-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - การบำรุงดินหลังน้ำหลาก ............... sombut2408
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

การบำรุงดินหลังน้ำหลาก ............... sombut2408

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 3:52 pm    ชื่อกระทู้: การบำรุงดินหลังน้ำหลาก ............... sombut2408 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

จาก : sombut2408
ถึง : kimzagass

ตอบ : 02/06/2011 12:20 pm
ชื่อกระทู้ : การบำรุงดินฟลังน้ำหลาก



อยากทราบการบำรุงดืนหลังน้ำหลากทุกปี


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 09/06/2011 6:54 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 6:05 pm    ชื่อกระทู้: Re: การบำรุงดินหลังน้ำหลาก ................... sombut2408 ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
จาก : sombut2408
ถึง : kimzagass

ตอบ : 02/06/2011 12:20 pm
ชื่อกระทู้ : การบำรุงดินฟลังน้ำหลาก



อยากทราบการบำรุงดืนหลังน้ำหลากทุกปี

ตอบ :
คำถามกว้างมาก กว้างพอๆกับท้องน้ำที่ท่วมเข้ามานั่นแหละ เลยตอบแบบฟันธงให้ไม่ได้ เมื่อถามมากว้างก็เลยต้องตอบกว้าง ไล่อ่านตามลิงค์ที่ยกมาให้อ่านก็แล้วกัน เรื่องไหนตรงกับของเราก็เอาตามนั้นนะ

ประสบการณ์ตรง :
1.... ราว 10 ปีมาแล้ว แปลงนาข้าวกลางทุ่ง เนื้อที่ 60 ไร่ ย่านลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี เจ้าของต้องการเปลี่ยนแปลงนาข้าวเป็นสวนผสม ตั้งใจจะปลูกพืชผักผลไม้ เลี้ยงสัตว์สารพัด แต่เนื่องจากพื้นที่บริเวณนั้นเป็นเหมือนแอ่งก้นกะทะ น้ำท่วมทุกปี ท่วมมากท่วมน้อย ตามประสาทุ่งนาข้าว

ตัดสินใจขุดคลองทำค้นล้อมแปลงนาทั้ง 4 ด้าน โดยขุดคล้องด้านในแล้วเอาดินมาถมด้านนอกที่เป็นแนวเขตที่ดิน สันคันล้อมกว้าง 3 ม. ตีนคันล้อมกว้าง 6 ม. สูง 3.5 ม. (สูงกว่าสถิติน้ำเคยท่วมสูงสุด 50 ซม.) ด้านในจัดแปลงสวนแบบยกร่องน้ำหล่อ สันแปลงกว้าง 6 ม. ยาวสุดเขต ร่องน้ำลึก 1.5 ม. ก้นสอบ 1 ม. ผิวน้ำในร่องกว้าง 3 ม. วางแผนไว้ว่า ส่วนที่เป็นสันแปลงสำหรับปลูกพืช ส่วนที่เป็นน้ำจะเลี้ยงปลาหรือเลี้ยงสัตว์ที่ร่วมกับน้ำได้ เช่น ไก่บนบ่อปลา. กบกระชังในร่องน้ำ. เป็ดริมร่องน้ำ เป็นต้น

ถึงวันนี้คันล้อมนั้นยังสามารถป้องกันน้ำเข้าท่วมสวนได้ดี ระดับน้ำฤดูน้ำหลากยังไม่สูงกว่าสถิติที่เคยท่วมสูงสุด ประมาณนี้แล้ว เจ้าของสวนยังคงต้องสูบน้ำออกจากร่องสวนตลอดฤดูน้ำหลาก เพื่อเปิดพื้นที่ว่างสำหรับรับน้ำที่มาจากฝน



2.... สวนลุงช้าง มะม่วงแม่ลูกดก (081)701-3762 ไกล้สถานีอนามัยพระพิมล อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เนื้อที่ 20 ไร่ ทำคันล้อมรอบสวนป้องกันน้ำท่วม สันคันล้อมสูง 2.5 ม. กว้าง 3 ม. ตีนคันล้อมกว้าง 5 ม. จัดแปลงแบบสวนยกร่องน้ำหล่อ ทุกฤดูน้ำหลากจะเตรียมเครื่องสูบน้ำหางนากขาด 6 นิ้ว 3 เครื่อง เตรียมพร้อมสูบน้ำจากในสวนออกได้ทุกเวลา ก็เลี้ยงตัวมาได้จนทุกวันนี้


3.... สวนมะกอกน้ำ เนื้อที่ 80 ไร่ ย่านบางปลาม้า สุพรรณบุรี ริมถนนสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เป็นสวนไม้ผลท่ามกลางทุ่งนาข้าว ฤดูน้ำหลากทุกปีสวนนี้ต้องถูกน้ำท่วมแน่นอน ระดับน้ำลึก 1-1.5 (เอว - ท่วมหัว) ในขณะที่ต้นมะกอกน้ำสูง 3-5 ม. บางปีน้ำท่วมขังค้างนานนับเดือน ถึง 2-3 เดือนยังเคย ต้นมะกอกน้ำก็สามารถยืนต้นแช่น้ำอยู่ได้ แถมออกดอกติดผลเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะธรรมชาติของมะกอกน้ำเมื่อโดนน้ำท่วมแช่ขังค้างนานจะไม่ตาย ระหว่างที่น้ำท่วมนั้น ระบบรากจากแทงแหวกทะลุน้ำขึ้นมารับอากาศที่ผิวน้ำเอง ทำให้ต้นไม่ขาดอากาศ จึงสามารถยืนต้นอยู่ได้ ด้วยประการฉนี้....

4.... แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง ฯลฯ ทุกปีหลังน้ำลด หาดทรายริมแม่น้ำกลับคืนมา ชาวบ้านริมแม่น้ำจะพากันไปยกแปลงปลูกผักสวนครัว จนเต็มชายหาดทั้งสองฝั่ง การเตรียมแปลงก็ทำกันแบบง่ายๆ ไม่มีการใส่อินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมีใดๆทั้งสิ้น ผักเหล่านั้นก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี แสดงว่า ในทรายที่น้ำพัดพามานั้นมีสารอาหารพืชอย่างเพียงพอแล้วนั่นเอง ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำทำสืบต่อกันมานานตั้งแต่สมัยโบราณ จนกลายเป็นวัฒนธรรม และวัฒนธรรมเดียวกันนี้ ชาวบ้านริมตลิ่งแม่น้ำไนล์ (อียิปต์ อีรัค/สารคดีดิสคัพเวอรี่)) ก็มีการเพาะปลูกพืชหลังระดับน้ำในฤดูน้าหลากลดเช่นกัน

5.... สวนมะม่วงทั้งน้ำดอกไม้ เขียวเสวย อกร่อง ฟ้าลั่น เนื้อที่ 20 ไร่ ที่ อ.ไชโย จ.อ่างทอง อายุต้นราว 10 ปี ให้ผลผลิตดีมาทุกปี เมื่อ พ.ศ.2538 เกิดน้ำท่วมใหญ่ครอบคลุมทุกอำเภอของ จ.อ่างทอง ลามไปถึงอยุธยา สิงห์บุรี ปทุมธานี ชาวบ้านหลายคนบอกว่าเป็นการท่วมครั้งใหญที่สุดตั้งแต่เกิดมา

สวนผัก นาข้าว ถูกน้ำท่วมเสียหายเป็นเรื่องปกติ สวนไม้ผลยืนต้นสาระพัด ต้นขนาดใหญ่ อายุต้นหลายสิบปียืนแช่น้ำตายมีให้เห็นไม่ใช่น้อย แต่สวนหนึ่งในเขต อ.ไชโย ที่ว่ากลับยืนต้นเฉยอยู่ได้

สอบถามเจ้าของสวนแล้วจึงรู้ว่า มะม่วงทุกต้นของสวนนี้ปลูกด้วยต้นตอที่เพาะจากเมล็ด ก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีภายหลัง

หลักการและเหตุผล คือ ลักษณะน้ำที่ท่วมนั้น น้ำจะซึมลงไปในเนื้อดินลึกไม่เกิน 1 ม.จากผิวดิน การที่มะม่วงหรือไม้ยืนต้นใดๆที่มีรากแก้ว ซึ่งรากแก้วจะหยั่งลงไปในดินลึกกว่า 1 ม.อยู่แล้ว เมื่อน้ำท่วมโคนต้น รากฝอยในดิน ณ ความลึกไม่เกิน 1 ม.ไม่สามารถดูกซับสารอาหารหรืออากาศได้ ไม้ยืนต้น ๆนั้นก็จะอาศัยรากแก้วที่อยู่ลึกกว่าน้ำใต้ดินทำหน้าที่ดูดซับสารอาหารและอากาศแทน จึงทำให้มะม่วงทั้งสวนยืนต้นเฉยอยู่ได้

ถามว่า ต้นมะม่วงสวนนี้จะสามารถยืนต้นอยู่ได้นานเท่าไร กี่อาทิตย์ หรือกี่เดือน เท่าที่สังเกตุ บรรดาไม้ผลยืนต้นที่ปลูกโดยกิ่งตอนหรือกิ่งทาบซึ่งไม่มีรากแก้ว มีแต่รากฝอย ทนน้ำท่วมขังค้างได้นานต่างกัน อย่างเช่น ขนุนทนได้นาน 7-10 วัน มะม่วงทนได้นาน 20-30 วัน ลินจี่ทนได้นาน 7-10 วัน ชมพู่ทนได้นาน 15-20 วัน มะพร้าวทนได้นาน 3-6 เดือน

นี่คื่อ ข้อดีของมะม่วงที่มีรากแก้ว แต่ข้อเสีย คือ มะม่วงที่มีรากแก้วไม่ตอบยสนองต่อสารพาโคลบิวทาโซล หรือสารฯ ลงไปไม่ถีงรากแก้ว ทำให้การราดสารฯ ไม่ได้ผล


6.... ฯลฯ

ลงคิมครับผม





แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 04/06/2011 6:47 pm, แก้ไขทั้งหมด 3 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 6:14 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนวทางการปรับปรุงดินหลังน้ำลด


เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และเมื่อน้ำลดลงแล้ว ผลกระทบที่จะตามมา คือดินจะเกิดช่องว่างหรือเป็นรูพรุนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และดินจะอิ่มตัวด้วยน้ำจนอ่อนตัว ทำให้โครงสร้างของดินง่ายต่อการถูกทำลายและเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ดังนั้นในการจัดการดินหรือการเตรียมดินหลังน้ำลดเพื่อให้เหมาะสมต่อการทำเพาะปลูกพืชต่อไป จึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้


ประการแรก
ให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรกลหนักในการเตรียมดิน เพราะเครื่องจักรจะทำให้ดินยุบตัวและส่งผลให้ดินแน่นทึบ เกิดการไหลซึมและการระบายน้ำได้ไม่ดี อาจทำให้น้ำท่วมขังและไหลบ่าไปตามหน้าดินมากขึ้น และดินจะขาดการถ่ายเทอากาศ อันจะเป็นปัจจัยที่จำกัดการเจริญเติบโตของรากพืช ซึ่งล้วนเป็นอุปสรรคในการใช้ที่ดินในการเกษตรทั้งสิ้น ดังนั้นเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเตรียมดินด้วยเครื่องจักรกลหนัก


ประการที่สอง
ควรปลูกพืชโดยไถพรวนดินให้น้อยที่สุด เพื่อลดการรบกวนดินหรืออาจปลูกพืชโดยไม่มีการไถพรวนดินเลย


ประการที่สาม
หากจำเป็นต้องไถพรวนควรใช้เครื่องมือเบาหรือเครื่องมือขนาดเล็ก แต่ต้องรอให้หน้าดินเริ่มแห้งเสียก่อน หรือมีความชื้นพอเหมาะสำหรับการไถพรวนหรือขณะที่วัชพืชกำลังเริ่มงอก ทั้งนี้เพื่อทำลายหรือกำจัดวัชพืชก่อนปลูกพืชหลัก นอกจากนี้อาจหว่านเมล็ดพืชหลักแล้วไถกลบรวมทั้งช่วยกำจัดวัชพืชที่เพิ่งเริ่มงอกไปพร้อม ๆ กันในครั้งเดียวก็ได้


ประการที่สี่
เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำที่มีอยู่ในดินหลังน้ำลดให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด โดยการหว่านหรือหยอดเมล็ดพืชโดยไม่ต้องไถพรวน หรือเปิดร่องฝังเมล็ดพืชแล้วกลบเท่านั้น


ประการที่ห้า
หากเป็นไปได้พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขัง ควรมีการพักดินสักระยะ ทั้งนี้การพักดินถือเป็นการปรับปรุงบำรุงดินวิธีหนึ่ง โดยปล่อยพื้นที่ทิ้งว่างไว้ให้หญ้าและวัชพืชเจริญเติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติ หรืออาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้ เช่น ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ ซีรูเลียม เซ็นโตรซีมา เป็นต้น


วิธีการที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนี้ นอกจากจะเหมาะกับการฟื้นฟูสภาพดินหลังน้ำลดแล้ว ยังเหมาะสำหรับการเตรียมการไว้ก่อนน้ำท่วมอีกด้วย คือ ในบริเวณที่แน่ใจว่าจะมีน้ำท่วมขังในปลายฤดูฝนก็อาจปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินไว้ก่อนหรือปลูกพืชไร่อายุสั้นที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจะมีน้ำท่วมขัง โดยปลูกให้มีระยะถี่กว่าปกติ และวางแถวพืชขวางความลาดเทของพื้นที่ หรือขวางทิศทางการไหลของน้ำ และเมื่อเก็บผลผลิตพืชไร่แล้วให้ทิ้งตอซังไว้ในพื้นที่โดยไม่ต้องไถกลบ ทั้งนี้ตอซังที่ไถกลบไปนั้นจะช่วยลด ความรุนแรงของกระแสน้ำ และช่วยยึดหน้าดินไม่ให้น้ำพัดพาออกไปจากพื้นที่


ประการที่หก
ในบางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขังในบางจุด เกษตรกรต้องเร่งทำการระบายน้ำหลังน้ำลด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวนไม้ผล ไม้ยืนต้น การระบายน้ำออกจากพื้นที่เร็วที่สุดจะเติมอากาศหรือออกซิเจนให้กับดิน ซึ่งจะเร่งการฟื้นตัวและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดน้ำและปุ๋ยของรากให้ดีขึ้นโดยเร็วด้วย สำหรับการขุดร่องระบายน้ำนั้น กรมวิชาการเกษตรแนะนำว่า ควรขุดให้ลึกเท่ากับความลึกที่ต้องการระบายน้ำออก ในทางปฏิบัติควรขุดร่องให้ลึกอย่างน้อย 30-50 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับความลึกที่เป็นอยู่ของรากพืชส่วนใหญ่ น้ำจะระบายออกจากพื้นที่ในระดับความลึกไม่เกินความลึกของร่องระบายน้ำ ดังนั้นการขุดร่องน่าจะต้องขุดตามแนวลาดเทของพื้นที่ โดยใช้ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 8-12 เมตร หรือกึ่งกลางระหว่างแถวพืชยืนต้น


การจัดการดินประการสุดท้าย คือ
ในสภาพน้ำป่าหลากมาท่วมพื้นที่ซึ่งมีดินทรายถูกซัดพามาทับถมอยู่บนผิวดินเดิมค่อนข้างมาก ภายหลังน้ำลดแล้วให้เกษตรกรขุดลอกดินทรายดังกล่าวออกจากพื้นที่จนถึงผิวดินเดิมหรือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยเร่งขบวนการเติมอากาศของดินได้เร็วและดีขึ้นด้วย


นอกจากการจัดการดินแล้ว ภายหลังน้ำลดเกษตรกรควรให้ปุ๋ยทางใบกับไม้ผลไม้ยืนต้น เพื่อให้ต้นไม้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะรากพืชไม่สามารถทำหน้าที่ในการดูดปุ๋ยและแร่ธาตุต่างๆ ในขณะนั้นได้เต็มที่ จึงขอแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีประเภทเกล็ดสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 หรือปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 ในระยะนี้ด้วย




ที่มา: กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

www.moac-info.net/.../76_1_124103_5แนวทางการปรับปรุงดินหลังน้ำลด.doc
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 6:31 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรมวิชาการเกษตรรุก ฟื้นฟูปัญหาเกษตรกรหลังน้ำท่วม พร้อมสำรองเมล็ดพันธ์ผักและให้คำปรึกาด้านการฟื้นฟูดินและระบายน้ำที่ขังในผิวดิน


นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวนกล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายให้กับพืชพรรณและไม้ผลเป็นวงกว้าง โดยคาดว่าจะมีพืชสวนเสียหายประมาณ 250,000 ไร่ เป็นไม้ผล 35,000 ไร่ ซึ่งขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมสำรองเมล็ดพันธุ์ทั้งพืชผักให้ในปริมาณพอสมควร และเตรียมคำแนะนำในการฟื้นฟูเพิ่มเติมว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร โดยเกษตรกรสามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่สถาบันวิจัยพืชสวน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรทั้ง 8 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

นายสุวิทย์ กล่าวด้วยว่า จากผลกระทบดังกล่าวนี้ในกรณีไม้ผลหากไม่เร่งระบายน้ำที่ขังอยู่ในผิวดินหลังน้ำลดจะส่งผลให้พืชโทรมและส่งผลกระทบต่อการเติบโตและเชื้อโรคหลงเหลืออยู่จากน้ำที่ไหลบ่าเข้ามาอีกด้วย สำหรับวิธีปฏิบัติหลังน้ำลดสิ่งแรกที่เกษตรกรควรทำคือ ไม่ควรกวนพื้นที่ดิน และห้ามใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เข้าไปโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังนานๆ จะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลายเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำและจะไม่มีช่องว่างให้อากาศเข้าไปดังนั้นควรรอให้ดินฟื้นฟูตัวเองสักระยะหนึ่งก่อน นอกจากนี้เกษตรกรยังควรตรวจสอบหากเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น ถ้ายืนต้นตายต้องรื้อถอนออก

ในกรณีสวนผักเมื่อน้ำลดแล้ว หากจะปลูกผักใหม่ควรพิจาณาเลือกพืชปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ และควรคำนึงถึงความต้องการของตลาดด้วย ขณะเดียวกันต้องมีการจัดการดินให้ถูกต้อง ซึ่งการปลูกพืชอาจทำได้ 3 แบบ คือ 1.ปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบาและกระทำหลังจากที่ดินเริ่มแห้งซึ่งจะเป็นการกำจัดพืชไปด้วยในตัว และลดการรบกวนดิน 2.ปลูกแบบยกร่อง โดยใช้แรงคนเพื่อป้องกันไม่ให้ดินเกิดการอัดแน่น และ 3.การปลูกแบบไม่ไถพรวน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังเปียกชื้นอยู่

นายสุวิทย์ กล่าวด้วยว่า การเลือกที่จะปลูกพืชใหม่ในพื้นที่เก่าต้องจัดทำแผนการปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วมในครั้งต่อไป หรืออาจใช้การปลูกแบบเหลื่อมเวลาและเปลี่ยนมาปลูกพืชหลายๆ รุ่น ระหว่างการวางแผนที่จะปลูกพืชใหม่นี้ให้มองโอกาสเรื่องของเทศกาลที่กำลังจะมาถึง อย่างเช่น การปลูกไม้ดอกเพื่อรองรับกับเทศกาลปีใหม่ตรุษจีน หรือวาเลนไทน์ ควรจะปลูกใส่กระถางหรือใส่ถุงเพื่อให้ง่ายต่อการยกไปประดับตกแต่ง และถือเป็นช่วงที่รอให้ดินที่ถูกน้ำท่วมได้ฟื้นฟูตัวเองโดยไม่เสียโอกาส



http://www.ryt9.com/s/tpd/1088279
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 6:33 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การดูแลและการจัดการสวนยางพาราหลังน้ำท่วม



นายโอฬาร พิทักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า เกษตรกรชาวสวนยางพารา ถือได้ว่าเป็นกลุ่มเกษตรกร ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศอยู่ในลำดับต้นๆ ของมูลค่าสินค้าเกษตรส่งออก และผลผลิตที่ออกสู่ตลาดส่วนมากอย


การดูแลและการจัดการสวนยางหลังน้ำท่วม
นายโอฬาร พิทักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า เกษตรกรชาวสวนยางพารา ถือได้ว่าเป็นกลุ่มเกษตรกร ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศอยู่ในลำดับต้นๆ ของมูลค่าสินค้าเกษตรส่งออก และผลผลิตที่ออกสู่ตลาดส่วนมากอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ในระยะนี้สภาพภูมิอากาศทางตอน ใต้ เริ่มมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ อาจส่งผลให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ และมีผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรดังกล่าว ดังนั้น การเตรียมการป้องกันและเรียนรู้การปฏิบัติดูแลสวนยางพารา จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความรุนแรงของภัยพิบัติได้ กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะนำวิธีปฏิบัติและดูแลก่อนและหลังเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ



การปฏิบัติและดูแลสวนยางพาราก่อนการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ควรตัดแต่งกิ่งต้นยางพาราให้โปร่ง เพื่อสะดวกในการทำงาน และป้องกันโรคหรือป้องกันลม สวนยางพาราที่เปิดกรีดแล้วส่วนมาก จะมีต้นยางโค่นล้มหรือกิ่งฉีกขาดหรือหักให้พบเห็นอยู่เสมอ

สำหรับการเกิดภัยพิบัตินั้นเกิดได้หลายรูปแบบทั้งน้ำท่วม วาตภัย ไฟไหม้ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีหลายพื้นที่ที่น้ำท่วมจึงขอแนะนำดังนี้

ถ้าหากน้ำท่วมไม่เกิน 30 วัน ต้นยางพาราจะไม่ตายและไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่หากน้ำท่วมนานเกิน 30 วัน เกษตรกรสวนยางจะต้องทำทางระบายน้ำช่วยให้ระดับน้ำใต้ดินลดลง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ดินบริเวณโคนต้นยางแห้งเร็วขึ้น และไม่ควรกรีดยางขณะที่น้ำท่วมขังควรหยุดไว้ชั่วคราว หากพบว่ามีต้นยางพาราโค่นล้ม หรือมีกิ่งหักและฉีกขาด หลังจากน้ำลดและดินในสวนยางแห้งแล้วให้ตัดแต่งกิ่งพร้อมกำจัดเศษไม้และเศษวัสดุต่าง ๆ ที่น้ำพัดพามาออกให้หมด ห้ามใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางพาราทันทีหลังน้ำลด ควรรอให้ดินในสวนแห้งแล้วอย่างน้อย 30 วัน จึงทำการใส่ปุ๋ย

หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอหรือศูนย์บริการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลใกล้บ้าน ในวันและเวลาราชการ.


ที่มา :
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=339&contentID=31187

http://blog.taradkaset.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 6:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำท่วม



ภัยพิบัติน้ำท่วมนอกฤดูกาลในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคใต้นั้น สร้างความเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน โดยเฉพาะเกษตรกรนั้นใหญ่หลวงนัก ทำให้ผู้คนนับแสนๆได้รับความเดือดร้อน และอีกหลายคนถึงเสียชีวิต ขณะนี้แม้บางพื้นที่น้ำจะลดลงบ้าง แต่อีกหลายพื้นที่ยังมีระดับน้ำท่วมขังอยู่


ในพื้นที่ที่น้ำลดลงนั้น หลายคนเกิดความเสียหายไม่มากนักอาจจะเริ่มฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรของตนเองบ้างแล้ว เพื่อการฟื้นฟูอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะสวนไม้ผล ผมได้ไปขอข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตรมา เพื่อมาบอกเล่าให้เกษตรกรเป็นข้อมูล

การฟื้นฟูไม้ผลหลังประสบอุทกภัย เกษตรกรควรเริ่มจากการบำรุงรักษาไม้ผลให้เกิดรากใหม่ และให้แตกใบอ่อนโดยเร็ว ขณะเดียวกันต้องมีการจัดการดินให้ถูกต้องด้วย

ขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้ครับ
หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ รวมถึงบุคคล และสัตว์เลี้ยงเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย จะกระทบต่อระบบรากของพืช ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรม และอาจตายได้

ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังควรหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็วที่สุด หากมีการชะพาเอาดินหรือทรายมาทับถมในบริเวณแปลงปลูกไม้ผล หลังน้ำลดปล่อยให้ดินแห้งก่อน จากนั้นให้เอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช นอกจากนี้ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง เพื่อเป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น หากไม้ผลที่กำลังติดผลให้ทำการปลิดผลออกบ้าง อย่างไรก็ตาม เพื่อช่วยให้ต้นพืชฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะระยะนี้รากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ

ปุ๋ยทางใบอาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ 12-9-6 หรือจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 21-21-21 และ 16-21-27 ละลายน้ำฉีดพ่นให้แก่พืชก็ได้ พร้อมกันนั้นสามารถเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมดังนี้ครับ คือ น้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม, ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15 หนัก 20 กรัม, ฮิวมิค แอซิด 20 ซีซี แล้วมาผสมสารเหล่านี้ในน้ำ 20 ลิตร ควรเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงบ้าง มาพ่นสัก 2-3 ครั้ง

ไม้ผลหรือไม้ยืนต้นหลังน้ำท่วมมักจะหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องรากเน่าและโคนเน่าครับ เพราะรากต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ ทำให้ขาดออกซิเจน (อากาศ) และเกิดรากเน่า เมื่อดินแห้งแล้วควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น

กรณีในพื้นที่ที่มีปัญหาของโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังไม่ตายให้ราดโคนต้นพืช หรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล (ริโดมิล) หรือ อีโฟไซท์-อลูมินั่ม (กาลิเอท) หากเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี

สารเคมีใช้กับอาการรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเทียม หรือ ไฟทอปธอรา ส่วนโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรียม, ไรซ็อกโทเนีย หรือ สเคลอโรเทียม นอกจากนี้ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมี พีซีเอ็นบี เป็นต้น

โอกาสหน้า ผมจะหาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืชหลังน้ำท่วมมาแนะนำใหม่ครับ

"ดลมนัส กาเจ"


http://www.nationmobi.com/2010/news_detailagriculture_komchadluek.php?item_id=93990


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 03/06/2011 7:16 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 6:39 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

กรมวิชาการฯ แนะวิธีการฟื้นฟู ไม้ผล-ปลูกไม้ผลหลังน้ำท่วมลด


นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การเกิดอุทกภัยที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากแต่ขณะนี้น้ำได้ลดลงแล้วกรมวิชาการเกษตรมีคำแนะนำสำหรับการฟื้นฟูไม้ผลและการปลูกไม้ผลหลังประสบอุทกภัยเพื่อให้เกษตรกรได้นำไปเป็นแนวทางฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรของตนเอง ได้แก่

1.หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามบุคคลรวมทั้งสัตว์เข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด

2.ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังควรหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว

3.ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะพาเอาดินหรือทรายมาทับถมในบริเวณแปลงปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น หลังจากน้ำลดลงและดินแห้งแล้วควรทำการขุดหรือปาดเอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช นอกจากนี้ ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งเป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น

4.เพื่อช่วยให้ต้นพืชตั้งตัวเร็วขึ้น ควรมีการพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืชเพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารพืชจากดินได้ตามปกติ

5.เมื่อดินแห้งแล้วควรมีการพรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้นและ6.หลังจากน้ำลดแล้ว หากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืชหรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิลหรือ ฟอสเอทิล-อะลูมินัม (อาลีเอท)


อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าสำหรับการปลูกพืชหลังประสบอุทกภัย เมื่อน้ำลดแล้ว อาจทำได้ 2 วิธี คือ ปลูกแบบไถพรวนน้อยครั้ง โดยใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา และกระทำหลังจากที่ดินเริ่มแห้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วยในตัว และลดการรบกวนดิน และปลูกแบบไม่ไถพรวน วิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ยังเปียกชื้นอยู่

ทั้งนี้ การเลือกปลูกไม้ผล ควรพิจารณาความต้องการของตลาดด้วย และควรปลูกไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลผลิตเร็ว ควบคู่กับไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานแต่มีศักยภาพทางการตลาดสูง เป็นการวางแผนในระยะยาว



http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=09&id=8275
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 02/06/2011 6:46 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การฟื้นฟูไม้ผลหลังน้ำลด


การฟื้นฟูไม้ผลหลังประสบอุทกภัย เกษตรกรควรต้องมีการบำรุงรักษาไม้ผล และพืชอื่นๆให้เกิดรากใหม่และแตกใบอ่อนโดยเร็วขณะเดียวกัน ต้องมีการจัดการดินให้ถูกต้องด้วย



กรมส่งเสริมการเกษตรขอแนะนำขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1.หลังน้ำท่วมใหม่ๆ ขณะที่ดินยังเปียกอยู่ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปในพื้นที่ และห้ามบุคคลรวมทั้งสัตว์เลี้ยงเข้าไปเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นโดยเด็ดขาด เพราะดินที่ถูกน้ำท่วมขังจะมีโครงสร้างง่าย
ต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นได้ง่าย ซึ่งเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ รวมทั้งจะกระทบกระเทือน ต่อระบบรากของพืช
ทำให้ต้นไม้ทรุดโทรม และอาจตายได้

2. ในพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขัง ควรหาทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยอาจขุดร่องระบายน้ำให้น้ำไหลออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด

3. ในสภาพน้ำท่วมขังที่มีการชะเอาดินหรือทรายมาทับถมในบริเวณแปลงปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น หลังจากน้ำลดลงและดินแห้งแล้วควรทำการขุดดิน หรือปาดเอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช นอกจากนี้ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งเป็นการลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลให้ทำการปลิดผลออกเสียบ้าง เพื่อช่วยลดต้นพืชอีกทางหนึ่ง

4. เพื่อช่วยให้ต้นพืชฟื้นตัวเร็วขึ้น ควรมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้แก่พืช เพราะในระยะนี้ระบบรากของพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารจากดินได้ตามปกติ ปุ๋ยทางใบ อาจใช้ปุ๋ยน้ำสูตร 12-12-12 หรือ12-9-6 หรืออาจใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21 และ16-21-27 ละลายน้ำฉีดพ่นให้แก่พืชก็ได้ นอกจากนี้สามารถเตรียมปุ๋ยทางใบ
ที่มีส่วนผสมของ

1. น้ำตาลเด็กส์โตรส 600 กรัม (6 ขีด )
2. ฮิวมิค แอซิค 20 ซีซี
3. ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15 –30–15 20 กรัม (1.5 ช้อนแกง) โดยผสมสารดังกล่าวในน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ ควรเติมสารจับใบไปเล็กน้อย และอาจใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น ควรพ่นสัก 2 –3 ครั้ง )

5.ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น หลังน้ำท่วมมักพบโรครากเน่าและโคนเน่า ดังนั้นเมื่อดินแห้งควรมีการพรวนดิน เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แกรากพืชทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น

6. ในพื้นที่ที่มีปัญหาของโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอม่าผสมราดโคนต้น หรือใช้ผสมรำข้าว 4 ก.ก. และปุ๋ยคอก 100 ก.ก. นำไปหว่านรอบบริเวณทรงพุ่มอัตรา 50-100 กรัม/ตารางเมตร
หรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล (ริโดมิล) หรือฟอสเอทธิล-อลูมินัม (อาลีเอท) (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี) โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้ทากับอาการรากเน่าและโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราพิเที่ยม (Pythium spp)หรือไฟทอปเธอรา (Phytopthora spp) สำหรับโรคเน่าโคนเน่าที่เกิดจาก เชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น ฟูซาเรี่ยม,ไรซ๊อกโทเนีย หรือ สเคลอโรเที่ยม ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมี พีซีเอ็นบี (เทอร์ราคลอร์, บลาสสิโคล)

นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดิน ไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเล็กน้อย



http://www.agriqua.doae.go.th/forecast/week/week53/161153blast_bph_cutworm/after161153.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©