-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - "มังคุด-มะม่วง" JUST IN TIME เกรดญี่ปุ่น
ผู้ส่ง ข้อความ
mixfeed
ตอบตอบ: 23/12/2009 8:57 pm    ชื่อกระทู้:

ตรงนี้ผมทำคล้ายที่ลุงคิมบอกครับ คือไม่ได้รวมกลุ่มกับใคร เพราะแถวบ้านแฟนที่ผมมาอาศัยอยู่ไม่มีใครใช้อินทรีย์นำเลยครับ มีแต่เคมีเต็มสูบ เคมีเต็มขั้น เอะอะไรฉีดยาฆ่าแมลง ฉีดหญ้าฆ่าหญ้า ตอนนี้ผมเริ่มทำปุ๋ยฮอร์โมนบางส่วน เช่น ฮอร์โมนน้ำดำ แคลเซียมโบรอน น้ำคั้นไชเท้า น้ำคั้นเมล็ดงอก(ทำยากจริงๆเลยตัวนี้ คั้นน้ำยากสุดๆ) อาศัยอ่านจากในเว็ป และสอบถามจากร้านที่บางแพ ก็พอไปได้ครับถึงจะไม่เต็มร้อย ได้สัก 70-80 ก็ยังดี ส่วนระเบิดใช้ซื้อเอาครับยังไม่พร้อมจะทำ และหาวัตถุดิบได้ค่อนข้างยาก ผมอยากทำตามลุงคิมให้เห็นผลชัดเจน ไม่ยังงั้นน่ะครับพี่สาวแฟนเอะอะก็แนะนำว่า ใส่ปุ๋ยเยอะๆซิ ฉีดพ่นยาฆ่าหนอนบ่อยๆน่ะ ฉีดยาคุมฆ่าหญ้าหรือยัง อย่างที่ลุงคิมว่าแหละพอเราทำแล้วเห็นผลชัดเจน ต่อไปเขาก็มาถามเราเอง คราวนี้ล่ะสะใจเลย ก.ปลูกมากับมือเลย ปุ๋ยใส่นิดเดียว ยาฆ่าหนอนไม่ฉีดฉีดแต่สมุนไพร หญ้าใช้เครื่องตัดเอา อยากทำให้พี่สาวแฟนอึ้งไปเลย คงสะใจพิลึก
kimzagass
ตอบตอบ: 23/12/2009 6:10 pm    ชื่อกระทู้:

กลุ่ม "NW-TU-KK-RY" ก็ยังไม่แน่หมือนกัน จะออกหัวออกก้อยต้องรอดูต่อไป ปัญหาตรงที่แต่ละคนอยู่ห่างไกลกันมาก เรียกว่า "คนละอำเภอ" กันเลย

แม้แต่กลุ่ม "สระบุรี-มวกเหล็ก" วันนี้เห็นแล้วคล้ายๆ "ท่าดีทีเหลว" ประมาณนั้น..... กับอีกหลาย 10 กลุ่มทั่วประเทศ ที่ลุงคิมสอนนับ 1 ให้ รวมกลุ่มกันไม่สำเร็จ.....วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม กำหนดและควบคุมโดยพวกเขาเองนะ ไม่ใช่ลุงคิมกำหนดให้

ลุงคิมว่านะ (1).....เมื่อรวมกลุ่มไม่ได้ก็ไม่ต้องรวม เอาตัวคนเดียวนั่นแหละ.....คิดคนเดียว - ทำคนเดียว - รวยคนเดียว ซะเลย ก็ไม่ได้ปิดกั้นสำหรับคนอื่น อยากได้/อยากรู้ให้มาหาเรา ไม่ใช้เราไปหาไปยื่นให้ถึงมือ

ลุงคิมว่านะ (2).....ทำเกษตรเพาะปลูก เบื้องต้น ทำ "ปุ๋ย - ฮอร์โมน - สารกำจัดแมลง" เป็น 3 อย่างเท่านี้ ทำเองใช้เอง เหลือใช้ก็ แจก-ขาย เมื่อลดต้นทุนส่วนนี้ได้ กำไรจะเพิ่มขึ้นเอง ว่าไหม ?

ลุงคิมว่านะ (3).....ทำผลผลิตให้ได้ "ออกนอกฤดู - เกรด เอ. - จัมโบ้" แล้วส่งขายในประเทศนี่แหละ คุณว่าจะพอขายไหม อันนี้ทำเองคนเดียวในสวนของตัวเองนั่นแหละ ไม่ต้องรวมกลุ่มอะไรกับใคร เชื่อเถอะไม่ช้าไม่นาน ละแวกข้างบ้านขี้คร้านจะเข้ามาหาเอง มาขอคำปรึกษา


เรื่องรวมกลุ่ม เรื่องสมาคม.....เหนื่อย
ลุงคิมครับผม
ott_club
ตอบตอบ: 22/12/2009 9:43 pm    ชื่อกระทู้:

kimzagass บันทึก:
มันก็ "อี-หร็อบ" เดียวกัน หรือจะเรียกว่า "คนละเรื่องเดียวกัน" ก็ได้

เกษตรกร "รวมกลุ่ม" เรียกว่า "ทีม"........ทำงานเรียกว่า "เวิร์ค"
รวมกันเรียกว่า "ทีมเวิร์ค" ไง........แล้วมันมีไหมล่ะ

รวมกลุ่มกัน หันหน้าเข้ากัน "มือขวาเชคแฮนด์ - มือซ้ายถือมีดซ่อนข้างหลัง"

อยู่ในกลุ่มเดียวกัน คิดตลอดเวลา ทำทุกวิถีทาง ต้องรวยกว่าคนอื่นในกลุ่มเดียวกัน


ก็มันเพราะอย่างนี้งัยครับคำว่ากลุ่มถึงไปไม่รอด เพราะฉนั้นกลุ่มคลื่นลูกใหม่-ไร่กล้อมแกล้มระยองจึงมีแต่คำว่าให้ เสียสละ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แล้วคอยดูต่อไป...จริงๆไม่ได้โม้


ott_club
kimzagass
ตอบตอบ: 22/12/2009 6:23 pm    ชื่อกระทู้:

มันก็ "อี-หร็อบ" เดียวกัน หรือจะเรียกว่า "คนละเรื่องเดียวกัน" ก็ได้

เกษตรกร "รวมกลุ่ม" เรียกว่า "ทีม"........ทำงานเรียกว่า "เวิร์ค"
รวมกันเรียกว่า "ทีมเวิร์ค" ไง........แล้วมันมีไหมล่ะ

รวมกลุ่มกัน หันหน้าเข้ากัน "มือขวาเชคแฮนด์ - มือซ้ายถือมีดซ่อนข้างหลัง"

อยู่ในกลุ่มเดียวกัน คิดตลอดเวลา ทำทุกวิถีทาง ต้องรวยกว่าคนอื่นในกลุ่มเดียวกัน
ott_club
ตอบตอบ: 22/12/2009 7:50 am    ชื่อกระทู้:

คงเหมือนกับที่หลายคนพูดกันคือกีฬากับคนไทย ถ้าเป็นกีฬาประเถทเดี่ยวจะสามารถเล่นได้ดีจนเป็นแชมป์ได้ แต่ถ้าเป็นกีฬาประเภททีมจะไม่มีความสามัคคีกันจนเอาดีไม่ได้ยกเว้นมีกิจกรรมอยู่อย่างเดียวที่คนไทยทำเป็นทีมแล้วเก่งกว่าต่างชาติ......ลงแขก

อ้าว! ไม่เกี่ยวกันนี่ ไปดีกว่า ฟิ้วววว....
Pitipol
ตอบตอบ: 22/12/2009 1:25 am    ชื่อกระทู้:

อีกสาเหตุหนึ่งคือคนไทยไม่ค่อยมีความสามารถในการทำงานร่วมกันให้สำเร็จได้ ชอบทำอะไรคนเดียวเพราะคิดว่าเรื่องน้อย ไม่เจอปัญหา ไม่ต้องยุ่งกับคนอื่น สบายใจ ไม่ต้องเคียดแค้นใคร ไม่ต้องกังวล ไม่ต้องเอาหน้า ไม่ต้องปั้นหน้า ไม่ต้องฝืนใจทำ ฯลฯ ซึ่งถ้าคิดให้ดี ก็เป็นการคิดเข้าข้างตัวเองทั้งนั้น แต่ลืมคิด เพื่อส่วนรวม เพื่อผลระยะยาว
Pitipol
ตอบตอบ: 22/12/2009 12:14 am    ชื่อกระทู้:

สาเหตุหนึ่งที่คิดได้คือ

ประเทศที่มีการเกษตรแบบมีระบบแบบแผนและการจัดการที่ดี เท่าที่เห็นมีแต่ประเทศที่มีการศึกษาที่ดี เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้หวัน อิสราเอล เยอรมัน อเมริกา

การศึกษาน่าจะช่วยให้เกษตรกรมี ระบบความคิด ที่ดีขึ้นกว่าเก่า มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

ในเมื่อประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการศึกษาอยู่ ก็เป็นเรื่องยากที่เราจะพัฒนาการเกษตรของเราให้เป็นระบบได้ยกตัวอย่างใต้หวัน คนที่ทำอาชีพเกษตรกรส่วนมากจะเป็นคนปลดเกษียณ ซึ่งแน่นอนว่าคนเหล่านี้ มีวุฒิศึกษาและประสบการณ์อยู่แล้ว แตกต่างจากประเทศไทย ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีวุฒิการศึกษาที่น้อยกว่าอาชีพอื่นๆ
kimzagass
ตอบตอบ: 21/12/2009 5:55 pm    ชื่อกระทู้:

ทุกสาเหตุ "ถูกต้อง" ยิ่งค้นหาสาเหตุก็จะยิ่งพบ.....ค้นหาสาเหตุต่อซี่

ลุงคิมครับผม
Pitipol
ตอบตอบ: 21/12/2009 3:34 pm    ชื่อกระทู้:

ผมคิดว่าคนไทยก็ทำได้แล้วนะครับระบบ JIT เนี๊ย
แต่ไม่ใช่เกษตรกรทั่วไป เป็นบริษัทใหญ่ๆ ครับ

และผมเชื่อว่าบริษัทพวกนี้เขาก็อยากให้เกษตรกรทั่วไปผลิตวัตถุดิบให้เขาเช่นกัน
เพราะพวกเขาก็ไม่สามารถผลิตวัตถุดิบให้เพียงพอต่อความต้องการได้ด้วยเองอย่างเดียว

แล้วทำไมมันถึงไม่มีการร่วมกันหละครับ ระหว่างเกษตรกรและบริษัท
หรือว่ามีแต่น้อยมากๆ เลย ไม่ถึง 1% ของเกษตรทั่วประเทศ

และที่เกษตรกรไม่ยอมทำตามเพราะเหตุผลต่างๆ
-เหนื่อย
-ยุ่งยาก
-ยังโดนเอารัดเอาเปรียบ
-ขี้เกียจ
-ไม่มีความรู้
-ฯลฯ
รึป่าวครับ?
kimzagass
ตอบตอบ: 21/12/2009 5:32 am    ชื่อกระทู้:

แบบนี้เห็นทีอีก "ยาวไกล" นะ ที่เกษตรกรไทยจะไปถึง ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (รัฐบาล-ราชการ-เกษตรกร) เมื่อวิเคราะห์ลึกๆแล้วล้วนแต่มีปัญหาในการที่จะ "พัฒนา" ให้สอดคล้องกับตลาดต่างประเทศได้

ทางออกวันนี้.....เมื่อ "ส่งนอก" ไม่ได้ก็ให้ "ส่งใน" แทน หมายความว่า ทำเพื่อขายในประเทศเรานี่แหละ โดยวางแผน....
1....ทำให้ได้ผลผลิต เกรด เอ. จัมโบ้. ออกนอกฤดู
2....ปลูกพืชหลายอย่างแล้วให้มีผลผลิตทะยอยออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี
3....แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (โอท็อป)
4....ปรับเป็นสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ครบวงจร (ชม-ชิม-ซื้อ-พัก)
5....ฯ ล ฯ


ลุงคิมครับผม
Pitipol
ตอบตอบ: 19/12/2009 10:07 pm    ชื่อกระทู้: "มังคุด-มะม่วง" JUST IN TIME เกรดญี่ปุ่น

ที่มา : http://www.logisticsdigest.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2321&Itemid=72
Source: ประชาชาติธุรกิจ
Date : 08-Dec-08

มะม่วง-มังคุด JUST IN TIME เกรดญี่ปุ่น
แม้วิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐจะส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว หลายประเทศลดการนำเข้าสินค้าหลายชนิด ขณะที่อีกหลายประเทศความต้องการสินค้าเกษตรยังมีสูง โดยเฉพาะตลาดผัก ผลไม้ ญี่ปุ่นนำเข้า ปีละ 83,000 ล้านบาท โดยเฉพาะผลไม้ในประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการเฉลี่ยประมาณ 9 ล้านตันต่อปี ผลิตเองภายในประเทศได้ 7 ล้านตัน นำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 1.8 ล้านตันต่อปี นำเข้าผลไม้จากไทยปริมาณ 4,252 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 453 ล้านบาทเท่านั้น

โดยเฉพาะความต้องการมังคุดและมะม่วงยังมีความต้องการสูงมากทีเดียว แต่เกษตรกรไทยผลิตได้ตามมาตรฐานคุณภาพที่ญี่ปุ่นกำหนดเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอที่ผู้นำเข้าจะไปลงทุนทำโฆษณาในตลาดญี่ปุ่น ขณะที่สินค้าที่ได้ยังส่งมอบไม่ตรงเวลา พบสารเคมีตกค้าง

ดังนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมมือกับสถาน เอกอัครราชทูตไทยในประเทศญี่ปุ่น สำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดสัมมนาเรื่อง "Just In Time มังคุด-มะม่วงคุณภาพสู่ตลาดญี่ปุ่น" เพื่อนำระบบการพัฒนาการผลิตให้ได้ผลไม้คุณภาพสม่ำเสมอ ปลอดภัย และทันเวลาในปริมาณที่ตลาดต้องการ (just in time) มาพัฒนามังคุดและมะม่วงส่งออก เพื่อหวังขยายความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และผู้ค้าในญี่ปุ่น พัฒนาผลไม้คุณภาพและปลอดภัยสู่ผู้บริโภค โดยตั้งเป้าผลักดันการเพิ่มมูลค่าผลไม้ไทยในตลาดญี่ปุ่นได้ ร้อยละ 10-15 หรือประมาณ 50 ล้านบาท

รศ.นพรัตน์ รุ่งอุทัยศิริ อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บรรยายเรื่องระบบและการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตและส่งมอบแบบทันเวลา (just in time) ว่า ถึงเวลาที่เกษตรกรไทยจะต้องคิด นอกกรอบ ต้องทำ JIT ตั้งแต่ในสวน เริ่มจากการคัดเลือกสายพันธุ์รสชาติที่นิยม การดูแลทุกขั้นตอน เมื่อเปิดตาดอกต้องใส่ปุ๋ยอะไร รดน้ำเมื่อไหร่ ใส่ปุ๋ยวันที่ เท่าไหร่ เก็บเกี่ยวต้องมีขั้นตอนที่ดี เพื่อวางแผนเป้าหมายส่งให้ทันวันที่ 20 ธันวาคม ต้องเคารพต่อเวลาทุกขั้นตอน และระหว่างการขนส่งต้องส่งทันเวลาพอดี ไม่ต้องมีจุดพักหลายครั้ง (double handling) ไม่ต้องมีโกดัง ไม่ต้องการ สต๊อกสินค้า เพราะสินทรัพย์ถ้าอยู่เฉยๆ เป็นค่าใช้จ่ายเป็นหนี้สิน ทุกขั้นตอนญี่ปุ่น จะมีการวางแผนเพื่อให้ขายสินค้าได้ทันเทศกาล ดังนั้นเกษตรกรไทยต้องเคารพตามเงื่อนไขสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยทั้งห่วงโซ่อุปทานต้องมีการทำงานประสานกันทั้งเครือข่าย ทั้งชาวสวน คนรวบรวม คนบรรจุกล่อง ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า คนเคลียร์ผ่านพิธีการศุลกากร คนตรวจคุณภาพสารปนเปื้อนจะต้องไปด้วยกันทั้งห่วงโซ่อุปทาน

ทางญี่ปุ่นมีวิธีคิดใหม่ คือ การลดต้นทุนได้ด้วยการส่งแบบระบบพอดีเวลา (JIT) ลดต้นทุนค่าขนส่ง ลดต้นทุนค่าห้องเย็น เมื่อต้นทุนลดลง ราคามังคุดก็ถูกลง ผลไม้ไม่บอบช้ำ ได้ผลไม้มีคุณภาพ ตลาดโลกต้องการผัก ผลไม้ที่สด อร่อย สุกพอดี และสม่ำเสมอ ที่สำคัญการค้ากับญี่ปุ่น การรักษาสัญญาถือเป็นเรื่องสำคัญ หากตกลงว่าจะส่ง 300 ตัน ต้องส่งให้ได้ครบตามจำนวน เพราะญี่ปุ่นได้วางแผน โปรโมตไปแล้ว ถ้าประเทศไทยมีปริมาณมังคุดไม่มากพอตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ ผู้นำเข้าลงทุนทำตลาดไม่คุ้มค่าโฆษณา และต้อง ส่งให้ทันเวลาพอดี ซึ่งเกษตรกรต้องวางแผนให้ทัน

เกษตรกรจะได้ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงมาก อย่างทุกวันนี้เห็นเกษตรกร ข้างบ้านปลูกอะไรรวยก็ปลูกตาม ไม่มีข้อมูลอย่างอื่น พันธุ์พืชใช้เท่าที่มี ใส่ปุ๋ยใส่ยาเท่าที่เงินมี การดูแลหลังการเก็บเกี่ยวหยิบใส่เข่งไปส่ง ขึ้นรถขนส่งต่อไป หลายทอด มีจุดแวะพักมากเกินไป ทำให้เกิดความบอบช้ำ ต้องโยนทิ้งไป มีต้นทุนเช่าห้องเย็น ขณะที่ผลไม้เป็นของเน่าเสียเร็ว ต้นทุนสูง ของไม่สด


JIT หมายถึงการคิดนอกกรอบ เอาตลาดเป็นตัวตั้ง มองตลาดเป็นตัว ขับเคลื่อน มองสังคมเป็นเครือข่าย ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า ชาวสวนทุกคนต้องมีคุณค่าในการทำงาน ทุกคนต้องอยู่เป็นเครือข่ายและแชร์ข้อมูลกัน ต้องเป็นเกษตรกรรมที่มีการทำสัญญากับผู้ซื้อ มีการตกลงราคาและปริมาณกันล่วงหน้าชัดเจน การทำสัญญาค้าขายกับญี่ปุ่น ใบสั่งซื้อคือความปลอดภัยของทั้งปี สัญญาเป็นสัญญา

ทุกคนต้องมีวินัยในการทำงาน มีการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรมาช่วยในการผลิต หลังเก็บเกี่ยวดูแลอย่างไรให้ได้คุณภาพ ขนส่งอย่างไรให้ได้ทันเวลา การทำทุกอย่างไม่ง่ายแต่ต้องทำ เพื่อพลิกฟื้นชีวิตใหม่ของเกษตรกร เกษตรกรจะไม่มีความเสี่ยงในการหาตลาด และไม่มีความเสี่ยงด้านราคา


ทั้งนี้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาช่วยดูแล สนับสนุน อำนวยความสะดวกให้เกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ตลาดต้องการ