-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ลักษณะทางพันธุกรรมที่แท้จริงของพืช
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
ตอบตอบ: 08/12/2009 4:37 am    ชื่อกระทู้:

การขยายพันธุ์ทุเรียนด้วยการเพาะเมล็ด (อาศัยเพศ) จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ ทุเรียนหลากหลายสายพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็เกิดจากการเพาะเมล็ดแล้วกลายพันธุ์เช่นกัน แต่ถ้าใช้วิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบกิ่ง เสียบยอด หรือการตอนกิ่ง (ไม่อาศัยเพศ) เพื่อให้ได้พันธุ์ที่คงที่เหมือนต้นแม่

การนำกิ่งพันธุ์ทุเรียนไปปลูกในพื้นที่เดียวกัน ส่วนใหญ่รสชาติจะใกล้เคียงกัน เพราะเราดูแลคล้ายๆกัน อาจจะมีบ้างที่ลักษณะความเข้มของสีเนื้อทุเรียนต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพของการได้รับแสงแดดรอบทรงพุ่ม

เคยมีเพื่อนบ้านนำทุเรียนพันธุ์นกกระจิบที่ได้จากการทาบกิ่งไปปลูกที่สวนของตัวเอง ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกัน ลักษณะต้น ใบ ทรงพุ่มเหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้นรูปทรงของลูกและรสชาติ ส่วนอีกสวนหนึ่งนำกิ่งพันธุ์ไปปลูกเช่นกัน ทุกอย่างเหมือนกันหมดแม้แต่รูปทรงของลูก แต่รสชาติไม่อร่อย ปัจจุบันก็โค่นทิ้งหมดแล้ว

วิธีการขยายพันธุ์มีผลต่อการกลายพันธุ์ของพืชบางชนิด ส่วนรสชาติและคุณภาพของผลผลิตน่าจะขึ้นอยู่กับการดูแล การให้ธาตุอาหารครบตามที่พืชต้องการ

ถ้าเราสังเกตุจากลักษณะภายนอกของพืช จะพบว่าสภาพแวดล้อมที่ปลูกมีผลต่อการแสดงออกของพืช ส่วนผลการกลายพันธุ์คงต้องมีการตรวจสอบ DNA
ott_club
ตอบตอบ: 07/12/2009 9:48 pm    ชื่อกระทู้:

พืชจะแสดงลักษณะทางพันธุกรรมที่แท้จริงได้ก็ต่อเมื่อพืชได้รับธาตุอาหารครบทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ครบตามความต้องการที่แท้จริงของพืชแต่ละชนิด เช่น ทุเรียนนกกระจิบ จะแสดงลักษณะคุณภาพของทุเรียนนกกระจิบแท้ๆ ก็ต่อเมื่อได้รับธาตุอาหารที่มันต้องการครบถ้วน

หลายต่อหลายคนได้พันธุ์พืชอะไรไปแล้ว แต่ดูแลโดยไม่ได้ให้ธาตุอาหารตรงตามความต้องการของพืชชนิดนั้น คือให้แต่ธาตุอาหาร NPK ขาดธาตุรอง ธาตุเสริม พืชจึงไม่สามารถแสดงลักษณะทางพันธุกรรมที่แท้จริงออกมาได้ เช่นผลผลิตต่อไร่ ขนาด สี กลิ่น รสชาดที่มักผิดเพี้ยนไป จึงไปโทษที่ต้นพันธุ์ว่า "ของปลอม" หากพืชด่าได้มันก็คงด่ากลับเหมือนกัน แกซิของปลอม 555

เพราะฉะนั้นทุกวันนี้เกษตรกรยังปลูกพืชได้ต่ำกว่าลักษณะทางพันธุกรรมที่แท้จริงอยู่มาก เพราะอะไรลองคิดดู
อ๊อดครับ
ott_club
ตอบตอบ: 07/12/2009 9:21 pm    ชื่อกระทู้: ลักษณะทางพันธุกรรมที่แท้จริงของพืช

ที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8

ความปรวนแปรของพันธุ์หรือการกลายพันธุ์ของพืช


การปรับปรุงพันธุ์พืช คือ การผสมและคัดเลือกพันธุ์พืช เพื่อให้ได้พืชที่มีลักษณะที่ดีตามที่นักปรับปรุงพันธุ์พืชต้องการ หรือดีกว่าพันธุ์ที่มีอยู่เดิม และสามารถนำพันธุ์ไปขยายพันธุ์ต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ได้พันธุ์ที่ผลได้ต่อไร่สูง รสชาติอร่อย และผลใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น การคัดเลือกจึงทำได้จากการคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือทำให้พืชมีความปรวนแปรหรือกลายพันธุ์มาก ๆ ด้วยการผสมพันธุ์ หรือวิธีการอื่น ๆ การคัดเลือกพันธุ์บางลักษณะก็ทำได้ง่าย เช่น จากสีหรือลักษณะของเมล็ดเป็นต้น แต่บางลักษณะก็ทำได้ยาก เช่น ผลได้ต่อไร่ ปริมาณน้ำมันในเมล็ด หรือน้ำตาลในอ้อยเป็นต้น การที่พืชในชั่วลูกชั่วหลานมีลักษณะถ่ายทอดเหมือนพ่อแม่ค่อนข้างมากนั้น เรา เรียกว่า "กรรมพันธุ์" (Heredity) ของพืชนั้น แต่ถ้ามีความแตกต่างจากพ่อแม่มากเราเรียกความแตกต่างนั้นว่า "ความปรวนแปร" หรือ "การกลายพันธุ์" (Variation) ความปรวนแปรอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ

พันธุกรรม (genetic) เป็นปัจจัยที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และมี "หน่วยกรรมพันธุ์" เป็นหน่วยคุมลักษณะเล็กสุดเรียกว่า "ยีน" (Gene) ที่ตั้งอยู่ใน "โครโมโซม" (chromosome) ซึ่งอยู่ในเซลล์ของพืช พืชจะมีลักษณะ ดี เลว เล็ก ใหญ่ หรือสีแดง ขาว จะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของพืชนั้น ลักษณะพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้

สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่ทำให้ลักษณะภายนอกพืชต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะที่ควบคุมโดยพันธุกรรม ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่สิ่งที่อยู่แวดล้อมพืช เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชุ่มชื้นในดิน อุณหภูมิของบรรยากาศ โรคและศัตรูพืช ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้พืชมีขนาดใหญ่ โตเร็ว หรือมีรสชาติดีเลวกว่าลักษณะที่แท้จริงได้ แต่เป็นลักษณะที่ไม่ถ่ายทอดไปสู่ชั่วลูกหลาน

การคัดเลือกพืชจึงจำเป็นต้องมีวิธีการเลือกพืชให้ได้พืชลักษณะดีที่เกิดจากการควบคุมทางพันธุกรรมอย่างแท้จริง เพื่อให้ลักษณะดีเหล่านั้นสามารถถ่ายทอดไปปรากฏแก่พืชในชั่วลูกหลานได้อย่างแน่นอนและคงอยู่ตลอดไป