-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ระบบน้ำ ยางพารา
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ระบบน้ำ ยางพารา

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
sa
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/02/2011
ตอบ: 6

ตอบตอบ: 04/02/2011 10:13 pm    ชื่อกระทู้: ระบบน้ำ ยางพารา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับ.

ขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบน้ำในสวนยางพาราครับ
จุดประสงค์เพื่อ ใ้ห้ "น้ำ/ปุ๋ย/ยา" กำาลังจะเปิดกรีด

ข้อมูลสวน
- ต้นยาง 1,000 ต้น (มีสองรุ่น 7 ปี 500 ต้น, 3 ปี 500 ต้น)
- แหล่งน้ำธรรมชาติ (ต่อท่อจากเขา) ขาดน้ำหน้าแล้ง
- พื้นที่ไหล่เขาไม่ชันมาก
- มีไฟฟ้า

สนใจการให้ปุ๋ยทางน้ำมาก....อยากทดลองตามในเว็ปครับ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง
ขั้นตอน วิธีการ + คำนวนปุ๋ย, น้ำ, สูตร

ถ้าเป็นไปได้ผมยินดีเป็นแปลงทดลองครับ...
สวนอยู่ นครครีฯ


ขอบคุณครับ.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/02/2011 5:48 am    ชื่อกระทู้: Re: ระบบน้ำ ยางพารา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

sa บันทึก:
สวัสดีครับ.

ขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบน้ำในสวนยางพาราครับ
จุดประสงค์เพื่อ ใ้ห้ "น้ำ/ปุ๋ย/ยา" กำลังจะเปิดกรีด
ตอบ :
ยางพารา กับ มะม่วง หรือไม้ยืนต้นทั่วๆ ลักษณะทรงต้นเหมือนกัน เพราะฉนั้นใช้ระบบหรือหลักการเดียวกันได้ ว่าแต่ คุณจะให้.....
- ทางใบ ทางเดียว
- ทางราก ทางเดียว
- ทางใบทางราก ทั้ง 2 ทางพร้อมกันทีเดียวเลย
- ทางใบทางราก แบบให้สลับกัน

ปัญหาในบางสวนที่ลุงคิมเคยเห็นมาหลายๆที่
- แรงอัด + แรงดัน น้ำในท่อไม่พอ......เพราะคำนวนขนาดท่อผิด
- สปริงเกอร์หัวต้นทางแรง แต่หัวปลายทางค่อย....เพราะระบบเดินท่อผิด
- ใช้สปริงเกอร์เฉพาะทางราก แต่ทางใบใช้วิธีลากสายยางฉีดด้วยมือ...เพราะไม่เข้าใจ




ข้อมูลสวน
- ต้นยาง 1,000 ต้น (มีสองรุ่น 7 ปี 500 ต้น, 3 ปี 500 ต้น)
- แหล่งน้ำธรรมชาติ (ต่อท่อจากเขา) ขาดน้ำหน้าแล้ง
- พื้นที่ไหล่เขาไม่ชันมาก
- มีไฟฟ้า

สนใจการให้ปุ๋ยทางน้ำมาก....อยากทดลองตามในเว็ปครับ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง
ขั้นตอน วิธีการ + คำนวนปุ๋ย, น้ำ, สูตร

ถ้าเป็นไปได้ผมยินดีเป็นแปลงทดลองครับ...
สวนอยู่ นครครีฯ


ขอบคุณครับ.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 05/02/2011 6:10 am    ชื่อกระทู้: Re: ระบบน้ำ ยางพารา ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

kimzagass บันทึก:
sa บันทึก:
สวัสดีครับ.

ขอคำแนะนำเกี่ยวกับการวางระบบน้ำในสวนยางพาราครับ
จุดประสงค์เพื่อ ใ้ห้ "น้ำ/ปุ๋ย/ยา" กำลังจะเปิดกรีด
ตอบ :
ยางพารา กับ มะม่วง หรือไม้ยืนต้นทั่วๆ ลักษณะทรงต้นเหมือนกัน เพราะฉนั้นใช้ระบบหรือหลักการเดียวกันได้ ว่าแต่ คุณจะให้.....
- ทางใบ ทางเดียว
- ทางราก ทางเดียว
- ทางใบทางราก ทั้ง 2 ทางพร้อมกันทีเดียวเลย
- ทางใบทางราก แบบให้สลับกัน

ปัญหาในบางสวนที่ลุงคิมเคยเห็นมาหลายๆที่
- แรงอัด + แรงดัน น้ำในท่อไม่พอ......เพราะคำนวนขนาดท่อผิด
- สปริงเกอร์หัวต้นทางแรง แต่หัวปลายทางค่อย....เพราะระบบเดินท่อผิด
- ใช้สปริงเกอร์เฉพาะทางราก แต่ทางใบใช้วิธีลากสายยางฉีดด้วยมือ...เพราะไม่เข้าใจ




ข้อมูลสวน
- ต้นยาง 1,000 ต้น (มีสองรุ่น 7 ปี 500 ต้น, 3 ปี 500 ต้น)
ตอบ :
แบงเป็นโซน โซนละกี่ต้นต้องดูจากแรงดันน้ำ ถ้าแรงดันน้ำน้อยให้ลดจำนวนต้นในโซน แต่ถ้าแรงดันน้ำพอก็ว่ากันไป


- แหล่งน้ำธรรมชาติ (ต่อท่อจากเขา) ขาดน้ำหน้าแล้ง
ตอบ :
ติดตั้งปั๊มส่งน้ำจากที่สูงลงที่ต่ำ น่าจะช่วยเสริมประสิทธิภาพปั๊มได้เป็นอย่างดีนะ แต่ถ้าน้ำไม่มีก็ป่วยการ


- พื้นที่ไหล่เขาไม่ชันมาก
ตอบ :
ดี. พิจารณาใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด ภูมิประเทศแบบนี้ระบบน้ำหยดก็น่าสนใจนะ


- มีไฟฟ้า
ตอบ :
ปั๊มไฟฟ้ากำลังสูงสุดด้วยไฟฟ้าปกติ ได้ไม่เกิน 3 แรงม้า ปั๊มขนาดนี้ติดหัวสปริงเกอร์ได้ประมาณ 30-40 หัว (1 หัว/1 ต้น/รัศมีพ่นน้ำ 3-4 ม.) หากต้องการแรงดันปั๊มไฟฟ้ามากกว่านี้ ต้องใช้ไฟฟ้า 3 เฟต (ค่าไฟฟ้า 3 เฟต ประมาณ 2 แสน).....หรือใช้เครื่องยนต์ แบบที่กระทู้ "โอเวอร์เฮด สับปะรด 300 ไร่" ก็ได้



สนใจการให้ปุ๋ยทางน้ำมาก....อยากทดลองตามในเว็ปครับ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง
ขั้นตอน วิธีการ + คำนวนปุ๋ย, น้ำ, สูตร
ตอบ :
คิดจากจำนวนต้น/1 โซน เช่น 1 โซนมี 20 ต้น ต้องการให้ปุ๋ยต้นละ 100 กรัม ก็ใช้ปุ๋ย 20 ต้น x 100 กรัม = 2 กก. ..... จัดการละลายปุ๋ยทั้ง 2 กก.ในน้ำที่จะให้สำหรับเฉพาะ 20 ต้นนี้ ตามที่แบ่งเป็นโซนไว้.....ปัญหาคือ น้ำละลายปุ๋ยกระจายไปสู่ทุกต้นเท่ากันหรือไม่ ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับระบบการวางท่อ



ถ้าเป็นไปได้ผมยินดีเป็นแปลงทดลองครับ...
สวนอยู่ นครครีฯ
ตอบ :
ที่ว่าทดลองน่ะ ทดลองอะไร ทดลองระบบสปริงเกอร์หรือปุ๋ย......ลุงคิมว่า ทำเองดีกว่ามั้ง ........ ประสบการณ์ตรงที่ผ่านมา
- ค่าท่อ + อุปกรณ์ ไร่ละ 5,000 แต่ค่าแรงน่ะ 10,000 (+)
- ใช้งานแล้วมีปัญหา เจ้าของแก้ไขไม่เป็น เพราะไม่รู้เส้นทางเดินน้ำ ต้องจ้างคนทำมาซ่อม
- ระบบสปริงเกอร์ COPY ไม่ได้แต่ APPLY ได้ เพราะรูปทรงสวนแต่ละสวนไม่เหมือนกัน
- ทำตามแบบสวนไหนก็ได้ แต่อย่าทำแบบไร่กล้อมแกล้มก็แล้วกัน

ลุงคิมครับผม




ขอบคุณครับ.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sa
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/02/2011
ตอบ: 6

ตอบตอบ: 06/02/2011 1:05 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ขอบคุณลุงคิมมากครับที่ช่วยแนะนำ
จากคำแนะนำตั้งใจคือ

- ให้ทางรากและใบ พร้อมหรือสลับ ต้องรอออกแบบและทดลองแรงดันน้ำ
- แบ่งเป็นโซน

เรื่องแปลงทดลอง เป็นอย่างนี้ครับ.
ลุงคิมออกแบบระบบน้ำ แนะนำสูตรปุ๋ย, ยา, วิธีการ, ผมทําตามรายงานสรุปผล
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับชาวสวนยางสำหรับแนวทางนี้. (งบผมเองครับ)


ขอบคุณครับ.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/02/2011 8:52 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ลองคลิกตามลิงค์นี้ไปดูให้เข้าใจก่อน ถ้ายังไม่เข้าใจแนะนำให้ไปดูของจริงให้เห็นกับตา จับกับมืออีกที ขอบอกก่อนว่าระบบ
สปริงเกอร์น่ะ COPY ไม่ได้ แต่ APPLY ได้ เพราะสารพัดปัจจัยที่เกี่ยวข้องมันต่างกันมากๆ

http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1709&sid=d957433bc7c5b87b4f3a7f0d226bace2

ส่วนเรื่องการให้ปุ๋ยไปกับสปริงเกอร์ ถ้าเป็นแบบมาตรฐานโลกก็ "เวนจูรี่" อันนี้สอบถามรายละเอียดที่บริษัทจัดจำหน่าย
แต่ถ้าจะเอาแบบทำเองก็ระบบ "กะเหรี่ยง" ที่ไร่กล้อมแกล้ม

บางมีคนบอกว่าสปริงเกอร์ยางพาราให้ได้แต่ทางราก (หัวสปริงเกอร์อยู่โคนต้น) ให้ทางใบไมใด้เพราะต้นยางพารามันสูง

ลุงคิมเลยถามย้อนว่า ตึกใบหยกสูง 60-70 ชั้น น้ำฝักบัวคนอาบน้ำมันพ่นออกมาได้ไง ? แม้แต่ที่ไร่กล้อมแกล้ม เมื่อก่อนนี้
มีมะม่วงติดที่ดินมา 3 ต้น สูงกว่าหลังคาบ้าน 2 ชั้น เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มประมาณ 5-7 ม. ติดสปริงเกอร์เหนือยอด
ต้นละ 2 หัว เปิดน้ำพร้อมๆกันทั้ง 3 ต้น น้ำที่พ่นออกมาแค่ 10 นาที สัมผัสใบแล้วหล่นลงพื้นดียิ่งกว่าฝนตกอีกแน่ะ.....ก็เลย
บอกว่า คุณติดตั้งไม่เป็นน่ะซี....

ส่งเสริมแนวคิดนี้ครับ แต่อยากให้ศึกษาจากของจริงด้วย แล้วจะได้รู้ว่าอะไร ใช่/ไม่ใช่ แล้วจึงค่อยลงมือทำ


ลุงคิมครับผม


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/02/2011 7:30 am, แก้ไขทั้งหมด 2 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/02/2011 6:44 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เทคโนโลยีการกรีดยางเเบบใหม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึง 3 เท่าประหยัดเเรงงานเพิ่มผลกำไร

เทคโนโลยีการกรีดยางเเบบใหม่

(Reactorim Stimulation System Technology)

ประโยชน์ในการที่ได้จากการกรีดยางเเบบใหม่
ระบบพัฒนาวิจัยยางพาราแห่งประเทศมาเลเซีย เป็นอัศวินของเกษตกรชาวสวนยาง เป็นสุดยอดการพัฒนาแห่งยุคของชาวสวนยาง ระบบเทคนิค ได้ผ่านการพัฒนาจนสมบูรณ์แบบ รัฐบาลมาเลเซียประกาศรับรองมาตราฐานแนะนำให้ชาวสวนยางได้ใช้ เพิ่มพูนรายได้แก่ประเทศชาติและเจ้าของสวนยาง ติดตั้งระบบเทคนิคสูตฉางหลิวน้ำยางไหล 10 ชั่วโมง เพิ่มพูนปริมาณน้ำยางเป็น 3 เท่า วันทำการกรีด 1 วัน หยุด 2 วัน รอยที่กรีดเพียง 1 ส่วน 8 ลดการใช้แรงงาน ประหยัดหน้ายาง ลดเวลาทำงาน ยืดอายุต้นยางให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น





ประวัติความเป็นมา
สภาพัฒนากองวิจัยยางพาราเเห่งประเทศมาเลยเซีย ได้มอบสิทธิให้กับบริษัทเอกชนได้ทำการทดลองเเละปรับปรุงเทคนิคการใช้เทคโนโลยี กรีดยางพารา เเละสามารถเพิ่มผลผลิตถึง 3 เท่า เมื่อผ่านกระบวนการปรับปรุงระบบบกพร่องหรือจุดด้อยต่างๆเเละยังประหยัดค่าเเรงการกรีดยางอีกด้วย โดยสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเจ้าของสวนยางเเละคนกรีดยาง จนได้ขยายกลายเป็นธุรกิจพาณิชย์

สภาพัฒนากองวิจัยยางพาราเเห่งมาเลเซีย สามารถเพิ่มการเก็บเกี่ยวได้ถึง 3 เท่าเมื่อใช้ระบบใหม่ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้ปวงชนเเละประเทศชาติ"ได้มอบสิทธิบัตรการผลิตยางเเละจัดจำหน่าย"ให้เเก่บริษัทเอกชนเชื้อสายจีนชื่อ ฉางหลิว กงเอี๊ย อิ่มเซี้ยน กงซือ

สิทธิบัตรจากสภาพัฒนา เเละได้ขยายเครือข่ายงานการผลิตเเละจัดจำหน่า่ยออกไปอย่างกว้างขวาง เทคนิคส่งเสริมการผลิตเเละหลังการจำหน่ายการบริการ หรือปัญหาปลีกย่อยต่างๆ บริษัทฉางหลิว เป็นผู้รับผิดชอบ เเต่ฉางหลิวก็ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับทางสภาพัฒนากองวิจัยยางพาราเเห่งมาเลยเซีย

จากการพัฒนาเเละปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ฉางหลิว เป็นระบบเทคนิคการกรีดยางพาราที่มีราคาถูกเเละง่ายต่อการติดตั้งเเก้ไข เป็นระบบวิทยาศาสตร์ชั้นสูง เครื่องมือการติดตั้งเพียงเพิ่มจากการใช้มีดกรีดยางเเละใช้เวลาเพียง 1 นาที ก็สามารถติดตั้งอยู่บนต้นยางพาราได้

ระบบดังกล่าวนี้ สามารถเพิ่มปริมารการผลิตน้ำยางพารา เพิ่มรายได้ของเจ้าของสวนยางโดยไม่ต้องใช้เเรงงานเพิ่ม วิธีนี้สามารถลดจำนวนคนงานในการกรีดยาง เเละยังสามารถลดขั้นตอนในการกรีดยางจากระบบเก่า ซึ่งคนงานกรีดยางต้องทำงานทุกวัน มิเช่นนั้นจะไม่มีรายได้เพียงพอ เเต่ถ้าใช้ระบบเทคนิคใหม่นี้ ใช้เวลาในการทำงานเพียง 3 วัน กับการ กรีดยางครั้งเดียว เเต่ถ้าใช้วิธีนี้เเบบเก่าคนงานกรีดยางจะต้องกรีดเปลือกยางครึ่งหนึ่งของต้นยางหรือ 2/3 เเต่ถ้าใช้ระบบใหม่จะทำเเค่ 1/8 ก็เพียงพอเเล้ว




รู้จักตัวผลิตภันท์เเละวิธีการติดตั้งใช้งาน
การติดตั้ง คือ ต้นยาง 1 ต้นติดตั้งอุปกรณ์ 1 ชุด ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งนี้ 1 เดือน ก็คือทุน ระบบขวดพลาสติคใสได้บรรจุก๊าซ เร็กทรอรม ซึ่งใช้ได้ 3 เดือน เมื่อก๊าซเร็กทรอริมหมด ควรบรรจุใหม่ภายใน 1 ปีจะเติม 3 ครั้ง มีระบบรับประกันให้ 1 ปีเต็ม

การใช้งานระบบเทคนิค เร็คทรอริม
1. เมื่อบรรจุก๊าซเร็คทรอริมขวดพลาสติคเเล้วควรรีบติดตั้ง อย่าเก็บไว้นาน
2. บรรจุเก็บไว้ได้ 3 เดือน
3. ทุกๆ 2 เดือนควรเขย่าฝาจุกอย่าง น้อย 1 ครั้ง




ระบบเทคนิคเร็กทรอริม
ประกอบด้วยขวดพลาสติค ข้างในบรรจุก๊าซเร็กทรอริม ซึ่งตัวก๊าซนี้ประเทศมาเลเซียเเละสภาพัฒนาวิจัยยางพารา เเห่งประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าของลิขสิธิ์ ก๊าซนี้ ภายใน 1 นาทีจะปล่อย 1 ครั้ง โดยผ่าน Micro Porous Membrane คล้ายฟองสบู่ปล่อยออกมาเเละผ่านเข้าเปลือกของต้นยาง ทำให้บริเวณนั้นเกิดความเย็น ระบบเร็กทรอริมนั้น ต้องติดตั้งที่ร่องกรีดด้านบนประมาณ 6 นิ้ว โดยที่จะไม่รบกวนระบบร่องยางเเละการทำงานของการกรีดยาง ฝาขวดพลาสติกนี้ด้านบนออกเเบบอย่างประณีตระบบการเติมเเละติดตั้งอยู่บนต้นยางช่วงเวลาที่ใช้งานจะไม่รั่วไหลออกมา เพราะระบบผลิตขวดที่บรรจุทั้งฝาเเละวัสดุได้ปรับปรุงเเก้ไขอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหล ที่ผ่านมาหัวเสียบส่วนมากใช้สเเตนเลสเป็นวัสดุในการผลิต นานวันเข้าฝนตกโดนลมต่างๆ ก็จะเสียหายได้ บัดนี้ได้ใช้วัสดุอย่างดีในการประดิษฐ์ยิ่งกว่านี้เพียงใช้ด้ามมีดกรีดทุบเบาๆเคาะเปลือกไม้เเละจะไม่ทำลายต้นยาง เมื่อนำหัวเสียบปักเข้าไปในระหว่างเปลือกไม้ ปิดหัวเสียบเเละขวดให้สนิทโดยหัวเสียบผ่านสายต่อถึงขวดพลาสติค เป็นอันเสร็จการติดตั้ง

ระบบใหม่นี้จะส่งผลกระทบต่อต้นยางหรือไม่ ?
ไม่ทำให้ต้นยางเสื่อมโทรมอย่างเเน่นอน ทราบว่า มีคนงานกรีดยางบางคนได้เป็นน้ำยางพาราไหลออกมาไม่หยุดเป็นหวงกลัวว่าต้นยางจะโทรม เลยเลิกใช้อันที่จริง สภาวิจัยขของมาเลเซีย ชี้เเจงว่าระบบการใช้สูตรเร็กทรอริมนี้ มีผลประโยชน์ต่อต้นยางพาราโดยตรงเเละโดยเฉพาะมันไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายคนอีกด้วย




ที่มา - อ้างอิงค์ข้อมูล
จากการศึกษาค้นคว้า เเละวิจัยว่าทำไมผลผลิตน้ำยางในเขตพื้นที่เขตร้อน จึงน้อยกว่าพืนที่สวนยางในเขตหนาว หรือต้นยางปล่อยน้ำยางในเวลากลางคืน มากกว่าในเวลากลางวัน

จึงได้ข้อสรุปว่า การที่จะให้ต้นยางปล่อยน้ำยางเป็นระยะเวลานั้น ขึ่นอยู่กับความชื้นของอากาศซึ่งมีผลต่อความชื้นของเปลือกต้นยาง เมื่อเปลือกต้นยางมีความชื้นสูง การปล่อยน้ำยาง ของต้นยางก็มากขึ่น ทำให้ได้น้ำยางมากขึ่น ข้อสังเกตก็คือ เกษตกรสวนยางส่วนใหญ่จะกรีดยางในช่วงใกล้รุ่งคือ เช้าตรู่ ของเเต่ละวัน อันเนื่องมาจาก เป็นเวลาที่อากาศเย็นที่สุดของเเต่ละวัน

ดังนั้นทีมวิจัยค้นคว้าของสภาศูนย์วิจัยการยาง เเห่งประเทศมาเลเซียได้นำข้อสรุปดังกล่าวไปคิดค้นเทคโนโลยี ก็จะทำให้เปลือกต้นยางชื้น โดยใช้ก๊าซเอททิลีน ผสมกับโฮโมนชนิดหนึ่งซึ่งสามารถทำให้ซึมเข้าเปลือกไม้ จะทำให้เปลือกไม้มีความชื้นสูงขึ่้น เเละนี่เองคือที่มาของ "เร็คทรอริม" เทคโนโลยีสวนยางเเบบใหม่ โดยใช้วิธีพัฒนาตามระบบ ธรรมชาติผสมกับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว

บริษัท เอฟเวอร์โฟลว์ ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด ได้เล็งเห็นเทคโนโลยี ที่ช่วยเหลือเกษตกรชางสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ่นเเละไม่มีผลเสียต่อต้นยาง ทำให้ประชาชนชาวสวนยางประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในขณะนี้เเละเพิ่มรายได้ต่อตนเอง เเละประเทศชาติจึงได้นำเข้ามาเมื่อปี พ.ศ.2548 เริ่มใช้ครั้งเเรกที่สวนของคุณ ทยา ที่จังหวัดตรัง เเละสวนยางที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีในเชิงทดลองเเละวิจัยกับชาวสวนของประเทศไทย

บัดนี้ได้พิสูจน์ชัดเเจ้งเเล้วว่า มีผลดีตามเเบบประเทศมาเลเซียเเจ้งมาทุกประการ จึงได้นำมาเผยเเพร่เมื่อปี พ.ศ.2553 ทำในรูปเเบบเชิงพาณิชย์ เเละได้รับการตอบรับที่ดีมากเพราะทุกท่านสามารถไปดูสวนทดลองที่จังหวัดตรัง เเละ จังหวัด สุราษฎร์ธานีได้ตลอดเวลา



http://blacklife1987.blogspot.com/
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/02/2011 7:02 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)




การปลูกพืชแซมยาง

เป็นการเสริมรายได้ช่วง 3 ปีแรก ซึ่งสามารถปลูกพืชล้มลุกและพืชอายุสั้นได้หายชนิด โดยต้องพิจารณาถึงตลาด แรงงาน เงินทุน
ขนาดพื้นที่ การคมนาคมและ

สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ชนิด ของพืชแซมยางและการปฏิบัติเป็นดังนี้

สับปะรถ ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเขียว และพืชผักควรปลูกห่างแถวยางประมาณ 1 เมตร

หญ้ารูซี่ ปลูกห่างแถวยางประมาณ 1.5 เมตร (ไม่แนะนำปลูกหญ้าอาหารสัตว์ชนิดอื่น เพราะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยาง)

กล้วยและมะละกอปลูกแถวเดียวกึ่งกลางระหว่างแถวยางและสามารถปลูกพืชอายุสั้นในระบบผสมผสานได้อีกหลายชนิด เช่น ข้าวไร่
และถั่วลิสง เป็นต้น

ควรปลูกพืชล้มลุกอายุสั้นต่าง ๆ ในระบบหมุนเวียน

ไม่แนะนำให้ปลูกอ้อย ละหุ่ง เป็นพืชแซม เพราะจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง

ถ้าต้องการปลูกมันสำปะหลังควรปลูกในปีที่ 2 หรือปีที่ 3 ปลูกให้ห่างจากแถวยางด้านละ 2 เมตร ไถเดี่ยวตัดรากมันสำปะหลัง ป้องกัน
ระบบรากเข้ามาอยู่

ในแถวของยางพารา
ควรนำเศษซากของพืชแซมทิ้งไว้ในที่เดิม หรือนำไปคลุมโคนต้นยางโดยให้ห่างจากโคนต้นยางเล็กน้อย ปฏิบัติและบำรุงรักษาพืชแซม
ยางตามชนิดของพืชนั้น ๆ




http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2&imgurl=http://www.rubberthai.com/information/image/sugges/6.jpg&imgrefurl=http://www.rubberthai.com/information/suggestion/6.htm&usg=__MxPoXA6wUSpLLkugc_pp0Zj7E-E=&h=445&w=698&sz=377&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=roNSjVYOqXMCcM:&tbnh=89&tbnw=139&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%26start%3D360%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divnsfd&ei=LI1OTfiaCczrrQfsktjaBg&start=356&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivnsfd#tbnid=roNSjVYOqXMCcM&start=360
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/02/2011 8:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

เลย แล้งจัดยางพารายืนต้นตายกว่า 4 หมื่นไร่

นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายธนวรรธน์ สวรรยาธิปัติ นายอำเภอ
เมืองเลย นายจรูญ พาณิช นายก อบต.น้ำสวย และเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมือง
เลย ได้เดินทางไปตรวจสภาพปัญหาต้นยางตายจากภัยแล้งในเขตพื้นที่ ต.น้ำสวย
อ.เมืองเลย เนื่องจากได้รับการร้องเรียนว่า ขณะนี้สวนยางพาราที่ ต.น้ำสวย ซึ่งมีอยู่
ประมาณ 10,000 กว่าไร่ ประสบภัยแล้งตายไปแล้ว 1,000 กว่าไร่ หรือคิดเป็น
10% ของพื้นที่การปลูกยางของ ต.น้ำสวย ส่วนในเขตพื้นที่ อ.เมืองเลย เสียหาย
ร่วม 2 หมื่นไร่

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้ไปที่แปลงยางพาราของ นายสด ถานาจร อายุ 81 ปี
อยู่บ้านเลขที่ 74 หมู่ 10 ต.น้ำสวย ซึ่งพื้นที่ที่ปลูกยางพารา 20 กว่าไร่ แต่ได้รับ
ความเสียหายแทบทั้งหมด โดยนายสด กล่าวว่า ต้นยางพาราของตนนั้นปลูกได้ 7
ปี และเริ่มกรีดในปีนี้เพื่อเอาเงินไปใช้หนี้ ธกส.ที่กู้ยืมมาทำ แต่มาประสบกับภัยแล้ง
ฝนไม่ตกเลย ทำให้ต้นยางยืนต้นตายดังที่เห็น ไม่รู้จะหาเงินที่ไหนไปใช้หนี้ ธกส.

"ส่วนที่เห็นต้นยางถูกตัด เนื่องจากได้รับการแนะนำจากทางเจ้าหน้าที่เกษตรในการ
แก้ปัญหาเพื่อให้ออกยอด ใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะฝนไม่ตกเลย และต้นยางตายไป
เรื่อย รวมทั้งของชาวบ้านไร่ข้างเคียงด้วย"

ด้านนายพรศักดิ์ กล่าวว่า ยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งจากผลกระทบฝน
ไม่ตกที่ได้รับรายงานทั้ง จังหวัดในขณะนี้ประมาณ 40,000 กว่าไร่ และที่ไม่ตายก็
ไม่สามารถกรีดยางได้ ถ้าฝนไม่ตกต้นยางก็จะตายเพิ่ม การช่วยเหลือเบื้องต้นทาง
จังหวัดได้ประสานกับทาง อบต.ทำการจัดซื้อพันธุ์ยางพาราแจกจ่ายช่วยเหลือ
เกษตรกรที่ต้นยางตาย เป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น และไห้ทางเกษตรเร่งทำการ
สำรวจความเสียหาย เพื่อรายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการช่วย
เหลือเป็นการด่วนต่อไป



http://www.pinonlines.com/node/11506



โรคยางพาราที่เกิดจากความแห้งแล้ง

8. โคนต้นไหม้
เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศ แห้งแล้งจัด
และถูกแสงแดดเผา
ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้
เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ
ต้น จนแห้งตาย

การป้องกันและรักษา
ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูน
ขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุม
ดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล

--------------------------------------------------------------------------------

9. อาการตายจากยอด
อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหา
สภาพอากาศ แห้งแล้งจัด เป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจาก
ความร้อนระอุของพื้นดิน
ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมี
ปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้น
ของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลัง
จากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี

ลักษณะอาการ
กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จน
ถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำ
ต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว
เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน

การป้องกันและรักษา
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคน
ต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้
ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด


http://www.doae.go.th/library/html/detail/Rubber/rubber23.htm


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 08/02/2011 7:18 am, แก้ไขทั้งหมด 4 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/02/2011 8:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)
















http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%20%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2&imgurl=http://2.bp.blogspot.com/_eZawQF6fhtM/S--P4SJz8tI/AAAAAAAACLE/HudPOxRqK0Q/s1600/DSC01379.JPG&imgrefurl=http://mrnainoy-myblog.blogspot.com/2010_05_01_archive.html&usg=__JgPXEvL-T4CFCKS6t0jKPY1TFPg=&h=1600&w=1200&sz=428&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=Yah-OguLHacIvM:&tbnh=150&tbnw=113&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2594%2B%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B7%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divns&ei=1qpOTdGTFYXRrQfrgK3bBg&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivns&start=14#tbnid=V5vYxPkNXLYr5M&start=2
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 06/02/2011 10:16 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ต่อยอด 1 .....

---- ค่ำวันนี้ 6 ก.พ. ดู (ไม่ตั้งใจ) ข่าว ทีวี. .... บุรีรัมย์แห่ปลูกยางพารา ต้นกล้า
ฉวยโอกาสขึ้นราคาเป็นต้นละ 30-35 บาท.... ก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่า ปกติราคาเท่า
ไหร่....ก็ว่ากันไป

---- แต่ละวันมีคำถามยางพาราอิสานบ่อยมาก โดยเฉพาะ สมช.สาย เอฟเอ็ม.
91 ที่เข้ามาทำงานใน กทม. ปลูกยางพาราไว้ ปัญหาต้นยางไม่โต หรือเปิดกรีด
แล้วไม่ได้น้ำยาง รวมทั้งโรคที่เกิดจากความแห้งแล้ง บ่อยมากๆ...คำตอบ (ซ้ำ
ซาก) จากลุงคิม ก็คือ....

- ยางพาราภาคใต้ ที่นั่น ฝนแปด-แดดสี่ แต่อิสาน ฝนสี่-แดดแปด มันจะอยู่ได้ไง
- ไม่มีพืชใดในโลกไม่ต้องการน้ำ เมื่อไม่มีน้ำให้ต้นยาง แล้วต้นยางจะเอาน้ำที่ไหน
ไปสร้างน้ำยาง
- เมื่อไม่มีน้ำ ใส่ปุ๋ยสูตรไหนลงไป ต้นยางก็เอาไปกินไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำละลายปุ๋ย
- เมื่อมีใครไปแนะนำส่งเสริม ทำไมไม่ถามเขาด้วยว่า ปลูกแล้วจะเอาน้ำที่ไหนให้ยาง


คำแนะนำวันนี้ คือ....
- ต้องลงทุนซื้อน้ำมาให้ยางพาราให้จงได้ รักษาให้ต้นรอดตายก่อน แม้วันนี้จะไม่
มีน้ำยางให้กรีดก็ช่าง เพราะอีก 5 ปี 10 ปี ข้างหน้ายังมีซุงไม้ยางให้ขายได้


ลุงคิมครับผม


กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/02/2011 5:48 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ท่องไปในโลกเน็ต (ในประเทศ) อยู่หลายวัน สำรวจข้อมูลในหลายๆเว้บ เพื่อค้นหาตัวอย่างสวนยางพาราที่ติดระบบสปริงเกอร์
หาเท่าไหร่ก็ยังไม่พบ....ใครพบหรือรู้ว่ามีข้อมูลประเภทนี้ในเว้บไหน หรือของจริงที่ไหน แนะนำหน่อยก็ดีนะ


แนวความคิดครั้งแรกของลุงคิมเรื่องระบบสปริงเกอร์เกิดจากจินตนาการ ตามประสาคนช่างคิด (หรือว่าคิดมากก็ไม่รู้.....คิดมาก กับ
คิดมากๆ ไม่เหมือนกันนะ) โดยอาศัยต่อยอดจากสปริงเกอร์ที่ติดเหนือพื้นดินโคนต้น ที่ชาวสวนทั่วๆไปทำกัน แนวคิดของลุงคิม คือ
ปรับให้สูงขึ้นไปอยู่เหนือยอดพุ่มสำหรับต้นไม้ผลขนาดใหญ่ หรือติดอยู่ข้างบนเหนือพื้นแล้วพ่นละอองน้ำลงมาสำหรับพืชต้นเตี้ย
ประเภทผักสวนครัว เรียกว่า "ลอยฟ้า" ทั้ง 2 แบบนี้ก็ได้ลงมือทำใช้เองที่ไร่กล้อมแกล้ม ซึ่งก็ได้ผลแล้วก็ใช้มานานหลายปีจนถึง
วันนี้

อย่างกรณีสปริงเกอร์โอเวอร์เฮดสับปะรด 300 ไร่ นั่น ลุงคิมก็เคยจินตนาการไว้ แล้วก็เคยนำออกเผยแพร่หลายครั้งหลายสถานที่
ทั่วประเทศ (กว่า 10 ปี) ก็ไม่เคยเห็นมีใครทำซักคน จนกระทั่งไปพบสับปะรดเจ้านี้ เห็นเขาทำ ซึ่งเขาก็ไม่ได้เอาแบบไปจากที่ลุงคิม
จินตนาการไว้ เพราะเขาไม่เคยรู้จักลุงคิมมาก่อน กลับทั้งไม่ได้ฟังรายการวิทยุลุงคิมด้วย (หรืออาจจะฟังวิทยุรายการอื่น) พูดง่ายๆก็คือ
เขา คิดเองทำเอง นั่นแสดงว่า หลักการ (เน้นย้ำ....หลักการ) นี้ เป็นสิ่งถูกต้อง อย่างน้อย ประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องานที่
เจ้าของพอใจ กับที่ลุงคิมเห็นว่า O.K. ก็เป็นสิ่งยืนยันได้อย่างดี

จากแนวความคิดสปริงเกอร์ในแปลงสับปะรด มาสู่แปลงไม้ใหญ่อย่างยางพารา หรือปาล์มน้ำมัน หรือมาสู่แปลงไม้เตี้ยประเภทพืชไร่ต่างๆ
ซึ่งก็ไม่น่าจะต่างกันนักนั้น ด้วยประสิทธิภาพประสิทธิผลของเนื้องานจากสปริงเกอร์ น่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องแรงงาน เวลา และเพื่อ
คุณภาพของผลผลิตได้เป็นอย่างดี

เมื่อวิเคราะห์ตามหลักเศรษฐศาตร์การลงทุนด้านการเกษตรของเกษตรกรไทยแล้ว จะพบว่า มีการสูญเสีย "โอกาส-เวลา-แรงงาน-ต้นทุน
-คุณภาพ-ปริมาณ-และอื่น" ไม่ใช่น้อย ทั้งนี้เพราะขาดเทคโนโลยีเครื่องทุนแรงการเกษตรนั่นเอง



ตัวอย่าง :
- อ้อยให้น้ำ 1 ไร่ ไว้ตอได้ 10 ตอ ได้ผลผลิตตอละ 30 ตัน (ทุกตอ หรือเกือบทุกตอ) เปรียบเทียบ
กับอ้อยไม่ให้น้ำหรืออาศัยน้ำฝน 1 ไร่ ไว้ตอได้ 3 ตอ ได้ผลผลิต ตอ 1 = 8 ตัน, ตอ 2 = 6 ตัน,
และตอ 3 = 3 ตัน จากนั้นรื้อทิ้งปลูกใหม่.....เมื่อเคิดคำนวนต้นทุนค่าปลูกใหม่, ปริมาณผลผลิตต่อ
ตอที่ได้รับ, เวลา, แรงงาน, ปริมาณ,คุณภาพ, ค่าความหวาน ..... เห็นชัดว่า อ้อยให้น้ำ มีต้นทุน
ต่ำกว่าอ้อยไม่ให้น้ำหรืออาศัยน้ำฝนเป็นอย่างมาก

- สำปะหลังให้น้ำ 1 ไร่ ได้ผลผลิต 10 ตัน ปลูกสำปะหลัง 10 ไร่ ได้ 100 ตัน แต่สำปะหลังไม่ให้น้ำ
หรืออาศัยแต่น้ำฝน ได้ผลผลิต 3 ตัน ต้องปลูกสำปะหลังถึง 33 ไร่ จึงจะได้ 100 ตัน นั่นหมายถึง
ต้นทุนค่าพื้นที่, ต้นพันธุ์, แรงงาน, เวลา, คุณภาพ (เปอร์เซ็นต์แแป้ง) ที่ต่างกัน

- ปาล์มน้ำมันให้น้ำสม่ำเสมอ สามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปีแบบไม่มีรุ่น ทั้งนี้ธรรมชาติของ
ปาล์มน้ำมันเมื่อกระทบแล้ง ดอกที่ออกมาจะกลายเป็นดอกตัวผู้ หรือเกสรไม่สมบูรณ์จนผสม
ไม่ติด ทำให้เสียโอกาส เสียเวลา

- ยางพาราให้น้ำสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ต้นไม่โทรม จำนวนวันกรีดเพิ่มขึ้น น้ำยางที่กรีดได้เพิ่มขึ้น
ทั้งปริเมาณและคุณภาพ ไม่โรคแทรก


ถึงเวลาแล้วยที่เกษตรกรจะต้องนำหลักการบริหารอุตสาหกรรมมาใช้ใน "การบริหารเกษตรกรรม"
ทำนอง "ลงทุนเพื่อลดต้นทุน" เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพ กับทั้งแก้ปัญหาต้นทุนที่สูญเปล่าอีกด้วย

เมื่อไม่มีตัวอย่างของจริงให้เห็น ก็ต้อง "คิดเอง ทำเอง" นั่นแหละ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/02/2011 8:06 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





http://www.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%20%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2&imgurl=http://www.teedinsale.com/images/140/1.jpg&imgrefurl=http://www.teedinsale.com/%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2581/%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587/%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587-%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599-140.htm&usg=__vsmipsQWm1iFT0d4hRF54C639sM=&h=450&w=600&sz=106&hl=th&zoom=1&itbs=1&tbnid=o95f38clEkwoaM:&tbnh=101&tbnw=135&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%2B%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%26start%3D420%26hl%3Dth%26sa%3DN%26ndsp%3D20%26tbs%3Disch:1%26prmd%3Divnsfd&ei=nOtPTcnVIsPlrAfNhsXbBg&start=418&sa=N&ndsp=20&tbs=isch:1&prmd=ivnsfd#tbnid=o95f38clEkwoaM&start=422
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 07/02/2011 8:36 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)





http://www.live-rubber.com/rubberforum/viewtopic.php?f=2&t=735
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
sa
หนาวดึ่ง
หนาวดึ่ง


เข้าร่วมเมื่อ: 04/02/2011
ตอบ: 6

ตอบตอบ: 07/02/2011 10:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สวัสดีครับลุงคิม

ขอบคุณและขอบคุณมากๆครับ สำหรับขอมูลมากมาย
เอาไว้ผมไปทดลองที่สวน แล้วจะแจ้งให้ทราบ อาจจะต้องให้ช่วย
วิจารณ์ระบบและขอคำแนะนำเพิ่มเติมครับ...

อีกเรื่อง ผมอยากไปอบรมที่สวนลุงคิม ไม่ทราบทางสวนมีกฎกติกาอย่างไรครับ ?

ขอบคุณครับ.
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 08/02/2011 7:10 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

sa บันทึก:
สวัสดีครับลุงคิม

ขอบคุณและขอบคุณมากๆครับ สำหรับขอมูลมากมาย
เอาไว้ผมไปทดลองที่สวน แล้วจะแจ้งให้ทราบ อาจจะต้องให้ช่วย
วิจารณ์ระบบและขอคำแนะนำเพิ่มเติมครับ...

อีกเรื่อง ผมอยากไปอบรมที่สวนลุงคิม ไม่ทราบทางสวนมี กฎกติกา อย่างไรครับ ?

ขอบคุณครับ.





ไปเอง - เรียนเอง - คิดเอง - ต่อยอดเอง....
ทำเอง - ใช้เอง - แจกเอง - ขายเอง.....

ขอบอกว่า "ยากกกกก มากกกก มากกกก....
เพราะยังไม่มีใครเรียนสำเร็จเลย
นอกจากเรียนไม่สำเร็จแล้ว ยัง "ด่า" ลุงคิมอีกแน่ะ....


ลุงคิม (เบื่อสอน อยากเรียน ๆเอง) ครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11558

ตอบตอบ: 12/02/2011 12:11 pm    ชื่อกระทู้: ยางพันธุ์ใหม่ น้ำยาง 300 กิโล/ไร่/ปี ! ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

มาเลเซียปลูกยางพันธุ์ใหม่ ให้น้ำยาง 300 กิโล/ไร่/ปี !

เบอร์นามาออนไลน์ รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ดาโต๊ะ ศรี นาจิ๊บ ตุน ราซัก รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แนะนำให้ชาวสวนยางพาราผืนเล็ก
ใช้ 5 วิธีเพิ่มผลผลิต เพราะแม้พื้นที่ปลูกมีน้อย แต่ผลผลิตที่ได้ก็เกินคุ้ม

ดาโต๊ะ ศรี นาจิ๊บ กล่าวในสาส์นเนื่องในพิธีจ่ายเงินปันผลแก่กลุ่มเกษตรกรซึ่งทำงานให้กับ “ริสดา” (RISDA) องค์การกิจการสวนยาง
พาราของรัฐบาลมาเลเซียที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2516 ว่า วิธีแรกที่จะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิต เกษตรกรควรปลูกต้นยางอย่างน้อย
500 ต้น/พื้นที่ 1 เฮกตาร์ (หรือราว 6 ไร่เศษ) ขณะเดียวกันต้องเพิ่มจำนวนวันกรีดยางพาราจากเดิมเฉลี่ยเดือนละ 11 วันเป็น 15 วันแทน

ส่วนวิธีอื่นๆ เกษตรกรจะต้องคอยหมั่นดูแลสวนยางพาราด้วยการใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้องและในปริมาณ ที่พอเหมาะ ที่สำคัญต้องรู้วิธีการกรีต
ยางแบบใหม่ซึ่งจะช่วยให้ต้นยางพาราให้น้ำนมยาง ได้มากกว่าเดิม ขณะเดียวกันการบำรุงรักษาสวนยางด้วยความเอาใจใส่ก็จะช่วยเพิ่ม
ผลผลิตได้อีกทาง

“ข้าพเจ้ามั่นใจว่า เกษตรกรจะสามารถเพิ่มผลผลิตจากสวนยางได้มากขึ้น เนื่องจากตอนนี้พันธุ์ยางโคลนนิงของเราสามารถปลูกได้แล้ว
ยางพันธุ์ใหม่ของเราจะให้น้ำยางได้มากถึง 2,000 กิโลกรัม/พื้นที่ปลูกยาง 1 เฮกตาร์ (หรือคิดเฉลี่ย/ไร่/ปี สูงถึง 300 กิโลกรัม
เศษ)” ดาโต๊ะ ศรี นาจิ๊บ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้ที่อ่านสาส์นของ ดาโต๊ะ ศรี นาจิบ ราซัก คือ ตันศรี มูฮัมหมัด มูฮัมหมัดตอยิบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาชนบท โดยเนื้อ
หาในสาส์นยังระบุอีกว่า รัฐบาลมาเลเซียทราบดีว่าพื้นที่ที่เหมาะสำหรับทำการเพาะปลูกมีเพียงเล็กน้อย กล่าวคือเกษตรกรไม่กี่รายมี
ที่ดินเฉลี่ย 2.2 เฮกตาร์ (ประมาณ 13.5 ไร่) เท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ทุกฝ่ายจะต้องขยันขันแข็ง เพื่อจะได้แน่ใจว่าสามารถเพิ่มผลผลิต จากที่ดินเท่าที่มีอยู่ ทุกคนจะต้องทำให้ได้อย่างเช่น ใน
ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งทำสำเร็จมาแล้ว

นาจิ๊บ แสดงความเชื่อมั่นว่า เกษตรกรมาเลเซียสามารถเพิ่มผลผลิตจากสวนยางพาราของตนได้อย่างแน่นอน เพราะแม้ว่ามาเลเซีย
จะมีพื้นที่ปลูกยางพาราลดลงจาก 1.28 ล้านเฮกตาร์ เหลือเพียง 1.03 ล้านเฮกตาร์ในช่วงปี ค.ศ.1998-2007 (พ.ศ. 2541-2550)
แต่ผลผลิตที่ได้กลับเพิ่มขึ้นจาก 0.68 ล้านตัน ในปี ค.ศ.1998 เป็น 1.13 ล้านตันในปีนี้ (พ.ศ. 2551)

ริสดา (RISDA) คือองค์กรพัฒนาวิสาหกิจสวนยางพาราขนาดเล็กของรัฐบาลมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2516 โดย ตุน
อับดุลราซัก อัลฮัจญ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นบิดาของ ดาโต๊ะ ศรี นาจิ๊บ ราซัก รองนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

อนึ่ง ผลผลิตยางพาราต่อไร่ของเวียดนามในปัจจุบันจัดว่าสูงที่สุดในโลก คือ สามารถให้ผลผลิต/ไร่/ปี สูงถึงประมาณ
300 กิโลกรัม เวียดนามกำลังขยายพื้นที่เพาะปลูกของตนไปในลาวและกัมพูชาด้วย


สำหรับประเทศไทย ยางพาราปลูกมากในจังหวัดภาคใต้แทบทุกจังหวัด ตั้งแต่นราธิวาสถึงชุมพร ส่วนภาคตะวันออกปลูกมากที่
ระยองและตราด โดยนิยมใช้พันธุ์ยางเบอร์ 255 และเบอร์ 256 เพราะให้น้ำยางมากกว่าถึงเกือบเท่าตัวจากพันธุ์ยางเก่าที่เคยปลูก
ผลผลิตอยู่ระหว่าง 2-3 กิโลกรัม/ไร่/วัน ซึ่งนับว่ายังน้อย แต่พื้นที่เพาะปลูกของไทยมากกว่ามาเลเซียและเวียดนาม และจำนวน
วันที่สามารถกรีดยางก็มีมากกว่า คือประมาณ 180-225 วัน/ปี หรือเฉลี่ย 18 วัน/เดือน

ปัจจุบันมีชาวสวนยางไทยใช้ยางพันธุ์ RRIM 600 ของมาเลเซีย สามารถให้ผลผลิต 4 กิโลกรัม/ไร่/วัน โดยปลูกจำนวน 380 ต้น/ไร่
ใช้ระบบกรีดที่ถูกต้องตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยและสำนักงานกองทุนสงเครามะห์ การทำสวนยาง (สกย.) คือระบบกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน

ปกติยางพาราจะกรีดได้เมื่อมีอายุประมาณ 6-7 ปี แต่ในภาคอีสานอาจต้องใช้เวลา 8-12 ปี เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศ
ไม่เหมาะ รวมทั้งให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่า


ประเทศจีนมีความพยายามปลูกยางพาราเช่นกัน แต่ในจีนซึ่งเป็นลูกค้ารายสำคัญที่รับซื้อยางจากไทยได้ผลผลิตประมาณ 30% ของ
ไทยเท่านั้น

ต้นยางพารามีอายุเฉลี่ยประมาณ 25 ปี จากนั้นจะถูกโค่นเพื่อเอาลำต้นขายให้โรงงาน โดยเฉพาะโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจะทำให้
มีรายได้นับแสนต่อแปลง สำหรับการปลูกยางทดแทนสามารถขอเงินสนับสนุนจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งมีสำนักงานอยู่
ในแทบทุกอำเภอในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจังหวัดอื่นๆ



ที่มา http://www.isranews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=4143&Itemid=47


http://board.palungjit.com/archive/t-153317.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©