-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - พริกกุ้งแห้ง...ประสบการณ์ตรง
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 21/03/2010 4:52 pm    ชื่อกระทู้:

พริกแอนแทร็คโนส.....ประสบการณ์ตรง :


ผลพริกที่เป็น "แอนแทร็คโนส" คือโรคใบจุด ผลจุด หรือใบเน่า ผลเน่า เป็นเชื้อรา ชาวบ้านเรียกว่าโรค "กุ้งแห้ง" เกิดที่ผลเป็นส่วนใหญ่.....เชื้อตัวนี้กำเนิดในดินที่เป็นกรด เมื่อเชื้อแก่ก็จะแตกตัวเป็นสปอร์ลอยตามลมไปติดบนส่วนของพืช

..... โรคแก้งแห้งมี 2 ชนิด คือ "กุ้งแห้งแท้" กับ "กุ้งแห้งเทียม"

..... กุ้งแห้งแท้ เกิดที่ส่วนปลายผล เป็นเชื้อราที่เกิดจากดินที่เป็นกรดแล้วปลิวมาตามลม แก้ไขโดยการปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรด ควบคู่กับฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อราโดยตรง เช่น เปลือกมังคุด. ว่านน้ำ. ไพล. กระชาย. ข่า. ขมิ้น.

..... กุ้งแห้งเทียม เกิดที่ส่วนกลางผล สาเหตุมาจากการขาด "แคลเซียม" แก้ไขโดยการให้ "ยิบซั่ม" ทางดิน และให้ "แคลเซียม โบรอน" ทางใบ อย่างสม่ำเสมอ


ลุงคิมครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 16/03/2010 2:44 pm    ชื่อกระทู้: พริกกุ้งแห้ง...ประสบการณ์ตรง

การปรับปรุงพันธุ์พริกต้านทานโรคแอนแทรกโนส

โรคแอนแทรกโนส เป็นปัญหาสำคัญในพริก มีสาเหตุจากเชื้อราคอลลีโททริคัม(Colletotri
chum piperratum) ที่ระบาดในระยะที่ผลพริกกำลังเจริญเติบโต สภาพอากาศชื้นหรือฝนตก
ชุก การปรับปรุงพันธุ์พริกให้ต้านทานโรคแอนแทรกโนสโดยวิธีที่ใช้กัน เป็นการนำพันธุ์พริกที่มี
ลักษณะการค้าดีแต่อ่อนแอต่อโรคมาผสมกับพันธุ์ต้านทานโรคแอนแทรกโนส และคัดพันธุ์ผสมที่
ต้านทาน โดยดูจากลักษณะภายนอกที่แสดงออก

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สนับสนุน ดร. อรรัตน์ มงคลพร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปรับปรุงพริกพันธุ์บางช้างที่นิยมปลูกในปัจจุบัน แต่อ่อนแอต่อโรค
แอนแทรกโนส ให้ทนต่อโรค โดยนำพริกบางช้างผสมกับพันธุ์ต้านทานที่ชื่อว่า PBC 932 ที่มี
ลักษณะอ้วนป้อม ต่างจากพันธุ์บางช้างที่มีผลยาว ดังนั้นจึงต้องนำลูกผสมที่ได้ในแต่ละรุ่นที่ทน
ต่อ โรคแอนแทรกโนส แต่ยังมีลักษณะป้อมไปผสมกลับกับพันธุ์บางช้าง เพื่อให้ได้พริกที่มีรูปร่าง
เหมือนพันธุ์บางช้างมากที่สุดและยังทนทานต่อโรค จากการผสมถึงรุ่นที่ 4 ได้พริกที่มีลักษณะ
ต้าน ทานโรค รูปร่างใกล้เคียงกับบางช้างมากขึ้นขณะนี้ได้ผสมกลับไปอีกรุ่นหนึ่ง และขยายเมล็ด
พันธุ์ เพื่อปล่อยสายพันธุ์ต้านทานให้ภาคเอกชนและเกษตรกร นำไปผสมต่อยอดหรือใช้ประโยชน์
ต่อไป

ในการคัดลูกผสมที่ทนต่อโรคโดยดูจากลักษณะภายนอก ใช้เวลานาน มีภาระการทำงานและ
ค่าใช้จ่ายในการดูแลพืชสูง มีการค้นพบว่าลักษณะความต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสมีความ
เกี่ยวพันกับยีนต้านทานที่อยู่บนดีเอ็นเอ ไบโอเทคได้สนับสนุนโครงการพัฒนาดีเอ็นเอเครื่อง
หมายเพื่อหาตำแหน่งของยีนต้านทาน เมื่อทราบตำแหน่งแล้ว สามารถนำมาใช้ตรวจหาลูกผสมที่มี
ความต้านทานต่อโรคได้ตั้งแต่ยังเป็นต้นอ่อน ทำให้ทุ่นระยะเวลาปรับปรุงพันธุ์ ขณะนี้กำลัง
ทดสอบ เครื่องหมายดีเอ็นเอที่ได้กับลูกผสมคู่ต่างๆระหว่างพันธุ์บางช้างกับ PBC 932 เพื่อดู
ความแม่นยำ ของเครื่องหมายดีเอ็นเอและความสัมพันธ์กับการต้านทานโรคของพริกและเพื่อเป็น
การปรับปรุง พริกสายพันธุ์ต่างๆ ให้ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสที่มาจากหลายแหล่งทาง
โครงการได้รวบรวม เชื้อพันธุกรรมพริกกว่า 1000 ชนิด นำมาแบ่งเป็นกลุ่มพริกโดยอาศัยลักษณะ
ต่างๆ 16 ลักษณะ เป็นต้นว่า สี ลักษณะใบ สีของเกสรตัวผู้ และลักษณะผล โดยสามารถจัดกลุ่ม
พริกออกเป็น 7 กลุ่มใหญ่ๆ ขณะนี้ ได้ทำการประเมินพริกในกลุ่มเหล่านี้ในการทนทานต่อโรค
แอนแทรกโนส โรค ไวรัส และแมลงวันทอง เป็นต้น


ผลงานเด่น่นไบโอเทค :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5