-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - Ca.Br. มีปัญหา
ผู้ส่ง ข้อความ
KU65
ตอบตอบ: 25/11/2009 11:17 am    ชื่อกระทู้:

ขอบคุณค่ะ
Aorrayong
ตอบตอบ: 25/11/2009 5:11 am    ชื่อกระทู้:

ธาตุอาหารสำหรับพืช
เป็นจุลธาตุที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโต และการพัฒนาเชลล์ของพืช พืชดูดโบรอนจากดินในรูป กรดบอริก (H3 BO4 ) และเปลี่ยนไปในรูปที่พืชใช้ได้ พีเอชของดินที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 5.5-6.0 ถ้าพีเอชสูงกว่านี้การใช้ประโยชน์ได้ของพืชจะลดลง ยิ่งมากกว่า 8.5 เกิดดินด่างจัดมีแคลเซียมมากเมื่อรวมตัวกับโบรอนเกิดตะกอนหรือโครงสร้างสาร ประกอบที่ซับซ้อน พืชจึงไม่สามารถดูดไปใช้ได้

ที่มา http://www.school.net.th/library/snet5/topic2/B.html


Boron(B) โบรอน
เลขอะตอม 5 ธาตุแรกของหมู่ IIIA ในตารางธาตุ จัดเป็นกึ่งโลหะ
น้ำหนักอะตอม 10.811 amu
จุดหลอมเหลว 2300 ํc
จุดเดือด (โดยประมาณ) 2550 ํc
ความหนาแน่น 2.34 g/cc
เลขออกซิเดชันสามัญ +3

การค้นพบ
สาร ประกอบของโบรอนเป็นที่รู้จักเป็นเวลาประมาณ 6000 ปีแล้ว มีการบันทึกไว้ว่า ชาวบาบิโลน (Babylonians) ชาวอียิปต์ ชาวจีน และชาวอาหรับได้เคยใช้สารประกอบของโบรอน ชาวอาหรับเรียกแร่หลายชนิดของโบรอนว่า "baurach" ซึ่งรวมถึงโบเรกซ์ (borax) ซึ่งเป็นแร่สามัญของโบรอนในปัจจุบัน

โบรอนในรูปของธาตุอิสระไม่เป็นที่รู้จักจนกระทั่งต้น ศตวรรษที่ 19 Sir Humphrey Davy, Gay-Lussac และ Thernard ได้เตรียมธาตุโบรอนขึ้นโดยนำโบรอนไตรออกไซด์ (B2o3) มารีดิวซ์ด้วยโพแทสเซียม (K) และโดยการนำกรดโบริกที่ขึ้นมาแยกสลายด้วยไฟฟ้า (electrolysis) โบรอนอิสระที่เขาเหล่านั้นเตรียมได้มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 50 เท่านั้น

หลังจากนั้นประมาณ 50 ปี ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์โบรอนที่คล้ายคลึงกับเพชรและแกรไฟต์ ผลิตภัณฑ์โบรอนที่มีสมบัติแข็งแกร่งคล้ายเพชรมี อะลูมินัมโบไรด์ (AlB12) เป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนที่คล้ายแกรไฟต์เป็นของผสมของ boron-aluminum-carbide

ต่อจากนั้นได้มีการเตรียมโบรอนที่มีความบริสุทธิ์สูงประมาณ 90 % โดยการนำ B2O3 มารีดิวซ์ด้วยโลหะ Mg โบรอนที่ได้มีสีน้ำตาลอ่อนและมีโครงสร้างอสัญฐาน

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการศึกษาสมบัติและเคมีของโบรอนอย่างจริงจัง และพบว่าธาตุนี้มีสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น สามารถเกิดสารประกอบและสารเชิงซ้อนที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้โบรอนที่มีความบริสุทธิ์สูงเตรียมได้โดยการแยกสลายด้วยไฟฟ้าและวิธี vapor deposition

การใช้ประโยชน์
1. ใช้ทำโลหะเจือสำหรับการใช้งานพิเศษ
2. เป็นตัวดูดนิวตรอนในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพื่อควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์
3. เส้นใยของโบรอนใช้ผสมกับโลหะ ทำให้โลหะมีความเหนียวขึ้น
4. ใช้เป็นกึ่งตัวนำ (semiconductors)
5. ใช้ผสมในเชื้อเพลิงขับจรวด
6. ผสมในโลหะเจือที่ใช้งาน ณ อุณหภูมิสูงมาก ๆ

ความเป็นพิษ
โบรอนในรูปของโลหะไม่เป็นพิษ ในรูปผงหรือฝุ่นแข็งและคนมาก อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้เมื่อสัมผัส นอกจากนี้ผงหรือฝุ่นของโบรอนติดไฟได้เองในอากาศ จึงอาจเกิด อัคคีภัยและการระเบิดได้

โบรอนในปริมาณเล็กน้อยดูเหมือนจะจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชและเป็นพิษถ้ามีปริมาณมากเกินไป

สารประกอบของโบรอนเป็นพิษต่อระบบประสาทกลางของคนเรา และความเป็นพิษในแบบสะสมทำให้เกิดอาเจียน ท้องร่วง ช๊อค และผื่นคันที่ผิวหนังได้ อาการพิษจะร้ายแรงเพียงใดขึ้นกับปริมาณที่ร่างกายรับเข้าไปหรือมีสะสมอยู่

การรับโบริกครั้งละ 15-20 g สำหรับผู้ใหญ่ และ 5-6 g สำหรับเด็กทำให้ถึงตายได้

ผู้เขียน : ดร.ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์
ที่มา : รวบรวมจาก หนังสือสารานุกรมธาตุ

.................................................................................................................................................

49......รุ่นค่ะ คนแก่ชอบคุยความหลังกัน
man_supakarn
ตอบตอบ: 24/11/2009 10:50 pm    ชื่อกระทู้: แมน

ผมว่าโบรอนพืชก็น่าจะหาซื้อคอนข้างง่ายน่ะครับ

เล่นเอาบอแรกซ์มาทำเลย......สงสัยพี่เค้าเรียนภาควิชาเคมีมั้งครับ......
แล้วตกลงมันใช้ไม่ได้ใช่มั้ยครับ เพราะโมเลกุลมันต่างกัน

ธาตุอาหาร : โบรอน
หน้าที่หลักของธาตุโบรอน

1. ควบคุมขบวนการเคลื่อนย้ายน้ำตาล
2. มีส่วนร่วมในการสร้างผนังเซลล์
3. ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน และคาร์โบไฮเดรท
4. เพิ่มการติดดอก
5. ช่วยให้พืชใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ช่วยให้ผลแก่พร้อม ๆ กัน
7. ช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพ เก็บได้นาน จัดส่งได้ไกล

สิ่งเหนี่ยวนำให้เกิดธาตุโบรอน
1. ธาตุโบรอนเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้าย พืชจำเป็นต้องได้รับ อย่างสม่ำเสมอ
2. ดินเป็นกรด พีเอช น้อยกว่า 4.5 หรือดินเป็นด่าง พีเอช มากกว่า 7.5
3. มีฟอสฟอรัสในดินต่ำ
4. ใช้ปูนขาว หรือโดโลไมท์มากเกินไป
5. ดินมีอินทรีย์วัตถุน้อยเกินไป หรือดินทราย
6. อากาศแห้ง มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
7. มีไนโตรเจน และโปแตสเซี่ยมในดินสูง
kimzagass
ตอบตอบ: 24/11/2009 8:54 pm    ชื่อกระทู้:

เลข 49 นี่คือ "พ.ศ." หรือ "รุ่น" ......
เอ้.... แล้วเรา "รุ่น" ก็ไม่มี พ.ศ.ก็ลืม..... แก่แล้วเนาะ
Aorrayong
ตอบตอบ: 24/11/2009 8:03 pm    ชื่อกระทู้:

ที่มา http://arts.kmutt.ac.th/ssc210/Group%20Project/ASSC210/2.48kraivad%20nok/%E0%B8

บอแรกซ์ (Borax) หรือน้ำประสานทอง จีนเรียกเพ่งแซ เป็นเกลือของกรดบอริด (โซเดียมบอเรต) เป็นสารประกอบของธาตุโบรอน (Boron) ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเติบโตของพืช

คุณสมบัติของบอแรกซ์

เป็นผลึกรูปโมโนคลินิก ( monoclinic ) ไม่มีกลิ่น สีขาวบริสุทธิ์ ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity ) = 1.73 จุดหลอมเหลว 71 องศาเซลเซียส จุดเดือด 320 องศาเซลเซียส ไม่ติดไฟ มีกลิ่นฉุนเมื่อละลายในน้ำร้อน ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี ละลายในน้ำเย็นได้สารละลายใส ความสามารถในการละลายน้ำ 5.1 กรัม/ 100มิลลิลิตร ที่ 20 องศาเซลเซียส สารละลายมี ph เป็นด่าง ประมาณ 9.5 ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการซักล้างและทำความสะอาด นอกจากนั้นยังช่วยยับยั้งขบวนการเมตาโบลิซึมของสารอินทรีย์หลายชนิด จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาฟอกขาว คลอรีน น้ำยาซักรีด ยาฆ่าแมลงพวกมด แมลงสาบ ยาฆ่าเชื้อราและยาปราบวัชพืช นอกจากนั้นยังนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น ยาล้างตา น้ำยาบ้วนปาก และอื่นๆ เนื่องจากมีสรรพคุณฆ่าเชื้อโรคและแบคทีเรียอย่างอ่อน ปัจจุบันจึงมีการแอบนำเอาบอแรกซ์มาใช้เป็นสารกันเสียในกรรมวิธีและส่วนผสมของน้ำยาเคมีในงานหลายชนิด กาว สำหรับงานวาดและงานปั้น โคลนแต่งสีแต่งกลิ่นในงานศิลปะเด็ก การเก็บรักษาดอกไม้สด และผลิตดอกไม้แห้ง รวมทั้งการปรับสภาพ pH หลังการดองสต้าฟสัตว์ให้คงสภาพเหมือนมีชีวิต


................................................................................................................................................................................................
แสดงว่า โบรอนที่น้องใช้ น่าจะเป็นบอแรกซ์ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง เพราะเมื่อทำปฏิกกิริยากับกรด จึงทำให้เกิดตะกอน


KU....untouchable

From.....KU49.....EC32
ott_club
ตอบตอบ: 24/11/2009 4:35 pm    ชื่อกระทู้:

ผมเห็นนามแฝงคุณแล้วหนาวน่ะครับ KU 65 คงหมายถึง kasetsart university หรือเปล่าครับ


กรดโบริค คงไม่ใช่ตัวที่จะนำมาทำ แคลเซี่ยม-โบรอน พืชครับ เพราะเห็นเขาใช้โบแร็กซ์และโบริคในการทำทอง

ลองหาโบรอนพืช ที่ใช้กับพืชมาลองดูนะครับ



เป็นกำลังใจให้นะครับ
อ๊อดครับ
KU65
ตอบตอบ: 24/11/2009 3:02 pm    ชื่อกระทู้:

โบรอนพืช ที่ว่านี้คือ กรดบอริค ใช่หรือเปล่าคะ
ott_club
ตอบตอบ: 24/11/2009 2:51 pm    ชื่อกระทู้:

อาการขุ่นนั่นนะคงเกิดจาก กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ

จากการสังเกตุคุณใส่แคลเซี่ยมก่อนแล้วใส่ธาตุรองธาตุเสริมแล้วใส่โบรอน พอใส่โบรอนมีปัญหาเลย

ผมว่าผิดที่โบรอนที่คุณใช้ เพราะโดยปกติโบรอนพืชจะมีสภาพเป็นกรด แต่คุณไปเอาโบรอนอะไรมาใช้

โบแรกซ์
หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือน้ำประสานทอง ซึ่งชื่อก็บอกอยูแล้วว่าใช้ในวงการอุสาหกรรมทอง ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่ให้สารโบรอนแต่ไม่เหมาะมาใช้กับพืชเพราะโมเลกุลไม่เหมือนกัน

คุณลองหาโบรอนพืชมาทำใหม่ครับ ของเดิมเททิ้งเพราะใช้ไม่ได้ แก้ไขอะไรก็ไม่ได้แล้ว

อ๊อดครับ
KU65
ตอบตอบ: 24/11/2009 2:32 pm    ชื่อกระทู้:

15-0-0 1200 กรัม
โบรอน(บอแรกซ์) 400 กรัม
ธาตุเสริม 500 กรัม
น้ำ ph 5 20 ลิตร

หนูก้อพอจะรู้ว่าบอเเรกซ์มันเป็นด่าง เเต่ว่ามีอยู่เเล้วก็เลยใช้ มันผิดที่บอเเรกซ์หรืออย่างอื่นคะ

เริ่มเเรกละลาย 15-0-0 จนละลายหมด
อีกถังละลาย บอเเรกซ์ จนละลายหมด
อีกถึงละลายธาตุเสริมจนละลายหมด

เเล้วค่อยผสมททั้งหมดรวมกันทีหลัง เรียงโดย 15-0-0 กับธาตุเสริมก่อน ก็ใสดี
เเต่ว่าพอเติมบอเเรกซ์ที่ละลายเเล้ว เท่านั้นเเหละน้ำขุ่นเลย

ทำไงดีคะ
Pitipol
ตอบตอบ: 24/11/2009 2:18 pm    ชื่อกระทู้:

เรื่องแก้ไข ขอให้ผู้มีประสบการณ์เหมือนมาตอบแล้วกันนะครับ เพราะผมทำแล้วมันใส

แต่ขอถามก่อนว่า ที่ทำไปมีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง มีการตรวจสอบอะไรบ้าง ใส่แต่อย่างปริมาณเท่าไร ก่อนหลัง?
KU65
ตอบตอบ: 24/11/2009 1:40 pm    ชื่อกระทู้: Ca.Br. มีปัญหา

คือว่า ทำแคลเซียมโบรอน แล้วมันออกมาขุ่นๆอ่ะค่ะ มันไม่ใส เลยอยากทราบว่า มันใช้ได้หรือเปล่าคะ
หรือเป็นเพราะหนูไม่ได้ใส่กลูโคสไปอ่ะค่ะ มีวิธีเเก้ยังไง เเนะนำหน่อยค่ะ

ช่วยหน่อยนะคะ คือทำเสร็จเเล้ว เสียดายค่ะ