-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - รายงานผลประชุมสภาเกษตรกร
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
ตอบตอบ: 11/11/2009 5:38 am    ชื่อกระทู้:

ผู้มีอำนาจ มีเงินตรา แต่ไม่มีจิตสำนึกที่จะทดแทนคุณแผ่นดินเกิด หาผลประโยชน์บนความทุกข์ของประชาชนตาดำๆ
เอาความหวังเล็กๆน้อยๆของเกษตรกรผู้ยากไร้ เป็นบันไดพาดผ่านให้ตนเองเดินไปถึงจุดหมาย

"ผมเป็นลูกหลานเกษตรกร ทำนา ทำไร่ เหมือนกับพ่อแม่พี่น้องที่นั่งอยู่ที่นี่"
คำพูดเพื่อโน้มน้าวหาความชอบธรรม ในหน้าที่และสิ่งที่ตนเองกำลังจะตัดสินใจแทนเกษตรกร

ทำไมประเทศไทย ใช้เวลายาวนานตั้ง 30 ปี ที่จะมีองค์กรซักองค์กรหนึ่งซึ่งสะท้อนปัญหาของอาชีพ
ที่มีความสำคัญของประเทศ

ทำไม สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า ฯลฯ เกิดขึ้นได้ แต่ทำไม สภาเกษตรกร เกิดขึ้นไม่ได้ซักที
ทั้งๆที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่เกษตรกรจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคการเกษตรของไทย

หรือว่า อาชีพเกษตรกร ถูกมองว่าเป็นอาชีพของผู้ไม่มีความรู้ ด้อยโอกาสด้านการศึกษา ด้อยโอกาส
ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ถูกชี้นำได้ง่าย เพราะขาดกระบวนการคิด
จึงทำให้ผู้มีอำนาจจ้องแสวงหาผลประโยชน์ หยิบยื่นความช่วยเหลือที่แอบแฝงผลประโยชน์

ถ้าเกษตรกรไม่คิดที่จะพัฒนาตัวเอง ต่างคนต่างอยู่ ก็อย่าหวังที่จะฟื้นคืนศักดิ์ศรีในอาชีพนี้เลย
Pitipol
ตอบตอบ: 11/11/2009 4:22 am    ชื่อกระทู้:

เมื่อตะกี้ดูหนังจีนสมัยโบราณ พวกข้าราชการชั้นสูงติดสินบนกันเพื่อทำเรื่องต่างๆ ที่ตนเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าหาผู้ใหญ่ การหลบเลี่ยงความผิด การเลื่อนยศเลื่อนขั้น โดยใช้เงินทองที่มากมายกันเป็นว่าเล่น เพราะว่าตนเองนั้นมีเงินทองมากมายเป็นภูเขา แล้วเงินทองเหล่านั้นมากจากไหนเล่า ก็เงินที่มาจากการขูดรีดประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่มีฐานะยากจน

ก็ไม่ต่างอะไรกับประเทศไทยตอนนี้ เงินส่วนใหญ่ของประเทศก็รวมกระจุกอยู่กับกลุ่มข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักการเมือง และผู้มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกับนายทุนรายใหญ่ พวกเราก็แค่คนตัวเล็กๆ ไม่มีกำลังความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงระบบที่มีรากลึกนี้ได้ ก็อย่างที่ลุงคิมว่า "ช่วยตัวเองเถิดพวกเรา" ถูกต้องที่สุดแล้วครับ
kimzagass
ตอบตอบ: 10/11/2009 3:34 pm    ชื่อกระทู้:

ประเทศไทย....THAILAND.....TALKLAND.....PLANDLAND.....PROJECTLAND........สารพัดแลนด์....

ทุกแผน....ทุกโครงการ.....ทุกเทคโนฯ......เป็นเพียงลมปาก กับ กระดาษเปื้อนหมีก......แต่ละแผนแต่ละโครงการล้วนแต่เตรียมหรือเว้นช่องไว้สำหรับ "ผลประโยชน์" อย่างที่เขาเรียกว่า "ทุจริตเชิงนโยบาย" ไงล่ะ

ผู้มีหน้าที่คิด ก็คิด - คิด - และคิด
ผู้มีหน้าที่สั่งการ ก็สั่ง - สั่ง - สั่ง - และสั่งการ
ผู้มีหน้าที่คิดก็คิดไป.....ผู้มีหน้าที่สั่งการก็สั่งไป....คิดแล้ว-สั่งแล้ว "ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติ" ไม่ปฏิบัติซะอย่างใครจะทำไม หรือ ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติได้หรือไม่ ผู้คิด-ผู้สั่ง ไม่ต้องรับผิดชอบ

ยกตัวอย่าง (เน้นย้ำ.....ตัวอย่าง) :
เคยสังเกตุไหม.....ใครเข้ามาเป็น รมต.เกษตร จะลงนามอนุมัติ "แผนการ หรือ โครงการ รณรงค์ไม่เผาฟาง" ทุก รมต. เหมือนงานหรือภารกิจตามประเพณี....... ท่าน รมต.นั่งรถกลับบ้าน สองข้างถนนเผาฟาง สีดำปิ๊ดปี๋ไปทั้งทุ่ง เชื่อว่าท่านต้องเห็น แล้วท่านไม่สำเนียกอะไรเลยหรือ ทั้งๆที่ เมื่อวานนี้เพิ่งลงนามอนุมัติโครงการไม่เผาฟาง แล้วทำไมชาวนาจึงยังเผาฟางอยู่อีกล่ะ...... อันที่จริง ท่านน่าจะจอดรถ แล้ว ว-2 ถาม จนท.เกษตรในพื้นที่ว่า โครงการรณรงค์ไม่เผาฟางมีปัญหาอะไร เหตุใดจึงทำไม่ได้.....อีกหลายหลากหลายคำถามที่ผู้สั่งการพึงกำกับผู้ปฏิบัติการ

ปุจฉา......
1.....ท่านรู้หรือไม่ว่า แผนหรือโครงการณ์ ทำนองนี้เคยมี รมต.คนก่อนๆ ทำมาแล้วหรือไม่อย่างไร ? หรือท่านเป็นคนแรกที่สร้างแผนหรือโครงการณ์ขึ้นมาก
2....ท่านลงนามอนุมัติ แผนหรือโครงการ ไปแล้ว ท่านทราบหรือไม่ว่า ผู้รับคำสั่งได้ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ ได้ผลหรือไม่ได้ผล.......ท่านเคยตรวจสอบผลการปฏิบัติตามแผนหรือโครงการณ์ของท่านหรือไม่ ?
3.... หน่วยงานราชการระดับ "กระทรวงหรือกรม" มีกอง หรือฝ่าย หรือแผนก ประเมินผลงาน หรือติดตามผลการปฏิบัติตามแผนหรือโครงการ" หรือไม่

4.... หนี้สินเกษตรกรเต็มบ้านเต็มเมือง ผู้บริหาร (ทุกระดับ) ไม่รู้เรื่องเลยหรือ
5.... ความไม่ก้าวหน้า หรือความล้มเหลว ของภาคเกษตร ไม่มีใครรู้เลยหรือว่าเป็น "ความรับผิดชอบ" ของหน่วยงานใด

6.... เหนื่อย (ว่ะ)


ช่วยตัวเองเถิดพวกเรา
ลุงคิมครีบผม
ott_club
ตอบตอบ: 10/11/2009 7:25 am    ชื่อกระทู้:

ผู้เข้าร่วมประชุม 800 ช่วงบ่ายเหลือ 50 เท่ากับหายไป 750 เป็นการประชุมที่มีเนื้อหาน่าสนใจมากเลยนะน่ะ

ผู้ที่อยู่บนเวทีอดทน หรือผู้ฟังที่เหลืออยู่อดทนกันแน่เนี่ย

ประเทศไทยมีโครงการที่เป็นประโยชน์กับเกษตรกรสักกี่โครงการ ช่วยกันคิดหน่อย หากโครงการนี้เห็นผลเป็นรูปธรรม เกษตรกรได้ประโยชน์จริงๆ ก็ขออนุโมทนาด้วยครับ

อ๊อดเทวดา
kimzagass
ตอบตอบ: 10/11/2009 6:57 am    ชื่อกระทู้:

วันที่ประชุมกันนั้น มีสมาชิกวิทยุรายการสีสันชีวิตไทยเข้าร่วมประชุมด้วย....ถือเป็นแหล่งข่าวชั้นดี

แหล่งข่าวแจ้งว่า....
ช่วงเช้ามีผู้เข้าประชุมราว 800 คน (ลงทะเบียน) ช่วงเที่ยงพักรับประทานอาหาร ช่วงบ่ายประชุมต่อ ปรากฏว่าเหลือสมาชิกในห้องประชุมเพียง 50 คน เท่านั้น.....เรื่องอื่นๆจะรายงานให้ทราบต่อไป

จบข่าว....
Pitipol
ตอบตอบ: 09/11/2009 9:02 pm    ชื่อกระทู้:

ก็ต้องมีการจัดตั้งฝ่ายตรวจสอบเพิ่มเติมซิครับ แล้วให้มีอำนาจในการตรวจสอบอย่างเปิดเผยและสามารถส่งฟ้องได้ จะได้ไม่มีคนกล้าทำผิด "ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย"
kung
ตอบตอบ: 09/11/2009 7:27 pm    ชื่อกระทู้:

ก็ อย่างที่ลุงคิดนั่นแหละค่ะ กุ้งว่า ถ้าทั้ง 2 วิธีนี้ ทำแล้วอาจเกิดความไม่โปร่งใสเลยซักทางก็ให้คณะกรรมการเหล่านี้มา ดูแลจัดการ และลองศึกษา ปฎิบัติ จริงๆกันเลยดีกว่าจะได้รู้ว่าการที่จะเลือกใครมาทำหน้าที่นี้ จริงๆ เค้าต้องรู้จริงเรื่องอะไรบ้าง รู้อย่างเดียวไม่ได้นะคะ ต้องทำได้ด้วย จะได้สั่งงาน และควบคุมงานได้ด้วย
kimzagass
ตอบตอบ: 09/11/2009 6:48 pm    ชื่อกระทู้: รายงานผลประชุมสภาเกษตรกร

การสัมมนาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ…..สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรทั่วประเทศต่อการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติตามร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ

วัตถุประสงค์สำคัญของการสัมมนาครั้งนี้คือ คณะกรรมาธิการยกร่าง ต้องการให้มีการแสดงความคิดเห็น จากตัวแทนเกษตรกร โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องอภิปรายอยู่ 2 ประเด็นคือ

1. องค์กรเกษตรกร ควรเป็นนิติบุคคลหรือไม่
2. วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกเกษตรกรแห่งชาติและสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ว่าควรใช้วิธีเลือกตั้งหรือสรรหา



การสัมมนาครั้งนี้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเร่งด่วน เพราะการประชุมสภาฯสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ กำลังจะปิดสมัยประชุมในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552 ที่จะถึงนี้ ดังนั้นจะมีเวลาในการประชุมสภาฯ อีก 2 ครั้ง ทางคณะกรรมาธการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีมติที่จะบรรจุ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 2 ในการประชุมสภาฯสัปดาห์หน้า และทางคณะกรรมาธิการฯ จะทำการล็อบบี้วิปรัฐบาล เพื่อให้พิจารณาร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นวาระเร่งด่วน เพื่อให้สภาผู้แทนฯ ลงมติรับร่างฯในวาระที่ 2 และ 3 และจะรีบนำเข้าพิจารณาของวุฒิสภา ในลำดับต่อไป

ถ้าคณะกรรมาธิการฯ ไม่สามารถบรรจุร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ให้ทันในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตินี้ ก็จะต้องรอไปอีก 4 เดือน จนกว่าจะถึงการเปิดประชุมสามัญนิติบัญญัติ สมัยหน้า เพราะการประชุมสภาฯครั้งต่อไปจะเป็นสมัยประชุมสามัญทั่วไป

ถ้าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในวาระ 2 และ 3 รวมทั้งผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว ก็สามารถ ประกาศเป็นกฏหมายบังคับใช้ได้เลย ภายในเวลา 3 เดือน

ตัวแทนเกษตรกรมีความเห็นร่วมกันกับคณะกรรมาธิการฯ ขอให้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้

ข้อสังเกตุของการสัมมนาครั้งนี้คือ มีประเด็นข้อถกเถียงของคณะกรรมาธิการที่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เท่าที่เห็นคือ ฝ่ายหนึ่งต้องการให้ สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติและสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง ส่วนอีกฝ่ายต้องการให้มาจากการสรรหา ต่างฝ่ายต่างพยายามชี้นำให้ตัวแทนเกษตรกรเห็นตามแนวทางของตน แต่โดยส่วนตัวมีความเห็นว่าไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือการสรรหาล้วนแล้วแต่มีช่องโหว่ ให้เกิดความไม่โปร่งใสได้ทั้งนั้น เมื่อเราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงวิธีการทั้งสองได้ เราก็ควรให้ความสำคัญ กับรายละเอียดขั้นตอนของแต่ละวิธีการ เช่นถ้าใช้วิธีการสรรหา คณะกรรมการสรรหาควรเป็นกลาง และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ หรือถ้าเป็นการเลือกตั้ง หน่วยงานใดที่เข้ามาจัดการและดูแลให้การเลือกตั้งมีความโปร่งใส หรือผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งควรมี คุณสมบัติอย่างไรบ้าง

สภาเกษตรกรแห่งชาติ อาจจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเกษตรกร แต่ตราบใดที่องค์กรนี้ยังถูกครอบงำโดยหน่วยงานของรัฐบาล มิได้เป็นองค์กรอิสระ อย่างที่ตัวแทนเกษตรกรคาดหวัง เราก็คงไม่พ้นวังวนเดิม


หมายเหตุ :
กระทู้นี้เป็นของ "คุณอ้อระยอง" ที่ส่งให้ลุงคิมทาง "ข้อความ" ลุงคิมเห็นว่าน่าสนใจและน่าจะเป็น GUIDELINE สำหรับพวกเราหลายๆคนอาจจะวิภาควิจารย์หรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในประเด็น "หลักการ" ได้.....ระวัง ! อย่าเอ่ย "ชื่อบุคคล" นะ เพราะอาจถูกฟ้องหมิ่นประมาทได้

ลุงคิมครับผม Embarassed