-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - หลักการผลิตข้าวอินทรีย์
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

หลักการผลิตข้าวอินทรีย์

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 7:08 pm    ชื่อกระทู้: หลักการผลิตข้าวอินทรีย์ ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หลักการผลิตข้าวอินทรีย์



ความหมายของข้าวอินทรีย์

ข้าวอินทรีย์ (Organic Rice) เป็นข้าวที่ได้จากการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือ
สารสังเคราะห์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลง
และสัตว์ศัตรูข้าวในทุกขั้นตอนการผลิตและในระหว่างการเก็บรักษาผลผลิต หากมีความจำเป็นแนะนำให้ใช้วัสดุจากธรรม
ชาติ และสารสกัดจากพืชที่ไม่มีพิษต่อคนหรือไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในผลผลิต ในดินและในน้ำ ในขณะเดียวกัน
ก็เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม ทำให้ได้ผลิตผลข้าวที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากอันตรายของผลตกค้าง ส่งผลให้ผู้
บริโภคมีสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


เพื่อให้เกิดความมั่นใจและเชื่อถือในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์ จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองจากหน่วย
ตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน




หลักการผลิตข้าวอินทรีย์

http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_002.html#1

การผลิตข้าวอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิดเป็นต้นว่า ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต
สารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว ตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าว
ในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย

การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรม
ชาติ การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ การรักษาสมดุลธรรมชาติและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน
เช่น ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชหมุนเวียน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในไร่นาหรือจากแหล่งอื่น ควบคุมโรค แมลง
และสัตว์ศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานที่ไม่ใช้สารเคมี การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมมีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของ
ศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มี
ความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมต่อการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว
เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ก็สามารถทำให้ต้นข้าวที่ปลูกให้ผลผลิตสูงในระดับที่น่าพอใจ

การผลิตข้าวอินทรีย์ มีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับการผลิตข้าวโดยทั่วไป จะแตกต่างกันที่ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์
ในทุกขั้นตอนการผลิต จึงมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

1. การเลือกพื้นที่ปลูก
2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
4. การเตรียมดิน
5. วิธีปลูก
6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
7. ระบบการปลูกพืช
8. การควบคุมวัชพืช
9. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช
10. การจัดการน้ำ
11. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น
12. การเก็บรักษาข้าวเปลือก
13. การสี
14. การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า




ขั้นตอนการผลิตข้าวอินทรีย์

1. การเลือกพื้นที่ปลูก
เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อ
การเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกัน
เป็นเวลานาน หรือมีการปนเปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร


นาผืนใหญ่


สำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ถือครองไม่มากและอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันควรรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตข้าวอินทรีย์

2. การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกควรมีคุณสมบัติด้านการเจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก และให้ผลผลิตได้ดีแม้ในสภาพดินที่มี
ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าว และมีคุณภาพเมล็ดตรงกับความต้องการของผู้บริโภคข้าวอินทรีย์ การ
ผลิตข้าวอินทรีย์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดีเป็นพิเศษ

3. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานผลิตจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีความงอกแรง
ผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศจากโรค แมลงและเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์
อนุโลมให้นำมาแช่ในสารละลายจุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก





4. การเตรียมดิน
วัตถุประสงค์หลักของการเตรียมดินคือสร้างสภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกและการเจริญเติบโตของข้าว ช่วยควบคุมวัชพืช โรค
แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวบางชนิด การเตรียมดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติดิน สภาพแวดล้อมในแปลงนาก่อนปลูกและวิธีการ
ปลูก โดยไถดะ ไถแปร คราด และทำเทือก


เตรียมแปลง



ไถเตรียมดิน

5. วิธีปลูก
การปลูกข้าวแบบปักดำจะเหมาะสมที่สุดกับการผลิตข้าวอินทรีย์ เพราะการเตรียมดิน ทำเทือก การควบคุมระดับน้ำในนาจะช่วย
ลดปริมาณวัชพืชได้และการปลูกกล้าข้าวลงดินจะช่วยให้ข้าวสามารถแข่งขันกับวัชพืชได้ ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ
30 วัน เลือกต้นกล้าที่เจริญเติบโตแข็งแรงดี ปราศจากโรคและแมลงทำลาย

เนื่องจากในการผลิตข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ทุกชนิดโดยเฉพาะปุ๋ยเคมี จึงแนะนำให้ใช้ระยะปลูกถี่กว่า
ระยะปลูกที่แนะนำสำหรับปลูกข้าวโดยทั่วไปเล็กน้อยคือ ระยะระหว่างต้นและแถว ประมาณ 20 เซนติเมตร จำนวนต้นกล้า 3-5
ต้นต่อกอ และใช้ระยะปลูกแคบกว่านี้หากดินนามีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ในกรณีที่ต้องปลูกล่าหรือปลูกหลังจากช่วงเวลา
ปลูกที่เหมาะสมของข้าวแต่ละพันธุ์ และมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน แนะนำให้เปลี่ยนไปปลูกวิธีอื่นที่เหมาะสม เช่น หว่าน
ข้าวแห้ง หรือหว่านน้ำตม


ถอนกล้า



ดำนา



หว่านข้าวงอก/(หว่านน้ำตม)



หว่านข้าวแห้งคลุมฟาง


6. การจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี การเลือกพื้นที่ปลูกที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงตามธรรมชาติ จึงเป็น
การเริ่มต้นที่ได้เปรียบ เพื่อที่จะรักษาระดับผลผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ นอกจากนี้ เกษตรกรยังต้องรู้จักการจัดการดิน
ที่ถูกต้อง และพยายามรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวอินทรีย์ให้ได้ผลดีและยั่งยืนมากที่สุด คำ
แนะนำเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

1) การจัดการดิน
มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ดังนี้



การเผาฟางเป็นสิ่งต้องห้าม


-ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและ จุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์
-ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้
สม่ำเสมอทีละเล็กละน้อย
-เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินโดยการปลูกพืชโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วในที่ว่างในบริเวณพื้นที่นาตามความเหมาะสม แล้วใช้
อินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นในระบบไร่นาให้เกิดประโยชน์ต่อการปลูกข้าว-ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่าก่อนการปลูกข้าวและหลัง
จากการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ควรปลูกพืชบำรุงดินโดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า โสน เป็นต้น



ถั่วพร้า



ถั่วพุ่ม



โสนอัฟริกัน


- ควรวิเคราะห์ดินนาทุกปี แล้วแก้ไขภาวะความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นข้าว (ประมาณ 5.5
– 6.5) ถ้าพบว่าดินมีความเป็นกรดสูงแนะนำให้ใช้ปูนมาร์ล ปูนขาว หรือขี้เถ้าไม้ปรับปรุงสภาพดิน

2) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อน
ข้างต่ำ จึงต้องใช้ในปริมาณที่สูงมาก และอาจมีไม่พอเพียงสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์และถ้าหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะ
สมก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต จึงแนะนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า “สร้างให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ใส่ทีละเล็กทีละน้อยสม่ำ
เสมอเป็นประจำ” ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้ ได้แก่


ทำปุ๋ยหมัก


-ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์ ได้แก่มูลสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งอาจนำมาจากภายนอก หรือจัดการผลิตขึ้นในบริเวณไร่นา นอกจากนี้ท้องนาใน
ชนบทหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วมักจะปล่อยให้เป็นที่เลี้ยงสัตว์โดยให้แทะเล็มตอซังและหญ้าต่าง ๆ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาปะปน
กับเศษซากพืช ก็จะเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในนาอีกทางหนึ่ง

-ปุ๋ยหมัก ควรจัดทำในพื้นที่นาหรือบริเวณที่อยู่ไม่ห่างจากแปลงนามากนักเพื่อความสะดวกในการใช้ ควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการ
ทำปุ๋ยหมักเพื่อช่วยการย่อยสลายได้เร็วขึ้น และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร

-ปุ๋ยพืชสด ควรเลือกชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมควรปลูกก่อนการปักดำข้าวในระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้ต้นปุ๋ยพืชสด
มีช่วงการเจริญเติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสดได้มาก มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนสูงและไถกลบต้นปุ๋ยพืชสดก่อน
การปลูกข้าวตามกำหนดเวลา เช่น โสนอัฟริกัน (Sesbania rostrata) ควรปลูกก่อนปักดำประมาณ 70 วัน โดยใช้อัตรา
เมล็ดพันธุ์ประมาณ 7 กิโลกรัมต่อไร่ หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วยเร่งการเจริญเติบโต แนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตบด
ละเอียดใส่ตอนเตรียมดินปลูก แล้วไถกลบต้นโสนขณะมีอายุประมาณ 50-55 วัน หรือก่อนการปักดำข้าวประมาณ 15 วัน


ปอเทืองปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าว


น้ำสกัดจากสัตว์ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ หอยเชอรี่ ปูนา เศษปลาหรือเศษเนื้อ
น้ำสกัดจากพืช ได้แก่ผักต่างๆ ใบสะเดา ตะไคร้หอม พืชสมุนไพรต่างๆ
น้ำสกัดจากผลไม้ เศษผลไม้จากครัวเรือน มะม่วง สับปะรด กล้วย มะละกอ ฟักทอง

วิธีทำปุ๋ยน้ำหมัก
น้ำหมักจากสัตว์
เก็บหอยเชอรี่ หรือปูนา นำมาล้างน้ำให้สะอาด ไม่มีขี้โคลนติด ใส่ถุงปุ๋ยประมาณครึ่งถุง ใช้ไม้ตี หรือทุบให้เปลือกแตก อาจ
ใช้ครกไม้หรือครกหินขนาดใหญ่ตำก็ได้ เพื่อเวลาหมักกากน้ำตาลจะได้สัมผัสกับเนื้อหอย หรือเนื้อปูโดยตรง ชั่งน้ำหนัก
วัสดุที่ใช้เทใส่ภาชนะหรือถังหมัก ชั่งกากน้ำตาล(Mollas)หนักเท่ากับวัสดุที่ใช้ หรืออัตราส่วนระหว่าง หอยเชอรี่หรือปูนา :
กากน้ำตาล = 1 : 1 โดยน้ำหนัก คนให้เข้ากันดี ปิดฝาไม่ต้องแน่น เพื่อให้แก๊ซที่เกิดระหว่างการหมักมีโอกาสถ่ายเทได้สะดวก
หมักไว้ 1 เดือน เติมน้ำสะอาดอีก 1 เท่า หรือให้ท่วมวัสดุ คนให้เข้ากันดี หมักต่ออีก 1 เดือน จึงนำน้ำหมักมากรองโดย
ตาข่ายสีฟ้า หรือมุ้งลวด นำของเหลวที่ได้จากการกรองมาใช้ประโยชน์

น้ำหมักจากพืชหรือเศษวัสดุจากพืช
นำเศษวัสดุจากพืช เช่น พืช ผัก วัชพืช(หญ้า) สับหยาบ ๆ ชั่งน้ำหนักแล้วเทใส่ภาชนะ หรือถังหมัก ชั่งกากน้ำตาล 1 ใน
3 ของน้ำหนักวัสดุ หรืออัตราส่วนระหว่าง ผัก : กากน้ำตาล = 3 : 1 โดยน้ำหนัก เทลงผสมกัน ใช้ไม้คนให้เข้ากัน ปิดฝา
ไม่ต้องแน่น เพื่อให้แก๊ซที่เกิดระหว่างการหมักถ่ายเทได้สะดวก หมักไว้ 1 เดือน เติมน้ำสะอาดให้ท่วมวัสดุ หรือ 1 เท่า
ตัวของน้ำในถัง หมักต่ออีก 1 เดือน จึงนำน้ำหมักที่ได้มากรองโดยตาข่ายสีฟ้า หรือมุ้งลวด นำของเหลวที่ได้จากการกรอง
มาใช้ประโยชน์

น้ำหมักผลไม้ (เช่น เปลือกสับปะรด มะละกอสุก กล้วยสุก มะม่วงสุก ฟักทอง) มีวิธีทำเช่นเดียวกับ น้ำสกัดจากพืช เศษ
ผลไม้ ต้องไม่บูดเน่า เสียหาย หรือสกปรก อัตราส่วนของวัสดุ : กากน้ำตาล = 3 : 1 โดยน้ำหนัก คนให้เข้ากันดี ปิดฝา
หมักไว้ 1 เดือน เติมน้ำให้ท่วมวัสดุ หรือ 1 เท่าตัวของของเหลวในถัง หมักต่ออีก 1 เดือน จึงนำน้ำหมักมากรองโดย
ตาข่ายสีฟ้า หรือมุ้งลวด นำของเหลวที่กรองได้มาใช้ประโยชน์

วิธีใช้น้ำหมักในนาข้าว
ครั้งที่ 1 หลังทำเทือก ปั้นคันนาย่อยอุดรอยรั่ว หรือรอยแตกระแหง ป้องกันการรั่วซึมของน้ำหมัก แล้วนำน้ำหมัก (แนะนำ
ให้ใช้น้ำหมักพืช) ที่ทำขึ้น อัตรา 5 ลิตรต่อไร่ ผสมน้ำเปล่า 10 เท่า ราดให้ทั่ว จึงปักดำข้าว


ครั้งที่ 2 ระยะข้าวแตกกอหรือหลังจากปักดำข้าวไปแล้ว 30 วัน ใช้น้ำหมัก (แนะนำให้ใช้น้ำหมักจากเนื้อ) อัตรา 5 ลิตรต่อไร่
ผสมน้ำเปล่าเท่ากันกับครั้งที่ 1 ราดให้ทั่ว

ครั้งที่ 3 ระยะข้าวเริ่มตั้งท้อง (แนะนำให้ใช้น้ำหมักผลไม้) อัตรา 250 ซีซี.ต่อไร่ ผสมน้ำเปล่า 50 เท่าพ่นทั่วแปลง

ครั้งที่ 4 และ 5 ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักจากผลไม้ หลังจากครั้งที่ 3 เป็นเวลา 15 และ 30 วัน

หมายเหตุ : แนะนำให้ใช้ร่วมกับการไถกลบปุ๋ยพืชสด หรือใส่ปุ๋ยคอก

3) การใช้อินทรียวัตถุบางอย่างทดแทนปุ๋ยเคมี
หากปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดินข้างต้นแล้ว ยังพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่เพียง
พอหรือขาดธาตุอาหารที่สำคัญบางชนิดไปสามารถนำอินทรียวัตถุจากธรรมชาติต่อไปนี้ทดแทนปุ๋ยเคมีบางชนิดได้ คือ

- แหล่งธาตุไนโตรเจน เช่น แหนแดง สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว กากเมล็ดสะเดา และเลือดสัตว์แห้ง เป็นต้น


แหนแดง


-แหล่งธาตุฟอสฟอรัส เช่นหินฟอสเฟต กระดูกป่น มูลไก่ มูลค้างคาว กากเมล็ดพืชขี้เถ้าไม้ และสาหร่ายทะเล เป็นต้น
-แหล่งธาตุโพแทสเซียม เช่น ขี้เถ้า และหินปูนบางชนิด
-แหล่งธาตุแคลเซียม เช่น ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอยป่น และกระดูกป่น เป็นต้น

7. ระบบการปลูกพืช
ปลูกข้าวอินทรีย์เพียงปีละครั้ง โดยเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมกับข้าวแต่ละพันธุ์และปลูกพืชหมุนเวียนโดยเฉพาะพืช
ตระกูลถั่วก่อนและหลังการปลูกข้าว อาจปลูกข้าวอินทรีย์ร่วมกับพืชตระกูลถั่วก็ได้ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม

8. การควบคุมวัชพืช
แนะนำให้ควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล เช่น การเตรียมดินที่เหมาะสม วิธีการทำนาที่ลดปัญหาวัชพืช การใช้ระดับน้ำควบคุม
วัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การถอนด้วยมือ วิธีเขตกรรมต่าง ๆ การใช้เครื่องมือ รวมทั้งการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น





9. การป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช
หลักการสำคัญของการป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในการผลิตข้าวอินทรีย์มีดังนี้

1) ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทาน
2) การปฏิบัติด้านเขตกรรม เช่น การเตรียมแปลงกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ใช้อัตราเมล็ดและระยะปลูกที่เหมาะสม
การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสม
ดุลของธาตุอาหารพืช การจัดการน้ำ เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตดี สมบูรณ์และแข็งแรง สามารถลดการทำลายของโรค
แมลงและสัตว์ศัตรูข้าวได้ส่วนหนึ่ง





3) จัดการสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะสมกับการระบาดของโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว เช่น การกำจัดวัชพืช การกำจัดเศษ
ซากพืชที่เป็นโรคโดยใช้ปูนขาว หรือกำมะถันผงที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี

4) รักษาสมดุลทางธรรมชาติ โดยส่งเสริมการแพร่ขยายปริมาณของแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน และศัตรู
ธรรมชาติเพื่อช่วยควบคุมแมลงและสัตว์ศัตรูข้าว

5) ปลูกพืชขับไล่แมลงบนคันนา เช่น ตะไคร้หอม

6) หากมีความจำเป็นอนุญาตให้ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม และใบแคฝรั่ง เป็นต้น

7) ใช้วิธีกล เช่น ใช้แสงไฟล่อ ใช้กับดัก และใช้กาวเหนียว

Cool ในกรณีที่ใช้สารเคมีกำจัดควรกระทำโดยทางอ้อม เช่น นำไปผสมกับเหยื่อล่อในกับดักแมลงหรือใช้สารพิษกำจัดสัตว์
ศัตรูข้าว ซึ่งจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง และต้องกำจัดสารเคมีที่เหลือรวมทั้งศัตรูข้าวที่ถูกทำลายโดยเหยื่อพิษอย่างถูกวิธี
หลังจากปฏิบัติเสร็จแล้ว





10. การจัดการน้ำ
ระดับน้ำมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตทางลำต้นและการให้ผลผลิตของข้าวโดยตรง ในระยะปักดำจนถึงแตกกอถ้าระดับ
น้ำสูงมากจะทำให้ต้นข้าวสูงเพื่อหนีน้ำทำให้ต้นอ่อนแอและล้มง่าย ในระยะนี้ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ประมาณ 5 เซนติ
เมตร แต่ถ้าต้นข้าวขาดน้ำจะทำให้วัชพืชเติบโตแข่งขันกับต้นข้าวได้ ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ ตลอด
ฤดูปลูกควรเก็บรักษาไว้ที่ปริมาณ 5-15 เซนติเมตร จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7-10 วัน จึงระบายน้ำออกเพื่อ
ให้ข้าวสุกแก่พร้อมกัน และพื้นที่นาแห้งพอเหมาะต่อการเก็บเกี่ยว

11. การเก็บเกี่ยว การนวดและการลดความชื้น
เก็บเกี่ยวข้าวหลังจากออกดอก ประมาณ 28-30 วัน สังเกตจากเมล็ดในรวงข้าวสุกแก่เมล็ดเปลี่ยนเป็นสีฟาง เรียกว่า
ระยะพลับพลึง


เกี่ยวข้าว



รถเกี่ยวข้าวเดินตาม


1). การเกี่ยวโดยใช้เคียว ต้องตากฟ่อนข้าวในนาประมาณ 2-3 แดด แล้วจึงรวมกอง ทำการนวดต่อไป


รวมกอง


2). การเกี่ยวข้าวโดยใช้รถเกี่ยวนวด เมล็ดข้าวยังมีความชื้นสูง ต้องตากบนลาน ในสภาพที่แดดจัดเป็นเวลา 1-2 วัน พลิก
กลับเมล็ดข้าววันละ 3-4 ครั้ง ให้ความชื้นเหลือ 14 เปอร์เซ็นต์ หรือต่ำกว่า เพื่อให้เหมาะสมต่อการเก็บรักษา และทำให้
มีคุณภาพการสีดี



ตากข้าว


12. การเก็บรักษาข้าวเปลือก
เมื่อลดความชื้นให้ต่ำกว่า 14 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำเมล็ดข้าวไปเก็บรักษาในยุ้งฉางหรือใส่ในภาชนะที่แยกต่างหากจาก
ข้าวที่ผลิตโดยวิธีอื่น



กระสอบข้าวในโรงเก็บ





13. การสี ต้องแยกสีต่างหากจากข้าวทั่วไป โดยทำการใช้ข้าวเปลือกอินทรีย์สีล้างเครื่อง

14. การบรรจุหีบห่อเพื่อการค้า
ควรบรรจุข้าวกล้องหรือข้าวสารในถุงขนาดเล็กตั้งแต่ 1 กิโลกรัม ถึง 5 กิโลกรัม โดยบรรจุในสภาพสูญญากาศ




http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_002.html#1


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/06/2011 7:50 pm, แก้ไขทั้งหมด 7 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 9:24 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตข้าวอินทรีย์

สารอินทรีย์ที่อนุญาตให้ใช้

1. ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุในฟาร์ม
1.1 ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ฟางข้าว ขี้เลื่อย เปลือกไม้
เศษไม้และวัสดุเหลือใช้การเกษตรอื่น ๆ กับปุ๋ยคอก ถ้าจะมีการเติมสาร
อนินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารลงไปด้วย เช่น หินฟอสเฟต จะต้องเป็นสารชนิด
ที่อนุญาตให้ใช้ได้

1.2 ปุ๋ยคอก ถ้าเป็นปุ๋ยคอกจากสัตว์ปีก ต้องมีข้อพิจารณา ดังนี้
- เป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ไม่มีการทรมานสัตว์
- อาหารที่ใช้เลี้ยงต้องไม่เป็นพืชที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรม
- ไม่มีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต

1.3 ปุ๋ยพืชสด เศษซากพืช



2. ปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิดตามรายละเอียดในข้อที่ 1 ที่ผลิตจากวัสดุ
นอกฟาร์ม จำเป็นต้องได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการก่อน

3. ดินพรุ (peat) ที่ไม่ได้เติมสารสังเคราะห์

4. ปุ๋ยชีวภาพหรือจุลินทรีย์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ

5. สิ่งที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงทางพลวัตชีววิทยา (Biodynamic preparations)
และจุลินทรีย์ในดิน ยกเว้นจุลินทรีย์ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม

6. ขุยอินทรีย์และสิ่งขับถ่ายจากไส้เดือนดินและแมลง

7. ดินอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ

8. ดินชั้นบนที่ปลอดจากการใช้สารเคมีต้องห้ามเป็นเวลานานกว่า 1 ปี
และไม่มีการปนเปื้อนของสารพิษ แต่ให้ใช้ได้ในจำนวนจำกัด

9. ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายและสาหร่ายทะเล โดยต้องได้รับการรับรอง
อย่างเป็นทางการ

10. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากพืชและสัตว์ และผลิตผลจากพืชและสัตว์
ที่ไม่มีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม เช่น น้ำที่ได้จากการหมักปลา หอย
เชอรี่ เป็นต้น

11. ของเหลวจากระบบน้ำโสโครกจากโรงงานที่ผ่านกระบวนการหมัก
โดยไม่เติมสารสังเคราะห์และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมีหลักฐาน
ยืนยันว่าไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก และสารต้องห้ามตามหลักเกณฑ์
ของเกษตรอินทรีย์

12. ของเหลือใช้จากกระบวนการในโรงฆ่าสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม
เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานมันสำปะหลัง โรงงานน้ำปลา โดยกระบวน
การเหล่านี้ต้องไม่เติมสารสังเคราะห์และจะต้องได้รับการรับรองอย่าง
เป็นทางการ

13. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหรือสัตว์ ซึ่งปลอดจากสาร
สังเคราะห์





สารอนินทรีย์ที่อนุญาตให้ใช้
1. หินและแร่ธรรมชาติ
1.1 หินบด (stone meal)
1.2 หินฟอสเฟต (phosphate rock) จะต้องมีแคดเมียมเป็น องค์
ประกอบไม่เกิน 90 มก./กก.P2O5
1.3 หินปูนบด (ground limestone) ในรูปของแร่แคลไซท์ หรือ
โดโลไมท์ ห้ามใช้หินปูนโดโลไมท์ที่นำไปเผาไฟ
1.4 ยิบซั่ม (gypsum)
1.5 แคลเซียมซิลิเกต (calcium silicate)
1.6 แมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulfate)
1.7 แร่ดินเหนียว (clay minerals ) เช่น สเมคไตท์ (smectite)
คาโอลิไนท์ (kaolinite) คลอไรท์ (clorite)
1.8 แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar)
1.9 แร่เพอร์ไลท์ (perlite) ซีโอไลท์ (zeolite) เบนโทไนท์ (ben
tonite)
1.10 หินโพแทส เกลือโพแทสเซียมที่มีคลอไรด์น้อยกว่า 60%


2. สารอนินทรีย์อื่น ๆ
2.1 แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล
2.2 เปลือกหอย
2.3 เถ้าถ่าน (wood ash) ต้องไม่ผลิตจากการเติมสารสังเคราะห์
2.4 เปลือกไข่บด
2.5 กระดูกป่นและเลือดแห้ง
2.6 โพแทสเซียมซัลเฟตที่ผลิตจากกระบวนการทางกายภาพ
2.7 เกลือสินเธาว์ (mine salt)
2.8 โบแรกซ์ (Borax)
2.9 กำมะถัน
2.10 ธาตุอาหารเสริม (B Cu Fe Mn Mo และ Zn) ต้องได้รับการ
รับรองอย่างเป็นทางการก่อน


http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_006.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 02/06/2011 10:09 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 9:30 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตข้าวอินทรีย์

ปริมาณธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์




ปริมาณธาตุอาหารพืชโดยประมาณของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ




จาก: เอกสารทางวิชาการเรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายประเสริฐ สองเมือง
กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร 2543

http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_007.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 9:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขั้นตอนในกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการค้า







http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_008.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 9:42 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การผลิตข้าวอินทรีย์ >>

ของดีจากนาอินทรีย์



หลังจากปลูกข้าวอินทรีย์ติดต่อกันเป็นเวลา 2-3 ปี สมดุลย์ของ
ธรรมชาติและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เช่น กบ เขียด ปู
ปลา กุ้ง หอย แมงมุม แมลงปอ แตนเบียน ได้กลับคืนสู่ท้องนา



ทุ่งรวงทอง



ฮวกกบ(ลูกอ๊อดของกบ)




ปลาจากนาอินทรีย์



กบเขียด


http://www.brrd.in.th/rkb/data_010/rice_xx2-10_organic_new_009.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 03/06/2011 4:40 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวกล้องอินทรีย์ (4 ดาว ปี 2553),

http://www.thaitambon.com/Tambon/tsmeprodtsrc.asp?page=9&PRODUCT=0125100&CATID=01&PRODTYPE=0125
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 03/06/2011 4:55 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กลุ่มสตรีบึงกาสามปลูกข้าวหอมแดง และหอมนิลแปรรูปสร้างรายได้


เกษตรกรในเขตอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีนั้น อดีตต่างประสบปัญหาความเสียหายจากโรคส้ม เพราะการใช้สารเคมี
มากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งสารเคมีตกค้าง ทำให้ดินเสื่อมสภาพเป็นกรด เกษตรกรจึงได้หันมาปลูกพืชตัว
อื่นทดแทนแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ประสบกับการขาดทุนเพราะว่าแมลงต่างๆ ดื้อยา โรคและแมลงจึงเข้าทำลาย
ผลผลิตได้ง่าย รายได้ตกต่ำมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากมาย และยังได้มีการเดินขบวนเข้าร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากทาง
จังหวัดอยู่เนื่องๆ

ทางภาครัฐก็ไม่ได้ทอดทิ้งเกษตรกรเหล่านั้นพร้อมทั้งยังสนับสนุนงบประมาณลงมาช่วยเหลือในทุกโครงการ โดยเฉพาะ
นายปรีชา บุตรศรีผู้ว่าฯ คนใหม่ที่เข้ามารับตำแหน่งก็มิได้ทิ้งโครงการดังกล่าว โดยให้การสนับสนุนงบประมาณลงไปใน
ทุกอำเภอ ของจังหวัดปทุมธานี ไม่ว่าโครงการ SML หรือโครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการอยู่ดีมีสุข เพื่อให้เกษตรกร
เหล่านั้นปลูกพืชตัวอื่นทดแทน

อย่างอำเภอหนองเสือนั้นก็มีนายประสบศักดิ์ เนียมรักษา นายอำเภอหนองเสือ ที่รับงบประมาณมาจากทางจังหวัดก็สนับ
สนุนงบประมาณลงไปในทุกพื้นที่ของพื้นที่หนองเสือ เพื่อให้เกษตรกรสร้างอาชีพสามารถลืมตาอ้าปากได้มาจนถึง
ปัจจุบัน


นางนันท์มนัส อัครจิตตรานนท์ เกษตรกร วัย 56 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9/9 หมู่ 7 ต.บึงกาสาม อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เล่าว่า

ในอดีตเดิมทีก็มีอาชีพทำสวนส้มมาก่อนมาในระยะประสบปัญหาโรคส้มจนหมดทุนที่จะทำต่อไป จึงได้กู้หนี้ยืมสินหันมา
ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด แตงกวา ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว ผักหวาน มะระจีน ตะไคร้ ข่า พริกชี้ฟ้า แบบเกษตร
อินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด

เพราะในช่วงดังกล่าวการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นอย่างมากในการรักษาสุขภาพ
และยังเป็นการช่วยลดการระบาดของโรคและแมลง พร้อมทั้งยังเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดินเพิ่มประสิทธิภาพในดิน
และประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ในการปลูก ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมให้มีการเพิ่มปริมาณแมลงที่มีประโยชน์ให้เพิ่ม
มากขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มวงจรของสิ่งมีชีวิตในดินกว่า 200 ชนิด

ปรากฏว่าผลผลิตมีกำไรดีและยังเป็นการแสดงถึงความยั่งยืนด้านการทำเกษตรและยังเป็นการนำไปสู่การได้รับรองการเปลี่ยน
แปลง เพราะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ตามนโยบายภาครัฐอีกด้วย

จากนั้นในปี พ.ศ.2549 ก็เริ่มปรับเปลี่ยนหันมาทดลองทำนาปลูกข้าว ในเนื้อที่แปลงปลูกจำนวน 20 และก็ได้ทำมาตลอด
จนกระทั่งปัจจุบัน โดยการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ จากนั้นก็หันมาปลูกข้าวหอมแดง

ประวัติความเป็นมาข้าวเจ้าเมล็ดข้าวแดงที่เชื่อว่ากลายพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยธรรมชาติ

นำเอาเฉพาะเมล็ดข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงไปปลูกคัดเลือกรวงและปลูกแบบรวง ต่อมามีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง
มี 2 สายพันธุ์ที่สามารถต้านทานได้ จึงคัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่นเพียง 2 สายพันธุ์ คือ (KDML105R-PSL-1) ซึ่งเป็นข้าวหนัก
และ (KDML105R-PSL-2)

ต่อมาก็ทำการคัดเลือกพันธุ์ข้าวหนักกับข้าวเบา โดยสถาบันวิจัยข้าวเสนอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็นพันธุ์ข้าว
ทั่วไป โดยใช้ชื่อว่า ข้าวหอมแดง (RED HAWM RICE) เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 120-130 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว
ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน ไวต่อช่วงแสง ลำต้นแข็ง กอตั้งใบสีเขียวอ่อนเป็นใบธงตกหรือใบโน้ม เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
ระยะพักตัวของเมล็ดข้าวประมาณ 8 อาทิตย์ น้ำหนักประมาณ 643 กิโลกรัมต่อไร่

เป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเข้มข้าวสุกนุ่มเหนียว พร้อมทั้งมีกลิ่นหอมเหมือนขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ในสภาพธรรมชาติได้ดีและโรคใบไหม้ แต่ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรงใบขอบแห้ง และโรคใบขีดโปร่งแสงควรปลูกในแปลงคัดเลือก
ไว้เฉพาะที่เพราะง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

ส่วนข้าวหอมนิลนั้น ข้าวหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาจนได้ข้าวที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้ม ข้าวกล้อง
เมื่อหุงสุกจะนุ่ม เหนียว หอม ข้าวสารหุงสุกมีสีม่วงอ่อน นุ่ม และมีกลิ่นหอมเช่นกัน

คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวหอมนิล คือ ข้าวกล้องมีโปรตีนสูงถึง 12.5 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ
สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 16 เปอร์เซ็นต์ และยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก
สังกะสี ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียมสูงกว่าข้าวหอมมะลิ

นอกจากนี้ยังมีน้ำมันคุณภาพสูงมาก ในส่วนของโปรตีนที่ย่อยสลายได้ มีธาตุสังกะสี และ ธาตุเหล็กก็คือข้าวหอมนิลและข้าว
หอมมะลิ ที่กินเข้าไปแล้วร่างกายดูดซับธาตุเหล็กได้เลย

นอกจากธาตุเหล็กแล้วยังมีธาตุสังกะสี ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ แต่ลำข้าวเหลือจากการขัดสีข้าวได้มีการศึกษาวิจัย
เกี่ยวกับรำข้าว เลยลองนำมาทำยาสระผม ที่คิดทำแชมพูนี้ก็เพราะตนเองมีปัญหาเรื่องผมหงอกและร่วง เห็นว่าข้าวมีสีดำคิดว่าน่า
จะย้อมผมได้ และเมื่อลองนำมาย้อมผมก็มาสะดุดตรงที่ ทำไมเส้นผมนิ่มขึ้น ปกติเป็นคนที่เส้นผมแข็งกระด้างมาก ขณะนี้มีบริษัท
เอกชนทั้งในและต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจ เพราะการนำน้ำมันรำข้าวของข้าวหอมนิลนั้นมาผลิตเป็นแชมพูยาสระผมยังไม่มี
ที่ไหนในโลกทำกัน

นางนันท์มนัส เล่าต่ออีกว่า หลังจากปลูกข้าวหอมแดงข้าวหอมนิลได้ประมาณ 2 ปีในช่วงนั้นปลูกขายให้กับพ่อค้าคนกลางมา
ตลอด ต่อมาจึงคิดจัดตั้งกลุ่มผลิตข้าวหอมแดงและหอมนิลแปรรูป ซึ่งคุณประโยชน์ทั้ง 2 อย่างไม่แตกต่างกันมากนักพร้อมทั้ง
จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านการันตีมาตรฐานสินค้า (OTOP)

จากนั้นก็เริ่มศึกษาหาความรู้จากตำรับตำราและหาข้อมูลความรู้จากคอมพิวเตอร์ ในเรื่องของคุณประโยชน์ของข้าวทั้ง 2 ชนิด
ดังกล่าว จนเริ่มมีความรู้ขึ้น จากนั้นจึงรวบรวมสมาชิกได้จำนวน 5 คน ระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ในการแปรรูปข้าวหอมแดงและ
หอมนิล พร้อมกันนี้ยังได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนายประสพ เนียมรักษา นายอำเภอหนองเสือ จำนวนหนึ่งและพัฒนาสังคมที่ 27
ปทุมธานีอีกจำนวน 30.000 บาท

จัดตั้งสถานที่แปรรูปผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ปลูกข้าวเอง โดยครั้งแรกจัดซื้ออุปกรณ์สีข้าวขนาดเล็กมาสีขายเอง แพ็กเป็นถุงๆ ละ
2 โล ขายโลละ 20 บาท ตกถุงละ 40 บาท ต่อมากิจการของกลุ่มเริ่มเจริญเติบโตขึ้นก็เพิ่มอุปกรณ์สีขาวขนาดใหญ่และเพิ่ม
ผลิตภัณฑ์การทำข้าวงอกและน้ำข้าวกล้องงอก โดยจัดแบ่งให้สมาชิกในกลุ่มและสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านได้มีงานทำ
ซึ่งผลผลิตทางกลุ่มจะรับซื้อคืนในราคา กก.ละ 60-70 บาท ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้ทางกลุ่มได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้อง
ออกไปรับจ้างทำงานยังต่างถิ่นพร้อมทั้งเป็นการเสริมรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี

ต่อมาก็เริ่มแปรรูปข้าวหอมแดงและข้าวหอมนิลเป็นรูปข้าวเกรียบ ปรากฏว่าก็เป็นที่นิยมของตลาด พร้อมกันนี้ยังได้ผลิตยาสระ
ผมสมุนไพรจากข้าวหอมแดงและหอมนิลตลอดจนน้ำยาล้างจาน เริ่มผลิตน้ำยาสมุนไพรต่างๆ ครบวงจร

ส่วนในด้านของการตลาดนั้นเราจะวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ตามร้านค้าต่างๆ ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและตามออร์เดอร์
ที่สั่งเข้ามา ซึ่งทางกลุ่มคิดว่าจะผลิตสินค้าตัวใหม่ๆ ขึ้นมาอีกตามที่ตลาดต้องการ โดยจะพัฒนาตลอดเวลาในส่วนของรายได้นั้น
จะแบ่งเป็นเงินกำไรให้สมาชิกกลุ่มเป็นรายเดือนโดยหักเอาไว้เป็นทุนส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งแบ่งเป็นเงินรายได้ของสมาชิก

นอกจากนี้แล้วในสิ้นปีก็จะแบ่งเงินปันผลให้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่มได้เป็นอย่างดี สามารถ
จุนเจือครอบครัวได้เป็นการช่วยลดภาระให้กับพ่อบ้านได้อีกทางหนึ่ง

ท่านใดสนใจสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ติดต่อได้ที่เบอร์ 08-5962-9751 ได้ตลอดทุกวัน นางนันท์มนัส กล่าว

ด้านนางสุจินตา วิทย์ศิลปะ นักพัฒนาชุมชน 6 กล่าวว่า รับผิดชอบงาน OTOP ของสำนักงานพัฒนาชุมชนของอำเภอหนองเสือ
ในส่วนของการแปรรูปของกลุ่มข้าวกล้องหอมแดงและหอมนิล ซึ่งแปรรูปมาเป็นน้ำข้าวกล้องงอก ข้าวเกรียบข้าวหอมนิล ได้รับ
การจดทะเบียนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองเสือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของ OTOP และวิสาหกิจชุมชนเป็นที่เรียบ
ร้อยแล้ว ในส่วนพัฒนาชุมชนอำเภอหนองเสือที่ตนดูแลอยู่นั้น โดยการรับขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งส่งเสริมในเรื่องของวิชาการ
และความรู้ในด้านการแปรรูปอย่างข้าวเกรียบ ข้าวกล้องสมุนไพรจากข้าวหอมนิล น้ำสมุนไพรข้าวหอมแดงแปรรูปเป็นน้ำข้าวกล้องงอก

ในเรื่องของด้านการตลาดและสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมของตลาดเป็นอย่างมากก็คือ การแปรรูปของข้าวหอมแดงและหอมนิล
และยังเป็นที่สนใจของประชาชนจำนวนมากในการรักษาสุขภาพร่างกาย ช่วยยืดอายุ และบำรุงกระดูกได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของทางด้านการตลาดนั้นทางพัฒนาการได้จัดหาตลาดรองรับโดยการออกบูธที่มีงานออกร้าน (OTOP) ตามจังหวัด หรือ
เมืองทองธานี และตามห้างสรรพสินค้าที่จัดให้มีงานวางจำหน่ายสินค้า (OTOP) โดยการนำสินค้าทางกลุ่มออกวางจำหน่ายทุก
ครั้งเพื่อเป็นการสร้างรายได้กับทางกลุ่มและศักยภาพของการตลาด พร้อมทั้งยังได้รับความต้อนรับจากตลาดเป็นอย่างดีอีกด้วย
ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวขณะนี้ผลิตไม่ทันตามความต้องการของตลาด และในอนาคตทางพัฒนาการอำเภอก็จะสนับสนุนส่งเสริมพัฒนา
ศักยภาพสินค้าชุมชนลงไปในทุกตำบล นางสุจินตา ฯ กล่าว


สมยศ แสงมณี/ปทุมธานี



http://www.ryt9.com/s/bmnd/664454
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 16/06/2011 10:25 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าวอินทรีย์สุรินทร์หอมฟุ้ง ฝรั่งติดใจ ชาวนาไทยได้เงิน





องค์กรชาวบ้านหยัด ยืน 20 ปี จนตั้งสหกรณ์ส่งข้าวอินทรีย์ขายออสเตรเลีย อเมริกา ฝรั่งเศส กว่า 100 ตัน นำเงินเข้าร่วม 10 ล้าน ในประเทศอีกร่วม 5 ล้านบาท

ข้าวหอมมะลิว่าหอมแล้ว ได้กินข้าวหอมมะลิอินทรีย์ยิ่งเลิศรส แล้วถ้าใครมาเห็นข้าวอินทรีย์สุญญากาศ บรรจุกล่องสวยมาตรฐานรอส่งต่างประเทศ เห็นโรงสีข้าวอินทรีย์ได้มาตรฐาน คงจะทึ่งกันบ้าง เพราะนี่เป็นองค์กรชาวบ้านแท้ๆ ที่จับมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนช่วยกันผลักดัน

เมื่อทึ่งก็ต้องไถ่ถาม คำตอบเบื้องต้นคือ "กว่าจะมาถึงวันนี้ ต้องฝ่าอุปสรรคมากมาย รวมตัวต่อสู้ ขวนขวายหาความรู้ มีประวัติศาสตร์องค์กร ประวัติคนทำงาน"

ผู้สูงวัยท่าทางใจดี อดีตประธานคณะกรรมการสหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าวสุรินทร์ กับกรรมการฯ และส้มป่อย จันทร์แสง ผู้จัดการ กับอีกหลายคนรอตอบ

สัมฤทธิ์ บุญสุข วัยกว่า 81 ปี ยังมีเค้าร่างล่ำสัน เคยบึกบึนผ่านงานมาโชกโชน เล่าว่า เคยเป็นตัวแทนค้าปุ๋ยเคมี แล้วหันมาบุกเบิกทำเกษตรเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ ช่วงปี 2528 ปุ๋ยเคมีบูมไปทั่วสุรินทร์ ซื้อจากตัวแทนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) มีการโฆษณาดีสารพัด คนซื้อไปใช้แล้วข้าวงาม ขยายปากต่อปาก ก็ซื้อใส่ตาม ๆ กัน

"สมัยนั้นกลุ่มผมใช้ปุ๋ยเคมีมากที่สุด ต่างก็ตั้งกลุ่มเพื่อจะได้ปุ๋ย ได้ยาจากราชการ 2526 ถึง 2528 อตก. ต้องการตัวแทนจำหน่าย ผมสมัครเป็นตัวแทนจดทะเบียนเป็นผู้ค้าปุ๋ย ชักชวนเกษตรกรมาใช้ด้วยกัน ขายไปถึงอุบล แต่บังเอิญเปลี่ยนรัฐบาล ผู้จัดการ อตก. ก็ดึงคนของรัฐบาลมาทำเอง ผมก็เลยหยุด"

พ่อสัมฤทธิ์ แถมอีกว่า ธุรกิจมันเห็นแก่ตัวด้วย ปุ๋ยบางตัวที่อื่นไม่ใช้ก็โยนมาอีสาน 16–18-0 กับ 16 -20-0 ที่นี่ขายไม่ได้ โยนไปให้อุบลฯ ทางนั้นขายได้บ้าง แต่ก็เหมือนถูกบังคับ

นายปฏิพัทธ์ จำมี เกษตรกรจากตำบลสำโรง ทิ้งงานก่อสร้างชลบุรี กลับบ้านหวังจะพึ่งทำนาข้าว แต่ทำนาเคมี 3 ปีไม่ดีขึ้น เหนื่อยจากไถนาด้วยควายแล้ว ยังต้องหาบกล้าปักดำอีก เมื่อรู้จักกลุ่มเกษตรธรรมชาติ รู้เรื่องเกษตรกรฟูกูโอกะ ก็ลองเรียนรู้ ปลูกเลียนแบบ ไม่ไถ หว่านแล้วใช้ฟางคลุม งอกก็จริง แต่วัชพืช กับแมลงกิน

เป็นสมาชิกเกษตรธรรมชาติ รู้ว่าตลาดโลกต้องการข้าวอินทรีย์ ก็ลองทำ แลกเปลี่ยนกับสมาชิก เช่น จากแปลงพ่อสัมฤทธ์เป็นเกษตรผสมผสาน ธรรมชาติ และอินทรีย์ ให้ผลผลิตดี กับอีกคนหนึ่งใช้สารเคมี ดินแย่ลง กลับมาก็งแบ่ง 1 ไร่ทดลองปลูก ปีแรกได้ 2 กระสอบ

พ่อสัมฤทธิ์ อธิบายว่า เกษตรดั้งเดิม คือ เกษตรธรรมชาตินั่นแหละ สมัยก่อนไม่มีสารเคมี พอใช้สารเคมีแล้วย่ำแย่ เราก็ย้อนกลับไปหาธรรมชาติ ทำเกษตรผสมผสาน ทั้งปศุสัตว์ ปลูกพืช แต่ผสมผสานคนทั่วไปก็ยังใช้สารเคมีอยู่ ส่วนเราใช้อินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยสด วัตถุย่อยสลายได้ อย่างนี้เรียกอินทรีย์

พ่อสัมฤทธ์ พูดถึงสมัยก่อนโน้น กรมพัฒนาที่ดิน มาแนะนำปรับปรุงดิน แจกพืชบำรุง ตรวจสภาพดิน หาค่ากรดค่าด่าง มีสารตกค้างแค่ไหน

"ตอนนั้น สรุปได้ว่าหน้าดินเสื่อม สารตกค้างในดินด้วย" พ่อสัมฤทธ์ ว่า
นายปฎิพัทธ์ เสริมว่า สารเคมีตกค้างแน่นอน ปุ๋ยจะทำให้ดินแข็งขึ้นเรื่อย ๆ เวลาดำนากดลงไป พอยกมือขึ้นต้นข้าวก็ล้ม เพราะกลายเป็นดินทราย ต้องกดดำ 2 หน 3 หน

"เดี๋ยวนี้สมาชิก 300 กว่าครอบครัว ส่วนใหญ่ผ่านระดับมาตรฐานส่งออกนอกได้ 80 % มัธยม 5% ปฐม 15% ก่อนปี 2531 มีทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว ส่งสวิสเซอร์แลนด์ปีละ 1-2 ตัน เริ่มมาขยายฐานที่นี่ เราตั้งกลุ่ม แต่ตอนแรกยังทำไม่ได้ เพราะคนไม่เข้าใจ ไม่รู้เกษตรอินทรีย์ จะเอาอะไรมาปรับปรุงดิน" ปฎิพัทธ์ กล่าว

พ่อสัมฤทธ์ เปรยขึ้นว่า "ไม่มีใครอยากตายผ่อนส่ง ไม่อยากเจ็บไข้ได้ป่วย กินอิ่ม แต่โรคภัยตามมาหรอก"

ปฎิพัทธ์ เสริมว่า อันนี้พูดบ่อยจะสอดแทรกทุกครั้งในการประชุม เราปลอดภัยคนอื่นก็ต้องปลอดภัยด้วย ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

เมื่อถามถึงรสชาติมันต่างจากข้าวใส่ ปุ๋ยเคมีอย่างไร พ่อสัมฤทธ์ บอกเรื่องรสชาติต่างกันแน่นอน เข้าปากรู้ทันทีเลย ถ้าไปกินของคนใช้สารเคมีจะรู้ทันที ลิ้นมันจะบอกเลย อินทรีย์จะมีความหอมความอ่อนกว่า นิ่มกว่า

"ถ้าไม่เชื่อต้องลองด้วยตัวเอง ลูกค้าบางกลุ่มมาให้เราหุงให้กิน เค้าเคยกินมาก่อน แล้วก็มาที่นี่ เราหุงให้กินแล้วเค้าจะซื้อ กว่าจะซื้อว่าเอาเกรดนี้ เอาคุณภาพนี้ ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อเพราะเราทดลองหุง กลิ่นหอมมันออกมา เค้าตัดสินใจ"

คุณสมป่อย จันทร์แสง ผู้จัดการสาวได้โอกาสพูดบ้างว่า “มันนุ่ม ถ้าเป็นหอมมะลิ หอมจริงๆ ข้าวบูดช้า ข้าวยังไงก็ต้องบูด แต่ข้าวอินทรีย์จะบูดช้า ข้าวเคมีจะบูดเร็ว ข้ามคืนก็บูดแล้ว แต่อินทรีย์ข้ามคืน สบายเลย"

ทุกขั้นตอน คงคุณค่าข้าวอินทรีย์
น.ส.อร ทัย บูรณะ พนักงานขาย และหัวหน้าฝ่ายโรงสี น.ส.จิตราพร ก่อทอง ฝ่ายควบคุมคุณภาพ (Q.C.) น.ส.ณัฐธิดา จันทร ฝ่ายการเงิน ช่วยกันเล่า เรื่องมาตรฐานข้าวเปลือกรับซื้อ

แบ่งเป็น 5 มาตรฐาน ดังนี้
1. ปฐมอินทรีย์ (Primary Organic)
2. อินทรีย์ปรับเปลี่ยน (Inconventional)
3. สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย หรืออินทรีย์ มกท.(Organic Agriculture Certification Thailand)
4. อินทรีย์ EU(EC) No.834/2007 & of Regulation, No.889/2008
5. อินทรีย์ NOP (USDA/NOP USDA’s National Organic Program NOP)

เราพากันเรียกล้อๆ ว่าเป็น ข้าวปฐม คือ แบ่งที่นาบางส่วนทดลองทำ ข้าวมัธยม คือปรับเปลี่ยนทำอินทรีย์ 3 ปี ข้าวมหา’ลัย ทำส่งยุโรปต้องทำอินทรีย์มาแล้ว 24 เดือนขึ้นไป และข้าวดอกเตอร์ส่งอเมริกา 36 เดือนขึ้นไป

สำหรับโรงสีกำลังการผลิต 24 เกวียน เท่ากับสีได้ข้าวสารชั่วโมงละ 1 ตัน แต่ทำวันละ 8 ชั่วโมง หรือ โอที อีก 1 ชั่วโมง เพราะตกค่ำแมลงจะเข้าไป

ก่อนจะนวดข้าว ตัวแทนกลุ่มนำกระสอบสั่งผลิตพิเศษไปแจกสมาชิก กำหนดส่ง จะมีกรรมการ เจ้าของข้าว คนตรวจมาตรฐาน มาพร้อมกัน ดูพันธุ์ข้าว สิ่งเจือปน ปั่นกะเทาะออกมาวัดเปอร์เซ็นต์ข้าวต้น (ข้าวเต็มเมล็ด) ส่งเข้าโรงสี พร้อมใบกำกับประเภทข้าว จากนั้นส่งข้าวไปห้องคัดแยกสิ่งเจือปน

ขั้นตอนบรรจุ ข้าวส่งมาพร้อมใบกำกับ ชั่งน้ำหนักใหม่ คัดมาตรฐานข้าว ร่อนฝุ่น แยกสิ่งเจอปน บรรจุถุง ช่วงนี้จะสุ่มตรวจชั่วโมงละ 15 ชิ้น เข้าเครื่องอัดสุญญากาศ ออมาเป็นก้อน สุ่มตรวจอีกเท่ากัน เกณฑ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ทำกับกรีนเนท

"อัดสุญญากาศแล้ว พักไว้ 1 วัน ในโรงบรรจุ ต้องปลอดสารเคมี ปลอดสารพิษ มด แมลงก็ห้ามเข้าเด็ดขาด"

ถามเย้าว่า ติดป้ายห้ามมด แมลง ด้วยหรือ? มีฮานิดหน่อย มุขแป๊ก! จิตราพร ยังว่าต่อ ถ้าเข้าไปได้ ก็ต้องเช็ดกวาด คนของเราเข้าไปก็ต้องทำตามกฎ ใส่ชุดฟอร์ม ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ผ้าคลุมผม

จากนั้นนำใส่กล่องสี คือ กล่องพร้อมส่งออก บรรจุลงลังตามขนาด 4 กิโล 10 กิโล 12 กิโล 20 กิโล ซึ่งขนาด 1 กิโล และครึ่งกิโล นิยมที่สุด รองลงมา 5 กิโล

เมื่อปีที่แล้ว ส่งออก 4 ประเทศ ออสเตรเลีย อเมริกา ฝรั่งเศส สิงคโปร์ สำหรับออสเตรเลีย 5.9 ตัน มูลค่า 370,000 บาท อเมริกา 40 ตัน 2,500,000 บาท ฝรั่งเศส 64 ตัน 4,700,000 รวมเป็น 9,880,000 บาท ส่วนสิงค์โปร์เพิ่งเริ่มส่งออกเล็กน้อย

ส่งขายในประเทศ 97 ตัน มูลค่า 4.6 ล้านบาท ถูกกว่าเพราะไม่มีค่ากล่อง ค่าบรรจุ ในประเทศหน้าร้านไม่อัดสุญญากาศ ขายกิโลละ 18 บาท ถ้าอัดสุญญากาศข้าว อินทรีย์ มกท.กิโลละ 40 บาท ข้าวกล้อง 37 บาท ราคาขยับราว 50 สตางค์ ตามค่าเงินดอลล่าร์

ระยะแรก ๆ ยังไม่ตรวจรับรองมาตรฐาน จนปี 2539 สมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. ซึ่งจะมาตรวจแปลงนา กระสอบ สถานที่แพคกิ้ง ส่วน “แฟร์เทรด” ตรวจความเป็นธรรมด้านแรงงาน

นายประสงค์ สีสะอาด ประธานคณะกรรมการสหกรณ์ฯ ตอนนี้ใช้เงินซื้อข้าว 20 ล้านบาท ส่วนเงินหมุนเวียนประมาณ 12 ล้าน บริหารจัดการ จ้างงานในชุมชม จ้างงานครอบครัวสมาชิก พนักงานประจำ 6 คน รายวัน 21 คน

"สหกรณ์ยังส่งเสริมปลูกพืชหลังเกี่ยว เช่น ผัก หอม กระเทียม ถั่วลิสง รับซื้อของสมาชิก และส่งเสริมทำปศุสัตว์ เป็นอาหารให้ครัวเรือนด้วย" ประธานฯ ระบุ

คืนสู่รัง ครอบครัวอบอุ่น
"จบ ปวช. 2530 ทำงานกรุงเทพ ตีโครงเฟอร์นิเจอร์วันละ 90-300 บาท ทำตามรุ่นพี่สัก 3 เดือนก็รับเหมาต่อ ถ้าวันละ 3 ชุดก็ประมาณ 300-400 บาท แต่ถึงฤดูนาก็กลับมาทำนา รายได้ทำงานก็ส่งให้พ่อแม่ซื้อปุ๋ยเคมีใส่นา"

นายสำราช ทองเอี่ยม หนุ่มใหญ่วัยสี่สิบเศษ เกษตรกร ต.ทมอ อ.ปราสาท เล่าชีวิตก่อนพบทางเกษตรอินทรีย์ มีนางจินตนา ภรรยายิ้มนัยน์ตารื้นอยู่ใกล้ ๆ

เขาเล่าต่อไปว่า 2534 กลับมาอยู่บ้าน ปีถัดมาก็แต่งงาน แล้วก็พากันเข้ากรุงเทพ ผัวอยู่ลาดพร้าว เมียทอผ้าอยู่สามพราน วีกละ 2,000 บาท นาน ๆ ได้เจอกัน จนปี 2538 ย้ายมาทำงานที่บางนา กม.6 เป็นช่างซ่อมรถเครน เมียทำโรงงานร้องเท้าแถวบางโฉลง อยู่ห้องเช่าด้วยกัน ถึงปี 2540 พฤษภาคม ตัดสินใจกลับบ้าน ตอนนั้นมีปัญหาค่าแรงตก เมียรวม โอที ได้วีกละ 3,000 บาท ผัวเดือนละ 6,500-7,000 บาท แต่ไม่มี โอที ก็อยู่ยาก

อยู่บ้านเพื่อน พี่ ๆ แนะนำไปศึกษา ไปดูงานเกษตรอินทรีย์ ปีถัดมาก็ลงมือทำนาอินทรีย์ 5 ไร่ได้ไม่ถึง 2 ตัน ถ้านาเคมีจะได้ราว 2,300 กิโล แต่หลัง 3 ปี ก็ได้ถึง 2 ตัน จนปี 2545 ทำเพิ่มเป็น 35 ไร่

"รายได้ข้าวปีละเกือบ 2 แสนบาท จากข้าว 10 ตันกว่า ไว้กิน 1 ตัน ทำพันธุ์ 1 ตันกว่า นอกนั้นขายให้กองทุนข้าว มาปี 50 ซื้อนาเพิ่ม 7 ไร่ ปลูกผักอินทรีย์ขายตลาดสีเขียว ซื้อผ่อนรถไถเดินตาม ต่อเติมบ้าน ส่งลูกเรียน คนโตเข้ามหาวิทยาลัย คนเล็ก ม.3" ภรรยาเล่า นัยน์ตายังรื้นไม่หาย

จุฑามาศ สดมสุข พี่สาวของจินตนา เล่ารับลูกกัน และเป็นเรื่องลูกจริง ๆ ครอบครัวน้องมาอยู่บ้าน ก็เป็นโอกาสเธอกับสามีไปกรุงเทพบ้าง วันแรกนั่งรถตู้เข้ากรุงเทพ รถคว่ำ เสียชีวิตหลายคน เธอบาดเจ็บสาหัส แต่สามีไม่เป็นอะไรเลย พอหายเจ็บก็พากันเข้ากรุงอีก

เธอสุขภาพไม่ค่อยดี โรคไมเกรนประจำตัว เครียดหลายอย่าง เข้าไปช่วงฟองสบู่แตก กลับมาบ้านพักหนึ่ง ก็กลับไปอีก ทำงานบริษัททั้งสองคน เธอต้องกินยาประมาณ 420 บาทต่อสัปดาห์ กิน 2-3 สัปดาห์ติดกันไม่หยุด ถึงขั้นเหงื่อออก ฉี่ก็ได้กลิ่นยา

กลับมาเยี่ยมบ้าน น้องเขย (นายสำราช) ก็บอกให้กลับมาอยู่บ้าน ทำเกษตรอินทรีย์ทุกครั้ง ปรึกษากับสามี ๆ ไม่มั่นใจ แต่ในที่สุด ก็ตัดสินใจกลับบ้านปี 2546 ทำนาอินทรีย์ 13 ไร่ของตัวเอง ต่อจากน้อง

จุฑามาศ เล่าอดีตขมขื่นว่า คลอดลูกได้เดือนเศษก็ไปทำงานกรุงเทพ ปล่อยให้น้าเลี้ยงแทน มาเยี่ยมลูก ตอนขวบเศษ ลูกไม่ให้อุ้มเลย แม่น้ำตาร่วงเลย จะได้อุ้มแค่เวลาหลับ อยู่ห่างกันได้แต่บอกรักทางโทรศัพท์ อยากได้อะไรก็หาให้ มาถึงช่วงเรียนอนุบาล น้องโทรบอกว่า ลูกสาวคนเล็กไม่สบาย ชักบ่อย

ก็ถามหมอ ทำไมชักบ่อย จริงๆ แล้วลูกต้องการความอบอุ่นจากแม่ เราก็ยังไม่พร้อม แต่น้องขู่ ถ้าไม่มาอยู่บ้านก็ไม่เลี้ยงลูกให้ ไม่เฝ้าบ้านให้ด้วย

"กลับมาอยู่บ้านทำนาอินทรีย์ มีความสุขมาก อยู่กับลูก พาลูกเที่ยว ตอนนั้นคนโต 7 ขวบ คนเล็กอนุบาลก็ไม่ชักอีกเลย" เธอพูดด้วยสีหน้ามีความสุข

ทุกวันนี้ คนโตเรียน ม.3 คนเล็กขึ้น ป.5 ทำนาอินทรีย์ขายข้าวมาตรฐาน มกท. สามีเป็นช่างก่อสร้าง เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยไป ทำปศุสัตว์ในบ้าน ปลูกผัก ไปขายตลาดสีเขียว ที่ อ.ประสาท อังคาร พุทธ พฤหัส ส่งข้าว “ร้านข้าวหอม” วันเสาร์มาตลาดสีเขียว อบจ.

จุฑามาศ เล่าด้วยความปลื้มมาก ๆ เช่นเดียวกับ สำราช จินตนา เพราะต่างได้ครอบครัวคืนมาอย่างทันท่วงที

สู้พ่อตา...ขอทำนาอินทรีย์
ส่วน ประสิทธิ์ โคตรโสภา ชาวมหาสารคาม เขยตำบลโคกสำโรง ตั้งใจจะเอาดีทางเรียน แต่มีปัญหาครอบครัว ต้องออกจากบ้านมาอยู่กับพี่สาวพี่เขย ทำเอ็กซ์ปอร์ต อิมปอร์ต เรียนจบ ม.ศ.3 พี่ไม่ให้เรียนต่อ ทำงานด้วย 6 ปี จึงออกไปทำงานสารพัด ช่วงนั้นเที่ยวแหลก แต่เอ่ยปากกับเพื่อนว่าถ้า 28 ปี ไม่รวยก็จะแต่งงาน

"อายุได้ 28 ผมก็แต่งงานเลย คบไม่กี่วัน อยู่มาจนเดี๋ยวนี้ลูก 3 คน"
แต่งงานปี 2533 ปีต่อมาก็คลอดลูก มาอยู่บ้านพ่อตา อยากทำนาอินทรีย์ เมียกับพ่อตาไม่เอาด้วย แต่ชิงลงมือทำแล้ว วันต่อมา พ่อตาเอาปุ๋ยเคมีไปหว่าน จ้างคนฉีดยาฆ่าแมลง พ่อตายังก่อหนี้ให้รับภาระแทนด้วย ทำนาเสร็จ เขามากรอกไปหมด เหลือเฉพาะข้าวพันธุ์ ต้องซื้อข้าวสารกิน ยืมข้าวกิน 9 กระสอบ ดอกเบี้ย 4 กระสอบครึ่ง

"ปี 2545 คิดว่าใช้หนี้หมดแล้ว แกไปเล่นพนันมีหนี้อีก ต้องเช็คแล้วล๊อคไว้ อาเจ๊ อาหมวย ห้ามให้แล้วนะ ถ้าให้ ผมไม่จ่ายแน่ มาหมดหนี้ปี 47 กว่า 4 หมื่นบาท ตอนนี้แกเลิกแล้ว เพราะเอาความดีเข้าสู้"

"ตอนนั้นบอก ไม่ไหวแล้ว ถ้าพ่อให้ผมทำนาวิธีนี้ ผมจะเลิก จะย้ายออกจากบ้านนี้" ประสิทธิ์ เล่าพลางอมยิ้มกับอดีต





*สหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าวสุรินทร์ จำกัด 88 ม.7 บ้านทะนง ต.แกใหญ่ อ.เมือง จ.สุรินทร์ โทร.044-528377, 044-040180
E-mail: sfsfsrmer@hotmail.com อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

http://www.isranews.org/community-news/%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2/item/2297-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©