-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - เมื่อได้เยือน ไร่กล้อมแกล้ม #1 .................... tuta
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

เมื่อได้เยือน ไร่กล้อมแกล้ม #1 .................... tuta

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 09/06/2011 6:45 pm    ชื่อกระทู้: เมื่อได้เยือน ไร่กล้อมแกล้ม #1 .................... tuta ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก : tuta
ถึง : kimzagass

ตอบ : 09/06/2011 6:13 pm
ชื่อกระทู้ : เมื่อได้เยือน ไร่กล้อมแกล้ม #1




มาเล่าสู่กันฟังค่ะ กับภารกิจในวันนี้

ไปถึงประมาณ 9 โมงกว่าตามที่ได้ตั้งใจไว้ค่ะ ได้เจอพี่นงนุชและสามี (คู๋สามีภรรยาที่ได้รู้จักลุงคิมมาตั้งแต่ปี 2542)
มาเยี่ยมลุงคิมพอดี ลุงจึงถือโอกาสนำเดินชมรอบสวนในคราวเดียวกัน ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลายอย่างมากๆค่ะ
ในการเยี่ยมชมวันนี้

ขอเล่าถึงพี่นงนุชและสามีค่ะ จากการคุยกันได้ความว่า พี่นงนุชนั้นได้ติดตามการบรรยายของลุงคิมตั้งแต่ 12 ปี
ก่อนโน้น เอาเป็นว่าลุงไปบรรยายที่ไหน พี่นงนุชจะตามไปฟังตลอด ในบางครั้งนั้น ไปเพื่อให้เห็นหน้าแล้วก็กลับ
ส่วนความรู้ที่ได้ฟังมา ก็นำมาปฏิบัติกับแปลงผักของตัวเองที่นครปฐม มีการดัดแปลงบ้าง ตามประสาคนชอบทดลอง

มาวันนี้ ผลผลิตของ "ไร่แสงระวี" ฟาร์มผักปลอดภัยจากสารพิษ ของพี่นงนุชและสามี ผลิตได้มาตรฐานการส่งออก
หลังจากที่ได้ลองผิดลองถูกมาหลายปี พี่นงนุชมักจะบอกคนอื่นๆว่า ที่มีวันนี้ได้ก็เพราะได้ข้อมูลจากลุงคิมค่ะ
ที่สำคัญ คือ การนำไปปฏิบัติและพลิกแพลงตามสมควร


"บัญชีข้างฝา" เป็นสิ่งที่ลุงคิมเน้นย้ำ ซึ่งพี่นงนุชเล่าถึงในจุดนี้ว่า ตัวเองนั้นจดรายละเอียดทุกอย่าง ลงในสมุดเล่ม
ละ 90 บาท (ใช้จดได้หลายเดือนอยู่) ว่าแต่ละวันนั้นมี "รายรับหรือจ่าย" อะไรบ้าง เมื่อมาตรวจสอบย้อนกลับก็จะ
ได้รู้ว่า เกิดอะไรขึ้นในอดีต ละเอียดถึงขั้นที่ว่า ลูกสาวเอาสมุดเล่มนี้ให้เจ้าหน้าที่ของราชการที่มาตรวจอ่านดูก็เข้าใจ
ค่ะว่า มีอะไรเกิดขึ้นบ้างที่ไร่แสงระวีในวันนั้นๆ

ที่ลุงเน้นย้ำ เพราะเกษตรกรทั่วไป ไม่มีการบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ไม่รู้ต้นทุนที่แท้จริงของ
ตัวเอง รวมถึง ไม่มีการบันทึกต้นทุนค่าเสียโอกาสในเรืองของที่ดินและค่าแรงของตัวเอง ในการเป็นต้นทุนส่วน
หนึ่งของการทำเกษตร


ได้เห็นใบหน้าที่มีความสุข มีรอยยิ้มตลอดเวลาของพี่นงนุชและสามีตลอด การพูดคุย ก็ให้นึกว่า ไม่รู้ว่าใบหน้า
ของพี่ทั้งสองจะเป็นเช่นไรในวันนี้ ถ้าพี่ทั้งสองยังคงดึงดันใช้ปุ๋ยเคมีสุดขั้ว ตามแบบวิธีการดั้งเดิมที่เป็นอยู่ ฟังได้
ความมาว่า จุดที่ทำให้เปลี่ยนชีวิตส่วนหนึ่งก็มาจาก การที่สภาพร่างกายทนรับต่อสารเคมีที่ใช้ในแปลงไม่ไหวแล้วค่ะ

เดี๋ยวมาเล่าต่อค่ะ

ต๊ะ



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1571&sid=5541e7a55bad559c8d0fac05b413f2c9


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 11/06/2011 1:48 pm, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 09/06/2011 9:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก : tuta
ถึง : kimzagass

ตอบ : 09/06/2011 8:43 pm
ชื่อกระทู้ : มาเล่าต่อ...



ต้นปี ฝรั่งจากนอร์เวย์ยังมาเยี่ยมไร่แสงระวี เข้าใจว่ามาเยี่ยมดูมาตรฐานการปฏิบัติงานและสถานการณ์ต่างๆ
ที่มีผลกระทบ พี่ผู้ชายเล่าว่า ช่วงหลังอากาศแปรปรวนมากขึ้ัน ทำให้การจัดการเรื่องแมลงศัตรูพืชยากขึ้นกว่า
เดิม ซึ่งทำให้กระทบกับผลผลิตของไร่

จากงานเหนื่อยยากในอดีตจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งวันนี้ .....พี่นงนุชเล่าว่า พี่เค้ากำลังจะได้รับรางวัล
เกษตรกรดีเด่นค่ะ (โดยไม่ต้องจ่าย....ให้กับ......) .... นี่คือ ละเว้นในฐานที่เข้าใจค่ะ

ส่วนตัวเองนั้น มาวันนี้ เพิ่งจะเริ่มต้นก้าวเข้ามาในเส้นทางสายนี้ เชื่อว่า คนอีกหลายคนที่รู้จักเรา กำลังเฝ้าดู
การย่างก้าวของเรานับจากนี้ เท่าที่คุยมา ทุกคนเบื่อกับการเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่สำคัญคือ คนส่วนใหญ่
จะบอกว่าถ้าไม่ทำงานประจำ ก็ไม่รู้จะออกไปทำอะไรค่ะ บางคนบอกว่า ที่คิดออกตอนนี้ ก็เห็นมีแต่ไปเปิด
ร้าน 7-11 ดูจะเป็นทางเลือกที่ง่ายที่สุด

จึงคิดได้ว่า เออเนาะ ตัวเองนี่ก็โชคดีนะ ที่ชีวิตมีทางเลือกไม่ต้องตกอยู่ภายใต้กรอบเหมือนคนอื่นๆ อย่างไร
ก็ตาม ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเกิดจากที่เราคิดว่า ชีวิตเรานั้นเราออกแบบมันได้ต่างหาก ย่างก้าวที่กำลังจะไป
มันไม่ได้ง่าย แต่มันก็ไม่ได้ยากซะจนเราจะทำไม่ได้ เชื่อว่าความมุ่งมั่น ความไม่ท้อถอย (บวกกับมันสมอง
ที่มีอยู่) ที่จะเป็นพลังเอาชนะอุปสรรคทั้งหมดค่ะ



good night ค่ะ

ต๊ะ



http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Private_Messages&file=index&folder=inbox&mode=read&p=1573&sid=f73699018b590e2dafcb4f0f1ba77735




...... ต๊ะ .......TUTA .......








......... นงนุช ......




........ กับข้าวโพดหวาน ATS-5 .........





........ ในโรงงาน UREGA-TAIPE-BIOI ........


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 14/06/2011 3:28 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 14/06/2011 10:16 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

คุณนงนุชฯ (086) 796-0270 วันนี้ทำสวนผักแบบ "อินทรีย์นำ - เคมีเสริม - ตามความเหมาะสม...." ส่งออกยุโรปมาหลายปีแล้ว ในการผลิตใช้ทั้ง "ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี" ใช้ทั้ง "สารสมุนไพร และสารเคมี" แต่มีการควบคุมการใช้อย่างถูกต้อง เคร่งครัด ละเอียด ประณีต ระมัดระวัง ได้รับมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร ผลผลิตส่งออกเมื่อตรวจที่ด่านตรวจ "ผ่าน" ทุกครั้ง

บ่อยครั้งที่ผู้นำเข้าจากต่างประเทศเดินทางจากยุโรปมาดูถึงแปลง (มาตามรายละเอียดในบาร์โค้ต) เพื่อความแน่ใจ ครั้นเมื่อมาเห็นแล้วต่างก็ยอมรับ บางรายต้องการเพิ่มออร์เดอร์สั่งซื้อ แต่คุณนงนุชฯ ไม่สามารถผลิตให้ได้ เพราะกำลังการผลิตไม่พอ หากจะเพิ่มพื้นที่ขนาดแปลงก็เกรงจะควบคุฒไม่ทั่วถึง จึงปฏิเสธไป

วันที่ไปไร่กล้อมแกล้มวันนั้น คุณนงนุชฯ พกอัลบั้มรูปถ่ายที่ต่างประเทศ หลายประเทศ เจ้าหน้าที่กรมวิชาการ ผู้สื่อข่าว ทีวี. ทุกช่อง นสพ.หลายฉบัน ไปขอทำข่าว ชอบใจมากที่คุณนงนุชฯ แต่งชุดผ้าซิ่นไทยรับแขก มาให้ดูด้วย ..... ไม่รู้ตัวเองเหมือนกันว่า มัวตะลึงอะไรอยู่ ทำไมไม่ COPY ภาพในอัลบั้มลงกล้อง แล้วเอามาโพสต์ในเน็ตนี้ ..... เอาเป็นว่า สนใจเรื่องราวพวกนี้โทรคุยกับเจ้าตัวโดยตรงเลยก็แล้วกันนะ

ตอนท้าย คุณนงนุชฯ ยืนยันแน่นอนว่า ตลาดมีอยู่แล้ว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่เกษตรกรผลิตไม่ได้เอง....




ลุงคิม (รอคุณหลานต๊ะ เข้ามาโพสต์เรื่องนี้ รอแล้วรอเล่าไม่เข้ามาซักกะที เลยต้องร่ายเอง) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 14/06/2011 3:35 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ผลิตผักปลอดภัยภายใต้ระบบ GAP
Safety Vegetable Production under GAP System


ชวนพิศ อรุณรังสิกุล ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล และ รุ่งนภา ก่อประดิษฐ์สกุล
งานเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืช, งานวิจัยสภาวะแวดล้อม ฝ่ายปฏิบัติการและเรือนปลูกพืชทดลอง

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
โทร.0-3428-1092



ผักผลไม้สดที่วางขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ต้องดูสวย ไม่มีร่องรอยของการถูทำลายโดยโรคและแมลงศัตรูพืช แต่ความสวยงามนั้นไม่ได้บ่งบอกถึงความปลอดภัยทางอาหารอย่างแท้จริง ในทางกลับกันอาจมีสารปนเปื้อนจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของคน ดังนั้นขั้นตอนและวิธีการจัดการให้ผลผลิตปลอดภัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบความปลอดภัยของอาหาร ตั้งแต่แปลงปลูกจนถึงโต๊ะอาหาร (From Farm to Table) เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปนเปื้อนดังกล่าวได้ถูกคิดค้น คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เช่น การใช้สารชีวภัณฑ์จากธรรมชาติทดแทนสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช การลดการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในผลผลิตระหว่างกระบวนผลิตไปจนถึงหลังการเก็บเกี่ยวด้วยสารสกัดจากสมุนไพร เป็นต้น


GAP (Good Agricultural Practice) หมายถึง ระบบการผลิตที่ถูกต้องในฟาร์ม โดยพิจารณาตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีลักษณะตรงตามความต้องการ และมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ในประเทศไทยได้มีการเริ่มจัดทำระบบ GAP ของแต่ละพืช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยเน้นด้านการปฏิบัติตามคู่มือการผลิต ดังตัวอย่างที่ปรากฏในลักษณะของเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่รู้จักกันในชื่อ GAP ของพืชหลายชนิด โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมีการแก้ไขให้เป็นเอกสารการจัดทำระบบการผลิตตามข้อกำหนด GAP ของประเทศต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในไม่ช้า


ข้อกำหนดของประเทศผู้ซื้อที่จัดได้ว่าเข้มแข็งที่สุดและนิยมใช้ในการอ้างอิงมากที่สุด คือ ข้อกำหนดของสมาพันธ์การค้าปลีกในตลาดยุโรปที่เรียกว่า "EUREP-GAP (Euro Retailer Produce Working Group - GAP)" การพิจารณาข้อกำหนดต่างๆ พิจารณาจากพื้นฐานด้านสังคม และข้อมูลทางการศึกษาวิจัยของประเทศนั้นๆ ทั้งด้านสุขอนามัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นบริษัทในประเทศไทยต้องการส่งออกสินค้าทางการเกษตรไปจำหน่ายในประเทศใดๆ ในสหภาพยุโรป จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศผู้ซื้อเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานของยุโรป (EUREP-GAP)

กฎเกณฑ์ข้อกำหนดของ EUREP - GAP ประกอบด้วยการพิจารณาหัวข้อต่างๆ ดังนี้

การทวนสอบ
การรักษาระบบบันทึก
พันธุ์พืช
การจัดการพื้นที่และประวัติแปลง
การจัดการดินและวัสดุปลูก
การจัดการปุ๋ย-ธาตุอาหาร
ระบบการให้น้ำ การดูแลรักษาพืช
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว
การจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการสุขลักษณะ
การร้องเรียน
การตรวจสอบภายใน


นอกจากนั้นข้อกำหนดดังกล่าวจะต้องมีการพิสูจน์ให้ผู้ซื้อทราบได้ด้วยว่ามีการปฏิบัติดังกล่าวจริงในระบบการผลิต จึงทำให้เกิดระบบบริษัทที่ปรึกษา (consultant) ในลักษณะขององค์กรรับรอง (Certified Body; CB) โดยอาศัยระบบมาตรฐานหลายองค์ประกอบเข้าร่วมกันเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และสามารถตรวจสอบได้ การผลิตในระบบมาตรฐาน GAP จะประกอบด้วยกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ

เกษตรกรหรือผู้รวบรวมผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกร เป็นการรวมกลุ่มเกษตรกร หรือ เกษตรกรแบบรายเดียว หรือ ผู้ผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งอาจจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลระบบผลิตจากบริษัทส่งออกผลผลิตผักผลไม้สด

ผู้ส่งออก ได้แก่ ผู้ที่มีการรับรองฐานะของบริษัท และมีนโยบายของธุรกิจเพื่อการส่งออกในเรื่องของคุณภาพผักผลไม้สด

หน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรสาธารณะอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระให้การสนับสนุนในเรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการผลิต หรือบางองค์กรอาจทำหน้าที่ในการรับรอง




องค์ประกอบต่างๆ ที่กล่าวมาในขั้นต้นจะมีความสัมพันธ์กันดังภาพที่ 1



ภาพที่ 1 การส่งออกของผลิตภัณฑ์ผักผลไม้สด ภายใต้ระบบการรับประกันคุณภาพโดยหน่วยงานของรัฐ และการรับรองผ่านองค์กรรับรองระหว่างประเทศ



http://www.rdi.ku.ac.th/Techno_ku60/res-28/index28.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©