-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - สารแพคโคลฯ ตกค้าง...
ผู้ส่ง ข้อความ
somchai
ตอบตอบ: 30/01/2018 2:27 pm    ชื่อกระทู้:

ข้อมูลส่วนหนึ่งผมจะนำมาไว้ที่นี่ครับ

https://www.facebook.com/groups/2018207668400384/
kimzagass
ตอบตอบ: 30/01/2018 2:15 pm    ชื่อกระทู้:

.
.

พาโคลบิวทาโซล คือ ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพในการหยุดการพัฒนาทางต้น ทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโตทางใบหรือหยุดการแตกใบอ่อน หลังจากต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้เต็มที่แล้ว ในขณะที่ระบบพัฒนาการของต้นซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อไม่อาจพัฒนาให้เป็นยอดหรือใบได้จึงพัฒนาเป็นดอกแทน การใช้ฮอร์โมนยับยั้งการเจริญเติบโตบังคับต้นไม่ให้แตกใบอ่อนแต่ออกดอกแทนเป็นการทรมานต้นโดยตรง หากต้นถูกทรมานมากๆย่อมมีโอกาสโทรมแล้วตายได้ ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนบังคับมะม่วงให้ออกดอกได้โดยต้นไม่โทรมและได้ผลผลิตดีจึงควรทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. สภาพต้นต้องสมบูรณ์เต็มที่ ผ่านการบำรุงแบบให้มีสารอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องมาแล้วหลายๆ ปี
2. การบริหารจัดการด้านปัจจัยพื้นฐานการเกษตร (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-ปุ๋ย-พันธุ์-โรค) ถูกต้องตรงตามความต้องการทางธรรมชาติที่แท้จริง

3. อายุต้นเป็นสาวเต็มที่ และเคยให้ผลผลิตมาแล้วไม่น้อยกว่า 2-3 รุ่น
4. อัตราใช้สารพาโคลบิวทาโซล ชนิด 10% ต่ออายุต้น (เปอร์เซ็นต์ ระบุในฉลาก.....)
- อายุต้น 2-4 ปี อัตราใช้ 20-40 ซีซี. /ต้น
- อายุต้น 5-6 ปี อัตราใช้ 60-80 ซีซี. /ต้น
- อายุต้น 7-8 ปี อัตราใช้ 80-100 ซีซี. /ต้น

5. ใช้ในอัตราเข้มข้นเกินช่อดอกที่ออกมาจะเป็นกระจุกไม่ติดเป็นผล แต่ถ้าใช้อัตราต่ำเกินไป ก็จะไม่ได้ผล หรือแทงช่อดอกช้ากว่ากำหนดมาก หรืออาจแตกใบอ่อนแทนก็ได้

6. ราดสารฯ เมื่อใบเพสลาด (ใบพวงหรือใบกลางอ่อนกลางแก่) ได้ผลแน่นอนกว่าราดสารฯ ช่วงใบแก่แล้ว
7. สารพาโคลบิวทาโซลชนิดผงให้ละลายในแอลกอฮอร์ ชนิดน้ำให้ละลายในน้ำกลั่น คนให้แตกตัวดีก่อนแล้วจึงผสมกับน้ำเปล่า .... น้ำเปล่าที่ใช้ผสมควรปรับค่ากรดด่าง 6.0-6.5 เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยา "กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ" ซึ่งจะทำให้สารฯ เสื่อมประสิทธิภาพ

8. ก่อนลงมือราดสารฯ ให้เปิดหน้าดินนำเศษพืชคลุมโคนต้น (ถ้ามี) ทั่วบริเวณทรงพุ่มโคนต้นออกก่อน แล้วรดน้ำบริเวณที่จะราดสารฯ ล่วงหน้า 1วัน ให้ดินชุ่มชื้นดี

9. มะม่วงอายุต้นต่ำกว่า 5 ปี ให้ราดชิดและรอบโคนต้น อาจจะทำร่องรอบโคนต้นก่อนแล้วราดน้ำละลายสารแล้วลงในร่องนั้นก็ได้ .... มะม่วงอายุต้นมากกว่า 5 ปี ให้ราดทั่วพื้นที่บริ เวณทรงพุ่มด้านใน 1 ส่วน ราดชายพุ่มบริเวณที่มีปลายรากฝอยอยู่จำนวนมาก 3 ส่วน

10. หลังจากราดสารฯ แล้วต้องระดมให้น้ำเต็มที่แบบวันต่อวัน 3-5 วันติดต่อกัน
11. หลังจากราดสารฯ 1-1 เดือนครึ่ง ถ้าสภาพอากาศอำนวย มะม่วงพันธุ์เบาหรือพันธุ์ทะวายก็จะแทงช่อดอกออกมา และ 2-2 เดือนครึ่ง มะม่วงพันธุ์หนักหรือมะม่วงปีจึงจะแทงช่อดอก .... ถ้าครบกำหนดที่มะม่วงควรจะแทงช่อดอกได้แล้วแต่ยังไม่ออกให้เปิดตาดอกด้วย 13-0-46 หรือ 13-0-46 + 0-52-34 (สูตรใดสูตรหนึ่ง) ตามความเหมาะสม

12. ถ้าราดสารฯ และเปิดตาดอกแล้วดอกไม่ออกห้ามราดซ้ำรอบสอง เพราะการราดซ้ำอีกครั้งไม่ได้ทำให้มะม่วงออกดอกแต่กลับทำให้ต้นโทรมหนักยิ่งขึ้น

13. ไม่ควรราดสารฯ แบบปีต่อปี เพราะสารฯ ที่ราดลงไปแต่ละครั้งที่ตกค้างอยู่ในดินยังออกฤทธิ์ต่อได้อย่างน้อย 1-2 รุ่นการผลิต ในปีรุ่งขึ้นของการผลิตถ้าต้นสมบูรณ์ดีให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกแล้วปรับ ซี/เอ็น เรโช. ดีๆ ก็สามารถเปิดตาดอกได้เลย แต่ถ้าต้นไม่สมบูรณ์ หรือโทรมมาก จะต้องระงับการราดสารฯ เด็ดขาด อย่างน้อย 2-3 ปี

14. ไม่ควรขายพันธุ์ (ตอน/ทาบ) จากต้นแม่ที่ราดสารฯ เพราะกิ่งพันธุ์ที่ได้เมื่อนำไปปลูกจะเจริญเติบโตช้ามาก

15. ดอกและผลที่ออกมาหลังราดสารฯ จะต้องได้รับการบำรุงโดยเฉพาะ ธาตุอาหาร-ฮอร์โมน ทั้งทางรากและทางใบมากกว่าต้นที่มีดอกและผลออกมาด้วยวิธีบำรุงตามปกติ

16. ในเนื้อดินที่ราดสารฯ ลงไป สารจะตกค้างนาน เมื่อเลิกปลูกมะม่วงแล้วปลูกพืชใหม่ (ทุกชนิด) ลงไป พืชใหม่จะไม่โตหรือโตช้ามากๆ จนบางครั้งนั่งหลุมตายไปเลยก็มี

หมายเหตุ :
การราดสารพาโคลบิวทาโซลเป็นการบังคับแบบทรมานต้น นอกจากทำให้ต้นโทรมแล้วยังต้องทำแบบปีเว้นปี หรือทำปีเว้น 2 ปี ทำให้เสียเวลาและโอกาส แต่หากเปลี่ยนวิธีการมาเป็นบังคับแบบบำรุงให้ต้นสมบูรณ์สูงสุด นอกจากจะไม่ทำให้ต้นโทรมแล้วยังมีโอกาสสร้างผลผลิตได้ทุกปีอีกด้วย


http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=4719

-----------------------------------------------------------------------------------

แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ....
ดิน :

- หยุดใส่พาโคลฯเด็ดขาด 3-5 ปี
- โคนต้นบริเวณทรงพุ่มใส่ปุ๋ยคอก (ขี้วัวขี้ไก่แกลบดิบ) ยิบซั่ม กระดูกป่น หญ้าแห้งฟางแห้งคลุมหนาๆ .... วางแผนทำ 2 ครั้ง/ปี
- ให้จุลินทรีย์หน่อกล้วย และ/หรือ น้ำหมักชีวภาพที่มีสารอาหาร 30-10-10 (1 ล.) /ไร่ /2 เดือน /ครั้ง
- ใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มโคนต้นบริเวณทรงพุ่ม สูตร 30-10-10 หรือ 25-7-7 (1-2 กก.) /ต้น /2 เดือน
- พรวนดินตัดปลายรากฝอยชายเขตทรงพุ่มเพื่อเรียกรากใหม่ 1 ครั้ง


ต้น :
- เรียกใบอ่อน 2-3 รุ่น (แตกยอดใหม่ ยาว 2 คืบมือ ตัดแล้วเรียกซ้ำ)
- เรียกใบอ่อนให้ปุ๋ยทางใบ "แม็กเนเซียม+สังกะสี+30-10-10+อะมิโน+กลูโคส" 2 รอบ สลับด้วยแคลเซียม โบรอน 1 รอบ ห่างกันรอบละ 7-10 วัน
- ทุกครั้งที่ให้ทางใบ +สารสมุนไพรร่วมด้วย เพื่อไม่เสียเวลา


หมายเหตุ :
- ในน้ำหมักชีวภาพพร้อมใช้มีทั้งจุลินทรีย์หลากหลายชนิด และสารอาหารสำหรับจุลินทรีย์ประจำถิ่น
- พาโคลฯ ที่ตกค้างในดินจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่ใส่ใหม่ กับจุินทรีย์ประจำถิ่น
- พาโคลฯ ที่ค้างในต้นจะถูกขับออกไปโดยขบวนการเจริญเติบโตของต้น (การแตกใบอ่อน)
- ได้ผล/ไม่ได้ผล สังเกตที่ยอดใหม่แตกออกมาใหม่แต่ละครั้ง แตกใหม่เร็ว สม่ำเสมอทั่วต้น ใบรุ่นใหม่ ใหญ่/หนา/เขียวเข้ม/ฯลฯ กว่าใบรุ่นแรกๆ

- 30-10-10 ทางดิน, 25-7-7 ทางใบ ช่วยให้ได้ใบคุณภาพดี
- แม็กเนเซียม, สังกะสี, อะมิโน, ช่วยต้นสร้างความสมบูรณ์สะสม ให้มีคามพร้อมต่อการออกดอกติดผลรอบหน้าเมื่อปัญหาพาโคลฯ ตกค้างคลี่คลาย
- สังกะสี. โบรอน. กลูโคส. สารอาหารสะสมเพื่อการออกดอกโดยตรง




.
somchai
ตอบตอบ: 30/01/2018 7:26 am    ชื่อกระทู้: สารแพคโคลฯ ตกค้าง...

.
.

น้องๆทางบ้านหล่ม อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ
ฝากถามลุงคิมเกี่ยวกับการจะลดสารแพคโคล ในต้นมะม่วงที่เกิดจากการราดบริเวณโคนต้น
มาเป็นเวลานาน 5-6 ปีได้บ้างไหม .... จะใช้วิธีใดได้บ้างครับ


.