-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - หน้าตายิปซั่มเป็นเช่่นไร
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 19/01/2011 11:56 am    ชื่อกระทู้:

...... "ปูขาว" ทำมาจาก เปลือกหอยเผา. หินเผา. ค่า พีเอช 11.0-13.0 เท่ากับเป้น "ด่างจัด" ใช้สำหรับปรับปรุงดินที่เป็นกรดจัดโดยเฉพาะ ขณะอยู่ในกระสอบ เอามือล้วงจะรู้สึก "ร้อน" หลายที่ใช้โรยเส้นสนามฟุตบอล หรือไม่ก็ใช้ผสมปูนซิเมนต์ก่อสร้าง


..... "ยิบซั่ม" ทำมาจากแร่ธรรมชาติแท้ๆ อามาบดละเอียด ไม่มีการเสริมหรือปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้น ค่า พีเอช เท่ากับ 7.0-7.5 เท่ากับเป็นกลาง ขณะอยู่ในกระสอบเอามือล้วงจะรู้สึก "เย็น" ชาวบ้านรียก "ปูนเย็น" ไงล่ะ



ลุงคิมครับผม
nokkhuntong
ตอบตอบ: 19/01/2011 11:31 am    ชื่อกระทู้:



ยิปซั่ม หน้าตาแบบนี้ค่ะ คล้ายๆแป้ง

นี่จากกระสอบใหญ่ ถ่ายใส่ถุงเล็ก ๆ ไว้ อาจดูชื้นๆ จับตัวกัน..หน่อยนะค่ะ
kimzagass
ตอบตอบ: 17/01/2011 5:37 pm    ชื่อกระทู้:

ต่อยอด ยิบซั่ม....

คำว่า "ปูนเพื่อการเกษตร" หมายถึง ปูนมาร์ล. ปูนโดโลไมท์. ปูนเปลือกหอยเผา. ปูนหินเผา. ชื่อพวกนี้เป็นชื่อเรียกทางวิชาการ ส่วนชื่อทางการค้าหรือ "ยี่ห้อ" ก็ว่ากันไปตามถนัด..... ปูนพวกนี้มีความเป็น "ด่าง" สูง ค่ากรดด่างประมาณ 12.0-13.0 ..... มีธาตุแคลเซียม 3 % เป็นแคลเซียมที่พืชยังไม่สามารถนำไช้ทันทีได้ จะต้องผ่านกระบวนการจุลินทรีย์เสียก่อน นั่นแหละพืชจึงจะนำไปใช้ได้.....ใส่ลงดินต้อง "พรวนดิน" พรวนดินลึกแค่ไหนก็จะลงดินได้ลึกแค่นั้น แล้วตอนที่พรวนน่ะเป็นการทำลายรากพืชด้วยใช่หรือไม่ แม้แต่ใส่แล้วรดน้ำตามก็ไม่ลงไปพร้อมกับน้ำ เรียกว่า เคยอยู่ตรงไหนก็จะอยู่ตรงนั้น

ส่วน "ยิบซั่ม" มีชื่อทางวิชาการว่า "แคลเซียม ซัลเฟต" ส่วนประกอบเป็นแคลเซียม 18 % กำมะถัน 23 % ค่ากรดด่าง 7.0-7.5 ถือว่าเป็นกลาง.... เป็นแคลเซียมอินทรีย์. กำมะถันอินทรีย์. ที่พืชสามารถดูดซับนำไปใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการจุลินทรีย์....ใส่ลงดินแล้วไม่ต้องพรวนดิน ใส่แล้วรดน้ำตามจะละลายลงไปในเนื้อดินพร้อมกับน้ำ ลงดินลึกแล้วไปเจอกับน้ำใต้ดินก็จะตามไปกับน้ำไต้ดินได้อีกด้วย

สังเกตุ :
ปูนมาร์ล. ปูนโดโลไมท์. ปูนหินเผา. ปูนเปลือกหอยเผา. เรียกว่า "ปูนเพื่อการเกษตร" เพื่อจูงใจให้เกษตรกรสนใจ ..... แต่ยิบซั่มกลับเรียกสั่นๆว่า "ยิบซั่ม" ทำไมไม่เรียกว่า "ปูนเพื่อการเกษตร" หรือ "ยิบซั่มเพื่อการเกษตร" บ้างล่ะ.....แค่นี้ก็พอจะมองเห็น "ลิ้นไก่" ของคนนำเสนอแล้ว ว่ามั้ย ?

ออสเตรเลีย. อเมริกา. แคนนาดา. สั่งนำเข้ายิบซั่มจากไทยนำไปใช้ด้านการเกษตรปีละมากๆ แต่มีข้อแม้ว่าให้เติมเพิ่ม แม็กเนเซียม อ๊อกไซด์.ลงไปด้วย 5 %

เกษตรกรอเมริกาต้องการใช้ยิบซั่มปรับปรุงบำรุงดินอย่างมากๆ แต่หายิบซั่มชนิดผงแบบที่ไทยไทยใช้ไม่ได้ จึงเอา "แผ่นยิบซั่ม" ที่ใช้ทำฝ้าเพดานห้องมาบดแล้วใส่ลงดินแทน

เหมืองยิบซั่มที่สุราษฎร์ธานี ส่งออกไปไต้หวัน. ญี่ปุ่น. เกาหลี. มานานหลายสิบปีแล้ว ทุกวันนี้ก็ยังส่ง โดยขึ้นเรือที่เกาะสีชัง เคยมีคนถามบริษัทนี้ว่า ทำไมไม่ขายในประเทศ ? ทางบริษัทตอบว่า "ยินดีขาย ถ้าเกษตรกรสนใจใช้ และราชการสนับสนุน"

เกษตรกรคลื่นลูกใหม่ จ.ระยอง (พื้นฐานความรู้ระดับปริญญา) ถาม จนท.เกษตรว่า "ระหว่างปูนมาร์ล-โดโลไมท์. กับ ยิบซั่ม. อย่างไหนดีกว่ากัน ?" จนท.เกษตรตอบว่า "ยิบซั่มดีกว่า" คลื่นลูกใหม่ จ.ระยองถามต่ออีก "แล้วทำไมเกษตร (หมายถึงตัว จนท.เกษตร) จึงส่งเสริมแต่ปูนมาร์ล-โดโลไมท์ ?" คราวนี้ถึงบางอ้อ ประเทศไทยทันทีเมื่อ จนท.เกษตรตอบว่า "เพราะหน่วยสั่งมา..."

ข้อมูล : ยิบซั่มทั้งเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ระบุว่า "ยิบซั่มไทย" ดีที่สุดในโลก



ประเทศไทยจงเจริญ
ลุงคิมครับผม


http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=6921&highlight=
kimzagass
ตอบตอบ: 17/01/2011 5:26 pm    ชื่อกระทู้:

ข้อแตกต่างระหว่าง ปูนเพื่อการเกษตร และยิปซั่ม

ปูนเพื่อการเกษตร (ปูนมาร์ล, โดโลไมท์)
1.ปรับสภาพดินกรดที่มีค่า พีเอช ต่ำให้สูงขึ้น

2.ละลายน้ำได้ยากจึงปลดปล่อยธาตุแคลเซียมให้เป็นประโยชน์ ต่อพืช ได้น้อย จะต้องไถพรวนคลุกเคล้ากับดินที่เป็นกรด จึงจะแลกเปลี่ยนประจุแคลเซียมให้กับดินและพืชได้

3.ไม่เคลื่อนย้ายสู่ดินชั้นล่าง เมื่อมีการให้น้ำ คงอยู่ในเฉพาะระดับที่ใส่หรือไถพรวน

4.ไม่แก้ไขปัญหาดินเค็มที่เกิดจากเกลือโซเดียม

5.ทำให้ผิวดินเกาะตัวกันแน่นน้ำซึมยากในกรณีที่มี การหว่านปูนไว้บนผิวดิน

6.ดินที่มีพี-เอช 7 หรือสูงกว่า แคลเซียมจะ อยู่ในรูปที่ละลายในน้ำยากจึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อย

7.ไม่สามารถ ลดความเป็นกรดในดินชั้นล่างได้เนื่องจากละลายน้ำได้ยาก

8.ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ธาตุอาหารพืชชนิดอื่น ถูกตรึงในดินอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์แก่พืชในดินได้น้อย ทำให้พืชขาดธาตุอื่นได้ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี



ยิปซั่ม
1.มีผลกระทบเล็กน้อยต่อการเปลี่ยนแปลงค่าพีเอช ของดิน

2.อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้จึงปลดปล่อยให้แคลเซียมและกำมะถัน

3.ให้รากพืชดูดไปใช้ ประโยชน์ ได้ง่ายทัน ต่อความต้องการของพืช

4.เคลื่อนย้ายสู่ดินชั้นล่างเมื่อมีการให้น้ำ

5.แก้ไขปัญหาดินเค็มที่เกิดจากเกลือโซเดียม โดยประจุแคลเซียมในยิปซัมจะเข้าไปแลกที่ประจุโซเดียมในอนุภาคดิน แล้วโซเดียมจะถูกชะล้างออกไปจากดินได้โดยง่าย

6.แก้ไขปัญหาผิวดินเกาะตัวกันแน่น ทำให้ดินร่วนซุยมีช่องว่างซึ่งยอมให้น้ำและอากาศ ผ่านลงไปในดินได้ง่าย

7.สามารถใส่ได้ทั้งดินที่เป็นกรด พี-เอช ต่ำ และดินด่างที่มี พี-เอช สูง จะปลดปล่อย แคลเซียมเป็นประโยชน์ต่อพืชได้

8.ช่วยยับยั้งหรือ ลดความเป็นกรดในดินชั้นล่างได้

9.ไม่มีผลกระทบต่อ พืชอย่างรุนแรงและยังช่วย ลดความเป็นพิษของธาตุชนิดอื่นที่สะสมอยู่ในดินมากเกินไปจนเป็นพิษแก่พืช


ที่มา http://www.dktgypsum.com/
kimzagass
ตอบตอบ: 17/01/2011 5:16 pm    ชื่อกระทู้:


ยิปซัมธรรมชาติปรับปรุงบำรุงดินและพืช เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน...


โดย ดร.สำเนา เพชรฉวี

ในปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารมากมายจากสื่อต่างๆ ได้กล่าวถึงความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินในประเทศ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมของประชากรในประเทศ การเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่ามาเป็นพื้นที่การเกษตรเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เกิดปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง หน้าดินถูกชะล้างพังทลาย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้ให้คำนิยามความเสื่อมโทรมของดิน คือ ความเสื่อมโทรมในคุณภาพของดินและการให้ผลิตผลของดินที่ลดลง เป็นสูตรโครงสร้างที่เกิดจากปัจจัยต่างๆร่วมกัน ได้แก่ ความเลวร้ายของสภาพฟ้า อากาศ ลักษณะธรรมชาติของดิน ภูมิประเทศ ชนิดพันธุ์พืชที่เพาะปลูก ลักษณะการใช้พื้นที่ และการจัดการดิน จากข้อมูลที่เกษตรกรได้ประสบปัญหาทางด้านการจัดการดินที่ทำการเกษตรแล้วยังไม่ได้รับผลสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งของปัญหาได้แก่โครงสร้างของดินเลวลง ผิวดินจับตัวกันแน่นทึบ เมื่อฝนตกหรือมีการให้น้ำ น้ำซึมลงใต้ผิวดำดินได้น้อย เกิดน้ำไหลบ่าที่ผิวดิน ไหลลงไปสู่ที่ต่ำ ดินระบายน้ำยาก เมื่อเกิดฝนทิ้งช่วง แหล่งน้ำในดินไม่เพีงพอ พืชเหี่ยวเฉาเร็ว ดินเป็นกรดมากขึ้นธาตุอาหารพืชในดินถูกตรึงอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ขาดความสมดุลของธาตุอาหารในดิน ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตต่ำ ดินใช้ปลูกพืชมานาน ขาดการจัดการดินที่ถูกต้อง เกิดการสูญเสียหน้าดิน ถูกชะล้างพังทลาย ดินขาดธาตุอาหารพืช ทำให้ดินมีศักยภาพในการให้ผลผลิตต่ำทั้งปริมาณและคุณภาพ ดินเสื่อมโทรมที่เกิดโดยธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการกระทำของมนุษย์ได้แก่ ดินที่ทำการเกษตรมานาน ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่เก่า ดินนากุ้งร้าง ฯลฯ

เนื่องจากพื้นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรทุกวันนี้มีจำนวนจำกัดไมˆอาจขยายพื้นที่ได้อีกแล้ว แต่ขณะเดียวกันจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี จึงมีความจำเป็นต้องทำกากรฟื้นฟูทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศหลายล้านไร่ให้กลับมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร มีข้อมูลผลงานวิจัยทั้งในต่างประเทศและภายในประเทศเกี่ยวกับวิธีการฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรม เช่น การใช้อินทรียวัตถุ ปุ๋ยอินทรีย์ ปูนชนิดต่างๆ ยิปซัม สารสังเคราะห์โพลิเมอร์ ตลอดจนวัสดุที่เป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม และเขตชุมชน นำมาเป็นวัสดุปรับปรุงดิน ในบรรดาวัสดุปรับปรุงดินเหล่านี้ยิปซัมมีสมบัติที่ดีเด่นหลายประการ ในการแก้ไขปัญหาดินเสื่อมโทรมทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และชีวภาพ จนอาจกล่าวได้ว่า หากมีการนำยิปซัมมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรอย่างเหมาะสม จะมีส่วนในการเสริมสร้างความยั่งยืนให้แก่ดินและพืชในระยะยาว

ยิปซัมคืออะไร?
ยิปซัม คือ แร่เกลือจืด เป็นสารประกอบแคลเซี่ยมซัลเฟต มีสูตรทางเคมี คือ CaSO4. 2H2O เป็นผลึกสีขาวหรือไม่มีสี เนื้ออ่อน มีปฏิกริยาเป็นกลาง ละลายในน้ำได้ ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเนื้อยิปซัม ยิปซัมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. ยิปซัมที่เกิดตามธรรมชาติจากการตกตะกอนของทะเลเก่าที่เป็นแอ่งใหญ่ ในใจกลางของประเทศในประเทศ ในประเทศไทยพบแหล่งใหญ่เกิดอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์และในพื้นที่ภาคใต้เป็นแร่ยิปซัมที่มีความบริสุทธิ์ 96-98% ประกอบด้วยธาตุแคลเซี่ยม 23% Ca กำมะถัน (ในรูปของซัลเฟต) 17% S เป็นชนิดที่เหมาะสมต่อการนำมาใช‰ในการเกษตรได้ดี

2. ยิปซัมที่เกิดจากผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ในการผลิตกรดฟอสฟอริคจากแรˆหินฟอสเฟต

ส่วนที่เป็นผลพลอยได้มีชื่อเรียกว่า ฟอสโฟยิปซัม ซึ่งอาจมีสารฟลูออไรด์และธาตุโลหะหนักหลายชนิดเจือปนอยู่ได้แก่สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม มีความเป็นกรดอยู่มาก และมีสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนเช่น เรเดียม ที่มีค่าเกินกว่าเกณฑ์กำหนดค่ามาตรฐานความปลอดภัย เกิดมลพิษต่อดิน พืชและสิ่งแวลล้อม จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ทางด้านการเกษตร ยิปซัมที่เกิดจากการใช้ถ่านหินลิกไนทŒเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะมีก๊าซซัลเฟอรŒไดอ๊อกไซด์ ปนเปื้อนจากปล่องควันโรงงานการกำจัดควันพิษด้วยการทำปฏิกิริยากับหินปูนที่ผสมกับน้ำจะได้ผลพลอยได้คือ ยิปซัมซึ่งยังมีธาตุโลหะหนักปนเปื้อน

ผลจากการใช้ทรัพยากรที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้มีพื้นที่ดินเสื่อมโทรมที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตพืชต่ำทั้งปริมาณและคุณภาพมากมาย ปัญหาทางกายภาพได้แก่ ผิวดินจับกันแน่นน้ำซึมได้ยาก มีน้ำที่เป็นประโยชน์ได้น้อยลง พืชจึงเหี่ยวเฉาง่าย ในกรณีที่มีฝนตกมาก เกิดปัญหาน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีปัญหาดินเป็นกรดมากขึ้น ดินที่ใช้ในการเกษตรมานาน ขาดการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสม จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข การใช้ยิปซัมเป็นวัสดุปรับปรุงดิน จะช่วยแก้ปัญหาผิวดินจับตัวกันแน่น ทำให้น้ำและอากาศผ่านลงไปในดินชั้นล่างได้ดีขึ้น พืชดูดใช้น้ำและอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาทางเคมีและชีวภาพ ยิปซัมช่วยลดสภาพดินเป็นกรดในดินชั้นล่างลดการเกิดโรคพืช ช่วยฟื้นฟูดินเค็มให้กลับมาใช้ปลูกพืชได้เป็นปกติ ยิปซัมนอกจากช่วยปรับสภาพดินแล้วยังเป็นแหล่งให้ธาตุแคลเซี่ยม และกำมะถันที่จำเป็น แก่พืชเศรษฐกิจ ในภาวะการณ์ปัจจุบันที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตพืช ระบบการเกษตรแบบประณีต ทำให้ดินขาดความสมดุลของธาตุอาหารโดยเฉพาะแคลเซี่ยมและกำมะถันที่มีอยู่ในดินสูญเสียไปจากการถูกชะล้างจำนวนมากทุกปี การใส่ยิปซัมในระบบการจัดการดินที่เหมาะสมจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างระบบดิน-พืช ให้เกิดความ


http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=fisheries&topic=375
kimzagass
ตอบตอบ: 17/01/2011 5:14 pm    ชื่อกระทู้:

ยิบซั่มธรรมชาติ....






สอบถามรายละเอียดที่ "มงคล" (089) 144-1112
kasetlungkim
ตอบตอบ: 17/01/2011 4:19 pm    ชื่อกระทู้: หน้าตายิปซั่มเป็นเช่่นไร

.
.
สวัสดี ลุงคิม

อยากทราบว่า ยิปซั่มที่ใช้ปรับปรุงดิน หน้าตาเป็นอย่างไรคะ ?

ขอบคุณมากค่ะ

.