-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - นาข้าว กับ ก๊าซเรือนกระจก .....
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

นาข้าว กับ ก๊าซเรือนกระจก .....

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 31/05/2011 9:20 pm    ชื่อกระทู้: นาข้าว กับ ก๊าซเรือนกระจก ..... ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

แนะปล่อยน้ำจากนาก่อนข้าวออกดอกช่วยลด "ก๊าซเรือนกระจก"





นักศึกษา JGSEE ศึกษาแนวทางลดก๊าซมีเทนจากนาข้าว ตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับหนึ่งในภาคเกษตร


เผย การปล่อยน้ำออกจากนาก่อนข้าวออกดอก ช่วยลดก๊าซมีเทนได้เกือบ 50%

แนะปลูกข้าวนาปรัง ไม่เผาตอซังฟางข้าว แยกฟางข้าวออกจากนา ไถกลบเฉพาะตอซัง ช่วยเพิ่มปุ๋ยให้ดิน และลดโลกร้อนได้พร้อมๆ กัน



แยกฟางข้าวออกจากนา ไถกลบเฉพาะตอซัง
แยกฟางข้าวออกจากนา ไถกลบเฉพาะตอซัง
แยกฟางข้าวออกจากนา ไถกลบเฉพาะตอซัง



ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรเป็นสัดส่วน 10% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด แม้อาจมองว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนัก แต่ก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ที่ปล่อยออกจากภาคเกษตร คือ ก๊าซมีเทน ซึ่งมีความร้อนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่า

น.ส.ทัศนีย์ เจียรพสุอนันท์ นักศึกษาปริญญาเอกด้านสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) จึงได้ศึกษาแนวทางที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกจากนาข้าว


น.ส.ทัศนีย์ กล่าวว่า การจัดการนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว โดยวิธีเผาฟางข้าวที่เหลือในที่โล่ง ทำให้เกิดมลภาวะฝุ่นควัน เกิดปัญหาต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่ใกล้เคียง แล้วยังปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความสำคัญ

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรลดการเผาตอซังฟางข้าว และเปลี่ยนมาสนับสนุนการไถกลบตอซังฟางข้าวลงไปในดิน เพื่อลดมลภาวะทางอากาศและเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน

อย่างไรก็ตามจากรายงานทางวิชาการได้ระบุว่า การเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน หรือการไถกลบตอซังฟางข้าวลงไป จะยิ่งเป็นการเพิ่มปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนขึ้นสู่บรรยากาศ เนื่องจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินจะย่อยสลายของธาตุอาหารและผลิตก๊าซมีเทนเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณธาตุอาหาร ซึ่งการจัดการน้ำในนาข้าว

http://news.nipa.co.th/news.action?newsid=143301


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 01/06/2011 7:03 pm, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/06/2011 5:54 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เครื่องอัดฟาง หญ้าแห้ง และใบอ้อย


เครื่องอัดฟางสิงห์สยาม
อัดได้มากกว่าใช้เวลานิดเดียว

เครื่องอัดฟาง หญ้าแห้ง และใบอ้อย "สิงห์สยาม" ใช้ได้กับรถแทรกเตอร์ทุกยี่ห้อตั้งแต่ 25 แรงม้าขึ้นไป ผลิตด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ใหม่ทุกชิ้นส่วน ขนย้ายสะดวก คล่องตัว อัดฟางได้สูงถึงวันละ 800 - 1500 ก้อน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และการทำงาน มีให้เลือก 2 ขนาด ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
นำเข้าจากต่างประเทศใหม่ทุกชิ้น
พิเศษ ยอยท์ขนาด 60 แรงม้า
เครื่องนับจำนวนก้อนฟาง
ฐานยึดชุดมัดใหม่แข็งแรงทนทาน ช่วยให้ชุดมัดมีอายุการใช้งานยาวนาน
ชุดเก็บฟางใช้สายพานในการขับเคลื่อน ง่ายต่อการบำรุงรักษา
ส้อมป้อนแบบแขนกล ช่วยให้การป้อนฟางรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ





http://www.minsen.co.th/pickup_baler.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2011 5:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/06/2011 5:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

การวิจัยและพัฒนาเครื่องอัดฟาง





เครื่องอัดฟ่อนใช้รถแทรกเตอร์ขนาด30 แรงม้าเป็นต้นกำลัง ความเร็วในการทำงานที่เหมาะสม 0.36-0.42 เมตร/วินาที


ประสิทธิภาพในการโกยฟางใกล้เคียงกับเครื่องของต่างประเทศ ความเร็วในการทำงานของเพลาอำนวยกำลังน้อยกว่าร้อยละ 50 และใช้กำลังงานน้อยกว่าประมาณ 2-4 กิโลวัตต์

เครื่องอัดฟ่อนฟางและฟางก้อนเหลี่ยมพัฒนาขึ้นจากการนำเอาข้อดีของเครื่องจากต่างประเทศมาวิเคราะห์ให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในประเทศ และมีราคาที่เหมาะสม


โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1. ทำแบบอัดฟ่อนสี่เหลี่ยมมัดเชือก ใช้ต้นกำลังจากรถแทรกเตอร์ขนาด 30 HP ขึ้นไป ในการอัดและลากจูง

2. องค์ประกอบชิ้นส่วนมีน้อยชิ้นและมีกลไกการทำงานที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย

3. ชิ้นงาน อุปกรณ์และวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาประกอบสามารถซื้อได้ภายในประเทศ

4. สามารถวิ่งเก็บฟางหรือหญ้าในสภาพแปลงนา ที่ค่อนข้างขรุขระได้ดี โดยที่ช่วงล่างและชุดโดยฟางจากพื้นสามารถปรับความสูงจากพื้นและเก็บฟางได้

5. จังหวะการอัดของลูกกระทุ้ง ชุดส้อมโกยฟางเข้าห้องอัดและการควบคุมจังหวะการมัดของเชือก ใช้โซ่และสายพานเป็นตัวขับและควบคุมจังหวะให้มีการทำงานสัมพันธ์กัน

6. กลไกการควบคุมจังหวะการมัด ปรับความแน่นของฟางที่อัด และชุดมัดดัดแปลงจากยี่ห้อ New Holland และ Bamford โดยเน้นการทำงานที่ง่าย ชิ้นส่วนของชุดมัดที่ช่างในประเทศสามารถทำชิ้นกลไกได้



เครื่องอัดฟ่อนฟาง ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ชุดโกยฟางจากพื้น และช่วงล่าง
2. ชุดกลไกการอัด
3. ชุดกลไกการขับลูกกระทุ้ง และวงล้อโกยฟาง


ประโยชน์
ค่าใช้จ่ายในการอัดฟ่อนฟางโดยใช้เครื่องนี้ กิโลกรัมละ 0.52 บาท มูลค่าฟางที่ยังไม่อัด กิโลกรัมละ 0.40 บาท ในขณะที่ราคาขายฟางฟ่อนรวมค่าขนส่งแล้ว กิโลกรัมละ 1-2 บาท


ชื่อผู้วิจัย : นายประยุทธ์ สุวรรณชีวะกร
ที่อยู่ : ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.นครปฐม73140
ผู้ติดต่อ : คุณสุคนธา โทรศัพท์ : (034) 351-896 แฟกส์ (034)351896




ที่มา : สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการประดิษฐกรรมเพื่อการพัฒนาชนบท


บันทึกข้อมูลโดย : นาย วิทยา สุวรรณสุข, http://www.ttc.most.go.th, วันที่ 22 สิงหาคม 2546



http://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/agriculture/00000-56.html


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 19/06/2011 5:29 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 01/06/2011 7:23 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ประสบการณ์ตรง เรื่อง นาข้าวไถกลบฟาง


- ก่อนลงมือทำนา ถ้าได้ไถกลบฟาง 1-2 รุ่น ติดต่อกัน จะได้ขี้เทือกลึกระดับสูงกว่าตาตุ่มเล็กน้อย หรืออาจจะถึงระดับครึ่งหน้าแข้ง ซึ่งถือว่าพอดีสำหรับการทำนาแล้ว

- ถ้าไถกลบฟาง 2 รุ่น ติดต่อกัน ได้ขี้เทือกลึกระดับครึ่งหน้าแข้งแล้ว ยังไถกลบฟางต่อเป็นรุ่นที่ 3 อีก คราวนี้ขี้เทือกจะลึกถึงระดับหัวเข่าหรือสูงกว่า การมีขี้เทือกลึกระดับนี้เมื่อถึงช่วงจะเกี่ยวข้าว ซึ่งจะต้องงดน้ำเพื่อให้ดินแห้งจนรถเกี่ยวลงได้จะทำไม่ได้ เนื่องจากขี้เทือกอุ้มความชื้นไว้มาก รถเกี่ยวลงไปจะติดหล่มจนวิ่งไม่ได้



แนวทางแก้ไข :
ไถกลบฟางกี่รุ่นจึงจะพอดีนั้น เจ้าของนาจะต้องพิจารณาเอง กล่าวคือ หากได้ขี้เทือกลึกเหนือกว่าตาตุ่มหรือต่ำกว่าครึ่งหน้าแข้งเล็กน้อยแล้ว ก็ให้งดการไถกลบฟาง โดยการนำออก (ไม่เผา) แล้วไถกลบเฉพาะตอซังก็พอ

หลังจากทำนารุ่นไถกลบเฉพาะตอซังแล้ว ก่อนเกี่ยวให้พิจารณาหน้าดินว่า นารุ่นต่อไปควรไถกลบฟางหรือควรเอาฟางออกอีก โดยสังเกตุจากล้อ (สายพาน) รถเกี่ยวที่เข้าไปเกี่ยวข้าวว่า สามารถวิ่งได้สะดวกดีหรือหน้าดินยังอ่อนอยู่ จนรถเกี่ยววิ่งไม่สะดวก ..... ถ้ารถเกี่ยววิ่งสะดวกแสดงว่าหน้าดินแห้งดีก็ให้ไถกลบฟางได้ หากหน้าดินยังอ่อนก็คงต้องเอาฟางออก



ข้อมูลทางวิชาการ :
ฟางข้าวจำนวน 1 ตัน เมื่อหมักแล้วจะได้ธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุรอง ดังนี้คือ

ไนโตรเจน (N) ...................... 6 กิโลกรัม
ฟอสฟอรัส (P2O5) ................. 1.4 กิโลกรัม
โพแทสเซียม (K2O) ............... 17 กิโลกรัม

แคลเซียม (Ca) ..................... 1.2 กิโลกรัม
แมกซีเซียม (Mg) ................... 1.3 กิโลกรัม
ซิลิก้า (SiO2) ....................... 50 กิโลกรัม

ปกติในนาเกษตรกรในภาคกลางและภาคตะวันออกตกมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวส่วนใหญ่มีฟางข้าวเหลือ 800-1,000 กิโลกรัม/ไร่ รวมทั้งตอซังอีก 1,200–1,500 กิโลกรัม/ไร่ คือ เฉลี่ยทั้งตอซังและฟางข้าวประมาณ 2 ตัน/ไร่ ส่วนในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนทรายจะมีฟางข้าวเหนียวต่ำกว่าคือ 500–800 กิโลกรัม/ไร่

http://snatup.blogspot.com/2010/10/1-n6-p-14-k-17.html






ฤาความฝันนี้จะไกลเกินเอื้อม...


เป็นไปได้ไหม ? หรือดีไหม ? ถ้า อบต.จัดสรรงบประมาณจัดซื้อเครื่องเก็บอัดฟางมาเป็นเครื่องจักรกลกลางของตำบล นาแปลงใดเจ้าของนาต้องการเผาฟางทิ้ง ก็ให้รถเครื่องเก็บอัดฟางไปเอามา หรือนาแปลงใดเจ้าของไม่ต้องการฟางแต่ต้องการขายก็ให้รถเครื่องเก็บอัดฟางไปเอามา ทั้งในเขตตำบลตัวเองและตำบลใกล้เคียง ได้ฟางมาแล้วเอามาทำ "ปุ๋ยอินทรีย์-ปลูกผัก-เพาะเห็ด-อื่นๆ" ขายให้สมาชิกในตำบลโดยเอากำไร 5-10% หรือบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิก เอากำไร 15-20% หรือจะเอากำไรเท่าไรก็สุดแท้ แต่ให้ถูกกว่าที่ซื้อจากทั่วๆไปก็แล้วกัน

นอกจากรถเก็บอัดฟางแล้ว รถดำนาใหญ่, รถดำนาเดิมตาม, รถโรยเมล็ด, รถเกี่ยวใหญ่, รถเกี่ยวเดินตาม, เครื่องย่อยฟาง/เศษพืช, ฯลฯ ก็น่าจะจัดหามาเป็นเครื่องจักรกลกลางประจำ อบต. สำหรับบริการเกษตรกรในตำบล


ตอนนั้น ที่แปลงนาท้ายไร่กล้อมแกล้ม เจ้าของนา (เป็น สมช.อบต.) ต้องการเผาฟางทิ้ง ลุงคิมเลยเอ่ยปากขอ บอกว่าจะเอารถเครื่องเก็บอัดฟางเข้ามาทำงานเอง เจ้าของนาก็ยินดี.....รถเก็บอัดฟางทำงานพร้อมขนย้ายจากแปลงนามาส่งที่ไร่กล้อมแกล้มเรียบร้อย ทำกองสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้สูงราว 7 ม. กว้าง 5 ม. ยาว 15 ม. ..... ฟางมัดฟ่อนเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดตามมาตรฐานทั่วไป จ่ายค่าจ้างให้รถเก็บอัดฟางแล้ว ตกราคาฟ่อนละ 17 บาท .... จากนั้นไม่นาน ผู้คนผ่านไปมาเห็นเข้า ขอซื้อไปใช้ในแปลงปลูกผัก ลุงคิมถามว่าเคยซื้อเท่าไหร่ เขาบอกว่าฟ่อนละ 70 บาท ลุงคิมตกลงขายให้ฟ่อนละ 40 บาท แต่ต้องขนเองนะ คนซื้อดีใจ ซื้อไปเป็นร้อยฟ่อนเลย

ฟางทั้งกองค้างอยู่ที่ไร่กล้อมแกล้มประมาณ 3 เดือน เพื่อรอคนมาซื้อ กับที่เอาไปใช้เองยังไม่หมดนั้น ปรากฏว่ามีเห็ดฟางขึ้นเองที่บริเวณตีนกอง ชาวบ้านย่านนั้นรู้เรื่องเห็ดเกิดเองตามธรรมชาติดี จึงมาขอแล้วเก็บไปกิน ลุงคิมก็ไม่ขัดข้อง เชิญเก็บตามสบาย


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©