-
++kasetloongkim.com++
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ
MySite.com :: ดูกระทู้ - ข้าว..กระทบหนาว
 คำถามถามบ่อยของกระดานข่าวคำถามถามบ่อยของกระดานข่าว   ค้นหาค้นหา   กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มผู้ใช้งาน   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว   เข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณเข้าระบบเพื่อตรวจข่าวสารส่วนตัวของคุณ   เข้าระบบเข้าระบบ 

ข้าว..กระทบหนาว

 
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร
ดูกระทู้ก่อนนี้ :: ดูกระทู้ถัดไป  
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2011 5:58 am    ชื่อกระทู้: ข้าว..กระทบหนาว ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ข้าว..กระทบหนาว





ผลกระทบของอุณหภูมิที่มีต่อการปลูกข้าว
สภาพอากาศในระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนมกราคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ถ้าปีใดมีอากาศเย็นกว่าปกติ ข้าวโดยทั่วไปจะแสดงอาการเหลือง การเจริญเติบโตชะงักงัน เนื่องจากขบวนการต่าง ๆ ในต้นข้าวหยุดชะงัก จากอากาศที่หนาวเย็น จะใส่ปุ๋ยอย่างไรก็ไม่เป็นผล และสำหรับแปลงนาที่ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีเวลาพักดิน ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน ใช้แต่ปุ๋ยเคมี นอกจากข้าวจะแสดงอาการเหลืองแล้ว ถ้าข้าวอยู่ในระยะแตกกอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประมาณ 1 เดือนถึงเดือนครึ่ง มักจะสังเกตเห็นอาการจุดสีน้ำตาลของโรคใบจุดสีน้ำตาล ซึ่งเกิดจากเชื้อรา

แนวทางแก้ไข
หากอาการของโรคลุกลามรุนแรง โดยสังเกตเห็นใบข้าวเริ่มแห้งตายจากใบล่าง ควรหยุดอาการของโรคด้วยสารป้องกันกำจัดโรคอิดิเฟนฟอส แสดงอาการเหลือง และชะงักงันของข้าว (ข้าวไม่กินปุ๋ย) ในช่วงที่อากาศเย็นจัด ควรชะลอการใส่ปุ๋ยทุกชนิดไว้ก่อน เนื่องจากไม่มีประโยชน์ที่จะใส่ในระยะนี้ เมื่อความหนาวเย็นเริ่มลดลง อากาศดีขึ้น จึงใส่ปุ๋ย ในข้าวที่เป็นโรคใบจุดสีน้ำตาลร่วมด้วย การใส่ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียม (k) อยู่ด้วยนั้น จะช่วยลดความรุนแรงของโรคใบจุดสีน้ำตาลได้
ในกรณีที่ข้าวตั้งท้องถึงออกรวง ในช่วงอากาศเย็นจัด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นหมัน ทำให้ไม่ติดเมล็ด เกิดความเสียหายต่อผลผลิต

หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนกันยายน - พฤศจิกายน หรือ จัดช่วงเวลาปลูกไม่ให้กระทบอากาศหนาวเย็นในช่วงตั้งท้อง - ออกรวง

สำหรับพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอต่ออากาศ หนาวเย็น ได้แก่ พันธุ์ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 และพิษณุโลก 2 ซึ่งล้วนแต่เป็นพันธุ์ที่มีคอรวงสั้น เมื่ออากาศหนาว จะทำให้รวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ ปลายรวงในส่วนที่โผล่เหนือกาบใบธงตั้ง และไม่โน้มรวง เมล็ดในส่วนนี้จะลีบบางเมล็ด จนถึงเกือบหมดรวง ส่วนโคนรวงถึงกลางรวงที่ถูกห่อหุ้มด้วยกาบใบธงเมล็ดจะลีบหมด เมล็ดลีบเนื่องจากข้าวไม่ผสมเกสร อุณหภูมิที่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว คือ อุณหภูมิในช่วงกลางคืนที่ต่ำกว่า 15 C0 ในระยะ 10-14 วันก่อนออกดอก และอุณหภูมิวิกฤติที่มีผลกระทบต่อการผสมเกสรข้าว คือ 15-20 C0 ทำให้เมล็ดลีบ เพราะฉะนั้น ในช่วงนี้ ควรปลูกข้าวพวกที่มีคอรวงยาว ทนหนาว เช่น สุพรรณบุรี 1 เป็นต้น


http://snatup.blogspot.com/2010/05/blog-post_17.html
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2011 5:59 am    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว หลายพื้นที่สภาพอากาศเริ่มมีอุณหภูมิลดลง กรมการข้าวมีความเป็นห่วงเกษตรกรที่ปลูกข้าวจะประสบกับปัญหา “ข้าวกระทบหนาว” ไม่ได้ผลผลิตเต็มที่ โดยพันธุ์ข้าวที่มีความอ่อนแอต่อสภาพอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พันธุ์พิษณุโลก 2 ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับข้าวทุกระยะ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงนาและสังเกตความผิดปกติของต้นข้าว เพื่อตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที

สำหรับอาการของต้นข้าวที่ได้รับผลกระทบ หากเกิดกับข้าวที่อยู่ในระยะกล้าจะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบเหลือง และอาจหยุดการเจริญเติบโตจนถึงตายได้ในกรณีที่อุณหภูมิลดต่ำลงมาก ถ้าเกิดในระยะออกดอกหรือระยะผสมเกสร จะทำให้การผสมไม่ติดและเกิดเมล็ดลีบมาก

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า เกษตรกรที่เตรียมจะปลูกข้าวในขณะนี้ควรติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา อย่างใกล้ชิด เนื่องจากข้าวที่ปลูกอาจจะประสบปัญหาชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 โดยสามารถใช้พันธุ์อื่นที่สามารถทนสภาพอากาศหนาวได้ดีกว่า เช่น กข 31 (ปทุมธานี 80) ส่วนข้าวที่ชะงักการเจริญเติบโตในขณะที่อุณหภูมิยังไม่สูงขึ้นควรชะลอการใส่ ปุ๋ยจนกว่าอุณหภูมิจะสูงอยู่ในระดับปกติ เนื่องจากข้าวจะไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยในภาวะอากาศหนาวเย็นเมื่ออุณหภูมิปรับสูง ขึ้นตั้งแต่ 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป แล้วข้าวจึงจะมีการเจริญเติบโตและตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี

เกษตรกรที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานของกรมการ ข้าวใกล้บ้าน หรือศูนย์บริการชาวนา 50 แห่งทั่วประเทศ ในวันและเวลาราชการ.


http://nsw-rice.com/index.php/riceknowladge?start=10
ที่มา : เดลินิวส์
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2011 5:58 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ซิงค์ คีเลท 75% : ใช้ผสมปุ๋ยและละลายจุลินทรีย์หน่อกล้วยปล่อยตามน้ำแก้

ปัญหาข้าวแพ้หนาว

............ ลมหนาวเริ่มพัดโชย อุณหภูมิในหลาย ๆ พื้นที่เริ่มลดลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชที่เกษตรกรเริ่มปลูกหลังปัญหาน้ำท่วมหมดไป ในช่วงนี้ของทุก ๆ ปี พืชทุกชนิดเมื่อเจอกับอากาศที่เย็นก็เริ่มชะงักการเจริญเติบโต มีอาการเหลือง ใบซีด แสดงอาการไม่ดูดซึมธาตุอาหาร หากเป็นไม้ผล ก็จะทำให้ผลหลุดร่วงง่ายเนื่องจากพืชแพ้อากาศหนาว ในช่วงนี้ของทุกปีเกษตรกรมักจะมีปัญหาดังกล่าว ซึ่งหากเกษตรกรมีการป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนอากาศเริ่มหนาวเย็นก็จะทำให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโต ผลร่วงหล่น หรือต้องเปลืองต้นทุนในการแก้ไขซึ่งการแก้ไขนี้ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผลหรือไม่ ผลผลิตอาจจะเสียหายไปแล้วก็ได้ วันนี้ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในเรื่องของการป้องกันและแก้ไขปัญหาข้าวแพ้อากาศแบบฉับพลัน เพื่อเป็นแนวทางในการรับมือและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในสภาพอากาศหนาวเย็นที่คาดกันว่าจะรุนแรงและยาวนานกว่าปีอื่น ๆ.....



......... ช่วงนี้ก็เริ่มเข้าสู่หน้าหนาวแล้วนะครับ หลายพื้นที่อากาศหนาวเย็น บางพื้นที่ประชาชนต้องการผ้าห่มไว้ห่มคลายหนาว พืชที่เราปลูกก็เหมือนกัน ส่วนมากเกษตรกรมักมองข้ามไปว่าพืชของเราที่ปลูกไว้นั้นก็ต้องการผ้าห่มเพื่อนำไปห่มเพื่อคลายหนาว เอ๊ะ... สงสัยเสียแล้วสิว่าพืชจะเอาผ้าห่มไปห่มให้พืชอย่างไร มีหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจและอาจคิดว่า จะต้องเอาผ้าห่มที่เราห่มอยู่นี้ไปคลุมให้ต้นไม้ทุกต้นเลยเหรอ แต่ที่จริงแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นครับ มันเป็นคำเปรียบเปรยเพื่อสื่อให้เข้าใจว่าพืชเมื่อได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นในช่วงฤดูหนาวก็เปรียบเสมือนว่า มีผ้าห่มคุมกันหนาวนั่นเองครับ ซึ่งผ้าห่มคลุมกันหนาวสำหรับพืชก็คือ “ธาตุสังกะสี” หากสมาชิกได้ติดตามอ่านบทความของชมรมฯ ในหลาย ๆ บทความจะกล่าวถึงการใช้ “ซิงค์คีเลท 75%” ผสมร่วมไปกับปุ๋ยเพื่อเป็นผ้าห่มให้พืชรับกับอากาศหนาวเย็นล่วงหน้า นอกจากธาตุสังกะสีที่พืชต้องการเป็นพิเศษแล้วยังมีธาตุอาหารอื่น ๆ ที่พืชต้องการในช่วงนี้อย่างต่อเนื่อง อาจจะน้อยแต่ขาดไม่ได้ จึงแนะนำให้ใช้ซิลิโคเทรซผสมร่วมไปกับปุ๋ยและละลายน้ำฉีดพ่นทางใบ .........



http://www.thaigreenagro.com/aticle/aticleCatAll.aspx?pCatID=14
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2011 6:37 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

ความสำคัญของสังกะสีต่อพืช (Importance of zinc for plants)

สังกะสีมีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งพืช สังกะสีเป็นสารที่ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในการทำปฏิกิริยา สังกะสีมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่

การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสร้างน้ำตาล
การสังเคราะห์โปรตีน
การเจริญพันธุ์ และการเพาะด้วยเมล็ด
การเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
การต้านทานโรค


การขาดสังกะสี (Zinc deficiency)
เมื่อพืชได้รับสังกะสีในปริมาณที่ไม่เพียงพอ การทำงานของระบบชีวเคมีจะถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลต่อความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของพืชในทางลบ มีผลให้ปริมาณผลผลิตที่ได้ต่ำ (หรืออาจจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้) และคุณภาพไม่ดี ในกรณีที่มีการขาดสังกะสีอย่างรุนแรง จะสามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ เช่น ใบไม้มีสีเหลืองโดยที่เส้นของใบไม้ยังเขียวอยู่ (interveinal chlorosis) ใบไม้มีสีเหลืองแดง (bronzing of chlorotic leaves) ใบไม่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างผิดปกติ แคระแกร็น (stunting) และใบงอกเป็นกระจุก (resetting) อาการแอบแฝง เช่น ผลผลิตลดลงอย่างมาก อาจไม่สามารถตรวจพบเป็นเวลาหลายปีจนกว่าจะมีการทดสอบดิน หรือวินิจฉัยโรคพืช

จากการศึกษาขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization / FAO) พบว่าสังกะสีเป็นธาตุที่ขาดมากที่สุดธาตุหนึ่งในบรรดาสารอาหารรอง ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อดินหลายชนิดในหลายพื้นที่การเพาะปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังรวมถึงเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

พืชหลายชนิดได้รับผลกระทบจากการขาดสังกะสี รวมถึง พืชซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และอื่นๆ, ผลไม้ต่างๆ เช่น มะนาว มะกรูด แอปเปิล ฝรั่ง สับปะรด และอื่นๆ, ถั่ว กาแฟ ชา, ผักต่างๆ เช่น ผักกาดแดง มันฝรั่ง มะเขือเทศ และอื่นๆ, พืชที่รับประทานไม่ได้ เช่น ฝ้าย ต้นแฟลกซ์ที่นำมาทำผ้าลินิน และอื่นๆ

พืชไรเป็นแหล่งอาหารและมีผลต่อสุขภาพ (Crop nutrition and health)
พืชไร่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ ในประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยพืชชนิดเมล็ด เช่น ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพด โดยทั่วไปพืชไร่มักจะขาดสังกะสี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำการเพาะปลูกในดินที่ขาดธาตุสังกะสี เกือบ 50% ของพืชชนิดเมล็ดในโลกที่ขาดสังกะสี และประมาณการว่าประมาณ 1 ใน 3 ของประชากาโลกมีความเสี่ยงต่อการขาดสังกะสี ซึ่งมีผลต่อปัญหาสุขภาพ รวมถึงภูมิต้านทานร่างกายต่ำ การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า ในเรื่องนี้ การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของตัวแปรที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นสาเหตุของการเกิดโรค สำหรับทั่วโลก การขาดสังกะสีถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 11 จากทั้งหมด 20 ตัวแปร องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization / WHO) เชื่อว่าประชากรทั่วโลกที่เสียชีวิต 800,000 คนต่อปี เป็นผลมาจากการขาดสังกะสี และชี้ให้เห็นว่าการขาดสังกะสีมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการได้รับหรือการดูดซึมสังกะสีที่ไม่เพียงพอจากการอดอาหาร การเพิ่มปริมาณธาตุสังกะสีในอาหารพวกพืชไร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ดินขาดสังกะสีอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับต้นๆเพื่อที่จะต่อสู้กับการขาดอาหาร หรือความอดอยาก ในมนุษย์และสัตว์

การแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่ (Correcting zinc deficiency in crops)
วิธีที่รวดเร็วและคุ้มค่าในการแก้ไขปัญหาการขาดสังกะสีในพืชไร่และดิน คือ การใช้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีเป็นส่วนผสมอยู่ ธาตุสังกะสีที่ใส่ในปุ๋ยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

สารประกอบอนินทรีย์
สารประกอบอินทรีย์


ในบรรดาสารประกอบอนินทรีย์ สังกะสีซัลเฟตถูกนำมาใช้มากที่สุด สังกะสีซัลเฟตละลายน้ำได้ดีมากมีทั้งในรูปที่เป็นผลึกและเป็นเม็ด การละลายเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อประสิทธิภาพของปุ๋ย สารประกอบอนินทรีย์สังกะสีอื่นๆ ได้แก่ สังกะสีไนเตรท สังกะสีซัลฟอรัส สังกะสีซัลเฟตรูปแบบอื่น และสังกะสีออกไซด์

สารประกอบอินทรีย์สังกะสี โดยเฉพาะคีเลทสังเคราะห์ ได้แก่ Zn-EDTA, Zn-HEDTA, Zinc polyflavonoids และ Zinc lignosulfonates

สังกะสีอาจถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ย single-nutrient หรือธาตุอาหารเสริมในปุ๋ยซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ธาตุใดธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุก็ได้ สังกะสีเป็นธาตุหลักของปุ๋ยพิเศษ ซึ่งมันประกอบด้วยธาตุต่างๆ ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับพืชไร่แต่ละชนิด แต่ละพื้นที่ และแต่ละเวลา

วิธีการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี (Application methods of zinc fertilizers)
มีหลายวิธีในการให้ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสีแก่พืชไร และดิน:

สเปรย์ที่ใบ : ....................... เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางใบ
ทางดิน : ........................... เพื่อให้ดูดซึมผ่านทางราก
การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ : ............. ให้แร่ธาตุโดยระบบกวน


ทางเมล็ด
แต่ละวิธีมีข้อดีต่างกัน ขึ้นกับลักษณะของพืช ดิน ชนิดของปุ๋ยและส่วนประกอบ การใช้หลายวิธีประกอบกันก็สามารถทำได้ และอาจได้ผลดีกว่าในเรื่องของคุณภาพและปริมาณ วิธีการให้ปุ๋ยสังกะสีอาจกระทบสมดุลของธาตุที่จำเป็นอื่นๆ ดังนั้นการให้ปุ๋ยแบบสมดุลด้วยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ถึงแม้จะกับดินทั่วไปหรือการทดลองปลูกพืช

การใช้ปุ๋ย (The use of fertilizer)
โดยทั่วไปมักใส่ปุ๋ยเพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารในพืชและดิน อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยจะได้ผลดีที่สุดกับดินที่มีความเป็นธรรมชาติสูง หรือดินที่มีการบำรุงโดยใช้ปุ๋ย ด้วยภาวะขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่อง, การขาดแคลนพืช และการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก เพราะฉะนั้นแหล่งอาหารของโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องมีการเพิ่มการเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณของพืชเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัด แต่ต้องเพิ่มปริมาณผลผลิต โดยสารอาหารรองเป็นตัวแปรหนึ่งที่จำกัดว่าที่ดินเหมาะแก่การเพาะปลูกหรือไม่ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยที่มีสารอาหารรองสามารถเพิ่มผลผลิต และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมทั้งคุณภาพผลผลิตได้

สรุป (Conclusion)
สังกะสีในปุ๋ยสามารถเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพได้เป็นอย่างมาก เมื่อเพิ่มปริมาณสังกะสีในพืช อีกทั้งมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ยังได้ประโยชน์จากปริมาณสังกะสีซึ่งเป็นธาตุที่ต้องการมากขึ้นด้วย



http://www.zincinfothailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539192836&Ntype=13



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2015 2:34 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2011 7:08 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

สังกะสีมีความจำเป็นกับพืชอย่างไร ?

จากการศึกษาเบื้องต้นในดินบริเวณพื้นที่เพาะปลูกข้าวในประเทศไทยโดยเฉพาะดินในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่อนข้างแห้งแล้ง พบว่าส่วนใหญ่ขาดธาตุสังกะสี


ถ้าดินขาดสังกะสี พืชจะเป็นอย่างไร ?
พืชไร่หลายชนิดทั้งข้าว ข้าวโพด ถั่ว ชา กาแฟ จะมีความไวต่อภาวะขาดธาตุสังกะสี หากได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ระบบชีวเคมีถูกทำลาย ซึ่งจะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ มีผลผลิตต่ำ และคุณภาพไม่ดีเป็นโรคได้ง่าย ในกรณีรุนแรงจะแคระแกร็น

ดินที่ขาดสังกะสี ถึงแม้จะใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (NPK) ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาคุณภาพและผลผลิตต่ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินเป็นด่าง (pH สูง) ดินที่มีฟอสฟอรัส หรือ organic carbon สูง และดินที่ลุ่มมีน้ำขังนานๆ

ทำอย่างไรเมื่อดินที่ใช้เพาะปลูกขาดธาตุสังกะสี ?
ในหลายประเทศเริ่มผสมสังกะสีในปุ๋ย NPK (มักอยู่ในรูปของผงสังกะสี
ซัลเฟต ZnSO4) และเรียกว่าปุ๋ย NPK + Zn หรืออาจนำผงสังกะสีซัลเฟต
มาละลายน้ำแล้วนำมาพ่นที่ใบ (Foliar Fertilizing) ตัวอย่างประเทศที่ใช้ปุ๋ย
NPK + Zn อย่างจริงจัง เช่น ตุรกี สหรัฐอเมริกา บราซิล ฟิลิปปินส์ จีน และอินเดีย




ผลวิจัยยืนยันการเสริมธาตุสังกะสีทำให้พืชมีผลผลิตเพิ่มขึ้น


.... สำนักงานวิจัยข้าวของประเทศฟิลิปปินส์ พบว่า เมื่อเสริมธาตุสังกะสีเข้าไปในดินที่มีปัญหาขาดธาตุสังกะสี ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นถึง 160 กิโลกรัม/ไร่

....ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศจีน พบว่า ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 10–20% จากการเสริมธาตุสังกะสีเข้าไปในดินที่มีปัญหาขาดธาตุสังกะสี

....จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัย Otaga นิวซีแลนด์พบว่า การใช้ปุ๋ยที่เสริมด้วยสังกะสีในการปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้เมล็ดข้าวมีปริมาณธาตุสังกะสีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคให้ได้รับสังกะสีเพิ่มขึ้นเช่นกัน



http://www.padaeng.com/pdf/Annual/zinc_essential.pdf



แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย kimzagass เมื่อ 18/06/2015 2:37 pm, แก้ไขทั้งหมด 1 ครั้ง
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2011 9:59 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

หน้าที่สำคัญของธาตุสังกะสีในพืช

- ช่วยให้พืชแตกใบอ่อนได้ดีขึ้น
- เสริมสร้างเมล็ด
- เสริมสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ในพืช
- เสริมสร้างการสุกการแก่ของผลไม้
- เสริมสร้างความสูงและการยืดของต้น
- ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน
- ช่วยเสริมสร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
- มีส่วนสำคัญในระบบของเอนไซม์ที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
- มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์(สีเขียว) ของพืช
- มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายพวกคาร์โบไฮเดรตและกระตุ้นการใช้น้ำตาลในพืช
- ทำหน้าที่เสมือนตัวต่อต้านความหนาวเย็น หรือทำหน้าที่เสมือนเป็นผ้าห่มให้แก่ต้นพืชเมื่อมีอากาศหนาวเย็น
- ช่วยให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตเมื่อมีอากาศหนาวเย็น



การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุสังกะสี
- แสดงอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ
- เส้นกลางของใบอ่อนจะแตกเป็นเส้นย่อย ๆ
- เกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบแก่ ต่อมาจุดสีน้ำตาลจะขยายตัวติดต่อกัน ทำให้ใบเป็นสีน้ำตาล
- พืชจะมีการเจริญเติบโตช้า หรือเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
- ในพืชต้นเล็ก ถ้าขาดอย่างรุนแรงจะทำให้พืชตายได้
- ทำให้การสุกแก่ของผลไม้ช้ากว่าปกติ
- ทำให้ผลผลิตต่ำ



สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุสังกะสี
- ในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) 4.0-5.0 และ 7.0 ขึ้นไป
- ในดินที่มีธาตุสังกะสีที่เป็นประโยชน์ต่ำหรือมีปริมาณน้อย
- ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสมาก
- ในดินที่มีธาตุไนโตรเจนมาก
- ในดินที่ถูกน้ำกัดเซาะมาก รวมทั้งดินที่มีการซึมลึกของน้ำมาก
- ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
- ในดินที่มีการไถลึก 6 นิ้ว
- ในดินที่ใส่ปูนมากเกินไป
- ในดินที่สูญเสียธาตุสังกะสีมากหลังจากเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว




http://www.pukaotong.com/index.php?mo=3&art=197968
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
kimzagass
หาวด้า
หาวด้า


เข้าร่วมเมื่อ: 12/07/2009
ตอบ: 11561

ตอบตอบ: 24/01/2011 10:00 pm    ชื่อกระทู้: ตอบกระทู้ด้วยเครื่องหมายคำพูด(quote)

พยายามค้นหาข้อมูลทางวิชาการเรื่อง "สังกะสี" กับนาข้าวช่วงอากาศหนาว เพื่อมายืนยันกับประสบการณ์ตรง...หาข้อมูลได้แค่นี้แหละ....



ประสบการณ์ตรง....นาข้าวกับสังกะสี :

- ทำเทือก ใส่ "น้ำหมักระเบิดเถิดเทิง + 16-8-8"

- ระยะกล้า อายุ 30-40 วัน หลังดำหรือหว่าน ให้ "ไบโออิ" 2 รอบ, ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ

- ระยะน้ำนม ให้ "ยูเรก้า. หรือ อเมริกาโน." (สูตรใดสูตรหนึ่ง) 2 รอบ, ให้ "ไบโออิ" 2 รอบ, ให้แคลเซียม โบรอน 1 รอบ.


หมายเหตุ :
- น้ำหมักระเบืดเถิดเทิง. ไบโออิ. ยูเรก้า. และแคลเซียม โบรอน. สูตรอยู่ที่หน้าเว้บแล้ว
- ในระเบิดเถิดเทิง. ไบโออิ. ยูเรก้า. มีส่วนผสมของสังกะสีด้วย
- คนที่เอาไปใช้แจ้งมา 9 ใน 10 คน ได้ผล...ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่มทั้งคุณภาพและปริมาณ


ลุงคิมครับผม
กลับไปข้างบน
แสดงข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก ส่งข่าวสารส่วนตัว
แสดงการตอบก่อนนี้:   
ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบกระทู้    MySite.com หน้ากระดานข่าวหลัก -> ถาม-ตอบ ปัญหาการเกษตร ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

 
ไปยัง:  
คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ในกระดานนี้
คุณ สามารถ ตอบกระทู้ในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลบการตอบกระทู้ของคุณในกระดานนี้
คุณ ไม่สามารถ ลงคะแนนในแบบสำรวจในกระดานนี้

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group
Forums ©