-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ผักอินทรีย์ GO INTER ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน...
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ผักอินทรีย์ GO INTER ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน...

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 4:45 pm    ชื่อกระทู้: ผักอินทรีย์ GO INTER ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผักอินทรีย์ GO INTER ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน...






.................. ปรัชญาการเกษตร ................



............. ส่งออกไม่ได้ ไฉนเลยเศรษฐกิจชาติจะโต ..............

............. ส่งห้างไม่ได้ ไฉนเลยเศรษฐกิจบ้านจะโต ..............





**** การตลาดนำการผลิต ....... ตลาดมีแล้ว คนผลิตอยู่ที่ไหน .... ?


**** CONTACT FARMING เพื่อสร้าง "ระบบ" การตลาด....


**** รวมกลุ่มผลิตเพื่อประกัน ORDER ที่สั่งซื้อ....


**** รวมกลุ่ม "แลกเปลี่ยน-ถ่ายทอด-ช่วยเหลือ" เทคโนโลโลยีการผลิต....


**** รวมกลุ่ม "แลกเปลี่ยน-ถ่ายทอด-ช่วยเหลือ" เทคโนโลยีการตลาด....


**** รวมกลุ่ม "แปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม" เพื่อการส่งออก....


**** รวมกลุ่มสั่งซื้อ "ปุ๋ย-ฮอร์โมน-ยา-อื่นๆ" แบบขายส่ง เพื่อลดต้นทุน....







ผลศึกษาชี้ "ผักปลอดสารพิษ" ไม่ได้ดีต่อสุขภาพมากกว่าผักธรรมดา




เอเจนซี - ผลการศึกษาครั้งใหญ่จากอังกฤษระบุว่า อาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Food) ที่บอกว่าปลอดสารพิษนั้น ไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพหรือทางโภชนาการมากกว่าผักที่ปลูกตามกรรมวิธีทั่วไป

นักวิจัยจากลอนดอน สกูล ออฟ ไฮยีน แอนด์ ทรอปิคอล เมดิซีน ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี ออฟ ลอนดอน กล่าวว่า ผู้บริโภคกำลังจ่ายเงินซื้ออาหารออร์แกนิกที่มีราคาสูงกว่า เพราะรับรู้ว่ามันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้ตลาดค้าอหารออร์แกนิกของโลกมีมูลค่าประมาณ 48,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2007

อย่างไรก็ตาม การศึกษาทบทวนรายงานทางวิทยาศาสตร์ 162 ชิ้นที่ตีพิมพ์ออกมาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาพบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญระหว่างพืชผักที่ปลูกตามแบบเกษตรอินทรีย์และการเพาะปลูกตามแบบทั่วๆไป

อลัน แดนเกอร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงานชิ้นนี้กล่าวว่า พบความแตกต่างทางคุณค่าทางโภชนาการจำนวนน้อยระหว่างอาหารที่ปลูกตามแแบบเกษตรอิทรีย์และการเพาะปลูกตามวิธีดั้งเดิม ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวโยงใดๆ ไปถึงด้านสุขภาพ โดยการศึกษาล่าสุดนี้ชี้ว่า

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่จะสนับสนุนให้เลือกผักออร์แกนิก มากกว่าผักที่ปลูกตามวิธีทั่วไปในเรื่องประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ผลการศึกษาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การมาตรฐานอาหารของรัฐบาลอังกฤษ ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารอเมริกันเจอร์นัลออฟ คลินิคอล นิวทริชั่น ของสหรัฐฯ ขณะที่ยอดการซื้ออาหารออร์แกนิกตกลงในบางตลาด รวมถึงในอังกฤษ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้ผู้บริโภคลดค่าใช้จ่าย สมาคมพื้นดินรายงานเมื่อเดือนเมษายนว่า อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกลดลงเหลือ


http://news.nipa.co.th/news.action?newsid=130509


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 4:23 pm, แก้ไขทั้งหมด 16 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 5:12 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผักอินทรีย์ไทย โกอินเตอร์ "ริเวอร์แควฯ"


ในปัจจุบันอาชีพเกษตรกรของคนไทย จำเป็นต้องพัฒนาเทคนิควิธีการปลูกพืชให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งตอนนี้รูปแบบการเกษตรสมัยใหม่เน้นเลิกใช้สารเคมี เพราะเกิดการตื่นตัวเรื่องนี้กันมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดยุโรป ส่วนเอเชียแนวโน้มกำลังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากเกษตรกรรายใดไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้จะมีผลกระทบในเรื่อง ของตลาด ราคาสินค้า รวมถึงการส่งออกนอกประเทศด้วย

"เกษตรอินทรีย์" เป็นระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจโดยเน้นหลักการปรับปรุงดิน การเคารพต่อธรรมชาติของพืชสัตว์และระบบนิเวศ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์

"สุนทร ศรีทวี" ประธานกรรมการบริษัท ริเวอร์แคว อินเตอร์เนชั่นแนล อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด ให้รายละเอียดว่า ริเวอร์แควฯเริ่มก่อตั้งเป็นผู้ผลิตและส่งออกผักแปรรูปตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ ตอนนี้มีทุนจดทะเบียน ๓๕๐ ล้านบาท ส่งผลิตภัณฑ์ไปขายต่างประเทศกว่า ๔๐ ประเทศ มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง พริก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาหารพร้อมทาน เช่น ชุดต้มยำ ชุดแกงไทย ชุดผัดผักรวม ขายในราคา แพ็กละ ๒๐๐ กว่าบาท

พื้นที่ไร่เกษตรอินทรีย์ของริเวอร์แควฯ ที่กาญจนบุรีมีมากกว่า ๑,๒๐๐ ไร่ ส่วนที่เชียงรายมี ๓๗๕ ไร่ ทั้งสองแห่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปลูกผักเกษตรอินทรีย์มาโดยตลอด จนได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันต่างประเทศ เช่น Soil Association Certification Limited ของอังกฤษ และเป็นไร่แห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับรองจาก Soil Association UK, OMIC Japan และกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น

กว่าจะได้เป็นผักอินทรีย์มีขั้นตอนพอสมควร สุนทรแจงว่า หลักสำคัญต้องเริ่มจากการเลือกพื้นที่ปลูก โดยพื้นที่จะต้องไม่เคยใช้สารเคมีปุ๋ยเคมีมาก่อนอย่างน้อย ๓ ปี โดยเฉพาะพื้นที่ไม่มีความเสี่ยงกับสารปนเปื้อนข้างเคียงและไม่มีสารปนเปื้อนตกค้าง ในดินและแหล่งน้ำ พื้นที่ต้องมีการอนุรักษ์ป่าให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกและแมลง ทำให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ ทั้งนี้ ห้ามใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMO)


การปรับปรุงบำรุงดินควรนำอินทรีย์วัตถุจากพืชและสัตว์ภายในฟาร์มมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีแผนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างผสมผสาน และเหมาะสม โดยที่นี่จะปลูกต้นโสนฝรั่งเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดด้วย ห้ามนำมูลสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการหมักเบื้องต้นมาใช้กับพืชโดยตรง ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเร่งการเจริญเติบโตและสารอื่นๆ อนุญาตให้ใช้พวก จุลินทรีย์ที่หมัก ได้จากพืชและสัตว์ โดยไม่มีสารปนเปื้อนตกค้างในผลิตภัณฑ์ ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์เร่งการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืช


วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โรคพืช และวัชพืช ต้องมีการส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลง เช่น มวนเพชฌฆาต ปลูกพืชขับไล่แมลงเป็นพืชร่วมในแปลงปลูกพืช หลีกเลี่ยงการปลูกพืชชนิดเดิมซ้ำบนแปลงเดียวกัน ใช้พืชสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติ ในการป้องกันโรคแมลงศัตรูพืช.


เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว การแปรรูปและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ภาชนะ เครื่องมือกรรมวิธีต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ พาหะนำโรค สารเคมี ห้ามใช้สถานที่ เครื่องมือ ภาชนะ และเครื่องจักรร่วมกับ การแปรรูป ผลิตภัณฑ์อื่น ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ในส่วนของการขนส่งต้องมีใบตรวจสอบสินค้า เกษตรอินทรีย์เข้าออกที่ชัดเจน มีการติดฉลาก และมีภาชนะบรรจุแยกชัดเจน

หลังจากที่เปิดตลาดต่างประเทศมานานจนได้รับการยอมรับจากลูกค้าเกือบทั่วโลก ริเวอร์แควฯ ได้ศึกษาทิศทางของตลาด อยู่ตลอดเวลา เพื่อนำมาเป็น ข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ดียิ่งขึ้น จนกระทั่ง "สุนทร" ได้เฝ้าติดตามพฤติกรรม ของกลุ่ม ลูกค้า ในย่านเอเชียแล้ว พบว่า กำลังให้ความสนใจ กับเกษตรอินทรีย์กันอย่างมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น มีอัตราการเจริญเติบโต สูงมาก

ในส่วนของ ประเทศไทย ก็ไม่น้อยหน้า กลุ่มลูกค้า ที่มีกำลังซื้อเริ่มนิยมบริโภค ผักอินทรีย์มากขึ้น เพราะมีประโยชน์ต่อ ร่างกาย ไม่มีอันตรายข้างเคียง แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่า ผักทั่วไปก็ตาม

เมื่อเห็นความเป็นไปได้ของตลาดในเมืองไทย ริเวอร์แควฯจึงได้จับมือกับบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเตม จำกัด เพื่อผลิตผักอินทรีย์มาตรฐานสากล จำหน่ายที่ห้างเทสโก้โลตัส สาขาสมุย เป็นการนำร่องก่อน ปรากฏว่าได้รับการตอบรับด้วยดี จากลูกค้า จึงต้องมาวางแผนเพิ่มอีก ๖ สาขา ได้แก่ สมุย ซีคอนสแควร์ ฟอร์จูน ภูเก็ต พระราม ๔ สุขุมวิท ๕ และพระราม ๓ โดยมีผักอินทรีย์ ๑๕ รายการ คือ ข้าวโพดอ่อน กระเจี๊ยบ ตะไคร้ ผักฉ่อย พริกจินดาเขียว ผักชี ใบกะเพรา ข่า หน่อไม้ฝรั่ง ต้นหอม คะน้า ผักบุ้งจีน สะระแหน่

"การปลูกผักอินทรีย์ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องทำไปเรียนรู้ไป เมื่อได้ผักที่มีคุณภาพ แล้วต้องมีการตลาดและประชาสัมพันธ์ที่ดีด้วย เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจ ผมจะใช้วิธีเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ต่อ สุขภาพ ร่างกาย แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าผักทั่วไปประมาณ ๒๐ % ผมก็มั่นใจว่ามีผู้บริโภคซื้อแน่นอน" สุนทรกล่าวด้วยน้ำเสียงมั่นใจ

สำหรับปัญหาของการปลูกผักอินทรีย์นั้นก็คือ ถ้าผักแปลงใดถูกโรคพืชหรือแมลงกัดกิน จะต้องแก้ไขด้วยวิธีธรรมชาติ เท่านั้น ทำให้ต้นทุนสูง เพราะผักบางรุ่น ต้องเสียหายหลายแปลงทีเดียว เช่น ต้นหอม ถ้าเป็นโรคเชื้อรา ก็ต้องปล่อยทิ้งเลย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจ อยากจะปลูก ผักอินทรีย์จำหน่าย ควรจะต้องศึกษาหาความรู้ให้เข้าใจก่อนลงมือทำ ถ้าทำได้เชื่อแน่ว่า มีตลาดรองรับอยู่แล้ว

โครงการปลูกผักอินทรีย์เพื่อการส่งออกและบริโภคภายในประเทศกำลังไปได้ดี ริเวอร์แควฯ ยังมองการณ์ไกลเตรียมวางแผน เข้าไปส่งเสริมให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ที่ต้องการเข้าร่วมเป็นพันธมิตร ขณะนี้ได้ไปสนับสนุนกลุ่มเกษตรกร จังหวัด สุรินทร์ เพื่อส่งเสริมให้ปลูกผักอินทรีย์ และข้าวอินทรีย์ หลังจากนั้นจะรับซื้อเพื่อมาทำตลาด ให้เป็นการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่ กับธุรกิจรากหญ้า นับว่าเป็นโครงการที่ดี น่าสนับสนุนให้ขยายตัวไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่มีความพร้อม ถือว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็ง ในเชิงเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นกับวงการเกษตรเมืองไทย.



http://www.organicthailand.com/article-th-3282-%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%22%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%AF%22.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 5:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

‘กระเจี๊ยบเขียว’ พืชยอดนิยมแดนปลาดิบ...ตลาดส่งออกสดใสจริง ๆ


กระเจี๊ยบเขียว ในบ้านเราอาจเป็นที่รู้จักกันบ้าง โดยเฉพาะร้านที่ขายอาหารอีสานบ้านข้าน้อยเอง ที่มีแจ่วมีน้ำพริกขาย มีผักสดผักต้มขายประกอบด้วย ฉะนั้น กระเจี๊ยบเขียวจึงเป็นหนึ่งในผักที่ถูกนำมาต้ม (หรือลวกก็ไม่รู้นะ?) เพื่อขาย แต่ผู้บริโภคบางคนอาจจะไม่รู้ก็ได้ว่า กำลังบริโภคผักที่เป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นยุ่นปี่อยู่นะนี่

เรื่องกระเจี๊ยบเขียวนี่ กรมส่งเสริมการเกษตรเขาสนับสนุนมานานแล้ว ไปถามคุณสุกัญญา พัวพันธ์ หรือน้องเอ็มมี่ แห่ง กรมส่งเสริมการเกษตรก็ได้ เพราะเธอมีหน้าที่รับผิดชอบประชาสัมพันธ์ พืชชนิดนี้ ยังมีอีกชนิดที่เธอประชาสัมพันธ์คือ หน่อไม้ฝรั่ง วันหน้าจะไปถามข้อมูลจากเธอมาฝากท่านผู้อ่าน ที่เคารพอย่างสูง วันนี้เอาเรื่องกระเจี๊ยบเขียวไปก่อน ข้อมูลที่ได้ มานี่ก็ได้จากเธอนี่แหละ เธอบอกว่า...

กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักส่งออกที่สำคัญของไทยรองจากหน่อไม้ฝรั่ง เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะวิตามินซีและแคลเซียม นอกนี้ยังประกอบด้วยสารจำพวกกัม (gum) และเพคติน (pectin) ซึ่งช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบตัน ป้องกันความดันโลหิต บำรุงสมอง ลดอาการโรคกระเพาะและยังมีสารขับพยาธิตัวจี๊ด..มีสรรพคุณเยอะขนาดนี้นี่เองชาวญี่ปุ่นเขาถึงนิยม เขายิ่งจะรับประทานอะไรแล้วละก็ต้องคำนึงถึงคุณประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพอยู่ด้วย ฉะนั้น ตลาดส่งออกที่สำคัญคือตลาดญี่ปุ่นนี่แหละ โดยเราส่งออกในรูปฝักสดและแช่แข็ง โดยชาวญี่ปุ่นจะเลือกรับประทานฝักที่ไม่มีเส้นใย ความยาวฝักประมาณ 9-12 เซนติเมตร เป็นรูปห้าเหลี่ยม เป็นสีเขียวตลอดทั้งฝักโดยนำไปทำเป็นสลัด นำไปผัด ทำซุป เป็นต้น

ส่วนใหญ่เกษตรกรที่ปลูกอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนนทบุรี โดยเกษตรกรเหล่านี้มีสัญญาซื้อขายกับบริษัทเอกชนรายหนึ่งในลักษณะการซื้อขายแบบมีข้อตกลง ที่เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “คอนแทร็ก ฟาร์มมิ่ง” ซึ่งระบบนี้จะดีสำหรับเกษตรกรคือ มีตลาดที่แน่นอน รู้ราคาล่วงหน้าก่อนที่จะผลิต สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่สอดคล้องกับคุณภาพ ปริมาณและระยะเวลาที่กำหนด สามารถหาตลาดล่วงหน้าได้และจะเป็นตัวอย่างในการดำเนินการในพืชผักชนิดอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

มาตรฐานที่บริษัทเขารับซื้อคือ ฝักต้องเป็นสีเขียวเข้ม ตรง ไม่คดงอเกินไป ฝักมีห้าเหลี่ยม ความยาว 8-11.5 ซม. ขั้วฝักยาว 0.5 ซม. ตัดฝักขั้วตรงไม่เป็นปลายปากฉลาม ฝักมีรูปขนาดกำลังพอดีไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.3-2.0 ซม. และฝักต้องปราศจากศัตรูพืชเข้าทำลาย ไม่ว่าจะเป็นหนอน แมลง หรือโรค

เกษตรกรที่สนใจจะปลูกหรืออยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ส่วนส่งเสริมการผลิตไม้ดอก ไม้ประดับและพืชสมุนไพร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 0-2579-3542, 0-2940-6102 เวลาราชการ



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=39360&NewsType=2&Template=1


http://news.cedis.or.th/detail.php?id=3631&lang=en&group_id=1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 4:27 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 5:56 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การส่งออกผักและผลไม้สดไปยังเยอรมนีและสหภาพยุโรป - โอกาสและความท้าทาย

๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓

โดย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์

เกิดเป็นคนไทยแสนโชคดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แถมในสวนก็ยังมีผักผลไม้นานาชนิดให้คนไทยได้ลิ้มลองกันไม่ขาด รสชาติก็แสนอร่อยมีทั้งเปรี้ยว หวาน มัน ครบรส แถมมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย

ชาวต่างประเทศรายใดได้ลิ้มชิมรสสักครั้งรับรองจะต้องติดใจ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ผักผลไม้ไทยจะถูกตีตั๋วขึ้นไปวางขายในห้างสรรพสินค้าดังๆ หลายแห่งในต่างประเทศ ติดอันดับสินค้ายอดฮิต สร้างความภูมิใจและรายได้ให้แก่พี่น้องเกษตรกรไทยและผู้ส่งออกถ้วนหน้า

ดังนั้น หากผู้ส่งออกไทยต้องการรักษาตลาดและคงความนิยมของสินค้าผักผลไม้ไทยเอาไว้ การรักษาคุณภาพสินค้าผักผลไม้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ลำดับต้น โดยเฉพาะในตลาดสินค้าที่มีศักยภาพอย่างตลาด อียู ซึ่งมีความเข้มงวดในการตรวจสอบความปลอดภัยของผักผลไม้เป็นอย่างมาก

Trade Update ฉบับนี้ จึงขอมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับการสัมมนาเรื่องผักผลไม้ ในหัวข้อ

“การส่งออกผักและผลไม้สดไปยังเยอรมนีและสหภาพยุโรป : โอกาสและความท้าทาย”


เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งเป็นโครงการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน และคณะผู้แทนไทย ประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ หอการค้าเยอรมัน-ไทย และสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการของเยอรมันประจำประเทศไทย (GTZ) จัดขึ้น โดยมีนายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป และดร. ฮันส์ ไฮน์ริช ชูมัคเคอร์ เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยร่วมเป็นประธาน งานดีๆ แบบนี้ จึงมีผู้แทนทั้งจากภาคเอกชน สถาบันวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานของเยอรมนีเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

บทสรุปสำคัญของการสัมมนาฯ คือ สหภาพยุโรปเป็นตลาดผักผลไม้ที่มีศักยภาพ เนื่องจากเป็นผู้นำเข้าผักผลไม้ที่มีคุณภาพจากทั่วโลกจำนวนมากในแต่ละปี ในปี 2552 เฉพาะเยอรมนีประเทศเดียวก็นำเข้าผักผลไม้จากทั่วโลกเกือบ 8 ล้านตันแล้ว ในจำนวนนั้นเป็นการนำเข้าผลไม้จากเขตร้อนเกือบ 3 ล้านตัน แต่ส่วนแบ่งตลาดของไทยยังน้อยมาก เช่น ฝรั่ง มะม่วง และมังคุด ของไทยมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น โดยผู้บรรยายชาวเยอรมันทั้งจากภาครัฐและผู้นำเข้าต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สินค้าไทยเองก็มีจุดแข็งหลายอย่างโดยเฉพาะความหลากหลายและความมีเอกลักษณ์ ที่สามารถแปรเป็นจุดขายได้ การบรรจุหีบห่อที่สวยงามได้มาตรฐาน ความรวดเร็วในการตอบสนองต่อการสั่งซื้อ รวมทั้งผักผลไม้ไทยก็ทวีความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเดินทางมาเมืองไทยและได้ชิมด้วยตัวเอง ก็ต่างติดใจรสชาติของผักและผลไม้ไทยกันทั้งนั้น

แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผักผลไม้ไทยก็มีจุดอ่อนหลายประการที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ ปัญหาสารตกค้างจากยากำจัดศัตรูพืช ปัญหาสุขอนามัยพืช ระบบการผลิตที่ยังไม่ได้มาตรฐานของสหภาพยุโรป และขาดการควบคุมคุณภาพสินค้า ความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขอนามัยพืชยังไม่ได้รับการถ่ายทอดไปยังเกษตรกรผู้ปฏิบัติอย่างทั่วถึง ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรยังขาดความตระหนักถึงเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารซึ่งนับจะทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน ปัญหาด้านโลจิสติกส์ และการขาดระบบการรักษาอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้ราคาสินค้าผักผลไม้ของไทยสูงกว่าสินค้าของประเทศคู่แข่งในตลาดยุโรปแล้ว ยังทำลายคุณภาพของสินค้าส่งออก ทำให้อายุการวางจำหน่ายลดลงอีกด้วย ส่งผลให้มีข้อร้องเรียนเรื่องคุณภาพสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ กล่องโฟมที่ผู้บริโภคและผู้ส่งออกของไทยนิยมใช้บรรจุสินค้าผักผลไม้ส่งออกนอกจากจะไม่ช่วยรักษาอุณหภูมิแล้ว ยังสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นภาระในการกำจัดของประเทศปลายทางอีกด้วย

ทั้งนี้ มาตรการสุ่มตรวจสินค้าร้อยละ 50 ของปริมาณการนำเข้าผักไทย 3 ชนิด นั่นคือ [color=red]ถั่วฝักยาว พืชตระกูลมะเขือ และพืชตระกูลกระหล่ำ[/color] ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปีนี้ 2553 ที่ผ่านมานั้น เป็นผลจากการตรวจพบสารตกค้างในสินค้าผักผลไม้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิทธิของสหภาพยุโรปที่จะสุ่มตรวจเพื่อปกป้องผู้บริโภคของตนเอง แม้ว่าสินค้าเหล่านั้นอาจจะได้รับใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตรในฐานะที่เป็น competent authority ของไทยที่ได้รับการยอมรับจากสหภาพยุโรป หรือใบรับรองมาตรฐานอื่นๆ เช่น Global GAP ก็ตาม ที่น่าห่วงกังวลคือ ในจำนวนตัวอย่างสินค้าผักผลไม้นำเข้าเฉพาะที่ด่านนครแฟรงก์เฟิร์ตสุ่มตรวจสารตกค้าง 523 ตัวอย่างจาก 31 ประเทศในปี 2552 นั้น มีสินค้าไทยถึง 121 ตัวอย่างและตรวจพบปัญหาร้อยละ 26.4 และในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 มีการร้องทุกข์เรื่องสุขอนามัยสินค้าไทยแล้ว 113 ราย และมีแนวโน้มว่าสหภาพยุโรปจะเพิ่มการสุ่มตรวจสินค้าผักอื่นๆ ของไทยอย่างเข้มข้นขึ้นด้วย

โดยปัญหาดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขจากภาครัฐและเอกชน ภาครัฐในฐานะผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตก็จะต้องฟื้นความมั่นใจของผู้บริโภคยุโรปในมาตรฐานสินค้าไทย จริงจังกับบทลงโทษ และให้ความรู้กับเกษตรกรรายย่อยอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารและผลลบของสารตกค้างจากยาปราบศัตรูพืช ขณะที่ภาคเอกชนก็จะต้องรักษาธรรมาภิบาลในกระบวนการผลิตและส่งออก ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ และรักษาชื่อเสียงและภาพพจน์ของตัวเองและของประเทศ รวมทั้งภาครัฐและเอกชนควรจะร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าผักผลไม้ของไทยในตลาดต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับการปรับกระบวนการผลิตและส่งออกเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพสินค้าไทยโดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ เช่น การปรับระบบ pre-cooling ให้ดีในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โรงบรรจุหีบห่อถึงขึ้นเครื่องบิน การปรับใช้รูปแบบกล่องที่บางและเก็บความเย็นเพื่อช่วยทั้งลดต้นทุน ลดการเน่าเสียของสินค้า แถมเพิ่มอายุการวางจำหน่าย 7-10 วันอีกด้วย รวมทั้ง ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรที่จะเกิดผลเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น การคิดค้นสินค้าตัวใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าผลไม้เขตร้อนที่ไทยมีจุดแข็งและผู้บริโภคยุโรปนิยม อาทิ นำผลไม้มาทำแยมหรือน้ำผลไม้เขตร้อน โดยอาศัยผู้กระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เชี่ยวชาญช่วยในการเจาะตลาดยุโรป เชื่อว่าอนาคตสดใสของผักผลไม้ไทยคงไม่ไกลเกินเอื้อมเป็นแน่ ผู้อ่านท่านใดไม่อยากตกกระแสเศรษฐกิจ การค้าของสหภาพยุโรป สามารถติดตามข่าวสารเตือนภัยที่น่าสนใจของสหภาพยุโรปได้ที่เว็บไซต์ thaieurope.net




http://www.thaiembassy.de/th/component/content/article/239-alias
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 6:19 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผักไทยไปยุโรป : จะให้รุ่งทำอย่างไร


นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงทุกวันนี้ ผู้ส่งออกผักไทยไปตลาด อียู ต่างประสบปัญหาเดียวกันในความล่าช้าที่ด่านตรวจของประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะหากตู้สินค้ามีผักในกลุ่มมะเขือ กะหล่ำ และถั่วฝักยาว

ความล่าช้า เกิดจากมาตรการตรวจเข้มที่ฝ่ายอียูประกาศ จากวิธีการปกติที่สุ่มตรวจประมาณร้อยละ 10 แต่เมื่อสุ่มตรวจแล้วพบสารฆ่าแมลงตกค้างในผักทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นมากๆ เข้า จึงจำเป็นต้องประกาศเพิ่มความเข้มเป็นระดับร้อยละ 50

ในเร็วๆ นี้ อียู จะพิจารณาผลการสุ่มตรวจร้อยละ 50 ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา หากผลยังไม่ดีขึ้น ฝ่าย อียู ก็คงขอสุ่มตรวจเข้มร้อยละ 50 ต่อไป หรืออาจเพิ่มขยายรวมไปถึงผักชนิดอื่น ที่พบสารตกค้างเพิ่มขึ้น

คำถาม คือ ปัญหาอยู่ตรงไหน ทำไมผู้ส่งออกที่มีคุณภาพ จะต้องถูกตรวจเหมือนผู้ส่งออกไม่มีคุณภาพ ทำไมไม่ให้อียูส่งคนไปตรวจที่สนามบินสุวรรณภูมิแทนที่จะต้องเสียค่าส่งไปถึงด่านยุโรปแล้วถูกปฏิเสธ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า อียู เขาไม่ได้จงใจแกล้งไทย หรือเลือกสุ่มตรวจเฉพาะไทย มาตรการสุ่มตรวจร้อยละ 10 หรือในทางปฏิบัติน้อยกว่านั้น เป็นแนวทางปฏิบัติที่ประเทศสมาชิก อียู ใช้กับทุกประเทศ รวมทั้ง พวกเดียวกันเอง หากเขาไม่ตรวจที่ด่าน ก็จะไปสุ่มตรวจถึงชั้นวางผักในซูเปอร์มาร์เก็ต

การประกาศมาตรการตรวจเข้ม ก็ไม่ใช่นึกอยากจะทำก็ทำตามอำเภอใจ ฝ่าย อียู ทำจากผลการสุ่มตรวจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ หากพิจารณาว่าในระยะหลังที่ผ่านมา ผักไทยเป็นที่นิยมในตลาดยุโรป เพราะมีร้านอาหารไทยมากขึ้น ผู้คนชอบอาหารไทย และคาดหวังรสชาติเป็นไทยมากขึ้น

เมื่อมีความต้องการมากขึ้น ผู้ส่งออกก็ไปตระเวนหาผักมาส่งมอบมากขึ้น คุณภาพที่ควรจะควบคุมก็ลดหย่อนลง เพราะตัวเงินกำไรที่เอกชนไหนๆ ก็อยากได้เหมือนกัน

พอส่งมาก โอกาสพบยาฆ่าแมลงตกค้างก็มีมากตาม นอกจากนี้ ฝ่าย อียู ยังส่งผู้เชี่ยวชาญไปสำรวจฟาร์มผัก พูดคุยกับหน่วยงานไทยทุกปี เพื่อประเมินประเทศผู้ส่งต้นทางว่ามีมาตรการเอาจริงเอาจังที่น่าพอใจมากน้อยเพียงใด

ประเทศอื่นๆ ที่ส่งผักผลไม้เข้าตลาด อียู ก็มีโอกาสเจอมาตรการตรวจเข้มอย่างถ้วนหน้า ใครสามารถเอาจริงเอาจังที่ต้นทาง พัฒนา ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์คุณภาพได้ ก็มีโอกาสหลุดจากการถูกตรวจเข้ม ผู้นำเข้า อียู เห็นว่าประเทศไหนจริงจัง เป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกที่มีประวัติดีก็จะหันไปใช้บริการสั่งผัก สั่งผลไม้เข้ามากขึ้น โอกาสที่ไทยจะเสียตลาดให้ประเทศอื่นก็จะมีมากขึ้น ถ้าเรายังเป็นอย่างเดิม

จุดนี้ จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับอนาคตผักไทยใน อียู ว่า เราจะเอาจริงในบ้านเราได้มากน้อยเพียงใด ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ดิน การดูแล การใช้ปุ๋ย วิธีใช้ยาฆ่าแมลง การเก็บเกี่ยว บรรจุหีบห่อ ฯลฯ

ภาคเอกชนผู้นำเข้าฝรั่งอียู ได้สร้างมาตรฐานของตนเพิ่มเติมจากภาครัฐ เช่น Global GAP หรือ Good Agricultural Practice เป็นแนวคิดที่ห้างซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น Tesco, Marks & spencer ในอังกฤษ หรือ Delhaize ในเบลเยียม ตั้งเพื่อมุ่งรับรองคุณภาพการเพาะปลูกสินค้าเกษตรเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจ

เกษตรกรไทย ผู้ส่งออกที่ต้องไปขายสินค้าผักผลไม้ไปยังร้านค้าปลีกที่มีระดับในยุโรป ก็ต้องเสียเงินสมัครและขวนขวายสอบให้ผ่านมาตรฐานแล้วเข้มงวดกับฟาร์มที่ส่งมอบผัก ซึ่งเป็นเรื่องดี นอกจากในยุโรปแล้ว ก็ยังมีหลายประเทศกำหนด GAP ของตน เช่น ญี่ปุ่น (JGAP) จีน (ChinaGAP) และชิลี (ChileGAP) แม้แต่ไทยก็มี ThaiGAP แล้วที่พยายามล้อกับ GlobalGAP

GlobalGAP ของเอกชนยุโรปมิใช่ระเบียบของทางการสหภาพยุโรป สินค้าที่ได้ GlobalGAP ก็ยังต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบที่ด่านนำเข้า โดยทางการของประเทศสมาชิก อียู เป็นปกติ แน่นอนผู้ที่มีประวัติดี มีมาตรฐาน Global GAP เจ้าหน้าที่ด่านในทางปฏิบัติก็คงไม่สุ่มตรวจให้เสียเวลา

คำถามยอดฮิตของเอกชนไทย ที่ได้ Global GAP คือ ทำไมทางการไม่เจรจาให้กรมวิชาการเกษตรมีอำนาจในการตรวจสอบวิเคราะห์ และออกใบอนุญาตให้การรับรอง หรือที่เรียกกันในภาษาผู้อยู่ในวงการว่า "ใบเซอร์" ต่อผู้ส่งออก โดยไม่ต้องตรวจซ้ำที่ด่านของประเทศสมาชิกอียู

คำตอบ คือ ฝ่าย อียู เขาให้อำนาจการออกใบรับรองกับกรมวิชาการเกษตรมาแล้ว และกรมวิชาการเกษตร ก็มีการจัดอันดับบริษัทผู้ส่งออกที่มีประวัติดีด้วยการแทบจะให้เกียรติออกใบ "ใบเซอร์" ให้บริษัทที่มีมาตรฐานทันทีอยู่แล้ว ไม่ต้องสุ่มตรวจในห้องแล็บ เพราะเชื่อถือในวิธีการปฏิบัติและคุณภาพ

ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมไม่เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ อียู ไปตรวจที่สนามบินสุวรรณภูมิ จะได้ไม่เสียค่าขนส่งมาโยนทิ้งที่ด่านในยุโรป คำตอบคือ ฝ่าย อียู เขาให้เกียรติเราสูงสุดแล้วว่า อียู ยอมรับสินค้าไทยที่มี "ใบเซอร์" จากกรมวิชาการเกษตร เสมือนหนึ่งว่าฝ่ายเขาได้ไปตรวจถึงที่ประเทศไทยแล้ว ลองคิดว่าเราอยากเชิญชาติอื่นมาตรวจแทนศุลกากร หรือ ตม. ไทยหรือ

ถึงแม้ อียู ได้ให้ความไว้วางใจใน "ใบเซอร์" ของกรมวิชาการเกษตรแล้ว การสุ่มตรวจที่ด่านก็ยังทำตามปกติตามหน้าที่เหมือนเจ้าหน้าที่ศุลกากรตามสนามบินที่ยังคงสุ่มตรวจเฉพาะกระเป๋าบางใบ แต่เมื่อพบมากขึ้น ฝ่าย อียู ก็จำเป็นต้องเข้มงวดมากขึ้นเป็นธรรมดา

ฝ่ายไทยจึงควรหันมาดูระบบ/มาตรการประกันคุณภาพและความปลอดภัยทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที ภาครัฐต้องระดมให้ความรู้ การศึกษาเกษตรกร โดยเฉพาะฟาร์มเล็ก ฟาร์มน้อย ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ การควบคุมยาฆ่าแมลง การลงโทษอย่างจริงจังกับบริษัทที่เห็นแก่ได้ที่จัดส่งสินค้าไม่ได้มาตรฐานซ้ำซาก

เอกชนไทยต้องเลิกคิดแต่กำไรเฉพาะหน้า ต้องมีธรรมาภิบาลพอที่จะไม่ส่งมอบผักที่ไม่แน่ใจคุณภาพ ต้องพร้อมให้ความรู้และราคาตอบแทนพืชผักชาวบ้าน ชาวสวน ชาวไร่ ที่เป็นธรรม มิใช่ซื้อกดราคา แล้วไปฟันกำไรเป็นสิบเท่ากับผู้สั่งซื้อในยุโรป

มีบริษัทเอกชนของเนเธอร์แลนด์ คือ "Dena Asia BV" ซึ่งเป็นผู้นำเข้าผักผลไม้รายใหญ่ใน อียู จากไทยที่ให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพ ดูแล ตอบแทน เกษตรกรไทยที่ปลูกขายส่งให้อย่างดีตามคำแนะนำ และค่าตอบแทน ผลลัพธ์คือบริษัทนี้ไม่เคยถูกตรวจ กัก หรือพบว่ามีสารเคมีตกค้าง

ไทยจะยอมเสียตลาดที่มีกำลังซื้อ ความต้องการสูงให้คู่แข่งจากแอฟริกา ซึ่งได้เปรียบอยู่แล้วในเรื่องภาษีศุลกากรหรือ


หมายเหตุ : สนใจรายละเอียดกฎระเบียบ อียู หรือภูมิหลังเรื่อง Global GAP,EuropGAP ฯลฯ โปรดหาอ่านได้ที่ www.thaieurope.net



http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2010q3/2010July05p7.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/06/2011 9:57 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 6:27 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ครัวไทยรับมือผักขาดตลาด อียู. หวั่นต้องซื้อเวียดนาม-กัมพูชา


ร้านอาหารไทยทั่วยุโรปเตรียมรับมือ "พืชผักไทยขาดตลาด อียู" เลิกเมนูยอดฮิตและหันนำเข้าผักชาติอื่น หวั่นไทยเสียส่วนแบ่งเวียดนาม เขมร เนเธอร์แลนด์ อเมริกาใต้

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ทางกลุ่มสหภาพยุโรปได้เปลี่ยนมาตรการห้ามนำเข้าพืชผักไทย 5 กลุ่ม 16 ชนิด หันไปใช้มาตรการตรวจเข้ม 100 ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงขั้นตอนการส่งออกแทนมาตรการระงับการส่งออก หรือแบนตัวเองตามกรมวิชาการเกษตรเคยเสนอไว้ก่อนหน้านี้

ระหว่างที่ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางไปร่วมประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม 2011 ณ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ได้หารือนอกรอบพร้อมพบปะ ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยใน สวิตเซอร์แลนด์และเยอรมนี เพื่อสอบ ถามถึงผลกระทบจากส่งออกผักไทยเข้า ยุโรป 16 ชนิด เอกชนให้คำตอบตรงกันว่า ปัจจุบันปัญหาขาดแคลนผักชนิดดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้น แต่ในอนาคตยังไม่มีความแน่นอนว่าจะขาดตลาดเมื่อไรก็ได้ จึงเตรียมวิธีแก้ไขหลักไว้ 2 แนวทาง

- ปรับสูตรอาหารใหม่ และ
- นำเข้าจากประเทศอื่น


นางสุมาลี จันทรบำรุง เจ้าของร้านอาหารบางกอก แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี กล่าวว่า ต้องซื้อผักไทยผ่านร้านซึ่งมีเจ้าของเป็นเอเชียในเมืองนี้ 4-5 ร้าน ระหว่างนี้ก็เตรียมตั้งรับสถานการณ์ หากโดนแบนจริง ทางออกขั้นต้นคือ ทางร้านต้องดัดแปลงสูตรอาหารประยุกต์ใช้ผักอื่นแทน หรือเลิกขายเมนูเหล่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะ เมนูผัดกะเพราต่างชาติรับประทานมาก หากใช้ผักอื่นแทนก็จะได้รสชาติและกลิ่นไม่เหมือนดั้งเดิม แต่ถ้าอยากคงเมนูเดิมไว้ก็ต้องซื้อผักจากแหล่งอื่น หรืออาจนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์

เช่นเดียวกับร้านเกาะสมุยต้องสั่งจาก เนเธอร์แลนด์บ้าง เช่น โหระพา เหมือนกันแต่กลิ่นต่างจากของไทยแท้ ๆ รวมไปถึงร้านสยามสแควร์ เมืองซูริก สวิตเซอร์แลนด์ บอกว่าพร้อมจะปลูกผักไทยบางชนิดเองหากถูกห้ามนำเข้า

รายงานข่าวจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องวงการผักไทยในยุโรปยืนยันว่า ขณะนี้ผักส่วนใหญ่ที่มีปัญหามาจากร้านของชาวเอเชีย เนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอ หากไทยไม่เร่งแก้ปัญหานี้มี โอกาสสูญเสียตลาดให้กับประเทศอื่นอย่างเวียดนาม กัมพูชา หรือเนเธอร์แลนด์ ที่สามารถทำกรีนเฮาส์ ปลูกพืชผักเมืองร้อนได้หลายชนิด อาทิ โหระพา คะน้า และอเมริกาใต้ ที่มีภูมิอากาศคล้ายเมืองไทย




http://www.biothai.net/news/7304


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 8:22 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 6:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทสโก้รับ ออเดอร์ผัก-ผลไม้ไทย กระจายทั่วโลก 1.56 พันล้าน ปีนี้

นายโจนาธาน ซัตตัน ผู้จัดการแผนกแคธิกอรี่ เทคนิคอล (Category Technical)

เทสโก้ - ประเทศไทย และมาเลเซีย เปิดเผยว่า ขณะนี้เทสโก้ โลตัส ประเทศไทย มียอดการสั่งซื้อผัก ผลไม้สด เพื่อกระจายสู่เครือข่ายร้านค้าปลีกเทสโก้ ทั่วโลก เป็นมูลค่า 1,560 ล้านบาท โดยผลผลิตยอดนิยมที่จะส่งออกในฤดูกาลนี้ ประกอบด้วย มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย ลองกอง พริก ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง ผักปลอดสารเคมีชนิดต่าง ๆ และกล้วยไม้ เป็นต้น ซึ่งจะเริ่มทยอยส่งออกสินค้าในเร็วๆ นี้

ปัจจุบันเกษตรกรรายย่อยกว่า 6,000 ราย ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนสากลของเทสโก้แล้ว ซึ่งจะได้ประโยชน์ในการพัฒนามาตรฐานสินค้าสากลร่วมกัน ซึ่งได้นำมาตรฐานการปฏิบัติทางเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) เข้ามาใช้เป็นพื้นฐานเพื่อให้ได้ มาตรฐาน “Global GAP” คือ มาตรฐานขั้นต่ำสุดที่ผู้ส่งผลิตผลทางการเกษตรให้กับกลุ่มเทสโก้ทั่วโลกจะต้องปฏิบัติ นับเป็นการลงทุนรองรับการเติบโตในอนาคตทั้งทำให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนลงได้ด้วย ยกตัวอย่าง กลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกมังคุด จ.จันทบุรี ได้พัฒนาผลผลิตจนเป็นที่ยอมรับของซัพพลายเชนใหญ่ในยุโรป สร้างการเติบโตทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี

"มังคุดของไทยกำลังเป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศอังกฤษ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มียอดขายนับพันล้านเหรียญ แค่เป็นเกษตรกรที่เป็นเจ้าของพื้นที่เล็ก ๆ ก็พอ" นายซัตตันกล่าว

ขณะนี้ซัพพลายเชนสากลของเทสโก้ จัดป้อนสินค้าให้กับสาขาของบริษัทกว่า 3,500 แห่ง ใน 13 ประเทศทั่วโลก ให้บริการลูกค้ากว่า 120 ล้านคนต่อเดือน และยังมีเป้าหมายที่จะขยายออกไปในตลาดสำคัญอื่น ๆ ในปีที่ผ่านมาเทสโก้ โลตัส มีการส่งออกสินค้าไทยไปยังกลุ่มเทสโก้ทั่วโลก มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท



http://www.bangkokbiznews.com/2008/02/22/news_25786414.php?news_id=25786414


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 8:25 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 7:45 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การเพาะปลูกผักเกษตรอินทรีย์สมบูรณ์ เพื่อการส่งออกตลาดโลกของประเทศไทย


ประเทศไทยส่งออกผักสู่ตลาดโลก (World Market) ได้ปีละ 0.2 ล้านเมตริกตัน
คิดเป็นมูลค่า 6,300-8,000 ล้านบาท ในปัจจุบันด้วยวิทยาการและความรู้ในการเพาะปลูกผักเกษตรอินทรีย์ สร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตระดับประเทศ จากการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่ดิน แหล่งน้ำ บุคลากรทั้งระดับเกษตรกรและนักวิชาการ พันธุ์ผัก มีระบบควบคุมและป้องกันการปนเปื้อนตลอดขั้นตอนการผลิต และตรงตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทำให้ประเทศไทยสามารถผลักดันให้มีการส่งออกผักไปสู่ตลาดโลกเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรุ๊ฟอิท 399/1-9 ถนนท่าเรือ-ท่าลาน ตำบลจำปา อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13130 หมายเลขโทรศัพท์ 035-341-580

ภาควิชาเกษตรวิธาน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2561-3482



แหล่งที่มา:
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. 2554. "การเพาะปลูกผักเกษตรอินทรีย์สมบูรณ์ เพื่อการส่งออกตลาดโลกของประเทศไทย". องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2552-2553.

http://www.nia.or.th/organic/books/14_1.pdf.

(สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2554).



http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/4933-organic-eco-vegetables


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 8:27 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 7:52 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ศักยภาพการผลิตผักอินทรีย์และแนวทางการสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างภาคการผลิต และการตลาดผักอินทรีย์อย่างครบวงจร


จากความต้องการผักอินทรีย์ของผู้บริโภคซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในและต่างประเทศ แต่การผลิตผักอินทรีย์ของประเทศไทยพบว่ายังขยายตัวไม่ทันความต้องการดังกล่าว ทั้งประเด็นชนิดผัก ปริมาณผลผลิต และคุณภาพของผลผลิต ตลอดจนความต่อเนื่องในการส่งมอบผลผลิต ดังนั้น นายสถาพร ซ้อนสุข นักวิจัยอิสระและหัวหน้าโครงการเกษตรเพื่อสุขภาพเทคโนธานี มหาวิทยาลัยสุรนารี จึงได้ดำเนินการศึกษาศักยภาพการผลิตผักอินทรีย์และแนวทางการสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างภาคการผลิต และการตลาดผักอินทรีย์อย่างครบวงจร

จากการศึกษาพบว่าผู้ปลูกผักอินทรีย์สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

การผลิตผักอินทรีย์แบบเศรษฐกิจพอเพียง

การผลิตแบบใช้การตลาดเป็นปัจจัยนำโดยผู้ปลูกผักอินทรีย์มีพื้นที่การผลิตตั้งแต่ 1 งาน - 50 ไร่ สามารถผลิตผักอินทรีย์เพื่อการค้าได้ จำนวน 50 ชนิด

ขณะที่การจัดการโรค วิธีที่นิยมมากที่สุด คือ การปลูกพืชสลับ

ส่วนการจัดการแมลง วิธีที่นิยมมากที่สุด คือ การใช้น้ำหมัก
ส่วนการจัดการวัชพืช วิธีที่นิยมมากที่สุด คือ การใช้แรงงานคน


ขณะที่การขนส่งผลผลิตสู่ตลาด ส่วนใหญ่ผู้ปลูกผักจะเป็นผู้ขนส่งผลผลิตด้วยตนเอง โดยช่องทางการตลาด เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงพยาบาล โรงเรียน สถานบริการด้านสุขภาพ รวมถึงการส่งตรงถึงบ้านจากการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ การสร้างตลาดเฉพาะของตนเอง เช่น ตลาดนัดในท้องถิ่น การจำหน่ายโดยตรงในฟาร์ม แต่ผู้ปลูกผักส่วนใหญ่สนใจที่จะขยายตลาดในท้องถิ่นและในประเทศมากกว่าการส่งออก


แหล่งที่มา:
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. 2554. "การศึกษาศักยภาพการผลิตผักอินทรีย์และแนวทางการสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างภาคการผลิต และการตลาดผักอินทรีย์อย่างครบวงจร". องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ. 2552-2553.

http://www.nia.or.th/organic/books/14_1.pdf.
(สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2554).



http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/4813-organic-vegetable-production-marketing


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 8:29 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 7:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การขยายตลาดส่งออก พืชผักอินทรีย์ ในประเทศญี่ปุ่น

ปัจจุบันญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการบริโภคพืชผักที่มีความปลอดภัยต่อร่างกาย และคุณภาพสูงในการบำรุงเลี้ยงร่างกายอย่างมาก ทำให้ความต้องการพืชผักอินทรีย์และพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษหรือ สิ่งเจือปนต่างๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายมีแนวโน้มสูงขึ้น

พื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีประมาณ 12,500 เอเคอร์ (31,250 ไร่ ) ให้ผลผลิตพืชผักอินทรีย์ ประมาณร้อยละ 1 ของผลผลิตพืชผักในประเทศทั้งหมด ราคาพืชผักอินทรีย์จะมีราคาสูงกว่าพืชผักทั่วไป ประมาณร้อยละ 20–30

ความต้องการอาหารอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่น มีปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี พ . ศ .2546 มูลค่าสินค้าอาหารอินทรีย์ในประเทศญี่ปุนอยู่ในราว 350–450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะมีสูงขึ้นไปอีกในอนาคต อย่างไรก็ดีผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น มีรสนิยมในการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพสูง รวมถึงความปลอดภัยของอาหารในการบริโภค เป็นสำคัญ

ญี่ปุ่นนำเข้าผักต่างๆ จากประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ สหรัฐฯ เกาหลี นิวซีแลนด์ และไทยอยู่ในอันดับที่ 5 มูลค่าการส่งออกผักไปประเทศญี่ปุ่นในปี 2545 คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 13,754 ล้านเยน (5,089 ล้านบาท ) มีส่วนแบ่งการตลาด ร้อยละ 4.1 พืชผัก ที่ไทยส่งไปประเทศญี่ปุ่นที่สำคัญได้แก่ หัวหอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง และถั่วต่างๆ ข้อมูลการนำเข้าและส่งออกผักของญี่ปุ่นมิได้มีการแยกส่วนที่เป็นผักอินทรีย์ออกมา ตัวเลขที่แสดงจึงเป็นตัวเลขรวมของการนำเข้าและส่งออกผักทั้งหมด

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติของญี่ปุ่น คือ มาตรฐาน JAS ที่กำหนดขึ้นตามมาตรฐาน CODEX ผลผลิตและผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรอินทรีย์ที่จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น จะต้องมีตรารับรองของ JAS เพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นๆได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก JAS แล้ว การจำหน่ายสินค้าที่ระบุว่าเป็นสินค้าอินทรีย์ โดยไม่มีการผ่านการรับรองจาก JAS ถือเป็นการละเมิดกฎระเบียบมาตรฐานอินทรีย์ของ JAS

การตลาดสินค้าพืชผักอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่นจะมีลักษณะของตลาดปิด ผู้ที่จะเข้าไปถึงตลาดญี่ปุ่นได้ต้องมีความสามารถในการติดต่อกับตลาดและการจัดการตลาดเป็นอย่างดี เนื่องจากนิสัยในการบริโภคของชาวญี่ปุ่นจะยึดติดและเชื่อถือในตราของสินค้าที่มีคุณภาพ นอกจากนี้กฎระเบียบในเรื่องสุขอนามัย มีความเข้มงวดมากดังนั้นการส่งสินค้าพืชผักไปยังประเทศญี่ปุ่น จึงชอบที่จะมีรูปแบบของการติดต่อแบบ “ Trust contract “ เชื่อถือในการทำสัญญากับองค์กรที่ได้จดทะเบียนรับรองกับหน่วยที่ได้รับรองแล้วในประเทศญี่ปุ่น

ผู้ส่งออกพืชผักอินทรีย์ไปยังตลาดญี่ปุ่นจะต้องตระหนักถึงข้อจำกัดต่างๆ เช่น ราคา จะต้องไม่สูงเกินกว่าร้อยละ 30 ของราคาพืชผักทั่วไป ด้านคุณภาพจะต้องมีคุณภาพเทียบเท่าพืชผักอื่นๆ ที่ชาวญี่ปุ่นบริโภคอยู่ รวมถึงระบบควบคุมปลอดภัยของอาหารที่สามารถสอบกลับได้ ถ้ามีข้อสงสัย ในความปลอดภัยและความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้น



http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=58&filename=index


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 8:32 am, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 8:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สาขาพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ เฟรซ แอนด์ กรีน

ของ ดร.เกษม สร้อยทอง สดๆ ส่งตรงถึงบ้าน





ชื่อเสียงของ ดร.เกษม สร้อยทอง ในแวดวงเกษตร โดยเฉพาะเทคโนโลยีการใช้จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชนั้น เป็นที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะในและต่างประเทศ สิ่งที่ ดร.เกษมวิจัยได้นั้น เป็นจุลินทรีย์คีโตเมี่ยม สำหรับป้องกันกำจัดโรคพืช

นอกจากวิจัยในห้องปฏิบัติการ ยังมีการนำมาต่อยอด ผลิตเชิงการค้าเหมาะต่อการใช้งาน

สิ่งที่มีอยู่ เจ้าของได้นำออกเผยแพร่ในวงกว้าง ขณะเดียวกันก็นำมาเป็นพระเอกสำหรับผลิตผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

หากแนะนำอย่างเป็นทางการ รองศาสตราจารย์ ดร.เกษม สร้อยทอง สอนอยู่ที่ภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

แต่เพราะอยากจะนำวิชาการที่มีอยู่ออกเผยแพร่ ดร.เกษมจึงหาแปลงปลูกพืช ในรูปของสวนสาธิต ส่งผักถึงบ้าน รู้จักกันดีในนาม เฟรซ แอนด์ กรีน



มีพัฒนาการยาวนาน
ดร.เกษมบอกว่า ตนเองทำแปลงสาธิตเชิงธุรกิจ ปลูกพืชปลอดสารพิษครั้งแรกเมื่อปี 2540 ในพื้นที่ 60 ไร่ ที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก แต่เพราะประสบปัญหาเรื่องการจัดการบุคลากร และเรื่องการตลาด งานผลิตผักที่ตากจึงไม่ประสบความสำเร็จ

ต่อมา ดร.เกษม ย้ายลงมาผลิตในที่ลุ่มภาคกลาง เริ่มจากผลิตส้มเขียวหวานปลอดสารพิษ พบปัญหาคล้ายๆ กัน สุดท้ายจึงเน้นผลิตผักในพื้นที่ 60 ไร่ ที่ใกล้ๆ วัดสร้างบุญ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

ดร.เกษมบอกว่า การทำงานของตนเองนั้น อยากพิสูจน์ให้เกษตรกรเห็นจริง ว่าเกษตรอินทรีย์นั้นทำได้ พร้อมทั้งหากมีโอกาสก็ให้มาเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงประสบผลสำเร็จ ในช่วงของการปรับเปลี่ยนจากยุคเกษตรเคมี สู่ยุคเกษตรอินทรีย์

ที่ผ่านมา มีอยู่ไม่น้อยที่ไม่เข้าใจความหมายคำว่า เกษตรชีวภาพ เกษตรปลอดภัยจากสารพิษ พืชผักอนามัย รวมทั้งเกษตรอินทรีย์

ประสบการณ์ที่ผ่านมา แนวทางการผลิตผักอินทรีย์ของ ดร.เกษม มีผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ปัจจัยการผลิตในแนวอินทรีย์ ดังนั้น จึงมีผู้สนใจอุดหนุนผลผลิต รวมทั้งเข้าไปศึกษาดูงานไม่น้อย

"กรมปลูกฝัง กระทรวงเกษตรฯ จากลาวมาฝึกงาน รุ่นแรกจบแล้ว รุ่นที่ 2 ส่งมาอีก กำลังฝึกอยู่ มีนาคม นักศึกษาจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว 10 คน มาฝึกงาน 4 เดือน อาจารย์และเจ้าหน้าที่จากฟิลิปปินส์ส่งเจ้าหน้าที่มาฝึกอีก 4 เดือน ผมสอนอยู่ลาดกระบังสบายพอสมควร แต่ที่ไปทำตั้งใจเป็นวิทยาทาน ไม่หวังร่ำรวย อยากให้คนไทยเห็นเราทำได้จริงๆ ไม่ได้หลอกชาวบ้าน เราไม่ได้แอบใช้สารเคมี เราทำได้จริงๆ หลายประเทศมาดูงานอย่างจีน รัสเซีย รวมทั้งเวียดนาม" ดร.เกษมพูดถึงการดูงานของผู้สนใจ

ดร.เกษมยังฝากบอกอีกว่า ผู้สนใจท่านใดอยากเข้าไปฝึกงาน เชิญได้เลย โดยฝึกให้ครบวงจรในแต่ละพืชตั้งแต่เริ่มจนเก็บเกี่ยว



ปลูกอย่างไร
แนวทางการผลิตผักอินทรีย์นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็น เพราะเทคโนโลยีที่มีอยู่ในบ้านเรามีเหลือเฟือ เพียงแต่รอการปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเท่านั้นเอง


ดร.เกษม อธิบายวิธีการผลิตผักอินทรีย์ ดังต่อไปนี้
"พืชอินทรีย์ที่ปลูกแรกๆ เราปลูกโดยไม่ต้องกางมุ้งไม่ต้องทำอะไร โดยใช้เทคโนโลยีของเราและของกรมวิชาการเกษตรเข้าไปผสมผสาน คุณภาพเราเท่าๆ เคมี แรกๆ พืชผักผมก็ปลูกมั่วๆ ไป สำเร็จหมด ถั่วฝักยาวผมก็ยาว ปรากฏว่าผมขายของราคาถูก ถั่วฝักยาว กิโลกรัมละ 3 บาท แล้งจัดๆ ปรากฏว่าตลาดสด 60 บาท หมดเลย เขายังซื้อ 3 บาท ไปซื้อเกษตรกรทั่วไปก็ 3 บาท วันหนึ่งของผมมีเป็น 100 กิโลกรัม ผมมานั่งคิดผมขาดทุนแน่ ผมเลยปรับระบบการตลาดเอง"

"ก่อนจะมาปลูกพืชอินทรีย์เราปลูกพืชปลอดสารพิษก่อน ตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวเรายังใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ เพราะว่าปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษ ช่วงแรกเราหยุดปุ๋ยเคมีทันทีไม่ได้ จะไม่ประสบความสำเร็จเชิงธุรกิจ พืชผักจะไม่ได้ตามต้องการเพราะดินยังไม่ดี ดินยังเป็นกรดจัดมีอินทรียวัตถุต่ำมาก ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เราทำปลอดสารพิษก่อน นั่นหมายถึงปลูกถึงเก็บเกี่ยวเราใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ แต่ยาปราบศัตรูพืชหยุดเลย ยาฆ่าหญ้า แมลง เชื้อรา หยุดเลย พอหยุด เราเอาจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคคีโตเมี่ยม สะเดา กับดักกาวเหนียวเข้ามาแทน เราใช้เวลาประมาณ 3 ปี จากนั้นผลงานวิจัยใช้ได้มากขึ้น ดินดีขึ้น เราก็ปลูกพืชอินทรีย์ เราใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งมีจุลินทรีย์ 12 ตัว แน่นอน แต่ละตัวมีหน้าที่ทำอะไร"

"มีคนถามว่าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีได้ผลหรือ ขอเรียนว่าปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพของเรา เราใช้สารอนินทรีย์ชีวภาพด้วย ยกตัวอย่าง จะเร่งดอก เอาร็อกฟอสเฟตมาละลายน้ำ รากพืชดูดใช้ได้ ผมเพิ่มปริมาณโดยมีจุลินทรีย์ย่อยหินฟอสเฟตออกมา เป็นฟอสเฟตมีประโยชน์ พืชดูดไปใช้ได้มากขึ้น เราไม่ใช้ปุ๋ยเคมีทุกชนิด 2 ปีแล้ว ผลผลิตเราไม่แพ้เคมี"

คีโตเมี่ยมตัวอย่างสารป้องกันกำจัดโรคพืช
คีโตเมี่ยม ที่ ดร.เกษมใช้เวลาวิจัยมายาวนาน ถือได้ว่าเป็นชีวภัณฑ์ที่ใช้ผลิตพืชผักอินทรีย์

ดร.เกษม มีคีโตเมี่ยม 2 สายพันธุ์ ด้วยกัน คือ คีโตเมี่ยม คิวเปรม (Chaetomium cupreum) และคีโตเมี่ยม โกโบซั่ม (Chaetomium globosum)

คุณสมบัติ เป็นชีวผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเชื้อรา คีโตเมี่ยม คิวเปรม 10 สายพันธุ์ และคีโตเมี่ยม โกโบซัม 12 สายพันธุ์ ที่ผ่านการค้นคว้าวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่อง จากกองทุนวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (IFS, Sweden) มีลักษณะเป็นผง ซึ่งมีอายุการเก็บรักษามากกว่า 5 ปี อุณหภูมิห้องปกติ

มีคุณสมบัติ ดังนี้ :-
1. สามารถสร้างสารปฏิชีวนะออกมาฆ่าเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชต่างๆ ได้

2. เจริญเข้าพันรัดเส้นใยของเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคได้

3. สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีอินทรียวัตถุ (ปุ๋ยอินทรีย์) ซึ่งจะเจริญได้ดีกว่าเชื้อสาเหตุโรค มีผลให้ลดปริมาณเชื้อที่จะก่อเกิดโรคได้

4. สามารถสร้างสารกระตุ้นให้พืชเกิดภูมิคุ้มกันโรคได้


ด้วยคุณสมบัติ 4 ประการ ดังกล่าว จึงสามารถป้องกันและรักษาโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ประโยชน์ของคีโตเมี่ยม ใช้ป้องกันและกำจัดโรค อาทิ

- โรครากเน่าโคนเน่าของพืชตระกูลส้ม ฟัยธ็อปทอร่า พาราซิติก้า : (Phytophthora parasitica)

- โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน พริกไทย ฟัยธ็อปทอร่า พาล์มิโวรา : (Phytophthora palmivora)

- โรคแอนแทรกโนสของมะม่วง องุ่น ส้ม คอลเล็คโตรติกัม โกอิโอสปอริโอออเดส : (Collectotrichum gloeosporioides)

- โรคใบไหม้ของข้าว ไพริคุลาเรีย ออรัยเซ่ (Pyricularia oryzae)

- โรคเน่าคอดินของผัก พิเที่ยม อัลทิมัม (Pythium ultimum)

- โรคโคนเน่าของ สเคอร์โรเที่ยม รอฟซิอาย (Sclerotium rolfsii)

- โรคเหี่ยวของพืชตระกูลแตงและมะเขือเทศ ฟูซาเรี่ยม ออกซิสปอรัม : (Fusarium oxysporum)


วิธีการและอัตราการใช้
เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ประเภทจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต


วิธีการใช้ควรปฏิบัติดังนี้
1. ปรับสภาพดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพ สภาพดินที่เหมาะสมก็คือ มีค่า pH. 6.0-6.5 ฉีดพ่นคีโตเมี่ยมลงดินหรือฉีดส่วนบนของต้นพืช ตามอัตราที่กำหนด ในกรณีใส่ลงในดินเพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าให้ใช้ทุก 3-4 เดือน อย่างต่อเนื่อง ในกรณีฉีดพ่นบนต้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคส่วนบนต้นให้ฉีดพ่นทุก 15-20 วัน

2. ใช้คีโตเมี่ยม ชนิดผงละลายน้ำในอัตรา 10-20 กรัม ร่วมกับอาหารเสริมฮิวมัสชีวภาพในอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และในกรณีใช้รักษาโรค ในอัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 3 ครั้ง ทุกระยะ 7 วัน ติดต่อกัน หลังจากนั้นสามารถเว้นระยะการฉีดพ่นเป็นเวลา 15-30 วัน ครั้งหนึ่ง

ในกรณีที่ต้องการรักษาอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากมีโรคกำลังระบาดมากให้ผสมกับสารสกัดคีโตเมี่ยมรักษาโรค ในอัตรา 30-50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร



สร้างตลาดอย่างไร
ดร.เกษม พูดถึงการตลาดว่า ตนกำหนดราคาเอง ปลูกเมื่อมีออเดอร์ โดยเปิดหาสมาชิก

"เราส่งเขา 1,200 บาท ต่อเดือน เขาเลือกผักได้ 10 กว่าชนิด อยากทานอะไร ส่งให้ครั้งหนึ่งประมาณ 5 กิโลกรัม ผู้บริโภคอยู่ตามหมู่บ้าน การตลาดอันที่สองผมมีพ่อค้าคนกลาง เขามารับซื้อผักอินทรีย์เรา เขาเอาไปแพ็กส่งตามห้าง เขารู้ว่าเป็นผักอินทรีย์ ผมไปอธิบายให้เขาฟังถึงสวน เขาไปดู เขาจะออเดอร์ ผมบอกผมจะไม่ปลูกถ้าคุณไม่สั่ง เขาสั่งถั่วฝักยาวอาทิตย์ละ 20 โล คะน้า 20 โล ผักบุ้ง 20 โล อะไรอย่างนี้ จะบอกเขา ถ้าอยากได้ผักบุ้งผมมีระยะเวลาปลูกของผม 15 วัน ต้องออเดอร์ล่วงหน้า ต้องกิโลละ 20 บาท ถั่วฝักยาวต้อง 25 ผมจึงจะปลูก ก็ตกลงกันออกมา ก็ โอ.เค.เขามารับส่งห้างเลย เขาอยู่ได้ เรามี 2 ลักษณะ แต่เราสามารถกำหนดราคาเอง"


ดร.เกษม พูดถึงการตลาดและบอกอีกว่า
"ส่งตามบ้านมีจำนวนหนึ่ง จะสั่งซื้อเรากำหนดว่าต้องอยู่ในกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล จุดที่สั่งซื้อต้องรวมกลุ่มอย่างน้อย 10 ราย ไม่อย่างนั้นไม่คุ้มค่าน้ำมันรถ 1,200 บาท รวมค่าขนส่งด้วย บางรายที่ไปส่งบอกว่าอาจารย์ 1,200 บาท มันน้อยไป ขาดทุนแน่นอน ขับรถไปกลับหมดค่าน้ำมัน 300 แล้วต่อเที่ยว สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 5-7 กิโลกรัม ต่อสมาชิก 1 ราย ส่ง 4 ครั้ง ตกครั้งละ 300 บาท มีผักให้เลือกรวมแล้ว 40 อย่าง ผู้จัดการจบปริญญาตรีทำงานอยู่ คนกลางไปเอาผักเอง มีนักธุรกิจหนุ่ม สร้างตลาดมาร์เก็ตสแควร์ จะเปิดตลาดอินทรีย์แห่งแรกของไทย แถบทวีวัฒนา เขาจะรับผลผลิตไปขาย"

ผักที่ผู้ค้าคนกลางมารับไป มีขายตามห้างสรรพสินค้า อาทิ ซีคอน สแควร์ วิลล่ามาร์เก็ต และที่อื่นๆ

ผักที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง มีคะน้าต้น ยอดคะน้า ต้นหอม ถั่วฝักยาว กะเพรา โหระพา ใบแมงลัก ผักกาดหอม ตะไคร้ ผักหวาน ชะอม สะระแหน่ มะเขือเทศ แตงกวา ผักกาดหัว ผักกาดขาว ผักบุ้ง ฟักทอง ขึ้นฉ่าย ขิง ข่า พริกขี้หนู ตำลึง กวางตุ้ง ผักชี ยอดฟักทอง มะเขือยาว และอื่นๆ


ส่วนเรื่องราวของผักอินทรีย์ คลิกไปได้ที่ www.freshandgreen.com เว็บนี้จะมีเรื่องราวของการผลิตพืชผักอินทรีย์ ปัจจัยการผลิต รวมทั้งใครต้องการออเดอร์ผัก ก็สั่งผ่านได้





ผลงานวิจัยที่ใช้หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน เยี่ยงเกษตรกร ของ ดร.เกษม สร้อยทอง

ดร.เกษม สร้อยทอง นักวิจัยจุลินทรีย์เพื่อการเกษตร ที่บุกเบิกงานด้านนี้มากว่า 17 ปี อย่างต่อเนื่อง วันนี้ก็ยังจับจอบ ขุดดิน ปลูกพืชผักอยู่ และได้พิสูจน์ว่าสามารถปลูกพืชปลอดสารพิษ และพืชอินทรีย์เชิงธุรกิจได้จริง หากหลายฝ่ายหันหน้ามาช่วยกัน

ดร.เกษม ค้นพบและประดิษฐ์จุลินทรีย์คีโตเมี่ยมป้องกันกำจัดโรคพืช ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (patent) จุลินทรีย์ เป็นรายแรกของประเทศไทย จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งได้นำไปประยุกต์ใช้ได้จริงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศจีนเป็นปุ๋ยชีวภาพ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาเชื้อป้องกันกำจัดโรคพืช ในประเทศเวียดนามและประเทศไทย เป็นผลงานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จนำไปใช้ทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ผลงานวิจัยนี้มีการนำไปใช้ในการผลิตพืชปลอดภัยสารพิษ (good agricultural practice, GAP) ใช้ผลิตพืชปลอดสารพิษ (pesticide-free production) และผลิตพืชอินทรีย์ (Organic Crops) นอกจากนี้ ยังได้รับใบรับรองการขึ้นทะเบียนปัจจัยการผลิต จากสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM=Intemational Federation of Organic Agriculture Movements) ประเทศอิตาลี 2548 จากผลงานวิจัยทางด้านชีวผลิตภัณฑ์ (biological products) ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ได้แก่ คีโตเมี่ยมป้องกันกำจัดโรคพืช ปุ๋ยชีวภาพ (biofertilizer) ฮิวมัสชีวภาพ (biological humus) และสารสกัดจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช (microbial extract for disease control) เป็นต้น ทำงานวิจัยในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและได้รับเชิญให้นำผลงานวิจัยไปทดลองใช้และเผยแพร่ในต่างประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน รัสเซีย เวียดนาม ลาว พม่า เนเธอร์แลนด์ สวีเดน อาร์เจนตินา คอสตาริกา แอฟริกาใต้ จอร์เจีย อิหร่าน ออสเตรเลีย เบลเยียม บังกลาเทศ และบราซิล

เป็นนักวิจัยที่บุกเบิกงานวิจัยการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย เป็นเวลากว่า 17 ปี จนผลงานวิจัยได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยได้รับเชิญให้นำผลงานวิจัยไปใช้จริงในประเทศสาธารณรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเวียดนาม มากว่า 6 ปี จนถึงปัจจุบัน เป็นนักวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก International Foundation for Science (IFS) ประเทศสวีเดน ตั้งแต่ ปี 2541 ถึงปัจจุบัน เป็น Scientific Advisor ของ International Foundation for Science (IFS) ประเทศสวีเดน ทำหน้าที่ประเมินโครงการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากทั่วโลก ได้รับเชิญไปสอนและวิจัยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบันกว่า 6 ปี ที่ประเทศรัสเซีย จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ลาว และประเทศอื่นๆ ได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมราวิทยาแห่งประเทศไทย

ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ปี 2534 รับรางวัลผลงานวิจัย จากงานประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2538 ได้รับรางวัลการประดิษฐ์คิดค้น เรื่องคีโตเมี่ยมควบคุมโรคพืช จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ ปี 2539 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี 2540 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สภาพวิจัยแห่งชาติ รางวัลปี 2537 ได้รับรางวัลเกียรติคุณงานวิจัยดีเด่น จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ แห่งลอสบันยอส ประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2541 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากกองทุนวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (IFS) ประเทศสวีเดน เป็นต้น



พานิชย์ ยศปัญญา

ที่มา เทคโนโลยีชาวบ้าน


http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/article/new168.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 4:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 9:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ปี '54 เกษตรอินทรีย์ไทยมาแรง ตั้งศูนย์กสิกรรมฯปลูกพืชเศรษฐกิจ 100 ชุมชน


พื้นที่เพาะปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งภาครัฐโดย "สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์" ส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้ง "ศูนย์อนุรักษ์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม" เป็นศูนย์ขยายเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่4 อำเภอ ได้แก่ ไทรโยค ทองผาภูมิสังขละบุรี และศรีสวัสดิ์

ศูนย์อนุรักษ์กสิกรรมธรรมชาติฯแห่งนี้ มีสำนักงานกองทุนการลงทุนเพื่อสังคม สถาบันพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน) มหาวิทยาลัยมหิดล และอีกหลายหน่วยงาน สนับสนุนด้านความรู้ในการนำเทคโนโลยีการเกษตร ได้ประโยชน์ทางตรงการเพิ่มผลผลิตและราคาได้มากกว่าปกติ 2-3 เท่า และประโยชน์ทางอ้อมการสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ป่าต้นน้ำพื้นที่ต่อเนื่องกันกว่า 32,500 ไร่ใน 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ตากกำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานีสุพรรณบุรี

ขณะนี้ยังเป็นแหล่งคิดค้น "ฟักข้าว" พืชเศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ที่เตรียมจดลิขสิทธิ์ผลิตเป็นน้ำดื่มสุขภาพบรรจุขวดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เตรียมวางขายตามโมเดิร์นเทรดชั้นนำ ทั้งในบิ๊กซีฟาร์เมอร์ช็อป เลมอนฟาร์ม

นางพรทิวาพร ศรีวรกุลผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ได้นำที่ดินในตำบลท่ามะขามขนาด 14 ไร่จัดทำเป็นแปลงปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ผสมกันมากกว่า 20 ชนิด ร่วมกับแบ่งโซนทำระบบปศุสัตว์ เลี้ยงฟาร์มหมูบ่อปลา การผสมปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มาจากซากพืชต่าง ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ทำมานานกว่า 20 ปี


ขณะนี้มีเครือข่ายทั่วประเทศซึ่งเป็นสมาชิก 2 ศูนย์หลัก คือ ศูนย์เกษตรอินทรีย์ชุมชนกว่า 100 แห่ง ศูนย์ปราชญ์ชุมชนอีกกว่า 200 แห่ง หันมาพัฒนาการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารเคมีป้อนสู่ตลาดกลุ่มผู้บริโภคที่เห็นคุณค่าและประโยชน์ เป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นทุกวันทั้งในและต่างประเทศ

รวมทั้งนโยบายหลักของรัฐบาลไทยทุกสมัยต่างก็ชูจุดแข็งของประเทศที่พร้อมจะเป็น"คลังอาหารหรือครัวโลก"เพียงแต่ตอนนี้ยังขาดการจัดการที่ชัดเจน แต่ปราชญ์ชุมชนและเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ต้องเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่วันนี้ ยิ่งระยะหลังมานี้กลุ่มสหภาพยุโรปเข้มงวดตรวจสอบสารปนเปื้อนในผักไทยมากเท่าไร หากรัฐบาลส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพิ่มสูงขึ้น โดยให้ความสำคัญจัดสรรงบประมาณสนับสนุน และวางแผนจัดการตลาดอย่างจริงจัง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว


ส่วนศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขามได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และมีอาจารย์บัญชร ส่องแสงมาเป็นนักวิจัยท้องถิ่น ได้ร่วมกันพัฒนาจนปัจจุบันมีห้องแล็บวิจัยและทดลอง โดยยื่นจดลิขสิทธิ์ฟักข้าว พืชเกษตรที่สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำผลไม้ให้คุณค่าทางโภชนาการ สามารถต้านอนุมูลอิสระ สารก่อมะเร็งทุกวันนี้เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งเสริมให้รับประทานเนื้อฟักข้าวตั้งแต่เด็ก

อีกทั้งยังได้รับการติดต่อจากฟาร์เมอร์ช็อป เลมอนฟาร์ม ของ บมจ.บางจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี และโมเดิร์นเทรดอีกหลายแห่งนำไปวางจำหน่าย จะเริ่มภายในพฤษภาคมหรือกลางปีนี้ เบื้องต้นจะผลิตให้ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ขวดจากนั้นจะขยายเครือข่ายให้กลุ่มเกษตรกรพัฒนาตลาดการขายร่วมกัน

นายอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการสวนสามพราน โรสการ์เด้น ริเวอร์ไซด์ กล่าวว่าลงทุนกว่า 10 ล้านบาทเปิด "ตลาดสุขใจ" ริมถนนเพชรเกษม บริเวณด้านหน้าโรสการ์เด้นรีสอร์ต วางกลยุทธ์ส่งเสริมการจำหน่ายผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคต่าง ๆ ที่เป็นเกษตรอินทรีย์จากนครปฐม สระบุรี กาญจนบุรีและเครือข่ายตลาดนัดสีเขียวทั่วประเทศ

รวมถึงลงทุนนำที่ดินติดแม่น้ำท่าจีนขนาดเกือบ 30 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ร่วมกับชุมชนสวนสามพราน มีผัก ผลไม้ รวมหลายสิบชนิด ขณะนี้ขยายผลนำมาแปรรูปการผลิตเป็นสมุนไพรสปา

นางสุชาดา ยุวบูรณ์ประธานบริหารสวนสามพราน โรสการ์เด้น อธิบายเพิ่มว่า เตรียมวางแผนลงทุนปรับพื้นที่สวนไม้ดัดและสนามหญ้าภายในรีสอร์ตก่อสร้างโครงทำเป็นสวนผักไฮโดรโปนิกปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ เป็นวัตถุดิบปรุงเมนูอาหาร และบางส่วนแบ่งขาย

ให้ลูกค้าที่เข้ามาพักผ่อน ซึ่งมีทั้งนักท่องเที่ยว กลุ่มประชุมสัมมนา นักธุรกิจหลากหลายกลุ่มตลาด

สำหรับนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ในเชิงเศรษฐกิจและเชิงพาณิชย์นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันขยายผลอย่างต่อเนื่อง ส่วนศูนย์ชุมชนทั่วประเทศวางยุทธศาสตร์ใช้จุดแข็งของการมีส่วนร่วมสร้างเครือข่าย ตั้งเป้าหมายนอกเหนือจากแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีแล้ว ยังหวังสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่พึ่งพาการเมืองให้น้อยที่สุด หันมาพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงเต็มรูปแบบ สร้างวิถีชีวิตยั่งยืนอย่างแท้จริง



http://pr.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=502:54---100-&catid=41:2010-06-10-02-38-08&Itemid=59
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 11/06/2011 9:07 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ทัศนะของผู้บริโภคต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์


- ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์กับสินค้าธรรมดา แต่มีความเชื่อมั่นในสินค้าที่ติดฉลากเขียวว่ารับประทานแล้วปลอดภัย

- ซูเปอร์มาเก็ตมุ่งเป้าหมายลูกค้าเกษตรอินทรีย์ไปที่กลุ่มแม่บ้านอายุ 30-40 ปี ฐานะปานกลางขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีการศึกษาและมีบุตร แม่บ้านกลุ่มนี้จะให้ความสนใจซื้อ สินค้าเพื่อสุขภาพ

- ผู้บริโภคในญี่ปุ่นยังคงนิยมซื้อสินค้าฉลากเขียวที่ผลิตในญี่ปุ่น เนื่องจาก เชื่อใจในมาตรฐานมากกว่าสินค้านำเข้า สินค้ามีความสดมากกว่า รวมทั้งยังอนุรักษ์การผลิต สินค้าเกษตรในญี่ปุ่น และความคิดที่ว่ารับประทานของที่ผลิตในประเทศเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านราคา ความปลอดภัยของอาหาร และการสอบทานสินค้าได้ (Traceability) มากกว่าจะพิจารณาจากปัจจัยด้านรูปทรงของสินค้าที่สมบูรณ์และสีอีกต่อไป

- กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคู่แต่งงานอายุต่ำกว่า 30 ปี จะนิยมซื้ออาหารแช่แข็งและอาหารแปรรูปที่รับประทานสะดวก เช่น มันฝรั่งทอด ผักผสม (บร๊อกโคลี่และแครอท) และข้าวโพดแช่แข็ง (มันฝรั่งอินทรีย์แช่แข็งสำหรับทำเฟรนช์ฟรายส์มีสัดส่วน 40% ของตลาดผักอินทรีย์แช่แข็ง)

- อาหารนำเข้า ผู้บริโภคญี่ปุ่นจะนิยมซื้ออาหารที่นำเข้าจากออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ และสินค้าที่นำเข้า ถ้าเป็นสินค้าแช่แข็งจะไม่ถูกรมควัน

- ผู้บริโภคไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์กับสินค้าที่ติดฉลากเขียว เนื่องจากสินค้าที่ติดฉลากเขียวก็ผลิตโดยไม่ใช้สารเคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค แต่ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์สูงกว่าสินค้าที่ติดฉลากเขียว และผู้บริโภคยอมรับอัตราที่สูงกว่าเพียงระดับ 10-20% เท่านั้น ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีตราสัญลักษณ์สินค้าของตนเองจึงมีน้อยและไม่ขยายตัวมากกว่านี้


การนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น
สินค้านำเข้าที่จะติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ต้องได้รับการรับรองโดย RCOs ซึ่ง สินค้านั้นต้องติดฉลาก JAS อย่างชัดเจนพร้อมชื่อ RCOs ที่ออกใบรับรอง ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนเป็น RCOs ในญี่ปุ่น 40 ราย เป็นบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ผู้ที่รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศสามารถขึ้นทะเบียนเป็น RCOs ในญี่ปุ่นได้ ผู้ส่งออกในต่างประเทศสามารถขอมาตรฐาน JAS ได้โดย

1. ขออนุมัติสถานะของประเทศจาก MAFF โดยประเทศผู้ส่งออกต้องมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น เมื่อได้รับอนุญาตแล้วหน่วยงานตรวจสอบและออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ในประเทศผู้ส่งออกจะต้องขออนุญาตจาก MAFF ด้วย และสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกต้องติดฉลาก JAS บน หีบห่อก่อนส่งออกไปยังญี่ปุ่น

2. ประเทศผู้ส่งออกขออนุมัติมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น แต่หน่วยงานตรวจสอบในต่างประเทศไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจาก MAFF ซึ่งสามารถรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เทียบเท่ามาตรฐานแห่งชาติได้ (Organic conform to national organic standards) สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่นสามารถติดฉลากเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้ส่งออก โดยไม่ต้องติดฉลาก JAS แต่ ผู้นำเข้าญี่ปุ่นเป็นผู้ติดฉลาก JAS ก่อนวางจำหน่ายสินค้าในตลาด

3. ถ้าระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของประเทศผู้ส่งออกยังไม่ได้รับอนุญาตจาก MAFF หรือยังไม่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ผู้ส่งออกสามารถให้ RCOs ในญี่ปุ่นเป็นผู้ขออนุญาตจาก MAFF และตรวจสอบระบบการผลิตในประเทศผู้ส่งออกได้


สินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปต้องได้รับการรับรองมาตรฐานด้วยซึ่งใช้วิธีเดียวกัน วิธีการที่สะดวก คือ ขอคำแนะนำจากผู้นำเข้าและผู้กระจายสินค้าในญี่ปุ่นเกี่ยวกับการ ติดฉลาก มาตรฐานด้านสุขอนามัย โดยเฉพาะสินค้าใหม่และเครื่องหมายการค้าใหม่ ชื่อสินค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรเลือกชื่อสินค้าที่เหมาะสมกับตลาดญี่ปุ่น ข้อมูลตลาดและผลการวิจัยที่มีอยู่แล้วช่วยได้มาก ใบรับรองมาตรฐานสุขอนามัยสำหรับแต่ละสินค้าขอได้จาก ผู้นำเข้าหรือ Quarantine Division ของ MAFF เนื่องจากสินค้าที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อหรือแมลงด้วยความร้อนแล้วไม่ใช่สิ่งรับประกันว่าสินค้านั้นจะไม่ถูกรมควันซ้ำอีก ซึ่งจะทำให้ติดฉลากเกษตรอินทรีย์ไม่ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ คือ การรมควัน คุณภาพ ปริมาณ ฤดูกาลผลิต การส่งเสริมการขาย การเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ค่าขนส่งและอื่นๆ ซึ่งสูงกว่าสินค้าธรรมดา 20-30%

ข้อจำกัดในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของญี่ปุ่น คือ กำหนดมาตรฐานคุณภาพไว้สูง และต้องใช้ใบรับรองสุขอนามัย ปลอดโรคพืชและแมลง (Phytosanitary) ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าผักผลไม้สดจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การสุ่มรมควันสินค้าเกษตรอินทรีย์สด ทำให้สินค้าไม่สามารถติดฉลากเกษตรอินทรีย์ได้ ไม่จูงใจให้มีผู้ส่งออกส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น

ในการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตต้องผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ จาก RCOs ภายในหรือนอกประเทศญี่ปุ่นที่ได้ขึ้นทะเบียนต่อ MAFF โดยสามารถดำเนินการได้สองวิธี ดังนี้

1) การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกร ผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ต้องยื่นขอใบรับรองจาก RCOs ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ MAFF ภายในและนอกญี่ปุ่น จึงสามารถนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ญี่ปุ่นได้ ในกรณีนี้ถึงแม้ประเทศผู้ผลิตมีมาตรฐานเทียบเท่ากับ JAS แต่หากต้องการติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยตัวเองก่อนส่งออก ผู้ผลิตต้องดำเนินการเพื่อให้ได้ใบรับรองเพื่อประทับตราสัญลักษณ์ JAS จากหน่วยงาน RCOs ที่ตั้งอยู่ภายในหรือนอกประเทศญี่ปุ่น

2) การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้นำเข้าญี่ปุ่น จำกัดเฉพาะกรณีการนำเข้าพืชผลเกษตรอินทรีย์ และ พืชผลเกษตรอินทรีย์แปรรูป จากประเทศผู้ผลิตที่มีมาตรฐานการตรวจสอบเทียบเท่ากับระบบของ JAS เท่านั้น (รายชื่อประเทศผู้ผลิตที่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ปรากฏในเอกสาร 6) สำหรับประเภทสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่มาจากประเทศที่มีมาตรฐานเทียบเท่า JAS ก็ตาม ต้องได้ใบรับรองจาก RCOs ภายในหรือนอกญี่ปุ่นเท่านั้นจึงสามารถทำการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ญี่ปุ่นนอกจากนี้ประเทศผู้ผลิตต้องแนบเอกสารการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ออกโดยประเทศผู้ผลิต หรือ องค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานเทียบเคียงกับ JAS ของประเทศผู้ผลิตอีกด้วยประเทศที่มาตรฐานการตรวจสอบเทียบเท่ากับ JAS ได้แก่ ไอร์แลนด์ สหรัฐฯ อาร์เจนตินาออสแตรีย เนเธอร์แลนด์ กรีก สวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน สเปน เดนมาร์ก เยอรมนี ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม โปรตุเกส ลักแซมเบิร์ก และสหราชอาณาจักรวิธีการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์เข้าประเทศญี่ปุ่น มีขั้นตอน ดังนี้

กรณีที่ 1 การติดฉลาก “Organic JAS Mark” โดยผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกร


5. ปัญหาต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่น
1) การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศญี่ปุ่นมีต้นทุนที่สูงกว่าสินค้าการเกษตรทั่วไปประมาณ 1.5-4 เท่า เนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นไม่ได้นำยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรช่วยในการผลิต ทำให้ถูกแมลงรบกวนหรือทำลายผลผลิตสูง ส่งผลให้ปริมาณในการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อครั้งนั้นน้อยกว่าการปลูกพืชเกษตรปรกติ (70-80% ของทั้งหมด)

2) พื้นที่การเกษตรของญี่ปุ่นมีขนาดเล็ก และเป็นแปลงย่อยๆ ทำให้ยากต่อการควบคุมการปนเปื้อนของยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรของบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอเมริกาหรือ ยุโรปแล้วนั้นจะมีขนาดพื้นที่ เล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด

3) ต้องชำระค่า Certification ประมาณ100, 000-300,000 เยนต่อปี ให้กับองค์กรเพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการผลิตเป็นประจำรายปี

4) เส้นทางการขนส่งสินค้า โดยทั่วไปเกษตรกรในประเทศญี่ปุ่นจะจำหน่ายสินค้าผ่าน JA (Japan Agriculture Bank)ไปสู่ผู้ขายตรง และ ขายส่งทั่วประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นเนื่องจากไม่มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรในการผลิตทำให้ยากต่อการควบคุมและกำหนดปริมาณผลผลิต เป็นการยากที่จะจำหน่ายสินค้าผ่าน JA ที่ต้องการรับสินค้ามาจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอ และเนื่องจากการขนส่งสินค้าการเกษตรอินทรีย์ปราศจากการเจือปนของสารเคมีต่าง ๆ ในระหว่างขนส่ง ดังนั้นเส้นทางลำเลียงสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นจึงยังมีข้อจำกัด ส่วนมากเกษตรกรที่ผลิตผลิตผลเกษตรอินทรีย์จะทำการจำหน่ายและขายตรงต่อร้านค้าปลีก-ส่งด้วยตัวเอง


6. รสนิยมและความพอใจของผู้บริโภคญี่ปุ่นต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์
1) ญี่ปุ่นบริโภคสินค้าด้วยคุณภาพ และความสวยงามของรูปลักษณ์ภายนอก เนื่องจากพืชผลเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตร รูปลักษณ์ภายนอกอาจจะดูไม่สวยงามเท่ากับพืชผลที่ใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือสารเคมีทางการเกษตรในการผลิต จึงไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นเท่าที่ควร

2) จากผลการสำรวจความสนใจต่อของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่มีต่อสินค้าเกษตรอินทรีย์พบว่า 28.2% มีความสนใจมาก 57.5% มีความสนใจเล็กน้อย 13.8% มีความสนใจไม่มากและ 0.5% ไม่มีความสนใจเลย สำหรับผู้ที่สนใจสินค้าเกษตรอินทรีย์ ให้เหตุผลว่าเพราะ ต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย 46.4% และเพื่อสุขภาพ 35.0%

3) ผู้บริโภคญี่ปุ่นส่วนใหญ่ หรือประมาณ 60% ยินดีจ่ายเงินเพื้อซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในราคาสูงกว่าไม่เกิน 10% จากสินค้าเกษตรทั่วไป มีเพียง 15% ที่ยินดีจะจ่ายแพงขึ้น 20% ของราคาสินค้าเกษตรทั่วไป และมีผู้บริโภคเพียง 10% ที่พอใจจะซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์โดยไม่สนใจราคา


7. ข้อคิดเห็น
ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในญี่ปุ่นนั้นยังเป็น Niche market เนื่องจากราคายังสูงกว่า สินค้าการเกษตรทั่วไปอยู่มาก แม้ว่าผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นจะให้ความสนใจเรื่องด้านความปลอดภัยและสุขภาพ แต่ผู้บริโภค ก็ยังเห็นว่าคุณค่าของการเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังไม่ชัดเจน และคุ้มค่าเพียงพอกับราคาขายที่สูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตามความตื่นกลัวเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยกำลังเป็นประเด็นปัญหาใหญ่สำหรับตลาดญี่ปุ่นที่ยังต้องพึ่งพาอาหารนำเข้าสูงถึงร้อยละ 60 ของจำนวนแคลอรี่ที่บริโภค ประกอบกับผู้สูงอายุในสังคมญี่ปุ่นที่นับวันจะมีสัดส่วนและเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าปลอดภัย สินค้าสุขภาพ รวมถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในภาวะที่ญี่ปุ่นยังมีข้อจำกัดในการขยายพื้นที่ผลิต และต้นทุนสูง จึงจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้าเกษตรและอาหาร คุณภาพดีต่อไป ตลาดที่ปัจจุบันยังเป็น Niche จึงมีแนวโน้มขยาย แต่ด้วยเงื่อนไขและข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข้มงวด ผู้ผลิต และผู้ส่งออกของไทยที่ต้องการหันมาขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์จึงต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะการยื่นขอรับเอกสารรับรองมาตรฐาน เพื่อให้สามารถประทับเครื่องหมาย Organic JAS Mark เพื่อให้สามารถเข้าไปจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่นและตลาดโลกอย่างจริงจัง


สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว


http://nanapai.blogspot.com/2010/06/blog-post_3163.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 12/06/2011 6:56 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คู่มือฉลาดเลือกกินผัก


เมื่อปัจจัยหนึ่งที่ชี้วัดถึงความเจริญของประเทศ คือ ความปลอดภัยในชีวิต โดยเฉพาะการกินการอยู่ ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรหากในปัจจุบันมีพืชผักให้เลือกกินมากมาย แต่สุขภาพผู้คนกลับแย่ลง เพราะร่างกายได้รับสารพิษจากพืชผักเหล่านั้น"

ความข้องใจจาก คุณชวน ชูจันทร์ เกษตรกรเดินดินคนหนึ่ง ผู้มีบทบาทในการผลิตพืชผักอินทรีย์ออกสู่ท้องตลาดมากว่า 10 ปี ชวนให้เราต้องย้อนถามตัวเองว่า ผักที่เรากินทุกวันนี้ ปลอดภัยแล้วหรือ

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผักอีกมากมาย ที่ผู้บริโภคควรรู้ เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อผักให้ครบคุณค่า และห่างไกลจากสารพิษตกค้าง





สำรวจผักในท้องตลาด
ผักในท้องตลาดบ้านเรามีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป คุณอรสา ดิสถาพร ผู้อำนวยการส่วนการส่งเสริมการผลิตผัก ไม้ดอก และพืชสมุนไพร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อธิบายประเภทของผักต่างๆ ตามความปลอดภัยไว้ดังนี้

ผักอินทรีย์ หรือผักออร์แกนิก แม้จะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีค่อนข้างสูง ปัจจุบันผู้บริโภคสามารถสังเกตผักอินทรีย์ได้จากตราสัญลักษณ์รับรองที่ปรากฎบนบรรจุภัณฑ์

ผักประเภทนี้ใช้วิธีการปลูกแบบองค์รวมที่ใส่ใจทุกรายละเอียด เริ่มตั้งแต่ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) โดยปลูกในสิ่งแวดล้อมที่ดี พื้นที่นั้นเลิกใช้สารเคมีตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

ในการบำรุงพืชและกำจัดศัตรูพืชจะใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติได้ เช่น น้ำหมักชีวภาพ น้ำยาสะเดาแทนสารเคมีสังเคราะห์และปุ๋ยเคมีทุกประเภท เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบนิเวศในดิน ทั้งเชิงกายภาพ เคมี และชีวภาพ รวมทั้งเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม


ผักไร้สารพิษ การปลูกผักชนิดนี้คล้ายคลึงกับผักอินทรีย์ คือ ปลูกในพื้นที่ที่เลิกใช้สารเคมีไม่ต่ำกว่า 3 ปี ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์และปุ๋ยเคมี แต่จะใช้สารสกัดจากธรรมชาติแทน อย่างไรก็ตามการปลูกผักประเภทนี้ยังไม่มีการจำกัดเมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้


ผักปลอดสารพิษ ผักชนิดนี้ใช้สารเคมีสังเคราะห์และปุ๋ยเคมีในการปลูก แต่มีฤทธิ์ตกค้างไม่นานและไม่ใช่สารต้องห้าม สามารถใช้ฮอร์โมนเร่งผลผลิตได้ เพราะไม่ถือว่าเป็นสารเคมีอันตราย


จากนั้นเมื่อใกล้เวลาเก็บเกี่ยว จะงดใช้สารเคมีต่างๆ และเว้นระยะเวลาให้สารที่ใช้สลายตัว จึงจะเก็บเกี่ยวผักนั้นได้ ผักชนิดนี้อาจมีปริมาณสารเคมีตกค้างบ้าง แต่อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย


ผักทั่วไป ได้แก่ ผักที่ปลูกโดยใช้ทั้งสารเคมีสังเคราะห์ และปุ๋ยเคมีโดยไม่มีการควบคุม หรือเว้นระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว จึงทำให้มีสารพิษตกค้างในผักปริมาณสูงเกินกำหนด และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค



เส้นทางการปนเปื้อนของผัก
เพราะผักอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ คนกินผักจึงมีสุขภาพแข็งแรง แต่หากผักนั้นมีสารพิษเป็นของแถม ย่อมเป็นผลเสียต่อสุขภาพอย่างแน่นอน

ด้วยแนวโน้มของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการบริโภคผักที่ปลอดสารพิษมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบันจะพบเห็นผักที่ตีตราว่าเป็น ผักปลอดสารพิษ หรือผักออแกนิกส์ วางจำหน่ายตามตลาดสด หรือซูเปอร์มาร์เก็ตกันมากขึ้น

แต่ทราบหรือไม่ว่า นอกจากการเลือกซื้อผักที่ระบุว่าปลอดสารพิษแล้ว ยังมีเทคนิคง่ายๆที่หากคุณทำได้ จะช่วยปกป้องคุณจากสารเคมีตกค้างในผักได้อีกโขเลยค่ะ

คุณวิลาวัณย์ ใคร่ครวญ นักวิชาการชำนาญพิเศษ กรมวิชาการเกษตร ได้ให้หลักการเบื้องต้นในการเลือกซื้อผักไว้ดังนี้

สด .......... ไม่เหี่ยวเฉา ไม่มีรอยช้ำ หรือมีสีผิดธรรมชาติ
สะอาด ...... ไม่มีเศษดินและสิ่งสกปรกเกาะเป็นคราบ และ
- ไม่มีคราบสีขาวซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงตกค้างอยู่ที่ผัก
- ไม่มีกลิ่นฉุน เมื่อดมผักดูแล้วต้องไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก




นอกจากนั้นคุณวิลาวัณย์ยังฝากเคล็ด (ไม่) ลับ แบบฉบับคนฉลาดเลือกกินผักเพิ่มเติมมาด้วย ดังนี้ค่ะ

กินผักอายุสั้นดีที่สุด เลือกกินผักที่มีอายุสั้น เช่น ผักบุ้ง ซึ่งตั้งแต่เริ่มปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยว มีช่วงเวลาเพียง 45 วันเท่านั้น โอกาสในการเกิดโรค และแมลงจนต้องฉีดยาฆ่าแมลงจึงน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผักที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายรุ่น


กินผักตามฤดูกาล ทราบหรือไม่ ผักบางชนิดมีฤดูกาลการเติบโตของมัน เช่น ผักคะน้า ซึ่งฤดูกาลที่เติบโตได้ดีคือช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ทำให้ผักคะน้าในช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงมากเหมือนการปลูกผักคะน้านอกฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อน ที่มีทั้งโรคผัก และแมลงศัตรูพืชมาก


กินผักใบดีกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า


กินผักให้หลากหลาย ไม่ควรกินผักเพียงชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะมีโอกาสสูงที่สารเคมีตัวเดิมๆ ในผักจะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้


กินผักพื้นบ้านดีที่สุด ลองหันมากินผักพื้นบ้านให้มากขึ้น เพราะผักพื้นบ้านส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่ตามธรรมชาติและมีคนไปเก็บมาจำหน่าย ทำให้แน่ใจได้ว่าปลอดสารเคมีตกค้างอย่างแน่นอน


ในฐานะผู้บริโภค เราก็มีบทบาทช่วยเหลือคนกินผักด้วยกันได้ค่ะ
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดโครงการสายสืบผักสดปลอดภัย ส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี หรือสายสืบผักสดขึ้น เพื่อป้องปรามและส่งเสริมให้มีการขายผักปลอดสารพิษตกค้างเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค

โครงการนี้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมสมัครเป็นสายสืบผักสดอาสา เพื่อเป็นเครือข่ายแจ้งข้อมูลตลาดที่ขายผักสดไม่ปลอดภัยไปยังเจ้าหน้าที่ โดยสายสืบจะได้รับการอบรมความรู้เรื่องผักจาก อย. ทั้งการเลือกซื้อผักสดที่ไม่มีสารตกค้างและยาฆ่าแมลง รวมถึงสาธิตการล้างผักและการตรวจสอบยาฆ่าแมลงด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จากทั้งสองหน่วยงานจะนำรถ Mobile Unit ออกให้ความรู้ และสุ่มเก็บตัวอย่างผักสดในตลาดเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมาตรวจสอบ ร้านที่ขายผักปลอดภัยจะได้รับป้ายรับรองคุณภาพผักสด แต่หากผักไม่ปลอดภัยจะสั่งให้ดำเนินการแก้ไข และหากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินการทางกฎหมายทันที



สนใจร่วมเป็นสายสืบผักสดอาสา ติดต่อที่สายด่วน 1135 ค่ะ

ที่มา http://www.cheewajit.com/




http://variety.thaiza.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81-201010.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 12/06/2011 4:18 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 12/06/2011 8:03 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พักสายตา....







http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=2136&s=tblplant
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 16/06/2011 10:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




โดย อาจารย์ทิพวรรณ สิทธิรังสรรค์


จากพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเสด็จทอดพระเนตร โครงการศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนเกษตร วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2530 โดยให้ศูนย์ฯ แห่งนี้ดำเนินการแก้ไขสภาพดินเสื่อมโทรม และให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำแก่ราษฎรทั่วไป เนื่องจากบริเวณนี้มีสภาพแห้งแล้งดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในปัจจุบันการเพาะปลูกของประเทศไทย ก็ประสบปัญหาหลายประการ ที่สำคัญประการแรกคือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ กล่าวคือพื้นที่การเกษตรของประเทศไทยประมาณ 80% เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเป็นกรดสูง และที่สำคัญเป็นดินที่ขาดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน และต่อพืชซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินตาย สาเหตุก็มาจากการปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำกันหลายปี ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียนอีก ทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายก็ทำให้เกิดสภาพดินกรด ขาดความอุดมสมบูรณ์เกษตรกรปลูกพืช แล้วให้ผลตอบแทนได้ไม่เต็มที่





ประการที่สองเกษตรกรประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ รบกวนไม่ว่าจะเป็นสวนผัก สวนผลไม้ ไม้ดอก-ไม้ประดับ พืชไร่-นา ชนิดต่าง ๆ และหนทางที่เกษตรกรเลือกใช้แก้ปัญหาส่วนใหญ่ก็คือสารเคมีฆ่าแมลง แต่ จากการที่เกษตรกร ขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สารเคมี วิธีการใช้ที่เหมาะสม ช่วงเวลาในการใช้ เกษตรกรใช้สารเคมีหลายชนิดซ้ำซ้อนกัน และในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น มีผลทำให้สารพิษตกค้างในผลผลิต มีต้นทุนการผลิตสูง เป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ผลิตเอง และผู้บริโภคเองก็ได้รับอันตรายเช่นกัน มีผู้บริโภคจำนวนมาก ที่ต้องหวาดระแวงกับพิษภัยของสารพิษตกค้างในอาหาร และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในภูมิภาคนั้น อีกทั้งในปัจจุบันกระแสความต้องการผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กำลังมีความต้องการและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ และล่าสุดคือ นโยบายการควบคุมผักที่มีสารพิษตกค้างเกินกำหนด มิให้เข้ามาจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยมากขึ้น และเกษตรกรเองก็ต้องปรับปรุงการเพาะปลูกให้ปลอดภัย ตามความต้องการของตลาดด้วย ไม่ว่าเกษตรกรคนไหน ๆ ก็อยากปลอดภัยจากสารเคมี ไม่มีใครอยากใช้สารเคมีเพราะอันตรายทั้งตนเองและผู้บริโภค แต่ถ้าไม่ใช้แล้วจะใช้อะไรทดแทน ปัญหาในการเพาะปลูกที่เกษตรกรพบมี 2 ประการใหญ่ คือ

เรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินถ้าไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน เพื่อที่จะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี และอีกเรื่องหนึ่งก็คือ

การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถ้าไม่ใช้สารเคมีแล้วจะใช้อะไรทดแทน

แนวทางที่จะทำให้ดินเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นดินที่มีชีวิต สามารถเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชไร่-นา ผัก ผลไม้ ดอกไม้ก็ตาม และจะเป็นแนวทางที่จะสามารถผลิตผลผลิต ที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตร ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถทำเป็นอาชีพได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแนวทางนั้นก็คือ แนวทาง เกษตรธรรมชาติ นั่นเอง
ความหมายของเกษตรธรรมชาติ


เกษตรธรรมชาติ หมายถึง การทำการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด แต่จะให้ความสำคัญของดินเป็นอันดับแรก ด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ เป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืน ถาวร เป็นอาชีพที่มั่นคง


หลักเกษตรธรรมชาติ
ถ้าเราศึกษาสภาพป่า เราจะเห็นว่า ในป่ามีต้นไม้นานาชนิดขึ้นปะปนกันอยู่เต็มไปหมด ผิวดินถูกปกคลุมไปด้วยใบไม้ที่หล่นทับถมกัน สัตว์ป่าถ่ายมูลไว้ที่ผิวหน้าดินคลุกเคล้ากับใบไม้และซากพืช มูลสัตว์รวมทั้งซากสัตว์ โดยมีสัตว์เล็ก ๆ เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ จิ้งหรีด ฯลฯ กัดแทะเป็นชิ้นเล็ก ๆ และมีจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินช่วยย่อยสลายจนกลายเป็นฮิวมัส ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและใช้ในการเจริญเติบโตของต้นไม้ในป่า นั่นเอง [color=blue]ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเอาปุ๋ยเคมีไปใส่ในป่า ซึ่งเกษตรกรสามารถเลียนแบบป่าได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ใช้ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ไรโซเบียม ไมโครไรซ่า เป็นต้น ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี [/color]นอกจากนี้ ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดินก็เป็นการคลุมผิวหน้าดินไว้ ป้องกันการสูญเสียความชื้นภายในดินทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ถ้าศึกษาต่อไปจะพบว่า แม้ไม่มีใครนำเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นให้ต้นไม้ในป่า แต่ต้นไม้ในป่าก็เจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรคและแมลงได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้จะมีโรคและแมลงรบกวนบ้างก็ไม่ถึงขั้นเสียหายและยังสามารถให้ผลผลิตได้ตามปกติ นั่นก็คือ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่บนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ นอกจากนี้พืชในป่าก็มิได้เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด แต่เป็นพืชหลากหลายชนิดทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลง และแมลงบางชนิดก็เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ดังนั้น จึงเกิดสมดุลตามธรรมชาติโอกาสที่แมลงศัตรูพืชจะระบาดจนเกิดความเสียหายจึงมีน้อย ดังนั้นเกษตรกรจึงสามารถจำลองสภาพป่าไว้ในไร่-นาโดยการปลูกพืชให้หลากหลายชนิด





หลักเกษตรธรรมชาติก็เป็นหลักการที่เลียนแบบมาจากป่าที่สมบูรณ์นั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วยการปฏิบัติการทางการเกษตรที่คำนึงถึง ดิน พืช และแมลง ไปอย่างพร้อมกันคือ
1. มีการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสามารถทำได้โดย

1) ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด ส่วนปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ปุ๋ยเหล่านี้จะให้ทั้งธาตุหลักและธาตุอาหารรองแก่พืชอย่างครบถ้วน จึงใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี



ปุ๋ยหมัก


2) การคลุมดิน : ทำได้โดยใช้เศษพืชต่าง ๆ จากไร่-นา เช่น ฟาง หญ้าแห้ง ต้นถั่ว ใบไม้ ขุยมะพร้าว เศษเหลือทิ้งจากไร่นา หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติกคลุมดิน หรือการปลูกพืชคลุมดิน การคลุมดินมีประโยชน์หลายประการ คือ ช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดิน และรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ ช่วยทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ซึ่งประโยชน์ต่าง ๆ ของการคลุมดินดังกล่าวมานี้จะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตดี

3) การปลูกพืชหมุนเวียน : เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันทั้งชนิดและปริมาณ อีกทั้งระบบรากยังมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการแผ่กว้างและหยั่งลึก ถ้ามีการจัดระบบการปลูกพืชอย่างเหมาะสมแล้ว จะทำให้การใช้ธาตุอาหารมีทั้งที่ถูกใช้และสะสมสลับกันไปทำให้ดินไม่ขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง



ดินดีปลูกอะไร อะไรก็งอกงาม ต้านทานโรคแมลงและให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ



2. ปลูกพืชหลายชนิด : การปลูกพืชหลายชนิดเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในไร่-นา ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ เนื่องจากการปลูกพืชหลายชนิดจะทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหารที่หลากหลายของแมลงจึงมีแมลงหลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ในจำนวนแมลงเหล่านี้ จะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืชและแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติ ที่จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติในป่าที่อุดมสมบูรณ์นั่นเอง

2.1) การปลูกหมุนเวียน : เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกันติดต่อกันบนพื้นที่เดียวกัน การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลงและช่วยประโยชน์ในทางด้านการปรับปรุงดิน

2.2) การปลูกพืชแซม : การเลือกพืชมาปลูกร่วมกัน หรือแซมกันนั้นพืชที่เลือกมานั้นต้องเกื้อกูลกัน เช่น ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้อีกชนิดหนึ่ง ช่วยคลุมดิน ช่วยเพิ่มรายได้ก่อนเก็บเกี่ยวพืชหลัก เป็นต้น



3. อนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ : ซึ่งสามารถทำได้โดย
3.1) การที่ไม่ใช้สารเคมี เนื่องจากสารเคมีทำลายทั้งแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ด้วย

3.2) ปลูกดอกไม้สีสด ๆ เช่น บานชื่น ทานตะวัน บานไม่รู้โรย ดาวเรือง ดาวกระจาย เป็นต้น โดยปลูกไว้รอบแปลง หรือปลูกแซมลงในแปลงเพาะปลูก สีของดอกไม้จะดึงดูดแมลงนานาชาติและในจำนวนนั้นก็มีแมลงศัตรูธรรมชาติด้วย จึงเป็นการเพิ่มจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติในแปลงเพาะปลูกซึ่งจะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้แก่เกษตรกร


ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ
ในการทำเกษตรธรรมชาติเนื่องจากเราไม่ใช้ปุ๋ยเคมีแต่จะหันมาปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพแทน ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด (สำหรับปุ๋ยคอกไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจากนำปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์นำมาใช้เป็นวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก) ส่วนปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเหล่านี้จะให้ทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองแก่พืชอย่างครบถ้วนและในปริมาณที่มากพอจึงใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูกพืชได้ และการใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมด้วยก็จะช่วยทำให้ต้องใช้ปุ๋ยหมักมาก จึงเป็นไปได้ที่จะทำเกษตรธรรมชาติในพื้นที่แปลงใหญ่มิใช่ทำแปลงเล็กหรือสวนครัวหลังบ้านเท่านั้น


การเปรียบเทียบผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยชีวภาพที่มีต่อดิน ลักษณะ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ(จุลินทรีย์)
1. การดูดซับธาตุอาหาร ไม่มี ดูดซับได้ดี
2. การอุ้มน้ำ ไม่มี ทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
3. ความร่วนซุยของดิน ทำให้ดินอัดตัวเป็นก้อนแข็งในระยะยาว ดินร่วนซุยดี
4. ระดับความเป็นกรด เพิ่มขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของความเป็นกรดด่าง
5. ระยะเวลาที่มีผลในดิน ระยะสั้นแต่จะหายไปเร็วจากการชะล้างหรือเปลี่ยนรูป คงอยู่ในดินนาน
6. ความเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เติบโตดีแต่เพียงระยะสั้นในระยะยาวไม่ดี เติบโตดีและนาน
7. การขยายพันธุ์ของแมลงศัตรูพืช ขยายพันธุ์รวดเร็ว ไม่มีผล
8. การป้องกันโรคพืช ไม่ช่วยป้องกัน ช่วยป้องกัน


การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ
การฟื้นฟูความสมดุลของธรรมชาติในไร่-นาที่ผ่านการใช้สารเคมีในรูปแบบต่าง ๆ มาอย่างมากและเป็นเวลานานให้กลับคืนมาตามหลักการทั้ง 3 ข้อ เป็นเรื่องที่เกษตรกรสามารถทำได้โดยใช้เวลาแต่ในปีแรก ๆ จะประสบปัญหาโรคและแมลงรบกวนบ้าง เนื่องจากดินที่เริ่มถูกปรับปรุงยังไม่มีความอุดมสมบูรณ์ดีพอ และมีสารปนเปื้อนอยู่มากทำให้พืชยังไม่สามารถเติบโตและแข็งแรงได้อย่างเต็มที่ ทำให้อ่อนแอต่อการทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช อีกทั้งศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืชก็ยังน้อยอยู่ จึงทำให้เกษตรกรประสบปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชรบกวนและผลผลิตต่ำในระยะ 1-3 ปีแรก แต่หลังจากนั้นไปถ้ามีการจัดการดีจะทำให้ปัญหาโรค และแมลงศัตรูพืชลดลงพร้อมทั้งผลผลิตก็จะสูงขึ้น การเพาะปลูกพืชก็ง่ายขึ้น การใช้ปุ๋ยธรรมชาติก็ลดลงรวมทั้งการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ก็ใช้ปัจจัยน้อยลงซึ่งก็หมายถึงต้นทุนการผลิตลดลง แต่ผลผลิตสูงขึ้นซึ่งเป็นการทำการเกษตรที่ยั่งยืน


การป้องกันและกำจัดวัชพืช
1. ใช้วิธีการถอน ใช้จอบถาง ใช้วิธีการไถพรวน

2. ใช้วัสดุคลุมดินซึ่งเป็นการปกคลุมผิวดินช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ และเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินอีกด้วย โดยส่วนใหญ่มักใช้วัสดุตามธรรมชาติ ได้แก่ เศษซากพืชหรือวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร เช่น ฟางข้าว ตอซังพืช หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ต้นถั่ว ขุยมะพร้าว กากอ้อย แกลบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพลาสติกที่ผลิตขึ้น สำหรับการคลุมดินโดยเฉพาะซึ่งสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน

3. ปลุกพืชคลุมดิน เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินในสวนไม้ผล การปลูกพืชต่าง ๆ เช่น ผัก ไม้ดอก สมุนไพร แซมในสวนไม้ผล เป็นต้น


การป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
1. การป้องกันและกำจัดโดยวิธีกล (mechanical control) เช่น การใช้มือจับแมลงมาทำลาย การใช้มุ้งตาข่าย การใช้กับดักแสงไฟ การใช้กับดักกาวเหนียว เป็นต้น

2. การป้องกันและกำจัดโดยวิธีเขตกรรม (cultural control) เช่น
1) การดูแลรักษาแปลงให้สะอาด
2) การหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืช
3) การเก็บเกี่ยวพืชเพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายของโรคและแมลง
4) การใช้ระบบการปลูกพืช เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชแซม
5) การจัดการให้น้ำ
6) การใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชเพื่อลดการทำลายของโรคและแมลง

3. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธิ (biological control) คือ การใช้ประโยชน์จากแมลงศัตรูธรรมชาติ คือ
1) ตัวเบียน (parasite) ส่วนใหญ่หมายถึง แมลงเบียน (parasitic insects) ที่อาศัยแมลงศัตรูพืชเพื่อการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์ซึ่งทำให้แมลงศัตรูพืชตายในระหว่างการเจริญเติบโต

2) ตัวห้ำ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตโดยการกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโตจนครบวงจรชีวิต ตัวห้ำพวกนี้ได้แก่ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังได้แก่ สัตว์ปีก เช่น นก สัตว์เลื้อยคลาย เช่น งู กิ้งก่าสัตว์ ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ

ตัวห้ำส่วนใหญ่ที่มีความสำคัญในการควบคุมแมลงและไรศัตรูพืชได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมงมุม ไรตัวห้ำ และตัวห้ำส่วนใหญ่ได้แก่แมลงห้ำ (predatory insects) ซึ่งมีมากชนิดและมีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว

3) เชื้อโรค ส่วนใหญ่หมายถึงจุลินทรีย์ที่ทำให้แมลงศัตรูพืชเป็นโรคตาย เช่น เชื้อไวรัสแบททีเรีย รา โปรโตซัว ไส้เดือนฝอยทำลายแมลงศัตรูพืช

4. การป้องกันโดยใช้พันธุ์พืชต้านทาน (host plant resistance)

5. การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สมุนไพรต่าง ๆ



http://www.ku.ac.th/e-magazine/november43/plant/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©