-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปัญญาความยากจนของชาวนาไทย...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปัญญาความยากจนของชาวนาไทย...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 29/06/2011 9:52 pm    ชื่อกระทู้: ปัญญาความยากจนของชาวนาไทย... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปัญญาความยากจนของชาวนาไทย

***ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับต้นๆของประเทศไทย แต่ชาวนาที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติก็ยังมีฐานะยากจนและมีหนี้สินมากมาย แม้ว่าข้าวจะมีราคาแพงขึ้นถ้ามองในแง่ดีก็อาจจะทำให้ชาวนาไทยพอลืมตาอ้าปากได้บาง แต่ในความเป็นจริงแล้วชาวนาก็ไม่ได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นอีก สาเหตุที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาไม่ดีขึ้นนั้นมาจากปัญหาและอุปสรรคดังนี้

1. ปัญหาต้นทุนการผลิตข้าวสูง เช่น ราคาน้ำมันแพง ปุ๋ยราคาแพง เป็นต้น
2. ชาวนาบางส่วนยังต้องเช่าที่ดินคนอื่นทำนาอยู่ โดยการเช่าที่ดิน ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง
3. ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางทำให้ผลผลิตขายได้ราคาถูก
4. ปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม เป็นต้น
5. ปัญหาการคุกคามจากศัตรูพืช
6. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต เกษตรกรส่วนใหญ่จะจ้างแรงงานแทนการทำนาเอง เช่น จ้างหว่านปุ๋ย - ฉีดยา จ้างรถเกี่ยวข้าว เป็นต้น


ปัญญาเหล่านี้เป็นปัญหาหลักทำให้ชาวนาไทยไม่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ชาวนาไทยรู้จักใช้หลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและรู้จักใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำการเกษตรอาจจะช่วยให้ชาวนาสามารถลดต้นทุนการผลิตและอาจสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้อีกด้วย


http://www.learners.in.th/blog/sirilak-econ/178669
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 29/06/2011 9:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาชาวนา



Prabhakamol
นั่งไตร่ตรองมาทั้งชีวิต เห็นว่าเป็นเรื่องซับซ้อนมาก และต้องการการแก้ไขจากหลายส่วน จึงน่าจะตั้งให้อาชีพชาวนาเป็นอาชีพข้าราชการ และ มีหน่วยงานรัฐบริหาร ตัดปัญหาการเอาเปรียบ เรื่องรายละเอียด จะเข้ามาทยอยพิพ์เสนอค่ะ



หมอ
ผมคิดมาตั้งแต่ปี 2548 พบวิธีแก้ไขง่าย ๆ หลาย 10 รูปแบบ ทดลองพูดกับเจ้าของปัญหาเขาก็ไม่สนใจ ไม่ใฝ่รู้ รู้แต่ว่าตนเองเดือดร้อน เราอยากจะช่วย แต่เขาไม่ฟัง เราต้องมานั่งเป็นทุกข์แทนเขา มันเป็นปัญหาใหญ่ แต่แก้ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว ยังไม่ทันอธิบายเขาก็ว่าผมโม้ คนเดือดร้อนเขาจะรนจนขาดสติ ปัญหาความยากจนถ้าคิดสู้อยู่เฉย ๆ ก็ชนะ ถ้าไม่สู้อยู่เฉย ๆ ก็แพ้ ปัญญาน้อยปัญหามาก ปัญญามากปัญหาน้อย



หมอ
ปลาไม่เห็นน้ำ คนไม่เห็นอากาศ เหมือนผู้ที่ตกอยู่ในอาสวกิเลสมองปัญหาไม่เห็นของตน ลองหลุดพ้นกิเลส ตัณหา ราคะ อคติ แล้วใช้วิชชา อย่าใช้ความเชื่อ อย่าใช้อารมณ์ดูสิ ใคร ๆ ก็สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง คิดแบบคนส่วนใหญ่ไม่เป็นผล ลองคิดแบบคนส่วนน้อยที่เขาประสบผลสำเร็จดูบ้าง ปัญหามันอาจดูใหญ่สำหรับคนที่ยังไม่รู้ ถ้าคิด และทำแต่สิ่งดี ๆ เก็นความคิดสะสมนำมาประติดต่อกันเข้า เราก็จะเห็นอะไรที่คนทั่วไปเห็น แต่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ใช้ไม่เป็น จากปุถุชนก็เป็นอริยะชนได้ แล้วเราจะพากันก้าวข้ามปัญหาใหญ่ได้ไม่ยากเลย รวยจากการให้ ได้จากความสามัคคี ไม่มีคนจนแม้คนเดียว เปลี่ยนแปลงจึงรอด รอดจึงมั่นคง มั่นคงจึงยั่งยืน




หมอ
ผมพร้อมที่จะแก้ปัญหา แต่คนไข้ไม่พร้อม ไม่ยอมรักษา ถ้าสุมไฟใส่ตัวเองไม่เลิก ก็ไม่หายเดือดร้อน นั่นคือที่มาของโรค เหมือนคนจะจมน้ำตายไขว่ค้าหาที่ยึดเกาะ แต่ไม่มีสติ เขาคล่ำแก้วแล้วเราเติมน้ำไม่ได้ รอแต่คนของมาแจก เขาไม่ลองคิดลองทำแบบตรงกันข้าม รู้ว่าข้างหน้ามีภัยก็ไม่หยุด ไม่ย้อนกลับ ไม่เลี้ยวโค้ง เขาตรงสู่ปากป่องภูเขาไฟ ลักษณะปัญหาคล้ายใยลูกบวบ 1 สาเหตุมีผลกระทบต่อหลายด้าน 1 ด้านมีผลมาจากหลายสาเหตุ คนจึงมืด 8 ด้าน ผู้มีศีล สมาธิ สติ ปัญญา ไม่มืด ผมมีพระดีท่านว่า ประทีบคือเครื่องมือส่องเดินทางในเวลากลางคืนของคนโบราณ แต่ธรรมะ เป็นประทีปส่องทางชีวิตทั้งกลางวันทั้งกลางคืน




หมอ
กระบวนการคิดต้องมีวิสัยทัศน์กว้าง ไกล สูง ใหญ่ ยาว ฯ อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ศาสตร์แห่งความสมดุล การเปลี่ยนแปลง ความเป็นระบบยุทธศาสตร์ ความเป็นธรรม และเป็นวิชาการ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่ทำมักง่าย แก้ด้วยการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯ รวม 8 ด้าน ไม่เช่นนั้นปัญหาจะวนกลับมาอีก แก้ไม่ตก เรียกว่ามืด 8 ด้าน




หมอ
ตามโพสต์ที่ 1 ก้เป็นไปได้ ตอนนี้ ธกส.ก็เป็นเจ้าหนี้เกษตรกรหมดแล้ว ยึดที่ทำกินไปให้ชาวนาเป็นข้าราชการก็ได้ แต่อาชีพที่แย่ที่สุดคือรับจ้าง ดีกว่าคือรับราชการ ดี่ที่สุดตอนนี้คือ ธุรกิจค้าขาย แนวคิดผมทำ.......... รวยกว่าพ่อค้า ดีกว่าข้าราชการ ได้มากกว่ากองทุนเงินล้าน มีเงินให้รัฐบาลกู้ยืม พูดไปนักการเมืองไทยจะเอาไปหาเสีย ต้องติดอาวุธทางปัญญาก่อน แก้ปัญหาความยากจน ปราบคนทุจริต รวยจากการให้ ได้จากความสามัคคี ไม่มีคนจนแม้คนเดียว ทำง่ายถ้าฟังภาษาไทยเข้าใจใช้ สุ จิ ปุ ลิ มีสติจะเกิดปัญญา ประเทศไทยจะน่าอยู่ขนาดไหนถ้าไม่มีคนจน
ประมาณ​ 2 เดือนที่แล้ว


http://www.facebook.com/topic.php?uid=125761914149425&topic=96
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 29/06/2011 10:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทำไมชาวนาไทยยังยากจน


ถ้าอยากจะเริ่มแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาต้องเปลี่ยนความคิดของชาวนาให้ได้ก่อน ทำนาแค่ปีละสองครั้งพอ ช่วงเดือนที่ควรเลี่ยงคือ เมย.- พค. เพราะเป็นช่วงที่แล้งสุดของปี ต่อให้มีระบบชลประทานก็อาจไม่มีน้ำในเขื่อนปล่อยมาให้ทำนา อีกเดือนคือช่วง มิย-ต้นกค. เพราะเป็นช่วงกลางฤดูฝน โอกาสเสี่ยงที่น้ำจะท่วมสูง ช่วงว่างก็ใช้โอกาสนี้บำรุงดิน กับพักหน้าดิน ตัดวงจรของเพลี้ยไปด้วยในตัวทีต้องบอกว่าให้แก้ที่ตัวชาวนา เพราะการจะรอให้ภาครัฐมาแก้ปัญหาให้อันนั้นหวังยากครับ ระบบบ้านเราเป็นไงเราก็รู้ๆกันอยู่ ต้องทำเท่าที่เราทำได้ก่อน ส่วนพ่อค้า โรงสี ถ้าข้าวของชาวนาดีจริง เมล็ดเต็ม น้ำหนักดี เมล็ดยาว ความชื้นดี ไม่ต้องห่วงหรอกครับ พ่อค้าแย่งกันหัวแตก ของคุณภาพดีใครก็อยากได้ครับ เผลอๆถ้าดีจริง บางทีซื้อแบบไม่เอากำไรก็มีครับ เพราะต้องการเอาไปผสมรวมกับข้าวคุณภาพต่ำกว่า เพื่อให้ขายได้ครับ





ไม่อยากให้กระทู้นี้เป็นแค่กระทู้ด่ารัฐบาล ด่าพ่อค้า หรือด่าความห่วยของประเทศเราเอง ผมว่าทุกๆที่มันก็มีปัญหาของตัวมันเองนะ แต่เราลืมไปหรือเปล่าว่า ถึงจะด่าคนอื่นแค่ไหนก็ไม่ช่วยให้ตัวชาวนารวยขึ้นได้หรอก ที่ถูกคือต้องเริ่มมองหาว่าข้อผิดพลาดมันอยู่ตรงไหน มีปัญหาอยู่ตรงไหน แล้วเราจะแก้ปัญหายังไง ปัญหาไหนที่เราแก้ไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง เอาเวลามาจัดการแก้ปัญหาที่เราทำได้ก่อนดีกว่า เรื่องของนโยบายรัฐ เรื่องราคาข้าวในตลาดโลก เรื่องระบบราชการ อันนั้นผมมองว่ามันค่อนข้างไกลตัวอ่ะ ด่าไปก็เท่านั้น เราไปทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง แต่เรื่องวางแผนการผลิต เรื่องการลดต้นทุน เรื่องกำหนดระยะเวลาการเกี่ยว เพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ เพื่อขายให้ได้ราคา การเลือกพันธุ์ให้ตรงความต้องการของตลาด หรือ การรวมตัวกันในระดับชุมชนเพื่อวางแผนการผลิต หรือเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับท่าข้าว โรงสี มันยังเป็นสิ่งที่เราพอทำได้ ถ้าภาครัฐไม่ช่วยเราก็ทำกันเอง ดีกว่ามานั่งด่าประเทศเราเอง ว่าคนอื่นไม่ช่วยเหลือเรา แต่ลืมไปว่า เราได้ทำอะไรที่เป็นการช่วยเหลือตัวเราเองหรือยัง




ถ้าพูดอะไรอย่างจะโกรธมั้ยครับ จริงๆแล้วที่พวกเราออกมาด่ารัฐบาล ด่าพ่อค้า หรือโรงสี มากๆกลับยิ่งเป็นการทำให้ชาวนายากจนลง เพราะยิ่งทำให้ชาวนายิ่งฝังใจมากขึ้นว่าที่เขาไม่รวยเพราะ พ่อค้า โรงสีกดราคา รัฐบาลไม่ช่วยเหลือ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโกงกิน ยิ่งทำให้เขาไม่คิดที่จะช่วยตัวเอง คิดว่าความยากจนของเขา เป็นเรื่องที่คนอื่นต้องมารับผิดชอบ ได้แต่รอว่าเมื่อไรข้าวราคาจะดี เมื่อไรรัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือ อันนี้ผมว่ามันไม่ถูกต้อง ผมว่ารากฐานความยากจน ก็มาจากความคิดแบบนี้แหละครับ ...... ผมไม่เถียงว่าการกดราคามันไม่มีจริง บางสถานการณ์พ่อค้าก็ต้องกดราคาซื้อให้ถูกลงเหมือนกันครับสำหรับบางสถานการณ์นะครับ แต่ที่ต้องการจะบอกคือ การด่าพ่อค้า หรือด่ารัฐบาลมันไม่ช่วยอะไรเลย เพราะบางครั้งการโทษรัฐบาล โทษระบบ มันไม่ได้ช่วยให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาอะไรเลย เอาเวลามาแก้ปัญหาที่เราพอจะทำได้ดีกว่า การนั่งโทษคนอื่นมีแต่จะทำให้มองไม่เห็นความผิดพลาดของตัวเองมากกว่าครับ




http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=93348.255
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 30/06/2011 5:46 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งในการแก้ปัญหาความยากจนให้ชาวนาไทยเพื่อจะให้มีฐานะที่ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่มีหนี้สิน นั้น นั่นคือ จะต้องขจัดเหลือบบนหลังชาวนาออกให้ได้

// ความหมายของเหลือบในเอ็นทรี่นี้ //

เหลือบ !! มนุษย์ชนิดหนึ่ง หน้าตาคล้ายแมลงวันแต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียว มีลายสีต่าง ๆ สีเลื่อมพรายก็มี ชอบดูดเลือดชาวนา ... มนุษย์ด้วยกันเอง

ส่วนเหลือบบนหลังชาวนาไทยนั้น อยู่ในกลุ่มใดบ้าง คงจะต้องช่วยกันค้นหา


// ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำนา การค้าข้าว //
๑. ผู้ส่งออกรายใหญ่ (เสือส่งออก) / ผู้ส่งออก
๒. ท่าข้าว
๓. ผู้ประกอบการค้าข้าว (พ่อค้าข้าว)
๔. ศูนย์การค้า
๕. บริษัทขนส่ง
๖. สหกรณ์
๗. โรงสี
๘. ธุรกิจจำหน่ายปุ๋ย ยาฆ่าแมลงกำจัดศัตรูพืช และอุปกรณ์
๙. ธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรทุ่นแรง
๑๐. ผู้ให้กู้ยืมนอกระบบ
๑๑. ผู้ให้เช่านา
๑๒. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
๑๓. ราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงพาณิชย์ องค์การคลังสินค้า องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

ใครร่ำรวย ใครจน มีส่วนแบ่งที่เป็นธรรมให้แก่ชาวนาผู้ผลิตข้าว ที่อาบเหงื่อต่างน้ำ บ้างหรือไม่

// เหลือบบนหลังชาวนาไทย //

ท่านล่ะ ! ท่านพอจะรู้จัก เหลือบบนหลังชาวนาไทย บ้างหรือไม่ อยู่ในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำนา และการค้าข้าว ข้างต้นหรือไม่ หรืออยู่นอกกลุ่ม เช่น นักการเมือง (ระดับชาติ / ระดับท้องถิ่น) อบต. กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หรือชาวนาด้วยกันเอง


// กระทู้ถาม //
กระทู้ถามในครั้งนี้ ถามว่า ทำอย่างไร จึงจะขจัดเหลือบบนหลังชาวนาไทยได้

ขอเชิญเพื่อนชาวบล็อกช่วยแสดงความคิดเห็น ในขอบเขตที่ท่านจะสามารถทำได้


// ทิ้งท้าย //
ทิ้งท้าย รัฐบาลและนักการเมือง เมื่อไรท่านจะสนใจในปัญหาความยากจนและสวัสดิการ ของชาวนาไทย หันมายกเป็นปัญหาระดับชาติ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา อย่างจริงจังและจริงใจเสียที



// เชิญย้อนกลับไปอ่านเอ็นทรี่ที่แล้ว //
ท่านอาจจะย้อนกลับไปอ่านเอ็นทรี่ที่แล้วประกอบด้วย เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น ก็จะขอบคุณมาก
(เอ็นทรี่ที่แล้ว "ทำไมชาวนาไทยจึงยังคงยากจนและเป็นหนี้สินตลอดชาติ")



ขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ชาวบล็อกที่ช่วยแสดงความคิดเห็น
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=507263
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 30/06/2011 5:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความยากจนในภาคเกษตร


จากผลการศึกษาภาวะความยากจนของครัวเรือนในภาคเกษตร ปีเพาะปลูก 2551/52 โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พบว่า ครัวเรือนร้อยละ 29 หรือประมาณ 7.211 ล้านคนมีรายได้ต่ำกว่าระดับเส้นความยากจน โดย ครัวเรือนเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกลุ่มครัวเรือนยากจนมากที่สุด และเมื่อแบ่งระดับรายได้ของครัวเรือนเกษตรออกเป็น ระดับจนมาก จนน้อย และเกือบจน พบว่า ในจำนวนคนจนทั้งหมด อยู่ในระดับจนมากร้อยละ 21 และระดับจนน้อยร้อยละ 8 ของคนจนทั้งหมด ส่วนครัวเรือนที่เกือบจน ประมาณร้อยละ 9 ของครัวเรือนที่หลุดพ้นจากความยากจน (มีรายได้มากกว่าเส้นยากจน) คิดเป็นจำนวน 1.560 ล้านคน ถือว่าเป็นกลุ่มประชากรเสี่ยงต่อการตกอยู่ในภาวะความยากจนในอนาคต...

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สศก. กล่าวว่า ถ้าแบ่งครัวเรือนเกษตรทั้งหมดออกเป็น 5 กลุ่ม สัดส่วนระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด (20% แรกที่จนสุด) มีรายได้เฉลี่ยร้อยละ 3 กับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด (20% สุดท้ายที่รวยสุด) มีรายได้เฉลี่ยร้อยละ 58 ซึ่งแตกต่างกันถึง 18 เท่า แต่หากจำแนกรายได้ของครัวเรือนออกเป็นชั้นรายได้ 10 ชั้น พบว่า เมื่อเวลาผ่านไป รายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 ชั้นแรก ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเส้นยากจน ในขณะเดียวกันสัดส่วนครัวเรือนที่อยู่ในชั้นรายได้ดังกล่าวมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

“สำหรับสาเหตุปัญหาสำคัญของความยากจนในภาคเกษตรของไทย คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ และการบริหารจัดการ ปัญหาเรื่องทุน และโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะที่ทำกิน การพัฒนาดิน และน้ำ ซึ่งยังพบว่าไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีปัญหาราคาผลผลิต และตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยยังล่าช้า” นายอภิชาตกล่าว

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาความยากจนของกระทรวงเกษตรได้เน้นยึดหลักการ 4 ประการสำคัญ ประกอบด้วย เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ปัญญา เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นอกจากนี้ ยังเน้นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ (Skill Practice) เพื่อให้เกษตรกรรู้จัก การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ โดยมีการทำกินในแปลงที่ดินที่จัดให้ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ เน้นการนำที่ดินที่ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ (Land Reform) ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรยากจน ควบคู่กับการฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการรวมกลุ่มเกษตรกร ให้พึ่งพาช่วยเหลือกันในรูปสหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชน(Business Chain) สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อช่วยเหลือด้านการตลาดอันสามารถจะเชื่อมโยงไปสู่การส่งออกในรูปการทำ Contract Farming กับบริษัทเอกชน

นอกจากนี้การหาทางช่วยเหลือกลุ่มครัวเรือนเกษตรยากจนและเกือบจนเพื่อยกระดับการดำรงชีพให้ดีขึ้น แนวทางในการปรับปรุง คือ

- ขยายโอกาสทางด้านศึกษาให้กับครัวเรือนในภาคเกษตร สนับสนุนการใช้ที่ดินให้เต็มพื้นที่และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

- สนับสนุนการจัดหาที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรที่ยากจนในฟาร์มขนาดเล็กควรเลือกทำกิจกรรมฟาร์มให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่และสิ่งแวดล้อม

- สนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีบางส่วน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมฟาร์ม

- เสริมสร้างกิจกรรมการผลิตนอกการเกษตรของครัวเรือนควบคู่ไปกับกิจกรรมฟาร์มเพื่อเป็นแหล่งรายได้เสริม

- เสริมสร้างระบบการจัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดการจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนกับรัฐในการดูแลรักษา และ

- ในกลุ่มครัวเรือนเกษตรที่ยากจนควรเสริมกิจกรรมการผลิตแบบพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพาตลาดเพื่อการบริโภคของครัวเรือน

ซึ่งคาดว่าการดำเนินการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต




http://www.biothai.net/news/8800
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©