-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - พืชสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 28/08/2011 8:17 am    ชื่อกระทู้:

28. จุลินทรีย์ปฎิปักษ์


จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ คือ จุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมจุลินทรีย์โรคพืช โดยการทำลาย ยับยั้งการเจริญ ลดหรือหยุดการ
แพร่ระบาดของจุลินทรีย์โรคพืช ด้วยการเข้าทำลายเซลล์ของจุลินทรีย์โรคพืชโดยตรง หรือสร้างสารปฎิชีวนะหยุดการเจริญของ
จุลินทรีย์โรคพืช นอกจากมีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ มีความสามารถสูงในการแข่งขันการใช้อาหาร
และยึดครองพื้นที่อาศัยได้ดีอีกด้วย


ไตรโคเดอร์มา ฮาเซียนัม และบาซิลลัส ซับติลิส เป็นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีการศึกษาทดลองกันอย่างแพร่หลาย และพบ
ว่าจุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพสูงใช้กันทั่วไป กรมพัฒนาที่ดินกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงนิยมเลือกใช้เป็น
สารเร่ง พ.ด. 3 ขยายเชื้อโดยใช้ปุ๋ยหมักและรำข้าวเป็นส่วนผสม

นอกจากใช้เป็นส่วนประกอบของวัสดุปลูกป้องกัน และควบคุมจุลินทรีย์โรคพืชในดินแล้วยังช่วยแปรสภาพธาตุอาหารของ
พืชในดิน ให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และส่งผล ให้ความเป็นกรด-ด่างของดินเหมาะสมในการปลูกพืชทั่วไป




http://www.oard1.org/techniquestory/28052552/oksite1/Index_จุลินทรีย์ปฎิปัก.htm
kimzagass
ตอบตอบ: 28/08/2011 8:15 am    ชื่อกระทู้:

27. การเตรียมสารสกัดสมุนไพรรวม เพื่อป้องกันกำจัดโรค-แมลงศัตรูพืช

สมุนไพร 6 ชนิด: กระเทียม ข่า ตะไคร้หอม บอระเพ็ด สะเดา และยาสูบหรือยาฉุน อย่างละ 1/2 กก. ทุบ ตำ หั่น บด
หรือสับ แช่ในน้ำ 60 ลิตร 1 คืน กรองเอาแต่น้ำผสมสารจับใบหรือน้ำยาล้างจาน พ่นหลังบ่าย 3 โมง ทุก 7 วัน
ป้องกันโรคและไล่แมลงศัตรูพืชต่างๆ


สมุนไพร 3 ชนิด: ข่า ตะไคร้หอม และใบสะเดาสด 4 :4:4 กก. บดละเอียดรวมกัน แช่ในน้ำ 60 ลิตร 1 คืน กรอง
เอาแต่น้ำใช้เป็นหัวเชื้อ 10 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ป้องกันโรค-แมลงศัตรูพืชในแปลงผัก สวนส้มเขียวหวานได้ดี
และสามารถปรับใช้กับพืชอื่นได้


หมายเหตุ:
การใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำร้อนจัดเป็นตัวสกัด จะได้สารออกฤทธิ์น้อยกว่าการใช้เหล้าขาว หรือเอททิลแอลกอฮอล์
แต่ต้นทุนจะต่ำกว่า




สมุนไพรใช้ตามความเหมาะสมกับปัญหา

ป้องกันกำจัดหนอน : ขมิ้นชัน เข็มขาว ชะพลู ดาวเรือง บอระเพ็ด พลูป่า เมล็ดละหุ่ง เมล็ดสะเดา ยาสูบ ยาฉุน ย่าน
ลิเภา สะเดา (ใบและผล) สาบเสือ หางไหลขาว/แดง และหนอนตายหยาก ฯลฯ


ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช : กระเทียม กะเพรา กระชาย ข่าแก่ ขิง ขมิ้นชัน ดาวเรือง ดอกลำโพง ดีปลี ตะไคร้หอม
ตะไคร้แกง น้อยหน่า (เมล็ด) ใบยอ บอระเพ็ด ใบพลู พริก ใบมะกรูด ใบมะระขี้นก เทียนหยด (ลูกและใบ) ยาสูบ
ยาฉุน สะระแหน่ สาบเสือ หางไหลขาว/แดง และโหระพา ฯลฯ


ป้องกันกำจัดโรคพืช : กระเทียม กะเพรา กระชาย ขมิ้นชัน ชะพลู ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง เทียนหยด(ใบและลูก)
น้ำนมราชสีห์(ต้นน้ำหมึก) ยาสูบ ยาฉุน บอระเพ็ด ใบมะละกอ ใบยูคาลิปตัส เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ พริก สาบเสือ
สะระแหน่ สะเดา และหัวไพล ฯลฯ




เขียน/เรียบเรียง
กรรณิการ์ ลาชโรจน์

จัดทำ
สิรี สุวรรณเขตนิคม สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง
นวลจันทร์ เสียวกสิกรณ์ และฐิติวรดา สมบัติใหม่


http://www.oard1.org/techniquestory/28052552/oksite1/Index_เสริมความแข็งแรงให้พืช.htm
kimzagass
ตอบตอบ: 04/04/2011 7:06 pm    ชื่อกระทู้:


http://thrai.sci.ku.ac.th/node/2056



http://nurd-team.blogspot.com/


ชิงช้าชาลี. ใช้แทนบอระเพ็ด.ได้.....
kimzagass
ตอบตอบ: 04/04/2011 6:46 pm    ชื่อกระทู้:


ธูปฤาษี. ใช้ส่วนเหง้าแทนว่านน้ำ.ได้


สำหรับธูปฤาษี มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น กกธูป กกช้าง หญ้าสลาบหลวง เฟือ ปรือ narrow leaved, cattail

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Typha angustifolia L.
วงศ์ TY PHACEAE

เป็นพืชล้มลุก เหง้าแข็ง ใบเดี่ยว แตกแบบสลับกันเป็นสองแถวด้านข้างรูปแถบแบนขนาดใบกว้าง 1-2 ซม. ยาว 2 เมตร ดอกออก
เป็นช่อสีน้ำตาล แยกเพศบนก้านเดียวกัน ก้านช่อดอกเรียวแข็ง ยาวเกือบเท่าใบเดิม เป็นพืชล้มลุกของอเมริกา และยุโรป แต่ด้วย
เมล็ดพันธุ์ที่เล็กและปลิวไปตามลมได้ง่ายมันจึงกระจายพันธุ์ไปทั่วที่ลุ่มน้ำขัง หรือชายพรุ อย่างไรก็ตาม แม้หลายคนจะเห็นว่าต้น
ธูปฤาษีเป็นเพียงวัชพืชที่สร้างความรกรื้อน่ารำคาญ หากต่อแต่นี้ไป เราคงต้องหันมามองพวกมันด้วย

บทบาทใหม่ จากวัชพืชสู่แหล่งพลังงานทดแทน--จบ--


http://aeitf.org/news.php?news=616





ว่านน้ำ สมุนไพรไล่แมลง

ว่านน้ำ เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด นอกจากนี้ ว่านน้ำยังเป็นพืชสมุนไพรที่อยู่
ในเภสัชตำรับของหลายประเทศ สามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด โดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรได้หลายขนาน แต่
ถ้านำมาแปรรูปเป็นสารสกัดหรือน้ำมันหอมระเหยก็จะนำไปใช้ในรูปแต่งกลิ่นเบียร์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยอาศัยไกโคล
ไซด์ที่ทำให้เกิดรสขม

ว่านน้ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acorus calamus Linn. ชื่อสามัญ Mytle Grass, Sweet Flag จัดอยู่ในวงศ์ Araceae มีชื่ออื่น
คือ คงเจี้ยงจี้ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน (ภาคเหนือ) ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี) ทิสีปุตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ว่านน้ำ ว่านน้ำเล็ก ฮางคาวผา (เชียงใหม่)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ว่านน้ำมีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างแบน ยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีใบแข็งตั้งตรง
รูปร่างแบนเรียวยาวคล้ายใบดาบฝรั่ง ปลายใบแหลม แตกใบเรียงสลับซ้ายขวาเป็นแผง ใบค่อนข้างฉ่ำน้ำ ดอกมีสีเขียวมีขนาดเล็ก
ออกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีก้านช่อดอกลักษณะคล้ายใบ ทั้งใบ เหง้าและรากมีกลิ่นหอมฉุน ชอบ
ขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ

วิธีการปลูกและดูแลรักษา
ปลูกได้ดีในดินเลน ชื้นแฉะ มีน้ำท่วม ริมบ่อน้ำ ร่องสวนก็ได้ การปลูกโดยการตัดต้นพันธุ์หรือเหง้าให้มีข้ออย่างน้อยท่อนละ 1 ข้อ
ปักชำในกระบะทราย เมื่อเริ่มงอกแล้วจึงแยกไปปลูก หรือนำท่อนพันธุ์ไปปักดำเหมือนอย่างดำนาประมาณ 1 สัปดาห์ จะเห็น
เป็นใบอ่อนแตกออกมา

ว่านน้ำเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร ซึ่งทำให้มีใบยาว 80 เซนติเมตรขึ้นไป ใบสีเขียวเข้ม แต่ถ้าปลูกในที่มีแสงแดดจัดเกิน 5 ชั่วโมง
ต่อวัน จะมีใบสูงไม่เกิน 50 เซนติเมตร ใบจะมีสีออกเขียว-เหลือง และเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน เมื่อเข้าปลายฤดูฝนเหง้าที่มีอายุ
7-8 เดือน จะเริ่มมีใบแห้ง เริ่มจากเหง้าข้อที่ 1 ไปเรื่อยๆ จะเหลือใบสดเฉพาะปลายเหง้าที่ทอดขนานดินในข้อที่ 3-5 จากปลาย
ยอด ในช่วงนี้ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานาน เหง้าเหล่านี้จะแห้งตายไป แต่ถ้ามีน้ำอยู่ เหง้าเหล่านี้ยังคงสดอยู่และแตกรากและใบใหม่
ในฤดูฝนต่อไป

การกำจัดวัชพืชไม่มีปัญหา เนื่องจากการขยายทอดขนานพื้นดินของว่านน้ำ ทำให้วัชพืชมีน้อยลง โดยมากการปลูกว่านน้ำเป็น
ไปในลักษณะธรรมชาติ ยังไม่ปรากฏว่ามีการใส่ปุ๋ย แต่จากการทดลองของกองพฤกษศาสตร์และวัชพืช ประจำปี 2531-2532
พบว่า ถ้าใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 จะพบว่ามีใบมากและยาว เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการอบไอน้ำ ถ้าใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ลักษณะ
ของเหง้าจะใหญ่กว่าการใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ความยาวของใบสั้นกว่า เหมาะสำหรับการนำเหง้าว่านน้ำไปใช้ในเภสัชตำรับ
สำหรับโรคและแมลง ส่วนใหญ่จะพบเพลี้ยแป้งและราแป้งขาวในช่วงที่มีความแห้งแล้งมาก


วิธีการเก็บเกี่ยวและเปอร์เซ็นต์น้ำมัน
สามารถเก็บเกี่ยวใบว่านน้ำมาใช้ได้หลังจากปลูกแล้วไม่ต่ำกว่า 8 เดือน เพื่อการสะสมของน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะมีปริมาณ
น้ำมันหอมระเหยในใบ ประมาณ 0.4 เปอร์เซ็นต์ และในเหง้าประมาณ 1.7 เปอร์เซ็นต์

แหล่งปลูกว่านน้ำ พบตามร่องคลองคูทั่วไปทุกจังหวัด



การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
ในเหง้าของว่านน้ำ จะมีน้ำมันหอมระเหยชนิด acalamol aldehyde ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลงโดยออกฤทธิ์เป็น
ยาฆ่าแมลง ขับไล่แมลง หยุดชะงักการกิน และยับยั้งการสืบพันธุ์ของแมลง เช่น แมลงวันแตง แมลงวันทอง
ด้วงหมัดผัก หนอนกระทู้ผัก แมลงในโรงเก็บ ด้วงงวงช้าง ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว มอดตัวป้อม มอดข้าวเปลือก แมลงกัดกินผัก



วิธีเตรียมและการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช
วิธีที่ 1
1. นำเหง้าว่านน้ำ จำนวน 30 กรัม มาบดหรือโขลกให้ละเอียด
2. ผสมน้ำ 4 ลิตร ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง หรือจะต้มนาน 45 นาที
3. กรองเอาน้ำด้วยผ้าบางๆ
4. ก่อนนำไปใช้ให้ผสมสารจับใบ เช่น แฟ้บ ซันไลต์ หรือแชมพู ในอัตราส่วน 1 หยด
5. ใช้ฉีดพ่นวันละ 1 ครั้ง เมื่อมีปัญหาศัตรูพืช

วิธีที่ 2
นำหัวว่านน้ำบดให้ละเอียด ผสมกับขมิ้นที่บดละเอียดอย่างละ 1-2 กิโลกรัม เติมน้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้ 1-2 วัน กรองเอาน้ำไปฉีด
ไล่แมลงวันในแปลงผัก และป้องกันหนอนกระทู้ผักรบกวนได้

วิธีที่ 3
นำเหง้ามาบดเป็นผงคลุกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์ที่แห้งดีแล้ว ในอัตราส่วนเมล็ดพันธุ์ 50 กิโลกรัม ต่อว่านน้ำ 1 กิโลกรัม สามารถ
ป้องกันแมลงในโรงเก็บได้

วิธีที่ 4
เป็นวิธีการควบคุมแมลงในโรงเก็บ โดยนำเมล็ดถั่วหรือเมล็ดพืชไร่มาคลุกเคล้ากับน้ำมันว่านน้ำ หรือการใช้ชิ้นส่วนของเหง้า
ลงไปคลุกเคล้าด้วยก็ได้



ที่มา http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05070151251&srcday=&search=no
http://forums.212cafe.com/kasetonline/board-1/topic-6.html
kimzagass
ตอบตอบ: 04/04/2011 6:26 pm    ชื่อกระทู้:


กะเพราแดง....

http://www.rakball.net/overview.php?c=12&id=12650





กะเพราขาว....

http://www.nutsimar.ob.tc/555.html






กะเพราศักดิ์สิทธิ์ พืชชนิดใหม่ของโลก

http://hilight.kapook.com/view/51651
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 9:56 pm    ชื่อกระทู้:

26. การใช้สกัดสารสมุนไพรเพื่อเป็นฮอร์โมน และสารควบคุมศัตรูพืช

ของวันเพ็ญ สนสอย





ตอนนี้ถ้าเกษตรกรคนใดคิดจะเลิกซื้อ เลิกใช้สารเคมีการเกษตรก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว เลิกได้เลยไม่ต้องกลัวว่าหนอน
หรือแมลงจะระบาด เพราะสารสกัดสมุนไพรที่เกษตรกรสามารถทำเองมีฤทธิ์ไม่แพ้สารเคมี และยังมีความปลอดภัยกับผู้ใช้และ
สิ่งแวดล้อมมากกว่าด้วย

เกษตกรหลายคนได้พัฒนาวิธีการสกัดสารสมุนไพร และสร้างสูตรสารสกัดสมุนไพรของตนเองขึ้นมา เช่น ไร่ของหมอกุ จ.ระยอง
หรือ วันเพ็ญ สนลอย

เกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี ในวันนี้เราจะนำเสนอประสบการณ์ของคุณวันเพ็ญ สนลอย ที่ได้พัฒนาสูตรสมุนไพรกลั่นป้องกัน
และกำจัดแมลงศัตรูพืช หนอนเพลี้ย สูตรสมุนไพรกลั่นป้องกันและกำจัดเชื้อราต่างๆ สูตรสารสกัดเร่งโด ใบ-ยอด สูตรสาร
สกัดเตรียมต้นกล้า สูตรสารสกัดเปิดตาดอก วันเพ็ญ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ที่น่าสนใจของเธอไว้หลายประการ ดังนี้

"แต่เดิมทำพันธุ์ไม้ขาย ทำมา 10 กว่าปี ชีวิตไม่ดีขึ้น ก่อนที่จะเลิกใช้สารเคมี ก็พบปัญหา ส่วนทั้งสวนเป็นโรคทั้งหมด เพราะเรา
ใช้แต่เคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เมล็ดพืชที่เราเพาะเมื่องอกขึ้นมาสูงประมาณ 1 คืบ มันก็เน่าเปื่อยตายไปหมด หาสาเหตุไม่
เจอ เราก็ไปตามข้อมูลกับหน่วยงานเกษตรต่างๆ เขาก็จดชื่อสารเคมีต่างๆ มาให้ เราไปซื้อมาฉีดพ่นมันก็ไม่หาย สามีก็บอกว่า
เธอทำเกษตรอะไรของเธอ ยิ่งทำยิ่งจนลง ต้องเองเงินเดือนของฉันไปใช้ทุกที เราก็ว่ามันจริง ปีหนึ่งเราขายพันธุ์ไม้ได้ 3-4 แสน
แต่กลายเป็นค่าปุ๋ยค่ายาไปทั้งหมด"

"ทำพันธุ์ไม้นี่ต้องใช้ปุ๋ยใช้ยาเยอะ เราต้องหยอดปุ๋ยตามถุงตลอดเวลา เพราะเราต้องการขายไว ใบจะต้องงามตลอดเวลา หญ้าขึ้น
ก็ฉีดยา มีหนอนแมลงมารบกวนก็ฉีดยา เราเป็นคนละเอียด เราจะลงบัญชีไว้หมด พอสิ้นปีเราก็จะรู้ว่าเราลงไปเท่าไหร่ ปีหนึ่งเรา
เหลือกำไรหรือขาดทุนปีละกี่บาท ในปลายปี 41 เราทราบข้อมูลน้ำสกัดชีวภาพทั้งจาก ทีวี. วิทยุ. จากหนังสือต่างๆ เราก็เริ่มนำ
มาทำใช้เอง"

"ในช่วงแรกเรายังติดวิธีการใช้แบบสารเคมี คือ ใช้เยอะและมากเข้าไว้ พอแผนกลับมาก็ผสมให้ใช้ ตอนแรกใช้ 100 ซีซี. ต่อน้ำ
200 ลิตร น้ำมันยังไสแจ๋วอยู่เลย มันไม่มีประสิทธิภาพแน่เลย ก็ใส่เพิ่มไปอีก 200 ซีซี. และใส่เพิ่มไปอีกจนมีสีชา แต่เรายัง
ติดในรูปแบบเคมี จึงแถมต่อไปอีกเป็น 400 ซีซี. ฉีดหมดเลยทั้งสวน พร้อมพันธุ์ไม้อีก 30,000 กว่าต้น เว้นไปอาทิตย์หนึ่ง
ต้นไม้ทั้งแม่พันธ์ ต้นพันธุ์ใบหยิกหมดเลย แฟนก็ว่า สงสัยชีวภาพเธอไม่ได้เรื่องแล้ว เราก็บอกว่าไม่เป็นไร เคยเจ๊งกับสาร
เคมีมาทั้งสนแล้ว จะเจ๊งอีกสะทีก็ไม่เป็นไร เราก็คิดว่ามันแรงไป เลยลดลงมาอีก แต่ใจเราก็เริ่มค้านแล้ว่า ใส่น้อยขนาดนี้มันจะ
ได้ผลหรือ เราก็ฉีดต่อไปอีก 3 อาทิตย์ ที่นี่เองเห็นผลเลย ใบที่เคยหงิกก็หายไป แตกใบใหม่ออกมาเขียนชอุ่มทั้งสวยเลยที่นี้"

"เราใช้นำสกัดชีวภาพจากพืชอวบน้ำได้ผลแล้ว เราก็ไปเอาน้ำสกัดไตปลาทูที่ทำไว้มาใช้ด้วย โดยราดไปที่รอบๆ ทรงพุ่มของ
ต้นไม้ 200 ซีซี. บ้าง 100 ซีซี. พร้อมกับปล่อยน้ำชะล้างไปด้วย ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นไม้ ต้นมะนาวเราเมื่อก่อนถ้าเราไม่
ใส่ปุ๋ยเคมี อาทิตย์เดียวใบจะเหลือทันที แต่เราใช้น้ำสกัดชีวภาพผ่านไป 2 อาทิตย์ ใบเขาจะเขียวไปหมด ที่นี้เอง เราไปพบ
เห็นยอดไม้อะไร ผลไม้ที่ไหน เก็บมาหมักหมด ทั้งสวนเราและสวนพี่น้อง จนเขาว่าเราเป็นบ้าไปแล้ว"

"เราใช้ไปนานๆ ก็เริ่มพบปัญหาอีก คือ มันแค่ไล่แมลงไป แต่ไม่ป้องกันและกำจัดแมลงได้ทั้งหมด ถ้าระบาดมากๆ เราก็ต้อง
ใช้สารเคมีอีก ซึ่งไม่อยากทำ หรือถ้าใช้น้ำสกัดชีวภาพมากเกิน ใบไม้จะมีจุดเหลืองๆ ใบไหม้ และร่วง เราก็มาคิดว่าจะ
ทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด"

เริ่มทดลองสกัดสารด้วยแอลกอฮอล์ และพัฒนาเรื่อยมาเป็นการต้มกลั่น
"จึงได้ทดลองนำสมุนไพรมาต้นเพื่อให้เข้มข้น
พบว่าไอที่ออกมามีกลิ่น แต่น้ำที่เหลืออยู่ไม่มีกลิ่น จึงคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีกลิ่นออกมาด้วย เรานึงถึงน้ำมันตะไคร้หอม
ของ รพ. อภัยภูเบศร์ ว่าจะสกัดอย่างไรจึงได้กลิ่นตะไคร้หอมออกมาด้วย เราดมดูมีกลิ่นแอลกอฮอล์ออกมาด้วย เราก็เลยเอา
สมุนไพรไปหมักกับ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่พอเราเอามาผสมน้ำ 100 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นไป 2-3 ครั้ง ต้นไม้ใบมัน
จะเหลือง ยังแก้ไม่ได้"




หลายตำราบอกให้หมักกับน้ำส้มสายชู เราก็เลยนึกถึงคนต้มเหล้า จนได้ทดลองทำถังต้มขึ้นมา แต่มันต้มไม่ค่อยออก พอดีมีเจ้า
หน้าที่สรรพสามิตมาดูงานที่บ้าน เขาก็ถามว่าทำอะไร เราก็บอกว่ากลั่นสมุนไพร เขาก็เลยแนะนำให้เราใช้กะทะวางไว้ข้างบนแล้ว
ยาด้วยดินเหนียว เราก็ทำมาเรื่อย วันหนึ่งกลั่นได้ 20 ลิตร เราเอามาฉีด มันได้ผลดีมาก หนอนแมลงตายหมดเลย เราก็เลยนึงถึง
น้ำสกัดชีวภาพที่เราทำไว้ ก็น่าจะมากลั่นได้เช่นเดียวกัน เราเอามาใช้มันแตกใบดีมาก แจกให้พ่อให้แม่เอาไปใช้ด้วย น้ำที่มัน
กลั่นได้มันใสแจ๋วเลย ชาวบ้านเขาก็ถามกันว่ามันจะได้ผลจริงหรือ ธาตุอาหารมันจะอยู่ครบหรือเปล่า เราก็บอกว่ามันอยู่"


การทดสอบสารสกัด
วันเพ็ญ แนะนำวิธีทดสอบสารสกัดสมุนไพรไว้ดังนี้

ใช้สมุนไพรกลั่น สมุนไพรหมักสดกับน้ำเปล่า และใช้ทั้งสองแบบควบคุ๋กันไป โดยทดลองใช้สารสกัดจากการรกลั่นปริมาณ 1 แก้ว
สารสกัดจากการหมักปริมาณ 1 แก้ว และสารสกัดที่หมักกับที่กลับอีก 1 แล้ว (สวนผสม 1 ต่อ 1)

นำแต่ละชนิดมาทดสอบกับหนอน แล้วดูว่าใช้เวลากี่นาที โดยใช้ตัวหนอนจุ่มลงไปในแก้ว แล้วยกออกมา

พบว่าในสารสกัดจากการกลั่น 5-10 นาที หนอนจะเมาไปซักพักแล้วก็จะฟื้นกลับมาใหม่ ส่วนแก้วที่ใช้สารสกัดจากการหมัก ใช้เวลา
ค่อนข้างนาน และหนอนจะฟื้นมาใหม่ได้ ส่วนแก้วที่ใช้สารสกัดจากการกลั่นและหมักผสมกัน พบว่า หนอนตายใน 5 นาที ....
ถ้าใช้น้ำยานี้มาผสมกับน้ำยาล้างจานเพื่อใช้เป็นสารจับใบ พบว่าหนอนตายในไม่ถึง 1 นาที

เมื่อทดลองได้ดังนี้ คุณวันเพ็ญจึงนำวิธีการนี้มาใช้ควบคุมแมลในสวน แต่ถ้าใช้สมุนไพรกลั่นไปนานๆ หนอนแมลงก็จะมีการ
ดื้อ เช่นเดียวกับการใช้สารเคมี

จะต้องเปลี่ยนแปลงสูตรสมุนไพรให้มีความหลากหลายไปด้วย จากนั้นวันเพ็ญ จึได้คิดค้นสูตรใหม่ๆ มาทดลองใช้ไปเรื่อยๆ เช่น
สูตรสารสกัดกำจัดเชื้อรา เร่งใบ-ยอด เร่งโตต้น ฮอร์โมนไข่ สูตรเตรียมทต้นสะสมอาหาร เร่งผลโต เป็นต้น

วันเพ็ญแนะว่า พืชผักที่นำมาใช้สกัด ต้องเก็บตอนเช้า ถ้าเป็นผลไม้ก็เก็บช่วงสายๆ เลือกเอาเฉพาะที่ดีๆ จะได้ฮอร์โมนที่สมบูรณ์
ไม่ควรเอาส่วนเน่าเสียมาใช้ เพราะจะมีเชื้อโรค เชื้อราปนมาด้วย (ส่วนเน่าเสียควรเอาไปทำปุ๋ยหมักแทน)

ส่วนสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง จะต้องเก็บตอนเช้าตรู่ ต้องปลูกสมุนไพรนั้นนานอย่างน้อย 8 เดือน จึงจะได้ตัวยาที่มี
ฤทธิ์มาก

ข้อน่าสังเกต การใช้สารเคมีไม่ว่าจะเป็นเคมีสังเคราะห์ที่ขายกันทั่วไป หรือสารสกัดสมุนไพร หากใช้เกินอัตราที่เหมาะสม แมลง
และโรคก็จะค่อยๆ พัฒนาตัว ดื้อยาขึ้นมา เช่นกับที่คุณวันเพ็ญได้กล่าวถึงวิธีที่เธอใช้สารเคมี เธอไม่ได้ใช้ตามที่กำหนดไว้ นานๆ
เข้า แมลงก็พัฒนาตัวดื้อยามากขึ้น เมื่อเธอเพิ่ม เธอแถมปริมาณสารเคมีเข้าไปอีก ก็ไม่มีผลในการขับไล่ หรือยับยั้งโรคพืชได้เลย

ดังนั้นแม้สูตรสารสกัดสมุนไพรทั้งหลายที่คิดค้นขึ้นมา จะปลอดภัยต่อคนใช้และสภาพแวดล้อม แต่เกษตรกรที่ทำเกษตรเกษตร
อินทรีย์ทั่วไป อาจต้องพิจารณาการใช้ให้รอบคอบว่า สารสกัดที่ใช้จะทำให้วงจรชีวิตแย่ลงหรือไม่ เพราะสารเหล่านี้ไม่ได้ฆ่าเฉพาะ
แมลงที่เป็นศัตรู แต่ยังฆ่าตัวห้ำตัวเบียน แมลงที่เป็นประโยชน์อีกด้วย หากเราใช้มากไป บ่อยไป ก็อาจเป็นเหตุให้การฟื้นฟูสมดุล
ของระบบนิเวศน์ไร่นา ล่าช้าไป ดังนั้นการใช้ก็ไม่ควรใช้มาก ใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น เช่น เมื่อศัตรูพืชระบาด จนตัวห้ำตัว
เบียนก็เอาไม่ไหว เท่านั้น



การหมักสมุนไพร



ใช้ลูกแป้งเหล้าหรือลูกแป้งข้าวหมากใส่ลงไป สัดส่วนลูกแป้ง 10 ลูก ต่อน้ำ 100 ลิตร หมักสมุนไพรรวมกันลงไป หมักนาน 3
เดือน ถึง 1 ปี แล้วนำมากรองเอาแต่น้ำไปกลั่น





การกลั่น



วันเพ็ญใช้เครื่องต้มเหล้ามาดัดแปลง ใช้วิธีการกลั่นแบบเดียวกับการกลั่นน้ำมันหอมระเหย การกลั่นเหล้าหรือการกลั่นแอลกอฮอล์
แต่จะมีตัวควบแน่น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นฝาที่ใส่น้ำไว้ และถังควบแน่นที่มีท่อทองแดงขดเป็นวงอยู่ ใส่น้ำแยกไว้ต่างหาก

การต้มใช้ไฟอ่อนถึงปานกลาง เมื่อเริ่มทำการต้ม ไอน้ำจะระเหยขึ้นมาพร้อมสารสกัดในพืช เมื่อไอน้ำไปกระทบความเย็น
ของน้ำในฝาปิดที่เป็นรูปกรวย ไอน้ำก็กับสารสกัดของพืชนั้นบางส่วนก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำแล้วไหลลงในรางรองรับหยดน้ำ ไหล
เข้าท่อทองแดงไปสู่ภาชนะรองรับ

ในถังควบแน่น จะมีท่อน้ำเข้าด้านล่าง และมีท่อน้ำเข้าด้านบน ซึ่งน้ำจะมีการถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา ทำให้น้ำในถังควบแน่นเย็น
ตลอดเวลา


การนำไปใช้
จะใช้สารสกัดที่กลั่นมาจากน้ำที่หมักเพียงอย่างเดียวก็ได้ ซึ่งน้ำสกัดที่กลั่นจะฤทธิ์แรงกว่าน้ำหมักเฉยๆ แต่ถ้าจะให้เข้มข้นมาก
ขึ้น ก็ให้นำสมุนไพรมาหมักรวมกันไปกับน้ำสารสกัดที่กลั่นได้ คล้ายๆ กับการดองยา

แต่ถ้าต้องการให้ได้ประสิทธิภาพการกลั่นสูงขึ้นไปอีก ให้นำสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุนที่เก็บมาสดๆ นำมาใส่ถังกลั่นแล้วเติมด้วยน้ำ
เปล่าลงไป กลั่นด้วยเครื่องกลั่น ก็จะได้น้ำสารสกัดจากจากพืชที่มีกลิ่นปนออกมาด้วย ให้เรานำสารสกัดกลั่น 1 ส่วน น้ำหมัก
สารสกัดกลั่น 1 ส่วน ผสมกับ น้ำสารสกัดกลั่นจากสมุนไพรสดอีก 1 ส่วน

เทคนิคการผสมที่สำคัญคือ เวลานำไปใช้ก็ผสมกับสารจับใบที่ทำจากน้ำมันปาล์ม (ใช้เอทิลแอลกอฮอลเทใส่น้ำมันพืช จะทำ
ให้ไม่แยกชั้นกันเวลานำมาผสมกับสารสกัดจากการกลั่น) นำมาใช้ได้เลยโดยผสม 20 ซีซี ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร
หรือจะกลั่นเก็บสารสกัดไว้แต่ละอย่าง แยกเก็บไว้ก็ได้ เวลาจะใช้ก็นำมาผสมกัน

ปัจจุบันวันเพ็ญ ทำการเกษตรบนพื้นที่ 6 ไร่ ที่ปลูกไม้ผลหลายชนิด มีส้มโชกุน ส้มกา มะยง มะม่วง มะนาว ละมุด ลำใย มะปราง
หวาน ทุเรียน มังคุด กะท้อน มีรายได้จากการเพาะกล้าไม้ และทำสารสกัดจากสมุนไพรด้วยการกลั่นขาย จึงมีรายได้ดีกว่า
แต่ก่อนมาก เพราะไม่มีต้นทุนเรื่องสารเคมี

ปัจจุบันมีผู้มีศึกษาดูงานที่สวนประจำ วันเพ็ญ ได้กลายเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ให้เพื่อนเกษตรกรอย่างไม่ปิดบัง สำหรับคน
ที่สนใจจะไปศึกษาดูงานที่สวน ลองติดต่อไปที่สวนวันเพ็ญพันธุ์ไม้ 62/1 หมู่ 5 ต.ไม้เด็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี โทร 01 803
4930 หรือ 037 405 026

ภาพและเรื่อง เรียบเรียงจาก "วารสารเกษตรธรรมชาติ" ฉบับที่ 7/2546



http://sathai.org/knowledge/03_pest/herbal_pesticide_practise.htm
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 9:38 pm    ชื่อกระทู้:

25. สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช


การใช้สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช ได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลง
โรคพืช โดยเฉพาะสำหรับการปลูกพืชผักและผลไม้ ไม่แพ้การใช้สารเคมี แต่มีข้อดีกว่าหลายอย่าง คือ มีราคาถูก ปลอดภัย ต่อ
เกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นประโยชน์และสิ่งมีชีวิต
อื่น ๆ ในแปลงพืชผักไม่ตกค้างในดินและสภาพแวดล้อม

อย่างไรก้๖ามการใช้สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืชมิได้เป็นวิธีการสำเร็จรูปเหมือนกับการใช้สารเคมี การใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ควรทำควบคู่ไปกับวิธีธรรมชาติหรือ วิธีทางเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสมดุลย์ทางธรรมชาติ ให้เกิดขึ้นในแปลงพืชผักผลไม้ วิธี
ทางเกษตรอินทรีย์เหล่านั้น ได้แก่

1. การเตรียมดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพ
2. การเลือกใช้พันธุ์ที่ทนทานต่อโรคและแมลง
3. ปลูกพืชให้ตรงกับฤดูกาลที่เหมาะสม
4. การปลูกพืชหลายชนิดในแปลงเดียวกัน แบบผสมผสานและปลูกพืชหมุนเวียน

การปลูกปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้พืชผักมีสุขภาพแข็งแรงต้านทานโรคและแมลง ป้องกันการระบาดของแมลงศัตรูพืช

*****************************************************************************

สมุนไพรไล่แมลงสูตรรวมเอนกประสงค์

สะเดา ตะไคร้หอม (ตะไคร้บ้านก็ได้) ใบสะเดาหรือเมล็ดสะเดาก็ได้
ส่วนผสม
ใบสะเดาหรือเมล็ดสะเดา 1 ก.ก.
หัวข่า 1 ก.ก.
ตะไคร้หอม 1 ก.ก.

วิธีทำ
สับส่วนผสมแต่ละอย่างให้เป็นชิ้น ขนาด 3.5 เซนติเมตร หรือตำรวมกันให้ละเอียด เติมน้ำ 20 ลิตร หมัก 3
คืน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้

วิธีใช้
นำน้ำสมุนไพรที่หมักได้ 1 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร พ่นพืชผักผลไม้


ประโยชน์
ใช้ป้องกันผีเสื้อกะหล่ำ หนอนคืบ เพลี้ยอ่อน แมลงในยุ้งฉาง

สูตรใช้อย่างเดียวเอนกประสงค์


***************************************************************************


สาบเสือ
ส่วนผสม
ต้นสาบเสือและใบสด 1 กก. (หนึ่งกิโลกรัม) นำมาสับเป็นชิ้นขนาด 3.5 เซนติเมตร ผสมน้ำ 3 ลิตร หมักไว้ 1 คืน
กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้

วิธีใช้
นำน้ำที่หมักได้ 1 ลิตร ผสมน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นพืชผักทุก ๆ 5 - 7 วัน ในช่วงเวลาเย็น

ประโยชน์
ใช้ใส่และกำจัดแมลงพวกเพลี้ยกระโดด, เพลี้ยจักจั่น, เพลี้ยหอย, เพลี้ยไฟ,หนอนกระทู้, หนอนใยผัก


*********************************************************************************


ดาวเรือง
ส่วนผสม
ดาวเรืองทั้งต้น ใบ ดอก 0.5 ก.ก. (ครึ่งกิโลกรัม) นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด ผสมน้ำ 3 ลิตร หมักไว้ 1 คืน
นำมากรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้

วิธีใช้
นำน้ำหมักดาวเรือง 5 ช้อนแกงผสมน้ำ 5 ลิตร และน้ำสบู่ หรือยาสระผม 1 ช้อนแกง ผสมด้วย เพื่อช่วยให้เป็นสาร
จับใบ ฉีดพ่นพืชผัก ผลไม้

ประโยชน์
ใช้ป้องกันเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อ
หัวกะโหลก หนอนกะหล่ำปลี
ด้วงปีกแข็ง ไส้เดือน ฝอย


********************************************************************************


บอระเพ็ด
ใช้เถาบอระเพ็ดแก่ ๆ ทั้งใบ 1 ก.ก. สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 3-5 เซนติเมตร ผสมน้ำ 4 ลิตร หมักไว้ 1 คืน
กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้

วิธีใช้
นำน้ำหมักบอระเพ็ดที่กรองแล้ว 1 ลิตร ผสมน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นพืชผัก

ประโยชน์
ใช้ไล่และกำจัดเพลี้ยกระโดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวลีบ


****************************************************************************


พริก
ส่วนผสม
พริกชี้ฟ้าสุก 0.5 ก.ก. (ครึ่งกิโลกรัม) ตำหรือปั่นให้ละเอียด ผสมน้ำ 3 ลิตร หมักไว้ 1 คืน กรองเอาน้ำเก็บไว้ใช้

วิธีใช้
นำน้ำหมักบอระเพ็ดที่กรองแล้ว 1 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่นพืชผัก ผลไม้


ประโยชน์
ใช้ขับไล่และกำจัดแมลง เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ ด้วงงวงช้าง แมลงในยุ้งฉาง เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง


****************************************************************************



ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพร

1. ควรใช้สารสกัดชีวภาพจากพืชสมุนไพรแต่ละสูตรสลับกันไปทุก ๆ 5-7 วัน เช่น อาทิตย์แรกใช้สารสกัดบอระเพ็ด อาทิตย์
ที่ 2 ใช้สารสกัดจากสะเดา อาทิตย์ที่ 3 ใช้สารสกัดจากพริก อาทิตย์ที่ 4 ใช้สารสกัดจากสาบเสือ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการ
ดื้อยาของแมลงศัตรูพืช จึงไม่ควรใช้สารสกัดสูตรเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน อย่างที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ขณะนี้

2. การหมักน้ำสกัดจากพืชสมุนไพรจากพืชบางชนิด เช่น พริก ข่า ตะไคร้หอม สะเดา ไม่ควรหมักไว้เกินกว่า 3 วัน เพราะ
ทำให้น้ำหมักมีกลิ่นบูดเน่า และสารกำจัดแมลงเสื่อมคุณภาพได้ ควรหมักไว้ 1-2 คืน แล้วกรองเอาน้ำสกัดออกมาเก็บไว้ใช้
จะมีประสิทธิภาพมากกว่า

3. ควรจะหมักน้ำสกัดพืชสมุนไพร หลาย ๆ ขนาน พร้อม ๆ กัน แล้วกรองเก็บไว้สลับกันใช้ตามข้อ 1

4. การใช้น้ำสกัดสมุนไพรควรเริ่มใช้ในอัตราส่วนที่ต่ำ ๆ ก่อน เช่น 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร แล้วจึงเพิ่มอัตราส่วนขึ้นที
ละน้อย เพราะพืชผักบางชนิดอาจจะชงักการเจริยเติบโต หรือทำให้ยอดหรือใบไหม้ได้

5. เศษพืชสมุนไพรที่กรองเอาน้ำหมักออกแล้ว นำไปใส่ตามโคนต้นไม้ผล หรือหว่านในแปลงกล้าข้าว เพื่อขับไล่หรือกำจัด


http://wiangsa.nan.doae.go.th/genaral/data6.htm
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 9:08 pm    ชื่อกระทู้:

24. การประยุกต์ใช้สมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลง


สมุนไพรตามพระราชบัญญัติ หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุ จากธรรมชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างภายใน
สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ และบำรุงร่างกายได้

การใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ก็โดยการใช้สารเคมีที่อยู่ในสมุนไพร ซึ่งสามารถนำประโยชน์มาใช้ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหารและยา
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการต้องศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพร ซึ่งเราควรจะต้องเข้าใจ

1. ด้านพฤกษศาสตร์ ( Morphology and anatomy ) ควรรู้จักส่วนต่าง ๆ ของสมุนไพรโดย

- รู้จักลักษณะภายนอก (Organoleptic examination) ต้องสังเกตุดูรูปร่าง (Shape) ขนาด (Size) สี (Color) กลิ่น
(Odor) และ รส (Taste) เพื่อให้คุ้นเคยและชำนาญกับ สมุนไพรนั้นทั้งสดและแห้ง

- รู้ลักษณะเนื้อเยื่อภายใน (Microscopic Examination) โดยการตัดชิ้นส่วนแต่ละส่วนมาศึกษา อาจทำโดยการส่องกล้อง
หรือบดแล้วทดสอบ


2. องค์ประกอบต่าง ๆ ของสารภายในพืชสมุนไพร (Constituents in crude drugs) ซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาหาส่วนประกอบ
ในพืชสมุนไพรได้หลายชนิด โดยที่องค์ประกอบเหล่านี้ส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับรส และสรรพคุณของสมุนไพรนั้น อย่างไรก็ตาม
ถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ส่วนประกอบก็อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างเช่นกัน ตามปกติหรือตามธรรมชาติของพืชนั้นในแต่
ละต้นจะมีสรรพคุณไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะลำต้นมีน้ำหล่อเลี้ยงลำต้นที่ไม่สม่ำเสมอกันโดยพบว่า

- ราก สรรพคุณ แรงกว่าต้น
- แก่น สรรพคุณ แรงกว่าเปลือกต้น
- เปลือกต้น สรรพคุณ แรงกว่ากระพี้
- กระพี้ สรรพคุณ แรงกว่าใบแก่
- ใบแก่ สรรพคุณ แรงกว่าใบอ่อน
- ดอกแก่ สรรพคุณ แรงกว่าดอกอ่อนแต่เสมอใบอ่อน
- ลูก (ฝัก) แก่ สรรพคุณ แรงกว่าลูก (ฝัก) อ่อนแต่เสมอเปลือกต้น


3. ควรรู้ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรนั้น (Scientific names) ประกอบด้วย จีนัส (Genus) สปีซีส์ (Species) เนื่องจาก
การใช้ชื่อพื้นเมืองอาจเกิดความสับสนได้ เพราะแต่ละประเทศหรือแม้แต่ประเทศเดียวกัน ซึ่งอาจเรียกแตกต่างกันก็ได้

4. ควรรู้วิธีการเก็บพืชสมุนไพร (Preparation of crude drugs) การเก็บควรมีความรู้ทางสรีรวิทยา และขบวนการชีวะ
สังเคราะห์ในพืช ซึ่งจะทำให้สารสำคัญที่มีคุณค่าในทางบำบัด และบรรเทาอาการของโรคในปริมาณที่สูงสด เช่น ต้นมินท์
ควรเก็บขณะที่ดอกกำลังบานเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำหอมระเหยสูง

- ถ้าพืชสมุนไพรส่วนราก เก็บตอนที่หยุดสร้างอาหารแล้ว โดยมีการสะสมอาหารที่รากหรือในขณะที่มีดอก

- ถ้าพืชสมุนไพร ที่เป็นเปลือก เก็บตอนก่อนที่จะเริ่มผลิใบใหม่ ถ้ากิ่งหรือใบใหม่ผลิออกสารที่เปลือกจะถูกลำเลียงใบเลี้ยงส่วนใหม่

- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นใบ เก็บก่อนหรือเริ่มออกดอก และเก็บในเวลากลางวัน อากาศ เนื่องจากมีปฏิบัติกิริยาการสงเคราะห์
สูงสุดสารต่าง ๆ ยังสะสมอยู่ที่ใบไม่ทันได้ลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช

- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นดอก ให้เก็บเมื่อดอกเจริญเต็มที่ก่อนหรือหลังการปฏิสนธิ คือ ดอกตูมหรือแรกแย้ม

- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นผล เก็บเมื่อผลโตเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สุก ถ้าผลสุกงอมสารต่าง ๆ อาจถูกทำลายไป และนำไปเลี้ยงส่วน
ต่าง ๆ ของเมล็ดซึ่งจะเจริญต่อไป เป็นตัวอ่อน

- ถ้าพืชสมุนไพรที่เป็นเมล็ด เก็บเวลาที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งเป็นตอนที่เป็นเมล็ดแก่มีสารสำคัญสะสมอยู่มาก

- หลังจากเก็บส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพร ควรทำความสะอาดให้หมด (Garbling) เช่น ส่วนราก หัว เหง้า เวลา
ขุดหรือถอนจากดินต้องระวัง ไม่ให้ช้ำ ล้างดินหรือโคลนที่ติดมาออกให้หมด และเอาส่วนที่ไม่ต้องการออก เช่น รากฝอย


5. ต้องรู้จักวิธีทำให้พืชสมุนไพรแห้ง (Drying of Crude Drugs) จุดประสงค์ของการทำก็เพื่อให้ตัวยาที่มีประสิทธิภาพ
ไม่ให้สลายตัว หรือ เสื่อมประสิทธิภาพ

วิธีง่าย ๆ ก็ทำได้โดยการตากแดดให้แห้งหรือใช้เตาอบประมาณ 50-60 องศาเซลเซียล แต่ถ้าเป็นพืชที่มีสารพวกน้ำมันหอม
ระเหยต้องผึ่งลม และถ้าเป็นพืชที่อวบน้ำ ถ้าใช้เตาอบไม่ควรเกิน 60 องศาเซลเซียล


6. วิธีการเก็บรักษาพืชสมุนไพร (Storage of crude drugs ) ควรเก็บในสภาวะที่เหมาะสมกับพืชสมุนไพรนั้น ๆ
การเก็บที่เหมาะสมควรเก็บในที่ปราศจากความชื้น เพื่อให้พืชมีคุณค่าในการออกฤทธิ์และเก็บได้นาน แต่ถ้าเป็นพืชที่มี
คุณสมบัติ ในการดูดความชื้น ก็ควรปิดฝาให้สนิท และถ้าสมุนไพรบางชนิดมีอาหารสะสมมาก เช่น มีแป้งมาก แมลงชอบ
กัดกิน ก็ควรต้องป้องกันอย่างระมัดระวังด้วย



องค์ประกอบของสารภายในพืชสมุนไพร (Constituents in crude drugs ) ประกอบด้วย
1. สารประกอบพื้นฐาน (Primary constituents) เป็นองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปที่มีอยู่ในพืช เช่น คาร์โบไฮเดรท น้ำตาล
และ แป้ง

2. สารประกอบเชิงซ้อน (Secondary constituents) คือ ส่วนประกอบที่มีอยู่ในพืชบางชนิด ซึ่งอาจจะมีมากและน้อย
หรือไม่มีในพืชนั้น ๆ เช่น กรด แทนนิน อัลคอลลอยด์ ไกลโคซายด์ น้ำมันหอมระเหย เรซิน กัม โอลิโอเรซิน สารเมือก
ลาเท๊ส

- กรด (Acid) มักพบในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มักเป็นกรดอินทรีย์ เช่น Ascorbic acid (Vitamin Citric acid)

- แทนนิน (Tannin) พบในพืชทั่ว ๆ ไป มีรสฝาด สำหรับใช้สมานแผล มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงหรือกันไม่ให้
สารบางชนิดบูด

- อัลคอลลอยด์ (Alkaloid) เช่น พวกมอร์ฟีน นิโคติน

- ไกลโคซายด์ (Glycosides) เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง มีส่วนประกอบของน้ำตาลและส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาล ถ้าใช้ในขนาด
ที่เหมาะสมจะเป็นยารักษาโรค ถ้ามากเกินไปอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ไดโจโทซิน (Digitoxin) พวกไกลโคซายด์ จะถูก
สลายตัวโดยเอ็นไซด์ ให้กรด ซึ่งเป็นอันตราย ทำให้มึนงงหรือสลบได้ ดังนั้นก่อนจะรับประทานพืชที่มีสารนี้ต้องนำมาดองหรือ
หุงต้มก่อน เพื่อทำลายเอ็นซายด์ให้หมด เช่น ผักเสี้ยน

- น้ำมันหอมระเหย (Volatile oils) มีอยู่ในพืชบางชนิด มีกลิ่นหอม สามารถนำมาแต่งกลิ่นอาหาร ยา หรือเป็นยาค่า
เชื้อโรคได้ เช่น ยูคาลิปตัส

- เรซิน (Resin) เป็นสารสีเหลืองโปร่งใสและโปร่งแสงที่พบในเซลล์พืช

- กัม (Gum) เป็นสารพวกไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid) ที่ถูกขับออกจากพืช เมื่อพืชถูกรบกวน

- โอลิโอเรซิน (Oleoresins) เป็นสารผสมที่เกิดขึ้นระหว่างเรซินและ น้ำมันหอยระเหย เป็นเนื้อเดียวกัน

- สารเมือก (Mucillages) เป็นสารที่พืชสร้างขึ้นมีลักษณะ เป็นยางสีขาวคล้ายน้ำนม

- ลาเท็ก (Latex) เป็นสารธรรมชาติ (Natural products) ที่พืชบางชนิด ให้ยางออกมา มีลักษณะขาวคล้ายน้ำนม
ได้มาจากส่วนของพืชที่เรียกว่า แลคทิซิเฟอรัสเวสเซลส์ (Lacticiferous uessels)


สมุนไพรที่ใช้ฆ่าและไล่แมลง
แมลงจัดเป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดในบรรดาสัตว์ที่มีในโลกนี้ แมลงมีทั้งที่มีประโยชน์ และมีโทษต่อมนุษย์แต่ส่วนใหญ่แล้วมนุษย์
มักจะมองไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของแมลง จึงมีการกำจัดแมลงเสียเป็นส่วนใหญ่ มนุษย์รู้จักการใช้สารเคมีต่างๆเพื่อไล่หรือ
กำจัดแมลง มานานกว่า 100 ปี มาแล้ว ก่อนที่จะคิดค้นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงและอันตรายสูง อย่างในปัจจุบันนี้


สมุนไพรขับไล่แมลง
สำหรับสารที่ไล่แมลง (Insect repellants) เป็นสารที่ไล่แมลงเข้ามาไกล้ สัตว์ คน หรือพืช สารเหล่านี้มีรส และ กลิ่น
ที่แมลงไม่ชอบ




สารที่ใช้ฆ่าแมลง ( insecticides ) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สารที่ฆ่าแมลงหลังจากแมลงกินเข้าไป (stomachpoisons)
2. สารที่ฆ่าแมลงโดยการสัมผัสกับตัวแมลง (contact poisons)
3. สารที่ฆ่าแมลงโดยแมลงสูดดมเข้าไป (fumigants)


มีสารหลายชนิดมีฤทธิ์ไม่แน่นอนว่าจะจัดอยู่ในพวกใด หรือบางชนิดอาจฆ่าแมลงโดอออกฤทธิ์มากกว่า 1 อย่าง

- สารที่ฆ่าแมลงหลังจากแมลงกินเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นแมลงที่กัดแทะ สุมนไพรพวกนี้ เช่น โลติ๊น

- สารที่ฆ่าแมลงโดยการสัมผัสกับแมลง แมลงพวกนี้ตายเราะสารฆ่าแมลงซึมผ่านผิว หรือผ่าน connective tissue หรือ
ผ่านหลอดลมเข้าไป เช่น ไพรีทริน โลติ๊น นิโครติน


สารฆ่าแมลงโดยแมลงสูดดมเข้าไป เป็นสารที่สามารถระเหยอยู่ในรูปของก๊าซได้โดยเฉพาะที่อุณหภูมิธรรมดา และถ้ามี
ความเข้มข้นและปริมาณที่สูงมากพอก็จะทำให้แมลงตายได้ เช่น นิโครติน




http://www.vet.chula.ac.th/~nuclear/symposium44/Somchai.htm
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 8:57 pm    ชื่อกระทู้:

23. ป้องกันยุงกัด...ด้วยสมุนไพรธรรมชาติ





ปลอดภัย...ไร้สารเคมี
ตะไคร้หอม...สมุนไพรใช้กันยุง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon nardus (Linn.) Rendle
Cymbopogon winterianus Jowitt.
ชื่อวงศ์ : Gramineae
ชื่ออังกฤษ : Citronella grass
ชื่อท้องถิ่น : จะไคมะขูด , ตะไครมะขูด , ตะไคร้แดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบและกาบใบ

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ : ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัด จากต้น
ตะไคร้หอม สามารถใช้ไล่แมลงได้
สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุง : น้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor , cineol ,
eugenol , linalool , citronellol , citral , Geraniol
การทดลองทางคลินิกในการใช้ไล่ยุง :

1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทดลองใช้ครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 17 % พบว่ามีฤทธิ์ไล่ยุงได้ 3
ชั่วโมง

2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด ของ
ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอม 20 % พบว่ามีฤทธิ์ไล่ยุงได้นานประมาณ 2 ชม.ขึ้นไป


การใช้ตะไคร้หอมไล่ยุง :
1. ใช้ต้นตะไคร้หอม ประมาณ 4-5 ต้น ทุบวางไว้ข้างๆ กลิ่นน้ำมันจะระเหยออกมาไล่ยุง

2. ใช้สารสกัดตะไคร้หอม โดยการสกัดด้วยแอลกอฮอล์



http://www.thaiherbinfo.com/knowledge-herb.php?id_herb=25
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 8:53 pm    ชื่อกระทู้:

22. สกัดน้ำสมุนไพร ไล่แมลง เชื่อมโยงเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดภัย





เพื่อให้เกษตรกรซึ่งถือว่าอยู่ต้นน้ำแห่งสายพานการผลิต มีสุขภาพสมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตไม่สูงมากนัก พร้อมทั้งน้อมนำหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางทฤษฎีใหม่อย่างการพึ่งตนเอง พึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อมาสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจ
ชุมชน ที่โดยหลักจะมุ่งปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตที่ปลอดเคมี ยึดแนวอินทรีย์-ชีวภาพเป็นหลัก และ นายเกรียงไกร ลำไย บ้าน
เลขที่ 217/8 หมู่ 11 ต.วังแดง อ.ตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นหนึ่งในจำนวนนี้...

นายเกรียงไกร บอกกับ "ทำได้ ไม่จน" ว่า...ชาวบ้านในแถบอำเภอตรอนจะยึดการทำนาข้าวเป็นอาชีพหลัก เมื่อก่อนหลาย
บ้านแม้ว่าชีวิตความเป็นอยู่ดี มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน แต่ สุขภาพ "สามวันดี สี่วันป่วย" สาเหตุเป็นเพราะส่วนใหญ่
พวกเราจะใช้ทั้งปุ๋ยเคมีภัณฑ์ ซัด (ใส่บำรุง) กันคราวละมากๆ

...โดยเฉพาะช่วงฤดูกาลที่ผ่านมา หลายแห่งเกิดปัญหาเพลี้ยลงระบาด แม้จะฉีดพ่นเคมีมาก นอกจากช่วยแก้ปัญหาไม่ค่อย
ได้แล้ว อีกทั้งหาแรงงานค่อนข้างยาก และเคมีภัณฑ์ยังมีราคาแพง...

ดังนั้น จึงหันไปศึกษาสมุนไพร ซึ่ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาตรอน ได้พาไปศึกษา
ดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนจังหวัดพิษณุโลก หลายๆเรื่องน่าสนใจ โดยเฉพาะ การทำน้ำสกัดสมุนไพรไล่แมลง ที่ลงทุนไม่
มาก วัตถุดิบอย่าง ยูคา-ลิปตัส ตะไคร้หอม สาบเสือ กลอย สะเดา ดาวเรือง สามารถหาได้ในพื้นที่

สำหรับขั้นตอนกรรมวิธีสกัดนั้นแสนจะง่าย เริ่มจากการนำถังขนาด 70 ลิตร จำนวน 2 ถัง (ชุดถังสกัดน้ำสมุนไพร) ใบแรก
เอามาเจาะรูสำหรับใส่ท่อนำความร้อนด้วยไอน้ำ โดยปลายด้านหนึ่งยาวพอที่จะใส่ไว้ ในขวดน้ำเปล่าได้ เพื่อใช้ สำหรับ
สกัดสมุนไพร ด้านบนสูงจากก้นถังประมาณ 50 ซม. วางตะแกรงใช้สำหรับ อัดแน่นด้วยพืชสมุนไพรที่เตรียมไว้ปิดฝา

แล้วนำไปนึ่งสกัดด้วยเตาถ่านโดยใช้ไฟปานกลาง เมื่อความร้อนถึงขีดที่เหมาะสมจะเกิดไอ (สมุนไพร) หยดลงที่ปลายท่อ
ชุดหนึ่งจะได้น้ำสมุนไพร 5 ขวดขนาดลิตรครึ่ง จากนั้นเอาสมุนไพรออกเปลี่ยนชุดใหม่ น้ำในถังจะเหลือประมาณ 1 นิ้ว
ให้เติมน้ำใส่เข้าไปใหม่และอัดสมุนไพร ซากเก่าที่เอาออกสามารถเอาไปใส่โคนพืชเพื่อกันแมลงได้อีก

...น้ำสกัดน้ำสมุนไพรที่ได้นี้ประโยชน์สามารถใช้เป็นสารฉีดพ่นไล่แมลง หนอนในนาข้าว โดยอัตราส่วนที่ใช้ 50 ซีซี/น้ำ
20 ลิตร ระยะห่างทุก 15 วัน/ครั้ง หากเป็นเพลี้ยแป้งควรผสมน้ำแช่ หรือจะใช้พริกแกงผสมแทนสารเคมี...

ปัจจุบันนอกจากเกรียงไกรสามารถลดการใช้สารฉีดพ่นเคมี เขายังมีรายได้จากการขายน้ำสกัดสมุนไพรซึ่งเดือนหนึ่ง
ประมาณ 1,500-3,000 บาท

สำหรับเกษตรกรรายใดที่สนใจ เขายินดีอบรมให้แบบฟรีๆ หรือจะทำหน้าที่สกัดเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม สามารถกริ๊งกร๊าง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 08-1605-8672.


ที่มา ไทยรัฐ 25 กุมภาพันธ์ 2554
http://www.plainafarm.com/index.php?option=com_fireboard&Itemid=29&func=view&id=4&catid=3
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 8:49 pm    ชื่อกระทู้:

21. สารสมุนไพรกำจัดหนอนแมลงและเชื้อรา

ใช้สำหรับเห็ดในถุงพลาสติก

สารสมุนไพรกำจัดหนอนแมลงและเชื้อรา
คือ การนำวัสดุธรรมชาติเชิงสมุนไพร ประกอบด้วย สะเดา หางไหล ตะไคร้หอม ฯลฯ ผ่านกระบวนการสกัด มีสรรพคุณ สามารถ
กำจัด ทำลายหนอนและแมลงต่างๆ ที่ได้มาทำลายต้นพืชและเห็ด เช่น หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม ด้วงปีก
แข็ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไส้เดือนฝอย ไล่ปลวก ไรไก่ เห็บ หมัด เหา และแมลงหวี่ ตลอดทั้งราน้ำค้าง ราสนิม ฯลฯ

วิธีใช้
อัตราส่วน 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ้นทุกๆ 6–10 วัน ฉีดในเวลาเย็น หรือ หลังฝนตกแล้ว สามารถใช้ร่วมกับน้ำสกัด
ชีวภาพได้เป็นอย่างดี


http://www.anonworld.com/bbs/printthread.php?tid=63
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 8:36 pm    ชื่อกระทู้:

20. พืชสมุนไพรไล่แมลง งานค้นคว้าสำนักฟาร์มแม่โจ้





มนุษย์รู้จักการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานานแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองข้าม ขาดการเผยแพร่ ประกอบกับสารเคมีทางการ
เกษตรในปัจจุบันหาได้ง่าย ใช้ได้ง่าย และเห็นผลรวดเร็วกว่า

แต่เมื่อมีการใช้ในระยะเวลานานๆ ก็จะเริ่มส่งผลเสียออกมาให้เห็น มีทั้งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย

จึงเป็นสาเหตุให้บรรดาเกษตรกรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการปลูกพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ และหาวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะนำ
มาใช้ทดแทนสารเคมี

อาจารย์แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของสมุนไพรเพื่อให้มีการนำ
ไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวว่า สำหรับผู้ที่กำลังใช้หรือต้องการใช้พืชสมุนไพร ต้องทำความเข้าใจกัน
เสียก่อนว่าการใช้พืชสมุนไพรเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่ได้เป็นวิธีการสำเร็จรูปที่จะช่วยป้องกันหรือแก้ไขปัญหาของศัตรูพืช
ได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์

เนื่องจากการใช้สมุนไพรในรูปแบบนี้แท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกลับไปหาวิธีการสร้างสมดุลธรรมชาติ เพื่อให้เกิด
การระบาดของแมลงศัตรูพืชน้อยที่สุด แต่ถ้าจะให้ดีเราควรจะมีการจัดการและการป้องกันแมลงศัตรูพืชตั้งแต่เริ่มต้นที่ทำการเพาะปลูก

แต่หากเกิดปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชขึ้น การใช้สมุนไพรก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ปัญหาโรคและแมลงลดลงได้ แถม
ยังไม่เกิดสารพิษตกค้างที่สำคัญยังมีต้นทุนในการดำเนินงานน้อยกว่าสารเคมีอยู่มาก


สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ :
หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน) เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม
ตะไคร้แกง ดีปลี พริก โหระพา สะระแหน่ กระเทียม กระชาย กะเพรา ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า
ใบยอ ใบลูกสบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย เปลือกมะม่วงหิม
พานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง


สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกัน กำจัดหนอนชนิดต่างๆ ได้แก่ :
สะเดา (ใบ+ผล) หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) หนอนตายหยาก สาบเสือ ยาสูบ (ยาฉุน) ขมิ้นชัน ว่านน้ำ หัวกลอย
เมล็ดละหุ่ง ใบและเมล็ดสบู่ต้น ดาวเรือง ฝักคูนแก่ ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ เถาบอระเพ็ด ใบลูกเทียนหยด
เปลือกใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกและจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว ใบยอ ลูกเปลือกต้นมังตาน เถาวัลย์ยาง เครือบักแตก คอแลน
มุยเลือด ส้มกบ ตีนตั่งน้อย ปลีขาว เกล็ดลิ้น ย่านสำเภา พ่วงพี เข็มขาว ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ แสยก พญาไร้ใบ ใบแก่-ผลยี่โถ

อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาใช้ในการป้องกัน กำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืช ควรศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนว่า
จะนำส่วนไหนมาใช้และใช้ในช่วงเวลาใดจึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง



ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 15 กรกฎาคม 2553
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdOekUxTURjMU13PT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1DMHdOeTB4TlE9PQ==

http://www.phtnet.org/news53/view-news.asp?nID=268
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 7:54 pm    ชื่อกระทู้:

19. การปลูกพืชผักหลายชนิด





สาระสำคัญ
นายแผ่ว พิมพ์สี ปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความรู้ความสามารถในการเกษตรกรรม (เกษตรอินทรีย์) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกพืชผักนานาชนิด
ความชำนาญและความรอบรู้ดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของชุมชน นอกจากนั้นนายแผ่ว พิมพ์สี ยังถ่ายทอดความรู้ของตนสู่ชุมชนอีกด้วย ขั้น
ตอนการปลูกผักระบบเกษตรอินทรีย์

1) การไถพรวนและเตรียมแปลง ต้องทำการไถพรวนให้พื้นที่ในแปลงโล่งแจ้งพร้อมที่จะทำการวางรูปแบบแปลง ในการวางรูปแบบแปลง
จะต้องวางไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและแสงแดดฆ่าเชื้อโรค แปลงที่จะปลูกพืชผักนั้นความกว้างไม่ควรเกิน 1 เมตร
ส่วนความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่ยังทำแปลงปลูกพืชไม่ทันให้เอาพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วมะแฮะมาหว่าน
คลุมดินเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด เป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมกับเป็นการป้องกันแมลงที่จะมาวางไข่ในพงหญ้าด้วย

2) ปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลง ให้ปลูกก่อนที่จะปลูกพืชหลักคือพืชผักต่างๆ (เสริมกับการป้องกัน) พืชสมุนไพรที่กันแมลง
รอบนอกเช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้ หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ ส่วนต้นด้านในกันแมลงในระดับต่ำโดยปลูกพืชสมุนไพร
เตี้ยลงมา เช่น ดาวเรือง กระเพรา โหระพา ตะไคร้หอม พริกต่างๆ ปลูกห่างกัน 1 เมตร และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือ จะต้องปลูกตะไคร้
หอมทุกๆ 3 เมตร แซมโดยรอบพื้นที่ด้านในด้วย


3) การแยกแปลงปลูกยกแปลงเพื่อปลูกพืชผัก แต่ก่อนที่จะปลูกจะต้องมีการปรับสภาพดินในแปลงปลูก โดยการใส่ปุ๋ยคอกจากมูล
สัตว์ที่ตากแห้งแล้วจะใส่มากน้อยขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำแปลงปลูกพืชอินทรีย์ (ห้ามใช้มูลสัตว์สด) ทำการพรวน
คลุกดินให้ทั่วทิ้งไว้ 7 วัน ก่อนปลูก

4) ปลูกพืชสมุนไพรกันแมลง ให้ปลูกที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ๋ยฉ่าย คื่นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูกกระเพรา โหระพา พริก
ต่างๆ เพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผัก พอครบกำหนด 7 วัน พรวนดินอีกครั้งแล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่านแต่เมล็ดพันธุ์
พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีจึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง โดยการนำน้ำที่มีความร้อน (50-55 C ) วัดได้ด้วย
ความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วมือจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาที แล้วจึงนำขึ้นมาคลุก
กับกากสะเดา หรือ สะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลงที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ การเตรียมน้ำสมุนไพรไล่แมลง ก่อนรดน้ำทุก
วันควรขยำขยี้ใบ ตะไคร้หอมแล้วใช้ไม้เล็กๆ ตีใบกระเพรา โหระพา ข่า ฯลฯ เพื่อให้เกิดกลิ่นจากพืชสมุนไพรออกไล่แมลง ควรพ่น
สารสะเดาอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3-7 กันก่อนแก้ถ้าปล่อยให้โรคแมลงมาแล้ว จะแก้ไขไม่ทัน เพราะว่าไม่ใช้สารเคมี ควรดูแลเอาใจ
ใส่อย่างใกล้ชิด

5) การเก็บเกี่ยว เมื่อถึงอายุควรเก็บเกี่ยวทันทีถ้าทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองสารสมุนไพรในการปลูกพืชอินทรีย์ในระยะแรกผลผลิตจะได้
น้อยกว่าพืชเคมี ประมาณ 34.40 % ผลดีคือทำให้สุขภาพของผู้ผลิตดีขึ้นไม่ต้องเสียค่ายา (รักษาคน) สิ่งแวดล้อมก็ดีด้วย
รายได้ก็เพิ่มกว่าพืชเคมีหากทำอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผลผลิตจะไม่ต่างกับการปลูกพืชโดยใช้สารเคมีเลย

6) ปลูกพืชหมุนเวียน หลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวพืชแรกไปแล้ว ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวกับพืชแรเช่น ในแปลงที่ 1 ปลูกผักกาด
เขียวปลีได้ผลผลิตดีหลักเก็บผลผลิตไปแล้วปลูกซ้ำอีก จะไม่ได้ผลเลย ควรปลูกสลับชนิดกัน เช่น ปลูกผักกาดเชียวปลี แล้วตาม
ด้วยผักบุ้งจีน เก็บผักบุ้งจีนแล้วตามด้วยผักกาดหัว เก็บผักกาดหัวแล้วตามด้วยผักปวยเล้ง เก็บปวยเล้งตามด้วยตั้งโอ๋ ทำเช่นนี้
ทุกๆ แปลงที่ปลูกแล้วจะได้ผลผลิตดี

7) การปลูกพืชอินทรีย์ ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง แล้วต้องปลูกพืชสมุนไพร
สลับลงไปในแปลงพืชผักเสมอ แล้วต้องทำ
ให้พืชสมุนไพรต่างๆ เกิดการช้ำ จะได้มีกลิ่น ไม่ใช่ปลูกเอาไว้เฉยๆ การปลูกพืชแนวตั้ง คือ พืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วผักยาวมะระจีน
ฯลฯ และแนวนอน คือ พืชผักต่างๆ คะน้า กระหล่ำปลี ปวยเล้ง ตั้งโอ๋ ฯลฯ ทุก
พืชที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์

Cool การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลง ยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย หลังจาก
ทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไปทำลายนอก
แปลง ส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป



http://www.takculture.com/vdn/print2.php?item=1197
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 7:45 pm    ชื่อกระทู้:

มนตรี แสนสุข

ชูชัย นาคเขียว เปิดตำรายาสมุนไพรกลางบ้าน


18. ประยุกต์สู่สารสกัดสมุนไพรไล่แมลง



ปัจจุบัน สิ่งที่เกษตรกรชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา จะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด นั่นก็คือ เรื่องของการใช้สารเคมีในการทำเกษตร สารเคมี
นอกจากจะมีปัญหาเรื่องของการทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแล้ว ในเรื่องของสนนราคาที่แพงลิบลิ่วก็ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านต้น
ทุนการผลิตอีกทางหนึ่ง

เศรษฐกิจบ้านเมืองทุกวันนี้อยู่ในช่วงถดถอยเกิดภาวะเงินฝืด ข้าวยากหมากแพง ประชาชนทุกคนรู้ซึ้งและกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันนี้
วิกฤติเศรษฐกิจรอบสองละม้ายคล้ายวิกฤติเศรษฐกิจรอบแรก ยุค "ต้มยำกุ้ง" กำลังมาเยือน ฉะนั้น ในเรื่องของการใช้จ่ายเงินทอง และ
การซื้อขายผลผลิตจึงมีอัตราการซื้อลดลง เกษตรกรที่อยู่ในภาคการผลิตมีปัญหาการซื้อขายชะลอตัว เพราะกำลังการซื้อของผู้บริโภค
ลดลง ทุกสิ่งกำลังจะกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจ ตรงจุดนี้หากเกษตรกรไม่เร่งปรับตัวลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปัญหา
เรื่องของกำไรขาดทุนจะตามมาทันที

เกษตรกรเป็นจำนวนมากหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการใช้สารสกัดสมุนไพรทดแทนสารเคมี แม้แต่ฮอร์โมนหรือปุ๋ยที่บำรุงต้นพืช
ก็หันมาใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ที่ทำจากธรรมชาติมาทดแทนปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ การทำเกษตรแบบธรรมชาติที่ยั่งยืน กำลังได้รับการพัฒนา
ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่และสิ่งแวดล้อมในแปลงเกษตรกรรม

คุณชูชัย นาคเขียว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลแพงพวย และประธานกลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษตำบลแพงพวย อำเภอดำเนิน
สะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นอีกผู้หนึ่งที่คิดค้นสารสกัดสมุนไพรชัยไล่แมลงในแปลงเกษตรกรหลากหลายสูตรได้ผลจนเกษตรกรในท้อง
ถิ่นยอมรับหันมาใช้กันอย่างกว้างขวาง ขานรับนโยบายลดต้นทุนการผลิตในการทำเกษตรอย่างจริงจัง

คุณชูชัย ปัจจุบันอยู่ที่ หมู่ที่ 6 บ้านมดตะนอย ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ทำสวนเกษตรปลูกไผ่ ปลูกไม้ผล ใน
เนื้อที่ 12 ไร่ เป็นการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ เพราะเจ้าตัวผลิตสารสกัดสมุนไพรมาใช้เอง

คุณชูชัย เล่าถึงความเป็นมาแต่หนหลังว่า ตนเองเป็นชาวบ้านมดตะนอยแห่งนี้ เป็นลูกชาวสวนเกษตรโดยแท้ คุณพ่อคุณแม่ทำสวน
ปลูกผัก ปลูกไม้ผล ปลูกพริก หอม กระเทียม สำหรับตนนั้นช่วยทางบ้านทำสวนเกษตร ปลูกผักมาตั้งแต่เด็กๆ พอโตขึ้นมีครอบครัว
ก็แยกเรือนออกมาทำสวนเกษตรเอง

คุณชูชัย กล่าวต่อไปว่า การทำสวนเกษตรสมัยก่อนนั้นใช้สารเคมีจำกัดแมลงศัตรูพืชเป็นหลัก เรียกว่าใช้จนสุขภาพตนเองย่ำแย่ มีอยู่
ปีหนึ่งเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์บวชอยู่ที่วัดโคกบำรุงราษฎร์ สมัยนั้นหลวงพ่ออุ่น ท่านเป็นสมภารปกครองวัด หลวงพ่ออุ่นท่านเก่งเรื่อง
ตำรายาแพทย์แผนโบราณ รักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยสมุนไพร ชาวบ้านใครเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปหาหลวงพ่ออุ่น ท่านจะปรุงยาสมุนไพร
รักษาไข้ให้

คุณชูชัยบวชเป็นพระอยู่กับหลวงพ่ออุ่นก็ศึกษาเล่าเรียนวิชายาสมุนไพรโบราณ โดยมีหลวงพ่ออุ่นเป็นครูประสิทธิ์ประสาทวิชาให้
อย่างใกล้ชิด การศึกษาวิชาสมุนไพรยิ่งเรียนรู้ก็ยิ่งแตกฉาน คุณชูชัยอยู่ที่วัดโคกบำรุงราษฎร์ได้พรรษาหนึ่งก็ลาพระอาจารย์ไป
ศึกษาวิชาตำรายาสมุนไพรจากหลวงพ่อทรง ที่บางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

หลวงพ่อทรง เป็นพระอาจารย์ที่เก่งทางตำรายาสมุนไพรอีกรูปหนึ่ง มีชาวบ้านไปให้ท่านรักษาโรคภัยไข้เจ็บเป็นจำนวนมาก คุณชูชัย
หรือพระชูชัยศึกษาตำราสมุนไพรรักษาโรคกับหลวงพ่อทรงพอเอาตัวรอดได้ รักษาไข้ได้ จนกระทั่งลาสิกขาออกมาใช้ชีวิตเป็นฆราวาส
กลับมาอยู่ที่ดำเนินสะดวกบ้านเกิด หันหน้าเข้าสู่การทำสวนเกษตรตามเดิม

ในช่วงนั้นเองมีการประชาสัมพันธ์จากทางราชการให้เกษตรกรหันมาทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เอง และให้ทำสารสกัดจากสมุนไพร
ซึ่งก็มีผู้ให้ความสนใจกันมาก คุณชูชัยเป็นหนึ่งในจำนวนผู้สนใจนั้นด้วย

การหันหน้าเข้าสู่การเรียนรู้เรื่องของสมุนไพร คุณชูชัยเล่าว่า เกิดจากความรู้เรื่องสมุนไพรที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็มานั่งคิดว่าสมุน
ไพรแต่ละชนิดนั้นมีสารออกฤทธิ์ต่างกัน เราเอาสมุนไพรมารักษาโรคได้ก็น่าจะเอามาจำกัดหนอนแมลงศัตรูพืชในสวนได้ ประกอบ
กับทางราชการก็ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำสารสกัดสมุนไพรอยู่แล้ว จึงไปเข้ารับการอบรมกับหน่วยงานเกษตรและงานพัฒนาที่ดิน
เขาส่งเสริมให้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพและสารสมุนไพรไล่แมลงใช้เอง

หลังจากรับความรู้มาพอสมควร ก็กลับมาทดลองทำปุ๋ยทำสารสกัดสมุนไพรเอง ซึ่งผลสัมฤทธิ์ก็ยังไม่ดีนัก จึงเอาตำรายาสมุนไพร
จากพระอาจารย์ที่ให้ไว้มาศึกษารายละเอียดอีกครั้ง จากนั้นก็ประยุกต์เอาสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรชนิดต่างๆ มาแยกประเภทให้
เข้ากับจุดมุ่งหมายของการใช้ สมุนไพรนั้นมีหลากหลายชนิด มีทั้งกลิ่นฉุน มีทั้งสารเบื่อเมาที่สามารถยับยั้งการลอกคราบของแมลง
ได้ แรกๆ แยกชนิดสมุนไพรแล้วนำมาหมักกับแอลกอฮอล์นำไปทดลองใช้ดู ปรากฏว่าได้ผล แต่ต้นทุนสูงมาก สู้ไม่ไหว

คุณชูชัย เล่าต่ออีกว่า ตนได้ไปดูงานการทำสารสกัดสมุนไพรจากที่ต่างๆ เก็บเกี่ยวเอาความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ทำสมุนไพรไล่
แมลงใช้เอง พอทำเสร็จก็ทดลองใช้ในสวนแล้วก็แจกจ่ายให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงลองไปใช้ดู บางอย่างก็ได้ผลดี ที่ยังไม่ค่อยได้ผล
ก็เอามาปรับปรุงใหม่ อาศัยตำรายาสมุนไพรของพระอาจารย์เป็นเกณฑ์

ฝึกทำสมุนไพรไล่แมลงนานพอสมควรจึงประสบความสำเร็จ เอาไปให้เพื่อนบ้านใช้ได้ผลดี จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นเมื่อ 10 ปีที่
ผ่านมา ตอนแรกใช้ชื่อกลุ่มว่า "กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน" ใช้สารสกัดไล่แมลงในแปลงเกษตร วัตถุประสงค์ไม่ต้องการใช้สารเคมี
มากเกินไปนั่นเอง แรกๆ กลุ่มมีสมาชิกเพื่อนบ้านมาช่วยกัน 6 คน พอใช้สารสกัดสมุนไพรจนเห็นผล ก็มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น
18 คน ปีต่อๆ มามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีสมาชิกถึง 134 คน เป็นการพัฒนาที่ก้าวหน้าต่อเนื่องมาตามลำดับ ทุก
วันนี้เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็งอีกกลุ่มหนึ่งของอำเภอและของจังหวัดราชบุรี

"กลุ่มของเราช่วยเหลือซึ่งกันและกันจริงๆ ไม่ใช่ทำเพื่อธุรกิจร้อยเปอร์เซ็นต์"

คุณชูชัย กล่าวว่า เรื่องของสารสกัดสมุนไพรไล่แมลงที่ทำออกมาจำหน่ายให้กับสมาชิกกลุ่มและผู้ที่สนใจนั้น มีหลักๆ อยู่ 5
ชนิด คือ

สูตร 1 เป็นสารควบคุมหนอน กำจัดหนอนและแมลง เรียกว่า "สูตรดั้งเดิม" ใช้วิธีหมักด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ 95%
เอาสมุนไพรที่มีกลิ่นแรง กลิ่นฉุน เช่น กะเพราผี เสือหมอบ ตะไคร้หอม มะกรูดสุกจัด ฯลฯ มาหมัก ได้หัวเชื้อนำมาผสมน้ำฉีด
กำจัดหนอน ระงับการลอกคราบของหนอนและแมลง


คุณชูชัย บอกว่า สูตรนี้ต่อมาภายหลังได้เครื่องสกัดสมุนไพรมา จึงใช้วิธีการสกัดซึ่งก็ได้ผลดีมาก

สูตร 2 กำจัดโรคราพืช ใช้สมุนไพรรักษาโรคกลากเกลื้อนเรื้อรัง สมานแผล นำมาสกัดสามารถป้องกันเชื้อรา โรคพืช โรคไวรัส
ในพืชได้

สูตร 3 เป็นฮอร์โมนพืชชนิดเข้มข้น สกัดจากปลาน้ำจืดและสมุนไพร ใช้ปลา 10 กิโลกรัม น้ำ 10 ลิตร โมลาส 10 ลิตร นำมา
หมัก 10-20 วัน แล้วเอามาผสมกับหัวไชเท้า เป็นตัวยืดผลผสมกวาวเครือขยายผลด้านข้าง สูตรนี้จะสกัดไม่ให้มีความหวานหลง
เหลืออยู่ ใช้วิธีการควบแน่นเอาน้ำหวานออก เวลาใช้จะไม่เกิดเชื้อราเด็ดขาด สามารถใช้กับกล้วยไม้ก็ได้ ช่วยให้ดอกบาน
ใหญ่ มีสีสดสวย เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องเชื้อราจะเข้าทำลาย

สูตร 4 กำจัดหนอนแมลงชนิดเข้มข้น (ยาน็อค) นำเอาสมุนไพร 5 กลุ่ม จากสูตร 1 ที่หมักแล้ว เอามาหมักกับโล่ติ๊น
น้ำส้มสายชู และแอลกอฮอล์ โล่ติ๊นนั้นใช้เครื่องย่อยให้ละเอียดเพื่อให้สารออกฤทธิ์ได้เต็มที่ เป็นสูตรเข้มข้น ใช้หัวเชื้อ 20 ซีซี
ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดกำจัดหนอนใยผักหรือหนอนหนังเหนียวได้ผลนักแล เรียกว่า หนอนโดนสารเข้าไปรีบเขียนจดหมายลาตาย
ไว้ได้เลย ญาติๆ หนอนเหล่านั้นเตรียมจัดบังสุกุลสวดกุศลาธัมมา อกุศลาธัมมา ส่งวิญญาณให้หายห่วง ถ้าเป็นหนอนตัวเล็กๆ
ลูกหนอนหรือหนอนหนุ่มสาวพอโดนสารจะตายทันที ส่วนหนอนใหญ่ประเภทหนังเหนียวเขี้ยวลากดิน ถูกสารไปประมาณ 2 วัน
พอมีโอกาสไปร่ำลาเมียน้อยเมียหลวงรับรองตายแน่ๆ เรียกว่าสูตรยาน็อค สูตรนี้ใช้กับการทำพืชผักส่งออกต่างประเทศดีนักแล


สูตร 5 กำจัดหนอนแมลงเช่นกัน ได้จากการหมักสมุนไพร โดยเอาสมุนไพรที่มีสารเบื่อเมา เช่น เมล็ดมันแกว เมล็ดมะกล่ำตาหนู
ฯลฯ มาป่นแล้วนำมาหมักกับแอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชู ใช้กำจัดแมลงตัวเล็กๆ ปริมาณการระบาดปานกลางไม่มากนัก

สารสกัดไล่แมลงทั้ง 5 สูตรนี้ คุณชูชัยบอกว่า ราคาต่างกันถูกแพงอยู่ที่ชนิดของสารและการกำจัด แต่ทั้งหมดราคาไม่ได้แพง
อย่างที่คิด เพราะทำใช้ในกลุ่มด้วยกันเอง หากเป็นเกษตรกรที่ไม่ใช่สมาชิกราคาเพิ่มนิดหน่อย เพราะว่าสมุนไพรบางอย่าง
ราคาค่อนข้างสูง แต่ทั้งหมดรับรองใช้ได้ผล เหมาะกับผู้ที่สนใจจะทำพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ ถือว่าช่วยกลุ่มช่วยสนับสนุน
ผลงานที่เกิดจากภูมิปัญญาก็แล้วกัน ไม่ใช่มุ่งหวังเป็นธุรกิจแต่ประการใด สนใจโทร. คุยกันที่ (032) 361-026, (081)
880-4520 คุณชูชัยบอกว่า ยินดีต้อนรับและให้คำแนะนำ เพราะเศรษฐกิจอย่างนี้
ช่วยเหลือกันได้ก็ต้องช่วยเหลือกัน...เชิญครับท่าน



http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05032151251&srcday=&search=no
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 7:25 pm    ชื่อกระทู้:

17. จีวรกันยุงสมุนไพรไทยปลอดสารเคมี





เป็นอีกหนึ่งงานที่น่าภาคภูมิใจจากฝีมือคนไทย ที่นำสมุนไพรในครัวเรือนมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จนได้
เป็นสารสมุนไพรกันยุง นำมาเคลือบบนผ้าจีวร ของพระสงฆ์ ในนามของ เมตตาคุณ

นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ร่วม
กับ บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการกลุ่มโครงการคลัสเตอร์สิ่งทอเพชรเกษม ทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
เสื้อกันยุงสมุนไพรไทยปลอดภัยจากสารเคมีเป็นรายแรกของไทย สามารถป้องกันยุงได้ถึง 97% ซึ่งผ่านการตรวจสอบจาก
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขแล้ว จึงนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อการปฏิบัติธรรม คือ ผลิต
ภัณฑ์ “จีวรกันยุง” ภายใต้แบรนด์ “เมตตาคุณ” โดยแบ่งผลิตภัณฑ์ตามนิกาย เป็น 3 สี ได้แก่ สีราชนิยม สีเหลืองทอง และ
สีกรัก/แก่นขนุน

วิธีการทดสอบประสิทธิภาพเสื้อกันยุงเพื่อให้ได้มาตรฐาน คือ ใช้ผ้าที่สวมแขน ข้างหนึ่งเป็นผ้าธรรมดา อีกข้างหนึ่งเป็นผ้าที่
เคลือบสารสมุนไพรกันยุง ใช้ยุงสองกรงเป็นยุงตัวเมียจำนวน 250 ตัว มีอายุ 3-5 วัน เมื่อวางแขนเข้าไปในกรงยุงจะจับเวลา
3 นาที เมื่อครบ 3 นาทีจะนับจำนวนยุงที่เกาะบนผ้าธรรมดาเปรียบเทียบกับที่เกาะบนผ้าเคลือบสารสมุน ไพรกันยุง ทำทุก
ครึ่งชั่วโมง เปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การเกาะผ้า ซึ่งผลที่ได้ผ้ากันยุงลดการเกาะได้ดีกว่าผ้าธรรมดา

“ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากันยุงไม่ใช่ของใหม่ ขณะนี้มีหลายประเทศที่ผลิตแต่ใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ไม่
ชอบ จึงนำสมุนไพรไทยมาใช้เพราะในประเทศไทยมีสมุนไพรที่แมลงและยุงไม่ชอบ เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า และมะกรูด
เป็นสารที่ได้จากสมุนไพร 100% ได้สูตรที่ดีที่สุด 11 สูตร จากข้อมูลปี พ.ศ. 2550 พบว่า มีประชากร ไทยประมาณ
54,000 คน ที่ต้องเจ็บป่วยโดยมีสาเหตุมาจากยุง และ 72 คนต้องเสียชีวิต” นาย วิรัตน์ กล่าว




ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาอุตสาห กรรมสิ่งทอ กล่าวว่า นวัตกรรม
สิ่งทอไล่ยุงใช้เทคโนโลยีไบโอแคปซูลในการแตกตัวของกลิ่นสมุนไพรเพื่อไล่ยุง ซึ่งการที่ยุงกัดคนเพราะได้กลิ่นจากคาร์
บอนไดออกไซด์ และกลิ่นเหงื่อ นวัตกรรมสิ่งทอใหม่นี้เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยที่ใช้ส่วนประกอบของสมุนไพร 100%
และมีคุณสมบัติในการไล่ยุงได้ถึง 97% โดยน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรจะระเหยออกมาจากเส้นใยเพื่อรบกวนประสาท
การรับรู้ของยุงทำให้ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าภายใต้ผ้ากันยุงเป็นผิวหนังของมนุษย์ โดยสมุนไพรไล่ยุงที่เคลือบอยู่ในผ้าจะมีอายุ
การใช้งาน 1 ปี ซักได้ประมาณ 20-30 ครั้ง และไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่

ด้าน นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด เจ้าของแนวคิดและผลิตภัณฑ์จีวรกันยุง กล่าวว่า
จากการศึกษาตัวเลขบุคลากรทางศาสนาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีจำนวนทั้งหมด 313,267 รูป แบ่งเป็น
พระภิกษุ 250,437 รูป สามเณร 62,830 รูป และพุทธศาสนิกชน จำนวน 46,902,100 คน โดยพระภิกษุ 1 รูป
จะมีผ้าจีวรอย่างน้อย 2 ชุด และอย่างมาก 5-7 ชุด จึงมีมูลค่าตลาดอยู่ประมาณ
2,000 ล้านบาท ไม่นับรวมวัดไทยใน
ต่างประเทศที่มีพระภิกษุสงฆ์และสามเณรอยู่ประจำวัด

ล่าสุด พม่าและอินเดียได้มีการติดต่อขอซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และมีการตั้งเป้าจะผลิต ผลิตภัณฑ์กันยุงในผ้าขาว ซึ่งสามารถ
นำมาตัดเย็บเป็นชุดปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน รวมทั้ง ชุดละหมาดของมุสลิมได้ สำหรับจีวรกันยุงจะมีราคาแพงกว่า
จีวรทั่วไปประมาณ 10-20% ประมาณ 1,850 บาท

นักวิจัยใช้เวลาการคิดค้นจีวรกันยุงนาน 8 เดือน ใช้เงินไปกว่า 1 ล้านบาท และในอนาคตเราจะได้ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มสำหรับ
กันยุงด้วย.



ที่มา: http://news.sanook.com/technology/technology_244914.php
http://119.63.95.137/Industrial%20Innovation/www/pro_det1-068.html
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 7:07 pm    ชื่อกระทู้:

16. สมุนไพรไล่เพลี้ยกระโดดในนา

การทำนาติดต่อกันปีละหลายครั้ง เป็นสาเหตุให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังคงแพร่ลูกหลานเป็นศัตรูสำคัญในนาข้าวได้ต่อไปอีก
การใช้สารเคมีกลับทำให้เพลี้ยเหล่านี้ พัฒนาตนเองให้ดื้อยาจนกำจัดได้ยาก

สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท ได้ส่งเสริมให้ชาวนาหันมาผลิตสารสมุนไพร ขับไล่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนในนาข้าว
ไว้ใช้เอง โดยให้คุณสัมฤทธิ์ ไม่ยาก เป็นวิทยากรเผยแพร่สูตรสารขับไล่แมลงนี้ ไปยังชาวนารายอื่น

วิธีทำ ให้ใช้ใบพืชพื้นบ้านที่หาได้ง่ายแบ่งเป็น 3 ชุด แต่ละชุดใช้ ใบสะเดา เป็นวัตถุดิบหลักประมาณ
5 กิโลกรัม ใบน้อยหน่า หรือ ใบน้อยโหน่ง ยอดต้นรัก ยอดสาบเสือ และ เถามะระขี้นก อย่างละ 1 กิโลกรัม

นำมาสับหยาบๆ ใส่สมุนไพรชุดแรกหมักกับเหล้าขาว 1 ขวดกลม และน้ำส้มสายชูอีกครึ่งขวด ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปต้มจน
น้ำเหลืออยู่ครึ่งหนึ่ง นำน้ำสมุนไพรที่ได้ไปเจือจางกับน้ำสะอาดอีก 5 ลิตร แล้วใช้ต้มกับสมุนไพรสับชุดที่สอง และต้มสมุนไพรชุด
ที่สาม ด้วยขั้นตอนเดียวกัน รวม 3 ขั้นตอน ก็จะได้สารสมุนไพรขับไล่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่มีความเข้มข้นสูง

นำสารสมุนไพรเข้มข้น 50 ซีซี. ไปผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในนาข้าวในระยะกล้าอายุ 2 สัปดาห์ และ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้น
ให้ฉีดพ่นทุก 10 วัน ไปจนกระทั่งข้าวออกรวงเข้าระยะน้ำนมจึงหยุดฉีด

สารสมุนไพรขับไล่แมลงสูตรนี้ สามารถผสมกับฮอร์โมนอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนไข่ หรือฮอร์โมนรกหมู ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้ ช่วยให้
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลดลงได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และยังสามารถฆ่าหนอนบางชนิด เช่น หนอนห่อใบข้าวได้อีกด้วย โดยมี
ต้นทุนเพียง 200 บาท ในขณะที่การใช้สารเคมีมีต้นทุนถึง 9,000 บาท

สมุนไพรสูตรนี้ นอกจากจะใช้ได้ดีในนาข้าวแล้วนะครับ ยังสามารถนำไปใช้กับไม้ผล เช่น มะนาวได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดการระบาด
ของหนอนชอนใบ และโรคโรคแคงเกอร์ได้ครับ หมดเวลาของตามทันเกษตรแล้ว กลับไปที่คุณศรีสุภางค์ต่อครับ



ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณสัมฤทธิ์ ไม่ยาก โทร.081-973-1408

http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=123481
http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=22587.0
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 6:41 pm    ชื่อกระทู้:

ลำดับเรื่อง....



15. ความรู้เบื้องต้นในการใช้สมุนไพรไล่แมลง
16. สมุนไพรไล่เพลี้ยกระโดดในนา
17. จีวรกันยุงสมุนไพรไทยปลอดสารเคมี
18. ประยุกต์สู่สารสกัดสมุนไพรไล่แมลง
19. การปลูกพืชผักหลายชนิด
20. พืชสมุนไพรไล่แมลง งานค้นคว้าสำนักฟาร์มแม่โจ้

21. สารสมุนไพรกำจัดหนอนแมลงและเชื้อรา
22. สกัดน้ำสมุนไพร ไล่แมลง เชื่อมโยงเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดภัย
23. ป้องกันยุงกัด...ด้วยสมุนไพรธรรมชาติ
24. การประยุกต์ใช้สมุนไพรในการป้องกันและกำจัดแมลง
25. สมุนไพรไล่แมลงศัตรูพืช (สะเดา ตะไคร้หอม สาบเสือ ดาวเรือง บอระเพ็ด
พริก)

26. การใช้สกัดสารสมุนไพรเพื่อเป็นฮอร์โมน และสารควบคุมศัตรูพืช
27. การเตรียมสารสกัดสมุนไพรรวม เพื่อป้องกันกำจัดโรค-แมลงศัตรูพืช
28. จุลินทรีย์ปฎิปักษ์

----------------------------------------------------------------------------------






15. ความรู้เบื้องต้นในการใช้สมุนไพรไล่แมลง


สมุนไพรไล่แมลงเป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล มีสารอกฤทธิ์ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันและกำจัดแมลงและ
สัตว์น่ารังเกียจภายในบ้าน การออกฤทธิ์ของสมุนไพรต่อแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านนั้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม

ผลทางตรงต่อแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้าน
เมื่อแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านโดนสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรจะตายทันที โดยสารออกฤทธิ์มักจะมีผลต่อระบบ
ประสาทและระบบหายใจของแมลง

ผลทางอ้อม
เมื่อแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านโดนพืชสมุนไพรจะไม่ตายทันที แต่สารออกฤทธิ์จะมีผลต่อระบบอื่นๆของแมลง
เช่น ยับยั้งการกินอาหารของแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้าน ยับยั้งการลอกคราบของแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายใน
บ้าน ทำให้แมลงและสัตว์น่ารังเกียจไม่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่ ไม่สามารถวางไข่ได้เป็นต้น

ดังนั้นการเลือกสมุนไพรเพื่อใช้ในการไล่แมลงจึงควรรู้ว่า สมุนไพรใดมีคุณสมบัติอย่างไร มีผลต่อการป้องกันและกำจัดแมลง
และสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านอย่างไร และควรเลือกใช้ส่วนต่างๆของพืชสมุนไพรที่จะนำมาทำเป็นสารสมุนไพรกำจัดแมลงและ
สัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านอย่างเหมาะสม เพราะส่วนต่างๆของพืชไม่ว่าจะเป็น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล อาจจะมีคุณสมบัติ
และประสิทธิภาพในการไล่แมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านไม่เท่ากัน

นอกจากนั้นแล้ว การเก็บเกี่ยวส่วนต่างๆของพืชในช่วงเวลาที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้สมุนไพรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้คือ

พืชที่ใช้ส่วนดอก........ ควรเก็บในช่วงที่ดอกตูมเริ่มจะบาน

พืชที่ใช้ส่วนผล..........ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก

พืชที่ใช้ส่วนเมล็ด.......ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่

พืชที่ใช้ส่วนราก/หัว....ควรเก็บในระยะที่พืชเริ่มมีดอก หรือในช่วงฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน

พืชที่ใช้ส่วนเปลือก.....ควรเก็บก่อนที่จะมีการผลิใบใหม่ ควรเก็บในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน


อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า การใช้สมุนไพรไล่แมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านนั้นเป็นวิธีการที่ไม่สำเร็จรูปเหมือนการใช้
สารเคมี และบางครั้งแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านก็จะไม่ตายในทันทีที่ใช้ การใช้สมุนไพรส่วนใหญ่ต้องใช้ปริมาณ
ที่มีความเข้มข้นค่อนข้างสูง เนื่องจากปริมาณสารออกฤทธิ์ที่ได้จากสารสกัดจากแบบพื้นบ้าน เช่น การแช่น้ำหรือแอลกอ
ฮอล์จะได้ปริมาณต่ำ การใช้สมุนไพรไล่แมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านต้องใช้ต่อเนื่องในช่วงแรกและใช้ในเวลาสถานที่
ที่เหมาะสม การใช้สมุนไพรไล่แมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้านไม่มีผลข้างเคียงต่อคนใช้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆและสภาพแวดล้อม

ดังนั้นหากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูต้องแล้วการใช้สมุนไพรก็จะเป็นวิธีป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์น่ารังเกียจภายในบ้าน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีผลดีกว่าการใช้สารเคมีอย่างมากมายในด้านความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ต่อผู้บริโภค และต่อสภาพแวดล้อม


สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเตรียมสารสมุนไพรและการใช้

*เมื่อบดหรือแช่สมุนไพรแล้วจะเก็บไว้ได้ไม่นาน ควรใช้ในวันเดียว

*ไม่ควรฉีดพ่นสารสมุนไพรเมื่อมีแสงแดดจัดหรือฝนตกมาก หลังการฉีดพ่นอาจต้องรอ 2-3 วัน หรืออาจต้องฉีดพ่นซ้ำติด
ต่อกันอีกหลายวัน แมลงและสัตว์น่ารังเกียจจึงจะตาย เพราะสารสมุนไพรมีฤทธิ์ในการทำลายแมลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

*ควรผสมสารในการคงกลิ่นทุกครั้งที่ใช้สารสมุนไพร เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาของสมุนไพรในบ้านเรือน



http://www.nsam2006.com



.
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 4:44 pm    ชื่อกระทู้:


http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=20&t=1111






http://www.carabao2524.com/board/images/2009/03/Carabao2524_00004338004.jpg






ขอส่งความสำเร็จขั้นพื้นฐาน หลังจากงมโข่งอยู่นาน จนในที่สุดผมก็ใช้หลักปรัชญาพื้นฐานแก้ไขสำเร็จ คือกลั่นให้ดี กลั่นให้ถูกและ
ต้องประหยัดต้นทุน ความปลอดภัยยังตกอยู่ครับ ได้ผลดีมากกว่าชุดแรก และชุดสอง เอากันง่ายๆเรียกเครื่องกลั่นกรีเซอรีนคนจน
ก็แล้วกัน เพราะที่ถามตามร้านขายอุปกรณ์ผลิตสุรา ว่ากันเลข5-6หลัก ของผมรวมแล้วไม่เกิน 5 พัน ครับ. อุณหภูมิการกลั่น 72-75
องศา C 250 ซซ./3 นาที ต้มครั้งละ 150 ล

คุณภาพแอลกอฮอล์ที่กลั่นได้ 90% + เพราะผมทำ glycerine prewashed 5%

มีข้อติชมเชิญได้ นะครับ


โครงสร้างโดยคร่าว
- ถัง 200 ล 1 ใบ รูเล็กเสียบเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ อัดด้วยจุกยาง
- รูใหญ่ใช้ท่อเหล็ก 2.5 นิ้ว ต่อสูง 1.50 ม. ลดต่อกับท่อทองแดง
- เจาะอีกรูไว้เทกรีเซอรีนเข้าถัง เจาะก้นถังใส่ก็อกไว้เทกรีเซอรีนออก
- ทำถังคอนเดนเซอร์ โดยใช้ท่อทองแดงขนาด 3/8 นิ้ว ขดรัศมี 12 นิ้ว จนหมกม้วน 15 ม.
- ทำท่อน้ำเข้า (ล่าง)
-น้ำออก (บน)

ประกอบทุกอย่าง วางบนเตาจุดแก็ส จนอุณหภูมิใกล้ 55 เบาไฟ รอจนอุณหภูมิถึง 70-72 แล้ว เมทานอลบริสุทธิ์ก็จะไหลออกมา
ใสกว่าชุดสองของผมเยอะ

แล้วคุณจะติดใจ

http://www.vcharkarn.com/vcafe/60235/2
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 4:23 pm    ชื่อกระทู้:

การสกัดสารออกฤทธิ์ในพืชสมุนไพร ....

สมุนไพรประเภทรสขม สกัดด้วยวิธี ต้ม
สมุนไพรประเภทรสเผ็ดร้อน สกัดด้วยวิธี ต้ม
สมุนไพรประเภทรสฝาด สกัดด้วยวิธี หมัก
สมุนไพรประเภทกลิ่น สกัดด้วยวิธี กลั่น

ลุงคิมครับผม




14. เครื่องกลั่นแบบแยกกากแยกน้ำ :


http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images2/20090930133007.jpg





เครื่องกลั่น Solvent


http://www.miller-thai.com/product.detail_46403_th_2986251





เครื่องกลั่นแบบพื้นฐาน(Basic of Distillation Process)


http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=9c0fff4473cb4c1fbb608682c402f670&bookID=1619&pageid=10&read=true&count=true





เครื่องกลั่นสมุนไพรแบบใช้แก๊ส (รุ่นแยกน้ำมัน)




- ถังสกัดทำจากสแตนเลสหนา ขนาด 38X80 นิ้ว
- เทอร์โมมิเตอร์ เกย์วัดความดัน สามารถกลั่นพืช
- ได้หลายชนิดและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย

การสกัดสารสมุนไพรแบบหมัก คั้น บดผง จะต้องทำและใช้เลย ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน เมื่อจะใช้จึงค่อยทำ บางครั้งหาก
เกษตรกรละเลยการตรวจแปลง มาพบที่หลังว่ามีการระบาดก็จะควบคุมแมลงศัตรูพืชไม่ทันกาล ดังนั้นหลายคนจึงได้พยายามพัฒนาวิธี
การสกัดสาร เพื่อให้สารสกัดที่ได้ สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น สะดวกต่อการใช้มากขึ้น

ปัจจุบันจึงได้ใช้การกลั่นในการสกัดสารสมุนไพรออกมา เมื่อได้สารสกัดมาแล้ว ก็จะนำมาผสมกับน้ำ หรือแอลกอฮอล์ เพียงจำนวน
น้อย แล้วนำไปฉีดพ่นแทน

หลักการสกัดด้วยการกลั่น
พืชสมุนไพรที่นำมาสกัดด้วยการกลั่นนี้ไม่สามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด สมุนไพรที่นำมากลั่นส่วนใหญ่จะเป็นพืชสมุนไพรที่มีกลิ่น
กลิ่นดังกล่าวเกิดจากน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในพืชเหล่านั้น น้ำมันหอมเหล่านี้จะระเหยเมื่ออุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ดังนั้น เมื่อ
กลั่นออกมาแล้ว ควรเก็บไว้ในภาชนะทีบแสง หรือขวดสีชา สีน้ำเงิน หรือสีเขียว และเก็บไว้ในที่ค่อนข้างเย็น

อุปกรณ์ในการกลั่น ก็จะมีหม้อนึ่ง กับหมอควบแน่น เกษตรกรส่วนใหญ่จะดัดแปลงเอาหม้อกลั่นเหล้ามาใช้ บางคนก็เอาแกลลอน
น้ำมันมาดัดแปลง บางคนก็ใช้หม้อก๋วยเตี๋ยว บางคนก็ใช้ถังน้ำแข็งมาดัดแปลง (ดูรูป)

สมุนไพรจะถูกหั่น สับ หรือทุบให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อน แล้วนำมาวางอยู่ในหม้อนึ่ง โดยวางไว้บนตะแกรงเหนือน้ำ ความร้อนจากน้ำ
เดือดจะกลายเป็นไอผ่านสมุนไพรที่วางบนตะแกรง ความร้อนนี้จะทำให้น้ำมันหอมระเหยในสมุนไพรกลายเป็นไอออกมา ผ่าน
ท่อไปสู่หม้อควบแน่น

ในหม้อควบแน่นก็จะมีท่อขดอยู่รอบด้านในของหม้อ (หากจะทำให้ได้สารมีคุณภาพดีแนะนำให้ใช้ท่อสแตนเลท) ท่อเหล่านี้จะ
จุ่มอยู่ในน้ำเย็น (จะมีท่อปั้มเอาน้ำเย็นใส่ บางคนเริ่มแรกก็ก็น้ำแข็งใส่ พอมีเงินก็ปรับปรุงใช้เป็นคอนเดนเซอร์แทน)

เมื่อไอน้ำและไอน้ำมันหอมระเหยไหลผ่านท่อมาเจอน้ำเย็น ไอเหล่านั้นก็จะควบแน่นเป็นของเหลว ไหลออกปลายท่อไปยังภาชนะ
รองรับ ส่วนที่เป็นน้ำจะอยู่ด้านล่าง ส่วนที่เป็นน้ำมันหอมระเหยจะอยู่ด้านบน

ในการสกัดแต่ละครั้ง ถ้าใช้น้ำในการนึ่ง 10 ลิตร จะได้สารสกัด (น้ำและน้ำมันหอมระเหย) ประมาณ 6 ลิตร ปริมาณที่ได้ขึ้นอยู่
กับอุปกรณ์ที่ใช้

สารที่สกัดได้สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเป็นปี เพราะเป็นสารที่ผ่านความร้อนมาแล้ว หากเก็บที่ภาชนะที่สะอาด และทึบแสง ปิดฝา
ให้สนิท และเก็บไว้ในที่เย็นก็จะรักษาคุณภาพของสารให้คงทีมากยิ่งขึ้น

วิธีการใช้สมุนไพรกลั่นในการฉีดพ่นไล่แมลงศัตรูพืช
สารสกัด ที่มีทั้งน้ำกลั่นและน้ำมันที่ได้จะนำไปฉีดพ่นพืชผักผลไม้ เพื่อไล่แมลง จะเจือจางสารสกัดด้วยน้ำก่อน สารสกัด 50 ซีซี.
ละลายกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 5-10 วัน กรณีที่แยกสารสกัดเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำมันหอมระเหยมาใช้ โดยนำน้ำมันหอมระเหย
หลายชนิดมาผสมกัน ควรผสมกันอย่างน้อย 5 วัน และให้เขย่าขวดที่ผสมทุกวันเช้าเย็น ครั้งละ 5 นาที เพื่อให้น้ำยาเข้ากับ จากนั้น
นำสารสกัดที่ผสมแล้ว 2 0-30 ซีซี ไปผสมน้ำ 20 ลิตร เขย่าและนำไปฉีดพ่น (ที่ให้เขย่าเพาะน้ำกับน้ำมันไม่เข้ากันนัก ทางที่ดี
น้ำที่เหลือจากการนึ่ง ควรเก็บใส่ถังไว้ผสมด้วย)

เวลาในการฉีดพ่น ควรฉีดในตอนเย็นจะได้ผลดีกว่า เพราะแมลงศัตรูพืชมักออกหากินในตอนกลางคืน

ส่วนน้ำต้มในถังนึ่ง/ถังต้ม ก็นำไปรถต้นไม้ มีสรรพคุณเท่ากับยูเรีย ต้นไม้ใบเหลืองไม่งาม เมื่อใช้น้ำนี้รดจะกลับมาสมบูรณ์ งอกงาม
เศษกากพืชบนตะแกรงก็นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้อีก




แนะนำสมุนไพรที่จะนำมาสกัด และประสิทธิภาพ

ตะไคร้หอม
น้ำสกัดจากตะไคร้หอม สามารถขับไล่แมลงพวกเพลี้ยและหนอนต่างๆ ได้ดี ทั้งยังใช้ไล่ยุง ไล่แมลงตามบ้านเรือนได้ด้วย อย่างไร
ก็ตามน้ำสกัดจากตะไคร้หอมนี้ไม่ใช้ผลในทางการทำลายแมลง (ลดการทำบาปจ๊ะ)

วิธีใช้ที่ปลอดภัยก็คือ เทน้ำมันหอมจากตะไคร้หอมใส่ถ้วยแก้ว กระเบื้อง หรือสแตนเลท ตั้งทิ้งไว้ในห้องเพื่อไล่ยุง หรือใส่ขวดป๊อกกี้
ที่มีหัวฉีดพ่น ใช้พ่นตามตัวสัตว์เพื่อกำจัดเห็บหมัด โดยใช้น้ำสกัดจากตะไคร้หอม ผสมกับน้ำสกัดจากยูคาลิปตัส ฉีดพ่นให้สุนัข ทุก
3-7 วัน จะขับไล่เห็ดหมัดได้ดี (ไม่ต้องใช้ส่วนที่เป็นน้ำมัน ใช้ส่วนที่เป็นน้ำก็ได้ หากไม่ได้ผลจึงเอาส่วนที่เป็นน้ำมันมาผสมเพิ่ม)


หางไหลแดง
หางไหลแดงเป็นสมุนไพรที่ต่างประเทศให้ความสนใจสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศเยอรมัน

การสกัดให้นำหางไหลแดงมาทุบก่อน สารสกัดจะมีลักษณะเป็นของเหลวสีแดง มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลงได้ทุกชนิด แมลง
ตายหมดทั้งตัวแม่และตัวหนอน

ยาสูบ
น้ำสกัดจากต้นและใบยาสูบ จะมีสารทาร์และนิโคตินอยู่มาก ใช้ฉีดพ่นต้นมะม่วงเพื่อป้องกันเพลี้ยจั๊กจั่น หรือแมลงตัวเต็มวัย (ตัวแม่)
แมลงเหล่านี้จะไม่มารบกวนเลย แต่สารนี้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าทำลาย

ยูคาลิปตัส
น้ำสกัดใบยูคาลิปตัส ใช้ฆ่าหอยเชอรี่ในนาข้าว โดยใช้น้ำสกัดยูคาฯ เทลงไปในนาข้าว นอกจากนั้นยังใช้ฉีดไล่เพลี้ย แมลงที่กินพืช
ผักผลไม้ได้ผลดี



http://www.kasetvirul.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=406516
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 4:06 pm    ชื่อกระทู้:

13. นักวิจัย มก. คิดค้นเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยขนาดเล็กและราคาถูก


นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดค้นเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย สามารถกลั่นน้ำมันจากตะไคร้และเปลือกมะนาวได้
ซึ่งได้ปริมาณน้ำมันมากขึ้น เครื่องมีขนาดเล็กขนย้ายสะดวก ทนทาน และราคาถูก เหมาะกับ อุตสาหกรรมขนาดเล็กและ
ครัวเรือน เชื่อมั่นว่าสามารถตอบสนองธุรกิจสปาในประเทศไทยที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงอยู่ในขณะนี้ อีกทั้งยังลด
การนำเข้าน้ำมันหอมระเหยจากต่างประเทศอีกด้วย

สืบเนื่องมาจากปี 2542 ที่เกษตรกรประสบปัญหามะนาวล้นตลาด รัฐบาลจึงเร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำวิจัยเพื่อ
แก้ปัญหาและหาทางเพิ่มมูลค่าของมะนาว สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. จึงระดมความคิดเห็นจากนักวิจัยของมหาวิทยา
ลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ โดยอาจารย์สุรัตน์วดี จิวะจินดา ได้เสนอขอทำ
โครงการวิจัยเรื่องการผลิตน้ำมันหอมระเหยจากมะนาวไทยเพื่อการส่งออก เนื่องจากเคยทำโครงการวิจัยเรื่องน้ำมัน
ตะไคร้หอมมาก่อนหน้านี้และได้ออกแบบเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยแนะนำให้เกษตรกรใช้กลั่นน้ำมันตะไคร้หอม
สำหรับไล่แมลง ซึ่งในงานวิจัยครั้งนั้นพบว่าเครื่องกลั่นที่เคยออกแบบให้เกษตรกรกลั่นน้ำมันตะไคร้และ
ตะไคร้หอมไม่สามารถกลั่นน้ำมันจากเปลือกมะนาวให้ได้ผลเป็นที่พอใจ จึงคิดออกแบบเครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยนี้
ขึ้นโดยได้รับเงินอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก.

โดยในขั้นตอนการวิจัย ได้ทดลองกลั่นโดยเครืองกลั่นแบบต่างๆที่มีอยู่ กับเครื่องที่ออกแบบขึ้นใหม่ที่เพิ่มเติมส่วนใน
การควบคุมการไหลของไอเพื่อเพิ่มความดันในถังกลั่น ใช้เวลาในการทำวิจัย รวมทั้งการเก็บข้อมูลในการกลั่นประมาณ
3 ปี และประสบความสำเร็จให้ผลที่น่าพอใจโดยให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันประมาณ 2% จากที่เคยกลั่นได้น้อยกว่า 1%
จากเครื่องกลั่นเดิม และเห็นว่าเครื่องกลั่นในรูปแบบนี้ยังไม่มีในท้องตลาด จึงได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สิน
ทางปัญญาแล้ว พร้อมทั้งได้ทำการผลิตออกจำหน่ายแก่ผู้สนใจแล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งจากผลงานนี้ ส่งผลให้เครื่องกลั่น
น้ำมันหอมระเหยได้รับรางวัลที่ 1 ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2546
ของมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยนี้ ออกแบบขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก เนื่องจาก
เครื่องกลั่นในระบบอุตสาหกรรม ทั่วไปมักจะมีขนาดใหญ่ ยากต่อการขนย้ายหรือขนย้าย และมีราคาแพง ส่วนชุดเครื่อง
กลั่นที่ใช้ในห้องปฏิบัติการมักจะมีส่วนประกอบที่เป็นแก้วซึ่งชำรุดเสียหายได้ ไม่เหมาะกับการใช้งานในลักษณะ
ของอุตสาหกรรมในครัวเรือนหรือในกลุ่มเกษตรกร

สำหรับคุณสมบัติพิเศษของเครื่องกลั่นที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ จะใช้กลั่นเพื่อสกัดแยกเอาน้ำมันชนิดน้ำมันหอมระเหย ไม่ใช่
น้ำมันพืชทั่วไป จากส่วนที่มีน้ำมีนหอมระเหยสะสมอยู่ของพืช เช่น ราก ใบ ดอก หรือเนื้อไม้ ออกแบบเป็นถังกลั่น
ชนิดเบ็ดเสร็จถังเดียวขนาดเล็กโดยใช้ระบบการกลั่นด้วยน้ำ ระบบควบคุมอุณหภูมิและความดัน โดยมีส่วนที่ทำการ
ควบแน่นแยกต่างหาก สามารถประกอบหรือถอดชิ้นส่วนออกได้ง่ายและขนย้ายสะดวก ทำจากเหล็กปลอดปลอด
สนิมที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร สามารถทนแรงดันจากภายในได้ไม่ต่ำกว่า 3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มี
ส่วนประกอบทั้งหมด 5 ส่วน ได้แก่ ถังกลั่น ฝาของถังกลั่น ท่อนำไอน้ำ ตัวควบแน่น และถังรองรับน้ำมันและแยกน้ำมัน

วิธีการทำงาน คือ เมื่อใส่น้ำ ชิ้นส่วนของพืช และติดตั้งส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และเปิดให้เครื่องทำงานแล้ว ตัวทำ
ความร้อนจะทำงานจนทำให้น้ำเดือด ไอน้ำจะลอยผ่านชั้นที่บรรจุพืชขึ้นมา ความร้อนจากไอน้ำจะระเหยน้ำมันหอม
ระเหยที่มีอยู่ในพืชให้กลายเป็นไอปนออกมารวมกับไอน้ำ ผ่านทางช่องระบายไอน้ำด้านบนของฝาถัง โดยสามารถ
ควบคุมความเร็วในการไหลของไอน้ำและความดันภายในถัง โดยการปิดเปิดวาวล์ที่ครอบอยู่บนช่องระบายไอน้ำ
ไอน้ำและน้ำมันจะไหลผ่านท่อนำไอน้ำเข้าสู่ตัวควบแน่นแล้วกลั่นตัวเป็นของเหลวงลงสู่ภาชนะเก็บและแยกน้ำมัน
ซึ่งจะแยกเอาน้ำมันออกจากน้ำได้หรืออาจนำไปแยกด้วยกรวยแยกก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่ต้องการ
ในที่สุด

หลังจากประสบความสำเร็จ ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ไปให้แก่ประชาชน โดยจัดอบรมเรื่องการกลั่นน้ำมันหอม
ระเหยไปแล้วหลายรุ่น ประมาณ 300 – 400 คน และขณะนี้ก็มีเอกชนรายย่อยหลายรายและโรงพยาบาลแพทย์
แผนไทยบางแห่งสั่งไปใช้บ้างแล้ว เช่น บริษัท ภูต้นน้ำ บริษัทนิธิกรฟาร์มแอนด์เอสเซนเชียลออยล์ โรงพยาบาลสุวรรณ
ภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด และเอกชนที่ไม่อยู่ในรูปบริษัทอีก 4 ราย

อย่างไรก็ตาม อาจารย์สุรัตน์วดีบอกว่า การวิจัยนี้ยังขาดผู้ช่วยทำงานวิจัยที่คิดไว้หลายเรื่อง อีกทั้งเงินทุนวิจัยที่ได้
รับค่อนข้างจำกัดทำให้พัฒนางานได้ค่อนข้างช้า แต่ยังมีความคิดดี ๆ และน่าสนใจอีกหลายเรื่องที่น่าจะทำต่อ และ
ในอนาคต อาจพัฒนาออกไปได้อีกเป็นเครื่องกลั่นอเนกประสงค์ เพื่อใช้ประโยชน์ในงานวิจัยทางด้านสมุนไพรต่อไป

อาจารย์สุรัตน์วดี กล่าวด้วยว่า บ้านเรามีดอกไม้หอมกลิ่นไทย ๆ หลายชนิดที่เป็นเอกลักษณ์แบบตะวันออกที่สามารถ
สกัดกลิ่นหอมมาขายเป็นสินค้าประเภทเครื่องหอมได้ ถ้าจะมีคู่แข่งก็น่าจะมีไม่มาก อยากทำเรื่องนี้แต่คงต้องใช้งบ
ประมาณค่อนข้างสูงในการทำวิจัย รวมไปถึงเรื่องการทำการตลาดซึ่งไม่ถนัด หากต้องการนำสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด
ต้องมีคนที่มีความสามารถในหลาย ๆ แขนงมาช่วยกันคิด

“อยากขอให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของงานวิจัยให้มากขึ้น โดยเฉพาะงานวิจัยที่จะมีผลทำให้ประเทศไทยไม่ต้องซื้อ
Know how จากต่างประเทศ แต่เป็นการสร้าง Know how เพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศ อีกประการ
หนึ่งคือในปัจจุบันกิจการสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวของไทยเช่น สปา ที่มีข่าวเสมอว่านำรายได้เข้าประเทศปีละมาก ๆ
นั้น ส่วนใหญ่มักจะนำเข้าน้ำมันหอมระเหยจากต่างประเทศมาใช้และนำมาเป็นจุดขาย มีน้ำมันหอมระเหยของไทยที่
ดีๆ หลายชนิด สปาของไทยก็น่าจะลองใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นไทย ๆ บ้าง และควรแนะนำให้ชาวต่างชาติลองใช้ อาจ
เป็นการเปิดตลาดสินค้าส่งออกชนิดใหม่ๆได้ และทำให้เกิดพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ นอกจากพืชชนิดเดิม ๆ อย่างข้าวหรือ
ข้าวโพดที่มีคู่แข่งในตลาดโลกมาก” อาจารย์สุรัตน์วดี กล่าว

เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหย เป็นโครงการพัฒนาวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจำหน่ายเป็น
ถังขนาด ต่าง ๆ สำหรับถังความจุ 30 ลิตร ราคา 80,000 บาท ถังความจุ 50 ลิตร ราคา 100,000 บาท และถัง
ความจุ 100 ลิตร ราคา 150,000 บาท (ยังไม่รวมภาษี) รายได้จากการจำหน่ายนำไปพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่อไป


ผู้สนใจสามารถติดต่อได้โดยตรงที่ อาจารย์สุรัตน์วดี จิวะจินดา โทรศัพท์ 0-3435-1399, 0-3428-1092 หรือ
e-mail : rdiswj@nontri.ku.ac.th


http://pr.ku.ac.th/pr_news/interest/413.htm
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 3:37 pm    ชื่อกระทู้:

12. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ
(Steam distillation)


การกลั่นด้วยไอน้ำเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของการสกัดด้วยตัวทำละลาย โดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย ละลายสารและพาสารที่ต้องการออก
จากของผสมได้ ส่วนใหญ่การกลั่นด้วยไอน้ำมักจะใช้สกัดสารอินทรีย์ออกจากส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น การสกัดน้ำมัน
หอมระเหยจากตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นต้น

หลักการที่สำคัญ การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำอาศัยหลักการที่ว่า “สารที่ต้องการสกัดจะต้องระเหยได้ง่าย สามารถให้ไอน้ำพาออกมา
จากของผสมได้ และสารที่สกัดได้จะต้องไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำหรือไม่ละลายน้ำนั่นเอง” (ถ้าของเหลวที่กลั่นได้ละลายน้ำ หรือรวมเป็น
เนื้อเดียวกันกับน้ำจะต้องนำไปกลั่นแยกอีกครั้งหนึ่ง)

หลังจากที่สกัดด้วยไอน้ำแยกออกมาจากของผสมแล้ว ของเหลวจะแยกเป็น 2 ชั้น ชั้นหนึ่งเป็นน้ำ อีกชั้นหนึ่งเป็นสารที่ต้องการ ซึ่งสามารถ
ใช้กรวยแยก แยกออกจากกันได้

เนื่องจากสารที่ต้องการสกัดจะต้องระเหยออกมาเป็นไอพร้อมกับไอน้ำ และไม่ละลายน้ำ ดังนั้นการสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ จึง
เหมาะสมที่จะใช้แยกสารที่ระเหยง่าย และไม่ละลายน้ำ ออกจากสารที่ระเหยหรือกลายเป็นไอได้ยาก โดยเฉพาะสารที่มีลักษณะเป็น
ยางเหนียว


การกลั่นด้วยไอน้ำอาจจะทำได้ 2 วิธี คือ การกลั่นด้วยไอน้ำโดยตรง และทางอ้อม

ก. การกลั่นโดยตรง โดยให้น้ำและสารที่ต้องการจะ
สกัดอยู่ในภาชนะเดียวกัน เมื่อให้ความร้อนแก่น้ำจนกลายเป็นไอ ไอน้ำจะสกัดสารที่ต้องการออกมา

ข. การกลั่นโดยทางอ้อม วิธีนี้น้ำและสารที่ต้องการสกัดจะอยู่ต่างภาชนะกัน ในตอนแรกต้องต้มน้ำให้กลายเป็นไอก่อน แล้วจึงผ่านไอน้ำ
เข้าไปในสารที่ต้องการสกัด ให้ไอน้ำพาสารที่ต้องการสกัดออกมา วิธีนี้เป็นที่นิยมมากกว่า เพราะสามารถป้องกันการเดือดอย่างรุนแรง
ของสารละลายได้



การกลั่น
การกลั่น จัดว่าเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับการทำของเหลวให้บริสุทธิ์ ใช้แยกของเหลวหรือของแข็งกับของเหลวที่ผสมกันเป็นสาร
ละลายเนื้อเดียวออกจากกัน โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือด

การกลั่นเป็นกระบวนการที่ทำให้ของเหลวได้รับความร้อนจนกลายเป็นไอ แล้วทำให้ควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีก ในขณะที่กลั่นของ
ผสม ของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำจะกลายเป็นไอแยกออกมาก่อน ของเหลวที่ที่มีจุดเดือดสูงขึ้นจะแยกออกมาภายหลัง
การกลั่นมีหลายประเภท เช่น
• การกลั่นแบบธรรมดา
• การกลั่นลำดับส่วน
• การกลั่นโดยการลดความดัน
• การกลั่นด้วยไอน้ำ



การกลั่นแบบธรรมดา
การกลั่นแบบธรรมดาเหมาะสำหรับการแยกสารละลายที่ตัวถูกละลายเป็นสารที่ระเหยยาก และตัวถูกละลายมีจุดเดือดสูงกว่าตัว
ทำละลายมาก เช่น น้ำเชื่อม น้ำเกลือ นอกจากนั้นยังใช้แยกของเหลว 2 ชนิด ที่มีจุดเดือดต่างกันมาก ๆ เช่น ต่างกันมากกว่า 80
องศา C ออกจากกันได้ “ในขณะที่กลั่นตัวทำละลายจะแยกออกมา ตัวถูกละลายจะยังคงอยู่ในขวดกลั่น” ทำให้ตัวทำละลายที่บริ
สุทธิ์แยกออกจากสารละลาย

ตัวอย่างเช่น การกลั่นน้ำเกลือ ซึ่งประกอบด้วย น้ำ (จุดเดือด 1000 C) และเกลือโซเดียมคลอไรด์ (จุดเดือด 1,413 0 C) เมื่อ
สารละลายได้รับความร้อน จะมีแต่น้ำเท่านั้นที่กลายเป็นไอออกมา เมื่อไอน้ำผ่านเข้าไปในเครื่องควบแน่นซึ่งมีน้ำเย็นไหลเวียน
ตลอดเวลา ไอน้ำจะควบแน่นได้ของเหลว คือน้ำบริสุทธิ์ออกมา ในขณะที่เกลือยังคงอยู่ในสารละลายในขวดกลั่น ถ้ายังคงกลั่นต่อ
ไปจนแห้งจะเหลือแต่เกลืออยู่ในขวดกลั่น จึงทำให้สามารถแยกน้ำกับเกลือออกจาก
กันได้



ลักษณะโดยทั่วไปของเครื่องกลั่นแบบธรรมดา จะเป็นดังนี้

การแยกสาร
สารต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของสารละลายหรือของผสม ซึ่งเป็นสารไม่บริสุทธิ์ เช่น ในเมล็ดนุ่นมีน้ำมันที่ใช้
ประกอบอาหารผสมอยู่ในดอกไม้บางชนิดมีสารหอมระเหย วึ่งใช้ทำน้ำหอม ในน้ำมันปิโตรเลียมมีสารที่ใช้ทำเชื้อเพลิง และในสมุนไพร
มีสารที่ใช้เป็นยารักษาโรคผสมอยู่ เป็นต้น สารเหล่านี้จัดว่าเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน แต่เนื่องจากอยู่ปะปนกันกับสารอื่น ถ้านำ
มาใช้โดยตรงจะทำให้คุณค่าของสารเหล่านี้ด้อยลงไป หรือกลายเป็นสารที่ไม่มีประโยชน์เลยก็ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการแยกสาร
เหล่านี้ ออกจากของผสมให้ได้สารบริสุทธิ์ก่อนเพื่อจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

การแยกสาร เป็นการทำสารให้บริสุทธิ์ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการทางเคมี หรือทางกายภาพก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมบัติของสารที่ผสมกันนั้น

การแยกสารหรือการทำสารให้บริสุทธิ์จัดเป็นสิ่งสำคัญ และมีประโยชน์มากทั้งในชีวิตประจำวัน และในอุตสาหกรรม เครื่องมือและเทคนิค
ที่ใช้แยกสารเคมีแบบต่าง ๆ กัน ตามลักษณะของสาร ของผสมบางอย่างอาจจะแยกออกจากกันได้หลายวิธี แต่ของผสมบางอย่างอาจจะ
แยกออกจากกันได้เพียงวิธีเดียว อย่างไรก็ตามการแยกสารโดยทั่ว ๆ ไปจะยึดหลักของ “ความง่ายและประหยัด” ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่
ใช่วิธีที่เหมาะสมที่สุด หรือไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ใช้การระเหยเพื่อแยกเกลือ NaCl ออกจากน้ำทะเล ใช้การหีบอ้อย
เพื่อแยกน้ำตาลออกจากอ้อย และใช้การคั้นเพื่อแยกกะทิออกจากเนื้อมะพร้าว

วิธีที่ใช้แยกสาร
โดยทั่ว ๆ ไป ได้แก่
• การกลั่นแบบต่าง ๆ
• การกรอง
• การตกผลึก
• การสกัดด้วยตัวทำละลาย
• โครมาโทกราฟี

........ ฯลฯ ..............


http://202.143.148.60/myscrapbook/index.php?section=21&page=21
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 3:19 pm    ชื่อกระทู้:

11. เครื่องกลั่นสมุนไพรรุ่นแยกน้ำมัน






การใช้สารสกัดจากพืชควบคุมแมลงศัตรูพืช
(The Use Plant Extracts in Controlling Insect Pests)

อำนวย อิศรางกูร ณ อยุธยา



เนื่องจากปัจจุบันการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรต้องพึ่งสารป้องและกำจัดศัตรูพืชอันได้แก่ ยาฆ่าแมลงต่างๆ ซึ่งสารเหล่านี้นับ
วันจะมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ และปัญหาจากการใช้สารพวกนี้ก็ติดตามมามากเช่น การดื้อยาของแมลง การแพ้ยาของผู้ใช้หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียง
ตลอดจนสัตว์เลี้ยงและเกิดปัญหาพิษตกค้างบนพืชผลเกษตร ตลอดจนระบบนิเวศวิทยาที่สูญเสียไป

ในอดีตเกษตรเคยใช้สารพิษจากพืชบางชนิดในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งสามารถใช้ได้ผลดีกับแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น
ใบยาสูบใช้กำจัดแมลงจำพวกเพลี้ยอ่อนและหนอนผีเสื้อ โล่ติ้นใช้ในการกำจัดหนอนผีเสื้อ

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณาจารย์ของภาควิชากีฏวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้ทำการทดสอบพืชหลายชนิดเพื่อค้นหาว่าพืชชนิดใดมีสารที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงของตนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสาร
เคมีฆ่าแมลงโดยไม่พึ่งพาจากต่างประเทศ

จากผลการทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 มาจนปัจจุบัน มีพืชที่ผ่านการทดลองในรูปแบบต่างๆ กัน 231 ชนิด ปรากฎผลดังนี้คือ ได้พบ
พืชที่มีพิษต่อเพลี้ยอ่อน 18 ชนิด พืชที่มีพิษต่อหนอนกระทู้ 9 ชนิด พืชที่มีพิษต่อแมลงวัน 4 ชนิด พืชที่มีพิษต่อแมลงวันทอง 18
ชนิด พืชที่มีสารดึงดูดแมลงวันทอง 23 ชนิด พืชที่ไล่แมลงวันทอง 14 ชนิด

หลักการทำงาน
ใช้ความร้อนจากไอน้ำเดือนสกัดเป็นสารระเหยจากพืชกลายเป็นไอระเหย ผ่านท่อและควบแน่นด้วยน้ำหล่อเย็น กลายเป็นน้ำผสมสาร
ระเหยจากพืช

วิธีการทำงาน
1. ใส่น้ำในถังสกัดให้ต่ำกว่าตะแกรง 2 นิ้ว และในถังควบแน่นให้เต็ม
2. ใส่ส่วนของพืช (ตัดหรือหั่นหรือทุบ) บนตะแกรง ให้เต็มตะแกรงชิดกับขอบถัง
3. ปิดฝารัดเข็มขัดให้แน่น ติดไฟเตาแก๊สต้มน้ำให้เดือด
4. ไอน้ำผสมกับสารระเหย จะผ่านไปยังท่อควบแน่นกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ
5. รองน้ำผสมสารระเหยด้วยขวดแก้ว ก็จะได้น้ำสกัดสารระเหยจากพืชตามต้องการ




ประสิทธิภาพการทำงาน

http://www.kasetvirul.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5346754&Ntype=2
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 2:48 pm    ชื่อกระทู้:

10. ผลิตพืชอินทรีย์ / สมุนไพรกำจัดโรคและแมลง


หลักการผลิตพืชอินทรีย์

• ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
• มีการพัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์
• มีการพัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม
• มีการฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดอย่างต่อเนื่อง
• โดยใช้ทรัพยากรในฟาร์ม หมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• ส่งเสริมให้มีการแพร่ขยายชนิดของสัตว์และแมลงที่มีประโยชน์ (ตัวห้ำ ตัวเบียน) เช่น การปลูกพืชให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ และแมลงที่
เป็นประโยชน์ เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์ม และลดปัญหาการระบาดศัตรูพืช
• เลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและมีความต้านทานต่อโรคและแมลง
• เจ้าของไร่นา หรือผู้ทำการผลิต มีความพยายามอย่างเต็มที่ในการป้องกันและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมี และมลพิษจากภายนอก
• สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม ควรได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมตามพฤติกรรมธรรมชาติ ไม่ควรเลี้ยงในที่คับแคบแออัด
• การแปรรูปผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรเลือกวิธีการแปรรูปที่คงคุณค่าทางโภชนาการให้มากที่สุด โดยไม่ต้องใช้สารปรุงแต่งหรือใช้
น้อยที่สุด
• การผลิตและการจัดการผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ควรคำนึงถึงวิธีที่ประหยัดพลังงานและควรพยายามเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ที่มีผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด




สมุนไพรกำจัดโรค-แมลง


ขมิ้นชัน
• หนอนกระทู้ผัก • หนอนผีเสื้อ • ด้วงงวงช้าง • ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว • มอด • ไรแดง

เหง้ามีน้ำมันหอมระเหย ขับไล่และกำจัดแมลงได้หลายชนิด
1. ขมิ้นครึ่งกิโลกรัม ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1-2 วัน กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง
2. ตำขมิ้นให้ละเอียด ผสมกับน้ำปัสสาวะวัว (ใช้ว่านน้ำตำละเอียดแทนได้) อัตราส่วน 1 ต่อ 2
3. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง ถ้าจะใช้กำจัดหนอนให้เติมน้ำผสมลงไปอีก 6 เท่า
4. บดขมิ้นให้เป็นผง ผสมเมล็ดถั่วในอัตรา ขมิ้น 1 กก. ต่อเมล็ดถั่ว 50 กก.
5. เพื่อช่วยในการเก็บรักษาเมล็ดถั่วป้องกันไม่ให้แมลงมา
ทำลายเม็ดถั่ว



ข่า
• แมลงวันทอง

น้ำคั้นจากเหง้า มีสารดึงดูด สารไล่แมลง สารฆ่าแมลง สามารถไล่แมลงวันทองไม่ให้วางไข่ได้ 99.21% และทำให้โรคใบจุดสีน้ำตาลใน
นาข้าวหายไป
1. นำเหง้าแก่สดหรือแห้ง มาบดเป็นผง ละลายน้ำ
2. กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพ่นกำจัดแมลง



คูน
• หนอนกระทู้ผัก • หนอนกระทู้หอม • ด้วง

เนื้อฝักคูนจะมีสารประเภท Antraquinounes เช่น Aloin, Rhein Sennoside A, B และมี Organic acid

สาร Antra quinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง

1. นำฝักคูนมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร
2. หมักทิ้งไว้ 3 – 4 วัน นำมากรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นกำจัดแมลง




ผกากรอง
• หนอนกระทู้ผัก

เมล็ดมีสาร Lantadene มีผลต่อระบบประสาทของแมลง

1. บดเมล็ด 1 กก. ผสมกับน้ำ 2 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 24 ชม. กรองเอาแต่น้ำนำไปฉีดพ่นกำจัดแมลงไม่ให้มาวางไข่ในแปลงผัก
2. ใช้ดอกและใบบดละเอียด หนัก 50 กรัม ผสมน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลง




ไพร
• เชื้อรา

ใช้ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราในข้าวบาร์เลย์

1. บดไพลแห้งให้ละเอียด แล้วละลายในแอลกอฮอล์ ในอัตราส่วนร้อยละ 15 โดยน้ำหนัก แล้วนำไปฉีดพ่น




มะรุม
• เชื้อรา • แบคทีเรีย • โรคเน่า

ในใบจะสารพวกผลึกของอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Pythium debangemum กำจัด
เชื้อราและแบคทีเรีย ได้แก่ โรคโคนต้น และผลเน่าของตระกูลแตง โรคผลเน่าใกล้พื้นดินของมะเขือเทศ โรคเน่าคอดินของคะน้ โรงแง่งขิงเน่า

1. นำใบมะรุมรูดเอาแต่ใบมาคลุกเคล้ากับดินที่เตรียมไว้ สำหรับเพาะกล้าหรือปลูกพืชผัก
2. ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ เพื่อให้ใบมะรุมย่อยสลายไปกับดิน
3. สารที่อยู่ในใบของมะรุมจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี



http://www.lartc.rmutl.ac.th/d_Interview.php?InterID=0011
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 2:36 pm    ชื่อกระทู้:

9. พืชที่มีพิษกำจัดแมลงศัตรู

รหัสสินค้า: 000123
บทความอ่านฟรี

รายละเอียด:
สมุนไพรพื้นบ้านสามารถนำมาปกป้องพืชผลทางการเกษตรได้ มาลองดูกันว่ามีสมุนไพรอะไรบ้าง

พืชที่เป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อน : ว่านน้ำ สลอด ลำโพง กลอย พญาไร้ใบ ทานตะวันสบู่แดง เลี่ยน มันแกว รัก ข่าลิง

พืชที่เป็นพิษต่อหนอกกระทู้หอม : ว่านน้ำ น้อยหน่า สะเดา สลอด ว่านเศรษฐี มันแกว หนอนตายหยาก แสลงใจ

พืชที่เป็นพิษต่อแมลงวัน : น้อยหน่า สลอด มันแกง แสลงใจ

พืชที่เป็นพิษต่อแมลงวันทอง : ข่าเล็ก หมาก น้อยหน่า เลี่ยน เงาะ ยาสูบ พริกไทยดำ บัวตอง ขิงช้างคลาน สลอด

พืชที่มีมารไล่แมลงวันทองไม่ให้วางไข่ : กระเทียม สะเดา คำแสด มะกรูด แตงไทย ตะไคร้ ข่าดง หญ้างวงช้าง ลำดวน ละหุ่ง


การผลิตสมุนไพรใช้ ให้พยายามใช้หลายๆสูตร สับเปลี่ยนหมุนเวียนไป ใช้วัสดุหาง่าย ให้ฉีดพ่นต่อเนื่องทุกๆ 3-4 วัน เวลาใช้ให้ผสมน้ำ
สบู่(ยาจับใบ) ฉีดพ่นตอนเย็น หรือให้ระบบน้ำสปริงเกลอร์ ตอนเย็น


เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.kokomax.com
19/05/2553 (update 23/05/2553)



http://www.kokomax.com/product-th-631967-2998581-%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B9.html
kimzagass
ตอบตอบ: 03/04/2011 2:30 pm    ชื่อกระทู้:

8. กะเพรา


ชื่อวิทยาศาสตร์ :Ocimum sanctum? L.
ชื่อพ้อง : Ocimum tenuiflorum? L.
ชื่อสามัญ : Holy basil,? Sacred Basil
วงศ์ : Lamiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น : กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย (ภาคอีสาน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้นสีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว
ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจัก
เป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลาย
เรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4
อัน ผล เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่

ส่วนที่ใช้ : ใบ และยอดกะเพราแดง ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น

เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุง
ใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสด
มากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสดๆ

เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทอง
ใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้


สารเคมี :
ในใบพบ Apigenin, Ocimol, Linalool , Essential Oil, Chavibetal







http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=23ca0f02e12d0ac9