-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ญี่ปุ่นปรับมาตรฐานสารตกค้าง เตือนเกษตรกรไทยปรับตัว
ผู้ส่ง ข้อความ
pongphat
ตอบตอบ: 22/11/2009 8:13 pm    ชื่อกระทู้: ญี่ปุ่นปรับมาตรฐานสารตกค้าง เตือนเกษตรกรไทยปรับตัว

ญี่ปุ่นปรับมาตรฐานสารตกค้าง เตือนเกษตรกรไทยปรับตัว

วันที่: 19 พ.ย. 2552
ประเทศญี่ปุ่นแจ้งการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างในทางเกษตร คาดกระทบสินค้าข้าว มะม่วง สินค้าปศุสัตว์และสินค้าประมง เตือนภาคเกษตรและผู้ประกอบการไทยเตรียมปรับตัว

นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว รายงานว่า กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ได้แจ้งการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างในอาหาร

ทั้งนี้ได้กำหนดมาตรฐานสารเคมีตกค้างรายการใหม่ 5 ชนิด ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารแคดเมียมตกค้างในข้าวให้เข้มงวดขึ้น เป็น 0.4 ppm. จากเดิม 1.0 ppm. และแจ้งวิธีการยื่นคำร้องเพื่อกำหนด Import Tolerance (MRLs) ของสารเคมีตกค้าง รายการที่อนุญาตให้ใช้ในต่างประเทศ โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการกำหนดค่า MRLs ภายในประเทศญี่ปุ่น

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกระทรวงเกษตรฯของญี่ปุ่น ได้นำมากำหนดมาตรฐานสารตกค้างใหม่ ในสินค้าเกษตรและอาหารหลายชนิด ที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย โดยการกำหนดมาตรฐานสารเคมีการเกษตรตกค้างใหม่ ในส่วนของสารกำจัดวัชพืช Oxadiazon และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Oxadiazon ที่ส่งผลให้มีความเข้มงวดต่อข้าวมากขึ้น

นอกจากนี้ได้ปรับปรุงค่ามาตรฐานของสารกำจัดวัชพืช Dimethenamid สำหรับสินค้าธัญพืช พืชผัก ผลไม้ และสินค้าปศุสัตว์ ซึ่งส่งผลให้มีความเข้มงวด ในสินค้าข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง หอมหัวใหญ่และกระเทียมมากขึ้น

ส่วนสารกำจัดแมลง Tebufenozide ได้จัดทําร่างมาตรฐานใหม่ และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสารชนิดนี้ ทำให้มีความเข้มงวดขึ้นต่อสินค้าธัญพืช ผลไม้และสินค้าปศุสัตว์ ในส่วนสินค้าของไทย ได้แก่ ข้าว มะม่วง สินค้าปศุสัตว์และสินค้าประมง

นอกจากนี้ได้จัดทําร่างมาตรฐานใหม่สําหรับสินค้าประมง และปรับปรุงค่ามาตรฐานมีความเข้มงวดขึ้นต่อข้าว และสินค้าประมง และสารกำจัดหอยส่วนการแจ้งการแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง Cadmium จากมาตรฐานเดิมไม่เกิน 1.0 ppm. ในข้าวซ้อมมือ เป็นมาตรฐานใหม่ ไม่เกิน 0.4 ppm.ในข้าว และข้าวที่ผ่านการสีแล้ว ซึ่งเกษตรกรและผู้ส่งออกจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับตัวรับกับมาตรฐานใหม่ของญี่ปุ่นต่อไป

ที่มาของข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552