-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - มะยงชิด.ลองกอง.มะนาว.ทุเรียน.เงาะ...บำรุงช่วงสำคัญ....1068
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
ตอบตอบ: 22/03/2010 9:43 pm    ชื่อกระทู้:

kimzagass บันทึก:
to aorrayong....

ช่วยวิเคราะห์ผลปลายกิ่ง (ลูกยอด) กับผลโคนกิ่ง ว่าต่างกันอย่างไร ? หรือไม่ ?

เปรียบเทียบคุณภาพผล ระหว่างปีก่อนๆ ที่ไม่ได้ให้สารอาหารทางบใบ กับ ปีนี้ที่ได้ให้สารอาหารทางใบ

เหตุผล :
ต้องการบทพิสูจน์ที่ว่า.... ทุเรียนลูกโคนกิ่งได้สารอาหารที่ส่งไปจากรากก่อน กินจนอิ่มหรือเหลือแล้วจึงจะส่งไปให้ลูกถัดไป และถัดไปตามลำดับ ลูกปลายกิ่งอยูปลายทางสุดท้ายไม่ได้กิน จึงด้อยคุณภาพ..... เมื่อได้มีการให้สารอาหารทางใบ สารอาหารผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ลูกยอดที่อยู่ปลายกิ่งจึงกลายเป็นลูกแรกที่ได้รับสารอาหาร คุณภาพจึงดีขึ้น.... หลักการนี้ถูกต้องหรือไม่ ?

ลูกโคนกิ่งได้สารอาหารจากทางราก.....ลูกยอดได้สารอาหารจากใบ ..... แล้วลูกกลางกิ่งล่ะ เขาควรจะได้สารอาหารจากไหน จึงจะมีโอกาสได้รับก่อนเพื่อนบ้าง

ผลไม้ทุกอย่างต้องการผลขนาดใหญ่ แต่เจ้านกกระจิบกลับต้องการผลเล็ก....งานเข้านะเนี่ย


ลุงคิมครับ


เป็นความเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นที่สังเกตุเห็น นอกจากนี้ มีทุเรียนที่แตกใบอ่อนมีเพียง 10 ต้น เท่านั้น
เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่แตกใบอ่อนทั้งสวน

แล้วจะรายงานผลให้ทราบค่ะลุงคิม
Aorrayong
ตอบตอบ: 22/03/2010 9:32 pm    ชื่อกระทู้:

ott_club บันทึก:
ได้ข่าวว่าปั้มพ่นโดนพี่ขโมยยืมไปใช้ไม่ใช่หรือครับ แล้วจะเอาอะไรพ่นล่ะทีนี้

พี่ขโมยนี่ก็เหลือเกินให้เจ้าของเขาพ่นให้ครบขั้นตอนก่อนก็ไม่ได้ ไม่รู้จะรีบร้อนเอาไปใช้ที่ไหน

เอาเป็นว่าพี่ขโมยใช้เสร็จเมื่อไหร่ก็ส่งคืนที่สวนไพบูลย์ดอตคอมโดยด่วนนะครับ เพราะเดี๋ยว
ทุเรียนนกกระจิบจะไม่หวาน เพราะขาดการเร่งหวาน

อ๊อดครับ


ใช่แล้ว...โดนขโมย ที่หายก็หายไป แต่จะไม่ยอมให้เกิดขึ้นอีก แปลกนะชาวบ้านแถวนี้ เขาโดนจนชิน ไม่มีใคร
ทำอะไรซักอย่าง ทำเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา ก็โดนขโมยน่ะ จะทำยังงัยได้...ก่อนที่พี่อ้อจะโดนขโมย
มีอีก 2-3 สวนที่โดนขโมย แต่ไม่แจ้งความ ไม่ทำอะไรเลย ยิ่งตอกย้ำถึงความเปลี่ยนแปลงในวิถีของสังคมชนบท
ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ
kimzagass
ตอบตอบ: 22/03/2010 9:15 pm    ชื่อกระทู้:

to aorrayong....

ช่วยวิเคราะห์ผลปลายกิ่ง (ลูกยอด) กับผลโคนกิ่ง ว่าต่างกันอย่างไร ? หรือไม่ ?

เปรียบเทียบคุณภาพผล ระหว่างปีก่อนๆ ที่ไม่ได้ให้สารอาหารทางบใบ กับ ปีนี้ที่ได้ให้สารอาหารทางใบ

เหตุผล :
ต้องการบทพิสูจน์ที่ว่า.... ทุเรียนลูกโคนกิ่งได้สารอาหารที่ส่งไปจากรากก่อน กินจนอิ่มหรือเหลือแล้วจึงจะส่งไปให้ลูกถัดไป และถัดไปตามลำดับ ลูกปลายกิ่งอยูปลายทางสุดท้ายไม่ได้กิน จึงด้อยคุณภาพ..... เมื่อได้มีการให้สารอาหารทางใบ สารอาหารผ่านปากใบเข้าสู่ต้น ลูกยอดที่อยู่ปลายกิ่งจึงกลายเป็นลูกแรกที่ได้รับสารอาหาร คุณภาพจึงดีขึ้น.... หลักการนี้ถูกต้องหรือไม่ ?

ลูกโคนกิ่งได้สารอาหารจากทางราก.....ลูกยอดได้สารอาหารจากใบ ..... แล้วลูกกลางกิ่งล่ะ เขาควรจะได้สารอาหารจากไหน จึงจะมีโอกาสได้รับก่อนเพื่อนบ้าง

ผลไม้ทุกอย่างต้องการผลขนาดใหญ่ แต่เจ้านกกระจิบกลับต้องการผลเล็ก....งานเข้านะเนี่ย


ลุงคิมครับ
ott_club
ตอบตอบ: 22/03/2010 9:14 pm    ชื่อกระทู้:

ได้ข่าวว่าปั้มพ่นโดนพี่ขโมยยืมไปใช้ไม่ใช่หรือครับ แล้วจะเอาอะไรพ่นล่ะทีนี้

พี่ขโมยนี่ก็เหลือเกินให้เจ้าของเขาพ่นให้ครบขั้นตอนก่อนก็ไม่ได้ ไม่รู้จะรีบร้อนเอาไปใช้ที่ไหน

เอาเป็นว่าพี่ขโมยใช้เสร็จเมื่อไหร่ก็ส่งคืนที่สวนไพบูลย์ดอตคอมโดยด่วนนะครับ เพราะเดี๋ยว
ทุเรียนนกกระจิบจะไม่หวาน เพราะขาดการเร่งหวาน

อ๊อดครับ
Aorrayong
ตอบตอบ: 22/03/2010 8:44 pm    ชื่อกระทู้:











ทุเรียนนกกระจิบบำรุงทางใบด้วยแคลเซียมโบรอน 2 รอบ ต่อด้วยยูเรก้า+ฮอร์โมนไข่ 1 รอบ พร้อมกับให้
ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรบำรุงผล-ขยายขนาด(3:1:2) 1 รอบ และเตรียมจะให้รอบ 2 แต่พ่อสั่งให้หยุด
ไว้ก่อนเพราะทุเรียนนกกระจิบกำลังจะกลายเป็นทุเรียนนกกระจอกเทศ ขนาดผลที่เป็นที่นิยมของลูกค้าคือ
1-2 กิโล แต่ตอนนี้บางลูกน้ำหนักเกิน 2 กิโลแล้ว ลักษณะก้านผลมีความสมบูรณ์มาก สมบูรณ์กว่าทุกปี
แม้ว่าจะติดผลดกแต่สภาพของต้นยังไม่โทรม ใบยังมีสีเขียวเข้มและหนา ขั้นตอนต่อไปคือการให้ฮอร์โมนน้ำดำ
เพื่อป้องกันอาการต้นโทรม 1-2 รอบ และจะทดลองเร่งหวานบางโซนด้วย 0-21-74 ทางใบและทางดิน
ด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง+(13-13-21) 1 รอบ
Aorrayong
ตอบตอบ: 13/03/2010 5:16 am    ชื่อกระทู้:

อะไรจะปานนั้น







บอกไว้ก่อนนะ...ห้ามเอามังคุด 100 ปีมาล้อเล่น
ott_club
ตอบตอบ: 12/03/2010 9:56 pm    ชื่อกระทู้:

อย่าลืมที่ลงชื่อสั่งจองผลผลิตไว้นะครับพี่อ้อ

-ทุเรียนนกกระจิบ 1 ต้น
-มังคุด 100 ปี 1 ต้น
-ลองกองครึ่งต้น

คนอื่นจองเป็นโล ผมขอจองเป็นต้นเลยครับผมว่าปีนี้ใครไม่ได้กินทุเรียนและผลไม้
สวนไพบูลย์ดอตคอม คล้ายกับไม่ได้กิน(กินไม่ถึง)

หญิง+หยก
Aorrayong
ตอบตอบ: 12/03/2010 9:46 pm    ชื่อกระทู้:

ทุเรียนหมอนทองที่เหลือ หลังจากผ่านการดูแลเป็นพิเศษ(จริงๆ)เพราะสลัดผลเล็กทิ้งจนน่าใจหาย
พ่อบอกว่าเป็นเพราะอากาศร้อนมาก แต่ก็ดกกว่าปีที่แล้ว... ก็เลยเหลืออยู่เท่าที่เห็น!!









Aorrayong
ตอบตอบ: 12/03/2010 9:36 pm    ชื่อกระทู้:

ลองกองรูปแรกถ่ายเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2553 รูปที่2 ถ่ายวันนี้ 12 มีนาคม 2553
ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิงสูตรบำรุงผล-ขยายขนาดแล้ว 1 รอบ ทางใบให้แคลเซียม
-โบรอนสลับกับยูเรก้าแล้วอย่างละ 2 รอบ






Aorrayong
ตอบตอบ: 12/03/2010 9:26 pm    ชื่อกระทู้:

ทุเรียนนกกระจิบต้นเดียวกัน รูปแรกถ่ายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 รูปที่2 ถ่ายวันนี้ วันที่ 12 มีนาคม 2553

ช่วงระยะเวลา 17 วันที่ผ่านมา ให้แคลเซียม-โบรอน ทางใบ(+สังกะสี)และโดยตรงที่ผล 2 รอบ
สลับด้วยยูเรก้า + ฮอร์โมนไข่ 1 รอบ ส่วนทางดินให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง สูตรบำรุงผล-
ขยายขนาด (3:1:2) 1 รอบ ผลที่ได้

ทุเรียนนกกระจิบสลัดผลทิ้งน้อยมาก พ่อบอกว่าลูกกลม พรูเปล่งดี ขั้นตอนต่อไป จะให้
แคลเซียม-โบรอน สลับกับ ฮอร์โมนน้ำดำ เพื่อป้องกันอาการต้นโทรม ตอนนี้ทุเรียนนกระจิบบาง
ต้นเริ่มมีใบอ่อนแทงออกมา ทุกปีที่ผ่านมาพ่อจะใช้วิธีบังคับให้ใบอ่อนทุเรียนร่วง ด้วยการใช้โป
แตสเซียมไนเตรท(13-0-46)พ่นทางใบ ผลที่ได้คือเมื่อใบอ่่อนร่วง ทำให้พัฒนาการของผล
ชะงักด้วยเช่นกัน และต้นทุเรียนจะโทรมมาก

ปีนี้ วางแผนการแก้ปัญหาเรื่องการแตกใบอ่อนไว้ ด้วยการบำรุงให้ใบอ่อนให้เต็มที่ ด้วยการเน้น
บำรุงทางใบให้ถี่ขึ้น เพื่อให้ใบอ่อนแก่เร็วขึ้น และต้นได้รับสารอาหารเพียงพอที่จะนำไปเลี้ยงทั้งใบ
อ่อนและผล น่าจะได้ผล.....ว่ามั้ย?



Pitipol
ตอบตอบ: 23/02/2010 9:58 pm    ชื่อกระทู้:

คำพูด:

มีเกษตรกรใช้ "ฮอร์โมนน้ำดำ+ฮอร์โมนไข่+ยูเรก้า " ในนาข้าวได้ผลมาก

ฮอร์โมนน้ำดำกับยูเรก้า ค่อนข้างมีส่วนผสมใกล้เคียงกัน น่าจะเหมือนกับการเอา. ส่วนผสมของยู
เรก้า.(ทุกตัวที่ไม่ใช่ธาตุหลัก) มาเพิ่มเป็น 2 เท่าตัว. + 21-7-14. + ยูเรีย(จีเกรด). + ฮอร์
โมนไข่

คำพูด:

ดังนั้นแผนการให้ยูเรก้า.รอบ 2 อาจจะแบ่งโซน ทดลองให้ "ยูเรก้า ผสมกับ ฮอร์โมนไข่ "
จะขอลองในมังคุดด้วยคนครับ แต่เป็นฮอร์โมนไข่สูตรเปิด(ไม่มีธาตุหลัก)

ปล.
พี่ชาติบอกว่า ญาติที่ใต้ใช้การฟื้นฟูต้นโทรมด้วย "ฮอร์โมนน้ำดำ. + ปุ๋ยน้ำชีวภาพระเบิดเถิดเทิง
สูตร 3-1-1" ได้ดีมากเลยครับ
Aorrayong
ตอบตอบ: 23/02/2010 8:00 pm    ชื่อกระทู้:


ทุเรียนหมอนทองและทุเรียนนกระจิบได้รับการบำรุงครบตามขั้นตอนบำรุงไม้ผล 8 ขั้นตอน ใน
ระยะเวลาแค่ 6 เดือน เริ่มตั้งแต่การบำรุงเพื่อเตรียมความพร้อมของต้น. สะสมตาดอก. เปิดตา
ดอก. บำรุงดอก. และเมื่อติดผลขนาดเล็กให้ แคลเซียม-โบรอน ทางใบ พร้อมกับพ่นไปที่ผล
โดยตรง 2 รอบ ห่างกันประมาณ 10 วัน เพื่อบำรุงผลและลดการหลุดร่วงของผล หลังจากให้แคล
เซียม-โบรอนทางใบแล้ว จะสังเกตุว่าผลทุเรียนมีการตอบสนองได้ดีและเร็วมาก ผลขยายใหญ่ขึ้น
จนผิดหูผิดตา ผลมีสีเขียว ก้านผลอวบ ไม่หลุดร่วง ปีนี้จะเป็นปีแรกที่ต้องตัดแต่งผลทุเรียน
เพราะพ่อบอกว่า ถ้าไม่ตัดแต่งออกบ้างจะทำให้กิ่งทุเรียนตายทีละกิ่ง หรืออาจยืนต้นตายได้เลย

เมื่อให้แคลเซียม-โบรอน 2 รอบแล้ว หลังจากนั้นเริ่มให้ยูเรก้าทางใบ ส่วนทางดินให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ
ระเบิดเถิดเทิงสูตรบำรุงผลขยายขนาด 3:1:2 ให้มาแล้ว 1 รอบ แต่มีฝนตกลงมา จึงเลื่อนการให้
ยูเรก้า.รอบ 2 ออกไป แต่ให้ฮอร์โมนไข่.เพื่อปรับ C/N Ratio 1 รอบแทน และถ้าฝนไม่ตกซ้ำ
ลงมา ก็จะให้ยูเรก้า.รอบต่อไป


แต่ข้อมูลล่าสุดที่ลุงคิมบอกว่า มีเกษตรกรใช้ "ฮอร์โมนน้ำดำ+ฮอร์โมนไข่+ยูเรก้า " ในนาข้าว
ได้ผลมาก และยังมีเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ จ.ระยอง ที่ปลูกสับปะรด ใช้ "ฮอร์โมนน้ำดำผสมกับ
ฮอร์โมนไข่ " และใช้ "ฮอร์โมนไข่ผสมกับยูเรก้า" ฉีดพ่นสับปะรด ส่งข่าวว่า "ฮอร์โมนไข่ผสม
กับยูเรก้า" สับปะรดจะตอบสนองได้ดีและเร็วกว่าใช้ "ฮอร์โมนน้ำดำผสมฮอร์โมนไข่" แต่ยังไม่
ได้ทดลองใช้ "ฮอร์โมนน้ำดำ+ฮอร์โมนไข่+ยูเรก้า "


ดังนั้นแผนการให้ยูเรก้า.รอบ 2 อาจจะแบ่งโซน ทดลองให้ "ยูเรก้า ผสมกับ ฮอร์โมนไข่ "


แล้วจะมาเล่าให้ฟัง.....
ott_club
ตอบตอบ: 23/02/2010 8:28 am    ชื่อกระทู้:

555 ทุเรียนมะเขือพวง

มันสะใจไหมมมเพ่...
Aorrayong
ตอบตอบ: 23/02/2010 7:53 am    ชื่อกระทู้:

ทุเรียนนกระจิบ...ที่ใครๆบอกว่า...ติดลูกดกเหมือนมะเขือพวง





Aorrayong
ตอบตอบ: 23/02/2010 7:47 am    ชื่อกระทู้:

ทุเรียนหมอนทอง...พ่อบอกว่าดก...น่าเกลียด







kimzagass
ตอบตอบ: 14/02/2010 6:54 pm    ชื่อกระทู้:

ตามเรื่องนี้ต่อที่กระทู้ "UREGA เร่งหวาน จริงหรือ"

ลุงคิมครับผม
Aorrayong
ตอบตอบ: 13/02/2010 10:16 pm    ชื่อกระทู้:

ใช้แบบนี้น่าจะดีกว่านะ ว่ามั้ย?

kimzagass
ตอบตอบ: 13/02/2010 10:09 pm    ชื่อกระทู้:

ก็ถ่ายรูปคนชิมลงเน็ตซี่ ถ่ายตอนกำลังชิม มะยงชิดยังอยู่ในปากนั่นแหละ เดี๋ยวใบหน้ามันก็ฟ้อง
เอง ถ้าใบหน้าเหยเกก็แสดงว่าเปรี้ยว ถ้าใบหน้ายิ้มระรื่นก็แสดงว่าหวาน ถ้ามีอาการไอก็แสดงว่า
แสบคอไง

ลองซี่ ได้ผลนา
ลุงคิมครับผม
Aorrayong
ตอบตอบ: 13/02/2010 10:04 pm    ชื่อกระทู้:

ott_club บันทึก:
ไข่ไก่เบอร์อะไรครับ มองดูเล็กไปเลยนะ หากนำมาชั่งกี่ผล/กิโลกรัมครับ

เพิ่งเคยเห็นเม็ดมะยงชิดมันมีสีม่วงหรือครับเนี่ย แล้วเม็ดมะปลิง มะปราง มะ...(ตะกูลเดียวกัน) สีเม็ดในจะม่วงหรือเปล่าครับ

ช่วยชิมรสชาดออกทางอินเตอร์เน็ตด้วยซิครับ

ott_club


ไข่ไก่เบอร์ 1
พ่อทดลองเอามะยงชิดมาชั่งบอกว่าประมาณ 10-11 ลูกต่อกิโลกรัม
ตระกูล marian plum เมล็ดจะสีเดียวกันหมด
ส่วนเรื่องการชิมรสชาติออกอากาศ ทำได้ด้วยเหรอ ดี....กลยุทธ์ทางการตลาดแบบใหม่ Laughing

ยังพอมีเหลือที่ต้น ถ้าอยากชิมก็มาเก็บเอา หรือจะรอกินนกกระจิบ จิ๊บ จิ๊บ
kimzagass
ตอบตอบ: 13/02/2010 10:02 pm    ชื่อกระทู้:

ใจเย็นๆ พรุ่งนี้เช้าจะให้คำตอบ คืนนี้ดึกแล้ว ขอกินขนมเข่งประชดมะยงชิดก่อน

ลุงคิมครับผม
Aorrayong
ตอบตอบ: 13/02/2010 9:53 pm    ชื่อกระทู้:

ลุงคิมคะ

เมื่อเราเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว และต้องการบำรุงต้น เตรียมความพร้อมของ
ต้นเพื่อผลผลิตในฤดูกาลต่อไป เราควรตัดแต่งกิ่งก่อน แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุง หรือว่าึควรจะ
บำรุงต้นก่อนคะ ?
ott_club
ตอบตอบ: 13/02/2010 9:50 pm    ชื่อกระทู้:

ไข่ไก่เบอร์อะไรครับ มองดูเล็กไปเลยนะ หากนำมาชั่งกี่ผล/กิโลกรัมครับ

เพิ่งเคยเห็นเม็ดมะยงชิดมันมีสีม่วงหรือครับเนี่ย แล้วเม็ดมะปลิง มะปราง มะ...(ตะกูลเดียวกัน) สี
เม็ดในจะม่วงหรือเปล่าครับ

ช่วยชิมรสชาดออกทางอินเตอร์เน็ตด้วยซิครับ

ott_club


จริงๆด้วยอ๊อด..... แล้วอย่าดูเน็ตนานนะ เดี๋ยวแสบคอ
ลุงคิมครับผม
Aorrayong
ตอบตอบ: 13/02/2010 9:11 pm    ชื่อกระทู้:

ผลผลิตมะยงชิดทีได้ 50-60 เปอร์เซ็นต์ มีขนาดใหญ่ 10-11 ลูกต่อกิโลกรัม ส่วนขนาดเล็ก
มีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผลผลิตทั้งหมด เนื้อมากเมล็ดเล็ก ถึงแม้ว่าจะสุกเกินแต่
เนื้อยังแข็งและกรอบ ส่วนรสชาติหวานกว่ามะม่วงอกร่องต้นฤดู ทั้งๆที่ไม่ได้มีการเร่งหวานเลย









Aorrayong
ตอบตอบ: 02/02/2010 9:25 pm    ชื่อกระทู้:

kimzagass บันทึก:



พูดถึงนกกระจิบแล้วน้ำลายสอ
ลุงคิมครับผม



ลงชื่อจองทุเรียนนกระจิบได้ที่

http://www.paiboonrayong.com/index.php?mo=5&qid=417412


จองก่อนได้ก่อนค่ะ

.............................................................

ที่ระยอง ราคามะปรางที่พ่อค้าคนกลางรับซื้อจากราคากิโลกรัมละ 100-120 บาท เวลาผ่านไป
แค่อาทิตย์เดียวราคาร่วงลงมาเหลือ 50-60 บาท สาเหตุเกิดจากชาวสวนเก็บผลผลิตที่ไม่ได้
คุณภาพ แก่ไม่จัด เพื่อชิงขายให้ได้ราคาสูง พ่อค้าก็แสนดีรับซื้อทั้งที่รู้ว่าของไม่มีคุณภาพ มอง
เห็นแต่ส่วนต่างที่จะได้ สุดท้ายปลายทางขายไม่ออก ส่วนหนึ่งอาจจะขายไม่ออกจริงๆ แต่ถ้า
มองกันให้ลึกๆ อาจเป็นแผนการ การกดราคาของพ่อค้าคนกลาง สุดท้ายเจ็บทั้งคู่ แต่ไม่รู้ว่าใคร
เจ็บกว่าใคร
kimzagass
ตอบตอบ: 25/01/2010 5:55 am    ชื่อกระทู้:


ในธรรมชาติไม่มีตัวเลข และไม่มีสูตรสำเร็จ แต่มีหลักการ - เหตุผล และหลักวิชาการรองรับ....
ลักษณะทางธรรมชาติของทุเรียนบางครั้งก็สวนทางกันกับคน คนก็มี 2 ฝ่ายอีก คือ คนขาย กับ
คนซื้อ คนซื้อก็มี 2 ฝ่ายอีก คือ คนกินไม่ได้ซื้อ - คนซื้อไม่ได้กิน....เฮ่อออ โลกนี้ช่างมีแต่สิ่ง
สวนทางกันนะ....แม้แต่ทุเรียนกับทุเรียนยังสวนทางกันเองเลย หมอนทองเมล็ดตาย ก้านยาว
เมล็ดเต็ม....ว่าไหม


แม้ว่าธรรมชาติจะไม่มีตัวเลข ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็ยังพอมีหลักวิชาการเข้ามาปรับได้.....ทาง
วิชาการระบุว่า N. ทำให้ "ผลแก่ช้า" ข้อนี้จริง 100 % สำหรับทุเรียน สังเกตุตอนที่ทุเรียนผล
แก่ใกล้เก็บเกี่ยว เหลือช่วงเวลาอีกซัก 2-3 อาทิตย์ หรือน้อยกว่านี้จะเก็บได้ แล้วมีฝนตกลงมา
ค่อนข้างหนัก หรือตกซ้ำหลายๆ รอบ ผลทุเรียนที่แก่ใกล้เก็บแล้วนั้นจะกลายเป็นทุเรียนอ่อนหรือ
ไม่แก่ไปทันที

หรือแม้แต่งานวิจัยระบุว่า อายุผลทุเรียนตั้งแต่ผสมเกสรติด ถึง เก็บเกี่ยว 120 - 130 วัน (แล้ว
แต่สายพันธุ์) จะแก่เก็บเกี่ยวได้ ครั้นถึงช่วงวันที่ผลครบอายุแล้วมีฝนตกลงมา ตัวเลขช่วงอายุนั้น
ต้องยกเลิกทันที เพราะผลแก่ใกล้เก็บได้กลายเป็นผลอ่อนไปแล้ว


กรณีที่เรา (ตลาด) ต้องการผลขนาดไม่ใหญ่ แต่มีคุณภาพดี..... ช่วงที่ผลกำลังพัฒนานั้น ให้
บำรุงด้วยสูตร "ขยายขนาด-หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ" (ทางใบ : ยูเรก้า....ทางราก : ระเบิดฯ
+3:1:2) ตามปกติ เมื่อผลโตถึงขนาดตามต้องการแล้วให้เปลี่ยนสูตรบำรุงเป็น "สูตรเร่งหวาน
หรือ สูตรปรับปรุงคุณภาพก่อนเก็บเกี่ยว" (ทางใบ : 0-21-74....ทางราก : 13-13-21 หรือ 8-
24-24) สัก 2-3 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน รอบสุดท้ายก่อนตัด 5-7 วัน ก็ได้ เทคนิคนี้ต้อง
ไม่มีฝนนะ......แต่ถ้า วันที่ผลได้ขนาดใกล้เก็บเกี่ยวแล้วมีฝนตกลงมา กรณีนี้ไม่สามารถหยุดการ
โตต่อของผลได้ ต้องปล่อยเลยตามเลย อาจจะบำรุงขยายขนาดต่อ ควบคู่กับให้ Ca.Br. หรือ
ให้ Ca.Br. อย่างเดียวเดี่ยวๆ เพื่อป้องกันผลแตกผลร่วงก็ได้


รายละเอียด : คลิกไปที่ "ไม้ผล - ทุเรียน....บำรุงผลแก่ช่วงมีฝน หรือ ไม่มีฝน" ทุกอย่างแจ้งไว้แล้ว



พูดถึงนกกระจิบแล้วน้ำลายสอ
ลุงคิมครับผม