-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ไวรัสกระเจี๊ยบเขียว...ประสบการณ์ตรง
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 21/03/2010 5:13 pm    ชื่อกระทู้:

ไวรัสกระเจี๊ยบเขียว....ประสบการณ์ตรง :

..... ปัจจุบัน ในโลกนี้ยังไม่มีสารเคมีกำจัดโรคพืชชนิดใดที่สามารถกำจัด "เชื้อไวรัส" ได้แน่นอนเด็ดขาด

..... ไวรัสในพืชที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ส้มใบแก้ว. ข้าว/อ้อย ใบขาว. มะละกอใบด่าง.

..... ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มี "โรค-ศัตรูพืช" ประจำตัว วันนี้ไม่มีเพราะยังไม่มา

..... พันธุ์ต้านทานโรค มิได้หมายความว่า จะไม่เป็นโรคเลยตลอดอายุขัย หากปัจจัยต่อการเกิดโรคพร้อมเมื่อใด โรคก็จะเกิดขึ้นเมื่อนั้นได้ทันที

..... สาเหตุโรค ติดมากับเมล็ดพันธุ์หรือต้นพันธุ์ และ แมลงพาหะ

..... แนวทางแก้ไข ไม่สามารถทำได้

..... แนวทางป้องกัน

1....บำรุงต้นให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ด้วยการบริหารจัดการปัจจัยพื้นฐานเพื่อการเพาะปลูก (ดิน/น้ำ/แสงแดด-อุณหภูมิ-ฤดูกาล/สารอาหาร/สายพันธุ์/โรค) ให้ตรงกับความต้องการของพืชอย่างแท้จริง

2.... ป้องกัน/กำจัด เชื้อที่มาใหม่โดยแมลงพาหะด้วยสารสมุนไพร ลูกใต้ใบ. ฟ้าทะลายโจร. เสลดพังพอน. ขอบชะนาง.

3.... ฉีดพ่นสารสมุนไพรขับไล่แมลงปากกัดปากดูดไม่ให้เข้าทำลายพืช


ลุงคิมครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 16/03/2010 2:37 pm    ชื่อกระทู้: ไวรัสกระเจี๊ยบเขียว...ประสบการณ์ตรง

การปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว ลูกผสมต้านทานไวรัส

กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ทำรายได้ปีละประมาณ 500 ล้านบาท
โดย ตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี ตลาดหลักคือ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน
อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และประเทศในตะวันออกกลาง ทั้งในรูปฝักสด ฝักแช่แข็ง ฝัก
บรรจุ กระป๋อง และสารในแคปซูล ในแต่ละปี ผลผลิตกระเจี๊ยบเขียวที่ได้มาตรฐานมีปริมาณไม่พอเพียง

ปัญหาสำคัญในการผลิต คือ การระบาดของโรคเส้นใบเหลือง (okra yellow vein virus
disease) ที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส Okra Yellow Vein Virus(OYVV) ที่มีแมลงหวี่ขาวเป็น
พาหะ โรคนี้ระบาดอย่างรุนแรงในแหล่งผลิตกระเจี๊ยบเขียว จังหวัดราชบุรี นครปฐม และอ่างทอง
ทำให้ผลผลิตลดลงและมีผลกระทบต่อการส่งออก

บริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด ผู้ส่งออกและผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวรายใหญ่ของประเทศไทย ได้
รวบรวมพันธุกรรมกระเจี๊ยบเขียวทั้งในประเทศและต่างประเทศ และปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของตลาด แต่มีความต้าน
ทานโรคไวรัสต่ำกว่าพันธุ์มาตรฐาน ในปี พ.ศ. 2547 บริษัท ยูนิซีดส์ จำกัด ขอความร่วมมือจาก
ดร.อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ นักวิจัยของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)

ในการวิจัยร่วมกับบริษัท ในโครงการปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวลูกผสมต้านทานไวรัส เพื่อนำ
เทคนิคทางด้านอิมมูโนวิทยาหรือภูมิคุ้มกันมาช่วยในการประเมินระดับความต้านทาน
ของกระเจี๊ยบ เขียวที่มีต่อไวรัส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว เป้าหมาย
ของการปรับปรุงพันธุ์ คือ การสร้างกระเจี๊ยบ เขียวพันธุ์ลูกผสมที่มีผลผลิตสูง ต้านทานไวรัส และมี
ลักษณะเชิงคุณภาพตามความต้องการของตลาด ทั้งด้านสี ขนาด และกลิ่น บริษัทฯ ได้ทำการผสม
และคัด เลือกจากประชากรทั้งหมดประมาณ 100 สายพันธุ์ จนได้พันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะตาม
ต้องการ ซึ่งต้องทำการผสมและคัดเลือก ประมาณ 9 – 10 รุ่น

จากผลการทดสอบที่ผ่านมา บริษัท ฯ พัฒนากระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะต้านทานโรค
ในระดับดีมากจำนวน 24 สายพันธุ์ และเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริษัทฯ ทำการปลูก
ทดสอบพันธุ์ลูกผสมจำนวน 6 พันธุ์ ในแปลงปลูกของเกษตรกรที่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
และแปลงปลูกทดสอบพันธุ์กระเจี๊ยบเขียวลูกผสมอ.หนองแค จ.สระบุรี อ.หนองแค จ.สระบุรี

ผลการทดสอบในแปลงปลูก อ.หนองแค จ.สระบุรี พบว่าลูกผสมทั้ง 6 พันธุ์มีระดับความต้านทาน
ต่อโรคสูงและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ในขณะที่กระเจี๊ยบเขียว พันธุ์ที่อ่อนแอนั้นมีเปอร์เซ็นต์
การเกิดโรค 100% และมีผลผลิตต่ำ กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ลูกผสมที่ต้านทานโรคได้ดีให้ผลผลิต
สูง ประมาณ 2,500 – 2,600 กิโลกรัมต่อไร่ และมีกระเจี๊ยบเขียวลูกผสมจำนวน 2 พันธุ์ ที่มี
ศักย ภาพเป็นพันธุ์การค้าหรือพันธุ์ที่แนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไป


ผลงานเด่นไบโอเทค :
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5