-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ปลูกปาล์ม จากอีสาน สู่รังสิต .....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ปลูกปาล์ม จากอีสาน สู่รังสิต .....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 7:50 pm    ชื่อกระทู้: ปลูกปาล์ม จากอีสาน สู่รังสิต ..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลำดับเรื่อง :

1. ปลูกปาล์มอีสานเสี่ยง - ให้ผลผลิตต่ำ
2. ปลูกปาล์มน้ำมันเชิงพานิชย์ในอีสาน อนาคตเสี่ยงไปไม่รุ่ง
3. สถานการณ์ปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน
4. กรณีศึกษาการปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสาน
5. ข้อควรคิดก่อน''ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน''

6. ดัน "ทุ่งรังสิต" เขตส่งเสริมปาล์ม แก้ปมสวนส้มร้าง-หนี้เกษตรกร
7. พลิกสวนส้มร้างรังสิตปลูกปาล์ม
8. ปาล์มน้ำมัน ข้อมูลพื้นฐานที่นำไปสู่การเปลี่ยนนโยบายการเกษตร
9. บางจากฯ จับมือภาครัฐ ส่งเสริมปลูกปาล์มสวนส้มร้างทุ่งรังสิต
10. เรามารู้จักปาล์มน้ำมันเถอะ

11. ปิดตำนานสวนส้มรังสิต ซีพี จับมือ เอ็มเทค หนุนปลูกปาล์ม





---------------------------------------------------------------------------------------------



โดย : นายสมชาย สายลม จ.มุกดาหาร

1. ปลูกปาล์มอีสานเสี่ยง - ให้ผลผลิตต่ำ

ทีมงานเดินทางไปยัง แปลงทดลองวิจัยปลูกปาล์มน้ำมันของศูนย์วิจัยพืชไร่ จ.อุบลราชธานี เพื่อดูว่าเมื่อปลูกปาล์มในภาคอีสานจะเป็น
อย่างไรบ้าง โดยศูนย์วิจัยฯ เริ่มโครงการปลูกปาล์มครั้งแรกเมื่อปี 2547 เพื่อทดลองนำร่องว่าปาล์มพันธุ์ใดจึงจะเหมาะสมกับสภาพ
ภูมิอากาศ ภูมิประเทศของภาคอีสาน โดยเราได้พูดคุยสัมภาษณ์ กับนักวิชาการที่กำลังทดลองปลูกปาล์ม นับจากปี 2547 ก็เป็นเวลากว่า
3-4 ปีแล้ว

สมใจ โควสุรัตน์ นักวิชาการเกษตร 8ว. กล่าวว่า ลักษณะตามธรรมชาติของต้นปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำค่อนข้างสูง โดยมีใบ
ปาล์มเป็นส่วนที่มีความสำคัญในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารไปเลี้ยงลำต้น และนำไปสู่การผลิตช่อดอก ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการ
เจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน ยังขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ เช่น น้ำ ดินและอากาศ อีกด้วย ซึ่งการสร้างช่อดอกที่จะให้ผล หรือ
ทะลายปาล์มนั้น ช่อดอกอันประกอบด้วยเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ปกติต้นปาล์มจะใช้เวลาในการก่อช่อดอกในช่วงฤดูฝน และมีระยะเวลา
ก่อช่อดอกประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นจะให้ผลผลิตได้ประมาณ ปีที่ 3 แต่ถ้าหากต้นปาล์มขาดน้ำอย่างต่อเนื่อง ช่อดอกก็จะปรับตัวไปตาม
ธรรมชาติ คือ ช่อดอกตัวเมียจะเกิดสภาวะเครียด และเปลี่ยนเป็นดอกตัวผู้ หรือดอกกระเทย ทำให้ไม่ได้ผลผลิตนั่นเอง

นอกจากนี้ สมใจ ยังกล่าวต่อว่า พื้นที่ภาคอีสานมีสภาพภูมิอากาศแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน ทำให้มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศน้อย ประกอบ
กับสภาพพื้นที่มีลมพัดแรง ทำให้ใบปาล์มหักได้ง่าย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการผลิตอาหารไปเลี้ยงลำต้นและการผลิตช่อดอกด้วย นอกจาก
นี้ลักษณะดินในภาคอีสานหลายแห่งเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ ในขณะที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
ปัจจัยเยอะมาก ดังนั้น หากต้องการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคอีสานจริงๆ ก็มีความจำเป็นต้องดูแลในเรื่องดิน น้ำ สารอาหาร เป็นต้น


(ภาพใหญ่) ปาล์มน้ำมันที่นิยมปลูกในภาคใต้ ได้รับการส่งเสริมปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน (ภาพเล็ก) แต่ปัญหาใหญ่ที่การศึกษาวิจัยยังแก้
ไม่ตกคือ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำและความชื้นสูง หากปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง ปาล์มจะให้ผลน้อยและนำมาสกัดน้ำมันได้ไม่คุ้มกับ
การลงทุน


“ปาล์มน้ำมันต้องการน้ำเยอะ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ และน้ำใต้ดิน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต แต่สภาพภูมิอากาศของภาค
อีสานค่อนข้างแห้งแล้ง ความชื้นในอากาศน้อย เพราะฉะนั้น ใบปาล์มก็จะปิดปากใบเพื่อเก็บกักความชื้นไว้ ทำให้มีการสังเคราะห์แสงก็น้อย
ตามมาด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้นปาล์มก็จะสังเคราะห์แสงนำอาหารมาดูแลต้นให้มีชีวิตรอดมากกว่าจะให้ผลผลิตอย่างเป็นกอบเป็นกำ” สมใจ กล่าว

นักวิชาการเกษตร 8ว. รายเดิม กล่าวต่อว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ทำการทดลองปลูกปาล์มน้ำมันโดยใช้พันธุ์ของทางราชการ คือ
สุราษฎร์ธานี 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 โดยเริ่มปลูกแปลงแรก ในปี 2547 คือ พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1, 2, 3 ซึ่งเริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 โดย
ปัจจุบันสามารถเก็บผลผลิตปาล์มรวมเป็นระยะเวลา 12 เดือนแล้ว ซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกนั้น สามารถเก็บผลผลิตพันธุ์สุราษฏร์ธานี 2
ได้ประมาณ 225 กิโลกรัม/ไร่ ต่อมา ในปี 2549 ได้ทดลองปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 4, 5, 6 แต่แปลงปี 2549 ยังไม่ให้ผล
ผลิต ทั้งนี้ ปาล์มน้ำมันที่ทดลองปลูก ทำการปลูกเป็นแถวพันธุ์ละ 10 แถว โดยให้น้ำ 5 แถว และไม่ให้น้ำ 5 แถว

“การวิจัยปลูกปาล์มในพื้นที่ของศูนย์วิจัยฯ ยังไม่สามารถให้น้ำต้นปาล์มได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือ ทำการให้น้ำเพียงครึ่งวันในช่วงเช้า ดังนั้น
ปาล์มอาจได้รับน้ำไม่พอ นอกจากนี้ แม้ว่า จ.อุบลราชธานี จะมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง คือ 1,600 มิลลิเมตร/ปี แต่ฝนที่ตกจะกระจุก
อยู่ในช่วงใดช่วงหนึ่ง ประกอบกับมีช่วงแล้งนาน ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอต่อการดูแลปาล์มน้ำมัน และส่งผลต่อการก่อช่อดอกของต้นปาล์มด้วย”

“นอกจากนี้ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำสูง ประมาณ 200 ลิตร/ต้น/วัน ดังนั้น หากเกษตรกรคิดจะปลูก ก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะ
สมในการปลูกด้วย เช่น จะสามารถดูแลให้น้ำต้นปาล์มในปริมาณมากขนาดนั้นได้หรือไม่ ส่วนการเก็บผลผลิตปาล์มน้ำมันในศูนย์วิจัยฯ นั้น
คงต้องรอดูต่อไป เพราะยังไม่ทราบว่าจะสามารถเก็บผลผลิตต่อไปได้อีกกี่ปี เนื่องจากเป็นงานวิจัยระยะเวลา 20 ปี ดังนั้น จึงยังไม่สามารถ
ฟันธงได้ว่าปาล์มน้ำมันที่ทดลองปลูกจะประสบความสำเร็จหรือไม่” นางสมใจ กล่าว

“หากถามถึงความคุ้มค่าในการลงทุนก็ต้องบอกว่า ผลผลิตที่ได้ต่ำกว่าทางใต้เยอะ ดังนั้น เกษตรกรคงต้องคิดให้ดีสักนิดหนึ่ง เพราะต้องลง
ทุนซื้อต้นกล้า ประกอบกับต้องดูแลให้น้ำมาก เนื่องด้วยข้อจำกัดของสภาพพื้นที่ภาคอีสาน ทั้งลักษณะดิน น้ำ และสภาพภูมิอากาศ ถ้า
จะให้พูดตรงๆ ก็คือ มีความเสี่ยงมากที่จะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่แบบนี้ เพราะการลงทุนก็สูง ความคุ้นเคยก็ไม่มี ในขณะที่พื้นที่ จ.อุบลราช
ธานี เป็นพื้นที่ที่ประชาชนคุ้นเคยกับการปลูกข้าวหอมมะลิ
มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ส่วนตัวคิดว่าไม่ควรทิ้งการปลูกข้าวหอมมะลิ” นักวิชาการเกษตร 8ว. กล่าวทิ้งท้าย


โดย : ทวีศักดิ์ จำปาโท
http://www.pandintong.com/ReplyUI.php?ForumGroupID=1&ForumID=151


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 26/06/2011 9:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 7:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

2. ปลูกปาล์มน้ำมันเชิงพานิชย์ในอีสาน อนาคตเสี่ยงไปไม่รุ่ง





เปิดข้อมูลและผลการศึกษาการปลูกปาล์มน้ำมันเชิงพานิชย์ในอีสาน เรื่องโดย : ทิพย์อักษร มันปาติ ประชาธรรม สถานีข่าวประชาชน www.newspnn.com


พืชน้ำมันบนดินเช่นปาล์มน้ำมันคงเป็นทั้งพืชแห่งความหวังและโอกาสสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรหลายคน โดยเฉพาะเมื่อยามที่
ทั่วโลกต่างกำลังมองหาแหล่งพลังงานน้ำมันในรูปแบบอื่นมาเป็นทางเลือกและทดแทนน้ำมันฟอสซิลใต้ดินที่กำลังหมดไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน
การปลูกพืชน้ำมันแบบเชิงเดี่ยวและเน้นขายเข้าตลาดอย่างเดียว ก็ไม่แน่ว่าจะตอบแทนเป็นเม็ดเงินคุ้มค่าให้เกษตรกรเสมอไป

สำหรับภาคอีสาน พืชน้ำมันบนดินอย่างปาล์มน้ำมันที่หน่วยงานภาครัฐได้ดำเนินการวิจัยทดลองปลูกในพื้นที่เป้าหมายซึ่งคาดว่ามีศักยภาพและปัจจัย
อันเหมาะสมต่อธรรมชาติของพืชชนิดนี้ โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ริมเขตแม่น้ำโขง เช่น เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 80,000 ไร่แล้ว

ทว่า คำถามที่ชวนให้ตั้งข้อสังเกตและเป็นข้อน่ากังวลมาก คือ พื้นที่ภาคอีสานมีความเหมาะสมต่อการปลูกปาล์มมาก-น้อยแค่ไหน คุ้มกับการ
ลงทุนเชิงพาณิชย์หรือไม่ หรือจริงๆ แล้ว มีความเสี่ยงได้ ปาล์มดูใบ ให้ผลผลิตต่ำ และไม่คุ้มที่จะลงทุน นี่เป็นสิ่งที่ต้องเร่งหาข้อสรุปอย่างจริงจัง


หวั่นเกษตรกรอีสานปลูกปาล์มไปไม่รุ่ง
นายอุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน วิเคราะห์ว่า มีเหตุผลบางประการที่เกษตรกรชาวอีสานจำนวนหนึ่งตัดสิน
ใจลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน ดังนี้เช่น 1. ในพื้นที่ที่เคยลงทุนปลูกยางพารามาแล้ว เกษตรกรมีข้อเปรียบเทียบระหว่างพืชตัวนี้กับปาล์มน้ำมันว่า
ยางพาราแม้มีรายได้ดีแต่ต้องทำงานหนัก และต้องทำงานตอนกลางคืน ทำให้เกษตรกรบางคนแสวงหาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ไม่ต้องทำงาน
กลางคืน หรือทำงานน้อยกว่า อย่างเช่น ปาล์มน้ำมัน ซึ่งมีชั่วโมงการทำงานน้อยกว่า

2. จากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลพบว่าเกษตรกรใน จ.หนองคาย และ จ.อำนาจเจริญ จำนวนหนึ่งเลือกพื้นที่นาน้ำท่วม หันมาลงทุนปลูกปาล์ม
น้ำมัน เพราะพื้นที่นาเป็นพื้นที่ลุ่ม ถูกน้ำท่วมเป็นประจำทำให้ได้ผลผลิตข้าวในแต่ละปีไม่มีความแน่นอน บางปีก็ได้ผลผลิตต่ำมาก ในขณะที่เกษตรกร
ก็เข้าใจผิดว่าน้ำท่วมต้นปาล์มน้ำมันได้ ไม่ตาย ทั้งที่ในความเป็นจริงธรรมชาติของต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคและอาจเสี่ยงตายหลัง
จากมีน้ำท่วมขังนาน

3. พื้นที่จำนวนหนึ่งในภาคอีสานขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร กล่าวคือ เกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ยังพอมีพื้นที่ทำการเกษตรต้องอาศัย
แรงงานในครอบครัวเพียง 2 คน คือ สามีกับภรรยา ในขณะที่บุตร หลาน มีแนวโน้มว่าจะไม่กลับมาทำงานในภาคเกษตรอีก ดังนั้น พื้นที่ทำการเกษตร
โดยเฉพาะที่นาที่มีอยู่จึงเป็นความหวังว่าจะนำมาลงทุนปลูกพืช
เศรษฐกิจเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัว

4. แรงจูงใจจากช่วงน้ำมันราคาแพงทำให้ราคาปาล์มน้ำมันพลอยสูงตามไปด้วย ทำให้เกษตรกรบางรายถึงกับเลิกทำนาไป หันมาลงทุนปลูกปาล์ม
น้ำมันแทนโดยไม่มีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่รอบด้าน ทั้งในแง่สภาพพื้นที่ว่าเหมาะสมหรือไม่ การดูแลให้ได้ผลผลิตดีต้องทำอย่างไร รวมถึงข้อ
มูลตลาดขายผลผลิต เป็นต้น

นี่เป็นการดิ้นรนค้นหาของพี่น้องเกษตรกรเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า แต่นับเป็นความเสี่ยงที่ต้องมาเจอกับนรกขุมใหม่ที่เอาชีวิตของเกษตรกรรายย่อย
ครอบครัวหนึ่งไปผูกไว้กับสภาวะราคาน้ำมันโลกที่ควบคุมหรือกำหนดไม่ได้ นายอุบล กล่าว


เปลี่ยนโฉมพื้นที่ปลูกอาหารสู่ปาล์มน้ำมัน-ลงทุนสูง-ไม่รับประกันความคุ้มค่า
เมื่อพิจารณาถึงลักษณะธรรมชาติของต้นปาล์มน้ำมัน เป็นพืช
ที่ต้องการน้ำและความชื้นสูงโดยเฉลี่ยวันละ 100-120 ลิตร/ต้น/วัน และต้องการน้ำเฉลี่ย 2,000 ม.ม./ปี แล้งติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน ใน
ขณะที่ภาคอีสาน มีช่วงแล้งทิ้งระยะติดต่อกันยาวนานเกิน 3 เดือน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,300 ม.ม./ปี [1] จึงมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ลักษณะดินในหลายพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย มีความสามารถในการกักเก็บน้ำน้อย ตามเหตุผลดังกล่าวจึง
ไม่เอื้อต่อการปลูกปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตมาก

อย่างไรก็ตาม บางบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และพื้นที่จังหวัดที่อยู่ริมเขตแม่น้ำโขง มีความชื้นชั้นใต้ดินค่อนข้างมาก รวมถึง
พื้นที่ป่าบุ่ง ป่าทาม แหล่งอาหารตามธรรมชาติ รวมถึงที่นาลุ่ม แหล่งผลิตอาหาร ถูกเล็งว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หากพื้นที่เหล่านี้ถูกเปลี่ยนโฉมเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างไม่มีการวางแผนจัดการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมแล้ว ย่อมส่ง
ในทางลดทอนศักยภาพการผลิตอาหารพึ่งตนเองของชุมชนด้วยอย่างแน่นอน

นายอุบล กล่าวว่า พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานมีอย่างจำกัดมาก จึงน่าเป็นห่วงว่าจะไปรุกรานพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นฐานทรัพยา
กรอาหารของชุมชน เช่น ป่าทาม รวมถึงแหล่งผลิตอาหารดั้งเดิม เช่น ที่นาลุ่ม โดยพื้นที่เหล่านี้ตามปกติจะมีน้ำท่วมตามฤดูกาล แต่หากเกษตรกร
ลงทุนปรับพื้นที่ใหม่ ยกร่องให้สูงก็กลายเป็นพื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์มได้ระดับหนึ่ง

พืชพลังงานที่มีความเสี่ยงว่าจะขยายเข้าไปปลูกในพื้นที่ซึ่งเป็นฐานทรัพยากรอาหารของชุมชนในภาคอีสาน คือ ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เพราะพืช
ทั้ง 2 ตัวนี้ ปลูกในดินที่มีความชื้นสูงได้ โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันเป็นพืชต้องการน้ำ และความชื้นสูง ตอนนี้กำลังรุกคืบลงไปปลูกในนาข้าวมาก
ขึ้นๆ นายอุบล กล่าว

นายอุบล กล่าวต่อว่า จากการลงพื้นที่ของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสานเพื่อศึกษาข้อมูลการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรภาคอีสาน
พบว่า เกษตรกรที่ลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันจำเป็นต้องวางระบบน้ำให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอต่อต้นปาล์มทุกต้น โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่ทิ้งช่วงยาว
อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำต่อเนื่องนาน ทำให้ต้องดูแลเรื่องน้ำแก้ต้นปาล์มเป็นอย่างดี จึงนับเป็นต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอีก ต่างไปจากการปลูก
ปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ที่ไม่จำเป็นต้องวางระบบน้ำเช่นนี้ เนื่องจากสภาพอากาศ ดิน น้ำ มีความชุ่มชื้นเหมาะสมดีอยู่แล้ว

ทั้งนี้ แม้บางพื้นที่น่าจะเหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่นพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณริมฝั่งโขง เช่น เลย หนองคาย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และ
ศรีษะเกษทางตอนใต้ เช่น อ.กันทรลักษณ์ และ อ.ขุนหาร ซึ่งมีน้ำใต้ดินมาก ก็ไม่ได้รับประกันว่าปลูกปาล์มแล้วจะได้ผลผลิตคุ้มค่า เพราะ
ปัจจัยในการได้ผลผลิตปาล์มน้ำมันมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศด้วย ในขณะ
ที่พื้นที่ภาคอีสานส่วนใหญ่ มีช่วงหน้าแล้งเป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน ขาดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ซึ่งเสี่ยงมากต่อการทำให้ปาล์มไม่ติดผล

ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ใน จ.เลย ซึ่งมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศค่อนข้างสูงกว่าในหลายๆ พื้นที่ แต่มีช่วงหน้าแล้งทิ้งช่วงนาน และความชื้น
สัมพัทธ์ในอากาศต่ำติดต่อกันนาน ยังพบว่าต้นปาล์มออกดอกเป็นเกสรตัวผู้จำนวนมากซึ่งจะไม่ติดผล หรือได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ในระดับที่
ไม่คุ้มค่า ตรงนี้จึงเป็นความเสี่ยงของเกษตรอีสานในการจะลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน

เปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนเป็นการฝืนเอาพืชที่มีธรรมชาติที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะภูมิศาสตร์ของพื้นที่มาปลูก มันก็ย่อมให้ผลไม่ดีนัก แต่
ถ้าต้องการรักษาสภาพการเจริญเติบโตของพืชเอาไว้ หรืออยากให้ได้ผลผลิตมาก คงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมและมีการลงทุน
สูงมาก นายอุบล กล่าวย้ำ

นายอุบล กล่าวอีกว่า ไม่เพียงเท่านั้น ปัญหาในการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรภาคอีสานอีกอย่างหนึ่ง คือ เกษตรกรจำนวน
หนึ่งถูกพ่อค้าหลอกขายกล้าพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ ซ้ำมีราคาแพง โดยจากการสอบถามเกษตรกรใน จ.ศรีษะเกษ ได้ข้อมูลเบื้องต้นว่า มี
พ่อค้านำกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีมาขายให้ในราคาต้นละ 100-140 บาท หากมองในแง่การลงทุนก็เป็นการลงทุนซื้อต้นกล้าที่สูงมาก ในขณะ
ที่เกษตรกรในหลายพื้นที่ไม่มีข้อมูลรอบด้านในการพิจาณาตัดสินใจในการปลูกปาล์มน้ำมัน และไม่รู้ว่าเป็นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีอย่าง
ที่พ่อค้าโฆษณาหรือไม่ ส่วนกล้าพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรเพาะออกมาขาย มีราคาต้นละประมาณ 50-60 บาท

กลไกการขายกล้าของนายทุนไม่ได้หยุดยั้ง ไม่ได้รีรอนโยบายใดๆ เพราะในขณะที่กระทรวงเกษตรเองยังไม่มีนโยบายหรือโครงการส่งเสริม
การปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคอีสานชัดเจน การสนับสนุนส่งเสริมของบริษัทเอกชนในการขายกล้าพันธุ์ก็ยังเดินหน้าตลอด เป็นกลไก
หนึ่งที่มาส่งเสริมการตัดสินใจของเกษตรกร ก็น่าเป็นห่วงเพราะเกษตรกรหลายคนลงทุนทั้งๆ ที่ยังไม่มีข้อมูลรอบด้าน


เศรษฐีปาล์มน้ำมัน-ฝันหวานๆ ของเกษตรกรอีสาน?
นายสมาน แก้วมณี เกษตรกรบ้านโพนสว่าง ต.รัตนวาปี อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย กล่าวว่า ตนมีที่นาทั้งหมด 26 ไร่ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าจาก
ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคาย ได้มาอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน ส่วนตัวคิดว่าเป็นพืชที่น่าสนใจ และน่าจะขายได้ราคาดี เมื่อปี
2549 จึงลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในที่นา 26 ไร่ ไปแล้วกว่า 100,000 บาท โดยเงินลงทุนกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
(ธกส.) และมีกำหนดชำระคืนภายใน 6 ปี

เหตุผลที่ลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันเพราะคิดว่าเป็นพืชที่น่าจะให้ราคาดี และไม่ต้องทำงานหนักมากเหมือนกับการทำนาที่ต้องใช้แรงงานเยอะ
และยังต้องลงทุนใหม่ทุกๆ ปี และตอนนี้ครอบครัวก็ไม่มีลูกหลานอยู่ทำนากันแล้ว อีกอย่างคิดว่าปาล์มน้ำมันต้องการดูแลมากในช่วงต้นๆ
แต่พอเริ่มให้ผลผลิตได้แล้วคงไม่ต้องดูแลมาก รอตัดทลายปาล์มขายได้เลย

นายสมาน กล่าวต่อว่า ซื้อกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันมาจากศูนย์วิจัยในราคาต้นละ 50 บาท ปลูก 22 ต้น/ไร่ โดย 2 ปีที่ผ่านมานี้ต้องดูแลเรื่อง
น้ำให้ดี โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อาศัยการสูบน้ำจากบ่อมาฉีดพ่นใส่ต้นปาล์มน้ำมันเพื่อให้มีความชื้น
ประมาณเดือนละ 3-4 ครั้ง ตามเวลาที่ตนสะดวก

ทั้งนี้ ในอนาคตก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการดูแลเรื่องน้ำให้ปาล์ม เพราะอยู่ที่การลงทุนของเรามากกว่า ถ้าลงทุนให้น้ำ ให้ปุ๋ยดี ต้นปาล์ม
ก็น่าจะให้ผลผลิตดี และถึงแม้ตอนนี้จะยังไม่มีโรงงานปาล์มในพื้นที่ ก็มีพ่อค้ามารับซื้ออยู่แล้ว เรื่องการส่งขายจึงไม่น่าเป็นห่วง แต่กังวล
เพียงราคาปาล์มที่เราไม่สามารถกำหนดได้

หากดูแลเรื่องน้ำเป็นอย่างดีก็น่าจะสามารถตัดทลายปาล์ม 2 ครั้ง/เดือน เหมือนที่ภาคใต้ และหากให้ผลผลิตอย่างน้อย 15 กิโลกรัม/ต้น
เมื่อคิดคร่าวๆ ตามราคาผลปาล์มน้ำมันที่อย่างน้อยตอนนี้ขายได้ในราคา 2 บาท/กิโลกรัม ก็เท่ากับขายปาล์มได้ 30 บาท/ต้น ซึ่งตนมี
ปาล์มน้ำทั้งหมด 572 ต้น ในพื้นที่ปลูก 26 ไร่ ก็คาดว่าจะขายได้ 17,160 บาททุกๆ 15 วัน คิดว่าเป็นรายได้ที่พออยู่ได้ นายสมาน กล่าว

ในขณะที่ นายสัมพันธ์ เพชรเสน เกษตรสวนปาล์มน้ำมัน ต. คลองชะอุ่น อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ให้ข้อมูลว่า ปาล์มน้ำมันที่ภาคใต้ปลูก
ประมาณ 25 ต้น/ไร่ ตามปกติจะได้ผลผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 100 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยสามารถตัดทลายปาล์ม ทุกๆ 15 วัน หรือ 2 ครั้ง/
เดือน ทั้งนี้ ผลผลิตปาล์มขึ้นอยู่กับอายุของต้นปาล์มด้วย

ปาล์มที่ปลูกในภาคใต้เริ่มให้ผลผลิตตอนอายุประมาณ 2.8 ปี ซึ่งการให้ผลผลิตช่วงแรกนี้ยังมีน้ำหนักค่อนข้างน้อย หรือโดยเฉลี่ยให้ผลผลิต
ประมาณ 3-6 กิโลกรัม/ทลาย (ปาล์มน้ำมันอายุ 4-8 ปี สามารถเก็บผลผลิตในรอบ 15 วัน โดยเฉลี่ยจะให้ผลผลิต 2-3 ทลาย/ต้น/รอบ)
ส่วนปาล์มอายุเข้าปีที่ 6-8 จะเป็นช่วงอายุที่ต้นปาล์มให้ผลผลิตโดยเฉลี่ยสูงสุดต่อทลาย เช่น ปาล์มน้ำมันในปีที่ 8 ให้ผลผลิตโดยเฉลี่ย
ประมาณ 30-50 กิโลกรัม/ทลาย นายสัมพันธ์ กล่าว

นายสัมพันธ์ กล่าวต่อว่า การให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น 1. สภาพพื้นที่ กล่าวคือ ลักษณะทั่วไปของปาล์ม
น้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ชอบพื้นที่ที่มีฝนตกชุกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี มีความชื้นสูง มีแสงแดดจัด ซึ่งเหมาะกับการปลูกในพื้นที่ภาค
ใต้ของประเทศไทย 2. สายพันธุ์ของปาล์มน้ำมันมีส่วนในการให้ปริมาณผลผลิตมากหรือน้อย ซึ่งสายพันธุ์ปาล์มที่นิยมปลูกคือ สายพันธุ์
ผสมเทเนอร่า (Tenera) ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่มีการส่งเสริมให้ปลูก เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ สตูล
สงขลา นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ชลบุรี ตราดฯลฯ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีฝนตกชุก แสงแดดจัด และมีความชื้นสูง เหมาะกับการปลูก
ปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับวิธีการบำรุง ดูแลรักษา ซึ่งการปลูกปาล์มในภาคใต้ส่วนใหญ่ปลูกทิ้งไว้เลย ไม่ต้องกังวลเรื่องการให้น้ำ

ด้านการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ หากคิดต้นทุนการปลูกปาล์มต่อพื้นที่ 1 ไร่ มีการลงทุนนับต้องแต่การซื้อกล้าพันธุ์ ราคาขึ้นอยู่
กับสายพันธุ์ ตั้งแต่ราคา 25-100 บาท/ต้น นอกจากนี้คือการปรับพื้นที่ จ้างขุดหลุม ปุ๋ยรองก้นหลุม ฯลฯ โดยสรุปแล้วใช้เงินลงทุน
ประมาณ 6,500-7,000 บาท/ไร่ โดยมีจุดคุ้มทุนในปีที่ 4 ของการปลูก

ราคาปาล์มน้ำมันควรอยู่ที่อย่างน้อยประมาณ 3.40-3.60 บาท/กิโลกรัม ถ้าหากขายได้ในราคา 2 กิโลกรัม/ไร่ เช่นในปัจจุบันก็ขาดทุน
และไม่สมควรลงทุนด้วย เพราะต้องคิดต้นทุนค่าแรงในการตัดทลายปาล์มน้ำมัน ค่าจ้างรถขนบรรทุกทลายปาล์มเข้าโรงงาน ค่าปุ๋ยบำรุง
ต้นปาล์ม ด้วย นายสัมพันธ์ กล่าว

ทั้งนี้ กรณีการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน ตนเห็นว่าพื้นที่ทั่วไปของภาคอีสานส่วนใหญ่อากาศแล้งมาก ไม่เหมาะกับการปลูกปาล์มน้ำมัน
มีเพียงบางจังหวัดที่อาจพอมีศักยภาพด้านความเหมาะสมด้านพื้นที่และสภาพดิน น้ำ ความชื้น

ส่วนตัวคิดว่าไม่สมควรที่จะเดินหน้าปลูกปาล์มน้ำมันต่อในภาคอีสาน เพราะสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศไม่เหมาะกับลักษณะของพืช
ชนิดนี้ หากหากเกษตรกรชาวอีสานยังต้องการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ ก็จำเป็นต้องดูแลเรื่องน้ำเป็นอย่างดีมาก แต่ก็ยากมากที่จะได้
รับผลผลิตคุ้มทุน น่าจะหาพืชพลังงานตัวอื่นที่มีธรรมชาติเหมาะสมกับพื้นที่มาปลูกดีกว่า นายสัมพันธ์ กล่าวย้ำ


เร่งหาข้อสรุปปลูกปาล์มในอีสาน-ให้ข้อมูลรอบด้านก่อนอนาคตเกษตรกรดิ่งเหว
นายอุบล กล่าวว่า ความไม่เหมาะสมของการปลูกปาล์ม
น้ำมันในภาคอีสานเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะความแห้งแล้งจัด มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ มีช่วงที่ดินขาดน้ำยาวนานเกินไป
ทำให้ปาล์มน้ำมันน้ำมันในอีสานต้องประคองชีวิตอยู่โดยการไม่ติดผล กล่าวคือ ปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่สามารถสลัดใบได้ เหมือน
พืชใบเลี้ยงคู่ เมื่อไม่มีน้ำเพียงพอ ก็จะปิดปากใบ หยุดการปรุงอาหาร เพื่อรักษาชีวิตพอให้อยู่รอด อีกทั้ง อากาศเย็นในฤดูหนาว ประกอบกับ
เป็นพื้นที่โล่ง ลมแรง มีส่วนทำให้ปาล์มน้ำมันน้ำมันชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้น ในรอบขวบปี ปาล์มที่ปลูกในอีสานบางพื้นที่จะให้ผลผลิต
ต่ำมากหรือไม่ให้ผลผลิตเลย

ทั้งนี้ ข้อสรุปของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคาย ระบุว่า หากจะปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพื้นที่ใหญ่เพื่อการค้าในภาคอีสานจะมีปัญหาแน่นอน
ทั้งในแง่ของผลผลิตที่อาจไม่คุ้ม และสภาวะราคาน้ำมันที่ควบคุมไม่ได้ หากยังขายปาล์มได้ 2 บาท/กิโลกรัม อย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้
นั่นหมายความว่า ครอบครัวนั้นไม่มีรายได้พอที่จะซื้อข้าวเลี้ยงครอบครัวของตัวเอง

นายอุบล กล่าวต่อว่า ต้องเร่งหาข้อสรุปทางวิชาการว่าปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่เหมาะสมต่อการปลูกในพื้นที่ภาคอีสานหรือไม่ เพราะการปลูก
ปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน ไม่ได้ให้ผลผลิตอย่างทั่วๆ ไป กล่าวคือ โดยเฉลี่ยแล้วการปลูกปาล์มน้ำมันในในภาคอีสานจะให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มประมาณ 10-20 ลิตร/ต้น/ปี ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของต้นปาล์มน้ำมันด้วย
ดังนั้น หากจะปลูกในภาคอีสาน ความเหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 4-5 ต้น/ครอบครัว อาจปลูกไว้ตามริมคันนา ขอบสระน้ำ เพื่อเอามาสกัด
น้ำมันใช้เอง โดยทางหน่วยงานราชการก็ควรไปสนับสนุนให้ชุมชนมีโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันคล้ายๆ กับโรงสีข้าวในหมู่บ้าน เป็นโรงงานของ
ชุมชนใช้ร่วมกัน สนับสนุนการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของชุมชนให้เข้มแข็งมากขึ้น

เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานอยู่เพียงน้อยนิด ดังนั้น ควรเร่งหาข้อสรุปและหาข้อยุติในเรื่องความเหมาะสม
ของการปลูกปาล์มในภาคอีสาน ไม่ควรปล่อยให้เอกชนขายกล้าพันธุ์ปาล์มที่มีพันธุ์ไม่ดีปะปนกันมาขายให้แก่เกษตรกร เป็นการฉวยโอกาสหลอกลวง หากินกับเกษตรกร ซึ่งธุรกิจแบบนี้ไม่ต้องมีความเสี่ยงอะไรเลย

นอกจากนี้ ยังกล่าวสำทับว่า ทิศทางการปลูกพืชพลังงานไทย โดยเฉพาะการปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นทิศทางที่ไม่มีหลักประกันว่าเกษตรกรราย
ย่อยจะได้ประโยชน์ กลับเป็นทิศทางที่ยังคงมุ่งไปเพื่อความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก และแก้ปัญหาพลังงานที่ให้ภาคอุตสาหกรรมได้ประโยชน์ แต่เป็นทิศทางที่ไปไม่ถึงประโยชน์สุขของเกษตรกรรายย่อย

ทิศทางการพัฒนาพลังงานเพื่อให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกร ชาวไร่ชาวนารายย่อยและชาวบ้านชาวช่อง ต้องมองเรื่องการพึ่งตนเองในระดับ
ชุมชน เช่น ส่งเสริมความรู้ทางเทคโนโลยีต้นทุนต่ำพอสมควร และให้โอกาสชุมชนทำโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มผลิตไบโอดีเซลใช้ในระดับชุมชน
ควรจะเป็นทิศทางการส่งเสริมพืชพลังงานที่รัฐบาลควรให้การสนับสนุน นายอุบล กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลทางวิชาการ แนวโน้มทิศทาง ปัจจัยความเสี่ยง ในการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งขยายความให้เกษตรกรรับรู้
และเข้าใจ เพื่อเป็นตัวช่วยให้เกษตรกรพิจารณาตัดสินใจเลือกทิศทางการใช้พื้นที่ทางการเกษตรสร้างความมั่นคงในชีวิตของตนเองบนพื้น
ฐานความรู้ที่รอบด้านและสมเหตุสมผล.




ข้อมูลอ้างอิง
[1] มยุรี อัครบาล. โฟกัสสถานการณ์ปาล์มอีสาน ในภาวะเสี่ยงทิ้งพื้นที่ปลูก 19 มกราคม 2552

http://www.bangkokbiznews.com/2009/01/09/news_27971824.php?news_id=27971824

ที่มา : ทิพย์อักษร มันปาติ ประชาธรรม สถานีข่าวประชาชน (117.47.173.180) [2009-01-26 11:49:39]

http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=topreport&No=11261


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 10:53 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 8:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

3. สถานการณ์ปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน

“เสียงคนอีสาน” วันนี้้ ชวนไปทำความเข้าใจสถานการณ์การรุกคืบของพืชเศรษฐกิจระลอกใหม่ในภาคอีสานกับ “อุบล อยู่หว้า” จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน

ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซล โดยกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดให้มีการผลิตพลังงานเพื่อทดแทนน้ำมันดีเซลให้ได้ ๕ % ภายในปี ๒๕๕๔

ภายใต้แผนดังกล่าวได้กำหนดให้มีการส่งเสริมและขยายพื้นที่การปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มเป็น ๒.๕ ล้านไร่ ในปี ๒๕๕๑–๒๕๕๕ โดยมีพื้นที่เป้าหมายในภาคอีสานประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ไร่ และในขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในบางพื้นที่

ต่อสถานการณ์การรุกคืบของพืชเศรษฐกิจระลอกใหม่ในภาคอีสาน “อุบล อยู่หว้า” จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ในฐานะผู้หนึ่งที่ติดตามและศึกษานโยบายดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ได้เสนอมุมมอง ความคิดเห็น ผ่านการพูดคุยกับ “เสียงคนอีสาน” ดังนี้

เสียงคนอีสาน : อะไรคือข้อกังวลเกี่ยวกับนโยบายขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน

ตอนนี้ผู้ผลิตปาล์มส่วนใหญ่ในประเทศไทยเกินกว่า ๗๐ % เป็นเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรรายย่อยในที่นี้ก็คือ มีพื้นที่ปลูกขนาดเล็ก ซึ่งการปลูกแบบนี้จะทำให้มีต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งมีการผลิตขนาดใหญ่ เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่ยุคการล่าอาณานิคม เป็นอุตสาหกรรมที่ครบวงจร เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มธุรกิจเดียวที่ลงทุนตั้งแต่ผลิต ไปจนถึงขั้นการแปรรูปทำผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ จากปาล์ม เป็นอุตสาหกรรมในสายพานเดียวของกลุ่มธุรกิจเดียว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว ไม่มีทางที่ประเทศไทยจะแข่งขันได้

อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศไทยมีสถานะเป็นอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า ซึ่งปริมาณการผลิตอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าพอกินในประเทศ อาจจะมีส่วนเกินนิดหน่อย พูดง่าย ๆ คือพอจะผลิตมาม่าบริโภคในประเทศได้ แล้วโดยความเหมาะสมก็คือต้องได้รับการปกป้องจากรัฐ เปิดเสรีไม่ได้ ถ้าเปิดเสรีเมื่อไหร่จะถูกอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันจากมาเลเซียตีตายทันที

ฉะนั้น เมื่อสถานการณ์ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้น จึงทำให้เกิดนโยบายเพิ่มปริมาณการผลิต และขยายมายังภาคอีสาน ซึ่งก็มีแนวโน้มว่าเกษตรกรรายย่อยในภาคอีสานจะยิ่งกระโจนเข้าสู่การผลิตพืชพลังงานชนิดนี้ อันนี้ก็ยิ่งจะทำให้เกษตรกรตกอยู่ในความเสี่ยง

ความเสี่ยงพื้นฐานเลย อันแรกคือ บางพื้นที่ปาล์มอาจจะให้ผลผลิตไม่ได้ เพราะว่าความชื้นต่ำเกินไป หมายความว่าในอีสานนั้นช่วงเวลาที่ดินขาดน้ำมีมากเกินไป ฉะนั้นต้นปาล์มก็จะกลายเป็นเพียงไม้ประดับที่เห็นอยู่ตามปั๊มน้ำมันหรือเกาะกลางถนนทั่ว ๆ ไป คือไม่สามารถที่จะให้ผลผลิตได้ ซึ่งตอนนี้พบในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกหลายแห่ง เช่นที่อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จังหวัดมหาสารคาม อันนี้คือความเสี่ยงประการแรก

ความเสี่ยงประการที่สอง คือเสี่ยงกับการถูกหลอกให้ซื้อกล้าพันธ์ปาล์มธรรมดาที่เก็บลูกมาเพาะพันธุ์ขาย ไม่ใช่กล้ายางพันธุ์ดีตามที่โฆษณาเอาไว้

ความเสี่ยงประการต่อมาคือ ในภาคอีสานตอนนี้ยังไม่มีตลาดรองรับ แต่ที่มีการรับซื้อกันอยู่บ้างในเวลานี้โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดหนองคาย เลย ก็คือจากพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อยางพาราเพื่อส่งไปยังโรงงานในจังหวัดระยอง ซึ่งก็จะรับซื้อปาล์มไปด้วย จากนั้นก็เอาไปส่งต่อยังในโรงงานสกัดน้ำมันที่จังหวัดชลบุรี

ขณะเดียวกันก็พบว่าที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เกษตรกรเลือกที่จะไม่ตัดปาล์มขายเพราะว่าไม่คุ้มทุน หลายพื้นที่ตัดทิ้ง บางพื้นที่แม้จะมีความพยายามในเรื่องของการแปรรูปผลผลิต อย่างอาจารย์ท่านหนึ่งที่เมืองเลย ซึ่งรับซื้อปาล์มมาสกัดทำไบโอดีเซล ที่แม้ว่าในเรื่องการจำหน่ายจะเป็นที่น่าพอใจ แต่ในแง่ของเกษตรกรอยู่ไม่ได้ เนื่องจากว่าราคารับซื้อทลายปาล์มสดจะอยู่ที่กิโลกรัมละ ๒ บาท ฉะนั้นการแปรรูปอาจจะพออยู่ได้เฉพาะคนกลางที่ทำการแปรรูป แต่ว่าตัวชาวสวนก็ยังไม่มีคำตอบ

เสียงคนอีสาน : แนวโน้มการขยายตัวของพื้นที่ปลูกปาล์มในอีสานเป็นอย่างไรบ้าง
ตอนนี้โดยกระแสมันเริ่มชะลอตัว แต่ว่าในส่วนของภาคราชการเองก็ยังส่งเสริมอยู่ ยังมีการประกาศขายกล้าปาล์มอยู่ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีอยู่ นั่นแสดงว่านโยบายก็ยังส่งเสริมอยู่ คือการที่จะเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกหรือไม่นั้นมันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาพลังงาน ราคาน้ำมัน หมายความว่าถ้าราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ราคาปาล์มก็จะพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

ที่ผ่านมาเราพบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้พื้นที่ปลูกปาล์มขยายตัวก็คือ ราคาพลังงาน ตอนนี้ราคาน้ำมันเริ่มขยับตัว และถ้าราคาทลายปาล์มขึ้นไปถึง ๕ - ๖ บาทเมื่อไหร่ นั่นก็จะเป็นเงื่อนไขสำคัญให้พี่น้องเกษตรกรตัดสินใจปลูก

จากการลงพื้นที่ในอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เราพบว่าบางรายถึงกับเอาที่นามาปลูกปาล์มน้ำมัน ตรงนี้ความเสี่ยงจะอยู่ตรงที่ว่า เมื่อครอบครัวเกษตรกรรายย่อยทำการผลิตปาล์ม นั่นหมายความว่าเอาเศรษฐกิจของครอบครัวไปผูกมัดไว้กับสถานการณ์ราคาพลังงาน คือการขึ้นลงของราคาทลายปาล์มนั้นมันขึ้นอยู่กับราคาพลังงานในตลาดโลก ตรงนี้เองที่ทำให้ครอบครัวเกษตรกรรายย่อยอาจจะต้องแบกรับความผันผวนที่เกิดขึ้น และจะส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องรายได้ เรื่องความมั่นคง เรื่องอาชีพตามมา



เสียงคนอีสาน : รูปธรรมปัญหาและผลประทบในภาคอีสานที่เห็นชัดเจนในตอนนี้ คืออะไร

รูปธรรมก็คือมันไม่ได้ผลผลิต มันให้ผลผลิตไม่ได้ เช่นที่ปลูกไปแล้วในพื้นที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย มันไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร ซึ่งเมื่อนักวิชาการทางปาล์มเขามาดู เขาก็บอกว่า ปุ๋ยไม่พอ น้ำไม่พอ เกษตรกรต้องลงทุนเพิ่มอีก มันก็เป็นการดำดิ่งลงไปในเส้นทางการลงทุนที่ไม่มีหลักประกันว่าจะได้ผลผลิตหรือเปล่า นี่คือความเสี่ยงประการหนึ่ง

อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่ที่สามารถปลูกได้ มีความเหมาะสม อย่างเช่นที่อำเภอขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ อำเภอชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องการให้ผลผลิต คือมันให้ผลผลิตได้อยู่แล้ว แต่ว่าปัญหาในพื้นที่นี้คือ ยังไม่มีตลาดรับซื้อ หลายสวนต้องตัดทลายปาล์มทิ้งไว้เฉย ๆ เพราะไม่มีที่ขาย ยังรอตลาดอยู่

เพราะฉะนั้น พื้นที่ทีให้ผลผลิตไม่ได้ ก็จะมีอยู่ทั่วไป เช่นที่กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ยโสธร พื้นที่เหล่านี้ปาล์มไม่ค่อยมีลูก เนื่องจากว่าน้ำไม่พอ อันนี้เป็นปรากฏการณ์ปัญหาที่พบแล้ว และเกิดขึ้นแล้วในอีสาน

ที่นี้ถ้าไปดูที่งานศึกษาของอาจารย์สมบัติ เหสกุล จะพบว่า ถ้าเราตัดพื้นที่นา พื้นที่ป่าออกไป พื้นที่ปลูกปาล์มที่มีความเหาะสมและเป็นไปได้ที่สุด มันก็เหลืออยู่น้อยมาก คือบริเวณตรงชายขอบแม่น้ำโขง ไล่จากหนองคาย มาอำนาจเจริญ ถึงอุบลราชธานี แต่ว่าในทางการส่งเสริมจริง ๆ มันก็มีการฉวยโอกาสในธุรกิจขายกล้าปาล์ม การหาประโยชน์จากการขายต้นพันธุ์ อันนี้เป็นธุรกิจที่ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม มันขยายออกไปในพื้นที่ภาคอีสาน เกิดนายหน้า ขายกล้ายางขึ้นมาในพื้นที่ ของบริษัทขายกล้าปาล์มต่าง ๆ ส่งเสริมคนในท้องถิ่นตัวเองให้ปลูกปาล์ม

นอกจากนั้นส่วนหนึ่งที่ปาล์มมันขยายตัวก็มาจากวิกฤตราคาผลไม้ อย่างพื้นที่จังหวัดเลย หรือที่อำเภอขุนหาญ ศรีสะเกษที่ปลูกผลไม้ได้ เหตุผลที่ชาวบ้านพากันโค่นผลไม้แล้วหันมาปลูกปาล์มก็เพราะว่า ราคาผลไม้ตกเช่นลำไยที่ตกต่ำมาก ในช่วงสัก ๔ - ๕ ที่ผ่านมา

อีกส่วนก็คือกลุ่มที่ปลูกยางพารา ซึ่งหันมาสนใจปาล์มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความคิดเปรียบเทียบว่า การปลูกปาล์มน่าจะเป็นงานเบากว่าการปลูกยางพารา เพราะว่าไม่ต้องไปกรีดทุกวันเหมือนยางพารา เพราะโดยธรรมชาติของปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว ก็สามารถที่จะให้ทลายได้ทุก ๆ ๑๕ วัน ไมได้ไปทำงานทุกวันเหมือนยางพารา อันนี้คือเหตุผลของพี่น้องทางอำเภอขุนหาญ

ขณะที่ส่วนหนึ่งก็มีความคาดหวังว่าปาล์มจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่จะสร้างรายได้อย่างถาวร เพราะเกษตรกรคนแรกที่ตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันที่อำเภอชานุมาน เป็นคนที่เคยไปรับจ้างทำงานในสวนปาล์ม และก็เห็นว่าปาล์มเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้แก่เจ้าของสวนอย่างสม่ำเสมอ แกก็แบกทลายปาล์มหนัก ๔๐ กว่ากิโลกรัมมาจากจังหวัดชุมพร มาเพาะเองแล้วก็ปลูกตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ ซึ่งคิดว่าคงจะเป็นสวนแรกที่เกษตรกรน่าจะลงทุนปลูกเอง


เสียงคนอีสาน : ความเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันในอีสาน
โดยศักยภาพของพื้นที่มันปลูกได้อยู่แล้วในบางพื้นที่ อย่างที่ให้ผลผลิตแล้ว เช่นที่ขุนหาญ บ้านโคกเจริญ และแถบ ๆ นั้น ทลายปาล์มมันก็ใหญ่ พอ ๆ กับที่กระบี่ หนัก ๒๐ กว่ากิโลสบาย ๆ เลย ปลูกได้อยู่แล้วบางพื้นที่ แต่ไม่ใช่ว่าจะปลูกได้ทั่วไป ปาล์มมันเป็นพืชที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่แพงในการกัดเพื่อเอามาใช้ประโยชน์ อันนี้เป็นข้อจำกัดที่เกษตรกรรายย่อยทำไม่ได้ หรือทำได้ยาก ขนาดเครื่องไม้เครื่องมือที่อาจารย์กองไลทำเองที่อำเภอวังสะพุง ก็อยู่ในระดับที่แพง ๒๐๐,๐๐๐ กว่าบาท คือมันไม่ใช่ระดับเทคโนโลยีที่เกษตรกรรายย่อยจะทำได้เอง หรือยิ่งถ้าถึงขั้นทำให้เป็นไบโอดีเซลเพื่อใช้ในรถไถนา หรือรถยนต์ ก็ต้องใช้ความรู้ เทคนิคเพิ่มขึ้นไปอีก อันนี้เป็นเรื่องยากและเกษตรกรรายย่อยเองทำได้ยาก



ที่มา : อุบล อยู่หว้า (117.47.78.74) [2009-08-18 13:49:59
http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=knowlege&No=11814


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 9:11 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 8:57 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

4. กรณีศึกษาการปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสาน


กรณีศึกษาการปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสาน...ผลการศึกษาจากการติดตามนโยบายและการเก็บข้อมูลปรากฏการณ์จากพื้นที่เกี่ยวกับพืชพลังงาน โดย "คณะทำงานศึกษาพืชพลังงานอีสาน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก อีสาน" ที่ได้ทำการศึกษาข้อมูลนโยบายพืชพลังงานและนำเสนอข้อเท็จจริง จากพื้นที่ต่างๆ โดยมีการศึกษาแหล่งปลูกจากการส่งเสริมของศูนย์วิจัย การพบเห็นตามเส้นทางต่าง ๆ รวมถึงการสอบถามจากเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน และลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เกษตรกรโดยตรง

สถานการณ์การปลูกปาล์มน้ำมัน ในภาคอีสาน
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ รัฐบาลเริ่มส่งเสริมให้ปลูกปาล์มน้ำมันใน พ.ศ.2511 และเริ่มส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นใน พ.ศ.2530 เป็นต้นมา ในส่วนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มรัฐบาลเริ่มส่งเสริม ใน พ.ศ.2517 โดยมีการนำน้ำมันปาล์มไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมอาหาร สบู่ ยา เทียนไข เป็นต้น แต่การทำสวนปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยไม่สามารถแข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าและมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทย เมื่อมีการเปิดการค้าเสรีไทย-อาเซียน ประเทศไทยต้องลดภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มเหลือร้อยละ 5 ใน พ.ศ.2546 และต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ใน พ.ศ.2548 ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันผันผวน และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทย

ใน พ.ศ.2548 รัฐบาลมีแผนนำน้ำมันปาล์มมาผลิตไบโอดีเซล โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 กำหนดให้ใช้ไบโอดีเซล B5 (ส่วนผสมไบโอดีเซลร้อยละ 5) ทั่วประเทศในปี 2554 และเพิ่มขึ้นเป็นไบโอดีเซล B10 (ส่วนผสมไบโอดีเซลร้อยละ 10) ในปี 2555 นอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายขยายพื้นที่สวนปาล์มจากประมาณ 2.2 ล้านไร่ ใน พ.ศ.2547 เป็น 10 ล้านไร่ ใน พ.ศ.2547 -2572 จึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่ปลูก และเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้น

พัฒนาการการปลูกปาล์มน้ำมัน ในภาคอีสาน
ความสำคัญของพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมันในฐานะพลังงานทดแทนน้ำมันจากธรรมชาติ จากปัญหาพลังงานใต้ภิภพที่มีน้อยลง การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อทำไบโอดีเซล กระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพลังงานได้มีความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกในภาคอีสาน ได้มีการคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมในจังหวัด เริ่มต้นที่จังหวัดหนองคายโดยพื้นที่เป้าหมายต้องเป็นพื้นที่ที่ มีระบบน้ำชลประทาน ส่วนพื้นที่ลุ่มต้องสามารถระบายน้ำได้ในฤดูฝน สภาพดินถือว่าเหมาะสมเกือบทุกอำเภอของจังหวัดหนองคาย แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือแหล่งน้ำ และต้องเพิ่มเติมการจัดการพื้นที่ ซึ่งแตกต่างจากภาคใต้ในด้านการรักษาความชื้นในดินต้อง ปลูกโดยใช้วัสดุคลุมโคนต้น ลดการสูญเสียน้ำ

นายธีระชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากภาวะราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงเกษตรฯ จึงร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ตั้งเป้าลดการใช้น้ำมันดีเซลลง 10% ภายในปี 2555 หรือคิดเป็นความต้องการใช้ไบโอดีเซลจำนวน 8.5 ล้านลิตร/วัน ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบด้านการผลิตและกำหนดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกำหนดให้ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน ควบคู่ไปกับการทำโครงการนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเลือก จ.หนองคาย เป็นพื้นที่นำร่องในการปลูกปาล์มน้ำมัน

ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรได้ทำการวิเคราะห์สภาพพื้นที่และอากาศของ จ.หนองคาย และพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า มีศักยภาพที่จะปลูกปาล์มน้ำมันและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับปาล์มทางภาคใต้ จึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย จัดทำแปลงทดสอบปลูกขนาดใหญ่พื้นที่รวม 6 หมื่นไร่ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำถึงข้อดีของการปลูกปาล์มน้ำมัน รวมทั้งให้การสนับสนุนต้นกล้าปาล์มคุณภาพดีแก่เกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคต ซึ่งล่าสุดราคารับซื้อผลผลิตปาล์มอยู่ที่ 2.5 - 4 บาทต่อกิโลกรัมและมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก

การผลิตเป็นไบโอดีเซล จะประสานกระทรวงพลังงาน จัดทำแผนการผลิตปาล์มน้ำมันให้สอดคล้องกับแผนการจัดตั้งโรงงานผลิตไบโอดีเซลในพื้นที่ เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้รวมกลุ่มเกษตรกร กลุ่มละประมาณ 3,000 ไร่ ต่อ 1 โรงงาน เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรต่อไป

ภาวะราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกระทรวงเกษตรฯจึงร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ตั้งเป้าลดการใช้น้ำมันดีเซลลง 10% ภายในปี 2555 หรือคิดเป็นความต้องการใช้ไบโอดีเซลจำนวน 8.5 ล้านลิตร/วัน ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบด้านการผลิตและกำหนดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกำหนดให้ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน ควบคู่ไปกับการทำโครงการนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเลือก จ.หนองคาย เป็นพื้นที่นำร่องในการปลูกปาล์มน้ำมัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเกี่ยวกับการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศ แผน 5 ปีของกระทรวงฯ (2551-2554) กำหนดให้มีพื้นที่ปลูกปาล์ม 6 ล้านไร่ เป็นการปลูกภายในประเทศ 5 ล้านไร่ และประเทศเพื่อนบ้าน 1 ล้านไร่ โดยกระทรวงพลังงาน จะให้เงินทุนหมุนเวียน 7,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำมาผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซล 10% ภายในปี 2555 และในภาคอีสานตั้งเป้าขยายพื้นที่ประมาณ 328,000 ไร่ และตั้งโรงงาน 2 โรงงาน

ผลการศึกษาผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน
ผลการศึกษาพบว่า ยังมีความเห็นที่แตกต่างของข้อมูลทางนักวิชาการที่ทำการศึกษาของนักวิชาการ 3 ท่าน คือ ดร.สมเจตน์ ประทุมมินทร์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญเพาะด้านการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และ คุณนคร สาระคุณ อดีตนักวิชาการ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีสาระสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้

ดร.สมเจตน์ ประทุมมินทร์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นนักวิชาการที่เห็นด้วยกับการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มในภาคอีสาน มีความเห็นว่าแนวโน้มความต้องการใช้ปาล์มน้ำมันมีไม่จำกัดและสามารถต่อยอดมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก ตามแผนการพัฒนาพลังงานของประเทศ และมีความเห็นว่าพื้นที่ภาคใต้ที่สามารถปลูกปาล์มได้เหลือน้อยและผลิตปาล์มได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงาน ดังนั้นภาคอีสานมีพื้นที่ที่มีศักยภาพที่สามารถขยายพื้นที่ปลูกได้มากกว่า 1 ล้านไร่ ซึ่งมีการทดลองในแปลงที่ จ.หนองคาย จ.อำนาจเจริญ จ,อุบลราชธานี ทำให้มีความมั่นใจว่าภาคอีสานมีศักยภาพที่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมันได้ โดยได้ทำการสำรวจและจัดทำแผนที่ศักยภาพการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ จ.หนองคาย จ.อุบลราชธานี ( อ.น้ำยืน อ.นาจะหลวย อ.บุณฑริก) จ.ศรีสะเกษ นครพนม สกลนคร ยโสธร มุกดาหาร เป็นต้น โดยได้ทำการปลูกทดสอบ รวมถึงการเก็บข้อมูลในแปลงของเกษตรกร ซึ่งพบว่าในภาคอีสานพื้นที่ที่เป็นราบลุ่ม มีลักษณะดินเป็นดินทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย ซึ่งปลูกข้าวไม่ได้ผล หรือให้ผลผลิตต่ำมาก เพราะดินชั้นบนไม่เก็บน้ำ และเมื่อปลูกมันสำปะหลังก็มักประสบปัญหาหัวมันเน่า จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ลักษณะนี้มีระดับใต้ดินอยู่ตื้นไม่เกิน 1 เมตร จากผิวดิน ซึ่งมีศักยภาพสูงในการปลูกปาล์มน้ำมัน จากการศึกษาพบว่าแปลงทดสอบของกรมวิชาการเกษตรที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคายเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ในปีที่ 2 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1.3 ตันต่อไร่ เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 22 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับมาตรฐานเดิมที่วางไว้เพียง 900 กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 19 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงมั่นใจว่าพื้นที่เขตภาคอีสานสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ผลดี (เคหการเกษตร ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 )

ส่วนงานศึกษาเรื่องความเหมาะสมของสภาพอากาศในการผลิตปาล์มน้ำมัน โดย ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้มีข้อสรุปว่าปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันคือ จำนวนวันที่ดินมีความชื้น เพียงพอ โดยเมื่อพิจารณาปริมาณน้ำฝนเทียบกับอัตราศักยภาพการระเหยน้ำของพืช และให้ดินเก็บปริมาณน้ำไว้ได้ปริมาณ 100 มิลลิเมตร พบว่าพื้นที่ใต้จากเส้นรุ้งที่ 10 ของประเทศไทยมีจำนวนวันที่ที่ดินยังมีความชื้นให้พืชได้ใช้ประมาณ 285 วัน แต่พื้นที่เหนือเส้นรุ้งที่ 14 คือ ภาคอีสานจะมีจำนวนวันต่ำกว่า 225 วัน กล่าวคือเขตภาคอีสานจะมีวันที่ต้นไม้จะขาดน้ำ หรือไม่สามารถดูดน้ำจากดินได้อีกนานถึง 140 วัน หรือ 4.6 เดือน หากเป็นต้นไม้ใบเลี้ยงคู่จะทิ้งใบเพื่อตัดการเสียน้ำ แต่ต้นปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่มีการทิ้งใบระหว่างที่ขาดน้ำ ด้วยการปิดปากใบ ซึ่งทำให้ปาล์มไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ยิ่งกว่านั้นใบต้องหายใจตลอดเวลา อาหารที่สะสมในต้นจึงถูกนำมาใช้เพื่อการยังชีพ เป็นการลดการสะสมอาหารที่จะส่งไปเลี้ยงทะลาย

โดยสรุปของงานศึกษาชิ้นนี้ คือ ปาล์มน้ำมันเป็นพืช ที่ทนและสามารถขึ้นได้ในหลายท้องที่ แต่การสร้างทะลายเป็นภาระที่หนักของต้น ไม่เพียงสภาพอากาศที่ต้องมีความชื้นสูงพอให้ตาดอกเป็นดอกตัวเมียไม่ฝ่อ ต้นปาล์มน้ำมันยังต้องใช้น้ำและอาหารที่สะสมเพื่อเลี้ยงทะลาย ดังนั้นการกระจายของฝนที่ต้องมีทุกเดือน เพื่อสร้างความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในทรงพุ่มได้ จึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการสร้างผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่สุด

และความเห็นของคุณนคร สาระคุณ อดีตนักวิชาการผู้ทำงานวิจัยเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันตามศักยภาพของที่ดินหรือโซนนิ่งในเขตภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง กรมวิชาการเกษตร ให้ความเห็นต่อพื้นที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมันว่าระยะแรกให้พิจารณาว่ามีน้ำ ดินเหมาะสมหรือเปล่า ความชื้นในอากาศต้องไม่ต่ำกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ แต่พื้นที่ในภาคอีสานแม้บางที่มีดิน น้ำดี แต่มักประสบปัญหาเรื่องความชื้นในอากาศที่แห้งแล้งยาวนาน 4-6 เดือน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการติดผลของปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะช่วงออกดอกและการผสมเกสรที่ต้องมีอุณหภูมิและความชื้นในอากาศเหมาะสม ถ้าช่วงผสมเกสรอากาศแห้งปาล์มน้ำมันจะไม่ติดผล เป็นความเสี่ยงของเกษตรกรที่ปลูกปาล์มในภาคอีสาน

ประมวลสถานการณ์การปลูกปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ภาคอีสาน
การส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานมีรูปแบบการส่งเสริมในลักษณะการให้ข้อมูลที่สร้างแรงจูงใจ ให้ข้อมูลด้านดีที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เป็นรายได้ที่มั่นคงในอนาคต จากการศึกษาระยะแรกพบว่าการส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมัน มี 3 ลักษณะ คือการส่งเสริมโดยหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร เช่น ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จังหวัดหนองคายและศูนย์วิจัยพืชไร่ จังหวัดอุบลราชธานี การส่งเสริมโดยกลุ่มทุนบริษัทจำหน่ายกล้าพันธุ์ และ ความสนใจของเกษตรกรที่อยากสร้างรายได้จากพืชเศรษฐกิจ ซึ่งมีความเป็นมาและรายละเอียดที่แตกต่างกันดังนี้

1. การส่งเสริมผ่านโครงการวิจัยและพัฒนา โดยศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคาย
ภาวะราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกระทรวงเกษตรฯจึงร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ตั้งเป้าลดการใช้น้ำมันดีเซลลง 10% ภายในปี 2555 หรือคิดเป็นความต้องการใช้ไบโอดีเซลจำนวน 8.5 ล้านลิตร/วัน ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบด้านการผลิตและกำหนดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกำหนดให้ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน ควบคู่ไปกับการทำโครงการนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเลือก จ.หนองคาย เป็นพื้นที่นำร่องในการปลูกปาล์มน้ำมัน

กรมวิชาการเกษตรได้ทำการวิเคราะห์สภาพพื้นที่และอากาศของ จ.หนองคาย และพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า มีศักยภาพที่จะปลูกปาล์มน้ำมันและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับปาล์มทางภาคใต้ จึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย จัดทำแปลงทดสอบปลูกขนาดใหญ่พื้นที่รวม 6 หมื่นไร่ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำถึงข้อดีของการปลูกปาล์มน้ำมัน รวมทั้งให้การสนับสนุนต้นกล้าปาล์มคุณภาพดีแก่เกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคต ซึ่งล่าสุดราคารับซื้อผลผลิตปาล์มอยู่ที่ 2.5 - 4 บาทต่อกิโลกรัมและมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก

ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคายจึงเป็นหน่วยงานที่ จำหน่าย ต้นกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 จำนวน 800,000 ต้น ให้เกษตรกร ที่สมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาศูนย์ต้นแบบการจัดการวัตถุดิบและพัฒนาการผลิตพลังงานทดแทนแบบครบวงจรนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำไปปลูกไร่ละ 22-25 ต้น โดยกำหนดเงื่อนไขคือ พื้นที่ปลูกปาล์มจะต้องผ่านการประเมินความเหมาะสมโดยนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรจะต้องชำระค่าต้นกล้าคืนในปีที่ 4 โดยใช้คืนในรูปทะลายปาล์มสด คิดตามราคาผลผลิตราคาต้นละ 50 บาท

ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ จ.หนองคาย ได้นำต้นกล้าไปปลูกแล้วจำนวน 37,454 ต้น พื้นที่ 1,502 ไร่ และมีเกษตรกรผ่านการสำรวจดินเพิ่มอีกกว่า 500 ราย พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ซึ่งพร้อมจะนำต้นกล้า 200,000 ต้นไปปลูกในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรได้มีแผนเร่งสำรวจพื้นที่ใน จ.หนองคาย และอุบลราชธานี เพิ่มเติมอีกกว่า 30,000 ไร่ ภายในปี 2551

ผลจากการทำโครงการศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย ได้จัดทำโครงการผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมัน เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด คือ หนองคาย อุบลราชธานี และอุดรธานี ปี 2550 คาดว่าทั่วภาคอีสานจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นไร่ จากที่ปลูกไปแล้ว 6 หมื่นไร่

2. การส่งเสริมโดยบริษัทเอกชน
จุดเริ่มต้นของการปลูกปาล์มในพื้นที่จังหวัดเลย มีบริษัทผลิตกล้าปาล์มแห่งหนึ่งเข้าไปส่งเสริม ในปี 2548 มีเกษตรกรร่วมโครงการ 182 รายคิดเป็นพื้นที่ปลูก 1.4 พันไร่ นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่น ๆ ที่มีธุรกิจกล้าปาล์มและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ส่งเสริมเกษตรกรรวม 288 ราย คิดเป็นพื้นที่ 4 พันไร่ สรุปปัจจุบันจังหวัดเลยมีการปลูกปาล์มแล้ว 5.4 พันไร่ คิดเป็นปาล์มจำนวน 1.2 แสนต้น หากรวมจังหวัดใกล้เคียง คือเพชรบูรณ์ และหนองบัวลำภู คาดว่ามีพื้นที่ปลูกปาล์มไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นไร่

ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดเลยมีพื้นที่ปลูกปาล์มแล้วประมาณ 1 หมื่นไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วราว 1 พันไร่ นายเจรียม ชาชุมพร ประธานกรรมการบริษัท เมืองเลยปาล์มน้ำมัน จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.เอราวัณ จ.เลย ดำเนินธุรกิจรับซื้อผลปาล์มดิบส่งขายให้กับโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ ให้ข้อมูลถึงการสำรวจพื้นที่จังหวัดเลย พบเกษตรกรสนใจในการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก โดยบางส่วนได้โค่นสวนผลไม้ เช่น ลำไย และมะขามหวาน เพื่อปลูกปาล์มแทน เนื่องจากราคาลำไยที่ตกต่ำอย่างมากตั้งแต่ปี 2547-2548 ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ ทยอยตัดต้นลำไยทิ้ง แล้วเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันแทน โดยเชื่อว่าราคาผลผลิตจะพุ่งสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และ มีแนวโน้มว่า เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น สำหรับฤดูกาลนี้ โดยจะทำการปลูกทดแทนพืชอื่นๆ ที่ผลผลิตราคาไม่ดี อาทิเช่น ปลูกแทนลำไย หรือปลูกบนพื้นที่นาร้างหรือนาที่มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก รวมถึงที่ดอนบางแห่ง อาทิเช่น ต.หนองหญ้าปล้อง อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งที่นาบริเวณนี้มีน้ำท่วมซ้ำซากจนเกษตรกรบางรายต้องเลิกทำนาข้าว หันมาปลูกปาล์มแทนแล้วราว 200 ไร่

3. ความสนใจของเกษตรกรที่อยากสร้างรายได้จากพืชเศรษฐกิจ
จากข้อมูลในพื้นที่พบว่ามีเกษตรกรที่สนใจในการปลูกปาล์มน้ำมันและได้ดำเนินการศึกษาหาความรู้ ในการปลูกปาล์มเพื่อค้นหาทางเลือกในการสร้างเศรษฐกิจครอบครัว เช่น พื้นที่ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีษะเกษ

กรณีศึกษาพื้นที่
การศึกษาข้อมูล ปรากฏการณ์จากพื้นที่โดยคณะทำงานศึกษาพืชพลังงานอีสาน ได้ทำการศึกษาข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง จากพื้นที่ต่างๆ โดยมีการศึกษาแหล่งปลูกจากการส่งเสริมของศูนย์วิจัย การพบเห็นตามเส้นทางต่าง ๆ รวมถึงการสอบถามจากเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน และลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เกษตรกรโดยตรง สามารถรวบรวมผลจากการศึกษาได้ 4 กรณี ดังนี้

1. กรณีศึกษา พื้นที่บ้านนาบอน ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย
จากการศึกษาข้อมูลพื้นที่ บ้านนาบอน ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย พบว่าในพื้นที่มีเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วโดยบริษัทเอกชนเข้ามาส่งเสริม จุดเริ่มต้นของการปลูกปาล์มในพื้นที่จังหวัดเลย มีบริษัท จำหน่ายกล้าปาล์มน้ำมัน เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ โดยปี 2548 มีเกษตรกรร่วมโครงการ 182 รายคิดเป็นพื้นที่ปลูก 1.4 พันไร่ นอกจากนี้ยังมีบริษัท ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องร่วมส่งเสริมเกษตรกรรวม 288 ราย คิดเป็นพื้นที่ 4 พันไร่ สรุปปัจจุบันจังหวัดเลยมีการปลูกปาล์มแล้ว 5.4 พันไร่ คิดเป็นปาล์มจำนวน 1.2 แสนต้น หากรวมจังหวัดใกล้เคียง คือเพชรบูรณ์ และหนองบัวลำภู คาดว่ามีพื้นที่ปลูกปาล์มไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นไร่

ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดเลยมีพื้นที่ปลูกปาล์มแล้วประมาณ 1 หมื่นไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วราว 1 พันไร่ มีการจัดตั้งบริษัท เมืองเลยปาล์มน้ำมัน จำกัดเป็นการร่วมหุ้นของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ตั้งอยู่ที่ อ.เอราวัณ จ.เลย ดำเนินธุรกิจรับซื้อผลปาล์มดิบส่งขายให้กับโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้

นายประทับ สืบสาย เกษตรกรและสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน บ้านนาบอน หมู่ 9 ที่ ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย มีการปลูกปาล์มในพื้นที่ 35 ไร่ โดยแรงจูงใจสำคัญของการปลูกปาล์มน้ำมันคือ การเห็นประสบการณ์จากพื้นที่ภาคใต้ ผ่านการเข้าไปทำงานรับจ้างในสวนปาล์มน้ำมันที่จังหวัดชุมพร ของลูกชาย ซึ่งเห็นว่าได้รับผลผลิตดี ราคาขายและรายได้ดี ประกอบกับสภาพพื้นที่ที่มีอยู่ได้มีการทำการเกษตรมาหลายรูปแบบทั้งสวนมะขามหวาน ไร่ข้าวโพด ไร่ขิง มันสำปะหลัง อ้อย เป็นเศรษฐกิจที่ล้วนแล้วแต่ไม่สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับครอบครัวได้ นายประทับและครอบครัวจึงได้มีความพยายามศึกษาเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ด้วยการเดินทางไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชุมพร การศึกษาข้อมูลจากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ และการศึกษาข้อมูลจากนักวิชาการของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย จึงตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งมีแรงจูงใจสำคัญ คือ รายได้ และเห็นว่าเป็นการลงทุนครั้งเดียวที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ยาวนาน ถึง 25 ปี โดยที่ไม่ลงทุนปีต่อปี เหมือนพืชไร่ อื่น ๆ ข้อมูลเบื้อต้นจากการศึกษาด้วยตัวเองทำให้ตัดสินใจลงทุนปรับเปลี่ยนพื้นที่สู่การปลูกปาล์มน้ำมัน และมีการสร้างเครือข่ายผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในเขต ต.นาบอน ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 400 ราย ที่สนใจและสั่งกล้าพันธุ์ปาล์ม

ต้นทุนการผลิต
จากการศึกษาต้นทุนการผลิตในพื้นที่ 35 ไร่การคำนวณต้นทุนการผลิตเบื้องต้น พบว่าเกษตรกร มีการลงทุนไปกว่า 309,130 บาท ในระยะเวลา 3 ปีผ่านมาแล้วได้ผลผลิตตอบแทนเพียง 1,986 บาท ผลผลิตที่ได้รับ 890 กิโลกรัม เมื่อนำไปขายได้ราคา 2-3 บาท มีรายได้สุทธิจำนวน 1,986 บาท คิดเป็นรายละเอียดการลงทุน โดยซื้อต้นกล้าปาล์ม พันธุ์ยังกัมบิมาปลูกในพื้นที่35 ไร่ จำนวน 22 ต้นต่อไร่ ใช้ระยะปลูก 9x9 ราคาต้นละ 160–169 บาท รวมค่ากล้าพันธุ์ 130,130 บาท

การดูแลรักษา
ค่าปุ๋ย เนื่องจากมีการลงทุนในการซื้อต้นกล้าและการปรับพื้นที่ไปเป็นจำนวนมากการใช่ปุ๋ยจึงพยายามหาทางลดต้นทุนโดยการทำปุ๋ยใช้เอง ได้นำเอาวัสดุจากในท้องถิ่น เช่น กากถั่ว เปลือกถั่วเหลืองถั่วเขียว มูลสัตว์ ทำปุ๋ยชีวภาพที่มีในท้องถิ่น 2 ตันต่อปี ราคาตันละ 3,000 บาท เวลา 3 ปี รวมค่าวัสดุ 9,000 บาท ส่วนการพัฒนาระบบน้ำใช้บ่อนำขนาดใหญ่กลางแปลงจัดการโดยใช้ท่อซีเมนต์และท่อพีวีซีและจัดทำระบบน้ำหยด เป็นเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ( ธกส.) เป็นเงิน 150,000 บาท และค่าจัดการที่ดิน มีการใช้แรงงานคนในครอบครัว และซื้อน้ำมันรถไถเพื่อปรับพื้นที่ จำนวน 20,000 บาท จากข้อมูลเบื้องต้น ยังไม่คุ้มค่าปุ๋ยเคมี ปุ๋ยปรับสภาพดิน ที่ต้องบำรุงต้นปาล์มตามสภาพ เช่น การใช้ซิลิกอนรองก้นหลุม ใช้ปุ๋ยเคมีตามการวิเคราะห์อาการและได้รับคำแนะนำตามหลักวิชาการ รวมค่าการลงทุนในการซื้อต้นกล้าปาล์มและการดูแลรักษาเป็นเงินจำนวน 309,130 บาท

การให้ผลผลิต ในปีที่ 3 (2550) สามารถตัดทะลายปาล์มได้โดยการตัดกำหนดระยะเวลา 15 วัน จึงสามารถตัดได้ 1 ครั้ง ปีแรกให้ผลผลิต 4 รอบการเก็บเกี่ยว ดังนี้
ครั้งที่ 1 ได้ผลผลิต จำนวน 198 กิโลกรัม ราคา 3 บาท = 594 บาท
ครั้งที่ 2 ได้ผลผลิต จำนวน 80 กิโลกรัม ราคา 2 บาท = 160 บาท
ครั้งที่ 3 ได้ผลผลิต จำนวน 247 กิโลกรัม ราคา 2 บาท = 494 บาท
ครั้งที่ 4 ได้ผลผลิต จำนวน 369 กิโลกรัม ราคา 2 บาท = 738 บาท

นายประทับ มีแหล่งตลาดที่อำเภอเอราวัณ มีการรับซื้อผลผลิตราคากิโลกรัมละ 3 บาท โดยบริษัทเมืองเลยปาล์ม มีลานเทรับซื้อจากเครือข่ายผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อในท้องถิ่น ราคากิโลกรัมละ 2 บาท (ราคาเมื่อต้นปี 2551) และในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2551 ราคาผลผลิตลดต่ำลง เหลือ 1 บาท และไม่มีตลาดขายทะลายปาล์ม จนต้องปล่อยทะลายปาล์มที่ตัดได้แล้วทิ้ง

การขยายตัวของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันพื้นที่อำเภอเชียงคาน กลุ่มเกษตรกรประมาณ 50 รายที่ปลูกในปี 2549 เริ่มให้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว และมีเกษตรกรกว่า400 คน ที่ให้ความสนใจปลูกปาล์มน้ำมันโดยมีการเตรียมพื้นที่ด้วยการรื้อสวนมะม่วง สวนมะขามหวาน และสวนผลไม้อื่น ๆ รอการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ

3. กรณีศึกษาบ้านโคกเจริญ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
การศึกษาปาล์มน้ำมัน บ้านโคกเจริญ ต.ละลาย อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ พบว่า เริ่มปลูกเมื่อปี 2547–2548 เกิดจากการไปศึกษาจากพื้นที่บ้ายห้วยฆ้อง อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ โดยผู้นำชุมชนและผู้สนใจจำนวน 5 คน ไปศึกษาแปลงของเกษตรกรที่ปลูกมานานและเริ่มให้ผลผลิตแล้ว เห็นว่าในพื้นที่นั้นสามารถให้ผลผลิตได้ดี การศึกษาดูงานในพื้นที่เกษตรกร 3 ครั้ง และได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานจากโรงงานสุขสมบูรณ์ และเห็นช่องทางการลงทุน การตลาด จึงตัดสินใจปลูกปาล์ม โดยซื้อพันธุ์จากที่ผ่านการรับรองจากบริษัทสุขสมบูรณ์ ใช้พันธุ์เทเนอรา

จากการสัมภาษณ์ นายวรจักร บุญสูง เกษตรกรบ้านโคกเจริญ พบว่าเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่บ้านโคกเจริญ จำนวน 30 ครัวเรือน รวมพื้นที่กว่า 500 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่การปลูกประมาณ 10–30 ไร่ มีการรวมกลุ่มกันเองภายในชุมชนเพื่อซื้อต้นกล้าปาล์ม และนัดหมายการตัดผลผลิตเพื่อขายทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของเดือน

การปลูกและการดูแล
นายวรรจักร เริ่มปลูก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 ใช้ต้นกล้าพันธุ์เททเนอรา อายุประมาณ 8 เดือน ราคาต้นละ 59 บาท ช่วงเริ่มปลูกมีการให้น้ำต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือนโดยให้สัปดาห์ละครั้ง การใช้ปุ๋ยส่วนมากใช้ปุ๋ยชีวภาพ เป็นปุ๋ยคอก ที่สามารถหาซื้อได้ภายในชุมชน และใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15–15 ราคากระสอบละ 1,300 บาท อัตรการใช้ปุ๋ยเฉลี่ยปีละ 3-4 ครั้งต่อปี ครั้งละ 1 กระสอบ

การตัดและจำหน่ายผลผลิต
การตัดทะลายปาล์ม มีการนัดหมายตัดพร้อมๆ กันทุกวันที่15 ของเดือน และ 15 วัน ตัด 1 ครั้ง โดยมีพ่อค้ามารับซื้อ ในชุมชน รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกช่องทางการขายนี้ นอกจากนี้มีลานเท (ร้ายไทยยนต์) ใน อ.กันทรลักษณ์ รับซื้อในราคา 3.20 บาท

ปริมาณผลผลิตในพื้นที่ 5 ไร่ ของนายวรจักร ให้ผลผลิต 1.7 ตัน ขายได้ราคา กิโลกรัมละ 3.20–4 บาท (ราคาหน้าโรงงานที่ชลบุรี 7 บาท)

จากการศึกษาในพื้นที่พบว่าเกษตรกรค่อนข้างมั่นใจว่าการลูกปาล์มจะให้ผลผลิตแต่ไม่มั่นใจว่าราคาจะเป็นอย่างไรเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนขึ้น ลง อยู่ตลอดเวลา ในพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์จะสามารถให้ผลผลิตที่คุ้มค่าเนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. สภาพพื้นที่ ลักษณะดินเป็นดินร่วน ปนดินเหนียวเหมาะสม การให้น้ำให้เพียงระยะ 3 เดือนแรกและให้ในอัตรา สัปดาห์ ต่อครั้ง

2. การใช้ปุ๋ย เกษตรกรในพื้นที่มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอกที่หาง่ายในท้องถิ่น ลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง มีวิธีการใส่ปุ๋ยคอกโดยไม่ต้องเพิ่มการจัดการ ประหยัดแรงงานด้วยการนำปุ๋ยคอกใส่กระสอบปุ๋ยและผ่าด้านหนึ่งแล้วนำไปวางไว้ใกล้โคนต้นระยะห่างประมาณ 0.50 เมตร

3. การปลูกพืชแซม เพื่อสร้างรายได้เสริม ระยะ 1-2 ปีแรก เกษตรกรมีการปลูกพืชอายุสั้นแซมระหว่างต้น เช่น กล้วย มะละกอ มะเขือ มะเขือพวง ข้าวโพด พืชผักสวนครัวอื่น ๆ ที่เป็นรายได้ระยะที่ปาล์มยังไม่ให้ผลผลิต

4. การตลาด มีการจัดการผลผลิตโดยรวมกลุ่มกันนัดหมายตัดทะลายปาล์มพร้อมกันทำให้ผลผลิตมีมากพอให้บริษัทมารับซื้อถึงในชุมชน โดยเกษตรกรไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าขนส่ง วันขายชัดเจนทำให้สามารถวางแผนการตัด- ขายได้โดยผลผลิตไม่เสียน้ำหนัก

ส่วนการจัดการผลผลิตมีการตั้งเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กจำนวน 2 เครื่องจากโครงการ SML โดยผ่านกระบวนการแบบง่าย ๆ สกัดน้ำมันไปใช้กับรถไถนา

การขยายตัวในพื้นที่แถบนี้มีบ้านสามเสา บ้านห้วยตาสด บ้านโคกเจริญ หากประเมินจากจำนวนกล้าปาล์มที่บริษัทนำมาขายในพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ในแถบเทือกเขาพนมดงรัก

3. กรณีศึกษาบ้านนิคมแปลง 1 ตำบลชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ
นายปราโมทย์ ทองแสง อายุ 50 ปี บ้านนิคมแปลง 1 ต.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ นายปราโมทย์เป็นคนอำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ย้ายติดตามพ่อซึ่งเป็นทหารผ่านศึกมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านนิคมแปลง 1 ตั้งแต่นายปราโมทย์ยังเด็ก เมื่อปี 2513 ได้รับการจัดสรรที่ดินจากทางราชการ จำนวน 23 ไร่ นายปราโมทย์แต่งงานมีบุตร 3 คน กำลังเรียนระดับอุดมศึกษา 2 คน ชั้นประถมศึกษาอีก 1 คน ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างไถไร่ในพื้นที่ มีรถไถนา 3 คัน ครอบครัวได้ซื้อที่ดินเพิ่มสองแปลง แปลงละ 8 ไร่ รวมมีพื้นที่เพิ่มเป็น 16 ไร่ ปลูกมันสำปะหลัง กล้วย สับปะรด ที่ดินแปลงหนึ่งมีปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากการพัฒนาถนนที่ตัดผ่านพื้นที่ได้มีการยกระดับผิวถนนและพัฒนาเป็นถนนลาดยางโดยไม่มีการวางท่อระบายน้ำบริเวณที่ดินนั้น ทำให้น้ำท่วมทุกปีส่งผลให้ การปลูกสวนกล้วยและสับปะรดขาดทุนทุกปี นายปราโมทย์สนใจปลูกยางพาราเนื่องด้วยพื้นที่น้ำท่วมจึงไม่สามารถปลูกยางพาราได้จึงสนใจปลูกปาล์มน้ำมัน โดยได้ไปศึกษาข้อมูลจากนายเส็ง บ้านห้วยฆ้อง ต.ป่าก่อ อ.ชานุมาน อ.อำนาจเจริญ จากประสบการณ์ของนายเส็งที่ปลูกมาแล้ว 9 ปี ( ปลูกเมื่อปี 2542 ) ที่เล่าว่าได้นำเอาทะลายปาล์มขนาดใหญ่หนัก 40 กิโลกรัม มาจากการไปรับจ้างที่ภาคใต้ นำมะเพาะเมื่อปี 2541 และเริ่มปลูกปาล์มในไร่มันสำปะหลัง 200 ต้น ในปี 2542 หลังจากนั้น 3 ปี ก็ให้ลูกตัดผล แต่ไม่มีตลาด จึงต้องตัดไปให้หมูป่าที่เลี้ยงไว้กิน ประสบการณ์ของนายเส็งบอกว่าปาล์มน้ำมันสามารถทนน้ำท่วมได้ 2 - 3 เดือน

การตัดสินใจปลูกปาล์มของนายปราโมทย์ หลังจากไปศึกษาจากแปลงของนายเส็งซึ่งมีบทบาทในการขายกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่าด้วย ในราคาต้นละ 80 บาท แต่ขณะนั้นไม่มีกล้าปาล์ม จากนั้นได้ตัดสินใจสั่งซื้อกล้าปาล์มจากป้ายโฆษณาของบริษัทสหพันธ์ปาล์ม และมีนายหน้าอยู่ที่บ้านพรเจริญ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากบ้านนายปราโมทย์มากนัก ราคาต้นกล้าปาล์มลูกผสมเทเนอรา ราคาต้นละ 90 บาท บริการส่งถึงบ้าน จึงสั่งซื้อต้นกล้าจำนวน 475 ต้นเป็นเงินจำนวน 42,750 บาท นำมาปลูกในพื้นที่ 2 แปลง 16 ไร่ ใช้ระยะปลูก 7 x 8 เมตร ใช้วิธีการไถเบิกร่องแล้วขุดหลุมปลูกโดยไม่ได้ใช้ปุ๋ยรองก้นหลุม

การดูแลรักษา ได้มีการจัดทำระบบน้ำในแปลงที่อยู่ใกล้หมู่บ้านลงทุนค่าอุปกรณ์ 8,000 บาท แล้วใช้แรงงานตัวเองในการติดตั้งระบบส่งน้ำและใช้น้ำจากระบบประปาของหมู่บ้านในระยะแรก ปัจจุบันได้ขุดเจาะบ่อบาดาลลงทุน 11,000 บาท ส่วนแปลงที่มีปัญหาน้ำท่วมไม่ต้องทำระบบน้ำ ปีที่ผ่านมาใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 เพียงกระสอบเดียว เพราะเห็นว่าราคาปาล์มไม่สูง ไม่อยากลงทุน

ตลาดปาล์มน้ำมัน หลังจากตัดทะลายปาล์มได้นำไปขายที่จุดรับซื้อที่บ้านห้วยฆ้อง โดยมีลูกสาวนายเส็ง ตั้งเป็นจัดรับซื้อและมีรถบรรทุกจากบริษัทสุขสมบูรณ์ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรีมารับซื้อไปยังโรงงาน ในทุกวันที่ 1 และ วันที่ 15 ของทุกเดือน ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่ที่มีผลผลิตปาล์มน้ำมันแล้ว ในหลายหมู่บ้านเช่น บ้านคำเขื่อนแก้ว บ้านปากก่อ บ้านโคกก่อ และอำเภอชานุมาน

การให้ผลผลิตปาล์มอายุ 2 ปี ของนายปราโมทย์ ให้ทะลายประมาณ 20% ของจำนวนต้นทั้ง 2 แปลง ได้ตัดมาแล้ว 3 รอบ ได้ผลผลิตครั้งละ 500-600 กิโลกรัม บรรทุกไปขายให้กับจุดรับซื้อในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 2.50 บาท ครั้งล่าสุดที่ตัดปาล์ม และรอบล่าสุดไม่ได้ตัดปาล์มเนื่องจากติดภารกิจของครอบครัว

ปฏิกิริยาของคนในชุมชน ได้รับความสนใจจากเพื่อนบ้าน ค่อนข้างมาก ประเด็นที่สนใจคือ การปลูกปาล์มต้องรดน้ำหรือเปล่า ปลูกแล้วขายที่ไหน กี่ปีจะได้ขาย และหลักเกณฑ์ที่บอกว่าต้องส่งโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากตัดเป็นเงื่อนไขที่ชาวบ้านรับไม่ได้มากที่สุด เพราะเห็นว่ากดดันมากเกินไป

นายปราโมทย์ มีทัศนะต่อการขายผลผลิตว่าตลาดน่าจะเคลื่อนเข้ามาหาพื้นที่ในเร็ว ๆ นี้ แต่ราคารับซื้อปาล์มก็ไม่น่าจะสูง เพราะทราบว่าราคา 2-3 บาทต่อกิโลกรัมมานานแล้ว คาดว่าพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญน่าจะปลูกปาล์มไปแล้วกว่า 10,000 ไร่ ทั้งจากการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและการส่งเริมของบริษัทเอกชน หมู่บ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอชานุมาน เช่นบ้านห้วยสิ่ว ตำบลชานุมาน บ้านคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว บ้านห้วยกอก บ้านนายาง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น

ปัญหาที่พบ เนื่องจากปาล์มเป็นพืชใหม่ที่ไม่เคยรู้จักเลย หากว่ามีปัญหาอาการจะแสดงออกทางใบ ทางทะลายแต่ไม่มีความรู้เลย ดูไม่ออกและไม่มีใครมาแนะนำให้คำปรึกษาเลย ปีที่ผ่านมาปาล์มในแปลงน้ำท่วมหลังน้ำลดมีอาการใบไหม้เป็นจุดตายไป 3 ต้น ก็ยังไม่ทรายสาเหตุว่าตายเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากเกินไปหรือติดเชื้อโรคอะไร

และนายปราโมทย์มีข้อเสนอว่าหากราคาทะลายปาล์มตกต่ำน่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันสกัดน้ำมันปาล์มทำ ไบโอดีเซลใช้กันเอง

4. กรณี นายสมาน แก้วมณี บ้านโพนสว่าง ต.รัตนวาปี อ.รัตนวาปี
จากการศึกษาแปลงเกษตรกรของนายสมาน แก้วมณี อายุ 61 ปี มีการปลูกปาล์มน้ำมันในปี2549 โดยเขาร่วมโครงการกับศูนย์วิจัยปาล์มหนองคาย ก่อนการปลูกได้ผ่านการฝึกอบรม ให้ความรู้จากศูนย์วิจัยปาล์มหนองคาย การให้ความรู้ถึงวิธีการปลูก การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา และมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยฯ ลงไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ ทีมศึกษาลงศึกษาแปลงของนายสมานพบว่าสภาพพื้นที่เป็นที่นาลุ่ม ติดหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่าหนองคอน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดปี เชื่อมต่อกับห้วยปากคาด นายสมาน บอกว่าเดิมทีพื้นที่จำนวน 22 ไร่นี้เคยเป็นที่นา ปลูกข้าวไว้กิน บางปีที่น้ำไม่ท่วมก็ได้ข้าวค่อนข้างมาก บางปีที่น้ำท่วมข้าวก็เสียหาย ด้วยความคิดอยากสร้างรายได้ให้กับครอบครัวยามแก่ ประกอบกับครอบครัวไม่มีแรงงาน คิดว่าการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นทางออกหนึ่ง จึงตัดสินใจใช้พื้นที่นาน้ำท่วมจำนวน 22 ไร่ ปลูกปาล์มน้ำมัน

การลงทุนนายสมานบอกว่า ได้ซื้อต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 จากศูนย์วิจัยปาล์มหนองคาย จำนวน 500 ต้น ราคากล้าปาล์มต้นละราคา 50 บาทเป็นเงินจำนวน 25,000 บาท เดิมมีความพยายามเข้าร่วมโครงการร่วมระหว่างกรมวิชากรเกษตรกับธกส. เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ว่าการดำเนินการล่าช้า และยังไม่ได้รับการอนุมัติ ความสนใจจึงนำพาตัวเองไปกู้เงินธกส. จำนวน 80,000 บาท เพื่อซื้อกล้าปาล์ม

การลงทุน นอกเหนือจากค่าพันธ์ปาล์มยังมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าปุ๋ยเคมี สูตร 21-0-0 ปีที่ 1 รองก้นหลุมก่อนปลูก จำนวน 2 กระสอบ ปีที่ 2 ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-0-0 จำนวน 6 กระสอบ กระสอบละ1,000 บาท ค่าปุ๋ยเป็นเงิน 8,000 บาท ค่าไถปรับพื้นที่ 30,000 บาท

ปัญหา น้ำท่วมแปลง ซึ่งปัจจุบัน( 22 กันยายน 2521) ในแปลงปาล์มน้ำมันมีน้ำท่วมสูงมิดยอดนานกว่า 20 วัน และบางต้นมีอาหารแห้งตาย โดยไม่ทราบสาเหตุ และต้องเตรียมกล้าปาล์มปลูกซ่อมอีกประมาณ 50 ต้นเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตขึ้นอีก และไม่มั่นใจว่าหลังน้ำลดจะมีอัตราการตายเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่

สภาพปัญหา ข้อจำกัด ผลกระทบที่เกิดขึ้น
ข้อมูลเบื้องต้นจากพื้นที่พบว่าการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคอีสาน จากแปลงศึกษาพบข้อจำกัด ด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ความรู้ เทคนิค การปลูกปาล์มน้ำมัน การดูแลรักษาต้นกล้า การให้น้ำ ให้ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ควบคุมโรค และแมลง ตลอดจนการเตรียมต้นกล้า พร้อมนำไปปลูกในแปลงปลูกจริง ต้องปฏิบัติตามหลักวิชาการ แต่เกษตรกรยังไม่มีความชัดเจนในการปลูกปาล์มน้ำมัน ความรู้ที่มีรับผ่านการส่งเสริมของผู้ผลิตกล้าปาล์ม ข้อมูลที่ได้รับทำให้เกษตรกรวิเคราะห์แนวโน้มที่จะได้รับผลผลิต และมีความหวัง แต่หน่วยงานระดับจังหวัดยังไม่มีข้อมูลเช่น เกษตรจังหวัดเลย ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขปริมาณการปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดเลยที่แน่ชัด ที่สำคัญยังไม่มีการรับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะต่อการปลูกปาล์มหรือไม่

2. คุณภาพสายพันธุ์ พันธุ์ที่เหมาะสมคือพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1, 2 และ 3 สายพันธุ์ปลูกเป็นการค้าคือลูกผสมเทเนอรา (ดูรา x ฟิสิเฟอรา)เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตร จัดหาและแนะนำพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูงแก่เกษตรกร แต่สายพันธุ์”ยังกัมบิ”ที่มีธุรกิจกล้าปาล์มโฆษณาในพื้นที่จ.เลย นำมาขายในพื้นที่เป็นพันธุ์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงเป็นความเสี่ยงในการได้พันธุ์ที่ดีและให้ผลตามการชวนเชื่อ ซึ่งการเลือกพันธุ์มีความสำคัญมาก ถ้าเลือกใช้พันธุ์ ที่มี คุณภาพต่ำ (พันธุ์ปลอม) ได้จากการผสมระหว่างพ่อและแม่พันธุ์ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกสายพันธุ์ และผสมพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือได้จากการผสมพันธุ์แบบเปิด คือ ไม่มีการควบคุมการผสมพันธุ์และส่วนใหญ่ได้จากต้นกล้าที่งอกอยู่บริเวณใต้โคนต้น ความเสียหายเมื่อนำพันธุ์ปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำ ไปปลูก คือ ผลผลิตทะลายปาล์มสดและน้ำมันดิบลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกด้วยพันธุ์การค้า 15-50 % และ 35-55 % จะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย อาจจะต้องโค่นทิ้งถ้าสายพันธ์ไม่ดี ราคาต้นพันธุ์มีราคาแพง มีความเสี่ยงต่อการได้รับต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ตรงตามสายพันธุ์

3. ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และแหล่งน้ำที่เพียงพอ รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการออกดอก การเจริญของผลปาล์ม แม้ว่าต้นปาล์มเจริญเติบโตดี แต่การให้ผลผลิตยังไม่สามารถประเมินได้ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

การศึกษาพบว่าต้นปาล์มสามารเจริญเติบโตได้ทั่วไปในภาคอีสาน แต่การให้ผลผลิตเป็นทะลายที่สมบูรณ์และมีความคุ้มทุน อาจจะอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปีและมีความชื้นสูงเพียงพอต่อการพัฒนาผลของปาล์ม

4. การตลาด การจัดการผลผลิต ยังไม่มีตลาดที่แน่นอนในพื้นที่ภาคอีสาน และยังไม่มีโรงงานผลิตปาล์มน้ำมัน มีเพียงการดำเนินธุรกิจรับซื้อผลปาล์มดิบส่งขายให้กับโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก โดยสร้างเครือข่ายผู้รวบรวมปาล์มสด การตลาดในพื้นที่ยังไม่มีความมั่นคง การซื้อขายมีเพียงลานรับซื้อในกลุ่ม เช่น เกษตรกรที่ อ.เชียงคาน จ.เลย ได้รวกลุ่มกันเพื่อขายปาล์มผ่านบริษัทเมืองเลยปาล์ม และ ราคาผลผลิตได้เพียงกิโลกรัมละ 2 บาท เกษตรกรในพื้นที่กันทรลักษณ์มีการรับซื้อในชุมชนโดยบริษัทสุขสมบูรณ์

5. การแย่งชิงพื้นที่ผลิตอาหาร การรุกพื้นที่ของปาล์มน้ำมันในพื้นที่อาหาร ปรากฏในหลายพื้นที่ เช่น พื้นที่ปลูกไม้ผล ที่ อ.เชียงคาน พื้นที่นาข้าว นาที่ลุ่มใน อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ และพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง การสูญเสียพื้นที่อันเคยเป็นแหล่งอาหารทั้งอาหารธรรมชาติ และการปลูกพืชผักอาหาร หากไม่มีมาตรการกำกับที่ชัดเจนและราคาจูงใจ จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวเบียดแย่งพื้นที่ผลิตอาหารได้

โอกาสและความหวัง
พื้นที่ในภาคอีสานบางพื้นที่มีศักยภาพเพียงพอในการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีษะเกษ สามารถให้ผลผลิตได้ และการให้ผลผลิตที่ต่อเนื่อง เป็นโอกาสเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเติบโตได้ท่ามกลางพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด

แรงจูงใจของเกษตรกรในการปลูกปาล์มน้ำมัน
นอกเหนือไปจากแรงจูงใจของปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติพลังงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐทำให้ธุรกิจพลังงานทดแทนจากปาล์มน้ำมันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญอีกประการที่ทำให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดเลย ทั้งที่ยังไม่มีการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะต่อการปลูกปาล์มหรือไม่ การมีบริษัทเอกชนลงไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและรับซื้อผลผลิต เป็นอีกเหตุ ปัจจัยทำให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันแทนการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งการทำนา เนื่องจากมองว่าปาล์มน้ำมันมีข้อดีกว่าหลายประการดังนี้

• การปลูกปาล์มน้ำมันเป็นการลงทุนครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนนานเป็นเวลา 20–25 ปี ไม่ต้องลงทุนปีต่อปีเหมือนพืชไร่ เช่นมันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด
• ระยะเวลาการให้ผลผลิตเร็วกว่าไม้ผล เช่น มะขามหวาน คือประมาณ 3 ปี ก็เริ่มต้นให้ผลผลิต ในขณะที่มะขามหวานต้องใช้ระยะเวลา 3–4 ปีจึงจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต และราคาผลผลิตราคาตกต่ำ ไม่แน่นอน
• แม้ว่าจะเป็นการลงทุนที่สูงมากแต่คาดว่าจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า สามารถสร้างเงินรายได้เป็นก้อนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะน้ำมันแพง ความต้องการพลังงานทดแทนมีมากขึ้น ผลผลิตปาล์มมีราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
• การส่งเสริมของหน่วยงานราชการโดยมีกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพลังงาน เช่น การส่งเสริมผ่านโครงการวิจัยและพัฒนา โดยศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคาย และศูนย์วิจัยพืชไร่จังหวัดอุบลราชธานี
• การส่งเสริมและการสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สินเชื่อ ให้ข้อมูลผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับในเชิงบวก โดยธุรกิจขยายพันธุ์ และสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ผ่อนซื้อกล้าพันธุ์จากราคา 160 บาท ให้ซื้อในราคา 110 บาท เมื่อได้รับผลผลิตจึงจะจ่ายคืนอีก 50 บาท

แม้ว่าผลตอบแทนเรื่องรายได้ในความเป็นจริงอาจจะไม่เป็นไปตามที่ภาครัฐและธุรกิจเอกชนให้ข้อมูลไว้เสียทั้งหมด แต่แรงจูงใจเหล่านี้ก็เพียงพอให้เกษตรหลายรายเลือกที่จะปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แล้วมาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น ซึ่งกระแสความร้อนแรงของปาล์มน้ำมันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างกว้างขวาง ทั้งใน พื้นที่นา สวนผลไม้ พื้นที่ปลูกอาหารสัตว์ รวมถึงพื้นที่ว่างเปล่า ไปจนกระทั่งพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ การกว้านซื้อที่ดินทำกินของเกษตรกรรายย่อยโดยนายทุนและเกษตรกรรายใหญ่ ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตของคนในชุมชนตามมา

ข้อคิดเห็น จากการศึกษา
จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรต้องแบกรับความเสี่ยงเพียงลำพังเช่น เกษตรกรหลายพื้นที่ต้องตัดทะลายปาล์มทิ้ง สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ หลายพื้นที่ขาดความรู้ทางวิชาการจึงมีข้อสังเกตและ ข้อคิดเห็นกรณีการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน ต่อเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐ ดังนี้

1. เกษตรกรรายย่อยที่ยังไม่ตัดสินใจ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเท่าทันข้อมูล ศึกษาอย่างละเอียดบนพื้นฐานความเป็นจริงของที่ดิน แหล่งน้ำ ตลาด และความรอบรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันก่อนที่จะตัดสินใจ โดยเฉพาะการลงทุนทำการผลิตที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้เก็บเกี่ยว รวมถึงการใคร่ครวญต่อวิถีการผลิตที่ต้องพึงรักษาพื้นที่อาหารแหล่งอาหารธรรมชาติ อย่าให้สูญเสียไปกับการผลิตพืชน้ำมัน หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ตามกระแสของเศรษฐกิจภาพรวม
ส่วนเกษตรกรที่ลงทุนปลูกไปแล้ว รัฐต้องประสานให้มีการรับซื้อ การสกัดปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ในชุมชน ไม่ควรปล่อยผลผลิตทิ้ง ควรประสานให้เกิดการพัฒนาการสกัดปาล์มน้ำมันระดับชุมชน

2. ความจำเป็นที่ต้องหาข้อสรุปทางวิชาการในการปลูกปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตรและนักวิชาการที่ปฏิบัติงานในฐานะนักส่งเสริม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา วิจัย ค้นคว้าข้อเท็จจริง ให้เกิดข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนทำการส่งเสริม รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ต่อเกษตรกรและสาธารณะอย่างรอบด้าน ในแง่มุมที่เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่จะอาจเกิดขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้เกษตรกรตัดสินใจบนพื้นฐานการรับรู้ข้อมูลที่เห็นว่าจะได้ น่าจะให้ผลผลิตที่ดี หรือได้รับคำแนะนำจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจกล้าปาล์ม และสุดท้ายเกษตรกรก็ต้องเป็นผู้ที่แบกรับความเสี่ยงเพียงลำพัง

ข้อมูล ความชัดเจนในหลักวิชาการที่หน่วยงานมีข้อมูล ความรู้ที่ชัดเจนอยู่แล้วต้อง มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าถึง ต้องจริงจังกับการวางกลยุทธการให้ข้อมูลแก่เกษตรกร




ที่มา : คณะทำงานศึกษาพืชพลังงานอีสาน (117.47.172.5Cool [2009-01-27 12:00:59

http://www.esaanvoice.net/esanvoice/know/show.php?Category=topreport&No=11270


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 9:12 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 9:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

5. ข้อควรคิดก่อน''ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน''


“ปาล์มน้ำมัน” กลายเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ถูกจับตามองในฐานะแหล่งพลังงานทดแทน กอปรกับปาล์มเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์
หลายด้านทั้งอุปโภค บริโภคและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมาก ส่งผลให้ในช่วงปีที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามกำหนด แนวทางการส่งเสริม
การปลูกปาล์มในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะในภาคอีสาน เพื่อพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันและช่วยขจัดปัญหาความยากจน แต่เนื่องจากปาล์ม
เป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่สูงมาก จึงเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้วพื้นที่ในภาคอีสานซึ่งยังคงประสบปัญหาภัยแล้งนั้นเหมาะสมกับ
การปลูกปาล์มมากน้อยเพียงไร





นายธีระพงษ์ จันทรนิยม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า

การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสานนั้นสามารถปลูกได้ แต่ต้องคำนึงถึงสภาพดินและน้ำเป็นหลัก เนื่องจากธรรมชาติปาล์มเป็นพืชที่ชอบ
ขึ้นในบริเวณเขตร้อนชื้น ดินคุณภาพดีมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี และมีการกระจายตัวสูงอาทิ ในประเทศมาเลเซีย
อินโดนีเซีย หรือบริเวณภาคใต้ของไทย ดินต้องดี และมีฝนตกตลอดปีผลผลิตจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับ ปริมาณปุ๋ยและธาตุอาหาร
ที่ปาล์มได้รับเป็นหลัก

แต่สำหรับภาคอีสานปัจจัยหลักของการเพิ่มผลผลิตนั้นอยู่ที่ ดินและน้ำ เช่น พื้นที่เป็นดินทรายก็จะมีปัญหาเรื่องการอุ้มน้ำอีกทั้งหาก
ต้องประสบภาวะฝนทิ้งช่วงนาน มีช่วงแล้งยาวจะทำให้ปาล์มเกิดสภาวะการขาดน้ำ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพผลผลิตของปาล์มได้ ทั้งนี้เนื่อง
จากผลวิจัยใน “โครงการผลของการให้น้ำต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน” ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย(สกว.) ซึ่งได้ติดตามศึกษาผลของสภาวะแล้งที่มีต่อการพัฒนาปาล์มถึงระบบการให้น้ำต้นปาล์มในช่วงฤดูแล้ง โดยมีการ
จัดระบบให้น้ำต้นปาล์มเปรียบเทียบกับกลุ่มปาล์มที่ไม่ได้รับน้ำ พบว่า การขาดน้ำมีผลต่อการเจริญเติบโต และปริมาณผลผลิตของ
ปาล์มโดยในสภาพที่ไม่มีฝนตกต่อเนื่อง 2-3 เดือน ในช่วงแตกใบ จะทำให้ทางใบหักต้องมีการตัดใบทิ้ง การสังเคราะห์แสงเพื่อเป็น
อาหารจึงไม่เพียงพอหากช่วงแล้งเกิดขึ้นในช่วงการกำหนดเพศนั้น จะทำให้มีสัดส่วนเพศผู้มากขณะที่เกษตรกรต้องการดอกเพศเมีย
ซึ่งมีปริมาณการให้น้ำมันมากกว่าสำหรับในช่วงการผสมเกสร หากเจอภาวะแล้ง จะทำให้ประสิทธิภาพ ในการผสมเกสรลดลง การพัฒนา
เป็นผลน้อย ปริมาณผลผลิตที่ได้จึงลดลง เนื่องจากจำนวนผลต่อทะลายต่ำน้ำหนักทะลาย ลดลง 10-15% มีผลให้ปริมาณการผลิต
ผลปาล์มน้ำมันโดยรวมลดลงเหลือเพียง 2 ตัน/ไร่/ปี ในขณะปาล์มซึ่งปลูกในบริเวณที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม ได้รับน้ำตลอดปี
จะสามารถผลิตผลปาล์มได้สูงถึงประมาณ 3-3.5 ตัน/ไร่/ปี

นายธีระพงษ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ดีหากภาครัฐยังคงมีนโยบาย การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มในภาคอีสานก็สามารถปลูกได้ โดยแนะนำให้
มีการเลือกพื้นที่การเพาะปลูกให้ดีดินจะต้องไม่เป็นดินทราย มีสภาวะเป็นเกลือ หรือเป็นดินลูกรังสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีแหล่งน้ำที่เพียง
พอ มีระบบการจัดการน้ำที่ดีสามารถผันน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง


การติดตั้งระบบการให้น้ำปาล์มในภาคอีสาน:
ให้วางเป็นท่อยาวที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตรจากผิวดิน ควบคุมการให้น้ำให้มีความชื้นเพียง 70% หรือสังเกตได้จากการกำดิน
เป็นก้อนนั้นเพียงพอที่จะช่วยให้ปาล์ม มีศักยภาพในการผลิตมากที่สุด ขณะที่การให้น้ำมากเกินไปไม่เพียงสิ้นเปลือง ยังเป็นผลเสียทำ
ให้น้ำชะปุ๋ยลงไปใต้ดินลึกมากขณะที่ราก ซึ่งทำหน้าที่ดูดอาหารจะอยู่ที่บริเวณ 15-20 เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนวิธีการให้ปุ๋ยจากเดิม
ซึ่งใช้วิธีการหว่านให้เปลี่ยนเป็นการให้ปุ๋ยทางระบบน้ำ ซึ่งทำให้ปุ๋ยสามารถละลายไปพร้อมกับน้ำลงสู่ต้นปาล์มได้รวดเร็ว โดยใช้ได้
กับการให้น้ำแบบหยด หรือมินิสปริงเกิล หากระบบการให้น้ำมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอ ธาตุอาหารก็จะกระจายทั่วทั้งแปลงดี ลด
การสูญเสียจากการชะล้าง มีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสูง ช่วยลดต้นทุนการผลิตคุ้มค่าในระยะยาว


ผลการวิจัย “โครงการจัดการระบบการให้น้ำและปุ๋ยทางระบบน้ำเพื่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน” โดยนายสมเกียรติ สีสนอง คณะเทคโน
โลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พบว่า

การให้ปุ๋ยทางระบบน้ำจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น โดยแปลงที่ให้ผลผลิตสูงสุดที่ระดับ 4.0 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุนการผลิต 0.72 บาท/
กก. เมื่อเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ 2.72 ตัน/
ไร่/ปี ที่ต้นทุน 1.52 บาท/กก. และผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศมาเลเซีย 3.01 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุนการผลิต 0.70–1.00 บาท/กก.

เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดการแปลงในแต่ละปีแล้วค่าใช้จ่ายในส่วนของปุ๋ยลดลงประมาณ 45–60% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขณะ
ที่ปริมาณผลผลิตและธาตุอาหารในดินและ ใบพืชยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ต้นทุนที่ลดลงก็สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
ระบบน้ำได้


ข้อควรพิจารณาก่อนปลูกปาล์ม:
อย่างไรก็ดีการพิจารณาว่าควรจะปลูกปาล์มในภาคอีสานหรือไม่นั้นก็ควรคำนึงถึงสภาพพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญว่า มีสภาพแล้งรุนแรง
มากน้อยเพียงใด มีแหล่งน้ำพอที่จะนำน้ำมาหล่อเลี้ยงต้นปาล์มได้ตลอดฤดูแล้งหรือไม่ ที่สำคัญ ต้องพิจารณาด้วยว่าผลกำไรที่ได้จากผล
ผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นคุ้มค่ากับต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการวางระบบน้ำหรือไม่เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องใช้เวลาในการเพาะยาวนานกว่า
จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต้องใช้เวลาหลายปีฉะนั้นการวางแผนการปลูกปาล์มจึงมีความจำเป็น ทั้งในเรื่องของสภาพของดิน การให้ปุ๋ยและ
ระบบการให้น้ำ เพื่อให้การปลูกปาล์มของเกษตรกรประสบผลสำเร็จมากที่สุด.


12 กันยายน 2009
เขียนโดย Hatoli ที่ 0:22

http://bettertree.blogspot.com/2009/09/blog-post_1945.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 11:05 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 9:18 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)


6. ดัน "ทุ่งรังสิต" เขตส่งเสริมปาล์ม เกษตรฯชงประกาศเป็นทางการ
แก้ปมสวนส้มร้าง-หนี้เกษตรกร



นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการศึกษาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่สวนส้ม
ร้างทุ่งรังสิต ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาการใช้ประโยชน์อยู่ในขณะนี้ โดยจากการสำรวจพบว่า มีเกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันบ้างแล้วประ
มาณ 300 ราย เนื้อที่ 12,000 ไร่ และได้รวมตัวเป็นชมรมชาวสวนปาล์มทุ่งรังสิต พร้อมทั้งขอให้มีการประกาศให้พื้นที่ทุ่งรังสิตเป็นเขต
ส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อ 3 วัตถุประสงค์หลัก คือ

1.ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรช่วยปรับภาระหนี้และให้เงินกู้เพิ่ม เพื่อการลงทุนปลูกสร้างสวนปาล์มและมีโอกาส
ชำระหนี้เดิมจากการทำสวนส้มได้
2.เพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านความรู้และเทคโนโลยีการผลิตจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ
3.ในอนาคตหากมีปัญหาด้านราคา จะได้รับการช่วยเหลือเช่นเดียวกันกับเกษตรกรในภาคใต้

"จากการทำโครงการทดสอบการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผล
ผลิตปาล์มน้ำมัน ระหว่างพื้นที่ทุ่งรังสิตกับ จ.สุราษฎร์ธานี พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยผลผลิตปาล์มน้ำมันพื้นที่ทุ่งรังสิตเมื่อ
อายุ 4-5 ปี และผลผลิตในปีที่ 5-6 เฉลี่ย 2,588 กก./ไร่/ปี และ 4,283 กก./ไร่/ปีตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยปาล์มน้ำมัน
ทั้งประเทศที่มีผลผลิตต่อไร่จำนวน 2,790 กก./ไร่/ปี เพียงเล็กน้อย"

ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯจึงเห็นว่า ทุ่งรังสิตน่าจะเป็นแหล่งที่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้อีกแหล่งหนึ่งของ ประเทศ โดยจะเป็นพื้นที่เพาะ
ปลูกปาล์มน้ำมันได้ไม่น้อยกว่า 150,000ไร่ เกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 5,000 ราย และหากประกาศให้ทุ่งรังสิต
เป็นเขตส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน จะสามารถผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อทดแทนพลังงานได้ปีละไม่น้อยกว่า 50,000 ตัน และพื้นที่
ร่องส้ม ยังมีที่ว่างที่มากพอที่จะรองรับน้ำในฤดูน้ำหลากเพื่อเก็บกักไว้ใช้ในฤดู แล้งได้อีกด้วย

ทั้งนี้กรณีดังกล่าวได้ถูกนำเข้าหารือในการประชุมผู้บริหารของกระทรวงเกษตรฯ แล้ว ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นความเหมาะสม จึงมอบ
หมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มี นายสุเทพ เทือก
สุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเพื่อพิจารณาประกาศให้พื้นที่ทุ่งรังสิตเป็นเขตส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันต่อไป



ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 4 มกราคม 2554
http://www.naewna.com/news.asp?ID=243244

http://www.phtnet.org/news54/view-news.asp?nID=2


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 11:02 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 10:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

7. พลิกสวนส้มร้างรังสิตปลูกปาล์ม

3 หน่วยงานเกษตรจับมือบางจาก ผุดแหล่งพลังทดแทน 1.2 พันไร่

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ "ศูนย์ศึกษาและพัฒนาพื้นที่สวนส้มร้างทุ่งรังสิตเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน" กับกรม
พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัท บางจาก
ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่สวนส้มทุ่งรังสิตที่ถูกทิ้งร้าง หรือมีการใช้ประโยชน์ต่ำ ให้มีการใช้
ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ความร่วมมือดังกล่าวจะมีการจัดทำแปลงศึกษาและพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมัน บนพื้นที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาพื้นที่สวนส้มร้างทุ่งรังสิตฯ
ซึ่งเป็นพื้นที่ของ ธ.ก.ส. จำนวน 1,200 ไร่ ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน โดยในส่วน
ของกระทรวงเกษตรฯ มีหน้าที่ในการสนับสนุนด้านวิชาการ การคัดเลือกและจัดหาพันธุ์ปาล์มน้ำมัน รวมถึงกำหนดวิธีการปลูกและการ
จัดการสวนปาล์มน้ำมันของศูนย์ศึกษาฯ แห่งนี้ เมื่อมีผลการศึกษาและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันบนพื้นที่สวนส้มร้างทุ่ง
รังสิต ที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง ก็จะมีการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมแก่เกษตรกร
ต่อไป

จากนั้นกระทรวงพลังงาน จะส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลให้แพร่หลายมากขึ้น ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของรัฐบาล ส่วน ธ.ก.ส.
จะสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรเจ้าของสวนส้มร้างเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ด้านบริษัท บางจาก ให้การสนับสนุนการลงทุนสร้างโรงสกัดน้ำมัน
ปาล์มขนาดมาตรฐาน เมื่อมีปริมาณการปลูกปาล์มในพื้นที่เพิ่มถึง 50,000 ไร่ เพื่อรองรับผลผลิตทั้งจากแปลงสาธิตและแปลงข้างเคียง
ตลอดจนเป็นผู้รับผิดชอบในการรับซื้อผลผลิตจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วย

นายธวัชชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาพื้นที่สวนส้มร้างเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทน วัตถุดิบที่
สำคัญในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อใช้เองภายในประเทศ นอกจากนี้ยังช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งรังสิตที่ประสบปัญหาภาระหนี้สิน
ให้มีทางเลือกในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งเพิ่มพื้นที่ซับน้ำในฤดูน้ำหลากป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้อีกทางหนึ่งด้วย



ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554
http://www.naewna.com/news.asp?ID=247637

http://www.phtnet.org/news54/view-news.asp?nID=62


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 11:00 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 10:10 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

8. ปาล์มน้ำมัน ข้อมูลพื้นฐานที่นำไปสู่การเปลี่ยนนโยบายการเกษตร





ในปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่พืชพลังงานกำลังเป็นที่ถูกจับตาว่า จะเป็นแหล่งทดแทนปิโตรเลียมได้ในระดับหนึ่ง รัฐบาลมีแนวคิด
จะขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน 5 แสนไร่ คำถามคือปลูกปาล์มในภาคอีสานได้หรือไม่

นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้รับเชิญให้ร่วมไปกับคณะของรองนายกรัฐมนตรีเพื่อประเมินความเป็นไปได้
ของนโยบาย ได้ตรวจดูสภาพสวนปาล์มน้ำมันในภาคใต้และภาคอิสาน ซึ่งท้ายที่สุด ได้ส่งผลการประเมินมีความชัดเจนว่า สภาพ
อากาศภาคอิสานไม่เหมาะกับการปลูกปาล์มน้ำมันเชิงการค้า

จากข้อมูลพื้นฐานที่ชัดเจนขั้นต้น ทำให้รัฐบาลขณะนั้นต้องปรับหยุดแผนการส่งเสริมขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอิสาน
(พฤษภาคม 2548) ซึ่งประเมินว่า ได้ลดความเสียหายแก่เกษตรกรขั้นต้นว่าไม่ต่ำกว่า 600 ล้านบาท (คิดเฉพาะค่าต้นกล้า
10 ล้านต้น)

โจทย์ในปัจจุบันคือ ปลูกปาล์มน้ำมันที่ทุ่งรังสิตได้หรือไม่



อ่านเรื่องเต็ม (3.8 MB)
This title has been downloaded 203 times (from 07.11.53)


นักวิจัย สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์
บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ได้ให้งบสนันสนุนงานวิจัยพื้นฐานของปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

คลิก...เพื่อ "อ่านเรื่องเต็ม (3.8 MB)" ข้อมูลดีมากๆ
http://www.cab.ku.ac.th/suntaree/index.php/publication/pr/63-53augoilpalmstory.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 10:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 10:20 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

9. บางจากฯ จับมือภาครัฐ ส่งเสริมปลูกปาล์มสวนส้มร้างทุ่งรังสิต


เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน
และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาพื้นที่สวนส้ม
ร้างทุ่งรังสิตเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน เพิ่มรายได้และแก้ปัญหาหนี้สินให้แก่เกษตรกร ป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ บรรเทาปัญหา
ภาวะโลกร้อน และช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ

ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริเวณทุ่งรังสิตใน
จังหวัดปทุมธานี และนครนายก มีพื้นที่สวนส้มร้าง ซึ่งเป็นพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์กว่า 100,000 ไร่ เนื่องจากปัญหาดิน
เปรี้ยว ไม่เหมาะแก่การปลูกข้าวหรือพืชเกษตร แต่สามารถพัฒนามาปลูกปาล์มน้ำมันได้ บริษัท บางจากฯ จึงได้ร่วมกับภาครัฐ
ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาสวนส้มร้างทุ่งรังสิตเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่สวนส้มร้างทุ่งรังสิตหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน ช่วยเพิ่มราย
ได้ให้เกษตรกร รวมถึงเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์ไดออกไซด์ได้ถึง 500,000 ตันต่อปี ลดปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นหนึ่ง
ในโครงการ “ลดโลกร้อน ถวายพ่อ” ของบริษัท บางจากฯ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครบ
7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554

ทั้งนี้ บริษัท บางจากฯ จะลงทุนและบริหารจัดการแปลงปลูกปาล์มต้นแบบในศูนย์ศึกษาและพัฒนาสวนส้มร้างทุ่งรังสิตเพื่อปลูก
ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งพิจารณาลงทุนสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์มขนาดมาตรฐาน เมื่อมีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มในปริมาณที่มากเพียง
พอ เพื่อรองรับผลผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ตลอดจนเป็นผู้รับซื้อผลผลิตจากโรงสกัดน้ำมันปาล์มดังกล่าว เพื่อนำมาผลิตเป็นไบโอ
ดีเซล ณ ศูนย์ผลิตไบโอดีเซล อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สวนส้มร้างทุ่งรังสิตมีศักยภาพในการปลูกปาล์มน้ำมันเนื่องจากเป็น
พื้นที่ที่มีระบบชลประทานที่ดี สามารถปลูกได้ในดินเปรี้ยว ซึ่งจากการทดลองปลูกปาล์มในพื้นที่ดังกล่าวมากว่า 6 ปี พบว่าสามารถ
ให้ผลผลิตที่ดีไม่แพ้ภาคใต้ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางได้ และเนื่องจากปาล์มน้ำมัน
เป็นพืชที่ชอบน้ำ การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มในบริเวณทุ่งรังสิต จึงเป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ซับน้ำในฤดูน้ำหลากเพื่อป้องกันน้ำท่วม
กรุงเทพมหานคร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะให้การสนับสนุนด้านวิชาการ คัดเลือกและจัดหาพันธุ์ปาล์ม ตลอดจนให้
ความรู้ในการจัดการสวนปาล์มแก่เกษตรกร สำหรับในโครงการดังกล่าว

ลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ธ.ก.ส.ได้ให้บริษัท บางจากฯ เช่าพื้นที่
ประมาณ 1,200 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนาสวนส้มร้างทุ่งรังสิตเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้
และสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรในพื้นทื่รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง ถึงความเป็นไปได้ในการปลูกปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคกลาง
โดยเฉพาะบริเวณทุ่งรังสิตว่าได้ผลผลิตดี คุ้มค่ากับการลงทุน มีตลาดรองรับผลผลิตอย่างครบวงจร ซึ่งหากเกษตรกรมีความ
สนใจ ธ.ก.ส. ก็พร้อมที่จะสนับสนุนด้านสินเชื่อเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่ ทั้งนี้หากโครงการประสบ
ความสำเร็จตามเป้าหมาย จะสามารถแก้ปัญหาด้านภาระหนี้สินให้กับเกษตรกรที่เคยประสบความเสียหายจากการทำสวนส้ม รวม
ทั้งช่วยสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับเกษตรกรได้เป็นจำนวนมาก

ด้าน ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานพร้อมให้การสนับสนุนการใช้ไบโอดีเซลเพื่อรองรับ
ผลผลิตปาล์มที่เพิ่มขึ้น โดยมีนโยบายส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล B5 เกรดเดียวทั่วประเทศภายในปี 2554 ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณ
การใช้ไบโอดีเซล (B100) เพิ่มขึ้นจาก 1.8 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 2.5 ล้านลิตรต่อวัน นอกจากนี้จะส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล
B10 เป็นพลังงานทางเลือกในอนาคต เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศอีกด้วย



ที่มา : www.thaipr.net

http://www.technologymedia.co.th/news/newsview.asp?id=3668


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 10:55 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 10:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

10. เรามารู้จักปาล์มน้ำมันเถอะ


การคิด การตัดสินใจ และหนทางที่ถูกต้อง
จากการลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจหลายครั้งหลายหน (ศึกษารายละเอียด และนำเสนอข้อมูลให้กับหน่วยงานนโยบายภาครัฐ) คำถามที่
ได้รับจากเกษตรกรมักจะเป็นคำถามที่ซ้ำๆ บ่อยๆ และนอกเหนือจากนั้นมักมีคำถามที่พิเศษๆบ้าง

ภารกิจที่ผมได้ปฏิบัติในครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมได้ไปพบปะประชาชน คนเกษตร ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ที่ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรทุ่ง
รังสิต (ปทุมธานี อยุธยา นครนายก สระบุรี และลพบุรีบางส่วน ) กลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนสหปาล์ม (ราชบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี สระแก้ว)

รากเหง้าของเกษตรกรเหล่านี้มาจากกระดูกสันหลังของชาติ ชาวนานั่นเอง จากการทำนาที่ล้มเหลวทางเศรษฐกิจมาตลอดชั่วอายุปู่ย่า
ตายาย อดทนและภาคภูมิใจในการได้รับยกย่องเชิดชูให้เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญที่สุดของชาติ แต่ยากจนที่สุดของกลุ่มชนเช่นเดียว
กัน สู้อุตส่าห์ “เอาหลังสู้ฟ้า ก้มหน้าสู้ดิน ”

เพื่อหาโอกาสให้ตัวเอง และมีความหวังในอนาคต จากองค์ความรู้ที่มีมาจากความเป็นชาวนาผู้เก่งกล้า เลือกพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่
ที่คาดหวังว่าจะได้เงยหน้าอ้าปากได้ สวนส้ม เป็นทางเลือกที่น่าจะมีอนาคตที่ถาวรและยั่งยืน แต่แล้วเหตุการณ์กลับย้อนกลับเหมือน
เดิม สวนส้มล่ม จากทุ่งรังสิต อพยพเคลื่อนย้ายไปทำที่ใหม่ กำแพงเพชร ดินดี น้ำชุ่ม อากาศเหมาะสม ที่ไหนได้ กำแพงเพชรก็ล่ม
อีกครั้ง

หนี้สินเพิ่มทวีคูณ ดอกเบี้ยทบต้นทบดอก จนยากที่จะอธิบายได้ว่า ไหนคือต้น อะไรคือดอก และไม่รู้จะแก้ไขมันอย่างไร ความล้มเหลว
ทางเศรษฐกิจ ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสังคม ปัญหาสังคมจะส่งผลต่อวิถีชีวิต และความสงบสุข ของประชาคมโดยรวมเสมอ

หนทางของประชาชนไม่สิ้นหวัง กลไกภาครัฐ ผู้ปกครองประเทศ น่าจะช่วยเขาได้ แม้นว่าเขาจะช่วยตนเองมาอย่างโชกโชนแล้วก็ตาม
แต่ความวิบัติทางอาชีพที่เกิดขึ้นกับเขายากที่จะแก้ไขด้วยกลไกเล็กๆที่มีสองมือและสองขาของเกษตรกรที่ขาดโอกาสแทบจะทุกเรื่อง
เมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่นๆที่มีโอกาสดีกว่า

ด้วยความมุ่งมั่นของฝ่ายการเมือง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่เอาใจใส่ดูแลความทุกข์ร้อนของประชาชน เมื่อประ
ชาชนหมดโอกาสและช่องทางในการแก้ปัญหาทุกข์ร้อน โชคดีที่ประชาชน มวลชน เกษตรกรทุ่งรังสิต ปทุมธานี นครนายก อยุธยา
สระบุรี ลพบุรี และภาคตะวันออก จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และราชบุรี เข้าใจสถานการณ์บ้านเมือง ไม่อยากให้เกิดความวุ่น
วายเลือกที่จะใช้กระบวนการตามขั้นตอนของกฎหมายและความสันติ สงบสุขในการแก้ปัญหา
จึงเกิดการระดมสมอง ความคิดเห็นโดยการมีส่วนร่วมอย่างจริงใจและกว้างขวางทุกภาคส่วน ในการแก้ปัญหาและรับผิดชอบต่อบ้าน
เมืองด้วยกันฉันพี่น้อง



ปัญหาที่พบและต้องการแก้ไขโดยด่วนที่มาจากภาคเกษตรกรได้แก่
1 ปัญหาหนี้สิน ทั้งที่มีมาเก่า และสะสมจนเป็นหนี้ล้นพ้นตัว หมดหนทาง แก้ไขหากภาครัฐไม่เข้าช่วยเหลือ (รอวันยึดทรัพย์ และฟ้อง
ล้มละลาย)
2 ปัญหาที่ทำกินที่ต้องเช่าจากนายทุนที่ดินรายใหญ่
3 ปัญหาการจัดการระบบการเกษตร ที่ดิน น้ำ และสาธารณูปโภค
4 ปัญหาการตลาด และราคาผลผลิตที่แกว่งตลอดเวลาไม่สามารถทำนายอนาคตได้
5 ปัญหาความรู้ในการจัดการเชิงเศรษฐศาสตร์ (การศึกษาเฉพาะทางและการศึกษาเชิงการจัดการ)
6 อื่นๆ


ผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น
1 กรมวิชาการเกษตร
2 กรมส่งเสริมการเกษตร
3 กรมเศรษฐกิจการพานิชย์
4 กรมเศรษฐกิจการเกษตร
5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
6 กรมที่ดิน
7 อื่นๆ เช่นผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักวิชาการ เป็นต้น


หนทาง ทางเลือก เป็นเช่นไร?
1. การประกาศนโยบายพิเศษ เพื่อการช่วยเหลือทางด้านการเงิน
2. การจัดรูปแบบในการบริหารจัดการการเกษตรในรูปแบบสหกรณ์
3. การเพิ่มรายได้ของตัววัตถุดิบ แปลงเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
4. แนวคิดการเกษตรครบวงจร มีความหลากหลายและสอดรับซึ่งกันและกัน
5. แนวคิดนโยบายทางด้านภาษีเพื่อจูงใจการเกษตรครบวงจรในรูปแบบสหกรณ์การเกษตร
6. แนวทางการตลาดที่มั่นคงภายใต้ความร่วมมือ รัฐกับรัฐ และทิศทางการตลาดที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ
7. อื่นๆ

ปาล์มน้ำมันทางเลือกที่เกษตรกร เลือกก่อนรัฐมีนโยบายการดิ้นรน ยังดีกว่ารอคอย ถ้าดิ้นยังมีโอกาสรอด ถ้ารอนโยบายหนี้สินคงจะ
ล้นแล้วล้นอีก กว่าความช่วยเหลือต่างๆจะเข้าถึง เป็นการสะท้อนจากประชาชน

เขตทุ่งรังสิตปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วกว่า 12,000 ไร่ และเขตตะวันออกน่าจะเป็นระดับแสนไร่ จากสถิติการปลูกปาล์มน้ำมันใน
ประเทศไทย 2.3 ล้านไร่ (สวนส้มที่เสียหายในเขตทุ่งรังสิต ประมาณ 200,000-300,000 ไร่)

หากคิดตามนโยบายน้ำมันบนดิน เพื่อชดเชยการนำเข้าน้ำมันปิโตเลียม 10 เปอร์เซ็นต์ของการนำเข้า เราต้องปลูกปาล์มน้ำมัน
ถึง 12 ล้านไร่จึงจะพอชดเชยการนำเข้าน้ำมันปิโตเลียม 10 เปอร์เซ็นต์

วันนี้ปาล์มน้ำมันที่ทุ่งรังสิตมีอายุตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ที่สวน นายอักษร ตำบลหนองเสือ มีอายุประมาณ8 ปี
ให้ผลผลิต ต่อไร่ต่อปี ประมาณ 4-5 ตัน (เฉลี่ยโดยทั่วไปของประเทศไทย อยู่ที่ 2.7 – 3.0 ตันต่อไร่ต่อปี)



แม้จะไม่รอก็ต้องรอ ปัญหาเกิดกับเกษตรกร
1 เก็บผลผลิตแล้วจะเอาไปขายที่ไหน
2 เก็บไว้ได้นานแค่ไหน
3 เก็บเกี่ยวได้ทุกวันหรือไม่
4 การขนส่งมีค่าใช้จ่ายอย่างไร
5 การต่อรองทางด้านราคา ราคาที่ยุติธรรม ทั้งของผู้ขายและผู้ซื้อ
6 ทำอย่างไรผลผลิตจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่านี้


เรามารู้จักปาล์มน้ำมันเถอะ
ชนิดและพันธุ์(Elaeis)
1 E.Guineensis (African Oil Palm) 3type
1.1 Dura : Deli Dura
1.2 Pisifera
1.3 Tenera :Dura X Pisifera
2 E.Oleifera(E.Melanococca or Corozo oleifera)…(American Oil Palm)
3 E.Odora (Barcella odora) (Amazon oil palm)
4 สุราษฎร์ธานี 1..Tenera ..Dura68 X Pisifera (ASD Co.;ltd Costarica)
5 สุราษฎร์ธานี 2
6 สุราษฎร์ธานี 3
7 พันธุ์อูติ DXP …Deli dura X (Tenera X Pisifera)
8 พันธุ์พันธุ์ยังกาบี(มาเลเซียเกรด1)
9 พันธุ์เดลิลาเม่ (Deli X Lame)… Deli duraX Lame Pisifera

10 นอกเหนือจากนี้ยังมีพันธุ์อื่นๆอีกมากมาย ตามแต่จะผสมกันขึ้นมา ส่วนใหญ่เป็นลูกผสมที่เอาจุดเด่นแต่ละชนิดมาผสมกัน เช่น
จากประเทศ คอสตาริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น



แล้วจะเลือกแบบไหนดี
แบบที่ให้ผลกำไรสูงสุดคือคำตอบที่เกษตรกรต้องการ ดังนั้นท่านต้องพิจารณาดังต่อไปนี้
1. ใช้พันธุ์อะไร ที่ให้ผลผลิตสูงสุด ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเชิงปริมาณ คิดจากน้ำหนักต่อไร่ต่อปี เชิงคุณภาพคิดจากเปอรืเซ็นต์
น้ำมันที่ได้จากทะลายดิบ

2. แล้วพันธุ์ที่เลือกเหมาะกับสภาพสวนของเราหรือไม่ สภาพดินของเราเป็นเช่นไร
สภาพน้ำของเราเป็นเช่นไร สภาพอากาศในบริเวณนั้น
เป็นเช่นไร

3. ความต้องการของตลาดรับซื้อพันธุ์อะไรที่ห้ราคาสูง

4. การดูแลรักษา

5. การหาเมล็ดพันธุ์ หรือ ต้นกล้า ได้จากไหน ราคาเป็นเช่นไร การรับประกันอย่างไร



โอกาสหน้าฟ้าใหม่ค่อยเจอกันอีก
ดร.ทินโน ขวัญดี
e-mail:tinno_kwan@hotmail.com


http://www.gotoknow.org/blog/tinno-k001/288282


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 24/06/2011 10:59 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/06/2011 10:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

11. ปิดตำนานสวนส้มรังสิต ซีพี จับมือ เอ็มเทค หนุนปลูกปาล์ม





แม้ไทยจะเป็นประเทศที่ปลูกปาล์มได้ แต่ก็จำกัดอยู่เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น แต่เกษตรกรภาคกลางสามารถพลิกสวนส้มเก่าใน
เขตรังสิตกลายมาเป็นสวนปาล์ม

นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วมกลุ่มธุรกิจ พืชครบวงจร เครือซีพี กล่าวว่า การสกัด
ปาล์มให้ได้ผลดีควรจะดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง หลังตัดทะลายแล้ว ดังนั้น แหล่งปลูกปาล์มแต่ละแห่ง ควรมีโรงงานสกัด
อยู่ในพื้นที่ ส่งผลให้น้ำมันปาล์มมีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าขนส่ง

ด้วยเหตุนี้ ซีพีร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือเอ็มเทค ทำการค้นคว้าและวิจัยระบบการสกัดน้ำมันปาล์ม "แบบ
ไม่ใช้ไอน้ำ" เป็นโรงงานต้นแบบที่รังสิตคลอง 14 ซึ่งเปิดให้บริการกับเกษตรกรในพื้นที่

ทั้งนี้ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มต้นแบบ บริหารจัดการโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ก่อนส่งน้ำมันปาล์มที่ได้ให้กับโรงงานสกัดขนาด
ใหญ่ วิธีการนี้จะทำให้การขนสะดวกขึ้น ลดต้นทุนการผลิต เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถได้ครบวงจร

นอกจากนี้ เกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้นำร่องปลูกปาล์มพันธุ์ "ซี.พี.โกลเดนท์เทเนอร่า" บนพื้นที่ 80 ไร่รอบๆ โรงงาน
ดำเนินการไปแล้ว ประมาณ 2 เดือน โดยมีแผนร่วมกับกระทรวงพลังงานที่จะปลูกปาล์มน้ำมันอีก 200 ไร่ ทั้งนี้ ปาล์มพันธุ์ "ซี.พี.
โกลเดนท์เทเนอร่า" ให้ผลผลิตตั้งแต่ 2 ปี 8 เดือน ขึ้นไป

จุดเด่นคือ ต้นเตี้ย มีอายุการเก็บเกี่ยวนาน 30 ปี ทนสภาพแล้งได้นานกว่า 90 วัน เนื้อหนา กะลาบาง ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง จาก
การทดลองปลูกที่จังหวัดกระบี่ บนเนื้อที่ 30 ไร่ พบว่าให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 4 ตันต่อไร่ต่อปี ให้ทะลายดก 15-20 ทะลายต่อต้นต่อปี
เปอร์เซ็นต์น้ำมัน ต่อทะลายสูงกว่า 25% และทนทานต่อโรค

นายอนวัช สะเดาทอง รองผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร กล่าวว่า พื้นที่ภาคกลางมีปัญหาเรื่องน้ำที่ทิ้งช่วงนาน ซี.พี.จึงแนะนำ
ให้ปลูกปาล์มใช้ระบบชลประทานน้ำหยด แม้จะลงทุนสูงช่วงแรก แต่อุปกรณ์ที่ติดตั้งมีอายุการใช้งานนานถึง 10 ปี การดูแลรักษายัง
ง่าย ลดการสูญเสียของปุ๋ยและธาตุอาหาร ที่สามารถละลายส่งตามท่อน้ำได้ทันที วิธีการนี้ช่วยประหยัดค่าปุ๋ยได้ 10-25%

"ระบบชลประทานน้ำหยด ทำให้ต้นปาล์มได้รับน้ำสม่ำเสมอ จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15-20% ระบบชลประทานน้ำหยด จึงเหมาะสม
ที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ช่วงฝนตกทิ้งช่วง" นายอนวัช กล่าว

นายนเรศว์ร ชิ้นอินมนู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท เกรท อะโกร จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในประเทศมีอยู่
2 ประเภท คือ

1.โรงงานสกัดระบบไอน้ำกำลังการผลิต 15-60 ตันต่อชั่วโมง สามารถสกัดน้ำมันเกรดเอได้ แต่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำเสีย

2. โรงงานสกัดระบบแห้งแบบดั้งเดิมกำลังการผลิต 1-5 ตันต่อชั่วโมง น้ำมันที่ได้เป็นเกรดบี ข้อดีคือ ไม่มีน้ำเสีย และกากที่เหลือ
จากการสกัดน้ำมันสามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ เนื่องจากมีโปรตีนสูง ปัจจุบันขายอยู่ในตลาดกิโลกรัมละ 3-4 บาท

จากข้อมูลของโรงงานสกัดทั้ง 2 ประเภท บริษัทได้ศึกษาร่วมกับเอ็มเทค พัฒนาเป็นระบบสกัดน้ำมันปาล์มแบบไม่ใช้ไอน้ำขนาด 1-1.5 ตัน
ต่อชั่วโมง เริ่มจากการเด็ดปาล์มออกจากทะลาย ก่อนแยกเอาเนื้อปาล์มออกจากเปลือก และเม็ดใน หรือทั่วไปเรียกว่า "กะลาปาล์ม"

เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ จะได้น้ำมันปาล์ม (cpo) เกรดเอ เม็ดในส่งโรงงานสกัด เพื่อสกัด จะได้น้ำมันปาล์มคุณภาพดี ใช้ผลิตเครื่องสำอาง
เนยเทียม และครีมทาผิว กระบวนการนี้ไม่มีน้ำเสีย มีการสูญเสียเปอร์เซ็นต์น้ำมัน 1-1.5%

"โรงงานสกัดของซีพี ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่คิดค้นขึ้น โดยเฉพาะเครื่องแยกเนื้อปาล์ม เราคิดค้นขึ้นเอง เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จด
ลิขสิทธิ์ร่วมกับเอ็มเทค ในอนาคตจะคิดค้นเครื่องแยกน้ำมันจากกะลาปาล์ม เพื่อให้โรงงานสกัดครบวงจร"

นายจรัล พุดซ้อน เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มในโครงการไบโอดีเซลชุมชนเฉลิมพระเกียรติฯทุ่งหลวงรังสิตตอนบน กล่าวว่า ก่อนหน้าที่
พื้นที่แถบรังสิตจะปลูกส้มทั้งหมด เป็นพืชที่ทำรายได้สูงมาก แต่เนื่องจากส้มเป็นพื้นที่ติดโรคได้ง่าย ทำให้เกิดโรคระบาด

ปัจจุบันเห็นว่าพืชที่เหมาะสมกับดินเปรี้ยวน่าจะเป็นปาล์มน้ำมัน แม้จะเสี่ยงต่อการไม่ให้ผลผลิต เนื่องจากภาคกลางมีน้ำฝนน้อยแต่
เกษตรกรก็พร้อมจะนำร่องปลูก ได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2542 ผลพบว่าปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตดี ใน 2-3 ปีเริ่มติดผลเร็วกว่าภาค
ใต้ที่ให้ผลผลิตใน 4 ปี ผลผลิตต่อไร่ใกล้เคียงกัน "รายได้จากปาล์มน้ำมันถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการปลูกส้ม แต่ก็เป็นราย
ได้ที่สม่ำเสมอ" นายจรัลกล่าว

ปัจจุบันพื้นที่แถบรังสิต ปทุมธานี นครนายก และอยุธยา มีการปลูกปาล์มแล้วถึง 8 หมื่นไร่


http://www.bangkokbiznews.com/home/news/business/business/2009/01/26/news_10199.php
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©