-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - อ้อยพันธุ์ดี.....ประสบการณ์ตรง
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 18/03/2010 8:41 pm    ชื่อกระทู้:

ประมาณนั้นแหละคุณหนุ่ม.....ที่ปลูกๆ กันน่ะ อ้างว่า พืชไร่ทนแล้ง ไม่ต้องให้น้ำ แล้วเป็นไง ขนาด ตอ 1 ได้แค่ 5-6 ตัน ในขณะที่ ตอ 8 ให้น้ำเขาได้ 14 ตัน แปลงติดๆ กันนั่นแหละ ขนาดเห็นกับตา ยังไม่เอาตามอย่างเลย

เคยมีคนถามลุงคิมเหมือนกัน เมื่อไม่มีน้ำ เพราะพื้นที่นั้นแล้งมาก แล้วจะทำยังไง ลุงคิมก็เลยบอกไป ไม่ต้องปลูก ปลูกไปมันก็ไม่ได้อะไร ไม่ใช่รึ..... ทำไมไม่คิดปลูกพืชใช้น้ำน้อยล่ะ

ไม่มีพืชใดในโลกนี้ไม่ต้องการน้ำ เพียงแต่ต้องการมากขนาดขังค้าง หรือต้องการน้อย พอหน้าดินชื้น เท่านั้นแหละ

ประเทศไทยเป็นเมืองเกษตร แต่ไม่มีระบบน้ำ อีก 500 ชาติ เกษตรไทยก็ไม่เจริญ.... ถนนน่ะสร้างจัง ทำไมไม่สร้างคลองส่งน้ำบ้าง มีคลองนอกจากใด้น้ำเพื่อการเกษตรแล้วยังให้เรือสินค้าแล่นขนส่งสินค้าแทนรถได้อีก ค่าใช้จ่ายเรือถูกกว่ารถด้วย.....ว่าไหม


ลุงคิมครับผม
thumsiri
ตอบตอบ: 18/03/2010 8:20 pm    ชื่อกระทู้:

วิสัชนา :
อ้อยพันธุ์เดิม ให้น้ำ.....ให้ผลผลิตดีกว่า ถูกต้องไหมครับลุง Very Happy
kimzagass
ตอบตอบ: 18/03/2010 7:25 pm    ชื่อกระทู้:

ประสบการณ์ตรง :

..... อ้อย เป็นพืชอวบน้ำ ย่อมต้องการน้ำถึงน้ำมาก เอี้ยวเคี้ยวปลูกในสวนยกร่องมีน้ำหล่อตลอดเวลา ในต้นอ้อยจึงมีน้ำอ้อยมาก แล้วใย อ้อยโรงงานซึ่งเป็นอ้อยเหมือนกันจึงไม่ต้องการน้ำเล่า เมื่อไม่ได้น้ำ ย่อมไม่มีน้ำไปสร้างน้ำอ้อย ผลรับก็คือ คุณภาพและปริมาณผลผลิตไม่ดี

อ้อยโรงงานในแปลง หากมีการให้น้ำโดยส่งปล่อยผ่านไปตามร่องแถวปลูก ปล่อยน้ำให้เต็มร่อง ระยะเวลาให้เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือน 3 ครั้ง จะได้ปริมาณผลผลิตมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ให้น้ำเลย 4-5 เท่า (จาก 4 ตัน/ไร่ เป็น 15-20 ตัน/ไร่)

..... ธรรมชาติของอ้อย มีระบบรากยาวเท่ากับความสูงของต้น ในแปลงที่ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศผ่านสดวก ระบบรากสามารถชอนไชไปได้ไกล หาอาหารได้มาก ผลผลิตย่อมดีกว่าแปลงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรงดิน..... แปลงอ้อยที่ จ.กำแพงเพชร เตรียมดินด้วย "ยิบซั่ม + กระดูกป่น + ขี้ไก่" โดยการไถกลบลงดินลึก 50 ซม. ครั้นถึงช่วงแล้ง (ม.ค.- ก.พ.- มี.ค.) อ้อยแปลงนี้ยังยืนต้นเขียวสดไม่ต่างจากช่วงหน้าฝน ในขณะที่แปลงข้างเคียงที่ไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินใดๆ ต้นมีอาการใบเหลืองโทรมตั้งแต่เริ่มเดือน ม.ค.

..... ชาตรี คงอยู่ (081) 841-9874 สมาชิกชมรมสีสันชีวิตไทย ปลูกอ้อยโรงงานที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เนื้อที่ 20 ไร่ ปรับปรุงบำรุงดินด้วย "ยิบซั่ม กระดูกป่น" ให้น้ำโดยฉีดพ่นสูงข้ามหัว ด้วยเครื่องสูบกำลังสูงเดือนละ 1 ครั้ง ผลรับ อ้อยตอ 8 ได้ผลผลิต 14 ตัน สิ้นเปลืองปุ๋ยเคมี 8-24-24 ไม่ถึง 1 กส./20 ไร่/รุ่น

.... อ้อยโรงงานออสเตรเลีย ให้ผลผลิต 40-45 ตัน/ไร่ ในขณะอ้อยไทย รุ่นตอ 1 ได้ 6-8 ตัน/ไร่ (ได้ทุน)... รุ่นตอ 2 ได้ 4-5 ตัน/ไร่ (กำไร).... รุ่นตอ 3 ได้ 3-4 ตัน/ไร่ (กำไรไม่มาก) จากนั้นล้มตอปลูกใหม่

..... อ้อยเป็นพืชเมืองร้อนเพียงชนิดเดียวที่ตอบสนองต่อ "หินภูเขาไฟ หรือ ธาตุซิลิก้า" การไถกลบเศษใบอ้อยลงดิน เท่ากับเป็นการให้ซิลิก้า.แล้ว

..... อ้อยที่ได้รับ "กากน้ำตาล" ทางรากมากๆ (เท่าๆ กับพืชอื่น) จะหยุดยอด ชงักการเจริญเติบโต

..... อ้อยเคี้ยวในสวน หากได้รับกากน้ำตาลโดยการฉีดพ่นสัมผัสกับต้นโดยตรงจะแตก
"ตะเกียง" ตามลำต้น ทำให้ความหวานลดลง

ปุจฉา - วิสัชนา :
อ้อยพันธุ์ดีล่าสุด ไม่ให้น้ำ V.S. อ้อยพันธุ์เดิม ให้น้ำ.....อย่างไหนจะให้ผลผลิตดีกว่ากัน ?


..... ฯ ล ฯ

..... ฯ ล ฯ


ลุงคิมครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 16/03/2010 2:55 pm    ชื่อกระทู้: อ้อยพันธุ์ดี.....ประสบการณ์ตรง

การวิจัยและพัฒนาอ้อยพันธุ์ดี

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เป็นตลาดรองรับแรงงานขนาดใหญ่ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูก
อ้อยรวมทั้งประเทศ 6.5 ล้านไร่ มีโรงงานน้ำตาล 46 โรงงาน ในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก
น้ำตาลทราย 21,800 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผลผลิตอ้อยโดยเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ 7-10 ตัน
ต่อ ไร่ ในขณะที่ประเทศคู่แข่งที่ส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ คือ บราซิล และออสเตรเลีย อยู่ที่ 13-
15 ตันต่อไร่ การขาดแคลนอ้อยพันธุ์ดีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ จึงเป็นปัญหาสำคัญใน
อุตสาหกรรม อ้อยและน้ำตาล เพราะเกี่ยวพันกับปัญหาด้านความหวาน ปัญหาผลผลิตต่อไร่ต่ำ
ปัญหาด้านแมลง และโรค เช่น หนอนกออ้อย และโรคใบขาว

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จึงสนับ
สนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ที่มีการปลูกอ้อย

ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อย ความหลากหลายของฐานพันธุกรรม มีความจำเป็นอย่างมากในการนำ
ลักษณะที่ดี ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่หลากหลายเหล่านี้ มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ให้มีลักษณะที่ต้อง
การ ไบโอเทคสนับสนุน ร.ศ. ประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เก็บรวบ
รวมสายพันธุกรรม

อ้อยที่มีอยู่ในประเทศ ทั้งสายพันธุ์อ้อยที่ใช้ในเชิงการค้า รวมทั้งสายพันธุ์อ้อยป่า หรือพืชใน
ตระกูล ใกล้เคียงและเนื่องจากการเก็บรวบรวมเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ ต้องอาศัยการ
ผสมพันธุ์ที่ ต้องใช้ดอก จึงได้เลือก บ้านทิพุเย ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็นสถานีเก็บ
รวบรวมสาย พันธุ์อ้อย และผสมพันธุ์

เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว เป็นสถานที่ที่อ้อยเกือบทุกสายพันธุ์ออกดอกได้ปัจจุบัน สถานี ฯ เก็บรวบ
รวมอ้อยสายพันธุ์ต่าง ๆ จำนวน 1,280 สายพันธุ์ สำหรับใช้ผสมพันธุ์เพื่อปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้ได้
ผลผลิตและน้ำตาลสูงขึ้น ในจำนวนนี้ มีพันธุ์อ้อยที่ใช้ในการผลิตเชิงการค้า ที่มีฐานพันธุกรรมจาก
ต่างประเทศ ประมาณ 21 สายพันธุ์ และพันธุ์การค้าที่ปรับปรุงขึ้นในประเทศไทย เช่น ชัยนาท 1
อู่ทอง 1 และ K-84-200

พันธุ์อ้อยที่เก็บรวบรวมไว้ จะมีประวัติที่สามารถสืบค้นกลับไปถึงที่มาของสายพันธุ์พ่อแม่ได้ถึง
3-5 รุ่น ความสัมพันธ์ทางเครือญาติของอ้อยไทย มีข้อมูลลักษณะพันธุ์ ลักษณะของดินปลูกที่
เหมาะสมกับพันธุ์ มีฐานข้อมูล การผสมพันธุ์ ระยะเวลาการออกดอก ความยากง่ายในการผสมติด
และลักษณะเด่นของลูกผสมที่ได้


ผลงานเด่น่นไบโอเทค :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5