-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าว 9 สี 9 สมุนไพร นวัตกรรมใหม่
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าว 9 สี 9 สมุนไพร นวัตกรรมใหม่

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 28/06/2011 9:47 pm    ชื่อกระทู้: ข้าว 9 สี 9 สมุนไพร นวัตกรรมใหม่ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าว 9 สี 9 สมุนไพร เทิดไท้องค์ราชันย์ นวัตกรรมใหม่ล่าสุดของคนไทย


ดร.ประคองศิริ บุญคง ผู้จัดการศูนย์บริหารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า

ข้าว ๙ สี เป็นผลิตภัณฑ์จากข้าว และสมุนไพรที่เป็นนวัตกรรมใหม่ และเป็นครั้งแรกในประเทศ ที่พัฒนาขึ้นจากโครงการวิจัยร่วมของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , และนำมาต่อยอดการวิจัยที่องค์การเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์นี้ เป็นของบริษัท บางกอกตลาดข้าวไทย จำกัด ได้รับการจดสิทธิบัตรที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (หมายเลข อนุสิทธิบัตร 1019) ผลิตภัณฑ์ข้าวสมุนไพรนี้ ใช้ส่วนประกอบที่มีคุณภาพ คือ ข้าวหอมมะลิชั้นหนึ่ง และสมุนไพรที่ปลูกโดยระบบไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ มีลักษณะสีสันสวยงามตามชนิดของสมุนไพรที่ใช้เคลือบ และมีคุณค่าในการบำรุงสุขภาพตามสรรพคุณของข้าวและสมุนไพรแต่ละชนิด


ข้าว ๙ สี ประกอบด้วย
1. ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพร อัญชัน........ สีม่วง
2. ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพรใบ เตย........ สีเขียว
3. ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพร ขิง............ สีขาวนวล
4. ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพร ขมิ้นชัน....... สีเหลืองเข้ม
5. ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพร พริก.......... สีส้ม
6. ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพร บัวหลวง...... สีชมพู
7. ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพร กระเจี๋ยบ..... สีแดง
8. ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพร กระเทียม..... สีขาว
9. ข้าวสีนิล


โดยมีสรรพคุณที่น่าสนใจ อาทิ
ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพรใบเตย Pandanus Rice (บำรุงหัวใจ ช่วยแก้โรคเบาหวาน)

สมุนไพรใบเตย : 4 Hydroxybenzonic acid เป็นสารออกฤทธิ์ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจทำให้ชุ่มชื่น เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัย ขับน้ำพิการ

ลักษณะภายนอกของสมุนไพร : มีสีเขียว หอมกลิ่นอโรมา

ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพรขมิ้นชัน Turmeric Rice (ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณ บำรุงระบบทางเดินอาหาร)

สมุนไพรขมิ้นชัน : Curcumin เป็นสารออกฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคกระเพาะ ช่วยรักษาแผลในลำไส้ ช่วยให้ระบบการย่อยในอาหารดีขึ้น เพราะสาร Curcumin มีฤทธิ์ขับน้ำดี กระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัวมากขึ้น ซึ่งช่วยรักษาโรคนิ่งในถุงน้ำดี และมีสารต้านมะเร็ง ช่วยยับยั่ง การเกิดโรคมะเร็งได้

ลักษณะภายนอกของสมุนไพร : มีสีเหลือง สีสันสวยงาม น่ารับประทาน
ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพรพริก Chilli Rice (ช่วยให้ระบบเผาผลาญดีขึ้น ลดความอ้วน ขยายหลอดเลือด)

สมุนไพรขมิ้นชัน : Capsaicinoid เป็นสารออกฤทธิ์ทำให้กระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกายดีขึ้น ช่วยลดไขมัน ลดความอ้วน พริกยังสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและอ่อนตัว ช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้

ลักษณะภายนอกของสมุนไพร : มีสีส้ม ไม่เผ็ด สีสวยน่ารับประทาน
ข้าวมะลิหอมเคลือบสมุนไพรกระเทียม Cereal Grains with Garlic Rice (ลดความดันโลหิต ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงกระดูก วิตามิน B)

สมุนไพรขมิ้นชัน : Allicin เป็นสารออกฤทธิ์ป้องกันโรคหัวใจลดการอุดตันของเส้นเลือด ลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือดได้ 58 % ลดไตรกลีเซอไรด์ลดความดันโลหิต, เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตนอกจากนี้ วิตามิน B จะรวมกับโปรตีน ทำให้เกิดการดูดซึมอาหารดีขึ้น สามารถลดคลอเรสเตอรอลในเลือดได้ และกระเทียมยังสามารถออกฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระอย่างแรง (Anitioxidant) รวมถึงโรคเสื่อมต่างๆ ได้

ลักษณะภายนอกของสมุนไพร : มีสีเหลือง สีสันสวยงาม น่ารับประทาน
ปัจจุบันอยู่ในระหว่างวิจัยเพิ่มเติม อาทิ ข้าวจากเปลือกมังคุด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร, ข้าวสาหร่าย, ข้าวชาเขียว และในอนาคต บริษัท บางกอกตลาดข้าวไทย จำกัด มีแผนส่งออกข้าวสมุนไพร เพื่อสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย และต่างชาติยอมรับในคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกด้วย


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ปิยะนันท์ โทร. 081-714-6700 และ 02-704-7958 ต่อ 201 ,


http://www.oknation.net/blog/print.php?id=100345
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 03/07/2011 9:12 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวแดง-สีย้อมจากธรรมชาติ


หน้าตาของอาหารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเชิญชวนให้ผู้บริโภคใคร่อยากจะชิมลิ้มลอง และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการช่วยเสริมหน้าตาของอาหารให้ดูน่ากินมากยิ่งขึ้น ก็คือ สีสันของอาหาร นั่นเอง

ในสมัยก่อนที่เรายังไม่มีสีสังเคราะห์ที่ใช้ผสมอาหารเพื่อให้เกิดสีสันสวยงามเหมือนสมัยนี้ ชาวบ้านในยุคนั้นจึงได้คิดดัดแปลงโดยสกัดเอาสีจากพืชซึ่งเป็นสีธรรมชาติมาใช้ โดยที่สีชนิดนี้นอกจากจะเพิ่มความน่าดูให้กับอาหารแล้ว สีจากพืชบางชนิดยังช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอมขึ้นอีกด้วย เช่น สีเขียวจากใบเตย เป็นต้น

แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าคุณแม่บ้านหรือพ่อค้าแม่ขายในยุคไฮเทคในวันนี้ไม่ค่อยมีเวลามานั่งพิถีพิถันกับการคั้นน้ำที่สกัดจากพืชเพื่อนำมาผสมในอาหารอย่างเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว แต่กลับหันมาใช้สีผสมอาหารซึ่งทำจากสารเคมีสังเคราะห์แทน ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วสีผสมอาหารเหล่านี้ก็ยังถือว่ามีความปลอดภัยมากกว่าสีย้อมผ้าหรือสีเยอรมัน ซึ่งเป็นสีสดเรืองแสงที่พ่อค้าแม่ค้าบางคนอุตรินำมาผสมในอาหารเนื่องจากเห็นว่ามีราคาถูกกว่าโดยมิได้คำนึงถึงเลยว่า การขาดความรับผิดชอบเช่นนี้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคอย่างมากทีเดียว ทั้งนี้เพราะ สีย้อมผ้ามีสารเคมีซึ่งเป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม ฯลฯ เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย หากผู้บริโภคได้รับสารนี้เข้าไปมากๆจะเกิดสะสมในร่างกายและเป็นอันตรายได้

อย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า สีผสมอาหารที่สกัดจากส่วนของพืชหรือสีธรรมชาตินั้น เป็นสีที่ปลอดภัยที่สุด และในจำนวนสีชนิดนี้ สีที่สกัดจากข้าวแดง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “อั้งคัก” ก็เป็นสีจากธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ทั้งในแง่เพิ่มสีสันแก่อาหารและให้คุณค่าทางอาหารมากมาย

ข้าวแดงในที่นี้มิได้หมายถึงข้าวซ้อมมือที่ใช้เลี้ยงนักโทษในเรือนจำ หรือข้าวที่คนชรากินแก้โรคเหน็บชา แต่เป็นข้าวสีแดงที่เกิดจากการหมักข้าวสารกับเชื้อราชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า โมนัสคัส เพอพิวรัส (monascus purpureus) ที่อุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ เชื้อรานี้จะย่อยข้าวจนนุ่ม และสร้างสีแดงคล้ำขึ้นในเมล็ดข้าว สีแดงคล้ำที่เชื้อราสร้างขึ้นนี้ประกอบด้วยสาร 2 ชนิด คือ โมนาสโครูบิน (monascorubin) สีแดง และโมนาสโคฟลาวิน (monascoflavin) สีเหลือง

เมื่อนำข้าวที่ได้จากการหมักไปตากให้แห้งจะได้ข้าวแดงที่มีสีและกลิ่นเฉพาะตัวของมันเอง ผู้บริโภคหลายเชื้อชาติได้ใช้ข้าวแดงผสมอาหารด้วยวิธีการต่างๆ กัน เช่น


ชาวจีนใช้ทำเต้าหู้ยี้แดง โดยวิธีหมักเต้าหู้กับเกลือก่อน แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ราขาวขึ้น แล้วจึงนำไปหมักกับน้ำแป้งข้าวหมัก ซึ่งมีข้าวแดงบดละเอียดผสมอยู่ ทิ้งไว้ 45 วันก็จะได้เต้าหู้แดงสำหรับกินได้


ชาวฟิลิปปินส์ใช้ข้าวแดงบดละเอียดผสมลงไปในกะปิ ใช้ย้อมไข่ปลาเค็ม ผสมในปลาเจ่า เพื่อให้มีสีสวย และกลิ่นหอมน่ากิน

สำหรับประเทศไทยนิยมใช้ข้าวแดงผสมยาจีนกันมาก เพราะข้าวแดงมีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินอยู่ด้วย จากผลการตรวจวิเคราะห์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการพบว่า ข้าวแดงมีปริมาณวิตามิน บี-2 สูงกว่าข้าวสารถึง 185 เท่า

นอกจากนี้ยังใช้ข้าวแดงทำเต้าหู้ยี้ชนิดแดงและประกอบอาหารบางชนิด เช่น หมูแดง เพื่อให้ดูมีสีแดงน่ากิน จากการเก็บตัวอย่างอาหารหมักและอาหารพื้นเมืองบางประเภทของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เช่น กะปิ กุ้งแห้ง และปลาเค็ม มาวิเคราะห์พบว่า สีแดงที่ผสมในอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้สีผสมอาหาร

ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการใช้สีดังกล่าว ผู้ผลิตหรือผู้ทำอาหารหมักหรืออาหารพื้นเมืองอาจใช้ข้าวแดงผสมลงไปในผลิตภัณฑ์อาหารแทนสีที่ไม่ใช่สีผสมอาหารที่ใช้อยู่ เพราะนอกจากจะทำให้อาหารมีสีสวยแล้ว ยังได้คุณค่าทางอาหารอีกด้วย


http://www.doctor.or.th/node/3505
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 03/07/2011 9:21 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม



ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิดที่ให้สีมาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อมมาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติดีกว่าสีวิทยาศาสตร์หรือสีสังเคราะห์กลุ่มพืชที่ให้สีดังกล่าว เช่น


เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
เมล็ดคำแสด (Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร
แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร และใช้ย้อมผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า

เมล็ดคำฝอย (Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร
เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร
เนื้อจากผลตาลโตนด (Borassus flabellifer) ใช้แต่งสีเหลืองทำขนมตาล

ผลสุกผักปลัง หรือ ผักปั๋ง (Basella alba) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
เมล็ดข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร
กลีบดอกอัญชัน (Clitoria ternata) ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร

ดอกดอกดิน (Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีน้ำเงินเข้ม ทำขนมดอกดิน
เนื้อไม้สีเสียดเหนือ (Acacia catechu) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง
ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ

เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminaliabellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า
เนื้อไม้แกแล (Maclura cochinchinensis) ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
เปลือกโกงกาง (Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมแห อวน หนัง

ยางรง (Garcinia hanburyi) ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าและผสมสี
เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.amensis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
รากมะหาด (Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า

เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morindapubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า
เนื้อไม้ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า
เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum ssp.pruniflorum) ให้สีน้ำตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า

ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis) ให้สีดำใช้ย้อมผ้า
เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia) ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า
เปลือกคาง (Albizia odoratissima) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง

ดอกทองกวาว (Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า
ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อนนิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า
ต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia) ให้สีน้ำเงินเข้ม นิยมใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ

ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canariumsubulatum) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน





ที่มา http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%
E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%
89%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%
B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%
E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%
89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99

http://www.kroobannok.com/24002
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©