-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 30 ส.ค
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 30/08/2011 6:50 am    ชื่อกระทู้: ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 30 ส.ค

ถาม-ตอบ ปัญหาเกษตร ทางวิทยุ-โทรศัพท์ 30 ส.ค


**********************************************************

สร้างสรรสังคม....ส่งเสริมคนดี....พัฒนาชีวิต ให้มีคุณภาพ...

กองทัพบกเพื่อประชาชน เสนอรายการสีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริม
ทางวิทยุ พล.ปตอ. เอเอ็ม 594 เวลา 08.10–09.00 และ 20.05-20.30 ทุกวัน

เช่นเคยครับ รายการเรา 1188 สายด่วน 4 ตัว ฝากข้อความ-ฝากคำถาม-ฝากข่าว
ก่อนเริ่มรายการที่ โทรศัพท์มือถือส่วนตัว (081) 913-4986

*********************************************************



จาก : (085) 739-94xx
ข้อความ : สวัสดีครับผู้พัน มีกี่ปัจจัยครับ ที่ทำให้ข้าวเมล็ดด่างครับ....ขอบคุณครับ

ตอบ :
- ไม่มีพืชใดในโลกนี้ที่ไม่มีศัตรูพืชประจำเผ่าพันธุ์
- ในโลกนี้ไม่มีสารเคมีหรือสารธรรมชาติใด ทำให้ส่วนของพืชที่ถูกทำลายไปแล้วดีคืนอย่างเดิมได้
- ศัตรูพืช คิอ สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ย่อมมีพัฒนาการของตัวเองเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ (เกิด กิน แก่ เจ็บ ตาย ขยายพันธุ์)

- ศัตรูพืชกินพืชเป็นอาหาร การกินพืชที่คนปลูกคนจึงเรียกว่าศัตรูพืช ศัตรูพืชกินเฉพาะพืชที่ชอบ ชอบรสและกลิ่น
- ศัตรูพืชมักไม่กินพืชที่มีรสหรือกลิ่นที่ไม่ชอบเสมอ
- สรรพสิ่งในโลกมีทั้งเกื้อกูลและทำลายซึ่งกันและกัน

ปลูกข้าวต้อง "รู้จัก" ศัตรูพืชของข้าว วันนี้ยังไม่มีเพราะยังไม่มา พอมาเถอะ เอาไม่ทัน เพราะฉนั้นต้อง "กันก่อนแก้" ให้ได้

ศัตรูพืชแต่ละชนิด [แมลง-หนอน-โรค (รา-แบคเทีเรีย-ไวรัส-พลาสมา-ฯลฯ)] ต่างต้องการสภาพแวดล้อมที่ต่างกันตามประเภทหรือชนิด ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ หรือตายไปเอง

แมลงตัวเล็กๆ, หนอนมีแต่หนังกำพร้าไม่สู้แม้แต่แสงแดด, เชื้อโรคเป็นเพียงสัตว์เซลล์เดียว, ..... ศัตรูพืชเหล่านี้ ทำไมจึงมีพลังภูมิต้านทานในร่างกายสู้กับฤทธิ์ของสารพิษ ขนาดยาฆ่าแมลงได้

(....มนุษย์ ถือว่าเป็นสัตว์โลกที่มีความอดทน (อึด) และภูมิต้านในร่างกายมากที่สุด กินยาฆ่าแมลงเข้าไปยังถึงตายได้....)

ดังนั้น ศัตรูพืชประเภท สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ เพียงแค่ "สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม" เท่านั้น ก็น่าจะตายได้


ซุนวู้ กล่าวว่า "รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง..." ฉันใด การจะสู้รบกับศัตรูพืช (แมลง-หนอน-โรค) ก็ต้องรู้ว่าศัตรูเหล่านี้มี "จุดอ่อน-จุดแข็ง" ตรไหน อย่างไร


คลิกไปอ่าน "รอบรู้เรื่องโรค - แมลง - หนอน"
http://www.kasetloongkim.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=2440




อ้างอิง :

เตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรค 'เมล็ดด่าง'

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศทุกภาคมีความกดอากาศสูง กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยทำให้อากาศเย็นลงและมีฝนฟ้าคะนองกระจายจะมีผลทำให้ข้าวที่อยู่ในระยะตั้งท้องใกล้ออกดอก มีความเสี่ยงสูงต่อโรคเมล็ดด่างและข้าวอาจชะงักการเจริญเติบโตได้ เกษตรกรควรควบคุมด้วยสารป้องกันกำจัดโรคเมล็ดด่างตามคำแนะนำของกรมการข้าว

โรคเมล็ดด่างของข้าวมักเกิดกับข้าวระยะใกล้ออกดอกและอากาศชื้นจัด ท้องฟ้าครึ้มติดต่อกัน สาเหตุเกิดจากเชื้อราเข้าไปทำลายและพัฒนาทำให้เกิดอาการเมล็ดด่างและเมล็ดลีบในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว ทำให้ลดลงทั้งผลผลิตและคุณภาพควรป้องกันโดยใช้สารกำจัดเชื้อราพ่น เช่น โปรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซลหรือโปรฟิโคนาโซล+โปคลอลาสหรือคาร์เบนดาซิม-อีพ็อกซี่โคนาโซล หรือฟลูซิลาโซล หรือทีบูโคนาโซล ตามอัตราที่ระบุ

สำหรับอาการของต้นข้าวที่ได้รับผลกระทบจากอากาศเย็นประมาณ 15-20 องศาเซลเซียสนั้น หากเกิดขึ้นกับข้าวที่อยู่ในระยะกล้า จะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต แคระ แกร็น ใบเหลือง และข้าวในระยะออกดอก ช่อดอกอาจโผล่ไม่พ้นใบธง กรณีที่อุณหภูมิลดต่ำกว่า22องศาเซลเซียส ในระยะผสมเกสร จะทำให้ไม่ติดและเกิดเป็นเมล็ดลีบแต่ไม่ควรตื่นตระหนกและไม่ควรใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีกำจัดศัตรูข้าวขอให้ติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดหากอากาศเริ่มอุ่นขึ้นต้นข้าวจะเจริญเติบโตได้ตามปกติแต่หากยังชะงักการเจริญเติบโตควรรีบปรึกษานักวิชาการจากหน่วยงานกรมการข้าวในพื้นที่ หรือศูนย์บริการชาวนา50แห่งทั่วประเทศ ในวันและเวลาราชการ

http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=09&id=8956




โรคเมล็ดด่าง (Dirty Panicle)



โรคเมล็ดด่างเป็นระยะข้าวให้รวง-ใกล้เก็บเกี่ยว โรคเมล็ดด่างเป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่ง โดยเฉพาะกับข้าวต้นเตี้ยที่ใช้ปุ๋ยสูง พบระบาดแพร่หลายกับข้าวนาปรัง โดยเฉพาะกับพันธุ์ กข 9 เคยพบว่าเป็นโรคนี้ติดต่อกันเป็นเนื้อที่กว่าพันไร่

ลักษณะอาการ
เกิดอาการรวงไหม้ทั้ง รวง แต่แตกต่างจากโรคไหม้คอรวงตรงที่โรคนี้ไม่เกิดแผลที่คอรวงและคอรวงไม่หัก เมล็ดลีบเป็นบางส่วน บนเมล็ดเต็มส่วนใหญ่จะมีแผลเป็นจุดสีน้ำตาล-ดำ บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาล และบางพวกมีสีเทา หรือสีปนชมพู ทั้งนี้ เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการแตกต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรา มักจะเกิดในช่วงที่ดอกข้าวผสมแล้วอยู่ในช่วงเป็นน้ำนมและกำลังจะสุก หลังจากนั้นประมาณเกือบเดือน (ใกล้เกี่ยว) อาการเมล็ดด่างจะปรากฏเด่นชัด โรคนี้สามารถแพร่กระจายไปกับลม และติดไปกับเมล็ด และอาจทำให้เชื้อราแพร่กระจายในยุ้งฉางได้

การป้องกันและกำจัด
1. ในระยะที่ข้าวกำลังจะให้รวง หรือให้รวงเป็นเมล็ดแล้ว ถ้ามีฝนตกชุก ควรวางมาตรการป้องกันแต่ต้นมือ โดยใช้ยาเคมี อาทิเช่น โพลีอ๊อกซิน, ซีสเทน, ฮีโนซาน หรือเดลซีน ฉีดพ่นตามคำแนะนำของนักวิชาการ

2. อย่าใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่เป็นโรค

http://forecast.doae.go.th/web/rice/34-rice-diseases/52-dirty-panicle.html

-------------------------------------------------------------------------


จาก : (087) 529-25xx
ข้อความ : ลุงคิมครับ วิตามิน อี. มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไรบ้างครับ ? และวิตามิน อี.สำหรับพืชโดยตรงมีขายไหมครับ ชนิดสำหรับคนกินใช้แทนกันได้ไหมครับ ?

ตอบ :
- ข้อมูลที่มีรู้ว่า วิตามิน อี. มีในหนังปลา

- วิตามิน อี.เกี่ยวข้องกับพืชในเรื่องของเกสรตัวผู้ตัวเมีย ซึ่งก็คือเรื่องเพศ ถ้าเป็นแบบ นี้ "เอสโตรเจน" ในน้ำมะพร้าวแก่ (ในน้ำหมักระเบิดเถิดเทิง) ก็น่าจะใช้ได้

- วิตามิน อี.สำหรับคนเท่าที่เห็นในร้านขายยาส่วนใหญ่เป็น "น้ำมัน" แล้วเราจะอามาผสมให้เป็นปุ๋ยทางใบให้แก่พืชได้ยังไง เพราะน้ำกับน้ำมันเข้าไม่ได้กัน

- ไม่ต้องกังวล ถ้าต้องการให้วิตามิน อี. กับพืชจริงๆ สามารถทำได้แม้วิตามิน อี.จะเป็นน้ำมันก็เถอะ....พืชกินอาหารได้ 2 ทาง ปากใบกับปลายราก ในเมื่อไม่สามารถให้ทางใบได้ก็ให้ทางรากซี่ ราดลงดินไปเลย จากนั้นจุลินทรีย์ก็จะเป็นตัวย่อยสลายเอาวิตามิน อี.ตัวนั้นออกมาให้พืชเอง แค่นี้ก็เรียบร้อยแล้ว

(....สารอาหารประเภทนี้ พืชมีความจำเป็นต้องการใช้เพียงระดับ พีพีเอ็ม. (1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน) เท่านั้น จึงไม่ต้องให้มาก หรือให้เพียงน้อยนิดก็พอ....)

- ในหนังสารคดีดิสคัพเวอรี่ .... แมลงจั๊กจั่นตกลงไปตายที่โคนต้นไม้จำนวนมาก ต่อมาถูกจุลินทรีย์ในดินย่อยสลาย ยังลายเป็น "ไคโตซาน" บำรุงพืชได้




อ้างอิง :

................. ฯลฯ ................

วิตามิน อี. ช่วยให้เกสรสมบูรณ์ แข็งแรง การผสมเกสรดีขึ้น

................ ฯลฯ .................

http://www.thaiagro.com/product_detail.php?show=10

-----------------------------------------------------------------------------------