-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ข่าวเกษตร...ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างโลกทัศน์ 6938-24-1800
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 26/04/2010 9:12 pm    ชื่อกระทู้:

กระทู้ "รวมข่าวเกษตร" ณ ตรงนี้ ได้ปิดลงแล้ว แต่งานรวมข่าวยังไม่เลิก นอกจากยังไม่เลิกแล้วยังยิ่งใหญ่อลังการ์กว่าเดิมอีกด้วย

กลับไป "หน้าแรก" สำรวจหัวข้อที่ "เมนูหลัก" จากนั้นเลือกรายการ "ข่าวเกษตร - ข่าวทั่วไป - ข่าวแวดวงเกษตร" ได้ตามอัทธยาศรัย รายการข่าวทั้ง 3 รายการนี้ อาจจะแตกต่างกัน หรืออาจจะไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิจารณาญานของแต่ละคน

บ่อยครั้งที่ลุงคิมออกจะ "งง ๆ" ว่าข่าวนี้ควรอยู่ในรายการไหน คิดไม่ออกก็เลยจับอัดลงไปก่อน "ถูก/ผิด ... ดี/ไม่ดี" ค่อยว่ากันทีหลัง


ใครมีไอเดียร์ยังไง แจ้งมาหน่อยก็ดีนะ
ลุงคิมครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 7:34 pm    ชื่อกระทู้:

นักวิชาการเชื่อ เอฟทีเอ กระทบชาวสวนปาล์ม
หนุนเกษตรกรเร่งเพิ่มศักยภาพเข้าสู่ลู่แข่งขัน


ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

อธิการ มรส.เชื่อ เอฟทีเอกระทบเกษตรกรปาล์มน้ำมันแน่ ชี้ชัดต้นทุนการผลิตสูงกว่าจึงเสียเปรียบคู่แข่ง หนุนชาวสวนปาล์มปรับตัวเข้าสู่ลู่การแข่งขัน พร้อมวอนรัฐเพิ่มศักยภาพเกษตรกรก่อนถูกเหวี่ยงออกจากตลาดเสรี

ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ โดยมีสาระสำคัญว่า ประเทศสมาชิกต้องลดระดับการกีดกันทางการค้า ทั้งในรูปของอัตราภาษีศุลกากรและมาตรการกีดกันอื่นๆ ในกรอบระยะเวลาที่กำหนดนั้น ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

พบว่าสินค้าหลายชนิดเริ่มลดภาษีเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งน้ำมันปาล์มซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่เกษตรกรไทยในภาคใต้ปลูกกันอย่างแพร่หลายด้วย ซึ่งอาจทำให้เกษตรกรไทยเสียเปรียบจากข้อตกลงนี้ เนื่องจากปาล์มน้ำมันของไทยมีต้นทุนการผลิตสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยเฉพาะมาเลเซียที่เพาะปลูกในแปลงขนาดใหญ่จึงมีต้นทุนการขนส่งต่ำทั้งจากพื้นที่และระบบรางรถไฟที่เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ในขณะที่ต้นทุนปุ๋ยและสารเคมีที่ใช้ในการเพาะปลูกก็ต่ำกว่าไทยประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันของมาเลเซียต่ำกว่าไทยประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ จุดแข็งประการหนึ่งของปาล์มน้ำมันมาเลเซีย คือ มีการสกัดน้ำมันแยกระหว่างเนื้อปาล์มและเมล็ดปาล์ม พร้อมคัดแยกน้ำมันปาล์มคุณภาพสูงและคุณภาพต่ำ ในขณะที่การผลิตของไทยส่วนใหญ่เป็นการสกัดรวม ทำให้น้ำมันปาล์มของไทยเป็นน้ำมันคุณภาพต่ำ และในปีที่ข้อตกลงการค้าเสรีมีผล เชื่อว่า มาเลเซียจะส่งน้ำมันปาล์มเกรดต่ำเข้าสู่ประเทศไทยและใช้ไทยเป็นทางผ่านส่งต่อไปยังพม่าและลาว ดังนั้นเกษตรกรปาล์มน้ำมันในไทยจึงเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง

“ในเมื่อการเปิดเสรีทางการค้าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น เกษตรกรปาล์มน้ำมันจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อแข่งขันกับปาล์มน้ำมันนำเข้าให้ได้ ต้องมีกระบวนการปรับตัวครั้งสำคัญ เพื่อให้ผลผลิตของตนมีคุณภาพทัดเทียมกับคู่แข่งทางการค้า โดยต้องเริ่มตั้งแต่การคัดพันธุ์ปาล์ม การเพาะปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การขนส่งการจัดจำหน่าย และการบริหารจัดการ

อย่างไรก็ตาม รัฐต้องมีบทบาทอย่างสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของเกษตรกรปาล์มน้ำมันไทย เพื่อมิให้ชาวสวนปาล์มอยู่เหวี่ยงออกจากตลาด เพราะตามระบบการค้าเสรีนั้น ผู้ที่ไม่สามารถปรับตัวเพื่อรองรับกระแสการแข่งขันได้ก็จำเป็นต้องออกจากตลาดไปในที่สุด”


ที่มา : ผู้จัดการ
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 7:31 pm    ชื่อกระทู้:

กาฬสินธุ์ แล้งจัด ต้นอ้อยขาดน้ำตายแล้งนับหมื่นไร่

ชาวบ้านตำบลนาจารย์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ กำลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก โดยเฉพาะชาวไร่อ้อย เนื่องจากปัญหาฝนทิ้งช่วงยาวนานกว่า 8 เดือน ทำให้ต้นอ้อยขาดน้ำแห้งตายเสียหายแล้วกว่าหนึ่งหมื่นไร่ เบื้องต้นประเมินค่ากว่า 45 ล้านบาท

จากการติดตามปัญหาภัยแล้งที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เริ่มทวีความรุนแรงขณะนี้โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เจ้าหน้าที่การเกษตรเทศบาลตำบลนาจารย์ ได้เข้าตรวจสอบสภาพความเสียหายของต้นอ้อยกว่า 10 หมู่บ้าน ที่ได้เริ่มทยอยตายแล้ง จากปัญหาฝนทิ้งช่วงยาวนานกว่า 8 เดือน และด้วยปัญหาแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งขอดประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนในแต่ละวันมากถึง 40 องศา แสงแดดที่ร้อนจัดทำให้ดินไม่สามารถอุ้มน้ำ จนเกิดสภาพแห้งแล้งทำลายต้นอ้อยที่ปลูกใหม่เสียหายแล้วนับหมื่นไร่

นายสำราญ ทรัพย์กุล อายุ 68 ปี ชาวไร่อ้อยตำบลนาจารย์ กล่าวว่า สภาพอ้อยตายแล้งเพิ่งจะเกิดขึ้นในปีนี้เนื่องจากความผิดปกติของสภาพอากาศ เนื่องจากฝนไม่ตกมาถึง 8 เดือน และในขณะนี้คาดว่าต้นอ้อยที่ลงทุนปลูกไว้ 30 ไร่ จะเสียหายทั้งหมด เพราะความแห้งแล้งมีความรุนแรงจนทำให้เกิดสภาพดินไม่อุ้มน้ำ จึงต้องการให้รัฐบาลหาวิธีการช่วยเหลือด้วย

ด้าน นายมวล ฆารไสว รองนายกเทศบาลตำบลนาจารย์ กล่าวว่า ผลสำรวจเบื้องต้นคาดว่าจะมีไร้อ้อยของเกษตรกรเสียหายกว่าหนึ่งหมื่นไร่ ที่เป็นอ้อยปลูกใหม่และในกลุ่มอ้อยตอก็กำลังจะยืนต้นตาย

การช่วยเหลือคงจะมีวิธีการเดียว คือ ให้รัฐบาลได้ช่วยเหลือในรูปแบบเงินชดเชย เนื่องจากเกษตรกรในแต่ละรายต่อไร่จะลงทุนไร่ละ 4,500 บาท ซึ่งเพียงความเสียหายหมื่นไร่ก็คิดเป็นเงินมากถึง 45 ล้านบาท จึงต้องการให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรด้วย

ที่มา : ผู้จัดการ
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 7:29 pm    ชื่อกระทู้:

แล้งจัด ยางพาราเมืองเลยยืนต้นตายแล้วกว่าพันไร่

แล้งจัดชาวสวนยางพาราเมืองเลยเดือดร้อนหนัก หลังยางยืนต้นตายแล้วกว่า 1 พันไร่ อบต.น้ำสวยเร่งขอฝนหลวงช่วยเหลือชาวบ้านด่วน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดเลยที่ร้อนและแห้งแล้ง ฝนทิ้งไม่ตกมานานกว่า 2 เดือน ส่งผลให้ต้นยางพาราในพื้นที่ตำบลน้ำสวย อ.เมืองเลย ยืนต้นตายเป็นบริเวณกว้าง ส่วนใหญ่อายุประมาณ 5-6 ปี ที่พอเปิดหน้ากรีดได้แล้ว สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งบางส่วนไม่กล้ากรีดเอาน้ำยางไปขาย เพราะกลัวว่าต้นยางจะตายมากไปกว่านี้

วิธีเดียวที่พอจะพึ่งพาตนเองได้ ก็คือ ตัดยอดต้นที่กำลังจะตายทิ้งไป เพื่อให้เกิดการคายน้ำ แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร

นายจรูญ พานิช นายก อบต.น้ำสวย อ.เมือง จ.เลย กล่าวระหว่างนำเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลลงพื้นที่สำรวจความเสียหายว่า ขณะนี้ได้รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกรผู้ปลูกสวนยางแล้วหลายราย ที่ได้รับความเดือดร้อน ต้นยางยืนต้นตายเพราะขาดน้ำ จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า ในพื้นที่ตำบลน้ำสวยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งสิ้น 11,150 ไร่ ได้รับความเสียหายไปแล้วกว่าร้อยละ 10 หรือประมาณ 1,000 ไร่ (ที่รับลงทะเบียน)

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนได้ขอความร่วมมือไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ช่วยการสำรวจพื้นที่ความเสียหาย และจำนวนเกษตกรที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างละเอียดแล้ว เพื่ออนุมัติเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน สำหรับบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นก่อน ไร่ละ 800-900 บาท

ขณะเดียวกัน ยังได้ประสานไปยัง นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ขอฝนหลวงเข้ามาโปรยในพื้นที่โดยด่วน เพราะหากปล่อยไว้อีก 1 เดือน ต้นยางพาราจะยืนต้นตาย ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ


ที่มา : ผู้จัดการ
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 7:26 pm    ชื่อกระทู้:

ชาวนาพิจิตรแห่ร่วมไถกลบนาข้าวขจัดเพลี้ยแล้วกว่าหมื่นไร่

ชาวนาพิจิตรยอมตัดใจให้สถานีพัฒนาที่ดินไถกลบต้นข้าว แก้ไขปัญหาการระบาดและการตัดวงจรชีวิตเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก 715 ราย พื้นที่ 13,529 ไร่ พร้อมหยุดพักการทำนา 1 เดือน เพื่อตัดวงจร แลกค่าชดเชยไร่ละ 2,280 บาท พร้อมทั้งพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อใช้ในฤดูกาลถัดไป

นางสาวรัตนา วิภาศรีนิมิต ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินพิจิตร เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการไถกลบต้นข้าวในพื้นที่นาของชาวนาพิจิตร ที่ประสบปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก แพร่ระบาดทั้ง 12 อำเภอ ตามนโยบายของรัฐบาลว่า มีชาวนาที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 715 ราย คิดเป็นพื้นที่นา 13,529 ไร่

ตั้งแต่ 12 เม.ย.53 สถานีพัฒนาที่ดิน จ.พิจิตร ได้นำรถไถ่นาจำนวน 20 คัน ออกตระเวนไถกลบนาข้าว ที่เป็นแปลงนาที่เกิดโรคระบาด ไปแล้ว 3,443 ไร่ ส่วนที่เหลือจะดำเนินการแล้วเสร็จก่อน 30 เม.ย. 53 อย่างแน่นอน โดยจ้างเหมาบริษัทราเชนท์ อินเตอร์เนชั่นแนน ให้เป็นผู้รับจ้างไถ่กลบนาข้าวในราคาไร่ละ 350 บาท ส่วนกำหนดเวลาการจ่ายเงินชดเชยนั้น ชาวนาจะได้รับอย่างแน่นอนในวันที่ 1-30 พ.ค. 53 โดยช่วงที่ว่างเว้นจาการทำนา ก็จะมีการส่งเสริมให้ทำอาชีพอย่างอื่น

นางผล หงส์เวียงจันทร์ อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 8/1 บ้านป่าแซง หมู่ 3 ต.หนองโสน อ.สามง่าม จ.พิจิตร เปิดเผยว่า ทำนา 32 ไร่ ถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเข้าทำลายนาข้าวติดต่อกันถึง 3 ฤดูกาล ข้าวทุนจนไม่เหลือชิ้นดีจึงตัดใจเข้าร่วมโครงการและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทางราชการเสนอให้

เช่นเดียวกับ นางสุวรรณ คุ้มสุข อายุ 46 ปี ทำนา 32 ไร่ แปลงติดกับนางผล ก็ให้สัมภาษณ์ว่า ดีใจที่รัฐบาลมีโครงการดี ๆ แบบนี้มาช่วยชาวนาจึงเข้าโครงการไถ่กลบดังกล่าวและมั่นใจว่าจะสามารถตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคเขียวเตี้ย โรคใบหงิก ได้อย่างแน่นอน ซึ่งต่อไปนี้คงต้องเชื่อนักวิชาการที่มาส่งเสริมและเพื่อนชาวนาด้วยกันก็ต้องให้ความร่วมมือหยุดทำนาปรังเว้นวรรคเพื่อตัดวงจรของโรคแมลงศัตรูพืชดังกล่าว อีกทั้ง เป็นการพักดินไปในตัวด้วย

ทั้งนี้รัฐบาลได้ให้แนวทางแก้ไขด้วยการขอให้ชาวนางดทำนาเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน โดยดำเนินการไถกลบนาข้าวที่เกิดโรคดังกล่าว ซึ่งชาวนาจะได้รับค่าตอบแทน ไร่ละ 2,280บาท และเมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ก็จะได้พันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไร่ละ 15 กก. โดยสามารถระบุพันธุ์ข้าวที่ต้องการได้ทั้งนี้ได้


ที่มา : ผู้จัดการ
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 7:16 pm    ชื่อกระทู้:

กรมส่งเสริมฯบูมตลาดเวียดนาม จัดมหกรรมผลไม้เมือง"ฮานอย"

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลไม้สดและแปรรูปให้ประเทศเวียดนามได้รู้จักและเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย รวมทั้งเป็นการขยายโอกาสทางการตลาดผลไม้สดและแปรรูป และต้องการรับทราบข้อมูลความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำมาใช้พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรของไทย กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดผลไม้ไทยในตลาดอาเซียน (Thai Fruit Fairs in ASEAN) ระหว่างวันที่ 5-8 พฤษภาคม ที่กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภายใต้ชื่องาน "Made in Thailand Outlet 2010" โดยร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย

สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการตลาดผลไม้ไทย ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีศักยภาพ โดยในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่มีผลไม้ภาคตะวันออกออกสู่ตลาดจึงนำผลผลิต เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด มะม่วง และกล้วยไข่ ไปจัดสาธิตการบริโภค การจัดชิม และแจกตัวอย่างผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเกษตร การจัดกิจกรรม Business Matching ระหว่างผู้นำเข้ากับเกษตรกรผู้นำและผู้ส่งออกของไทย โดยการประสานงานของสำนักงานการค้าไทย ณ กรุงฮานอย และกรมส่งเสริมการส่งออก ในการเชิญภาคเอกชนและผู้สนใจของเวียดนามเข้าร่วมการพบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกไทย

"ตลาดเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะประเทศเวียดนาม เป็นตลาดเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมในการกระจายสินค้าเกษตรของไทย เนื่องจากกลุ่มประเทศอาเซียนมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งทางเรือ รถยนต์ รถไฟ มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งหากผลไม้ของไทยได้รับการยอมรับในตลาดประเทศเพื่อนบ้าน จะส่งผลให้ไทยสามารถระบายผลผลิตได้ในปริมาณมากในแต่ละฤดู เป็นการช่วยแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำได้อีกช่องทางหนึ่ง"นายอรรถ กล่าว

ที่มา : แนวหน้า
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 7:14 pm    ชื่อกระทู้:

พด.พัฒนาระบบอินเตอร์เนต เผยแพร่ข้อมูลดินทั่วประเทศ

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดินพยายามคิดค้นเทคโนโลยี ในการพัฒนารูปแบบการให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลดินทุกประเภทผ่านระบบอินเตอร์เนต เว็บไซต์ของกรมพัฒนาที่ดิน www.ldd.go.th เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ ซึ่งภายในเว็บไซต์จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดินทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชุดดินแต่ละประเภท ปัญหาดินในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน และล่าสุดกรม โดยสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน ได้พัฒนาและจัดทำแผนที่ฐานข้อมูลทะเบียนการวิเคราะห์ดินแบบออนไลน์ที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยใช้พิกัดทางภูมิศาสตร์เชื่อมโยงกับข้อมูลการวิเคราะห์ดินเข้ากับแผนที่

แผนที่ฐานข้อมูลทะเบียนการวิเคราะห์ดินแบบออนไลน์นี้ จะทำให้ทราบถึงลักษณะภูมิประเทศใกล้เคียง ง่ายต่อการศึกษาสมบัติทางเคมีบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชในพื้นที่นั้นๆ เช่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าอินทรียวัตถุในดิน และมีประโยชน์ต่อการศึกษาสมบัติทางกายภาพดิน เช่น กลุ่มเนื้อดิน ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำ และความจุน้ำที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

"หากเกษตรกรหรือผู้สนใจต้องการศึกษาข้อมูลดินของประเทศไทยทั้งหมด สามารถไปชมได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาที่ดิน และถ้าต้องการดูแผนที่ฐานข้อมูลทะเบียนการวิเคราะห์ดินและแผนที่ฐานข้อมูลเนื้อดิน ก็เข้าไปที่เว็บไซต์ http://osd101.ldd.go.th หรือสอบถามได้ที่สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน โทร.0-2561-3521 ได้โดยตรง" นายธวัชชัย กล่าว

ที่มา : แนวหน้า
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 7:12 pm    ชื่อกระทู้:

ไทยวิกฤติขาดนักวิจัยพัฒนาข้าว เกษตรฯเต้นทุ่ม 72 ล. ตั้งศูนย์
ห่วงอนาคตแพ้เวียดนามลุ่ย


นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนับเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาการผลิตข้าว กอปรกับการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยการคิดค้นวิจัยพัฒนาที่มีขั้นตอนและต่อเนื่อง โดยจำเป็นต้องใช้ทีมงานวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินงาน อย่างไรก็ตามในขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านการพัฒนางานวิจัย โดยเฉพาะงานวิจัยด้านข้าว ทั้งๆ ที่ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตและส่งออกข่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงสั่งการให้กรมการข้าวเร่งดำเนินงานโครงการจัดทำศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวแห่งชาติขึ้น ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3-4 ปี จึงจะแล้วเสร็จ โดยขณะนี้ได้มีการเสนออนุมัติงบประมาณปี 2554 ดำเนินการในระยะแรกในปี 72.8 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า จะจัดตั้งที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

นายธีระกล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ 27 ศูนย์ แต่ยังมีปัญหาการขาดแคลนด้านต่างๆ อาทิ งบประมาณ บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีเพียง 96 คน จากความต้องการบุคลากรด้านการวิจัยที่มีสูงกว่า 184 คน ดังนั้นการจัดทำศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวแห่งชาติขึ้น จะช่วยให้มีการพัฒนางานวิจัยด้านข้าวจะช่วยให้งานวิจัยได้รับการพัฒนา และในอนาคตก็พร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกษียณอายุไปแล้ว แต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านข้าวกลับมาทำงานร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวแห่งชาติได้อีก และกระทรวงเกษตรฯพร้อมที่จะผลักดันศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ งานวิจัยด้านข้าวในทุกด้านจากทั่วประเทศ และตั้งเป้าให้เป็นแหล่งรวบรวมนักวิจัยและงานวิจัยด้านข้าวเทียบเท่าระดับโลก

"เราจำเป็นต้องเร่งพัฒนางานวิจัยด้านข้าวให้คลอบคลุมในทุกด้าน เพราะขณะนี้ประเทศเวียดนามกำลังเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ถ้าเราไม่เร่งดำเนินการเราอาจจะไม่สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้" นายธีระ กล่าว


ที่มา : แนวหน้า
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 6:56 pm    ชื่อกระทู้: ไทยเร่งเจรจาลดค่าใช้จ่ายส่งสินค้าเกษตรไปยังจีน

ไทยเร่งเจรจาลดค่าใช้จ่ายส่งสินค้าเกษตรไปยังจีน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำรวจสภาพปัญหาและอุปสรรคในการขนส่งสินค้าเกษตรผ่านเส้นทาง R3 จากประเทศไทยไป ยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีจุดเริ่มต้นจากชายแดนไทยที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผ่านเมืองห้วยทราย บ่อแก้ว หลวงน้ำทาบ่อเต็นของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เข้าสู่เมืองโม่หาน จิ่งหง เชียงรุ้ง และไปสู่จุดหมายเมืองคุนหมิงของสาธารณรัฐประชาชนจีน

ทั้งนี้พบว่าสภาพเส้นทางค่อนข้างดี สามารถใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าเกษตรของไทยได้แต่ยังพบว่าปัญหาในหลายจุด เนื่องจากการจะส่งสินค้าไปยังมณฑลยูน นาน ต้องผ่านด่านโม่หาน ซึ่งปัจจุบันด่านแห่งนี้ยังไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าเกษตรของไทยโดยที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าเกษตร ของไทย โดยเฉพาะผลไม้ต้องสวมสิทธิเป็นสินค้าลาวและนำมาเปลี่ยนถ่ายลงรถขนาดเล็กของจีนที่ด่านบ่อเต็น ของลาว ทำให้เสียทั้งเวลาและข้าวของ เพราะพบว่ามีสินค้าเสียหายจากการขนส่งจำนวนมากนอกจากนี้ยังเสียค่าธรรมเนียมผ่านด่านคันละ 15,000-20,000 บาท โดยปัจจุบันสินค้าของไทยที่ได้รับความนิยมในตลาดของเมืองเชียงรุ้งและเมืองคุนหมิง มีหลากหลายชนิดเช่น มะขามหวาน มังคุด ทุรียน ส้มโอ มะพร้าว กล้วยไข่ มะม่วง และทุเรียน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สิ่งที่ทางการไทยต้องเร่งดำเนินการ คือการเจรจาสร้างความร่วมมือกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อลดค่าธรรมเนียมในการขนส่งสินค้าผ่านด่านที่สำคัญผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องหารือร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปเพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถขนส่งสินค้าไปยังมณฑลยูนนานได้โดยตรง.

ที่มา : เดลินิวส์
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 6:51 pm    ชื่อกระทู้: ฟาร์มหมู ซีพีเอฟ ใช้ระบบฟอกอากาศรายแรก

ฟาร์มหมู ซีพีเอฟ ใช้ระบบฟอกอากาศรายแรก

ปัญหาที่ฟาร์มปศุสัตว์ทั่วไปมักประสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ "กลิ่น" จากการขับถ่ายของเสีย รวมทั้งแมลงวันที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งสร้างความรำคาญต่อผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบข้าง เพื่อให้อยู่ร่วมกับชุมชน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์หลายรายต่างหาทางออกนั่นคือ

...การสร้างบ่อเก็บกักมูล ซึ่งรูปแบบที่นิยมมากก็คือ "ไบโอแก๊ส" นอกจากลดปัญหาเรื่องกลิ่นยังช่วยลดการใช้พลังงานจากภาครัฐ และล่าสุดฟาร์มสุกรพันธุ์กาญจนบุรี อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี ยังได้นำ ระบบฟอกอากาศ มาใช้ภายในฟาร์มแห่งนี้ซึ่งเป็นที่แรกของเมืองไทย

นายสุนทร อิ่มบุญตา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยและพัฒนาฯ ซีพีเอฟ.บอกว่า การดำเนินกิจการอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นนโยบายหลักของซีพีเอฟ. ที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และฟาร์มสุกรก็ได้รับเอานโยบายมาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยตระหนักเสมอว่า ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม อย่างการดำเนินงานที่ผ่านมาของฟาร์มกาญจนบุรี ที่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับประหยัดพลังงานและใส่ใจชุมชนรอบข้าง เราเลือกใช้ "ไบโอแก๊ส" ระบบบ่อหมักแบบพลาสติกคลุมบ่อ หรือ Cover Lagoon

เป็นระบบปิดที่ปูพื้นบ่อหมักด้วยวัสดุป้องกันน้ำรั่วซึมลงสู่ผิวดิน คลุมปากบ่อด้วยแผ่นพลาสติกพีอี PE (Polyethylene) ป้องกันกลิ่นออกรวมทั้งแมลงวันที่จะไปรบกวนชุมชน ส่วนน้ำหลังผ่านขบวนการบำบัดจะเติมคลอรีน เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ล้างคอก ฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนจะนำสุกรเข้าสู่โรงเรือน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับพืชผลทางการเกษตร อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง

นางวรรณา ทองยิ้ม เกษตรกรชาวไร่อ้อย บอกว่า น้ำจากฟาร์มที่เอาไปใส่ในไร่อ้อย นอกจากไม่มีกลิ่นเหม็นแล้ว ยังเป็นปุ๋ยชั้นดีที่ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตได้มาก จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยเคมี 10 ถุง/ 10 ไร่ ตอนนี้ใช้เพียง 5-6 ถุง ช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งตอนนี้เพื่อนบ้านที่ทำไร่อ้อย หลายรายเริ่มหันมาใช้กันแล้ว

นายสุนทร บอกต่อว่า แม้ระบบบำบัดฯที่ใช้มีประสิทธิภาพเพียงใด แต่ก็ยังกังวลว่าอาจมีกลิ่นเล็ดลอดสร้างความรำคาญให้กับชุมชนรอบข้างได้ ดังนั้น เพื่อให้ที่นี่เป็น "กรีนฟาร์ม" อย่างสมบูรณ์ จึงศึกษาดูงานระบบ "ฟอกอากาศ" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีมาจาก ประเทศไต้หวัน แล้วนำมาปรับใช้ลดกลิ่นที่จะออกจากโรงเรือนภายในฟาร์ม โดยระบบดังกล่าวติดตั้งไว้ด้านหลังพัดลมระบายอากาศบริเวณท้ายโรงเรือนเพื่อลดกลิ่น

สำหรับการก่อสร้าง ชั้นแรก ใช้มุ้งเขียวสเปรย์น้ำเพื่อกรองฝุ่น กลิ่น ชั้นที่สอง เป็นพลาสติกคูลิ่ง แพ็ก ทำหน้าที่ดักจับแก๊สแอมโมเนีย ที่ใช้ระบายความเย็นในโรงเรือน ควบ คู่กับการใช้กรดอ่อนดักจับกลิ่นที่เหลืออยู่ และ ชั้นสุดท้าย ติดตั้งระบบชีวภาพใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น กาบมะพร้าว เศษเยื่อไม้ ซึ่งสามารถดึงชักกากย่อยแล้วนำมาใช้ใส่ในไร่สวน ส่วนด้านบนจะเติมวัสดุดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง

หลังการใช้งานพบว่า ระบบฟอกอากาศสามารถลดกลิ่นเหม็นและกลิ่นของแก๊สแอมโมเนีย ที่ออกจากโรงเรือนเลี้ยงสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ภายในฟาร์มและชุมชนรอบข้างมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลภาวะรบกวน

นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ. เล่าให้ฟังว่า จากจุดเริ่มต้นในฐานะบริษัทของคนไทยที่มุ่งมั่นค้น คว้าวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการเกษตร

มีการนำเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัยได้มาตรฐาน ถูกสุขอนามัยปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาส่งเสริมให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง พร้อมทั้งควบคุมการผลิตตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

ในวันนี้สินค้าปศุสัตว์จากประเทศไทย จึงสามารถส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศได้ทั้งในกลุ่มทวีปยุโรป และแถบเอเชีย!!!

เพ็ญพิชญา เตียว

ที่มา : ไทยรัฐ
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 6:48 pm    ชื่อกระทู้: ส่งเสริมการเลี้ยงไก่แบบมีความสุข

กรมปศุสัตว์ ส่งเสริมการเลี้ยงไก่แบบมีความสุข

โครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานความห่วงใยเด็กนักเรียนให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย...

นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์น้อมรับแนวทางพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการดำเนินการเลี้ยงไก่ไข่แบบมีความสุข หรือ แฮปปี้ ชิก (Happy Chick) ในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียน ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานความห่วงใยเด็กนักเรียนให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย จากการได้รับประทานไข่ไก่ที่มีคุณค่าทางอาหาร โดยให้นักเรียนได้ลงมือเลี้ยงไก่ไข่ด้วยตนเอง เพื่อจะได้รับความรู้จากการปฏิบัติจริง และความรู้ที่ได้รับจะติดตัวและอาจเป็นอาชีพในอนาคตได้

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรี ทรงมีพระราชดำริให้กรมปศุสัตว์ ดำเนินการเลี้ยงไก่ไข่แบบ แฮปปี้ ชิก โดยเน้นการเลี้ยงให้ไก่ไข่มีความสุข คือ การให้ไก่ไข่มีโอกาสในการเดิน กิน นอน อย่างอิสระในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ ไม่ต้องอาศัยอยู่ในกรงตับแคบๆ เหมือนสมัยก่อน จะทำให้ไก่ไม่เครียด ได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพแข็งแรง และให้ไข่ที่มีคุณค่าทางอาหาร และยังคงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและปลอดโรคของนักเรียนและไก่ไข่ โดยมีการจัดการเลี้ยงไก่ไข่อย่างถูกต้องตามหลักการควบคุมโรค ทั้งนี้หากโรงเรียนใดสนใจ การเลี้ยงไก่แบบถูกต้องตามหลักวิชาการติดต่อได้ที่ กรมปศุสัตว์ 0-2653-4444 ต่อ 4137-8

นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์น้อมรับแนวทางพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการดำเนินการเลี้ยงไก่ไข่แบบมีความสุข หรือ แฮปปี้ ชิก (Happy Chick) ในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียน ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานความห่วงใยเด็กนักเรียนให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย จากการได้รับประทานไข่ไก่ที่มีคุณค่าทางอาหาร โดยให้นักเรียนได้ลงมือเลี้ยงไก่ไข่ด้วยตนเอง เพื่อจะได้รับความรู้จากการปฏิบัติจริง และความรู้ที่ได้รับจะติดตัวและอาจเป็นอาชีพในอนาคตได้

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรี ทรงมีพระราชดำริให้กรมปศุสัตว์ ดำเนินการเลี้ยงไก่ไข่แบบ แฮปปี้ ชิก โดยเน้นการเลี้ยงให้ไก่ไข่มีความสุข คือ การให้ไก่ไข่มีโอกาสในการเดิน กิน นอน อย่างอิสระในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ ไม่ต้องอาศัยอยู่ในกรงตับแคบๆ เหมือนสมัยก่อน จะทำให้ไก่ไม่เครียด ได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพแข็งแรง และให้ไข่ที่มีคุณค่าทางอาหาร และยังคงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและปลอดโรคของนักเรียนและไก่ไข่ โดยมีการจัดการเลี้ยงไก่ไข่อย่างถูกต้องตามหลักการควบคุมโรค ทั้งนี้หากโรงเรียนใดสนใจ การเลี้ยงไก่แบบถูกต้องตามหลักวิชาการติดต่อได้ที่ กรมปศุสัตว์ 0-2653-4444 ต่อ 4137-8

ที่มา : ไทยรัฐ
kimzagass
ตอบตอบ: 23/04/2010 6:45 pm    ชื่อกระทู้: ผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม จับกุ้งตัวเล็กจำหน่าย

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม จับกุ้งตัวเล็กจำหน่าย

เพื่อป้องกันปัญหาโรคระบาดหรือกุ้งน็อกตาย จึงได้นำกุ้งที่ยังไม่ได้ขนาดไปจำหน่าย จึงทำให้ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา...

จากการสำรวจสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจ.กาฬสินธุ์ พบว่าขณะนี้ชาวนากุ้งหรือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ต่างระดมแรงงานลงจับกุ้งจำหน่ายในขณะที่ยังมีขนาดเล็ก ทั้งนี้ต่างให้เหตุผลว่า เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการที่กุ้งจะเกิดปัญหาโรคระบาด หรือน็อกตาย ในช่วงที่โครงการชลประทานเขื่อนลำปาวหยุดการส่งน้ำไปเมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา

ด้านนายสี ภูผาลาด เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งบ้านตูม กล่าวว่า เพื่อป้องกันปัญหาโรคระบาดหรือกุ้งน็อกตาย จึงได้นำกุ้งที่ยังไม่ได้ขนาดไปจำหน่าย จึงทำให้ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ยังดีกว่าปล่อยให้เกิดโรคระบาด หรือน็อกตาย และยังดีกว่าขาดทุน


ที่มา : ไทยรัฐ
kimzagass
ตอบตอบ: 21/04/2010 7:10 pm    ชื่อกระทู้: ไทยผุดศูนย์วิจัยพัฒนาข้าว

ไทยผุดศูนย์วิจัย พัฒนาข้าว ทัดเทียมระดับโลก

เกษตรฯเร่งตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวแห่งชาติ ให้ทัดเทียมระดับโลก คาดใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 5 ปี โดยขณะนี้ได้เสนออนุมัติงบประมาณปี 2554 ดำเนินการระยะแรกในวงเงิน 72.8 ล้านบาท.....

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุ ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนนักวิจัยพัฒนาข้าวไทย เตรียมจัดทำศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวแห่งชาติแบบครบวงจรให้ทัดเทียมระดับโลก เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางนายอภิชาต จงสกุล ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้กรมการข้าวเร่งดำเนินงานโครงการ จัดทำศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวแห่งชาติเบื้องต้น คาดว่าจะดำเนินการจัดตั้งที่หมู่ 5 ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี บนพื้นที่ 32 ไร่ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 5 ปี โดยขณะนี้ได้เสนออนุมัติงบประมาณปี 2554 ดำเนินการระยะแรกในวงเงิน 72.8 ล้านบาท

นายอภิชาต จงสกุล ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวทั่วประเทศประมาณ 27ศูนย์ แต่พบว่ายังมีปัญหาการขาดแคลนด้านต่างๆ อาทิ งบประมาณและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยตัวเลขจากกรมการข้าวมีบุคลากรด้านงานวิจัยข้าวเพียง 96 คน จากความต้องการที่มีสูงกว่า 184 คน ดังนั้นการจัดทำศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวแห่งชาติขึ้น จะช่วยให้มีการพัฒนางานวิจัยด้านข้าวและช่วยให้งานวิจัยได้รับการพัฒนา ซึ่งในอนาคตจะผลักดันศูนย์วิจัยพัฒนาข้าวแห่งชาติ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้งานวิจัยข้าวในทุกด้านจากทั่วประเทศ และตั้งเป้าให้เป็นแหล่งรวบรวมนักวิจัยและงานวิจัยด้านข้าวเทียบเท่าระดับโลก

ที่มา : ไทยรัฐ
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 9:19 pm    ชื่อกระทู้:

สหรัฐถวายในหลวงสิทธิบัตร"ฝนหลวง"

สหรัฐเตรียมทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวงแด่"ในหลวง"เผยนานาชาติ ยกย่องพระอัจฉริยภาพ พร้อมขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำผลงานไปช่วยแก้ภัยแล้งให้มวลมนุษยชาติ ด้านกระทรวงเกษตรฯ กำหนดให้วันที่ 14 พ.ย.ของทุกปี เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 14 พ.ย. ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวและ เปิดงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 พ.ย.นี้ ว่า คณะรัฐมนตรีได้ มีมติเห็นชอบในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรง เป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” โดยกำหนดให้วันที่ 14 พ.ย.ของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติ คุณ พระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณา ธิคุณที่ทรงริเริ่มและพัฒนาโครงการพระราชดำริฝนหลวง โดยผู้ว่าราชการทุกจังหวัดจะทำพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวพร้อมเพรียงกัน

นายธีระ เปิดเผยว่า ขณะนี้เทคโน โลยีฝนหลวงได้จดสิทธิบัตรแล้วกว่า 30 ประเทศทั่วโลก โดยมีประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและมาเลเซียขอพระบรมราชานุญาตนำไปใช้แล้ว ส่วนประเทศสวิตเซอร์ แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จอร์แดน โอมาน แทนซาเนีย ก็ได้แจ้งความจำนง เข้ามาเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงแรกเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจะให้คำแนะนำพร้อมฝึกอบรม ก่อนเดินทางเข้าร่วมปฏิบัติการทำฝนในประเทศดังกล่าว สำหรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงในปี 2553 มุ่งเน้นการพัฒนา สารฝนหลวงจากผงเป็นพลุเพื่อดูดความชื้น และตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภูมิภาคที่ จ.เชียงใหม่ นครสวรรค์ ขอนแก่น สระแก้วและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนผลการปฏิบัติการในปีนี้ ขึ้นบินปฏิบัติการจำนวน 7,059 เที่ยวบิน ชั่วโมงบิน 9,799 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 233 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรและป่าไม้จำนวน 171 ล้านไร่ ที่เหลือเป็นที่อยู่อาศัยรวมทั้งแหล่งน้ำ

ด้านนายวราวุธ ขันติยานันท์ ผู้อำนวยการสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังดำเนินการขอเข้าเฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายสิทธิบัตร เทคโนโลยีฝนหลวงแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทาง การสหรัฐได้ยกย่องในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านที่ทรงคิดค้นเทคนิคการช่วย แก้ปัญหาภัยแล้งให้กับมนุษยชาติได้.
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 9:16 pm    ชื่อกระทู้:

วิกฤติอาหารโลกสร้างโอกาสไทย

จากประเด็นราคาอาหารโลกพุ่งขึ้นอย่างมากจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้ โดยองค์กรระหว่างประเทศต่างหันมาให้ความสำคัญ โดยต่างเห็นพ้องต้องกันว่าปัญหาดังกล่าวนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการแก้ไขอย่างเหมาะสม เนื่องจากส่งผลกระทบต่อเนื่องหลากหลายประการ สถานการณ์ความระส่ำระสายในประเทศยากจนแต่ละประเทศ ซึ่งจะเกิดการประท้วงและก่อจลาจลของประชาชนจากวิกฤตการณ์อาหารที่ขาดแคลน และมีราคาสูงลิบลิ่ว

ขณะที่สัญญาณเตือนวิกฤติอาหารของโลกข้างต้น ประเทศไทยในฐานะประเทศเกษตรกรรมที่เป็นแหล่งผลิตอาหารใหญ่ประเทศหนึ่งของโลกน่าจะแปรวิกฤติเป็นโอกาส และเตรียมวางแผนพัฒนาศักยภาพความเป็นแหล่งอาหารของโลกเพื่อรองรับแนวโน้มในอนาคตที่นับวันอาหารจะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำคัญมากขึ้น

ปัจจัยกระหน่ำราคาอาหารพุ่ง
ปัจจุบันเกิดภาวะราคาอาหารเฟ้อ (Food Inflation) ซึ่งราคาเฉลี่ยอาหารพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ก่อให้เกิดวิกฤติราคาอาหาร ทำให้ดัชนีเฉลี่ยราคาอาหารขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในช่วงเดือนมีนาคม 2551 เท่ากับ 220 โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้นถึง 57% โดยดัชนีราคาอาหารเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 แยกพิจารณาได้เป็นดัชนีราคากลุ่มธัญพืชเฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2551 เท่ากับ 284 ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วเพิ่มขึ้น 88.1% ดัชนีราคาน้ำมันและไขมันเฉลี่ยเท่ากับ 285 เพิ่มขึ้น 106.5% ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์นมเฉลี่ย 276% เพิ่มขึ้น 48.4% ดัชนีราคาน้ำตาลเฉลี่ย 169 เพิ่มขึ้น 26.1% ดัชนีราคาเนื้อสัตว์เฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2551 เท่ากับ 133 เพิ่มขึ้น 9.9%

สาเหตุหลักของวิกฤติอาหารคือ ความไม่สมดุลระหว่างผลผลิตและความต้องการใช้ส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารสำคัญมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีปัจจัยดังนี้ 1.ปัญหาโลกร้อน สภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์สืบเนื่องจากการที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาอุณหภูมิดังกล่าวสูงขึ้นเพียงไม่กี่องศา แต่ก็ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างรุนแรง เพราะสภาวะโลกร้อนทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยฤดูแล้งก็จะยาวนานกว่าปกติมากขึ้น ส่วนฤดูฝนก็จะไม่มีฝนตกตามฤดูกาล หรือตกคราวละเป็นจำนวนมากจนเกิดอุทกภัย ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนส่งผลให้ปริมาณการผลิตพืชอาหารลดลง จากปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ ความเสียหายจากภัยธรรมชาติทั้งปัญหาฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก รวมทั้งปัญหาน้ำท่วมในบางพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการเกิดภาวะโรคและแมลงศัตรูแพร่ระบาดได้มากขึ้น ปัญหาคลื่นความร้อน และเพิ่มโอกาสให้เกิดพายุหมุนถี่ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น

2.ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ปัญหาที่หลายประเทศประสบอยู่ในเวลานี้เมื่อสภาพเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น หรือประเทศมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้มีการนำพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำการเกษตรไปเป็นพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ทำการเกษตรในหลายประเทศทั่วโลกลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคสินค้าอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจส่งผลทำให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรมากอย่างจีนและอินเดีย กล่าวคือ เมื่อมีรายได้สูงขึ้นสัดส่วนปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณการบริโภคแป้งมีแนวโน้มลดลง ผลกระทบต่อเนื่องคือ ธุรกิจการเลี้ยงปศุสัตว์เติบโตขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการวัตถุดิบอาหารสัตว์มีแนวโน้มเติบโตขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ต้องมีการแบ่งพื้นที่การเกษตรมาปลูกพืชอาหารสัตว์ เป็นต้น

3.พืชพลังงานแย่งพื้นที่ผลิตพืชอาหาร การขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทนนับว่าเป็นคำตอบของหลายประเทศในการแก้ปัญหาความวิตกในเรื่องราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความวิตกถึงความพอเพียงของปริมาณน้ำมันในอนาคต อย่างไรก็ตาม การขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานทดแทนนับว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อที่การปลูกพืชอาหารและส่งผลต่อเนื่องถึงราคาอาหารทั่วโลก ปัจจุบันองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เตรียมศึกษาแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตรพืชพลังงาน โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกพืชอาหาร ภายใต้สมมุติฐานว่าหากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมการปลูกพืชพลังงานก็จะเป็นประโยชน์ต่อการเกษตร และเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อลดการพึ่งพิงน้ำมันได้

โดยสิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ ถึงแม้มีการคาดการณ์ว่าในฤดูการผลิต 2551/52 ปริมาณการผลิตธัญพืชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งมีราคาเป็นแรงจูงใจที่สำคัญ แต่ราคาธัญพืชก็จะยังสูงต่อไป เนื่องจากสัดส่วนของอุปสงค์-อุปทานในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ในสหรัฐในฤดูการผลิต 2551/52 เมื่อผลผลิตข้าวสาลีเพิ่มขึ้น ราคาธัญพืชอื่นๆ โดยเฉพาะข้าวโพดราคาก็น่าจะลดลง แต่ความจริงกลับเป็นว่ามีการนำข้าวโพดไปผลิตเอทานอลมากขึ้น เนื่องจากกฎหมายในสหรัฐฯระบุให้ต้องใช้แอลกอฮอล์ปนเข้าไปในน้ำมันอย่างน้อย 1% ในปีนี้ เพื่อลดมลพิษ ลดการเกิดภาวะเรือนกระจก ซึ่งส่งผลต่อเนื่องคือภาวะโลกร้อน ส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะเพิ่มขึ้นเป็น 10% ในไม่กี่ปีข้างหน้า

4.การเก็งกำไร รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ประจำปี 2551 ฉบับปรับปรุงล่าสุด เพื่อใช้ประกอบการประชุมครึ่งปี ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ร่วมกับธนาคารโลก ระหว่างวันที่ 12-13 เมษายนนี้ พบว่าปัจจัยการเก็งกำไร และปัญหาเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ การลดลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ บวกกับกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มเงินเฟ้อกระตุ้นให้เกิดการเก็งกำไรย้ายจากตลาดเงินมาเก็งกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยราคาน้ำมันดิบเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการเก็งกำไรมากที่สุด ตามด้วยปัจจัยความเสี่ยงจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อน และปัจจัยอุปสงค์-อุปทานในตลาด เช่นเดียวกับราคาธัญพืช โดยเฉพาะข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าวที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเก็งกำไร รองลงมาคือนโยบายจำกัดการส่งออก ปัญหาดอลลาร์อ่อน และกลไกอุปสงค์-อุปทานในตลาดโลก

พิษอาหารพุ่งเกิดการประท้วง
ราคาพืชอาหารที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มขาดแคลนในบางประเทศ ส่งผลให้เกิดการประท้วงอย่างกว้างขวางและส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมือง โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา กล่าวคือ ประชากรของชาติพัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินซื้ออาหารเพียง 10-20% ของรายได้ แต่สำหรับชาติกำลังพัฒนาต้องใช้จ่ายเงินถึง 60-80% ของรายได้ไปกับการซื้ออาหารเลี้ยงชีพ แม้ว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศจะเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่และได้รับอานิสงส์จากการที่สามารถส่งออกสินค้าอาหารได้ในราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งเกษตรกรและบรรดาพ่อค้าอาหารในระดับต่างๆ ก็ได้รับอานิสงส์จากการที่ราคาอาหารสูงขึ้นด้วยก็ตาม ดังนั้นผลกระทบจากการที่ราคาอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้นจะส่งผลต่อผู้บริโภคในประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งระดับความรุนแรงของผลกระทบก็มีไม่เท่ากัน

โดยแบ่งเป็นดังนี้
1.ประเทศที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตอาหาร คือประเทศที่ไม่มีกำลังซื้อ ประเทศเหล่านี้ ได้แก่ กลุ่มประเทศในแอฟริกา ซึ่งประสบปัญหาความอดอยาก และไม่มีกำลังซื้อ ประเทศเหล่านี้จะได้รับผลกระทบมากที่สุดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ แต่การที่ราคาสินค้าอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้นทำให้องค์กรระหว่างประเทศอาจต้องจำกัดการช่วยเหลือ เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ และถ้าในระยะ 2-3 ปี ต่อไปราคาสินค้าอาหารยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อประเทศเหล่านี้จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน จากรายงานสภาวะอาหารและแนวโน้มภาวะการเกษตรขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ ระบุว่าจากราคาอาหารที่แพงขึ้นทั่วโลก ประกอบกับค่าขนส่งและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น คาดว่าปีนี้บรรดาชาติยากจนที่สุดของโลกจะต้องจ่ายเงินนำเข้าธัญญาหารเพิ่มขึ้น 56% เปรียบเทียบจากปีก่อนที่ 37% ส่วนชาติยากจนในแอฟริกาจะต้องจ่ายเงินซื้อธัญญาหารเพิ่มขึ้นถึง 74% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ราคาธัญญาหารปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงสต็อกอาหารโลกที่ลดลง แม้ว่าความต้องการบริโภคจะยังทรงตัว ในขณะนี้กว่า 37ประเทศทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง

ส่วนประเทศที่มีกำลังซื้อ ประกอบด้วย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และรัสเซีย ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าอาหาร และยังต้องพึ่งพิงการนำเข้า แต่กลุ่มประเทศตะวันออกกลางก็มีรายได้มหาศาลจากการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่วนรัสเซียนั้นก็มีจากการส่งออกน้ำมันและแร่ ทำให้ประเทศเหล่านี้มีกำลังซื้อเพียงพอในการนำเข้าอาหาร แม้ว่าจะอยู่ในภาวะที่ราคาสินค้าอาหารในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น

2.ประเทศที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร แบ่งเป็นประเทศที่มีแหล่งผลิตอาหารแต่ยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าอาหาร เช่น จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐ เป็นต้น แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะผลิตอาหารได้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหาร ซึ่งได้รับผลกระทบพอสมควรกับการที่ราคาอาหารในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งบางประเทศต้องมีการปรับแผนการผลิตและมาตรการการนำเข้าสินค้าอาหาร โดยเฉพาะการเร่งขยายปริมาณการผลิตพืชอาหาร และการลดภาษีหรือยกเลิกการกำหนดโควตาการนำเข้าสินค้าอาหาร เพื่อเป็นการรับประกันว่าในอนาคตอันใกล้จะมีปริมาณอาหารเพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ โดยลดการพึ่งพิงการนำเข้า และราคาสินค้าอาหารในประเทศอยู่ในระดับราคาที่ไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปสำหรับผู้บริโภคในประเทศ

ทั้งนี้ ประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารสุทธิ เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เมื่อราคาสินค้าอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยแต่ละประเทศรับอานิสงส์ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบการบริหารจัดการทางด้านอาหารของรัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในระยะสั้นมาตรการที่ประเทศเหล่านี้นำออกมาใช้คือ ชะลอหรือระงับการส่งออกสินค้าอาหารชั่วคราว

จี้ปรับโครงสร้างการผลิต
องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ในระยะยาวทั่วโลกจะเกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารและจะเกิดวิกฤตการณ์ทางราคาอาหารอย่างรุนแรง ซึ่งคาดว่าผลกระทบนั้นรุนแรงกว่าวิกฤติอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 70 ที่มีปัญหาการก่อจลาจลทั่วโลก จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กดดันให้ประเทศยากจนหั่นงบประมาณพยุงราคาสินค้า ส่งผลให้ราคาธัญญาหารพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกก่อการจลาจล เรียกการจลาจลครั้งนั้นกันว่า “จลาจลไอเอ็มเอฟ” และเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การล่มสลายของรัฐบาลหลายชุด เช่นในซูดาน และเปรู

ส่วนวิกฤติอาหารแพงจะกินเวลายาวนานมากน้อยเพียงใดยังคาดเดาลำบาก หน่วยวิจัยเศรษฐกิจ (Economic Research Service : ERS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐ เตือนว่า ราคาธัญพืชทั่วโลกจะยังคงปรับขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1% ทุกปี ไปจนถึงปี 2559 ซึ่งทำให้ปลายปี 2559 ราคาธัญพืชก็จะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 8.3% จากระดับปลายปีนี้ หากเป็นไปตามคาดการณ์หลายพื้นที่ของโลกที่ประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงอยู่แล้ว คงจะต้องเผชิญปัญหาทั้งวิกฤติการเมือง และวิกฤติสังคมตามมา

วิกฤติอาหารโลกไทยมีโอกาส
วิกฤติอาหารโลกครั้งนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีของไทย เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารส่งออกที่สำคัญของโลก ทำให้มีปริมาณอาหารเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ และมีโอกาสสร้างรายได้จากการส่งออกสินค้าอาหาร ประเทศไทยในฐานะประเทศเกษตรกรรมที่เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญประเทศหนึ่งของโลก โดยเฉพาะข้าวน่าจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส และเตรียมวางแผนพัฒนาศักยภาพความเป็นแหล่งอาหารของโลกเพื่อรองรับแนวโน้มในอนาคตที่นับวันอาหารจะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ควรกำหนดแผนพัฒนาประเทศเน้นจุดแข็งของความเป็นประเทศเกษตรกรรมทั้งแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวอย่างเป็นระบบ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จะต้องสำรองและขยายพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับด้านเกษตรในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

ประเด็นที่ไทยต้องพิจารณา คือการแบ่งสัดส่วนระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน โดยองค์กรระหว่างประเทศเสนอให้ประเทศที่มีพื้นที่ในการปลูกพืชเกษตรให้ความสำคัญในการปลูกพืชเพื่อผลิตอาหารให้มากที่สุด แทนที่จะใช้พื้นที่เพื่อปลูกพืชพลังงานทดแทน ซึ่งไทยเองเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงานสุทธิ ทำให้การปลูกพืชพลังงานทดแทนเพื่อรองรับการใช้พลังงานในอนาคตยังคงมีความสำคัญ สุดท้ายแล้วประเด็นดังกล่าวจะอยู่ที่ว่าประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะร่วมมือที่จะช่วยเหลือกับประเทศเกษตรกรรม โดยการพยายามชะลอการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันได้มาก-น้อยเพียงใด

รัฐปล่อยราคาตามกลไกตลาด
ปัจจุบันรัฐบาลยืนยันที่จะปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามกลไกตลาดเสรี โดยจะไม่มีการควบคุมการส่งออก ซึ่งผู้บริโภคในประเทศย่อมได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าธัญญาหารสูงขึ้น แต่ก็ยอมรับได้ด้วยเหตุผลเพื่อช่วยเกษตรกร เนื่องจากการบริโภคในประเทศในปัจจุบันยังคงไม่ประสบกับปัญหาขาดแคลน ในขณะที่บรรดาเกษตรกร ซึ่งรับรู้ข้อมูลว่าราคาจะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีการจัดสรรทรัพยากรหรือการตัดสินใจว่าจะปลูกพืชชนิดใดขึ้นอยู่กับราคาเป็นหลัก รวมทั้งเกษตรกรจะตัดสินใจลงทุนในด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ อาทิ การลงทุนทางด้านเครื่องจักรกลทางการเกษตร การลงทุนเพื่อหาน้ำให้เพียงพอกับการเพาะปลูก แต่มีความคุ้มค่าในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเท่ากับเป็นโอกาสในการเพิ่มพูนรายได้ของเกษตรกรเอง ส่วนบรรดาพ่อค้าในระดับต่างๆ ก็ได้รับอานิสงส์กันถ้วนหน้า

อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปถ้าราคาสินค้าธัญญาหารลดลง รัฐบาลคงต้องกลับมาแทรกแซงตลาดเพื่อพยุงราคาเช่นในอดีต เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่จะส่งผลให้ผู้บริโภคในประเทศไม่ต้องรับภาระหนักต่อไป ขณะที่อีกด้านหนึ่งหากราคาสินค้าธัญญาหารยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว คาดว่าประเด็นที่รัฐบาลคงจะต้องตัดสินใจเพื่อกำหนดความเหมาะสมใน 2 ประเด็นหลักที่ความขัดแย้งอาจรุนแรงขึ้นตามราคาอาหารในตลาดโลก คือ ประเด็นระหว่างการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน และประเด็นในเรื่องปริมาณการส่งออกและความพอเพียงรวมทั้งราคาที่ยอมรับได้ในการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งการตัดสินใจของรัฐบาลต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

แนะรัฐบริหารอย่างรอบคอบ
ภาวะราคาสินค้าธัญญาหารที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ต้นปีนี้ และคาดว่าราคาจะยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยสำคัญที่ผลผลิตมีแนวโน้มลดลงสวนทางกับความต้องการบริโภคที่มีแนวโน้มสูงขึ้น จากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน และเพิ่มโอกาสในการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ส่งผลให้ผลผลิตสินค้าธัญญาหารลดลง ในขณะที่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป โดยมีการเพิ่มสัดส่วนของการบริโภคเนื้อสัตว์ ทำให้ต้องมีการขยายพื้นที่ปลูกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ รวมทั้งการที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกพืชพลังงานทดแทน ตลอดจนการนำเอาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำการเกษตรไปพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย โรงงานอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ ฯลฯ ทำให้พื้นที่การเกษตรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง การขยายปริมาณการผลิตสินค้าธัญญาหาร จึงต้องอาศัยการลงทุนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อมุ่งที่จะเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ แต่การลงทุนดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ประเทศไทยค่อนข้างจะโชคดีที่เป็นประเทศที่ส่งออกอาหารสุทธิที่สำคัญของโลก ดังนั้นประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบของวิกฤติอาหารค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยผู้บริโภคในประเทศแม้ว่าต้องซื้อสินค้าธัญญาหารในราคาที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลน จนนำไปสู่การจลาจลและการประท้วงอย่างรุนแรง เช่นในบางประเทศในแอฟริกา นอกจากนี้ ทั้งเกษตรกร ผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจการค้าสินค้าเกษตรยังได้รับอานิสงส์จากการที่ราคาสินค้าสูงขึ้นอีกด้วย

ในระยะยาวนั้นสิ่งที่รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าธัญญาหารจะต้องเร่งปรับระบบการผลิตและการตลาดรับมือกับภาวะที่ราคาสินค้าจะยังคงอยู่ในเกณฑ์สูงแต่มีแนวโน้มจะผันผวน โดยต้องเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ การวางแผนการจัดสรรน้ำให้เพียงพอกับความต้องการทางการเกษตร และการตัดสินใจที่ชัดเจนในการแบ่งที่ดินในการปลูกพืชธัญญาหาร พืชพลังงานทดแทน พืชอาหารสัตว์ และพืชอื่นๆ ที่มีราคาอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะยางพารา โดยจะต้องเป็นการวางแผนระยะยาวที่รัดกุมและพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างรอบด้าน

ทั้งนี้ สิ่งที่น่าติดตามต่อไป คือ หากภาวะราคาอาหารโลกยังคงพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด สิ่งที่รัฐต้องพิจารณาเพื่อกำหนดความเหมาะสมใน 2 ประเด็นที่ความขัดแย้งอาจรุนแรงขึ้น หากราคาอาหารในตลาดโลกยังคงพุ่งขึ้นไปอีก คือ ประเด็นในเรื่องการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน และประเด็นในเรื่องปริมาณการส่งออก เมื่อเทียบกับความเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งการตัดสินใจของรัฐต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เนื่องจากการตัดสินใจของรัฐบาลนั้นส่งผลกระทบให้มีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์--จบ--


ที่มา : บ้านเมือง
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 9:10 pm    ชื่อกระทู้:

ชาวนาไทย ทำไม ถึงไม่รวย

แนะ ต้องเร่งลดต้นทุนการผลิต หนุน ชาวนาปลูกพืชอื่นเสริม หลังสถานการณ์ข้าวไทยไม่สดใส ชี้ 2-3 ปีข้างหน้า อาจไม่ใช่ผู้ส่งออกรายแรกของโลก

สถานการณ์การขาดแคลนอาหารโลก มีสาเหตุหลักมาจากขณะนี้ประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ส่งผลให้อาหารที่เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีปริมาณลดลง เนื่องจากผลผลิตมีไม่เพียงต่อความต้องการในปัจจุบัน

ภาพรวมของความต้องการอาหารของโลก มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะข้าว ที่นานาประเทศต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์มากกว่าพืชเกษตรชนิดอื่นๆ กระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา ประเมินว่า ในปี 2553 ทั่วโลก จะมีการบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าวรวม 440.572 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยประเทศส่วนใหญ่มีแนวโน้มการบริโภคข้าวเพิ่มขึ้น ยกเว้นอินเดียและญี่ปุ่น ที่มีการคาดการณ์ว่า จะมีการบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าวลดลง โดยจะหันไปเลือกพืชอาหารชนิดอื่นแทน เช่น ข้าวสาลี ซึ่งมีราคาต่อหน่วย ถูกกว่าข้าวที่ผลิตได้ในปริมาณลดลง สำหรับในรอบเดือนที่ผ่านมา หลายประเทศมีรายงานการเปลี่ยนแปลงปริมาณการบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าว เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน

จากการพยากรณ์ ในเดือนมีนาคม 2553 ผลผลิตรวมของข้าวทั่วโลก อยู่ที่ 440.278 ล้านตันข้าวสาร จะมีการบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าว 440.572 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งปริมาณที่บริโภคและใช้ประโยชน์ มีปริมาณมากกว่าผลผลิตที่จะได้ ดังนั้นเมื่อสิ้นปี 2553 สต็อกข้าวสารของโลกจะมีปริมาณลดลง ประเทศที่มีสต็อกข้าวลดลงมากที่สุด คือ อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และญี่ปุ่น ส่วนที่มีสต็อกข้าวเพิ่มขึ้น คือ จีน อินโดนีเซีย ไทย และสหรัฐอเมริกา และปีที่ผ่านมาสถานการณ์การค้าข้าวของโลก ปริมาณการซื้อขายข้าวลดลง โดยประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อย่างประเทศไทยมีการส่งออกลดลง สวนทางกับประเทศเวียดนามที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น

ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก ถึงแม้ปีนี้ผลผลิตจะมีปริมาณต่ำลง จากการประมาณการณ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องจากเกษตรกรไทยประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้ผลผลิตจะได้น้อยกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่ปี 2553 ไทยจะส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องมีข้าวสำรองในสต็อกค่อนข้างมาก ในขณะที่ภาวะการแข่งขันในตลาดโลก คาดว่าจะไม่มีความรุนแรง เนื่องจากผลผลิตข้าวโลก และความต้องการบริโภคและใช้ประโยชน์จากข้าว อยู่ในภาวะเกือบสมดุล ทำให้ราคาข้าวมีแนวโน้มอ่อนตัวลง

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ราคาข้าวตกต่ำ เนื่องมาจากปัญหาเรื่องความต้องการบริโภคกับผลผลิตข้าว เช่นในปีที่ผลผลิต มีมากกว่าความต้องการบริโภค ส่งผลให้ราคาข้าวในปีนั้นลดลง ประกอบกับสินค้าเกษตรอื่น ที่เป็นสินค้าทดแทน อย่างแป้ง ข้าวสาลี และข้าวโพด มีปริมาณการผลิตมากขึ้น คนหันไปใช้สินค้าตัวอื่นที่มีราคาถูกกว่า จึงทำให้ราคาข้าวลดลง โดยเฉพาะทางแอฟริกา ที่บริโภคทั้งข้าว ข้าวโพด และแป้งสาลี ทดแทนกันได้ ส่งผลให้ราคาข้าวตกลงมา ทั้งๆ ที่ผลผลิตข้าวในปีนี้ลดลงกว่าปีที่แล้ว ซึ่งดูจากตัวเลขการส่งออกใน 2 เดือนที่ผ่านมา ไทยส่งออกข้าวเพียง 700,000 ตันข้าวสาร และใน 2-3 เดือนข้างหน้า ตลาดข้าวอาจจะเงียบลงกว่าเดิม เพราะช่วงนี้ประเทศเวียดนามมีผลผลิตที่ดี และขายในราคาที่ถูกมาก โดยอาจขายข้าวเพียงตันละ 380 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ไทยขายข้าวถึงตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้มองว่าการส่งออกข้าวในช่วงไตรมาสนี้อาจไม่สดใสเท่าไหร่นัก ส่วนในระยะยาวผลผลิตข้าวโลกจะต้องเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามกัน จึงทำให้ราคาข้าวในช่วงนี้ยังไม่ดี ทั้งที่ความต้องการบริโภค ก็ไม่ได้ลดลง

นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออก ข้าวไทย ยังกล่าวถึงสาเหตุที่ชาวนายังจนอยู่ เนื่องจากเกษตรกรไทย ส่วนมากเป็นเกษตรกรรายย่อย หากมีกำไรถึงร้อยละ 40-50 ก็ ยังจนอยู่ดี เพราะจำนวนพื้นที่เพาะปลูกมีน้อย ทำให้ได้กำไรไม่มากนัก ทั้งนี้หากจะทำให้รายได้ของชาวนาไทยเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างแบบต่างประเทศ คือให้ชาวนาทำเกษตรเป็นผืนใหญ่ เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวพร้อมกัน แต่เรื่องดังกล่าวเป็นการยาก เพราะโครงสร้างที่มีมานานแล้ว จึงทำให้ชาวนาไม่สามารถเลี้ยงชีพได้ โดยการทำนาเพียงอย่างเดียว

“กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ต้องเข้ามาช่วยส่งเสริมเกษตรกร ในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตด้วย และเรื่องผลผลิตต่อไร่ที่ต้องทำให้ได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้รัฐบาลสามารถทำได้ แต่ที่ผ่านมารัฐบาลจะสนใจเรื่องราคาของข้าวเป็นหลัก ส่วนตนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ในขณะนี้เราไม่ได้เป็นผู้ส่งออกข้าวรายเดียวของโลก แต่เราเป็นแค่ประเทศที่ส่งออกข้าวมากที่สุดเท่านั้น ซึ่งทำให้เราก็ไม่สามารถกำหนดราคาได้ เพราะแนวโน้มในการผลิตพืชพันธุ์ชนิดอื่นๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างประเทศพม่าและกัมพูชาที่ผลิตข้าวมากขึ้น ในราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า และกลับส่งให้ประเทศเวียดนามเป็นผู้ส่งออกในราคาที่ต่ำ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและราคาข้าวของไทย ทั้งนี้ประเทศไทยจึงต้องหาทางลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อที่จะให้สามารถส่งออกข้าวสู้กับราคาของต่างประเทศได้

นอกจากนี้ นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ กล่าวอีกว่า หากเกษตรกรที่ปลูกข้าวในปัจจุบันต้องการเพิ่มรายได้ ในปัจจุบัน ก็ควรปลูกพืชอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เพราะในบางปีที่ราคาข้าวไม่ดี จะส่งผลให้พืชชนิดอื่น ราคาจะดีสวนทางกัน นอกจากนี้ยังระบุว่า “ถ้าจะให้ไปสู้ราคาข้าวกับคู่แข่งรายอื่นในตอนนี้ อาจเป็นการยาก เพราะต้นทุนการผลิตในบ้านเรายังสูงอยู่ หากยังปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ต่อไป ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ไทยอาจจะไม่ใช่ประเทศผู้ส่งออกอันดับ1 อีกก็เป็นได้”

สร้างโดย: น.ส.สุภาภรณ์ แร่เจริญ

แหล่งที่มา:
http://www.thairath.co.th/content/edu/76010
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:35 pm    ชื่อกระทู้:

เกษตรฯเดินหน้าเสนอรัฐปลูกพืช จีเอ็มโอ
มั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม



ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาการทดลองปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ในระดับไร่นา ว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้หารือร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งยืนยันที่จะเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐบาลชุดนี้ ได้พิจารณาและวิเคราะห์เปรียบเทียบผลดี-ผลเสียต่างๆ ส่วนการพิจารณาจะเป็นอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะจากการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลทางวิชาการต่างๆ อย่างรอบคอบ กระทรวงเกษตรฯ มั่นใจว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็นทางเลือกในการปรับปรุงพันธุ์พืชวิธีหนึ่งซึ่งจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกร โดยเฉพาะในส่วนของมะละกอ เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน

เนื่องจากหากได้รับการอนุญาตให้ทำการทดลองปลูกในระดับไร่นาได้จริง กรมวิชาการเกษตรจะกำหนดให้มะละกอทุกต้นที่ปลูกต้องเป็นมะละกอเพศเมีย ซึ่งโดยธรรมชาติจะไม่มีเกสร และยังสามารถเติบโตได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการผสมพันธุ์ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการปลิวของละอองเกสร หรือลักลอบเก็บเมล็ดมะละกอไปปลูกนอกแปลงทดลองอย่างที่หลายฝ่ายกังวล

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผลการทดลองปลูกมะละกอจีเอ็มโอในโรงเรือนปิดอาจสามารถต้านทานโรคจุดวงแหวนได้ แต่เมื่อไม่อนุญาตให้ทำการทดลองระดับไร่นาให้ครบกระบวนการวิจัย จะไม่มีข้อมูลทางวิชาการยืนยันได้ว่าเมื่อนำมาปลูกในระดับไร่น่า ซึ่งมีสภาพใกล้เคียงกับแปลงปลูกของเกษตรกร มะละกอดังกล่าวจะยังคงสามารถต้านทานโรคจุดวงแหวนหรือไม่โดยหลักวิชาการจำเป็นที่จะต้องทำการปลูกในแปลงทดลองที่มีการควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามข้อมูลทางวิชาการ ดังนั้นทั้ง 3 กระทรวงจึงเห็นควรที่จะนำเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาต่อไป

“กระทรวงเกษตรฯ ยืนยันว่า การเสนอเรื่องพืชจีเอ็มโอ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของโรคจุดวงแหวนมาหลายปี นอกจากนี้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ตามธรรมชาติก็ทำให้เกิดพืชที่มีลักษณะเดียวกับพืชจีเอ็มโอ ได้แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่นานกว่าเท่านั้น จึงไม่ควรกังวลในเรื่องของการปนเปื้อนหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญกระทรวงเกษตรฯย้ำอีกครั้งว่า การอนุญาตให้ทำการปลูกพืชจีเอ็มโอในระดับไร่นาจะทำเฉพาะในพืชที่มีปัญหารุนแรง และไม่สามารถนำวิธีการปรับปรุงด้วยวิธีธรรมชาติมาแก้ไขได้ ที่สำคัญจะไม่ดำเนินการในพืชเศรษฐกิจหรือพืชที่ใช้บริโภคอย่างแน่นอน” ศ.ดร. ธีระกล่าว

ที่มา: สยามรัฐ
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:33 pm    ชื่อกระทู้:

เกษตรกรเมืองชากังราวผลิตฝรั่งแป้นสีทองส่งโรงงานแช่บ๊วย

Contributed by อรนุช เดชพิชัย

คุณสมบัติที่ดีของฝรั่งพันธุ์แป้นสีทองนอกจากจะเป็นฝรั่งที่ให้ผลผลิตดกมากและใช้เพื่อการบริโภคสดแล้ว ยังเหมาะที่จะนำไปแปรรูปเป็น “ฝรั่งแช่บ๊วย”
ด้วยเป็นฝรั่งที่มีเนื้อมาก เมล็ดน้อยเมื่อนำมาแช่บ๊วยแล้วจะเข้าเนื้อได้ดีกว่าฝรั่งสายพันธุ์อื่น ๆ หลังจากแช่บ๊วยแล้วเนื้อฝรั่งยังคงสภาพความกรอบไม่เละ รสชาติอร่อย อย่างกรณีของ คุณน้ำหวาน แก่นแก้ว บ้านเลขที่ 54 หมู่ 19 ต.เทพนคร อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ปลูกฝรั่งแป้นสีทองมานาน 8 ปีจากที่เคยขายให้พ่อค้าเพื่อนำไปขายเพื่อการบริโภคสดจะได้ราคาดีช่วงที่ตลาดขาดแคลนฝรั่งเท่านั้น ช่วงที่ฝรั่งออกสู่ตลาดมาก ๆ มักจะถูกกดราคา แต่การส่งขายยังโรงงานแช่บ๊วยจะได้ราคาคงที่ตลอด ราคาขายถูก-แพงขึ้นกับขนาดของผลฝรั่งเท่านั้น ปัจจุบันคุณน้ำหวานเป็นหัวหน้ากลุ่มฯมีสมาชิกปลูกฝรั่งแป้นสีทองในเนื้อที่รวมกันประมาณ 100 ไร่เศษ

สำหรับพื้นที่ปลูกฝรั่งแป้นสีทองของ คุณน้ำหวานจะปลูกในพื้นที่ 7 ไร่ ใช้ระยะปลูก 6x5 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ประมาณ 50-60 ต้น หลังจากปลูกไปได้เพียง 8 เดือน ฝรั่งก็จะเริ่มให้ผลผลิตรุ่นแรก คุณน้ำหวานบอกว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการปลูกฝรั่งให้ประสบความสำเร็จคือจะต้องมีแหล่งน้ำสำรองพอเพียงตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ในเรื่องของการดูแลรักษาคุณน้ำหวานและสมาชิกในกลุ่มจะเน้นการผลิตฝรั่งแบบชีวภาพ ใช้สารเคมีบ้างแต่ใช้ในปริมาณที่น้อยถึงแม้จะพบร่องรอยการทำลายของแมลงบ้างทางโรงงานจะรับซื้อทั้งหมด โดยโรงงานแช่บ๊วยจะรับซื้อฝรั่งแป้นสีทองโดยแบ่งออกเป็น 2 เกรด คือ ผลขนาดใหญ่ มีน้ำหนักเฉลี่ย 2 ผลต่อกิโลกรัมจะ รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 6 บาท ผลขนาดเล็กน้ำหนักผลเฉลี่ย 3 ผลต่อกิโลกรัม ราคา 4 บาทต่อกิโลกรัม ส่วน ผลที่มีตำหนิจากโรคและแมลงแต่แผลไม่ลึกจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 4 บาทเช่นกันไม่ว่าจะเป็นผลใหญ่หรือผลเล็ก หลังจากที่นำไปแช่บ๊วยแล้วเมื่อนำไปขายถึงผู้บริโภคราคาผลใหญ่จะสูงถึงผลละ 25 บาท

ในการปลูกฝรั่งแป้นสีทองในพื้นที่ 7 ไร่ของคุณน้ำหวานจะใช้แรงงานเพียง 2 คนเท่านั้นโดยเฉพาะในช่วงห่อผลจะให้ค่าจ้างในการห่อเป็น 2 แบบ คือ แบบแรกค่าแรงห่อแบบแพ็ก ๆ ละ 40 บาท (1 แพ็กมีถุงห่อ 400-450 ใบ) วันหนึ่งถ้าคนห่อผลมีความชำนาญจะห่อได้ถึง 4-5 แพ็ก จะได้ค่าจ้าง 160-200 บาทต่อวัน แบบที่สองคิดเป็นการห่อรายวันเป็นเงิน 150 บาท ซึ่งจะห่อผลได้ประมาณ 4 แพ็ก

ทุกวันนี้ที่บ้านของคุณน้ำหวานจะเป็นที่รวบรวมผลผลิตฝรั่งแป้นสีทอง และจะต้องทำการคัดเกรดก่อนที่จะส่งเข้าโรงงานและจะต้องส่งให้เสร็จภายใน 2 วัน หลังจากที่เก็บเกี่ยวฝรั่งมา การปลูกฝรั่งแป้นสีทองส่งเข้าโรงงานแช่บ๊วยมีข้อดีที่เกษตรกรขายได้ราคาคงที่ตลอดทั้งปี.

ที่มา: เดลินิวส์ 02/10/2550
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:32 pm    ชื่อกระทู้:

เปลี่ยนมลพิษจากการเผา ฟางข้าว เป็น พลังงานทดแทน

Contributed by อรวรรณ มัชฌิมาจิต

ภายหลังจากเกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว สิ่งที่เหลือทิ้งและไม่มีใครต้องการ คือ ฟางข้าว แม้ว่าการจัดการกับฟางข้าวเหลือทิ้งจะมีหลายวิธี เช่น นำไปเลี้ยงสัตว์ ใช้คลุมหน้าดินเพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น หรือ ใช้ในการเพาะเห็ด หากแต่เกษตรกรในพื้นที่นาปรังส่วนใหญ่มักใช้วิธีการ เผาฟางข้าว เนื่องจากเป็นวิธีเตรียมพื้นที่สำหรับการทำนาครั้งต่อไปที่เร็วที่สุด

อย่างไรก็ดี แม้เกษตรกรจะทราบว่าการเผาฟางข้าวก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และภาวะโลกร้อน แต่เกษตรกรเองก็ไม่มีศักยภาพที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อกำจัดฟางข้าว ดังนั้นหากสามารถเพิ่มมูลค่าจากการใช้ประโยชน์ของฟางข้าวได้ จึงน่าจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหยุดเผาฟางข้าว และเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ น.ส. ไตรทิพย์ สุรเมธางกูร นักศึกษาปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง นโยบายเกี่ยวกับการนำฟางข้าวมาผลิตพลังงานในประเทศไทย เพื่อจัดการการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวให้เหมาะสม ลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาฟางข้าว และส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลให้มากขึ้น

น.ส.ไตรทิพย์ กล่าวว่า การปลูกข้าวแต่ละพื้นที่ล้วนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการปลูกข้าว พันธุ์ข้าว สัดส่วนของปริมาณฟางข้าว การใช้ประโยชน์ และการเผากำจัด บางพื้นที่ไม่มีการนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์แต่จะเผาทิ้งทั้งหมด ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษพบว่า พื้นที่ที่มีการเผาฟางข้าวและปล่อยมลพิษทางอากาศมากที่สุดมีจำนวน 12 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคกลาง เช่น ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง เป็นต้น อีกทั้ง ภาคกลางยังมีปริมาณฟางข้าวมากกว่าภาคอื่น ๆ เนื่องจากนิยมการทำนาปรัง คือ ทำนาปีละ 2-3 ครั้ง ทำให้มีฟางข้าวอยู่เป็นจำนวนมากและน่าจะเพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ด้านการผลิตพลังงาน จึงเลือกภาคกลางเป็นพื้นที่แรกในการศึกษาการวางนโยบายการนำฟางข้าวมาใช้ผลิตพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานทดแทนพลังงานฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน

“การวางนโยบายด้านการพัฒนาพลังงาน จะต้องพิจารณาความเป็นไปได้ในด้านต่าง ๆ จากความต้องการของหลายภาคส่วน เช่น เกษตรกร ต้องการแรงจูงใจสำหรับการเก็บฟางข้าวมาใช้แทนการเผาทิ้ง อาทิ รายได้จากการขายฟางข้าวที่น่าสนใจ หรือประโยชน์จากการนำฟางข้าวไปใช้เอง ด้าน ภาคธุรกิจ ต้องการแรงจูงใจด้านเศรษฐศาสตร์ การลงทุน ความคุ้มค่า ผลตอบแทน และระยะเวลาคืนทุน ส่วน ภาครัฐ มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ส่วนรวม เช่น ต้องการให้มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ รักษาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ หลังจากเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการศึกษาเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้กับพื้นที่ ซึ่งพบว่ามีหลายเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ เช่น เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากไอน้ำ โดยใช้ฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนในการต้มน้ำจนกลายเป็นไอ เทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากฟางข้าว ซึ่งเริ่มใช้แล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เทคโนโลยีการผลิตไบโอออย หรือน้ำมันชีวภาพ เทคโนโลยีการผลิตเมทานอลจากฟางข้าว และ เปลี่ยนฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง”

การพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้จะไม่พิจารณาเพียงเทคโนโลยีเดียว แต่จะเลือกเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกันและสามารถนำทุกส่วนของฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด เช่น หากเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตเอทานอล วัตถุดิบการผลิตจะเป็นส่วนของเส้นใยด้านใน ส่วนผนังภายนอกเส้นใยที่มีลักษณะแข็ง จะถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงในเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า สำหรับขายเข้าสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือเป็นไฟฟ้าใช้ภายในโรงงานผลิตเอทานอล

“แม้ว่าฟางข้าวจะเป็นชีวมวลที่มีพลังงานไม่มากนัก และมีความยุ่งยากในการเก็บรวบรวมเมื่อเปรียบเทียบกับชีวมวลชนิดอื่น ๆ แต่ในอนาคตอันใกล้ที่ชีวมวลอื่น ๆ ได้ถูกจับจองไปหมดแล้ว ฟางข้าวจึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งหากงานวิจัยนี้เสร็จสมบูรณ์ จะเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือกและนโยบายการพัฒนาพลังงานจากฟางข้าว อีกทั้งยังเป็นข้อมูลที่ช่วยวางแผนกลยุทธ์ด้านพลังงานของกระทรวงพลังงานด้านพลังงานทดแทนได้ และหากมีการนำนโยบายการจัดการฟางข้าวไปใช้จริงในอนาคต คาดว่าจะช่วยลดมลพิษ เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และช่วยเพิ่มแหล่งพลังงานให้กับประเทศ ซึ่งนับเป็นการแก้ปัญหาฟางข้าวเหลือทิ้งได้อย่างยั่งยืนในที่สุด” น.ส.ไตรทิพย์ กล่าว.

ที่มา : เดลินิวส์ วันที่ 1 / 10 / 50
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:30 pm    ชื่อกระทู้:

แปลงผักลอยน้ำจากผักตบชวา แม่แบบใช้วัชพืชให้เป็นคุณ

Contributed by ดวงพร หมีวรรณ์

วันก่อนมีโอกาสเดินทางไปกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อเยี่ยมชมความคืบหน้าในงานของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าหลายโครงการมีความคืบหน้าและยังผลซึ่งการสามารถใช้พื้นที่เพื่อการทำกินของประชาชนได้อีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันก็มีหลายโครงการที่สามารถนำมาเป็นแม่แบบในการพัฒนาให้กับพื้นที่ในภาคอื่น ๆ ของประเทศได้อีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระ ราชทานพระราชดำริ ให้หาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่มากถึง 1.9 ล้านไร่ ทางกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้การประสานงานของสำนักงาน กปร. ได้สนองพระราชดำริโดยก่อสร้างประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิขึ้น เมื่อปี 2539 ที่บ้านบางปี้ ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีช่องระบายน้ำรวม 10 ช่อง ขนาดกว้างช่องละ 20 เมตร สูง 9 เมตร ติดตั้งบานประตูบานเดี่ยว 6 บาน บานคู่ 4 บาน เพื่อปิด- เปิด บังคับน้ำ สามารถระบายน้ำได้ 1,430 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที เริ่มใช้งาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากมีการใช้งาน มาระยะหนึ่งก็พบว่าปริมาณผักตบชวาในลำคลองชลประทานมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนส่งผลกระทบในการกักเก็บน้ำเกิดอุปสรรค ในการทำประมง และการสัญจรทางน้ำ การชลประทาน จนเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในลำคลอง ซึ่งจากข้อมูลของกรมชลประทานปี 2550 พบว่า ในลำคลองสาขาที่มีการสำรวจ 19 สาย มีผักตบชวาจำนวน 76,540 ตัน

เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทางโครงการฯ จึงได้จัดตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้การจัดผักตบชวาขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประสานงาน แหล่งการเรียนรู้ ฝึกอบรมชุมชน และการศึกษาวิจัย ในการจัดการเพิ่มมูลค่าให้กับผักตบชวา โดยการผสมผสานเทคนิควิธีการจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และภูมิปัญญาของชุมชนมาประยุกต์ใช้ในการจัดการ เช่น การใช้ผักตบชวาสำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์ การทำแปลงผักลอยน้ำ การทำแปลงทดสอบคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ผักตบชวา การทำหัตถกรรม การศึกษาวิจัยการคัดสายพันธุ์จุลินทรีย์สำหรับย่อยสลายผักตบชวา และเป็นศูนย์รับซื้อและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาของชุมชนจากพื้นที่ต่าง ๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง โดย มีจำนวน 10 กลุ่ม กระจายตามลำคลองในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังมีการดำเนินงานร่วมกับ อบต. ในการเอาผักตบชวาขึ้นเองจากลำคลองชลประทาน

นายสมศักดิ์ บรมธนรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรชายฝั่ง เปิดเผยว่าปุ๋ยจากผักตบชวาในตอนนี้ราคาดีขายได้กระสอบละ 50 บาท และแตกต่างจากปุ๋ยอินทรีย์ทั่ว ๆ ไป คือมีไนโตรเจนสูงกว่าปุ๋ยปกติ เนื่องจากผักตบชวามีธาตุอาหารในตัวเองอยู่แล้ว

และการนำผักตบชวามาทำปุ๋ยอินทรีย์ และปรับปรุงพื้นที่ในน้ำด้วยการใช้ ผักตบชวามาทำเป็นแปลงปลูกผักลอยน้ำ สามารถปลูกผักนานาชนิดได้เป็นอย่างดี ให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ ลดค่าใช้จ่ายทั้งปุ๋ยเคมีและน้ำ เนื่องจากรากของต้นพืชจะชอนไชลงไปหาน้ำได้สะดวก ขณะที่สามารถใช้ผักตบชวาที่ปรับปรุงเป็นแปลงกลางน้ำสำหรับการยึดเกาะ และเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโตแทนดินซึ่งคุณปิยะ วันเพ็ญ หัวหน้าศูนย์บริการ การมีส่วนร่วมชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำปากพนัง สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บอกว่าการทำแปลงผักลอยน้ำนั้นไม่ต้องลงทุนมากนัก ไม่เปลืองแรงงาน ไม่ต้องรดน้ำ ไม่ต้องใส่ปุ๋ย เนื่องจากมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลงศัตรูพืช

สำหรับขั้นตอนในการทำแปลงนั้นเริ่มต้นด้วยการนำไม้ไผ่มากั้นเป็นบล็อกแล้วรวบรวมผักตบชวามาอัดแน่นเข้าด้วยกันขนาดกว่าประมาณ 2 เมตร ยาว 8 เมตร หนาประมาณ 20-30 เซนติเมตร ใช้เท้าเหยียบให้แน่น แล้วนำผักตบชวามาอัดเพิ่มแล้วเหยียบอีก ทำอย่างนี้ทุก ๆ ระยะ 20 เซนติเมตรจนได้ความหนาที่ 1 เมตร จากนั้นใช้มีดสับผักตบชวาที่อยู่ตอนบนให้ละเอียดเพื่อสะดวกต่อการปลูกผัก ในการทำแปลง 1 แปลงจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงใช้ผักตบชวาประมาณ 2,000 กิโลกรัม

ผักที่เหมาะสมต่อการปลูกกับแปลงผักตบชวาลอยน้ำจะมีหลายชนิดด้วยกัน อาทิ แตงกวา ผักกาด ผักคะน้า และผักบุ้งจีน ปลูกประมาณ 25-40 วันก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ แปลงหนึ่ง ๆ จะสามารถขายได้ประมาณ 800 ถึง 1,000 บาทที่ราคาจำหน่ายกิโลกรัมละ20บาท สำหรับแตงกวาใช้เวลาปลูกประมาณ30วัน ให้ผลผลิตประมาณ 50 กิโลกรัมต่อแปลง ขายได้ประมาณ 1,000 บาท ต่อแปลงที่ราคาขายกิโลกรัมละ20บาท ใน 1 แปลงจะสามารถปลูกหมุนเวียนได้ประมาณ 3-4รุ่น และเมื่อหมดสภาพแล้วก็นำขึ้นฝั่งมาทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้สำหรับใส่ในแปลงที่สร้างขึ้นมาใหม่ต่อไป

จากผลสำเร็จในการศึกษาเรื่องนี้ยังผลให้ประชาชนในพื้นที่ที่เคยมีปัญหาเรื่องผักตบชวาในคลองชลประทาน ก็หมดความกังวล ตรงกันข้ามต่างก็ได้ใช้ผักตบชวามาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และจัดทำแปลงเพื่อเพาะปลูกพืชผักยังผลมาซึ่งรายได้อย่างทั่วถ้วนทีเดียว

เกษตรกรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจในเรื่องนี้ต้องการนำผลการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ไปใช้ในพื้นที่ของตนที่ประสบกับปัญหาเรื่องผักตบชวา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่ สำนักงาน กปร. ทำเนียบรัฐบาล.


ที่มา : www.dailynews.co.th
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:29 pm    ชื่อกระทู้:

เส้นทางส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปตลาดสหรัฐ
อีกหนึ่งความหวังของเกษตรกรชาวผลไม้ไทย


Contributed by ดวงพร หมีวรรณ์

ในที่สุดการส่งออกผลไม้สดฉายรังสีของไทยไปยังสหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จเมื่อกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ได้รับรองโรงงานฉายรังสีผลไม้ของไทยเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2550 ที่ผ่านมาและไทยก็ได้ส่งออกผลไม้ฉายรังสีลอตแรกไปยังสหรัฐ เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550

สรพล เถระพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่ากระทรวงเกษตรฯ เล็งเห็นว่าตลาดสหรัฐเป็น ตลาดที่มีอนาคตสดใส เนื่องจากปัจจุบันร้านอาหารไทยในสหรัฐมีจำนวนกว่า 5,000 ร้าน เฉพาะในแอลเอมีถึง 300ร้าน ยังไม่รวมร้านค้าปลีกไทยและร้านของคนเอเชียอีกจำนวนมาก จึงได้จัดทำโครงการนำร่องส่งออกผลไม้ 6ชนิดได้แก่ มังคุด มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ และ สับปะรด ด้วยวิธีฉายรังสีไปยังสหรัฐ เพื่อให้คงรสชาติที่หอมหวาน คงคุณค่าและคุณภาพให้นานขึ้นตามความต้องการของตลาด

สำหรับขั้นตอนในการส่งออกผลไม้ไปยังสหรัฐมี 7 ขั้นตอนด้วยกันคือ

1. ผู้ส่งออกจะต้องมีโรงงานคัดบรรจุ ผลไม้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP จากกรมวิชาการเกษตร โดยจะต้องเป็นโรงงานของผู้ส่งออกหรือเป็นโรงงานที่ผู้ส่งออกจ้างคัดบรรจุก็ได้ แต่จะต้องปรับปรุงโรงงานเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขป้องกันแมลง คือเป็นโรงงานระบบปิด ประตูจะต้องเป็นประตูสองชั้น และมีตาข่ายกันแมลงทุกช่องทางที่เปิดให้อากาศถ่ายเท

2. ผู้ส่งออกจะต้องมีสวนผลไม้ที่ได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร โดยมีการทำความตกลงหรือจะเป็นสัญญาก็ตามเพื่อให้มีผลไม้ที่มีคุณภาพเพื่อการฉายรังสีส่งออก

3. หลังจากนั้นผู้ส่งออกจะต้องนำเอก สารสำเนา GMP ของโรงงานคัดบรรจุ และสำเนา GAP ของสวนไปจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผลไม้ไปสหรัฐอเมริกาที่ศูนย์บริการทางวิชาการเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร เพื่อรับการตรวจสอบก่อนส่งข้อมูลให้ฝ่ายสหรัฐอเมริกา เป็นหลักฐานโดยจะต้องส่งให้สหรัฐอเมริกาล่วงหน้า 30 วันก่อนการเปิดฤดูการส่งออก ซึ่งผู้ส่งออกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจึงจะมีสิทธิส่งออกต่อไป โดยผลผลิตต้องมาจากสวนที่ขึ้นทะเบียนไว้เท่านั้น

4. เมื่อขั้นตอนการจดทะเบียนเรียบร้อย ต่อไปก็เป็นการคัดเลือกผลไม้ให้ได้ขนาดและมาตรฐานที่กำหนดในการฉายรังสี ทำความสะอาดเพื่อกำจัดแมลงแล้วบรรจุในกล่องที่มีอากาศถ่ายเทได้ แต่จะต้องมีตาข่ายกันแมลงกั้นในช่องระบายอากาศด้วย ซึ่งบนกล่องจะต้องแสดงรหัสโรงงานคัดบรรจุ และรหัสสวน คือรหัส GMP และ GAP นั่นเอง เมื่อบรรจุเรียบร้อยก็พร้อมที่จะขนส่งเข้าฉายรังสีต่อไป

5. ก่อนที่จะเข้าฉายรังสี โรงงานคัดบรรจุจะต้องติดต่อศูนย์ฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตร เพื่อทำสัญญาการฉายรังสีตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้โรงงานฉายรังสีสามารถจัดลำดับการฉายรังสีและกำหนดปริมาณผลผลิตที่จะเข้าฉายรังสีให้แก่ผู้ประกอบการทุกรายที่ยื่นคำขอเสียก่อน แต่เนื่องจากผลไม้ฉายรังสีเป็นสินค้าที่ต้องมีฉลากตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ดังนั้น ก่อนที่จะนำผลไม้เข้าฉายรังสีได้ โรงงานคัดบรรจุในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือหากเป็นโรงงานคัดบรรจุในต่างจังหวัดก็จะต้องติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการอาหารฉายรังสี ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ และนำเลขสารบบอาหารที่ได้จากการขึ้นทะเบียนซึ่งก็คือรหัสอีกตัวหนึ่งแสดงบนฉลากบนกล่องผลไม้นั้นด้วย

6. เมื่อทุกอย่างพร้อม ก็นำผลไม้เข้าฉายรังสีตามวันเวลาที่ได้ทำสัญญากับโรงงานฉายรังสี ซึ่งขั้นตอนในโรงงานฉายรังสีนี้ จะมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา และเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรสุ่มตรวจสอบผลไม้และควบคุมกระบวนการฉายรังสีให้ถูกต้องตามวิธีการฉายรังสีผลไม้เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช ก่อนที่ศูนย์ฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตรจะออกใบรับรองการฉายรังสีให้ ประกอบการส่งออกต่อไป

7. เมื่อฉายรังสีเสร็จเรียบร้อย ผู้ส่งออกก็จะต้องขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืชจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อประกอบใบกำกับสินค้าซึ่งสามารถออกให้ได้โดยเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรที่เป็นผู้ตรวจสอบ ณ โรงงานฉายรังสี หรือจะไปขอรับการตรวจสอบที่ด่านทั้งที่ท่าอากาศยานหรือท่าเรือก็ได้ เมื่อเอกสารทุกอย่างเรียบร้อย ผลไม้ก็จะถูกขนส่งไปถึงผู้นำเข้าที่สหรัฐอเมริกาได้โดยสะดวก

ส่วนผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการผลไม้ฉายรังสีเพื่อการส่งออก สามารถติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) โทร. 0-2629-8970, 0-2629-8977ศูนย์บริการทางวิชาการเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0151 ต่อ 305, 0-2579-6134 ศูนย์ฉายรังสีอาหารและผลิตผลการเกษตร โทร. 0-2577-1944-5 ทั้งนี้สำหรับผู้นำเข้าในสหรัฐอเมริกา และผู้ที่พักอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โทร. (202) 338-1543, (202) 338-1545.

ที่มา : www.dalinews.co.th
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:27 pm    ชื่อกระทู้:

นักวิจัยแม่โจ้ยืนยันผลวิจัย ‘ฉี่คน’ ใช้แทนปุ๋ยเคมีหรือรดแทนน้ำได้ผลผลิตดี

Contributed by ดวงพร หมีวรรณ์

จากการศึกษาของคณะวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย รศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผู้เชี่ยวชาญการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ซึ่งได้ดำเนินการวิจัยร่วมกับโครงการหลวงมาอย่างต่อเนื่อง และคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโครงการ “การ ใช้สิ่งขับถ่ายของมนุษย์ในด้านการเกษตรอย่างปลอดภัย” ได้เปิดเผยผลงานวิจัยล่าสุดที่ให้ข้อมูลยืนยันอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับ “ฉี่คน” ดังนี้

รศ.ดร.อานัฐ ตันโช กล่าวว่า ปัสสาวะมนุษย์ หรือ “ฉี่คน” ได้มีการนำมาใช้ปลูกพืชมานานแล้ว ทั้งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และกลุ่มประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนา ซึ่งในบางประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นพบว่ามีการใช้กันถึงระดับเป็นอุตสาหกรรมเลยทีเดียว แต่อาจไม่มีการกล่าวอ้างกันอย่างเป็นทางการเนื่องจากทัศนคติของผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะใช้กับการปลูกข้าวโพดไร่ และพืชผักที่รับประทานใบ ซึ่งพบว่าการใช้ฉี่คนมาปลูกพืชนั้นสามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดีและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนไม่มีเชื้อก่อโรคเหมือนกับในกรณีของอุจจาระมนุษย์

นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณธาตุอาหารในฉี่คนนั้นเพียงพอในการปลูกพืชโดยแทบที่จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีเลย ในฉี่คนนั้นประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืช เช่น ไนโตรเจน โพแทสเซียมและฟอสฟอรัส รวมทั้งธาตุอาหารรองและจุลธาตุอื่น ๆ อย่างครบถ้วน ตามที่เพิ่งมีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่าฝรั่งเองก็พบว่า “ฉี่คน” มีประโยชน์จริงคือ ทำให้พืชผักโต แมลงศัตรูรบกวนน้อย

นายดนตรี รุ่งเรือง ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาอัตราความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการใช้น้ำปัสสาวะในการปลูกข้าวโพดหวาน โดยกำหนดอัตราส่วนความเข้มข้นเป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อผสมกับน้ำโดยกำหนดดังนี้ 0, 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45 และ 50 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ (ดังในภาพ)

สาเหตุที่ไม่ใช้อัตราความเข้มข้นเกิน 50 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นเพราะว่าถ้าใช้เกินอัตรานี้แล้วจะพบอาการความเป็นพิษต่อต้นกล้า มีผลทำให้เกิดการชะงักการเจริญเติบโตหรืออาจตายได้

ผลวิจัยปรากฏว่า “ฉี่คน” สามารถทำให้ต้นข้าวโพดเจริญเติบโตมากกว่าส่วนที่ไม่ใช้ฉี่คน และพบว่าต้นข้าวโพดนั้นมีการเจริญเติบโตตอบสนองเป็นขั้นบันได โดยในแต่ละแปลงทดลองนั้นมีการเจริญเติบโตตามระดับความเข้มข้นที่ได้รับ ซึ่งจากรูปจะเห็นว่ามีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และพบว่าการใช้ “ฉี่คน” ในอัตราความ เข้มข้นที่ 40 เปอร์เซ็นต์นั้นจะส่งผลให้ต้นข้าวโพดมีการเจริญเติบโตดีที่สุด โดยพบว่า มีความสูงของต้น ความกว้างของทรงพุ่ม จำนวนใบ และขนาดของฝักมากที่สุด

ที่สำคัญยังพบว่า ระหว่างการทดลองนั้นไม่พบแมลงเข้ารบกวนเลย และหลังจากการทดลองได้มีการนำ “ตัวอย่างดิน” และ “ต้นข้าวโพด” ไปทำการตรวจเชื้อก่อโรค ผลปรากฏไม่พบเชื้อก่อโรคแต่อย่างใด

จากผลการทดลองดังกล่าว ทำให้คณะวิจัยสามารถสรุปในขั้นต้นได้ว่า การใช้ “ฉี่คน” ในการปลูกพืชนั้นสามารถนำมาใช้ได้ แต่ควรมีการปรับระดับความเข้มข้นให้เหมาะสมก่อนการนำมาใช้ดีกว่าการนำมาใช้โดยตรง ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิด และช่วงอายุของพืชอีกด้วย

โดยในปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีการนำ “ฉี่คน” มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากขาดข้อมูลการวิจัยทดสอบอย่างเป็นทางการ และที่ผ่านมาก็ถือว่ายังไม่มีเหตุผลที่จำเป็นในการใช้ “ฉี่คน” ในการปลูกพืช แต่ในปัจจุบันวิกฤติการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลดังที่ทราบกัน ทำให้คณะวิจัยได้ทำการทดลองเพื่อให้เกิดผลการยืนยันที่ชัดเจนขึ้นในครั้งนี้

นายดนตรีกล่าวว่า “หากในอนาคตประเทศเราต้องประสบกับภาวะการขาดแคลนน้ำทางด้านการเกษตรอย่างรุนแรง และปุ๋ยเคมีมีราคาที่สูงมากจนไม่สามารถซื้อได้ “ฉี่คน” อาจจะเป็นทางออกทางหนึ่งของการเกษตรไทยในอนาคตก็เป็นได้”

หากเกษตรกรหรือหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชนที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับผลการทดลองดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายดนตรี รุ่งเรือง คณะวิจัยโครงการ “การใช้สิ่งขับถ่ายของมนุษย์ในด้านการเกษตรอย่างปลอดภัย” ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 08-5059-5004.

ที่มา : www.dalinews.co.th
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:26 pm    ชื่อกระทู้:

ปลูกข่าหยวกดูแลรักษาน้อย ผลผลิต 6,000 กิโลกรัมต่อไร่

Contributed by ดวงพร หมีวรรณ์

อาชีพ การปลูกข่า มีกระจายอยู่ทั่วประเทศโดยพื้นที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา, อ่างทอง, เพชรบูรณ์, ราชบุรี, อุบลราชธานีและนครสวรรค์ เป็นต้น คุณอำพัน เทพรักษ์ อยู่บ้านเลขที่ 39/1 หมู่ 3 ต.บ้านแก่ง อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีอาชีพทำนามานานและเคยเป็นหนึ่ง ในชาวนาที่เคยเป็นหนี้จากการทำนานับแสนบาท โดยพื้นที่เกษตรกรรมมีโอกาสเสี่ยงต่อน้ำท่วมทุกปี จึงได้คิดหาอาชีพเสริมด้วยการเริ่มต้นปลูกข่าในพื้นที่ 1 งาน ผลปรากฏว่ารายได้จากการปลูกข่าเพียง 1 งาน ทำรายได้ดีกว่าการทำนาและมีการดูแลรักษาน้อยกว่า จากอาชีพเสริมมาสู่อาชีพหลัก ปัจจุบันคุณอำพันได้ขยายพื้นที่ปลูกข่าในพื้นที่ 5 ไร่ และในพื้นที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 4,000-6,000 กิโลกรัม

คุณอำพัน บอกถึงเหตุผลที่ปลูกข่าหยวกทั้งหมด เพราะเป็นข่าที่มีลักษณะของเหง้าใหญ่, สีแดงออกชมพู, มีกลิ่นฉุน ตลาดต้องการข่าชนิดนี้มากที่สุด สภาพดินที่เหมาะต่อการปลูกข่ามากที่สุดควรเป็นดินร่วนปนทรายและจะต้องไม่มีน้ำท่วมขัง การเตรียมดินมีการไถดะ, ไถแปรและพรวนชักร่องเหมือนกับการปลูกอ้อย ระยะปลูกที่นิยมคือ 80x80 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 2,500 หลุม ต้นพันธุ์ที่จะใช้ปลูกจะใช้เหง้าอ่อนหรือเหง้าแก่ก็ได้ โดยมีข้อเด่นและข้อด้อยต่างกันคือ เมื่อใช้เหง้าอ่อนจะเจริญเติบโตเร็วในช่วงแรกแต่จะต้องซื้อพันธุ์ด้วยต้นทุนสูง ในกรณีที่ใช้เหง้าแก่จะเจริญ เติบโตช้ากว่าหน่ออ่อน แต่ลงทุนค่าพันธุ์ถูกกว่าหน่ออ่อนเท่าตัว (ถ้าใช้หน่ออ่อนทำพันธุ์จะนิยมเหมาซื้อ โดยพื้นที่ปลูก 1 งาน ใช้ค่าหน่อพันธุ์เป็นเงิน 6,000 บาท) คุณอำพันยังได้บอกว่าข่าที่ปลูกไปแล้วจะเริ่มขุดขายเมื่อมีอายุตั้งแต่ 8 เดือน และจะทยอยขุดขายไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุ 2 ปี ช่วงที่เหมาะต่อการขุดข่าขายและมีน้ำหนักดีได้กำไรมากที่สุดควรขุดในช่วงอายุ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง ใน 1 กอ จะได้ข่าที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 8-10 กิโลกรัม และมีสัดส่วนของข่าอ่อนประมาณ 70% และข่าแก่ประมาณ 30% ถ้าเกษตรกรขุดข่าเมื่ออายุตั้งแต่ปีครึ่งขึ้นไปจะมีสัดส่วนของข่าแก่มากกว่าข่าอ่อนตามลำดับ ในการขุดข่าขายดินจะต้องมีความชื้นจึงจะง่ายต่อการขุด ในการขุดแต่ละครั้งจะมีออร์เดอร์สั่งมา จะขุดวันต่อวันเพื่อความสดและจะขุดในช่วงเช้า

คุณอำพันยังได้บอกถึงเคล็ดลับในการรักษาสภาพของเหง้าข่าให้คงความสดและ สีสวยอยู่ได้นานจนถึงปลายทาง ด้วยการตัดแต่งรากและเหง้าให้เสร็จเรียบร้อย นำเหง้าข่าจุ่มลงในน้ำสะอาดที่กวนด้วยสารส้ม (น้ำสารส้มจะช่วยรักษา เหง้าข่าให้ดูสดและสีสวย) หลังจากนั้นบรรจุข่าลงถุงพลาสติกใสน้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อถุง พ่อค้าจะมารับสินค้าในช่วงเวลาบ่ายเพื่อนำไปส่งยังตลาด ต่อไป โดยเฉลี่ยราคารับซื้อข่าอ่อนจะเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 8 บาทและจะสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 15 บาทในช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ และสงกรานต์ สำหรับข่าแก่จะขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3-5 บาท.

ที่มา : www.dailynews.co.th
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:25 pm    ชื่อกระทู้:

เพชรปากช่อง’ และ ‘เนื้อทอง’ น้อยหน่าลูกใหญ่ เนื้อมาก เมล็ดน้อย

Contributed by ดวงพร หมีวรรณ์

ปี 2536 สถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มโครงการวิจัยเรื่อง การปรับปรุงพันธุ์ไม้ผลสกุลน้อยหน่า (Annona breeding) เพื่อที่จะสร้างสายพันธุ์น้อยหน่าลูกผสม “อะติมัวย่า” ขึ้นมาใหม่ให้มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์เดิม คือ ให้ได้ผลขนาด 250-400 กรัม เนื้อมากเมล็ดน้อย ผลไม่แตกเมื่อแก่จัด ความหวานไม่น้อยกว่า 15 บริกซ์ และมีอายุหลังการเก็บเกี่ยวยาวนาน ซึ่งปัจจุบันสามารถคัดเลือกพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีกว่าพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ ตรงตามความต้องการ จำนวน 15 สายพันธุ์ และพันธุ์ดีที่สุดที่เหมาะสมกับการปลูกในประเทศไทยซึ่งได้ทำการเผยแพร่ให้กับเกษตรกรไปทดลองปลูกแล้วคือพันธุ์ “เพชรปากช่อง”

รศ.ฉลองชัย แบบประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และนายเรืองศักดิ์ กมขุนทด จากสถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า “น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง” เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ (Cherimoya x หนังครั่ง) x หนังเขียว # 102 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีลักษณะของใบขนาดกลาง รูปหอก กว้าง 7.4 ซม. ยาว 14.9 ซม. สีเขียวเข้มเส้นใบเด่นเห็นชัด ทรงพุ่มโปร่งปานกลาง ดอกใหญ่สั้น กว้าง 0.9 ซม. ยาว 2.8 ซม. ผลใหญ่รูปหัวใจ เฉลี่ยกว้าง 9.0 ซม. ยาว 9.7 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 373.9 กรัม/ผล ผิวผลเรียบ มีร่องตาตื้นคล้ายน้อยหน่าหนัง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดสีเขียวอ่อนถึงขาวนวล เปลือกบางลอกเปลือกได้ ผลไม่แตกเมื่อแก่จัดหรือสุก เนื้อเหนียวแน่นคล้ายหน้าหน่าหนังสีเขียว ปริมาณเนื้อ73% เมล็ดสีน้ำตาลอ่อนเฉลี่ย36เมล็ด/ผล รสชาติหวานหอม ความหวาน20บริกซ์ อายุหลังเก็บเกี่ยวยาวนาน เฉลี่ย 4-9วัน และเมื่อต้นมีอายุ2ปีหลังปลูกและตัดแต่งกิ่งแล้ว สามารถบังคับให้ออกดอกติดผลได้ตลอดทั้งปี การติดผลดกกระจายทั่วต้น ขนาดผลสม่ำเสมอ ผลผลิตโดยเฉลี่ย 2.2 กก./ต้น/ปี อายุ3ปี เฉลี่ย 4.4กก./ต้น/ปี และอายุ4ปี เฉลี่ย37.9 กก./ต้น/ปี”

“นอกจากพันธุ์เพชรปากช่องแล้ว ยังมีอีกหนึ่งพันธุ์ คือ “พันธุ์เนื้อทอง” เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ (Cherimoya x หนังเขียว) x หนังเขียว # 31 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะของใบขนาดใหญ่ รูปหอก กว้าง 9.8 ซม. ยาว 18.3 ซม. ใบสีเขียวออกเหลืองเส้นใบเด่นเห็นชัดทรงพุ่มโปร่ง ดอกใหญ่สั้น กว้าง 0.8 ซม. ยาว 2.9 ซม. ผลใหญ่รูปหัวใจเฉลี่ย กว้าง 8.8 ซม. ยาว 9.9 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 489 กรัม/ผล ผิวผลเรียบไม่มีร่องตา ผลอ่อนสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จัดสีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน เปลือกหนา มีส่วนของเม็ดทรายอยู่ระหว่างเปลือกด้านในกับเนื้อ เนื้อสามารถแยกออกเป็นพูได้ไม่ติดกัน ปริมาณเนื้อ 64% ผลไม่แตกเมื่อแก่จัดหรือสุก เมล็ดสีดำเฉลี่ย42เมล็ด/ผล รสชาติหวานหอม ความหวาน 20 บริกซ์ อายุหลังเก็บเกี่ยวยาวนาน เฉลี่ย 4.5วัน เมื่อต้นมีอายุ2ปี หลังปลูกและตัดแต่งกิ่งแล้ว สามารถบังคับให้ออกดอกติดผลได้ตลอดทั้งปี การติดผลกระจายทั่วต้น ขนาดผลสม่ำเสมอผลผลิตโดยเฉลี่ย 1.8กก./ต้น/ปี อายุ3ปี เฉลี่ย2.14 กก./ต้น/ปี และอายุ4ปี เฉลี่ย18.62กก./ต้น/ปี”

รศ.ฉลองชัย ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “น้อยหน่าสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ดินเหนียวจัด จนถึงดินทรายหรือดินลูกรัง แต่ชอบที่สุดคือดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี หรือมีค่า pH 5.5-7.5 ส่วนอากาศที่เหมาะสมคืออากาศร้อน-แห้ง แต่จะไม่ค่อยชอบอากาศหนาวจัดหรือฝนตกชุกมากเกินไป เนื่องจากน้อยหน่าต้องการความแห้งแล้งพอสมควรเพื่อการสะสมอาหารและทิ้งใบ เมื่อทิ้งใบแล้วจะแตกกิ่งใหม่พร้อมกับมีดอกออกมาด้วย โดยธรรมชาติใบจะร่วงตั้งแต่เดือนธันวาคม-มกราคม แล้วแตกกิ่งใหม่พร้อมดอกในเดือนกุมภาพันธ์ เก็บผลได้ในราวปลายเดือนมิถุนายน-กันยายน ของทุกปี เกษตรกรมีความพึงพอใจกับผลผลิตเป็นอย่างมากเพราะสามารถขายได้ราคาประมาณกิโลกรัมละ 50-70บาท ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และนอกจากจะจำหน่ายผลผลิตได้แล้วยังสามารถขยายพันธุ์เพาะต้นกล้าออกขายได้อีก”

“สำหรับการดูแลรักษาและให้น้ำ ต้องกะระยะปลูกให้ห่างกันโดยประมาณ ใส่ปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้วประมาณครึ่งบุ้งกี๋ เอาหน้าดินลงคลุกกับปุ๋ยในหลุม แล้วปลูกต้นกล้าลงไปให้ต้นตั้งตรงกลบดินคืนให้แน่น ใช้เศษหญ้าแห้ง ฟางแห้ง หรือแกลบคลุมหน้าดินรอบ ๆ โคนต้น ควรปลูกในช่วงฤดูฝนเพื่อให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น และช่วงหลังปลูกถึง1ปี ในหน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย พอมีอายุเกิน1ปี ต้นจะสามารถช่วยตัวเองได้และเริ่มติดผลในปีที่ 2 วิธีการให้น้ำอาจใช้วิธีการให้แบบร่องใช้สายยางปล่อยรดบริเวณโคนต้นให้แบบฝนเทียมหรือแบบน้ำหยดก็ได้”

รศ.ฉลองชัยได้แนะนำว่า “การดูแลให้ได้ผลผลิตน้อยหน่าที่สมบูรณ์ ต้องทำการตัดแต่งกิ่ง เมื่อติดผล ให้ตัดแต่งผลที่รูปร่างบิดเบี้ยวออกให้เหลือแต่ผลรูปทรงที่ดีไว้ นอกจากนี้ต้องป้องกันโรคและแมลง เช่น หนอนผีเสื้อ แมลงวันผลไม้หรือแมลงวันทอง และเพลี้ยต่าง ๆ โดยใช้ถุงใยสังเคราะห์หรือถุงผ้าซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายของเคมีเกษตรทั่วไปห่อหุ้มผลน้อยหน่าเมื่อมีขนาดเท่าลูกมะนาว หรืออาจใช้แรงงานคน เครื่องจักรกล หรือสารเคมีฉีดพ่นเพื่อการดูแลรักษาก็ได้”

เกษตรกรและผู้บริโภคที่ต้องการปลูกน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์ใหม่ของ มก. ทั้ง “เพชรปากช่อง” และ “เนื้อทอง” ที่มีความพิเศษตรงที่ให้ผลใหญ่ เนื้อมาก แต่เมล็ดน้อย สามารถขอรับคำแนะนำได้ที่ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์ฯ โทร. (044) 311-796 หรือที่ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มก.โทร.0-2579-0308.

ที่มา : www.daily.co.th
kimzagass
ตอบตอบ: 18/04/2010 8:24 pm    ชื่อกระทู้:

อบแห้งเนื้อมังคุดด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน
พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปชนิดใหม่


Contributed by ดวงพร หมีวรรณ์

ในช่วงฤดูกาลผลไม้ออกสู่ตลาดในระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคมของทุกปี เกษตรกรจะประสบกับปัญหาผลไม้ในฤดูกาลเก็บเกี่ยวมีปริมาณมากจนเกิดภาวะล้นตลาด โดยเฉพาะผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ลำไย และมังคุด เป็นต้น ถึงแม้จะมีการจำหน่ายในรูปของผลผลิตสดทั้งภายในและนอกประเทศก็ตาม ก็ยังไม่สามารถระบายผลผลิตออกสู่ตลาดได้หมด โดยเฉพาะในฤดูผลผลิตปี 2550 ราคามังคุดตกต่ำจนเกษตรกรไม่สามารถจะจ้างแรงงานเก็บผลผลิตออกมาจำหน่ายได้ ราคาจำหน่ายในสวนอยู่ระหว่าง 1-5 บาท/กก. ดังนั้นเกษตรกรจำต้องปล่อยให้ร่วงหล่นอยู่โคนต้นอย่างน่าเสียดาย

นายอัคคพล เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตลอดเวลากรมฯ ได้พยายามหาทางที่จะช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาเกี่ยวกับผลผลิตตกต่ำด้วยการแปรรูปผลผลิต โดยเฉพาะการอบแห้งด้วยลมร้อนซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีศักยภาพสูงในการแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากผลิตภัณฑ์อบแห้งสามารถเก็บไว้จำหน่ายได้ทุกฤดูกาล เป็นการช่วยพยุงราคาผลผลิต และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเรื่องของการแปรรูปผลผลิตเกี่ยวกับการอบแห้งด้วยลมร้อน กรมฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยมาหลายเรื่องแล้ว เช่น การแปรรูปเนื้อลำไยอบแห้ง ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก และเป็นผลิต ภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรกระจายผลผลิตไม่เฉพาะในช่วงฤดูลำไยให้ผลผลิตเท่านั้น

สำหรับมังคุด เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ มีความต้องการบริโภคสูงทั้งในและนอกประเทศเช่นเดียวกับทุเรียนและลำไย แต่ในปี 2550 ผลผลิตมังคุดออกมาล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำอย่างมาก เกษตรกรต้องประสบภาวะขาดทุนได้รับ ความเดือดร้อนไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรทางภาคตะวันออกและภาคใต้ ถ้าหากสามารถแปรรูปมังคุดได้ในรูปแบบหลากหลายมากกว่าปัจจุบัน เช่น ไวน์มังคุด มังคุดกวน ซึ่งมีผู้บริโภคไม่มากนัก ปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แปรรูปมังคุดเป็นมังคุดอบแห้งด้วยวิธี Freeze- Dry แต่มังคุด Freeze-Dry มีราคาสูง เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง เพราะ ใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง ไม่สามารถเผยแพร่สู่กลุ่มเกษตรกรได้อย่างแพร่หลายและตลาดค่อนข้างแคบ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมจึงได้ดำเนินการศึกษาเทคโนโลยีการอบแห้งมังคุดด้วยลมร้อน เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปชนิดใหม่ โดยใช้อุปกรณ์การอบแห้งด้วยลมร้อนที่เกษตรกรใช้กันอยู่ทั่วไป

นายพุทธินันทร์ จารุวัฒน์ วิศวกรการเกษตร 6 กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กับคณะ ได้ทำการศึกษาเทคนิคการอบแห้งเนื้อมังคุด แบบใช้อุณหภูมิในการอบ 2 ช่วง คือช่วงแรกใช้อุณหภูมิสูง เนื่องจากเนื้อมังคุดมีความชื้นสูง และใช้อุณหภูมิต่ำลงในช่วงที่สอง ทำให้สามารถอบแห้งเนื้อมังคุดโดยใช้เวลาที่สั้นลงเมื่อเทียบกับการอบแห้งแบบใช้อุณหภูมิเดียว ซึ่งมังคุดอบแห้งที่ได้จะมีคุณภาพดี ช่วยลดต้นทุนการผลิตและสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตต่อวันได้

นายพุทธินันทร์ กล่าวว่า “การอบจะ ใช้หลักการอบแบบอบเนื้อลำไยทั่วไป ตู้อบจะต้องเป็นตู้อบแบบเครื่องอบแห้งด้วยลมร้อน ที่มีถาดวางเป็นชั้น ๆ สำหรับใส่เนื้อลำไย เราแกะผลมังคุดเอาเนื้อออก ซึ่งเป็นเนื้อพร้อมเมล็ด ใส่เข้าไปในถาดแต่ละชั้นแล้วเอาเข้าตู้อบ ในการอบนี้ได้ศึกษาขั้นตอนการอบพบว่า การอบจะใช้เวลาการอบแห้งทั้งหมด 10 ชั่วโมง และแบ่งเวลาในการอบเป็น 2 ช่วง ซึ่งมีขั้นตอนการอบ ดังนี้

ผลมังคุดสด 10 กก. แกะเปลือกออกเหลือเนื้อมังคุดพร้อมเมล็ดหนัก4กก. ความชื้นประมาณ 75% ทำการอบแห้งเนื้อพร้อมเมล็ด ใช้เวลาในการอบแห้งทั้งหมด 10 ชั่วโมง แบ่งเป็นช่วงแรกใช้อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส 2 ชั่วโมง และช่วงที่สองใช้อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส 8 ชั่วโมงภายหลังการอบแห้ง เนื้อและเมล็ดมังคุดจะแห้งเป็นเนื้อเดียวกัน ได้เนื้อมังคุดอบแห้งประมาณ 1 กก. ความชื้นสุดท้ายประมาณ 13% เป็นความชื้นที่กำลังพอเหมาะ ผลิตภัณฑ์มังคุดอบแห้งที่ได้มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวจากเนื้อมังคุดและยังมีความมันจากเมล็ดมังคุดอีกด้วย เนื้อมังคุดอบแห้งมีต้นทุนการแปรรูปประมาณ 50 บาทต่อกิโลกรัม ไม่รวมค่าผลมังคุดสด 10 กก.

ผู้ที่สนใจขอทราบรายละเอียดได้ที่กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2529-0663-4, 08-9172-6270 ได้ทุกวันในเวลาราชการ.

ที่มา : www.dailynews.co.th