ถัง/ไร่

ในเมื่อเกษตรอินทรีย์ได้ผลทำไมชาวนาไม่แห่มาทำละ เจ้าของนาเขาไม่ทำ เขารวยแล้ว เขาให้เช่าที่นา

ต้นทุนเกษตรอินทรีย์ 950 บาท/ไร่ ต่อมา 1,200 และเดี๋ยวนี้ 3,000-3,500 บาท/ไร่ ในขณะที่เกษตรเคมี 6,000 บาท/ไร่


19. นาอินทรีย์ไม่ต้องกลัวเพลี้ย
เพลี้ยมาจะทำอย่างไร ชาวนามักคิดว่าหากเราทำเกษตรอินทรีย์ รอบๆ ข้างทำเคมี เพลี้ยจะแห่มาอยู่ที่แปลงอินทรีย์หมดเลย เป็นที่พักเพลี้ยเป็นความรู้ที่ผิด ผิดหมด การทำเกษตรอินทรีย์ใช้สิ่งมีชีวิตจุลินทรีย์ไปยับยั้งการเกิดแมลงในแปลงนาได้เอง


20. ยาฆ่าหญ้าแพร่พันธุ์หญ้าชนิดใหม่
ยาฆ่าหญ้ายาคุมหญ้าพอฉีดไปก็คุมได้ครั้งเดียว ครั้งหน้าก็มาฉีดใหม่อีก หญ้าใหม่ขึ้นมาแทน สมัยโบราณมีหญ้าไม่กี่ชนิดมีหญ้าแห้วหมู หญ้ากก ต้นโสนเดี๋ยวนี้มีหญ้าใบกว้าง หญ้าใบแดง หญ้าใบมัน หญ้าใบฉุน แล้วมันมาจากไหนละ ส่งยาฆ่าหญ้าชนิดหนึ่ง ปีหน้าส่งยาฆ่าหญ้าใบฉุน จะเกิดรู้ล่วงหน้าเลย รู้ได้อย่างไร หญ้าพันธุ์นี้ไม่มีเลยในประเทศไทย มาจากไหนละ สันนิษฐานว่ามีพันธุ์หญ้าติดมากับยาฆ่าหญ้าเลย


21. หอยเชอรี่สัตว์ต่างแดนถูกทำให้ไข่สั้นลง
หอยเชอรี่มาจากไหนเมื่อก่อนในนามีแต่หอยโข่ง เสียเมืองไปเลย นาทั่วประเทศไทยไม่มีหอยโข่งกินแล้ว พอหอยเชอรี่มา ก็กัดกินต้นข้าว ก็เอาสารเคมีแฟนโดเอาไปหยอด หอยตาย ถ้าแน่จริง หอยเชอรี่ต้องสูญพันธุ์ไปแล้ว ตายไปหนึ่งเกิดใหม่ 300 เต็มนาไปหมดแล้ว นาอินทรีย์มีหรือเปล่า ก็ทำให้ไม่ให้มันไข่ ฆ่ามันไม่ได้ มันมีหัวใจลิงลมใส่ฆ่าหนึ่งเกิดร้อย ต้องทำให้มันขยายพันธุ์ลดลง จากไข่ยาวๆ มาเป็นไข่สั้นๆ ลดปริมาณลง นกมากินได้ ปลามากินได้ วิธีการก็คือเอาเหล้าขาว 2 ส่วน น้ำส้ม อสร. 1 ส่วน กากน้ำตาลและจุลินทรีย์สายพันธุ์เขาใหญ่ 1 ส่วน ใส่ลงในขวดเขย่าไว้ 24 ชั่วโมง แล้วเอาไปผสมน้ำให้ได้ 300 ซม. ผสมน้ำ 20 ลิตร เอาไปหยดลงในนาเวลาเปิดน้ำใส่แปลงนา ก็เอาถังไปวางติดก๊อก น้ำไหลช้าๆ ก็หยดแบะๆ ถ้าน้ำไหลแรงขึ้นก็หยดเร็วขึ้นตามลำดับ หอยปกติฝังตัวอยู่ในดินพอหอยได้น้ำมาใหม่ๆ มันก็อ้าปากกระเดือกเข้าไปในท้องมันก็ไปทำลายรังไข่ แทนที่จะไข่ยาวก็จะสั้นลง พอปีนขึ้นมาไข่ตามกิ่งไม้ ยอดข้าว สังเกตได้เลยดูที่ไข่กลุ่มไข่สั้นลง ก็จะกลายเป็นอาหารนกอาหารปลาไปเลย ประชากรหอยเชอรี่ก็จะลดลงๆ เป็นการกู้ชาติ เอาธรรมชาติชนะให้ได้


22. ข้าวเกษตรอินทรีย์ใบแข็งคมทนแมลงกัด
การที่เราไม่เอาเคมีใส่ลงไป ต้นข้าวมาจากธรรมชาติ ต้นไม้ในป่าธรรมชาติไม่ค่อยพบเพลี้ยกิน หนอนกิน ต้นข้าวใบใหญ่ เอาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใส่ ใบข้าวจะคม เอามือไปถูก จะบาดเอาจนเลือดออก ถ้าเราเอาปุ๋ยเคมีไปใส่ เอายาเคมีไปฉีด ลองสูดดมใบข้าวจะนิ่ม เหมือนขนหน้าแข้งบอบบาง แมลงจะมีฟันเป็นไฟเบอร์ พอเราเอาเคมีไปใส่ แมลงกินหมด เหมือนเป็นขนมนุ่มๆ แต่ถ้าเป็นธรรมชาติจะสร้างเกาะป้องกันตัวเอง มีภูมิคุ้มกันเอง ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไม่มีใครพาไปเที่ยวไม่มีใครจัดโต๊ะเลี้ยง หากใช้ปุ๋ยเคมีคนขายจะทำส่งเสริมการขาย จับฉลาก พาไปเที่ยวกรุงเทพ ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย


23. เมื่อไรประเทศไทยจึงเลิกสั่งซื้อเคมีปุ๋ย
ถ้าทั้งประเทศเลิกใช้ปุ๋ยเคมีไปเลยจะลำบากหรือเปล่า ปีแรกผลผลิตอาจหายไปครึ่งหนึ่งเคมีเข้ามาตั้งแต่ปี 2512 เกือบ 40 ปี แล้วจะสายไปหรือเปล่า ไม่สายหรอก หากชาวนาทุกคนพร้อมใจกัน ใช้อินทรีย์ชีวภาพมาทดแทนได้

มีความรู้ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา ค้นหาจากประสบการณ์และการทดลอง มีสายเลือดชาวนาตอนเด็กๆ เป็นชาวนาเพราะเดินตามพ่อแม่ไปทำนา ตอนนั้นไม่มีปุ๋ยเคมี สารเคมี ไม่มีควายด้วย ทำด้วยจอบ มียุ้งฉางเก็บพอ มาอีกยุคก็มีควาย เอาควายมาไถ มาคราด ช่วงลัทธิเคมีเข้ามา ปุ๋ยยูเรียเข้ามาก่อนแต่ยังไม่มากในนายังไม่ใส่ยูเรียเอาไว้ใส่ตอนตกกล้าข้าว หว่านหน่อยๆ เขียวพรึบเลย หลังจากนั้นก็นิยมใช้มาก


24. ยุคเครื่องจักรกลเกษตร
ตอนนั้นจะเรียนทีก็ลำบาก ค่านิยมชาวบ้านว่าที่ดินมีเยอะ พลิกแผ่นดินกินดีกว่าไปเรียน คนโบราณให้เราทำนากิน เริ่มซื้อที่นาเป็น 100 ไร่ เริ่มมีรถไถนาเป็นยุคใหม่แห่งเครื่องจักรกลการเกษตรมาทดแทนควายไถนา มีรถไถก็ซื้อรถไถมารับจ้างไถนา ตามคำขวัญพลิกแผ่นดินกิน ก็เอารถไถพลิกแผ่นดิน โดนฝรั่งหรอกเพราะไถลงไปลึกพระแม่ธรณีตายหมด นาลึกก็เอาหน้าดิน (ดินดี) บนลงล่างแล้วเอาดินล่าง (ดินไม่ดี) ขึ้นมาข้างบน เดี๋ยวนี้ยิ่งแย่ ยาฆ่าหญ้าฉีดพ่นแล้วก็ฝังลงในดิน 4-25 ปี ก็เลยต้องใช้เคมีต่อ เพราะเอาดินดีลงล่างไปฝังลึกๆ แล้ว ทำนาจึงไม่ได้ผล ทำนาเป็นร้อยไร่ คือ 140 ไร่ แล้วก็ขาดทุน มีรถไถเองอีกต่างหาก ชาวนาก็เลยจนเหมือนเดิม


25. ทำไร่อ้อยก็ถูกกดราคา
จากนั้นลองไปทำไร่อ้อยในปี 2516 ก็ยังจน เพราะทำอ้อยลำใหญ่ขายได้ตันละ 230 บาท ราคาถูกมาก ขาดทุนอีก ค่าแรงงานตัดก็แทบไม่พอ เจ้ง นี่เป็นโครงสร้างการเอาเปรียบของโรงงานซึ่งที่ทำต่อเกษตรกร โรงงานสารพัดตัดทั้งความชื้น ความหวาน ตัดสารพัดเพื่อกดราคา เกิดความเจ็บใจ แค้นจะเผาโรงงาน เอาน้ำมันซุกในรถบรรทุก เอาอ้อยพราง คิดว่าจะวิ่งราดน้ำมันรอบโรงงานอ้อยแล้วล็อคพวงมาลัยรถวิ่งชนโรงงานและจุดไฟตามเลย โกรธมาก คิดไม่เป็น คิดว่าอะไรไม่พอใจก็คิดตอบโต้เลย วางแผนทุกอย่างซื้อน้ำมันเตรียมพร้อมหมดแล้ว แต่ตำรวจสกัดไว้ได้ เลยเลิกความตั้งใจ ไม่ได้เผาโรงงาน

นี่เป็นปัญหาเกษตรกร กำหนดราคาเองไม่ได้ แต่ถูกกำหนดมาจากโรงงานร้านรับซื้อ หากเกษตรกรมีต้นทุนสูงก็จะเจ้งขาดทุนทันที


26. ปลูกฝ้ายตอนราคาแพงตอนเก็บเกี่ยวราคาถูก
ก็หนีพ้นจากอ้อยขาดทุน ก็ลองไปปลูกพืชเศรษฐกิจตัวอื่น คือฝ้าย ไม่สำเร็จอีก ตอนก่อนทำราคา 17 บาท/กก พอทำเสร็จ 100 ไร่ ได้ฝ้ายมากมาย ผลผลิตมากจริงๆ ทั้งใหญ่ลักษณะดีคุณภาพเลิศ นี่เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ก่อนทำราคา 17 ทำเสร็จเหลือราคา 2.50 บาท/กก.


27. ทำลานมันก็เจอภัยธรรมชาติ
หนีจากฝ้ายก็มาทำลานมัน สมัยก่อนคิดเล็กไม่เป็น คิดใหญ่เป็นอย่างเดียว คิดว่าอยากรวย แผนชีวิตคิดตอนอายุ 20 กว่า คิดว่าอายุ 35 ปี อยากมีเงิน 6 ล้านบาท วางแผนเลย เวลาอายุ 36-40 ปี จะหยุดทั้งหมด หอบเงินเที่ยวทั่วโลก

แต่ของจริงตามแผนชีวิตอายุ 36 ปี แทนที่จะมีเงินเก็บ 6 ล้านบาท กลับเป็นหนี้สิน 7 ล้านบาท เห็นเขารวยก็อยากรวยตามเขา

ทำลานมัน ทำโรงงานมันเส้น เทลานคอนกรีต 2.5 ไร่ เอาไว้ตากมันเส้นตากมันไว้ 40 ตัน ฝนฟ้าสมัยโบราณแรงมาก น้ำท่วม พัดพามันลอยไปหมดไหลลงห้วยหมด เจ้งอีก

หลังจากทำลานมันก็มาทำนา ทำที่นาสวยมากแต่ก็ท่วมนาไปหมด 60 กว่าไร่


28. ทำสับปะรดก็ราคาตก
ไปเอาสัปรดจากประจวบคีรีขันย์ เอามาปลูกที่เลาขวัญ กาญจนบุรี ขายได้ 0.50 บาท/กก กำหนดราคาไม่ได้ หมุนปลูกไปเรื่อยๆ ตอนปลูกราคาดี ตอนเก็บเกี่ยวราคาถูกทุกที เป็นเช่นนี้ไม่ยอมเข็ดสักที หากย้อนกลับมาคิดจะเป็นความรู้ เรียนรู้จากความล้มเหลว


29. มาทำโรงสีข้าว
โรงสีข้าวก็ทำ แล้วไปซาอุ ก็ไปแล้ว โรงสีทำหลังจากไร่อ้อยเจ้ง เหลือเงินสด 7 หมื่นบาท มีหนี้เป็นล้าน ขึ้นหลังเสือลงไม่ได้ต้องเอาเงิน 7 หมื่นไปทำงานใหญ่ต่อ จะได้หาเงินมาใช้หนี้ได้ ถ้าจะขายทรัพย์สินทั้งหมดมีรถไถ รถสิบล้อก็ไม่พอใช้หนี้

ไปเมืองเดชอุดม ไปซื้อโรงสีข้าว ธนาคารไม่กล้ายึด ซื้อโรงสีข้าว 6 หมื่น เหลือ 1 หมื่น ยกโรงสีใส่รถสิบล้อมาแต่เดินเครื่องไม่ได้ ขาดเครื่องยนต์ เลยต้องไปซาอุไปหาเงินมาซื้อเครื่องยนต์

ซาอุเอาดินขยะบรรทุกใส่เรือไปซาอุ เอาไปเคล้าทรายเป็นวงกลม 8 วง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1,000 เมตร จ้างคนไทยทำ ให้รถลากขยะเคล้ากับทราย เจาะน้ำบาดาลลึกลงไป 200 วา สร้างโรงไฟฟ้า ใส่ท่อซับเมอร์ ดูดน้ำบาดาลขึ้นมาปล่อยเป็นแขนๆ ละ 100 เมตร หมุนรอบวงกลม พ่นน้ำลงและขึ้นฟ้า วงกลม 600 ไร่ ปลูกข้าวโพดได้ฝักใหญ่


30. การทำปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ
ดินเมืองไทยดี แต่เสียแล้ว เพราะปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้า ถ้าจะฟื้นฟูดินให้ดีต้องยกเลิกสารเคมีทุกชนิด แล้วหันมาใช้ปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพมาทดแทนพร้อมราดจุลินทรีย์



การทำปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ
ส่วนประกอบ
- มูลสัตว์ ................ 1 ส่วน
- รำลำเอียด ............. 1 ส่วน
- แกลบดิบ .............. 1 ส่วน
- น้ำ ..................... 10 ลิตร
- จุลินทรีย์ .............. 20 ลบ.ซม (cc.)
- กากน้ำตาล ............ 20 ลบ.ซม (cc.)

วิธีทำ
- นำมูลสัตว์เทกองเป็นยอดแหลม
- เททับด้วยแกลบดิบ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ผสมน้ำกากน้ำตาลจุลินทรีย์ราดลงบนกอง
- เคล้าให้ชื้นเท่ากับ 50%
- ใส่รำละเอียดคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง


31. ให้หมูผลิตปุ๋ยอินทรีย์
วิธีการทำปุ๋ยให้เอาแกลบรองพื้นคอกหมู ผสมรำข้าวโปรยลงไปให้ทั่ว หมูจะเยี่ยวถ่ายมูลลงไปบนพื้นแกลบ คลุกเคล้าให้เข้ากันเอง ราดน้ำจุลินทรีย์ลงไป หมูจะคลุกเคล้าจนได้ปุ๋ยอินทรีย์ก็ทำความสะอาดคอกหมู เอาปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้ได้เลย หากเป็นคอกวัวก็ทำได้เช่นกัน


32. ปลูกผักที่ซาอุ
ที่ประเทศซาอุ เวลาปลูกผักจะไม่เหมือนเมืองไทย เวลาปลูกผักกาดก็มีป้ายปัก วันไหนฉีดสารเคมีก็เขียนวันที่ลงไป ฉีดสารอะไรคนฉีดก็เขียนไป เช่น วันที่ 20 แล้วเกษตรอำเภอจะมาเขียนวันที่เก็บเกี่ยวได้ เช่น วันที่ 30 เก็บเกี่ยวได้ หากใครเก็บเกี่ยวก่อนจะถูกตบหัว จับได้ติดคุกอีก แต่เกษตรกรเมืองไทยต่างกันมาก ฉีดเช้าเก็บเย็น ฉีดเย็นเก็บเช้า


33. สีข้าวไว้กินเองแก้จน
กลับมาเมืองไทยมีเงินซื้อเครื่องยนต์ปั่นโรงสี เชิญชวนให้ชาวนาเก็บข้าวเปลือกส่วนหนึ่งมาให้โรงสี ส่วนหนึ่งให้เก็บเอาไว้กินเอง เริ่มโฆษณาปลุกระดมชาวบ้าน ชาวบ้านก็เอาข้าวมากองให้ปักป้ายชื่อและจำนวนถึง 10 ถัง 20 ถัง

อธิบายให้ชาวนาฟังว่าต้องเก็บข้าวไว้กินเอง บอกว่าเคยไปอีสาน เขาหาบข้าวไป เสียงดังจากโรงสี แล้วเอาข้าวมาเลี้ยงเรากิน หากมีข้าวกินเองก็ประหยัดไม่ต้องซื้อหา


34. สู่ยุคผู้จัดการหา
ต่อมาเริ่มมีวิถีชีวิตใหม่เริ่มมีลานตาก เริ่มมีรถเก็บเกี่ยวเป็นระบบอุตสาหกรรม รับจ้างสำเร็จ ชาวนาเริ่มเป็นผู้จัดการนา เพราะระบบใหม่ไม่มีลานตากข้าวเอง ก็เลยขายเหมาไปเลย เหมาความชื้นไปเลย


35. ทำไมโรงเรียนชาวนาไม่มี
ทำไมไม่มีหลักสูตรชาวนา ไม่มีโรงเรียน ชาวนาให้ความรู้ มีแต่บอกว่าสงสารชาวนา กินข้าวทุกเม็ด กินข้าวให้หมด ทำไมไม่สอนเรื่องข้าวให้จะแจ้ง ทำไมไม่คิดว่าทำให้ข้าวทุกเม็ดเกิดขึ้นมากที่สุดแล้วสมบูรณ์ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ


36. มูลเหตุจูงใจให้ตัดขาดจากสารเคมี
ขณะที่สีข้าวอยู่ ข้าวขาด เห็นลูกน้องนอนหงาย ปีนั้นเพลี้ยลง ชาวนาเอายาฝุ่นลง คิดว่าติดอยู่ที่เม็ดข้าว พอเก็บเกี่ยวก็มากับข้าวเปลือก พอเม็ดข้าวตากแห้ง เวลาโกยฝุ่นจะฟุ้ง ยาฝุ่นก็ฟุ้งด้วยมันเข้าจมูก คนงานก็เลยแพ้ยา ก็เลยปฎิณานกับตัวเองว่า หากตัวเองเป็นชาวนาจะไม่ใช้สารเคมี แค่กลิ่นก็แทบตายแล้ว


37. ทำไป เรียนรู้ไป เรื่องทำนา
จากนั้นก็หาที่เรียนเกษตรอินทรีย์ศึกษามาเรื่อยๆ แล้วมาทำจริงจังปี 2538 เมื่อสิบปีกว่านี้เองไม่ยากหรอก เริ่มจากความมุ่งมั่นก่อนว่า จะไม่ใช้สารเคมี แล้วมาศึกษาเรื่องจุลินทรีย์ไปทุกแห่งที่มีสอน ไปเรียนรู้ก็เลยถูกเรียกว่าตาเหมาะบ้า เพราะเวลาทำนาชอบพูดกับต้นข้าวว่า งามจริงเน้อ แม่โพสพดีเน้อ ปีนี้ดงออกรวงมากไปเจอหนูก็พูดกับหนูว่า อย่ากินข้าวของพ่อนะ ไปหากินที่อื่นเถอะ พ่อจะไม่ไหวแล้ว ไม่ใช้ยาฆ่าหนู ใช้วิธีพูดดีๆ ส่งกระแสจิตดีๆ ไปให้ นี่เป็นที่มาของฉายาว่า ตาเหมาะบ้า พูดกับต้นหญ้า ต้นข้าว หนู หอย เพราะเวลาพูดมีคนผ่านไปผ่านมาได้ยิน


38. การทำให้คนอื่นเชื่อและศรัทธา
จะทำให้ชาวนาคนอื่นเชื่อได้อย่างไรก็เลยเปิดร้านขายปาท่องโก๋ เห็นเฒ่าแก่โรงสีมาขายปาท่องโก๋ให้ชาวบ้านมาซื้อ มานั่งกินคุยกัน เริ่มได้ผล มีชาวนาถือกระดาษมาถามมาจด สารขับไล่แมลงทำอย่างไร เราก็อธิบายให้ฟัง ทำปาท่องโก๋ไป เล่าให้ฟังไป ชาวนาก็จด


39. อยากสอนคนแต่ไม่อยากรวยแล้ว
ปัจจุบันการสอนให้ความรู้มาทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ ไม่อยากมีเงิน 6 ล้านแล้ว มีเงินก็เอามาลงทุนที่โรงเรียนชาวนาหมดเลย มาเรียนเรื่องข้าว เรื่องอินทรีย์ชีวภาพ นี่เป็นความภาคภูมิใจ มีความรู้มากมาย ทำนาแบบพอเพียง ไม่ใช่ทำไม่กี่ไร่ มีเป็นพันเป็นหมื่นไร่ ก็ทำแบบพอเพียงได้หลักการก็คือทำให้พอกินก่อน เหลือกันแล้วจึงค่อยเอาไปขาย ขายได้ก็ก้าวหน้าไปทำเชิงพาณิชย์พอแนะนำอย่างนี้ ทำพอกินก่อน เหลือค่อยขายแล้ว จะเอาอะไรใช้หนี้เศรษฐกิจพอเพียง ทำเล็กได้กลางได้ ใหญ่ได้ คนเราหากพื้นฐานดีก็จะแข็งแรง นามี รถมี ความคิดมี ทำปุ๋ยเองได้ ทำยาเองได้ แล้วก็ทำได้ ทำได้สอดคล้องพอเหมาะกับความสามารถตัวเอง หากมี 1 ไร่ ก็ต้องอยู่ได้ มีมากไร่เป็น 100 ไร่ ก็ทำได้ไม่มีปัญหา


40. นายทุนกว้านซื้อที่นา
นายทุนไทยนายทุนต่างชาติ มาซื้อนามาปลูกข้าว ตั้งบริษัททำนา ไม่น่าเลย ตอนนี้มีทั้งรับจ้าง ทำนาทำเทือก รับจ้างหมด แต่ยังไม่มีบริษัท

การปลูกข้าวแบบแปลงหญ้า ยกเป็นแผ่นวางเลย ทำเองได้ไม่ต้องเป็นบริษัท รวมกลุ่มกันทำ


41. ผู้จัดการนามืออาชีพ
ผู้จัดการนามืออาชีพ รับจ้างปลูกข้าวพร้อมข้าวแผ่น เริ่มจากชาวนามีตารางเวลาที่จะปลูกและที่เก็บเกี่ยวเขาก็จะเตรียมพื้นที่นาให้พร้อม แล้วแจ้งผู้รับจ้างปลูกไว้ล่วงหน้า กะเวลาไว้ ก็จะมีการเตรียมต้นกล้าข้าวเป็นแผ่นในนา ข้าวกล้าแบบเลี้ยงหญ้าปูสนามตัดเป็นแผ่นไปม้วนแผ่นเก็บแผ่นข้าวกล้า เพื่อขนส่งใส่รถบรรทุกข้าวทำเอง (เครื่องยนต์ 11 แรงม้า) การใช้ข้าวกล้าแผ่นจะย่นเวลาการผลิตข้าวให้สั้นลง ยิ่งมีน้ำท่าตลอดปี ก็จะปลูกได้ 3-3.5 ครึ่ง/ปี


42. โครงสร้างต้นทุนทำนา
การทำนาแบบไร้สารเคมี ทำแบบสบายๆ ปลอดภัย สุขภาพดี ภาคภูมิใจที่ทำสิ่งดีๆ ไร้สารพิษให้คนอื่นกินแมลงไม่ต้องกลัว ปุ๋ยไม่ต้องใช้เวลาปลูกก็เอาไปปลูกเป็นแผ่นแบบปูหญ้าต้นกล้าสูงประมาณ 1 คืน ทำได้ข้าวเปลือก 80 ถัง/ไร่


เปรียบเทียบนาเคมี-นาอินทรีย์ชีวภาพ
ทำนาเคมี (บาท/ไร่) ........................... ทำนาอินทรีย์ชีวภาพ (บาท/ไร่)

- ค่าเตรียมดิน 500 ............................ - ค่าเตรียมดิน 500
- ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 625 ........................ - ค่าเมล็ด+ค่าดำนา 1,200
- ค่าแรงหว่านข้าว 50 ........................... - ไม่มี
- ค่ายาคุมวัชพืช 400 ........................... - ไม่มี
- ค่าน้ำมัน 500 ................................. - ค่าน้ำมัน 500
- ค่าปุ๋ย + ค่าแรงใส่ปุ๋ย 3,350 ................. - ค่าปุ๋ยอินทรีย์+ค่าแรง 500+150
- ค่ายาฆ่าแมลง+ฮอร์โมน 500-1,000 ........ - ไม่มี
- ค่ารถเกี่ยวข้าว 600 ........................... - ค่ารถเกี่ยวข้าว 600

รวม 6,500-7,000 บาท ........................ รวม 3,050-3,500


จะเห็นว่าต้นทุนหายไปครึ่งหนึ่ง โดยที่ผลผลิตที่ 80 ถัง/ไร่ เท่ากัน ราคาข้าวเท่ากันและบางครั้งดีกว่า เพราะเป็นข้าวไร้สารพิษ หากมีตลาดและขายเป็น หากเราสีข้าวเองบรรจุหีบห่อเอง ใช้ตรายี่ห้อเอง ก็ขายได้ราคามากกว่า แถมยังได้รำข้าวแกลบข้าวที่เป็นประโยชน์อีก ส่วนหนึ่งก็เก็บไว้เป็นพันธุ์ข้าวเอาไว้ปลูกเองและรับจ้างปลูกข้าวแบบแผ่น ดังนั้นจึงไม่มีข้าวเปลือกเหลือเอาไปที่โรงสีอื่น ขายเป็นข้าวอินทรีย์บางโรงเรียนเขามาสั่งซื้อเป็นประจำเลยที่โรงเรียนวชิราเวธก็มาสั่งเป็นประจำ


43. ภาพลักษณ์ชาวนาเปลี่ยนไป
คนทำนาไม่ใช้เพราะเรียนมาน้อย คนเรียนสูงๆ จึงปริญญาโทก็มาทำนาได้ให้พลิกฟื้นผืนแผ่นดินเราให้ได้อยากให้คนมีความรู้สูงๆ ให้กลับมาทำนาไม่ใช้ทิ้งนาไปรับจ้างกินเงินเดือน ภาพของชาวนายากเข็ญลำบาก ทั้งดำนา เกี่ยวข้าว ด้วยแรงงาน ทนแดดทนฝน เดี๋ยวนี้เป็นผู้จัดการนาแล้ว ใครๆ ก็ทำได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะบริหารจัดการนาอย่างไรให้มีประสิทธิภาพลดต้นทุนให้ต่ำ เพิ่มคุณภาพข้าวและปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หากเราต้นทุนถูก ราคาข้าวต่ำ เราก็อยู่ได้ ปุ๋ยจะขึ้นราคายาฆ่าแมลงจะขึ้นราคาก็ปล่อยให้เขาขึ้นไปเพราะเราชาวนาเกษตรอินทรีย์ไม่ซื้อใช้อยู่แล้วขอให้ประเมินราคาข้าวจะเป็นอย่างไร แล้วควบคุมต้นทุนให้ได้ ชาวนา รุ่นใหม่ต้องใช้ความรู้และบริหารจัดการ


44. อยากเป็นชาวนาเล่นๆ พอสนุกๆ
หากเรามีพื้นที่ดิน 1 ไร่ จะทำนาแบบอินทรีย์ก็ได้ หมักจุลินทรีย์ สร้างอินทรีย์วัตถุ วิศวกร นายแพทย์ ก็มาเรียนรู้ได้


45. การควบคุมราคาข้าวทำได้จริงหรือ
เรื่องราคาเป็นอย่างไรยากที่จะแก้ได้ทางเดียวก็คือ ลดต้นทุน ต้นทุนต่ำๆ เพิ่มผลผลิตสูงๆ แล้วให้ปลอดภัยแล้วราคาจะสูงเองเพราะขายของคุณภาพดี

การทำนาแบบอุตสาหกรรมเกษตรมีมืออาชีพเข้ามารับจ้าง ผลิตต้นข้าวกล้ามีมืออาชีพรับจ้างไถ รับจ้างเกี่ยว รับจ้างสารพัด และมีหลักประกันว่าเกษตรกรมีสัญญากับนายทุน นายทุนรับความเสี่ยง เกษตรกรมีหลักประกันว่าทำไปเถอะแล้วคุณจะขายได้ราคาประมาณแถวๆ นั้นทำเหมือนว่าชาวนาเป็นเถ้าแก่ แต่ชาวนาก็ไม่น่าไปรอดเพราะควบคุมประกันต้นทุนไม่ได้ หากเกินก็จะขาดทุนทันที


46. ที่ปรึกษารัฐบาลเรื่องทำนา
หากรัฐบาลมาถามว่าจะพลิกฟื้นชาวนาได้อย่างไรก็จะบอกไปว่าเลิกสั่งปุ๋ยเคมีเข้ามาเลย ยาฆ่าแมลงก็ไม่ให้เข้า ตัดไปเลย เพราะเคมีเหมือนยาเสพติดยิ่งใช้ยิ่งใช้เยอะ ไม่ใช้ก็ไม่สบายใจเห็นข้าวเหลืองก็ไม่สบายใจอดใส่ปุ๋ยไม่ได้ ไปกู้ไปยืมเงินมาซื้อปุ๋ยมาใส่ก็ยอมเหมือนคนติดบุหรี่ ราคา 30 บาท/ซอง ก็ซื้อขึ้นราคาเป็น 50 บาท/ซอง ก็ซื้อ ก็หักดิบเลยในการเลิกสูบบุหรี่ ปุ๋ยก็เช่นกัน ต้องหักดิบ ทำปุ๋ยจุลินทรีย์ได้ง่ายๆ ได้ปริมาณมากๆ


47. บทส่งท้าย
มาทำนาเกษตรอินทรีย์พอเพียงในรู้แบบผู้จัดการนามืออาชีพ โดยใช้วิธีการลดต้นทุน ควบคุมคุณภาพข้าว เฟิดตลาดเอง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่มีต่อสุขภาพชุมชน



ภูมิปัญญาอภิวัฒน์
Budding Wisdom



http://www.budmgt.com/agri/agri01/rice-tongmork.html#Font_:_Tahoma______
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 6:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

10. นักผสมพันธุ์ข้าว งานปิดทองหลังพระ ข้าวพันธุ์ใหม่





เบื้องหลังความสำเร็จของการพัฒนาพันธุ์ข้าวนอกจากจะเกิดขึ้นจากนักวิจัยที่มีความรู้แล้ว น้อยคนนักจะรู้ว่าฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่เป็นเพียงลูกจ้างประจำในตำแหน่งที่อาจเรียกได้ว่า “นักผสมพันธุ์ข้าว” นั้นมีความสำคัญในการช่วยให้พันธุ์ข้าว ที่นักวิจัยต้องการพัฒนานั้นประสบผลสำเร็จ

เนื่องจากการผสมพันธุ์ข้าวไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครจะทำได้ เพราะต้องอาศัยการฝึกฝนมาอย่างยาวนาน ดังเช่น ลำไย ใบกุหลาบ ในวัย 52 ปี และ เพลินตา ทองพูล อายุ 48 ปี ลูกจ้างประจำศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา กรมการข้าว ที่ทำหน้าที่เป็นนักผสมพันธุ์ข้าวมาตลอดชีวิตการเป็นลูกจ้าง





ลำไย เล่าว่า เข้ามาเป็นลูกจ้างเป็นคนงานเกษตรของศูนย์วิจัยข้าวฯ มาตั้งแต่ยังไม่มีการก่อตั้งกรมการข้าวรวมเวลาการเป็นลูกจ้างกว่า 20 ปี

แรกเริ่มเข้ามาเป็นคนงานเกษตรที่ต้องทำงานทั่วไป แต่ต่อมาก็ได้รับการถ่ายทอด จากลูกจ้างรุ่นก่อน ๆ ให้เป็นนักผสมพันธุ์ข้าว โดยฝึกฝนมาตั้งแต่อายุยี่สิบกว่ากระทั่งปัจจุบันก็ยังทำหน้าที่สำคัญนี้

นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ “ครู” ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกจ้างรุ่นใหม่ที่เข้ามา ซึ่งลำไยบอกว่าลูกจ้างรุ่นใหม่ที่เข้ามานั้นน้อยคนนักที่จะอาสาเข้ามาเป็นนักผสมพันธุ์ข้าว เพราะเป็น งานที่ต้องอาศัยความประณีต ละเอียดอ่อน แต่ทำงานเหมือนชาวนาคนหนึ่งหลังรับคำสั่งปฏิบัติการจากนักวิจัย

เริ่มตั้งแต่การปักดำ ผสมพันธุ์ข้าว และเกี่ยวข้าว แม้จะเป็นพื้นที่นาทดลองขนาดเล็กแต่ก็ต้องสู้แดดสู้ฝน

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คนคนหนึ่งจะนั่งอยู่กับที่แทบทั้ง วันกลางแดดจ้าเพื่อแยกเกสร ตัวผู้ออกจากรวงข้าวที่คัดไว้ให้ เหลือแต่เกสรตัวเมีย





วิธีการผสมพันธุ์ข้าวนั้นเริ่มจาก การต้มน้ำวัดอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 45 องศาเซล เซียส ใส่กระติกน้ำร้อน จากนั้นเทน้ำร้อนทิ้ง นำความร้อนที่หลงเหลือในกระติกไปครอบรวงข้าว ความร้อนที่หลงเหลือในกระติกน้ำร้อนจะไปช่วยเร่งให้เมล็ดข้าวบานออกมา จากนั้นใช้เล็บเรียวค่อย ๆ กรีดรวงข้าวเมล็ดจ้อยของเกสรตัวเมียให้ฉีกออกจากกันเพียงเล็กน้อย จากนั้นก็จะใช้คีมเล็ก ๆ คล้ายแหนบคีบเกสรตัวผู้ออกจากดอกข้าวให้เหลือแต่เกสรตัวเมีย


ขณะเดียวกัน ก็จะมีนักผสมพันธุ์ข้าวอีกคน ที่ต้องทำงานไปพร้อม ๆ กัน ทำหน้าที่คีบเกสรตัวผู้ที่คัดไว้เข้าไปวางในดอกข้าวที่เหลือแต่เกสรตัวเมีย เพื่อให้เกิดการผสมพันธุ์กัน แต่การผสมพันธุ์ข้าวในแต่ละรวงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครทำได้ในเร็ววัน เนื่องจากเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ

เพราะเกสรดอกข้าวนั้นมีขนาดเล็กมากหากมือไม่นิ่ง หรือมือหนักไปก็จะทำให้เกสรข้าว หรือกระทั่งมดลูกของดอกข้าวช้ำและจะส่งผลให้การผสมพันธุ์ไม่ประสบผลสำเร็จ

อาชีพนักผสมพันธุ์ข้าว ดูแล้วอาจต่ำต้อย เพราะเป็นเพียงคนงานคนหนึ่ง แต่สิ่งที่ ทำให้ภูมิใจ คือ การได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย ทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศ และเพื่อการส่งออก ล้วนแต่ต้องผ่านมือนักผสมพันธุ์ข้าวมืออาชีพอย่างตน มาทั้งนั้น


“เราดีใจนะ ได้เห็นข้าวที่เราผสมพันธุ์ออกมาแล้วได้ผล บางครั้งไม่ติดก็มี ที่ภูมิใจมีข้าว กข 105 เราก็ทำเองกับมือ” เพลินตาบอกด้วยรอยยิ้ม

เพลินตา บอกว่า รู้สึกภาคภูมิใจในการทำหน้าที่เป็นนักผสมพันธุ์ข้าว แม้ว่าตลอดชีวิตจะทำงานแบบปิดทองหลังพระมาตลอดชีวิต

น้อยคนนักจะรู้ว่า ก่อนที่นักวิจัยจะพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ออกมาในแต่ละพันธุ์ บุคคลที่มีส่วนอย่างมากที่จะทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ คือ การได้ผู้ช่วยนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการเป็นนักผสมพันธุ์ข้าว อย่างพวกเรา

ปัจจุบันก็ยอมรับว่าจำนวนคนงานหรือลูกจ้างที่จะมาทำหน้าที่เป็นนักผสมพันธุ์ข้าว จึงเป็นเรื่องที่กรมการข้าวต้องเร่งผลิตบุคลากรเหล่านี้ออกมา ทดแทนคนรุ่นเก่าที่กำลังจะเกษียณอายุไปในเร็ว ๆ นี้

ขณะเดียวกันงานวิจัยพันธุ์ข้าวใหม่ต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอด เพื่อสู้กับโรค แมลงศัตรูพืช สิ่งเหล่านี้ปรับตัวตลอดเวลา

อีกทั้งต้องผลิตพันธุ์ข้าวใหม่ๆ เพื่อรองรับสภาพนาที่ลุ่มที่ดอนต่างกัน รวมทั้งเป้าหมายที่จะผลิตข้าวส่งออกต้องหาพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงต้นทุนต่ำ เหล่านี้เป็นภาระหนักของการวิจัยพันธุ์ข้าว

ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวยอมรับว่า ปัจจุบันงานวิจัยกับการพัฒนาเป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพราะว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว จะให้ความสำคัญกับงานวิจัยค่อนข้างมาก

โดยเฉพาะประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจโลก จะแบ่งงบประมาณส่วนหนึ่งหรือประมาณ 2% ของ จีดีพี มาใช้ในการวิจัยและในขณะเดียวกันก็มี การพัฒนาจำนวนนักวิจัยในประเทศด้วย

ทั้งนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีจำนวนนักวิจัยมากกว่า 50 คนต่อประชากร 10,000 คน แต่ประเทศไทยจำนวนนักวิจัยมีน้อย ประมาณ 3-5 คนต่อประชากร 10,000 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ให้ความสนใจและเร่งแก้ไข เพื่อมุ่งเพิ่มสัดส่วนนักวิจัยให้มีมากขึ้นในทุกสาขาอาชีพ


ในส่วนของนักวิจัยพัฒนาด้านข้าวนั้น ปัจจุบันประเทศไทยยังมีนักวิจัย นักผสมพันธุ์ข้าวในสัดส่วนที่น้อย เนื่องจากเป็นงานที่ต้องทุ่มเท และอดทน เพราะข้าวแต่ละพันธุ์กว่าจะสามารถทำวิจัยได้สำเร็จต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 8-10 ปี ทำให้ความสนใจเข้ามาศึกษาในสาขานี้ต่ำ ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีพื้นที่ทำนากว่า 57.5 ล้านไร่ ชาวนากว่า 3.7 ล้านครัวเรือน และมียอดส่งออกข้าวกว่าแสนล้านบาท แต่การวิจัยและพัฒนาข้าวไทยยังมีน้อย


ดังนั้น กรมการข้าวจึงให้ความสำคัญในการพัฒนางานวิจัยข้าวของไทย ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อตอบสนองความต้องการและภาวะการแข่งขันโลกและรองรับวิกฤติอาหารโลกในอนาคต

รวมทั้งเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว พัฒนาเศรษฐกิจชาวนาให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้การผลิตข้าวของประเทศมีเสถียรภาพ มีแนวทางการดำเนินงานที่เน้น 4 ยุทธศาสตร์ได้แก่

- การเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าว
- การลดการสูญเสีย
- รักษาเสถียรภาพผลผลิต
- การเพิ่มมูลค่า

และการสร้างมูลค่าข้าวและเสริมสร้างความสามารถในการผลิตข้าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางการอาหารในพื้นที่เฉพาะ

หรือแม้กระทั่งระเบียบ การจ้างลูกจ้างมาทำงานเป็นนักผสมพันธุ์ข้าวนั้นทำค่อนข้างยากหรือล่าช้า

แต่ยืนยันว่าในแผนการ วิจัยข้าวและพัฒนาข้าวนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านนี้เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วน และจำเป็นอย่างยิ่งต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อให้มีคุณภาพเหมาะสมกับความต้องการในอนาคต ทั้งเพื่อการส่งออก และบริโภคในประเทศต่อไป



แหล่งที่มา เดลินิวส์ออนไลน์
http://board.goosiam.com/news2/html/0009540.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 6:17 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

11. พันธุ์ข้าวไทย มาจากไหน


ข้าวไทยปลูกกันมาแต่โบร่ำโบราณ โดยบรรพบุรุษชาวนาไทยที่สืบทอดมรดกทางปัญญาสืบต่อกันมา จนเมื่อปี พ.ศ.2493 กรมการข้าวรวบรวมพันธุ์ข้าวจากท้องนาทั่วประเทศ กว่าจะได้ข้าวจาก 331 อำเภอกว่าจะได้ข้าวก็ใช้เวลากว่า 10 ปี ในปี พ.ศ. 2504 กรมการข้าวรวบรวมข้าวได้ทั้งหมด 4,937 พันธุ์

เมล็ดพันธุ์ข้าวที่รวบรวมมาได้ ถูกเก็บไว้ที่ห้องสมุดข้าว หรือศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวแห่งชาติ กรมการข้าว ซึ่ง(พ.ศ.2549) มีเมล็ดพันธู์ข้าวที่สะสมไว้ เพื่อการวิจัย ศึกษา ทดลอง ปรับปรุงสายพันธุ์มากกว่า 25,000 พันธุ์ เป็นข้าวไทย 20,000 พันธุ์ และพันธุ์ข้าวต่างประเทศอีกประมาณ 5,000 พันธุ์ ข้าวทั้งหมดถูกเก็บไว้ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ ตั้งแต่ 15 องศาเซลเซียส ไปจนถึง -10 องศาเซลเซียส เพื่อให้เมล็ดคงคุณภาพสำหรับงานวิจัยยาวนานตั้งแต่ 5 ปี ไปจนถึง 50 ปี(ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ด้วย)


ผสม (เทียม) พันธุ์ข้าว ทำกันอย่างไร
หากต้องการข้าวพันธุ์ใหม่สักหนึ่งพันธุ์ เจ้าหน้าที่กรมการข้าวจะต้องตั้งคุณสมบัติของข้าวพันธุ์ใหม่ที่ต้องการก่อน เช่น หอม เมล็ดยาว หุงขึ้นหม้อ แล้วก็เลือกพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ที่มีคุณสมบัติที่ต้องการมาผสมพันธุ์กัน แต่ปัญหาคือข้าวแต่ละพันธุ์มีอายุหรือระยะ (เวลา) ผสมพันธุ์ไม่ตรงกัน เช่น บางพันธุ์ 110 วัน บางพันธุ์ 90 วัน จากนั้น ต้องใช้วิธีคลุมถุุงชน และผสมเีีทียม

เริ่มต้นจากบีบบังคับขืนใจให้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ มีช่วงผสมพันธุ์ระยะเีดียวกันก่อน ข้าวเป็นพืชที่เติบโตด้วยการสังเคราะห์แสง และกินแร่ธาตุอาหารในดิน เพราะฉะนั้น หากจะหยุดการเจริญเติบโตของข้าวพ่อพันธุ์ หรือแม่พันธุ์ให้มีระยะผสมพันธุ์ตรงกัน ก็ต้องเอาต้นที่ผสมพันธุ์เร็วกว่า เข้าห้องมืดชะลอวันเวลาพร้อมผสมพันธุ์ เพื่อรอความพร้อมของอีกฝ่ายหนึ่งก่อนนั่นเอง


เมื่อถึงระยะพร้อมผสมพันธุ์พร้อมกัน ข้าวทั้งสองพันธุ์ก็จะออกดอกพร้อมกัน ซึ่งข้าวจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือมีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย ในดอกเดียวกัน ทำให้ข้าวผสมพันธุ์เองได้ในต้นเดียวกัน เพราะฉะนั้น หากต้องการให้ผสมพันธุ์ข้ามต้น และข้ามสายพันธุ์ ก็ต้องฆ่าเกสรตัวผู้ในต้นแม่พันธุ์ และฆ่าเกสรตัวเมียในต้นพ่อพันธุ์ก่อน การคลุมถุงชน และผสมเีทียมด้วยการคีบอับละอองเกสรตัวผู้จากพันธุ์หนึ่ง มาใส่รังไข่ในเกสรตัวเมียของอีกต้นหนึ่ง


จากนั้นเมื่อข้าวงอกเป็นเมล็ดก็จะต้องนำไปทดลองปลูก ปลูกแล้วปลูกอีก เพื่อทดสอบความแข็งแกร่งอดทน ติดตามการเจริญแข็งแรงเติบโต ความต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืชต่างๆ ...ขอพระราชทานชื่อใหม่ ตรวจสอบแก้ไขอีกครั้ง

เมื่อได้เมล็ดข้าวที่ผสมต่างสายพันธุ์ตามต้องการแล้ว ก็จะต้องทดลองปลูกสนพื้นที่นาจริงๆ ปลูกแล้วปลูกอีกซ้ำแล้วซ้ำอีกยาวนานกว่า 6 ปี เืพื่อติดตามทดสอบการเิจริญเติบโต ความอดทนต่อสภาพแวดล้อม ปริมาณผลผลิตจนกระทั่งนำผลผลิตเข้าห้องทดลอง เพื่อหาปริมาณแป้งในข้าวแต่ละเมล็ด เมล็ดข้าวที่ผ่านด่านการทดสอบนี้ไปได้ กรมการข้าวจึงจะขอพระราชทานชื่อ และส่งให้ศูนย์ส่งเสริมเมล็ดพันธุ์พืช เพาะเมล็ด ขยายพันธุ์ และส่งเสริมให้ชาวนาไทยปลูกกันต่อไป

คุณภาพข้าวไทยถือเป็น 1 ใน 5 ของพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดในโลก และสุดยอดพันธุ์ข้าวไทย ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นที่หนึ่งของโลก คือ ข้าวหอมมะลิ









http://www.rcc5141100793.ob.tc/kobnorkkrala2.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 6:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

12. นักวิชาการหนุนยึดจีนต้นแบบ ‘ข้าวลูกผสม’

เพิ่มรายได้เกษตรกรไทยก่อนถูกเวียดนามแซง

ผู้จัดการออนไลน์


หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ - ผู้เชี่ยวชาญด้านเมล็ดพันธุ์พืชชี้ถึงเวลาไทยใช้ “ข้าวลูกผสม” เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร แก้ปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ ปัจจุบันแม้ราคาข้าวสูงแต่เกษตรกรยังไม่ได้กำไร แนะศึกษาความสำเร็จจากจีน ที่ปลูกข้าวลูกผสมจนได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงถึง 1,000 กิโลกรัม ขณะที่ไทยได้เพียง 400 กิโลกรัมต่อไร่ หวั่น “งบประมาณ-บุคลากร” ด้านพัฒนาพันธุ์ข้าวขาดแคลน ทำให้เวียดนาม อินเดีย แซงหน้าไทย

สถานการณ์ข้าวในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าสนใจยิ่ง เพราะราคาข้าวโลกมีการถีบตัวสูงสุดในรอบ 19 ปี คือมีการปรับตัวสูงขึ้นถึง 245% ราคาข้าวในไทยที่เคยขายได้เกวียนละ 6,000-7,000 บาท ช่วงหนึ่งก็ขายได้ในราคาสูงกว่าทองคำคือแตะที่ระดับ 15,000 บาทต่อเกวียน

อย่างไรก็ตามเมื่อราคาข้าวพุ่งขึ้นสูงถึงหลักหมื่นบาทต่อตัน ผู้บริโภคไทยก็ต้องรับผลกระทบต่อการบริโภคข้าวในราคาสูงมาก ขณะที่ตัวเกษตรกรไทยผู้ปลูกข้าว แม้ราคาข้าวจะสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องเพราะเกษตรกรต้องเจอภาวะต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากปุ๋ยและยาฆ่าแมลงกว่าเท่าตัวในช่วงที่ผ่านมา

นี่เป็นสาเหตุที่มีเสียงสะท้อนจากภาคเอกชนและรัฐบาลไทยในเรื่องของการนำ “ข้าวพันธุ์ลูกผสม” มาใช้ในประเทศไทย โดยมีต้นแบบการศึกษาจากความสำเร็จของ “จีน”


แนะใช้ข้าวลูกผสมเพิ่มกำไรเกษตรกร
รศ.ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เปิดเผยว่า จากการทำรายงานเรื่อง “ข้าวลูกผสม-โอกาสในการเพิ่มผลผลิตข้าวของไทย” พบว่าปัญหาการปลูกข้าวของเกษตรกรไทยที่ต้องเผชิญต่อต้นทุนที่สูงขึ้นมากจากการปลูกข้าวนั้นสามารถแก้ได้โดยการนำ “ข้าวพันธุ์ลูกผสม”มาใช้ในสังคมไทย ซึ่งจากตัวอย่างของประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตได้ประมาณ 300 กิโลกรัม/ไร่ หรือประมาณ 30% ของผลผลิตปกติ

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวอยู่ที่ 430 กิโลกรัม/ไร่ ขณะที่คู่แข่งอย่างจีนมีผลผลิตข้าวต่อไร่มากกว่า 1,000 กิโลกรัม เวียดนามมีผลผลิตข้าว 778 กิโลกรัม/ไร่ อินโดนีเซีย 741 กิโลกรัม/ไร่ และอินเดียมีผลผลิต 512 กิโลกรัม/ไร่ แม้ประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ในโลก แต่ความสามารถในการแข่งขันยังถือว่าสู้ประเทศอื่นไม่ได้ ขณะที่ไทยมีงบประมาณด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวน้อยมาก แต่รัฐบาลเวียดนามกลับให้ความสำคัญกับการทุ่มงบจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าว

สำหรับข้าวที่เป็นเมล็ดพันธุ์นั้นจะมี 2 แบบด้วยกัน แบบแรกคือข้าวพันธุ์แท้ที่จะมีลักษณะการผสมพันธุ์ตัวเอง ซึ่งสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไปใช้ได้เรื่อยๆ แต่ยิ่งปลูกหลายรุ่น ลักษณะทางพันธุกรรมของข้าวนั้นๆ จะมีลักษณะเสื่อมถดถอยไปเรื่อยๆ จึงควรเก็บเมล็ดพันธุ์วิธีที่ดีที่สุดของการใช้เมล็ดพันธุ์แท้คือควรเก็บไว้ใช้เพียง 2-3 ปี และใช้เมล็ดพันธุ์ใหม่ในรอบการผลิตต่อไปจะดีที่สุด

อีกแบบคือ ข้าวลูกผสม ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์แท้สองสายพันธุ์ที่มีฐานพันธุกรรมต่างกัน โดยลูกผสมชั่วที่ 1 จะให้ลักษณะทางด้านปริมาณและคุณภาพที่ดีกว่าพันธุ์พ่อหรือพันธุ์แม่ เพราะเทคโนโลยีข้าวลูกผสมได้นำเอาหลักการความแข็งแรงของลูกผสมที่ดีเด่นกว่าพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ (Hybrid vigor) ในการให้ผลผลิตสูงกว่ามาใช้


ศึกษาข้าวลูกผสมจีน
อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกรไทย แต่เมื่อศึกษาจากกรณีของจีน ก็พบว่าประเทศไทยน่าจะมีการพัฒนาข้าวลูกผสมมาใช้เป็นทางเลือกให้เกษตรกรไทยด้วย

จีน เป็นประเทศแรกของโลกที่คิดค้นวิจัยพัฒนาข้าวลูกผสมเป็นผลสำเร็จตั้งแต่ปี 2517 โดยศ.หยวนหลงผิง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งชาติจีน ซึ่งเป็นผู้คิดค้นข้าวลูกผสมเป็นผลสำเร็จจนได้รับการขนานนามจากนานาชาติว่าเป็น “บิดาแห่งข้าวลูกผสม” และได้รับรางวัล World Food Prize สำหรับความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้ช่วยลดปัญหาความขาดแคลนด้านอาหารเมื่อ 29 มีนาคม 2548 รางวัลดังกล่าวได้รับการยอมรับกลายๆ ว่าเป็นรางวัลโนเบลสำหรับวงการอาหารและการเกษตรด้วย

โดยจีนเริ่มจากความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมจนปัจจุบันสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวในบางพื้นที่ของจีนได้จำนวนผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,500 -2,000 กิโลกรัมต่อไร่ สิ่งนี้คือคำตอบเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารของจีน ที่มีประชากรสูงสุดในโลกคือ 1,300 ล้านคน ปัจจุบันทั้งอินเดียและเวียดนามต่างนำความรู้ด้านข้าวลูกผสมจากจีนมาพัฒนาต่อยอด

“จีนเป็นประเทศกว้างมาก ข้าวที่ปลูกตามมณฑลต่างๆ ก็จะไม่เหมือนกัน เพราะต้องพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกแต่ละที่ด้วย ซึ่งจีนก็ได้นำเทคนิคต่างๆ มาปรับใช้ และเราต้องเรียนรู้จากจีน”

โดยข้าวลูกผสมจีนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมากนั้น เรียกว่า มีลักษณะเด่นคือทำให้พันธุ์พ่อเป็นหมัน โดยศ.หยวนพบว่าการทำให้พันธุ์พ่อเป็นหมันนั้นสามารถทำได้โดยใช้เทคนิคด้านอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมมาใช้ ไม่ต้องมานั่งเอามือไปตัดดอกตัวผู้เหมือนสมัยก่อน เมื่อปลูกคู่กับดอกตัวเมียสามารถผสมไปได้เลย ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมที่มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น 20-30% ในบางพื้นที่


การันตีรายได้เกษตรกรเพิ่ม
สำหรับประเทศไทยได้นำข้าวลูกผสมจากจีนเข้ามาทดสอบและเริ่มงานวิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมในปี 2523 แล้ว โดยรัฐบาลอนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถทำการวิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมได้ด้วย แต่เนื่องจากข้าวลูกผสมนั้นจะต้องนำมาทดลองใช้ได้เฉพาะพื้นที่และด้วยข้อจำกัดบางประการ ทำให้ความคืบหน้าด้านข้าวลูกผสมเพิ่งปรากฏในช่วงปี 2550-2551 นี้เอง โดยขณะนี้บริษัทเอกชน ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมสำเร็จ ส่วนกรมการข้าวเองนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองปลูกในระดับไร่นา ซึ่งคาดว่าภายในอีก 1 -2 ปีนี้ น่าจะมีผลผลิตข้าวลูกผสมของกรมการข้าวออกมาให้เกษตรกรได้ใช้เป็นทางเลือก

“ข้อเสียของข้าวลูกผสมคือเกษตรกรจะต้องนำเมล็ดพันธุ์ใหม่มาใช้ทุกครั้ง แต่เมื่อศึกษาและเทียบประโยชน์ดูพบว่าการที่ปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่จะเพิ่มขึ้นอีก 20-25% จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้นแน่นอน”


7 ข้อดีปลูกข้าวลูกผสม
ที่ผ่านมานักวิชาการพันธุ์ข้าวได้กล่าวถึงข้อดีของข้าวลูกผสมที่มีการทดลองให้เกษตรกรปลูกอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้ว่า มีข้อเด่นมากถึง 7 ประการ คือ
1. ผลผลิตข้าวจะสูงกว่าสายพันธุ์ทั่วไปประมาณ 20-50%
2. ไม่มีพันธุ์ปน ระบบรากมีความแข็งแรงและแผ่กระจายมากกว่า
3. จำนวนเมล็ดต่อรวงมากถึง 250 เมล็ดต่อรวง หากปลูกในฤดูกาลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
4. ในเชิงการค้าข้าวลูกผสมให้ผลตอบแทนมากกว่า
5. เป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวโดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูก
6. ลดการใช้สารเคมี เพราะมีความต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว
7. ประหยัดการใช้น้ำและเพิ่มรอบการปลูก เนื่องจากข้าวลูกผสมมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าวพันธุ์ทั่วไป

อย่างไรก็ดี นอกจากข้าวลูกผสมจะมีจุดเด่นที่เพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่กำลังทดลองปลูกกันในไทยแล้ว รศ.ดร.จวงจันทร์ ย้ำว่า ได้มีความสนใจทดลองนำข้าวหอมมะลิมาพัฒนาเป็นข้าวลูกผสมด้วย โดยบริษัทเอกชนกำลังหาวิธีทำให้ข้าวหอมมะลิสามารถปลูกได้ตลอดปี แทนที่จะปลูกได้แค่ 1 ครั้งต่อปี แต่ขณะนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งได้มีหลายบริษัทกำลังทดลองทำข้าวลูกผสมเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมเช่น นำไปผลิตแป้งป้อนโรงงานอีกด้วย


ห่วงบุคลากรภาครัฐน้อย
นายกสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยนั้นคือ ขณะนี้บุคลากรด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมีน้อยมาก โดยเฉพาะในกรมการข้าวที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงพันธุ์ต่างก็เกษียณราชการไปแล้วจำนวนมาก

โดยในส่วนของระดับการศึกษา ก็พบว่าในระดับปริญญาตรีทั่วประเทศนั้น แม้ว่าจะมีการให้นักศึกษาทุกคนเรียนเรื่องปรับปรุงพันธุ์ แต่พอถึงระดับปริญญาโท-เอก พบว่ามีคนเรียนในสาขานี้ในทั่วประเทศมีไม่ถึง 100 คนต่อปี อีกทั้งพอถึงเวลาทำงาน ก็ทำงานในสายนี้น้อยมาก เพราะไปทำอาชีพอื่นได้เงินเดือนมากกว่า ทำให้บุคลากรด้านปรับปรุงพันธุ์มีน้อยลงทุกที ขณะที่งบประมาณของภาครัฐต่อการปรับปรุงพันธุ์พืชก็น้อยมากต่อปี จึงอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมของภาครัฐไทย ขณะเดียวกันกลับพบว่าเวียดนามส่งคนมาเรียนด้านปรับปรุงพันธุ์ในระดับปริญญาโท-เอก มากขึ้นทุกปี

อย่างไรก็ดี แม้ว่าในไทยนั้นยังมีข้อถกเถียงถึงการให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวลูกผสมกันอยู่ว่า เหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่ เนื่องเพราะเป็นห่วงว่าจะถูกภาคเอกชนผูกขาดด้านเมล็ดพันธุ์อีกทั้งอาจมีผลต่อการทำลายความมั่นคงทางชีวภาพของไทยไป แต่อย่าลืมว่าในสถานการณ์วิกฤตขาดแคลนอาหารโลก โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่อย่างจีนที่เกรงว่าพลเมืองจำนวนมากของจีนจะเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหาร

“ข้าวลูกผสม”จึงเปรียบเป็นพระเอกที่มาช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดี...



http://www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=27&s_id=2240&d_id=2237
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 6:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

13. ดอกข้าว





ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกสองแผ่นประสานกันเพื่อห่อหุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกแผ่นใหญ่เรียกว่า lemma ส่วนเปลือกนอกแผ่นเล็กเรียกว่า palea ทั้งสองเปลือกนี้ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้ ถ้าที่เปลือกนี้ไม่มีขน ที่ใบของมันก็จะไม่มีขนและผิวเรียบด้วย ที่ปลายสุดของ lemma จะมีลักษณะเป็นปลายแหลมยื่นออกมา เรียกว่า หาง (awn) พันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีหางสั้นและบางพันธุ์ก็มีหางยาว พันธุ์ที่มีหางยาวเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ เพราะทำให้เก็บเกี่ยวและนวดยาก

นอกจากนี้อาจทำให้ผู้เข้าไปเก็บเกี่ยวเกิดเป็นแผลตามผิวหนังได้ง่าย ที่ปลายด้านล่างของ lemma และ palea เท่านั้นที่ประสานติดกันอยู่บนก้านสั้น ๆ ที่เรียกว่า rachilla และที่ด้านบนของ rachilla นี้จะมีแผ่นบาง ๆ สองแผ่นขนาดเท่า ๆ กัน ทำหน้าที่บังคับให้ lemma และ palea ดังกล่าวปิดหรือเปิดได้ แผ่นบาง ๆ สองแผ่นนี้เรียกว่า lodicules ที่ฐานของ rachilla จะมีเปลือกบาง ๆ อีกสองแผ่นขนาดเล็กกว่า lemma และ palea และมีรูปร่างค่อนข้างยาวประกบอยู่ที่ฐานของ lemma และ palea เรียกว่า sterile lemmas ซึ่งที่ปลายด้านล่างของ sterile lemmas ก็ประสานติดกันอยู่รอบ ๆ ข้อซึ่งเรียกว่า rudimentary glumes ต่อลงมาก็จะเป็นก้านดอก (pedicel) ซึ่งติดอยู่บนระแง้ทุติยภูมิของช่อดอกข้าวดังกล่าว

ส่วนที่อยู่ภายในซึ่ง lemma และ palea ห่อหุ้มไว้นั้น ได้แก่ เกสรตัวผู้ (stamen) และเกสรตัวเมีย (pistil) เกสรตัวผู้ประกอบด้วยกระเปาะสีเหลือง (anther) ซึ่งภายในมีละอองเกสร (pollen grains) ขนาดเล็กจำนวนมาก กระเปาะนี้ติดอยู่บนก้านยาวเรียกว่า filament และเชื่อมติดอยู่กับฐานของดอก ในดอกข้าวแต่ละดอกจะมีกระเปาะเกสรตัวผู้จำนวน ๖ อัน ส่วนเกสรตัวเมียนั้น ประกอบด้วยที่รับละอองเกสรตัวผู้ (stigma) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหางกระรอกขนาดเล็กจำนวนสองอัน แต่ละอันมีก้าน (style) เชื่อมติดอยู่กับรังไข่ (ovary) ในรังไข่จะมีไข่ ซึ่งเมื่อถูกผสมเกสรแล้วก็จะกลายเป็นเมล็ด จึงเห็นได้ว่าดอกข้าวเป็นดอกชนิดที่เรียกว่าดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) เพราะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน

ฉะนั้น การผสมเกสร (pollination) ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบการผสมตัวเอง (self-pollination) และมีการผสมเกสรแบบข้ามต้น (cross-pollination) เป็นจำนวนน้อยมากหรือประมาณ ๐.๕-๕ % เท่านั้น

ปกติการผสมเกสรเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันในเวลาเช้า และก่อนที่ lemma และ palea จะบานออกเล็กน้อย ดอกข้าวจะเริ่มบานจากปลายรวงลงมาสู่ โคนของรวงข้าว และรวงหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาประมาณ ๗ วัน เพื่อให้ดอกทุกดอกได้บานและมีการผสมเกสร




ที่มา : จากหนังสือ "ความรู้เรื่องข้าว" โดย ดร. ประพาส วีระแพทย์ สาขาคัดพันธุ์ต้านทานศัตรูข้าว กองการข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

http://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/03/lab1k22.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 8:32 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 6:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

14. นักวิจัยล้านนาพัฒนา "ข้าวลูกผสม" พร้อมลงแปลงอีก 3 ปี


ด้วยเห็นปัญหาว่า ไทยมีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ แต่ผลผลิตต่อไร่ยังต่ำกว่าประเทศอื่นๆ และมีแนวโน้มถูกแซงไปเรื่อยๆ "ดร.ปัทมา ศิริธัญญา" นักวิจัยหญิงจากล้านนา จึงมุ่งมั่นพัฒนาพันธุ์ "ข้าวลูกผสม" โดยคาดหวังอีก 3 ปีสามารถลงแปลงนาให้เกษตรกรทดลองปลูกได้

เวทีเสวนา "คุยกัน...ฉันวิทย์" กิจกรรมของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้เข้าร่วมฟังเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.51 ซึ่งจัดขึ้นในหัวข้อ "พันธุ์ข้าวลูกผสม ความหวังที่อุดมด้วยผลผลิต" โดยมีวิทยากรคือ ดร.ปัทมา ศิริธัญญา นักวิจัย และรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่ ผู้ศึกษาและวิจัยเรื่องข้าวลูกผสมมาได้ 8 ปี

ดร.ปัทมาอธิบายแก่ผู้จัดการวิทยาศาสตร์และผู้เข้าฟังเสวนาคนอื่นๆ ว่า โดยปกติข้าวจะผสมพันธุ์ในตัวเอง แต่ข้าวพันธุ์ลูกผสมจะได้จากต้นข้าวพันธุ์แม่ ที่ยีนเกสรตัวผู้เป็นหมัน ผสมกับต้นพันธุ์พ่อ ซึ่งเป็นต้นข้าวที่ผสมพันธุ์ได้ในตัวเอง โดยผลผลิตของข้าวลูกผสม จะเพิ่มขึ้นจากผลผลิตของพ่อ-แม่พันธุ์อย่างต่ำ 20%

"ทุกวันนี้ไทยใช้ข้าวสายพันธุ์แท้ตลอด ยังไม่มีการใช้พันธุ์ข้าวลูกผสมเลย โดยวิวัฒนาการข้าวสายพันธุ์แท้มีมานานแล้ว และไทยก็มีความหลากหลายของข้าวสายพันธุ์แท้อยู่มาก พันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดอยู่ในไทย แต่ทุกวันนี้ผลผลิตเฉลี่ยข้าวของไทยตลอดทั้งปีไม่เพิ่มขึ้น จึงต้องหาเทคนิคใหม่ที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ (พืชตัดต่อพันธุกรรม) ซึ่งพันธุ์ข้าวลูกผสมจะเพิ่มขึ้น 20% และช่วยให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นด้วย" ดร.ปัทมากล่าว



จากเอกสาร "ข้าวลูกผสม: สถานภาพข้าวลูกผสมในนานาประเทศ" ของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้รับจากงานแถลงข่าว โดยระบุข้อมูลผลผลิตข้าวเฉลี่ยของไทยระหว่างปี 2546-2548 อยู่ที่ประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจัดอยู่อันดับที่ 6 ของโลก ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่ผลผลิตข้าวเฉลี่ยราว 750 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่จีนครองอันดับสูงสุดผลิตข้าวเฉลี่ยได้มากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่

ทั้งนี้ ดร.ปัทมาระบุว่าการพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมเริ่มต้นที่จีน เนื่องจากปริมาณข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค โดยบิดาแห่งพันธุ์ข้าวลูกผสมคือ ศ.หยวน ลองปิง (Prof.Yuan Longping) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งจีน (China National Hybrid Rice R&D Center) ซึ่ง ดร.ปัทมาก็ได้ไปศึกษาวิจัยทางด้านนี้กับ ศ.หยวนที่ประเทศจีนด้วย

ข้าวลูกผสมจะให้ผลผลิตสูงขึ้น ในข้าวรุ่นแรก แต่ผลผลิตของข้าวรุ่นถัดไปไม่คงที่และจะลดลงในรุ่นถัดไป ซึ่ง ดร.ปัทมาระบุว่า คุณสมบัติเช่นนี้เหมาะกับชาวนาในภาคกลาง ที่ปลูกข้าวเพื่อขายทั้งหมด แล้วซื้อพันธุ์มาปลูกอีก ต่างจากชาวนาภาคเหนือและอีสาน ที่ปลูกข้าวเพื่อบริโภคเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเหลือจึงนำไปขาย และจะกันส่วนหนึ่งไว้เป็นพันธุ์สำหรับปลูกในปีต่อไป

ส่วนข้าวลูกผสมจะส่งผลต่อความหลากหลายของข้าวพันะแท้หรือไม่ ดร.ปัทมาตอบคำถามดังกล่าวกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า ขึ้นอยู่กับวิธีปลูก โดยวิธีปลูกข้าวของชาวนาในภาคกลาง ตามที่อธิบายไปก่อนนั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อข้าวพันธุ์แท้อย่างแน่นอน เนื่องจากปกติชาวนาจะปลูกเพื่อขายทั้งหมดและซื้อพันธุ์มาปลูกใหม่อยู่แล้ว นอกจากนี้เธอยังมีงานวิจัยที่ช่วยอนุรักษ์และเพิ่มผลผลิตของพันธุ์ข้าวท้องถิ่น

ปัจจุบัน ดร.ปัทมาได้ทดลองปลูกข้าวลูกผสมที่มีข้าวพันธุ์ที 6-4 (T6-4) เป็นพันธุ์แม่และมีข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 เป็นพันธุ์พ่อ ผลจากการทดลองได้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,578 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตต่อไรมากกว่า 2 กิโลกรัมประมาณ 20 สายพันธุ์ ทั้งนี้คาดหวังว่าอีก 3 ปีจะสามารถพัฒนาจนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ชาวนาได้ลองปลูก เพื่อประเมินว่าคุ้มหรือไม่

"หลังจากนี้ต้องผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปทดสอบที่สถานีทดลองข้าว ในเขตภาคกลางอีกหลายสถานี โดยต้องทดลองปลูกอย่างน้อย 3 ฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี จากนั้นจึงนำไปทดสอบกับแปลงเกษตรที่ใหญ่ขึ้น และในขั้นตอนสุดท้ายคือปลูกในแปลงขนาดใหญ่แล้วให้ชาวนาเลือกว่าจะใช้พันธุ์ไหนดีที่สุด" ดร.ปัทมากล่าว

ข้าวที่ ดร.ปัทมาพัฒนาขึ้นมานั้นมีคุณค่าทางสารอาหาร เทียบเท่ากับข้าวหอมมะลิแต่มีอะไมเลส (Amylase) ทำให้ข้าวแข็งกว่า อย่างไรก็ดีไม่ได้คาดหวังที่จะพัฒนาพันธุ์ข้าวไปแข่งในตลาดข้าวหอมมะลิ หากแต่มองไกลไปถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ข้าวเป็นส่วนผสม เช่น อุตสาหกรรม แป้ง อุตสาหกรรมยา เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มผลผลิตของข้าวมากๆ จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ชาวนาได้จากการป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมไม่ใช่เพียงป้อนเข้าตลาดบริโภคอย่างเดียว

อย่างไรก็ดี ทีมข่าวเชิงวิเคราะห์ของผู้จัดการได้นำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับข้าวลูกผสม โดยระบุข้อมูลวิจัยของวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ และ จักรกฤษณ์ พูลสวัสดิ์กิติกุล จากมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย - BioThai) ที่ศึกษากรณีพันธุ์ข้าวลูกผสมของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ระหว่างเดือน ก.พ.-พ.ค.51 จากการสุ่มในจังหวัดกำแพงเพชรและอุตรดิตถ์

รายงานระบุว่า ผลผลิตของข้าวพันธุ์ผสมสูงกว่าข้าวทั่วไปเพียงเล็กน้อย ไม่คุ้มกับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยบริษัทโฆษณาว่าให้ผลผลิตได้ 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในทางปฏิบัติได้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 958 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ซึ่งไม่คุ้มกับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าเมล็ดพันธุ์ที่คิดเป็น 40% ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนคุณภาพของข้าวก็ต่ำกว่าข้าวสายพันธุ์อื่นๆ โดยมีความแข็งมากกว่าและรับประทานไม่อร่อย


http://blog.spu.ac.th/FutureCareer/2008/06/10/entry-9
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

15. ชวนชาว we are cp มารู้จักข้าวลูกผสมกัน


ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อนๆชาวซีพีคงได้ติดตามข่าวสารกันถึงเรื่อง ภาวะราคาข้าวที่พุ่งสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน จนมีการพูดถึงเรื่อง ”ข้าว” หลายแง่หลายมุมกันเช่น เรากำลังเข้าสู่”ยุคข้าวทองคำ ”หรือเราเข้าสู่” ยุคข้าวยากหมากแพง” หรือ”ข้าวไทยวิกฤตหรือโอกาส” “ชาวนาไทยจะร่ำรวยก็คราวนี้” จนถึงข่าวเศรษฐีอาหรับจะมาจับจองที่ทางเมืองไทยเอาไว้ทำนาจนฮือฮากัน

“ข้าว” จึงกลายเป็น ”ทอลค์ ออฟ เดอะ ทาวน์” เช่นเดียวกับในช่วงที่ผ่านมา ผู้บริหารของเครือฯ ตั้งแต่ท่านประธานธนินท์ คุณสุเมธ เหล่าโมราพร กลุ่มการค้าระหว่างประเทศ อาจารย์มนตรี คงตระกูลเทียนกลุ่มพืชครบวงจรได้พูดถึง ”ข้าว” โดยเฉพาะท่านประธานของเราได้เสนอยุทธศาสตร์ของการใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูก ”พืชน้ำมันบนดิน” ที่สำคัญรวมทั้งเรื่องของ ”ข้าว” จากนั้นมาก็มีอาจารย์มนตรีพูดถึงทางสร้างโอกาสวงการข้าวไทยด้วยการพัฒนาส่งเสริมให้มีการใช้ ”ข้าวลูกผสม” ที่มีจุดแข็งในเรื่องของการให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูง โดยมีระบบการจัดการด้านน้ำ ดิน การป้องกันโรค การจัดการด้านการเก็บเกี่ยว ซึ่งหลายวงการ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรต่างออกมาสนับสนุนแนวทางการใช้ ”ข้าวลูกผสม”

แล้วจู่ๆก็มีนักวิจัย มูลนิธิชีววิถีออกมาโจมตีว่า ข้าวพันธุ์ลูกผสมของ ซี.พี. มีปัญหาผลผลิตไม่เป็นไปตามคำโฆษณา แถมบอกจะต่อต้านจนถึงที่สุด


ทีมงาน we are cp.com เชื่อว่าเมื่อเพื่อนๆกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกับเรื่องนี้ คงมีข้อสงสัยว่าข้อกล่าวหานี้จริงหรือ

ทีมงาน we are cp.com เลยไปสืบเสาะ สรรหาข้อมูลจากทีมงานพืชไร่ ทั้งคุณวิชัยหรือคุณอ๊อด ผู้บริหารที่รู้เรื่องนี้เลาให้ฟังว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เนื่องจากเป็นการนำข้อมูลด้านเดียวของเกษตรกรที่ดำเนินการเพาะปลูกแล้วประสบปัญหามาพูด ในข้อเท็จจริง มีเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกถูกต้องตามหลักวิชาการสามารถปลูกข้าวได้มากกว่า จึงเป็นการให้ข้อมูลกับสังคมไม่ครบ โดยกลุ่ม NGO นี้ไม่ได้พูดถึงเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ

ข้าวลูกผสม (Hybrid rice) คือ อะไร ก็คือ พันธุ์ข้าวที่ผ่านการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์โดยนักปรับปรุงพันธุ์ เกิดจากการผสมระหว่างข้าวต่างพันธุ์ที่มีฐานพันธุกรรมแตกต่างกันโดยลูกผสมชั่วที่ 1 จะให้ลักษณะทางด้านปริมาณและคุณภาพที่ดีกว่าพันธุ์พ่อหรือพันธุ์แม่ อันเนื่องมาจากความดีเด่นของลูกผสม

การผลิตข้าวลูกผสม เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวต่างพันธุ์ และต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาจากการผสมพันธุ์ใหม่ทุกปี แตกต่างจากทำนาโดยทั่วไป ที่สามารถใช้เมล็ดพันธุ์แท้จากแปลงปลูกในปีก่อนทำพันธุ์ได้ เทคโนโลยีข้าวลูกผสมได้นำเอาหลักการความแข็งแรงของลูกผสมที่ดีเด่นกว่าพันธุ์แม่และพันธุ์พ่อ (Hybrid vigor) ในการให้ผลผลิตที่สูงกว่ามาใช้ และเนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ผสมตัวเอง โอกาสการผสมข้ามต้นมีน้อยมาก การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมจึงต้องผลิตโดยใช้ข้าวพันธุ์แม่ที่มีเกสรตัวผู้หรือเรณูเป็นหมันผสมพันธุ์กับพันธุ์พ่อที่ให้เรณูสมบูรณ์



พันธุ์ข้าวลูกผสมมีข้อดี ให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าข้าวสายพันธุ์ทั่วไปประมาณ 20-50% โดยปลูกในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ไม่มีพันธุ์ปน ระบบรากมีความแข็งแรงและแผ่กระจายมากกว่า จำนวนเมล็ดต่อรวงมาก ( 250 เมล็ด/รวงขึ้นไป ในฤดูกาลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม)

ในการผลิตข้าวเชิงการค้า ข้าวลูกผสมให้ผลตอบแทนที่มากกว่าข้าวสายพันธุ์แท้ เป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวโดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูก ลดการใช้สารเคมี เมื่อปลูกข้าวลูกผสมที่ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว ประหยัดการใช้น้ำและเพิ่มรอบการปลูก เมื่อปลูกข้าวลูกผสมอายุสั้น


การพัฒนาข้าวพันธุ์ลูกผสมของ ซี.พี.
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด เริ่มทำการวิจัยและพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมร่วมกับ ดร.มิลากลอส ที. โลเปซ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ประเทศฟิลิปปินส์ (International Rice Research Institute : IRRI) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จากการปลูกทดสอบและคัดเลือกได้พันธุ์ที่ประสบความสำเร็จ 2 สายพันธุ์ คือ ซี.พี.304 และ ซี.พี.357 ในปี พ.ศ.2549 ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในแปลงนาได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1,200-1,500 กก. มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 90-100 วัน ส่วนลักษณะของเมล็ดข้าวมีความยาวเกิน 7 มม.



จึงได้แต่ฝากเพื่อนๆได้รับรู้และเข้าใจ ช่วยกันเป็นหูเป็นตาในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้คนในครอบครัว ญาติสนิทมิตรสหาย เพื่อนๆ ลูกค้า คนทั่วไปได้ทราบข้อเท็จจริง เพื่อช่วยให้ผู้คนในสังคมเกิดความเข้าใจ ”ข้าวลูกผสม” มากขึ้น เพื่อให้สังคมเห็นว่า ซี.พี. มองไกลไปข้างหน้าที่จะนำ ”ข้าวลูกผสม” มาพัฒนาให้ข้าวเมืองไทยมีผลผลิตที่ดี มีคุณภาพเพียงพอที่จะสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับประเทศได้ เราไม่ได้ทำธุรกิจตีหัวแล้วหนีเข้าบ้าน เรายังยึดมั่น ”เกษตรกร คือ คู่ชีวิต ผู้บริโภค คือ เจ้านาย” และประเทศชาติ ประชาชนต้องได้ประโยชน์ บอกไปเลยไม่ต้องกลัว"



โดยความร่วมมือจากกลุ่มพืชครบวงจร
http://cpblog.cpportal.net/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%9E/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%94/tabid/227/articleType/ArticleView/articleId/7522/language/th-TH/-wearecp-.aspx


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 16/07/2011 7:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 7:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

16. ข้าวเมืองน่าน ...


หลายคนเคยรู้ไหมว่า ข้าวที่ท่านปั้นเป็นก้อนและจิ้มกินกับน้ำพริก ผักลวกเป็นข้าวพันธุ์อะไร

เมื่อวานได้มีโอกาสฟังคุณสำรวย ผัดผล ประธานมูลนิธิฮักเมืองน่าน และประธานศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้เล่าเกี่ยวกับข้าวในจังหวัดน่านว่า นอกเหนือจากพันธุ์ กข 6 กข 10 สันป่าตอง 1 ที่นิยมปลูกกันแล้ว ยังมีอีก 3 พันธุ์ ที่เกษตรกรในเครือข่ายฮักเมืองน่านทำการปรับปรุง พัฒนาพันธุ์ ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น 3 พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในหลายพื้นที่ทั้งจังหวัดน่านเองและเครือข่ายต่างจังหวัด ได้แก่ พันธุ์เหนียวหวัน 1 พันธุ์หอมสกล และพันธุ์เหนียวมะลิหอม ทั้ง 3 พันธุ์ ต่างมีต้นกำเนิดแตกต่างกัน


พันธุ์เหนียวหวัน 1
มาจากความพยายามของพี่หวัน เรืองตื้อ เกษตรกรนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว บ้านหาดเค็ด ตำบลเมืองจัง กิ่ง อ.ภูเพียง จังหวัดน่าน โดยพี่หวันนำพันธุ์ข้าง 2 พันธุ์มาผสมกัน โดยใช้วิธีการผสมพันธุ์ข้าว คือ พันธุ์หอมทุ่ง และพันธุ์กข 6 และทำการคัดเลือกถึง 8 ฤดูปลูก จึงได้พันธุ์ข้าวเหนียวหวัน 1 ที่ตรงตามความต้องการของพี่หวันและครอบครัว

พันธุ์เหนียวหวัน 1 มีจุดเด่นคือ ลำต้นแข็งแรง แตกกอสูง เมล็ดต่อรวงสูง ลักษณะเมล็ดไม่เรียวมาก หอม หุงกินอร่อย หลังจากกระจายพันธุ์นี้มาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ได้รับความนิยมอย่างมาก


พันธุ์หอมสกล
เป็นพันธุ์ข้าวที่กลุ่มเกษตรกรโรงเรียนชาวนาบ้านทุ่งฆ้อง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา นำมาคัดเลือกพันธุ์ จนกระทั้งปรับเข้ากับสภาพพื้นที่ ได้รับความนิยมในพื้นที่ที่ปลูกพืชหลังนา เพราะพันธุ์นี้เป็นข้าวอายุสั้น หากนำไปปลูกต้องระวังนก เพราะถ้าปลูกในจำนวนไม่มากนกจะกินเสียหายเพราะข้าวพันธุ์นี้มีความหอมมาก นอกจากนั้นเมล็ดยังเรียวสวยกินนุ่มอร่อย


พันธุ์เหนียวมะลิหอม
เริ่มได้รับความนิยมหลังจากที่แกนนำเกษตรกรฮักเมืองน่านบ้านม่วงตึ้ดนำมาแลกเปลี่ยนในเครือข่าย จากการสืบประวัติพบว่า พันธุ์นี้ได้รับการปรับปรุงและคุดเลือกพันธุ์โดยอาจารย์มงคล พุทธวงค์ ราชมงคลล้านนาน่าน ซึ่งท่านอาจารย์เองเป็นคนม่วงตึ้ดและนำไปให้ครอบครัวและญาติปลูกจนได้รับความนิยม ทางเครือข่ายได้นำมาขยายผลต่อเนื่อง คุณลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์นี้เกือบคล้ายคลึงกับหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวจ้าว ต่างกันตรงที่เป็นข้าวเหนียว


ถ้าผู้อ่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรืออยากร่วมเรียนรู้สามารถติดต่อได้โดยตรงที่ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ 253 หมู่ 8 ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน 55000 โทร.054-783262


http://www.jokonan.org/report.asp?NID=1000000011
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 8:41 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

17. ข้าวลูกผสมพันธุ์ใหม่ ผลผลิตสูง 1,500 กก.


หลังจากที่ ดร.เอนก ศิลปพันธุ์ รองกรรมการผู้บริหารสายงานวิจัยและพัฒนา กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) แอบซุ่มวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมมา 6 ปี

จึงประสบความสำเร็จ ได้ข้าวลูกผสมพันธุ์ใหม่ และพันธุ์แรกของไทย 2 สายพันธุ์ด้วยกัน "ซีพี.304 - ซีพี.357" ซึ่งผลการทดลองในแปลงทดลองได้ผลผลิตไร่ละถึง 1,500 กก. และได้ทดลองปลูกในแปลงนาปกติของเกษตร ปรากฏว่าให้ผลผลิตที่ใกล้เคียงกัน ขณะที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 100-115 วันเท่านั้น

ดร.เอนก กล่าวว่า เริ่มทำการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมร่วมกับ ดร.มิร่า ซึ่งมาจากสถาบันข้าวของฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี 2544 จนประสบความสำเร็จ 2 สายพันธุ์ จึงนำไปทดลองที่แปลงทดลองของบริษัท ที่ฟาร์มกำแพงเพชร จนได้ผลผลิตที่น่าพอใจคือไร่ละ 1,500 กก. จากปกติข้าวไทยทั่วไปทุกวันนี้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ไร่ละ 750 กก. หลังจากที่ทดลองจนสายพันธุ์นิ่งแล้ว จึงตั้งชื่อว่า ซีพี.304 และซีพี.357 และให้เกษตรกรปลูกในแปลงนาให้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1,200-1,500 กก. และมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 100 และ 115 วัน ส่วนลักษณะของเมล็ดข้าวมีความยาวเกิน 7 มม. เนื้อนุ่ม หุงขึ้นหม้อ

"ถ้าเราทำนาดำต้นทุนเฉลี่ย 4,300 บาทต่อไร่ ให้ผลตอบแทนไร่ละ 2,500 บาท (ข้าวเปลือก กก.ละ 5.70 บาท) ขณะที่ข้าวทั่วไปต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ 3,200 บาท ได้ผลตอบแทนไร่ละ 1,000 บาทเท่านั้น ถือว่าพันธุ์ข้าวลูกผสมจะให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรสูงถึง 150%" ดร.เอนก กล่าว

ด้าน มนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือ ซี.พี. บอกว่า ที่ ซี.พี. หันมาพันธุ์ข้าวลูกผสม เพราะเห็นว่าประเทศไทยเป็นที่ปลูกข้าวส่งออกมากที่สุดของโลก แต่ชาวนากลับจนที่สุด จึงต้องการให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงมีการพัฒนาพันธุ์ให้มีคุณภาพ มีผลผลิตสูง เกษตรกรจึงจะมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

ขณะ นิเวศน์ ไพโรจน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 14 บ้านร่วงทอง ต.เขาคีริส อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร บอกว่า ทั้งหมู่บ้านเกือบ 100% มีอาชีพทำนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ อย่างตนเองทำนามาแล้วกว่า 20 ปี มีที่นา 35 ไร่ ปัจจุบันทำนาหว่าน 2 ปี 5 ครั้ง ส่วนพันธุ์ข้าวที่ปลูกก่อนหน้านี้เป็นชัยนาท 2 ช่วงแรกๆ ได้ผลผลิต 80 ถัง หรือไร่ละ 800 กก. ยิ่งทำผลผลิตยิ่งลดลง เหลือเพียงไร่ละ 600-700 กก. ทำให้ขาดทุน เพราะใช้สารเคมีดินเสื่อมคุณภาพ ขณะที่ต้นทุนสูงขึ้น

ล่าสุดปลูกพันธุ์ลูกผสมใหม่ ซี.พี.304 เป็นรุ่นแรก 15 ไร่ ลงทุนไร่ละเกือบ 4,000 บาท พอเก็บเกี่ยวได้ไร่ละ 900-1,000 กก. จึงมีกำไรได้มาบ้าง นอกจากนี้ยังปลูกข้าวพันธุ์ ซี.พี.357 ด้วย 5 ไร่ แต่ยังไม่เก็บเกี่ยว คาดว่าน่าจะได้ผลผลิตไร่ละกว่า 1,000 กก.เช่นกัน

ส่วน มนทิน เมฆี อายุ 48 ปี และ สิงห์ รอดกสิกรรม อายุ 45 ปี เกษตรกรบ้านทุ่งรวงทอง ต่างบอกว่า เดิมปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และชัยนาท 2 ขาดทุนมาหลายปีแล้ว เพราะผลผลิตน้อยลง อย่างก่อนหน้านี้เก็บเกี่ยวแล้วได้ผลผลิตไร่ละเพียง 400-450 กก. ขณะที่ลงทุนไร่ละกว่า 2,000 บาท แต่หลังจากทดลองปลูกพันธุ์ลูกผสม ซี.พี.304 ปรากฏว่า มนทิน เก็บเกี่ยวได้ไร่ละ 1,250 กก. ส่วนของ สิงห์ เก็บเกี่ยว 3 งานได้แล้ว 1,100 กก.

"ผมต้องได้ไร่ละ 1,500 กก. เพราะถ้าทำได้ทาง ซี.พี.จะมอบทองคำให้หนัก 1 บาท กระนั้นถ้าเกินไร่ละ 1,000 กก.ชาวนาก็ได้กำไรแล้ว เพราะต้นทุนไร่ 4,000 บาท ขายได้ 6,000 กว่าบาท เราอยู่ได้ ผมว่าข้าวลูกผสมทั้งสองรุ่นนี้เป็นความหวังใหม่ของชาวนาบ้านเราที่หายใจได้บ้าง" สิงห์ กล่าว

ปัจจุบันแม้ข้าวลูกผสมพันธุ์ใหม่จะเป็นเพียงเพิ่งเริ่มต้นสำหรับเกษตรกร แต่อย่างน้อยก็ถือว่า นี่คือทางเลือกใหม่สำหรับชาวนา ที่จะเลือกทางเดินในอนาคต



ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net/2007/04/03/b001_103381.php?news_id=103381
http://www.phtnet.org/news/view-news.asp?nID=272
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 8:47 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

18. การรวบรวมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง


ข้าวเหนียวดำ คือข้าวเหนียวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ด (pericarp) สีม่วงแดงจนถึงสีดำ รวมทั้งการมีรงควัตถุ (pigment) ที่ปรากฏสีในส่วนต่างๆ ของต้นข้าว ซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวชนิดนี้ รงควัตถุที่มีสีส่วนใหญ่พบในส่วนของลำต้น ใบ และเกือบทุกส่วนของช่อดอก (floral part) ยกเว้นในส่วนของ embryo หรือ endosperm ที่ไม่พบการกระจายตัวของรงควัตถุ

โดยทั่วไปข้าวเหนียวดำที่เกษตรกรปลูกเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่มีการปลูกเฉพาะพื้นที่มาเป็นเวลานานแล้ว และเกษตรกรจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้สำหรับปลูกในฤดูปลูกต่อไปเอง พันธุ์ข้าวเหนียวดำที่เกษตรกรใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงคุณภาพการหุงต้มของข้าวเหนียวดำยังไม่ดีพอ เช่น หลังจากหุงต้มแล้วข้าวแข็งและร่วนจนเกินไป และกลิ่นไม่หอม เป็นต้น ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของข้าวเหนียวดำ โดยเฉพาะคุณภาพการหุงต้มจึงมีความจำเป็น การรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวดำและนำมาปลูกเพื่อประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการให้ผลผลิตของข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมืองจึงมีความสำคัญ เพราะข้อมูลจากการศึกษาจะเป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวดำต่อไป

ข้าวเหนียวดำมีสารประกอบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่สูงกว่าข้าวขาวกล่าวคือ มีสารแกมมา-โอไรซานอล (gamma oryzanol) ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบในรำข้าวเหนียวดำปริมาณสูงถึง 2.70% เมื่อเทียบกับรำข้าวขาวซึ่งมีประมาณ 1.12% (Teltathum, 2004) ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นเชื่อกันว่าข้าวเหนียวดำเป็นสมุนไพร สารแกมมา-โอไรซานอลในน้ำมันรำข้าวมีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ ที่ดีกว่าวิตามินอี วิตามินซีและเบต้าแคโรทีน (สมวงษ์, 2546) นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถลดการดูดซึมคอเรสเตอรอลจากอาหารสู่ร่างกาย ลดการสังเคราะห์คอเรสเตอรอลในตับ ลดปริมาณคอเรสเตอรอลในพลาสมา ( DeJian et al., 2002) ลดอาการผิดปกติในสตรีวัยที่กำลังจะหมดประจำเดือน ( Zu et al., 2001)

นอกจากนั้นแล้ว ข้าวเหนียวดำยังมีรงควัตถุที่สำคัญคือ แอนโทไซยานิน (anthocyanin) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (antioxidant) ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ชะลอการเสื่อมของเซลล์ร่างกาย โดยเฉพาะแอนโทไซยานินชนิดที่พบในข้าวสีม่วงกลุ่มอินดิก้า (indica type) (ซึ่งก็รวมข้าวเหนียวดำไทย) คือ cyanindin 3-glucoside มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด ดังนั้นการศึกษาปริมาณสารแกมมา-โอไรซานอล และปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดข้าวเหนียวดำสายพันธุ์ต่างๆ รวมถึงการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสารแกมมา-โอไรซานอลและแอนโทไซยานินจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์ต่อไป



วัตถุประสงค์
1. ปรับปรุงพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตของข้าวเหนียวดำ


การปลูกทดสอบเพื่อประเมินพันธุ์ข้าวเหนียวดำ
ดำเนินการปลูกทดสอบพันธุ์ที่แปลงเกษตรกร อ.เมือง จ.ขอนแก่น 2 ราย โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD 3 ซ้ำ ขนาดแปลงย่อย 3 x 5 m 2 ตกกล้าข้าวเหนียวดำพันธุ์พื้นเมือง 24 พันธุ์ ปลูกข้าวพันธุ์เปรียบเทียบอีก 2 พันธุ์ คือ กข 6 และหางยี 71 ในสภาพแห้งเดือนมิถุนายน 2550

ปักดำที่แปลงเกษตรกรรายแรกในวันที่ 9 กรกฎาคม 2550
รายที่สองปักดำในวันที่ 16 กรกฎาคม 2550 ระยะปักดำ 25 x 25 cm

บันทึกข้อมูล ประกอบด้วย จำนวนรวงต่อกอ ความสูงหลังออกรวง 20 วัน จำนวนเมล็ดต่อรวง น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และผลผลิต

วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมตามแผนการทดลองแบบ RCBD และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ Least Significant Difference (LSD)

จากการศึกษาพบว่า ข้าวเหนียวดำพันธุ์ KKU-GL-BL-05-011 และ KKU-GL-BL-06-039 เป็นพันธุ์ที่มีความสูงต้นสูงที่สุด (151 ซม.) (ตารางที่7.1) ส่วนเหนียวดำ Gs.no.21427 เหนียวดำ Gs.no.21629 และ ข้าวก่ำ Gs.no.88084 มีจำนวนรวงต่อกอมากที่สุด (7 รวงต่อกอ) ข้าวเหนียวดำพันธุ์ KKU-GL-BL-06-039 มีจำนวนเมล็ดต่อรวงมากที่สุด (192 เมล็ด) และข้าวเหนียวดำพันธุ์ KKU-GL-BL-05-001 มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ดสูงสุด (32 กรัม) หากพิจารณาที่ผลผลิต พบว่าพันธุ์ KKU-GL-BL-06-039 เป็นพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงที่สุด ดังนั้นข้าวเหนียวดำพันธุ์ต่างๆเหล่านี้ จะเป็นพันธุ์ที่ถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวดำ



การสร้างประชากรเพื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสารแกมมา-โอไรซานอลและแอนโทไซยานิน

เนื่องจากข้าวเหนียวดำมีสารประกอบที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่สูงกว่าข้าวขาวกล่าวคือ มีสารแกมมา-โอไรซานอล และแอนโทไซยานิน ดังนั้นจึงศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสารดังกล่าว ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวดำพันธุ์ต่อไป โดยเริ่มต้นจากการสร้างประชากรพื้นฐาน กล่าวคือปลูกข้าวเหนียวดำสายพันธุ์ต่างๆ และข้าวพันธุ์ กข6 และหางยี 71 ในฤดูนาปี 2550 และทำการผสมพันธุ์ข้าวโดยมีคู่ผสมดังตารางที่ 7.2 และในปัจจุบันนี้ได้ทำการรวบรวมเมล็ดซึ่งเป็นลูกผสมชั่วแรกไว้เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาขั้นต่อไป


http://www.pbrcsa.kku.ac.th/Report-2551-Porames.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 16/07/2011 8:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

19. ภาวะโลกร้อนทำข้าวเป็นหมัน





กรมการข้าวเผยภาวะโลกร้อนกระทบผลผลิตข้าวหนักกว่าที่คิด ทำให้ข้าวเป็นหมัน ได้รับความเสียหายร้อยละ 70 การทำนาปรังอาจต้องลดเหลือเพียง 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น พร้อมเร่งวิจัยข้าวพันธุ์ใหม่ให้ทนต่อสภาพอากาศที่ผันแปร และป้องกันการกีดกันทางการค้า นายวิทยา ฉายสุวรรณ รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ได้ส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ด้วย

โดยเฉพาะการผลิตข้าวนาปรัง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายอย่างมาก ที่ผ่านมามีการทำนาปรังเฉลี่ยสูงถึง 5 ครั้ง ภายใน 2 ปี ในอนาคตหากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยอาจต้องลดการการทำนาปรังเหลือเพียง 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น

อีกทั้งปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากภาวะโลกร้อนอันเป็นปัญหาที่เกิดได้ไม่นานนัก ทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ แนะนำให้เกษตรกรวางแผนการเพาะปลูกให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้าวออกรวงในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หรือควรทำนาปรังแค่ 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น

ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว กรมการข้าวกำลังเร่งปรับปรุงพันธุ์ข้าวใหม่ที่เหมาะสมจะสามารถต่อสู้กับภาวะโลกร้อนให้ได้ต่อไป ตลอดจนศึกษาการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกข้าว หรือเขตเกษตรกรรมเพื่อศึกษาการเกิดก๊าซมีเทนในนาข้าวอย่างละเอียดด้วย แม้ว่าในประเทศไทยจะมีตัวเลขที่น้อยมากก็ตาม แต่ก็ต้องเร่งศึกษาวิจัยเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลป้องกันปัญหาการกีดกันทางการค้าที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ด้านนายอานันท์ ผลวัฒนะ นักวิชาการเกษตร 8 ว. กรมการข้าว กล่าวว่า ตามธรรมชาติของข้าวจะผสมเกสรในเวลา 9.00-11.00 น. ก่อนหน้านี้ ช่วงเวลาดังกล่าว อุณหภูมิไม่สูงมากนัก จึงทำให้ผลผลิตเป็นไปโดยปกติ แต่ในช่วงหลังพบว่า แม้จะเป็นช่วงเช้าของวัน แต่อุณหภูมิกลับขึ้นสูงประมาณ 37-38 องศาเซลเซียส ทำให้ข้าวผสมพันธุ์ไม่ติด กลายเป็นหมัน เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวจึงลีบ

ปัญหาดังกล่าวพบมากในกลุ่มเกษตรกรที่ทำนาปรัง เพราะช่วงเวลาที่ข้าวออกรวงและผสมเกสรอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน พอดี ซึ่งช่วงเดือนนั้นอากาศค่อนข้างร้อน ในขณะที่พันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ที่เกษตรกรนำไปปลูกในปัจจุบันยังไม่สามารถต้านทานต่อภาวะอากาศที่ร้อนเกินไปได้ และเมื่อถึงช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ของทุกปี เกษตรกรต้องประสบกับปัญหาอากาศที่หนาวเย็นเกินไป ซึ่งจากการวิจัยพบว่า หากอุณหภูมิลดลงติดต่อกันมากกว่า 1-4 องศาเซลเซียส ในช่วงที่ข้าวออกรวงก็จะทำให้เกิดปัญหาข้าวผสมพันธุ์ไม่ติดเช่นเดียวกัน

ดังนั้นเกษตรกรที่ทำนาและข้าวออกรวงในช่วงดังกล่าว โอกาสที่ผลผลิตจะได้รับความเสียหายมีมาก หรือมีอัตราความเสียหายมากกว่าร้อยละ 70



http://www.boripat.ac.th/bs_ict/web_page/new5.htm
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©